เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5750 คุยเรื่องสเปนกันดีกว่า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
 เมื่อ 30 มิ.ย. 02, 03:52

ไม่ได้เกี่ยวกับฟุตบอลโลก และการตกรอบของทีมชาติสเปน ด้วยการแพ้พลิกล็อกต่อทีมชาติเกาหลีใต้ (หรือมีใครล็อกเอาไว้ก็ไม่ทราบ) ... อุๆๆๆ

แต่อยากชวนคุยเรื่องเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นสเปนช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้ครับเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายที่ชื่อว่าETA(เอ็ดต้า) ที่ลอบวางระเบิดสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งในสเปน จนนักท่องเที่ยวต่างชาติพากันหนีกลับประเทศตัวเองหมด ... ระหว่างรอผู้เชี่ยวชาญเช่นคุณนกข. มาช่วยวิเคราะห์ ผมโม้ให้ฟังก่อนก็แล้วกันครับ หุๆๆๆ  

ประเทศสเปนนั้นประกอบด้วยหลายกลุ่ม กลุ่มที่มีปัญหามากในขณะนี้คือ ชนกลุ่มน้อยที่เรียกตัวเองว่า บาร์ก หรือ Basques ซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ระหว่างตอนเหนือของสเปนกับตอนใต้ของฝรั่งเศสมาเนินนานตั้งแต่ก่อนสมัยโรมันเลยทีเดียว

จะเป็นผู้อาศัยดังเดิม หรืออพยบมาจากถิ่นอื่นนั้นไม่เป็นที่ทราบได้ ... พวกBasquesนี้มีภาษาเป็นของตัวเองครับ เรียกว่าภาษาEuskera  พวกเขารักษาเอกลักษณ์ของเผ่าตนเองมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน สู้กับไวกิ้ง โรมัน มุสลิม ... นอกจากนี้ยังเป็นนักเดินเรือที่เก่งกาจ ว่ากันว่านักเดินเรือชาวBasquesค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสเป็นร้อยปี และก็ชาวบาร์กอีกนี่แหละที่เป็นลูกเรือส่วนใหญ่ของโคลัมบัสซึ่งได้เดินทางไปค้นพบทวีปอเมริกา

เนื่องจากพวกBasquesเป็นคนกลุ่มน้อยอยู่คั่นระหว่างสองมหาอำนาจสเปนกับฝรั่งเศส เลยไม่มีโอกาสได้แจ้งเกิด

สมัยสงครามกลางเมืองในสเปนราวๆปี 1936-1939 นายพลฟรังโก้ซึ่งเป็นฝ่ายพรรคชาตินิยม พยายามที่จะรวบรวมสเปน สั่งห้ามพวกBasquesพูดภาษาEuskera นอกจากนี้แล้วยังถล่มเมืองของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ไปหลายเมือง จนขนาดจิตรกรเอกอย่างปิกัสโซ่ยังวาดรูปแสดงความโหดร้ายเอาไว้  

นายพลฟรังโก้นั้นปกครองด้วยลัทธิชาตินิยม ไม่ต้องการให้มีการแบ่งแยกทางศาสนาและภาษา ซึ่งนโยบายเผด็จการของแก ทำให้พวกบาร์กเจ็บช้ำมาตลอด ราวๆปี 1959 จึงได้มีขบวนการ เอ็ดตาเกิดขึ้น

ชื่อ เอ็ดตา (ETA) ย่อมาจาก Euzkadi Ta Askatasuna  ซึ่งหมายความว่า Basque Fatherland and Freedom ขบวนการนี้ได้ก่อการวุ่นวาย เพื่อต้องการแบ่งแยกดินแดน คล้ายๆกับไออาร์เอในไอร์แลนด์เหนือ

นายพลฟรังโก้นั้นปกครองสเปนด้วยระบบเผด็จการร่วม 40 ปีเลยทีเดียว มาเสียชีวิตเอาเมื่อปีค.ศ. 1975 หลังจากนั้นสเปนจึงเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีกษัตริย์ฮวน คาร์รอส เป็นองค์พระประมุข แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยได้อยู่ดี
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 มิ.ย. 02, 08:01


เอาภาพนายพลฟรังโก้ ให้ชมกัน
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 มิ.ย. 02, 08:29


สงครามในมุมมองของปีกัสโซ่

ในปีค.ศ. 1937 ระหว่างสงครามกลางเมืองในสเปน นายพลฟรังโก้และพันธมิตรนาซีเยอร์มัน ใด้ส่งฝูงบินไปทิ้งระเบิดถล่มเมืองของพวกบ๊าสก์ ที่ชื่อว่า Guernica มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนับพัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก

ปีกัสโซ่ซึ่งอ่านข่าวสงครามจากหนังสือพิมพ์ ได้ถ่ายทอดความโหดร้ายของสงครามไว้ดังภาพข้างบนนี้ครับ ชื่อภาพว่า Guernica แสดงโชว์อยู่ที่มิวเซี่ยมในกรุงเมดดริด
บันทึกการเข้า
ฝอยฝน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 104

architect


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 มิ.ย. 02, 09:26

 ได้ยินชื่อประเทศนี้ หรือรู้จักสเปนก็แค่วัวกระทิงกับนักล่อวัวโบกผ้าแดงเท่านั้นแหละค่ะ ฟังแค่นี้ก็ดูว่าจะเลือดร้อนมากๆๆนะคะ
อ้อ...ระบำสเปนอีกอย่างค่ะ  นี่ดนตรีก็เร่าร้อนไม่แพ้กันค่ะ
บันทึกการเข้า
ทองรัก
พาลี
****
ตอบ: 390

นักวิจัย


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 มิ.ย. 02, 09:48

 รู้จักพอ ๆ กันคุณฝอยฝนเหมือนกันค่ะ
แต่เป็นอีกประเทศหนึ่ง (ในหลาย ๆ ประเทศ) ที่คิดไว้ว่า
ก่อนตายจะต้องไปเที่ยวให้ได้ซักครั้ง
บันทึกการเข้า
ภังคี
มัจฉานุ
**
ตอบ: 73

รับจ้าง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 มิ.ย. 02, 07:25

 น่าไปครับ สเปนนี่ คนเขาไม่วางหยื่งกับคนเอเชียเหมือนพวกไอ้เศส  เป็นที่ๆแม้คนยุโรปด้วยกันหลายประเทศเขายังอยากไป
ข้อสำคัญเราไปดูพอมีประสบการ์ณ พยายาม ไม่เอาเงินไปให้เขามากๆโดยไม่จำเป็นน่ะ น่าไปทั้งนั้นครับ
อ้อถ้าไปสเปนแล้วต้องไปโปรตุเกสด้วยครับ คนโปรตุเกส น่ารักมากเชียว เขามีความแตกต่างกันบางอย่างที่น่าสนใจนะ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 มิ.ย. 02, 20:02

 ผมยังไม่เคยไปสเปนเลยครับ ดังนั้นจึงไม่กล้ารับคำว่าผู้เชี่ยวชาญที่เจ้าของกระทู้ตั้งให้



พวกบ๊าสก์อยู่แถวๆ เทือกเขาพีแรนิส ใช่ไหมครับ อยู่ระหว่างฝรั่งเศสกับสเปนอย่างว่า และเป็นกลุ่มคนที่มีความภูมิใจในความเป็นตัวของตัวเองสูง สมัยที่กษัตริย์สเปนไล่ยิวออกจากประเทศ คนยิวก็หนีขึ้นภูเขาไปได้พวกบ๊าสก์ช่วย รอดไปได้หลายราย เพราะเขาถือทำนองว่าขึ้นมาบนเขานี่เป็นถิ่นเขา พระราชาสเปนหรือทหารของพระราชาสเปนอย่า (เสือก) มายุ่ง



ถ้าเข้าใจไม่ผิด พวกบ๊าสก์นี่เป็นคนกลุ่มที่ใส่หมวกเบเรต์มาก่อน แล้วฝรั่งเศสเอาไปใส่ตามอย่างจนคนอื่นนึกว่าเป็นของฝรั่งเศส เคยเห็นไหมครับหมวกที่คนฝรั่งเศสเขาใส่กัน เป็นทรงแบนๆ กลมๆ มีติ่งยื่นออกมาจากกลางหัวนิดหนึ่ง จะใส่ให้เก๋ต้องให้เพล่ไปข้างหนึ่งด้วย  แบเร่ต์แบบนี้ในภาษาฝรั่งเศสยังเรียกว่าหมวกแบเร่ต์ของพวกบ๊าสก์อยู่เลย



เรื่องของการเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยนี่ พูดยากครับ เป็นปัญหาในหลายแห่ง ที่จีนก็มี อิรักก็มี อินเดียก็มี พม่าก็มี แม่แต่บ้านเราก็เคยมีอยู่ สมัยตั้งสันนิบาตชาติหลังสงครามโลกครั้งแรกนั้นประธานาธิบดีวิลสันของอเมริกาเป็นตนกำหนดหลักการ 14 ข้อ ที่ควรจะเป็นระเบียบของโลกใหม่หลังสงคราม หนึ่งในหลักการที่ว่านี่ก็คือ People's right to self-determination สิทธิของประชาชนหรือกลุ่มคนที่จะกำหนดใจตนเอง แต่สิทธิที่ว่านั้นหลายกรณีไปขัดกับอีกหลักการหนึ่ง คือการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของรัฐ แปลไทยเป็นไทยก็คือว่า หลักอันหลังนี้บอกว่ารัฐๆ หนึ่งมีอธิปไตยของเขาในเขตบ้านเขา จะมีอำนาจอื่นมาคัดง้างหรือต่อต้านเขาไม่ได้ และดินแดนของเขาก็เป็นของรัฐนั้นโดยสมบูรณ์ครบถ้วน แบ่งแยกเป็นส่วนๆ ออกไปไม่ได้ พวกที่อ้างหลักข้อแรกก็เป็นพวกบ๊าสก์นี่ ที่ว่าเขาเป็นกลุ่มชนอีกกลุ่มหนึ่งต่างหากไปจากชาวสเปน ก็ควรมีสิทธิในการกำหนดใจตนเอง อันเป็นหลักอ้างหลักเดียวกับพวกทิเบตในจีน พวกชนกลุ่มน้อยในพม่า ชนไอริชในไอร์แลนด์เหนือ ฯลฯ แต่พวกที่ถือหลักข้อหลัง (ส่วนมากก็เป็นรัฐบาล) ก็จะมองพวกกลุ่มแรกว่าเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือเป็นผู้ก่อการร้ายต่อต้านรัฐบาลไปเลย



ก็น่าเห็นใจทั้งสองข้างแหละครับ และต้องดูปัจจัยในกรณีเฉพาะแต่ละกรณีลงไปด้วย บางครั้งเขาก็ทะเลาะกันจนแยกตัวออกไปสำเร็จ กลายเป็นประเทศใหม่ของเขาเอง เช่นกรณีบังคลาเทศ หรือล่าสุดนี้ก็ติมอร์ บางทีก็ยังแยกไม่ออกยังสู้รบกันไม่จบจนเดี๋ยวนี้ บางทีรัฐบาลก็หาทางแก้โดยให้ชนกลุ่มน้อยมี autonomy คือการปกครองตนเองได้ในระดับหนึ่ง รัฐบาลรับรองความแตกต่างของพวกกลุ่มน้อย แต่ยังรวมอยู่ในประเทศเดียวกัน ผมนึกถึง Quebec ของแคนาดา ซึ่งมีทั้งคนที่อยากให้แยกเป็นประเทศใหม่และอยากให้รวมอยู่กับแคนาดาดังเดิม แต่ดูเหมือนเขาใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างสันติ คือ ลงคะแนนเสียงประชามติ และที่ผ่านมาพวกที่อยกให้แยกตัวออกไปก้ไม่เคยชนะโหวตเสียที



ของเรา ผมอยากจะคิดว่าคงพอจัดได้ว่าเป็นอย่างหลังนี้กลายๆ คือรัฐบาลพยายามพัฒนาความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อย รับรองสิทธิของเขาในฐานะคนไทยคนหนึ่งเช่นเดียวกับเรา รับรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม (เช่นยอมให้ใช้หลักกฏหมายอิสลามแทนประมวลกฏหมายแพ่งบางมาตรา ในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้) แต่ยังพยายามดึงเอาไว้ในราชอาณาจักรไทยเดียวกัน เพราะเราไม่ยอมรับว่าเขามีสิทธิแยกตัวเองออกไป  รัฐธรรมนูญระบุชัดว่าประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกมิได้ แต่ตราบใดที่ความขัดแย้งยังไม่ปะทุขึ้นมาเป็นความรุถนแรงประเภทวางระเบิด หรือเผาโรงเรียนหรือสถานีตำรวจ (อย่างที่บางทีก็มีเป็นระยะๆ) ก็ต้องนับว่าก็ยังดี ตอนหลังนี่เห็นเขาว่า ขบวนการแบ่งแยกดินแดนทางใต้หมดไปแยะแล้วครับ โดยเฉพาะที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองจริงๆ เกือบไม่มีแล้ว ที่ยังมีระเบิดกันอยู่ เห็นว่าบางทีก็เป็นกองโจรที่จะหาสตางค์มากกว่าทำตามอุดมการทางการเมือง แต่ผมก้ไม่ได้ติดตามสถานการณ์ความมั่นคงแถบนั้นนานแล้วไม่ทราบว่าไปถึงไหนแล้ว



ออกนอกเรื่องสเปนไปไกลมาก ดึงมาเข้าเรือนไทยว่าคำว่า สเปน เอสปันยา adjective ว่าเอสปันโยลนี่ หูคนไทยโบราณท่านได้ยินว่าอิศปันหยอดครับ ในเอกสารเก่าๆ ของไทยบางฉบับเรียกสเปนว่างั้น เพื่อนบ้านของอิศปันหยอดที่คุณภังคีพูดถึง คนไทยโบราณท่านก็เรียกว่าพุทธิเกศ ฟังเป็นไทยสนิทเลย
บันทึกการเข้า
อ้อยขวั้น
มัจฉานุ
**
ตอบ: 60

ทำงานบริษัทเอกชน


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 มิ.ย. 02, 13:02

 เอามาฝากคุณ นกข. ค่ะ  เห็นหยอดๆ เหมือนกัน    
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ก.ค. 02, 03:52

 หายไปนานขออภัยครับผม

ผมก็ยังไม่เคยไปสเปนเหมือนกันครับ
แต่พอทราบอยู่บ้างว่าสาวสเปนสวยมาก เหอๆๆ
อาหารสเปนก็อร่อยดี ผมชอบข้าวผัดสเปนที่เรียกว่า Paella
คล้ายๆเข้าผัดทะเลบ้านเรา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.097 วินาที กับ 19 คำสั่ง