จริงๆแล้วผมก็ไม่ได้รังเกียจรังงอนอะไรหรอกครับ เข้าใจอยู่ว่าเป็นแค่
เครื่อง ประจำตำแหน่ง แต่หมั่นไส้นิดหน่อยน่ะครับ เลยขอเหน็บสักหน่อย
จะว่าไปแล้วชีวิตนี้ได้แต่หวังว่าจะไม่มีโอกาสไปพบกับ พณฯ เหล่านั้น กลัวว่าตอนพูดแล้วเผลอนึกขึ้นได้ว่ามันแปลว่า พ่อเหนือหัวเจ้าท่าน แล้วจะพาลคายของเก่าออกมาตรงนั้นน่ะครับ เสียดาย...
อย่างการใช้สรรพนามนั้น ผมเองกลับรู้สึกเฉยๆ เพราะภาษาเหล่านี้เปลี่ยนไปตามสมัยนิยม ภาษาไทยนี้ดูจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับเรื่องนี้ ดูง่ายๆ สรรพนามบุรุษที่ 1-2 เรามีใช้กันมากมาย ทั้ง ผม-คุณ, ข้า-เจ้า, เรา-นาย, เรา-เธอ, ชั้น-ตัว, ฉัน-เธอ, เรา-นาย, เรา-ตัวเอง, อั๊ว-ลื้อ, กู-มึง(ขอโทษ), ชั้น-แก, ฯลฯ เยอะจนงง (นี่ขนาดไม่รวม ผม-มึง ที่เพื่อนผมบางคนใช้) ในขณะที่ภาษาอังกฤษมีแค่ I-you (ไม่นับพวกที่ใช้ในวรรณคดีที่ไม่เคยได้ยินใครใช้อีกแล้ว) จีนก็มีแค่ หว่อ-หนี่(หรือ หนิน สำหรับยกย่อง) ต้องยอมรับว่าพี่ไทยเราเหนือชั้นกว่าเยอะในเรื่องนี้ อย่างการเรียกอาจารย์ว่า แก แทนที่จะเป็น ท่าน นั้นผมว่าน่าจะยอมรับได้ ถ้าเรียกด้วยความเคารพ ถ้าเรียกเป็นชื่อเฉยๆก็คงต้องถือว่าเป็นการเรียกโดยละความเคารพ(เอาไว้ที่ไหนไม่รู้) ก็คงมาเข้ายุคสมัยเรื่องการเคารพคนที่การกระทำ ไม่ใช่หัวโขนที่สวม
เรื่องวิวัฒน์(รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้เขาจะให้ใช้คำนี้แทน วิวัฒนาการ)ของภาษานั้น เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับจริงๆ ผมเห็นการโต้เถียงเรื่องการใช้ภาษามามาก บ้างว่าน่าจะดำรงไว้ บ้างว่าน่าจะปล่อยให้เปลี่ยนแปลงไป ผมว่าภาษาที่เราใช้กันนั้นมันต่างไปจากสมัยพ่อขุนรามฯไปถึงไหนๆแล้ว ในขณะเดียวกันการคัดง้างการเปลี่ยนแปลงนั้นเชื่อว่าไม่ได้เพิ่งมาเกิดในสมัยนี้หรอกครับ มันต้องมีมาอยู่ตลอดควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงนั่นแหละ และก็ต้องถือว่าเป็นกลไกหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
ลองดูคำว่าพิสดารที่ถูกใช้ในความหมายว่า พิลึกสิครับ เชื่อว่าความหมายนี้น่าจะถูกใช้มาไม่เกิน 30 ปีนี่เอง (ผมจำได้ว่าคู่มือสอบสมัยปี 251x ยังเขียนว่าเฉลยโดยพิสดารอยู่เลย ถ้าเป็นสมัยนี้ เขียนอย่างนี้ ใครจะกล้าซื้อเนี่ย

)
หรือคำว่า
แพ้ ที่สมัยสุโขทัยดันแปลว่าชนะ (ถ้าจะบอกว่าแพ้ต้องใช้
พ่าย)
จะคุยเรื่องคำเหล่านี้ให้เข้าไส้สงสัยต้องตั้งกระทู้ใหม่ครับ