เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: piyasann ที่ 10 ก.ค. 12, 20:13



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ค. 12, 20:13
ฝรั่งตะวันตก หลายคน หลงไหลในศิลปะวัตถุของไทย  เป็นอย่างมาก.............

คนที่เป็นที่รู้จักกันดี ก็คือ Jim Thompson ผู้ได้ฉายาราชาผ้าไหมไทย เจ้าของบ้าน Jim Thompson แหล่งรวมศิลปะวัตถุไทย ชั้นเยี่ยมแห่งหนึ่ง,  Alexander Griswold นักสะสมพระพุทธรูปชั้นเยี่ยมของไทยและเขมร สะสมจนเขียนเป็นตำรา The Sacred Sculpture of Thailand ซึ่งรวบรวมพระพุทธรูปชั้นงดงาม เล่มหนึ่งและยังใช้เป็นตำรากันอยู่เสมอๆ, ส่วนบางคนก็กลายเป็นคนไทยไปแล้ว เช่น คุณ เลียม อยุทธกิจ นักธุรกิจผู้เพิ่งจะจากไป ผู้สร้างตำนาน PCS (บริษัทแม่บ้าน - ยาม นี้แหล่ะ) คุณเลียม เก็บสะสมศิลปะบ้านเชียง พระพุทธรูปศิลา และอื่นๆ ตั้งแต่มาอยู่เมืองไทย เมื่อ ๓๐ ปีมาแล้ว ตอนหลัง ท่านหันไปสะสม ภาพวาดของศิลปินไทยร่วมสมัย แต่ก็ยังเป็นนักสะสมที่มีของสวยมากๆ อยู่ในครอบครองมหาศาล ................ท่านเหล่านี้ เดินทางจากแดนไกล มาเพื่อชื่นชม สะสมศิลปะอันทรงคุณค่า ของอีกฝั่งทวีป โดยแท้........


เมื่อปีที่แ้ล้ว Victoria and Albert Museum ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้เปิดตัวนิทรรศการ กึ่งถาวร (เพราะจัดแสดง เป็นเวลาอย่างน้อย ๑๐ ปี) ภายใต้ชื่อนิทรรศการ ‘The Art of Thailand’ ในแผนก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ทางการไทย เป็นผู้ช่วยลงทุนจัดทำตู้จัดแสดงให้ เพื่อประชาสัมพันธ์ เอกลักษณ์ความเป็นไทย ให้ต่างชาติได้ชม

ในนิทรรศการดังกล่าว มีการนำศิลปะวัตถุ ของไทย มาจัดแสดงหลายร้อยชิ้น เช่น ของที่ได้รับมอบจาก หลุยส์ เลียวโนเวนส์ บุตรชายของ แหม่มแอนนา กว่า ๔๐ ชิ้น เป็นต้น สิ่งของที่ตั้งแสดงมีตั้งแต่ กาน้ำต้น ตระไกรทอง หัวโขน มีดโกน เศียรพระพุทธ-รูป และอื่นๆ

แต่ที่โดดเด่นอีกชิ้นก็คือ รัดพระองค์ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนี ซึ่งเป็นวัตถุโบราณที่ ม.ร.ว.หญิง นริศรา จักรพงษ์ พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ กับหม่อมเอลิซาเบธ ให้ยืมมาตั้งแสดงด้วย ........


เครดิตภาพ : เว็บไซด์ นิตยสาร IMAGE บทความโดย อิสสริยา พรายทองแย้ม ภาพ : V&A Museum / สถานทูตไทยในสหราชอาณาจักร





กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ค. 12, 20:32
ในนิทรรศการนี้ มีการนำศิลปะไทย ของนักสะสมหญิง เรืองนาม ท่านหนึ่ง ซึ่งได้ส่งมอบให้กับ V&A Museum เก็บรักษาไว้ หลังจากการจากไปของเธอ

เธอคนนี้ คือ Doris Duke สาวสังคม ผู้มีเรื่องราวให้เล่าขานกันมากมาย ไม่ว่าความร่ำรวย (เมื่อก่อน เธอได้ชื่อว่า เป็น The Richest Woman in The World แข่งกับ Barbara Huttun คู่ขนานทางสังคม กับ Doris Duke ) ชีวิตส่วนตัว ความมีรสนิยม และความใจบุญ...............

แง่มุมหนึ่ง ของ Doris Duke นั้น เธอเป็นนักสะสมตัวยง !!!!!  แม้ว่า ความรวยล้นฟ้า จะเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เธอสามารถสะสมของมีค่าได้มากมาย แต่ก็ใช่ว่า คนรวยจะมีรสนิยมเสมอไป เธอ.... กลับกลายเป็นคนที่ีมีรสนิยมในการสะสม สูงมากคนหนึ่ง ดูได้จากของที่เธอสะสมไว้ หลายชิ้น กลายเป็นสุดยอดของสวยของวัฒนธรรมนั้นๆ ทรงคุณค่า และ หายากกกกกกก จริงๆ

และ แม่ดุ๊ก*** เธอก็มีความฝัน ที่จะนำศิลปะไทย อันงดงาม ไปสู่สายตาชาวตะวันตก ที่สมัยนั้น ไม่ค่อยจะมีคนมีโอกาส มาถึงยังเมืองสยาม เมืองไทยของเราได้ (เธอทำแบบ เริ่ดดดดด... มีรสนิยม ไม่ใช่ ตุ๊งแช่ เป็นดิสนี่แลนด์ หาเงิน ด้วยน่ะ!!!!!!!!! )

เสียดายแต่ว่า ความฝัน 'Thai Village Project' ของเธอ ไม่ได้เป็นจริงในดินแดนอเมริกาเสียที.......


(***ขอเรียกเธอว่า แม่ดุ๊ก เพราะเธอเป็น "ตัวแม่" ของจริง !!! - คนในตระกูลนี้ มีดังจริง ๒ คน คือ พ่อเธอ James 'Buck' Duck ในวงการธุรกิจก็ยังปรากฏชื่อ คุณดุ๊ก คนพ่ออยู่ , อีกคนก็เธอนี้แหล่ะ ดุ๊ก , ตัวแม่ ........ หรือ แม่ดุ๊ก จะดีกว่า )


หนึ่งในของสะสมของเธอ "กินรี" ศิลปะอยุธยาตอนปลาย แกะสลักไม้ลงรักปิดทอง ประดับกระจก, Asian Art Musuem สหรัฐอเมริกา

เครดิตภาพ : http://genevaanderson.wordpress.com


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ค. 12, 21:07
Doris Duke เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912 (ต้นรัชกาลที่ ๖ ของไทย) ที่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา  เป็นบุตรของ James Buchanan Duke เจ้าของธุรกิจยาสูบ - บุหรี่ รายใหญ่ และรายเดียวของสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้น กับ Nanaline Holt Inman ภรรยาคนที่สอง  

เกิดมาปุ๊บ ก็รวยปั๊บ เพราะพ่อรวย......

James 'Buck' Duke นั้น เป็นเจ้าของ บริษัท the American Tobacco Company ผู้ผลิตยาสูบ รายใหญ่ แทบจะรายเดียวของอเมริกา เดิมค้าแต่ยาสูบ ก็รวยจะแย่อยู่แล้ว ต่อมา เมื่อ James Bonsack คิดค้นเครื่อง มวนใบยาสูบ ทำเป็นบุหรี่ ได้สำเร็จ แต่ขายไม่ออก ดุ๊กตัวพ่อ ก็เลยเจรจา ขอซื้อและทำการตลาด ทำให้ยิ่ง รวย เข้าไปใหญ่ ( ก็จะไม่รวยขึ้นได้ไง จากเดิม ๑ นาที ใช้แรงคนมวนบุหรี่ได้แค่ ๔ ตัว แต่เครื่องของดุ๊ก มวนได้นาทีละ ๒๐๐ ตัว !!!!!!)

บริษัทของ ดุ๊ก ก็ควบคุมตลาดบุหรี่ได้ครึ่งโลก มีมูลค่าตลาดถึง 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ, แต่แล้วก็ถูกศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกาบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการผูกขาด (Antitrust Law) หั่นออกเป็นบริษัทเล็กลง เพื่อไม่ให้กินรวบ,

นอกจากนั้น นักธุรกิจใหญ่ Buck Duke ก็เปิดบริษัทผลิดกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนใน North Carolina ซึ่งยังคงดำเนินกิจการมาจนทุกวันนี้ คือ Duke Energy ซึ่งก็เป็นกิจการเจ้าเดียวในแถบนั้นอีก (ที่เขาว่า คนรวยมหาศาลมักเกิดจากการผูกขาด ก็คงจะจริง .......)  


แม้จะรวยจากหยาดเหงื่อแรงงาน และมันสมองของตน Buck Duke ก็ไม่ละเลยสังคม เขายังเป็น "นักบริจาค" คนสำคัญ อีกด้วย


สิ่งที่เขาเห็นความสำคัญรองจากบุตรสาวคนเดียวของเขาคือ "การศึกษา" Buck ตั้ง trust fund ไว้ คือ The Duke Endowment เป็นจำนวนเิิงิน 67 ล้านเหรียญสหรัฐ (ซึ่งปัจจุบัน มีมูลค่าตลาดถึง ๒,๗๐๐ ล้านบาท เข้าไปแล้ว........) เพื่อการสาธารณะกุศล  ซึ่งหลักๆ ได้แก่ Duke University มหาวิทยาลัยใน นอร์ท คาโรไลน่า ซึ่งตั้งชื่อตามพ่อของเขา (ตระกูลเขานั้นแหล่ะ) และมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกหลายแห่ง  กองทุนนี้ ยังทำสาธารณะกุศล หลายด้าน ทั้งทางการแพทย์  การศึกษา และคุณภาพชีวิตของ นอร์ท คาโรไลน่า


ท่านใดสนใจเรื่อง Buck Duke หาอ่านได้มากมายใน เว็บไซด์ทั่วไปครับ เีพียงพิมพ์ James Buchanan Duke ก็จะมีเรื่องมากมายให้อ่านเพลิน.......

เครดิตภาพ : วิกิพิเดีย



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ค. 12, 22:20
ฺBuck Duke เสียชีวิต เมื่ออายุได้ ๖๙ ปีก็จริง ( เกิด ๑๘๕๖ - ตาย ๑๙๒๕)  แต่มีลูกสาวคนเดียว เมื่ออายุ ๕๖ ปี (สงสัยหาเงิน จนลืมผลิดคนช่วยใช้ ! ) พอ แม่ดุ๊ก อายุได้ ๑๒ ปี บิดาก็เสียชีวิต ทิ้งมรดกไว้ให้เธอกับแม่ ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ !!!! (ในวิกกี้ บอกว่า คิดเป็นค่าเงินในปี ๒๐๐๕ ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท)

แม่ดุ๊ก ก็เริ่มต้นชีวิต ด้วยการ ฟ้อง แม่ของตัวเอง ที่ต้องการขายทรัพย์สินของพ่อ บางอย่าง ......... แม่ของเธอจึงไม่ค่อยถูกพูดถึงเท่าไหร่ในชีวิตเธอ

เรื่องการศึกษา ไม่ปรากฏในหน้าประวัติของแม่ดุ๊ก, คาดว่า คงจ้างครูชั้นดี มาสอนหนังสือที่บ้าน "Duke Farms" ในมลรัฐ นิวเจอซี่ บ้านพร้อม ฟาร์ม,สวน ในที่ดินขนาด ๒,๗๐๐ เอเคอร์  ( หรือ ๑๑ ตารางกิโลเมตร ตกแล้วก็ประมาณเกือบ ๗,๐๐๐ ไร่)  

เมื่อโตเป็นสาวแรกรุ่น ตามธรรมเนียม ก็ต้อง debutante (เดบูตอง - งานเต้นรำ แนะนำบุตร, บุตรี สู่สังคม อันหรูหรา) ขอเธอก็เปรี้ยว .... ไปจัดที่อื่นทำไม เดบูตอง มันที่บ้านฉันเลยซิ......... ที่บ้านพักสไตล์อังกฤษ "Rough Point" ใน นิวฟอร์ต โรดไอแลนด์ ตอนอายุ ๑๘ ปี (ค.ศ. ๑๙๘๐)

พออายุครบ ๒๑ ปี เธอก็ได้สิทธิ์ในมรดกของพ่อก้อนแรก และได้รับอีก ๒ ขยัก เมื่ออายุ ๒๕ และ ๓๐ ปี มีสิทธิ์บริหารจัดการ และเป็นประธานใน The Duke Endowment กองทุนมหาสมบัติของเธอ โดยเต็มสิทธิ์............. ส่วนสมบัติของแม่เธอ (แม้จะมีเรื่องฟ้องร้องกันบ้าง ตามประสานางสิงห์ ๒ ตัว) เมื่อ Nanaline แม่เธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. ๑๙๖๒ เธอก็ได้มรดกเครื่องเพชร และชุดเสื้อโค๊ต (ซึ่งมักจะเป็นขนสัตว์ ราคาแพง) จากมารดา (เครื่องเพชรเหล่านี้ ก็ถูกนำออกประมูลในเวลาต่อมา ...... มีแต่ชิ้น เป้งๆ และคุณภาพจากร้านชั้นดี เท่านั้นจริงๆ )

ภาพ ดุ๊ก ผู้พ่อ กับ นางสิงห์ ดุ๊ก

Picture Credit to : http://www.dukefarms.org



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ค. 12, 23:01
ใครว่า เธอรวย แล้วเธอไม่ทำงาน ?????

แต่งานของเธอ ก็คงไม่ใช่ พนักงานออฟฟิต ชงกาแฟ จดรายงานการประชุมธรรมดา เป็นแน่

สิ่งที่เธอเรียกว่ "งาน" เริ่มต้นสวยๆ ด้วยการไปเป็นอาสาสมัครในแคนทีน ของกลาสี หน่วยทหาร ที่ประเทศอียิปต์ โดยรับเงินเดือน ๑ ดอลล่าห์ !!!! (เป็นสาวการกุศลจริง จริ๊งงงง) ซึ่ง เธอก็มิได้ บินจากอเมริกาไปรับงานนี้ เพียงแต่ เธออยู่ในระหว่างท่องเที่ยวอียิปต์อยู่ ก็เลย ขอเบรก ทำงาน ซักหน่อย เป็นการช่วยเหลือทหารกล้า...

แม่ดุ๊ก เคยทำงานเป็นผู้สื่อข่าว ต่างประเทศให้กับ the International News Service รายงานข่าว สงครามในที่ต่างๆ ที่เธอเดินทางไป ในขณะเดินทางท่องเที่ยว และ เป็นคอลัมนิสต์ ให้กับ นิตยสาร Harper's Bazaar. ฝรั่งเศส หลังสงคราม อยู่ พักหนึ่ง  

ภาพสมัยเธอเป็นสาวน้อย

Picture : credit to  http://blogs.library.duke.edu


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ค. 12, 23:12
กิจกรรมหลักของเธอจริงๆ ก็คือ "การเดินทางท่องเที่ยว" เธอใช้เวลาเกือบทั้งชีวิต เดินทางไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อพบปะผู้คนมากมาย และเป็นการไปเยี่ยมชมศิลปะในที่ต่างๆ ซึ่งเธอ เป็นผู้หนึ่งที่ซาบซึ่งกับความงานของศิลปะในทุกแขนง และพร้อมที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ ในที่ต่างๆ

เธอบอกว่า เธอไม่ชอบที่จะเป็น สาวสังคมสวยๆ แต่งตัวเฉิดฉาย ตามบ้านผู้ดี ตามโรงแรมหรู เท่านั้น อันนี้อาจจะมีบ้าง, แต่ก็ชอบที่จะไปใช้ชีวิต ผจญภัย เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในโลกกว้าง - นั้นหมายถึง การเดินทางเมื่อ ๖๐ - ๗๐ ปีมาแล้วน่ะ ขณะที่ยังเป็นเวลาที่การเดินทาง และชีวิตต่างแดนยังไม่สะดวกสบายอย่างประเดี๋ยวนี้

แม่ดุ๊ก ไม่สามารถจะอยู่ติดบ้านได้จริงๆ (แม้ว่า เธอจะมีหลายบ้านให้เปลี่ยนบรรยากาศก็ตาม) พอถึงบ้าน ก็เริ่มคิดแล้วว่าจะเดินทางไปไหนต่อดี (ถ้ามาหาหมอดูเมืองไทย คงโดนทักว่า มี ดวงเดิน ทางทั้งชีวิต ......)

การไปในที่ต่างๆ นอกจากเธอจะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ การพบปะผู้คน ซึ่งมักจะเป็นคนในวงสังคมเดียวกัน และคุยกันรู้เรื่อง หัวทันสมัย  เธอก็ยังมีโอกาสที่ได้เก็บงานศิลปะ ของสะสม ในแต่ละที่ ที่เธอเดินทางไป เสมอ ๆ






กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ค. 12, 23:26
การเป็นสาวสังคม ย่อมพลาดไม่ได้เลย ก็คือ "งานปาร์ตี้" โดยเฉพาะคนระดับอย่างเธอ ...... เงินก็มี บ้านก็สวย คนรับใช้ก็มากมาย เธอจึงหนี การเป็น host ไปไม่ได้ และเธอเองก็คงสนุกกับการมีงานเลี้ยงสังสรรค์ในหมู่เพื่อนฝูงมาก (เพราะจัดบ่อย จริงๆ  )

ใครว่า การจัดงานเลี้ยงปาร์ตี้  ไม่เป็นงาน !!!! เจ้าภาพจะเป็นคนที่ต้องวุ่นวายที่สุด ไหนจะต้องคิดว่า จะเสริ์ฟอาหาร เครื่องดื่มอะไรดี จะเชิญใครมาบ้าง เดี๋ยวคนนั้น ไม่ถูกกับคนนี้ คนนี้ มาเชิญ คนนั้นไม่ไ่ด้  งานเลี้ยงจะ ธีม อะไรดี จะแต่งตัวอย่างไร จะคุยอะไร ฯลฯ......... โดยเฉพาะงานเลี้ยงโดยสาวสังคมครบเครื่องอย่างเธอแล้ว จะ "หลุด" ไม่ได้เชียว...... กินข้าว ปาร์ตี้ มื้อหนึ่ง เสียเวลาเป็นวันๆ เชียวแหล่ะ , สั่งหน่ะ ประเดี๋ยวก็มีคนทำให้ แต่ host ก็ต้องบัญชาการ และตรวจความเรียบร้อย ทั้ง ก่อน ตลอด และจนจบงาน .......... นั้นแหล่ะคืองานของ แ่ม่ดุ๊กเธอหล่ะ!

Picture : credit to http://homedesign.marthastewart.com/


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 10 ก.ค. 12, 23:44
นอกจากการท่องเที่ยว และปาร์ตี้ แล้ว ....... ยังมีอีกสิ่งที่เธอรัก และเรียกว่า "งาน" ก็คือ การทำสวน (Gardening)

เห็นภาพลักษณ์ภายนอก พร้อมเรื่องราวของเธอ เราก็คงคิดว่า คนอย่างนี้หรือ จะยอมให้มือเปื้อนดิน เปื้อนโคลน

แม่ดุ๊ก ได้มรดก จากพ่อของเธอ เป็นบ้านพื้นที่ขนาดใหญ่ ใน นิว เจอร์ซี่ - Duke Farms มีพื้นที่สีเขียวเป็น Park ขนาดใหญ่แล้ว เธอยังไ้ด้รับมรดกสำคัญจากพ่ออีกอย่างหนึ่ง  นั้นคือ เรือกกล้วยไม้ขนาดใหญ่ อีกด้วย


เธอบอกว่า พ่อฉัน ท่านรักกล้วยไม้มาก และท่านก็สอนให้ฉันรัก และดูแลกล้วยไม้ต่อจากท่านด้วย

ไม่ว่า เธอจะไปเที่ยวที่ไหนมา พอกลับถึงบ้าน เธอก็จะต้องตรงเข้าไปยังเรือนกล้วยไม้, ไปดูแล ลูกๆ ของเธอด้วยตัวเอง  เปลี่ยนกระถาง, แยกกอ, เปลี่ยนเครื่องปลูก (ปลูกกล้วยไม้ในอเมริกา สบาย เพราะอยู่ในโรงเรือนปรับอุณหภูมิ ให้อุ่น เหมือนเขตร้อน ทำงานสบาย) ........ แต่การปลูกกล้วยไม้ของเธอนั้น เป็นแบบ Amateur Orchid Grower  เป็นที่น่าเสียดาย เธอจึงไม่มีเกียรติประวัติจารึกไว้ในวงการกล้วยไม้อเมริกัน (ซึ่งเป็นสมาคมใหญ่) แม้จะมีกล้วยไม้ ตั้งชื่อว่า Doris Dukes ก็ไม่ได้มาจากชื่อของเธอ (เป็นชื่อเมียเจ้าของสวนกล้วยไม้ แห่งหนึ่งในอเมริกา ชื่อ นามสกุล เหมือนกัน แต่ Dukes มี s )

Duke Farms นี้ ภายหลังก็เิปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ จนถึงปัจจุบัน ......... (กล้วยไม้ก็ยังมีอยู่น่ะ อยากไปดูอยู่....) เป็นพื้นที่สีเขียวร่มรื่น และเป็นมิตรกับผู้รักธรรมชาติ โดยมีกองทุนของเธอ เป็นผู้ดูแล


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 11 ก.ค. 12, 00:00
และ สุดท้าย งานของเธอ อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ "การเก็บรักษา และจัดแสดงศิลปะ ให้เป็นมรดกของคนทั้งโลก"

มันคงเริ่มจากการสะสมไว้ประสาคนมีตังค์ สามารถซื้ออะไรก็ได้ ..... แต่เธอเลือกที่จะสะสมศิลปะ (เมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐีนีอเมริกันหลายคน กลับใช้เงิน กับเรื่อง เอาเงินฟาดหัวสามี จนหมดตัว !!!!)  ซึ่งขณะนั้น ก็ต้องนับว่า เป็นของที่ไม่ค่อยมีคนเห็นค่า ยังสามารถหาเก็บสะสมได้อยู่ (เมื่อ  ๖๐ - ๗๐ ปีก่อน)

พอมีมากเข้า ๆ และเป็นหมวดหมู่ นั้นศิลปะจีน นี้ศิลปะแขกออิสลาม นี้ศิลปะยุโรป โน้น ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ .....ฯลฯ เธอคงจะมีแนวคิดต่อยอด จัดศิลปะวัตถุให้เป็นหมวดหมู่ ทำเป็น มิวเซียม ซ่ะ ก็คงจะดี


ส่วนหนึ่งของ งานศิลปะที่เธอเก็บสะสมไว้ มากหมวดหนึ่งก็คือ ศิลปะวัตถุของไทย และพม่า รวมแล้ว มากกว่า ๒,๐๐๐ ชิ้น เธอจึงมีความคิด ที่จะทำเป็น "หมู่บ้านไทย" จำลองวิธีชีวิตของคนไทยที่เธอได้เคยสัมผัส ให้ คุณมะกัน ได้เห็น ได้รู้จัก ว่ามีประเทศประเทศหนึ่ง เจริญด้วยศิลปะวัฒนธรรมมาช้านาน มีแบบแผนประเพณีที่น่าประทับใจ (..............ช่างต่างจากสังคมอเมริกันเหลือเกิน คริคริ )

ภาพจาก : Doris Duke The Southeast Asian Art Collection, Digital Book Online


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 11 ก.ค. 12, 00:39
ขอย้อนกลับมาเรื่อง ชีวิต ของเธอก่อน ประเดี๋ยวไม่จบชีวิตเธอ......

แม่ดุ๊ก แต่งงาน สองครั้ง ครั้งแรกอายุ ๒๓ กับ James H. R. Cromwell หนุ่มสังคมจากปาล์ม บีช มีบุตรสาวด้วยกัน ๑ คน มีอายุได้ ๑ วัน ก็จากเธอไป พร้อมกับการหย่าร้าง หลังจากใช้ชีวิตร่วมกัน ๘ ปี

ครั้งที่สอง เธอแต่งงานกับ Porfirio Rubirosa นักการฑูตชาวโดมินิกัน ผู้ได้รับฉายาว่า The last of the Famous International Playboys, เมื่อแม่ดุ๊กอายุ ๓๕ ปี ทั้งสองพบกันที่ปารีส  ........ ก่อนแต่ง เธอต้องยอมจ่ายเงิน ๑ ล้านเหรียญให้กับภรรยา ตา Rubirosa เพื่อให้หย่ากัน จะได้มาแต่งกับเธอได้ แต่เป็นอันว่า ตานี่ พยายามหลอกล่อเธอ (เรียกว่า สูบเงินเธอ นั้นแหล่ะ) ขอเงินไปใช้ในการเมือง  เธอเองก็กลัวจะโดนเพ่งเล่ง (จริงๆ คงกลัวโดนสูบมากกว่า) จึงต้องทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินของเธอ ..........

แต่สุดท้าย ก็ไปไม่รอด  ...... แม่ดุ๊ก จึงต้องตัดใจ ยอมจ่ายเงิน อีกเป็นล้านเหรียญ (คราวนี้ ไม่เป็นที่เปิดเผย) พร้อมกับระดมของมีค่า ของขวัญ ให้ผู้กำลังจะเป็นอดีตสามี นักสูบ อีกมากมา เธอจึงรอดตัวมาได้ .....

อ่ะ , ที่ว่า รอดตัวมาได้ ก็เพราะ อีตา Rubirosa เลิกกับ แม่ดุ๊ก แล้ว ก็ไปแต่งงานกับ Barbara Hutton "คู่ขนานทางสังคมของแม่ดุ๊ก***"  เพียง ปีเดียว ก็สูบเงิน ฮัตตันไปหลายล้าน ตอนจะเลิก ก็ได้ติดกระเป๋า ไปอีก ๓ ล้านเหรียญ (ปีค.ศ. ๑๙๕๔ น่ะ)

ต่อจากนั้นมา เธอก็มีกุ๊กกิ๊ก ไปเรื่อย ....................  ชนิด เข็ด กับนักสูบไปจนตาย. กิ๊กๆ แล้ว บาย ,ไม่อันตรายกับสมบัติตู ......

**** ที่ว่าเป็น คู่ขนานทางสังคม เพราะBarbara Hutton "the Poor Little Rich Girl"  เกิด เดือน และปีเดียวกันกับดุ๊ก, เกิดบนกองเงินกองทองกองใหญ่เหมือนกัน  ขับเคี้ยว ความเป็น "หญิงที่รวยที่สุดในโลก"เช่นกัน  แต่เกมส์นี้ แม่ดุ๊กชนะ เพราะ บาบาร่า ฮัตตัน แต่งงาน ไป  ๗ หน เลิกกันที ก็ต้องจ้างเิลิกเป็นล้านๆ เหรียญ สุดท้าย แม่ฮัตตัน ตายอย่างหมดตัว เหลือเงินติดตัวอยู่แค่ ๓,๕๐๐ เหรียญ นอนตายอยู่ในโรงแรม ไม่มีแม้กระทั้งบ้าน และทรั้ยพ์สินอื่นใด ....... ถึงแม้ฮัตตัน เธอจะเป็นทายาท ห้างสรรพสินค้า Woolworth ก็หมดได้เหมือนกัน......จะไปเหลือได้อย่งไร ก็คุณเธอ เล่นบ้าซื้อแต่ เพชร แต่อัญมณี ขนาดตึกหัวมุม ที่ Fifth Avenue ก็ยอมแลกกับ ไข่มุกน้ำจืด ๓ เส้น !!!!!!! Cartier เลยได้ตึกแพงระยับมาอย่างง่ายดาย.............. ชีวิตเธอช่างน่าสงสารเสียจริง

ภาพ แม่ดุ๊ก กับ ตา Rubirosa

เครดิตภาพ : http://theselvedgeyard.wordpress.com


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 11 ก.ค. 12, 01:29
แม่ดุ๊ก รับเด็กสาวเป็นลูกบุญธรรมคนหนึ่ง (แต่เธอคงไมไ่ด้เลี้ยงเอง) เพราะว่า เธอว่า หน้าเ็ด็กเหมือนลูกที่ตายไปแล้ว ........

ช่วงท้ายของชีวิต เธอได้ Butler (พ่อบ้าน) คนใหม่ ชื่อ Bernard Lafferty เกย์หนุ่ม ชาวไอริส มาประจำที่ Duke Farms สองคนนี้ เข้ากันได้ดีมาก โดยเฉพาะ เมื่อเธอไม่สบาย จากการผ่าตัด และโรครุมเร้า เมื่ออายุมากแล้ว เธอก็ได้ บัตเลอร์ คนนี้ คอยดูแลทุกอย่าง

จนเธอเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๑๙๙๓ อย่างสงบ(และโดดเดีี่ยว) ที่บ้าน Falcon's Lair Beverly Hills, California ศพเธอถูกฌาปนกิจภายใน ๒๔ ชั่วโมง เถ้ากระดูกถูกนำไปโปรดในมหาสมุดแปรซิฟิก และอีกส่วนหนึ่ง ถูกนำไปฝังไว้ที่ สุสานใน Marshfield รัฐ Missouri ตามพินัยกรรมของเธอ

ถึงแม้เธอจะตายไปแล้ว แต่แม่ดุ๊กก็ได้ทำพินัยกรรม แจกแจงทรัยพ์สินไว้หมด ส่วนใหญ่ เธอมอบทรัพย์สินตั้งเป็น Trust ในนาม Doris Duke Charitable Foundation (DDCT) เพื่อดูแลทรัยพ์สินสมบัติ ของเธอ ได้แก่ Duke Farms , the Doris Duke Foundation for Islamic Art , Foundation for Southeast Asian Art and Culture (SEAAC) และยังมี The Duke Endowment, Duke Energy ซึ่งก็ยังคงดำเนินการในการช่วยเหลือสังคม การศึกษา และกิจการสาธารณะประโยชน์อีกมากมาย

ในพินัยกรรมฉบับสุดท้ายของเธอ เธอตัดชื่อลูกสาวบุญธรรมของเธอออกจากผู้รับมรดก แล้วยกสมบัติส่วนของลูกบุญธรรมให้การกุศล และให้ Bernard Lafferty เป็นเิงิน ๕ ล้านเหรียญ และให้อีกเป็นเดือนๆ ละ ๕๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ กับให้เป็น คณะกรรมการบริหาร การเงิน และ Trust ที่เธอตั้งขึ้น อีกด้วย ...... เรื่องนี้ เป็นเรื่องใหญ่ ลงข่าวครึกโครม ต่อสู้แย่งชิงกัน ว่า Lafferty ปลอมพินัยกรรมบ้าง ไม่มีสิทธิ์บ้าง จนสุดท้าย Lafferty ตายในปี ๑๙๙๖ ด้วยอาการพิษสุราเรื้อรัง เขาได้ทำพินัยกรรมยกเงินที่เหลืออยู่จากที่ แม่ดุ๊กให้ไว้ (ประมาณ ๔ ล้านเศษ ถ้าจำไม่ผิด) คืนให้มูลนิธิและ Trust ของ Doris Duke ทั้งหมด


แต่สำหรับ คณะกรรมการบริหาร สมบัติมรดก ของ Doris Duke แล้ว ภาระหน้าที่ต่อไปหลังจากที่เจ้ามรดกตาย คือ จัดการให้เป็นไปตามที่พินัยกรรมระบุ หรือตามที่เห็นสมควร แม้ แม่ดุ๊ก เธอยากจะให้รักษา สมบัติที่เธอสะสมไว้ ให้เป็นของสาธารณะชน และอยู่รวมกัน แต่ก็ระบุไว้ว่า ถ้ารักษามันไมไ่ด้ ก็จัดการมันซ่ะ !!!!! จึงเป็น มหากาพย์ การ "บริจาค" หรือ "มอบให้" พิพิธภัณฑ์ และ การ "ประมูล" กันสนุกสนาม มันส์หยด ในหลายกลุ่มของสะสม ส่วนหนึ่ง ของสมบัติที่เธอเก็บสะสมมา ก็เป็นอัน กลับคืนสู่ท้องตลาด ........... กระจายสู่นักสะสมรุ่นใหม่ กันเป็นจำนวนมาก

แม้กระทั้งการประมูลของหลายบริษัท ในปัจจุบัน ก็ยังมี "สมบัติ" ของ Doris Duke เวียนมาประมูลอยู่เสมอๆ

ชื่อของเธอ ก็ยังติดอยู่ในลิสต์ นักสะสมชั้นเลิศ ทีน่าจับตา อันเป็นที่มาของเรื่องที่จะเล่าต่่อไปนี้ ....................


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 11 ก.ค. 12, 01:40
ท่านใดสนใจ เรื่อง ชีวิต แสบๆ คันๆ ของ แม่ดุ๊ก สามารถหา ภาพยนต์ซีรี่ย์ เรื่อง Bernard and Doris (๒๐๐๗) มาดูประกอบได้

นำแสดงโดย ดาราเจ้าบทบาท Susan Sarandon เป็น "แม่ดุ๊ก" และ Ralph Fiennes เป็น Bernard Lafferty หนังสนุกน่าติดตาม และฉากสวยงามมาก

(ในเมืองไทย น่าจะยังไม่มีจำหน่าย คงต้องพึ่งพา Amazon.com ไปก่อนหล่ะครับ.....


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ค. 12, 08:31
ไม่รู้จักแม่ดุ๊คคนนี้  แต่รู้จักบาร์บาร่า ฮัตตันค่ะ 
กระทู้นี้จบเมื่อไรจะมาเล่าเรื่องบาร์บาร่า ฮัตตันเป็นการขอบคุณคุณ piyasann ที่เล่าเรื่องน่าสนใจให้อ่านกัน


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 ก.ค. 12, 10:31
และ บาร์บาร่า ฮัตตัน ก็มีมินิซีรี่ส์ประวัติของเธอซึ่งเคยออกอากาศทางช่องสาม เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ครับ

นำแสดงโดยอดีตนางฟ้าชาร์ลี


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 ก.ค. 12, 10:33
จากยูทูบ ครับ

           At Home with Doris Duke: Selections from her personal home movies

http://www.youtube.com/watch?v=0bH94cEXq4M&feature=related


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ค. 12, 14:54
น่าไปชมสวนกล้วยไม้ยิ่งนัก

จะขอนำภาพการจัดแสดงศิลปะวัตถุของเธอที่นำมาจัดแสดงในห้อง


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ค. 12, 14:59
เบญจรงค์ในคอเลคชั่น ก็งามสุด ๆ


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 11 ก.ค. 12, 22:29
สมบัติ ของแม่ดุ๊ก

เริ่มด้วย อสังหาริมทรัยพ์ ของเธอก่อน...... แม่ดุ๊ก มีบ้าน อยู่หลายแห่งในอเมริกา หลักๆ ก็คือ

Duke Farms ที่ นิวเจอร์ซี่  

บ้านสวนขนาด ๗,๐๐๐ ไร่ ที่เธอใช้ชีวิตอยู่ในวัยเด็ก เป็นบ้านหลัก หลังหนึ่งของเธอ ด้วยความที่มีพื้่นที่ขนาดใหญ่ และมีอาคารอยู่หลายหลัง เช่น Farm Barn ซึ่งเป็นอาคารหลัีงที่เธอพักอาศัย ปัจจุบัน ใช้เป็นจุดศูนย์กลางของ Duke Farms ........ Coach Barn เป็นอาคารหลังแรกของฟาร์มแห่งนี้ ด้วยความที่มีพื้นที่ โล่งใหญ่ จึงเคยถูกใช้เป็นที่ เก็บของ (เช่น ศิลปะไทย ก็นำมาจัดแสดงไว้ในอาคารนี้ มาก่อน ตอนที่แม่ดุ๊กยังมีชีวิตอยู่ ) และยังมีคอร์ทเทนนิสในร่มขนาดใหญ่ (ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นที่ซ่อม ประกอบงานศิลปะ) เป็นต้น

แต่ดูเหมือน คณะกรรมการของ DDCF จะสนใจเก็บไว้แต่ที่ดิน กับสิ่งปลูกสร้าง .....เฟอร์นิเจอร์ และของประดับบ้านทั้งหลาย ได้ถูกนำออกประมูล หลายครั้ง ในปีค.ศ. ๒๐๐๙ (ก็สถานที่เขาใช้ทำเป็นพื้นที่กิจกรรมของสวนไปแล้ว ของใช้แพงๆ ก็ไม่จำเป็น ขายเอาเงินบำรุงสวนจะดีกว่า)

 ไปเปิดๆ ดู ก็มีของสวยของดี แต่เป็นศิลปะยุโรป ที่เธอใช้ตกแต่งบ้าน มีทั้งโต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง สวยๆ หลายชิ้น ราคา ก็หรู เอาการอยู่ ( เข้าไปดุตามลิงค์ ได้ http://www.liveauctioneers.com/catalog/18703/page1 )


 ปัจจุบัน Duke Farms ได้มีการจัดตั้ง เป็นสวนสาธารณะเอกชน เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้ มีการกิจกรรมที่เกีี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ อย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ มูลนิธิ Doris Duke Charitable Foundation  

สามารถเข้าชม ได้ที่ เว็บไซด์ : http://www.dukefarms.org/



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 11 ก.ค. 12, 23:47
Rough Point นิวพอร์ต โร๊ด ไอแลนด์

บ้านสไตล์อังกฤษ พื้นที่ ๑๐ เอเคอร์ ริมชายฝั่งทะเล แอตแลนติก เดิม เป็นบ้านที่ Nanaline Duke แม่ของเธอพักอาศัยอยู่เมื่อเธอยังเด็ก(ที่นี่แหล่ะ ที่เธอใช้จัดงาน เดบูตอง) จากนั้น ก็ถูกปิดมาเป็นเวลาหลายสิบปี จนประมาณปี ๑๙๕๘ แม่ดุ๊ก ก็เกิดมาปิ๊ง บ้านสไตล์อังกฤษหลังนี้ ทำการซ่อมบำรุง และใช้เป็นหนึ่งในบ้านพักในจำนวนหลายหลังของเธอ และใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวม งานสะสม ศิลปะ ภาพวาด และเครื่องเรือน ชั้นดีของยุโรป และ จีน ไว้

ในพินัยกรรมของเธอ  เธอยกบ้าน Rough Point ให้กับ the Newport Restoration Foundation (NRF) เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์งานศิลปะยุโรป และศิลปะมีค่าอื่นๆ ที่เคยอยู่ในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นศิลปะจีนชิ้นเยี่ยม (มีไทยปนบ้างแต่น้อยมาก)

ปัจจุบัน NRF ได้เปิดให้เข้าเยี่ยมชมบ้าน Rough Point ได้โดยต้องจองซื้อตั๋วล่วงหน้า เข้าชมได้ครั้งละ ๑๒ คน ปีละ ๗ เดือน (พ.ค. - พ.ย.) สิ่งที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องเพชร เสื้อผ้าอาภรณ์ จากดีไซเนอร์ชื่อดัง (แน่นอนว่าต้องสวย เนี๊ยบ !! ) ของ แม่ดุ๊ก เฟอร์นิเจอร์จากศตวรรษที่ ๑๗,๑๘ เครื่องกระเบื้องทั้งยุโรปและเอเชีย (โดยเฉพาะของจีน ) และยังมีภาพวาดของจิตรกรชื่อดัง เช่น Thomas Gainsborough, van Dyck, Reynolds, Ferdinand Bol และ Renoir.

นอกจากนั้น รอบๆ บ้าน ยังเป็นสวนที่สวยงาม ริมทะเล พร้อมกับมี อูฐ ของจริง ซึ่งเป็นสัตว์โปรดของเธออีกหลายตัว เดินไปเดินมาอีกด้วย !!!

สามารถเข้าชมได้ที่ : http://www.newportrestoration.org/about/press/100-doris_dukes_sporty


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 16:24
Shangri La ฮอนโนลูลู ฮาวาย

เป็นบ้านสีขาวเรียบง่าย แต่ภายในประดับตกแต่งอย่างวิจิตร ด้วยศิลปะ มุลลิม กว่า ๒,๕๐๐ ชิ้นอันล่ำค่า !!!!!!!!

แม่ดุ๊ก เดินทางไปฮันนีมูนกับสามีคนแรก ในหลายประเทศ (เกือบจะรอบโลก) ในการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ครั้งนี้ เขาและเธอได้แวะเยือน ฮาวาย และประเทศแถบตะวันออกกลางหลายประเทศ (จริงๆ มาถึงเมืองไทยด้วย)  

เธอก็เกิดปิ๊งไอเดีย อยากมีบ้าน ในฮาวาย และมีบ้านที่ตกแต่งแบบ โลกมุสลิม สองความคิดบรรเจิด จึงมาลงตัวที่ ที่ดินริมทะเล ๕ เอเคอร์ บนเกาะฮอนโนลูลู เป็นบ้านที่ เธอตั้งชื่อว่า Shangri La ( แชงกาลี ร่า, ดินแดนสวรรค์ - สำหรับฝรั่งอเมริกันแล้ว บ้านวิจิตรพิศดารปานนี้ ก็ต้องเรียกว่า สวรรค์หล่ะ,)

บ้านหลังนี้ เป็นโครงการนำศิลปะจากทวีปอื่น มารวบรวมไว้ในดินแดนเสรีภาพ อย่างอเมริกา เป็นโปรเจ็คแรกๆ ของเธอ ด้วยความเอื้ออำนวยต่างๆ ทำให้ โครงการนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี กลายเป็น "บ้าน" ควบกับ "พิพิธภัณฑ์" อย่างสมบูรณ์ .......

แม่ดุ๊ก ที่บ้านสวรรค์ Shangri La

ภาพจาก : http://www.whitewebb.com/worldwhitewebb/Spring-2012.php



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 16:33
ประเทศที่เธอเดินทางไปและเก็บสะสมศิลปะวัตถุมาไว้ที่ Shangri La ได้แก่ อียิปต์ , โมรอคโค, ซีเรีย, อีรัก - อีหร่าน ไปจนถึง ปากีสถาน อินโดนิเซีย อินเดีย เรียกว่า ไม่ได้กระจุกตัวอยู่แค่ตะวันออกกลางเท่านั้น แต่ เป็นศิลปะวัถุของโลกมุสลิม โดยแท้จริง 

บ้านหลังนี้ เริ่มสร้าง ค.ศ. ๑๙๓๖ เป็นบ้านพักต่างอากาศ ........ เอาไว้เล่น เสิร์ฟบอร์ด ว่ายน้ำ และ ปาร์ตี้ กับเพื่อน


ภาพของเธอที่บ้านหลังนี้ อีกภาพ กับสระน้ำกลางบ้าน


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 16:34
ห้องหนึ่งภายในบ้าน.....


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 16:43
สวนใน Courtyard กลางบ้าน


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 16:45
ห้อง Blue Room ซึ่งจำลองมาจากวิธีชีวิตของชาว ดามัสกัส ที่ใช้ชีวิตอยู่ในเต้นท์ ห้องนี้ ใช้เป็นห้องอาหาร

มีพรมเปอร์เซีย จากหลายวัฒนธรรมมุสลิมหลายประเทศ แขวนอยู่ (บางผืน ราคาเป็นล้าน จะเอามาเหยียบเล่นก็คงเย็นเท้าตาย.......)



บ้านหลังนี้ แม่ดุ๊ก ต้องจ้างคนตะวันออกกลาง มาทำการแกะหิน ทำลวดลายประดับตกแต่งทั้งหลัง ....... ถ้าไม่รัก, ไม่รวย คงหมดแรงสร้างสรรค์


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 16:51
งานศิลปะภายในบ้าน ก็ใช่ว่าจะเป็นของธรรมดาสามัญ ล้วนแต่เป็นของล้ำค่า สุดยอดของความงาม และหายากทั้งสิ้น (สมัยก่อน คงพอหาซื้อได้ ไม่เหมือนปัจจุบัน ราคา ....... ซื้อทองคำได้เป็นหลายกิโล)



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 16:53
ภาพ illustrated manuscript ปัจจุบัน เป็นที่นิยมสะสมกันอย่างมาก


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 16:59
สมบัติใน บ้าน Shangri La ถูกรักษาไว้ หลังจากที่ แม่ดุ๊กเสียชีวิตลง เธอทำพินัยกรรม ไว้ให้ส่งเงินบำรุง ดูแล บ้านหลังนี้ เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะวัตถุโลกมุสลิม

โดยเธอได้ตั้ง Duke Foundation for Islamic Art (DFIA) เป็นผู้ดูแลบ้าน และมรดกศิลปะอิสลาม(น่าจะรวมทั้ง ให้เิงินแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะโลกมุสลิมด้วย)

มูลนิธินี้ อยู่ภายใตั้การดำเนินงาน และรายได้จาก Doris Duke Charitable Foundation (DDCF) อีกที

สามารถเข้าชม หรือติดต่อไปชมของจริงได้ที่ : http://www.shangrilahawaii.org/Default.aspx


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 17:26
นอกจากบ้านหลักๆ นี้แล้ว แม่ดุ๊ก ยังมีบ้านหลังอื่นอีก เช่น แมนชั่นหลังใหญ่(มาก) บนถนนEast 78th Street แมนฮัตตัน นิวยอร์ค  ซึ่งเธอฟ้องแม่ ไม่ให้ขายแมนชั่นหลังนี้ เธอก็ได้บริจาคให้กับ New York University จัดตั้งเป็น the Institute of Fine Arts โดยใช้ชื่ออาคารว่า James B. Duke House

อีกหลังก็ "Falcon's Lair" ใน Beverly Hills, California, ที่เธอเสียชีวิต บ้านหลังนี้ เธอยกสิทธิ์พักอาศัยให้ Bernard Lafferty บัตเลอร์แสนรักของเธอ, พ่อหนุ่มก็เข้า "นั่งซัง" แทนเจ้าแม่คนก่อน (แทนที่จริงๆ เพราะตา Lafferty ก็นอนเตียงเก่า เตียงเดียวกับแม่ดุ๊ก และเอาเสื้อผ้าของแม่ดุ๊ก ออกมาใส่ สวยงาม !!!!! (อันนี้, ข่าวเขาว่านะ) ก่อนที่จะถูกฟ้องขังไล่โดย มูลนิธิของแม่ดุ๊ก บ้านหลังนี้ ถุกขายไปเมื่อปี ๑๙๙๘ ปัจจุบัน มีราคา เกือบ ๑๐ ล้านเหรียญ

ยังมีที่ดิน บ้าน แมนชั่นหรูหรา อีกหลายหลังเล่าคงไม่จบ ........ มาดูเรื่อง สังหาริมทรัพย์ หรือ สมบัติของสะสมของเธอดีกว่า อันนี้ ก็น่าสนใจ เพราะ "รีเทิร์น กลับสู่ตลาด อย่างเป็นข่าครึกโครม"


ท่านใดสนใจ ชีวิตของเธอ หาหนังสืออ่านได้ มีวีดีโอ ให้ดู เข้าไป Amazon.com ได้จ๊าาาาา......


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 17:27
พูดถึง Doris Duke Charitable Foundation (DDCF) แล้ว แม้จะได้รับมรดกพกห่อ จากแม่ดุ๊กมาบริหารทั้งหมด (ประมาณว่า ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญ!!!)

 แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการบริจาค ในการกุศลมากมายมหาศาลเหมือนกัน ถ้าเธอไม่ทิ้งการลงทุนไว้ให้ ก็ยากที่จะดำเนินการได้

การดำเนินการทุกอย่างย่อมมีค่าใช้จ่าย และมีการบริหารจัดการ .........

DDCF หลังจากที่ได้ตั้งขึ้นในปี ๑๙๙๖ แล้ว ก็ต้องจัดการกับทรัพย์สินของแม่ดุ๊ก และจัดสรรเงินให้กับองค์การ การกุศล หน่วยงาน ที่แม่ดุ๊กเธอสั่งเสียไว้

ส่วนของเงินบริจาค กองทุนมูลนิธิ ก็มีเงินจากรายได้อยู่แล้ว ก็กระจายไปตามที่เห็นสมควร (ภายใต้กรอบพินัยกรรมของแม่ดุ๊ก)

ส่วนศิลปะวัตถุ และสิ่งของต่างๆ ทางมูลนิธิ ก็ต้องหาวิธีจัดการ ...... ก็แม่เธอ มีของมากจริงๆ จะเก็บไว้ทั้งหมด ก็เป็นภาระหนักเอาการอยู่ หลายๆ ส่วนจึง



ภาพนี้ เป็นรายงานสัดส่วนการบริจาคการจัดสรรเงินสนับสนุนการกุศลต่างๆ  ของ DDCF




กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 17:34
DDCF ตัดสินใจ นำสมบัติของ แม่ดุ๊ก ออกมาประมูล ในปี ในระหว่างวันที่ ๒-๔ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๐๔ เป็นครั้งใหญ่ ซึ่งดำเนินการโดย บริษัทประมูลชื่อดัง Christie's   

งานประมูลประกอบไปด้วย จิวเวอร์รี่, ของสะสม, เฟอร์นิเจอ ของตกแต่ง, ศิลปะวัถตุ และ แม้กระทั้งไ้วน์ ........

มีแคตตาล็อกเป็นพิเศษ ชื่อ The Doris Duke Collection



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 18:26
ในการประมูลครั้งนี้ มีไฮไลท์ มากมาย

ในหมวดจิวเวอร์รี่ ก็เช่น สร้อยคอมรกตบีท (เม็ดมรกตแบบเม็ดลูกประคำ) พร้อมสร้อยข้อมือเข้าเซ็ทกัน, แหวนเพชร emerald cut ๑๙.๗๒ กะรัต จากร้าน Tiffany & Co., สร้อยคอเพชร Belle Époque diamond and pearl pendant ของ Carteir (ชิ้นใหญ่ ๆ เป้งๆ มักเป็นของแม่เธอ ของแม่ดุ๊กเอง มักเป็นของชิ้นกำลังดี แต่มีดีไซน์มากกว่าความใหญ่)



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 18:33
ในหมวด ไวน์ เช่น แชมเปญ Dom Pérignon-Vintage 1921 , Château d'Yquem-Vintage 1929 (ไวน์หวานที่ดีที่สุดในโลก ตัวหนึ่ง) และ Romanée Conti-Vintage 1934 ซึ่งเป็นไวน์ที่เรียกกันว่า แพงที่สุดในโลก DDCF ก็เอาออกมาประมูลซ่ะ  ๑๘ ขวด !!!

แม่ดุ๊ก มี cellar ไวน์ ขนาดใหญ่ บรรจุไวน์ ฝรั่งเศสชั้นดี ซึ่งเธอไม่ได้ไปตามซุปเปอร์มาเก็ตแล้วซื้อมาทีละสอง สามขวด , ของเธอ ไวเนอรี่ชื่อดัง และเจ้าของชาร์โตในฝรั่งเศส จะต้องส่งจดหมายมาถึงเธอ แนะนำว่า วินเทจใหม่ของเขาดีอย่างไร  แล้วเธอก็จะส่งจดหมายตอบว่า จะเอาทีละกี่ ลัง หรือ กี่สิงลัง !!!!!!

ถ้าดูตามหนัง Bernard and Doris  ตา Lafferty นี่เป็นขี้เหล้ามีรสนิยมเริ่ดหรู ลักกินไวน์ราคาแพงของแม่ดุ๊ก เป็นลังๆ พอเธอลงมาสำรวจ เซลล่าไวน์ กลับไล่พนักงานดูแลห้องไวน์ ออก แทน !!!!!

Cellar ไวน์ของ แม่ดุ๊ก ยังน่าจะเก็บไวน์ดีๆ ของโลกไว้อีกมาก (เอามาประมูลแค่นิดเดียว) ทาง DDCF คงรอให้มูลค่าของไวน์ สูงขึ้น (เพราะเธอมีแต่ของเก่าเก็บและหายาก แพงขึ้นทุกปี) คงเปิดประมูลอีกต่อๆ ไป ......



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 18:38
ของอื่นๆ ก็เป็นพวกแต่งบ้าน และมีศิลปะวัตถุ บ้าง มีชิ้นเด็ดๆ หลายอัน

ท่านใดสนใจ เข้าไปดูรายการ The Doris Duke Collection ได้ที่

http://www.christies.com/special_sites/duke_jun04/highlights.asp?sale=1


ตัวอย่างเช่น โคมไฟ ดูเขรอะๆ แต่สวยชิ้นนี้ เป็นผลงานของ ร้านอัญมณีชื่อดัง Tiffany Studios  มีราคาประเมินอยู่ที่ ๖๐๐,๐๐๐ - ๙๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ !!!!


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 18:43
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  เป็นเพียง การแนะนำให้รู้จักว่ แม่ดุ๊ก หรือ Doris Duke คือใคร......... เธอมีความสำีัคัญกับการสะสมอย่างไร


มีคนกระทุ้งล่ะ ว่า นอกเรื่องไปไกล เลี้ยวเข้าเรื่องเสียที.........


หนึ่งในของสะสมของเธอ ก็คือ ศิลปะไทย ที่เธอพยายามรวบรวมไว้้ เพื่อทำเป็นโครงการ "Thai Village" ในสหรัฐอเมริกา


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 20:05
Doris Duke กับ มรดก ศิลปะไทย

ดอริส ดุ๊ก เกิดขึ้นมาบนกองเิงินกองทอง กว่าเธอจะได้มีอิสระเสรี ก็เมื่อเธอ ได้รับมรดกของบิดา และแต่งงานครั้งแรก เมื่ออายุ ๒๓ ปี กับ James H. R. Cromwell ทั้งสอง ออกเดินทางฮันนีมูนรอบโลกด้วยกันในปีค.ศ. ๑๙๓๕ โดยเดินทางท่องเที่ยวใน อียิปต์, อินเดีย, สิงค์โปร์, ไทย, อินโดนิเซีย, ฟิลิปปินส์, ฮองกง,จีน, ญี่ปุ่น การเดินทางไปในเอเชียครั้งนี้ ทำให้ แม่ดุ๊ก หลงรักความเป็นโลกตะวันออกอย่างจัง......พร้อมๆ กับหลงใหลโลกศิลปะมุสลิม

ในการเดินทางครั้งนี้ ก็นับป็นครั้งแรก ที่แม่ดุ๊ก เดินทางมาเยือนเมืองไทย ......

(ในภาพ รบกวนคุณ Siamese ช่วย Key ด้วยว่า น่าจะเป็นสถานที่ใด? ขอเชิญท่านผู้เชียวชาญด้านภาพอย่างเอกอุ โปรดชี้แนะ)


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 21:14
การมาฮันนีมูนครั้งแรกนี้ ดูเหมือนแม่ดุ๊ก จะตกหลุมรักศิลปะตะวันออกกลางก่อน หลังจากจบทริปฮันนีมูนแล้ว เธอก็เริ่มก่อร่างสร้าง บ้าน Shangri La ที่ฮาวาย เพื่อเป็นบ้านพักในระหว่างฤดูหนาว ด้วยศิลปะอิสลาม ในหนังสือศิลปะของเธอกล่าวว่า เธอชอบ ทัชมาฮัลมาก แต่เธอคงคิดว่า จะจำลองมายังไงเนี้ยยยยย..... จะให้สวย ให้เริ่ด เหมือนของจริง เธอคงประมาณหมดตัวพอดี,  ทำอย่างอื่นดีกว่า ..........จึงออกมาเป็น บ้าน    แชงกาลีร่า ที่ ด้านนอกเรีบบหรู ดูเหมาะกับริมทะเล (เพราะสร้างด้วย หินด้วยปูนทั้งนั้น) แต่ด้านในซิ !!!!! แทบจะเป็นสวรรค์บนดิน.......


จนกระทั้ง เดือน มีนาคม ค.ศ. ๑๙๕๗  ในระหว่างท่องเที่ยวเอเชีย,   แม่ดุ๊ก แวะเดินทางมายังเมืองไทย กับกิ๊กของเธอ (เลิกกับสามีคนที่ ๑ แล้ว) คือ Joe Castro นักดนตรีแจ็สชื่อดัง และ เพื่อนของเขา Parviz กวีชาวอีหร่าน,  การมาเมืองไทยครั้งนี้ แม่ดุ๊กได้พบกับ François Duhau de Bérenx   ...... นาย de Bérenx จึงอาสาเป็นไกด์ พา แม่ดุ๊กและคณะท่องเที่ยวบางกอก พานั่งเรือชมทัศนียภาพตามคลองในกรุงเทพ

ต้องนึกว่า ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สภาพกรุงเทพฯ คงยังน่าหลงไหลเพียงใด ได้ชมธรรมชาติ กับวิธีชีวิตของชาวไทย ที่ฝรั่งไม่เคยสัมผัส แน่นอนหล่ะ การท่องเที่ยวครั้งนี้ ทำให้แม่ดุ๊ก เธอติดในบรรยากาศชีวิตตามสายน้ำของคนไทยอย่างจังหนับ........


จบท้ายของทริป ด้วยการที่ แม่ดุ๊ก ได้รับเชิญไป ทานดินเนอร์ ที่ วังสวนผักกาด ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงศ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และหม่อม พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ....... เรา, ท่านก็ทราบดีว่า วังสวนผักกาดนี้ เป็นแหล่งรวมของศิลปะวัตถุไทย ชั้นเลิศ มีการจัดวางได้อย่างดีเยี่ยม และท่านเจ้าของบ้าน (วัง) ก็ทรงเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือ   เมื่อ แม่ดุ๊ก ได้มาเห็นหมู่เรือนไทยหลังเล็กกระทัดรัด และ ศิลปะไทยของสะสมของ พระองค์จุมภฏ และของคุณท่าน ซึ่งจัดวางกับเครื่องเรือนและของสมัยใหม่จากยุโรปได้อย่างลงตัว กับทั้งอัธยาศัยไมตรีของเจ้าบ้าน ซึ่งก็เปรียบเสมือนตัวแทนของคนไทยทุกคน ก็หลงรัก อย่งแรง !!!!! เหมือนเช่นเมือ ๒๐ ปีที่แล้ว ที่เธอตกหลุมรัก ศิลปะโลกมุสลิม

ภาพ : ตู้พระธรรมขาสิงห์ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หนึ่งในคอเล็กชั่น ของแม่ดุ๊ก ไม่ได้แจ้งว่า ส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์ใด อาจจะเป็นหนึ่งในหลายใบ ที่กลับมาอยู่ในเมืองไทย หลังจากออกนอกประเทศไป หลายสิบปี......



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 12 ก.ค. 12, 21:36
François Duhau de Bérenx นี้ เป็นฝรั่ง ที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย เขาว่าเป็นมัณฑนากร และ นายหน้าค้างานศิลปะหนุ่ม ซึ่งขณะนั้น ทำงานให้กับ ร้าน Star of Siam ร้านขายผ้าไหม และเสื้อผ้าสำเร็จรูป(เจ้าแรกๆ ) ของ Mrs. Vera Sykmam ที่โรงแรมเอราวัณ  

ค.ศ. ๑๙๕๙, สองปีหลังจากพบแม่ดุ๊กครั้งแรก de Bérenx ได้รับเชิญจากแม่ดุ๊ก ให้ไปเยือนบ้าน Shangri La ที่ฮาวาย เพื่อหารือโครงการในการจำลองวิธีชีวิต คนไทย บ้านไทย และศิลปะไทย ที่เธอได้ประสบพบเจอมา  (เช่นเดียวกับทำบ้าน Shangri La เป็นศิลปะมุสลิม) โดยสิ่งที่เธอประทับใจมากที่สุดคือ บ้านทรงไทยของวังสวนผักกาด วิธีชีวิตคนไทยริมแม่น้ำ และศิลปะกรรมในพระบรมมหาราชวัง กับทั้งศิลปะวัตถุของไทยทั้งหลาย

แม่ดุ๊ก ตกลงให้ de Bérenx เป็นนายหน้าหางานศิลปะวัตถุของ ไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พม่า ลาว เขมร เป็นต้น) โดยกำชับว่า "ต้องเป็นของดี เท่านั้น" กระโหลกกะลา หาได้ทั่วไป ฉันไม่เอาน่ะ ต้องสวยที่สุด หายากที่สุด ตามคอนเซ็ปคนสวย รวย และเริ่ด อย่างฉันเท่านั้นย่ะ !!!!!

เธอจึ่งเริ่มปฏิบัติการ ด้วยการ เปิดบัญชีที่กรุงเทพฯ สำหรับส่งเงินให้ de Bérenx มองหาซื้อของให้ โดย de Bérenx จะต้องเขียนจดหมายรายงานความคืบหน้าทุกอาทิตย์ ......

de Bérenx และลูกน้องคนไทย จึงเดินทางไปยังอยุธยาและจังหวัดต่างๆ ล่า หา ของเก่าชิ้นเด็ด จัดส่งไปให้ แม่ดุ๊ก ที่สหรัฐอเมริกา มากมายมหาศาล......

สมัยช่วง กึ่งพุทธกาลนั้น ภาคราชการยังไม่ได้มีกฏระเบียบเรื่อง การส่งออกศิลปะวัตถุ อันเป็นสมบัติของชาติไปยังต่างประเทศ การส่งออกหรือขายให้กับชาวต่างชาติ ขายไปเมืองนอก ก็ทำได้โดยไม่ลำบากยากเย็นนัก........  ฝั่งนั้น มีตังค์ ฝั่งเรามีของ Demand Supply เกิด - ของเก่าของไทยจำนวนมหาศาลจึงไปอยู่ในมือ ฝรั่งต่างชาติเสียมาก ...... ไม่ใช่แต่ คนที่เก็บ เล่น สะสมของเก่าเท่านั้น ตามมหาวิทยาลัย และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ก็ ออร์เดอร์ สั่งซื้อศิลปะของเก่า ของไทย ไปไว้ให้พิพิธภัณฑ์ ต่างชาติมากมาย  พุธโธ่ .....ของเก่าชิ้นหนึ่ง สมมุติ ๑๐,๐๐๐ บาท บ้านเราว่า แพงแล้ว เมื่อเทียบกับฝรัี่ง มันก็แค่ไม่กี่ร้อยเหรียญ งบก็เยอะ ของดีๆ กว่าครึ่งไทย จึงหายไปจากประเทศเสียหมด !!!!!!!

ตา de Bérenx ได้เป็นคณะกรรมการจัดสร้างบ้านไทยที่สหรัฐอเมริกาอยู่ด้วยตั้งแต่แรก, หาของให้แม่ดุ๊ก อยู่ กว่า ๔ ปี แล้วคงมีปัญหากัน สุดท้าย ในปี ค.ศ. ๑๙๖๓ เขาก็ออกจากคณะกรรมการ และหยุดหาของให้แม่ดุ๊ก โดยส่งของล็อตสุดท้ายให้เธอ เป็นเงินกว่า ๑๑,๘๐๐ เหรียญสหรัฐ

สิ่งของที่  de Bérenx หาให้ หลายชิ้นก็สืบค้นได้จากจดหมาย และเอกสารของมูลนิธิของแม่ีดุ๊ก หลายๆ ชิ้น (น่าจะระยะหลังๆ แล้ว) บางทีก็เป็นของใหม่ คือ แสดงศิลปะความเป็นไทยเท่านั้น ไม่ใช่ของเก่าซ่ะแล้ว(ถ้าเก่าก็เก่่าไม่มาก ๒๐-๓๐ ปี)  เช่นพวกเครื่องดนตรี ต่างๆ ก็ไปปรากฏอยู่ในมิวเซีย ว่า de Bérenx เป็นคนจัดหาให้แม่ดุ๊ก

จากนั้นมา ก็มีข่าวว่า ตา de Bérenx ไปทำมาหากิน ค้าของเก่าอยู่ที่ฮองกง จบเรื่อง คนหาของ ส่งให้เธอรายแรกไป หนึ่งราย..........

ภาพ หีบพระมาลัย และสมุดข่อย เขียนสี สภาพสมบูรณ์มาก ปัจจุบัน เก็บรักษาไว้ที่ Asian Art Museam of San Francisco



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 16 ก.ค. 12, 22:46
ปีค.ศ. ๑๙๖๑ แม่ดุ๊ก ตั้งองค์กรขึ้นเพื่อเป็นตัวจักรในการดำเนินการโครงการ หมู่บ้านไทย ที่เธอวาดฝัน ชื่อ "The Thai House Foundation"  และเปลี่ยนเป็น Foundation for Southeast Asian Art and Culture (SEAAC) ในเวลาต่อมาจนปัจจุบัน โครงการของเธอ ย่อมไม่ใช่แค่ เอาบ้านไทย ๓-๔ หลัง ไปตั้งไว้ที่ฮาวาย เฉยๆ เป็นแน่ ระดับ "ตัวแม่" แล้ว เธอฝันที่จะจำลองของสำคัญ ชนิดแข่งกับ คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ (เมืองโบราณ) เชียวแหล่ะ  ...... เธอชี้นิ้วเลย ฉันจะเอา พระอุโบสถวัดพระแก้ว กับปราสาทพระเทพบิดร ไปจำลองไว้ที่ฮาวาย ย่ะ !!!!!!!!!!

ช่วงทศวรรษ ๑๙๖๐'s แม่ดุ๊กของเรา "อิน" กับศิลปะไทย และประเทศไทยมาก เธอเดินทางมาเมืองไทยเป็นว่าเล่น  ช่วงนี้เธอได้ "เพื่อเก่า" ที่โคจรมาเจอ และชอบศิลปะไทย เฉกเช่นเดียวกัน คือ Jim Thompson (เธอเคยเจอกับเขาที่สหรัฐอเมริกา เมื่อทศวรรษ ๑๙๓๐'s มาก่อนแล้ว) ทั้งจิม ทอมป์สัน และแม่ดุ๊ก ต่างก็ ชื่นชมในศิลปะไทย และของประเทศเพื่อนบ้าน อย่างล้ำลึก ยิ่งเธอได้เห็นบ้านของจิมที่กรุงเทพฯ ได้สนทนาวิสาสะ อย่างคนคอเดียวกัน คุยกันรู้เรื่องแล้ว ขีดความมุ่งมาด ปราถนา ก็พุ่งขึ้น เ...........  ว่ากันว่า เธอยอมลงทุนตาม จิม ไปช๊อปปิ้งของเก่า ที่เวิ้งนครเกษม (แต่ในหนังสือเรียกไม่เพราะเลยว่า Thieves' Market คงต้งองการแสดงให้เห็นนั้นแหล่ะว่า เธอยอมลงทุนลงแรงแค่ไหน) 

ดอริส ดุ๊ก เริ่มสั่งให้หาที่ดิน แปลงงามในฮาวาย สำหรับโปรเจ็คนี้ เธอให้ไอเดียว่า ที่ดินที่เธอต้องการ ที่สำคัญคือ ต้องมี ลำน้ำไหลผ่าน เช่นเดียวกับ "คลอง" ที่เธอเห็นที่เมืองไทย และ (ฮาวายมีหลายเกาะ) เพื่อจะได้เป็นที่สงบ ร่มเย็น สมเป็นบ้านริมคลอง งานนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องหมูๆ ของบรรดานายหน้าค้าที่ดิน ......


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ค. 12, 07:20
Doris Duke กับ มรดก ศิลปะไทย

ในการเดินทางครั้งนี้ ก็นับป็นครั้งแรก ที่แม่ดุ๊ก เดินทางมาเยือนเมืองไทย ......

(ในภาพ รบกวนคุณ Siamese ช่วย Key ด้วยว่า น่าจะเป็นสถานที่ใด? ขอเชิญท่านผู้เชียวชาญด้านภาพอย่างเอกอุ โปรดชี้แนะ)

เธอยืนถ่ายภาพเบื้องหลังเป็นพระเศวตกุฎาคารวิหารยอด ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามครับ


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 21:56
ขอขอบคุณ คุณ Siamese ที่เข้ามาชี้แจง  นี่ถ้าให้ทำนาย ก็จะว่า คงเป็น อลาบาสเตอร์ + พระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาร์ธี ) กลับชาติมาเกิด จึงรู้แผนที่เมืองไทย เป็นอย่างเอกอุ .........

และแล้วแม่ดุ๊กกับ SEAAC ก็ตัดสินใจไม่ตกเสียที่ ว่าโครงการ "Thai Village" จะเลือกที่ดินแปลงงาม แปลงใดในฮาวายดี ? ......

มีการตกลงเลือกที่ดินแปลงหนึ่ง ใน Haiku Valley ขนาด  ๓๘.๕ เอเคอร์ และ ที่เช่าระยะยาวอีก ๗๗ เอเคอร์ แต่แม่ดุ๊กก็ติดใจว่า "ทำไมต้องเช่า ฉันมีเงินซื้อน่ะ !!!!!!"  สุดท้าย ที่ดินแปลงดังกล่าว ก็ถูกตีตราเป็น state park ไปก่อนที่จะมีการจ่ายเงิน จึงต้องรอหาที่ดินกันต่อไป

เป็นอันว่า โครงการ สร้างหมู่บ้านไทย ซึ่งเธอเคยเขียนจดหมายถึง de Bérenx ว่า "เราต้องการสร้างพิพิธภัณฑ์ ที่เป็นศูนย์กลาง ของศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต้องแสดงถึงวิธีชีวิตของคนไทย (We plan to use these houses to show how thw people from the country lived in ancient times.To create the true atmosphere of a home of this type,)"

โดยเธอประสงค์จะสร้าง บ้านเรือนไทยไม้สักขึ้น ๑๐ หลัง จำลองสถานที่สำคัญของไทยอีกมากมาย เช่น Sala และ Ubosot  คือ จำลอง "พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท" ในพระบรมมหาราชวัง, อุโบสถวัดพระแก้ว และปราสาทพระเทพบิดร ไว้ในหมู่บ้านไทย ที่สหรัฐอเมริกา จึงยังรีรอกันอยู่ ด้วย ยังหาที่ดินก่อสร้างไม่ได้.........

ภาพโมเดล โครงการ Thai Village ประมาณต้นทศวรรษ ๑๙๖๐'s


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:01
แบบร่างบ้านเรือนไทย ซึ่งเธอได้ว่าจ้าง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยชื่อดังในกรุงเทพฯ ด้านสถาปัตยกรรมไทย เป็นคนวาดแบบ และโครงร่างของโครงการ


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:05
ฝาประกน ซึ่ง สั่งมาจากเมืองไทย หมายว่าจะทำหมู่บ้าน เรือนไทย ไม้สัก ๑๐ หลัง แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ..... เรือนไทยเหล่านี้ แม่ดุ๊กเอง ก็ต้องศึกษามาอย่างดีพอ เพราะเธอเคยเขียนจดหมายเล่าให้่คนอื่นฟังว่า บ้านเรือนไทยนี้ จะต้องไม่มีการตอกตะปูเหล็ก !!!! ต้องใช้วิธีการเข้าลิ่มไม้ อย่างไทยแท้ เท่านั้น และต้องสร้างอย่างถูกต้องตามวิธีของชนชาติไทยเท่านั้นด้วย !!!!!!


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:10
สมัยก่อน บ้านไทยยังมีมาก คงแห่ขายฝรั่ง ขายคนมีเงินกันอุตลุต อย่างคอเล็กชั่นของแม่ดุ๊ก ก็มีมากมาย สร้างบ้านได้ ถึง ๑๔ หลัง มีกระเบื้องหลังคาดินเผา ๔๐๐,๐๐๐ ชิ้น และ กระเบื้องหลังคาดินเผาแบบเคลือบ อีก ๑๐๐,๐๐๐ ชิ้น พร้อมของสะสมอีกกว่า ๒,๐๐๐ รายการ......


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:26
ในระหว่างที่เธอรอ ที่ดิน ที่เหมาะสมในการสร้าง หมู่บ้านไทยในฮาวายนั้น เธอก็เก็บ และ เก็บ และ เก็บ สะสมศิลปะวัตถุของไทยไปด้วย ......

นอกจากสั่งของเก่า จากเมืองไทยแล้ว บางสิ่ง ที่เธอต้องการ ก็ไม่สามารถ ใช้เงินซื้อได้ เช่น เธอต้องการ พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง !!! เป็นต้น หนทางเดียว ก็คือการทำ "จำลอง (replica)"

แม่ดุ๊กได้ว่าจ้าง บริษัท เจริญแสงไทย ? (Charoen Sengthai Limited Partnerships) ซึ่งเป็นเจ้าเดียวกับการจำลอง พระที่นั่งอาภรณ์ฯ ให้กับงาน World Fair ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม ในปีค.ศ. ๑๙๕๘ ซึ่งปัจจุบัน ศาลาจำลองนี้อยู่ที่ สวน Olbrich Botanical Garden มลรัฐวิสคอนซิล สหรัฐอเมริกา

คาดว่า ตัวศาลาจำลองนี้ น่าจะทำที่เมืองไทย โดยบริษัทดังกล่าว แล้ว ถอดเป็นชิ้นๆ ขนส่งไปสหรัฐอเมริกา เพราะต้องมีการจ้างช่างไม้จากเมืองไทย


ภาพ พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกปราสาท ในพระบรมมหาราชราชวัง ภาพจาก วิกิพิเดีย


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:30
ศาลาจำลอง ที่ สวน Olbrich Botanical Garden ภาพจากวิกิพิเดีย


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:36
"ศาลา" ของแม่ดุ๊ก


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:38
ภาพจาก Facebook คุณ La Malila


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:39
ศาลาจำลองนี้ ประกอบเก็บไว้ในคอร์ทเทนนิส ภายใน Duke Farms


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:41
ภายหลังจากแม่ดุ๊ก เสียชีวิตแล้ว เนื่องจากเป็นของจำลอง (ของเลียนแบบ และเป็นของใหม่ ไม่ใช่ศิลปะวัตถุเก่าแ่ก่) จึงถูกนำออกประมูล เมื่อเร็วๆ นี้


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:42
ขนาด ก็จะใกล้เคียงกับองค์จริง ที่ไปจำลองมา


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:43
แต่ฝีมือ และความงดงาม ก็ได้โปรดไปชมของจริง แล วิจารณ์ กันดูครับ..........


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 23 ก.ค. 12, 22:44
ถึงอย่างไร ก็นับเป็นความพยายามที่จะเผยแพร่ศิลปะไทย อย่างหนึ่ง ....... ต้องยอมรับความพยายามของเธอ

ขอบคุณ ท่านเจ้าของ ภาพ ที่กรุณาอนุญาตให้นำมาเผยแพร่ เป็นวิทยาทาน กับผู้สนใจครับ


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 25 ก.ค. 12, 22:06

จบท้ายของทริป ด้วยการที่ แม่ดุ๊ก ได้รับเชิญไป ทานดินเนอร์ ที่ วังสวนผักกาด ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงศ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และหม่อม พันธุ์ทิพย์ บริพัตร .......


กราบขออภัย เป็นอย่างยิ่ง  ที่ถูกต้อง ต้องเป็น หม่อมราชวงศ์ พันธุ์ทิพย์ บริพัตร  



กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ค. 12, 07:35
ผมติดตามอ่านด้วยความสนใจมาโดยตลอดครับ

ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่


กระทู้: ศิลปะไทย ในมรดก ดอริส ดุ๊ก (Doris Duke)
เริ่มกระทู้โดย: piyasann ที่ 26 ส.ค. 12, 09:55
โครงการ จำลอง อุโบสถวัดพระแก้ว และ ปราสาทพระเทพบิดร นี้ ถ้าคิดว่า เป็นความตั้งใจดีของเธอที่จะนำศิลปะไทย ไปจัดแสดงที่ตะวันตก เป็นการเผยแพร่ความงดงามให้ชาวโลกได้เห็น ก็นับว่า ดี แต่คงหาคนไทย ทำได้ยากกกกกกก..... เพราะด้วยควา่มที่มีความเชื่อว่า เป็นของสูงค่า ทั้งทางสังคม และศิลปะ  สิ่งก่อสร้างทั้งสองจึงต้อง ระเห็ดไปให้ บริษัท ไต้หวัน (ไทยหวัน-Taiwan) สร้างแทน (แต่ได้ศาสตราจารย์ ด้านสถาปัตยกรรมชาวไทย เป็นผู้ทำแบบให้)

...... หลายคนอาจกล่าวว่า ไม่เป็นการบังควร หรือประการใด ก็สุดแต่ความคิดเห็นครับ แต่เชื่ออย่างหนึ่งได้เลยว่า แม่ดุ๊กเธอตั้งใจดี และทำอย่างระมัดระวัง ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ศิลปะ และพุทธศาสนา เพื่อประกอบการจัดทำของเธอ .......

แต่แล้ว ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม โครงการของเธอก็มีอุปสรรค มากมายเหลือเกิน ทั้ง ผิดใจกับตา de Bérenx คนหาของ ระหว่างที่มี "ไฟ" ในการทำงานอยู่นี้ ก็เกิด เพื่อนสนิท ตายติดๆ กัน 3 คน  และยังมีเหตุการณ์ ไฟไหม้ ที่บ้าน Shangri La ซึ่งเป็นที่เก็บเรือนไทย ฝาประกน เสียหายไปอีกหลายหลัง  หมดทั้งไปกับไฟไหม้ และไฟในการทำงาน เธอจึงหมดกำลังใจในการทำงาน ไปเลย.......

นี้ถ้าเธอมาปรึกษากับ Doctor - Doo บ้านเราก่อน ก็คงได้รับคำแนะนำให้จุดธูปบนบานศาลกล่าว ขอขมาลาโทษ เอาฤกษ์ เอาชัย  หรือคงต้องพาเธอไป รดน้ำมนต์ "แก้กรรม" ซ่ะให้เข็ด แต่เรื่องนี้ ก็ผ่านมาตั้งแต่ทศวรรษ ๑๙๗๐'s สมัยที่การแก้กรรม ยังไม่เกิดกระมัง !!!!!


ไม้แกะสลักประดับกระจกหุง รูปพระนารายณ์ ซึ่งเป็นสิ่งของชิ้ันแรกๆ ของ SEAAC