เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 79961 เรื่องของนางอัปสร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 05 มิ.ย. 02, 07:25

 นางอัปสรที่ใกล้คนไทยที่สุดเห็นจะเป็นนางอัปสรนครวัด     ของไทยเราไม่มีนางอัปสรที่เด่นชัดขนาดนั้น  
แต่ถ้าเป็นนางฟ้าถือพานโปรยดอกไม้วาดไว้ตามบัตรอวยพรรุ่นเก่าๆ หรือตามผนังโบสถ์ละก็ มีเยอะค่ะ

มาคุยกันเรื่องนางอัปสรดีกว่า
อัปสร มาจากภาษาสันสกฤต  ถ้าบาลีเรียกว่าอัจฉรา  เรารับมาทั้งสองคำ  ใช้ในความหมายว่านางฟ้า
ต้นกำเนิดของนางอัปสร มาจากตำนานการกวนเกษียณสมุทร     หลังจากเทพและอสูรกวนเกษียณสมุทรเพื่อเอาน้ำทิพย์แล้ว    สิ่งที่ผุดขึ้นจากการกวนมีหลายอย่าง   หนึ่งในจำนวนนั้นคือกลุ่มนางอัปสร  เป็นหญิงงามทั้งหมด

แต่จะด้วยอะไรก็ตาม   หญิงเหล่านี้ไม่มีเทวะองค์ไหนรับไปเป็นชายาประจำตัวเสียให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดลงไป    คงปล่อยนางไว้ลอยๆ  บนสวรรค์

แต่จะว่าเป็นอิสระมีสิทธิสตรีแบบหญิงแกร่งก็ไม่ใช่   เพราะเทพมักจะใช้นางอัปสรลงไปปฏิบัติงานบนโลกเป็นประจำ    หน้าที่หลักก็คือไปยั่วยวนทำลายตบะของฤาษีที่ทำท่าว่าบำเพ็ญนานแล้วจะเก่งกว่าเทวดา   พอฤาษีเสียที นางก็กลับขึ้นสู่สวรรค์  
แต่บางครั้งเคราะห์ร้าย  ถูกฤาษีโกรธสาปเอาให้มีอันเป็นไปก็มี    ส่วนเทวดาผู้ใช้นางไปทำงานนั้นกลับรอดตัว  ไม่แฟร์เท่าไหร่เลยนะคะ

นางอัปสรชื่อเมนกา เคยไปทำลายตบะของฤาษีวิศวามิตรสำเร็จ  มีลูกสาวออกมาชื่อศกุนตลา  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงพระราชนิพนธ์เรื่องของนางไว้ชื่อ "ศกุนตลา" เป็นของขวัญแด่พระคู่หมั้น คือพระวรกัญญาปทาน

ภาพนางอัปสรได้มาจาก http://www.seapapa.com/issue/tour/0008.php3  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 พ.ค. 02, 17:26



   นางอัปสรของฮินดูมีลักษณะคล้าย nymph ของกรีก  เป็นหญิงงามเหมือนกัน และมีเรื่องวุ่นวายรักๆใคร่ๆกับมนุษย์และเทพคล้ายๆกันด้วย  แต่ว่า nymph ไม่ได้อยู่บนฟ้า  แต่สิงสถิตอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรหรือในลำธารน้ำ

วีรบุรุษกรีกในมหากาพย์อีเลียด หลายคนก็มีแม่เป็น nymph เช่นอะคีลิส ซึ่งถูกแม่จุ่มร่างกายลงในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ให้อยู่ยงคงกะพันทั้งตัว  แต่เผลอจับส้นเท้าลูกไว้ขณะจุ่ม   ส่วนส้นนั้นจึงไม่เหนียวแน่นคงทน  ถูกศัตรูยิงธนูเสียบตาย กลายเป็นสำนวนว่า Achilles's heel หมายถึงจุดอ่อนของมนุษย์  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 พ.ค. 02, 17:27



   จากกรีกแวะมาอังกฤษ

มีนางอีกประเภทเรียกว่า fairy  มีตั้งแต่ตัวโตเท่าคนไปจนตัวเล็กๆนิดเดียว เห็นตามหนังสือนิทานเรียกว่า Fairy's Tale  

พวกนี้เป็นภูต ไม่ใช่นางฟ้า อาศัยอยู่บนพื้นโลกค่ะ

ในป่าของอังกฤษว่ากันว่ามีมาก



แฟรี่ที่รู้จักกันดีก็คือแม่ทูนหัวของซินเดอเรลลา  กับแฟรี่ที่สาปและแก้คำสาปให้เจ้าหญิงนิทรา



แฟรี่ขึ้นชื่อในวรรณคดีอยู่ใน Midsummer Night's Dreams ของเชกสเปียร์   ราชาชื่อโอบีรอน  ราชินีชื่อทิทาเนีย  เป็นตำนานพื้นบ้านมาก่อนค่ะ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 พ.ค. 02, 17:30

 Tinkerbell เพื่อนของPeter Pan ก็เป็น fairy เช่นกัน  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 พ.ค. 02, 17:31

 Fairy ประจำดอกไม้ค่ะ
ภาพนี้คือแฟรี่แห่งดอกแดนดีเลียน  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 พ.ค. 02, 17:35

 Fairy ประจำดอกลิลี่  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 พ.ค. 02, 17:37


แฟรี่และมิวส์ เทวีแห่งศิลปวิทยาการ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 พ.ค. 02, 17:39


มีเห็ดชนิดหนึ่งเรียกว่าเห็ดนางฟ้า    
ภาพนิทานเด็กของยุโรปจะมีรูปแฟรี่นั่งบนเห็ดกันเป็นประจำ  
บันทึกการเข้า
ทองรัก
พาลี
****
ตอบ: 390

นักวิจัย


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 พ.ค. 02, 19:26

 แวะเข้ามาอ่านและขอบคุณคุณเทาชมพูมากค่ะ
ที่มีเรื่องดี ๆ มาฝากอย่างสม่ำเสมอ อ่านแล้วนึกถึงตอนเป็นเด็ก
เลยค่ะชอบฟังนิทานเกี่ยวกับเทวดานางฟ้าน้อย ๆ เหล่านี้มาก
ฟังแล้วนอนหลับฝันดีทั้งคืน
แต่เรื่องของนางอัปสรทำให้คิดถึงวรรณคดีสันสกฤตค่ะ
ยังนึกถึงความยากลำบากในตอนเรียนไม่หาย
บันทึกการเข้า
ป่านแก้วและใยไหม
แขกเรือน
อสุรผัด
*
ตอบ: 42


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 พ.ค. 02, 22:50

 ขอบคุณมากค่ะ คุณเทาชมพู  
นางอัปสรที่ชื่อ เมนกา น่ะชื่อเพราะนะคะ   หนูเคยเห็นชื่อเมนกา เป็นนางเอกนิยายเรื่องโปรดของหนู อย่างน้อยก็ สองเรื่องค่ะ

รูปสวยมากทุกรูปค่ะ
บันทึกการเข้า
นนทิรา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 77


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 พ.ค. 02, 09:05

 น่ารักจังค่ะ แต่คุณเทาชมพูขา เสียดายรูปที่ 4 และ 5 ค่ะ เพราะคำบรรยายของคุณเทาชมพูโดนรูปบังไว้บางส่วนค่ะ

เหล่านางฟ้าท่าทางซุกซน รวมทั้งทิงเกอร์เบลล์ด้วย คงจะเรียกรวมๆกันว่า pixie ได้ใช่มั้ยคะ เคยจำได้ว่าทิงเกอร์เบลล์มีผงวิเศษ หรือจะเรียกว่า ฝุ่นวิเศษ ดี แปลจากคำว่า pixie dust จากเรื่องปีเตอร์แพน เป็นผงที่โรยตัวแล้วทำให้บินได้น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 พ.ค. 02, 10:01

เอ ชื่อเมนกา...จำนิยายได้เรื่องเดียวค่ะ อีกเรื่องของใครคะ นึกไม่ออก

pixie  เป็นภาษาอังกฤษโบราณ  มีความหมายเดียวกับ fairy เป็นแฟรี่ประเภทซุกซนค่ะ คุณนนทิรา
เสียดายที่มีคำบรรยายบังหรือคะ  
คอมพ์ของดิฉัน ไม่บังค่ะ  เดี๋ยวจะชดเชยให้ด้วยรูปใหม่

ไปเจอเว็บที่มีรูปแฟรี่น่ารักๆมากเลยค่ะ  เชิญตามไปดู
 http://www.flower-fairies-pictures.co.uk/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 พ.ค. 02, 10:05

ในอังกฤษ  ในร้านขายหนังสือเขามักจะมีหนังสือเล่มเล็กๆ
เป็นรวมบทกวีบ้าง ไดอารี่ สมุดaddress ฯลฯมีภาพประกอบเป็นแฟรี่ประจำดอกไม้
ดิฉันชอบซื้อมาเก็บไว้  อดไม่ได้สักทีค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 พ.ค. 02, 10:07

ภาพนี้ก็ชอบค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 พ.ค. 02, 10:20

มีเรื่องจริงอิงนิทานมาเล่าว่า เซอร์ อาเธอร์ โคแนน ดอยล์ผู้แต่งเชอร์ล็อคโฮล์มส์  หลังจากมีชื่อเสียงไปทั่วโลก
ท่านก็หันความสนใจมาศึกษาเรื่องลึกลับต่างๆเช่นตายแล้วไปไหน   เรื่องเทวดานางฟ้ามีจริงไหม
ปรากฏว่ามีเด็กหญิงเล็กๆสองคนถ่ายรูปแฟรี่ได้ในป่าใกล้บ้าน  ส่งไปให้ทางหนังสือพิมพ์
ท่านก็ตื่นเต้นไปสัมภาษณ์  ตรวจสอบรูป แล้วลงความเห็นว่าจริง
หลังจากนั้นจนท่านเซอร์ตายไปแล้ว  เด็กสองคนอายุมากถึงวัยชรา หนึ่งในนั้นจึงสารภาพว่าภาพถ่ายนั้นทำขึ้นเอง  วาดรูปนางฟ้าด้วยกระดาษแข็ง ปักไว้ข้างตัว
แต่ยืนยันว่าแฟรี่มีจริง เคยเห็นในป่าข้างบ้านจริงๆ
ไม่รู้ว่าวิญญาณท่านเซอร์จะว่ายังไงนะคะ โดนเด็กต้มเสียสุก  เชอร์ล็อคโฮล์มส์ช่วยไม่ได้เลย The FairiesConan Doyle’s already battered reputation hit a new low in late 1920. The December issue of The Strand magazine featured an article written by Conan Doyle about some extraordinary photos. Two young ladies in the Yorkshire village of Cottingley took these photographs of things they’d seen surrounding their country home. The photos were of fairies.Conan Doyle learned of the photos earlier in the year and he began to investigate the matter. Negatives of the photographs were sent to two places for testing. One group, the London representatives of Kodak, stated that no one had tampered with the negatives. However they also said that they could produce similar photos and therefore they could not state the photos were genuine pictures of fairies. Conan Doyle received a different response from the second expert.  Harold Snelling examined the negatives and declared the photos to be genuine.Snelling’s endorsement along with Conan Doyle’s chivalrous view that two, young ladies would not lie about such a matter lead him to believe that the photos were authentic photos of fairies.http://www.siracd.com/life_spirit.shtml
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง