Malagao
มัจฉานุ
 
ตอบ: 85
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 09 ต.ค. 06, 19:00
|
|
ศักติ ออนทัวร์"คู่มือสักการะเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีฉบับสมบูรณ์ โดย ผู้จัดการออนไลน์ 23 กันยายน 2549 13:18 น. ไม่ว่าค่ำคืนของวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2549 ท้องฟ้าจะปลอดโปร่ง ,มีฝนพรำ หรือฝนตกหนัก ขบวนแห่เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวียังคงดำเนินต่อไปตามกำหนดการ ไม่มีเลื่อน ไม่มีงด สเตปบายสเตปตามแบบที่เคยปฏิบัติดังเช่นทุกปี เพราะประเพณีนี้ดำเนินมากว่าร้อยปีบนถนนย่านธุรกิจ “สีลม” การงดแห่แทบจะนับครั้งได้ อย่างเช่นในสมัยสงครามครั้งที่ 2 หรือในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะชุลมุน วุ่นวาย วันนี้เรียก “วิชัยทัสมิ” เป็นวันฉลองชัยให้กับพระแม่เจ้า ผู้เป็นศักติแห่งพระเทวาธิเทพ ศิวะ ศังกร ศักติ หมายถึงความสูงส่ง,อำนาจ,ความสามารถ หรือเครื่องสนับสนุนชีวิตให้คงอยู่ อุดมคติของลัทธินี้ แสดงภาพบุคลาธิษฐานในรูป “อิสตรี” เพื่อสนับสนุนภารกิจของมหาเทพ มีฤทธิ์อำนาจเช่นเดียวกับเทพเจ้า และในบรรดารูปสตรีหรือศักติที่มีบทบาทมากที่สุดคือ “พระแม่ศักติ (ศักติศิวา) ”ผู้เป็นปฐมกำเนิดแห่งพระนางสตี, นางปารวตี (พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี) และปางอวตารอื่นๆ METRO LIFE ร่วมประกาศพระนามสรรเสริญพระแม่เจ้าศรีมหาอุมาเทวี และตั้งใจให้เป็นคู่มือแนะนำสำหรับคนที่ตั้งใจไปร่วมงาน , เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของอินเดียสไตล์ที่คนไทยไม่ค่อยรู้ ทั้งเปิดใจและของสะสมของบรรดาแฟนพันธุ์แท้ “เทพเจ้า” รวมถึงแนะจุดนัดพบเพื่อนฝูงก่อนเดินเข้าร่วมงานด้วยกัน ผู้ไม่มีธุระต้องผ่านในย่านนั้น กรุณาหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว เทศกาลนวราตรี วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) พราหมณ์สายอินเดียใต้ นิกายศักติ นับถือ “พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี” เป็นใหญ่, วัดเทพมณเฑียร สมาคมฮินดูสมาช เสาชิงช้า พราหมณ์สายอินเดียเหนือ ไวณพนิกาย นับถือ “พระวิษณุเทพ” เป็นใหญ่ ครั้นถึงเทศกาลนวราตรี (วันขึ้น 1 – 9 ค่ำเดือน 11) ต่างก็ประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันไป เกี่ยวข้องกันว่า เมื่อพระราม ซึ่งเป็นนารายณ์อวตารก่อนกรีธาทัพรบกับอสูรทศกัณฐ์นั้น ได้ตั้งแท่นบูชาขอพรจาก “เจ้าแม่ทุรคา” (ปางหนึ่งของพระอุมา) เพราะฉะนั้น สายอินเดียเหนือจึงระลึกถึงมหากาพย์รามายนะพร้อมกันไป “มารีอามัน” คือพระนามของพระแม่เจ้าที่ผู้ประธานของวัดแขกสีลม นางคือ เทวีผู้ปัดเป่าและรักษาไข้ทรพิษ เป็นเทพสตรีที่ชาวอินเดียใต้ให้ความนับถือมาก เมื่อชาวอินเดียเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ตั้งศาลสถิตพระแม่เจ้าได้ จึงได้ตั้งศาลไม้เล็กๆขึ้นที่ใต้ต้นสะเดา กลางไร่อ้อย ย่านหัวลำโพง ต่อมาศาลไม้ได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา นายไวตีฯและญาติมิตรศรัทธาพระแม่เจ้าจึงตั้งใจสร้างวัดพระศรีมหาอุมาเทวีขึ้น โดย นายไวตรีประเดียอะจิ นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้ขอแลกที่ดินกับสวนผักของนางปั้น ที่ริมถนนสีลมเพื่อสร้างวัดตามลัทธิศักติ ใช้สถาปัตยกรรมของอินเดียตอนใต้เป็นแบบในการก่อสร้าง และจดทะเบียนในรุปของมูลนิธิ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2458 วันวิชัยทัสมิ “ม้าทรง”ในขบวนแห่ปัจจุบันมี 3 พระองค์ ในนามของ พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี (ทูนหม้อกลาฮัม ), เจ้าแม่กาลี (เสียบตรีศูลที่กระพุ้งแก้ม) และพระขันทกุมาร (เสียบเหล็กแหลมที่แก้ม เกี่ยวผลมะนาวตามร่างกายและแบกกาวาดี) คนส่วนใหญ่คิดว่า หลังขบวนแห่กลับเข้าวัด แล่นลูกธนูปลดธงสิงห์ที่เสาเอกหน้าโบสถ์ เป็นอันเสร็จกิจ แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า หลังจากนั้น ไม่เกิน 3 - 5 วัน (สอบถามได้จากวัด) สานุศิษย์จะร่วมกันสรงน้ำพราหมณ์ และพราหมณ์ผูกด้ายมงคลสีแดงให้นั่นแหละถึงจะเรียกว่า “ฟินนาเล่” ของแท้ 10 ถาม – ตอบที่ควรรู้ 1. ไปวัดเวลาไหน - ปกติ วัดพระศรีมหาอุมาเทวีจะเปิดให้บูชาตั้งแต่ 06.00 – 20.00 น. เฉพาะวันศุกร์ถึง 21.00 น. - วันศุกร์ที่ 22 กันยายน เวลา 19.30 น. อัญเชิญองค์พระพิฆเนศวรออกแห่รอบโบสถ์ 3 รอบ – คนแน่นเอี๊ยด เนื่องจากวัดคับแคบ ยืนอยู่ตรงไหนต้องอยู่กับที่ตรงหน้า ห้ามเดินเข้า-ออก จนกว่าพิธีจะเสร็จสิ้น อยากร่วมพิธีควรอยู่ในวัดตั้งแต่ 5 โมงเย็น - ระหว่างวันที่ 23 กันยายน – 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลนวราตรี วัดจะตกแต่งอย่างสวยงาม คึกครื้น และขยายเวลาปิดถึงเที่ยงคืน ผู้นับถือพระแม่ศรีมหาอุมาเทวี ควรมาสักการะสักครั้ง ส่วนวันวิชัยทัสมิค่อยว่าและตัดสินใจกันอีกทีก็ได้ - ระหว่างนี้ ช่วงกลางคืนจะมีผู้คนจะมาสักการบูชากันมากกว่ากลางวัน - อยากมาชมแค่ซุ้มและไหว้พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีที่วัด แต่ไม่อยากร่วมขบวนแห่ในวันที่ 2 ตุลาคม ควรเลือกช่วงเวลา 3 ทุ่ม เมื่อขบวนเคลื่อนเข้าสู่ถนนปั้นเพื่อออกสาทรเหนือแล้ว ช่วงนี้ถนนสีลมฝั่งถนนปั้นคนจะเบาลง เดินชมได้สะดวก - อย่าลืม อยากได้ด้ายมงคลผูกข้อมือ อย่าลืมเช็กกับเจ้าหน้าที่วัดว่า หลังวันแห่สรงน้ำพราหมณ์กันวันไหน 2. ขบวนแห่วันวิชัยทัสมิ - พิธีกรรม ภายในวัดเวลา 15.00 – 16.00 น. (โดยประมาณ) ระหว่างที่พราหมณ์อาบน้ำคนทรง และประกอบพิธีอัญเชิญเทพประทับ “ม้าทรง” เพื่อความเรียบร้อย มีกฎว่า คนในห้ามออก – คนนอกห้ามเข้า คนในวัดจะแน่นมากที่สุด เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมจึงเปิดวัดให้เข้า-ออกตามปกติ - ขบวนแห่จะเริ่มออกจากวัด เวลา 19.00 น. ตั้งต้นที่หน้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวีฝั่งถนนปั้น เลี้ยวขวาออกถนนสีลม เลี้ยวกลับที่แยกเดโชเข้าถนนปั้น ถนนสาทรเหนือ เข้าถนนสุรศักดิ์ ออกถนนสีลมกลับสู่พระโบสถ์ เป็นอันเสร็จพิธีในคืนนี้ 3. ต้องกินเจหรือเปล่า - ทุกปีนั้นวันวิชัยทัสมิ ยังอยู่ในช่วงกินเจ หรือกินเจวันสุดท้าย (กินเช้ามื้อเดียว) จึงถือโอกาสกินให้ครบทุกมื้อแล้วมางานแห่พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีก่อนจะลาเจ - ปีนี้ปฏิทินจีนมีเดือน 7 (2 หน) กินเจเลยขยับเลื่อนไปวันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม เพราะฉะนั้น ถ้าเคร่งครัดมากก็อาจจะกินล่วงหน้าสัก 3 วัน หรือกินเฉพาะวันแห่ก็ได้ แต่สำหรับคนมือใหม่ ไม่ต้องก็ได้ ไม่มีสูตรตายตัว 4. แต่งกายอย่างไรดี - ปกติที่เห็นคนแต่งขาวกันนั้น เพราะพ่วงมาจากเทศกาลกินเจ ไม่มีกฎบังคับว่าต้องเป็นสีขาว - เน้นสีสันสดใสได้ เพราะเป็นงานเฉลิมฉลอง บางคนในช่วงระหว่าง 22 กันยายน – 1 ตุลาคม ใส่สาหรีมาก็ยังได้ หรือจะมาในชุดปัญจาบีก็ได้ - อยากใส่ส่าหรีอีกเรื่องต้องรู้ อย่าใช้ส่าหรีขาวทั้งผืน เพราะประเพณีคนอินเดียจริงๆแล้ว เค้าใช้สำหรับใส่เพื่อไปร่วมงานศพเท่านั้น คนไทยไม่รู้คิดว่าสีขาวแทนความบริสุทธิ์ - ประเภทโชว์โน่นนี่ ควรงด เพราะนี่คืองานวัด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพียงแต่ใส่ให้ถูกกาลเทศะเท่านั้นก็พอ - เลือกเนื้อผ้าที่ระบายลมได้ดี เพราะคนเยอะ อบอ้าว และร้อนมาก - อยากแต่งแบบอินเดียสไตล์ พุ่งตรงไปที่ตรงแขก พาหุรัดมีให้เลือก ใส่สบายได้อารมณ์แขกๆ เท่จะตาย - ไม่ควรหิ้วอะไรให้เป็นภาระ กระเป๋าใบเดียวพอแล้ว แต่ระวังเรื่องมิจฉาชีพที่แฝงตัวมายืมเงินไปใช้โดยไม่บอกกล่าวเท่านั้น เดินสักพักมือแตะกระเป๋าหน่อย เพื่อความไม่ประมาท เดี๋ยวกลับบ้านไม่ได้ไม่รู้ด้วย - ไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้น อาจจะเดินเหินสะดวก แต่อย่าลืมว่า ระหว่างขบวนผ่านต้องถอดรองเท้าคุกเข่าลงกับพื้น เพื่อแสดงความเคารพและขอพร - กางเกงสะดวกสุด ทั้งชาย - หญิง - รองเท้า เน้นมากๆเพราะงานนี้เดิน เดินและเดิน ส้นสูง,รองเท้าหุ้มส้นทั้งหลายอาจจะไม่เหมาะ เพราะฉะนั้น ไม่ชาย – หญิง คีบแตะเหมาะที่สุด - ไม่ควรพกหรือใส่เครื่องประดับของมีค่า เอาไว้แต่งโชว์ที่บ้านปลอดภัยกว่า - ควรทำใจสำหรับเสื้อผ้าชุดนี้ เพราะอาจจะเลอะผงศักดิ์สิทธิ์ (สีฝุ่นและสีแดง) ที่ม้าทรงโปรยประทานพรให้ บางคนนิยมพับเก็บชุดนี้ไว้ในที่อันควร เพื่อเป็นที่ระลึก 5. เดินทางแบบไหนสะดวก - รถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีช่องนนทรี แล้วทอดน่องมาเรื่อยๆ เดินสัก 2 ป้ายรถเมล์ก็ถึง - รถไฟฟ้ามหานคร ต่อ BTS ที่ศาลแดง หรือมอเตอร์ไซค์ ค่ารถประมาณ 30 บาท - เรือด่วนเจ้าพระยา ขึ้นท่าสะพานตากสิน ต่อรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีศาลาแดง หรือรถเมล์ หรืออื่นๆตามสะดวก - แท็กซี่สะดวกที่สุด ปิดถนนตรงไหน เดินตรงนั้น - รถประจำทาง สาย 79, 63, 15, 77 ฯลฯ รถปรับอากาศสาย 504, 514, 177, 79 6. ที่จอดรถยนต์ - โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ข้ามสะพานลอย เดินเข้าถนนปั้น - ริมถนน บริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS ช่องนนทรีย์ - ที่จอดรถโรงแรม อาทิ โรงแรมนารายณ์, โรงแรมโซฟิเทล - ต้นถนนสีลม อาทิ ห้างโรบินสัน (สีลม) ชั่วโมงละ 20 บาท ปิด 4 ทุ่ม, ตึกซีพีทาวเวอร์ ชั่วโมงละ 30 บาท เกิน 8 ชั่วโมงเหมาจ่าย 240 บาท ปิด 5 ทุ่ม แล้วเดินทางต่อด้วยพาหนะตามความสะดวก หมายเหตุ ไม่ควรนำรถยนต์มาทั้งนี้เพื่อความสะดวก ตอนกลับ เส้นทางที่เหมาะกับการเรียกรถที่สุดคือ สาทรเหนือ ส่วนฟากสีลม เรียกรถยากมาก ถึงมากที่สุด 7. ชวนเพื่อนไปดีมั้ย - อยากชวนเพื่อนไปเดินเป็นเพื่อน คิดให้ดี ควรเลือกเพื่อนที่มีศรัทธาเหมือนกัน ซี้ซั้วชักชวนไปจะโดนค่อนขอดว่า งมงายไสยศาสตร์ หรือประเภทเพื่อนขี้บ่น ไม่ชอบเดิน ไม่ชอบเบียดกับผู้คนแออัด ประเภทนี้อย่าชวนไป เสียอารมณ์เราเปล่าๆ - ถ้าได้เพื่อนพันธุ์แท้ “เทพเจ้า” ก็จะสนุกและได้อารมณ์ร่วม มีประเด็นให้คุยกันเมื่อผ่านซุ้มบูชา เพราะพันธุ์แท้ยังไงก็ไม่กลัวเหน็ดเหนื่อย ดึกดื่นแค่ไหน ฝนตกหรือเปล่า สู้ตายอยู่แล้ว - เดินคนเดียวสบายใจที่สุด ไม่ต้องห่วงหน้า พะวงหลัง จะกลับเมื่อไหร่ก็ได้ ตัดสินใจง่าย หมายเหตุ พ่อ แม่อยากพาลูกเด็กเล็กแดงไปด้วย ควรเลือกช่วงระหว่างเทศกาลดีกว่างานแห่ ช่วงเช้าสาย แดดยังไม่เปรี้ยงของวันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 23,24,30 กันยายน และ1 ตุลาคม ดีกว่ามั้ง 8. ที่บ้านมีเทวรูปพระอุมา อยากตั้งซุ้ม - วัตถุประสงค์ของการตั้งซุ้มบูชา ประการแรก. เพื่อถวายสักการะต่อพระแม่เจ้าที่ตนศรัทธา เคารพนับ ถือ ประการที่สอง . เทวรูปบางองค์ที่เช่ามานั้น อาจจะยังได้ผ่านพิธีเบิกเนตร (เนื่องจากวัดแขกจะเบิกเนตรให้กับเทวรูปที่เช่าบูชาในวัดเท่านั้น) หรือเทวรูปที่เบิกเนตรแล้ว แต่อยากนำมาชาร์จแบตฯเพิ่มเพื่อเสริมพลัง ก็ใช้งานนี้แหละ - กรณีที่มีเทวรูปแต่ไม่ได้เบิกเนตรและไม่ได้มาตั้งซุ้มเอง หากมีเพื่อนมาตั้งซุ้มอยู่ อาจจะขอเพื่อนนำเทวรูปมาร่วมประดิษฐานก็ได้ (แต่อย่าลืมช่วยเรื่องปัจจัยค่าใช้จ่ายด้วย) - ปกติคนนิยมมาจับจองที่ตั้งแต่ 9 โมงเช้า บางคนยึดหัวหาดกันตั้งแต่ตี 5 – 6 โมงเช้า และเปลี่ยนผลัดแตะมือเพื่อนเปลี่ยนกะในตอนเที่ยง - จะพ่นสีฉีดสเปรย์ปักเขตจองลงพื้นถนน หรือขึงเชือกจองตั้งแต่ตี 3 ไม่ผิดกติกา บางรายมาทีหลังแต่อยากได้พื้นที่ตรงขึงเชือก เอากรรไกรตัดซะเลย เจ้าของเดิมมา ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ บอกว่า “ไม่เห็นเชือกเลยนี่คะ” อย่างนี้ก็มีวิวาทะเล็กๆเรียกน้ำย่อย เรื่องนี้วัดไม่เกี่ยวไปว่ากันเอง - เลือกพื้นที่ เมื่อขบวนออกจากถนนปั้น จะเลี้ยวขวา ไปยังถนนเดโช เพราะฉะนั้น ซุ้มบริเวณเกาะกลางถนนและร้านค้า คือจุดแรกที่ขบวนผ่านในลำดับแรก ลำดับสองคือ สองฟากฝั่งในถนนปั้น ลำดับสามคือ สาทรเหนือ ลำดับสี่คือถนนสุรศักดิ์ บริเวณหน้าโรงแรมฮอลิเดย์อิน จนกลับวัด คือลำดับสุดท้าย - พื้นที่สุดเจ๋ง คนนิยม ไม่ต้องพะวงเรื่องรถราจะวิ่งมาเสย คือ ถนนปั้น เพราะปิดการจราจรตั้งแต่หัววัน - หน้าบ้านและร้านค้าที่ขบวนจะผ่านห้ามจับจอง - การจัดซุ้มเป็นงานเหนื่อย ต้องมีคนช่วยทำงานกันจริงๆ จะต้องวางแผน กำหนดหน้าที่แต่ละคนให้ดีที่สุด !! - รถบรรทุกเทวรูป, แท่นตั้งบูชา (โต๊ะ), ดอกไม้, เครื่องบวงสรวง รวมถึงผู้ช่วย ทุกอย่างต้องพร้อมสรรพกำลัง นัดหมายต้องตรงเวลา การจัดและตกแต่งควรแล้วเสร็จเมื่อเวลา 17.00 น. โดยประมาณก่อนที่ขบวนจะเคลื่อนออกจากวัด - เครื่องบวงสรวง นอกเหนือจากถาดผลไม้มงคลแล้ว สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลย คือ มะพร้าวห้าว (จำนวนมาก) บวกจำนวนไม่จำกัด วัดกันที่จำนวนเงินและกำลังคนที่จะช่วยทุ่ม ต่ำสุดน่าจะประมาณ 100 ลูกขึ้นไป / ซุ้ม ขาดไม่ได้อีกเช่นกัน การบูร – ธูปหอม - กำยาน ซื้อไว้เลยอย่าไปอั้น จุดธูป ถวายกำยาน และโหมไฟบูชาตลอดจนกระทั่งเก็บโต๊ะ - ผลไม้สักการะ อาจจะใช้ 1 – 2 ถาดก็ได้ ที่หิ้งบูชาประจำซุ้มหนึ่ง อีกถาดสำหรับถือไปถวายบูชาเมื่อรถขบวนผ่าน (อนุโลมใช้ถาดเดียวกันได้) อย่าลืมมาลัยดอกดาวเรือง 1 พวง - ถาดที่ต้องเดินไปถวายบูชานั้น เพื่อความสะดวก ควรงดภาชนะที่ทำด้วยแก้ว หรือประเภทของเหลวที่ อาจจะกระฉอกเลอะเทะ เช่นน้ำแดง นมสดขวดใหญ่ เป็นต้น ที่สำคัญต้องมีมะพร้าวห้าวผ่าซีก ใส่ใบพลู หมากแห้ง (เป็นแว่น) พร้อมการบูร ที่จุดติดไฟแล้ว ของเติมแต่งในมะพร้าวผ่าซีก อาจจะมีกำยาน,ดอกไม้ที่ฉีกแล้ว(เล็กน้อย) และบางคนก็นิยมซุกใบกะเพรา(ตากแห้ง) 2-3 ใบกับกานพลู 2-3 ก้านอยู่ในถาดผลไม้ด้วย - งบประมาณ มากกว่า หนึ่งหมื่นบาทแน่นอน สวยงาม อลังการงานสร้างมากเท่าไหร่ หมายถึงเม็ดเงินต้องดับเบิลเป็นทวีคูณ เตรียมเงินสดใส่กระเป๋าไว้เลย เพราะซื้อของประเภทนี้งดรับบัตรเครดิต - ถามว่า เจ้าของซุ้มกลัวอะไรที่สุด คำเดียวสั้นๆ “ฝน” !! เพราะจัดตั้งแท่นบูชาอยู่กลางแจ้ง ไม่มีที่กำบังหลบฝนโดยเฉพาะในช่วงปลายฝนอย่างเดือนตุลาคม เอาแน่เอานอนกับธรรมชาติไม่ได้ซะด้วย 9. สัญลักษณ์ที่ควรรู้ กล้วยน้ำว้า แทนความอุดมสมบูรณ์ มะพร้าว ผลไม้กลางหาว แทนความเยือกเย็น และเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ จึงนิยมตอกมะพร้าวเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์บนท้องถนนตลอดเส้นทางยาตราของเหล่าทวยเทพ อ้อย แทนความหวานชื่น ความเจริญเติบโต ผลมะนาว เป็นสื่อกลางของพระเจ้า ใช้กำจัดภูตผี วิญญาณสิ่งชั่วร้ายได้ การบูร เผาผลาญให้เกิดความบริสุทธิ์ ไม้สะเดา (แขก) เป็นไม้สัญลักษณ์ของพระศรีมหาอุมาเทวี ม้าทรงวันวิชัยทัสมิจะใช้ใบสะเดาแขก (ควินิน) เป็นเครื่องประดับ และประพรมเทวมนต์ให้กับสานุศิษย์ 10. อื่นๆ - ไม่ควรนำเด็กไปร่วมงานแห่ด้วยในทุกกรณี เพราะคนแน่นเอี๊ยดขนาดนี้ คุณต้องอุ้มเด็กตลอดเวลาจะสร้างภาระให้แก่คุณ และสร้างความลำบากให้แก่ลูก - ควรพกถุงพลาสติกติดตัวไว้ในกระเป๋ากางเกงสักใบ เผื่อฝนตกจะได้เก็บโทรศัพท์มือถือและเอกสารสำคัญต่างๆ - เนื่องจากคนแน่นมาก บางขณะต้องเบียดกับคนอยู่กับที่นานๆ อาจเป็นลมได้เพราะฉะนั้น ต้องมียาดมติดตัวไว้ หน้ามืด วิงเวียน งัดขึ้นมาสูดดมทันที - ถ้ามีคนเป็นลม กรุณาช่วยเหลือหรือแหวกทางให้ด้วย - ขณะที่นั่งจับจองพื้นที่เพื่อรอขบวนเทพมาประทานพร ประพรมน้ำมนต์ และโปรยฝุ่นศักดิ์สิทธิ์ อย่าบังหน้าโต๊ะของซุ้มต่างๆ เพราะเทพจะเข้าไปประทานพรไม่สะดวก และเป็นชนวนให้เกิดเรื่องวิวาทได้ - ผู้มาใหม่ เจอะใครทายทัก พึงพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะมีเจ้าตำหนักทั้งหลายมาหาศิษย์ใหม่ที่นี่ เก๊บ้าง จริงบ้าง มือใหม่ด้อยประสบการณ์อาจโดนต้มตุ๋นได้ง่าย เพราะฉะนั้น ... เข้าวัด จำไว้อย่างหนึ่งว่า “เมื่อเราก้มกราบท่าน ท่านก็ให้พรแล้ว”
กลัศบูชา กลัศบูชา คือ การถวายบูชา “เทพประธาน” ด้วยมะพร้าว อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ 1. หม้อ (ภาชนะสำหรับใส่น้ำ), ใบมะม่วง 5 ใบ (คัดขนาดใบที่ใกล้เคียงกัน ใบไม่มีรอยขาดแหว่ง หรือกัดแทะจากแมลง), มะพร้าวห้าว 1 ลูก(เหลาเนื้อเนียน ยอดแหลม), ผงเจิมสีแดง (บางแห่งใช้เพียงเท่านี้) สูตร METRO LIFE ใช้เป็นภาพประกอบ มีของเพิ่มเติม อาทิ ใบพลู 1 ใบ, หมากลูกแห้งจากอินเดีย 1 ลูก(ซื้อได้จากตรอกแขก พาหุรัด ร้านขายหมากพลูไม่มี) เงิน 1 บาท และดอกไม้ประดับ หมายเหตุ - บางแห่งใช้ผ้า(ดิบ) แดงหุ้มมะพร้าว ผูกยอดด้วยกลุ่มด้ายศักดิ์สิทธิ์ ภาชนะสำหรับกลัศบูชาเช่น หม้อดิน หรือ หม้อทองเหลืองหรือหม้อทองแดง หม้อแต่ละใบจะมี ลวดลาย บ่งบอกถึงเทพประธาน หมายเหตุ คนไทยไม่รู้เรียก “บายศรีแขก” ขั้นตอนทำกลัศบูชา 1. เทน้ำบริสุทธิ์ใส่ในหม้อ 2. นำหมากแห้ง พร้อมเหรียญบาท วางไว้บนใบพลูและหย่อนใส่หม้อ 3. นำใบมะม่วงที่เตรียมไว้วางเรียงรายรอบหม้อ 4. นำมะพร้าวห้าววางไว้เหนือหม้อ ขณะวางลูกมะพร้าวด้วยมือขวา ให้กล่าวว่า “ ข้าพเจ้าขอบูชาต่อกลัศ โดยขออัญเชิญพระวิษณุเทพอยู่บนปากแห่งภาชนะ อัญเชิญพระศิวะเทพประทับอยู่ที่คอของภาชนะ และอัญเชิญพระพรหมเป็นฐานของภาชนะ ขออัญเชิญพระแม่ศักติและพระโอรสประทับอยู่ใจกลางภาชนะใบนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาเทพทุกพระองค์ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวนี้ จากนั้นสั่นระฆัง และรำลึกน้อมบูชาต่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ โดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอบูชา โดยอัญเชิญพระแม่คงคา,พระแม่ยมุนา,พระแม่โคทวรี,พระแม่สรัสวดี,พระแม่นรมัท,พระแม่สินธุ และพระแม่กเวรีมาประทับอยู่ ณ น้ำบริสุทธิ์ในภาชนะนี้เพื่อให้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ สุดท้าย กล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาเทพเจ้าผู้เป็นประธาน (เอ่ยพระนาม) เหนือกลัศนี้ ด้วยการกราบไหว้ ถวายผงเจิมและประดับด้วยดอกไม้เพื่อเป็นเทวบูชา” 5. จัดเรียงใบมะม่วงให้สวยงาม 6. ใช้ผงเจิมที่ลูกมะพร้าวด้วยนิ้วนาง 7. ตกแต่งด้วยดอกไม้ มาลัยให้สวยงาม 8. นำกลัศนั้นขึ้นทูนบนศีรษะ และตั้งกลัศนี้ไว้ในที่อันควร เป็นเวลา 1 วัน 9. ถือว่า น้ำในหม้อกลัศนี้คือ น้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้อาบเพื่อเป็นสิริมงคล เหรียญบาทเก็บไว้เป็นขวัญถุง หรือสะสมไว้เพื่อทำบุญ 10. มะพร้าวเก็บไว้จนแห้ง แล้วจำเริญในน้ำในโอกาสต่อไป หมายเหตุ - หากมีผ้า(ดิบ) แดงหุ้มมะพร้าวอยู่ ต้องแก้ด้ายมงคล แล้วนำผ้า – ด้าย และมะพร้าวจำเริญน้ำไป - ช่วงนำไปจำเริญน้ำ เหลียวซ้ายและขวาให้ดี ว่าไม่มีเทศกิจอยู่ ไม่งั้นอาจจะต้องโดนเสียค่าปรับ - หม้อรูปพระคเณศ และขนานข้างด้วย อักษร “โอม” และรูปตรีศูล - หม้อพระลักษมี 8 ปาง มีรูป ธนลักษมี,ไอศวรรยลักษมี,วิชัยลักษมี,สันทนลักษมี,คชลักษมี,วีรลักษมี, ธัญญลักษมีและอธิลักษมี - หม้อนารายณ์ 10 ปาง มีรูป มัตสยาวตาร,กูรมาวตาร,วราหาวตาร, นรสิงหาวตาร,วานาวตาร,ปรศุรามวตาร, รามาวตาร,กฤษณาวตาร,พุทธาวตาร,กาลกิยาวตาร - หม้อเทพนพเคราะห์ - ส่วนพระอุมา นิยมตั้งเป็นหม้อดิน !! หรือถ้าใครไม่มีหม้อทองเหลือง,ทองแดง อนุโลมใช้เป็นหม้อดินได้หมด แล้วกำหนดเทพประธานเอา หมายเหตุ หม้อกลัศ มีขนาดให้เลือกทั้งเล็ก,กลาง,ใหญ่ ราคาแตกต่างกันไป หม้อทองเหลือง ราคาแพงกว่าหม้อชนิดอื่น เทวพัสตราภรณ์ ชาวฮินดูหรือชาวไทยที่มีเทวรูปเทพเจ้าฮินดูไว้บูชา นิยมตกแต่งเทวรูปให้มีความสวยงาม ด้วยการนุ่งห่มผ้า อีกทั้งเนื้อผ้าที่ใช้นั้นก็ต้องให้เหมาะสมกับฤดูกาลด้วย การนุ่งผ้าที่หลากหลายนั้น ผู้สันทัดกรณีท่านหนึ่งบอกผ่านเมโทรไลฟ์ว่า การนุ่งห่มอาภรณ์ให้แก่องค์เทพแบ่งออกเป็น4 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1.ปัตยรา - ลักษณะคล้ายๆ กางเกงอินเดีย สวมคู่กับเสื้อและมีผ้าคลุมไหล่ 2. ส่าหรี - นุ่งถวายองค์เทวี ต้องจีบหน้านางด้านหน้าให้ได้ขนาดตามที่ต้องการและสวยงาม 3. แหล่งการ์ - กระโปรงที่เย็บสำเร็จแล้ว ใช้ผ้าชิ้นๆ จับให้เป็นรูปกระโปรงตามที่ต้องการ 4. โชตี - นุ่งให้กับองค์เทพที่เป็นเพศชายเท่านั้น ลักษณะคล้ายนุ่งผ้าของพราหมณ์ นุ่งชนิดนี้ต้องมีผ้า “จุนนะลี” คือผ้าคล้องคอประกอบ ถึงจะสมบูรณ์ หน้าร้อน ใช้เนื้อบางเบาหน่อยเช่นผ้าไหมแคชเมียร์ หรือชีฟองเนื้อบาง หน้าหนาวใช้ผ้าที่เนื้อหนาขึ้นมาหน่อยเช่นผ้าฝ้าย เป็นต้น ก่อนที่จะนุ่งห่มเทวพัสตราภรณ์ชำระล้างองค์เทวรูปเทพเจ้าด้วยน้ำมงคล 9 ชนิดคือ 1. น้ำผสมผงเจิมสีแดงที่เรียกกันว่า “กุมกัม” 2. น้ำผสมผงเจิมสีเหลืองที่ได้มาจากต้นจันดารา 3. น้ำผสมการบูร 4. น้ำผสมน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ 5. น้ำผสมน้ำมันเนย 6. น้ำผสมผงขี้ธูปและกำยาน 7. น้ำมันจันทน์ 8. น้ำมะพร้าว 9. น้ำนมวัวบริสุทธิ์ที่ผสมน้ำหอมจากธรรมชาติ เสร็จแล้วโรยงาดำ แทนสัญลักษณ์เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่าให้เรียบร้อย เช็ดเทวรูปให้แห้งสนิท แล้วจึงเริ่มแต่งเทวพัสตราภรณ์ นวราตรี บูชาเจ้าแม่ปางไหน เทศกาลนวราตรี ตลอดทั้ง 9 วัน 9 คืนนั้น ในแต่ละวันจะบูชาปางอวตารต่างๆของพระแม่ศรีมหาอุมาเทวี ซึ่งแตกต่างกันไป ดังนี้ วันแรก – เจ้าแม่มหากาลี วันที่สอง - เจ้าแม่ทุรคา สังหารมหิงสาสูร วันที่สาม – เจ้าแม่จามุนดา สังหารยักษ์สองพี่น้อง จันทรและมุนดา วันที่สี่ – เจ้าแม่กาลี สังหารและดูดเลือดอสูรมาธู วันที่ห้า – เจ้าแม่นันทา ลูกสาวของคนเลี้ยงสัตว์ วันที่หก – รักธาฮันตี สังหารอสูรด้วยการใช้ฟันกัดจนตาย วันที่เจ็ด - เจ้าแม่สักกัมพารี วันที่แปด - เจ้าแม่ทุรคา สังหารยักษ์ทุรคา วันที่เก้า - เจ้าแม่ลัคภรมาธี สังหารยักษ์อรุณา อุแม่เจ้า !! UMA เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า OMA นางเมนกา แม่ของนางปารวตีอุทานขึ้นเพื่อลูกสาวบอกว่า จะไปบำเพ็ญตบะเพื่อให้พระศิวะรับเป็นชายา ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา เรียก “อุมาไหมวตี” ชาวบ้านทั่วๆไปรู้จักกันในนาม “เจ้าแม่ศรีอุมาเทวี” นอกจากนี้คำนี้ ยังเป็นรากศัพท์ของคำอุทานในภาษาไทยว่า “อุแม่เจ้า” ขบวนแห่เริ่มเคลื่อนออกจากหน้าโบสถ์ เวลา 19.00 น. ขบวนที่ 1 คือ ขบวนของคนทรงองค์เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวี (Sri Maha Uma Devi) ขบวนที่ 2 คือ ขบวนราชรถของพระกัตตรายัน (Lord Kathavarayan) ขบวนที่ 3 คือ ขบวนคนทรงพระขันธกุมาร (โอรสของเจ้าแม่อุมาเทวี) ขบวนที่ 4 คือ ขบวนราชรถของพระขันธกุมาร (Lord Subrammanya) ขบวนที่ 5 คือ ขบวนบุษบกขององค์เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวี ,พระพิฆเนศวร และพระกฤษณะ (Sri Maha Uma Devi, Lord Ganesh, Lord Krishna) ************** คธา เพิ่มทรัพย์ ภารตดนตรี คธา เพิ่มทรัพย์เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนจิตรลดา ก่อนที่จะได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับ High School ที่สหรัฐอเมริกา เขาสนใจศิลปะการดนตรีตั้งแต่ตอนที่สมัยวัยเด็ก และได้มีโอกาสศึกษาดนตรีเพิ่มเติมเมื่ออยู่ที่สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังสนใจการปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ และการฝึกโยคะ รับประทานมังสวิรัติมากว่า 15 ปี คธา เพิ่มทรัพย์ มีความสามรถเล่นดนตรีคลาสสิกของอินเดียประเภท “กลองทรับบล้า (TABLA)” ได้อย่างเชี่ยวชาญ การเล่นกลองดังกล่าวเป็นศิลปะชั้นสูงของอินเดียที่ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ผสมผสานกัน กลองทรับบล้าเป็นเครื่องดนตรีที่ต้องใช้พลังนิ้วในการเล่น ดังนั้น ผู้เล่นจึงจำเป็นต้องมีสมาธิมาก เขาบอกว่า กลองทรับบล้านี้จะนำมาแสดงเฉพาะในงานพิธีมงคลใหญ่ๆ หรือการบวงสรวงเทพเจ้าชั้นสูงเท่านั้น.... คธาได้ศึกษากลองทรับบล้าขั้นพื้นฐานจากคุรุที่มีชื่อเสียงของอินเดีย คือ ดร. ชาลีนิวาส ราโอ เป็นเวลา 2 ปี และเรียนต่อระดับสูงสุดกับศิลปินแห่งชาติชาวอินเดีย “บัณฑิต สุเรช ทาลวอร์คก้าร์” ที่เมืองตักศิลา (PUNE) ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี ปัจจุบัน คธาต้องเรียนอีก 3 ปีถึงจะสำเร็จขั้นสูงสุด ดังนั้น เขาจึงเป็นคนไทยคนแรกและเป็นชาวต่างชาติคนเดียวที่ได้ศึกษากลองทรับบล้าชั้นสูง ดนตรีอินเดียมีไว้สำหรับเล่นเพลงสรรเสริญเทพเจ้า อาทิ พระคเณศ พระกฤษณะ พระศิวะโดยปรัชญาแล้ว ดนตรีจะทำหน้าที่เป็นตัวนำหรือตัวเชื่อมที่พามนุษย์ไปเป็นส่วนหนึ่งกับเทพเจ้าฮินดู โดยผ่านการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าด้วยการ “ร้อง เล่น และเต้น” ถึงจะครบสูตร “ดนตรีอินเดียไม่ใช่แค่เล่นได้และเล่นเป็นเท่านั้นนะครับ การเรียนดนตรีที่นั่นต้องเป็นไปทีละขั้น จะไม่มีการก้าวข้ามขั้นเด็ดขาด พอได้เทคนิคทุกอย่างแล้ว คุรุทุกๆ ท่านจะสอนว่า ให้ทิ้งเทคนิคเหล่านั้นให้หมด เพื่อที่จะได้ก้าวข้ามไปสู่ความรู้และความสามารถทางจิตวิญญาณ เรียกง่ายๆ ว่าทำทุกอย่าง ฝึกทุกอย่างก็เพื่อที่จะบรรลุจุดสูงสุดทางจิตวิญญาณครับ” คธา เพิ่มทรัพย์กล่าวกับ METRO LIFE “ ความงดงามของดนตรีอินเดีย ไม่ใช่แค่การลืมเทคนิคเท่านั้น หากแต่ต้องลืมความเชื่อและศรัทธาด้วย ลึกซึ้งมากนะครับ” ศิลปินหนุ่มกล่าวต่อไป ดนตรีเหนือ - ใต้ต่างกัน “ดนตรีทางตอนเหนือจะเน้นที่อารมณ์ของการเล่นเป็นสำคัญไม่ค่อยมีแบบแผนตายตัว จังหวะสามารถยืดได้ หดได้ตามใจของผู้เล่นที่เห็นว่าเหมาะสม แต่ถ้าเป็นดนตรีจากทางใต้จะมีแบบแผนและจารีตตายตัว เน้นการเล่นแบบลงจังหวะที่ถูกต้องตามแบบที่ถูกถ่ายทอดมา ว่าง่ายๆ คือดนตรีทางใต้มีจังหวะที่เเน่นกว่า เป็นอย่างไรแต่เดิมมาก็จะเป็นอย่างนั้น” หนุ่มผู้หลงใหลในดนตรีจากชมพูทวีปยืนยัน “อินเดียตอนใต้จะเด่นในเรื่องกลอง ซึ่งเรียกกันเป็นภาษาพื้นถิ่นว่า “โคลน” เป็นกลองสองหน้า นอกจากนั้นก็จะมี “มาจิงกรัม” เป็นกลองสองหน้าอีกประเภทหนึ่งชนิดที่ให้เสียงดังกังวานมากๆ ซึ่ง “มาจิงกรัม” นี้ในคัมภีร์พระเวทระบุว่า พระคเณศทรงเล่นเป็นประจำ... ส่วนอินเดียตอนเหนือจะ โชว์ความสามารถในการดีไซน์รูปแบบการเล่นที่โดดเด่นด้วยตัวเอง โดยอิงแบบแผนเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เสน่ห์อยู่ที่ไม่ซ้ำซากจำเจ” คธา เพิ่มทรัพย์อธิบาย “ผม” – อินเดียตอนกลาง “สำนักที่ผมไปเรียนนี้จริงๆ อยู่ทางอินเดียตอนกลาง แต่คุรุจิ อาจารย์ของผม ท่านเป็นคนที่สามารถรวบรวมเอาเอกลักษณ์ทั้งทางเหนือและใต้มารวมกันได้ รูปแบบการเล่นดนตรีของผมจึงถ่ายแบบจากท่านมาคือจะเป็นเหนือก็ไม่ใช่ จะว่ามาจากอินเดียใต้ก็ไม่เชิง อยู่ตรงกลางๆครับ ” “ผมใช้วิธีเรียนแบบที่เรียกกันว่า คุรุศิชาปรัมปรา คือเอาตัวเองเข้าไปรับใช้คุรุในอาศรม ไม่ได้เรียนในห้องอย่างสมัยปัจจุบันนี้ คุรุศิชาปรัมปราเป็นรูปแบบของการศึกษาที่เก่าแก่มากๆ ครับ ปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเวทแล้ว ว่าง่ายๆ คือ ผมใช้ชีวิตอยู่กับครูทั้งวัน เพื่อจะได้ซึมซาบดนตรีอินเดียเข้าไปข้างในถึงตัวจิตวิญญาณ” วีณา ผกาวัต ต้นแบบดนตรีอินเดีย ดนตรีอินเดียเสียงวีณาที่หนักแน่นแต่ทว่าแอบซ่อนความอ่อนหวานอยู่ในที คธา เพิ่มทรัพย์พูดถึงเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “วีณาเป็นเครื่องดนตรีอินเดียที่เก่าแก่มาก อายุก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 ปีเป็นอย่างน้อย การเล่นจะใช้กลองที่เรียกว่า ผกาวัต เป็นเครื่องประกอบจังหวะ มันจึงมีข้อสันนิษฐานว่า เครื่องดนตรีอินเดียทั้งสองชิ้นนี้น่าจะเป็นต้นแบบให้กับเครื่องดนตรีในสมัยต่อๆมา ทั้งพัฒนามาเป็น ทรับบล้า และ ซิต้าร์ เมื่อ 400– 500 ปีผ่านมา ” มาห่ม “ส่าหรี” กันมั้ย อินเดียสไตล์ทั้งที ไม่พูดถึงส่าหรีคงจะไม่ครบสูตร การนุ่งและห่มส่าหรีก็เป็นภูมิปัญญาอินเดียที่ชาญฉลาดมาก เพราะสามารถนำผ้ามาขึ้นคลุมศีรษะกันแดดเปรี้ยงร้อนระอุได้ ใช้ผ้าหนาหน่อยป้องกันความหนาวเย็นของอากาศได้ แล้วสาหรีก็เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงชนชาตินี้ได้ชัดเจนที่สุด ผ้าส่าหรีแต่ละผืนจะมีความยาว โดยประมาณ 5 หลา ส่วนที่เป็นปลายผ้าด้านหนึ่งจะต่อด้วยผ้าพื้นสีกลมกลืนกันกับท้องผ้ามาอีกประมาณครึ่งหลา ผ้าพื้นนี้มีไว้สำหรับนำไปตัดเป็นเสื้อตัวในที่เรียกว่า “เสื้อเบลาท์” ในลักษณะเสื้อเอวลอยรัดรูป การนุ่งส่าหรีนั้นเริ่มจาก.... 1. นำชายผ้าด้านหนึ่งมาห่อลำตัวให้ผ้าด้านซ้ายสั้นกว่าด้านขวามือ คล้ายๆ กับการใส่ผ้าซิ่น จากนั้นก็ขมวดให้แน่นๆที่สุด ไว้ที่เอว ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุดเพราะการนุ่งจะหลุดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ค่ะ... 2. จับจีบชายผ้าด้านขวามือ ชายผ้าด้านที่เหลือเป็นจีบหน้านางขนาดกว้างประมาณไม่เกิน 3 นิ้วฝ่ามือเรา หน้านางที่ว่านี้ต้องจีบทบประมาณ 3-5 ทบจะเป็นขนาดที่กำลังดีและสวยเวลาที่ก้าวเดิน... 3. ยัดจีบหน้านางเข้าไปในชายพกซึ่งขมวดไว้ที่เอว... 4. นำชายผ้าด้านที่เหลือพันรอบตัวก่อน 1 รอบ แล้วจึงพาดขึ้นบนไหล่ซ้าย... 5. ง่ายๆ ไม่ยากเลย แต่สวยสง่าแบบสาวภารตะ 6. ส่วนเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็นต่างหู ,สร้อยคอ,กำไล และบันดิ (ติดหน้าผาก) คู่หูแฟนพันธุ์แท้ “ตำนานเทพเจ้า”
กลายเป็นคู่มิตร หลังตกรอบ “แฟนพันธุ์แท้” ป้อม - เขมกร สิงหกันต์กับ โจ – ดนัย นาควัชระ ที่มักจะไปไหนต่อไหนด้วยกัน เหมือนๆกัน แม้จังหวะการเริ่มต้นของแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่เหมือนกันตรงที่ชื่นชอบและศรัทธาใน “เทพเจ้า” ป้อม เขมกร สิงหกัน
|