เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 07, 13:07



กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 07, 13:07
ทุกวันนี้ ไม่ว่าผ่านไปที่ไหนไม่ว่ากรุงเทพ หรือตามต่างจังหวัด เรามักจะเห็นรูปเจ้าแม่กวนอิม ทั้งที่เป็นรูปปั้น

หรือภาพวาด ให้เคารพบูชากันตามสถานที่ต่างๆ แม้แต่ในวัด
ความจริงวัดไทยที่มีโบสถ์ และช่อฟ้าแบบไทย ทั้งร้อยละร้อยเป็นวัดของพุทธศาสนานิกายเถรวาท แต่เจ้า

แม่กวนอิมนั้นเป็นภาคหรือปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนานิกายมหายาน
เมื่อครั้งพุทธกาลและหลังจากนั้นอีกหกร้อยปี พุทธศาสนายังไม่ได้แยกเป็นนิกาย ยังคงมีหนึ่งเดียว จนพุทธ

ศตวรรษที่ ๖-๗ จึงเริ่มมีนิกายมหายานแยกออกไปจากพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 มี.ค. 07, 22:33
พระโพธิสัตว์ปางนี้ เรารู้จักกันในนามกวนอิมเป็นส่วนมาก โดยรับความเชื่อนี้ผ่านมาจากทางจีนอีกทีหนึ่ง

แต่อันที่จริง พระโพธิสัตว์ปางนี้เป็นที่รู้จักของคนในดินแดนสุวรรณภูมิมานานมากกว่าหนึ่งพันปีแล้วครับ โดยรับมาจากอินเดียโดยตรง

ใครจะไปคิดว่ารูปสลักที่ปราสาทบายนในรูปนี้คือพระโพธิสัตว์องค์เดียวกับเจ้าแม่กวนอิมได้ครับ

(http://northonline.sccd.ctc.edu/christen/Khmer.Bayon.72.jpg)


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: ศศิศ ที่ 24 มี.ค. 07, 00:40
ส่วนใหญ่ว่ากวนอิมก็คือ โพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

แต่ผมก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่า เกี่ยวพันกันอย่างไร ในตำนานใดน่ะครับผม  ???


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 24 มี.ค. 07, 12:52
ใช่แล้วครับ พระโพธิสัตว์องค์นี้ก็คือพระอวโลกิเตศวรในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั่นเอง

อวโลกิเตศวร มาจาก อว + โลกิต + อิศวร
อว แปลว่า เบื้องล่าง
โลกิต แปลว่า สอดส่อง
อิศวร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่
แปลรวมความว่า อวโลกิเตศวร คือ ผู้เป็นใหญ่ที่สอดส่องความเป็นอยู่ของเบื้องล่าง(คือโลกมนุษย์)นั่นเอง

ซึ่งเมื่อจีนรับพุทธศาสนานิกายมหายาน จึงเรียกพระโพธิสัตว์องค์นี้ว่า  观世音(กวานซื่ออิน) หรือ 观音(กวานอิน)
观 แปลว่า สอดส่อง
世 แปลว่า โลก
音 แปลว่า เสียง
คือผู้สอดส่องสรรพเสียงในโลกครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 25 มี.ค. 07, 01:11
โดยความเชื่อในศาสนาพุทธนิกายมหายาน พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นพระโพธิสัตว์ในประเภทพระธยานิโพธิสัตว์ คือเป็นผู้ที่บำเพ็ญบารมีจนบริบูรณ์ สามารถจะหลุดพ้นจากสังสารวัฏทุกเมื่อ แต่เลือกที่จะอยู่โปรดสัตว์ผู้ยากต่อไป โดยเฉพาะชื่ออวโลกิเตศวรเอง ก็หมายถึงการสอดส่องดูแลความทุกข์ยากของสัตว์ผู้ยากเหล่านี้

และด้วยชื่อเช่นนี้เอง จึงเป็นที่มาของใบหน้าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 216 หน้ามองลงมาจากทุกด้านในปราสาทบายน ใจกลางนครธม ซึ่งเป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธ นิกายมหายานครับ

(http://www.planetware.com/i/photo/stone-carved-faces-on-the-bayon-temple-at-angkor-cam408.jpg)


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 25 มี.ค. 07, 01:34
"โอม มณี ปัทเม หุม"

มนตร์บทนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย มีที่มาจากศาสนาพุทธนิกายวัชรยานในธิเบต ถือเป็นมนตร์ประจำองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

และด้วยความเชื่อว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอยู่เวียนว่ายตายเกิดเพื่อโปรดสัตว์ผู้ยาก ปัจจุบันพระอวโลกิเตศวรจึงยังอยู่ในโลกมนุษย์นี้ด้วย

(http://www.nobelpreis.org/frieden/images/dalai-lama.jpg)

ครับ ดาไล ลามะ ก็คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั่นเองครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: ศศิศ ที่ 25 มี.ค. 07, 01:46
สิ่งที่ผมยังสงสัยอยู่ เกี่ยวกับโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร กับ โพธิสัตว์กวนอิม

มันเป็นการแตกแขนง จากสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งหนึ่ง

หรือเกิดจากการรวมกันของสองสิ่ง เป็นสิ่งเดียวกันละครับผม


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 25 มี.ค. 07, 01:48
ใช่ครับคุณศศิศ ผ่านมาหลายความเห็น ยังไม่มีวี่แววว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจะคล้ายกับเจ้าแม่กวนอิมที่เรารู้จักตรงไหน

ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าโดยความเชื่อของนิกายมหายานต้นตำรับในอินเดีย พระอวโลกิเตศวรปรากฏในรูปบุรุษตลอดครับ

แม้แต่ในจีนเอง ยุคแรกๆที่รับศาสนาพุทธเข้ามา พระอวโลกิเตศวรก็ยังปรากฏลักษณะเป็นบุรุษ จนเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 มานี้เองที่พระอวโลกิเตศวรกลายเป็นเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นสตรีแบบเบ็ดเสร็จครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 25 มี.ค. 07, 02:38
ตำนานเจ้าแม่กวนอิมในจีนนั้นมีหลายตำนาน มีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยหลักแล้วมีเนื้อหาดังนี้ครับ

กาลครั้งหนึ่งมีเจ้าหญิงซึ่งมีพระนามว่าเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน (妙善) เจ้าหญิงพระองค์นี้มีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก หากเมื่อเจริญพระชนม์จนสมควรมีคู่ครองแล้ว พระบิดาปรารถนาให้เจ้าหญิงอภิเษกกับชายผู้ทีร่ำรวยเงินทอง

เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านตรัสว่า จะยอมตามพระทัยพระบิดาหากการอภิเษกนั้นสามารถทำให้ความปราถนา ๓ ประการของพระองค์เป็นจริง ความปราถนานั้นได้แก่
๑. ความทุกข์อันเกิดจากความชราที่ไม่อาจหยุดยั้งได้ของผู้คน
๒. ความทุกข์จากความเจ็บป่วยของผู้คน
๓. ความทุกข์จากความตายของผู้คน
ซึ่งถ้าความปรารถนาของพระองค์สัมฤทธิ์ผลแล้ว พระองค์จะสละทางธรรมทันที

แน่นอนว่าพระบิดาไม่สามารถทำได้ พระองค์จึงบีบบังคับให้เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านทำงานหนัก จำกัดอาหารให้แต่น้อย เพื่อหวังให้เจ้าหญิงท้อถอย

ด้วยความเด็ดเดี่ยว นอกจากเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านจะยืนยันไม่ยอมเข้าพิธีอภิเษกแล้ว สิ่งเดียวที่พระองค์ขอคือ ขอออกบวชเป็นภิกษุณี

พระบิดายอมให้เจ้าหญิงบวชได้ แต่ไม่ลืมกำชับให้พระในวัดบังคับให้พระองค์ทำงานหนักยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมอีก

แต่ถึงต้องทำงานหนักอย่างไร เจ้าหญิงไม่เคยปริปากบ่น จนในที่สุดพระบิดากริ้วจนสั่งให้เผาวัดให้วอดวาย

ในขณะที่ไฟไหม้วัดจนวอดวาย เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านกลับเดินออกจากกองเพลิงโดยไม่มีวี่แววว่าจะถูกไฟลวกแต่อย่างใด ถึงตอนนี้พระราชาผู้โหดร้ายสั่งให้ประหารชีวิตเจ้าหญิงพระธิดา

ถึงตรงนี้ แต่ละตำนานมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป

บ้างว่าเจ้าหญิงถูกประหาร แต่เมื่อวิญญาณถูกนำไปพบกับมัจจุราชในนรก นรกนั้นกลับกลายเป็นสวรรค์ จนมัจจุราชต้องส่งเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านกลับมายังโลกมนุษย์เพื่อป้องกันความวิบัติของนรกภูมิ

บางตำนานก็ว่าเมื่อจะถูกประหาร ขวานของเพชรฆาตกลับแตกเป็นเสี่ยงๆ ครั้นจะยิงด้วยเกาทัณฑ์ ลูกเกาทัณฑ์ก็วิ่งผ่านไปไม่สามารถทำอันตรายได้ จนในที่สุดเพชรฆาตต้องใช้มือเปล่าทำร้ายเจ้าหญิงจนตาย ทั้งนี้เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ขอรับกรรมที่เพชรฆาตได้ทำไว้ จึงเป็นเหตุให้พระองค์ต้องไปนรกจนเกิดเหตุป่วนนรกตามตำนานข้างต้น

ในขณะที่บางตำนานก็ว่าเพชรฆาตไม่สามารถประหารเจ้าหญิงได้ เพราะมีเสือเทพยดามารับเจ้าหญิงไป

แต่ไม่ว่าจะเป็นตำนานไหน ก็จบลงด้วยการที่ว่า เจ้าหญิงกลายเป็นเจ้าแม่กวนอิม และพระบิดาซึ่งสำนึกในความผิดของพระองค์ก็โปรดให้สร้างวัดบนภูเขาถวาย หลังจากนั้นเจ้าแม่กวนอิมจึงได้ไปสู่สรวงสวรรค์ แต่ระหว่างการเดินทางนั้นเอง พระองค์ได้ยินเสียงแห่งความทุกข์ยากของมนุษย์บนโลก จึงตัดสินใจกลับมาลงมาบนโลกและตั้งปณิธานว่าจะไม่ยอมจากไปจนกว่าผู้คนทั้งหลายจะพ้นจากความทุกข์ยากเสียก่อน

ว่ากันว่า หลังจากกลับมาบนโลกแล้ว เจ้าแม่กวนอิมได้ไปบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ผู่ถัวซาน(普陀山) เพื่อช่วยเหลือพวกชาวเรือและชาวประมงต่อมาอีกหลายปี เป็นเทพที่ชาวเรือให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมากครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 25 มี.ค. 07, 02:48
น่าสังเกตว่าตำนานเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านดังกล่าว น่าจะเป็นเป็นตำนานชาวเรือ ดูทีแล้วเป็นความเชื่อท้องถิ่นมาก่อน และรวมเข้ากับพระอวโลกิเตศวร(กวนอิม) ด้วยความที่เป็นสัญญลักษณ์แห่งความเมตตา เป็นที่พึ่งของผู้คน จนในที่สุดความเชื่อนี้แพร่หลายมากขึ้น จึงส่งผลให้พระโพธิสัตว์กวนอิมกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตำนานเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านครับ

หลักฐานที่ปรากฏในญี่ปุ่นเองก็สอดคล้องกัน เพราะรูปเคารพพระอวโลกิเตศวรยุคเก่ามีลักษณะเป็นบุรุษ และมากลายเป็นสตรีในภายหลังครับ

ญี่ปุ่นจะเรียกชื่อพระอวโลกิเตศวรตามอย่างจีน แต่ออกเสียงว่า คัน-นน(kannon) หรือ คันเซ-อน (kanzeon) ครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 25 มี.ค. 07, 03:01
การหลอมรวมของความเชื่อท้องถิ่นในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ พบได้ทั่วไป

แต่เรื่องหนึ่งที่น่าจะถือเป็นเรื่องที่พิลึกพิลั่นทีเดียวคือ กวนอิมในญี่ปุ่นปางหนึ่งที่เรียกว่า Maria Kannon ครับ

Maria Kannon เกิดขึ้นจากการสั่งห้ามนับถือศาสนาคริสต์ในสมัยเอโดะ ใครฝ่าฝืนมีโทษถึงตาย ชาวคริสต์จึงต้องหาทางออกโดยการบูชารูปเคารพที่กำหนดว่าเป็น พระแม่มารี ในรูปแบบที่คุ้นเคยของชาวพุทธนั่นคือ kannon นั่นเอง

(http://www.eltestigofiel.org/imagenes/oratoriov/kannon.jpg)

โปรดสังเกตว่าอุ้มพระบุตรไว้ด้วยนะครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 25 มี.ค. 07, 11:04
ขอตั้งข้อสังเกตอีกประการหนึ่งครับ

ชื่อเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน (妙善) ถ้าจะแปลความหมายตามตัวอักษร
妙 ความเฉลัยวฉลาด หรือ มีปัญญา
善 คือความดีงาม

ได้ความหมายพ้องกับชื่อนางปรัชญาปารมิตา ศักติของพระอวโลกิเตศวรในความเชื่อทางฝ่านมหายานด้วยครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 27 มี.ค. 07, 23:40
มีอีกตำนานหนึ่งที่กล่าวถึงประวัติของกวนอิมพันมือครับ

ในสมัยชุนชิว ฉู่จวงอ๋อง(楚莊王)แห่งแคว้นฉู่มีพระธิดาองค์ที่สามมีพระนามว่าเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเป็นพุทธศาสนิกที่เคร่งครัดมาก พระองค์ละเว้นการเสวยเนื้อสัตว์และหมั่นท่องพระสูตรอยู่เป็นนิจ เมื่อพระองค์ทรงขออนุญาตพระบิดาออกบวชเป็นแม่ชี พระบิดาทรงกริ้วอย่างหนักและสั่งประหารชีวิตทั้นที

วิญญาณของพระองค์ได้ถูกพญายมส่งกลับมายังโลกนี้อีกครั้ง โดยให้อยู่ในดินแดนอันสุขสงบแห่งหนึ่งในมณฑลเจ๋อเจียง ที่ซึ่งพระองค์สามารถศึกษาพระพุทธศาสนาได้โดยไม่ถูกรบกวน ในที่สุดพระองค์ก็บรรลุธรรม และช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ยาก

วันหนึ่ง จวงอ๋องพระบิดาป่วยหนัก หมอบอกว่าอาการป่วยของพระองค์สามารถรักษาได้โดยใช้ยาที่ทำจากมือและดวงตาของผู้ที่ไม่เคยมีความโกรธเท่านั้น เมื่อเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทราบเรื่อง พระองค์ควักดวงตาและตัดมือของพระองค์ให้นำไปทำยารักษาพระบิดาจนหายจากอาการป่วย พระบิดารู้สึกละอายในสิ่งที่พระองค์เคยได้ทำไว้จึงได้สั่งให้สร้างรูปปั้นของเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านขึ้น

ด้วยความผิดพลาดทางการสื่อสารอย่างไรไม่ทราบ ผู้ปั้นรูปได้สร้างรูปปั้นนั้นขึ้นโดยปรากฏมีพันตาและพันมือ

ตำนานนี้คล้ายๆกับตำนานก่อนหน้านี้ แต่มีเนื้อเรื่องมากกว่าเพื่ออธิบายที่มาของกวนอิมพันมือ(ถึงแม้ตอนจบจะดูมั่วๆไปสักหน่อย) และยังมีรายละเอีียดมากกว่า แต่รายละเอียดนั้นกลับยืนยันความไม่สมจริงของเรื่องเล่านี้ เพราะตามประวัติศาสตร์ จวงอ๋องสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ 591 ปีก่อนคริสต์ศักราช เท่ากับ 48 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งนอกจากศาสนาพุทธนิกายหินยานยังไม่ถือกำเนิดขึ้น(ยังไม่มีข้อห้ามการไม่กินเนื้อสัตว์)แล้ว ในปีนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ทรงตรัสรู้ด้วยซ้ำไปครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 11 เม.ย. 07, 14:11
เทววิทยา และประติมานวิทยาเป็นเรื่องละเอียดอ่อนครับ
ของแบบนี้บางครั้งแปรเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆตามความเชื่อ และความศรัทธา....... แต่ถ้าพูดกันในมุมของพุทธศาสนาบางนิกายแล้ว....... เทววิทยาของพระโพธิสัตว์แต่ละองค์ คือความงมงายครับ

เชื่อมั้ยครับ ว่าการอุปโลกน์พระโพธิส้ตว์จะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ถ้าประชาชนมีความศรัทธา


เอ๊า ใครไม่เชื่อ ขอดูหน่อย ผมจะเอาขนมโก๋ตราพระโพธิสัตว์ ที่กลายเป็นพระโพธิสัตวไปแล้วมาโชว์ครับ คิคิ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 เม.ย. 07, 14:40
ขอดูหน่อยได้ไหมคะ :)


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 11 เม.ย. 07, 15:08
อย่าบอกว่าเป็นขนมโก๋ยี่ห้อสุดฮิต ที่แย่งกันจนเหยียบกันตายลงข่าวหน้าหนึ่งนะครับ  :(


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: ศิษย์มารบูรพา ที่ 19 ก.ค. 07, 10:30
ส่งภาพครับ
(http://E:\dom\guanyin_10.jpg)(http://guanyin_10.jpg)


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: agree ที่ 21 ส.ค. 07, 18:51
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1 (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1)

เป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิมครับ แนะนำให้เข้าไปดู  :)


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 21 ส.ค. 07, 23:27
ง่ะ...มาเจอของแกล้มกาแฟพอดีเลย 

1 กวนอิมถือเป็นศาสดา หรือเปล่าครับ
2. ยูไล กับ พระพุทธเจ้า  คือองค์เดียวกันไม๊ครับ
3. เจ้าแม่ทับทิม กับ เจ้าแม่กวนอิม คนเดียวกันหรือเปล่า

ขอเรียนถามท่าน CH ประดับความรู้ ขอบพระคุณครับ

ปล. กวนอิมผ่อสัก  แปลว่าอะไรครับ .......... ???


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 22 ส.ค. 07, 10:33
1. คุณ Bana ต้องลืมกดไปอ่านหน้าแรกของกระทู้นี้แน่ๆเลยครับ  ;D กวนอิมคือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรผนวกกับแม่ย่านางผู้คุ้มครองชาวเรือ ดังนั้นไม่ใช่ศาสดาครับ "ผ่อสัก" ในกวนอิมผ่อสัก เป็นคำทับศัพท์ "โพธิสัตว์" ครับ

2. ยูไล 如來 ru2 lai2 (หรูไหล) ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดจะหมายถึงพระธยานิพุทธะ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นะครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B0 (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B0)

3. เทพผู้คุ้มครองชาวเรือมีหลายเวอร์ชั่น เจ้าแม่กวนอิมกับเจ้าแม่ทับทิมต่างก็เป็นเทพชาวเรือเหมือนกัน แต่กวนอิมเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เจ้าแม่ทับทิบเป็นลูกศิษย์ของกวนอิมอีกทีครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 22 ส.ค. 07, 21:11
ต้องขออภัยอย่างแรงครับท่าน CH ขอบพระคุณมากครับกำคำตอบ

เท่าที่ผมได้อ่านดูผมคิดว่ามีบางลักษณะที่แตกต่างจากหลักของศาสนาพุทธนิกายเถรวาทของบ้านเรา

1.ผมว่ามหายานของจีนกับเต๋า  ดูออกจะปนๆกันนะครับ  ไม่ทราบว่าศาสนาพุทธกับเต๋า  อันไหนเกิดก่อนกันในจีน
2.เถรวาท  ชัดเจนในศาสนาแบบ อเทวนิยม  แต่ในฝ่ายมหายานออกจะก้ำกึ่งเป็น เทวนิยม  ยิ่งดูเรื่องตำนานเง็กเซียน  เทพทั้งหลายในเต๋า  แต่ในนั้นก็มีเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์  ด้วย
3.การกำหนดรูปร่างเทพเจ้ามันน่าจะเกี่ยวข้องกับสถานะการณ์ และ ความเชื่อ ในท้องถิ่นนั้นๆ  เช่นเกิดในดินแดนที่มีสงคราม เทพเจ้าก็จะดูดุร้าย  ถ้าแบบเจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์  ก็จะออกในทางเมตตา อ่อนโยน สวยงาม  แต่มีบ้างไม๊ครับที่มีตำนานเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าของเรา  หรือเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ

ขอบพระคุณมากครับท่าน........ 8)


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 22 ส.ค. 07, 22:52
1. 老子 เหลาจื่อ (ไทยว่าเล่าจื๊อ) เจ้าลัทธิเต๋า เป็นคนยุคเดียวกับ 孔子 ขงจื่อ (ไทยว่าขงจื๊อ) และพระพุทธเจ้าครับ แต่กว่าศาสนาพุทธจะแพร่หลายมาถึงจีนก็ต้องอีกหลายร้อยปีต่อมา ดังนั้นในจีน เต๋ามาก่อนพุทธนานเลยครับ
2, 3 คนสมัยก่อนกลัวสิ่งที่ไม่รู้จัก การบูชาธรรมชาติเป็นเรื่องที่มีมาก่อนศาสนาพุทธจะเข้ามา เมื่อเข้ามาแล้วก็ค่อยๆกลืนเข้าหากัน ดังนั้นศาสนาเดียสกันเมื่ออยู่ต่างที่กันก็มีรายละเอียดต่างกัน ทางจีนเป็นมหายาน แนวคิดเรื่องธยานิพุทธะเปิดช่องให้เทพท้องถิ่นเข้ามาร่วมกับศาสนาพุทธได้ตรงนี้ ในขณะที่บ้านเราหลายอย่างแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างกลมกลืน เป็นพุทธแบบไทยๆเหมือนกัน เจ้าแม่กวนอิมก็เป็นความเชื่อลักษณะนี้ เข้าใจว่ามีมานานก่อนศาสนาพุทธจะเข้าไปในจีน เมื่อพุทธมาถึงก็แค่รับมาแปลงเข้าด้วยกัน ไม่ได้เกิดจากพุทธแต่ต้นครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 23 ส.ค. 07, 01:39
กำเสี่ยๆๆ  ขอบคุณมากครับ

คิดไปคิดมาก็จริงอย่างท่าน CH ว่ามาครับ  เถรวาทแบบไทยก็มีเทวนิยมปะปนมาเยอะเหมือนกัน  แบบฮิตๆในยุคนี้ก็มี

ผมเคยไปที่ตำหนักแห่งหนึ่งอ่ะครับ  มีรูปเคารพของเจ้าแม่และโดยรวมก็ไม่มีอย่างอื่น  แต่ลูกศิษย์ไม่ใช่น้อยครับผู้คนขึ้นมาก  และยังมีการสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ด้วย  มีการไปนมัสการที่ ผู่ถัวซัน  ความมีเยอะเช่นนี้  เราจะเรียกว่าเป็นลัทธิ หนึ่งเลยได้ไม๊ครับ  ถ้านับจำนวนผู้นับถือในโลก ....... ???


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 28 ส.ค. 07, 11:42
เมื่อวานไปเกาะลอย ศรีราชามา ที่ริมทะเล ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมหยกขาวค่ะ ไม่ทราบที่มาที่ไปอย่างไร แต่จะส่งรูปมาลงค่ะ คุณ Crazyhorse ทีนี้ยังงงๆการหาURL อยู่ ค่ะ เพราะclickขวาจากรูปแล้วก็ไม่เจอ จะทำไงดีคะ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ส.ค. 07, 15:27
       มีบทความของท่าน พระพรหมคุณากรณ์ หรือ พระธรรมปิฎก  /|\ เกี่ยวกับเรื่องพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม
สำหรับผู้สนใจ ครับ

จาก  หนังสือ ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)

                  การนับถือพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้องคือนับถืออย่างไร

          ต่อไปมีอีกเรื่องซึ่งเกี่ยวกับความวิเศษด้วยเหมือนกัน บางทีก็สับสนกับความเป็นพระอริยะ-พระอรหันต์ คือเรื่องพระโพธิสัตว์
ในพระพุทธศาสนามีเรื่องพระโพธิสัตว์ เราก็นับถือพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์คือใคร ...
     
       พระโพธิสัตว์คือท่านผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าของเรานี้ ก่อนจะตรัสรู้ก็เคยเป็นพระโพธิสัตว์
ตอนที่ยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ออกบรรพชาแล้วเข้าไปแสวงหาธรรมอยู่ในป่าก็เป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ จนกระทั่งตรัสรู้
ในวันเพ็ญวิสาขบูชา คือวันเพ็ญเดือนหก เสร็จแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้า ก่อนเป็นพระพุทธเจ้าจึงเป็นพระโพธิสัตว์มาตลอด
          เราจึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ในปัจจุบันชาติ คือก่อนจะตรัสรู้ ตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเราก็มีเรื่องเกี่ยวกับ
พระโพธิสัตว์ในอดีตก่อนชาตินี้อีกมากมายที่เราเรียกว่าชาดก ๕๔๗ เรื่อง แสดงถึงการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ก่อนที่
จะมาเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี่เอง เรียกว่า ๕๐๐ ถ้วนหรือ ๕๕๐ ชาติ แต่นับกันที่ตัวเลขจริงได้ ๕๔๗ เรื่อง

          ทีนี้เมื่อเรามีพระโพธิสัตว์ เรานับถือพระโพธิสัตว์ เรานับถืออย่างไรจึงจะถูกต้อง

          เวลานี้ก็มีพระโพธิสัตว์เกิดขึ้น อย่างที่กำลังนิยมมากคือ เจ้าแม่กวนอิม แล้วโยมรู้ไหม พระโพธิสัตว์ที่เรียกว่ากวนอิมนี้คือใคร?
มีความเป็นมาอย่างไร? บางทีก็เรียกตาม ๆ กันไปว่า พระโพธิสัตว์ แต่ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่าท่านมาจากไหน ไปอย่างไร มาอย่างไร
เป็นพระโพธิสัตว์อย่างไร

          อย่างน้อยโยมต้องรู้หลักก่อนว่า ความเป็นพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ที่ว่าต้องบำเพ็ญบารมี บำเพ็ญคุณธรรมอย่างยวดยิ่ง
อย่างที่คนธรรมดาทั่วไปจะบำเพ็ญกันไม่ไหว ตั้งใจจะบำเพ็ญความดีข้อไหน เช่นบำเพ็ญทาน ก็บำเพ็ญได้อย่างสูงสุดจนกระทั่ง
สละชีวิตของตนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้ เรียกว่าให้ชีวิต จะบำเพ็ญความเพียรพยายาม ก็เพียรพยายามอย่างยวดยิ่งไม่มีระย่อท้อถอย
แม้ต้องสิ้นชีวิตก็ยอม นี่คือการบำเพ็ญบารมี หมายถึงคุณธรรมที่บำเพ็ญอย่างยวดยิ่ง
   


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ส.ค. 07, 15:41
 
        พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีครบแล้วก็คือได้พัฒนาพระองค์อย่างเต็มที่แล้ว ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
แล้วเรานับถือพระโพธิสัตว์นั้น นับถืออย่างไร? นับถือเพื่ออะไร?

        ก็ขอตอบสั้น ๆ คือ นับถือเพื่อเอาเป็นแบบอย่าง เอาพระโพธิสัตว์เป็นตัวอย่าง เป็นตัวอย่างอย่างไร ?

        พระโพธิสัตว์นั้นกว่าจะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านต้องทำความดีมากมาย เพียรพยายามทำมายาวนานอย่างยาก
ลำบากมากประสบอุปสรรคมาก แต่ก็ทำมาตลอดโดยไม่ระย่อท้อถอยจนประสบความสำเร็จ ท่านจึงเป็นตัวอย่างในการทำความดีของเรา

           พระโพธิสัตว์นั้นท่านมีปณิธานด้วย คือตั้งใจจะทำความดีอันไหนก็ทำจริง ๆ ทำเต็มที่แล้วก็มั่นคงด้วย เราก็ต้องพยายามทำอย่างนั้น
โดยมีพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่าง จนกระทั่งเราสามารถเสียสละตัวเองได้เพื่อทำความดีนั้น ตลอดจนกระทั่งว่าพระโพธิสัตว์นี่เสียสละตัวเอง
เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เราก็ต้องสามารถเสียสละผลประโยชน์ของตัวเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือสังคม นี่คือคติพระโพธิสัตว์

          อันนี้ก็โยงมาหาพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นหลัก พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ก็เป็นมาด้วยความเพียรพยายาม
และทำความดีมามากมาย เพราะอย่างนี้จึงทำให้เราเกิดความซาบซึ้งในพระคุณของพระพุทธเจ้า นี่ประการหนึ่ง
ประการที่สองก็คือเป็นการเตือนตัวเราให้สำนึกในหน้าที่ที่จะพัฒนาตัว ที่จะทำความดีเพื่อจะบรรลุคุณธรรมเบื้องสูง
          การที่จะบรรลุสิ่งที่ดีงามประเสริฐสูงสุดเป็นพระอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะได้มาด้วยการหวังหรืออ้อนวอนเฉย ๆ
แต่จะต้องเพียรพยายามทำ ฉะนั้นคนเราทุกคนจะต้องพัฒนาตัวเอง ต้องตั้งใจทำความดี

          คติพระโพธิสัตว์เตือนใจเราว่าเราจะต้องตั้งใจทำความดี บำเพ็ญคุณธรรมต่าง ๆ พร้อมกันนั้นก็เป็นกำลังใจแก่เรา
ในเมื่อเราได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์ว่าท่านทำความดีมากมาย อย่างเข้มแข็งและเสียสละ เราได้เห็นตัวอย่างแล้ว เราก็มีกำลังใจ
ที่จะทำความดีนั้นให้ตลอด บางทีเราทำความดีไป เราเป็นปุถุชน บางทีเราก็อ่อนแอ เมื่อไปพบกับอุปสรรคบางอย่างหรือไม่ได้รับผล
ที่ปรารถนา เราก็เกิดความท้อแท้ เกิดความผิดหวัง

         คนจำนวนมากจะเป็นอย่างนี้ ทำความดีไประยะหนึ่งก็ไม่เข้มแข็งจริง ไม่มั่นคงจริง ไปประสบอุปสรรคหรือไม่ได้รับผลตอบแทน
ที่ต้องการก็เกิดความท้อถอย แล้วก็มองไปในด้านตรงข้ามว่า คนนั้นคนนี้เขาทำไม่ดี เขาทำชั่วด้วยซ้ำ ทำไมได้ดี ... ก็จะตัดพ้อร้องทุกข์
ขึ้นมา แล้วก็พาลพาโลพาเลเลยเลิกทำความดี อันนี้จะเป็นผลเสีย

          เมื่อได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์ก็จะเกิดกำลังใจว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ท่านทำความดี ท่านลำบากกว่าเรา
เยอะแยะอย่างที่ว่าเมื่อกี้ บางทีต้องเสียสละชีวิตก็มี บางทีพระองค์ทำความดีมากมาย เขาไม่เห็นความดี เขาเอาพระองค์ไปฆ่า
พระองค์ก็ไม่ท้อถอย แล้วก็ทำความดีต่อไป เรามานึกดูตัวเราทำความดีแค่นี้แล้วจะมาท้อถอยอะไร พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์
ลำบากกว่าเรา ทำมากกว่าเรา ประสบอุปสรรคมากกว่าเรามากมาย ไปท้อถอยทำไม พอเห็นคติพระโพธิสัตว์อย่างนี้ เราก็มั่นคงในความดี
สู้ต่อไป นี่แหละเป็นแบบอย่าง นี่คือการนับถือพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้อง


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ส.ค. 07, 15:52

        ท่านสอน ท่านเล่าเรื่องพระโพธิสัตว์ ก็เพื่อเป็นแบบอย่างแก่เราในการทำความดี เป็นเครื่องเตือนใจเราไว้
ทำให้เรามีกำลังใจ แล้วเราก็เดินหน้าเรื่อยไปไม่ท้อถอย

             ตอนหลังมันเกิดปัญหา คือพระพุทธศาสนาในอินเดียระยะหลัง แข่งกับศาสนาฮินดู
ศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์เดิมนั้น โยมก็รู้อยู่แล้ว เขานับถือเทพเจ้าต่าง ๆ มากมาย การนับถือเทพเจ้านั้นเพื่ออะไร ?
        ก็เพื่อจะได้ไปอ้อนวอนขอผลนั่นเอง ไปอ้อนวอนเซ่นสรวงบวงสรวง บูชายัญ คิดหาทางเอาอกเอาใจเทพเจ้า จะให้
ท่านบันดาลสิ่งที่ต้องการให้ คนอินเดียติดเรื่องเช่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน ต้องอ้อนวอนเทพเจ้า เทพเจ้าก็มีฤทธิ์สามารถเก่งกาจเหลือเกิน
          พระพุทธศาสนาอยู่ในอินเดียนาน ๆ มา บางทีก็ชักไม่มั่นคงในหลักเหมือนกัน ชักอยากจะสนองความต้องการของประชาชน
ที่อยากจะมีผู้มาช่วยดลบันดาลอะไรที่ต้องการให้

         เมื่อศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเขามีเทพเจ้าไว้ให้อ้อนวอน เอ๊ะ ศาสนาพุทธเราไม่มี ทำอย่างไรดี
         ก็มานึกว่าพระโพธิสัตว์ท่านเป็นผู้เสียสละตนเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เราจะต้องให้คนมานับถือพระโพธิสัตว์ แล้วอ้อนวอน
ขอผลจากพระโพธิสัตว์ ให้พระโพธิสัตว์ท่านมาช่วย ก็จะมีคู่แข่งที่จะมาแทนเทพเจ้าของฮินดูได้
        ตกลง พุทธศาสนายุคหลังก็มีพระโพธิสัตว์อีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่พระโพธิสัตว์แบบเดิม

        คงจะมาคิดกันว่า เอ๊ะ พระโพธิสัตว์นี่ท่านมาช่วยมนุษย์ทั้งหลาย ท่านมีมหากรุณา แต่ทีนี้จะมาช่วยอย่างไร พระโพธิสัตว์ของ
พระพุทธเจ้าที่เล่ากันมาในชาดกท่านก็สิ้นชีวิตไปหมดแล้วก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม ไม่งั้นพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
       เมื่อพระโพธิสัตว์ของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันนี้สิ้นไปหมดแล้ว พระพุทธเจ้าเองก็ปรินิพพานไปแล้ว ทำอย่างไรดี

       ก็มีหลักว่าพระพุทธเจ้าองค์ใดก็ตาม จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตก็ต้องเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน เราทำอย่างไรจะให้พระโพธิสัตว์
ยังอยู่แล้วก็มาช่วยคนได้ ก็ต้องเอาพระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ที่จะมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต จึงเป็นเรื่องที่หวังพึ่ง
พระโพธิสัตว์เก่า ๆ ไม่ได้แล้ว ต้องเอาพระโพธิสัตว์ใหม่ ๆ
        จึงได้เกิดมีพระโพธิสัตว์หลายองค์ ในอินเดียก็เกิดมีพระอวโลกิเตศวร พระมัญชุศรี พระวัชรปาณี พระสมันตภัทร และพระอะไรต่าง ๆ
หลายองค์ พระโพธิสัตว์เกิดในอินเดียยุคหลังนี้จึงมาก

        ในสมัยพุทธกาลนั้น พระโพธิสัตว์ที่มีชื่อเหล่านี้ไม่มี มามีในสมัยยุคปลายในประเทศอินเดีย พระโพธิสัตว์ท่านเหล่านี้
ท่านยังอยู่เพราะจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต จึงสามารถมาช่วยคนได้ ตกลงเราจึงหวังอ้อนวอนจากท่านเหล่านี้ได้
ใครมีความเดือดร้อนเป็นทุกข์ อยากพ้นทุกข์ อยากจะได้ผลประโยชน์อะไรก็ไปอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์เหล่านี้เอาใช่ไหม?
ตกลงว่ามีพระโพธิสัตว์มาคอยช่วย เทียบกันได้กับศาสนาฮินดูที่เขามีเทพเจ้าไว้ช่วย พอแข่งกันได้ ไปคิดแข่งในแง่นี้

          มาตอนนี้คติพระโพธิสัตว์มันกลับกัน คือ เดิมนั้นพระโพธิสัตว์ท่านเสียสละเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ทำความดี เราต้องเอาแบบอย่างพระองค์
เราต้องเสียสละบำเพ็ญความดีช่วยเหลือผู้อื่นอย่างนั้น

         ตอนนี้เราคิดว่า เรามีผู้ที่จะช่วยอยู่แล้ว เราไม่ต้องทำอะไร เราจึงพากันไปอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากท่าน
แทนที่จะคิดทำดีอย่างพระโพธิสัตว์ในอดีต

                   นี่คือคติพระโพธิสัตว์ที่เพี้ยนผิดไป


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ส.ค. 07, 15:58

        โยมจะต้องรู้ทัน ความหมายเดิมนั้นท่านให้นับถือพระโพธิสัตว์ให้เราทำดีอย่างท่าน เสียสละอย่างท่าน
แต่มาปัจจุบันกลายเป็น นับถือพระโพธิสัตว์จะได้ไปขอความช่วยเหลือจากพระโพธิสัตว์  อันนี้จะผิดหรือจะถูก
ตัดสินได้เองเลยใช่ไหม

            พระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายานที่มีชื่อเสียงมากก็คือ พระอวโลกิเตศวร เพราะเป็นผู้มีมหากรุณา ช่วยเหลือปลดเปลื้อง
ความทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย
      พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์นี้ เมื่อพระพุทธศาสนามหายานเข้าสู่ประเทศจีน เป็นต้น พระอวโลกิเตศวรก็เข้าไปด้วย
ต่อมาในประเทศจีน พระอวโลกิเตศวรได้เปลี่ยนนามเป็นพระกวนอิม ก็คือองค์เดียวกัน พระอวโลกิเตศวรนั้นเดิมเป็นผู้ชาย
แต่พอไปเมืองจีนไม่ช้าก็เปลี่ยนเป็นผู้หญิง ทำไมเปลี่ยนเป็นผู้หญิง ก็เป็นเรื่องของตำนาน มีหลายตำนาน

     ตำนานหนึ่งเล่าว่าพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีนประชวรเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แพทย์หลวง แพทย์ชาวบ้าน ไม่มีใครรักษาหาย
จึงร้อนถึงพระโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรกวนอิม ต้องมารักษา แต่จะเข้าไปรักษาได้อย่างไร ท่านเป็นผู้ชาย พระราชวังฝ่ายใน
เขามีกฎมณเฑียรบาล ห้ามผู้ชายเข้าไป ก็ต้องแปลงร่างเป็นผู้หญิงแล้วเข้าไปรักษาพระราชธิดาจนกระทั่งหายจากโรคนั้น
เสร็จแล้วไม่ได้กลับร่างเป็นผู้ชาย จึงเป็นผู้หญิงมาจนบัดนี้ นี่คือเจ้าแม่กวนอิม

             ตอนนี้เจ้าแม่กวนอิมเข้ามาประเทศไทยแล้ว เราจะต้องนับถือเจ้าแม่กวนอิมให้ถูก ถ้าเรานับถือพระโพธิสัตว์อย่างถูกต้อง
จะต้องนับถือในแง่ที่
      ท่านเป็นผู้มีคุณธรรมดีสูงส่ง เป็นผู้มีมหากรุณา เสียสละ บำเพ็ญคุณธรรม ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้อื่น ทำความดีไม่ย่อท้อ
เราก็เช่นกัน เราก็จะต้องบำเพ็ญคุณธรรมช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ใช่ไปหวังอ้อนวอนขอผลประโยชน์จากท่าน เพราะอันนั้นจะทำให้ผิดหลัก
พระศาสนา
            คือผิดหลักกรรม ไม่หวังผลจากการกระทำ กลายเป็นหวังผลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไป

       อันนี้เป็นเรื่องที่ตั้งเป็นข้อสังเกตให้โยมได้พิจารณาในสภาพปัจจุบัน เพราะเราจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้มาก
ถ้าเราตั้งตัวไม่ถูก ไม่อยู่ในหลัก เราก็พลาด ตกหรือหลุดหล่นไปจากพระศาสนา

             ดังนั้น ยังไง ๆ ต้องยึดหลักกรรมไว้ให้ได้ คือหวังผลจากการกระทำ ไม่หวังผลจากความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์ การดลบันดาล
ของผู้วิเศษ เอาละอันนี้ก็ขอผ่านไป


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ส.ค. 07, 16:04

              คำถามอีกข้อหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์กับพระอรหันต์

เรารู้ว่าความหมายต่างกัน พระโพธิสัตว์นั้นยังบำเพ็ญบารมีอยู่ จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไป แต่ตอนนี้ยังไม่หมดกิเลส
ส่วนพระอรหันต์นั้นเป็นผู้หมดกิเลสแล้ว ละโลภะ โทสะ โมหะ ได้หมด

          พระพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง คำว่าพระอรหันต์นี้กว้าง อย่าไปนึกว่าพระพุทธเจ้าต่างจากพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าก็เป็น
พระอรหันต์องค์หนึ่ง เราเรียกว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือเติมพระอรหันต์เข้าไปข้างหน้า หมายความว่าพระอรหันต์นั้น
มีหลายประเภท
        พระอรหันต์ที่ได้ตรัสรู้เอง ค้นพบสัจธรรมด้วยพระองค์เองแล้วสามารถที่จะประกาศธรรมสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย เรียกว่า
อรหันตสัมมาสัมพุทธ   นี่เป็นพระอรหันต์ประเภทที่หนึ่ง

        ประเภทที่สอง คือประเภทรู้สัจธรรมด้วยตนเอง แต่ไม่ถนัดในการที่จะไปสั่งสอนประกาศธรรมให้ผู้อื่นได้รู้ตาม คือขาดความสามารถ
ในเชิงการสั่งสอน เรียกว่า   ปัจเจกพุทธ

        ประเภทที่สาม ก็คือ พระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วรู้ตาม ไม่ได้ค้นพบสัจธรรมเอง
ต้องมาเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า นี่เป็นพระอรหันต์ประเภทที่ ๓ เรียกว่า   อนุพุทธ

         พระสาวกทั้งหลายก็เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น คือเป็นพระอรหันตสาวก ที่เรียกว่าพระอนุพุทธ เช่นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ
พระอัสสชิ พระอุรุเวลกัสสปะ ที่เคยเป็นชฎิลมาก่อน พระมหากัสสปเถระ ที่เป็นประธานในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ พระอัญญาโกณฑัญญะ
ที่อยู่ในปัญจวัคคีย์และอีกมากมายล้วนเป็นพระอรหันต์

         พระอรหันต์ เป็นผู้ที่หมดกิเลสแล้ว จึงต่างกันกับพระโพธิสัตว์ แต่ทั้งพระโพธิสัตว์ และพระอรหันต์ ท่านล้วนแต่ทำความดีทั้งสิ้น
ไม่ทำความชั่ว

         พระโพธิสัตว์ ก็ตั้งใจทำความดีช่วยเหลือผู้อื่น พระพุทธเจ้าก็ช่วยเหลือสัตว์มนุษย์ทั้งหลาย จาริกไปประกาศพระศาสนาสั่งสอน
เพื่อจะให้สรรพสัตว์ได้พ้นจากความทุกข์ประสบความสุขที่แท้จริง พระองค์ทำงานไม่ได้หยุดไม่หย่อน ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย
เพื่อช่วยมนุษย์ทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน พอมีพระอรหันต์ไม่กี่องค์ พระพุทธเจ้าก็ส่งไปประกาศพระศาสนาโดยตรัสว่า
จงจาริกไปประกาศธรรมะ แสดงธรรมเพื่อประโยชน์สุขแก่พหุชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก

         นี่เรื่องของพระอรหันต์ ท่านทำกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษย์ เพราะฉะนั้นท่านก็ทำความดี พระโพธิสัตว์ก็ทำความดี ต่างก็ทำความดี

                ถามว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างการทำความดีของพระโพธิสัตว์กับพระอรหันต์

อันนี้เป็นอีกหลักหนึ่ง ถ้าโยมตอบได้ก็แสดงว่าเข้าใจหลักพระศาสนาลึกซึ้งยิ่งขึ้น คิดในใจดูก่อนแล้วอาตมาจะตอบให้ฟัง


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ส.ค. 07, 16:13

           ทีนี้จะตอบแล้ว มีความแตกต่างกันอยู่ที่เป็นข้อสำคัญ ๒ ประการ

            การทำความดีของพระโพธิสัตว์นั้นมีความไม่สมบูรณ์ หรือจะเรียกว่าเป็นจุดอ่อนก็ได้ ๒ ประการ

            ประการที่หนึ่ง พระโพธิสัตว์ที่ทำความดีนั้น ท่านทำด้วยปณิธาน หมายความว่ามีความตั้งใจไว้ จะบำเพ็ญบารมีก็เอาปณิธาน
หรือความตั้งใจมั่นนั้นมาเป็นเครื่องนำตัวเอง ทำให้เกิดพลังในการที่จะทำความดี ทำความดีแน่วแน่ ทำความดีไม่ท้อถอยแล้ว
ท่านก็ทำความดีเต็มที่ เพราะฉะนั้นเราจะว่าทำความดีหย่อนก็ไม่เชิงเพราะท่านทำจริง ๆ ไม่ย่อหย่อน
       แต่การที่ไม่ย่อหย่อนนั้น มีความไม่สมบูรณ์ในตัว คือท่านต้องอยู่ด้วยปณิธาน ที่ท่านทำไปนั้นทำไปด้วยปณิธาน
ท่านตั้งปณิธานไว้ว่า ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้า ท่านจะทำความดีอันนี้ท่านก็ทำไปใหญ่เลย มีความมั่นคงเด็ดเดี่ยวในการกระทำนั้น
              แต่เรียกว่าทำด้วยปณิธาน

       ตอนนี้มาดูพระอรหันต์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านทำความดีด้วยอะไร อะไรเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทำความดี
โยมตอบได้ไหม ?
     ไม่ใช่ด้วยปณิธาน ลักษณะที่สำคัญของพระอรหันต์ท่านเรียกว่าเป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้ว หมายความว่า
ตัวเองได้เข้าถึงจุดหมายแล้ว เข้าถึงประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาตนแล้ว เข้าถึงนิพพานแล้ว
        พระอรหันต์เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้วไม่มีอะไรจะต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป จึงเป็นชีวิตที่เป็นอยู่และทำอะไร เพื่ออะไร?
   
     ก็ทำเพื่อผู้อื่นอย่างเดียว ที่ทำอย่างนั้นทำด้วยอะไร? เพราะเป็นธรรมชาติของท่านอย่างนั้น เป็นธรรมดาของท่าน เพราะ
ท่านไม่มีอะไรที่ต้องทำเพื่อตัวเองแล้ว

         ถ้าว่าให้ลึกซึ้งลงไป พระโพธิสัตว์ยังต้องทำเพื่อตัวเองนะ เพราะท่านยังต้องทำให้ตัวเองได้ตรัสรู้ จะต้องทำด้วยปณิธาน คือ
การตั้งความปรารถนาเพื่อตัวเองจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพื่อตัวเองจะได้บรรลุพระนิพพาน แต่พระอรหันต์นั้นท่านบรรลุนิพพานแล้ว
บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่มีอะไรจะทำเพื่อตัวเองอีก จึงเป็นธรรมดาของท่านที่จะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นไปตามเหตุผลโดยไม่ต้องอาศัยปณิธาน

          อันนี้เป็นความแตกต่างระหว่างพระโพธิสัตว์กับพระอรหันต์ในการทำความดีประการที่หนึ่ง


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ส.ค. 07, 16:19
           ต่อไปประการที่สอง ความไม่สมบูรณ์ในการทำความดีของพระโพธิสัตว์

เพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์ยังไม่ตรัสรู้ ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ยังไม่รู้แจ้งสัจธรรม การทำความดีของท่านนั้นจึงทำ
โดยยังไม่มีปัญญาสูงสุด ที่รู้ธรรมแจ่มแจ้ง ความดีนั้นเป็นเรื่องของธรรม แต่ผู้ที่จะประพฤติธรรมได้สมบูรณ์จะต้องรู้สัจธรรม
รู้ความจริงของธรรมชาติทั้งหมด
           ทีนี้ความดีที่เรานำมาประพฤติปฏิบัตินั้นตั้งอยู่บนฐานของสัจธรรมคือตัวความจริงในธรรมชาติในกฎของธรรมชาติ
พระโพธิสัตว์ยังไม่รู้ยังไม่เข้าถึงความจริงอันนั้นแล้ว ท่านทำความดีได้อย่างไร ?

       ท่านก็ทำตามที่รู้ที่เข้าใจยึดถือกันอยู่ในโลก ในสังคมมนุษย์ยุคนั้น ๆ ที่ยึดถือว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีเป็นความดี
อันนั้นท่านทำเต็มที่ ท่านทำให้ถึงที่สุดอย่างที่ไม่มีคนอื่นทำได้ ความดีในความหมายที่มนุษย์จะทำได้ทั่วไป พระโพธิสัตว์ต้อง
ยอดเยี่ยมทำได้สูงสุด

          จุดที่ไม่สมบูรณ์อยู่ที่ว่า ท่านทำได้แค่นั้นแหละ แค่เท่าที่มนุษย์รู้ว่าอะไรคือความดี ท่านไม่ได้ทำด้วยปัญญาที่รู้แจ้งสัจธรรม
ไม่เหมือนพระอรหันต์ที่ท่านทำด้วยรู้แจ้ง มีปัญญาหยั่งรู้ถึงสัจธรรมด้วยความจริงเห็นความสัมพันธ์ในกฎธรรมชาติด้วยปัญญาถ่องแท้

          เรื่องที่ว่ามานี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหลักในพระพุทธศาสนาซึ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เราควรจะมีความรู้เข้าใจ
ถ้าเรามีความรู้เข้าใจเป็นหลักอยู่อย่างนี้แล้ว เราจะไม่หวั่นไหว เราจะวางตัวได้ถูกต้อง และเราก็จะเดินไปในทางสู่ความก้าวหน้า
ในหลักพระพุทธศาสนายิ่ง ๆ ขึ้นไป
          มิฉะนั้นแล้ว เราจะถูกดึงเฉออกไปจากหลักพุทธศาสนา จากหลักการที่ถูกต้อง นอกจากหล่นจากพุทธศาสนาแล้วก็อาจจะ
แกว่งไกวไถลลงไปสู่ความเสื่อมได้

          ขอให้เรามีศรัทธาที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างน้อยให้มีคุณสมบัติของอุบาสก
อุบาสิกาที่ดี ตั้งแต่ข้อ ๑ เริ่มต้นด้วยศรัทธาที่ถูกหลักพระศาสนา เชื่ออย่างมีหลักการ มีเหตุผล ไม่งมงาย มั่นในคุณพระรัตนตรัย เป็นต้น
ไปจนกระทั่งข้อที่ ๓ ที่ยกมาพูดเป็นพิเศษว่าสัมพันธ์กับยุคนี้ คือ ไม่ตื่นข่าวมงคล หวังผลจากกรรม ไม่หวังผลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทวฤทธิ์
ปาฏิหาริย์ ดังที่กล่าวมาแล้ว

             ขอให้โยมมีความเจริญงอกงามในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ

(จบ)

              /|\


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: หมีใหญ่ ที่ 08 ก.ย. 07, 12:13
ที่คุณศิลานำคำจากพระพรมคุณาภรณ์มาถ่ายทอดให้อ่านกัน พอเป็นแนวคิดในการนับถือพระโพธิสัตว์ได้ครับ การนับถือทางศาสนาพุทธ ท่านขอให้เป็นการปฏิบัติบูชา ดังนั้น สำหรับพระโพธิสัตว์กวนอิม ข้อที่น่ายกย่องของท่านคือความเมตตา ถ้าหากว่าเราจะนับถือพระโพธิสัตว์กวนอิม สิ่งที่ต้องทำคือเราต้องมีความเมตตาครับหรืออย่างจตุคาม ที่กำลังเห่อกันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ต้องดูว่าคุณธรรมคืออะไร คือการปกป้องพุทธศาสนา ดังนั้น ถ้าเราจะนับถือก็คือต้องรู้จักศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าและปกป้องพุทธศาสนาครับ ในชาดกเรื่องต่างๆ ก็เช่นกันสามารถนำมาเป็นข้อเตือนใจได้ในทุกๆเรื่องขอให้เรารู้จักการนับถือแบบปฏิบัติบูชามากกว่าอามิสบูชาจะช่วยให้เรามีชิวิตที่ดีขึ้นครับ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 18 ก.ย. 07, 16:45
สาธุ สาธุ สาธุ

ย้อนไปนิดหนึ่ง ขอตอบคุณ CH และเรียนคุณ Bana ที่นับถือครับ (ไม่ใช่ว่าผมไม่นับถือคุณ CH นะครับ แต่ผมถือว่าสนิทกันรู้จักกันมานานแล้ว ส่วนคุณ Bana เป้นเพื่อนใหม่ต้องสุภาพให้เกียรตินิดหนึ่ง....)

พระยูไล หรือยู่ไหล คุณ CH ว่าเป็นพระธยานิพุทธนั้น ก็เป็นไปได้ครับถ้าเราถือตามความเชื่อระบบนั้นคือระบบของทางมหายาน แต่ผมเข้าใจว่าเวลาเอาศัพท์คำนี้มาใช้ โดยเฉพาะในตำนานจักรๆ วงศ์ๆ จีน น่าจะหมายถึงพระพุทธเจ้าองค์ใดก็ได้ (มหายานว่ามีหลายองค์ เถรวาทเราบางสายก็ว่ายังงั้น) จะให้รวมพระธยานิพุทธก้ได้ และจะหมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวเราทั้งหลายด้วยก้ได้ แล้วแต่บริบทหรือความตั้งใจของคนที่พูดตอนนั้นว่าจะให้หมายถึงพระพุทธเจ้าองค์ไหนครับ

แต่ถ้าว่าโดยศัพท์แล้ว ยุ่ไหล ยู่ไล้ ยูไล หรู่ไหล (สำเนียงจีนกลาง) นั้น ความหมายโดยรูปศัพท์ตรงกับคำว่า "ตถาคต" ครับ ซึ่งในทางเถรวาทนั้นเราก็คงรู้กันอยู่ว่า เป็นคำที่พระพุทธเจ้า (ของเรา คืออดีตเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้าองค์ในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ของมหายาน คือพระอมิตาภะและอีก ฯลฯ พุทธเจ้า) ท่านทรงใช้แทนตัวท่านเอง ว่า - เราตถาคต - เคยเห็นกันใช่ไหมครับ

ตถ - เช่นนั้น คต - ไป (เช่น สววรคต แปลว่าไปสวรรค์ คือตาย)
หรู่ จีนกลางว่า คล้าย เปรียบดั่ง เป็นเช่นนั้น เป็นอย่างนั้น  ไหล ภาษาจีนแปลว่ามา ก็อนูโลมว่าคือการเคลื่อนที่ ไปๆ มาๆ แหละ

แล้วรวมกันแปลว่ายังไงล่ะ? มีคนแปล ตถาคต ไว้ว่า "พระผู้เสด็จไปดีแล้วเช่นนั้น" ครับ
หรือแปลอีกทีว่า ท่านผู้ไปถึงแล้วซึ่งความเป็นเช่นนั้น ความเป็นอย่างนั้น
แปลว่าอะไร? ยังงงอยุ่?
ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านเคยให้หลักธรรมะหรือปรัชญาสำคัญมาก คือคำว่า ตถตา แปลว่า ความเป็นเช่นนั้นเอง รู้แจ้งตระหนักถึงตถตาได้นี่ เข้านิพพานได้เลยนะครับ

ความเป็นเช่นนั้นเอง คือสภาพธรรรมชาติธรรมดาของสภาวะธรรมทั้งปวง ใครตระหนักรู้ได้แล้ว รู้แล้ว ไปถึงแล้ว แล้วนำผู้อื่นให้ตามไปตระหนักรู้ตามถึงตามท่านได้ด้วย ก้คือ พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสเรียกแทนพระองค์เองว่า (เราผู้เป็น) ตถาคต ครับ   


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 19 ก.ย. 07, 00:04
ตามรอยพี่นกข.ไปค้นใน wiki ได้ความอย่างนี้จริงด้วย เอาลิงก์มาฝากครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Tathagata (http://en.wikipedia.org/wiki/Tathagata)


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 19 ก.ย. 07, 00:36
ขอบคุณครับสำหรับลิ้งก์

บทสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิมในเว็บ

นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก ( กราบที่ 1 )
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก ( กราบที่ 2)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก ( กราบที่ 3)
นำโมฮู๊ก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ซ่าผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งหลีซิง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง นำโมม่อออ ปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก

ผมกำลังจะชวนคุณ CH เล่นเกมถอดรหัสดาวินชีครับ เข้าใจว่าคาถานี้เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว จะถอดกลับไปหาจีนกลางได้หรือไม่ และเมื่อกลับไปจีนกลางแล้ว ก็ยังอาจไม่ค่อยรู้เรื่องอยู่ดี เพราะเป็นการที่จีนเลียนเสียงภาษาบาลีสันสกฤต จะถอดกลับไปหารากได้ไหม?


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 19 ก.ย. 07, 00:42
ผมประเดิม (ขี้โกง) เอาง่ายๆ ก่อน ยากๆ ทิ้งให้คุณ CH
นำโม นั้น คือ นโม แน่ กวนสี่อิมผู่สัก ก็กวนซื่ออิมโพธิสัตว์ แน่ๆ เหมือนกัน
ดูเหมือน ไต๋ชื้อ ฯลฯ นั้นจะแปลว่า มหากรุณา มหาปรานี อะไรทำนองนั้น?

นำโมฮุก นำโมฮวก นำโมเจ็ง นั้น เป็นคาถาบูชารัตนตรัย คือ นโมพุทธ นโมธรรม นโมสงฆ์ อูด - พุทธ ฮวก - ฝ่า (ธรรม) เจ็ง (เซิง) ดูเหมือนแปลว่าภิกษุ อย่างถังเซิง
โอม ชัดอยู่แล้ว เกียล้อฮวดโต ผมนึกถึง อรหโต ทำไมก็ไม่รู้เหมือนกัน
นำโมม่อออ ปวกเยี่ยปอล้อปิ๊ก ดูเหมือนจะเป็น นโม มหา ปัญญาบารมี ?


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 19 ก.ย. 07, 16:03
อยู่ดีๆท่านพี่นกข.ชวนหาเรื่องปวดหัวซะแล้ว

ดูจากคำแล้ว บทสวดจีนนี่โหดหินมาก เพราะบางคำเอาภาษาจีนสวมไปแล้ว ส่วนที่ทับศัพท์ก็น่าสงสัยว่าสำเนียงอะไรแน่ ยอมแพ้ดีกว่า  :-\


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 21 ก.ย. 07, 17:17
ค้นมาได้ว่า

นำโม ไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก
南無 大慈 大悲 救苦 救難 広大霊感  観世音菩薩

แต่บางที่มี 広大霊感白衣観世音菩薩  แทรกอยู่ด้วย (น่าจะอ่านว่า แปะอี่ หรือเปล่า)

ส่วนที่เหลือน่าจะเป็น

南無仏 南無法 南無僧 南無救苦救難観世音菩薩
怛只哆唵 伽羅伐哆 伽羅伐哆 伽訶伐哆 伽羅伐哆 伽羅伐哆 娑婆訶
天羅神 地羅神 人離難 難離身 一切災殃化為塵 南無摩訶般若波羅蜜

นำโมฮู๊ก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ซ่าผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งหลีซิง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง นำโมม่อออ ปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก

แต่วรรคล่างนี้ผมยังไม่ได้ลองไล่เทียบทีละตัว (เริ่มขี้เกียจ + ตาลาย) เท่าที่ดูผ่านๆ รู้สึกตรงกลางจะเพี้ยนๆ




กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 23 ก.ย. 07, 15:53
โอ้โห....
อาริงาโตะโกซัยมัส หลายๆๆๆ คารวะในความพยายามครับ  :D

คุณ CH จะขี่ช้างหลบอยู่ภายใต้ร่มไม้ต่อไปใยเล่า คุณภูมิอุตส่าห์ไปหามาจนได้ขนาดนี้แล้ว ขอเชิญท่านจอมยุทธ CH ไสช้างออกมาสำแดงวรยุทธสะท้านโลกทางภาษาให้ข้าพเจ้าตื่นตาอีกสักครั้งเทอญ


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 23 ก.ย. 07, 16:23
ผมไม่รู้ภาษาจีนแต้จิ๋วเลยก็ว่าได้ ภาษาจีนกลางก็รู้งูๆ ปลาๆ ม้าๆ เสือๆ หมาหม่าฮูฮู บาลีสันสกฤตยังไม่ต้องพูดถึง เพราะฉะนั้นอย่าเชื่อการเดาของข้าพเจ้ามาก ควรฟังไว้ทีหนึ่งแค่นั้นพอ และผมจะยินดีมากหากท่านที่รู้มากกว่ากรุณาเข้ามาช่วยขัดคอ เอ๊ย ให้วิทยาทานครับ

ก่อนคุณภูมิเอาบทสวดภาษาจีนอักษรจีนมาแปะ ผมก็พยายามค้นเอง ค้นไปค้นมาได้บทสวดตัวอักษรไทยอีกบท บูชาพระอวนอิมเหมือนกัน แต่ดูแล้วเป็นภาษาจีนแต่ชื่อกับรูปแบบ คนจีนมาฟังก็ไม่รู้เรื่อง เพราะดูเหมือนเป็นความพยายามที่จะเขียนภาษาสันสกฤตด้วยตัวจีนทั้งบท เช่นพระคาถาบาทแรก ว่า นำ มอ ฮอ ลอ อัน ตอ นอ ลา เหย่ เย...

รับรอง คนจีนไม่ว่าจะสำเนียงไหนฟังไม่รู้เรื่องแน่ๆ เผลอๆ จะนึกไปถึงหนังผีจีนชุดโปเยโปโลเย ด้วยซ้ำไป แต่คนไทยอย่างผมคันปากอยากจะเดามาก ๆว่า คือ นโม อรหันต นร  ... yeh yeh (ไม่รู้จะถอดต่อยังไง) ทำนองนี้จนจบบท ขอไม่เอามาลงนะครับ

แต่ทีนี้ชื่อพระคาถาที่ว่านั้น เผอิญมีแปลเป็นไทยด้วย เขาบอกว่า บทสวดนี้ คือ มหากรุณาธารณีสูตร (ไต้ปุยจิ่ว) ชื่อรองว่า โชยชิ่วโชยงั่งบ่อไหงไต่ปุยซิมทอลอนีจิ่ว

อะฮ้า - เห็นคำว่า ไต้ปุย เหมือนในบทบูชาเจ้าแม่กวนอิมบทที่แล้วแล้ว ฉะนั้นฟันธงซะเลยว่า แปลว่ามหากรุณา ! (ตอนนั้นยังไม่เห็นตัวอักษรจีนที่คุณภูมิเอามาแปะครับ)

โชยชิ่วโชยงั่ง ฯลฯ นั้นเดาแปลได้ว่า พันกรพันเนตร (อันเป็นลักษณะปางหนึ่งของเจ้าแม่กวนอิม) ทอลอนีจิ่ว นั้นเห็นได้ชัดว่าทับศัพท์ ธารณี ของทางสันสกฤต
 



กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 23 ก.ย. 07, 16:32
ที่ภูมิซังค้นมา ว่าในบางแหล่งมีคำ แปะอี ด้วย ก้คงแปลว่าเป็นคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม "ชุดขาว" นั่นเอง

เห็นตัวจีนแล้วอ่านเพิ่มได้อีกหน่อยว่า เทียงหล่อซึ่ง ตี้หล่อซึ้ง - เทพยดาฟ้าดิน

ซำผ่อออ ถ้าเป็นจีนกลาง เห็นจะออกเสียงคล้ายๆ ซาผะอา และผมขอมั่วว่า คือ สัพเพ - สรรพ - ทั้งหมดทั้งปวง เวลาแผ่เมตตตาเรายังแผ่ให้สัพเพสัตตาเลยนี่ครับ

 = "สรรพ เทพฟ้าเทพดิน และมนุษย์ทั้งหลาย" ??? 


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 24 ก.ย. 07, 13:07
ขออำภัยครับ ตอนนี้กะลังหมกมุ่นอยู่กับอีกโปรเจ็คท์นึง เชิญท่านทั้งหลายไสช้างเข้าชนกันไปพลางๆก่อนนะครับ ป่าราบเมื่อไหร่ผมอาจจะมาแจม  ;D


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 24 ก.ย. 07, 13:56
อ้าว ท่านจอมยุทธไม่เมตตาซะแล้ว
ผมลองมั่วของผมต่อไปพลางๆ ระหว่างรอ

เปิดพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ ดู ธารณี แปลทำนองว่า ทั่วไปหมด (สาธารณะ ก็มาจากรากศัพท์เดียวกัน) มหากรุณาธารณีจึงแปลว่าความกรุณาอันไพศาลยิ่งใหญ่ไม่มีจำกัดไม่มีประมาณ ตรงกันอีกกับเวลาแผ่เมตตาในทางพุทธเถรวาทของเรา ที่ขึ้นว่า สัพเพ สัตตา ... นั่นแหละครับ พระอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า เวลาแผ่เมตตาต้องทำใจให้กว้างขวางแผ่ออกไปโดยไม่จำกัด แผ่ออกไปทั่วไปหมด

ทอ ลอ นี ของจีนก็ ธารณี นั่นเอง

(ดูเกมที่เรากำลังเล่นอยู่ตอนนี้ คล้ายๆ กับที่ครูนักโบราณคดี/ประวัติศาสตร์ยุคโน้นท่านพยายามจะถอด โทโลโปตี้ ออกมาเป็น ทวารวดี อยู่ชอบกลแฮะ-)


กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: NgaoMak ที่ 13 ก.พ. 08, 18:36
如來 เป็นศัพท์บัญญัติ มาจากคำว่า"ตถาคต"

ส่วนตำนานพระโพธิสัตว์ผู้หญิง ทางประเทศเพื่อนบ้านเราก็พบหลักฐานทางโบราณคดี รูปเคารพนางตารา นางปรัชญาปารมิตา

(http://i178.photobucket.com/albums/w278/NgaoMak/K1520a_resize.jpg)
นางปรัชญาปารมิตาปางพันมือ

(http://i178.photobucket.com/albums/w278/NgaoMak/DSCN0775.jpg)
นางตารา แบบลังกา



กระทู้: เจ้าแม่กวนอิม
เริ่มกระทู้โดย: NgaoMak ที่ 13 ก.พ. 08, 18:44
(http://i76.photobucket.com/albums/j15/phamdoan/Prajnaparamita.jpg)
มีพระพุทธรูปที่มวยผม

(http://www.azibaza.com/6615/DSC06613.JPG)
นี่คือรูปเคารพนางปรัชญาปารมิตา





(http://www.azibaza.com/B2508/DSC02508.JPG)
พระไภษัชยคุรุ