เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7117 "ภาษาไทยมีบ่วงไวยากรณ์มากเกินไป" ...????
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


 เมื่อ 04 มิ.ย. 02, 13:12

 ผมว่าผมงานยังยุ่งอยู่นะ พรุ่งนี้ก็ต้องตื่นเช้า ควรจะไปนอนได้แล้ว แต่อ่านไทยรัฐแล้วอดไม่ได้ต้องขอแสดงความคิดเห็น

คอลัมนิสต์ท่านหนึ่งในไทยรัฐที่คุณจ้อชอบอ่าน และตัวผมก็ชอบอ่าน แต่ผมชอบท่านแบบขวางๆ ท่านด้วย เพราะแก เอ๊ย ท่าน ชอบตะแบง ... วันนี้ท่านมารับใช้คนอ่านไทยรัฐด้วยการเล่าเรื่องของมหากวีปุชกิ้นของรัสเซีย

ท่านผู้นี้เป็นพวกนิยมรัสเซียจนเอียงกะเท่เร่ครับ และเกลียดอเมริกันจนไร้เหตุผลเช่นกัน ดูเหมือนท่านจะคิดว่า อะไรก็ตามแต่ที่รัสเซียว่า ต้องวิเศษเสมอและอะไรก็ตามที่อเมริกันทำ ต้องเลวโดยไม่ยกเว้น และใครก็ตามที่บังอาจไม่เห็นด้วยกับท่าน ต้องเป็นขี้ข้ารับใช้ฝรั่งตะวันตกสถานเดียว

ผมก็ไม่ได้ชอบขี้หน้าอเมริกันนักหรอก แต่ผมว่าผมทนการเผด็จการทางความคิดไม่ได้มากกว่า

แต่เอาเถอะ ความเห็นทางการเมืองหรือมุมมองทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น เรามีต่างกัน มองต่างกันได้ ไม่ว่ากัน อย่างน้อยในส่วนของผม ผมก็ไม่ว่าท่าน (ส่วนท่านคงจะเห็นว่าใครที่คิดต่างจากท่านเลวตามก้นอเมริกันไปหมดกระมัง?) แต่วันนี้ท่านมาพูดถึงภาษาไทย ก็ตามประสาท่านแหละครับ เล่าเรื่องมหากวีปุชกิ้นอยู่ดีๆ แล้วก็อดไม่ได้ ต้องขอให้ได้ด่าคนอื่น ก็เริ่มด้วยการบอกว่า น่าเสียดายที่เราไม่มีโอกาสอ่านต้นฉบับภาษารัสเซียกัน อ่านแต่ฉบับแปลจากภาษาอังกฤษ ซึ่งอรรถรสหายไปแยะ เพราะภาษารัสเซียเป็นภาษาที่สุดแสนวิเศษ คนรัสเซียอ่านแล้วก็ซาบซึ้งกันเป็นอันมาก แล้วก็แว้งมาบอกว่า น่าเสียดายเหลือเกินที่ภาษาไทยถูกบ่วงไวยากรณ์ร้อบรัดมากเกินไป เลยไม่บรรเจิดเพริศพริ้งพรายได้เหมือนภาษารัสเซียของท่านปุชกิ้น...

ผมก็เห็นด้วยว่าปุชกิ้นเป็นกวีที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก ใครจะชื่นชมปุชกิ้นก็ชื่นชมไปเถอะ ไม่ว่ากัน ภาษารัสเซียก็คงจะเป็นภาษษที่พริ้งพรายภาษาหนึ่ง มีวรรณกรรมเอกๆ ของโลกในภาษารัสเซียก็เยอะ แต่ว่ามนุษยชาติเรานี้มีมรดกร่วมกันที่รุ่มรวยกว่าแค่ภาษารัสเซียมากนักครับ กวีเอกไม่ได้มีแต่ที่เป็นคนรัสเซีย ที่ไม่ได้เป็นคนรัสเซียก็มีหัวใจเป็นกวีได้เท่าๆ กับคนรัสเซียที่เป็นครูของท่านเหมือนกัน เวอร์จิล โฮเมอร์ โอมาร์คัยยัม ตู้ฝู่ หลี่ไป๋ กาลิทาส  รพินทรนาถ ฐากูร แม้กระทั่งอเมริกันที่ท่านคงจะเห็นว่าหาดีไม่ได้ก็มีโรเบิร์ต ฟรอสต์ ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาของทั้งคนอังกฤษและอเมริกัน - ซึ่งในจักรวาลของท่านนั้นถือเป็นปีศาจ -นั้น ได้ให้กำเนิดผลงานที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ปุชกิ้นอย่างผลงานของเช็คสเปียร์ ผมเคารพหัวใจกวีของปุชกิ้น เคารพภาษารัสเซียของ Mother Russia แต่ผมไม่จำเป็นต้องกระทืบภาษาอื่นวัฒนธรรมอื่นตอนที่ผมให้ความเคารพกวีรัสเซียหรือภาษารัสเซียด้วย

และท่านจะไปกระทืบภาษาไหนเพื่อเหยียบหัวขึ้นไปชูภาษารัสเซียก็ตามแต่เถิด แต่อย่ามากระทืบภาษาไทยทั้งๆ ที่ตัวเองก็ใช้ภาษาไทยหากินเขียนหนังสือไทยขายอยู่ทุกวัน โปรดอย่ามากำแหงกับภาษาไทยของผม และของท่านผู้เขียนเองรวมทั้งบรรพชนของท่านผู้เขียนด้วย ผมขอตั้งญัตติถามเพื่อนๆ ในเรือนไทยด้วยกัน ... เพราะไปตั้งข้างนอกก็คงไม่มีใครสนใจตัวเล็กๆ อย่างผม.... ว่า ภาษาไทยมีบ่วงไวยากรณ์รุงรังมากเกินไปจริงหรือ? จนพริ้งพรายไม่ได้เท่าภาษาฝรั่งจริงหรือ บรรยายความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ ได้สู้ภาษาฝรั่งไม่ได้จริงหรือ (ไหนท่านชอบว่าคนที่เป็นขี้ข้าฝรั่งยังไงครับ เป็นทาสความคิดอเมริกันกับเป็นทาสความคิดฝรั่งชาติอื่นมันต่างกันตรงไหน?) ท่านเคยอ่านเจ้าฟ้ากุ้งไหม เคยอ่านสุนทรภู่ไหมครับ รู้จักอังคาร กัลยาณพงศ์ไหมครับ เคยผ่านตาเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์บ้างหรือเปล่าครับ แล้วชิต บุรทัตล่ะครับ หรือจิตร ภูมิศักดิ์ หรือร้อยแก้วอย่างเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป .... หรือ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

ผมว่าท่านไม่แฟร์ครับ

...ก็ได้แต่บ่นบ้าอยู่ในบ้านเล็กๆ ในวงของเราแค่นี้แหละครับ เพราะออกไปนอกวงเราก็คงไม่มีคนสนใจผมเท่าไหร่

นานาประเทศล้วน นับถือ
คนที่รู้หนังสือ แต่งได้
ใครเกลียดหนังสือคือ คนป่า
ใครเยาะกวีไซร้ แน่แท้คนดงฯ

ไม่มีตรงไหนในโลคงนี้เลยที่บอกว่ากวีที่ว่าต้องแต่งเป็นภาษารัสเซียเท่านั้นด้วย
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 พ.ค. 02, 08:15

 จ๊าก...โดนกระทู้พาดพิง กระผมไม่เกี่ยวคร๊าบบบ...

เรื่องโคลงกลอนนี่ผมไม่ค่อยถนัด ยิ่งเป็นภาษาต่างประเทศด้วยละก็ไม่ต้องพูดถึง
ถ้าเป็นภาษาไทยละก็พอจะซึ้งกะเขาได้บ้าง  แต่ประมาณเอาด้วยความรู้น้อยๆของผม
ผมว่าไวยกรณ์และกฎต่างๆภาษาไทย น่าจะหยุมหยิมน้อยกว่าภาษาตะวันตกนะครับ
อย่างน้อยก็ไม่ต้องมาผันคำกริยากันให้วุ่นวาย คำนี้ต้องเติมเอส คำโน้นต้องเติมอีเอส
ยิ่งภาษาฝรั่งเศสหรือเยอรมันต้องมานั่งจำเพศกันอีก มึนกันพอดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 พ.ค. 02, 09:13

 วิชาภาษาศาสตร์เขาถือกันว่าภาษาไหนจะยากง่ายแค่ไหนอยู่ที่จำนวนคำในการใช้ภาษา    ภาษาที่มีคำจำนวนมากจะมีโอกาสแสดงรายละเอียดได้มากกว่าภาษาที่มีถ้อยคำจำกัด  นี่คือข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความเห็น

เมื่อมีจำนวนคำมาก  ก็มีโอกาสจะแสดงความบรรเจิดพริ้งพรายได้มาก   นี่คือความเห็นของดิฉันค่ะ



ดิฉันเห็นตรงกันข้ามกับคุณร้อยตำรวจเอกเจ้าของคอลัมน์   ดิฉันเห็นว่าไวยากรณ์ไทยที่ท่านว่าเป็นบ่วง ที่จริงคือการแจกแจงคำด้วยเสียงสูงต่ำ  การแผลงศัพท์พยัญชนะ ที่ทำให้เกิดถ้อยคำได้หลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด   เหมาะกับการกวีโดยเฉพาะ



ดิฉันก็ไม่ทราบว่าภาษารัสเซียนั้นมีจำนวนอักษรและสระกี่แสนคำ รวมแล้วถึงสร้างคำได้วิเศษเลิศเลอกว่าภาษาไทย

แต่รู้ว่า การแต่งบทกวีในภาษาอังกฤษ  อย่างพวกpoem   หรือ sonnet   มีสัมผัสท้ายวรรคคำเดียวก็เหลือแหล่แล้ว    บางอย่างอย่าง blank verse ไม่มีสัมผัส แต่มีเสียงหนักเบาคล้ายครุลหุของไทย  ไปจนจบบรรทัด



ถ้าอยากทดสอบความบรรเจิดพริ้งพรายว่าภาษาไหนมีมากกว่ากัน  ทดสอบง่ายๆด้วยการเอาภาษาหนึ่งไปแต่งตามฉันทลักษณ์บทกวีในอีกภาษาหนึ่ง

ภาษาง่ายจะแต่งด้วยหลักของภาษาที่ซับซ้อนกว่าไม่ได้



เอาภาษาอังกฤษมาแต่งตามฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพดู   ดิฉันแต่งไม่ได้ เพราะมันไม่มีเสียงเอกเสียงโทแบบไทย

แต่เอาภาษาไทยไปแต่งเป็น poem แบบอังกฤษ แต่งได้  เพราะสัมผัสน้อยมาก

แสดงว่าภาษาไทยมีรายละเอียดและความซับซ้อนมากกว่าภาษาอังกฤษ  ถึงทำได้



ดิฉันเคยเอาบทกวีของเชกสเปียร์มาแต่งเป็นกลอนแปดแบบไทย    หาคำแทบตายเหมือนกันค่ะกว่าจะหาสัมผัสได้  และเสียงสูงต่ำก็ไม่มีแบบไทยเสียอีก

ลองอ่านดูไหมคะ



Twelfth Night

line 136-139

If I did love you in my master's flame,

With such a suffering, such a deadly life,

In your denial I would find no sense;

I would not understand it.



Adapted into a Thai poem



If I did /take place / of my master

I'll suffer / such a / deadly life

If, denied, / I will / not survive

I'll thrive /for your/ understanding.



ระเบียบการแต่งโคลงของไทยมีมากกว่าverse ของเชกสเปียร์  ค่ะ



กลับมาพูดถึงความพริ้งพรายไม่พริ้งพราย   ใครที่อ่านโคลงพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส บทนี้แล้วไม่รู้สึกว่าพริ้งพรายบ้าง  (แม้แต่ผู้ที่ไม่ค่อยเข้าใจว่าแปลว่าอะไรก็ตาม)



นาคีภุชแผ่เกล้า..........เกลือกเศียร

คลี่อาตมวนเวียน..........หัตถ์ไท้

นพรัตน์เรียบรายเฉวียน.......ฉวัดวิ่ง แสงนา

เถือกเถกิงกลไต้...........ตากรุ้งเรืองโพยม



หมายเหตุ เป็นคำบรรยายกำไลรูปพญานาคทำด้วยนพเก้าของพระเจ้าแผ่นดินค่ะ
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 พ.ค. 02, 10:06

 เป็นอย่างนี้นี่เอง ขอบคุณครับผม

เอ... แล้วโคลงกลอนของจีนละครับ กับของไทยใครจะซับซ้อนกว่ากัน
เห็นตัวอักษรของจีนมีมากมายแทบนับไม่ถ้วน    
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 พ.ค. 02, 11:18

 โคลงจีนเท่าที่รู้จัก ก็มีแต่สัมผัส ท้ายวรรคนะครับ
ยังไม่เคยเห็นโคลงชาติใดเลยที่มีสัมผัสมากกว่าหนึ่งที่ในแต่ละวรรค
บันทึกการเข้า
bookaholic
ชมพูพาน
***
ตอบ: 145


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 พ.ค. 02, 13:21

 ไทยเรามีสัมผัสนอก สัมผัสใน ในกลอนสุภาพครับ  ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ
วรรคหนึ่งสัมผัสสองคู่เลยก็มี  กลอนของสุนทรภู่มีสัมผัสในเต็มไปหมด เพื่อให้รื่นหู

ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก  
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน
บันทึกการเข้า
อำแดงริน
อสุรผัด
*
ตอบ: 22

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 พ.ค. 02, 19:34

 เรื่องความคิดนี่มันนานาจิตตังค่ะ
คุณรตอ.แกสุดขั้วก็อย่างนี้แหละ

ภาษาไทยน่ะ ใช้บรรยายได้สุดซาบซึ้งอยู่แล้วล่ะค่ะ
คุณหลวงเจ้าคะ    
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
มัจฉานุ
**
ตอบ: 85

Graduate Student New Mexico Institute of Mining and Technology, Socorro, NM USA


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 30 พ.ค. 02, 03:00

 ผมเองเป็นคนนึงที่อ่านคอลัมน์ ของคุณนิติภูมิอยู่บ่อย ๆ เวลาที่มีเวลา จะว่าชอบอ่านก็ไม่เชิง แต่อ่านแล้วรู้สึกขำ ๆ ในความคิดของแกดี เพราะบางเรื่องนั้น ผมรู้สึกว่า คอลัมน์ของแกเหมาะแล้วที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่เราเรียกว่าหนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวเอาใจชาวบ้าน  ประเภทข่าว วัวสามขา หมูหกขา ต้นกล้วย มีหน่อประหลาดให้ลาภน่ะครับ
เพราะคอลัมน์ของคุณนิติภูมิแกนั้น เขียนเอาใจชาวบ้านเป็นหลัก หลักวิชา หรือข้ออ้างอิงนั้นผมขอเรียนตรง ๆ ว่าน้อยเหลือเกิน แนวคิดแกอีกอย่างก็คือเรื่องที่เกลียดอเมริกา กับพวกตะวันตก แต่จะชื่นชอบ รัสเซีย แล้วก็ออกไปทางคอมมิวนิสต์ นั้นผมยังไม่แน่ใจว่า แกทำแบบนี้เพื่อให้ตัวเองดังหรือเปล่า เพราะบางครั้งการสวนกระแสก็ทำให้ตัวเองเด่นขึ้นมาเลยทันที
คอลัมน์วันที่แกเขียนถึงปุชกิ้นผมก็อ่าน แล้วก็สะดุดใจเหมือนที่คุณหลวงนิลว่าเหมือนกันว่า แกพูดว่าภาษาไทยมีบ่วงไวยากรณ์มากมาย ผมเองก็ยังสงสัยว่าคุณนิติภูมิ นั้นใช้อะไรเป็นเครื่องวิเคราะห์ ส่วนตัวผมเองยอมรับว่าไม่มีความรู้เลยและไม่เข้าใจความหมายด้วยซ้ำว่าคำว่า บ่วงไวยากรณ์นั้นคืออะไร แล้วทำไมทำให้ภาษาไทยเราจะไม่ไพเราะเพราะพริ้ง ผมอ่านบทกวีของไทยผมก็ชอบ ผมไม่ได้อ่านบทกวีฝรั่งเลย เพราะความสามารถผมไม่ถึง ผมอ่านกลอนภาษาอังกฤษ ถ้าง่าย ๆ ก็เข้าใจ ถ้ายากเกินไปก็ไม่เข้าใจ
ผมเลยสงสัยว่า คุณนิติภูมินั้น คงมาแบบเดิม นับถือรัสเซียไว้ก่อน แล้วก็พาลติโน่นตินี่ไปเรื่อย ไม่ทราบว่าแกมีความรู้ทางภาษาศาสตร์ถึงขั้นไหน ถึงสามารถตำหนิไวยากรณ์ภาษาไทยว่ามีบ่วงมากมาย
บันทึกการเข้า
วิรุฬจำบัง ยังอยู่ยั้งยืนยง
อสุรผัด
*
ตอบ: 3

มีที่นา 2 ไร่ ควาย 2 ตัว รถกระบะ 1 คัน ชกคราวหน้าจะพยายามใช้แม่ไม้มวยไทย น๊อคคู่ต่อต่อสู้ให้


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 พ.ค. 02, 03:11

 เห็นด้วยครับ ที่ว่า กลอนของไทยสละสลวย รื่นหู ที่สุด
และ สาวไทยยังผอมเหมือนวัยรุ่นเอธิโอเปีย อีกด้วย

ผมเห็นกลอนบาทนี้ ในรถไฟใต้ดินที่ญี่ปุ่น
ไม่แน่ใจว่าเป็นฝีมือนักเรียนไทยที่นั่น หรือ เด็กญี่ปุ่นหัดแต่ง
อ่านแล้วทะแม่ง ทะแม่ง ชอบกล
" กล้วยตานี ต้นนี้ ปลายหวีเหี่ยว
น้ำไหลเชี่ยว ปลายเหี่ยว เสียวจะหัก
อุปมา ตัวเรานี้ มีความรัก
กลับถูกหัก อกช้ำ ระกำทรวง... "

อ่ะโน...
บันทึกการเข้า
สร้อยสน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 143

ลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 30 พ.ค. 02, 06:35

 นักวิจารณ์หลายคนมักเอาความคิดตัวเองเป็นหลักค่ะ บางครั้งไม่ได้มองอะไรให้ถ่องแท้ ไม่รู้จริงแล้วพูดเพราะถือว่าตัวเองมีปากกาเป็นเครื่องมือ
ภาษาไทยจะดีหรือไม่ดีกว่าชาติไหนก็เปรียบกันไม่ได้หรอกค่ะ

ไวยากรณ์ไทยมีหลักทีน่าสนใจมาก ไม่ได้ยุ่งยากเยิ่นเย้อ แต่คนที่พูดเช่นนั้นเพราะไม่เคยทราบหลักแท้ๆของไวยากรณ์
ถ้าศึกษากันถ่องแท้ น่าเสียดายมากที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นสำคัญ เห็นเป็นของใกล้ตัวจนเกินไป

ดิฉันเรียนเรื่องไวยากรณ์ไทยมานานมากตั้งแต่มัธยมแต่หลักการผันวรรณยุกต์ อะไรทำนองนี้ยังจำได้ดีเพราะเรียนด้วยความเข้าใจ เสียดายมากที่เรามักให้เด็กท่องจำโดยไม่มีหลักทำให้ดูเหมือนน่าเบี่อ และกฏเกณฑ์มาก
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 พ.ค. 02, 11:31

 ในแง่ไวยากรณ์ผมว่าภาษาไทยถือว่าไม่ค่อยจะมีความซับซ้อนอยู่แล้วนะครับ ถ้าลองเทียบกับภาษาอื่นๆ แน่นอนว่าภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ เหล่านี้มีความซับซ้อนมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด เช่นการเรื่อง tense เรื่องการผันรูปประโยค เรื่องเพศของวัตถุสิ่งของ

เสียดายที่ผมไม่รู้จักภาษารัสเซีย ก็เลยวิจารณ์ไม่ถูกว่าซับซ้อนมากน้อยกว่าเราอย่างไร แต่ขอตั้งข้อสังเกตไว้ข้อหนึ่งว่า ภาษาไทยนั้นมีไวยากรณ์แค่เท่าที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ส่วนที่ยากคือเรื่องของการแบ่งชั้นคำศัพท์ที่ใช้กับบุคคลแต่ละฐานะ (ซึ่งไม่เกี่ยวกับไวยากรณ์แต่อย่างใด) สงสัยอยู่ว่าถ้าภาษารัสเซียซับซ้อนน้อยกว่าเรา เขาจะสื่อสารกันอย่างไร? จะคุยกันรู้เรื่องหรือ? ส่วนที่ซับซ้อนน้อยกว่าคืออะไร?

เรื่องของบทกวี หรือความสวยงามของภาษานั้นผมว่ามัน subjective มาก ขึ้นกับวัฒนธรรมของแต่ละชาติ และยิ่งไปกว่านั้นยังขึ้นกับบุคคลอีกด้วย อย่างบทกวีจีนนั้น ผมเข้าใจว่าไม่มีสัมผัสเลยด้วยซ้ำ บังคับแค่จำนวนบาทในแต่ละบทและจำนวนคำในแต่ละบาท คิดว่ามีการบังคับอย่างหลวมๆในเรื่องของวรรณยุกต์ลักษณะเดียวกับโคลงของไทย ความสวยงามของเขาอยู่ที่คำที่เลือกใช้ที่บรรยายออกมาให้เห็นภาพและเป็นเสียงสูงต่ำเหมือนทำนองเพลง ซึ่งแปลเป็นไทยทีไรจะแปลกใจมาก ว่ามันเพราะตรงไหน(ฟะ)

ผมยังอยากมองในแง่ดี คือคุณร้อยตำรวจเอกปลอมตัวมา คงซึมซับวัฒนธรรมรัสเซียไว้ในสายเลือดอย่างซาบซึ้ง(ซึ่งผมก็ไม่เห็นว่าเป็นความผิดของเขาตรงไหน) และรู้สึกว่างานของปุชกิ้นนั้นสวยงามกว่ากวีไทย น่าเสียดายว่าเขาไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงรู้สึกอย่างนั้น ก็หลับตาจิ้มมาลงเรื่องไวยากรณ์ แต่ดันจิ้มผิด... ก็แค่นั้นเอง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 มิ.ย. 02, 05:12

 เพิ่งได้กลับมาอ่านครับ
อ่านแล้วก็เห็นด้วยกับคุณ CrazyHorse หลายประเด็น
โดยเฉพาะที่ว่า เรื่องภาษาไหนเพราะหรือสวยงามอย่างไรนั้นเป้นเรื่อง subjective มากๆ ก็เพราะอย่างนั้นสิครับ ผมจึงได้ทนคุณอดีต รตอ. นั่นไม่ได้ ที่แกพยายามเอาวามคิดเชิงอัตตวิสัยของแกไปยัดใส่หัวคนอื่นในเรื่องที่ไม่ได้เป็นภววิสัย แกทำอย่างเดียวกับที่อเมริกัน (ที่แกเองเกลียด) ชอบทำนั่นแหละ คือนึกเอาเองว่า สิ่งที่ฉันว่าดีต้องดีสำหรับคนอื่นทั้งโลกด้วย ซึ่งแกก็ด่าอเมริกันในเรื่องนี้บ่อยๆ (และผมออกจะเห็นด้วยกับแกเฉพาะเรื่องนี้) แต่คนด่ามาเป็นเสียเอง ยังงี้ในเรือนไทยเขาเรียกว่า ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง ครับ

เรื่องที่แกจะชื่นชมปุชกิ้นหรือวัฒนธรรมรัสเซียนั้นผมก็ไม่ได้เห็นว่าเป็นเรื่องผิดตรงไหนเช่นกัน ผมเอง (ซึ่งไปเรียนเมืองอเมริกา) เป็นแฟนของอันตัน เชคอฟ และชอบตอลสตอยอยู่บางเรื่องเหมือนกัน และก็เข้าใจแกว่าไปร่ำเรียนถึงเมืองรัสเซียก็คงจะซึมซับวัฒนธรรมนั้นมาบ้าง ไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน ที่ขอต่อว่าก็คือ ชื่นชมภาษารัสเซียแล้ว ไม่ควรต้องดูกภาษาอื่นด้วยโดยเฉพาะรากเหง้าของตนเอง และโดยเฉพาะดูถูกภาษาของตนในแง่ที่วัดไม่ได้พิสูจน์ไม่ได้ เพราะเป็น subjective เช่น ภาษาไหนเพราะกว่าภาษาไหนนี้ อย่าพูดดีกว่า เสียกับแกเอง

ผมรู้สึกมานานมากแล้ว ว่าคุณ  รตอ.เขียนบทความของแก บ่อยครั้งในลักษณะที่บนเรือนไทยเรานี่คงจะเรียกเป็นสำนวนไทยว่า ยกตนข่มท่าน ครับ ซึ่งเป็น attitude ที่ผมไม่ค่อยชอบ บางทีการติเตียนวิจารณ์ของแกก็อาจจะมีประโยชน์ เช่นเวลาแกพูดถึงการทำงานของระบบราชการไทย เทียบกับระบบของที่อื่น  ถ้าเราพยายามลืมๆ การยกตนข่มท่านของแกเสียแล้วเอาแต่สาระมาก็อาจใช้ประโยชน์ได้บ้างจากข้อแนะนำของแก โดยอาจไม่ต้องสนใจกับเจตนาแท้จริงของแกว่า แกตั้งใจติด้วยบริสุทธิ์ใจ หรือพยายามอยากดังโดยการด่าไว้ก่อน
แต่เราทำอย่างนั้นกับภาษาได้หรือครับ ถ้าแกบอกว่า กระทรวง x ของไทยงี่เง่า สู้กระทรวง x ของประเทศ y ไม่ได้ ผมยังพอรับฟังแกได้ และถ้าพิจารณาดูแล้วเห็นว่าพอมีสาระในคำด่าของแกอยู่บ้างก็อาจจะกระตุ้นให้กระทรวง x ของเราปฏิรูปได้บ้าง แต่ถ้าแกบอกว่า ภาษาไทยเราไม่ได้เรื่อง ไพเราะเพราะพริ้งสู้ภาษารัสเซียไม่ได้ นี่ ถามว่า เป็นการติเพื่อก่อไหม สร้างสรรค์ไหมมีหลักฐานเชิงภววิสัยที่จะวัดกันได้ไหม และถ้าจะปรับภาษาไทยใหม่ จะทำได้หรือ จะให้ทำอย่างไร แกมีไอเดียไหม หรือว่าสักแต่ว่าหาเรื่องด่าอะไรก็ได้ที่เป็นของบ้านเราเพราะหลงในอะไรก็ได้ที่เป็นของรัสเซีย และเพราะอยากดังเท่านั้นเอง

ในเมื่อคราวนี้แกมาข่มภาษาไทยของผม ทั้งๆ ที่แกก็ยังไม่ได้แปลงสัญชาตเป็นรัสเซีย และเป็นหนี้บุญคุณภาษาไทยนี่อยู่เพราะแกหากินด้วยภาษาไทยทุกวัน ผมเลยทนไม่ได้ครับ ยังงี้สำนวนไทยเรียกว่า วัวลืมตีน ครับ

ไม่ทราบว่าสามสำนวนไทยนี้จะพอซาบซึ้งถึงใจคนอ่านบ้างไหม ผมไม่มีปัญญาเขียนหรืออ่านภาษษรัสเซียได้หรอกครับ รู้แค่ภาษาไทยนี่แหละ

สปาซีบา - เกสปาดีนเครซี่ฮอร์ส และโทวาริชต์ทั้งหลาย แปลว่า ขอบคุณคุณเครซี่ฮอร์สและสหายทั้งหลาย ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 มิ.ย. 02, 13:12

 ถูกบ่วงไวยากรณ์ร้อยรัดมากเกินไป-ย้อนกลับไปคิดถึงคำนี้แล้ว   ก็ชักสงสัยว่าที่เราอ่านแล้วตีความกันถูกหรือเปล่า
คุณนิติภูมิหมายความว่าภาษาไทยมีไวยากรณ์
คือการใช้คำนาม กริยา วิเศษณ์ คุณศัพท์  การใช้วรรณยุกต์เอกโทตรีจัตวา การแบ่งอักษร ๓ หมู่ สูงกลางต่ำ ฯลฯ
 ที่ตายตัวเกินไปจนกลายมาเป็นข้อบังคับให้ภาษากระดิกกระเดี้ยไม่ได้หรืออย่างไร  จึงเรียกว่าบ่วงร้อยรัด  
ฟังแล้วคุณนิติภูมิสะท้อนความอึดอัดในหลักภาษาไทยออกมานะคะ ดิฉันว่า
แสดงว่าภาษารัสเซียนั้นไม่ได้บังคับตายตัว   เวลาแต่งอะไรจะเขียนว่า หมา  มา  ม้า ม่า หม่า  ก็ใช้แทนกันได้ทั้งสิ้นหรือยังไง
เหมือนภาษาอังกฤษที่  intonation หรือความสูงต่ำของเสียงในแต่ละพยัญชนะไม่ตายตัว     come จะออกเป็น คำ  หรือ ขำ ก็ได้แล้วแต่ว่าออกในประโยคคำถามหรือคำบอกเล่า
แต่ของไทย  คำ กับ ขำ คนละเรื่องกันทีเดียว  หมา กับ ม้า ก็เช่นกัน
ถ้าอย่างนั้นมันก็เป็นกฎเกณฑ์ที่ต่างกันเท่านั้นเอง  ไม่ใช่ความบรรเจิดพริ้งพราย
เพราะถึงแม้ว่า intonation ของไทยจะตายตัว  แต่การผลิตศัพท์  แผลงศัพท์  ประกอบศัพท์เข้าด้วยกัน มีมากมายไม่จำกัด   ความบรรเจิดพริ้งพรายก็อยู่ตรงนี้
มานึกอีกที คุณนิติภูมิเขียนเพราะรำคาญหรือเปล่าว่าภาษาไทยจำยาก ทำให้สะกดผิดบ่อยๆ   ท่านไม่ชอบข้อนี้เลยเห็นว่าบ่วงไวยากรณ์มากเกินไป
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง