เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 35424 ตามรอย หัวจักรรถสายปากน้ำ
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 14 พ.ค. 08, 21:18

เจอแล้วครับ

ค้นในราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/RKJ/announce/search.jsp
เจอเรื่องนี้ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2483/D/1615.PDF
(จับรูปมาไว้ท้าย คคห.นี้นะครับ)
นอกจากนี้พบประกาศต่างๆก่อนหน้านี้ใช้คำวา่บางเหี้ยมาตลอดครับ เชื่อว่าไม่เคยมีการพระราชทานชื่อคลองด่านแต่อย่างใด ชาวบ้านคงเรียกกันเองโดยลำลองครับ

ส่วนการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการนั้น ก็เป็นอย่างที่เห็นคือปี ๒๔๘๓ ยุคสมัยของท่านผู้นำผู้นั้นแล


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 14 พ.ค. 08, 21:30

คุณ CrazyHOrse สุดยอดจริงๆ ครับ

เข้าใจว่า การเปลี่ยนชื่ออำเภอบางเหี้ย เป็นอำเภอบางบ่อ ก็น่าจะเป็นยุคเดียวกัน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 14 พ.ค. 08, 23:42

เสียดายจัง icon ในเวบไม่มีรูปตรบมือ
ไม่งั้นจะส่งให้คุณ CrazyHOrse ซักสิบอันเลย
สุดยอดจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 21 พ.ค. 08, 08:35

กลับมาที่เรื่องรถไฟอีกครั้งนะครับ
ผมเพิ่งได้รับภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ภาพวันทรงประกอบพิธีเปิดบริการรถไฟสายปากน้ำ  วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.  ๒๔๓๖
ต้นฉบับเก่าเสียหายมาก แลเห็นชาวบ้าน รางรถไฟรางเดี่ยว ปลายสุดคิดว่าน่าจะเป็นหัวรถจักรไอน้ำ

   


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 21 พ.ค. 08, 09:00

มีข้อสงสัยอยู่เหมือนกันว่า เมื่อเป็นรางเดี่ยว แล้วเวลาวิ่งสวน หรือวิ่งขากลับจะทำอย่างไร
ได้รับคำตอบจากผู้ที่เคยโดยสารสมัยเป็นรถรางไฟฟ้าว่า

ที่สถานีบางจาก มีการทำรางสวนเป็นคู่ แล้ววิ่งกลับมาที่รางเดี่ยวอีกครั้ง กรณีวิ่งสวนกัน
ส่วนที่สถานีปลายทาง มีการทำที่กลับหัวรถจักร ลักษณะเป็นวงกลมอยู่ที่หน้าสถานี
(กลมๆ เล็กๆ ในภาพเป็นสถานีหัวลำโพง)


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 21 พ.ค. 08, 11:48

มีภาพอีกหนึ่งชุด รู้สึกงงๆ ในตอนแรก แต่ก็ได้ขอ copy จากหอจดหมายเหตุมาทั้งหมด
ทั้งนี้เพราะภาพชุดที่เขียนว่า "ภาพชุด รถไฟสายปากน้ำ" แต่ภาพที่ออกมากลับกลายเป็น


 


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 21 พ.ค. 08, 11:50

ภาพที่สอง ก็ยังดูไม่ออก


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 21 พ.ค. 08, 11:59

พยายามส่องขยายดูอักษรตรงกลางถาด ตามภาพที่แล้ว ก็อ่านไม่ออก
ยังไม่เข้าใจว่าเกี่ยวกับเรื่องรถไฟปากน้ำตรงไหน ทางเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ก็ไม่ทราบเช่นกัน
แต่พอดูภาพที่สาม จึงเริ่มเข้าใจ เพราะมีคำว่า

"T.A. Gottsche From His Grateful Employees"


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 21 พ.ค. 08, 12:19

นอกจากภาพของขวัญล้ำค่า จากพนักงานรถไฟตามภาพที่สาม แด่คุณ T.A. Gottsche แล้ว

ยังมีภาพที่สี่ ซึ่งสามารถอธิบายภาพทั้งหมดได้ ทั้งนี้เพราะมีข้อความอธิบายว่า ทั้งหมดเป็นภาพของขวัญ
อันเป็นที่ระลึก ๓๒ ปี แห่งการทำงานให้บริษัทรถไฟปากน้ำ
ของ Captain T.A. Gottsche หรือคุณก็อตเช่
 
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในความคิดเห็นที่ ๓๕ คุณก็อตเช่ ก็คือ ผู้ทำหน้าที่ควบคุมหัวจักรรถไฟสายปากน้ำ
มีราชทินนาม ขุนบริพัตรโภคกิจ ได้รับพระราชทานนามสกุล ตามชื่อสกุลเดิม
จากคำว่า ก็อตเช่ มาเป็น คเชศะนันทน์ นั่นเอง


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 17:56

นายพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธิน

   ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องเรื่องรถไฟสายปากน้ำ นอกจากคุณ ที เอ ก็อตเช่ ผู้ควบคุมหัวจักรรถไฟสายปากน้ำแล้ว ยังมีบุคคลอีกท่านหนึ่ง ที่ตัวท่านเอง และทายาทรุ่นหลังๆ น่าจะมีหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องรถไฟสายปากน้ำเพิ่มเติม นั่นคือ พระยาชลยุทธโยธิน ฝรั่งที่เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น บริษัทรถไฟปากน้ำ


บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 18:02

             พระยาชลยุทธโยธิน เป็นชาวเดนมาร์ก ชื่อเดิม อังเดร เดอ ริเชอร์ ลิเยอ เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๙๕ ณ ตำบลลอยด์ จังหวัดโอเบนโซ่ จบการศึกษาโรงเรียนนายเรือ สมรสกับนางสาวคัดมาร์ ธิดาผู้พิพากษา เดนมาร์ก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปรับปรุงกองทัพเรือให้ทันสมัย จึงได้ทรงว่าจ้างนายทหารชาวเดนมาร์กผู้นี้เข้ามาช่วย โดยงานแรกก็คือการเป็นกัปตันเรือรักษาการอยู่ที่ภูเก็ตในการปราบปรามกบฏอั่งยี่

   เติบโตในงานราชการในเมืองไทยตามลำดับ จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ได้รับมอบสัมปทานเดินรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปเมืองสมุทรปราการ เมื่อกิจการธุรกิจต่างๆที่แม้จะดำเนินการไปได้ด้วยดี มีกำไร ก็ได้ยอมเสียสละ ด้วยการขายหุ้น ด้วยความปรารถนาเดิม ที่ต้องการให้คนไทยเป็นเจ้าของกิจการที่สำคัญ เช่น กิจการโรงไฟฟ้า

             ในด้านการศาสนา ก็ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่งานในการบูรณะตกแต่งพระพุทธชินราชได้งดงามเป็นที่พอพระทัยจนโปรดเกล้า พระราชทานทองคำสำรับหีบหมาก ในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงมีพระราชกระแสตอนหนึ่งก่อนที่พระชลยุทธโยธิน จะกลับเดนมาร์กว่า

“….พระยาชลยุทธ ได้รับราชการทนลำบากตรากตรำมามาก แลการทหารเรือก็ได้ตั้งขึ้นเป็นหลักฐาน ทั้งมีความจงรักพักดี เป็นที่ไว้วางใจมาก็นาน ซึ่งเปรียบเทียบบำนาญตามข้าราชการบำนาญสามัญนั้นน้อยมาก ให้ตั้งบำนาญเป็นพิเศษเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนปีละ ๑๕,๐๐๐ บาท….”

   
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 18:06

             พระยาชลยุทธโยธิน เป็นนายทหารผู้บังคับบัญชาการรบกับกองเรือฝรั่งเศสในวิกฤติ ร.ศ. ๑๑๒ ที่ปากน้ำ ไม่ทราบว่า จะเป็นเพราะความกลัวเรื่องผลประโยชน์ในเมืองไทย หรือจะเป็นเพราะความบ้าบิ่นของท่าน แต่ท่านก็เป็นนายทหารต่างชาติคนเดียวที่ตั้งใจต่อสู้อย่างสุดชีวิต
 
             เมื่อครั้งที่กองเรือฝรั่งเศส สามารถฝ่าแนวป้องกันที่ปากน้ำ เข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้แล้ว พระยาชลยุทธโยธิน ได้สั่งการ ให้รื้อบ้านเรือนตามป้อมปากน้ำที่ขวางทางปืน เตรียมรบ หากเรือฝรั่งเศสแล่นกลับออกปากอ่าว พร้อมกับสั่งการให้เรือรบไทยสองลำแล่นติดตาม หากมีโอกาสให้พุ่งเข้าชนเรือรบฝรั่งเศสให้จมไปด้วยกัน ส่วนตัวท่านเอง ก็รีบโดยสารรถไฟสายปากน้ำ เข้ากรุงเทพฯ เพื่อบัญชาการเรือพระที่นั่งมหาจักรี เตรียมสู้รบต่อ ถึงขนาดขอพระบรมราชานุญาติ ในการแล่นเรือพุ่งเข้าชนเรือรบฝรั่งเศสด้วยตัวเอง

             พระยาชลยุทธโยธิน ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่สุด แม้จะได้กราบบังคมทูลลาไปพำนักอยู่ ณ ประเทศเดนมาร์กแล้วก็ตาม ในคราวถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านก็ยังได้เดินทางมาเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพอันเป็นการแสดงถึง ความอาลัยรักและจงรักภักดีเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งที่การเดินทางจากยุโรปมาประเทศไทยในสมัยนั้น ใช้เวลานาน และเป็นการเดินทางที่ยากลำบาก

   ช่วงที่อยู่ในประเทศบ้านเกิด ท่านยังเป็นนักธุรกิจ และเป็นนักการเมือง ได้เป็นสมาชิกสภาเดนมาร์ก ๒ สมัย เป็นผู้แทนที่เป็นปากเป็นเสียงให้ชาวยุโรป รู้จักประเทศไทยในทางที่ดีขึ้น ต่อมาในวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระยาชลยุทธโยธินก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่ประเทศเดนมาร์ก สิริรวมได้ ๗๙ ปี ผลงานของท่านยังคงเป็นรากฐานต่อการพัฒนาประเทศไทยให้ทันสมัยจนปัจจุบัน จึงนับเป็นทั้งนายทหารและนักธุรกิจที่มีบุญคุณต่อทั้งชาวสมุทรปราการ และชาวไทยเป็นอย่างมาก


 
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 24 พ.ค. 08, 19:10

            ตามรอย หัวรถจักรสายปากน้ำ เท่าที่มีข้อมูล และมีหลักฐานจริงๆ อยู่ตอนนี้ ก็เห็นจะมีเพียงหัวจักรไอน้ำที่ชื่อ "สำโรง" ที่อยู่ในความครอบครองของโรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบัน ชาวปากน้ำที่เริ่มทราบข้อมูล ได้ตั้งความหวังเอาไว้อย่างมาก ที่อยากให้หัวจักรสำโรง กลับมาตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการดังเดิม

           มีผู้สอบถามเข้ามาหลายท่านครับ ทั้งทางภาคเอกชน และทางราชการส่วนท้องถิ่น ว่าทำไม ไม่รีบดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้หัวจักร "สำโรง" กลับมาตั้งที่ปากน้ำโดยเร็ว ทั้งที่เรามีความพร้อมทั้งสถานที่ งบประมาณ หรือแม้จะเรี่ยไรเงินกันเองก็ยังพร้อม ผมก็มักจะถามกลับไปว่า พวกเราพร้อมจริงหรือเปล่า

         ทั้งนี้ ถ้าเราได้สังเกตุภาพที่ถ่ายมาจากโรงงานน้ำตาล เราจะเห็น "สำโรง" ได้รับการดูแลอย่างดี ดีเกินกว่าที่ใครจะกล้าปีน ขึ้นไปถ่ายรูปข้างบนเสียด้วยซ้ำ ในขณะที่ ผมได้เห็นภาพหัวรถจักรเก่าแก่ ที่ตั้งอยู่ด้านหลังท้องฟ้าจำลอง (ความคิดเห็นที่ ๔) ทำให้ต้องกลับมาคิดอยู่เหมือนกันว่า เมื่อมาอยู่ในความดูแลของทางราชการแล้ว เราจะสามารถดูแล "สำโรง" ได้ดีเหมือนเค้ามั้ย เพราะถ้าเราไม่มีความพร้อม ผมก็เห็นว่าควรจะปล่อยให้ "สำโรง" อยู่ในที่เดิม ที่ควรจะเป็น น่าจะดีกว่า       
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 29 พ.ค. 08, 10:26

เห็นด้วยกับคุณปากน้ำเจ้าพระยาค่ะ ถึงจะอยู่ไกลถึงอุตรดิตถ์ แต่ถ้าเก็บรักษาได้ดี ก็น่าจะคงไว้ แต่ถ้าท่านรองผู้ว่าสมุทรปราการ คุณวรรณิดา บุญประคอง ซึ่งท่านผู้นี้น่าจะใส่ใจเรื่องคุณค่าทางประวัติศาตร์ดี รู้เรื่องเข้า และสามารถหาที่ๆเหมาะสมได้ ก็น่าจะขอลงมาไว้ในการดูแลของเมืองปากน้ำ จะเป็นจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยวที่ดี
ไม่ทราบเมืองปากน้ำมีพิพิธภัณฑ์ราชการหรือไม่คะ ดิฉันเห็นแต่เมืองโบราณ กับช้างสามเศียร ที่ดูแลอย่างดี ซึ่งเป็นของเอกชน
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 29 พ.ค. 08, 10:56

เครดิตเรื่องข้อมูลจากราชกิจจาฯ ต้องยกให้ทางทีมงานเว็บราชกิจจาฯไปเต็มๆเลยครับ เขาทำไว้ดีจริงครับ ควรได้รับการชื่นชมอย่างมากครับ

มีกองหินในทะเลอันดามันที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในหมู่นักดำน้ำ คือกองหินริเชลิว ชื่อนี้เป็นชื่อที่เรียกกันติดปาก แต่แท้จริงแล้วควรออกเสียงว่า  ริเชอลิเออ ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อของพระยาชลยุทธโยธินครับ

แต่ตั้งชื่อนี้เมื่อใด เพราะเหตุใด อันนี้ไม่ทราบครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง