เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 20288 "เยาวราช" คือใคร
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


 เมื่อ 23 ก.ค. 02, 10:36

 ขอความรู้ครับ
มีกระทู้ถามถึงย่านเยาวราช ไชน่าทาวน์ของกรุงเทพฯ ในสโมสรมองอดีต อ่านแล้วผมเลยสงสัยขึ้นมาว่า ถนนชื่อ เยาวราช ที่ต่อมาเป็นชื่อเรียกย่านนี้ด้วยนั้น ทำไมจึงชื่อ "เยาวราช"

ตามศัพท์ เยาวราช แปลว่าเจ้านายที่ทรงพระเยาว์ หรือว่า ยุพราช ก็ได้ ผมเดาว่าน่าจะมุ่งถึงเจ้านายที่มีพระองค์จริงองค์ใดองค์หนึ่ง และเดาต่อว่า น่าจะเป็นเจ้านายในรัชสมัยพระพุทธเจ้าหลวง ผมไม่ทราบว่าถนนเยาวราชตัดเสร็จเมื่อไหร่ แต่เดาว่าในสมัย ร.5 ซึ่งเมืองไทยและกรุงเทพฯ กำลังพัฒนาตัดถนนกันหลายสาย
ถนนสายแรกในกรุงเทพฯ ที่เป็นถนนทางรถวิ่ง ไม่ใช่ทางเดินหรือทางเกวียนนั้น คือถนนเจริญกรุง ตัดในปลายรัชสมัย ร.4 ฝรั่งสมัยนั้นเรียกว่า New Road ต่อมาก็มีถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร ตามมาเป็นชุด เจริญกรุง -บำรุงเมือง-เฟื่องนคร แต่ถนนเยาวราชผมไม่ทราบว่าตัดกันครั้งไหน และทำไมจึงได้ชื่อนี้

ยังมีท่าน้ำราชวงศ์อยู่แถวๆ นั้นด้วย น่าจะมีประวัติของชื่อเกี่ยวเนื่องกันกับเยาวราช มีใครทราบบ้างครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ก.ค. 02, 04:57

 ประวัติไม่ทราบครับ แต่มีภาพเยาวราชมาฝาก ... แหะๆๆ
 http://thaispecial.com/yolwaraj/
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ก.ค. 02, 05:15

ค้นไปค้นมาไปเจอที่เอ็มเว็ป ของคุณ โกตี่ เขาบอกว่าถนนเยาวราชสร้างขึ้นมาก่อนถนนเจริญกรุง
อันนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจ ... หุๆๆๆ
 http://leisure.mweb.co.th/walk/China_Town_473.html
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำว่า เยาวราช เป็นชื่อของถนนสายหลักที่เก่าแก่สายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
สร้างขึ้นมาก่อน ถนนเจริญกรุง อันเป็นถนน สายหลักอีกสายหนึ่ง ถนนสองสายนี้
จะทอดยาวขนานกันไป ต่อมาระยะหลังถนนเจริญกรุงได้ตัดใหม่ยาวไปถึง ถนนตก
ส่วนความยาวของถนนเยาวราชนั้นยังคงเดิม ระยะทางเริ่มต้นถึงปลายสุดยาวประมาณ 1กิโลเมตร

สองฝากฝั่ง ของถนนเยาวราช ในสมัยก่อนนั้น นับได้ว่าเป็นพื้นที่เศรษฐกิจอันดับหนึ่ง ของ ยุคนั้น
ถนนสีลม ยังไม่มี ย่านบางลำภูยังไม่เกิด และ ย่านประตูน้ำยังเขียวขจี เป็นทุ่งนาอยู่เลย
เท่าที่ โกตี่” จำได้ยินมา ถนนเยาวราช สร้างขึ้นมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนสร้างเสร็จใหม่ๆ ใครๆ
เห็นก็ตกใจ ร้องว่า ถนนทำไมกว้างอย่างนี้” ตอนโกตี่”ยังเด็ก ราวพ.ศ.2500 ถนนเยาวราชรถยังวิ่งสวนทางกัน (two
way) มีรถเมล์ สาย 23 หรือที่เรียกกัน ในสมัยนั้นว่า เมล์แดง และรถเมล์ สาย 24 ที่เรียกกันว่า ไทยประดิษฐ์”
วิ่งสวนทางกัน และมีรถรางวิ่งอยู่อีกเลนหนึ่ง

จุดเริ่มต้น ของถนน เยาวราช โกตี่ขอเริ่มต้น ตรงวงเวียนโอเดียน ก็แล้วกัน ชื่อของวงเวียนนี้
เป็นชื่อของโรงหนัง ซึ่งปัจจุบันรื้อไปแล้ว เดิมทีวงเวียนนี้ เป็นวงเวียนน้ำพุ สร้างขึ้น และทำพิธีเปิด โดย พล.อ.ประภาส
จารุเสถียร พอน้ำพุพุ่ง ทุกคนต่างปรบมือ ในความสวยงาม แต่พอกลับ ถึงบ้านทุกๆคน ในย่านเยาวราช ต่างพากันบ่นอุบ
เพราะน้ำประปาตามบ้านไม่ไหล เนื่องจากถูกดึงไปใช้ ในพิธีเปิดน้ำพุหมด ปัจจุบันนี้วงเวียนน้ำพุถูกเปลี่ยนเป็น
ซุ้มประตูวัฒนธรรมจีนแทน
อันเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า เยาวราชเป็นแหล่งที่คนจีน ทำมาหากินกันมาเป็นเวลานาน ฉะนั้น”โกตี่
”จึงเห็นด้วยกับประตู วัฒนธรรมจีน ซึ่งแสดงออก ได้หลายอย่าง อาจจะหมายถึงประตู เข้าเมืองเยาวราช
หรือไชน่าทาวน์ ก็ได้ อาจจะหมายถึง ที่รวมจิตใจ วัฒนธรรมจีน ของคนจีนโพ้นทะเล และลูกหลานชาวจีน
ที่ถือกำเนิดขึ้นมา ในถิ่นเยาวราช และที่สำคัญที่สุดชาวจีน และลูกหลานจีนทุกๆคน รำลึกถึงประตูวัฒนธรรมแห่งนี้
ว่าสร้างขึ้นมาถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระชนมายุ ครบ 72 พรรษา
ถนนเยาวราช แม้จะมีความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร แต่ก็มีชื่อเรียกย่านต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนถนนสายนี้ถี่ๆกัน
หลายชื่อ ถ้าใครนานๆ มีโอกาสผ่านมาที หากเอ่ยชื่อย่านต่างๆ ขึ้นมาให้ฟัง คงงงพอสมควร ว่าย่านไหน อยู่ตรงไหน
เริ่มตั้งแต่ โอเดียน, วัดไตรมิตร, เฉลิมบุรี,เจ็ดชั้น, เมืองทอง, เท็กซัส, เทียนกัวเทียน, แปลงนาม, เล่าตะลัก, เล่งป้วงเอี๊ย,
ซิงตะลัก, คาเธ่ย์, โต๊ะกังราชวงศ์, แมวดำ, ม้าเก็งเอ๋า, ทรงสมัย, วัดตึก, เวิ้งนาครเขษม, ตลาดปีระกา, สะพานเหล็ก,
วังบูรพา, ต่อไป”โกตี่” พาไปชิมอาหารแถวเยาวราช ก็จะขอเรียกชื่อย่านตามนี้ เพื่ออนุรักษ์ชื่อเดิมไว้ ขอบเขตพื้นที่
แนะนำร้านอร่อยของ”โกตี่”คงขยายกว้างออกไป ถึงย่านถนนเจริญกรุง อันเป็นถนนสายหลัก ที่วิ่งขนานกับ ถนนเยาวราช
นอกจากนั้น ก็จะขยายขอบเขต กับย่านที่ต่อเนื่อง กับถนนเยาวราช อาทิ ถนนทรงวาด ถนนราชวงศ์ ถนนพลับพลาไชย
ฯลฯ เป็นต้น แต่ทั้งนี้จะมีแผนที่ กำหนดจุดให้ทุกครั้ง เพื่อความสะดวก ของนักชิมทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ก.ค. 02, 08:28

 สงสัยคุณโกตี่จะจำผิด
ถนนเยาวราช ตัดเมื่อพ.ศ. ๒๔๓๕ ในรัชกาลที่ ๕ ค่ะ ส่วนถนนเจริญกรุงมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ แล้ว  เช่นเดียวกับบำรุงเมืองและเฟื่องนคร
ดิฉันไม่แน่ใจนะคะ แค่สงสัยว่าชื่อถนนเยาวราชอาจจะมาจากการเฉลิมพระยศสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกในรัชกาลที่ ๕ คือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ก.ค. 02, 19:35

 ขอบคุณทุกท่านครับ

ผมจำได้จริงๆ เช่นกัน ว่า ถนนเจริญกรุงนั้นเป็นถนนสมัยใหม่สายแรกของกรุงเทพฯ ก่อนหน้านั้นไม่มีถนนที่หน้าตาเป็นทางรถเดินในกรุงเทพฯ เลย (ทางเกวียนทางคนเดิน ไม่นับ)  ดังนั้นถนนเยาวราชจะตัดก่อนถนนเจริญกรุงนั้นเป็นไปไม่ได้ เว้นแต่คุณโกตี่จะหมายถึงถนนเจริญกรุงส่วนที่ตัดใหม่ต่อออกไปจากถนนเจริญกรุงเดิม ซึ่งอาจจะตัดทีหลังตัดถนนเยาวราชแล้วได้

ถ้าเป็นไปตามที่คุณเทาชมพูกรุณาค้นมาให้ ว่าถนนเยาวราชตัดสมัยต้น ร. 5 ก็น่าเชื่อครับว่าชื่อ "เยาวราช" นั้นเป็นการตั้งชื่อเฉลิมพระเกียรติยศพระยุพราชหรือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชองค์แรกของกรุงเทพฯ คือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ จริงๆ

"ราชวงศ์" ล่ะครับ ใครพอทราบบ้างว่ามายังไง

อ่านกระทู้นี้แล้วหิว ใครอยู่กรุงเทพฯ ช่วยไปกินของอร่อยแถวเยาวราช ราชวงศ์ แทนผมทีเถิด
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ก.ค. 02, 19:41

 ผมมีข้อสังเกตบางอย่างในชื่อย่านที่คุณโกตี่จำได้ ว่า เล่าตะลัก น่าจะแปลว่า ตลาดเก่า ซิงตะลัก น่าจะแปลว่า ตลาดใหม่ เล่า กับ ซิง เป็นภาษาจีน (แต้จิ๋ว) แต่ตะลัก หรือตั๊กลัก นั้นเป็นภาษาไทยที่คนจีนในไทยยืมเอาไปใช้เรียกตลาด (คำจีนแท้ๆ เรียกตลาด มีเป็นอีกคำหนึ่ง) ตะลักคำนี้ เอาไปพูดให้คนจีนนอกเมืองไทยฟังเขาก็จะไม่รู้เรื่อง เพราะที่จริงแล้วมันเป็นภาษาไทยนี่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ก.ค. 02, 09:42

 ตอนที่เขาปิดถนนเยาวราช ฉลองตรุษจีนกันก็ไปลุยมาเหมือนกันค่ะ  
มีของกินสองข้างทางกินกันไม่หวัดไม่ไหว  ชนิดที่ว่าถ้าแวะทุกเจ้า ชิมเจ้าละคำ   ก็คงจะติดอยู่ที่เยาวราชทั้งคืน ไม่ถึงปลายถนน
หลังจากกินอาหารหลักแล้วก็ไปตบท้ายที่กาแฟเจ้าเก่าแก่ มีขนมปังสังขยาให้กินกับกาแฟ อร่อยมาก   ร้านเขาทำคลาสสิก มีภาพวาดบนผนังสะท้อนชีวิตกรุงเทพในอดีตเสียด้วย

ที่มาของคำว่าราชวงศ์ ยังไม่เจอค่ะ   แต่พอนึกถึงที่นี่แล้วนึกถึงบะหมี่ราชวงศ์  ตอนนี้ย้ายขึ้นห้างไปเสียแล้ว
คุณนกข.จะฟังประวัติถนนสายอื่นแก้ขัดไปก่อนไหมล่ะคะ อย่างถนนดินสอ   พอจะเล่าให้ฟังได้
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 104

architect


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ก.ค. 02, 09:49

 เคยได้ยินมาแต่ว่าริมฝั่งเจ้าพระยาด้านฝั่งธนฯ มีวังเจ้านายตั้งอยู่ตรงข้ามท่าน้ำราชวงศ์  เวลาไปจะข้ามมาฝั่งพระนครจึงบอกว่าไปท่าราชวงศ์   แต่ก็เล่ากันมาอีกว่าในการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์  การขยายตัวของเมือง  โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนย้ายออกมาตั้งในบริเวณสำเพ็ง เยาวราช ก็ด้วยหลายเหตุผลด้วยกัน  อาจจะด้วยต้องการพื้นที่เดิมไปสร้างเมือง  ทางด้านทำเลริมน้ำ ก็สะดวกกับการขนส่งสินค้าทางน้ำก็เป็นเหตุผลหนึ่ง  จะเห็นว่าถนนทรงวาดที่เชื่อมต่อถนนราชวงศ์  เป็นต้นกำเนิดธุรกิจ ค้าข้าวที่สำคัญ
 
ในสมัยก่อน (ไม่น่าจะเกิน 50 ปี) สินค้าเกษตรจากลุ่มเจ้าพระยาขนมาขายที่นี่ทั้งนั้น  ถ้าย้อนไปอีกหน่อย  เขาก็เล่ากันอีกว่า  ในสมัยโน้น ทางการห้ามเรือขนาดใหญ่ จอดเลยเข้ามาเกินแถบวัดเลียบ( การไฟฟ้าวัดเลียบ ใกล้สะพานพุทธในปัจจุบัน) เพราะจะไม่ปลอดภัยต่อวังหลวง  ย่านการค้า เลยไปเจริญ เอาแถบที่เป็นที่ดอนเลยไปแถบก่อนถึงทางปากแม่น้ำ  (แถบ บางรัก สีลม  โรงแรมริมน้ำอย่างโอเรียลเต็ล )  แต่แถบปากแม่น้ำเลยก็ไม่เหมาะ เพราเป็นดินตะกอนใหม่ (ช่วงที่ปัจจุบันกลายเป็นคอนโดสวยๆริมน้ำ  แต่ยังมีสภาพความเป็นโกดังสินค้าเก่าเหลืออยู่บ้าง ในแถบค่อนไปทางสะพานแขวน ถ้าผ่านไปจะยังพอเห็น ) ซึ่งมีทั้งย่านฝรั่งและย่านคนจีน ต่อเนื่องกันมาตามริมน้ำเจ้าพระยา  แถวๆสีลมนั้นก็เนื่องจากฝรั่งมาตั้งโรงสีลม จึงเรียกว่าถนนสีลม

ในปัจจุบันจะเห็นคานเรือยังเหลืออยู่  แต่เทคโนโลยีก็พัฒนาไปไกล สามารถซ่อมเรือในน้ำได้โดยไม่ต้องยกขึ้นบกหรือขึ้นคานแล้ว  เรียกว่า ดำน้ำลงไปเชื่อมรอยรั่วกันเลย  หรือไม่ก็ใช้วิธีสูบน้ำออกชั่วคราว

แล้วก็ได้ยินเขาเล่ากันอีกว่าในสมัยก่อนโน้น  ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ครั้งเริ่มสร้างถนน นั้นใช้เงินพระคลังข้างที่ส่วนหนึ่งกับเงินปี้จีนที่ชาวจีนต้องเสียภาษี ดังเช่น " ประกาศเงินปี้จีนปีชวดทำถนน"
เมื่อไม่นานมานี้เพิ่ง ได้อ่านหนังสือ ของกรมศิลปาการ แปลมาจากฝรั่งที่เข้ามาเที่ยวเมืองไทยสมัย รัชกาลที่ 5 อ่านแล้ว ได้เห็นมุมมองอื่นๆ ที่แปลกออกไป
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ก.ค. 02, 10:18

 แถมซะหน่อย สะพานพุทธฯนั้น คนจีนแต้จิ๋วจะเรียกว่าซิงเกี๊ย(จริงๆแล้วออกเสียงว่า กี-อ๊อ แบบอ่านติดกันเร็วๆน่ะครับ) แปลว่าสะพานใหม่ จนเดี๋ยวนี้ก็ยังเรียกอย่างนี้อยู่ครับ ถึงแม้ว่าจะกลายเป็นสะพานเก่ามากๆๆๆไปแล้ว
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เรไร
อสุรผัด
*
ตอบ: 11


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ก.ค. 02, 08:41

 ถ้าเอ่ยถึงเยาวราช สำหรับแม่หญิง คือ  แหล่งของกินอร่อย ๆ
และ ถ้าจับไปปล่อยไว้กลางเยาวราช  แม่หญิงจะกลับบ้านไม่ถูกเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ก.ค. 02, 11:26

 ทราบแต่ว่าชุมชนชาวจีนแห่งแรกอยู่ที่บริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน   เพราะเป็นบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาสะดวกกับการติดต่อค้าขายทางเรือสำเภา  คนจีนก็เลยอยู่กันริมฝั่งทางฟากกรุงเทพ
ส่วนขุนนางไทยอยู่ทางฝั่งธนบุรีซึ่งเป็นเมืองหลวง ก่อนบางส่วนจะย้ายมาอยู่ทางฝั่งกรุงเทพ โดยเฉพาะขุนนางวังหน้า แต่ส่วนใหญ่จะยังอยู่ทางฝั่งธนตลอดรัชกาลที่ ๑
   
พอสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงย้ายเมืองมาทางฝั่งกรุงเทพ  ก็โปรดฯให้ย้ายชุมชนชาวจีนไปอยู่ที่สำเพ็ง แถววัดสามปลื้ม มีคลองขุดจากแม่น้ำเป็นทางคมนาคมได้สะดวก   แต่ไม่มีการพูดถึงบริเวณแถวเยาวราช เพราะยังไม่เกิดค่ะ

ในรัชกาลที่ ๑-๓ ไม่มีถนน  คนไทยใช้คลองแทนถนน
ในรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีถนนขึ้นมา ๓ สาย
ในรัชกาลที่ ๕ ถึงมีการตัดถนนตามแบบยุโรป  แทนที่จะขุดคลองอย่างเมื่อก่อน
ถนนอย่างที่เรารู้จักส่วนใหญ่จะตัดในรัชกาลที่ ๕  ขอให้นับจากพระบรมมหาราชวังเป็นหลัก เพราะศูนย์รวมของเมืองอยู่ตรงนั้น
ถนนสายเก่าๆของไทยจะเริ่มตัดจากบริเวณนั้นแล้วค่อยๆขยายเพิ่มไปสู่รอบนอกขึ้นทุกทีค่ะ

มาเล่าถึงถนนดินสอดีกว่า ไหนๆก็ไปค้นมาแล้ว
ใครที่รู้จักร.ร.สตรีวิทยา   คงรู้จักถนนดินสอ   เพราะถนนสายนี้ผ่านหน้าโรงเรียนพอดี
แล้วตัดข้ามถนนราชดำเนิน  มุ่งไปสู่เสาชิงช้า  หมดแค่นั้น

ถนนดินสอมีขึ้นในรัชกาลที่ ๕  พ.ศ. ๒๔๔๒  เข้าใจว่ามีไล่เลี่ยกับถนนราชดำเนิน

ชื่อถนนดินสอ  สันนิษฐานว่าย่านนี้เดิมเป็นตรอกมาก่อน  พอตัดเป็นถนน เลยได้ชื่อถนนตามนั้น
เพราะตอนแรกๆถนนชื่อว่า ถนนตรอกดินสอ

ดินสอที่ว่านี้ไม่ใช่ดินสอชนิดแท่งๆ สีสวยๆ เขียนก.ไก่ ข.ไข่ อย่างสมัยนี้  แต่เป็นดินชนิดหนึ่ง ทำจากดินดานผสมดินสอพอง และขมิ้นผง นวดจนเข้ากันดีแล้วคลึงเป็นแท่ง ตากแห้งจนแข็ง ใช้เขียนตัวหนังสือบนสมุดไทยสีดำ

ดินพวกนี้กินกับหมากก็ได้ค่ะ   ไม่มีอันตราย แม่พลอยตอนแพ้ท้องแรก  ก็อยากกิน"ดินสอ" คือดินชนิดนี้ละ   ซื้อมาก็นั่งกินทั้งวันทั้งคืนอย่างเอร็ดอร่อย

เสฐียรโกเศศเล่าไว้ใน"ฟื้นความหลัง" ว่า แถวนี้มีร้านขายดินสออยู่หลายร้าน สันนิษฐานว่าพอตัดถนนก็เลยได้ชื่อถนนตามสินค้าที่มีมาแต่เดิม
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ก.ค. 02, 17:33

 ขอบคุณครับ
ทำให้นึกถึงถนนตีทอง แถวนั้นแต่ก่อนคงจะมีช่างทองตีทองใบอยู่แยะ หรือตำบลบ้านบาตร บ้านดอกไม้ก็คงเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 ก.ค. 02, 02:54

 วันไหนไปเยาวราชด้วยกันสักวันไหมครับ แม่หญิง?

ถ้าไปแล้วกลับบ้านไม่ถูกเราก็ไปเที่ยวกันต่อที่อื่นสิครับ ง่ายออก ผมว่าถ้าผมมีวาสนาได้ไปเที่ยวที่ไหนกับแม่หญิง วันนั้นผมก็คงสติลอย ใจลอยออกนอกอก กลับบ้านตัวเองหรือกลับบ้านแม่หญิงไม่ถูกเหมือนกัน

...คุณว่าที่พ่อตาอาจจะต้องเตือนสติด้วยไม้ตะพดก็ได้ แฮ่ะๆ ถ้าโดนเข้ายังงั้นละก็รับรองความจำแม่น สติกลับมาอยู่กะตัว เอาแม่หญิงมาส่งบ้านได้ตรงเวลาแน่ครับ    
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 85

Graduate Student New Mexico Institute of Mining and Technology, Socorro, NM USA


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ก.ค. 02, 05:39

 อืม มาอ่านตำนานถนน อยู่ดี ๆ เอ๊ะตอนท้ายมันยังไง ผมชักงง ๆ แต่ว่าแม่หญิงดูสิครับ บอกว่าดีใจได้ไปเที่ยวกับแม่หญิง แต่ใจลอยไปไหนไม่รู้ มันยังไงกันเนี่ย
ผมล่ะเสียดายที่กรุงเทพฯ เราถม คลองซะเกือบหมด
จริง ๆ ผมว่านั่งเรือเนี่ยสบายกว่านั่งรถพอควรนะครับ
สมัยเรียนหนังสือ ผมนั่งเรือหางยาวจากคลองแถวบ้าง (คลองบางหลวง) ไปขึ้นที่ท่าสะพานพุทธแล้วก็เดินไปโรงเรียน เรียกว่าสบายดีมากเลยตอนนั้น
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 104

architect


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ก.ค. 02, 07:33

 อุ๊ย ..เพิ่งจำได้ว่าแถวเยาราชมี " ขนมจีบ ซาละเปา "อร่อยหลายเจ้า
ว่าจะชวนไปกิน  แต่มาเจอหาบขนมจีบเจ้าเก่าเด็ดกว่าเยอะ

งั้นหักพวงมาลัยเลี้ยวไปราชเทวีดีกว่าค่ะ สี่แยกราชเทวีในปัจจุบัน  40-50 ปีก่อน  ท่านว่าเป็นสะพานข้ามคลอง ชื่อ สะพานพระราชเทวี  ไม่ใช่สะพานข้ามสี่แยกแบบวันนี้นะคะ  

ชื่อสะพานมีที่มาเป็นอนุสรณ์แห่ง พระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรี พระราชเทวี
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง