เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: Nuchana ที่ 06 ก.ย. 05, 15:40



กระทู้: สามบ้านค่ำ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 06 ก.ย. 05, 15:40
 บ้านเกิดดิฉันอยู่ห่างกรุงเทพแค่ปลายจมูก แต่มี spoken language variances มากพอควร ตั้งแต่เด็กคุณแม่จะดักคอว่า “ไปไหน อย่าสามบ้านค่ำ” หรือพูดกรอกหูใช้สำนวนว่า “เอาปลาสร้อย มาอ่อยปลาค้าว” พอโตขึ้นดิฉันจึงใช้สำนวนอย่างนี้ naturally กลางที่ประชุม กลายเป็นคนกรุงหัวเราะก๊าก ขำกลิ้ง บอกว่ามีแต่ “เอากุ้งฝอยมาตกปลากระพง” ดิฉันจะถามคุณแม่ว่าท่านบัญญัติเองหรือเปล่า แต่ท่านเสียแล้ว ถามคนแก่เขาบอกว่า ปลาค้าวจะกินเหยื่อที่ดิ้นกระดึบเท่านั้น  ดิฉันอยากทราบว่าทั้งสองสำนวนนั้นที่อื่นใช้กันหรือเปล่าค่ะ


กระทู้: สามบ้านค่ำ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.ย. 05, 10:59
 ไม่เคยได้ยินทั้งสองสำนวนค่ะ
โดยเฉพาะ สามบ้านค่ำ  หมายถึงอะไร นึกไม่ออก

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับปลา  นึกออกตอนนี้ก็คือ ปลากระดี่ได้น้ำ  ปลาหมอตายเพราะปาก  ปลาซิวปลาสร้อย   ปลาติดหลังแห  ปลาผุดหย่อนเบ็ด  

ปลาค้าว รู้แต่ว่าเป็นปลาน้ำจืด  


กระทู้: สามบ้านค่ำ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 08 ก.ย. 05, 12:44
 สามบ้านค่ำ หมายความว่า วันๆหนึ่งไปสามบ้านก็ค่ำแล้ว หมดเวลาทำอย่างอื่นค่ะ

ปลาค้าว เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่กินเนื้อเป็นอาหาร  ถ้าไม่นับปลาบึก ก็เรียกได้ว่าเป็นปลาใหญ่ที่สุดพันธุ์หนึ่ง จะต้มยำทำแกงด้วยปลาค้าวอร่อยเด็ด

ลักษณะปลาค้าวต้องดูคำอธิบาย “ทุกวันต้องออกเรือไปกับพ่อ เอาเบ็ด ตาข่าย และลัน ขนใส่เรือไป ตาข่ายสมัยก่อนต้องใหญ่ๆ ขนาดเชือกไนล่อนถึงจะเอาพวกปลาใหญ่ๆ อยู่ ปลาค้าว ปลาม้า นี่ไม่ใช่เล็กๆ ปลากระโห้ขนาด 70-80 กิโลก็เคยได้”

หรือที่ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ กล่าวแนะนำการกินว่า “ด้วยความสดของปลา อย่างปลาคัง ปลายี่สก ปลาค้าว ทำอะไรก็อร่อยไปหมด”