เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5524 มิลินปัญหา
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


 เมื่อ 10 มิ.ย. 02, 16:09

 ใครเคยอ่านมั่งครับ อยากชวนคุย
เป็นคำถามคำตอบเชิงปรัชญา และศาสนา ระหว่างพระเจ้าเมนานเดอร์แห่งกรีก หรือพุทธเรียกว่ามิลินท์  กับพระนาคเสนเถระ พระอรหันต์  ซึ่งเกิดหลังพุทธกาล
พระเจ้าเรียกชื่อยากเนี่ยเห็นว่าทรงฉลาดในการถามแนว Metaphysics  ทำเอานักปราชญ์กลัวกันไปหมดไม่รู้จะตอบยังไง  ในที่สุดพระนาคเสนก็อาสาเป็นคนตอบ
อ่านๆบางข้อก็ไปคล้ายเซ็น

พระนาคเสน: ถวายพระพร
มิลินท์:    ข้าพเจ้าพูดแล้ว  ท่านฟังเถิด
พระนาคเสน: อาตมาฟังแล้ว พระองค์ตรัสมาเถิด
มิลินท์ : ท่านได้ฟังว่าอะไร
พระนาคเสน: พระองค์ตรัสมาว่าอะไร
มิลินท์ :  ก็ข้าพเจ้าได้ถามแล้ว
พระนาคเสน : อาตมาก็ตอบแล้ว
มิลินท์  : ท่านตอบว่าอะไร
พระนาคเสน: ก็พระองค์ตรัสถามอะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 มิ.ย. 02, 11:13

 มิลินทปัญหา เป็นเรื่องอ่านยากมากค่ะ
คำถามคำตอบที่ยกมา ก็คงจะแสดงความทันกันระหว่างพระเจ้ามิลินท์กับพระนาคเสน  ไม่มีใครเพลี่ยงพล้ำกัน
ถ้าพระเจ้ามิลินท์ไม่หยุดเสียก่อนก็คงต้องถามกันไปแบบนี้ จนตาย

ปัญหาบางอย่างที่พระนาคเสนตอบ  ดิฉันอ่านแล้วต้องเอามาคิดต่ออีกนาน
อย่างตอนหนึ่งพระเจ้าม. ถามว่า  ระหว่างคนทำบาปทั้งที่รู้ว่าเป็นบาป   กับคนที่ทำบาปโดยไม่รู้ว่าเป็นบาป อย่างไหนหนักกว่ากัน
ดิฉันคิดว่าคนไม่รู้น่าจะบาปน้อยกว่านะคะ  แต่พระนาคเสนกลับตอบว่า คนไม่รู้นั่นแหละบาปกว่า
เพราะคนที่ทำบาปทั้งที่รู้ว่าบาป  จะมีความสะดุ้งกลัว ทำด้วยจิตใจที่ไม่เต็มร้อย   ส่งผลให้ไม่กล้าทำมากนักก็เป็นได้    
แต่คนที่ไม่รู้ว่าบาปจะทำด้วยใจเต็มร้อย  ไม่เกรงกลัว  สามารถที่จะทำบาปได้เต็มที่ ไม่มียั้ง   ก็เลยบาปมากกว่า
นึกไปถึงบรรดาผู้ก่อการร้ายบางพวก  หรือพวกผู้นำลัทธิที่ฆ่าตัวเองและคนอื่นเพื่อสนองอุดมการณ์หรือความเชื่อของตัวเลยละค่ะ  พวกนี้จะก่อเหตุสยองขวัญได้มากกว่าฆาตกรธรรมดา
ชนเผ่ามายาที่ถูกทำลายสูญสิ้นอารยธรรมไป ก็เพราะสเปนที่เดินเรือไปถึง ประทับตราว่าพวกนี้เป็นพวกนอกศาสนา    ก็เลยย่ำยีได้ทุกอย่าง ไม่ถือว่าเป็นคนเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 มิ.ย. 02, 03:32

 This is another favorite book of mine.

There are many good explanations of many Buddhist concepts in this book. One is concerning the sublime or supreme truth of the principle of Anatta, "non-self". At the level of what we feel to be the truth or the fact - at the phenomenal level - we feel that we, ourselves, our Atta - exist, but deeper at another level of reality, nothing exists as a "Self".



This is one of the difficult ideas of Buddhism. The King asked the Monk on this matter, and the Monk asked the King how His Majesty came to see him. The King replied that he came to see the Monk in his royal chariot. The Monk asked the King: what is a chariot? Does "a chariot" exist by itself? Can we point ot the real essence of a chariot? Are wheels chariot? Or the axis? Or the body? Or the passengers' seat? Or the driver's seat? The King had to reply in the negative to all these questions, and in the end said there is no chariot without all these components. A chariot exists only when every part of it is considered together as a whole. So the term or the concept of "a chariot" is really meaningless in itself, it being only a compound of other things. The Monk explained that : So is this self. In ultimate reality there is no "King Milindra"; there is no "Venerable Nagasena"; there is no "me", no "you", no "her". There is no Self as such. What we conceive as Self is only a compound of many other things, coming together only temporarily.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 มิ.ย. 02, 10:31

 อีกประเด็นหนึ่งในมิลินทปัญหาที่น่าสนใจคือ เรามักจะเชื่อว่าคนมีวิญญาณ หรือ soul พอตายแล้ววิญญาณก็ออกจากร่างไป
ถ้าไปเกิดในร่างใหม่ ก็ใหม่แต่ร่างแต่วิญญาณยังคงเป็นดวงเดิม
ทำให้เกิดนิยายรักข้ามชาติข้ามภพ    หรือไม่ก็เป็นความเชื่อว่าฉันเป็นคนนั้นคนนี้มาเกิด
เหมือนร่างกายคือเสื้อผ้าที่ถอดชุดเดิมออกแล้วสวมชุดใหม่  แต่ตัวเจ้าของ คือวิญญาณ ยังคงเดิม

แต่ในมิลินทปัญหา  พระเจ้ามิลินท์ถามพระนาคเสนว่า  คนที่ตายไปแล้ว ไปเกิดอีก  เขาจะยังคงเป็นผู้นั้นหรือว่าเปลี่ยนไปเป็นอีกคนหนึ่ง
พระนาคเสนตอบว่า  จะเป็นคนเดิมก็ไม่ใช่  คนใหม่ก็ไม่ใช่
แล้วขยายความย้อนถามพระเจ้ามิลินท์ว่า  ตอนนี้พระองค์เป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว  ดูหน้าตารูปร่างแตกต่างจากตอนเป็นเด็กเล็กๆหรือไม่
พระเจ้ามิลินท์ตอบว่า ต่างกัน
พระนาคเสนถามว่า งั้นเป็นคนละคนกันหรือเปล่า
พระเจ้ามิลินท์ตอบว่า เปล่า ยังเป็นคนเดิม
พระนาคเสนก็ตอบว่า นั่นแหละ   เพราะอาศัยร่างกายเดียวกัน

แล้วเปรียบอีกครั้งว่า เหมือนการจุดเทียน(หรือตะเกียง)ไว้ตลอดคืน
แล้วตามไฟ คือจุดใหม่ให้สว่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

ไฟที่จุดใหม่ ถือเป็นเปลวไฟเก่าหรือไม่
พระเจ้ามิลินท์ตอบว่าไม่ใช่  เป็นเปลวไฟใหม่ไม่ใช่อันเก่า
พระนาคเสนถามว่า งั้นเป็นไฟคนละดวงกันหรือเปล่า
พระเจ้ามิลินท์ตอบว่าไม่ใช่อีก
พระนาคเสนก็ตอบว่า นั่นแหละ  เมื่อเปลวไฟหนึ่งดับอีกอันก็เกิดขึ้นแทน  สืบเนื่องกันเรื่อยๆไป  จึงตอบได้ว่าเป็นอันเดิมก็ไม่ใช่  เป็นคนละดวงก็ไม่ใช่อีก
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 มิ.ย. 02, 15:48

 มิลินทปัญหา ในฉบับไทยมีหลายสำนวนแปลครับ เห็นเล่มหนึ่งดูเหมือนจะสำนวนเก่าหน่อยเรียกว่า ปัญหาพระยามิลินท์

พระเจ้ามิลินท์นั้นเรารู้กันอยู่ว่า ตามประวัติศาสตร์ท่านเป็นกษัตริย์เชื้อชาติกรีก สืบเชื้อสายมาแต่พวกขุนพลของกองทัพอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ยกทัพไปถึงอินเดียตีได้แดนอินเดียบางส่วน เมื่อทัพหลวงคือพระเจhาอเล็กซานเดอร์ยกกลับกรีซไปแล้ว ก็ให้ขุนพลกรีกของพระองค์อยู่ครองดินแดนที่ยึดได้ใหม่ จึงกลายเป็นต้นตระกูลของพระเจ้ามิลินท์ ที่น่าสนใจคือ พวกชนชาวกรีกในอินเดียพวกนี้ หนังสือไทยหนังสือบาลีเก่าๆ อย่างใน หนังสือ ปัญหาพระยามิลินท์ ที่ว่ามานั่น เรียกว่าพวก "โยนก"

โยนก ก็คือ Ionic / Ionian คือพวกรีกพวกหนึ่ง

ในสมัยหลังลงมาอีก เมื่อดินแดนแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แหลมทองเรานี้รับอารยธรรมทั้งพุทธทั้งพราหมณ์จากอินเดีย ได้อินเดียเป็นครู พวกเราทางนี้ก็ได้เอาชื่อบ้านนามเมืองของอินเดียโบราณมาตั้งชื่อบ้านเมืองเราทางนี้มั่ง สมัยโน้นคนโบราณแถวนี้ท่านเห็นเท่ยังงั้นครับ- ว่างั้นเถิด จึงมีกรุงศรีอยุธยามาโผล่ที่เมืองไทย เลียนมาจากเมืองอโยธยาของพระราม และมีชื่อสถานที่ทำนองนี้ทั่วไปทั้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยาของคนไทย เมืองของคนพม่าละว้ามอญเขมรทั้งหลายด้วย

โยนก สมัยหลังจึงมาได้ความหมายใหม่ ผมเข้าใจว่าไทยโยนกนั้นเกี่ยวๆ กันอยู่กับล้านนาไทยคือที่เป็นภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบันนี้ (ใครทราบ ขอความรู้เพิ่มด้วยครับว่าโยนกนั้นกินขอบเขตแค่ไหนบ้าง) แต่ศัพท์เดิม โยนกนั่นเป็นพวกพระเจ้ามิลินท์นะครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 มิ.ย. 02, 16:09

 หนังสือแขกอินเดียโบราณเรียกพระนาม "อเล็กซานเดอร์"  มหาราช ว่า "อลิกสุนทร"  ครับ

สมัยของพระเจ้าเมนานเดอร์หรือพระยามิลินท์นั้น อยู่หลังพุทธปรินิพพานราวๆ 500 ปี

ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือพวกกรีกโยนกพวกพระเจ้ามิลินท์นี่แหละ ที่เป็นต้นตำรับการสร้างพระพุทธรูป แต่ดั้งเดิมจริงๆ นั้นชาวพุทธรุ่นแรกไม่มีคตินิยมการสร้างรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า ถ้าจะสร้างรูปขึ้นบูชาระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็จะทำเป็นทำนองสัญญลักษณ์ เช่น ทำเป็นรูปธรรมจักรมีกวางหมอบแทนปางแสดงปฐมธรรมเทศนาที่มฤคทายวัน (สวนกวาง) หรือทำเป็นรูปอาสนะ (เปล่าๆ) มีดอกบัวรองรับ อะไรยังงี้เป็นต้น
เมื่อพวกลูกหลานกรีกในชมพูทวีปรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็อยากจะสร้างรูปพระพุทธเจ้าเพื่อเคารพบูชา เพราะศาสนาเดิมของพวกกรีกนั้นมีรูปเคารพของเทวดากรีกอยู่ (ดูตัวอย่างได้ในกระทู้ข้างล่างนี้ครับ) ช่างกรีกเก่งทางสร้างเทวรูปแบบนี้ ก็เอาคตินิยมของตนเข้ามาในพุทธศาสนาด้วย พระพุทธรูปยุคแรกของโลก จึงหน้าตาใกล้ๆ ไปทางเทวรูปกรีก
ประวัติศาสตร์พุทธศิลป์ที่ผมจำได้บอกว่า พระพุทธรูปยุคแรกนั้นสร้างที่เมืองคันธาระ เรียกว่าพระพุทธรูปแบบคันธารราษฎร์ เมืองคันธาระสมัยโน้นเป็นดินแดนหนึ่งในชมพูทวีปที่อยู่ใต้การปกครองของกรีก

ชื่อเมืองคันธาระหลบลับลี้ไปจากความรับรู้ของคนไทยสมัยหลังไปหลายๆๆๆๆๆ ปี จนเมื่อเร็วๆ นี้เองเราจึงได้ยินชื่อนี้อีก จากปากฝรั่ง CNN ซึ่งเรียกชื่อเมืองนี้ว่า - กานดาร์ฮาร์ ในอาฟกานิสถานสมัยนี้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง