เรือนไทย

General Category => ชั้นเรียนวรรณกรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: Wandee ที่ 09 ก.ย. 11, 17:16



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 ก.ย. 11, 17:16


       ออกระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๖๗


มีผู้ถามว่า "เหตุใดจึงเกิดมีศัพท์ไทย"   นายแช  เศรษฐบุตร หรือ ขุนเศรษฐบุตรสิริสาร

ในฉบับแรกที่ออกตอนที่ ๑ เมื่อ  เดือนสิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๖๔  ไม่ได้แสดงตัว  ตอบว่า

ขอตอบโดยย่อว่า  เพราะไม่มีใครทำ  เราจึงทำไว้ประดับพระนคร  ประดับสติปัญญา

และเชิดชูชาติ

บรรณาธิการแจ้งว่าคงมีผู้เย้ยหยันว่า จะขายหนังสือก็อ้างถึงชาติ    แต่เขาไม่กระดากในข้อนี้

เพราะเขาว่าสำหรับเชิดชูชาติ    มิได้ให้รักชาติเพราะต้องการจะขายหนังสือ


       ประวัติหนังสือเก่าโดยมาก  รวบรวมได้ยาก   ส่วนมากก็จะเล่าได้เพียงปีพิมพ์และรายชื่อคณะผู้จัดทำเท่านั้น

"ศัพท์ไทย" เป็นหนังสือที่สนุก      ดิฉันอ่านดูแล้วอยากเก็บมาฝากสหายหลายคนในเรือนไทย

และจะคัดลอกและย่อเรื่อง  เรื่องแปล  และพยายามจะหาประวัติของนักประพันธ์  รวมทั้งนามแฝงอื่น ๆ และนามจริงมาใส่ไว้

มีเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยเลย

ค่าบำรุงปีละ  ๑๐  บาท

ได้เปิดตำราดูนามแฝงของนักแปลท่านหนึ่งใน ศัพท์ไทย   ตื่นเต้นมาก เพราะยาวมากกว่าที่คิด

ดิฉันมี "ศัพท์ไทย"  แปด เล่มค่ะ   พอจับความได้



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 ก.ย. 11, 20:37

ศัพท์ไทย เป็นของหนังสือพิมพ์ไทยค่ะ     หมายเลขโทรศัพท์  ๔๘๒

ผู้เขียนในฉบับแรกมี

ศรีอยุธยา   เขียน  "สักระวาชายทเล  แต่งขึ้นสำหรับร้องในงานวันประสูติของหม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ
ซึ่งตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม      เมื่อลงมือนั้นเป็นเวลาจวนแจแล้ว   จึงต้องรีบร้อนหน่อย  
เพราะฉะนั้นแม้ว่าบทกลอนตอนใดยังเข็นขัดอยู่บ้าง  ก็ขออภัยเสียด้วยเถิด"

ขอยก                            ตอน ๑๑   (ชาย)

๑๑                             สักระวาว่าได้ก็ว่าเอา
ถ้าแม้เขาว่าบ้างนางจะขึ้ง                               ทรามสงวนนวลหงส์จงคำนึง
ถึงส่วนตัวของนางบ้างเป็นไร                            ก่อนพบพี่มีชายเปนหลายคน
ไปตอมตัวนฤมลอยู่จริงไหม                             ว่าแต่พี่โฉมศรีไม่หยอกใคร
ศิวิไลซ์หล่อนเฟลิ๊ตเลิศดีเอย"


พระยาอนุมานราชธน

แม่สอาด  แปลเรื่อง  "แก้มือ" สงครามระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมัน  พ.ศ. ๒๔๑๓  ของ เซอร์ อา์เธอร์  โคแนนดอยล์ 

นายชิต  บุรทัต

หลวงนัยวิจารณ์   เขียนเรื่องแมวเผือก   ที่ตาทับรักมากทำมรดกยกให้แมวทั้งหมด  มีสวนมะพร้าว ๖ ร่องกับที่ดินข้างทางรถไฟ
ตีราคาหยาบ ๆ สักสิบชั่งเศษ    ทิดมากเลยต้องทำเป็นรักแมว
ตาทับสั่งวิธีดูแลแมวไว้มากมาย  ชามที่ใส่ข้าวต้องล้างทุกมื้อ   เวลามันนอนหลับก็อย่าทำเสียงอึง  มันจะจับหนูกิน
ก็อย่าห้ามเพราะหัวของหนูนั้นเป็นยาระบายทำให้แมวชุ่มคอ

(ได้เล่าเรื่องแมวเผือกให้คุณพระเฉียบเรียงเรียบฟัง  คุณพระเป็นผู้มีอันจะกิน เห็นด้วยว่าหัวหนูชุ่มคอแมว
วันดีพยายามนึกถึง บ้านน้อยในป่าใหญ่แล้วไม่กล้าเถียง)
เรื่องนี้คงมีเค้าโครงมาจากต่างประเทศเป็นแน่

ชาวชนบทผู้หนึ่ง
ขุนสันธานอักษรศาสตร์
พระอรรถวสิษฐสุธี



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 ก.ย. 11, 21:10

ศัพท์ไทยตอนที่ ๒    กันยายน  พ.ศ. ๒๔๖๔


ชิต  บุรทัต  เขียนโคลง ๔ สุภาพ  พระมหาสมณานุสาวรีย์

ไก่ฟ้า  เขียน  บทดอกสร้อย ธงกระบี่ครุฑพ่าห์

คดีลึกลับของมหานคร(คดีที่ ๑)  เรื่อง "สคาราบสีน้ำเงิน"  รามจิตติแปล(สนุกจริงๆถึงจะเคยอ่านมาบ้างก็ตามที)

หลวงวิจิตรพันธุการ เขียนเรื่อง รถยนตร์และรถจักรยานยนตร์ ใน อังกฤษ

พระอรรถวสิษฐสุขี  เชียนเรื่องทำไม

หลวงสันทัดอักษรสาร  เขียน พงศาวดารจีนเรื่อง "ก๊กโฮ"   (สนุกมาก)

พระพณิชย์ศาสตรวิธาน  เขียนเรื่องถูดเรือทับ

หลวงอรรถเกษมภาษา  เขียนกลอนตลาดเรื่องไปเชียงใหม่

ล.ป.จ. หิรัณยชาตรี
นายแช  เศรษฐบุตร
"แสงเงิน"



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.ย. 11, 21:18
สมัครสมาชิกรายปี ด้วยขอรับ


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 09 ก.ย. 11, 21:45


       ยังพอเล่าต่อไปอีกช้านานค่ะ เพราะมีประมวลมารค ๑ ชุด  และไทยเขษม อีกหลายเล่ม

นักสะสมหลุยส์   ติดต่อถามว่า ประมวลมารคอยู่ที่ดิฉันหรือ   ค่ะ  สนุกสู้ ศัพท์ไทยไม่ได้หรอก

เห็นมีพจนานุกรมของครูสมิทออกมา เล่ม ๑    เก็บอีกกี่ปีจะเจอทั้ง ๕ เล่ม

ดิฉันซื้อยกชุด มาจากร้านหนังสือจุฬามานานแล้ว  ลด ๓๐ % เพราะปกเยิน  พิมพ์ถ่ายแบบด้วย

นักสะสมรุ่นอาวุโสที่รู้จักใจดีค่ะ   ท่านให้ยืมหนังสืออ่านบ่อยไป

ท่านมีกล่องพลาสติคใสมหึมา ๓๖ กล่องวางไว้จะใส่ตู้หนังสือ      มีหนังสืองานศพ ๓ กล่อง

ท่านเล่าว่าเพื่อนนักเรียนอังกฤษของท่านคนหนึ่ง สะสมหนังสืองานพระศพเจ้านายชั้น ๔  ได้เกือบครบแล้ว  ขาดเล่มเดียว

ดิฉันเห็นจะต้องหากุ้งไปตกปลาบึกแล้วค่ะ



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 09 ก.ย. 11, 22:07

ดิฉันเห็นจะต้องหากุ้งไปตกปลาบึกแล้วค่ะ


กุ้งหวาน หรือกุ้งเผา จ๊ะคุณวันดี ;)


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 10 ก.ย. 11, 01:28

สวัสดีค่ะ  คุณอาร์ต    ตอนที่ ๓ แล้ว

     เจอรายชื่อขุนนางวังหน้าเป็นกระบุงเลยค่ะในสยามประเภท     แล้วจะเก็บมาฝาก

กุ้งนั้นอยากจะตอบว่ากุ้งแห้งในน้ำพริกเผาชื่อกล้าหาญแต่ซุ่มซ่าม  แต่ไม่กล้า  เกรงท่านผู้มีบารมีจะเข้าใจว่ามีการแขวะเกิดขึ้น


พยายามอ่านคำฉันท์ ของ ชิต  บุรทัตอยู่   ยังไม่เข้าใจดี   เขียนเรื่องราษฎร์ฤดี  ในตอน ๓  หน้า ๒๖๗

เขียนถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ


ขุนสันทานอักษรศาสตร์ เขียน โคลง ๔ สุภาพ ถวาย  สยามสังฆปรินายก


รามจิตติ เขียนคดีลึกลับแห่งมหานคร   เปนประวัติการของ มองซิเอร์ ราอูล เบลค   
วิลเลียม เลอะคิวซ์(รักษาตัวสะกดเดิม)รวบรวมและแต่งเป็นภาษาอังกฤษ

นายอรุณ  บุณยมานพ  แปลเรื่องอติรูป      ปีนี้ ๒๔๖๔  ท่านยังไม่ได้ใช้นามปากกา"แสงทอง"

จาเมศร์  ภิรมจิต  แต่ง  พุทธภาษิตคำฉันท์

ทองหยิบ  เขียน  ฏทธิเดชของศัพท์ไทย

พระยาอรรถศาสตร์โสภณ เขียน หมอดูควรเชื่อหรือไม่

ส.ม. อมาตยกุล เขียนกลบทสะบัดสะะบิ้งรับเป็นสมาชิกศัพท์ไทย

"ลอดช่อง" เขียน  สลักข้างหน้า

คุณพระอรรถเกษมภาษาเขียน "ระยะทางไปเชียงใหม่"

คุณพระ พณิชศาสตร์วิธานเขียน  "ผีหรือไม่ใช่"

ชวลิต  เศรษฐบุตร(นามปากกากุมารใหม่) เขียน กระจุ๋มกระจิ๋ม


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 10 ก.ย. 11, 01:50

ในตอนต่อไป  จะลงหนังสือที่พิมพ์ที่โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย  ถนนพลับพลาไชย    ๕๗ รายการ

และตำบลที่วางจำหน่าย หนังสือ "ศัพท์ไทย"     มี  ๑๙ แห่ง
ไม่แปลกที่มีร้านเจริญเกษากิจด้วย  เพราะรับหนังสือทุกประเภท   แต่ที่ตั้งข้างโรงละครปราโมทัย
ไม่ทราบมาก่อน  แต่ไม่แปลกอะไรเพราะไม่มีอะไรที่ใครจะทราบไปหมด   เก็บชื่อเจ้าของร้านไว้  แต่หาไม่เจอค่ะ

สถานีรถไฟหลวง  หัวลำโพงก็รับจำหน่าย "ศัพท์ไทย"

สหายคุณพระเฉียบเรียงเรียบอุทานไม่ค่อยเบาว่า  "เป็นธรรมดาอยู่เอง"
คุณพระท่านพูดเสียงดัง  ไม่ใช่เพราะมีปัญหาเรื่องการรับฟัง  แต่เรือนปั้นหยาของท่านตั้งอยู่ในทุ่ง แถวสวนมังคุด
พูดเสียงเบา  ลมจะพัดเสียงไปหมด 

คุณอาร์ทก็คงจะสนทนาเสียงดังแล้วเป็นแน่  เพราะอยู่ในทุ่งที่มีพโยมยานจอด

คนที่รักจะอ่านหนังสือเก่า  ควรจะรู้จัก ร้านเจริญเกษากิจ  ซึ่งเดิมเป็นร้านตัดผมชาย


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 10 ก.ย. 11, 13:59

คุณพระอรรถวสิษฐสุธี  เขียน  คอลัมน์ "ทำไม"  ตั้ง ๓ หน้า   ใน ศัพท์ไทยตอนที่สอง  หน้า ๑๕๖ - ๑๕๘

ขอคัดลอกบางตอนมาลงเพราะเป็นความคิดแบบไทย ๆ ที่ไม่ได้ลอกของฝรั่งมา       ๙๐ ปีแล้วที่ท่านเขียนไว้


ถาม                  ทำไมชายบางคนจึงชอบคบหญิงชั่ว
ตอบ                  เพราะคนดีเขาไม่คบด้วย

ถ.                    ว่าไปไหนมา  ทำไมจึงตอบว่า "เปล่า"
ต.                    เพราะไม่ใช่กงการของผู้ถาม

ถ.                    ทำไมผู้หญิงจึงชอบทำบุญมาก
ต.                    เพราะชาติหน้าอยากให้สวยกว่าชาตินี้

ถ.                    ทำไมหนังสือกลอนถึงผู้หญิงจึงเรียกว่าเพลงยาว
ต.                    เพราะแต่งไม่รู้จบจักสิ้น

ถ.                    ทำไมผู้หญิงจึงไม่ค่อยเชื่อคำผู้ชาย
ต.                    เพราะผู้ชายไม่เคยพูดจริงกับผู้หญิง

ถ.                    ทำไมผู้หญิงไทยชอบกินหมาก
ต.                    เพราะไม่อยากให้ปากอยู่นิ่ง ๆ

ถ.                    ทำไมเพื่อนตายจึงหายาก
ต.                    ถมไป       อยู่สวรรค์ก็มี  นรกก็มี



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 10 ก.ย. 11, 14:18

ตำบลจำหน่ายหนังสือศัพท์ไทย


ห้างสมิทแอนด์ซัน                 ประตูสามยอด
ห้างรัตนมาลา                     ถนนพาหุรัด
ห้างเคี่ยนเสง                      ประตูสะพานหัน
ห้างโกเมศ                         สี่กั๊กพระยาศรี
ห้างเคี่ยวฮั่งเสง                   สามแยก

ศุภวานิช                          หน้าโรงหนังพัฒนากร
บางกอกบรรณกิจ                ใต้สี่กั๊กพระยาศรี
ไททำนุ                            ประตูใหม่
ร้านเลขที่ ๑๒๕๔                 เชิงสะพานวัดมหรรณพ์
พานิชน้อย                        หน้าโรงหนังนางเลิ้ง

ศึกษานุมิตรสมาคม              ถนนเยาวราช
แช.  ลิมปสุวัณณ                 ถนนเฟื่องนคร
ห้างสมุด                          เหนือตรอกพระยาไกร  สำเพ็ง
เทพนครพานิช                    สะพานเหล็กล่าง
ร้านนายแชช่างแกะ               ปากตรอกโฮเต็ลใหญ่

ร้านนายฟัก                        หน้าโรงหนังฮ่องกง
ปุสตาคาร                          เหนือประตูสามยอด
เจริญเกษากิจ                      ข้างโรงลครปราโมทัย
สถานีรถไฟหลวง                  หัวลำโพง



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 10 ก.ย. 11, 14:31

ร้าน  แช.  ลิมปะสุวัณณ
ถนนเฟื่องนคร  หลังกระทรวงนครบาล  ฝั่งรถรางตอนหลีกรถ
เครื่องประกอบการแต่งกายด้วยเครื่องแบบ
มีขายอยู่บ้างแล้ว คือ

ยกตัวอย่างรายการสินค้าที่อ่านราคาแล้วเพลินอารมณ์มาก

ดุมนิเกิล  ทหารตำรวจสั่งนอก  เม็ดละ     ๑๐  สตางค์
ดาวเงินข้าราชการพลเรือนดาวละ           ๒๐ สตางค์
จักรนิเกิล ทหารตำรวจสั้งนอกคู่ละ          ๕๐ สตางค์
จักรเงินแบบใหม่สำหรับทหาร               ๔๐ สตางค์

ที่แพงหน่อยคือ
สายสพายคู่  เข็มขัดเครื่องสนามพร้อมซองปืนซองกระสุน(สั่งนอก)  สายละ       ๑๕ บาท


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 11, 12:00

ศัพท์ไทย  ตอนที่ ๔   พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๖๔


คดีลึกลับแห่งมหานคร(คดีที่ ๓)                     รามจิตติ
   ความลับแห่งมรกตเกล์บอฟ
       เป็นพลอยขนาดใหญ่สีเขียวแก่งาม  เป็นรองมรกตออร์ลอฟ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งแห่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของราชวงศ์โรมานอฟอันล่วงลับไปแล้ว
ประวัติมีอยู่ว่ามีผู้ค้นพบเมื่อปี ๑๖๑๘ ในที่ดินของเจ้าเกล์บอฟ  ใกล้เมืองโตบ็อลส์ก ในแดนไซเบเรีย   ถวายเป็นของขวัญต่อพระนางยูด็อกเชีย
เมื่อเข้าพิธีเสกสมรสกับพระเจ้ามิคาเอลที่ ๓    ต้นราชวงศ์โรมานอฟ

       พระนางนี้เป็นพระชนนีแห่งพระเจ้าอเล็กซิสที่ ๒  และเป็นพระอัยิกาแห่งพระเจ้าปีเตอร์มหาราช
เป็นเวลา ๓๐๐ ปีเศษ  พลอยนั้นได้คงอยุ่ในเรือนเดิมแบบบูรพาทิศเป็นรูปจี้  มีเพ็ชรเป็นมงคลรอบ

พระพุทธภาษิต(คำประพันธ์)                         จาเมศร์  ภิรมจิต

ลำทะเล(คำฉันท์ เทียบโคลงอังกฤษ)                "คนดง"
     จะขอคัดลอกมาลงในตอนต่อไปเพื่อแสดงความสามารถอันน่าจับใจของท่านผู้แปล
ไม่เข้าใจความอยู่เป็นอันมาก      ใคร่ขอเชิญท่านที่สนใจมาอธิบาย ทราบประวัติท่านผู้แปลเพียงเล็กน้อย
สักครู่จะพยายามไปถามข้อมูลจากสหายผู้มีข้อมูลเรื่องประวัติการพิมพ์(โดนสำนักพิมพ์ใหญ่ลอกไปดื้อ ๆ เลย)  

ตำนานอินชูรันส์                                        พระรามบัณฑิตสิทธิเศรณี

อัตตอนุสสติ(กลบทอักษรกลอนตาย)                หลวงสันทัดอักษร

อติรูป                                                   นายอรุณ  บุณยมานพ

ชมดอยสุเทพ เชียงใหม่(กาพย์ฉบง)                 หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์

หมอดูควรเชื่อหรือไม่ ?                                พระยาอรรถศาสตร์โสภณ

ระยะทางไปเชียงใหม่(กลอนตลาด)                  หลวงอรรถเกษมภาษา

อุปมาอุปไมย                                           ป. ธรรม

สมบัติบ้า                                                "เงินแดง"

กระจุ๋มกระจิ๋ม                                           พระพณิชศาสตรวิธาน



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 11, 16:12

A song of the sea

ลำทะเล

"คนดง"     หน้า  ๓๙๙ - ๓๔๐    ในศัพท์ไทยเล่ม ๔


I heard the sea cry out in the night
ตู ยิน ชเล รติ กำ ศรวล


Like a fretful child
ดุจ  เด็กกะยอ แก์์ย


Moaning under the pale moonlight
ร้องร่ำ ณ คล้ำ ชุษณ  แข


In a passion wild
มุ ห  โท สะ ทารุณ


And my heart cried out with sea, in tears,
ชลไห้ดนูไห้        ชลนัยน์ดนูหนุน


For sweet lost joys of my vanished years
เพื่อสุขกษัยสุน       ทรตาม  วสาหาย!


I heard the sea laugh out in the noon
ตูยิน ชเล  ณ ทิว หวัว


Like a girl at play
วิยะสาว  สเริงกาย


All forgot was the mornful moon
มวญ ลืม พระจันทร์ มล บ คลาย


In the dawn of the day!
ขณไข อุไทยวาร!


And my heart laughed out with the sea, in gladness,
ชล หัว ดนู หัว           จิตกลั้วเกษมสานต์


And I thought no more ofof bygone sadness.
เลิก คิด กำสรดผลาญ          ดนุซึ่งคระไลสูญ


I think the sea is a part of  me
ข้า ว่า ชเล  ประดุจ ข้า


With its gloom and glory
สหโศกและสุขพูน



What has been, and what yet shall be
เปน แล้ว ฤ  ก็ ยัง กล มูล


Is all its  story;
พจมาน นิทาน ผอง


Rise up, O heart, with the tidal flow,
ลอย เถิด นะใจ ตาม          ชล หลาม ตลิ่งนอง


And drown the sorrows of long ago!
จม เถิด นะ    ความหมอง              มนะ กาล  นานมา!




กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 11, 16:28


อักรานุกรมขุนนาง  อักษร อ.  ใน หนังสือ พิพิธภัรฑ์สัพพะสยามกิจ ศักราช ๒๔๗๔  หน้า ๑๔๖๓  แจ้งว่า


อรรถเกษมภาษา  หลวง (สวิง  ถาวรพันธ์ุ)   รองอำมาตย์เอก

อัยการจังหวัดภูเก็ต


สหายนักอ่านเล่าว่า  หลวงอรรถเกษมภาษา ๒๔๓๓ - ๒๔๙๘
แต่งบทละครร้องให้โรงละครปราโมทัย ๒  -  ๓ เรื่อง
มีบทละครเรื่องจดหมายลับ  สามกล และ อาบูหะซัน   และแต่งลิลิตตำนานพระร่วง
มีต้นฉบับที่ ม. ธรรมศาสตร์  ท่าพระจันทร์

ยังไม่ได้ตรวจสอบกับตำราเลยค่ะ  ผิดพลาดจะกลับมาแก้ไข




กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ก.ย. 11, 21:42

คคหที่ ๑๓   คุณหลวงอรรถเกษมภาษาเป็นอีกท่านหนึ่งค่ะ   ข้อมูลที่ลงผิดเวลาค่ะ

ท่านผู้เชี่ยวชาญจะมาแก้ไขให้เมื่อท่านว่างค่ะ


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 12 ก.ย. 11, 14:02
หลวงอรรถเกษมภาษา  ที่เป็นนักประพันธ์
น่าจะเป็นหลวงอรรถเกษมภาษา (เพ็ญ  บุนนาค) (๒๔๓๓- ๒๔๖๖)
เป็นอัยการประจำกระทรวงมหาดไทย


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ก.ย. 11, 13:56


ศัพท์ไทย เล่ม ๑  ตอนที่ ๕   ธันวาคม  ๒๔๖๔


คดีลึกลับแห่มมหานคร (คดีที่ ๔)     รามจิตติ

ปรีดิปราโมทย์ (กาพย์ฉบัง)           นายชิต  บุรทัต

อติรูป                                    นายอรุณ  บุณยมานพ

ผีวัดจอมกราน                          "สมุห์หอม"

ยังไม่จบอย่าเพ่อตบมือ                 "บางขุนพรหม"                     

ระยะทางไปเชียงใหม่ (กลอนตลาด)   หลวงอรรถเกษมภาษา

โอละพ่อ                                  "กุหลาบเพิ่งแย้ม"


กระจุ๋มกระจิ๋ม                             "ชนบท"




เรื่องที่น่าอ่าน คือ
ปรีดิปราโมทย์         หน้า ๕๐๙ - ๕๑๑


เนื่องด้วยท่านจางวางเอก และนายพลโท พระยาประสิทธิศุภการ  ผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก
และสมุหราชองค์รัก์ได้รับพระราชทานสุพรรณสมบัติ  เลื่อนอิศริยศักดิ์ ขึ้นเป็นเจ้าพระยารามราฆพ ฯ
ในการพระราชพิธีฉัตรมงคล  เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๔

กาพย์ฉบัง
ขอคัดลอกมาบางส่วน

       @ สุภฤกษ์ เริ่ม ราชพิธี                                ฉัตร มงคล ศรี
สวัสดิ์ พิพัฒน์ เพ็ญสานต์                                     ฯ

       @ ทรง พระ กรุณา โปรดปราน                        โดย ราช โองการ
ประกาศให้ เทอด ฐาปนา                                      ฯ

       @ ท่าน ผู้สัมฤทธิ กิจภา                               ระพรรค์ บรรดา
มหาดเล็ก ราช บริพาร                                         ฯ

       @ พระยา ประสิทธิ์ ศุภการ                            สถิตย์ ศักดิ์ ฐาน
สถาปน์ สเถียร สาธร                                           ฯ

       @เป็น เจ้าพระยา  นามะกร                            เด่น ฐา  นันดร
สุพรรณ นะบัฏ ไพบูลย                                         ฯ

       @ สมญา รามราฆพ ฯ จรูญ                           จำเริญ เกียรติ สกุล
สกล ปรากฏ  ยศยง                                             ฯ


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ก.ย. 11, 14:11

ศัพท์ไทย  เล่ม ๑ ตอนที่ ๖  มกราคม  พ.ศ.​๒๔๖๔


นอกจากคอลัมน์ประจำแล้ว   ตอนนี้  ครูเทพ เขียน เศรษฐวิทยาคืออะไร

ขุนสันธานอักษรศาสตร์เขียน ธรรมานุภาพ

ขุนวรนาถพิทักษ์เขียน น้ำท่วมปาก(บทละครพูด)

พระยาอนุมานราชธนเขียน สันนิบาตชาติ

พระพณิชย์ศาสตร์ภิธารเขียน มนุษย์วานร

หลวงสารานุประพันธ์เขียนแม่หม้ายทรงเครื่อง

ขุนอักษรนิพัทธ์เขียน ขณะปรารถนา

หวงจรูญอักษรศักดิ์เขียน  น้าสาวของพ่อสอาด

นายชิต  บุรทัตเขียน ผลแห่งตน(คำฉันท์)

หลวงวิจิตรพันธุการ เขียน มนุษย์ดับจิตเป็นอย่างไร

นายแช เศรษฐบุตรเขียน พิทโยปการ(โคลง ๔ สุภาพ)

หลวงสมบัติธัญญผล เขียน  ภาษิตปลีก




กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 11, 14:17
กาพย์ฉบังไพเราะมากครับ


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ก.ย. 11, 14:41



       ยังมี นิตยสารไทยเขษม  และ ประมวลมารค ปะปนกันอยุ่เป็นจำนวนมาก

จะนำสารบัญและบทความหรือ นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่ "โลกหนังสือ" กล่าวว่าหาอ่านยากที่สุด มาลงต่อไปค่ะ

หนังสือเก่าถ้าจะหลุดออกมา  ก็จะมาจากหลายทางค่ะ     อยากเห็นจริง ๆ ต้องวานเจ้าของร้านหนังสือเก่าพาไป

เมื่อเจ้าของล็อตเกี่ยงงอนว่า  ต้องกำจัดตัวแมลงบ้าง  หรือจะเก็บไว้อ่านเองบ้าง  แสดงว่าเขาจะเก็บไว้ให้ "ลูกพี่"  หรือ "เสี่ย" ค่ะ

ดิฉันก็ติดตามไปที่ลูกพี่ของคนถือหนังสือ   เพียงเพื่อขอดูเป็นบุญตา

ดิฉันออกปากยืมหนังสือจากสหายได้คล่องปาก  เพราะเรามีระเบียบปฎิบัติการประจำ  คือ  อ่านคนเดียว   คืนไว

แต่หนังสือที่สหายยืมมา  ดิฉันจะไม่เอ่ยปากเลยค่ะ  ถือว่าไม่ใช่สมบัติของเพื่อนเรา      อยากอ่านแค่ไหนก็ไม่ละลาบละล้วงให้ใครต้องลำบากใจ

แต่เรื่องไปคร่ำครวญตามที่ต่าง ๆ ว่าอยากอ่านจังเลย   มีบ้างค่ะ



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: tony_hui ที่ 15 ก.ย. 11, 23:14
ระวังนะขอรับ ถ้าเผลอเราจะยกพวกไปปล้น ;D


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ก.ย. 11, 23:40

   แน่จริงปักป้ายที่ตลาดเลยค่ะ  เสือโทนี่    ไม่กระโดดเรือนหนีแน่นอน(เพราะกระโดดไม่ไหว)

ได้อ่านดาบศักดิ์เหล็กน้ำพี้แล้วค่ะ

เรื่องแปลนักสืบเก่าๆล้วนฝีมือเลิศ

ไทยเขษมมีเรื่องเยอะเชียว   ดิฉันจะพยายามแก้ไขรายละเอียดของ วันเดือนที่พิมพ์แล้วแจ้งไปที่สำนักพิมพ์

ถนนพัฒนาการ


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 ก.ย. 11, 11:38
หลวงอรรถเกษมภาษา  ที่เป็นนักประพันธ์
น่าจะเป็นหลวงอรรถเกษมภาษา (เพ็ญ  บุนนาค) (๒๔๓๓- ๒๔๖๖)
เป็นอัยการประจำกระทรวงมหาดไทย



ประวัติหลวงอรรถเกษมภาษา (เพ็ญ  บุนนาค)

หลวงอรรถเกษมภาษา (เพ็ญ  บุนนาค) เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
ปีขาลโทศก  ๑๒๕๒  เป็นบุตรของนายเพื่อน  บุนนาค กับนางชุ่ม  บุนนาค

นายเพื่อน  บุนนาค  เป็นบุตรของเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม  บุนนาค)
กับหม่อมราชวงศ์ภุมรี  พึ่งบุญ  นายเพ็ญ เกิดที่บ้านตำบลปากคลองสมเด็จเจ้าพระยา
ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝ่ายปัจฉิมทิศ

เมื่อนายเพ็ญ  บุนนาค เติบโตอายุพอสมควร  ได้เล่าเรียนหนังสือขั้นต้นที่บ้าน
จนสามารถอ่านหนังสือไทยได้พอประมาณแล้ว  จึงได้ไปเล่าเรียนต่อในสำนัก
พระอาจารย์สยามปริยัติ (อาจารย์งิบ) วัดประยุรวงศาวาส

เมื่อเรียนสำเร็จจากสำนักอาจารย์งิบแล้ว  ได้ไปเข้าศึกษาต่อทั้งภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ  ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ   เมื่อเรียนจบก็ได้เข้ารับราชการที่ศาลต่างประเทศ
ซึ่งขณะนั้น  นายเพ็ญ  อายุได้ ๑๘ ปี  (ปีร,ศ, ๑๒๖ )


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 ก.ย. 11, 11:53
เหตุที่นายเพ็ญไปเข้ารับราชการที่ศาลต่างประเทศ
เนื่องจากลุง  คือ ขุนหลวงพระยาไกรสีห์ (เทียม  บุนนาค)
ดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาอยู่ในขณะนั้น
ในระหว่างที่รับราชการที่ศาลต่างประเทศ 
นายเพ็ญได้เล่าเรียนกฎหมายไปด้วย

ครั้นต่อมา ในปีระกาอัฐศก  เกิดกรณีพญาระกาขึ้น
เป็นเหตุให้เสด็จในกรมราชบุรีกราบถวายบังคมลาออก
จากตำแหน่งเสนาบดี  และมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
กราบถวายบังคมลาออกตามเสด็จอีกหลายท่าน
ในจำนวนนั้นมีขุนหลวงพระยาไกรสีห์ด้วย 
(เรื่องราวเป็นอย่างไร  อยากอ่านละเอียด
โปรดไปอ่านได้จากหนังสืองานศพเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
ไม่ทำลิงก์ให้  ไปหาอ่านเอาเอง ในเรือนก็มี)

นายเทียม  บุนนาค  เมื่อออกจากราชการแล้ว
ก็ไปตั้งสำนักงานทนายความอยู่แถวๆ ถนนเจริญกรุง
ตอนใต้สะพานพิทยเสถียร   นายเพ็ญก็ได้ลาออก
จากราชการมาทำงานกับลุงเทียมด้วย


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 ก.ย. 11, 12:00
ต่อมาไม่นาน  ลุงเทียมถึงแก่กรรม  (ปลายปี ๑๒๘)
นายเพ็ญจึงได้กลับเข้ารับราชการใหม่อีกครั้งในปีถัดมา
ที่กองหมาย  กระทรวงยุติธรรม 

ปี  ๒๔๕๗  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  ขุนสินสำรวจ
ปี  ๒๔๕๙   ย้ายไปเป็นพนักงานกรมอัยการ
ปี  ๒๔๖๑  ได้เลื่อนเป็น  หลวงอรรถเกษมภาษา
ปี ๒๔๖๖    ป่วยเป็นวรรณโรค(ไม่ใช่วัณโรค)
พอเดือนกันยายนปีเดียวกันก็ถึงแก่กรรม  อายุได้ ๓๔ ปี


หลวงอรรถเกษมภาษา (เพ็ญ  บุนนาค)  สมรสกับนางชม
แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ก.ย. 11, 12:07
ครั้นต่อมา ในปีระกาอัฐศก  เกิดกรณีพญาระกาขึ้น
เป็นเหตุให้เสด็จในกรมราชบุรีกราบถวายบังคมลาออก
จากตำแหน่งเสนาบดี  และมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
กราบถวายบังคมลาออกตามเสด็จอีกหลายท่าน
ในจำนวนนั้นมีขุนหลวงพระยาไกรสีห์ด้วย 
(เรื่องราวเป็นอย่างไร  อยากอ่านละเอียด
โปรดไปอ่านได้จากหนังสืองานศพเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์)
ไม่ทำลิงก์ให้  ไปหาอ่านเอาเอง ในเรือนก็มี)

คดีพญาระกา
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/08/K8266277/K8266277.html


 ;D


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 ก.ย. 11, 12:09
หลวงอรรถเกษมภาษา (เพ็ญ  บุนนาค) ใช้นามปากกาว่า "คนดง"
เคยแต่งเรื่องอำนาจแห่งความกดขี่  ลงเผยแพร่ใน ผดุงวิทยา
ฉบับที่ ๗ และ ๘ เดือน กันยายน  - ตุลาคม ๒๔๕๖  เล่าพาดพิง
ถึงประวัติท่านเองว่า

สมัยเมื่อท่านเป็นเด็ก  ท่านอ้วนสมบูรณ์ดี  เป็นที่รักเอ็นดูของพ่อแม่
ญาติพี่น้อง  แต่ต่อมา  พ่อแม่มีปัญหากัน  จึงได้ร้างรากันไป
ทิ้งกระทั่งเด็กชายเพ็ญซึ่งยังไม่หย่านม   โชคดีที่ท่านได้ท่านป้าเล็ก
รับเอาไปเลี้ยงด้วยนมแพะนมโคจนสามารถเติบโตต่อมา
ด้วยเหตุนี้  ท่านจึงพรรณนาคุณของแพะและโคไว้
ในเรื่องอำนาจแห่งความกดขี่ ด้วย


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 29 ก.ย. 11, 12:30


ขอบคุณคุณหลวงค่ะ

ไม่เคยเห็นผดุงวิทยาเลย   ไม่เคยได้ยินสหายผู้ใดเอ่ยถึงด้วย  แล้วข้าพเจ้าจะไปทางไหนล่ะเนี่ย


ขอบคุณในความกรุณาของคุณเพ็ญเป็นอย่างยิ่ง      สมัยก่อนคุยกันยาวเฟื้อยเลย



กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 ก.ย. 11, 12:47
คุณเพ็ญฯ ไม่ลองหารูปนายเพื่อน พ่อของหลวงอรรถเกษมภาษ
หรือรูปหลวงอรรถเกษมภาษา มาให้ดูสักหน่อยล่ะครับ
ผมหาไม่ได้เลย   ไม่ถนัดเรื่องรูปเสียด้วยสิ  ฝากคุณเพ็ญฯ ช่วยหน่อยนะครับ

อ้อ  รูปขุนหลวงพระยาไกรสีห์ (เทียม  บุนนาค)
กับรูปเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม  บุนนาค)
หรือรูปเกี่ยวกับคดีพญาระกา  ไม่ต้องเอามาลงนะครับ
เห็นมาเสียเฝือแล้ว 


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 ก.ย. 11, 14:38
ใน เว็บของสกุลบุนนาค  (http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang053.html) บอกว่านายเพ็ญเป็นหลวงอรรถคดี  ;D

เชื่อคุณหลวงเล็กมากกว่า "หลวงอรรถเกษมภาษา"

ยังหารูปไม่ได้

 :D


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 ต.ค. 11, 22:15



ข้อมูลที่ดิฉันมี  บิดาของ หลวงอรรถเกษมภาษา(เพ็ญ  บุนนาค)  คือ นาย เผื่อน บุนนาค 


รูปของ หลวงอรรถเกษมมีอยู่ในหน้า ๗๒   ในหนังสือ  "เล่าเรื่องนักเขียนดังในอดีต"  ของ พี่ ส. พลายน้อย



หนังสือเรื่อง "บุรุษเรืองนาม"  ก็มีเรื่องของคุณหลวง  คำโคลงเรื่องนายชาร์ล  ดิกเก็นส์

ดิฉันไปติดอยู่ที่ ไทยเขษมนานไปหน่อยค่ะ


กระทู้: นิตยสารเก่ารายเดือน ศัพท์ไทย
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 10 ธ.ค. 11, 13:19


       เพิ่งทราบว่ารวมเล่มศรีกรุง ๖ เล่มแรกในปัจจุบันอยู่ในเงื้อมมือท่านผู้ใด

ได้ แหะ ๆ "ขอยืม"  ไว้เรียบร้อยแล้ว    ตอนนี้ท่านผู้มีชื่อกำลังย้ายบ้าน

คงต้องออกไล่ล่าท่านต่อไป   จะนำข้อมูลแปลกมาเสนอในเร็ววันค่ะ

วงการหนังสือเก่าคึกคักเสมออย่างนึกไม่ถึง