เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 45303 เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ของไทย
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 14:58

 อินทรา ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุด เป็นถึง "เทวราชา" คือหัวหน้าของเทวาทั้งมวล
(ตำแหน่งนี้ อีกร่วมสองพันปี ถูกโอนมาให้กษัตริย์เขมร the devaraja cult ซึ่งยังสรุปไม่ได้ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร แต่ดูเหมือนทฤษฎีของเซแดสจะตกเวทีไปแล้ว)
แน่นอนละ ตำแหน่งนี้ ย่อมสะท้อนปัญหา คือเทวายังมีข้าศึกจึงต้องหาหัวหน้าเพื่อออกศึก เป็นโครงเรื่องคลาสสิคประเภท "ธรรมาธรรมะสงคราม" โดยแท้
เราจะข้ามรายละเอียดพวกนี้ไปนะครับ หาไม่จะกลายเป็นวรรณคดี ซึ่งกระผมแบ๊ะแบ๊ะครับ ไม่รู้เรื่องเลย
เดี๋ยวจะมีเรื่องรบกวนท่านทั้งหลายเกี่ยวกับวรรณคดีนะครับ

เอาเป็นว่า การศึกของอินทราอันแสนยิ่งใหญ่ทั้งหลายทั้งปวงนี่ ไม่มีแสดงไว้เป็นศิลปกรรมไม่ว่าประเทศใหน ยุคใหน เทคนิคใหนเลยครับ มีก้อแต่ในพระเวทกระท่อนกระแท่น แถมยังกลายเป็นเรื่องราวเพื่อเสริมบารมีของวิษณุและเทพรุ่นใหม่ๆไปเสียอีก

ประวัติการณ์ของอินทรา มาซ่อนอยู่ในวรรณกรรมยุคหลังมากๆ ราวๆสักพันปีมานี่เองกระมัง อยู่ในเอกสารพุทธศาสนาอีกด้วย
ผมเลยหาใคร่ในใจว่า เอ... นี่จะเป็นเทพองค์เดียวกันไม้นี่
จะว่าเป็นองค์ใหม่ถอดด้าม เครื่องเคราประกอบก็คุ้นๆว่าตรงกับสมัยพระเวท พวกสายฟ้าวชระ พวกไอยราวตะ ฯลฯ
แต่ทำไมทรง"กระจอก"จัง ทำหน้าที่คล้ายๆหัวหน้าบ๋อยมากกว่า

รูปข้างล่าง เปรียบเทียบสูรยเทพกับอินทรา เทพที่อาวุโสรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่สูรยะนี่ท่านทรงหล่อมาโดยตลอดจนคนเลิกนิยม ยังมีอนุสรณ์เป็นมหาสถาปัตยกรรมแห่งอินเดียที่โกนารัค
ส่วนอินทรานี่ ไม่เคยเห็นอนุสรณ์สถานที่ใหนเลย จะมีก็เป็นชื่อที่หลงเหลืออยู่ เช่นนครสวรรค์หรือเมืองบนในภาษาโบราณ อย่างนี้เป็นต้น ในอภิธานับฯ ยังพอเห็นร่องรอยความ"ใหญ่"ของท่าน เป็นศัพท์เฉพาะอยู่หมวดหนึ่ง แล้วก้อ แอ่น...แอ๊น....กรุงรัตนโกสินทร์ของเรานี่ไง

เลยอยากจะขอความรู้จากท่านผู้มีอุปการะคุณ (ไม่เรียนถามอาจารย์เทาฯแล้วแหละ ...งอน ไม่ยอมช่วยผมมั่งเลย คอแห้งเป็นผงแล้วคร๊าบ)

มีวรรณกรรมเชิดชูอินทราอยู่ที่ใหนบ้าง บอกให้รู้เอาบุญด้วย
ผู้น้อยจะได้มีแรงมาเล่าต่อถึงองค์อินทรา ภาคที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปรียบพระองค์ท่านเป็นเทพองค์นี้

ผมเริ่มด้วย
1 สมบัติอมรินทร์คำกลอน
ท่านใดจะต่อแถวครับ
.
บันทึกการเข้า
Rinda
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 17:57


-picture by Francis Chit

จาก ค.ห. 12
โคลงเก่าที่กำลังศึกษา ถึงตอนสัตว์ในพิธีโสกันต์ ในโคลงดั้นเรื่องพิธีโสกันต์
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อขบวนแห่ถึงโรงพิธี ทำพิธีแล้วก็โสกันต์ ดังในโคลงว่า

น้ำหล่งงจากปากท้งง............. ..สี่สัตว์ ซ่าแฮ
เหล่าพระขัติยวงษ....................ใหญ่ห้อม
รดน้ำเจริญสวัสดิ์......................ทุกพระ องค์นา
พราหมณ์พรั่งสงงข์พร้อมน้อม......อวยผล

การสรงน้ำนั้น จะสรงจากปากสัตว์ทั้ง 4 ได้แก่ สิงห์ ช้าง ม้า วัว ตามพิธีพราหมณ์
ซึ่งน้ำที่หลั่งจากปากสัตว์ ถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์  เพราะศาสนาพราหมณ์ถือว่า
สัตว์ 4 ชนิดเป็นสัตว์ประเสริฐ ใครได้อาบน้ำจากปากสัตว์เหล่านั้นจะเกิดศิริมงคล
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 20:15


.
ขอบคุณ คุณRinda และขอบคุณที่เตือนเรื่องการสะกด ผมพิมพ์ดีดไม่ได้ความเสมอ ผิดผิดถูกถูกเป็นประจำ อย่าถือสาเลยครับ

ปากสัตว์ทั้งสี่ดังกล่าว พุทธกับพราหมณ์ระบุไม่ตรงกัน

ผมยังไม่พึงใจคำอธิบายว่า
"ศาสนาพราหมณ์ถือว่า....ใครได้อาบน้ำจากปากสัตว์เหล่านั้นจะเกิดศิริมงคล "
เพราะน้ำมงคลในแต่ละพิธีมีที่มาแตกต่างกัน ทั้งพุทธมนต์และเทพมนตร์(อันนี้สะกดไม่ผิดนะครับ ตั้งใจ ตามเสด็จสมเด็จฯนริศฯครับ) หากอ้างความเป็นมงคลเพราะมาจากปากสัตว์ทั้งสี่
มิต้องมีน้ำหลั่งมาจากรูปสัตว์ชุดนี้ตลอดเวลาในทุกพิธีหรือครับ

ใครอยู่แถวสาชิงช้าลองนมัสการถามท่านพระครูวามฯ ดู อาจจะได้รับคำตอบดีๆ

ผมจะหายไปสักสองวันนะครับ ขอลาไปทำการบ้านให้หลาน
--------------
รูปประกอบ จากจิตรกรรมที่วัดสระเกศ มาจากเวบเยอรมันเจ้าเก่า ปากสัตว์ทั้งสี่ ที่สวยที่สุด อยู่บนตู้พระธรรมลายรดน้ำที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา อยุธยาครับ จะพยายามหามาฝาก
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 21:09

 สำหรับเรื่องเทพ ทั้งเทพจากคัมภีร์พระเวท กับ คัมภีร์พุทธ ก็มีชื่อคล้าย ๆ กัน แต่ลักษณะหลายอย่างก็ต่างกัน

สำหรับเรื่องราวของ เทวดาต่าง ๆ

ขอแนะนำหนังสือสองเล่ม คือ

1. เทวดาพระเวท (เทพเจ้าในคัมภีร์พระเวทแห่งชาวอารยัน)
2. เทวดาพุทธ (เทพเจ้าในพระไตรปิฏกและไตรภูมิพระร่วง)

ซึ่งทั้งสองเล่ม แปลและแยกมาจากวิทยานิพนธ์สำหรับปริญญาอก สาขาพุทธศาสตร์ ในปีการศึกษา 2519 - 2520 ณ สถาบันนวนาลันดา มหาวิหาร เรื่อง "เทพเจ้าในพระเวทและไตรภูมิพระร่วง" โดย ศาสตราจารย์ อุดม รุ่งเรืองศรี

ขอเอารายนำเทพประจำสวรรค์ต่าง ๆ ใน "เทวดาพุทธ" มาพอให้เห็นเป็นสังเขป ดังนี้

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิก

- ท้าวมหาจาตุมหาราช
อันได้แก่ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวเวสสุวรรณ
- ขิฑฑาปโทสิกา
- มโนปโกสิกา
- สีตวลาหก
- อุณหวลาหก
- สุริยเทวบุตร
- จันทิมาเทวบุตร
- ปัชชุนานะ
- คนธรรพ์
- กุมภัณฑ์
- ยักษ์
- นาค
- ครุฑ
- รุกขเทวดา
- ภูมิเทวดา

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

- พระอินทร์
- ปัญจสิขร
- วิศวกรรม
- มาตลี
- เอราวัณ
- ประชบดี
- วรุณ
- อีสาน
- โสม
- พระยม
- มนาปกายิกาเทวดา
- วรุณวารุณเทวดา
- อุชญานสัญญิกาเทวดา
- มโนสัตตเทวดา
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 21:14

 สำหรับ พระอิศวร ไม่พบในพระไตรปิฏกก็จริง

แต่ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ของล้านนา มีอยู่ฉบับหนึ่งที่กล่าวถึง การต่อสู้พระหว่างพระอิศวร กับพระพุทธเจ้า ไว้อย่างสนุกทีเดียวครับผม

คือ "ฉคติทีปนี" ซึ่งปริวรรตโดย มาลา คำจันทร์ ซึ่งเคยตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือ ปลายปีก่อน

เสียดาย ทางหนังสือพิมพ์ลงผิด โดยลงตอนที่ 5 ซ้ำสองตอน ก็เลยทำให้ตอนที่ 4 หายไป ตอนนี้ที่ผมจึงมี 3 ตอนแรก และ ตอนสุดท้าย ส่วนตอนที่ 4 กำลังจะไปขอต้นฉบับมาอยู่ครับ ไว้จะเอามาเล่าสู่กันฟังวันต่อไปนะครับผม
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 29 เม.ย. 06, 10:20

 ก่อนที่จะมาเล่าการเผชิญหน้ากันระหว่างพระอิศวรกับพระพุทธเจ้า ใน “ฉคติทีปนี” ขอกล่าวถึงความเป็นมาของพระอิศวรในธรรมเรื่องนี้ก่อน

ในธรรมเรื่องนี้ ไม่ได้กล่าวถึงพระนามของพระอิศวรตรง ๆ  แต่จะใช้ชื่อว่า “ปรเสสระ” บ้าง “ปรไมสวร” บ้าง หรือ“ปรเมสสวร” บ้าง แต่ก็คือบุคคลคนเดียวกัน

ที่ว่า ปรเมสสระ นั้นคือพระอิศวร คือ “นางเทวีแห่งตนผู้ชื่อ อุมมาเทวี” มีบริวารหลัก คือ นันทิสสรเทวบุตร และ มหิกาลิวเทวบุตร (สององค์นี้เทียบได้กับเทพองค์ไหน ก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ) และมีลูกชื่อว่า “ขันธเทวกุมาร” อันมีนกยูงเป็นพาหนะ

และกล่าวถึงการกำเนิดของปรไปสวร (เอาชื่อนี้ละกัน เป็นความชอบชื่อนี้เป็นการส่วนตัว) ไว้ว่า ในชาติก่อนนั้น ได้ทำบุญถวายทานน้ำหวาน ที่ทำจากนมวัว อันมีชื่อว่า “ควปานะ” เมื่อมาเกิดในกัปนี้ ก็เป็น “โอปปาติกภุมมเทวดา” และมีวัวอุศุภราช เป็นพาหนะ และในชาติก่อนนั้นก็ได้ให้ทานเหล็กจารใบลานและบริขารแก่สังฆะ เมื่อเกิดมาเป็นปรไมสวรก็มีหลาวเหล็ก ๓ เล่มเป็นอาวุธ

และยิ่งตอนที่เตรียมตัวก่อนจะไปหาพระพุทธเจ้า ยิ่งเห็นได้ชัดเจนมากว่าเป็นพระอิศวร ซึ่งจะกล่าวต่อไป
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
Rinda
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 29 เม.ย. 06, 13:58


พิธีโสกันต์แบบพราหมณ์อีกพิธีหนึ่งที่จัดอย่างใหญ่โต
มีขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

พระองค์ทรงมีพระบรมราชองค์การโปรดเกล้าฯให้กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ สร้างเขาไกรลาสสูง 8 วา
มีมณฑป ยอดเขามีรูปพระอิศวร รูปพระอาทิตย์ พระจันทร์ มีเทวดาประจำอยู่ 8 ทิศ มีรูปกินนร รูปสัตว์
ทั้งจตุบท ทวิบาท พญานาค และพญามังกร เพื่อประกอบพระราชพิธีโสกันต์
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ


ภาพนี้ถ่ายโดย John Thomson ชาวสก็อต
(มีภาพเขาไกรลาส เห็นชัดเจน ที่ถ่ายโดยนายทอมสัน แต่รูปโตเกินขนาด)  
บันทึกการเข้า
Rinda
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 29 เม.ย. 06, 15:55

 กงศุลอาลาบาสเตอร์ได้บันทึกเกี่ยวกับพิธีโสกันต์ไว้ว่า

"เด็กเล็กๆ เอาผมไว้จน 10 ฤา 11 ก็โกนเสีย ในการโกนผมมีพิธีใหญ่โต และถ้าเป็นเจ้าก็มีพิธีสมโภช
อย่างเอิกเกริก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงชี้ให้เซอร์ แฮรี่ ออร์ด [เจ้าเมืองสิงคโปร์] ดูเจ้าชายพระองค์หนึ่ง
ซึ่งพระองค์มีรับสั่งจะได้โกนในปีหน้า......จะเป็นงานใหญ่น่าดูมาก"
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 29 เม.ย. 06, 20:17

 ในสมัยที่พระพุทธเจ้า ไปเทศนามหาสมยสูตร ในเมืองกบิลพัสดุ์ เหล่าเทวดาทั้งหลายก็พากันมาฟังเทศน์กันถ้วนทั่ว วิมานทั้งหลายก็เลยไม่มีเทวบุตรเทวดาองค์ไหนสถิตเลยสักองค์  ยามนั้นปรไมสวรก็พาอุมมาเทวี อันเป็นชายา และบริวาร อันมีนันทิสสรเทวบุตร และ มหิกาลิวเทวบุตร ไปเที่ยวเล่น ก็เห็นวิมานต่าง ๆ นั้นว่างเปล่า ก็นึกฉงน ก็สอดส่องเล็งดู ก็เห็นเหล่าเทวบุตรเทวดาพร้อมทั้งท้าวพระญาศากยะท้งหลายสดับตรับฟังธรรมเทศนาอยู่ อันมี สัมมาปริสัพพาชนิยสูตร พลหทวาทสูตร มหาพยุหสูตร จุฬพยุหสูตร ปราเภทสูตร

ปรไมสวรก็คิดว่าหากเทวดาทั้งหลายฟังธรรมพระโคตรมะแล้ว จะไม่รับเอาข่าวสารแห่งปรไมสวรอีกต่อไป จึงคิดจะทำลายการเทศนาธรรมแห่งพระสมณโคดมนั้นเสีย

ปรไมสวร จึงไปยังป่าช้าอันใหญ่ พร้อมบริวาร แล้วเกลือกกลิ้งเหนือกองไฟที่เผาผีนั้น เพื่อให้เถ้าและหนังผีที่ไหม้ไฟทาตัว  เอาข่าย(สิ่งที่ถักเป็นตา ๆ )ดอกไม้ แล้วเนรมิตงูเกี้ยวหัวแล้วแผ่พังพาน เอาเหลาวเหล็กสามอัน เข้าไปสู่ยังสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนา
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 เม.ย. 06, 23:39

 แล้วปรไมสวรก็ขับฟ้อนต่าง ๆ ใครที่จิตพร่องเบาก็โห่ร้องตามการฟ้อนรำของปรไมสวร ไม่เป็นอันฟังธรรม แล้วปรไมสวรก็ให้นามอุมมาเทวีฟ้อนด้วย คนและเทวดาทั้งหลายที่จิตพร่องเบาก็สาธุการต่อการฟ้อนหล่านั้น พร้อมกับตีกลองน้อยใหย่ บัณเฑาะว์ ระนาด ฆ้อง กังสดาล บ้างก็ลุกขึ้นฟ้อนตามไปด้วย จนกึกก้องโกลาหล กวนการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก

แต่เทวดาและฝูงชนผู้เป็นอริยสาวกแล้วนั้น เป็นคนที่มีจิตใจหนักแน่น ปรไมสวรก็ไม่สามารถทำให้คนกลุ่มนี้หวั่นไหวได้ง่ายๆ ส่วนพระพุทธเจ้าก็คล้ายกับว่ามองไม่เห็นปรไมสวร จึงทำการเทศนาจนจบ ปรไมสวรเมื่อเห็นว่า ไม่สามารถทำลายการเทศนาธรรมได้ จึงหนีไป หากขืนอยู่เท่ากับว่าตนเองได้มาสดับฟังธรรมเทศนานั้นด้วย

เมื่อพระพุทธเจ้าเทศนาธรรมจบลงแล้ว ผู้ที่มีใจหนักแน่น ก็ถึงอรหัตผล ประมาณแสนโกฏิอักโขเภณี และถึงโสดาปัตติผลมรรคผล สกิทาคามีมรรคผล และ อนาคามีมรรคผล ได้ ๑ อสงไขย ครานั้น ท้าวพระญาเมืองโกลิยะและเมืองศากยะ ก็ให้ราชกุมารทั้งหลายบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าถึง ๕๐๐ ตน (องค์)

เมื่อปรไมสวร ล้มเหลวในการทำลายธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าในครั้งแรก จึงใคร่กระทำการประลองอิทธิฤทธีกับพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้าในเมืองศากยะ ในครานั้นพระพุทธเจ้าได้ไปประทับที่ป่าหิมวันต์ และสมานกายไม่ให้ใครได้พบเจอ แต่ปรไมสวรก็ประสบพบกับพระพุทธเจ้าได้ ด้วยฤทธิ์แห่งปรไมสวร เมื่อเห็นดังนั้นจึงเข้าไปเจรจา

บอกว่า “เจ้ากู (หมายถึง พระพุทธเจ้า)นั้นมีเสียงเล่าลือว่าประกอบด้วยคุณในหมู่คนและเทวดาทั้งหลายด้วยฤทธีอานุภาวะ ส่วนข้า (ปรไมสวร) นั้น ก็มีอานุภาพปรากฏในคนและเทวดาทั้งหลายด้วย จะมีใครมาเทียบเราทั้งสองไม่มีเลย เจ้ากูมีฤทธิ์อานุภาพด้วยบารมีฌานผล ส่วนข้ามีฤทธิ์ด้วยบารมีกรรม แต่ข้าก็ไม่เคยประจักษ์ด้วยอิทธิฤทธิ์แห่งเจ้ากู ฉะนั้น ในครั้งนี้เห็นควรว่า เราทั้งสองจักสำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์กันเถิด”
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 03:01

 เมื่อปรไมสวรกล่าวเช่นนั้น พระพุทธเจ้าก็เล็งเห็นว่า ในกาลภายหน้า ปรไมสวรจะเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็กล่าวกับปรไมสวรว่า “หากจะเห็นอิทธิอานุภาพแห่งพระตถาคตแล้ว กำสำแดงอิทธิอานุภาพแห่งท่านออกมาก่อนเถิด”

ปรไมสวรได้ฟังดังนั้นก็ชวนพระพุทธเจ้าเล่นลี้ (ซ่อนแอบ) ดั่งเด็กน้อย คนหนึ่งเป็นคนลี้ คนหนึ่งเป็นผู้หาให้เจอ

พระพุทธเจ้าก็ตกปากรับคำในการเล่นลี้กันในครั้งนี้ ปรไมสวรจึงให้พระพุทธเจ้าปิดตา แล้วตนเองจะเป็นฝ่ายลี้ ด้วยคิดในใจว่า หากพระพุทธเจ้าลี้ก่อน แล้วตนเองหาไม่เจอแล้ว พระพุทธเจ้าจะไม่ยอมหาเมื่อตนเองเป็นฝ่ายลี้

ครั้นพระพุทธเจ้าปิดตาลง ปรไมสวรจึงหายตัวจากที่นั้นแล้วดำดินลงไปถึงชั้นที่มีรสหวาน แล้วแปลงกายให้เล็กเท่า ปรมาณู อันคล้ายดั่งผงธุลีที่ปลิวอยู่ในอากาศนั้น เมื่อลี้ได้แล้ว จึงกู่ให้พระพุทธเจ้าออกค้นหา ด้วยสัพพัญญุตญาณ คล้ายดั่งเขี่ยแผ่นดินนั้นแล้วเอามือหยิบเอาผงธุลีอันเป็นองค์ปรไมสวรแปลงนั้น มาไว้เหนือฝ่ามือแล้วเขี่ยไปมา แล้วกล่าวว่า ท่านจงลุกมาเถิด

ปรไมสวรนึกว่าพระพุทธเจ้าไม่เห็น จึงยังคงนิ่งอยู่อย่างนั้น

ฝ่ายพระพุทธเจ้านั้นก็รู้ถึงความคิดของปรไมสวร จึงกล่าวว่า ท่านคิดหรือว่าตถาคตะจักไม่เห็นท่าน ตถาคตะเห็นท่านทั้งตีน มือ เล็บ แลขุมขน ไส้ใหญ่ไส้น้อยทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่จะหลุดรอดสายตาไปได้

ปรไมสวรได้ยินดังนั้นก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้าได้จวบพบตนเองแล้ว จึงเนรมิตกายกลับคืนมาดังเดิม พระพุทธเจ้ากล่าวว่า แม้นว่าปรไมสวรลี้หนีไปอยู่ในน้ำมหาสมุทรก็ดี ไปเนรมิตเป็นสัตว์นรกอยูในนรก ๑๒๘ ขุมก็ดี เนรมิตเป็นยมบาลก็ดี เนรมิตเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่ว่าจะแปลงเป็น นาค ครุฑ สัตว์ ๔ ตีน ๒ ตีน หรือมากกว่านั้น หรือไม่มีตีนเลย ก็ดี เนรมิตเป็นเทวดาตั้งแต่ฉกามาจนถึงพรหมก็ดี เนรมิตเป็นต้นไม้เถาวัลย์ก็ดี เป็นภูดอยหินผาอันใดก็ดี พระพุทธองค์ก็เห็นหมดทุกสิ่ง

ปรไมสวร จึงไม่สามารถจะลี้ไปอันใดได้ จึงกล่าวกับพระพุทธเจ้าว่า “ขอให้เจ้ากูลี้เถิด ข้าจักหาท่านเอง”
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 13:18

 คุณพิพัฒน์หายงอนดิฉันหรือยัง จะได้เข้ามาตอบเรื่องพระอินทร์
ตอนนี้ขอฟังคุณศศิศให้จบก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 14:37


.
ใครจะกล้างอนอาจารย์นานครับ
กะลังเพลินเรื่องของคุณทริปเปิล ศ
คลับคล้ายคลับคลาว่า พระพุทธองค์ก็เคยเล่นซ่อนแอบกับท้าวมหาชมพูบดี ซึ่งเป็นนิยายที่เถรวาทไปตอนมาจากมหายาน
ถ้าตอนจบพระพุทธองค์เสด็จลี้ตรงหน้าผากละก้อ แม่นแล้ว เรื่องเดียวกัน
เรื่องที่คุณศ เล่ามานี่ผมขอเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้านะครับ

ตอนนี้มอบกระดานดำให้เล่นไปก่อน พอดีเสร็จการบ้านหลาน ไปค้นเจอข้อมูลของท่านศิลาเศวต จะแว็บไปทำการบ้านให้อาจารย์เทาอีกเรื่องหนึ่ง

ขอบคุณครับ
รูปข้างบน คือพระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่นักปราชญ์ท่านเห็นว่าสร้างตามตำนานท้าวมหาชมพูบดี
เอามาจากเวบช่างภาพไทย http://www.somchaisuriya.com/blog/index.php?option=com_rsgallery&catid=4  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 15:21

ยังไม่เล่าเรื่องพระอินทร์  รอคุณ สาม ศ (เข้าใจเรียกนะ คุณพิพัฒน์) มาเล่าต่อให้จบก่อน
เนื้อหาจะได้ไม่โดดข้ามไปข้ามมาค่ะ

เรื่องการประลองฤทธิ์ด้วยวิธีซ่อนหา   จำได้ว่าในตำนานของหงอคง(ซึ่งน่าจะมาจากมหายาน)ก็มีเหมือนกัน  เคยดูหนังตอนนี้
ว่าเห้งเจียลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง    แล้วแพ้ เพราะท่านหาเจอ แต่หงอคง หาท่านไม่เจอ

พระพุทธรูปทรงเครื่อง  ดิฉันนึกว่าพระเจ้าปราสาททองได้คติมาจากเขมรตอนท่านไปตีเขมรแล้วกลับมาสร้างวัดไชยวัฒนาราม ตามผังจักรวาลโลกโบราณเสียอีก
แต่เรื่องนี้คงต้องถามนักโบราณคดี  ดิฉันไม่ได้เรียนมาเหมือนกัน   จำได้ว่าอ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดมเลกเชอร์ไว้ทำนองนี้
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 15:34

 "น้ำหวาน ที่ทำจากนมวัวอันมีชื่อว่า ควปานะ" ในความเห็นที่ ๓๕ ของคุณศศิศ ทำให้ผมนึกถึงนมข้นหวานตรามะลิ ไม่ทราบว่าเหมือนกันหรือเปล่า

รอฟังทั้งคุณ pipat และคุณศศิศต่อไป...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 18 คำสั่ง