เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: visitna ที่ 16 ม.ค. 14, 07:21



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ม.ค. 14, 07:21
วัดอะไร

ปัจจุบันหน้าตาคงจะเปลี่ยนไปมาก



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 14, 07:48
สถานตากอากาศบางปู กับการรำวง ยุค ๒๔๙๓  อ.เทาชมพูจำ Slider บริเวณปลายสะพานสุขตาได้ไหม ภาพนี้เห็นอยู่มุมขวามือเลยครับ ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 ม.ค. 14, 08:53
ภาพนี้มีคำบรรยายว่า
แนวเส้นทางรถราง บริเวณเชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ ใกล้สถานีหัวลำโพง
กรุงเทพมหานคร | Bangkok ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1950 (พ.ศ.๒๔๙๓)
Photographer: Dmitri Kessel  Image Source: LIFE magazine


สถานที่เดียวกัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 14, 09:28
สมัยดิฉันไปบางปู  slider น่าจะถอดออกไปแล้ว เพราะจำไม่ได้เลยค่ะ   แต่ห้องโถงยังอยู่  สะพานไม้ทอดไปดูทะเลโคลนก็ยังอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ม.ค. 14, 13:25
สถานตากอากาศบางปู กับการรำวง ยุค ๒๔๙๓  อ.เทาชมพูจำ Slider บริเวณปลายสะพานสุขตาได้ไหม ภาพนี้เห็นอยู่มุมขวามือเลยครับ ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=46153;image)

สองภาพนี้อยู่ตรงกลางเลยทีเดียว  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ม.ค. 14, 17:12
ขอถามคุณหนุ่มสยาม ว่าถนนนี้เป็นถนนอะไร (สายยาว ซ้ายบนมาขวาล่าง)

มีโรงหนังอะไรอยู่บ้าง

ถามจริงๆผมไม่รู้ คิดว่าอาจจะเป็นเจริญกรุง (จำทิศทางไม่ได้แม่น)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ม.ค. 14, 19:02
คุณดิมิทรีแกถ่ายจากที่สูง   บนยอดตึกไหนหนอ?
หรือบนเครื่องบิน?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 14, 19:07
ขอถามคุณหนุ่มสยาม ว่าถนนนี้เป็นถนนอะไร (สายยาว ซ้ายบนมาขวาล่าง)

มีโรงหนังอะไรอยู่บ้าง

ถามจริงๆผมไม่รู้ คิดว่าอาจจะเป็นเจริญกรุง (จำทิศทางไม่ได้แม่น)



ใช่แล้วครับ ถนนนี้คือ ถนนเจริญกรุง ช่วงขนานกับเยาวราช


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ม.ค. 14, 19:41
คุณดิมิทรีแกถ่ายจากที่สูง   บนยอดตึกไหนหนอ?
หรือบนเครื่องบิน?

สูงขนาดนี้ เป็นเครื่องบินครับผม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ม.ค. 14, 10:10
ขอบคุณค่ะ   เป็นช่างภาพ หาเครื่องบินมาโฉบเหนือกรุงเทพ ถ่ายภาพในระยะใกล้  ไม่ธรรมดาจริงๆคุณช่างภาพคนนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 17 ม.ค. 14, 12:18
ขอถามคุณหนุ่มสยาม ว่าถนนนี้เป็นถนนอะไร (สายยาว ซ้ายบนมาขวาล่าง)

มีโรงหนังอะไรอยู่บ้าง

ถามจริงๆผมไม่รู้ คิดว่าอาจจะเป็นเจริญกรุง (จำทิศทางไม่ได้แม่น)



ตรงกลางภาพที่เห็นคือ แยกหมอมี หรือสามแยกต้นประดู่ที่มีโรงพักสามแยกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ปัจจุบันตรงนี้เป็อาคารธนาคาร UOB สาขาสามแยก

ถนนเจริญกรุงจากภาพด้านบนลงมา ถนนเจิญกรุงจะหักเบนออกไปทางซ้ายของภาพผ่านย่านตลาดน้อย ตรงไปยังสะพานพิทยเสถียร ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปสี่พระยา หรือที่เรียกว่า สะพานเหล็กล่าง ในสมัยก่อน

ถนนเส้นตรงที่ต่อจากถนนเจริญกรุงที่แยกหมอมีคือถนนพระรามสี่ ผ่านวัดไตรมิตรวิทยาราม ตรงไปยังสะพานเจริญสวัสดิ์ ๓๖ ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมผ่านไปทางหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง

ถนนเส้นพาดขวางจากซ้ายไปขวาของภาพคือถนนทรงสวัสดิ์ จากวัดสัมพันธวงศ์ ตัดกับถนนเยาวราชที่แยกเฉลิมบุรี ไปสุดที่วงเวียน ๒๒ กรกฎา

อาคารตึกสองชั้นหลังคาจั่ว คือโรงหนังสิริรามาหรือโรงหนังพัฒนาการเดิมข้างโรงพยาบาลกว๋องสิวใกล้สี่แยกแปลงนาม
อาคารตึกสองชั้นด้านซ้ายของภาพที่เห้นเพียงครึ่งหลังคือโรงหนังเฉลิมบุรี ที่มีร้นลอดช่องสิงคโปร์อันลือชื่ออยู่ใกล้ๆ
มุมบนขวาของแยกหมอมีหลังตึกริมถนนเจริญกรุงตัดถนนดำรงรักษ์ คือ ตรอกมะขาม อันลือลั่นในอดีตไม่แพ้ย่านต้นขนุนริมคลองรอบกรุงหลังศาลอาญา ที่ ป. อินทปาลิต ยังเอ่ยถึงในหนังสือชุดสามเกลอ

เทียบเทียบกับแผนที่และภาพนี้ครับ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ม.ค. 14, 08:29
ช่างภาพของไลฟ์  อีกคนที่เข้ามากรุงเทพเมื่อ ปี คศ 1955

คือ  Howard Sochurek  มาเก็บภาพไว้ไม่มาก แต่ฝีมือยังสู้ Kessel ไม่ได้





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ม.ค. 14, 08:32
เพิ่ม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ม.ค. 14, 16:16
5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนิน
พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
ทรงทอดพระเนตรการทำนาและกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในภาพ  ทอดพระเนตร pantograph

(ก่อนหน้า สวรรคต แค่สี่วัน  สวรรคตเมื่อ9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ม.ค. 14, 16:37
5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนิน
พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
ทรงทอดพระเนตรการทำนาและกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในภาพ  ทอดพระเนตร pantograph

(ก่อนหน้า สวรรคต แค่สี่วัน  สวรรคตเมื่อ9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)

เป็นพระราชกรณียกิจครั้งหลังสุดของพระองค์ หลังจากทรงหว่านข้าวในแปลงนาสาธิต หลังจากนั้นก็ทรงท้องเสีย ประทับในพระที่นั่งบรมพิมานไม่ได้เสด็จออกไปไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ม.ค. 14, 11:44
ชมบ้านสวยๆในกรุงเทพฯอีกหลัง ไม่ทราบว่าเป็นบ้านของท่านใด อยู่แถวไหน?

บรรยายว่าภาพในเมือง ของกรุงเทพ พศ2479

จะเรียกว่าทรงขนมปังขิงได้หรือไม่?



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ม.ค. 14, 12:08
สวยจริงๆ บรรยากาศนึกถึงถนนสาทร   สตรีผู้แต่งกายเก๋ไก๋ยืนประกอบภาพอยู่คงเป็นเจ้าของบ้าน
เธอคงจะเป็นไฮโซคนหนึ่งในยุคนั้น
ยังดูไม่ออกว่าตรงที่เธอยืนคือหน้าบ้านหรือว่าหลังบ้าน   รู้แต่ว่าทางตรงนี้คือให้รถแล่นมาจอดเทียบ แล้วคนในรถก็เข้าทางด้านข้างของบ้าน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 25 ม.ค. 14, 12:32
5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนิน
พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
ทรงทอดพระเนตรการทำนาและกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในภาพ  ทอดพระเนตรpantograph
 
(ก่อนหน้า สวรรคต แค่สี่วัน  สวรรคตเมื่อ9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
เรียนถามคุณvisitna

pantograph คืออุปกรณ์ลอกแผนที่หรือภาพลายเส้น โดยที่แผนที่หรือภาพที่ได้จะมีขนาดใหญ่(หรือเล็ก?)ไปจากต้นฉบับ ใช่มั้ยครับ?

(ไม่อยากถามคุณกู๊ก กลัวไม่รู้เรื่อง)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ม.ค. 14, 13:36
ตามนั้นแหละครับ อาจจะเรียนถามผู้รู้ ผมรู้คร่าวๆตามนี้

http://en.wikipedia.org/wiki/Pantograph


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ม.ค. 14, 14:00
ชมบ้านเรือน ของชาวบ้านในคลองบางกอกน้อย พศ 2479

บ้านของ    เจ้าขรัวเงิน   ซึ่งเป็นภัสดาของพระพี่นางเธอในรัชกาลที่หนึ่ง

ที่ตั้งอยู่ตรงริมคลองบางกอกใหญ่หน้าวัดกัลยาณมิตร น่าจะมีรูปร่างคล้ายอย่างนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 25 ม.ค. 14, 15:07
ตามนั้นแหละครับ อาจจะเรียนถามผู้รู้ ผมรู้คร่าวๆตามนี้

http://en.wikipedia.org/wiki/Pantograph

ขอบคุณมากครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ม.ค. 14, 15:37
ชมบ้านสวยๆในกรุงเทพฯอีกหลัง ไม่ทราบว่าเป็นบ้านของท่านใด อยู่แถวไหน?

บรรยายว่าภาพในเมือง ของกรุงเทพ พศ2479

จะเรียกว่าทรงขนมปังขิงได้หรือไม่?



สวยจริงๆ บรรยากาศนึกถึงถนนสาทร   สตรีผู้แต่งกายเก๋ไก๋ยืนประกอบภาพอยู่คงเป็นเจ้าของบ้าน
เธอคงจะเป็นไฮโซคนหนึ่งในยุคนั้น
ยังดูไม่ออกว่าตรงที่เธอยืนคือหน้าบ้านหรือว่าหลังบ้าน   รู้แต่ว่าทางตรงนี้คือให้รถแล่นมาจอดเทียบ แล้วคนในรถก็เข้าทางด้านข้างของบ้าน

คำบรรยายภาพบอกว่า ถ่ายจากถนนสาทร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ม.ค. 14, 15:40
สวนผัก แถวสนามเป้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ม.ค. 14, 07:32
ถนนนครไชยศรี ราว พศ 2480-2490



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 14, 09:07
ดูจากรุ่นของรถยนตร์ที่จอดอยู่  น่าจะเป็นพ.ศ. 2490 มากกว่า 2480 นะคะ
ภาพนี้ถ่ายได้สวยมาก   มองเห็นบรรยากาศร่มรื่นและสงบเงียบของกรุงเทพเมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว  ต้นไม้ใหญ่ข้างทางช่วยไม่ให้ร้อน แม่ค้าไม่ต้องสวมงอบก็เดินหาบของขายไปได้ตลอดวัน
บ้านแต่ละหลังมีเนื้อที่เป็นสัดส่วน ไม่แออัด  ร้านค้าเล็กๆข้างทางมีประปรายไม่หนาแน่น   ลมพัดผ่านได้ง่าย    เห็นย่างก้าวของแม่ตค้าและสาวน้อยที่เดินข้ามถนนแล้ว รู้สึกว่าชีวิตสมัยนั้นจะดำเนินไปเอื่อยๆ ผ่อนคลาย ไม่รีบร้อน

นำชีวิตริมน้ำมาเสนออีกภาพค่ะ
ช่วยกันดูหน่อยว่า ลุงกับป้าขายอะไรในเรือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 14, 09:22
สี่แยกศาลาแดง พ.ศ. 2514    ถนนสายไหนเป็นสายไหนกันบ้างคะ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ม.ค. 14, 09:27
สนามม้านางเลิ้ง พ.ศ. 2513   รูปผู้สมัครเบอร์ ๖ ที่ติดอยู่บนต้นไม้ คุณมีชัย วีระไวทยะใช่หรือไม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ม.ค. 14, 09:46
รูปผู้สมัครคือคุณมีชัย วีระไวทยะ ปัจจุบันเงียบหายไปไม่มีข่าวเลย

รูปปี 2491 ถ่ายจากพระที่นั่งอนันตสมาคม มองไปที่ถนนราชดำเนิน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ม.ค. 14, 11:45

รูปปี 2491 ถ่ายจากพระที่นั่งอนันตสมาคม มองไปที่ถนนราชดำเนิน



นึกถึงบรรยากาศแห่งนี้ที่ชาวไทยสวมเสื้อสีเหลือง ร่วมกันถวายพระพรในหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ จังเลยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ม.ค. 14, 15:34
โบสถ์อัสสัมชัญหลังเก่า ที่สร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๓


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ม.ค. 14, 04:33
ดูจากรุ่นของรถยนตร์ที่จอดอยู่  น่าจะเป็นพ.ศ. 2490 มากกว่า 2480 นะคะ
ภาพนี้ถ่ายได้สวยมาก   มองเห็นบรรยากาศร่มรื่นและสงบเงียบของกรุงเทพเมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว  ต้นไม้ใหญ่ข้างทางช่วยไม่ให้ร้อน แม่ค้าไม่ต้องสวมงอบก็เดินหาบของขายไปได้ตลอดวัน
บ้านแต่ละหลังมีเนื้อที่เป็นสัดส่วน ไม่แออัด  ร้านค้าเล็กๆข้างทางมีประปรายไม่หนาแน่น   ลมพัดผ่านได้ง่าย    เห็นย่างก้าวของแม่ตค้าและสาวน้อยที่เดินข้ามถนนแล้ว รู้สึกว่าชีวิตสมัยนั้นจะดำเนินไปเอื่อยๆ ผ่อนคลาย ไม่รีบร้อน

นำชีวิตริมน้ำมาเสนออีกภาพค่ะ
ช่วยกันดูหน่อยว่า ลุงกับป้าขายอะไรในเรือ

ป้าขายอะไร มองของไม่เรือไม่ถนัด แต่ของลุงน่ะขายหมูแน่ๆ เห็นชิ้นหมูสามชั้นชัดเจน คุณสาวกำลังหยิบเงินจ่ายค่าหมูที่ห่อด้วยใบตองวางอยูาข้างๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ม.ค. 14, 11:43
ห้างไทยนิยม ผ่านฟ้า  อยู่ตรงข้ามกับโรงหนังเฉลิมไทย

เคยจัดเป็นอพาร์ตเมนต์ให้เช่าอยู่ช่วงหนึ่งแต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะคนไทยไม่ชอบอยู่ที่สูงๆ

ปรับปรุงใหม่ทำเป็นห้างขายสินค้า



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 14, 08:53
ถนนราชดำเนินในภาพข้างบนนี้ดูกว้างใหญ่      ไม่เหมือนปัจจุบันที่แคบจนไม่พอกับจำนวนรถ

ภาพข้างล่างนี้ ขอให้ทายว่าเป็นคลองไหนคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 14, 09:14
ถนนราชดำเนินนอก พ.ศ. 2502


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ม.ค. 14, 09:18
น่าจะเป็นคลองแสนแสบที่ใกล้สะพานเฉลิมโลก ประตูนํ้า

จะถ่ายตรงไหนนึกไม่ค่อยออก

สะพานเล็กด้านหน้าคือสะพานอะไรไม่เคยเห็น

สมัยก่อนแถวนี้ขึ้นชื่อเรื่องท่องเรือยอร์ช (ความจริงเป็นเรือแจวมุงกระแชง) 55



----------------------------------------------------------

ภาพต่อไป

บ้านเดี่ยวที่บางกะปิ ยุคประมาณ 2490 +-

น่าจะเรียกว่าบ้านทรงบังกะโล



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ม.ค. 14, 09:25
ถนนราชดำเนินในภาพข้างบนนี้ดูกว้างใหญ่      ไม่เหมือนปัจจุบันที่แคบจนไม่พอกับจำนวนรถ

ภาพข้างล่างนี้ ขอให้ทายว่าเป็นคลองไหนคะ

คลองบางกะปิ ท่าเรือประตูน้ำในอดีตครับ ท่าเรือในฝันของ อ. Navarat ในอดีตที่ล่อซื้อด้วยโอเลี้ยง  ;D



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 14, 09:29
คำตอบ - คลองแสนแสบค่ะ
คุณหนุ่มสยามเรียกคลองบางกะปิ หรือคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ม.ค. 14, 09:34
บ้านบังกะโลของคุณ visitna สะท้อนภาพสังคมสมัย 2490s ได้หลายอย่าง
1    ไม่ต้องกลัวขโมย   ดูทั้งรั้วบ้านที่กั้นไว้พอเป็นเขต ไม่ได้ป้องกันแข็งแรงแน่นหนา   บันไดทอดขึ้นสู่ห้องเจ้าของบ้านชั้นบนได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาปีน
2   อากาศไม่ร้อน    เพราะหลังคาแบนแบบนี้รับแดดจากใต้เพดานผ่านฝ้าลงมาที่ห้องได้มากกว่าหลังคาสูงๆ    แต่ห้องมีหน้าต่างหลายบาน ลมโกรกผ่านได้ไม่ร้อน
3  ไม่มีเหล็กดัดกันขโมย

เคยเห็นบ้านแบบนี้ยังพอหลงเหลืออยู่ในต่างจังหวัด  ในอำเภอเล็กๆ    เป็นบ้านพักของราชการที่สร้างมาหลายสิบปีแล้วยังไม่รื้อทิ้งค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ม.ค. 14, 09:36
เป็นบ้านหลังเดียวกัน  มุมมองจากด้านข้าง

แต่ถ่ายคนละครั้ง สังเกตุหม้อที่เสาหน้า เคลื่อนที่อยู่ต่างที่กัน

เป็นภาพปี พศ 2494

ต้นไม้ข้างๆคล้ายต้นมะรุม



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ม.ค. 14, 09:25
ตลาดหัวตะเข้ (พศ 2479) อยู่ริมคลองประเวศบุรีรมย์  ลาดกะบัง

เป็นชานเมืองที่ต้องอาศัยการเดินทางด้วยเรือในยุคก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 14, 10:19
เคี่ยนหงวนมอเตอร์ ถนนสุริยวงศ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 14, 10:22
สำนักงานหนังสือพิมพ์ Chino-Daily News   ค.ศ. 1897
ที่ไหนกันนี่?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ม.ค. 14, 16:17
หนังสือพิมพ์ชื่ออย่างนี้หาไม่เจอ เป็นชื่อ จีโนสยามวารศัพท์ ของนายเซียวฮุดเส็งหรือไม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 14, 16:33
จีโนสยามวารศัพท์ เริ่มออกจำหน่าย พ.ศ. ๒๔๕๐ แต่ข้อมูลบนคือ ค.ศ. 1897 ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๐ คงเป็นปีที่ถ่ายภาพตึก

อ.เทาชมพู ขอขยายข้อภาพในภาพได้ไหมครับ  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 14, 16:39
บรรยายไว้แค่นี้ค่ะ
The 1897 offices of the very influential "Chino-Siamese Daily News"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 14, 16:45
Siam Observer [English newspaper] printing office, circa 1895


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 14, 16:48
The house [and staff] of powerful merchant, Luang Suwanakit Chamnarn, 1897
ใครหนอ  คือคุณหลวงสุวรรณกิจชำนาญ ในรัชกาลที่ ๕?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: winter_rain ที่ 31 ม.ค. 14, 16:50
ปากคลองผดุงฯ

Chino-Siamese Daily News


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 14, 09:50
บรรยายไว้แค่นี้ค่ะ
The 1897 offices of the very influential "Chino-Siamese Daily News"


ดังนี้ก็เป็นของนายเซียวฮุตเส็ง ตามที่คุณ visitna  กล่าวมา และจากภาพคุณ Water Rain ยกมาจาก Twenty Century ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 14, 10:43
ตึกโค้งรับกับแนวถนนโค้ง และร้านขายของหน้าตึก วิถีแห่งกรุงเทพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.พ. 14, 19:52
ถนนสาธรใต้ ปี พศ 2479

มีคลองที่กว้าง ถนนแคบ บ้านริมถนนที่สวยงาม



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.พ. 14, 20:32
สวยจริงๆ  บรรยากาศน่าอยู่มาก
บ้านหลังนี้ยังอยู่มาจนปัจจุบันนี้หรือเปล่าคะ   หรือกลายเป็นตึกอาคารพาณิชย์ไปหมดแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 ก.พ. 14, 21:35
ถนนสาธรใต้ ปี พศ 2479

มีคลองที่กว้าง ถนนแคบ บ้านริมถนนที่สวยงาม



ถนนสาธรใต้ (ขอเขียนว่า สาธร แบบเก่าก่อน) สภาพใกล้เคียงกับที่อาจารย์ฯ นำภาพมาให้ชม ครั้งหนึ่งในชีวิต ผมได้เห็นบรรยากาศนี้ก่อน พ.ศ. ๒๕๑๖ ยังจำได้ว่าขึ้นรถเมล์สาย ๑๗ ที่เป็นสายเดียวที่แล่นเข้าไป บ้านต่างๆ ริมถนนส่วนใหญ่จะเป็นบ้านสองชั้น มีสนามกว้าง มีต้นไม้ใหญ่ปลูกอยู่ในพื้นที่รอบบ้าน รั้วบ้านจะเป็นรั้วไม้ตีโปร่งระดับเสมอเอวบ้าง บางบ้านปลูกต้นไม้แทนรั้ว จะเทียบกับสภาพปัจจุบันคงจะเป้นที่สวนลุมพินีที่ใกล้เคียงที่สุด

บ้านในแถบนั้นเกือบทั้งหมดจะเป็นที่พักของชาวต่างประเทศบ้าง สถานทูตบ้าง ปลูกอยู่กันห่างๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 14, 21:39
ถนนสาธรใต้ ปี พศ 2479

มีคลองที่กว้าง ถนนแคบ บ้านริมถนนที่สวยงาม



ถนนสาธรใต้ (ขอเขียนว่า สาธร แบบเก่าก่อน) สภาพใกล้เคียงกับที่อาจารย์ฯ นำภาพมาให้ชม ครั้งหนึ่งในชีวิต ผมได้เห็นบรรยากาศนี้ก่อน พ.ศ. ๒๕๑๖ ยังจำได้ว่าขึ้นรถเมล์สาย ๑๗ ที่เป็นสายเดียวที่แล่นเข้าไป บ้านต่างๆ ริมถนนส่วนใหญ่จะเป็นบ้านสองชั้น มีสนามกว้าง มีต้นไม้ใหญ่ปลูกอยู่ในพื้นที่รอบบ้าน รั้วบ้านจะเป็นรั้วไม้ตีโปร่งระดับเสมอเอวบ้าง บางบ้านปลูกต้นไม้แทนรั้ว จะเทียบกับสภาพปัจจุบันคงจะเป้นที่สวนลุมพินีที่ใกล้เคียงที่สุด

บ้านในแถบนั้นเกือบทั้งหมดจะเป็นที่พักของชาวต่างประเทศบ้าง สถานทูตบ้าง ปลูกอยู่กันห่างๆ

จำฮองเฮา อาบอบนวดได้ และบ้านแบบโบราณ ตั้งอยู่กลางพื้นที่กว่า ๕ ไร่ บ้านอยู่ตรงกลางสนามหญ้า งามสง่า มาก ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.พ. 14, 11:05
จะเป็น สาธร หรือ สาทร กันแน่

ผมมีเพื่อนผู้หญิงเรียนรุ่นเดียวกัน กรุ๊ปเดียวกันอยู่บ้านที่ริมถนนสาธรเหนือ

เคยไปจัดงานเลี้ยงรุ่นพี่ครั้งหนึ่ง   บ้านเขาเป็นตึกหลังใหญ่ กว้างขวาง

ตอนเรียนที่สนิทกัน    เราไม่สนใจประวัติศาสตร์ ตอนนั้นเลยไม่ได้ถามรายละเอียด

คิดว่าตระกูลเขาน่าจะเป็นพวกเจ๊สัวเก่า

หลังบ้านเขาเป็นพวก ตระกูลพยัคฆาภรณ์ และ ทวีสิน

บ้านหลังนี้     ปัจจุบันน่าจะกลายเป็นตึกบริษัทไบเออร์ ไปแล้ว (อยู่ตำแหน่งเดียวกัน)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.พ. 14, 14:44
ประเทศเวียตนามมีเรือดำนํ้าแล้ว โดยสั่งต่อจากรัสเซีย

ข่าวเร็วๆนี้  รัสเซียส่งมอบเรือดำนํ้าลำที่สองให้เวียตนามแล้ว

จากจำนวน 6 ลำที่เวียตนามสั่งซื้อจากรัสเซีย

ประเทศไทยเคยมีเรือดำนํ้าถึง 4 ลำ  

ต่อจากญี่ปุ่น  เมื่อ ปี 2480  เข้าประจำการปี 2481

ประเทศไทยปลดประจำการไปเมื่อปี 2494

...............ภาพในอดีต ........    เรือดำนํ้าสองลำของไทย(เบอร์ 3 และ 4)ที่จอดเทียบท่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.พ. 14, 22:23
จะเป็น สาธร หรือ สาทร กันแน่
"สาทร"  ค่ะ จากชื่อหลวงสาทรราชายุกต์ (เจ้าสัวยม) ผู้ขุดคลองพ่อยม หรือคลองสาทร  และตัดถนนจัดสรรที่ดินขายเป็นแปลงๆ  ต่อมาคือถนนสาทร
สะกดผิดเป็น สาธร อยู่หลายสิบปี   ต้องเปลี่ยนกันใหม่รวมทั้งเอกสารราชการด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ก.พ. 14, 07:23
หลวงสาทรราชายุกต์ (เจ้าสัวยม) มีบ้านอยู่บนถนนสาทรใต้ เป็นบ้านหลังใหญ่ ด้วยเป็นเจ้าสัวนายอากรขุดคลอง นำความร่ำรวยมหาศาล

พระยาอนุมานราชธนกล่าวว่า ตอนท่านเด็ก ๆ นั้นยังไปดูการแห่งานศพของเจ๊สัวยมหน้าบ้านท่าน เดิมถนนสาทรใต้ กับ สาทรเหนือ แยกกันเชื่อม

ด้วยสะพานไม้เล็ก ๆ เหมือนถนนสีลม แต่ถนนสาทรใต้สามารถทะลุไปเจริญกรุงได้ แต่สาทรเหนือทะลุไม่ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ก.พ. 14, 17:51
สนามมวยราชดำเนิน ราชดำเนินนอก  ปี พศ 2481

สังเกตุเห็นว่าต้นมะฮอกกานี โตมาก หลังจากปลูกมาสามสิบกว่าปี

มีอาบังบุกมาขายถั่วถึงหน้าสนามมวย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.พ. 14, 18:43
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=46590;image)

เรือสองลำในภาพนี้เป็นเรือดำน้ำจริงๆหรือคะ
ทำไมหน้าตามันไม่เห็นเหมือนเรือดำน้ำ submarine   แต่เหมือนเรือรบที่แล่นบนผิวน้ำ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ก.พ. 14, 19:38
เรือดำนํ้า ดำได้จริงๆ ประเทศไทยจ้างประเทศญี่ปุ่นสร้าง

รูปทรงเป็นสไตล์ญี่ปุ่น ไม่เหมือนเรือดำนํ้ายุคปัจจุบัน

หมายเลข 3 คือเรือสินสมุทร เมื่อมองในระดับสายตา  ตามรูป



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.พ. 14, 20:04
ดูรูปข้างบนแล้วนึกไม่ออกว่าทหารเรือลงไปในท้องเรือได้ยังไง เพราะดูเตี้ยและแคบมาก
มาดูรูปนี้ถึงพอนึกออก
ขอบคุณค่ะ คุณ visitna


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 14, 18:46
น้ำท่วมกรุงเทพ   ไม่ทราบปีพ.ศ. ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 14, 18:47
น้ำท่วมกรุงเทพ  ปี 2485   หน้าที่ทำการไปรษณีย์บางรัก   บุรุษไปรษณีย์พายเรือส่งจดหมายกันเป็นทิวแถว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 14, 07:06
น้ำท่วมกรุงเทพ   ไม่ทราบปีพ.ศ. ค่ะ

ดูแล้วน่าจะเป็น น้ำท่วมใหญ่ปีมะเส็ง ในรัชกาลที่ ๖ ขอรับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.พ. 14, 08:11
สงสัยเหมือนกันว่าจะเป็นรัชกาลที่ ๖ มากกว่ารัชกาลที่ ๕  สังเกตจากป้ายหนังสือพิมพ์ ดูตัวพิมพ์และชื่อ ทันสมัยกว่า
ขอบคุณค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ก.พ. 14, 08:51
นํ้าท่วมที่สี่พระยา สำนักงานกรุงเทพเดลิเมล์  เคยเห็นบรรยายว่าท่วมปี คศ 1900

ส่วนอีกภาพ คือ นํ้าท่วมใหญ่ที่รู้จักกันดีคือปี พศ 2485  ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ก.พ. 14, 08:56
นาข้าวทดลองที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ก่อนปี 2490



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 14, 16:35
ภาพคลองหน้าวัดพิชัยญาติ สวย ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ก.พ. 14, 17:35
สวย ครับ ยังไม่เคยเห็นเลย
เคยเห็นรูปที่มีสะพานหก  อยู่ด้วย

เอารูปวัดฝั่งธนมาให้สมาชิกดู
คือวัดหนัง(Wat Nang) พศ 2480
กระทรวงเกษตรในสมัยนั้นไปทอดกฐินที่วัดนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.พ. 14, 09:14
สะพานเจริญสวัสดิ์ หน้าหัวลำโพง พศ 2491

แถวนี้คงเป็นบริเวณที่ผู้คนคึกคักในสมัยนั้น

จะเห็นสามล้อ ชาวบ้านเดินไปมา จำนวนมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.พ. 14, 09:41
ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดพระเชตุพน  เมื่อพ.ศ. 2493


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 14, 09:56
เทียบกันแม้ต่างกันเพียงเวลา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ก.พ. 14, 09:59
ก็ดูไม่ต่างกันเท่าไรนะคะ คุณหนุ่มสยาม
มีรูปในปัจจุบันไหมคะ  เปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนไม่ทราบ

ส่วนรูปนี้คืออดีตเมื่อ 2531    ไม่หวนกลับมาอีกแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 09 ก.พ. 14, 11:49
ดูจากลักษณะของเรือ ภาพขาวดำของคุณ Siamese คงไม่นานเท่าไรนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ก.พ. 14, 09:39
มองไปสุดกลางภาพจะเห็นสามแยกบางรัก

มีทั้งรถราง รถเมล์ รถเก๋ง สามล้อ สองล้อ  ครบหมด

มีป้ายโกดัก อยู่บนยอดตึก สุดถนนสีลมที่มาชนถนนเจริญกรุง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 14, 10:35
มองไปสุดกลางภาพจะเห็นสามแยกบางรัก

มีทั้งรถราง รถเมล์ รถเก๋ง สามล้อ สองล้อ  ครบหมด

มีป้ายโกดัก อยู่บนยอดตึก สุดถนนสีลมที่มาชนถนนเจริญกรุง



ภาพตำแหน่งที่ใกล้เคียงกัน โดยจุดถ่ายภาพอยู่ห่างจากซอยบูรพามาเล็กน้อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ก.พ. 14, 06:09
ภาพขยาย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.พ. 14, 11:50
ภาพวาดลายเส้นเมรุปูนวัดสระเกศ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ก.พ. 14, 09:29
หอสูงที่อยู่กลางถนน(ต่อไปจะน่าเป็นถนนบำรุงเมือง) คือหออะไร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 14, 10:31
หอสูงที่อยู่กลางถนน(ต่อไปจะน่าเป็นถนนบำรุงเมือง) คือหออะไร

คงจะหมายถึง เมรุปูน ซึ่งก่อสร้างในรัชกาลที่ ๓ นะครับ ภายหลังถูกถนนบำรุงเมืองตัดผ่านครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ก.พ. 14, 10:56
เนื่องมาจากภาพใน คห. 3757 บนถนนเจริญกรุง

มีอีกภาพจากนาย HARRISON  FORMAN  ที่บอกว่าถ่ายประมาณ ca 1960

มองไปทางบางรักเช่นกัน สุดถนนจะเห็นอาคารที่เคยติดโฆษณา KODAK (ป้ายในระยะนี้มองไม่เห็นแล้ว)

เสาไฟฟ้ามีอยู่ด้านเดียว ฝั่งเดียวกับรถราง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 14, 11:54
เนื่องมาจากภาพใน คห. 3757 บนถนนเจริญกรุง

มีอีกภาพจากนาย HARRISON  FORMAN  ที่บอกว่าถ่ายประมาณ ca 1960

มองไปทางบางรักเช่นกัน สุดถนนจะเห็นอาคารที่เคยติดโฆษณา KODAK (ป้ายในระยะนี้มองไม่เห็นแล้ว)

เสาไฟฟ้ามีอยู่ด้านเดียว ฝั่งเดียวกับรถราง



ช่วงก่อนถึงสามแยกสุริวงศ์ ก่อนถึง ปณ.กลาง เล็กน้อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.พ. 14, 10:01
เยาวราช  31 มีนาคม  พศ  2491


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.พ. 14, 10:12
เคยอ่านหนังสือเรื่อง  "ฝ่าทะเลนํ้าหมึก" ของลุง ถาวร สุวรรณ
บ้านเดิมของท่านอยู่ชลบุรี ท่านจะเล่าว่าถ้าเข้ากรุงเทพ
จะต้องข้ามแพที่บางปะกง เพราะสมัยโน้นยังไม่มีสะพานข้ามแม่นํ้าช่วงนี้

นี่คือการข้ามแพ  (เห็นส่วนหนึ่งของแพ)  ที่ข้ามแม่นํ้าบางปะกง เมื่อปี พศ 2491


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ก.พ. 14, 06:01
เจริญกรุง 1960


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 ก.พ. 14, 07:07
เคยอ่านหนังสือเรื่อง  "ฝ่าทะเลนํ้าหมึก" ของลุง ถาวร สุวรรณ
บ้านเดิมของท่านอยู่ชลบุรี ท่านจะเล่าว่าถ้าเข้ากรุงเทพ
จะต้องข้ามแพที่บางปะกง เพราะสมัยโน้นยังไม่มีสะพานข้ามแม่นํ้าช่วงนี้

นี่คือการข้ามแพ  (เห็นส่วนหนึ่งของแพ)  ที่ข้ามแม่นํ้าบางปะกง เมื่อปี พศ 2491


ผมก็ยังแปลกใจว่าคุณถาวร สุวรรณ ออกจากชลบุรี เข้ากรุงเทพฯ แต่เช้า ยังมีเวลามาดูละครที่โรงภาพยนต์ศาลาเฉลิมกรุง แล้วเดินทางกลับชลบุรีได้ทันในตอนเย็น

ยังดีที่รถเมล์สายบางปะกงมาสุดสายปลายทางที่แยกหมอมีหรือแยกต้นประดู่ ไม่ใช่ที่สถานีเอกมัยเหมือนสมัยนี้ แล้วก็ขึ้นรถรางสายบางคอแหลม-ศาลหลักเมือง มาได้เลย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ก.พ. 14, 09:59
คุณลุงถาวรออกจากชลบุรีแต่เช้า ขากลับถึงดึกหน่อย
สายนี้มีรถวิ่งถึงดึก  เพราะผู้โดยสารมาก

จากภาพ 3767 ถ้าย้อนกาลเวลาไปอีกสามสิบปี
แล้วมองกลับด้าน(ตรงหลีกรถราง)จะเห็นภาพอย่างนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.พ. 14, 07:36
นี่คงเป้นภาพศาลาสันติธรรม ถนนราชดำเนิน เชิงสะพานมัฆวานฯ ก่อนรื้อเพื่อสร้างอาคารสำนักงาน UN


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 ก.พ. 14, 15:47
ตึกนี้(สันติธรรม)โรงเรียนเคยเอาแบบไปทำกระทง    เข้าประกวดชนะเลิศ

-----------------------------------------------------

ภาพตลาดมหานาค วันที่ 30 หรือ 31 ธันวาคม 2493  มุมมองไปทางทิศตะวันออก



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.พ. 14, 14:02
การชุมนุมของยุวชนทหาร เรียกร้องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและทางเขมรคืนจากฝรั่งเศส


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.พ. 14, 15:41
เข้าการเมืองหน่อย เพราะกำลังเข้มข้น

การประชุมสภาผู้แทนฯสมัยปี 2491 ตอนนั้นคงกำลังเข้มเหมือนกัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 ก.พ. 14, 20:33
คลองแสนแสบ ตลาดมีนบุรี  (เป็นตลาดหนึ่ง อาจมีหลายตลาด?)

พศ 2480



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 ก.พ. 14, 21:14
คลองแสนแสบ ตลาดมีนบุรีเช่นกัน ไม่รู้ว่าตลาดตรงไหน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 ก.พ. 14, 21:19
ริมคลองแสนแสบ มีนบุรี เช่นกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 22 ก.พ. 14, 02:50
ภาพชุดนี้ผมไม่เคยเห็นครับ เข้ามาขอบคุณทุกท่านที่เอามาลง งามมากจริงๆ ครับ คิดถึงอดีต


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 ก.พ. 14, 23:12
ภาพชุดนี้เป็นของ Robert Larimore Pendleton

ท่านเป้นที่ปรึกษาขององค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ ที่มาช่วยเหลือประเทศไทย

อ่านประวัติของท่านได้นิดเดียวเพราะถ้าจะอ่านเต็มๆต้องเสียเงินออนไลน์(ด้วยความเสียดาย)อ่านเท่าที่มีอยู่

ภาพถ่ายของท่านที่เห็น    จะอยู่ที่ คศ 1936 เป็นต้นมาจน late สุดประมาณ คศ 1957 แล้วท่านกลับไปอเมริกา

ท่านจะจบปริญญาเอกจาก UC BERKELEY  ท่านถ่ายภาพตั้งแต่เหนือจดใต้ ประมาณสามพันกว่าภาพ

ท่านเคยไปอยู่  จีน ฟิลิปปินส์  มาที่ไทย คิดว่าท่านจะชอบประเทศไทยเพราะอยู่ที่นี่นานมาก ประมาณ 20 ปี 

ขึ้นเหนือล่องใต้ ไปทั่วทุกแห่งในประเทศไทย  ท่านบันทึกภาพไว้ตลอดเป็นคุณาประการต่อคนรุ่นเราต่อมาที่ได้ชมภาพเก่าในเมืองไทย

ภาพของท่าน(ทีสองจากซ้าย)ที่อาคารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ คศ 1937


 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ก.พ. 14, 22:47
โรงแรมรัตนโกสินทร์ ในสมัยแรกมีมุขยื่น ให้ผู้เช่าออกมาสูดลมได้

ต่อมาปิดหมด(  อาจจะ  มีการปีนข้ามห้องกันหรือเปล่า ) ตามข้อเขียนลุงใหญ่ นภายน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.พ. 14, 23:00
รูปนี้ ระเบียงโรงแรมเปลี่ยนไปแล้ว   ภาพนี้เหมือนรถรางกำลังชนกับรถประจำทาง
ดูจากเสื้อผ้าและสามล้อ  น่าจะเป็นช่วงพ.ศ. 2490 กว่าๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.พ. 14, 07:34
^
ดูจากรูปการณ์แล้ว เหมือนรถรางชนเข้ากลางลำรถเมล์นะครัน  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 ก.พ. 14, 08:14
^
ดูจากรูปการณ์แล้ว เหมือนรถรางชนเข้ากลางลำรถเมล์นะครัน  ;D

รถเมล์ชนรถรางคันหน้าจนตัวรถหลุุดออกจากราง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 ก.พ. 14, 10:25
ส่วนหนึ่งของเส้นขอบฟ้า กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 5-6 มีนาคม 2491 (ตามต้นฉบับเขียนไว้ว่า5-6 March 1948)

เห็นควันไฟจากไฟไหม้ที่สี่แยกวรจักร

ถ่ายจากโรงแรมที่พักแต่ไม่แน่ใจว่าแถวคลองเตยหรือไม่?



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ก.พ. 14, 23:22
ตลาดปทุมวัฒนา ปทุมธานี  2480



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 มี.ค. 14, 15:49
โรงหนังเวิ้งนาครเขษม  ใครทันเห็นบ้างคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 มี.ค. 14, 17:13
ใครผ่านเวิ้งในช่วงนั้น จะเป็นแบบนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 มี.ค. 14, 19:48
ใครผ่านเวิ้งในช่วงนั้น จะเป็นแบบนี้



แนวคล้ายกลุ่มอาคารทางสะพานเหล็กบน กลุ่มวังเก่าของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเลยนะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 มี.ค. 14, 19:58
ส่วนหนึ่งของเส้นขอบฟ้า กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 5-6 มีนาคม 2491 (ตามต้นฉบับเขียนไว้ว่า5-6 March 1948)

เห็นควันไฟจากไฟไหม้ที่สี่แยกวรจักร

ถ่ายจากโรงแรมที่พักแต่ไม่แน่ใจว่าแถวคลองเตยหรือไม่?



ภาพนี้ถ่ายจากโรงแรมรัตนโกสินทร์ครับ ถ่ายจากด้านหลังโรงแรมหันไปทางวัดสุทัศน์ฯ (วิหารขวามือ) และคลองที่เห็นคือ คลองหลอดวัดราชนัดดา ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 มี.ค. 14, 21:40
ขอบคุณครับ  คุณหนุ่ม  ได้ความรู้อีกแล้ว

ได้เห็นคลองหลอด  (ต้วจริง)  ชัดเจนใกล้ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 มี.ค. 14, 08:50
โรงหนังเวิ้งนาครเขษม  ใครทันเห็นบ้างคะ

โรงหนังในเวิ้งนาครเขษม เกิดไฟไหม้ไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ แล้วครับ จึงรื้อออกและสร้างตึกแถวขึ้นมาแทน
ปี ๒๕๕๗ มีท่าทีว่าตลาดปีระกาข้างๆ กันกับโรงหนังอาจจะต้องรื้อถอนออก จากการปิดตัวไปตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 มี.ค. 14, 08:52
ส่วนหนึ่งของเส้นขอบฟ้า กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 5-6 มีนาคม 2491 (ตามต้นฉบับเขียนไว้ว่า5-6 March 1948)

เห็นควันไฟจากไฟไหม้ที่สี่แยกวรจักร

ถ่ายจากโรงแรมที่พักแต่ไม่แน่ใจว่าแถวคลองเตยหรือไม่?



ก็หมายความว่า ด้านขวาคือหลังคาพระวิหารวัดสุทัศน์ฯ ด้านซ้ายตรงกับกลุ่มควันคือ หลังคาพระวิหารวัดเทพธิดาราม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 มี.ค. 14, 13:29
ทำไมหลังคาวิหารทั้งคู่

ห่างจาก เสาชิงช้า  มาก

ไม่น่าจะอยู่ในวัดสุทัศน์ ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 มี.ค. 14, 20:15
ทำไมหลังคาวิหารทั้งคู่

ห่างจาก เสาชิงช้า  มาก

ไม่น่าจะอยู่ในวัดสุทัศน์ ?

มุมภาพครับ ทั้งนี้เสาชิงช้าอยู่กลางถนน เดินเข้าประตู ผ่านลานแรก ผ่านวิหารคดและพื้นลานรอบพระวิหาร แล้วถึงพระวิหาร ก็มีระยะไกลพอสมควรครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 มี.ค. 14, 20:34

ส่วนหนึ่งของเส้นขอบฟ้า กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 5-6 มีนาคม 2491 (ตามต้นฉบับเขียนไว้ว่า5-6 March 1948)

เห็นควันไฟจากไฟไหม้ที่สี่แยกวรจักร

ถ่ายจากโรงแรมที่พักแต่ไม่แน่ใจว่าแถวคลองเตยหรือไม่?



หลังคาด้านซ้ายในภาพ เป็นหลังคาพระอุโบสถวัดมหรรณพาราม หลังคาด้านขวาในภาพเป็นพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มี.ค. 14, 10:11
คุณหนุ่ม และ ลุงไก่ ขอบคุณอีกที ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มี.ค. 14, 15:50


ภาพนี้บรรยายว่า   

 two Buddhist monks walking on street in Bangkok

ต้องหาคำตอบกันต่อว่าสะพานที่เห็นคือสะพานอะไร?



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 16:25
เดาว่าภาพถ่ายประมาณปี 2490   เด็กสาวในภาพยังนุ่งผ้าถุง เดินเท้าเปล่า อยู่ในเมืองกรุง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 14, 16:42


ภาพนี้บรรยายว่า  

 two Buddhist monks walking on street in Bangkok

ต้องหาคำตอบกันต่อว่าสะพานที่เห็นคือสะพานอะไร?



สะพานเหล็กล่าง หรือ สะพานทิพยเสถียร ผู้ถ่ายรูปยืนกลางสะพานหันหลังให้วัดมหรรณ มุ่งหน้าเข้าตลาดน้อยครับ

มีตรอกโรงน้ำแข็ง (หลังพระ) เข้าไปถนนโยธาในปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 16:55
ในปัจจุบันเป็นอย่างนี้ใช่ไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มี.ค. 14, 17:24
อาจารย์เทาชมพูครับ ลืม copy วันที่มาครับภาพนี้
วันหลังจะไปหาอีกที 
ต้องรีบ D/L เพราะเขาให้เวลาจำกัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 18:28
เดาว่าภาพถ่ายประมาณปี 2490   เด็กสาวในภาพยังนุ่งผ้าถุง เดินเท้าเปล่า อยู่ในเมืองกรุง

ในคำบรรยายภาพบอกว่าราว ๆ พ.ศ. ๒๕๐๐ (ca.1960)  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 18:39
ใช่รถเมล์ศิริมิตรหรือเปล่า  ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 14, 19:44
ใช่รถเมล์ศิริมิตรหรือเปล่า  ???

ถ้าเป็นภาพสีก็จะตอบได้ทันที แต่นี่เป็นภาพขาว-ดำ ลองเดาความเข้มของสีตัวถังรถว่าออกไปทางสีน้ำตาลเข้มเปลือกมังคุด ก็น่าจะใช่รถเมล์ของบริษัทศืริมิตรครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 19:52
เดาว่าภาพถ่ายประมาณปี 2490   เด็กสาวในภาพยังนุ่งผ้าถุง เดินเท้าเปล่า อยู่ในเมืองกรุง

ในคำบรรยายภาพบอกว่าราว ๆ พ.ศ. ๒๕๐๐ (ca.1960)  ;D
ถ้าเป็น 1960   รถยนต์เป็นแบบนี้แล้วค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มี.ค. 14, 20:13
ภาพข้างบนของผม   ถ่ายโดย เพนเดิลตัน ก่อนปี 1957 แน่

คิดว่าก่อนปี 1957 นานพอสมควร  (ไม่ถึงปี 1935) แต่ไม่รู้ว่าปีไหน

อีกภาพของ Dmitri ของ ไลฟ์ ถ่ายเมือปี 1950


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 20:33
มีคำบรรยายภาพว่า ธนบุรี 1890 (พ.ศ.2433) แต่ดิฉันคลับคล้ายคลับคลาว่าเคยเห็นมาก่อน
แถวบางลำพูหรือเปล่าคะ คุณหนุ่มสยาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มี.ค. 14, 20:36
กำแพงพระบรมมหาราชวัง หรือกำแพงวังหน้าคะ?
ทางด้านไหนน่ะ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มี.ค. 14, 20:46
หน้าแตก ภาพนี้ของ Harrison Forman  ราว ca 1960
ไม่ใช่ของเพนเดิลตัน  ขอโทษที


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มี.ค. 14, 20:52
กำแพงพระบรมมหาราชวัง หรือกำแพงวังหน้าคะ?
ทางด้านไหนน่ะ?

ภาพนี้ลงในหนังสือของคุณเทพชู ทับทอง
เป็นการวิ่งรถรางวันแรก เลียบกำแพงวังหลวงด้านท่าราชวรดิษฐ์

บรรยายว่าถนนเลียบวังเป็นแค่ถนนโรยหินละเอียด
มีหลุมบ่อบ่อยโดยเฉพาะหน้าฝน ต้องโรยหินเพิ่ม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 มี.ค. 14, 06:54
มีคำบรรยายภาพว่า ธนบุรี 1890 (พ.ศ.2433) แต่ดิฉันคลับคล้ายคลับคลาว่าเคยเห็นมาก่อน
แถวบางลำพูหรือเปล่าคะ คุณหนุ่มสยาม

จริงแล้วเป็นถนนเจริญกรุงครับ มีรางรถรางอยู่ขวามือเราครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 มี.ค. 14, 08:53
คลองขุดใหม่ ราว ๆ พ.ศ. ๒๔๔๐  

ปัจจุบันคือ คลองผดุงกรุงเกษม คุณหนุ่มคงมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับภาพเหล่านี้ได้ยาวเชียวแหละ  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 มี.ค. 14, 10:42
คลองขุดใหม่ ราว ๆ พ.ศ. ๒๔๔๐  

ปัจจุบันคือ คลองผดุงกรุงเกษม คุณหนุ่มคงมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับภาพเหล่านี้ได้ยาวเชียวแหละ  ;D


ไม่ขนาดนั้นหรอกคุณเพ็ญชมพู

คลองขุดใหม่รู้สึกว่าในเกาะรัตนโกสินทร์ เช่น คลองโอ่งอ่างก็ยังมีคนเก่าแก่เรียกว่า คลองขุดใหม่ ด้วยติดปากมาตั้งแต่ปู่ย่าเรียกกัน แต่สำหรับตอนนี้คลองขุดใหม่

ตอนนี้คือ คลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งถูกขุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อเป็นปราการเขตแดนป้องกันประเทศจากข้าศึกและขยายพื้นที่ชุมชม เปิดที่ทางทำนา ตั้งบ้านทำมาหากินอีก

ภาพถ่ายรูปบนนี้เป็นภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕ เห็นอาคารโรงสังกะสีขวามือ นี่คือโรงทำน้ำแข็งและน้ำโซดาครับ ตั้งอยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษมแง้มใต้ (ฝั่งใต้) ซึ่งปัจจุบันนี้

ไม่มีแล้วแต่ยังปรากฎชื่อตรอกไว้เป็นอนุสรณ์ว่า "ตรอกโรงน้ำแข็ง" แถวห้างริเวอร์ซิตี้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มี.ค. 14, 14:00
นี่น่าจะใช่คลองผดุงกรุงเกษม

docked sampans on river in Bangkok 1960

มียอดภูเขาทองทางขวาของภาพ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 มี.ค. 14, 14:47
นี่น่าจะใช่คลองผดุงกรุงเกษม

docked sampans on river in Bangkok 1960

มียอดภูเขาทองทางขวาของภาพ



คลองผดุงกรุงเกษมครับ แต่ว่าขวามือเป็นอาคารโดมยอดแหลม เป็นกลุ่มตึกของบ้านนรสิงห์ เรียกว่า กลุ่มตึก ๒๔ มิถุนา ปัจจุบันรื้อไปหมดแล้ว

ส่วนสะพานสีขาวที่เห็นจะเห็นสะพาน ๒ สะพานในระนาบเดียวกันคือ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ บนถนนนครสวรรค์ กับ สะพานมัฆวานรังสรรค์ที่มีเสาแหลมหินอ่อนเชิงสะพานครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มี.ค. 14, 21:47
รูปจากยอดพระปรางค์วัดอรุณ มองไปยังพระบรมราชวัง

จะเห็นวัตถุอย่างหนึ่งในพระราชวัง  ที่เคยมีคนอ้างถึงกัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มี.ค. 14, 07:11
รูปจากยอดพระปรางค์วัดอรุณ มองไปยังพระบรมราชวัง

จะเห็นวัตถุอย่างหนึ่งในพระราชวัง  ที่เคยมีคนอ้างถึงกัน



สิ่งนี้คือหอเก็บน้ำครับ อยู่นอกพระบรมมหาราชวัง ครับ  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 มี.ค. 14, 08:31
ส่วนภาพนี้ถ่ายจากหอเก็บน้ำย้อนไปยังพระปรางค์วัดอรุณ  ;D

ภาพนี้เป็นภาพที่ช่างภาพขึ้นบนถังน้ำประปา ถ่ายภาพลงมายังท่าราชวรดิษฐ์ สมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ที่ยังมีป้อมอยู่ ๒ มุมซ้ายและขวาครับ และมองดี ๆ มุมซ้ายภาพกลาง ๆ จะเห็นแทงค์น้ำประปา บนโครงไม้สานถัก เป็นถังเก็บน้ำส่งเข้าไปยังพระราชฐานฝ่ายในครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5149.0;attach=32569;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มี.ค. 14, 08:42
ที่คนอ้างถึงคือ ข้อความที่คุณเพ็ญชมพู พูดถึง

คือ   มีช่างภาพขึ้นไปถ่ายรูปบนนี้ 

อ้างกันว่าถ้าถ่ายมุมสูง

น่าจะขึ้นไปถ่ายจากถังนํ้าที่ส่งนํ้าไปใช้ในพระราชวัง

ตามรูป ถังนํ้ามีสองถัง ข้างนอกถัง ข้างในถังหนึ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 มี.ค. 14, 09:02
รูปข้างบนถ่ายโดยคุณ Wilhelm Burger   (http://en.wikipedia.org/wiki/Wilhelm_J._Burger) พ.ศ. ๒๔๑๒

เช่นเดียวกับรูปข้างล่างนี้ เกาะน้อยหน้าวัดอรุณ

ตะพานท่าน่ามุขมีสีหน้า
รูปกุมภาทำด้วยหินดิ้นไม่ไหว
สองตัวคู่ริมท่าชลาไสย
ตรงนั้นไซร้มีช่องร่องวาริน

แผ่นผาศิลาลาดดูหยาดเหยาะ
ทำเป็นเกาะฝั่งท่าชลาสินธุ์
มีเขื่อนคั่นรายรอบเป็นขอบดิน
ปลูกต้นอินทผลัมมีหนามคม

นิราศยี่สาร - ก.ศ.ร. กุหลาบ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14081;image)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5149.0;attach=32584;image)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 มี.ค. 14, 10:25
ตรงนี้ ที่ไหนคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มี.ค. 14, 11:07
บริเวณสี่แยกบางลำพู 

ถนนที่รถรางอยู่คือถนนจักรพงษ์  มีสี่แยกข้างหน้า

ถนนที่ตัดขวางผ่านข้างหน้าคือถนนพระสุเมรุ

ถนนจักรพงษ์พอพ้นสี่แยกไปกลายเป็นถนนสามเสน 

แล้วไปข้ามคลองบางลำพู  ที่สะพานนรรัตน์สถาน

เป็นสะพานเหล็กพื้นไม้(ตามรูป) สมัยโน้นเรียกว่าสะพานเหล็กโค้ง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มี.ค. 14, 23:40
สะพานเหล็กโค้งในยุคแรกมีหลายสะพาน

ที่จำได้    นอกจากบางลำพู มีที่
ผ่านฟ้าฯข้ามคลองบางลำพู(โอ่งอ่าง),
ที่ข้ามคลองผดุงฯหน้าหัวลำโพง ,
ที่มหานาคอีกแห่ง

ที่มหานาคเห็นแค่พื้นสะพาน ตัวเหล็กโค้งเห็นเล็กน้อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 มี.ค. 14, 12:38
มีรูปของ Forman หลายภาพที่เข้าไปถ่ายในโรงเรียนแพทย์

ทั้งห้องแลป - ห้อง เล็คเช่อร์

เป็นแพทย์ศิริราช (รูปในห้องแลปอนาโตมี่ ทั้งโต๊ะและสแตนด์ที่วางตำราเหมือนที่จุฬา

จุฬาฯคงไปเอาแบบมาจากที่นี่)





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 06 มี.ค. 14, 12:42
รูปในห้องแลปอนาโตมี่ ทั้งโต๊ะและสแตนด์ที่วางตำราเหมือนที่จุฬา จุฬาฯคงไปเอาแบบมาจากที่นี่)

อันนี้โรงเรียนแพทย์ทุกแห่งในโลกก็เป็นอย่างนี้ครับ จะว่าจุฬาเอาแบบมาจากที่นี่คงไม่ถูกนัก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 มี.ค. 14, 14:07
 ทั่วโลกจะเป็นแบบนี้ไหม?

เหมือนกันอย่างไร      ให้ดูรูปที่จุฬาก่อน  

ขนาดไม้หลังแสตนด์วางตำรายังมีปุ่มไม้เล็กๆยื่นออกมา (ยื่นมาทำไมไม่รู้)

บางทีช่างทำไม่ถูก    ถ้ามีตัวอย่างไปให้ดู  ง่ายขึ้น

ตัวอย่างจะเอาที่ไหนในเมืองไทยมีที่เดียว

เชียงใหม่กับรามา จะเป็นแบบนี่ไหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 มี.ค. 14, 14:12
ที่เหมือนกันน่าจะเป็นกลิ่นฟอร์มาลีน  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 มี.ค. 14, 14:26
แลปฯนี้โบราณเกินไป ที่บอร์กโด



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 มี.ค. 14, 14:35
ว้าววว โครงกระดูกท่านขุนฯ (อ่านไม่ออก) ซะด้วย

แถวล่างสุด "อุทิศเพื่อการศึกษา พ.ศ. ........  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 มี.ค. 14, 14:50
บรรยากาศการเรียนแพทย์ ที่ใดหนอ  ???

คล้ายกับห้องกายวิภาค โรงพยาบาลศิริราชเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 มี.ค. 14, 14:56
ภาพคุณหนุ่ม เป็นที่ศิริราช น่าจะเป็น lab.  Physiology

โครงกระดูกที่คุณหนุ่มจะอ่าน น่าจะเป็นของท่านขุนกายวิภาควิศาล

ถือว่าเป็นอาจารย์รุ่นแรก 

ผมอ่านมาจากนี้

เรื่องโครงกระดูกในกุฏิท่านเจ้าคุณนรฯ
 
          เมื่อผมเป็นนักเรียนแพทย์ ผมได้ถูกชักชวนโดยอาจารย์ของผมสองท่านคือ
ศาสตราจารย์คองดอน และ    ท่านขุนกายวิภาควิศาล
ให้สมัครทำงานเป็นนักเรียนผู้ช่วยในวิชานี้พร้อมกับเรียนแพทย์ไปด้วย
ผมตกลงเพราะเกิดชอบในวิชานี้อยู่บ้างในการเป็นนักเรียนผู้ช่วยนั้น
นอกจากช่วยสอนบ้างเล็กน้อยแล้ว งานส่วนใหญ่หนักไปทางเทคนิคเพื่อตระเตรียมเครื่องใช้ในการสอน
สมัยนั้นโครงกระดูกที่นำมาใช้สอนต้องสั่งจากต่างประเทศ
เป็นราคาค่อนข้างแพงและไม่ได้กระดูกเหมาะตามความประสงค์
 เพราะเป็นกระดูกชาวต่างประเทศ และกระดูกที่ส่งมาก็มีบางส่วนชำรุด
         
               ศาสตราจารย์คองดอนจึงให้ผมลองประกอบโครงกระดูกขึ้นใช้เอง
นับเป็นการฝึกฝนที่ผมพึ่งมารู้สึกเป็นประโยชน์ในภายหลังสองประการ
หนึ่งช่วยให้ผมจำต้องศึกษาโครงกระดูกที่จะประกอบละเอียดถี่ถ้วนขึ้น
ทำให้ผมมีความรู้ในเรื่องโครงกระดูกดีขึ้นกว่าเดิม
สองทำให้ผมรู้จักใช้มือหัดเจาะ ร้อยโครงกระดูกเหล่านั้น
และช่วยให้ผมรู้จักช่วยตัวเองไม่ให้ต้องพึ่งของจากต่างประเทศ
         
               ผมจำไม่ได้ว่าผมได้ใช้เวลาเท่าใดเกี่ยวกับเรื่องประกอบโครงกระดูก
แต่จำได้ว่าผมประกอบไม่สำเร็จ เสร็จแต่เพียงกระดูกแขนขา
หาวัตถุมาประกอบเป็นกระดูกอ่อนซี่โครงไม่สำเร็จ
พอดีหมดกำหนดการเป็นนักเรียนผู้ช่วย ผมก็กลับไปเรียนแพทย์ต่อจนสำเร็จ
พอสำเร็จก็ได้รับทุนมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ไปเรียนต่อในวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่สหรัฐอเมริกาสองปี
          กลับมาผมก็กลับมาช่วยปฏิบัติงาน
ซึ่งตอนนี้หนักไปทางสอน ปรากฏข้อบกพร่องของการสอนในสมัยนั้นก็คือ
ขาดวัตถุประกอบการสอน ผมจึงลงมือทำขึ้นหลายอย่างร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในแผนก
           
                       วันหนึ่งมีคนมาติดต่อ แจ้งว่าท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตมีความประสงค์อยากจะได้โครงกระดูกมนุษย์สักโครงหนึ่ง
ไว้ช่วยในการปฏิบัติกิจของท่าน โดยท่านจะตอบแทนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง
ครั้งแรกผมไม่กล้ารับปาก เพราะไม่แน่ใจว่าจะประกอบขึ้นสำเร็จหรือไม่
แต่ประการสำคัญก็คือโครงกระดูกเหล่านี้ความประสงค์เดิมใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้น
 การจะนำไปใช้เป็นอย่างอื่นจะผิดประสงค์ของผู้อุทิศศพ
แต่เนื่องจากผมได้ทราบประวัติของท่านเกี่ยวกับความกตัญญูที่ท่านแสดงกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6
ผมจึงอยากจะช่วยท่าน นอกจากนั้นก็ยังอยากได้เงินมาใช้จ่ายในการทำวัตถุที่ใช้ในการสอนด้วย
เพราะการเงินในสมัยนั้นค่อนข้างจะฝืดเคือง เบิกมาใช้สอยได้ยาก
         
                ผมได้พยายามทำอยู่หลายเดือน สุดท้ายก็ประกอบสำเร็จขึ้นเป็นโครงสมบูรณ์
แต่ไม่เรียบร้อยเหมือนกับโครงที่ทำขึ้นใหม่
โดยฝีมือของคนงานแผนก จำได้ว่าเจาะกะโหลกตอนบนไม่ได้ศูนย์
เวลาแขวนโครงกระดูกหน้าง้ำมากเกินไป
แต่ผมก็ไม่ไดแก้ไข แจ้งไปยังท่านว่าผมประกอบเสร็จแล้ว
ขอให้กำหนดวันด้วย ผมจะได้เอาไปส่ง
ขณะที่ผมจัดแจงแขวนกระดูกให้เข้าที่
ท่านก็ถามว่าโครงมนุษย์มีกระดูกเท่าใด
ผมกราบเรียนท่านว่าจำนวนเท่าใดนั้นกระผมจำไม่ได้
แต่ถ้าจะให้กระผมนับจำแนกให้ท่านดูทีละส่วนกระผมจะนับให้ท่านดู
และจะชี้ให้ท่านทราบว่าจำนวนกระดูกอาจจะไม่เท่ากันได้ ความจริงผมจำไม่ได้เอง
เพราะตัวเลขกับผมนั้นเป็นปฏิปักษ์กัน ท่านได้มอบเงินมาให้ผม 300 บาท
ซึ่งก็ได้ใช้จ่ายในกิจการเกี่ยวกับหาวัตถุใช้ในการสอน
ในการทำพิพิธภัณฑ์กายวิภาคคองดอน บางชิ้นอาจเหลือเป็นประโยชน์ต่อมาจนถึงทุกวันนี้
ผมจึงรู้สึกในบุญคุณของท่านอยู่ แต่ไม่เคยกลับไปหาท่านอีกเลยจนท่านถึงแก่มรณภาพ
         
                      เรื่องเกี่ยวกับโครงการดูกนี้ผมได้เล่าให้นักเรีนแพทย์ฟังอยู่หลายรุ่น
และมักจะเอ่ยว่าท่านเจ้าคุณเป็นนักศึกษา มีความอยากรู้อยากเห็นในทุกสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
และที่สำคัญมีความกตัญญูเป็นเลิศ ควรถือท่านเป็นแบบอย่าง
คนมีความกตัญญู ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้
แม้จะมีอุปสรรคภัยอันตรายอย่างไรก็อาจพ้นอุปสรรคภัยอันตรายนั้นไปได้
         
                        ผมพึ่งมาทราบ ความอยากรู้อยากเห็นอยางปรับปรุงแก้ไขกิจการงานที่ท่านได้รับมอบหมายจากหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกัน
 ตอนที่ทราบว่าท่านได้ไปหาเจ้าคุณดำรงแพทยาคุณ
เพื่อขอศึกษาดูการผ่าศพ หาความรู้เส้นเอ็นต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์
 เพื่อปรับปรุงในหน้าที่ถวายอยู่งานนวดเวลาล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 บรรทม
เนื่องจากล้นเกล้าฯ ทรงมีพระวรกายอ้วน เส้นสายอยู่ลึกจะต้องจับนวดแรง ๆ
จึงจะถูกเส้น นับเป็นตัวอย่างอันดีในความประพฤติของท่านอีกประการหนึ่ง
         
                         ผมต้องขอโทษที่เล่าเรื่องมาเสียไกล
นอกออกไปจากเรื่องที่ผมอยากจะได้กระดูกมาไว้เกี่ยวกับประวัติของวิชากายวิภาคศาสตร์
ถ้าไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป ผมขอความกรุณาช่วยติดต่อให้ผมด้วย
         
                              ในที่สุดนี้ผมขอแสดงความยินดีที่หนังสือต่าง ๆ
ที่คุณพิมพ์มีประโยชน์ต่อบุคคลเป็นจำนวนมาก ขอกุศลที่คุณปฏิบัติจงช่วยให้คุณมีความสุข ความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
 
โดยความนับถือ
(ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร)
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 มี.ค. 14, 15:34
ภาพชุดนี้ไม่บอกว่าที่ไหน บอกแค่ University of Siam Medical College faculty
แต่มีภาพคุณหมอชัชวาล โอสถานนท์ (อดีต ผอก.ศิริราช)
เลยสรุปว่าเป็นที่ศิริราช



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 มี.ค. 14, 10:59
ถนนเจริญกรุง ตรงปากซอยสุรวงศ์

มีมอเตอร์ไซด์สองคันเป็นของชาติตะวันตกหมด

มอเตอร์ไซด์แบบสามล้อสองคันด้วย

ยุคนั้นยังไม่มี  ฮอนด้า ซูซูกิ  ฯลฯ

คนขี่มอเตอร์ไซด์สมัยนั้นเท่ห์กว่ายุคนี้

รถเก๋งก็เหมือนกันคันขวาน่าจะเป็นออสติน

ตอนผมเรียนหนังสือ วันหนึ่งเลิกเชียร์คํ่าแล้ว

อาศัยรถพ่อของเพื่อนกลับก็เป็นออสตินท้ายตัด

ขวามือเห็นมุมตึกไปรษณีย์กลาง มีธงชาติ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 มี.ค. 14, 13:12
อ้างถึง
รถเก๋งก็เหมือนกันคันขวาน่าจะเป็นออสติน

ขออนุญาตขัดคอครับ

รถในภาพคือรถมอรีส (Morris) รุ่น Minor Series II เป็นรถของอังกฤษ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตเจ๊งไปนานแล้ว
(ที่จำได้เพราะเคยนั่งของคุณลุง)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 มี.ค. 14, 14:19
ขอบคุณครับ  ใช่ที่ถูกเป็น มอริส  

ผมจำสับกัน

ตอนนั้นโคโรลล่ายังไม่เข้ามาในเมืองไทยเลย

ผมใช้รถคันแรกเป็นโคโรลล่า  generation ที่ 3 ที่เรียกว่าใช้เครื่อง 3 K(ราคาคันละ 110,000 บาท)

รถที่ผมเคยนั่งของพ่อเพื่อน เป็นแบบนี้  รถแบบนี้ในเมืองไทยตอนนั้นมีเยอะ
เป็นรุ่นนิยมแบบหนึ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 14, 14:57
อีกภาพหนึ่งของ Harrison Forman

ธนาคารมิตซุย สาขาพระนคร ถนนเจริญกรุง แยกสุรวงศ์ ถ่ายเมื่อราว พ.ศ.๒๕๐๓  ที่เห็นหลังไว ๆ ใช่มอร์ริสหรือเปล่า  ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 14, 16:47
น่าจะรถเฟียต


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 มี.ค. 14, 19:13
น่าจะเป็นรถเฟี๊ยตมากกว่า

เรื่องถังส่งนํ้าต่อ
มันอยู่นอกเขตพระราชวัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 มี.ค. 14, 19:33
น่าจะรถเฟียต

รถ FIAT มี 2 รุ่น คือ รุ่นเครื่องยนต์ 500 cc. และ 750 cc.

ทำให้นึกถึงรถเก๋ง SKODA ของเชคโกสโลวาเกีย ที่มีรูปร่างคล้ายๆ กัน แต่ใหญ่กว่า เครื่องยนต์ขนาด 1000 cc.

 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 มี.ค. 14, 19:35
ขอบคุณครับ  ใช่ที่ถูกเป็น มอริส  

ผมจำสับกัน

ตอนนั้นโคโรลล่ายังไม่เข้ามาในเมืองไทยเลย

ผมใช้รถคันแรกเป็นโคโรลล่า  generation ที่ 3 ที่เรียกว่าใช้เครื่อง 3 K(ราคาคันละ 110,000 บาท)

รถที่ผมเคยนั่งของพ่อเพื่อน เป็นแบบนี้  รถแบบนี้ในเมืองไทยตอนนั้นมีเยอะ
เป็นรุ่นนิยมแบบหนึ่ง


คันสีฟ้านี้ รถ Austin ออสติน แน่นอน เพราะเพื่อนผมใช้ขับมาเรียน มี ๒ รุ่น คือ รุ่นเครื่องยนต์ 1000 cc.  และ 1200 cc.
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 มี.ค. 14, 19:39


เรื่องถังส่งนํ้าต่อ
มันอยู่นอกเขตพระราชวัง

หอถังน้ำนี้อยู่ในพื้นที่ของกรมสวัสดิการทหารเรือสมัยนั้น ปัจจุบันเป็นกรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ปัจจุบันถังน้ำนี้ไม่มีแล้ว

กลุ่มอาคารที่อยู่ภายในแมกไม้ทางขวามือ คือ สโมสรข้าราชบริพาร ปัจจุบันอาคารเหล่านี้ยังอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 14, 20:03
จากรูปที่ 153
คันนี้คือรถเบนซ์หรือเปล่าคะ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 มี.ค. 14, 23:00
ไม่แน่ใจว่าเบนซ์หรือไม่

คนไทยใช้หลายแบบ รถโดยสารที่เห็นเป็น เชฟโรเล็ท เห็นตราหน้ารถ

บรรทุกได้เกินตัว คนอยู่ในรถสักยี่สิบได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 14, 10:17
ถนนเจริญกรุง พ.ศ.๒๕๐๓  สามล้อถีบและรถยนต์บนถนนเดียวกัน  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 14, 16:30
^
รถยนต์คันขวาพอจะเป็นชนิดเดียวกับคันในรูปนี้ได้ไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มี.ค. 14, 17:00
ด้านหลังไฟหน้าโค้ง ไม่เหมือนกัน

และ รถเบนซ์ไม่มีไฟเลี้ยวที่บังโคลนหน้า

รถเบนซ์มีตราสามแฉก เห็นชัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 14, 18:40
จำได้ไหมคะว่าถนนตรงไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 14, 20:00
จำได้ไหมคะว่าถนนตรงไหน

ถนนเจริญกรุง ตรงสี่แยกวรจักรครับผม  ;D อาคารถือปูนหลังงามที่หันหลังให้ปัจจุบันคือ หนังสือพิมพ์ซินเสียนเยอะเป้า ส่วนอาคารที่หันหน้าให้เราคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาวรจักร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มี.ค. 14, 20:05
ภาพอาจารย์เทาชมพูผมเท้าความหน่อยเดิมมีลายนํ้า

ผมเอามาลบลายนํ้าออกภาพออกทางเบลอๆ

สถานที่นี้ ตรงกับภาพข้างล่างนี้

ทิศทางใน กทม ผมยังสับสน เพียงแต่จำเรื่องภาพได้

ในภาพผมยังนึกไม่ออกเลยว่าวรจักรไปทางไหน??

เคยไปนอนในโรงพยาบาลกลางอยู่สองเดือนแต่ไม่ได้ออกไปไหน

นึกถึงแล้ว เสียดายเวลาช่วงนั้นมาก 



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 14, 20:33
ยกจากหน้าก่อนมาให้ดูกันอีกที

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47298;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 14, 20:49
ภาพอาจารย์เทาชมพูผมเท้าความหน่อยเดิมมีลายนํ้า

ผมเอามาลบลายนํ้าออกภาพออกทางเบลอๆ

สถานที่นี้ ตรงกับภาพข้างล่างนี้

ทิศทางใน กทม ผมยังสับสน เพียงแต่จำเรื่องภาพได้

ในภาพผมยังนึกไม่ออกเลยว่าวรจักรไปทางไหน??

เคยไปนอนในโรงพยาบาลกลางอยู่สองเดือนแต่ไม่ได้ออกไปไหน

นึกถึงแล้ว เสียดายเวลาช่วงนั้นมาก 



ใส่การเดินถนนให้ เทียบกับปัจจุบันครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 มี.ค. 14, 20:51
หลีกรถรางหน้าทางเข้าโรงหนังนาครเขษม คือตรงนี้ตามภาพบน

ส่วนซอยตรงข้ามหลีกรถราง คือซอยนี้ ซอยเจริญกรุง ๑๑ ตรงไปวัดพระพิเรนทร์ ตามภาพล่าง
(แก้เลขที่ซอยให้ถูกต้อง)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 14, 21:05
เจริญกรุง ๑๑ เข้าไปยังวัดพระพิเรนทร์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มี.ค. 14, 21:13
เมื่อไม่นานไปกินก๋วยเตี่ยวปลาที่ตรงข้ามวัดพระพิเรนทร์(เขาพาไป)

นั่งรถไปจากพาหุรัด  หันซ้ายหันขวาไม่รู้จักสักทิศ งง 5555

ถ้ามาทางคลองประปา เดอะมอลล์งาม ซอยงามวงศ์วานใกล้ พอรู้จักทิศบ้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 มี.ค. 14, 11:08
tiger beer เป็นของไทยแต่ดั้งเดิมหรือไม่?
เกิดก่อนหรือหลังเบียร์สิงห์

ปัจจุบันเป็นแบรนด์ของสิงคโปร์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 09 มี.ค. 14, 14:38
Tiger Beer เป็นของสิงคโปร์มาตั้งแต่แรกแล้วครับ ก่อตั้งขึ้นในปี 1930 โดยบริษัท Asia Pacific Breweries ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง Heineken  กับ Fraser and Neave ดังนั้นรูปที่เห็นน่าจะเป็นรูปที่ถ่ายหลังปี 1930 ครับ อาจเป็นแค่ป้ายโฆษณาหรือตึกสำนักงานสาขา  ส่วนเบียร์สิงห์เริ่มผลิตราวปี 2475 เป็น ค.ศ. ก็ 1933 ครับ  ข้อมูลอ่านๆ มาจาก wiki  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 14, 15:17
ภาพโฆษณาเบียร์เสือบนยอดตึกน่าจะถ่ายปีเดียวกับภาพนี้

ภาพนี้ของ Harrison Forman  ราว ca 1960
ไม่ใช่ของเพนเดิลตัน  ขอโทษที

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47176;image)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47310;image)

สงสัยอยู่ว่ารถเมล์สายสามแยก-หลักเมือง ทำไมใช้คนละหมายเลข  ภาพบนใช้หมายเลย ๕๖ ส่วนภาพล่างใช้หมายเลข ๒๕ หรือ ๓๕  ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 มี.ค. 14, 16:07
อาจจะเป็นหมายเลขประจำคัน ไม่ใช่เบอร์สาย


----------------------------------------------


 Fraser and Neave น่าจะโดนนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เทคโอเวอร์ไปแล้ว
กลายเป็นของคนไทย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มี.ค. 14, 16:19
รถบูอิค กำลังเดินทางในถนนยุคแรกของเมืองไทย 1948

รถรุ่นนี้จอมพล ป. ให้ซื้อแจกคณะรัฐมนตรี

โดนโจมตีในสภา  ตามประสาการเมืองไทย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มี.ค. 14, 16:28
พระเก่าสวยงามถูกรวบรวมมาเก็บรักษา

ที่ระเบียงคตของวัดแห่งหนึ่งใน กทม.

ผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นวัดใด

แต่งามจริง  เป็นศิลปยุคก่อนที่บ่มมานานจนได้ทีได้ทาง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 มี.ค. 14, 16:39
พระเก่าสวยงามถูกรวบรวมมาเก็บรักษา

ที่ระเบียงคตของวัดแห่งหนึ่งใน กทม.

ผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นวัดใด

แต่งามจริง  เป็นศิลปยุคก่อนที่บ่มมานานจนได้ทีได้ทาง

วัดนี้คือวัดเบญจมบพิตรครับผม รัชกาลที่ ๕ ทรงให้รวบรวมพระที่สวยงาม ขนาดเท่าๆกัน ถ้าสวยแต่เล็ก ก็ให้ทำการปั้นหุ่นหล่อขยายแบบใหม่ ถ้าชำรุดก็ซ่อมแซม แล้วนำมาประดิษฐานไว้รอบพระระเบียงครับ เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 14, 17:06
ใครเคยนั่งรถทัวร์ยี่สิบหน้าต่างรุ่นนี้บ้างคะ   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 10 มี.ค. 14, 20:11
สมัยก่อนเวลาไปบ้านญาติที่แปดริ้ว ถ้าไม่มาขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง หรือมักกะสัน

ก็ออกมาคอยรถเมล์หลังคาเตี้ยแบบนี้ที่ริมถนนปากซอยบ้าน

หลังคาเตี้ยซะจนเด็กๆก็ยังต้องก้มหัวเพราะกลัวหัวโขกเพดานหลังคา

รถเมล์เส้นทางตะวันออกมีจุดพักแรกที่สามแยกหอนาฬิกา จุดต่อไปก็ที่คลองด่าน แล้วไปตามเส้นทางสุขุมวิท ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเส้นเดียวสมัยนั้น

สมัยนั้นที่ว่าคือประมาณใกล้ๆจะถึงยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ

ถ้านั่งรถไฟก็จะกินลมชมทุ่งเรื่อยไปตั้งแต่มักกะสัน คลองตัน บ้านหัวหมาก หัวตะเข้  ลาดกระบัง คลองพระองค์เจ้า เปร็ง คลองบางพระ ถึงฉะเชิงเทราก็บ่ายสองกว่าๆ

คำถามของอาจารย์เช็คอายุอีกแล้ว



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 14, 21:04
คุณ Jalito ถึงฉะเชิงเทราเอาบ่ายสองกว่าๆ    ออกจากบ้านตั้งแต่กี่โมงคะ

ใครจำรถฝากเงินเคลื่อนที่ของธนาคารออมสินได้บ้างคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 10 มี.ค. 14, 21:50
สมัยก่อนเวลาไปบ้านญาติที่แปดริ้ว ถ้าไม่มาขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง หรือมักกะสัน

ก็ออกมาคอยรถเมล์หลังคาเตี้ยแบบนี้ที่ริมถนนปากซอยบ้าน

หลังคาเตี้ยซะจนเด็กๆก็ยังต้องก้มหัวเพราะกลัวหัวโขกเพดานหลังคา

รถเมล์เส้นทางตะวันออกมีจุดพักแรกที่สามแยกหอนาฬิกา จุดต่อไปก็ที่คลองด่าน แล้วไปตามเส้นทางสุขุมวิท ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเส้นเดียวสมัยนั้น

สมัยนั้นที่ว่าคือประมาณใกล้ๆจะถึงยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ

ถ้านั่งรถไฟก็จะกินลมชมทุ่งเรื่อยไปตั้งแต่มักกะสัน คลองตัน บ้านหัวหมาก หัวตะเข้  ลาดกระบัง คลองพระองค์เจ้า เปร็ง คลองบางพระ ถึงฉะเชิงเทราก็บ่ายสองกว่าๆ

คำถามของอาจารย์เช็คอายุอีกแล้ว



ถือโอกาสเรียนถามคุณ Jalito เลยครับว่่า ยุคนั้นที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงหรือยัง เพราะที่ผมดูแผนที่เก่า ถนนสายกรุงเทพฯ - ชลบุรีสายแรก ไม่ใช่เส้นทางปัจจุบัน แต่ถนนจะเข้าสมุทรปราการ - คลองด่าน - บางปะกง - ฉะเชิงเทรา แล้วจะข้ามแม่น้ำบางปะกงมา มีถนนอีกสายหนึ่งจากบางปะกง - พนัสนิคม - บ้านบึง - ชลบุรี - ศรีราชา - นาเกลือ - สัตหีบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 10 มี.ค. 14, 21:57

ใครจำรถฝากเงินเคลื่อนที่ของธนาคารออมสินได้บ้างคะ

เคยเห็นแต่รถฝากเงินรุ่นปัจจุบัน สมัยที่สมเด้จพระเทพฯ ทรงฝากครับ

แต่ที่เห็นบ่อยๆ คือ เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสินสาขาปากคลองตลาด เดินมาเก็บเงินแม่ค้าย่านปากคลองเอาไปเข้าบัญชีให้ที่สำนักงาน โดยที่แม่ค้าไม่ต้องไปฝากเอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มี.ค. 14, 21:59
รูปรถฝากเงินของธนาคารออมสินค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มี.ค. 14, 07:05
อ้างถึง
มารอขึ้นรถที่สถานีขนส่งเอกมัย เตรียมเที่ยวท่องถนนสุขุมวิทต่อไป
ไปคร้าบปาย

เมื่อสุขุมวิทถึง “บางปะกง” ต้องหยุดอยู่ริมฝั่งเพราะยังไม่มีสะพาน ต้องข้ามด้วยแพขนานยนต์ จึงทำให้รถต้องเข้าคิวรอแพกันยาวทีเดียว เมื่อข้ามแพไปแล้วก็ถึงชลบุรี
เมื่อสร้างสะพานแล้วเสร็จ ช่วยให้คนกรุงเทพฯ ได้ลิ้มรสอาหารทะเลสดๆกันมากขึ้น เมื่อการติดต่อกับกรุงเทพฯสะดวก เลยทำให้ชลบุรีเจริญขึ้นด้วย

ดูจากภาพแพขนานยนต์ข้ามแม่น้ำบางปะกงที่หามาได้แล้ว เห็นลำเล็กนิดเดียว คิดถึงจอมพลป.ตอนนั่งซีตรองหนีจอมพลสฤษดิ์ปฏิวัติ มุ่งหน้าจะไปเขมร แต่ต้องมาติดแหง็กที่ท่าข้าม รอแพขนานยนต์กว่าจะมาถึง กว่าจะลงแพเคลื่อนไปขึ้นอีกฝั่งหนึ่งได้ คงร้อนรนใจชายชาติทหารไม่น้อย ถ้าจอมพลสฤษด์สั่งให้ทหารตามมา หรือให้หน่วยรบที่เมืองชลมารอดัก อาจจะมีข่าวโจรจีนมลายูมาชิงท่านจอมพลที่ท่าข้ามอีกก็เป็นได้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มี.ค. 14, 07:08
ถัดจากบางปิ้งไป ก็จะถึงคลองด่าน ในสมัย 2480-2499 การเดินทางระหว่างบางปะกง - กรุงเทพ ใช้เส้นทางสุขุมวิทสายเก่านี้ การเดินทางใช้เวลาสองสามวัน และรถโดยสารจะมาหยุดพักครึ่งทางที่คลองด่านนี้. ที่คลองด่านมีวัดบางเหี้ยตั้งอยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสมานมัสการหลวงพ่อปาน ผู้สร้างเขี้ยวเสืออันโด่งดัง

ประมาณปี พ.ศ. 249 กว่า ๆ ทางครอบครัวเห็นลู่ทางการเดินทางระหว่าง ท่าไข่ - กรุงเทพ มีการขนส่งไข่เป็ดจำนวนมาก โดยใช้เส้นทางสุขุมวิทสายเก่าผ่านบางปู ไปยังกรุงเทพได้ จึงได้ต่อรถบรรทุกหัวโต ด้านหลังให้คนนั่งได้ แล้วจ้างคนขับรถวิ่งระหว่าง บางปะกง ไปหัวลำโพง วิ่งวันละเที่ยว

ออกรถประมาณบ่ายโมง ถึงหัวลำโพงประมาณบ่ายสี่ บ่ายห้าโมงเป็นต้น โดยจะพักรถแวะทานข้าวกันที่คลองด่าน รถที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารใช้ชื่อ "ศรีสอ้าน" ภายหลังย้ายท่ารถไปแถววัดดวงแข

หลังจากนั้นเมื่อมีการจัดระเบียบการเดินรถในเขตกรุงเทพ จึงไม่ได้วิ่งรถสายนี้ แต่กลับไปวิ่งรับผู้โดยสารระหว่าง แปดริ้ว-เมืองชล แทนครับ

โดยพ้นคลองด่านไป ก็จะเจอ "คลองผีขุด" และ "คลองสอง" และ "ท่าไข่"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 14, 09:29
รถบรรทุกหัวโต ด้านหลังให้คนนั่งได้ แล้วจ้างคนขับรถวิ่งระหว่าง บางปะกง ไปหัวลำโพง วิ่งวันละเที่ยว

นึกไม่ออกว่าเป็นยังไง  นึกออกแต่แบบนี้ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 มี.ค. 14, 10:13
รถบรรทุกหัวโต ด้านหลังให้คนนั่งได้ แล้วจ้างคนขับรถวิ่งระหว่าง บางปะกง ไปหัวลำโพง วิ่งวันละเที่ยว

นึกไม่ออกว่าเป็นยังไง  นึกออกแต่แบบนี้ค่ะ


ภาพถ่ายการเดินทางสถานีรถที่มีนบุรี กับท้ายรถแบบไม้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 มี.ค. 14, 16:00
เรือริมนํ้าเป็นพาหนะส่วนใหญ่ในยุคก่อน

ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในทุกครัวเรือน

ไม่เว้นครัวเจ้านายใหญ่โต ต้องใช้ถ่าน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 14, 16:12
จำรถเมล์หัวโตแบบนี้ไม่ได้  คงไม่เคยเห็นหรือเห็นก็น้อยครั้งมากค่ะ

คลองในรูปข้างบนนี้ คลองบางกอกน้อยหรือเปล่าหนอ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 มี.ค. 14, 16:17
ริมแม่นํ้าอีกแห่ง  คือท่าพระจันทร์  มองเห็นโดมชัดจากริมนํ้า  1946

(ภาพก่อนไม่บอกว่าริมแม่นํ้าหรือคลองใด)
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 มี.ค. 14, 16:50
เมื่อคืนอ่านเรื่องของคุณสรศัลย์ แพ่งสภา

เล่าถึงเรือโดยสารของอีสต์เอเซียติก

ที่ไปทั้งฝั่งตะวันออกและใต้ 

มีหลายลำ  ที่ตั้งชื่อตามเจ้าฟ้า เช่น ภาณุรังสี

มีอยู่ลำหนึ่งตั้งตามเจ้าฟ้านิภานพดล คือ เรือนิภา วิ่งทั้งไปจันทบุรี และ สงขลา

(ถ่ายที่ท่าจันทบุรี)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 14, 16:54
แบบนี้ ผู้โดยสารเห็นจะค้างคืนในเรือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 มี.ค. 14, 17:41
ต้องนอนค้าง ไปสงขลาอาจจะต้องนอนสองคืน?

เรือแวะรับส่งของหลายท่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 14, 20:47
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ด้านไหนล่ะนี่์?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 14, 20:54
สำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ถนนราชดำเนิน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 14, 20:56
รูปนี้บอกว่าเป็นถนนพาหุรัด  ใครจำได้บ้างคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 11 มี.ค. 14, 21:24
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ด้านไหนล่ะนี่์?
ถนนในภาพคือถนนพญาไท มองตามทิศทางออกนอกเมือง ด้านหลังอนุสาวรีย์คือหัวถนนพหลโยธิน

 ซ้ายไปรพ.พระมงกุฎฯ  ขวาไปออกราชปรารภ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 มี.ค. 14, 22:39
ทิศทางอนุสาวรีย์ฯ

ตามรูป ทางซ้ายมือเป็นคลองสามเสน เป็นแลนด์มาร์คสำคัญ
ตรงไปเป็นถนนพหลโยธิน ไปสะพานควาย

ฝั่ง  ตรงข้าม  มีต้นจามจุรี คือด้านพญาไท  ตามรูปของอาจารย์

กลุ่ม ต้นสนขวามือ  ไม่มีร่องรอยเริ่มต้นของ รพ. ราชวิถี

เคยไปสังเกตุ รูปปั้นทหาร  รอบๆเพื่อมาร์คทิศทาง ไม่สำเร็จ เพราะดูยาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 11 มี.ค. 14, 23:28



ถือโอกาสเรียนถามคุณ Jalito เลยครับว่่า ยุคนั้นที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงหรือยัง เพราะที่ผมดูแผนที่เก่า ถนนสายกรุงเทพฯ - ชลบุรีสายแรก ไม่ใช่เส้นทางปัจจุบัน แต่ถนนจะเข้าสมุทรปราการ - คลองด่าน - บางปะกง - ฉะเชิงเทรา แล้วจะข้ามแม่น้ำบางปะกงมา มีถนนอีกสายหนึ่งจากบางปะกง - พนัสนิคม - บ้านบึง - ชลบุรี - ศรีราชา - นาเกลือ - สัตหีบ
ตอนผมเรียนประถมสอง สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงที่ตัวเมืองกำลังสร้างอยู่ครับ ที่จำได้เพราะพี่สาวที่มาเรียนที่กรุงเทพฯพากลับไปเที่ยวบ้านตอนปิดเทอม

บ้านพี่ต้องลงเรือเมล์เขียวล่องไปตามแม่น้ำที่คดเคี้ยวอีกเกือบสองชั่วโมง เรือต้องลอดผ่านสะพานนื้ทั้งขาขึ้น-ขาล่อง เป็นสะพานที่เชื่อมเมืองฉะเชิงเทรากับอำเภอที่อยู่อีกฟากแม่น้ำเช่นบางคล้า พนมสารคาม

และพนัสนิคมของชลบุรี แปลว่าไปชลบุรีโดยข้ามสะพานนี้ได้อีกทาง

เมื่อก่อนเคยสับสนนึกว่าสะพานนี้ชื่อสะพานเทพหัสดิน

ก่อนที่จะตัดถนนบางนา-ตราดเมื่อปี ๒๕๐๙ สุขุมวิทเป็นถนนสายหลักของการไปสู่ภาคตะวันออก ผ่านตัวเมืองสมุทรปราการ ผ่านคลองด่าน เลียบชายทะเลมาเรื่อย จนเข้าเขตอำเภอบางปะกงมาถึงสามแยก

เลี้ยวขวาไปสักพักก็ถึงท่าข้ามแม่น้ำบางปะกง สะพานตรงท่าข้ามนี้คือสะพานเทพหัสดิน ตามรูปของคุณsiamese แหละครับ เส้นที่เลี้ยวมานี่และต่อไปจนถึงจ.ตราดก็คือ ถนนสุขุมวิท Hwy.no.3

แต่ถ้าไม่เลี้ยวขวาวิ่งตรงไป ก็จะผ่านท่าไข่บ้านคุณsiamese ท่าสะอ้าน คลองจางวาง แสนภูดาษ ลาดขวาง ท่าถั่ว บางพระ ไปจนถึงฉะเชิงเทรา นี่คือถนนบางปะกง-ฉะเชิงเทรา Hwy.no.314

ผมเรียนประถมสองปี ๒๔๙๙ ก่อนหน้าจอมพลสฤษดิ์ปฎิวัติ ๑ ปี ซื่งสะพานเทพหัสดินน่าจะสร้างแล้ว หมายความว่าจอมพล ป.อาจได้ใช้สะพานนี้วันที่ลี้ภัยออกนอกประเทศแทนที่จะข้ามแพ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในคณะรมต.ของจอมพล ป.ตอนนั้นคือ พลโทบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เดาว่าชื่อสะพานถูกตั้งตามนามสกุลท่านรัฐมนตรี ท่านใดมีข้อมูลขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ปัจจุบันมีสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงอีกแห่งในเส้นทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราทางด้านใต้ ที่แยกจากสาย 314 แถววัดบางพระ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 12 มี.ค. 14, 05:01
รูปนี้บอกว่าเป็นถนนพาหุรัด  ใครจำได้บ้างคะ

ยังได้ทันเห็น ตอนที่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมครับ จำได้เพียงว่าร้านถัดไปทางขวาขายจักรเย็บผ้าเท่านั้นเอง
ภาพสะพานเทพหัสดินระหว่างการก่อสร้างและเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 มี.ค. 14, 08:26
ไม่เคยเห็นห้างรัตนมาลา
อ่านจากหนังสือไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง

เขาว่าอยู่บนถนนพาหุรัดกับตรีเพชร(เป็นห้างมุมฉากยาวไปตามถนนสองสายนี้)


เจ้าของคือนายซุ่นใช้ เดิมเปิด ร้านสยามตรีเพชร ขายหมวก(bosalino และ battersley)อยู่ฝั่งตรงข้าม
เมื่อกิจการดีรุ่งเรือง ย้ายมาฝั่งตรงข้ามเปิดร้าน รัตนมาลา(ก่อตั้งราว 2461-2462) เป็นห้างใหญ่

มีตู้กระจกแสดงสินค้าจากต่างประเทศ มีไฟฟ้าสว่างไสว
สินค้าจากต่างประเทศเช่นเครื่องครัว เครื่องสำอางค์ เครื่องประดับอัญญมณี เครื่องแต่งกายชาย
นํ้าหอม เครื่องแก้ว ถาดกระเบื้องลงสีลายดอกไม้มีหู ลอคเก็ต
สินค้าดังของห้าง คือ แผ่นเสียงตราสุนัข  ถ่านไฟฉายเอเวอเรดี้ ตะเกียงเจ้าพายุอิดด้า
จักรเย็บผ้า veritas และ แตร brass band - gouesnon ของฝรั่งเศส

ที่โด่งดังอีกอย่างคือหมวกลูกเสือสักหลาด ในยุค ร6  ได้ตราครุฑ ในสมัยนี้

มองด้านถนนพาหุรัดทางขวาของห้างที่หัวมุมพาหุรัดกับถนนบูรพา
จะเป็นห้างเคโอยามา ที่ขายเสื้อผ้ากระดุมจากญี่ปุ่น ยุโรป เครื่องเหล็ก ส่งออกไม้สัก
นายอิวาจิ  มิยากาวา เจ้าของร้าน ได้ออกหนังสือพิมพ์ ยามาโมโต ด้วยแต่ออกได้แค่ปีเดียว

ห้างรัตนมาลา กับ ห้างเคโอยามา ยึดหัวมุมถนนคนละมุม  ตามแนวถนนพาหุรัด
ตามรูป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 มี.ค. 14, 16:13
มีข้อสงสัย

เมื่อห้างรัตนมาลาอยู่มุมหนึ่ง เคโอยามาอยู่มุมหนึ่ง

ตัวตลาดมิ่งเมืองอยู่ตรงไหน??

ดูแผนที่ปัจจุบันเมื่อเทียบกับเฉลิมกรุง ไม่เหมือนเดิม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 มี.ค. 14, 05:25
มีข้อสงสัย

เมื่อห้างรัตนมาลาอยู่มุมหนึ่ง เคโอยามาอยู่มุมหนึ่ง

ตัวตลาดมิ่งเมืองอยู่ตรงไหน??

ดูแผนที่ปัจจุบันเมื่อเทียบกับเฉลิมกรุง ไม่เหมือนเดิม

ตึกหลังคาจั่วสามเหลี่ยมทางขวามือของศาลาเฉลิมกรุงคือตลาดมิ่งเมืองหละครับ แนวคลองที่ถัดไปคือย่านสะพานถ่าน ย่านโสเภณีในอดีต

ลองดูภาพนี้อาจจะนึกออกนะครับ
หมายเลข 1 คือ ย่านวังบูรพา โรงหนังคิงส์อยู่ทางซ้าย โรงหนังแกรนด็อยู่ทางขวา
หมายเลข 2 คือ โรงภาพยนต์เฉลิมกรุง
หมายเลข 3 คือ ตลาดมิ่งเมืองที่คุณพี่ Visitna ถามหา



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 มี.ค. 14, 05:31
มุมนี้สวยมาก มองจากสี่แยกพาหุรัดตามแนวถนนตรีเพชรจนถึงสี่แยกเฉลิมกรุง จะเห็นตั้งแต่หน้าห้างรัตนมาลาไปจนถึงศาลาเฉลิมกรุง
ภาพนี่น่าจะถ่ายในช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๐


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 มี.ค. 14, 05:35

มองด้านถนนพาหุรัดทางขวาของห้างที่หัวมุมพาหุรัดกับถนนบูรพา
จะเป็นห้างเคโอยามา ที่ขายเสื้อผ้ากระดุมจากญี่ปุ่น ยุโรป เครื่องเหล็ก ส่งออกไม้สัก
นายอิวาจิ  มิยากาวา เจ้าของร้าน ได้ออกหนังสือพิมพ์ ยามาโมโต ด้วยแต่ออกได้แค่ปีเดียว

ห้างรัตนมาลา กับ ห้างเคโอยามา ยึดหัวมุมถนนคนละมุม  ตามแนวถนนพาหุรัด ตามรูป

ยึดเอาข้อความที่อ้างถึงนี้เป็นเกณฑ์ ดังนั้นสภาพปัจจุบันที่เคยเป็นที่ตั้งของห้างเคโอยามา ก็คือมุมของอาคารดิโอลสยามพลาซ่าตรงนี้
ส่วนตำแหน่งของห้างรัตนมาลาก็จะสุดอาคารดิโอลสยามทางด้านซ้ายมือของภาพ
ถนนในภาพคือถนนพาหุรัด ตัดกับถนนบูรพาเป็นสามแยก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มี.ค. 14, 07:23
มีข้อสงสัย

เมื่อห้างรัตนมาลาอยู่มุมหนึ่ง เคโอยามาอยู่มุมหนึ่ง

ตัวตลาดมิ่งเมืองอยู่ตรงไหน??

ดูแผนที่ปัจจุบันเมื่อเทียบกับเฉลิมกรุง ไม่เหมือนเดิม

ให้ภาพแผนที่ พ.ศ. ๒๔๗๕ และชี้ตำแหน่งของห้างรัตนมาลา ห้างเค โอยามา และตลาดมิ่งเมืองครับ

ขุนวิจิตรมาตราท่านเล่าไว้ว่า ที่ห้างเค โอยามา เป็นแห่งขายของสินค้าชั้นดี การโฆษณาหน้าร้านนี้ก็แปลกจะทำเป็นแผ่นไม้หลายแผ่น หันข้างถนนเมื่อมองระยะไกลจะเป็นรูปเสือขนาดใหญ่เป็นแนวยาว เมื่อมองอีกด้านจะไม่เห็น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 มี.ค. 14, 08:20
มีข้อสงสัย

เมื่อห้างรัตนมาลาอยู่มุมหนึ่ง เคโอยามาอยู่มุมหนึ่ง

ตัวตลาดมิ่งเมืองอยู่ตรงไหน??

ดูแผนที่ปัจจุบันเมื่อเทียบกับเฉลิมกรุง ไม่เหมือนเดิม

ตึกหลังคาจั่วสามเหลี่ยมทางขวามือของศาลาเฉลิมกรุงคือตลาดมิ่งเมืองหละครับ แนวคลองที่ถัดไปคือย่านสะพานถ่าน ย่านโสเภณีในอดีต

ลองดูภาพนี้อาจจะนึกออกนะครับ
หมายเลข 1 คือ ย่านวังบูรพา โรงหนังคิงส์อยู่ทางซ้าย โรงหนังแกรนด็อยู่ทางขวา
หมายเลข 2 คือ โรงภาพยนต์เฉลิมกรุง
หมายเลข 3 คือ ตลาดมิ่งเมืองที่คุณพี่ Visitna ถามหา



ขออภัยคุณพี่  อย่างแรงครับ ผมสับสนไปเอง หมายเลข 3 ในภาพคือ ตลาดบำเพ็ญบุญครับ ตลาดมิ่งเมืองที่ถามถึง ก็คือพื้นที่อาคารของดิโอลสยามพลาซ่าครับ
ช่างเย็บเสื้อผ้าที่เคยอยู่ในตลาดมิ่งเมือง ได้ย้ายเข้าไปอยู่ที่สามยอดพลาซ่า หรือที่เคยเป็นโรงหวยสะพานเหล็กเก่าครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มี.ค. 14, 08:56
ขอบคุณครับลุงไก่และคุณหนุ่มชาวสยาม

ภาพที่สะพานเจริญสวัสดิ์ หัวลำโพง คนเดินกันคึกคัก มีตลาดอะไรหรือแถวนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มี.ค. 14, 09:13
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มี.ค. 14, 11:19
ขอบคุณครับลุงไก่และคุณหนุ่มชาวสยาม

ภาพที่สะพานเจริญสวัสดิ์ หัวลำโพง คนเดินกันคึกคัก มีตลาดอะไรหรือแถวนี้



เชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ เป็นที่ตั้งของตลาดสดครับ เรียกว่า ตลาดหัวลำโพง อีกทั้งเชิงสะพาน (หน้าตลาด) เป็นจุดขึ้น-ลง รถรางอีกด้วย เลยทำให้ย่านนี้คึกคักเป็นพิเศษ

หาคุณ visitna ดูภาพของ Dimitri จะเห็นภาพการขายลูกโป่งอยู่สัก ๒ -๓ ภาพ ก็ถ่ายจากด้านล่างถนนกรุงเกษม จุดเดียวกันเลย (ถ่ายภาพขายลูกโป่งติดป้ายโฆษณา โค้ก)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มี.ค. 14, 11:41
ขอบคุณครับ

เคยเห็นภาพตลาดสดหัวลำโพง อยู่แถวนี้เอง ยังเคยสงสัยว่าอยู่แถวไหน

-------------------------------------------------------------

เพื่อนเคยพามากินข้าวหมูแดงแถวนี้ (นานแล้วตอนเรียนหนังสือ)  เป็นร้านดังยุคนั้น

ข้าวหมูแดงที่นี่เป็นชิ้นใหญ่ๆ  ต่างจากร้านทั่วไปในสมัยนั้น    แต่จำไม่ได้ว่าซอยไหน

-------------------------------------------------------------------------

ร้านข้าวหมุแดงที่กินประจำคือร้านในซอยแคบๆ ตรงโค้งสามย่าน

ที่เดินทะลุจากริมถนนไปด้านในที่เป็นตลาดโต้รุ่ง มีร้านลูกชิ้นปลานายใบ้ขายอยู่

ฝั่งติดกับคณะบัญชี

-------------------------------------------
ภาพตลาดหัวลำโพง เมื่อคุณหนุ่มเฉลย   เอามาพิจารณา

จะสังเกตุเห็นหัวเสาของเชิงสพานเจริญสวัสดิ์  อยู่ในสุด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มี.ค. 14, 13:03
หาภาพสะพานเจริญสวัสดิ์มาเสริมบ้าง
ในภาพที่คุณ visitna นำมาให้ดู ไม่มีสถานีรถไฟหัวลำโพง     สถานีอยู่ตรงไหนคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มี.ค. 14, 13:56
ภาพนี้มองไม่เห็นตลาดสดหัวลำโพง
ต้องข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ไป  จะเห็นตลาดอยู่ซ้ายมือ

1 คือสถานีรถไฟสายปากนํ้าที่สายทางเลียบไปตามถนนพระรามสี่
   ไปสามย่าน ศาลาแดง คลองเตย ไปต่อ ฯลฯ
3 คือสะพานเจริญสวัสดิ์
4  คือคลองผดุงกรุงเกษม

ปกติไม่ค่อยได้ไปเที่ยวไกลกว่าหัวลำโพง(ที่จำได้)
ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปครั้งหนึ่งไปดูหนังที่โรงหนังกรุงเกษม
อีกสองสามครั้งไปกินข้าวหมูแดง
ไปเที่ยวกินข้าวที่เยาวราชนานๆครั้ง
ทุกครั้งเพื่อนชวนเราก็ตามเขาไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มี.ค. 14, 15:14
ภาพนี้คุณ visitna  เคยเห็นหรือยัง มองเห็นตลาดหัวลำโพงได้อย่างเต็มสบายตาเลยครับ

รถหัวโตก็ถ่ายจากซอยขวามือหน้าตลาด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มี.ค. 14, 15:17
รูปเหล่านี้ถ่ายจากมุมสูงมาก
คนถ่าย ถ่ายจาก ฮ. หรือเครื่องบินอะไรคะ  คุณ siamese


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มี.ค. 14, 15:31
เป็นภาพของ Dmitri Kessel  ของผมไม่มี
หน้าที่ผมเข้าไปดาวน์โหลดไม่มีบางภาพ

น่าจะถ่ายจากเครื่องบินหรือ ฮอ.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มี.ค. 14, 15:51
น่ารักไหมครับ ภาพเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๙๕ ถ่ายไว้ที่สำเพ็ง ตลาดค้าผ้าม้วน ผ้าพับ เด็กนุ่งกางเกงนักเรียน สะพายห่ออะไร ๒ ห่อพร้อมกำโรตีสายไหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 13 มี.ค. 14, 16:13
ห่อกว๋ยเตี๋ยว/หมี่เหลืองแห้งครับ ร้านในตลาดข้างบ้านยังขายแบบนี้มาจนทุกวันนี้ ไม่น้อยกว่า 50 ปีแล้วครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มี.ค. 14, 16:39
กำลังคิดอยู่เหมือนกันว่าเป็นห่อของกิน  ข้างในอาจจะรองด้วยใบตอง มีกระดาษฟางห่อข้างนอกอีกที มัดด้วยเชือกกล้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มี.ค. 14, 18:39
ปี 2493  แถวสี่พระยา?

เห็นเด็กนักเรียนอยู่ในเครื่องแบบ บ้างมีรองเท้า  บ้างไม่มี

เด็กกำลังจะไปหาบนํ้า มีปี๊บเหล็กที่ใช้ในสมัยนั้น ก่อนจะถึงยุคพลาสติก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 มี.ค. 14, 18:49
ปี 2493  แถวสี่พระยา?

เห็นเด็กนักเรียนอยู่ในเครื่องแบบ บ้างมีรองเท้า  บ้างไม่มี

เด็กกำลังจะไปหาบนํ้า มีปี๊บเหล็กที่ใช้ในสมัยนั้น ก่อนจะถึงยุคพลาสติก

ภาพนี้คุณเพ็ญชมพูเคยเฉลยแล้ว เรื่องเป้ใบสีขาวที่ครูถืออยู่  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มี.ค. 14, 19:07
^
^
คุณเทาชมพูทราบไหมว่าภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. อะไร และผู้หญิงคนนั้นกำลังทำอะไร

;)

บรรยายใต้ภาพดังนี้

"Children presenting the Watchtower and Awake March 29, 1950 Bangkok Thailand"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มี.ค. 14, 19:14
ถามอีกทีก็ได้

แล้ว Watchtower and Awake คืออะไร   ;)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5927.0;attach=23455;image)

คงต้องให้คุณหนุ่มและคุณเทาชมพูคอยใบ้คำตอบอยู่ข้างเวที

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มี.ค. 14, 19:49
ใบ้คำตอบ
คริสตศาสนา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มี.ค. 14, 21:04
โปสการ์ดรูปผู้หญิงไทย ประมาณปี 1900  ปลายรัชกาลที่ 5
ผู้หญิงไทยในภาพนี้มีคำบรรยายใต้ภาพไม่เหมือนกัน   ภาพแรกบอกว่า เป็นหญิงสาวชาวสยาม  หมายความว่าอาจไม่ใช่คนกรุงเทพก็ได้
ภาพที่สอง  สาวกรุงเทพ  ภาพที่สาม  คุณนายชาวกรุงเทพ  และภาพที่สี่ พี่เลี้ยงชาวพื้นเมือง หมายถึงคนรับใช้ซึ่งเป็นคนท้องถิ่น (ไม่ใช่คนกรุงเทพ?)
สตรีเหล่านี้แต่งตัวแตกต่างกัน   สตรีชาวบ้านห่มผ้าผืนยาวซึ่งเป็นได้ทั้งสไบและผ้าแถบ  นุ่งโจงกระเบน  ส่วนคุณนายสวมเสื้อและผ้านุ่ง ซึ่งแสดงความทันสมัยมีหน้ามีตากว่าการแต่งกายแบบเดิม  แต่ทรงผมยังตัดสั้น หวีเสยเป็นทรงเดียวกันอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 มี.ค. 14, 21:20
ขอบคุณครับ

เคยเห็นภาพตลาดสดหัวลำโพง อยู่แถวนี้เอง ยังเคยสงสัยว่าอยู่แถวไหน

-------------------------------------------------------------

เพื่อนเคยพามากินข้าวหมูแดงแถวนี้ (นานแล้วตอนเรียนหนังสือ)  เป็นร้านดังยุคนั้น

ข้าวหมูแดงที่นี่เป็นชิ้นใหญ่ๆ  ต่างจากร้านทั่วไปในสมัยนั้น    แต่จำไม่ได้ว่าซอยไหน


ร้านที่พี่ถามถึง ร้านนี้ครับ อยู่ในซอยสุกร ข้ามสะพานเจริญสวัสดิ์ไปสักร้อยเมตร
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ไตรวุธ ที่ 13 มี.ค. 14, 21:56
โรงภาพยนต์คิงส์ (National Geographic. Bangkok, Thailand November 1955)

(http://svapicsandmags.files.wordpress.com/2013/12/bookscancenter_115.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มี.ค. 14, 22:53
ใช่เลยร้านนี้แหละ ขอบคุณลุงไก่ ที่ยังจำได้

เพื่อนคนนี้นักกิน บ้านอยู่ซอยนเรศ ผมก็ตามมันไปเรื่อยๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 14 มี.ค. 14, 05:30
ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ


เปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบันในบางส่วน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 มี.ค. 14, 06:47
ขอบคุณครับลุงไก่

----------------------------------------------------------

แถมรูปสะพานหัน 1948


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มี.ค. 14, 12:22
สะพานหันในอดีตเป็นแหล่งขนม     บนทางเท้าข้างถนนมีขนมไข่ร้อนๆจากพิมพ์   ถุงขนมสมัยโน้นยังเป็นถุงกระดาษ ไม่ใช่ถุงพลาสติค
มีขนมไทยสารพัด  รวมทั้งขนมหม้อตาล ที่ปั้นด้วยแป้งแข็งๆเป็นรูปหม้อ หยอดน้ำตาลสีต่างๆ    จำได้ว่ามีคุณยายมาขายอยู่เจ้าหนึ่ง ปั้นเป็นตัวเต่าฝีมือละเอียดสวยงาม จนน่าจะเอาไว้ดูเล่นมากกว่ากิน

ส่วนร้าน เสรีวัฒน์ เป็นร้านขายอุปกรณ์ทำขนมเค้ก  มีทั้งแป้งซอฟตาซิลค์ ผงฟูรอยัล   เครื่องตีไข่  ชามผสมแป้งทำขนม   ฯลฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 มี.ค. 14, 10:26
แม่นํ้าเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ และวัดกัลยาณมิตรหลวงพ่อโต

เห็นคลองบางกอกใหญ่บางส่วน  เพื่อเอาไว้     เปรียบเทียบกับที่อื่น

เป็นการวางรูปแบบวัดหลวงพ่อโตเพื่อให้เป็นอย่างวัดพนัญเชิงของกรุงเก่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 มี.ค. 14, 09:05

แถมรูปสะพานหัน 1948


สะพานหัน 2012


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 มี.ค. 14, 13:52
เยาวราช 2491


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 มี.ค. 14, 14:16
ถ่ายจากภัตตาคารห้อยเทียนเหลา มองไปทางตะวันออก

คำอธิบายจากผู้ถ่ายภาพ  September 1936. East from Hoi Tien Lao

ตึกห้อยเทียนเหลา(ที่ดูจากภาพ)เป็นตึกสามชั้น มีดาดฟ้าบนสุด (ไม่มีหลังคา)







กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 16 มี.ค. 14, 14:24
สะพานหันในอดีตเป็นแหล่งขนม     บนทางเท้าข้างถนนมีขนมไข่ร้อนๆจากพิมพ์   ถุงขนมสมัยโน้นยังเป็นถุงกระดาษ ไม่ใช่ถุงพลาสติค
มีขนมไทยสารพัด  รวมทั้งขนมหม้อตาล ที่ปั้นด้วยแป้งแข็งๆเป็นรูปหม้อ หยอดน้ำตาลสีต่างๆ    จำได้ว่ามีคุณยายมาขายอยู่เจ้าหนึ่ง ปั้นเป็นตัวเต่าฝีมือละเอียดสวยงาม จนน่าจะเอาไว้ดูเล่นมากกว่ากิน

ส่วนร้าน เสรีวัฒน์ เป็นร้านขายอุปกรณ์ทำขนมเค้ก  มีทั้งแป้งซอฟตาซิลค์ ผงฟูรอยัล   เครื่องตีไข่  ชามผสมแป้งทำขนม   ฯลฯ

ย้อนไปประมาณสี่สิบกว่าปี เสรีวัฒน์ สะพานหันเคยเป็นสปอนเซอร์ใหญ่ให้กับรายการแม่บ้านทางสถานีวิทยุททท ผู้ดำเนินรายการชื่อพลศรี คชาชีวะ
เป็นรายการประเภทเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางด้านคหกรรม โภชนาการ ดูเหมือนมีนิยายวิทยุให้แม่บ้านฟังด้วย เช้าวันหยุดก็มีรายการนิทานให้เด็กฟังด้วย
ก็แปลกใจนิดหน่อยว่า คุณพลศรีซึ่งเป็นผู้ชายทำไมท่านจึงรอบรู้งานบ้านงานเรือนของผู้หญิงดีจัง
ส่วนเสรีวัฒน์สะพานหันโฆษณาขายอะไรบ้างจำไม่ได้แล้ว คงจะเป็นเรื่องขนมอบและอุปกรณ์สำหรับทำอย่างที่อาจารย์กล่าวไว้แหละครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 มี.ค. 14, 17:05
จากห้อยเทียนเหลา  เหมือน คห. 236  แต่มองไปทางบานดอกไม้

คือไปทางภูเขาทองนั้นเอง(ไม่เห็นยอดภูเขาทอง)

เห็นยอดโลหะปราสาททางขวามือ เสาชิงช้ากลาง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 17 มี.ค. 14, 14:20
ถ่ายจากภัตตาคารห้อยเทียนเหลา มองไปทางตะวันออก

คำอธิบายจากผู้ถ่ายภาพ  September 1936. East from Hoi Tien Lao

ตึกห้อยเทียนเหลา(ที่ดูจากภาพ)เป็นตึกสามชั้น มีดาดฟ้าบนสุด (ไม่มีหลังคา)


สนใจตึกสูงด้านหลังตามที่วงมานี้ค่ะ ตึกอะไรคะ ?



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 มี.ค. 14, 18:25
คิดว่าเป็นตึกที่เยาวราช
ตึกนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 มี.ค. 14, 18:37
ยกข้ามหน้ามาให้ดูค่ะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47531;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 14, 18:54
ตึกพระยาสมบัติไพศาล เป็นอดีตตึก ๙ ชั้นที่สูงที่สุดในประเทศไทยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 14, 18:56
อยู่เลยแยกเฉลิมบุรีครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 17 มี.ค. 14, 20:35
ขอบคุณมากค่ะ
หากเป็นตึก 9 ชั้น คงเป็นภาพทางด้านหลังตึก เพราะจำได้ว่า ห้อยเทียนเหลา อยู่ทางต้นถนนเจริญกรุง ช่างภาพถ่ายย้อนไปทางทิศตะวันออก จึงเห็นทางด้านหลัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 14, 06:40
แม่นํ้าเจ้าพระยา คศ.1936

เรือสำเภารุ่นสุดท้ายที่ไปค้าขายกับจีนหรือไม่?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มี.ค. 14, 14:07
น้ำท่วมกรุงเทพ ๒๔๘๕ หน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ เชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ มีเรือหลังคามารอให้บริการด้วย

ดูจากแถวจอดเรือ น้ำอยู่ระดับประมาณหน้าแข้ง

ส่วนพื้นที่ด้านหลังอาคารคลังสินค้ารถไฟ แห้ง ไม่ท่วม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 14, 16:26
บรรยากาศลำคลองริมชายขอบกรุงเทพฯ ร่มรื่น 2493



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มี.ค. 14, 16:36
^
สวยจับตาจับใจจริงๆ
แถวฝั่งธนหรือเปล่านะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 14, 17:57
อาจารย์ครับ  ไม่ได้บอกรายละเอียดไว้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มี.ค. 14, 20:33
ภาพนี้มีคำบรรยายตอนหนึ่งว่า  An aerial view of the Charoen Chai community off Charoen Krung Road.
http://www.siamese-heritage.org/

ชุมชนเจริญไชยอยู่ตรงไหนของเจริญกรุงคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 18 มี.ค. 14, 21:37
ชุมชนเจริญไชย อยู่ ถ.เจริญกรุง 23 แถว ๆ วัดเล่งเน่ยยี่ ค่ะ

ตอนนี้เขาได้รับผลกระทบจากการสร้างสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งเกรงว่าความเป็นชุมชนจะสูญหายไป จึงเก็บอาคารและของเก่าในพื้นที่ขึ้นเป็น บ้านเก่าเล่าเรื่อง
สนใจเที่ยวชมในพื้นที่ได้นะคะ

แต่บริเวณด้านหน้าเปลี่ยนไป ไม่เหมือนในภาพของ อจ.เทา แล้วล่ะค่ะ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 18 มี.ค. 14, 21:43
ขอโทษค่ะ ฝั่งนี้ค่ะ จึงจะเป็นภาพของ อจ.
ฝั่ง ถนนพลับพลาไชย ตู้ชุมสายหมายเลข 705

รูปขาวดำนั้น คงถ่ายไม่นานมานี้ค่ะ มีจานดาวเทียมอยู่ด้วย แถมรถตู้ก็อาจจะเป็นคันเดียวกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 มี.ค. 14, 07:24
ตึกนี้คงเป็นตึกพระยาสมบัติบริบูรณ์แน่ (ตามคำอธิบายหลายๆรูป)

ผมนับไม่เคยถึงเก้าชััน   

ตึกเก้าชั้นเป็นอีกหลังหนึ่งหรือไม่?



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 มี.ค. 14, 08:54
ขอบคุณค่ะคุณ Poja  ชุมชนเจริญไชยพอถ่ายเป็นภาพขาวดำแล้วบรรยากาศออกมารุ่นเก่ามากค่ะ  ถ้าไม่ดูรถยนต์นะคะ

ตึกสูงที่เยาวราช น่ากลัวต้องรอคุณหนุ่มสยามหรือไม่ก็คุณลุงไก่มาตอบว่าเป็นตึกเก้าชั้นหรือไม่ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 มี.ค. 14, 09:28
ชุมชนเจริญไชยอยู่ตรงไหนของเจริญกรุงคะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47565;image)

ขอบคุณค่ะคุณ Poja  ชุมชนเจริญไชยพอถ่ายเป็นภาพขาวดำแล้วบรรยากาศออกมารุ่นเก่ามากค่ะ  ถ้าไม่ดูรถยนต์นะคะ

ภาพต้นฉบับไม่ใช่ขาวดำดอก แต่เป็นภาพสี  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มี.ค. 14, 09:45
ที่ใดหนอ มาทายกันหน่อยซิครับ  ;D ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 มี.ค. 14, 10:07
เอาภาพปัจจุบันมาลงเทียบให้ดูก่อน  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 21 มี.ค. 14, 12:37
สะพานยศเสหรือสะพานกษัตริย์ศึกครับ ตึกสูงๆน่าจะเป็นโรงพยาบาลหัวเฉียว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 มี.ค. 14, 14:05
สะพานยศเสหรือสะพานกษัตริย์ศึกครับ ตึกสูงๆน่าจะเป็นโรงพยาบาลหัวเฉียว


เอาภาพปัจจุบันมาลงเทียบให้ดูก่อน  ;D

เก่งทั้งคู่เลย..... มาดูเสาไฟฟ้า พาดสายไฟฟ้า หรือ พาดสายโทรเลข หรือ พาดสายโทรศัพท์  ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 มี.ค. 14, 15:43
ประวัติสะพานกษัตริย์ศึก  ;D

(http://library.stou.ac.th/ODI/ka-sad-suk-bridge/images/PIC09.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 21 มี.ค. 14, 20:12
สะพานยศเสหรือสะพานกษัตริย์ศึกครับ ตึกสูงๆน่าจะเป็นโรงพยาบาลหัวเฉียว


เอาภาพปัจจุบันมาลงเทียบให้ดูก่อน  ;D

เก่งทั้งคู่เลย..... มาดูเสาไฟฟ้า พาดสายไฟฟ้า หรือ พาดสายโทรเลข หรือ พาดสายโทรศัพท์  ???

 ๖ แถวข้างล่างที่มีลูกถ้วยเซรามิก คือสายไฟฟ้า สมัยนั้นยังส่งกระแสไฟฟ้าด้วยแรงดัน ๑๑๐ โวลท์

๕ แถวข้างบน คงจะเป็นสายโทรศัพท์มั่ง สายโทรเลขมั่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 21 มี.ค. 14, 22:09
เชิงสะพานฝั่งถนนกรุงเกษม/ถนนบำรุงเมือง หัวมุมถนนด้านขวาเคยเป็นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านซ้ายเป็นโรงภาพยนต์เฉลิมเขตร
ต่างจากโรงภาพยนต์เฉลิมอื่นๆซึ่งใส่คำ เฉลิม เป็นtradition ของชื่อโรงหนังในกรุง แต่เฉลิมเขตรเป็นพระนามขององค์บุพการีของท่านเจ้าของโรง
พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล พระมารดาของพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เฉลิมพลฑิฆัมพร และอนุสรณ์มงคลการ
เฉลิมเขตรฉายภาพยนต์ฝรั่งเป็นหลัก มีภาพยนต์ไทยบ้างก็ที่สร้างโดยอัศวินภาพยนต์และละโว้ภาพยนต์เท่านั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 21 มี.ค. 14, 23:30
ภาพของคุณsiameseน่าจะถ่ายเมื่อ พ.ศ.2472 หรือปล่าวคร้บ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 21 มี.ค. 14, 23:41
เส้นคู่ด้านซ้าย เป็นทางรถไฟ ??? รถราง และข้างๆสะพาน เป็นวัดไช่ไหมครับ  หากมาจากเจริญผล ก่อนขึ้นสะพาน จะมีร้านก๋วยเตี๋ยวแคะ อร่อยมากครับ หาทานยากแล้ว เคยไปยืนรอโต๊ะนั่ง เห็นภาพคุณเพ็ญชมพูโพสแล้ว เข้าทางเลย 5555


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มี.ค. 14, 08:00
ภาพของคุณsiameseน่าจะถ่ายเมื่อ พ.ศ.2472 หรือปล่าวคร้บ
เป็นภาพถ่ายก่อนการเปิดใช้สะพานแน่นอนครับ ก่อน พ.ศ. ๒๔๗๒ เล็กน้อย มีภาพทำการเปิดสะพานนั้นรัชกาลที่ ๗ เสด็จรถยนต์ข้ามสะพานนี้ไปครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 14, 10:33
โรงภาพยนตร์เฉลิมเขต อดีตกับปัจจุบัน
เมื่อเปิดโรงใหม่ๆ ฉายภาพยนตร์ฝรั่งเรื่องดังๆหลายเรื่อง     ต่อมาก็ฉายภาพยนตร์ไทยของละโว้ภาพยนตร์   จำได้ว่าอรัญญา นามวงศ์เป็นนางเอกอยู่หลายเรื่อง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 14, 11:56
มีใครพอจะบอกอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพนี้ได้บ้างคะ
มีคำบรรยายสั้นๆ ว่า วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน กรุงเทพ เมื่อปีพ.ศ.2485


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มี.ค. 14, 14:29
มีใครพอจะบอกอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพนี้ได้บ้างคะ
มีคำบรรยายสั้นๆ ว่า วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน กรุงเทพ เมื่อปีพ.ศ.2485

จุดถ่ายภาพน่าจะถ่ายจากริมถนนนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 14, 14:49
คนที่เป็นเจ้าของรถสปอร์ตเปิดประทุน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่ไม่ธรรมดาเลยนะคะ  คุณ siamese ว่ายังงั้นไหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มี.ค. 14, 16:48
ภาพรถคันงาม ผู้ที่ยืนคิดว่าเป็นคุณพิมพวัลคุ์ เสถบุตร ภรรยาของ ส.เสถบุตร

ภาพที่สองเป็นคุณ ส.เองยืนกับรถ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มี.ค. 14, 17:51
รถสปอร์ตเปิดประทุนกับรถของคุณส. ยี่ห้ออะไรคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 14, 07:57
ไม่ทราบครับอาจารย์

น่าจะเป็นของอังกฤษ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 มี.ค. 14, 09:06
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47661;image)

รถของคุณสอคันนี้ยี่ห้อ LANCHESTER (http://www.dsinasia.com/Thailand/MalayaTrip.html)  

คุณหมอชัยยะ เสถบุตร  (http://www.sarakadee.com/feature/2002/04/so_sethaputra.htm) ลูกชายคนโตของคุณสอ (ในภาพเป็นคนที่ยืนอยู่ขวาสุด) เล่าว่า

รถคันนี้เป็นรถอังกฤษ มีเทคโนโลยีใหม่ เป็นเกียร์ระบบ Wilson Preselector เกียร์อยู่หลังพวงมาลัย เวลาขับต้องเปลี่ยนเกียร์ก่อน แล้วถึงเหยียบคลัตช์ทีหลัง ระบบกันกระเทือนก็เป็น Torsion bar ไม่ใช้แหนบ ....

คุณพ่อชอบขับรถท่องเที่ยวมาก และมักจะไปไกล ๆ ทั้ง ๆ ที่ถนนก็แย่มากในสมัยนั้น ถนนลาดยางมีแค่กรุงเทพฯ-บางปู ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ คุณพ่อขับรถ Lanchester ไปถึงแม่สาย เชียงของ ข้ามดอยช้างไปฝาง-เชียงใหม่ แล้วลงมาทางลี้ เถิน ซึ่งเส้นทางยิ่งกว่าทางรถลากไม้ในป่า....ที่ตลกอย่างหนึ่งก็คือทั้งที่คุณพ่อชอบรถมาก แต่ไม่เคยขับรถเร็วเลย สัก ๔๐-๕๐ ไมล์ก็เร็วเต็มที่แล้ว คุณพ่อไม่เคยขับเกินนี้


คันนี้น่าจะเป็นรุ่นใกล้ ๆ กัน

LANCHESTER LD10  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มี.ค. 14, 10:25
ไม่เคยได้ยินยี่ห้อนี้เลยค่ะ  แต่ต้องเป็นรถดีทนทานมาก จึงลุยไปได้ถึงเชียงใหม่   ขอบคุณโปรเฟสเซอร์เพ็ญที่หาคำตอบมาให้ได้ค่ะ

ยกรถข้ามหน้ามาให้ดูอีกครั้ง เผื่อใครนึกออกว่ายี่ห้ออะไร   น่าจะรถยุโรป ไม่อังกฤษก็ฝรั่งเศส   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มี.ค. 14, 11:02
ไม่เคยได้ยินยี่ห้อนี้เลยค่ะ  แต่ต้องเป็นรถดีทนทานมาก จึงลุยไปได้ถึงเชียงใหม่   ขอบคุณโปรเฟสเซอร์เพ็ญที่หาคำตอบมาให้ได้ค่ะ

ยกรถข้ามหน้ามาให้ดูอีกครั้ง เผื่อใครนึกออกว่ายี่ห้ออะไร   น่าจะรถยุโรป ไม่อังกฤษก็ฝรั่งเศส   

เจอแล้วครับ 1952 Lanchester Fourteen Deville DHC


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มี.ค. 14, 15:59
ตรงนี้เคยเป็นคุกเก่าใช่ไหม? ก่อนมาเป็นศาลฎีกา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มี.ค. 14, 16:13
ด้านที่เห็นคลองคูเมือง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 มี.ค. 14, 16:25
๒ ภาพนี้ถ่ายห่างกัน ๓ ปี  รูปที่สะพานผ่านพิภพลีลายังไม่ได้สร้างถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ส่วนรูปที่เห็นสะพานถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ทางด้านซ้ายคือเรือนจำลหุโทษ ซึ่งต่อมาคือที่ตั้งของรูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผม  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 25 มี.ค. 14, 20:14
ขอทายภาพด้วยคน ครับ
เริ่มจากรูปนี้ ห้างอะไรเอ่ย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 25 มี.ค. 14, 20:17
ห้าง รัตนมาลา ครับ ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 25 มี.ค. 14, 20:27
ผิดครับ รอใครมาเฉลยดีเอ่ย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 25 มี.ค. 14, 20:34
อย่าบอกนะ ว่าห้าง ศิวิลัยพาณิชย์ หรือ ห้าง สี่สหายพาณิขย์ ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 มี.ค. 14, 20:46
ขอทายภาพด้วยคน ครับ
เริ่มจากรูปนี้ ห้างอะไรเอ่ย

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47714;image)

ห้างนี้นี่แหละ  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=46480;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 มี.ค. 14, 20:53
ปัจจุบันคือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มี.ค. 14, 20:58
ห้างไทยนิยม

จอมพล ป. ได้มาเปิดห้างสรรพสินค้าเพื่อไทยใช้ไทยเจริญ ไชโย ๆ  ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 มี.ค. 14, 21:04

เจอแล้วครับ 1952 Lanchester Fourteen Deville DHC

สมเป็นหนุ่มในตะเกียงวิเศษ  ถามอะไรตอบได้หมด

ถ้างั้นในภาพปริศนาก็ต้องเป็นพ.ศ. 2495 ค่ะ ไม่ใช่ 2485  ซึ่งน้ำท่วมกรุงเทพทั้งเมือง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 มี.ค. 14, 21:12
ดูจากในภาพ น่าจะเป็น พ.ศ. ๒๔๘๕

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47672;image)

ถ้าเป็น พ.ศ. ๒๔๙๕ พระอุโบสถคงเสร็จสมบูรณ์แล้ว  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 25 มี.ค. 14, 21:16
ห้างไทยนิยม มีการจัดร้านสินค้า
แบบ บองมาเช่ ในประเทศฝรั่งเศส
มาทายรูปต่อไป
สถานนี้คือที่ไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 มี.ค. 14, 21:25
สระน้ำ สวนลุงกำนัน พ.ศ. ๒๕๐๓  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 25 มี.ค. 14, 21:37
ถูกอีกแระ เอาอีกสักรูป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 มี.ค. 14, 21:41
ที่เห็นหลังคาตึกข้างหลังคือคณะของคุณเทาชมพู พ.ศ. ๒๕๐๒  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 มี.ค. 14, 22:25
ดูจากในภาพ น่าจะเป็น พ.ศ. ๒๔๘๕

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47672;image)

ถ้าเป็น พ.ศ. ๒๔๙๕ พระอุโบสถคงเสร็จสมบูรณ์แล้ว  ;D

หารถ lanchester รุ่น 1942 ไม่ได้  เป็นช่วงสงคราม ไม่แน่ใจว่าโรงงานผลิตหรือเปล่า    แต่หารถยี่ห้ออื่นรุ่น 1942 มาเปรียบเทียบแทน
จะเห็นได้ว่ารถรุ่น 1942 และ 1952 ห่างกัน 10 ปี รูปลักษณ์ผิดกันมาก
รถในรูปวัดพระศรีมหาธาตุ ไม่น่าเป็นรถรุ่นสงครามโลก  น่าจะเป็นรถรุ่นหลังสงคราม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 มี.ค. 14, 13:39
หน้าตาคล้าย Alfa Romeo 

คันทางขวามือ คือ Alfa Romeo รุ่น 6C2500 ปี 1946 (http://www.coopertechnica.com/1947-Alfa-Romeo-6C2500-Super-Sport-Pinin-Farina-Cabriolet.php)  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 มี.ค. 14, 14:34
หน้าตาของคนไทย(คนไทยแท้)คงเป็นแบบนี้

ในกรุงศรีอยุธยาหน้าตาคนเมืองหลวงโดยทั่วไปน่าจะเป็นแบบนี้

ก่อนที่คนไทยจะมีหน้าตาแบบลูกผสมอย่าง พศ นี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 มี.ค. 14, 15:10
มีตัวอย่างหน้าตาคนไทยสมัยอยุธยามาให้ดู  ;D

๑. คณะราชทูตนำโดยออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เข้าเฝ้าเพื่อถวายพระราชสาส์นพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่ห้องกระจก พระราชวังแวร์ซายส์ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๒๒๙

ซ้าย - ออกพระวิสูตรสุนทร ราชทูต  กลาง - ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูต  ขวา - ออกขุนศรีวิสารวาจา ตรีทูต

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5688.0;attach=41194;image)

๒.

ออกขุนชำนาญใจจงในปี ค.ศ. 1689 วาดโดย คาร์โล มารัตตา ครับ  ;) เคยอ่านประวัติท่านเป็นทูตไปยังฝรั่งเศส แต่เรือเกิดอับปางแถวแหลมกู๊ดโฮป ท่านหมดตัวไม่มีอะไรจะกิน ต้องเอารองเท้าหนังมาปิ้งไฟกิน และได้เห็นคนป่าเปลือยกาย ซึ่งก็คือ ชาวอัฟริกา ครับ

ดังนั้นภาพทูตอีก ๒ ท่านที่คุณเพ็ญชมพูยกมา คงหมายถึง "ออกขุนชำนาญใจจงยังได้เป็นสมาชิกคณะผู้แทนอันประกอบด้วยข้าราชการสามคนที่ถูกส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในฝรั่งเศส และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๑๑ ในโรม ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี ค.ศ. 1688 ทูตอีกสองคนในคณะประกอบด้วยออกขุนวิเศษภูบาลและออกหมื่นพิพิธราชา"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 29 มี.ค. 14, 20:46
คฤหาสน์โบราณดูโอ่อ่าหลังนี้เป็นของตระกูลใดกันหนอ
คงมีผู้รู้แน่ๆเห็นว่างามดี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มี.ค. 14, 20:49
บ้านหลังนี้เคยนำลงแล้ว  ในกระทู้บ้านโบราณ   ต้องถามคุณเพ็ญชมพูค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 มี.ค. 14, 21:20
"บ้านเธียรประสิทธิ์"  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 มี.ค. 14, 21:34
ปัจจุบันเป็นส่่วนหนึ่งของ "โรงเรียนอนุบาลเปล่งประสิทธิ์ สาขาสีลม"  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 31 มี.ค. 14, 12:21
ขอถามผู้รู้ว่า สถานที่นี้ โยคีสถาน เป็นสถานที่เพื่อประโยชน์อันใด จขกทไม่ทราบจริงๆ
แต่คุ้นชื่ออยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 31 มี.ค. 14, 12:23
รูปประกอบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 14, 12:44
จำได้ว่าเป็นชื่อบริษัทภาพยนตร์ไทยของคุณวิรัช พึ่งสุนทร    แต่ก่อนหน้า เป็นร้านขายยาตามชื่อค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 มี.ค. 14, 12:52
สินค้าขายดีเห็นจะเป็น "ยาแก้ไอโยคี"  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 14, 12:57
นางเอกหนังเรื่อง "สลักจิต" บทประพันธ์ของ "บุษยมาส"   ผลิตโดยบริษัทภาพยนตร์โยคีสถานสี่พระยา   
เธอชื่อรสริน วิลาวัลย์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 มี.ค. 14, 15:30
ที่ตั้งของ โยคีสถาน ?



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ภูริทัต ที่ 31 มี.ค. 14, 21:17
ได้รับคำตอบเรื่อง โยคีสถาน ก็ทำให้นึกได้ว่าเมื่อตอนเป็นเด็กได้อาศัยอยู่ละแวกสี่พระยา ถนน นเรศ
มีบ้านโบราณเก่าๆอยู่หลายหลัง ปัจจุบันคงถูกทุบทิ้งสร้างเป็นตึกไปหมดแล้ว ตำนานของถนนสี่พระยาไม่รู้จะหาอ่านได้ที่ไหน
มีรูปมาทายอีกเช่นเคย สถานที่นี้คือที่ใด ไม่รู้ใช่สวนอัมพรหรือเปล่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 14, 21:31
ใช่ค่ะ   สวนอัมพร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 เม.ย. 14, 09:38
พศ 2489 สวนอัมพร พระบรมรูปทรงม้า พระที่นั่งอนันตสมาคม



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 เม.ย. 14, 11:23
มุมมองด้านตรงกันข้ามกับภาพก่อน     

โยคีสถาน คือตึกแถวสี่ชั้น  สองคูหา มีหน้าต่างสี่บาน ขายยาแก้ไอโยคี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 เม.ย. 14, 13:27
มุมมองด้านตรงกันข้ามกับภาพก่อน     

โยคีสถาน คือตึกแถวสี่ชั้น  สองคูหา มีหน้าต่างสี่บาน ขายยาแก้ไอโยคี

ดูแล้วไม่น่าจะใช่คนละมุมมองกับภาพที่แล้วนะครับ บนถนนเจริญกรุงหน้ายาแก้ไอโยคี ถนนใหญ่สี่ช่องจราจร มีฟุตบาทขนาดใหญ่ แต่ภาพล่าสุดถนนวิ่งสวนเลนกันเอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ไตรวุธ ที่ 09 เม.ย. 14, 14:12
รูปนี้สะพานผ่านฟ้าฯดูแปลกตาดีนะครับ

(http://teakdoor.com/Gallery/albums/userpics/26751/1894-klong-ong-ang-thonburi-YJY.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 เม.ย. 14, 15:46
สะพานผ่านฟ้า - จากสะพานไม้สู่สะพานเหล็ก  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 เม.ย. 14, 19:51
รูปนี้สะพานผ่านฟ้าฯดูแปลกตาดีนะครับ

ใช่แล้วครับ เป็นสะพานรุ่นโค้ง ที่ฮิตกระทำกันอยู่พักหนึ่ง จากฮอลแลนด์ครับ จะสังเกตุว่าประตูพฤฒิบาศ กลายเป็นประตูทรงหอรบอยู่ ๒ ฝั่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 เม.ย. 14, 20:19
กรุงเทพในอดีต  ต้นไม้มากมายดูครึ้มไปทั้งเมือง    สมัยโน้นคงเย็นสบายกว่าสมัยนี้มาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 เม.ย. 14, 22:07
สะพานผ่านฟ้า - จากสะพานไม้สู่สะพานเหล็ก  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47937;image) (http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47939;image)

จากสะพานเล็กสู่สะพานใหญ่  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 14, 11:55
รูปนี้ บรรยายว่าเป็นสระน้ำจุฬา  เมื่อขุดได้ไม่นาน    ตึกที่เห็นรำไรอยู่ข้างหลังคือตึกอะไรคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 เม.ย. 14, 13:38
รูปนี้ บรรยายว่าเป็นสระน้ำจุฬา  เมื่อขุดได้ไม่นาน    ตึกที่เห็นรำไรอยู่ข้างหลังคือตึกอะไรคะ

อย่าบอกนะว่าด้านหลังเป็นตึกที่อยู่ตรงข้ามถนนพญาไท โดยหลังสระน้ำจะเห็นรั้วเหล็กซี่เล็กๆ ต้นไม้จามจุรีปลูกไว้ที่ถนนพญาไท


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 14, 15:06
ยังนึกไม่ออกจริงๆว่าส่วนไหนของจุฬา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 เม.ย. 14, 16:00
อย่าบอกนะว่าด้านหลังเป็นตึกที่อยู่ตรงข้ามถนนพญาไท โดยหลังสระน้ำจะเห็นรั้วเหล็กซี่เล็กๆ ต้นไม้จามจุรีปลูกไว้ที่ถนนพญาไท

ตึกอธิการบดี  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 14, 16:34
มุมไหนของสระน้ำ คะ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 เม.ย. 14, 18:39
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=48019;image)

เป็นมุมมองผ่านด้านยาวของสระน้ำ ทะลุรั้วจุฬา ข้ามถนนพญาไท เห็นบางส่วนของตึกอธิการบดี  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 เม.ย. 14, 08:56
นึกออกแล้ว  ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: duke ที่ 23 ก.ย. 14, 10:25
ขอถามคุณหนุ่มสยาม ว่าถนนนี้เป็นถนนอะไร (สายยาว ซ้ายบนมาขวาล่าง)

มีโรงหนังอะไรอยู่บ้าง

ถามจริงๆผมไม่รู้ คิดว่าอาจจะเป็นเจริญกรุง (จำทิศทางไม่ได้แม่น)

ถนนที่เห็นน่าจะเป็นเยาวราช แยกที่เห็นคือแยกเฉลิมบุรี ตึกซ้ายมือที่เห็นเป็นเเนวคือโรงเเรม7ชั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: duke ที่ 23 ก.ย. 14, 10:33
ขอถามคุณหนุ่มสยาม ว่าถนนนี้เป็นถนนอะไร (สายยาว ซ้ายบนมาขวาล่าง)

มีโรงหนังอะไรอยู่บ้าง

ถามจริงๆผมไม่รู้ คิดว่าอาจจะเป็นเจริญกรุง (จำทิศทางไม่ได้แม่น)

น่าจะเป็นถนนเยาวราช แยกที่เห็นก็คือแยกเฉลิมบุรี ตึกด้านซ้ายที่เห็นเป็นแนวก็คือโรงแรม7ชั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: duke ที่ 23 ก.ย. 14, 10:39
ถนนนครไชยศรี ราว พศ 2480-2490

คลาสิคมากๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: duke ที่ 23 ก.ย. 14, 10:48
เคี่ยนหงวนมอเตอร์ ถนนสุริยวงศ์
ปั้มนี้ผมยังทันนะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ก.ย. 14, 11:10
มีธงต่างชาติดูไม่ออกว่าเป็นธงชาติไหน
น่าเป็นพิธีต้อนรับการเยือนประเทศ
ภาพบอก แค่ ปี 2450


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.ย. 14, 11:39
มีธงต่างชาติดูไม่ออกว่าเป็นธงชาติไหน
น่าเป็นพิธีต้อนรับการเยือนประเทศ
ภาพบอก แค่ ปี 2450

ปี 2450 ไม่มีพระราชอาคันตุกะ มีเพียงรัชกาลที่ ๕ เสด็จนิวัติพระนครกลับจากยุโรป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ก.ย. 14, 07:24
มีธงต่างชาติดูไม่ออกว่าเป็นธงชาติไหน
น่าเป็นพิธีต้อนรับการเยือนประเทศ
ภาพบอก แค่ ปี 2450

ธงพื้นบนแดง พื้นล่างขาว ร่วมสมัย คือ ธงของประเทศโมนาโค แต่จะเกี่ยวข้องกันหรือมไม่ต้องสืบต่อไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 ก.ย. 14, 08:34
คงไม่ใช่ธงชาตินะครับ ถ้าใช่ จะต้องอยู่ระดับเดียวกับธงชาติสยาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 25 ก.ย. 14, 23:56
อยากทราบว่าภาพนี้เป็นพระราชพืธีใดสมัยใด ค้นจากกูเกิ้ล พอเข้าไปกลายเป็นเรื่องรถรางไม่มีภาพนี้
ถ้าเคยลงแล้วขออภัย เท่าที่ติดตามอ่านยังไม่เห็นค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ย. 14, 06:16
เป็นพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารค ตามโบราณราชประเพณีหลังพระบรมราชาภิเษก ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 26 ก.ย. 14, 21:54
ดิฉันพบภาพเก่าของรถลากบนถนนเจริญกรุง บริเวณสี่กั๊กพระยาศรีและรูปรถรางรุ่นแรกถนนเจริญกรุง
จากเวบซึ่งฝรั่ง Eric Lim เขียนในหัวข้อ   
Favorite Bangkok photographs
share your special moments
เล่าว่าซื้อภาพมาจากคนขายของข้างทางสองภาพ
ภาพละ 20บาท ไม่ได้บอกปีที่ซื้อ
(ขออนุญาตินะคะเจ้าของภาพ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 26 ก.ย. 14, 22:58
ส่วนรูปนี้ปี1959จากเวบเดียวกัน tour-Bangkok-legacies
ชื่อเรื่อง Old Bangkok photos
by Vic Plant
(North Carolina, USA)
เขาถ่ายเองจากเรือของUS Navy ที่กรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยา ไม่มีการตกแต่งภาพใดๆ
เจ้าของอยากทราบว่าเป็นเรืออะไร ยังไม่มีใครตอบค่ะ




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ก.ย. 14, 07:43
ให้คุณ Visitna ดูการประดับธงช้างสยาม และสองข้างเป็นธงสลับลายมีขาวอยู่บน และขาวอยู่ล่าง อันเป็นการประดับด้วยธง ซึ่งคงไม่เกี่ยวกับว่าเป็นธงชาติของต่างประเทศครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ก.ย. 14, 08:02
ส่วนรูปนี้ปี1959จากเวบเดียวกัน tour-Bangkok-legacies
ชื่อเรื่อง Old Bangkok photos
by Vic Plant
(North Carolina, USA)
เขาถ่ายเองจากเรือของUS Navy ที่กรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยา ไม่มีการตกแต่งภาพใดๆ
เจ้าของอยากทราบว่าเป็นเรืออะไร ยังไม่มีใครตอบค่ะ



ก็เรือสินค้าแบบจีนธรรมดาๆใชใบ ลำไม่ใหญ่นัก สำหรับวิ่งเลียบชายฝั่งค้าขายกับหัวเมืองครับ
ภาพเรืออย่างนี้เยอะมากเพราะฝรั่งชอบถ่าย โดยเฉพาะจากอินโดจีนและพม่าที่พวกเขาอยู่กันเยอะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ก.ย. 14, 08:12
ขอบคุณ ท่าน NAVARAT.C และ คุณหนุ่ม

คุณKunlamata  นี่เป็นเรือสำเภาแบบจีนที่อาจจะไปถึงจีนหรือเลียบฝั่งตามอ่าวไทย
ภาพปี  2479 เรือล่องออก แม่นํ้าเจ้าพระยา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ก.ย. 14, 08:25
จะพบเห็นเรืออย่างนี้ตามหัวเมืองริมทะเลของไทย
เช่นที่กระบี่
ภาพที่สองที่นครศรีธรรมราช


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ก.ย. 14, 08:29
จะพบเห็นเรืออย่างนี้ตามหัวเมืองริมทะเลของไทย
เช่นที่กระบี่
ภาพที่สองที่นครศรีธรรมราช

เรือใช้ใบแล้ว ช่วยล่องเรือเข้าบางกอก ด้วยครับ  :P :P


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ก.ย. 14, 09:08
ส่วนรูปนี้ปี1959จากเวบเดียวกัน tour-Bangkok-legacies
ชื่อเรื่อง Old Bangkok photos
by Vic Plant
(North Carolina, USA)
เขาถ่ายเองจากเรือของUS Navy ที่กรุงเทพ แม่น้ำเจ้าพระยา ไม่มีการตกแต่งภาพใดๆ
เจ้าของอยากทราบว่าเป็นเรืออะไร ยังไม่มีใครตอบค่ะ

เป็นเรือสำเภาจีน ฝรั่งเรียกว่า junk  ;D

ผมเอาเรือสำเภาจีนที่วิ่งค้าขายในลำน้ำเจ้าพระยา ตลอดไปถึงหัวเมืองปักษ์ใต้มาให้ดู เรือชนิดนี้เหลือรอดมาให้ฝรั่งถ่ายรูปไว้ได้ในยุครัตนโกสินทร์เลยทีเดียว

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4341.0;attach=18390;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 27 ก.ย. 14, 09:24
Seaman CM Vic Plant in 1957รูปเจ้าของภาพแรกค่ะที่ถ่ายภาพเรือและชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและลงภาพเขียนเรื่องความประทับใจเมืองไทยในเวบ
รูปที่สองเป็นเรือชื่อUSS Maury ของUS Navy ที่คุณVic ทำงานเข้ามากรุงเทพ ปี1959ค่ะ
อีกสองภาพคือภาพเรือและชุมชนริมฝั่งเจ้าพระยาที่เขาถ่ายภาพไว้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 27 ก.ย. 14, 09:28
มีอีกสองภาพค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 27 ก.ย. 14, 09:33
ดิฉันอยากถามท่านอาจารย์ทั้งหลายว่า จากภาพเป็น ส่วนไหนของแม่น้ำเจ้าพระยาค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ก.ย. 14, 10:08
ปากน้ำสมุทรปราการครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ก.ย. 14, 18:05
6 สิงหาคม 2478 ที่ปากนํ้าสมุทรปราการ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 27 ก.ย. 14, 20:54
รบกวนถามต่ออีกนิดนะคะ
ตึกหลังคาแดงในภาพของคุณVicคือตึกอะไรคะหรือวัด
มีสถานที่ในภาพที่น่าสนใจและปัจจุบันต่างจากในภาพมากไหมคะ50กว่าปี
ดิฉันไม่คุ้นทางปากน้ำสมุทรปราการค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ก.ย. 14, 21:38
เดี๋ยวนี้เป็นสำนักงานเทศบาลนครสมุทรปราการครับ
แต่ก่อสร้างจนจำสภาพเดิมไม่ได้แล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: แมวเซา ที่ 27 ก.ย. 14, 22:26
ผมชื่นชอบการออกแบบลักษณะใบเรืออย่างนี้มาก เพราะรู้สึกว่าแข็งแรงทนทาน สะดวก รวดเร็วในการใช้งาน เป็นความสุดยอดในเชิงวิศวกรรมแล้ว ความสุดพิศดารในศิลปการออกแบบคือดูเูหมือนครีบของปลาเพื่อมารับกับส่วนหัวที่เป็นรูปหัวปลาคู่กันดีครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ก.ย. 14, 11:11
คุณแมวเซา ครับผมชื่นชมเรื่องการทำเรือเล็กๆของชาติเรา  เช่นเรือสำปั้น เรือพาย เรือแจวทั้งหลาย
คนไทยใช้ สร้าง พัฒนาเรื่อยมา จนมีรูปร่างสวยงาม ประณีต   เราเน้นการใช้งาน ไม่ใช้ท่องเทียว
(เลยไม่อลังการเท่า เรือกอนโดล่า)
มีคำภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับเรือที่ผมเพิ่งได้ยิน คือ
PIROGUE เรือขุดจากไม้ต้นเดียว
PINNACE  เรือบดที่อยู่บนเรือใหญ่ หรือเรือใบเล็กยาว

คลองมหานาค 2478


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 28 ก.ย. 14, 22:25
รบกวนถามต่ออีกนิดนะคะ
ตึกหลังคาแดงในภาพของคุณVicคือตึกอะไรคะหรือวัด
มีสถานที่ในภาพที่น่าสนใจและปัจจุบันต่างจากในภาพมากไหมคะ50กว่าปี
ดิฉันไม่คุ้นทางปากน้ำสมุทรปราการค่ะ
ตึกหลังคาแดงริมแม่น้ำ คือสโมสรนักเรียนนายเรือ ที่โรงเรียนนายเรือ สมุทรปราการ
ก่อสร้างประมาณปี2497-98 หลังจากโรงเรียนนายเรือย้ายกลับจากเกล็ดแก้ว
ที่ลานหญ้าด้านหน้าสโมสร เคยเป็นที่ตั้งอนุสรณ์ร.ล.ธนบุรี
ยังเคยเห็นร.ล.ธนบุรีตอนที่เขาจูงมาจอดเทียบที่ริมน้ำหน้าโรงเรียน เพื่อตัดส่วนที่สำคัญไว้เป็นอนุสรณ์
ต่อมามีโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณโรงเรียนในวาระครบหนึ่งร้อยปีการก่อตั้ง อนุสรณ์ร.ล.ธนบุรีได้ถูกชะลอมาไว้ที่ตั้งปัจจุบัน
ส่วนอาคารสโมสรหลังแดงๆริมน้ำถูกรื้อแล้วสร้างใหม่เป็นอะไรไม่มั่นใจครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ก.ย. 14, 07:05
คลองมหานาค ในสมัยรัชกาลที่ ๖


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ก.ย. 14, 07:58
รบกวนถามต่ออีกนิดนะคะ
ตึกหลังคาแดงในภาพของคุณVicคือตึกอะไรคะหรือวัด
มีสถานที่ในภาพที่น่าสนใจและปัจจุบันต่างจากในภาพมากไหมคะ50กว่าปี
ดิฉันไม่คุ้นทางปากน้ำสมุทรปราการค่ะ
ตึกหลังคาแดงริมแม่น้ำ คือสโมสรนักเรียนนายเรือ ที่โรงเรียนนายเรือ สมุทรปราการ
ก่อสร้างประมาณปี2497-98 หลังจากโรงเรียนนายเรือย้ายกลับจากเกล็ดแก้ว
ที่ลานหญ้าด้านหน้าสโมสร เคยเป็นที่ตั้งอนุสรณ์ร.ล.ธนบุรี
ยังเคยเห็นร.ล.ธนบุรีตอนที่เขาจูงมาจอดเทียบที่ริมน้ำหน้าโรงเรียน เพื่อตัดส่วนที่สำคัญไว้เป็นอนุสรณ์
ต่อมามีโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณโรงเรียนในวาระครบหนึ่งร้อยปีการก่อตั้ง อนุสรณ์ร.ล.ธนบุรีได้ถูกชะลอมาไว้ที่ตั้งปัจจุบัน
ส่วนอาคารสโมสรหลังแดงๆริมน้ำถูกรื้อแล้วสร้างใหม่เป็นอะไรไม่มั่นใจครับ
คุณJalitoถูกครับ ผมผิด
ตอนแรกคิดจะตอบว่าเป็นโรงเรียนนายเรือเหมือนกัน แต่ลังเล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ก.ย. 14, 14:31
นอกเรื่องเมืองบางกอก สักนิด

ได้ดูสารคดีนำเที่ยว  ล่องแม่นํ้าไนเจอร์ ประเทศมาลี
ด้วยเรือ พินนาเซ ชนิดยาว  เขาวางเครื่องยนต์แปลกมาก
เพิ่งเคยเห็น
คือวางอยู่ในเรือ เจาะช่องในท้องเรือ   ให้ใบพัดลงไปอยู่ในนํ้า   

เครื่องเรือหางยาว  ทำหางให้สั้น  น่าวางอย่างนี้ได้
แต่ถ้านํ้าเรืออย่างเร็ว อาจถึงจมได้ 
ทำผนังกันนํ้าไว้สองชั้น และ ยกลำเรือด้านหางเรือให้สูง 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ก.ย. 14, 19:20
เรือจ้างข้ามฟากในแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 30 ก.ย. 14, 11:13
คนสุดท้ายที่กางร่ม เหมือนจะเป็นพระนะคะ

ส่วนเจ็กสวมหมวกที่อยู่หัวเรือกำลังตักน้ำ จะหาบไปขายด้วยหรือไม่หนอ ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ก.ย. 14, 11:20
คนสุดท้ายที่กางร่ม เหมือนจะเป็นพระนะคะ

ส่วนเจ็กสวมหมวกที่อยู่หัวเรือกำลังตักน้ำ จะหาบไปขายด้วยหรือไม่หนอ ?

ใช่ครับเป็นพระสงฆ์ และดูดีๆนะ บรรดาแม่ค้าขึ้นจากเรือลำหน้า แต่ไปเหยียบหัวเรืออีกลำขึ้นฝั่ง  8)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 14, 11:34
นึกถึงความหลังตอนเด็กๆ  เคยนั่งเรือจ้างข้ามฟากเจ้าพระยา  เวลาขึ้นต้องขึ้นทางหัวเรือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 30 ก.ย. 14, 12:45
ค้นเจอรูปเก่าที่ขายกันในE-Bay ขออนุญาติมาลงคงมิเป็นไรนะคะ ไม่เห็นในกระทู้นี้ ถ้าเคยลงขออภัยด้วย
1) เป็นรูปวัดแจ้งปี1901_อาจารย์มีเกร็ดเล่ามั้ยคะ
2) ตลาดน้ำ_อาจารย์ว่าช่วงไหนคะ ที่ไหนด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 30 ก.ย. 14, 13:36
อ้างถึง
ได้ดูสารคดีนำเที่ยว  ล่องแม่นํ้าไนเจอร์ ประเทศมาลี
ด้วยเรือ พินนาเซ ชนิดยาว  เขาวางเครื่องยนต์แปลกมาก
เพิ่งเคยเห็น
คือวางอยู่ในเรือ เจาะช่องในท้องเรือ   ให้ใบพัดลงไปอยู่ในนํ้า   

เรือข้ามฟากจากตลาดเมืองพิจิตร ไปสถานีรถไฟพิจิตร ประมาณปี พ.ศ. 2530 นี่เอง ก็ยังเจาะช่องเอาใบพัดเรือจุ่มน้ำอย่างนี้เหมือนกันครับ
แต่ตอนนี้ เรือที่ว่านี้ไม่มีแล้ว เพราะว่ามีการทำสะพานจึงเคเบิลจากฝั่งตลาดไปฝั่งสถานีรถไฟ เรือข้างฟากจึงหมดความนิยมลงไปครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ก.ย. 14, 14:12
2) ตลาดน้ำ_อาจารย์ว่าช่วงไหนคะ ที่ไหนด้วย

คลองมหานาค โบ๊เบ๊  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ก.ย. 14, 14:58
ถ้าเป็นภาพของ ดิมิทรี เคสเซล น่าจะเป็นปี 2493 ตำแหน่ง คงเป็นแบบคุณเพ็ญชมพู บอก




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ก.ย. 14, 15:09
วัดแจ้ง อีกลักษณะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ก.ย. 14, 15:26
ค้นเจอรูปเก่าที่ขายกันในE-Bay ขออนุญาติมาลงคงมิเป็นไรนะคะ ไม่เห็นในกระทู้นี้ ถ้าเคยลงขออภัยด้วย
1) เป็นรูปวัดแจ้งปี1901_อาจารย์มีเกร็ดเล่ามั้ยคะ
2) ตลาดน้ำ_อาจารย์ว่าช่วงไหนคะ ที่ไหนด้วย

ซุ้มประตูทรงมงกุฎ พร้อมด้วยยักษ์เปรียบเสมือนทวารบาล สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยักษ์คู่นี้ถูกฟ้าผ่าพังทลายลง และซุ้มประตูก็ทรุดโทรมลงไปมากถึงกับมีแนวคิดที่จะทำการรื้อถอนออกไป แต่ก็โปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมและบูรณะไว้เนื่องจากเป็นประตูทรงมงกุฎที่มีลักษณะงดงามครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 30 ก.ย. 14, 15:28
ฝรั่งเรียกFloating Market ทุกแห่ง
สมัยก่อนเยอะไปหมดนะคะ
คลองมหานาค โบ๊เบ๊นีเอง ดิฉันขาดความละเอียดรอบคอบ เพิ่งลงไปหยกๆ
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์visitna/อาจารย์เพ็ญชมพู/อาจารย์Siamese
Visiting Prof. ของเรือนไทย

ตอนนี้ฟ้ากำลังผ่าค่ะ ฝนตกฟ้าคะนอง นึกถึงยักษ์วัดแจ้งที่โดนฟ้าผ่าค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ก.ย. 14, 15:38
ไปรษณีย์โทรเลขกลาง เดิมเป็นสถานกงสุลอังกฤษ ตอนนี้ได้มีคำบรรยายใต้ภาพว่า พ.ศ. ๒๔๖๙ ตรงกับต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๗
ที่มา Test1


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 30 ก.ย. 14, 17:23
ดิฉันพบภาพเด็กนักเรียนไว้จุกนั่งโต๊ะเรียน ในเวบที่หัวข้อคือ"กำเนิดโรงเรียนของไทย" ในสมัยรัชกาลที่5 นั่นเอง
ภาพประกอบไม่บอกรายละเอียดเลย แค่เด็กๆนั่งเรียนตามที่เห็น
อาจารย์พอจะให้รายละเอียดเพิ่มได้มั้ยคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 14, 17:32
ขยายภาพให้ดูกันชัดขึ้น นะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ก.ย. 14, 19:54
ดิฉันพบภาพเด็กนักเรียนไว้จุกนั่งโต๊ะเรียน ในเวบที่หัวข้อคือ"กำเนิดโรงเรียนของไทย" ในสมัยรัชกาลที่5 นั่นเอง
ภาพประกอบไม่บอกรายละเอียดเลย แค่เด็กๆนั่งเรียนตามที่เห็น
อาจารย์พอจะให้รายละเอียดเพิ่มได้มั้ยคะ

ส่งภาพชัดๆ ครับ เด็กน้อย ๒ ท่านนี้ใบ้ว่า วิ่งเล่นในวังของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เชิงสะพานเหล็กครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ก.ย. 14, 20:15
วัตถุเกี่ยวกับตำราไทยอย่างหนึ่งคือ กากะเยีย เป็นไม้กลึงกลมสี่เสา ขัดกันเป็นฐานสำหรับวางใบลาน ใช้ในการอ่านตำราไทย ปัจจุบันไม่มีใครรู้จักอีกแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ต.ค. 14, 14:18
ถนนบริพัตร มองจากสี่แยกถนนบำรุงเมือง 2493


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 01 ต.ค. 14, 22:58
เป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารคปีไหนคะจากภาพโปสการ์ดเก่าจากเวบ 2bangkokค่ะ
ซึ่งเขาก็บอกว่าFront and reverse of an undated holiday card – The credit under the photo reads: Published by the Whiteley of Bangkok – – Kiam Hoa Heng & Co., and the British Dispensary   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ต.ค. 14, 23:29
พระราชพิธีมหาพิไชยมงคลลงสรงสนานเฉลิมพระปรมาภิไธยสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2429


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: แมวเซา ที่ 02 ต.ค. 14, 00:02
ผมคิดว่าหลังคากัณยาเรือในพระราชพิธีของไทยเรา เป็นดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษดูงดงาม แข็งแรง แต่สามารถวางลงบนเรือยาวที่มีรูปทรงอ่อนช้อยได้อย่างกลมกลืนที่สุด

ส่วนภาพรถม้าในพ.ศ.2493 น่าสนใจว่ายังหลงเหลืออยู่ในกรุงเทพอีก แถมเป็นม้าพันธุ์ไทยด้วย ผมคิดว่า โดนกองทัพญี่ปุ่นก้ว้านซ้ื้อไปหมด(เหมือนหัวเมืองเหนือ)ตอนที่เขาบุกไปในพม่าสมัยสงครามโลกนะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ต.ค. 14, 07:14
ถนนบริพัตร มองจากสี่แยกถนนบำรุงเมือง 2493

ม้าไว้บรรทุกของ คลาสิกมากๆเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ต.ค. 14, 08:53
เป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารคปีไหนคะจากภาพโปสการ์ดเก่าจากเวบ 2bangkokค่ะ
ซึ่งเขาก็บอกว่าFront and reverse of an undated holiday card – The credit under the photo reads: Published by the Whiteley of Bangkok – – Kiam Hoa Heng & Co., and the British Dispensary


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=51438;image)   

(http://www.bloggang.com/data/offway/picture/1224690043.jpg)

เป็นภาพมุมสูงในวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๙ ซึ่งเป็นวันที่ ๔ ของการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคล ลงสรงสนานรับพระปรมาภิไธย ให้สถาปนาสมเดจพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าราชกุมารพระองค์ใหญ่ ขึ้นเปนสมเดจพระบรมโอรสาธิราช มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรบรมมกุฎนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงษ อุกฤษฐพงษวโรภโตสุชาติ ธัญญลักษณวิลาศวิบุลยสวัสดิ ศิริวัฒนวิสุทธิ สยามมกุฏราชกุมาร มุสิกนาม

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5828.0;attach=45110;image)(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5828.0;attach=45107;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5828.0;attach=45113;image)

จาก  จดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  (http://valuablebook.tkpark.or.th/image/DIARY/vc.html) หน้า ๑๖๓-๑๖๕

คุณกุลสามารถอ่านรายละเอียดมากกว่านี้ได้ที่กระทู้นี้

อยากทราบรายละเอียดของภาพนี้ครับ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5828.msg128810#msg128810)   ;D



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ต.ค. 14, 12:26
ภาพบนถนนมหาชัย ของ สตีพ แวนบีค  มีกี่ช๊อตไม่ทราบ(ผมก็มีหนังสือ BANGKOK THEN & NOW มีอยู่ช๊อตเดียว  ภาพเล็กๆ)
ภาพนี้เป็นอีกช๊อตที่ไม่เหมือนในหนังสือ คือมีฝรั่งเป็นคนเดินถนน  ถ่ายได้ชัดเจนมาก ตัวหนังสือเล็กยังอ่านออก
ประตูสะพานหันพังและรื้อออกปี 2455 สมัย ร 6
เดิมประตูนี้คิดกันว่าเริ่มแรกเป็นแค่ประตูช่องกุด แต่มีบานไม้ปิดเปิด เพิ่งมาทำเป็นประตูยอดสมัย ร5

จุดใกล้สุด ด้านซ้ายคงเป็นป้อมมหาชัย ด้านขวาเป็นวังบูรพา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ต.ค. 14, 12:38
อีกช๊อต


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ต.ค. 14, 13:47
ภาพบนถนนมหาชัย ของ สตีพ แวนบีค  มีกี่ช๊อตไม่ทราบ(ผมก็มีหนังสือ BANGKOK THEN & NOW มีอยู่ช๊อตเดียว  ภาพเล็กๆ)
ภาพนี้เป็นอีกช๊อตที่ไม่เหมือนในหนังสือ คือมีฝรั่งเป็นคนเดินถนน  ถ่ายได้ชัดเจนมาก ตัวหนังสือเล็กยังอ่านออก
ประตูสะพานหันพังและรื้อออกปี 2455 สมัย ร 6
เดิมประตูนี้คิดกันว่าเริ่มแรกเป็นแค่ประตูช่องกุด แต่มีบานไม้ปิดเปิด เพิ่งมาทำเป็นประตูยอดสมัย ร5

จุดใกล้สุด ด้านซ้ายคงเป็นป้อมมหาชัย ด้านขวาเป็นวังบูรพา

ถ้าได้ภาพชัดๆ ทางด้านสุดภาพก็จะเห็น เสาธงขนาดใหญ่ สูงตระหง่ายตั้งอยู่ครับ  ;D :o


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ต.ค. 14, 14:01
ผมถ่ายมาจากหนังสือ(ที่พิมพ์ไม่ค่อยดี ไม่ใช่ออฟเซท) อีกที
ที่อ่านจากคนอื่นเขาที่เคยเห็นต้นฉบับ  ป้ายหน้าร้านอ่านชัด ป้ายรถรางอ่านได้ชัด
ในร้านหนังสือเห็นของวางอยู่ในร้าน

ในหนังสือที่พิมพ์มาขาย ภาพเล็กนิดเดียว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 02 ต.ค. 14, 21:45
จากเวบ2bangkok.com รบกวนอาจารย์อธิบายเพิ่มจากคำถามคำตอบนี้ด้วยค่ะ

Undated photo of an elephant procession. Does anyone know any details about what is depicted in this photo?

One Response to Elephant Procession
ขบวนช้าง
Vatch Smitasin says:
January 9, 2012 at 3:11 am
As I recalled, this picture was taken when King Rama 7 went to Chiang Mai but I cannot remember what the occasion was. I got this information from a book written by W. R. Wood (consult to Siam at that time). The same photo is in the book printed between 1930-35. Unfortunately, I cannot recall the book title but I am sure it is not the History of Siam. It could be ‘Land of Smiles’. The book should be available at Siah Kee, 1216 New Road, Bangkok.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 03 ต.ค. 14, 07:10
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ เริ่มต้นตั้งแต่วันพฤหัสบดี ที่ ๖ มกราคม ๒๔๖๙ ทรงรถไฟพระที่นั่งผ่านเมืองต่าง ๆ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ณ เมืองพิษณุโลก เด่นชัย ทรงรถยนต์เสด็จเชียงราย พะเยา ลำปางจนถึงวันที่ ๒๒ มกราคม เสด็จประทับสถานีลำปาง ทรงรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีเชียงใหม่ทรงช้างพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินเข้านครเชียงใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ต.ค. 14, 07:12
จากเวบ2bangkok.com รบกวนอาจารย์อธิบายเพิ่มจากคำถามคำตอบนี้ด้วยค่ะ

Undated photo of an elephant procession. Does anyone know any details about what is depicted in this photo?

One Response to Elephant Procession
ขบวนช้าง
Vatch Smitasin says:
January 9, 2012 at 3:11 am
As I recalled, this picture was taken when King Rama 7 went to Chiang Mai but I cannot remember what the occasion was. I got this information from a book written by W. R. Wood (consult to Siam at that time). The same photo is in the book printed between 1930-35. Unfortunately, I cannot recall the book title but I am sure it is not the History of Siam. It could be ‘Land of Smiles’. The book should be available at Siah Kee, 1216 New Road, Bangkok.


ขบวนช้างในกระบวนตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ครับ

เชิญอ่านรายละเอียดที่   ตามรอยรัชกาลที่ 7 เสด็จฯมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2469  (http://generalresearchbychatbongkoch.blogspot.com/2010/12/7-2469.html)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:30
ไม่เคยอ่านและเห็นหนังสือเล่มนั้นเลย 
มีภาพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเสด็จเมืองเหนืออยู่บ้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:32
พิษณุโลก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:34
ต่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:39
ต่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:41
ต่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:43
อาจจะไม่เรียงลำดับเหตุการณ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:47
ต่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:49
เด่นชัย แพร่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:53
อุตรดิตถ์ สุโขทัย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 10:58
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2459 มีการจดทะเบียนสหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย คือ "สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้" ตั้งอยู่ในตำบลวัดจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก สหกรณ์แห่งนี้ทดลองจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเงินทุนของเกษตรกรโดยให้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เมื่อแรกตั้งมีสมาชิก 16 คน กู้เงินจากแบงก์สยามกัมมาจลจำนวน 3,000 บาท


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 11:00
น่าน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 11:02
เอาภาพชัดๆ มีอีกหลายภาพ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 11:04
เชียงใหม่ 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 11:08
ภาพสุดท้ายที่ชัดสวย   ( มีอีกหลายภาพแต่ไม่ค่อยชัด )


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 ต.ค. 14, 11:31
ภาพนี้เหมือนจะผิดยุค  ;D ป้ายทรงพระเจริญ ภ.ป.ร. ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ต.ค. 14, 13:42
ภาพอยู่ในชุดเดียวกันเลย อาจจะหลุดมาก็ได้ ?
รถเบ็นซ์ อาจจะดูแปลกเหมือน รุ่นหลังสงครามโลก ครั้งที่สอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: แมวเซา ที่ 03 ต.ค. 14, 21:01
สงสัยอยู่ว่าจะเป็น พ.ศ.2502 ที่ในหลวงร.9 เสด็จเยี่ยมโรงงานน้ำตาลไทยอุตรดิตถ์ ครับ (โรงงานเรีิ่มสร้างพ.ศ.2483 ปีที่มีเดือนไม่ครบ12เดือน)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 ต.ค. 14, 10:07
ภาพของ Dr Pendleton บรรยาย ไว้ อย่างนี้ Wangkapi & Utarardit - Bandara; Klong Tan Expt. Sta. 23, 24 Feb 48. Vichitr. Sugar mill from mill office.อาจจะเขียนผิดก็ได้  ข้อมูลจากเวป รถไฟไทย  ว่าอย่างนี้อีก "โดยในปี พ.ศ.2482 ได้มีการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงงาน โดย พันเอก พระยาพหลพยุหเสนา ( พจน์ พหลโยธิน ) เป็นประธาน และโรงงานได้เริ่มเดินเครื่องทำงานราวปีเศษต่อมา รับกับมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี "  คงจะสร้างปี 2483 นั้นแหละ , ของเพนเดิลตันถ่ายปี 2481 ซึ่งคงจะผิด
สังเกตุว่ามี  รถไฟ  ด้วยเห็นหัวรถจักรอยู่ทางขวามือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ต.ค. 14, 12:56
ด้านหน้าเขียนว่า โทรคาเดโร  ในปี 2460 เมื่อคราวนํ้าท่วม
น่าจะเป็นร้านอาหารก่อนที่จะมาเป็นโรงแรมอย่างในยุคต่อมา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ต.ค. 14, 14:35
ด้านหน้าเขียนว่า โทรคาเดโร  ในปี 2460 เมื่อคราวนํ้าท่วม
น่าจะเป็นร้านอาหารก่อนที่จะมาเป็นโรงแรมอย่างในยุคต่อมา

มายืนตรงข้ามโรงแรมโทรคาเดโร ถ่ายไปที่หัวมุมถนนตัดเจริญกรุง ร้านขายยาอังกฤษตรางูซ้ายมือ หนังสือพิมพ์สยามออบเซิฟเวอร์ขวามือ และภาพเทียบกับปัจจุบัน  ;) ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: แมวเซา ที่ 08 ต.ค. 14, 14:49
ภาพของ Dr Pendleton บรรยาย ไว้ อย่างนี้ Wangkapi & Utarardit - Bandara; Klong Tan Expt. Sta. 23, 24 Feb 48. Vichitr. Sugar mill from mill office.อาจจะเขียนผิดก็ได้  ข้อมูลจากเวป รถไฟไทย  ว่าอย่างนี้อีก "โดยในปี พ.ศ.2482 ได้มีการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างโรงงาน โดย พันเอก พระยาพหลพยุหเสนา ( พจน์ พหลโยธิน ) เป็นประธาน และโรงงานได้เริ่มเดินเครื่องทำงานราวปีเศษต่อมา รับกับมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี "  คงจะสร้างปี 2483 นั้นแหละ , ของเพนเดิลตันถ่ายปี 2481 ซึ่งคงจะผิด
สังเกตุว่ามี  รถไฟ  ด้วยเห็นหัวรถจักรอยู่ทางขวามือ

ยังมีโรงงานน้ำตาลเกาะคา จ.ลำปางอีกโรงนึงที่สร้างก่อนโรงงานน้ำตาลอุตรดิตถ์ 2-3ปี เป็นโรงงานสร้างใหม่แห่งแรกของประเทศไทย(ฝรั่งสร้างครับ)  พอสร้างเสร็จก็ส่งทีมงานเฉพาะคนไทยมาสร้างที่อุตรดิตถ์อีกโรง แต่เป็นโรงงานเก่ารื้อมาจากฟิลิปินส์สร้างเสร็จทันใช้งานในสมัยสงครามโลกด้วย เป็นโรงงานแบบเดียวกันคือใช้รถไฟราง75ซ.ม. ขนอ้อยเข้าโรงงาน  และมีราง 100ซ.ม.ไว้ขนน้ำตาลทราย ที่อุตรดิตถ์เขาได้หัวรถจักรชื่อ"สำโรง"ของรถไฟสายปากน้ำไปใช้แล้วยังคงอยู่จนเดี๋ยวนี้
โรงงานในภาพข้างบนน่าเป็นที่ลำปางมากกว่าครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ต.ค. 14, 16:04
Government Sugar Plantation & Mill, Gaw Ka, Changwat Laempang [Lampang]. Aug. 11, 1937. Office, Godown Mill
Dr Pendleton ถ่ายภาพที่เกาะคากำลังสร้าง  ไว้เช่นกัน และเขียนโน๊ตไว้อย่างข้างบน
คนละที่กันกับภาพวังกะพี้ วันที่  Dr  อาจจะผิด(เคยสังเกตุเห็น) ไม่รู้ที่เกาะคาหรือไม่ (ผมก็ไม่เคยเห็นโรงงานจริงๆ)
คุณแมวเซาอาจจะถูกก็ได้ ผมดูเอาจากคำอธิบายภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ต.ค. 14, 16:42
ผมมาคิดอาจจะจำสถานที่สับกันได้หรือไม่ เพราะฝรั่งไม่คุ้นเคยสถานที่เมืองไทย
ภาพที่ถ่าย โรงงานไม่ใช่ภาพเดียว จะถ่ายรอบๆบริเวณประกอบเป็นชุดสามสี่ภาพ
photographer 's note ไปในแนวทางเดียวกัน   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ต.ค. 14, 17:18
ภาพถนนสุรวงศ์ของคุณหนุ่มเยี่ยมมาก
โรงพักบางรัก(อาจจะไม่เห็น)ยังไม่ได้สร้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ต.ค. 14, 14:26
เมรุปูนวัดสระเกศ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ และเมรุไม้ขนาดเล็กผุพังแล้ว มี ๒ เมรุคู่กัน ถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ต.ค. 14, 15:48
เมรุไม้ที่เห็น อาจจะเป็นเมรุผ้าขาวที่ใช่ปลงศพบุคคลระดับพระองค์เจ้าได้ไหม พอจะใช้งานทีก็มาทำใหม่ที หลังงานแล้วก็ทิ้งไว้อย่างงั้น ผุพังไปตามเรื่อง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ต.ค. 14, 14:05
คุณป้าจ้างรถลากบรรทุกผักมาเต็มคันเลย มีทั้งกระจาดแสดงว่าเป็นแม่ค้าแน่นอน หากจับราวสะพานได้ก็จะรู้ว่า ตลาดนั้นอยู่แถวไหน

ที่มาภาพ อาจารย์ปุ๊ก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ต.ค. 14, 14:08
คุ้นๆว่าตลาดมหานาค


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ต.ค. 14, 22:33
ไม่ได้ตั้งใจจะลามก บังเอิญสังเกตเห็นสิ่งนี้
คนรุ่นที่เคยเห็นสิ่งนี้คงจะหายากแล้ว

ภาพชาวบ้านซักผ้า ริมแม่นํ้าในกรุงเทพนี้เอง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ต.ค. 14, 22:48
สิ่งที่หาดูได้ยากเห็นจะเป็น "ตะปิ้ง" ที่วงไว้นั่นแล  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ต.ค. 14, 22:55
ยังไงก็ไม่ลามกครับ เด็กใส่ตะปิ้งเป็นวัฒนธรรมไทยสมัยก่อน ห้าหกสิบปีที่แล้วเห็นวิ่งเล่นกันเกลื่อนถนน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Kunlamata ที่ 13 ต.ค. 14, 23:08
ขอเสริมเรื่องตะปิ้งค่ะ
คุณแม่ท่านเกิดปีพ.ศ.2472 ท่านก็ใช้ตอนเด็กๆ เห็นว่าตะปิ้งบอกฐานะด้วย
ลูกคนมีเงินใช้ตะปิ้งทองอะไรประมาณนั้น
ท่านอาจารย์ทั้งหลายมีรายละเอียดมั้ยคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 14, 06:47
ตะปิ้งทอง เห็นจะใช้กันในบ้านผู้ดีมีเงิน หรือในรั้วในวังที่มีความปลอดภัยสูงเท่านั้น คนข้างนอกเลยไม่มีโอกาสได้เห็น ที่เห็นๆอยู่ก็มีเป็นเงิน นี่ก็ระดับลูกคุณพระคุณนายแล้ว ส่วนทองแดง เด็กบ้านร้านตลาดทั่วไปจะใส่กัน ไม่มีใครอยากจะอุ้มไปจับถอดเอาไปขาย เป็นอัตรายแก่เด็ก

ตะปิ้งเงินตะปิ้งทองมีขายตามตู้ทองทั่วไป แหม่มบางคนเห็นเข้ายังนึกว่าเป็นเครื่องประดับ ซื้อไปแขวนคอออกงานราตรีซะเลย เรื่องแหม่มสวมตะปิ้งที่คอนี้เป็นเรื่องเล่าขำขันของคนไทยยุคหนึ่ง ท่านอาจารย์เทาชมพูก็เคยเอามาเขียนเล่าในเรือนไทยนี้เหมือนกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 14, 06:57
เด็กผู้หญิงเท่านั้นนะครับ ที่พ่อแม่ใส่ตะปิ้งให้ เด็กผู้ชายไม่เคยเห็นใครสวมตะปิ้ง แต่โตขึ้นมาหน่อยบางคนจะสวมกระจับ เวลาชกมวยไทยจะได้ไม่เป็นอันตรายแบบว่าแทบจะขาดใจตาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 14, 08:09
สมัยก่อน  การเปลือยกายสำหรับเด็กๆ ไม่ได้ถือเป็นเรื่องอนาจาร   เด็กๆชาวบ้าน หรือแม้แต่ลูกคหบดีในต่างจังหวัด  เป็นแบบในรูปข้างล่างนี้ค่ะ    แม้ว่าโตพอจะวิ่งเล่นไปไหนมาไหนได้แล้ว ก็ไม่นุ่งผ้ากัน
ผู้หญิงผูกจับปิ้ง หรือตะปิ้ง  ผู้ชายก็ปลัดขิก

หลักฐานจากในขุนช้างขุนแผน    ยืนยันถึงข้อนี้ว่า เด็กผู้หญิงผูกจับปิ้งอยู่จนโต   อย่างน้อยก็โตกว่าเด็กอนุบาล     กล่าวคือเมื่อนางพิมจะแต่งงาน  นางศรีประจันผู้เป็นแม่ไปนิมนต์ท่านสมภารมาสวดในงานแต่ง     ท่านตอบว่า

สมภารได้ฟังก็ตอบไป                      มันมีผัวได้แล้วหรือหวา
เมื่อปีกลายกูได้เห็นมันมา                  ยังอาบน้ำแก้ผ้าตาแดงแดง
ผูกจับปิ้งเที่ยววิ่งอยู่ในวัด                  ..........................



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 14 ต.ค. 14, 08:38
สงสัยเรื่องตะปิ้งนี่มานานแล้วค่ะ มันทำด้วยโลหะ เด็กผิวอ่อนบางเวลาเสียดสีคงเจ็บ อีกอย่างเวลาอากาศเย็นๆทั้งเนื้อทั้งตัวมีแต่ตะปิ้งอันแค่นี้จะพอหรือคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ต.ค. 14, 14:48
รออยู่หลายชั่วโมงไม่เห็นกูรูท่านใดเข้าตอบ

ผมว่า เรื่องพรรค์นี้คุณผู้หญิงไปกระซิบกระซาบถามกันหลังไม้ค์ดีกว่ามั๊งครับ
เล่นเวทีเปิดอย่างนี้ เดี๋ยวพวกผู้ชายแสนรู้เข้ามาตอบมีหวังจะเข้าทางที่คุณvisitnaเป็นห่วงแน่ๆ ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ต.ค. 14, 14:59
เพิ่งเห็นคำถาม จะตอบแบบไม่ให้เฉียดกรรไกรเซนเซอร์   อย่างที่ท่าน NAVARAT.C เป็นห่วงนะคะ
  
ตะปิ้งถักด้วยโลหะเส้นเล็กๆไม่มีคม เป็นแผ่นอ่อนเหมือนผ้า ไม่แข็งกระด้าง  เวลาสวมใช้คาดกับสร้อยคาดเอว  ห้อยอยู่เหมือนผ้าเตี่ยวผืนเล็กๆ  ไม่ได้สวมรัดรึงอย่างชั้นในจีสตริง จึงไม่แนบเนื้อพอจะกดให้เจ็บได้ค่ะ
ถ้าหน้าหนาว อากาศเย็นมากผู้ใหญ่เขาก็หาผ้าผวยหรือผ้าอะไรห่มให้พอหายหนาวซิคะ จะปล่อยให้เป็นหวัดปอดบวมทำไมกัน   ประเทศไทยหนาวอย่างมาก 3 เดือน อีก 9 เดือนก็ปล่อยเนื้อตัวรับลมไปตามสบาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 14 ต.ค. 14, 19:33
กราบขออภัยที่ทำให้อาจารย์ลำบากใจค่ะ :'( ถามเพราะสงสัยเรื่องเบเบ๋สมัยโบราณ ไม่ได้มีเจตนาให้เฉียดเรท x y z เลยจริงๆนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ต.ค. 14, 16:28
นี่เป็นภาพที่อธิบายเรื่องตะปิ้งได้งดงาม และมีศิลปะมากที่สุดภาพหนึ่งที่ฝรั่งบันทึกไว้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 18 ต.ค. 14, 17:57
 ภาพบนเป็นเด็กชายใช่มั้ยคะ แปลกนะคะ ทีเด็กผู้ชายกลับนุ่งโจงกระเบนมิดชิด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ต.ค. 14, 18:14
ภาพเด็กคนเดียวกันแหละครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ต.ค. 14, 18:28
นำเสนอแบบบ้านๆ บ้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 14, 18:31
ภาพบนเป็นเด็กชายใช่มั้ยคะ แปลกนะคะ ทีเด็กผู้ชายกลับนุ่งโจงกระเบนมิดชิด
ผูกตะปิ้งก็เด็กผู้หญิงซิคะ คุณ Anna


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 18 ต.ค. 14, 22:03
เข้าใจผิดค่ะ คิดว่าเด็กที่นุ่งโจงกระเบนเป็นผู้ชาย :-[


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 14, 08:51
ดึงภาพนี้มาจากกระทู้   เล่าด้วยภาพ: พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช รัชกาลที่ ๖

ตึกที่อยู่ด้านหลัง คือตึกอะไรบ้างคะ คุณหนุ่มสยาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ต.ค. 14, 09:15
ดึงภาพนี้มาจากกระทู้   เล่าด้วยภาพ: พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช รัชกาลที่ ๖

ตึกที่อยู่ด้านหลัง คือตึกอะไรบ้างคะ คุณหนุ่มสยาม

อาคารที่เห็นริมขวาภาพคือ กลุ่มอาคารวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ถัดมาซ้ายมือเป็นอาคารกระทรวงกลาโหม และถัดมาเป็นอาคารศาลฎีกา ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 ต.ค. 14, 12:12
คุณหนุ่มเฉลยแล้ว
แค่เอาภาพมาเสริม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 26 ต.ค. 14, 19:54
เห็นภาพไทย กำลังประมูลขายที่ ebay เผื่อใครสนใจครับ

1)

http://www.ebay.com/itm/201189749039?ssPageName=STRK%3AMEBIDX%3AIT&fromMakeTrack=true (http://www.ebay.com/itm/201189749039?ssPageName=STRK%3AMEBIDX%3AIT&fromMakeTrack=true)

1858 1st King Siam Phra Bard Somdetch Phra Raramende Maha Mongkut Phea Yu Hua

2)
http://www.ebay.com/itm/1852-Engraving-Ghou-Faa-Reigning-Prince-Siam-Asia-/201189744780?pt=Art_Prints&hash=item2ed7d7e08c (http://www.ebay.com/itm/1852-Engraving-Ghou-Faa-Reigning-Prince-Siam-Asia-/201189744780?pt=Art_Prints&hash=item2ed7d7e08c)

1852 Engraving Ghou Faa The Reigning Prince Of Siam Asia


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ต.ค. 14, 10:40
พระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือสมเด็จเจ้าฟ้า"ประชาธิปกศักดิเดชน์" คำว่าเดชน์แปลว่าลูกศร

ดังนั้น พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ ๗ จึงเป็นรูปพระแสงศร  และเมื่อคราวที่ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ขึ้นในคราวฉลองพระนครครบ ๑๕๐ปีนั้น สถาปนิกได้วางผังในเชิงสัญลักษณ์ โดยจัดให้องค์ประกอบถนนและสะพานเป็นรูปลูกศรด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ต.ค. 14, 10:41
คราวเมื่อบ้านเมืองมีความจำเป็นต้องขยายช่องทางจราจรของสะพานพุทธ(ตามชื่อสามัญที่เรียกกัน) แต่แรกมีแผนขยายตัวสะพานออกไป ทำให้สัญลักษณ์ลูกศรจะถูกทำลายไปด้วย แต่หลังจากหลายฝ่ายได้ช่วยกันติเติมเสริมแต่งแล้ว เราก็ได้สะพานสมเด็จพระปกเกล้าขึ้นมาใหม่อีกแห่งหนึ่ง โดยยังคงรักษาสัญลักษณ์เดิมไว้ได้อย่างเฉียดฉิว(จริงๆ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: shiromax ที่ 29 ต.ค. 14, 06:26
อยากเรียนถามว่า ร้านสีลมโฆษณาในรูป ตั้งอยู่ตรงไหน แถวถนนสีลมคับ หลังสามล้อถีบใช่แนวคลองสีลมหรือเปล่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 29 ต.ค. 14, 07:12
เรียถามคุณ Visintra
อาคารที่อยู่ระหว่างศาลสนามสถิตยุติธรรมกับศาลาว่าการกระทรวงกลาโหมนั้น คือ คุกกองลหุโทษ หรือ คุกต่างประเทศใช่หรือไม่ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ต.ค. 14, 08:05
โดนอาจารย์ลองภูมิ ผมคิดว่าคงไม่ใช่ตามที่เคยเห็นมาในรูป
แล้วคือตึกอะไร นี่ผมก็ไม่รู้ คิดว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของศาล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ต.ค. 14, 08:31
มีรูปถนนราชดำเนินสี่ภาพ
คล้ายภาพเดียวกันแต่ไม่ใช่ เพียงแต่ถ่ายในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน
(คิดว่าถ่ายเมื่อ ปี พศ 2493)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ต.ค. 14, 10:39
อยากเรียนถามว่า ร้านสีลมโฆษณาในรูป ตั้งอยู่ตรงไหน แถวถนนสีลมคับ หลังสามล้อถีบใช่แนวคลองสีลมหรือเปล่า

แยกถนนสุรศักดิ์ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ต.ค. 14, 20:25
เคยเห็นสถานีรถไฟสายปากน้ำกันไหมครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: shiromax ที่ 29 ต.ค. 14, 21:01
ภาพนี้ตัวอาคารสถานีรถไฟหัวลำโพง ทางรถไฟสายปากน้ำ หลังคาจั่วด้านขวามือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: shiromax ที่ 29 ต.ค. 14, 21:05
เคยเห็นสถานีรถไฟสายปากน้ำกันไหมครับ


เห็นทั้งสถานีรถไฟกรุงเทพ  และสถานีรถไฟหัวลำโพง นอกจากนี้ในภาพถนนมหาพฤฒารามยังไม่ได้ตัดอีกด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: shiromax ที่ 29 ต.ค. 14, 21:26
อยากเรียนถาม ภาพเหล่านี้นี้คือที่ไหนบ้างครับ รบกวนด้วยคับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 29 ต.ค. 14, 22:32
เคยเห็นสถานีรถไฟสายปากน้ำกันไหมครับ
ภาพนี้ไม่เคยเห็นมาก่อนครับ
แต่เคยใช้บริการที่นี่ตอนยังเด็ก
ไปเยี่ยมญาติข้างแม่ที่แปดริ้วก็ข้ามถนนไปขึ้นรถไฟที่สถานีกรุงเทพ
ถ้าไปเยี่ยมญาติข้างพ่อที่แม่กลอง ก็ว่าสามล้อไปท่าเรือข้ามฟากที่ปากคลองผดุงฯ ข้ามไปขึ้นรถไฟที่สถานีคลองสาน
เมื่อก่อนบ้านอยู่ริมสุขุมวิทที่สมุทรปราการครับ
คนที่เคยเห็นตัวจริงสถานีหัวลำโพงของรถรางปากน้ำ อายุอย่างน้อยๆก็เกษียณราชการปี 57นี่หล่ะครับ 8)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 30 ต.ค. 14, 21:31
เคยเห็นสถานีรถไฟสายปากน้ำกันไหมครับ
บินถ่ายครั้งนี้ คงมีวิวbirdeyeที่จุดอื่นของกรุงเทพฯด้วย กรุงเทพฯสมัยร.6


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 30 ต.ค. 14, 21:48
ภาพสถานีหัวลำโพงของรถไฟปากน้ำที่ถ่ายโดยวิลเลียม ฮันท์ปี2489 บริเวณสถานีโล่งเตียน ต่างจากภาพที่คนไทยบินถ่ายเมื่อปี2463ที่เห็นหลังคาสมบูรณ์ ที่โล่งก็เพราะลูกระเบิดลงบริเวณนั้นตอนปลายสงครามโลก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 04:58
^
ถึงว่านะครับ ผมมันเป็นเด็กรุ่นหลังสงครามเลิกแล้ว จำได้ว่าสถานีมันน่าจะใหญ่กว่าภาพแรกโน่น

รูปของวิลเลียม ฮันท์ ตรงมุมล่างขวายังเหลืออาคารสถานีหน่อยนึง ดูใหญ่กว่าภาพแรก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 05:18
ส่วนภาพของคุณshiromaxภาพนี้ แลเห็นปล่องไฟของโรงไฟฟ้าวัดเลียบอยู่ทางทิศขวามือ
ถนนในภาพน่าจะเป็นถนนทรงวาดนะครับ

ส่วนอีกภาพ รถเมล์สีน้ำเงินแต่คนละแบบกับรถเมล์สีน้ำเงินของบริษัทไทยประดิษฐ์ จำไม่ได้เลยว่าเคยเห็นหรือเปล่า หรือเห็นส่วนไหนของกรุงเทพบ้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 31 ต.ค. 14, 07:08
มิได้ลองภูมิครับคุณ Visintra  เพียงแต่พบบันทึกว่า ในอดีตเคยมีศาลต่างประเทศอยู่ใกล้ๆ กับศาล  แต่ไม่เคยเห็นหรือทราบตำแหน่งที่แน่ชัดครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ต.ค. 14, 07:49
อยากเรียนถาม ภาพเหล่านี้นี้คือที่ไหนบ้างครับ รบกวนด้วยคับ

ภาพล่างคือ คล้ายหน้าวัดอินทรวิหาร ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ต.ค. 14, 08:27
นี่ประตูทางเข้าวัดอุภัยราชบำรุง ตลาดน้อย มีลักษณะคล้ายกันแต่ไม่ใช่ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 31 ต.ค. 14, 09:17
ซุ้มประตูดูคล้ายวัดจักรวรรดิ สำเพ็ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ต.ค. 14, 10:12
วัดนี้รั้ววัดำแพงใบเสมาเหมือนกำแพงวังเลย หลังต้นมะพร้าวคือโบสถ์วัด  รถโดยสารสาย ๘๐ ผ่านหน้าวัด

ปักป้ายเรียนพิเศษเสริมวัดอินทร  :o


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: shiromax ที่ 31 ต.ค. 14, 13:03
ขอบคุณครับทุกท่านสำหรับคำตอบภาพแรกได้คำตอบแล้วคือถนนทรงวาด ส่วนภาพวัดยังต้องช่วยกันวิเคราะห์กันต่อครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: shiromax ที่ 31 ต.ค. 14, 13:28
วัดนี้รั้ววัดำแพงใบเสมาเหมือนกำแพงวังเลย หลังต้นมะพร้าวคือโบสถ์วัด  รถโดยสารสาย ๘๐ ผ่านหน้าวัด

ปักป้ายเรียนพิเศษเสริมวัดอินทร  :o


ได้คำตอบแล้วครับ ถ่ายหน้าวัดประยูรวงศาวาส ฝั่งธนบุรี ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ต.ค. 14, 13:40
วัดนี้รั้ววัดำแพงใบเสมาเหมือนกำแพงวังเลย หลังต้นมะพร้าวคือโบสถ์วัด  รถโดยสารสาย ๘๐ ผ่านหน้าวัด

ปักป้ายเรียนพิเศษเสริมวัดอินทร  :o


ได้คำตอบแล้วครับ ถ่ายหน้าวัดประยูรวงศาวาส ฝั่งธนบุรี ครับ

คงเป็นช่วงรั่วเหล็กแดงหายไปทั้งแถบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: shiromax ที่ 31 ต.ค. 14, 14:02


วัดนี้รั้ววัดำแพงใบเสมาเหมือนกำแพงวังเลย หลังต้นมะพร้าวคือโบสถ์วัด  รถโดยสารสาย ๘๐ ผ่านหน้าวัด

ปักป้ายเรียนพิเศษเสริมวัดอินทร  :o


ได้คำตอบแล้วครับ ถ่ายหน้าวัดประยูรวงศาวาส ฝั่งธนบุรี ครับ

คงเป็นช่วงรั่วเหล็กแดงหายไปทั้งแถบ


ใช่คับ รั้ววัดประยูรฝั่งด้านสะพานพุทธ สภาพปัจจุบันรื้อซุ้มและรั้วเดิมทำใหม่หมดแล้ว แต่ตึกแถวข้างวัดยังเหมือนเดิม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ต.ค. 14, 15:00
ภาพนี้ให้คำตอบเรื่องสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของสถานีรถไฟสายปากน้ำได้ชัดเจน

อาคารปูนริมถนน ด้านหลังเป็นโรงรถไฟซึ่งเป็นบริเวณชานชลา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 16:57
ใช่แล้ว จำได้ แปลว่าสถานีนี้สร้างใหม่หลังสงครามนะซี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 ต.ค. 14, 17:02
สงสัยเรื่องตะปิ้งนี่มานานแล้วค่ะ มันทำด้วยโลหะ เด็กผิวอ่อนบางเวลาเสียดสีคงเจ็บ อีกอย่างเวลาอากาศเย็นๆทั้งเนื้อทั้งตัวมีแต่ตะปิ้งอันแค่นี้จะพอหรือคะ

เอามาฝากคุณหนูแอนนา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 31 ต.ค. 14, 19:37
หายสงสัยแล้วค่ะ อาจารย์ ;D  เด็กโบราณนี่ดูใสๆดีนะคะ น่ารักดีค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 01 พ.ย. 14, 00:57
ภาพนี้ให้คำตอบเรื่องสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของสถานีรถไฟสายปากน้ำได้ชัดเจน

อาคารปูนริมถนน ด้านหลังเป็นโรงรถไฟซึ่งเป็นบริเวณชานชลา
ถนนพระรามสี่ตรงหน้าสถานีรถรางสายปากน้ำกว้างประมาณถนนสุรวงศ์ เดินข้ามมาตึกแถวฝั่งตรงข้ามไม่กี่ก้าวเอง
ปัจจุบันกว้างมากเพราะผนวกเอาคลองหัวลำโพงที่ถูกถมเข้าไปด้วย
บริเวณที่เคยเป็นตัวสถานีตลอดจนชานชาลาที่มีหลังคาคลุมก็อยูกลางถนนพระรามสี่วันนี้นั่นเอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: shiromax ที่ 01 พ.ย. 14, 02:16
ภัตตาคารห้อยเทียนเหลา ถนนเสือป่า ภัตตาคารอาหารจีนอันดับต้นของกทม.สมัยก่อน
ปัจจุบันอาคารรื้อไปแล้ว ที่ตั้งเดิมอยู่ติดกับตึกธนาคารกสิกรไทยสาขาเสือป่า

ไม่ทราบว่าท่านไหนเคยไปใช้บริการบ้าง และว่าทำไมเค้าถึงเลิกกิจการ พอมีเรื่องราวของที่นี่มั๊ยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: shiromax ที่ 01 พ.ย. 14, 02:24
ภาพนี้ให้คำตอบเรื่องสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของสถานีรถไฟสายปากน้ำได้ชัดเจน

อาคารปูนริมถนน ด้านหลังเป็นโรงรถไฟซึ่งเป็นบริเวณชานชลา
ถนนพระรามสี่ตรงหน้าสถานีรถรางสายปากน้ำกว้างประมาณถนนสุรวงศ์ เดินข้ามมาตึกแถวฝั่งตรงข้ามไม่กี่ก้าวเอง
ปัจจุบันกว้างมากเพราะผนวกเอาคลองหัวลำโพงที่ถูกถมเข้าไปด้วย
บริเวณที่เคยเป็นตัวสถานีตลอดจนชานชาลาที่มีหลังคาคลุมก็อยูกลางถนนพระรามสี่วันนี้นั่นเอง

ภาพเก่ากับภาพใหม่นอกจากเรื่องสถานีต้นทางรถไฟสายปากน้แล้วำ ยังบ่งบอกอีกว่า ถนนมหาพฤฒาราม ได้ตัดถนนหลังจากระเบิดลงตัวสถานีรถไฟและชานชาลา เพราะสถานีและชานชาลาเดิมสร้างขวางถนนมหาพฤฒารามเชื่อมกับถนนพระราม4


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กิมซัว แซ่ตั้ง ที่ 18 ธ.ค. 14, 22:33
ขออนุญาตตอบเรื่องรถนะครับ จากรูปนี้คือรถ1948-50 Fiat 1100 Cabriolet Derby Bertone โดยเป็นรถที่ไม่ใช่ตัวถังมาตรฐานจากโรงงานเป็นรถที่ผลิตพิเศษโดยสำนักออกแบบรถยนต์และตัวถังชื่อดังBertoneครับ ในรูปคันสีน้ำเงินเป็นรูปที่เมืองนอกของรถรุ่นเดียวกันครับ และรูปคันสีแดงคือFiat 1100 ในยุคเดียวกันครับ และผมมีรูปรถรุ่นนี้ในไทยอีกรูปนึงเพิ่งได้มาจากพ่อค้าขายรูป แต่คนละเลขทะเบียนกันครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47672;image)

(http://www.classiccarcatalogue.com/B/bertone%201948%20derby%20fiat%201100.jpg)

(http://yesterdaycars.blog.tiscali.it/files/2010/05/DSCF1396.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กิมซัว แซ่ตั้ง ที่ 18 ธ.ค. 14, 22:39
ส่วนรถคันนี้คือรถพระที่นั่ง Delahaye 178 ปี1952 ตัวถังต่อโดยHenri Chapron ครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47660;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กิมซัว แซ่ตั้ง ที่ 18 ธ.ค. 14, 23:18
จากรูปนี้ รถทางขวาคือRover ุ60หรือ75 (ต่างกันที่เครื่อง4กับ6สูบซึ่งมองไม่เห็นครับกระโปรงหน้ายาวเท่ากัน)ผลิตระหว่างปี1948-49 อันที่จริงรถตัวถังนี้ของRoverมีขายมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลก แต่ดูจากล้อ กันชน ขอบบังโคลน และไม่มีช่องลมที่กระโปรงหน้า มันตรงกับรถที่ผลิตในปี48-49ครับ คันซ้ายคือMorris Oxford ผลิตระหว่างปี1948-52 รูปร่างคล้ายกับMorris Minorมาก แต่ขนาดตัวถังใหญ่กว่าแบบเห็นได้ชัดครับ ส่วนคันด้านหลังคือ Austin ปีใดรุ่นใดผมขอไม่ลงรายละเอียดครับแต่เป็นรุ่นค่อนข้างเล็กครับ

ถนนเจริญกรุง พ.ศ.๒๕๐๓  สามล้อถีบและรถยนต์บนถนนเดียวกัน  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47292;image)


(https://motorbase.s3.amazonaws.com/uploads/2006/06/19/fs_car_nearside_pc.jpg)
(http://www.gvmvdc.org.au/images/clubphotos/images/1950%20Morris%20Oxford%20MO.jpg)
(https://c2.staticflickr.com/8/7417/9073261451_b12be7d7b9_z.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ธ.ค. 14, 08:22
รถพระที่นั่ง  Darahayeจากฝรั่งเศส


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 ธ.ค. 14, 08:23
รถพระที่นั่ง  Daimlerจากอังกฤษ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ธ.ค. 14, 09:17
จากรูปนี้ รถทางขวาคือRover ุ60หรือ75 (ต่างกันที่เครื่อง4กับ6สูบซึ่งมองไม่เห็นครับกระโปรงหน้ายาวเท่ากัน)ผลิตระหว่างปี1948-49 อันที่จริงรถตัวถังนี้ของRoverมีขายมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลก แต่ดูจากล้อ กันชน ขอบบังโคลน และไม่มีช่องลมที่กระโปรงหน้า มันตรงกับรถที่ผลิตในปี48-49ครับ คันซ้ายคือMorris Oxford ผลิตระหว่างปี1948-52 รูปร่างคล้ายกับMorris Minorมาก แต่ขนาดตัวถังใหญ่กว่าแบบเห็นได้ชัดครับ ส่วนคันด้านหลังคือ Austin ปีใดรุ่นใดผมขอไม่ลงรายละเอียดครับแต่เป็นรุ่นค่อนข้างเล็กครับ

นับถือ นับถือ  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ม.ค. 15, 12:27
รถขวามือเป็นรุ่นอะไร   
รถอเมริกันรุ่นแรกๆ พวงมาลัยขวามือ (แม้แต่ฟอร์ด )


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ม.ค. 15, 12:37
มองจากวังบูรพา ก่อนรื้อป้อมมหาชัย (มาสร้างห้างบีกริมแอนด์โก )


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 15, 13:05
มองจากวังบูรพา ก่อนรื้อป้อมมหาชัย (มาสร้างห้างบีกริมแอนด์โก )

ได้เห็นป้ายโฆษณาโบราณ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ม.ค. 15, 16:16
สะพานช้างโรงสี น่าจะเป็นระยะก่อสร้างเสร็จใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ม.ค. 15, 16:42
กำลังก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 
จากภาพเหมือนมีเนิน หรือ อาจเป็นแนวต้นไม้ใบไม้อยู่ด้านหลัง?
แต่มีการขุดเป็นแนววงกลม กลางบริเวณที่เห็นค่อนข้างชัดว่าเป็นสี่แยก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 31 ม.ค. 15, 18:13
เมื่อก่อนนี้ สำหรับดิฉันแล้ว อนุสาวรีย์ชัยฯก็เป็นเพียงแค่วงเวียนให้วนรถ...ก็แค่นั้น แต่หลังจากที่ได้อ่านเรื่องของเสรีไทยแล้ว เดี๋ยวนี้ ผ่านอนุสาวรีย์นี้ทีไร ดิฉันจะนึกถึงคุณจำกัด พลางกูร ทุกครั้ง ระลึกถึงความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของท่าน พร้อมทั้งขอให้วิญญาณของท่านไปสู่สุคติ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 ม.ค. 15, 19:38
สะพานช้างโรงสี น่าจะเป็นระยะก่อสร้างเสร็จใหม่

น่าจะเป็นการก่อสร้างสะพานช้างโรงสีใหม่ในปีจอ รศ. 129


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ม.ค. 15, 19:48
สะพานช้างโรงสี น่าจะเป็นระยะก่อสร้างเสร็จใหม่

น่าจะเป็นการก่อสร้างสะพานช้างโรงสีใหม่ในปีจอ รศ. 129
ขอบคุณครับ
เดิมคงปูด้วยไม้ เพิ่งมาทำเป็นคอนกรีต คราวนี้
ผมเคยอ่านผ่านที่ไหนจำไม่ได้ ว่าสมเด็จกรมดำรงฯเป็นผู้บริจาคเงินในการก่อสร้างครั้งนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ม.ค. 15, 19:52
สถานทูตอังกฤษ ด้านเจริญกรุง และด้านแม่นํ้าเจ้าพระยา

ปัจจุบัน ตรงนี้คือ ไปรษณีย์กลางบางรัก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 31 ม.ค. 15, 22:21
กำลังก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 
จากภาพเหมือนมีเนิน หรือ อาจเป็นแนวต้นไม้ใบไม้อยู่ด้านหลัง?
แต่มีการขุดเป็นแนววงกลม กลางบริเวณที่เห็นค่อนข้างชัดว่าเป็นสี่แยก
อาจจะเป็นต้นจามจุรีริมถนนพญาไทกระมังครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.พ. 15, 14:38
กำลังก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 
จากภาพเหมือนมีเนิน หรือ อาจเป็นแนวต้นไม้ใบไม้อยู่ด้านหลัง?
แต่มีการขุดเป็นแนววงกลม กลางบริเวณที่เห็นค่อนข้างชัดว่าเป็นสี่แยก
อาจจะเป็นต้นจามจุรีริมถนนพญาไทกระมังครับ
น่าจะเป็นอย่างนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.พ. 15, 14:42
อนุสาวรีย์ชัยฯ ถ่ายก่อน พศ 2497

ด้านบนภาพคือ รพ.ราชวิถี (เดิมเรียก รพ.หญิง)

ด้านล่างเป็นคลองสามเสน ลอดใต้ถนนพหลโยธิน (เดิมเรียกว่า ถนนประชาธิปัตย์)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.พ. 15, 14:54
ก่อนหน้าภาพที่แล้วประมาณ 8 ปี
ปีเตอร์ ฮันต์ ถ่ายภาพบริเวณอนุสาวรีย์ชัย ไว้ เมื่อ 5 มีค 2489

คลองสามเสนอยู่ซ้ายมือ รพ. ราชวิถี (อาจจะยังไม่มี?) อยู่ขวามือล่าง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ก.พ. 15, 15:48
ก่อนหน้าภาพที่แล้วประมาณ 8 ปี
ปีเตอร์ ฮันต์ ถ่ายภาพบริเวณอนุสาวรีย์ชัย ไว้ เมื่อ 5 มีค 2489

คลองสามเสนอยู่ซ้ายมือ รพ. ราชวิถี (อาจจะยังไม่มี?) อยู่ขวามือล่าง



รพ. ราชวิถีก่อตั้งขึ้นเมื่อ พศ. 2494 ดังนั้นภาพทางอากาศของฮันท์ จึงไม่ปรากฎโรงพยาบาลครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 01 ก.พ. 15, 17:23
ต้นทศวรรษ 2490 บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยังเป็นชนบทอยู่มากๆ แทบมองไม่เห็นรถยนต์บนถนน
มิพักต้องพูดถึงจุดที่เลยออกไป อย่างสนามเป้า สะพานควาย ตลาดหมอชิต หรือแยกลาดพร้าว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.พ. 15, 09:26
ก่อนหน้าภาพที่แล้วประมาณ 8 ปี
ปีเตอร์ ฮันต์ ถ่ายภาพบริเวณอนุสาวรีย์ชัย ไว้ เมื่อ 5 มีค 2489

คลองสามเสนอยู่ซ้ายมือ รพ. ราชวิถี (อาจจะยังไม่มี?) อยู่ขวามือล่าง


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=54221;image)

โรงพยาบาลราชวิถีหรือโรงพยาบาลหญิงในปีนั้นยังไม่ได้สร้าง แต่พื้นที่บริเวณนี้มีอาคารและสิ่งก่อสร้างของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาตร์ เกิดขึ้นแล้ว

โดยดำริที่จะให้มีการเรียนการสอนสัตวแพทยศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ พลจัตวา หลวงสนั่นรักษ์สัตว์ พันเอก หลวงสนิทรักษ์สัตว์ และพันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ การศึกษาวิชาสัตวแพทย์ขั้นปริญญา ถือกำเนิดโดยเริ่มต้นจัดตั้งเป็นแผนกสัตวแพทยศาสตร์ เป็นแผนกอิสระเช่นเดียวกับแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ และแผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๗๗ ตราไว้ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยเปิดรับสมัครนักเรียนจบประโยคมัธยมบริบูรณ์ (มัธยมที่ ๘) แผนกวิทยาศาสตร์ เพื่อสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตเตรียมสัตวแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในแผนกสัตวแพทยศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๘

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ แผนกสัตวแพทยศาสตร์ได้รับงบประมาณจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท และเงินสนับสนุนที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม อธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และนายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ เลขาธิการ ช่วยหามาเพิ่มเติมอีก ๔๐,๐๐๐ บาท เป็นค่าก่อสร้างตึกเรียน โรงพยาบาลสัตว์ และแปลงที่ทดลองเลี้ยงสัตว์ตามโครงการบนเนื้อที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประมาณ ๒๕ ไร่บนถนนพญาไท อำเภอดุสิต การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ได้ย้ายแผนกไปเปิดทำการสอนที่ตึกใหม่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นต้นมา ถือเป็นอาคารเรียนหลังแรกของแผนกสัตวแพทยศาสตร์หลังการสถาปนาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๘๕ ได้มีการเลื่อนฐานะแผนกสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๔๘๕ ตราไว้ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕

จนปีพ.ศ. ๒๔๙๓ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พิจารณาเห็นว่าเนื้อที่บริเวณที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ตั้งอยู่เหมาะที่จะทำเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์จึงได้มีการก่อสร้างตึกโรงพยาบาลหญิงขึ้น ระหว่างตึกเรียนคณะสัตวแพทยศาสตร์กับแผนกเลี้ยงสัตว์ ต่อมาโรงพยาบาลหญิงขยายตัวเร็วมากมีตึกและโรงเรียนเพิ่มขึ้น รั้วของโรงพยาบาลหญิงก็เริ่มโอบเข้าเรื่อย ๆ จนล้อมรอบเนื้อที่เดิมของคณะสัตวแพทยศาสตร์ทั้งหมด


ที่มา ประวัติการจัดการศึกษาด้านสัตวแพทยศาสตร์และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียบเรียงโดย รศ.น.สพ. ดร. คณิศักดิ์ อรวีระกุล (http://www.vet.chula.ac.th/2014/?page_id=2)  หนังสือ ๗๒ ปี สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ๒๔๗๘-๒๕๕๐


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.พ. 15, 09:34
อาคารเรียน โรงพยาบาลสัตว์ และแปลงเลี้ยงสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ บนถนนพญาไท (บริเวณโรงพยาบาลราชวิถีในปัจจุบัน) ไม่ทราบปีที่ถ่าย หากก่อนวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากหลังจากวันนั้นขึ้นกับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์  ;D

ภาพจาก หอประวัติและหอเกียรติยศ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  (http://www.vet.chula.ac.th/vet2014/memorial_hall/gallery/old-photo.html)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.พ. 15, 10:19
อาคารเรียน โรงพยาบาลสัตว์ และแปลงเลี้ยงสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ บนถนนพญาไท (บริเวณโรงพยาบาลราชวิถีในปัจจุบัน) ไม่ทราบปีที่ถ่าย หากก่อนวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ขึ้นกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากหลังจากวันนั้นขึ้นกับมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์  ;D

ภาพจาก หอประวัติและหอเกียรติยศ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  (http://www.vet.chula.ac.th/vet2014/memorial_hall/gallery/old-photo.html)
[/quote
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ตึกที่คุณเพ็ญชมพูว่า    คือตึกใหญ่ที่อยู่กลางภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.พ. 15, 12:59
เรียนถามคุณหมอ visitna ว่าภาพข้างบน ใครเป็นผู้ถ่าย และถ่ายเมื่อไร  ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.พ. 15, 13:33
คิดว่าเป็นวันที่ 5 มีนา  2489 เหมือนภาพ อีกมุม ที่ผมโพสต์ไว้

ผู้ถ่ายคือ Peter Williams-Hunt 

อย่าถามผมมาก พอรู้งูๆปลาๆ

ถ้ามีรูปที่เกี่ยวข้องอยากลงให้บางท่านได้เก็บไปดู  แบ่งปันกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.พ. 15, 21:35
เจริญกรุง ตัด สี่พระยา 2463  (ว่าตามที่เขา เขียนไว้)

หนังสือ bangkok then and now ของ Steve Van Beek เล่มล่าสุดที่ซื้อมา
พิมพ์ในประเทศไทย ภาพไม่คมชัดเหมือนเก่า ภาพบางภาพตัดออกเหลือแค่ 3/4 แต่ละภาพลดขนาดเหลือเล็กจิดเดียว



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.พ. 15, 22:37
ภาพต่อเนื่อง  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5928.0;attach=45905;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.พ. 15, 10:16
คิดว่าเป็นวันที่ 5 มีนา  2489 เหมือนภาพ อีกมุม ที่ผมโพสต์ไว้

ผู้ถ่ายคือ Peter Williams-Hunt
 

พบภาพเต็มแล้ว น่าจะถ่ายวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๙


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ก.พ. 15, 14:08
ผ่านเข้าไปในเวปของมหาวิทยาลัยนี้
พบภาพสะสมของ  Margaret Landon 
ผู้เขียน Anna and the King of Siam, สมัยอยู่เมืองไทย
ผู้สนใจเข้าไปดูได้ บางภาพเหมือนตัดมาจากหนังสือพิมพ์ หรือเอามาจาก รูปแถม 
บางภาพชัดเจนเพราะเป็นภาพถ่ายจริง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ก.พ. 15, 14:39
ตัวอย่างภาพสะสมของ มาร์กาเรต แลนดอน
ภาพวัดเลียบ  คำบรรยาย เหมือนบางภาพที่เคยเห็นเช่นวัดราชนัดดาราม วัดสระเกศ
แสดงว่าภาพชุดนี้มีหลายภาพ เราเคยเห็นเพียงบางภาพ และที่ มาร์กาเรต แลนดอน อีกสี่ภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 ก.พ. 15, 10:10
เรือนแพริมนํ้าฝั่งธนฯ พศ 2419 ต้นสมัยรัชกาลที่ 5

คาร์ล บ๊อค นักธรรมชาติฯ ที่เข้ามาเมืองไทยสมัย ร 5
เมื่อเดินทางถึงอยุธยา    ตั้งข้อสังเกตุว่า คนอยู่ในเรือนแพน่าจะมากกว่าคนอยู่บนบก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.พ. 15, 09:28
รูปข้างบนของคุณหมอ คุณพิพัฒน์ยืนยันว่าถ่ายโดยนายจิต จากหน้าร้านถ่ายรูปบนเรือนแพ หน้าวัดซางตาครู้ส ตรงกันข้ามปากคลองตลาด  ;D


(http://www.vcharkarn.com/uploads/35/35112.jpg)

รูปนี้ มาจากสตูดิโอฟะรันซิศจิต ของแท้เลยท่าน

หอพระสมุด อุตส่าห์หาเงินซื้อกระดาษ อัดรูปพวกนี้เก็บไว้ดู เสียดาย ประเทศเราเงินน้อย มัวแต่เอาเงินไปซื้ออาวุธ

ปีละเป็นหลายร้อยล้าน ไม่มีเงินแค่หมื่นกว่าบาท ทำคลังวัฒนธรรม

ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเหลือนะ จริงมะ


ผมเคยล่องยานย้อนอดีต ไปเล็งแล แถวท่าน้ำหน้าโบสถ์ซังตะครูส เห็นเป็นมุมเดียวกับรูปนี้เลยครับ ถามท่านจิตในความฝัน

ท่านบอกว่า แม่นแล้วไอ้มดอยากรู้ ข้าตั้งกลองที่ชานเรือนแพ มองไปทางซ้ายมือ ได้มุมงามสมใจปราถนา

ตาอ่ำข้างบ้าน มันยังนั่งงงๆ ว่าข้าขนข้าวของเครื่องมือออกมา แล้วทำไม ไม่ทุกลงเรืออย่างเคย มายืนคลุมโปง ทำอะไรอยู่เป็นนานสองนาน

มันไม่รู้หรอก ว่าข้าหมายตามุมนี้มาหลายเพลาแล้ว แต่ถ้าน้ำลด

เรือนแพดูโท้งเท้งโต้งเต้ง ไม่สง่างามสมเป็นพระมหานคร ที่พระเจ้าอยู่หัวอดส่าห์ทำนุบำรุง

น้ำเต็มฝั่งอย่างนี้ เห็นไหมว่าช่างงามเหมือนคำกวีว่า....เอ ข้าก็ว่ากลอนไม่เป็น วานแม่ครูเทาชมพูช่างจำ

ว่ากลอนสรรเสริญพระนครของเก่า ให้ฟังเป็นบุญหูช่างชักรูปหน่อยเท๊อดดดด


พวกช่างก็หยั่งงี้แหละ ภาษาไม่เป็นโล้เป็นพาย

ภาพที่เรือนไทยลอยละล่องไปแล้ว ยังเหลืออยู่ที่ เว็บวิชาการ (http://www.vcharkarn.com/forum/view?id=53202&section=forum&ForumReply_page=7)  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.พ. 15, 12:34
ในภาพยนตร์ ทวิภพ ๒๕๔๗ พ่อเทพพาแม่มณีไปถ่ายภาพทีร้านของนายจิตด้วย เห็นเป็นเรือนแพหลังเดียวโดด ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.พ. 15, 12:39
เก็บรายละเอียดปีที่ตั้งร้าน

          F CHIT

          ..................

          Established 1863


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5041.0;attach=31181;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ก.พ. 15, 14:36
ขอบคุณมากครับ คุณเพ็ญชมพู

ภาพเรือนแพที่เห็นเป็นเพื่อนบ้านจิต น้่นเอง

คงจะจินตนาการ ลักษณะบ้านของจิตได้

--------------------------------------------------------------

ภาพนํ้าท่วม กทม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ก.พ. 15, 14:59
อีกรูป
เป็นรูปสะสมของ มาร์กาเรต แลนดอน
(signed up as Presbyterian missionaries to Thailand.
Between 1927-1937, in addition to having three children, Margaret Schoeherr, Carol Pearson, and William,
while also running a mission school in Trang, Landon read extensively about the country.
During her readings, she learned about Leonowens.
When the family returned to America in 1937,
she soon began writing articles and then began researching material for a book on Leonowens)

รูปอยู่ที่ วีตัน คอลเลจ
เขียนว่าพื้นที่วัดเลียบ  ซึ่งคงอยู่ด้านขวามือ
ด้านซ้ายเป็นประตูมีหอรบบนหลังคา  
มีบันไดขึ้นเชิงเทินเป็นระยะ
ถนนด้านในกำแพงเมืองปูด้วยแผ่นอิฐ
ไม่มีคนเดิน เปลี่ยวมาก  ตรงนี้จะอยู่แถวป้อมจักรเพชร
(ผมลบลายนํ้าออกบ้าง)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ก.พ. 15, 10:06
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พศ 2412  วิลเฮล์ม เบอร์เกอร์
หอนาฬิกา พระที่นั่งภูวดลทัศไนย   ยังคงอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ก.พ. 15, 10:39
ถนนบำรุงเมือง พศ 2464 
ร้านที่มีป้าย----ชื่อร้านอะไร ท่านผู้ใดรู้บ้าง (หรืออ่านได้)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ก.พ. 15, 12:08
แก้ไขชื่อ คห 501 เป็น  พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท
พิมพืเพลินไปผิดถนัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 15, 16:55
ถนนบำรุงเมือง พศ 2464 
ร้านที่มีป้าย----ชื่อร้านอะไร ท่านผู้ใดรู้บ้าง (หรืออ่านได้)

เป็นภาพบรรยากาศการตั้งขบวนแห่นาค


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 07 ก.พ. 15, 23:09
วัดใกล้ๆมี วัดราชบพิธฯ วัดบุรณศิริฯ ข้ามคลองคูเมืองไปก็วัดราชประดิษฐ์ฯ ข้ามสนามหลวงไปก็วัดมหาธาตุ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.พ. 15, 07:18
ดูภาพลายเส้นกันบ้าง
เป็นภาพจากหนังสือชื่อ   BANGKOK  ของ LUTIEN FOURNEREAU  เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส
เป็นหนังสือแนะนำเรื่องราวเกี่ยวกับกรุงเทพ  พิมพ์เมื่อปี คศ 1894

ภาพแรกคือหน้าต้นของหนังสือ

ภาพที่สองคือ ถนนเจริญกรุง ที่มีรถรางยุคแรก ลากจูงด้วยม้า
เคยเห็นภาพนี้แต่เบลอๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.พ. 15, 07:39
แผนที่ กรุงเทพ ในสมัยนั้น  หน้า 3


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.พ. 15, 08:48
สถานกงสุล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 ก.พ. 15, 10:29
ในหนังสือตามภาพที่หนึ่ง ที่เขียนโดย ทอมสัน
เล่าว่าได้ไปถ่ายรูปในพิธีทอดกฐินทางเรือ
ถ่ายรูปเรืออนันตนาคราช ไว้
ตอนปลายปี คศ 1865 ที่คลองบางกอกน้อย
(จำมาจากหนังสือคุณเอนก นาวิกมูล ไม่ได้อ่านเอง
เห็นภาพนี้นึกได้ นำมาให้ดู)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 15, 12:02
ให้ภาพประตูยามค่ำสมัยรัชกาลที่ ๔ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นประตูยอดมีนามว่า สนามราชกิจ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 ก.พ. 15, 12:40
ขอบคุณครับ สำหรับภาพและข้อมูล

ภาพนี้ผมเจอ  เป็นหนึ่งภาพสะสมของ  นางมากาเร็ต แลนดอน
อาจจะเป็นโปสการ์ดที่ร้านถ่ายรูปทำขายสำหรับผู้สนใจ
ในภาพมีคำบรรยายไว้ด้วย aviary คือกรงนก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ก.พ. 15, 12:59
ห้างบี กริม แอน โก สามยอด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ก.พ. 15, 13:42
เปรียบเทียบกับรูปนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ก.พ. 15, 19:04
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในยุคแรกที่โรงเรียนสุนันทาลัย


เรื่องความเป็นมาของโรงเรียนไทยในสมัยแรกผมอ่านแล้วสรุปความไม่ค่อยได้ เพราะสับสน
เมื่อเปิดโรงเรียนระดับมัธยม ที่โรงเรียนสวนอนันต์ ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในคลองมอญ
ร 5 ให้ ดร แซมมูเอล แมคฟาร์แลนด์ (พ่อของ หมอจอร์จ ที่เป็นครูใหญ่ รร.แพทยาลัยสมัยแรก)มาจัดการ
โรงเรียนสวนอนันต์หน้านํ้าโดยสารเรือสะดวก แต่หน้าแล้งเรือเข้าไม่ได้เด็กต้องเดินลุยสวนเข้าไป เดินทางลำบาก
เพื่อให้ลูกหลานเจ้านายสะดวก ย้ายโรงเรียนมาที่สุนันทาลัย ปากคลองตลาด เข้าใจว่ามีเด็กชายด้วย(ตามรูป)
ต่อมาถึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนราชินี เป็นโรงเรียนสตรีล้วน

ภาพนี้มาจาก  the pearl of asia ของอดีต กงสุลอเมริกาสมัย ร5 Jacob T Child อยู่เมืองไทยนาน 5ปี พศ.2429-2434
คำว่า sandalay ท่านอาจจะฟังสำเนียงไทยไม่ชัด อาจจะเป็น สวนอนันต์ หรือ สวนสุนันทา ก็ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ก.พ. 15, 11:01
สถานกงสุลอเมริกา ประมาณปี พศ.2430

คำว่า MINISTER ตามคำแปลคือตัวแทนรัฐบาลไม่สูงถึงระดับสถานทูต 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ก.พ. 15, 11:08
ท่านํ้าโรงเรียนสุนันทาลัย(ราชินี) มองไปฝั่งตรงข้ามเป็นวัดกัลยาณมิตรฯ ประมาณใกล้เคียงกับภาพที่แล้ว คือ 2430


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.พ. 15, 11:51
มีภาพที่ผมไม่เคยเห็นเลยหลายภาพ ขอบพระคุณที่เอามาลงให้ชม

โรงเรือในภาพนี้เป็นเรื่องเป็นราวมากเลยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ก.พ. 15, 12:12
มีภาพที่ผมไม่เคยเห็นเลยหลายภาพ ขอบพระคุณที่เอามาลงให้ชม

โรงเรือในภาพนี้เป็นเรื่องเป็นราวมากเลยครับ

มาจากหนังสือนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.พ. 15, 12:16
ขอบคุณครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ก.พ. 15, 09:06
มีบางคนอยากเห็นภาพเรือมีกังหันข้าง ไปเจอพอดี เรือกำลังวิ่งผ่านวัดโพ

ภาพที่มีเรือไปคล้ายกับภาพของ Thomson ภาพอันล่าง ที่ถ่ายข้ามแม่นํ้า

ลองพิจารณากันว่าเป็นภาพเดียวกันหรือไม่  อีกภาพแค่เอาเรือมาแปะ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 15, 10:13
มีบางคนอยากเห็นภาพเรือมีกังหันข้าง ไปเจอพอดี เรือกำลังวิ่งผ่านวัดโพ

ภาพที่มีเรือไปคล้ายกับภาพของ Thomson ภาพอันล่าง ที่ถ่ายข้ามแม่นํ้า

ลองพิจารณากันว่าเป็นภาพเดียวกันหรือไม่  อีกภาพแค่เอาเรือมาแปะ???

คนละภาพครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ก.พ. 15, 10:29
มีบางคนอยากเห็นภาพเรือมีกังหันข้าง ไปเจอพอดี เรือกำลังวิ่งผ่านวัดโพ

ภาพที่มีเรือไปคล้ายกับภาพของ Thomson ภาพอันล่าง ที่ถ่ายข้ามแม่นํ้า

ลองพิจารณากันว่าเป็นภาพเดียวกันหรือไม่  อีกภาพแค่เอาเรือมาแปะ???

คนละภาพครับ

คนถ่ายไปยืนจุดเดียวกันเลย เวลาไม่ห่างกันมาก ต่างกันไม่กี่วัน  เหลือเชื่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ก.พ. 15, 18:22
เรือชนิดนี้เป็นของชาวเหนือ เรียกชื่อได้หลายอย่าง
-เรือลาว
-เรือหางแมงป่อง
-เรือใหญ่ท้ายแกว่ง  สมัยอยุธยาตามคำให้การชาวกรุงเก่า

ถ้าเดินทางล่องเรือขึ้นเหนือ สมัยก่อนใช้เรือแบบนี้

สมัยกลางรัชกาลที่ห้า เป็นกลุ่มเรือของเจ้าทางเหนือ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ก.พ. 15, 18:28
แม่นํ้าปิง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.พ. 15, 08:35
กิจการรถรางดำเนินการในสมัย ร5
มาดูการวางราง เส้นหนึ่งในกรุงเทพ ทำเป็นจุดรอหลีกด้วย
บอกได้กว้างๆ  เพียงแค่นี้

เห็นคนจีนเดินอยู่บ้าง ไว้ผมเปีย ฝรั่งเรียกว่า  Pigtail  เสริมว่า braided - coiled
มีการประเมิณว่ามีคนจีนอยู่ในกรุงเทพ ถึง 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งหมด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.พ. 15, 08:37
คนจีนอีกรูป ปี 2454 ต้นรัชกาลที่6


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.พ. 15, 08:40
ร้านจีนไทย น่าจะขายรูปหล่อมากกว่าโรงรับจำนำ  ปี 2444


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.พ. 15, 19:08
ร้านจีนไทย น่าจะขายรูปหล่อมากกว่าโรงรับจำนำ  ปี 2444


บรรจดจัดใส่สี จึงงดงามดั่งปรากฎ  :D ;D ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.พ. 15, 19:26
เหมือนรูปถ่ายเมื่อไม่นานนี้เอง สวยครับ
(ความจริง 114 ปีมาแล้ว)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.พ. 15, 19:36
ก่อนนอนเอาหนังสือคุณเอนก นาวิกมูล มาอ่านเล่น
มีอยู่เล่มหนึ่งเก่าแล้ว จำชื่อปกไม่ได้
ลงภาพนี้ บอกว่าเป็นวัดราชนัดดา ไม่เห็นโลหะปราสาท (ภาพจากหอจดหมายเหตุฯและเขียนชื่อวัดไว้)
ผมลองเปรียบเทียบ คงเป็นวัดสระเกศ แน่นอน
(คุณเอนกอาจจะรู้แล้วตอนนี้ เพราะหนังสือออกมานานแล้ว)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.พ. 15, 19:44
ผมก็คิดว่าเป็นวัดสระเกศครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.พ. 15, 19:47
ผมก็คิดว่าเป็นวัดสระเกศครับ

ไม่ต้องคิดหรอกครับ เป็นวิหารพระยืนองค์ใหญ่ วัดสระเกศแน่นอน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 ก.พ. 15, 10:31
ตั้งใจว่าจะคุยเรื่องหมอแบรดเลย์ แต่จะยาวไป
วันนี้เป็นวันหยุด ดูภาพแบบง่ายๆ ไม่ซีเรียส
ถ้าเขียนยาวกลัวพิมพ์ผิด เป็นเรื่องประจำตัว

ห้าง ย.ร.แอนเดร เจ้าของเข้ามาในเมืองไทย เมื่อปี 2445 เริ่มเปิดทำธุรกิจเมื่อปี 2447
--เป็นผู้นำเข้าอิสสระ
--เป็นคู่สัญญากับรัฐบาล
--นำเข้าและจำหน่ายเครื่องประดับเพชรทองจากเยอรมัน (จากร้าน J Friedman,Nachfolder,Court Jeweller เมืองแฟรงเฟิร์ต)

ในหนังสือ twentieth century impressions of siam ไม่บอกที่ตั้งบริษัทว่าอยู่ตรงไหน
มีภาพร้านอยู่สองที่

ภาพแรก เป็นตึกแถว ตอนแรกคิดว่าน่าจะเป็นริมถนนเจริญกรุง
ต้นไม้หน้าร้าน ไม่ใช่ต้นหูกวาง และไม่เห็นรางรถราง เลยไม่เหมือน
ไม่แน่ใจว่าร้านนี้ตั้งอยู่แถวไหน
ป้ายหน้าร้าน อ่าน ว่า"มีทองรูปพรรณ.............."

ภาพที่สอง เป็นที่ตั้งของร้านอีกแห่ง น่าจะเป็นแถว สี่กั๊กพระยาศรี
อาจจะเป็นร้านใหม่ที่ย้ายมาก็เป็นได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ก.พ. 15, 14:15
ในหนังสือ The Fascination of Siam
จัดพิมพ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศสยาม
โรงแรมโอเรียลเตล  จัดพิมพ์ขึ้นเอง เป็นการหาลูกค้าโรงแรมด้วย
มีโฆษณาสองบริษัทที่คนไทยยุคนั้นรู้จักกันดี

ห้างแบดแมน เดิมอยู่ที่เชิงสะพานช้างโรงสี
ต่อมาย้ายมาที่ริมถนนราชดำเนินกลาง ตรงนี้
ตรงข้ามโรงแรมรัตนโกสินทร์ อาคารนี้ต่อมาเปลี่ยนเป็นกรมประชาสัมพันธ์

ห้าง เอสเอบี  อยู่ที่แยกวรจักร-เจริญกรุง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 15, 14:27
ห้างแบดแมน เดิมอยู่ที่เชิงสะพานช้างโรงสี
ต่อมาย้ายมาที่ริมถนนราชดำเนินกลาง ตรงนี้
ตรงข้ามโรงแรมรัตนโกสินทร์ อาคารนี้ต่อมาเปลี่ยนเป็นกรมประชาสัมพันธ์


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5577.0;attach=39925;image)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ก.พ. 15, 14:51
ขอบคุณครับคุณเพ็ญชมพู   สำหรับภาพของห้างแบดแมน

ต่อมาเป็นกรมโคสนาการ
ในยุคจอมพล ป. จะทำงานหนักหน่อย

ขอเป็นภาพต่อเนื่อง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.พ. 15, 14:51
ห้าง ย.ร.แอนเดร เจ้าของเข้ามาในเมืองไทย เมื่อปี 2445 เริ่มเปิดทำธุรกิจเมื่อปี 2447

ห้าง ย.ร.แอนเดร เจ้าของเข้ามาในเมืองไทย เมื่อปี 2445 เริ่มเปิดทำธุรกิจเมื่อปี 2447 ตั้งอยู่ถนนเฟื่องนครกระมังครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ก.พ. 15, 15:00
คงจะใช่   แต่ไม่น่าจะเป็นถนนเจริญกรุง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 16 ก.พ. 15, 18:21
ก่อนเป็นกรมโคสนาการ เป็นที่ตั้งโรงเรียนกฎหมายด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 15, 08:06
ก่อนเป็นกรมโคสนาการ เป็นที่ตั้งโรงเรียนกฎหมายด้วย

เป็นโรงเรียนกฎหมายซึ่งกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ก.พ. 15, 08:27
ใช่ครับ
รีบลัดตัดใจความ ตกหล่นช่วงหนึ่งที่เป็นโรงเรียนกฎหมาย
ก่อนมาเป็นสำนักงานโคสนาการถึงจะไปเป็นกรมโคสนาการ
ตามรูป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ก.พ. 15, 08:31
เมื่อสร้างถนนราชดำเนินเสร็จ
มีการสร้างตึกใหญ่แรกบนถนนนี้สองตึก
คือตึกห้างแบดแมน และ ตึกห้างแซมสัน คู่กัน
ห้างแซมสันต่อมาเป็นตึกกรมโยธาธิการ
ตามรูปโฆษณา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ก.พ. 15, 12:14
หมอแบรดเลย์เป็นผู้ริเริ่มปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษตั้งแต่เมื่อเข้ามาใหม่สมัย ร3
ใช้เชื้อที่เอาเข้ามาจากอเมริกาได้ผลดี เมื่อใช้เชื้อที่ทำเองในประเทศได้ผลไม่ดีนัก
แต่ท่านทดลองเรื่อยมา จนครั้งหนึ่งลูกสาวต้องเสียชีวิตจากไข้ทรพิษ

เมื่อทางราชการเห็นความจำเป็น
ส่งหมอ Hans Adamsen  กับ หมออัทย์(นักเรียนแพทย์ศิริราช เลขที่ 1)
ไปศึกษาวิธีการ ที่ฟิลิปปินส์ กลับมาผลิตที่เมืองไทย ก็ได้ผลไม่ดี
จนต้องจ้างหมออเมริกาจากฟิลิปปินส์ มาดำเนินการจนเป็นผลสำเร็จ

เล่าจากที่จำได้   ไม่ต้องมี reference
ภาพการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ปี 2445


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 18 ก.พ. 15, 20:28
ขออนุญาตเทียบเคียง ตึกบนถนนเจริญกรุงค่ะ ภาพห้าง ย.ร.แอนเดร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 ก.พ. 15, 10:16
ขออนุญาตเทียบเคียง ตึกบนถนนเจริญกรุงค่ะ ภาพห้าง ย.ร.แอนเดร
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

ผมกลับไปอ่านจากหนังสือ "กรุงเทพเมื่อวานนี้" ของขุนวิจิตรฯ
เรื่องเล่าของท่านยืนยันว่าร้านนี้อยู่บนถนนเจริญกรุง

..


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 19 ก.พ. 15, 10:34
อ่านแล้วยังสับสนเรื่องทิศทาง เข้าใจว่า ห้าง แอล ยี ริกันตี อยู่ด้านขวามือ เมื่อลงมาจากสะพานมอญ
เมื่อข้ามถนนมาฝั่งตรงข้าม คือ ห้าง ย.ร อันเดร

นั่นก็คือบริเวณชุดตึกแถวตามภาพนั่นแหละค่ะ

หากผ่านไปตอนนี้ยังมองไม่เห็น มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินล้อมรั้วบังอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 ก.พ. 15, 11:53
ข้อความที่ว่าข้ามถนนไปแล้วเป็นห้าง ยร.อันเดร ไม่รู้ข้ามถนนด้านไหน? ถ้าข้ามถนนเฟื่องนคร (ตรงแยกพระยาศรี)
จะมีห้าง ยร.อันเดร อีกร้านที่เป็นอาคารเดี่ยว ด้านหน้าตึกลายๆ จะอยู่ที่สี่แยกพระยาศรี ด้านตะวันออก-ใต้

หรือแค่ข้ามถนนไปฝั่งตรงกันข้าม
ท่านสับสนนิดเรื่องสี่แยกพระยาศรี  เมื่อไล่มาตามถนนเจริญกรุงต้องถึงสี่แยกพระยาศรีก่อนตัดถนนตรีเพชร
แถบนี้เป็นถิ่นของท่าน อาจจะเล่าแบบรวบรัดไปหน่อย จับความยาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 19 ก.พ. 15, 13:32
หากนาฬิกาบนอาคารนั้นไม่ได้ตาย เวลาแจ้งไว้ประมาณ 7 น. ทิศของเงาคนและต้นไม้แสดงว่า อาคารนี้อยู่ด้านตะวันตก
ไม่ใช่ด้านที่ท่าน visitna แจ้งไว้ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 19 ก.พ. 15, 13:36
แต่อยู่ทางด้านนี้ค่ะ ตามข้อความจากหนังสือ กรุงเทพฯ เมื่อ ๗๐ ปีก่อน ของคุณ กาญจนาคพันธุ์
(จากกระทู้ ก.ศ.ร กุหลาบ อ้างถึงคุณเพ็ญชมพูค่ะ  :D )


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 ก.พ. 15, 14:00
ผมตีความจากตรงนี้

ห้าง แอล ยี ริกันตี อยู่ด้านตะวันตก ตรงกันข้าม ห้าง ย.ร. อันเดร อยู่  ด้านตะวันออก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 19 ก.พ. 15, 16:39
ทำให้ต้องไปหาหนังสือมาอ่านใหม่ ดูจากรูปใหม่
นาฬิกาอาจจะบอกเวลา 16.35 น. เพราะเงาทอดยาวมาก แปลว่า อาคารนี้อยู่ทิศตะวันออก
สรุปอีกทีตามแผนที่นี้ น่าจะใช่แล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.พ. 15, 16:46
เส้นทางรถรางผ่านสี่กั๊กจะอยู่ด้านฝั่งล่างของถนนเจริญกรุงครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 19 ก.พ. 15, 18:15
ขอโทษค่ะ  ขอใส่รูปใหม่ค่ะ จะลบรูปเก่าในความเห็นที่แล้วทำไม่ได้   :'(   :'(   :'(



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.พ. 15, 08:42
ห้างขายยาน่าจะอยู่ฟากตะวันออก
คือ ด้านตะวันออก มุมเป็น ย.ร.อันเดร ข้ามมาตรงกันข้าม (ตะวันออกเช่นกัน)เป็นร้านขายยา

อ่านหนังสือเรื่อง กรุงเทพเมื่อวันวาน ต้องอ่านแบบ TEXT อ่านทุกคำพูดมีความหมายหมด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.พ. 15, 08:53
ถ้าไปดู  หนังสือ bangkok then and now ของ steve van beek
เขาเอารูปห้างขายยามาเปรียบเทียบ อดีต ปัจจุบัน
ถ้าเขาวางมุมตรงตามความจริง ห้างขายยาจะอยู่มุมถนนเฟื่องนครตัดเจริญกรุง มุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ผมลองเอามาเปรียบเทียบกับกูเกิลแมปตรงกัน อยู่ทิศเดียวกัน

แล้วตรงกับหนังสือของขุนวิจิตรมาตรา



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.พ. 15, 09:09
ตามรูปนี้
ตรงกลางเหนือใต้คือเจริญกรุง ด้านบนสุดไปสะพานมอญ
ส่วนห้าง ย.ร. อันเดร อยู่ซ้ายล่าง(มองไม่เห็น) ที่มีรถลากจอดอยู่ด้านหน้า
ห้างขายยา อยู่ขวาล่าง (มองไม่เห็น)ตรงที่มีเด็กหญิงยืนใต้ต้นไม้

รถรางจะอยู่ซ้ายมือ (ตอนนี้ยังไม่สร้าง)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.พ. 15, 10:24
ตรงนี้เคยมีประตูเมืองผมจะเรียกว่าประตูพฤฒิบาศ

แต่เมื่อคืนไปอ่านหนังสือ กรุงเทพเมื่อวันวาน
ขุนวิจิตรฯ ท่านว่าประตูสามยอด เดิมชื่อประตูพฤฒิบาศ

ประตูพฤฒิบาศ    อยู่ที่สามยอดหรือที่ป้อมมหากาฬ กันแน่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.พ. 15, 11:06
ประตูพฤฒิบาศ ตั้งขวางถนนราชดำเนินกลางครับ ส่วนประตูสามยอดตั้งขวางถนนเจริญกรุงครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.พ. 15, 11:32
ผมก็เข้าใจแบบคุณหนุ่ม
แต่ขุนวิจิตรมาตรา ท่านเข้าใจไปอีกแบบ
ท่านก็จำแม่น (เท่าทีตรวจสอบกับความจำท่านอื่น)
ครั้งนี้ท่านคงจะจำผิด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 20 ก.พ. 15, 11:42
หมายถึง ห้างขายยาอังกฤษตรางู ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.พ. 15, 12:03
ทิศทางจะเป็นแบบนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.พ. 15, 19:08
ภาพต่อเนื่อง
british dispensary ก่อตั้งเมื่อปี 2435
ตอนหลังย้ายมาอยู่ที่เจริญกรุง ปากซอยสุรวงศ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.พ. 15, 19:49
ตรงนี้เคยมีประตูเมืองผมจะเรียกว่าประตูพฤฒิบาศ

แต่เมื่อคืนไปอ่านหนังสือ กรุงเทพเมื่อวันวาน
ขุนวิจิตรฯ ท่านว่าประตูสามยอด เดิมชื่อประตูพฤฒิบาศ

ประตูพฤฒิบาศ    อยู่ที่สามยอดหรือที่ป้อมมหากาฬ กันแน่

ชายคนนี้ แต่งตัวล้ำยุคในสมัยโน้นมาก ชุดเหมือนปัจจุบันเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 ก.พ. 15, 08:49
อาจารย์ NAVARAT.C คิดคล้ายๆกัน
และคิดว่าแกคงเป็นคนดังแถวนี้ กำลังคุยกับเด็ก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 ก.พ. 15, 08:54
ภาพลายเส้นวัดสระเกศ คศ.1894
สงสัยว่าคลองตรงนี้เป็นคลองอะไร
ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นคลองโอ่งอ่าง หรือไม่ก็เป็นคลองย่อยที่เรียกว่าคลองวัดสระเกศ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 15, 12:43
ที่เห็นเป็นเมรุปูนวัดสระเกศครับ ปัจจุบันพื้นที่ถูกถนนบำรุงเมืองตัดผ่าน ที่ตั้งเดิมทุกวันนี้เป็นโรงเรียนสารพัดช่าง(วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร)  คลองที่ว่าคือคลองโอ่งอ่างถูกแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 ก.พ. 15, 12:59
ที่เห็นเป็นเมรุปูนวัดสระเกศครับ ปัจจุบันพื้นที่ถูกถนนบำรุงเมืองตัดผ่าน ที่ตั้งเดิมทุกวันนี้เป็นโรงเรียนสารพัดช่าง(วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร)  คลองที่ว่าคือคลองโอ่งอ่างถูกแล้ว

  ขอบคุณครับ อาจารย์ NAVARAT.C


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 ก.พ. 15, 14:47
ขอต่อประเด็นไปอีก เพื่อไม่ให้เงียบเหงา

คลองในรูป? (คลองโอ่งอ่าง)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ก.พ. 15, 10:34
ถ่ายทิศทางเดียวกับภาพที่แล้วแต่มุมมองที่กว้างกว่า
ไม่เห็นแถวระทาแล้ว(สร้างสมัย ร.3) น่าจะรื้อไปแล้ว
มีการตัดถนนขนานไปกับคลองโอ่งอ่าง อยู่ด้านเดียวกับวัด
เพราะไม่บอกระยะเวลาถ่ายภาพไว้ ต้องมาใช้วิชาเดา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ก.พ. 15, 10:47
โฆษณาของห้างขายยาอังกฤษตรางู
มีสองสาขา ไม่ใช่ย้ายจากสี่กั๊กพระยาศรีมาบางรัก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ก.พ. 15, 15:48
ชาวกรุงเทพกับตลาดยุคนั้น
ไม่รู้ทั้งเวลาสถานที  ไม่มีข้อมูล
ภาพดีที่สุดได้แค่นี้ ปรับไม่ขึ้น มืดมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ก.พ. 15, 16:03
บรรยากาศบนถนนบ้าง
หน้าวัดราชนัดดาราม
ยังไม่ได้วางรางรถรางเลียบกำแพง
ประตูข้างหน้าคือประตูสำราญราษฏร์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ก.พ. 15, 16:58
สถานที่ถ่ายใกล้ๆกับรูปที่แล้ว
คงยืนถ่ายบนกำแพงเพราะยืนบนพื้นมองไม่เห็นยอดโลหะปราสาท
ประมาณปี พศ 2443


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ก.พ. 15, 19:52
สถานที่ถ่ายใกล้ๆกับรูปที่แล้ว
คงยืนถ่ายบนกำแพงเพราะยืนบนพื้นมองไม่เห็นยอดโลหะปราสาท
ประมาณปี พศ 2443


ภาพนี้เก่ากว่า 2443 ครับ ถ่ายภาพจากริมคลองมหานาค เห็นยอดโลหะปราสาทอยู่ด้านหลังคาครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ก.พ. 15, 20:47
ผมเคยเห็นภาพและคำอธิบายว่าอยู่ริมคลอง
ในแนวนี้ถ้าอยู่ที่คลองมหานาคน่าจะเห็นป้อมมหากาฬ และกำแพงเมือง
เพราะสองอย่างนี้ขวางอยุ่
หรือว่าถ่ายสูงกว่ากำแพงเมือง ผมไม่แน่ใจ

ส่วนที่เห็นนํ้าหลากเพราะเป็นนํ้าท่วมนอง เป็นปีนํ้ามาก
ถ้าเป็นคลองจะมีต้นไม้ขึ้นริมตลิ่งและมีเรือมาจอดเทียบ
เราเป็นเมืองสัญจรทางเรือ มีคลองที่ไหนมีเรือที่นั้น
ยิ่งคลองมหานาค  เรือแน่น

อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่มีข้อมูลรายละเอียดอะไร
เอามาจากหนังสือชื่อ PHOTO OF SIAM 1900 เลยคาดว่าเป็น ปี 2443
จริงๆภาพน่าจะเก่ากว่าปี่ที่บอก

ที่คิดว่าถ่ายจากกำแพงเมือง คิดเอาเอง อาจจะผิดก็ได้

ภาพในหนังสือเล่มนี้    ส่วนหนึ่งเป็นแบบนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ก.พ. 15, 08:11
ผมเคยเห็นภาพและคำอธิบายว่าอยู่ริมคลอง
ในแนวนี้ถ้าอยู่ที่คลองมหานาคน่าจะเห็นป้อมมหากาฬ และกำแพงเมือง
เพราะสองอย่างนี้ขวางอยุ่
หรือว่าถ่ายสูงกว่ากำแพงเมือง ผมไม่แน่ใจ

ส่วนที่เห็นนํ้าหลากเพราะเป็นนํ้าท่วมนอง เป็นปีนํ้ามาก
ถ้าเป็นคลองจะมีต้นไม้ขึ้นริมตลิ่งและมีเรือมาจอดเทียบ
เราเป็นเมืองสัญจรทางเรือ มีคลองที่ไหนมีเรือที่นั้น
ยิ่งคลองมหานาค  เรือแน่น

อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่มีข้อมูลรายละเอียดอะไร
เอามาจากหนังสือชื่อ PHOTO OF SIAM 1900 เลยคาดว่าเป็น ปี 2443
จริงๆภาพน่าจะเก่ากว่าปี่ที่บอก

ที่คิดว่าถ่ายจากกำแพงเมือง คิดเอาเอง อาจจะผิดก็ได้

ภาพในหนังสือเล่มนี้    ส่วนหนึ่งเป็นแบบนี้

คือระบบฐานข้อมูลของทางฝรั่งข้อมูลบางอย่างก็เก็บตั้งชื่อไฟล์ อาจจะยังไม่ลงรายละเอียดมากครับ ภาพกลุ่มนี้มีอายุเก่าถึง พ.ศ. 2403 สมัยรัชกาลที่ 4 ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ก.พ. 15, 08:23
ผมเคยเห็นภาพและคำอธิบายว่าอยู่ริมคลอง
ในแนวนี้ถ้าอยู่ที่คลองมหานาคน่าจะเห็นป้อมมหากาฬ และกำแพงเมือง
เพราะสองอย่างนี้ขวางอยุ่
หรือว่าถ่ายสูงกว่ากำแพงเมือง ผมไม่แน่ใจ

ส่วนที่เห็นนํ้าหลากเพราะเป็นนํ้าท่วมนอง เป็นปีนํ้ามาก
ถ้าเป็นคลองจะมีต้นไม้ขึ้นริมตลิ่งและมีเรือมาจอดเทียบ
เราเป็นเมืองสัญจรทางเรือ มีคลองที่ไหนมีเรือที่นั้น
ยิ่งคลองมหานาค  เรือแน่น

อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่มีข้อมูลรายละเอียดอะไร
เอามาจากหนังสือชื่อ PHOTO OF SIAM 1900 เลยคาดว่าเป็น ปี 2443
จริงๆภาพน่าจะเก่ากว่าปี่ที่บอก

ที่คิดว่าถ่ายจากกำแพงเมือง คิดเอาเอง อาจจะผิดก็ได้

ภาพในหนังสือเล่มนี้    ส่วนหนึ่งเป็นแบบนี้

คือระบบฐานข้อมูลของทางฝรั่งข้อมูลบางอย่างก็เก็บตั้งชื่อไฟล์ อาจจะยังไม่ลงรายละเอียดมากครับ ภาพกลุ่มนี้มีอายุเก่าถึง พ.ศ. 2403 สมัยรัชกาลที่ 4 ครับ
ขอบคุณครับ คุณหนุ่ม

คือคำบรรยายมากับภาพ
Avenue of Bangkok with the military barracks and the Emperor's Palace., 1910 ca(ประมาณปี พศ.2453)
รายละเอียด: กระทรวงกลาโหมสร้างเสร็จ 2427 - ปลูกต้นมะขามก่อนปี 2444 -ถนนราชดำเนินในเสร็จ 2446
ภาพนี้ควรจะอยู่ประมาณปี พศ.2427-2444
ป้อมเผด็จดัสกรยังมีหลังคาซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นบ่อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ก.พ. 15, 09:01
เปรียบกับภาพนี้ต้นมะขามโตแล้ว



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 ก.พ. 15, 08:52
มีเสาธงบนป้อม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 ก.พ. 15, 09:18
ตึกนารีสโมสร(ตึกพระขรรค์) ระยะแรก จะเห็นความแตกต่างจากปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.พ. 15, 09:58
ตึกนารีสโมสรในปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.พ. 15, 10:01
มีนิทานสยองขวัญประกอบด้วยค่ะ
http://www.dailynews.co.th/Content/politics/253521/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%81 (http://www.dailynews.co.th/Content/politics/253521/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%81)!%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%98%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B2


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 ก.พ. 15, 10:34
ขอบคุณครับอาจารย์เทาชมพู

เมื่อพูดถึงตึกนารีสโมสร     ต้องดูตึกใหญ่บ้านหลักของเจ้าพระยารามราฆพ    ตึกไกรสร ของบ้านนรสิงห์

built by the architects M Tamagni and Rigotti, 1915-1920 ca.จาก Fratelli Alinari Museum Collections,Florence



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 26 ก.พ. 15, 11:25
ถามตรงนี้ จะนอกประเด็นไหมครับ
ถ้ามีผีในตึกนารีสโมสรอยู่จริงๆ ตึกนั้นเคยมีการใช้กักขังนักโทษไหมครับ ถึงได้มีผู้ได้ยินเสียงคนเดินลากโซ่ตรวนด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.พ. 15, 11:34
ตึกนี้สร้างสมัยรัชกาลที่ ๖   ไม่น่าจะมีตะรางหรือห้องขังเอาไว้จับกุมคุมขังนักโทษ อย่างบ้านตุลาการในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ นะคะ

เห็นภาพเก่าๆ แล้วนึกถึงความงามของตึกรามบ้านช่องถนนหนทางในอดีต   เสียดายเหลือเกินที่รักษาไว้ไม่ได้
ความงามไม่ได้อยู่ที่ตัวตึก แต่ต้องพร้อมด้วยองค์ประกอบคือบริเวณและสภาพแวดล้อมที่ออกแบบให้มีสัดส่วนกลมกลืนกัน  จึงจะออกมางาม
อาคารออกแบบสวยเท่าไหนก็ตาม  แต่ถ้าสภาพแวดล้อมไม่สวยเลย  คับแคบ แน่นแออัด   ไม่มีสนาม ไม่มีอะไรเข้ากับอาคาร  มันก็ไม่สวย
เหมือนเอาทัชมาฮาลมาล้อมรอบด้วยตึกแถวร้านค้าแน่นขนัด   ถึงมีหินอ่อนและส่วนประกอบอยู่ครบทุกชิ้น  แต่จะออกมาน่าดูไหมล่ะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 ก.พ. 15, 17:13
ขอบคุณครับอาจารย์เทาชมพู

เมื่อพูดถึงตึกนารีสโมสร     ต้องดูตึกใหญ่บ้านหลักของเจ้าพระยารามราฆพ    ตึกไกรสร ของบ้านนรสิงห์

built by the architects M Tamagni and Rigotti, 1915-1920 ca.จาก Fratelli Alinari Museum Collections,Florence



ชื่อสถาปนิกผิด ต้องเป็น ตามาญโย ไม่ใช่ ตามาญยี่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 มี.ค. 15, 09:04
ภาพถนนเจริญกรุง ต้อนรับลุงไก่

ถนนเจริญกรุงสร้างเสร็จปี 2407 กว้าง 5 วาครึ่ง

รถรางเริ่มวิ่ง พศ 2431

ประตูสามยอดถูกรื้อทิ้งประมาณปี พศ 2445(อ้างจากขุนวิจิตรมาตราที่ท่านว่ารื้อก่อนท่านเข้ามาอยู่ กรุงเทพหนึ่งหรือสองปี
ท่านมาอยู่กรุงเทพ ปี พศ.2446 )

ภาพนี้ควรจะถ่ายราวปี พศ. 2431-2445


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 มี.ค. 15, 09:15
แยกสามยอดเมื่อรื้อประตูสามยอดแล้ว

มองจากถนนมหาชัย

ลงจากสะพานข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธ  ขวามือเป็นโรงหวย กข.ก่อนถึงสี่แยก

ข้ามสี่แยกไปซ้ายมือเป็นตึกใหญ่เคยเป็นที่ทำการของ บีกริมแอนด์โก-การไฟฟ้าสยาม-ห้างไทยนิยม

เลี้ยวซ้ายไปเป็นสะพานเหล็ก

ไปตรงผ่านแยก เป็นป้อมมหาชัยหน้าวังบูรพา



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 มี.ค. 15, 09:28
ภาพวาด  จากหนังสือ the kingdom of yellow robe



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 มี.ค. 15, 15:19
คลองคูเมือง หน้าวัดราชบพิธ  ประมาณปี พศ 2453 (1910 ca)
ยามนํ้าแห้งดูแล้วไม่สดชื่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 มี.ค. 15, 15:22
ก่อนหน้าหนึ่งปี เดือนตุลาคม พศ.2452
นํ้าเต็มคลองดูแล้วดีกว่า
มองเห็นสะพานหกข้างหน้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 มี.ค. 15, 15:47
 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
   
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412
มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก
คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
แปลว่า วัดพระมหากษัตริย์ทรงสร้าง ซึ่งมีสีมากว้างใหญ่รอบอาณาเขตวัด   
ลักษณะพิเศษของมหาสีมาราม คือการทำสังฆกรรมไม่จำกัดเฉพาะในพระอุโบสถ แต่สามารถทำได้ทุกแห่งในเขตมหาสีมา
   
 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีของการสร้างวัดประจำรัชกาล
   
 ผังวัดมีพระเจดีย์ใหญ่ตรงกลาง
พระอุโบสถอยู่ทิศเหนือของพระเจดีย์
พระวิหารทิศใต้ พระวิหารขนาดย่อมทิศตะวันออกและตะวันตก
มีระเบียงโค้งรอบพระเจดีย์ ผนังทุกด้านประดับลวดลายกระเบื้องเคลือบวิจิตรงดงาม
   

    พระอุโบสถภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ภายในเป็นแบบตะวันตก
 พระประธานคือพระอังคีรส
ที่ฐานบัลลังก์ ภายในบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระศรีสุลาไลย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
และพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระราชสรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
   

    นอกเขตกำแพงมหาสีมาด้านทิศตะวันตก ติดถนนอัษฎางค์ เป็นสุสานหลวง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ
และพระสรีรางคารของพระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรส และพระราชธิดาในพระองค์
รูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม แบบโกธิค
อยู่ในสวนซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม
   

อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์ทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ มีชื่อคล้องจองกันดังนี้
    สุนันทานุสาวรีย์ บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระราชธิดา
    รังษีวัฒนา บรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรส พระราชธิดาอันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชนัดดา อาทิ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    เสาวภาประดิษฐาน บรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรส พระราชธิดาอันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และพระราชนัดดา เช่น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
    สุขุมาลนฤมิตร์ บรรจุพระสรีรางคารพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระนัดดา

(เนื้อหา  จากบล๊อค คุณไมตรี  อนันตโกศล)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มี.ค. 15, 14:14
ดูภาพลายเส้นสวยๆ
จากหนังสือตามชื่อด้านล่างของภาพ
mont meru น่าจะเป็น mont kailas



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 15, 14:23
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
   
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412
มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก
คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
แปลว่า วัดพระมหากษัตริย์ทรงสร้าง ซึ่งมีสีมากว้างใหญ่รอบอาณาเขตวัด   
ลักษณะพิเศษของมหาสีมาราม คือการทำสังฆกรรมไม่จำกัดเฉพาะในพระอุโบสถ แต่สามารถทำได้ทุกแห่งในเขตมหาสีมา
   
 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีของการสร้างวัดประจำรัชกาล
   
 ผังวัดมีพระเจดีย์ใหญ่ตรงกลาง
พระอุโบสถอยู่ทิศเหนือของพระเจดีย์
พระวิหารทิศใต้ พระวิหารขนาดย่อมทิศตะวันออกและตะวันตก
มีระเบียงโค้งรอบพระเจดีย์ ผนังทุกด้านประดับลวดลายกระเบื้องเคลือบวิจิตรงดงาม
   

    พระอุโบสถภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ภายในเป็นแบบตะวันตก
 พระประธานคือพระอังคีรส
ที่ฐานบัลลังก์ ภายในบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระศรีสุลาไลย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร
และพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระราชสรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
   

    นอกเขตกำแพงมหาสีมาด้านทิศตะวันตก ติดถนนอัษฎางค์ เป็นสุสานหลวง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ
และพระสรีรางคารของพระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรส และพระราชธิดาในพระองค์
รูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม แบบโกธิค
อยู่ในสวนซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม
   

อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์ทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ มีชื่อคล้องจองกันดังนี้
    สุนันทานุสาวรีย์ บรรจุพระสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ บรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระราชธิดา
    รังษีวัฒนา บรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรส พระราชธิดาอันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี อาทิ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชนัดดา อาทิ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    เสาวภาประดิษฐาน บรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรส พระราชธิดาอันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ และพระราชนัดดา เช่น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
    สุขุมาลนฤมิตร์ บรรจุพระสรีรางคารพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และพระนัดดา

(เนื้อหา  จากบล๊อค คุณไมตรี  อนันตโกศล)


 "ผังวัดมีพระเจดีย์ใหญ่ตรงกลาง พระอุโบสถอยู่ทิศเหนือของพระเจดีย์ พระวิหารทิศใต้ พระวิหารขนาดย่อมทิศตะวันออกและตะวันตก มีระเบียงโค้งรอบพระเจดีย์ ผนังทุกด้านประดับลวดลายกระเบื้องเคลือบวิจิตรงดงาม"

 พระอุโบสถภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ภายในเป็นแบบตะวันตก  พระประธานคือพระอังคีรส

ขออนุญาตแก้ไขข้อความครับ พระอุโบสถหันหน้าออกทางด้านทิศเหนือ พระวิหารหันหน้าออกทางด้านทิศใต้ ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตกเป็นประตูทางเข้าสู่วิหารคตภายในรอบองค์พระเจดีย์ พระประธานทรงนามว่า พระพุทธอังคีรส




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 มี.ค. 15, 14:36
ดูภาพลายเส้นสวยๆ
จากหนังสือตามชื่อด้านล่างของภาพ
mont meru น่าจะเป็น mont kailas



การบรรยายของฝรั่งบรรยายว่าเป็น "เขาพระเมรู" หมายถึงเขาพระสุเมรุมานานแล้วครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 15, 14:37
ภาพถนนเจริญกรุง ต้อนรับลุงไก่

ถนนเจริญกรุงสร้างเสร็จปี 2407 กว้าง 5 วาครึ่ง

รถรางเริ่มวิ่ง พศ 2431

ประตูสามยอดถูกรื้อทิ้งประมาณปี พศ 2445(อ้างจากขุนวิจิตรมาตราที่ท่านว่ารื้อก่อนท่านเข้ามาอยู่ กรุงเทพหนึ่งหรือสองปี
ท่านมาอยู่กรุงเทพ ปี พศ.2446 )

ภาพนี้ควรจะถ่ายราวปี พศ. 2431-2445

สภาพของตึกแถวทางขวามือในภาพเดิมเมื่อ ๒ ปีก่อน แต่วันนี้คงถูกทุบไปเรียบร้อยแล้วครับ "ร้านกาแฟออนล๊อคหยุ่น"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 15, 14:55
เสมาที่มุมกำแพงวัดราชบพิธตรงมุมสี่แยกถนนราชบพิธตัดกับถนนเฟื่องนคร ใกล้ๆ กับโรงพิมพ์ของ กศร. กุหลาบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มี.ค. 15, 15:27
ขอบคุณลุงไก่ คุณหนุ่ม

ก๊อบปี้ตามบล๊อค เห็นว่าอ่านเข้าใจง่าย

จากบทสัมภาษณ์ คุณมัลลิกา วัชราภัย ลูกคุณสัน พานิช(หลวงเสรฐสนิท)
เจ้าของร้านสรรพานิช สโตร์ ที่อยู่ เจริญกรุงตอน ๔ เลขที่ ๓๐ (๓๑-๓๒-๓๓-๓๔) ห้าห้องเรียงกัน
ขายเหล้าฝรั่ง นมตราหมี โต๊ะสนุกเกอร์
เล่าถึงร้านค้าแถวสามยอด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 15, 15:57
ถ้าให้พิกัดละเอียดขนาดนี้ ผมก็ตอบได้เลยครับว่า ตึกแถวตรงที่เคยเป็นที่ตั้งของร้านสรรพานิช ปัจจุบันคือร้านหนังสือบูรพาสาส์น
ซอยข้างๆ ก็จะเชื่อมกับถนนข้างใน ในซอยนี้มีร้านข้าวแกง 50 ปีอยู่ครับ
ร้านหมอเหล็งอยู่ทางซ้ายมือของภาพ ไล่มาตลอดแนวถนนเจริญกรุงเลยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 15, 16:25
พื้นที่ที่เคยเรียกว่าสะพานถ่าน ตึกแถวริมถนนลงท่าที่เคยเป็นโรงโคมเขียวโคมแดงในอดีต




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 03 มี.ค. 15, 21:15
ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระทู้นี้อีกคนนะคะ  :-[
รูปนี้ได้มาจากฝรั่งอเมริกันคนหนึ่งที่เคยมาเป็นทหารสมัยสงครามเวียดนาม คิดว่าน่าจะถ่ายไว้ประมาณปี พ.ศ. 2509-2511 ค่ะ
ลองค้นๆ ดูในกูเกิ้ลก็พบว่าเป็นรูปของตึกบริษัท East Asiatic

(http://image.ohozaa.com/i/8c2/ilUzM9.jpg)

รูปปัจจุบัน

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/634/54634/images/14jul-river/4.jpg)
 
ที่มา http://www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2011/07/14/entry-2 (http://www.oknation.net/blog/tourrattanakosin/2011/07/14/entry-2)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 03 มี.ค. 15, 21:20
ส่วนสองรูปนี้มาจากฝรั่งคนเดิมค่ะ แต่ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าถ่ายจากส่วนไหนของกรุงเทพ
บรรยากาศริมคลองแบบนี้คงหมดไปนานแล้ว
แต่แอบสงสัยนิดนึงค่ะ ฝรั่งคนนี้บอกว่าน่าจะถ่ายไว้ตอนปี 2509-2511 สมัยนั้นยังมีวิถีชีวิตริมคลอง พายเรือขายของอยู่เหรอคะ นึกว่าเปลี่ยนมาเป็นวิถีชีวิตคนเมือง ขับรถ เดินถนน กันหมดแล้ว

(http://image.ohozaa.com/i/6a2/hghbbj.jpg)


(http://image.ohozaa.com/i/b5a/HrTugK.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 03 มี.ค. 15, 23:59

ล่วงมาทศวรรษที่2520 บางแห่งการเดินทางตามลำคลองสะดวกกว่า เช่นแถวบางกรวย บางใหญ่
พี่ที่ทำงานผมเมื่อก่อน แกไปได้ลูกสาวคนเดียวของเจ้าของสวนทุเรียนนนท์แถวมหาสวัสดิ์ ก็ใช้ชีวิตแบบนี้
เลิกงานตอนเย็นก็ต้องตาลีตาเหลือกไปให้ทันเรือหางที่แล่นรับส่งคนในคลองบางกอกน้อย
ถนนยังมีน้อยและอ้อม บ้านเรือนผู้คนจะหนาแน่นไปตามริมฝั่งคลอง การเดินทางด้วยเรือจึงจำเป็นอยู่








กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 04 มี.ค. 15, 07:49
ขอบคุณคุณ Jalito มากๆค่ะ
นึกว่าตอนนั้นวิถีริมคลองจะหายไปหมดแล้วซะอีกค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มี.ค. 15, 09:04
สวัสดีครับคุณเอื้องหลวง
กรุงเทพเรามีคลองมากจนได้ฉายาว่าเวนิสตะวันออก
เคยมีฝรั่งมานับจำนวนเรือนแพรอบกรุงเทพ นับได้กว่าสองหมื่นหลัง
คนไทยชอบอยู่เรือนแพมากกว่าบนบก สะดวกกว่าหลายอย่าง
เราอยากเอาทหารไปรบกับญวน-เขมร เราขุดคลองแสนแสบ
เราอยากขนนํ้าตาลมากรุงเทพเราก็ขุดคลองภาษีเจริญ ฯลฯ
ประเทศไทยอาศัยทางนํ้าเป็นหลัก ก่อนที่จะมีการสร้างถนน
วิถีชีวิตริมคลองเป็นเรื่องธรรมดาของคนไทยสมัยก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 มี.ค. 15, 09:05
ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระทู้นี้อีกคนนะคะ  :-[
รูปนี้ได้มาจากฝรั่งอเมริกันคนหนึ่งที่เคยมาเป็นทหารสมัยสงครามเวียดนาม คิดว่าน่าจะถ่ายไว้ประมาณปี พ.ศ. 2509-2511 ค่ะ
ลองค้นๆ ดูในกูเกิ้ลก็พบว่าเป็นรูปของตึกบริษัท East Asiatic


ภาพตึกบริษัท East Asiatic สมัยยังเป็นเรือนไม้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มี.ค. 15, 09:57
ถนนเจริญกรุงต่อ

จากหนังสือ--เรื่องเล่าบางกอก-- ของอาจารย์ ส.พลายน้อย

ท่านอธิบายใต้ภาพว่า"ถนนเจริญกรุง เชิงสะพานดำรงสถิต ฟากตะวันออก"ลอกมาเหมือนทุกคำ

ผมไม่แน่ใจว่าจะถูกไหม เพราะมีรถรางแล้ว หลังปี 2431 ตรงไปด้านขวาต้องเป็นเวิ้งนาครเขษม

เห็นทางรถรางพอจะเข้าได้      แต่ตึกตัวอาคารริมถนนไม่เหมือน  


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 มี.ค. 15, 10:13
ถนนเจริญกรุงต่อ

จากหนังสือ--เรื่องเล่าบางกอก-- ของอาจารย์ ส.พลายน้อย

ท่านอธิบายใต้ภาพว่า"ถนนเจริญกรุง เชิงสะพานดำรงสถิต ฟากตะวันออก"ลอกมาเหมือนทุกคำ

ผมไม่แน่ใจว่าจะถูกไหม เพราะมีรถรางแล้ว หลังปี 2431 ตรงไปด้านขวาต้องเป็นเวิ้งนาครเขษม

เห็นทางรถรางพอจะเข้าได้      แต่ตึกตัวอาคารริมถนนไม่เหมือน  


ดูแล้วเป็นสามแยก และคงไม่ใช่ตรงเวิ้งนาครเขษม เนื่องจากบริเวณเวิ้งในยุคนั้นยังไม่มีถนนเข้าเวิ้ง (ถนนบริพัตร) ยังไม่ตัดครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มี.ค. 15, 18:44
อุทกทาน มีความหมายว่า ให้ทานด้วยน้ำ (หรือให้น้ำเป็นทาน) เป็นศาลตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนินใน
 เป็นปูนปั้นรูปพระแม่ธรณีกำลังบีบมวยผม มีน้ำสะอาดไหลออกมาจากปลายมวยผม สามารถใช้ดื่มกินได้

อุทกทาน สร้างจากพระราชดำริของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เพื่อแจกจ่ายน้ำดื่มสะอาดบริสุทธิ์ให้ผู้คนทั่วไป

ปั้นขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระยาจินดารังสรรค์ (พลับ)เป็นผู้ออกแบบเรือนครอบ
 
แล้วเสร็จ     ทำพิธีเปิดในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2460
อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 มี.ค. 15, 09:00
อยากให้คุณพี่ visitna นำภาพคุณแม่ที่ถ่ายภาพบริเวณหลังโรงพยาบาลศิริราช ที่เคยนำลงที่เวปพันทิปเมื่อหลายปีก่อนให้ชมอีกครั้งครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 มี.ค. 15, 09:12
ถนนเจริญกรุงต่อ

จากหนังสือ--เรื่องเล่าบางกอก-- ของอาจารย์ ส.พลายน้อย

ท่านอธิบายใต้ภาพว่า"ถนนเจริญกรุง เชิงสะพานดำรงสถิต ฟากตะวันออก"ลอกมาเหมือนทุกคำ

ผมไม่แน่ใจว่าจะถูกไหม เพราะมีรถรางแล้ว หลังปี 2431 ตรงไปด้านขวาต้องเป็นเวิ้งนาครเขษม

เห็นทางรถรางพอจะเข้าได้      แต่ตึกตัวอาคารริมถนนไม่เหมือน  


ดูแล้วเป็นสามแยก และคงไม่ใช่ตรงเวิ้งนาครเขษม เนื่องจากบริเวณเวิ้งในยุคนั้นยังไม่มีถนนเข้าเวิ้ง (ถนนบริพัตร) ยังไม่ตัดครับ

ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อปี ๒๔๘๙ แสดงให้เห็นว่าถนนบริพัตรในพื้นที่เวิ้งนาครเขษมที่เชื่อมถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราชยังไม่ได้ก่อสร้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มี.ค. 15, 09:54
ลุงไก่---ผมจำไม่ได้เป็นภาพไหนถ้าเจอจะนำมาลงให้
ตอนนี้ความจำชักจะไม่ค่อยดี  ขอโทษ นึกไม่ออกจริงๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มี.ค. 15, 09:59
ถ้าเป็นวัดประยุรวงศาวาส (ปี พศ 2430)
หมอปลัดเล เคยตั้งบ้านอยู่ที่ริมนํ้านี้สิบกว่าปี
ก่อนจะย้ายไปอยู่หลังป้อมวิชัยประสิทธิ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มี.ค. 15, 10:03
จากมุมมองท่านํ้าโรงเรียนราชินี ไปที่วัดประยุรวงศาวาส ปี 2446


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มี.ค. 15, 10:25
ลุงไก่---ผมจำไม่ได้เป็นภาพไหนถ้าเจอจะนำมาลงให้
ตอนนี้ความจำชักจะไม่ค่อยดี  ขอโทษ นึกไม่ออกจริงๆ

ด้วยว่าลุงไก่ ตอนเป็นเบบี๋ๆ ท่านลุงไก่เกิด และวิ่งเล่นหลังโรงพยาบาลศิริราช และก่อนที่จะสร้างตึก OPD นอกติดถนนนั้นบ้านเดิมลุงไก่ก็อยู่ตำแหน่งนี้ เลยเป็นอดีตที่ฝังใจครับ ละแวกนั้นก็มีตรอกเจ้าพ่อเกลือ โรงหนังบ้านขมิ้น บ้านของคุณสง่า มยุระที่ลุงไกซอนไชไปทุกถนนตอนเด็กๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 มี.ค. 15, 12:41
ลุงไก่---ผมจำไม่ได้เป็นภาพไหนถ้าเจอจะนำมาลงให้
ตอนนี้ความจำชักจะไม่ค่อยดี  ขอโทษ นึกไม่ออกจริงๆ

คำบรรยายภาพที่บอกว่าเป็นคุณแม่ของคุณพี่ visitna ตอนที่เป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช หลังจากสงครามโลกฯ เลิกไปไม่นานนัก คงราวๆ พ.ศ. ๒๔๘๙ นำมาลงหลายภาพ
มีภาพอยู่ภาพหนึ่งที่มีเรือนไม้สองชั้นอยู่ด้านขวามือของภาพ ผมกำลังข้องใจอยู่ว่าจะเป็นหลังเดียวกับที่ผมเคยอยู่เมื่อตอนเด็กๆ หรือไม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 มี.ค. 15, 12:53
ลุงไก่---ผมจำไม่ได้เป็นภาพไหนถ้าเจอจะนำมาลงให้
ตอนนี้ความจำชักจะไม่ค่อยดี  ขอโทษ นึกไม่ออกจริงๆ

ด้วยว่าลุงไก่ ตอนเป็นเบบี๋ๆ ท่านลุงไก่เกิด และวิ่งเล่นหลังโรงพยาบาลศิริราช และก่อนที่จะสร้างตึก OPD นอกติดถนนนั้นบ้านเดิมลุงไก่ก็อยู่ตำแหน่งนี้ เลยเป็นอดีตที่ฝังใจครับ ละแวกนั้นก็มีตรอกเจ้าพ่อเกลือ โรงหนังบ้านขมิ้น บ้านของคุณสง่า มยุระที่ลุงไกซอนไชไปทุกถนนตอนเด็กๆ

หลังโรงพยาบาลศิริรราชในวัยเด็ก จะมีลานกว้างอยู่ลานหนึ่ง อยู่ระหว่างหลังวัดอมรินทรารามกับโรงพยาบาลศิริราชด้านตึกนิติเวชหลังเก่า จะมีต้นมะขามเทศต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง วันไหนวันดีจะมีซากชะนีขึ้นไปปีนเล่นอยู่บนกิ่งบนของต้น ไม่รู้ว่ามันมาจากไหน

ส่วนหน้าบ้านลุงไก่ที่หลังโรงพยาบาลศิริราชจะมีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ตรงกลางต้นเป็นโพรง ตอนเลิกจากโรงเรียนหรือในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ถ้าไม่ติดดูหนังโทรทัศน์ยุคที่ยังมีทีวีขาวดำ ๒ ช่อง คือ ช่อง ๔ บางขุนพรหม กับช่อง ๗ สนามเป้าก็จะปีนขึ้นไปข้างบนต้นทางโพรงนั้น ถ้าจะประมาณจากสภาพปัจจุบัน บ้านลุงไก่ก็คงจะอยู่ประมาณปลายๆ ตึก OPD ด้านในนั้นแล...

ในแผนที่เก่าจะมีแนวตรอกศาลเจ้าพ่อเกลือ แต่ไม่มีถนนพรานนกที่ตรงไปสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงประตูทางเข้าโรงพยาบาล .. ตั้งแต่เด็กเขาเรียกกันว่าศาลเจ้าพ่อฉางเกลือ เป็นศาลไม้เล็กๆ อยู่ใต้ต้นมะขามหน้าธนาคารออมสินสาขาศิริราช ไม่ได้ใหญ่โตเหมือนเช่นปัจจุบัน ทุกเช้าที่ไปและกลับจากโรงเรียนที่อยู่ในตรองวังหลังก็จะต้องเดินผ่านศาลเจ้าพ่อฉางเกลือนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 05 มี.ค. 15, 15:24
ส่งภาพนี้มาช่วยค่ะ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 05 มี.ค. 15, 15:51
ขอบคุณ คุณกะออม ที่เอื้อเฟื้อภาพครับ .. พิกัดเท่าที่จำได้
๑. แนวตรอกฉางเกลือ
๒. ศาลเจ้าฉางเกลือหน้าธนาคารออมสิน
๓. บ้านนายสง่า มะยุระ
๔. แนวถนนอรุณอัมรินทร์
๕. น่าจะเป็นบ้านเกิดของผมในวัยเด็ก แต่ที่จริงแล้ว แม่อุ้มท้องมาคลอดในโรงพยาบาล
๖. บ้านคุณตาที่แม่ผมพามาฝากเลี้ยงตอนสัก ๒ ขวบ

ส่วนโรงหนังบ้านขมิ้นไม่มีอยู่ในภาพ จึงไม่อาจพิกัดให้เห็นได้ จำได้ว่าค่าตั๋วเข้าดูหนัง ๓ บาท ที่นั่งเป็นแผ่นไม้กระดานพาด ไม่มีพนักพิง ตรงไหนว่างก็เดินเข้าไปนั่งตรงนั้น ไม่มีชั้นบน ห้องฉายหนังอยู่ชั้นสอง





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มี.ค. 15, 15:59
ช่วยลุงไก่หาต้นไม้ที่เป็นโพรงให้เจอ ช่วยอีกสักภาพ เป็นภาพเปรียบเทียบภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ. ๒๔๘๙ / พ.ศ. ๒๕๕๗ ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มี.ค. 15, 17:41
ลุงไก่คงจำผิดอะไรสักอย่าง
ผมไป รพ.ศิริราชเมื่อโตแล้ว ไปเยี่ยมรุ่นพี่
ยังจำได้ว่าลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่านํ้าศิริราช

ดั้งเดิมนิสิตแพทย์เรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาฯ ทั้งหมด ข้ามไปเรียนแพทย์ศิริราช

เมื่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์มหิดล ที่เรียก เอสซี  มีสอนเตรียมแพทย์ด้วย
ระยะนี้ ศิริราชจะมาจากสองกลุ่ม ทั้งมาจากจุฬาฯและเอสซี

เป็นแบบนี้อยู่ช่วงหนึ่งหลังจากนั้นก็แยกกันเด็ดขาด (ปี 2511)
พวกจุฬาฯไป รพ.จุฬา พวกเอสซีไปศิริราช

เคยอ่านข้อเขียนของหมอสงัด เปล่งวานิช อดีตปลัด กท. รุ่นเก่ามาก
ท่านเรียนเตรียมแพทย์ที่ตึกวินเซอร์ พศ 2463 (สนามศุภชลาสัย)
เรียนรวมกับพวกรัฐประศาสนศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ กินนอนที่ตึกนี้
หลังจากนั้น ค่อยข้ามไปเรียนที่ศิริราช
คงเป็นระยะที่เพิ่งตั้งจุฬาฯใหม่ ศิริราชยังเป็นสังกัดจุฬาฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มี.ค. 15, 19:11
แผนที่เก่า ลุงไก่ยังไม่ทันเห็นแน่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 มี.ค. 15, 19:40
ภาพนี้เห็นบริเวณด้านหลังชัดเจนดี สะพานอรุณอัมรินทร์ยังไม่มาเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 06 มี.ค. 15, 07:14
สะพานอรุณอมรินทร์กำลังสร้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 มี.ค. 15, 07:24
สะพานอรุณอมรินทร์กำลังสร้าง

สร้างพร้อมๆ กับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เลยครับ

พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/A/108/830.PDF (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/A/108/830.PDF)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 มี.ค. 15, 09:20
ลุงไก่พูดถึง กศร กุหลาบ

นึกถึงภาพสะพานเฉลิมพงศ์ ที่ถนนเฟื่องนคร

โรงพิมพ์ของท่านอยู่ห่างจากสะพานนี้ไม่มาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 มี.ค. 15, 11:32
พักมาเที่ยวตลาดน้ำสะพานขาวกันครับ พ.ศ. 2511


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 มี.ค. 15, 11:44
กลายเป็นดำทั้งสีสะพานและน้ำ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 มี.ค. 15, 16:02
สะพานดำ (ว่ากันว่าทาสีดำ แต่ที่เห็นทาสีขาว)
รางรถรางที่เห็นคือสายบางลำภู-ยศเส

ถ้าเดินจากตรงนี้เข้าเมืองทางประตูสำราญราษฏร์
ต้องผ่านป่าช้าวัดสระเกศ ซึ่งลือกันว่าผีดุ ไม่ค่อยมีคนกล้าเดิน

สะพานดำเป็นชื่อสะพานข้ามคลองเล็กๆ ใกล้ถนนจักรพรรดิพงษ์
ชื่อจริงคือ สะพานแม้นศรี มาจากชื่อหม่อมแม้น ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
เป็นหม่อมในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
พระราชอนุชาร่วมพระราชชนนีเดียวกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อหม่อมแม้น ชายาที่ทรงรักมากถึงอนิจกรรม ได้มีพิธีกรรมจัดใหญ่มาก
และมีผู้สมทบเงินช่วยงานศพจึงนำเงินนั้นมาสร้างสะพานข้ามคลอง
เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์และอุทิศส่วนกุศลให้แก่หม่อมแม้น
สะพานนี้เปิดใช้ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๑
 ตั้งชื่อสะพานเป็นอนุสรณ์แก่หม่อมแม้นว่า "สะพานแม้นศรี"
ต่อมาเมื่อบริเวณนั้นมีถนนตัดผ่านเป็นสี่แยก จึงเรียกว่า "สี่แยกแม้นศรี"
   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 มี.ค. 15, 16:26
ให้แผนที่สะพานดำ ไว้ดูครับ จุดที่ถ่ายภาพนั้นยืนหันหน้าเข้าภูเขาทองครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 มี.ค. 15, 17:18
แสดงว่าภาพในความเห็นที่ ๖๒๙ มองเข้าเมืองไปทางสี่แยกแม้นศรี
ตามภาพแผนที่ในความเห้นที่ ๖๓๐ น่าจะแสดงว่ายังไม่ได้มีการก่อสร้างการประปาแม้นศรี เพราะยังมีภาพห้องแถวแสดงอยู่ในแผนที่
มีหลีกรถรางสาย ...? อยู่บนถนนจักรพรรดิพงศ์ใกล้สี่แยกแม้นศรี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 มี.ค. 15, 09:46
ทำเนียบท่าช้าง(วังหน้า)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 15, 10:34
ตึกสวยมาก  ทำเนียบท่าช้างวังหน้า เป็นบ้านของใครคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 มี.ค. 15, 10:56
อีกชื่อหนึ่งคือ วังถนนพระอาทิตย์  คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/วังถนนพระอาทิตย์) ให้คำตอบไว้ละเอียดเชียว

http://youtube.com/watch?v=Mv7RbeS9lAI#ws (http://youtube.com/watch?v=Mv7RbeS9lAI#ws)

วังถนนพระอาทิตย์ ตั้งอยู่บนถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) บุตรเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ (พญาเจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี เชื้อสายมอญ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เป็นปู่ของเจ้าจอมมารดากลิ่นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นมรดกตกทอดมาถึง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤดาภินิหาร) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนัก ๒ ชั้น เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทิธิ์และเจ้าจอมมารดา ต่อมาเรียกอาคารหลักนี้ว่า ตำหนักเดิม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตำหนักใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สร้างเป็นอาคารทรงยุโรปก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น เรียกว่า วังมะลิวัลย์ จากนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ทรงย้ายไปประทับอยู่ ณ วังมะลิวัลย์จนสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ส่วนตำหนักเดิมนั้น สันนิษฐานว่าเป็นที่พำนักของเจ้าจอมมารดากลิ่น หลังจากที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์สิ้นพระชนม์ พระโอรสองค์ใหญ่ซึ่งทรงเป็นผู้จัดการมรดก ได้ทูลเกล้าฯ ถวายขายตำหนักและที่ดินแก่พระคลังข้างที่ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ หรือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบัน

ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ พระองค์พระราชทานตำหนักเดิม วังถนนพระอาทิตย์ ให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุลสวัสดิวัฒน์ เมื่อพักได้ระยะหนึ่งจนตำหนักใหม่สูง ๓ ชั้นสร้างเสร็จ ตำหนักเดิมจึงถูกไม่มีใครอาศัย จนประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๙-๒๔๘๑ คุณหญิงลิ้นจี่ สุริยานุวัตร เข้ามาพำนักที่ตำหนักเดิม ต่อมารัฐบาลได้จัดให้วังถนนพระอาทิตย์ เป็นที่พักของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๙๐ ซึ่งใช้เป็นที่ทำการการผู้สำเร็จราชการ จนเป็นที่รู้จักในชื่อ ทำเนียบท่าช้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 07 มี.ค. 15, 11:35
สงสัยว่าคุณหญิงลิ้นจี่ สุริยานุวัตร เข้ามาอาศัยอยู่ได้ยังไง คือสงสัยว่าคุณหญิงเป็นเชื้อสายท่านเจ้าของวังแห่งนี้ทางสายไหนน่ะค่ะ
ตอนแรกเกรงใจเลยไปถามคุณวิกกี้ก่อน แต่คุณวิกกี้ตอบไม่ได้ค่ะ เลยต้องเข้ามาขอรบกวนอาจารย์ในเรือนไทย ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 มี.ค. 15, 13:17
พฤศจิกายน 2490 ฝ่ายค้าน ได้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ คณะราษฎร ยาวนานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน
ในกรณีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการอื้อฉาว เช่น การนำเงินไปซื้อจอบเสียม แจกจ่ายให้ราษฎรทำการเกษตร
แต่เป็นจอบเสียมที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเรียกกันว่า "กินจอบกินเสียม"
กระแสกดดันที่รุนแรงทำให้ท่านต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น และได้รับเลือกกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อทันที
(พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก นายปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489)

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ด้วยสาเหตุที่รัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายคดีสวรรคต ร.8 ลงได้
ประกอบกับการทุจริตคอร์รัปชั่น และ  ปัญหาเศรษฐกิจตกตํ่าหลังสงครามโลก

คณะทหารแห่งชาติ นำโดยจอมพลผิน , พันเอกสฤษดิ์ ฯลฯ
และโดยการสนับสนุนจาก CIA อเมริกา
เห็นท่าไม่ดี จึงทำรัฐประหาร ตัดไฟแต่ต้นลมโค่นล้มอำนาจของ รัฐบาล พลเรือตรีถวัลย์
โดย กองกำลังรถถังส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ สวนอัมพร
เพื่อทำการควบคุมตัว พล.ร.ต.ถวัลย์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในงานราตรีการกุศล

รถถังอีกส่วนหนึ่ง บุกเข้ายิงทำเนียบท่าช้างวังหน้าซึ่ง นายปรีดี และครอบครัวอาศัยอยู่
แล้วพยายามจะจับกุมตัวนายปรีดี แต่ท่าน ได้หลบหนีไปก่อนหน้านั้นไม่นานด้วยเรือ
ครอบครัว นายปรีดีขณะนั้นเหลือเพียง ท่านผู้หญิงพูนศุข ภรรยาของนายปรีดี  และลูกๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 มี.ค. 15, 20:57
วัดราชนัดดาราม และโลหปราสาท ต่างยุค ต่างสมัย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 มี.ค. 15, 21:26
วัดมังกรกมลาวาสหรือวัดเล่งเน่ยยี่ ถนนเจริญกรุง



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 มี.ค. 15, 21:36
ภาพลายเส้น ประตูทางเข้าพระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 มี.ค. 15, 07:31
ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายข้างพ่อเมื่อเรียนจบชั้นมัธยม ๖ จากบ้านนอกแล้ว ก็มุ่งหน้าเข้าบางกอกเพื่อเรียนชั้น ม.๗-๘ กันต่อ แล้วก็เรียนต่อชั้นอุดมศึกษากันไปตามกำลังความสามารถ เรียนจบแล้วก็หางานการทำกันต่อไปในกรุงเทพฯ บ้านของตัวเองก็ไม่มี ต้องใช้วิธีเช่าบ้านอยู่ด้วยกัน

จากซ้ายไปขวาในภาพ - เพื่อนของลุง น้าคนเล็กของพ่อ ลุงคนใหญ่ของผม เพื่อนของลุง และพ่อผมเอง เช่าบ้านกันอยู่ในตรอกวังหลัง ตรงข้ามกับโรงพยาบาลศิริราช ภาพนี้น่าจะประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๐ ท่านที่ ๔ ที่แต่งชุดนักเรียนนายเรือนั่นน่าจะเป็น พลเรือตรีพิชิต พิชัยกุล สามีของอาจารย์อรสา พิชัยกุล ซึ่งเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ

สมัยเด็กๆ จำได้ว่าผมไปนอนเล่นบ่อยๆ เป็นบ้านไม้สองชั้น ชั้นล่างเป็นห้องโล่ง หน้าบ้านเป็นสระน้ำเล็กๆ ไปนั่งเล่น นอนเล่น ดูปลาในสระ ตอนบ่ายๆ วันหยุด ก็เป็นที่สังสรรค์กินเหล้าของบรรดาผู้ใหญ่เขา เราเป็นเด็กก็ฉกกับแกล้มกินไปเรื่อยๆ หลังบ้านเป็นชานไม้ สมัยนั้นใครปลูกบ้านตึกปูนคอนกรีต มักจะเป็นคนรวยหรือเป็นพ่อค้าชาวจีน ข้าราชการอย่างคนไทยไม่มีเงินมาปลูกหรอก

ปัจจุบัน ทุกท่านในภาพได้จากภพนี้ไปภพใหม่กันหมดแล้ว คนสุดท้ายคือคุณลุงของผม (คนที่ ๓) เพิ่งจากไปเมื่อวันส่งท้ายปีเก่าที่ผ่านมานี้เอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มี.ค. 15, 09:51
เล่าเรื่องสะพานหัน

สองข้างสะพานทำเป็นห้องแถวไม้ติดต่อกันตลอด
ฟากหนึ่งราวเจ็ดหรือแปดห้อง ห้องนั้นเป็นห้องเล็กๆ------------(ถ้านับจากรูปมีเจ็ดห้อง)
แต่ทำอย่างดีเป็นที่คนอยู่และขายของได้
ด้านหลังของห้องเป็นหน้าต่าง
ระหว่างห้องทั้งสองข้างเป็นทางคนเดินข้าม กว้างราวสักสามศอก
ห้องทั้งหมดมีคนเช่าอยู่และขายของเต็ม
แทบทั้งหมดเป็นคนจีนและขายผลไม้ที่มาจากเมืองจีน
เช่นองุ่น สาลี่ ลูกพลับ ฯลฯ ตลอดจนลิ่นจี่ดองเป็นไห
สมัยนั้นองุ่นไม่มีในเมืองไทยอย่างสมัยนี้
เขาใส่ลังไม่ฉำฉาขนาดกลาง มาเป็นพวง มีเศษไม้ก๊อกชิ้นเล็กแทรกอยู่เต็ม....

บางห้องขายของเบ็ดเตล็ดบ้าง
มีอยู่สองห้องเป็นคนไทย
ห้องหนึ่งขายหมากพลูบุหรี่ ธูปเทียนนํ้าอบไทย อยู่ห้องสุดท้ายก่อนเข้าสำเพ็ง
อีกห้องหนึ่งเป็นร้านตัดผม อยู่ตรงกลางสะพานทางขวามือ
ช่างตัดผมมีลูกสาวสวย ชอบนั่งข้างกระจกบานใหญ่ ริมหน้าต่าง
ผู้เข้าไปตัดผมมักเป็นหนุ่มๆ ถ้าไม่มองกระจกเผลอไปมองลูกสาว
แกมักเอากรรไกรเคาะหัวให้รู้สึกว่า"อย่ามองลูกสาวฉัน  มองกระจกซี"


จากข้อเขียนของอีกท่านเล่าว่าผนังของห้องในสะพานทาเป็นสีเขียว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มี.ค. 15, 10:30
เป็นพิธีเมรุมาศของท่านใดบอกไม่ได้ ห้วงเวลาบอกไม่ได้
สถานที่คือทุ่งพระเมรุ     เห็นพลับพลาสูงของวังหน้า
ภาพมีคุณภาพตํ่า มองไม่ค่อยชัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 มี.ค. 15, 10:45
เป็นพิธีเมรุมาศของท่านใดบอกไม่ได้ ห้วงเวลาบอกไม่ได้
สถานที่คือทุ่งพระเมรุ     เห็นพลับพลาสูงของวังหน้า
ภาพมีคุณภาพตํ่า มองไม่ค่อยชัด

ภาพชุดนี้อยู่ในกลุ่มงานพระเมรุของสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ พ.ศ. 2404 ครับผม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 15, 11:16
อยู่มุมใดของแผนที่วังหน้าสมัยนั้นนะ ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มี.ค. 15, 12:37
ถ่ายภาพจากใต้ไปเหนือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 มี.ค. 15, 12:38
อยู่มุมใดของแผนที่วังหน้าสมัยนั้นนะ ?


คุณพี่ visitna นำแผนผังวังหน้ามาแสดง ผมคิดว่าน่าจะเป็นตรงด้านหน้าหอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มี.ค. 15, 13:00
แผนที่นายวอนนายสอน  เหมือนถ่ายนอกทุ่งพระเมรุ คือต้องไปถ่ายหน้าศาลถึงจะเห็นด้านหน้าพลับพลาสูง
แถวระทาอยู่ชิดไปทางด้านศาล เหลือพื้นที่ด้านซ้ายที่เป็นทุ่งพระเมรุเยอะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 15, 14:04
เป็นพิธีเมรุมาศของท่านใดบอกไม่ได้ ห้วงเวลาบอกไม่ได้
สถานที่คือทุ่งพระเมรุ     เห็นพลับพลาสูงของวังหน้า
ภาพมีคุณภาพตํ่า มองไม่ค่อยชัด

ภาพชุดนี้อยู่ในกลุ่มงานพระเมรุของสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ พ.ศ. 2404 ครับผม

เห็นจะไม่ใช่กระมังพ่อหนุ่ม
ภาพทางซ้าย เป็นพระเมรุมาศสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีแน่นอน แต่ระทาไม่เหมือนกับภาพด้านขวา

พระเมรุมาศที่ตั้งอยู่หน้าพระที่นั่งคชกรรมประเวศของวังหน้า เผลอๆภาพนี้จะเป็นพระเมรุมาศของบรมพระราชวังบวรวิไชยชาญที่หาๆกันอยู่ก็ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มี.ค. 15, 14:38
ภาพที่แล้ว(กลุ่มระทา) ไม่แน่ใจว่าผมลบคำบรรยายออกหรือเปล่า
แต่เป็นภาพที่นาง  Margaret Landon  สะสมแล้วมอบให้ ห้องสมุดวิทยาลัยวีตัน
บางภาพมีคำบรรยาย บางภาพไม่มีบรรยาย
คงเป็นภาพที่ขายนักท่องเที่ยวซื้อไป ส่วนมากไม่ค่อยเห็นความสำคัญทิ้งไปเสียส่วนใหญ่
เหลือที่นางมาร์กาเร็ต ได้เก็บไว้เพราะมีความผูกพันกับประเทศไทยบ้าง

อันนี้เขียนบรรยายว่า Temple Siam สั้นๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 15, 16:12
ภาพที่ว่า จะไปอเมริกาแล้วย้อนกลับมาไทยอย่างไรไม่สำคัญ แต่เป็นภาพพระเมรุมาศที่ใช้พระราชรถในการแห่พระศพ การเช่นนี้แสดงว่าพระยศของเจ้านายในพระโกศต้องสูงกว่าเจ้าฟ้า ถ้าไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชินีก็ต้องเป็นอุปราช กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นอุปราชวังหน้าพระองค์สุดท้าย พระเมรุมาศที่ตั้งบนสนามหลวง หน้าพระที่นั่งสำคัญของพระราชวังบวรสถานมงคล ต้องเป็นเจ้านายของวังนั้นไม่ใช่วังหลวง

แต่ภาพอื่นๆของพระเมรุมาศกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญที่เก็บในภาคราชการ ไม่มีเลย ไม่ได้แสดงว่าไม่มีใครถ่าย แต่ภาพอาจจะถูกซื้อไปเก็บไว้โดยเอกชนทั้งไทยและเทศโดยไม่ทราบว่าเป็นภาพพระเมรุมาศของใคร 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 15, 16:25
ว่าแต่ว่า ผมก็ไม่กล้าฟันธงลงไป
ต้องช่วยกันดูว่าในสองภาพที่นำมาเปรียบเทียบนี้ เป็นกลุ่มพระที่นั่งเดียวกันหรือเปล่า (ยอดมณฑปถูกรื้อออกไปแล้วตามศักดิ์ขององค์พระประมุขของวัง)

แล้วถ้าไม่ใช่ ภาพทางขวาจะเป็นกลุ่มอาคารใดเล่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 มี.ค. 15, 16:58
คัดมาจากประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๓ "ตำนานวังน่า" พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


...สิ่งซึ่งสร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้า อยู่หัวนั้น เล่ากันมาว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริห์เกือบจะทั้งนั้น ทั้งพระราชมณเฑียรสถานแลเครื่องราชูประโภค ทั้งปวงตลอดจนตำแหน่งขุนนาง ยกตัวอย่างเช่นว่าจ่าตำราจ ทรงตั้งขึ้นใหม่ในทำเนียบข้าราชการวังหลวง ก็โปรดให้ตั้งขึ้นใหม่ในทำเนียบ ข้าราชการวังน่าด้วยฉนี้เปนต้น ว่าโดยย่อเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศ สำหรับวังหลวงมีอย่างไร ก็ทรงพระราชดำริห์ให้มีขึ้นทางวังน่าใน ครั้งนั้นโดยมาก จะกล่าวแต่เฉภาะพระราชมณเฑียรก่อน คือ ข้อสำคัญ ปราสาทไม่เคยมีในพระราชวังบวรสถานมงคล จึงโปรด ให้สร้างปราสาทขึ้นข้างน่ามุขพระที่นั่งพุทไธสวรรย์องค์ ๑ ขนาดแล รูปสัณฐานอย่างพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ในพระบรมมหาราชวัง ขนาน นามว่า " พระที่นั่งคชกรรมประเวศ " มีเกยสำหรับขึ้นทรงช้างอยู่ข้างน่า สร้างพระที่นั่งโถง ทำนองพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ในพระราชวัง หลวง ตรงมุมกำแพงบริเวณน่าพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย มุมข้างใต้ องค์ ๑ มุมข้างเหนือองค์ ๑ มีเกยสำหรับทรงพระราชยาน ขนานนามว่า " พระที่นั่งมังคลาภิเศกองค์ ๑ พระที่นั่งเอกอลงกฎองค์ ๑ " ยังอยู่จน ทุกวันนี้ทั้ง ๒ องค์. ในชาลาข้างท้องพระโรง สร้างพระที่นั่งโถงองค์ ๑ เหมือนอย่าง พระที่นั่งสนามจันทร์ แลเรียกว่าพระที่นั่งสนามจันทร์อย่างเดียวกับใน พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งองค์นี้ยังอยู่ แต่ชำรุดจวนพังอยู่แล้ว. สร้างพลับพลาสูงที่ทอดพระเนตรฝึกซ้อมทหารบนกำแพงพระบวรราชวังด้านตวันออกองค์ ๑ อย่างพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ในพระราชวัง หลวง แต่เปนพลับพลาโถง เสาไม้หลังคาไม่มียอด เข้าใจว่า จะเหมือนอย่างพระที่นั่งสุทไธสวรรย์เมื่อแรกสร้าง ก่อนแก้เปนปราสาท เมื่อในรัชกาลที่ ๓

...สิ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างตามพระราช หฤไทยของพระองค์เองนั้น คือพระราชมณเฑียรที่เสด็จประทับในพระ บวรราชวัง ไม่พอพระราชหฤไทยที่จะประทับพระวิมานของเดิม จะสร้าง พระราชมณเฑียรใหม่เปนที่ประทับ แต่ที่พระบวรราชวังชั้นในคับแคบจึงโปรดให้ขยายเขตรชั้นในขึ้นไปข้างด้านเหนือ ( เขตรเดิมอยู่ตรงแนวถนนแต่ประตูสุดายุรยาตรมาทางตวันออก ในแผนที่ ) แลให้รื้อโรงลคร ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงสร้างไว้แต่เดิมนั้นเสีย แล้ว สร้างพระราชมณเฑียรใหม่ในที่บริเวณนั้นองค์ ๑ สร้างเปนเก๋งจีนโดย ฝีมืออย่างประณีตบรรจง ครั้นสำเร็จเสด็จขึ้นประทับ พเอิญประชวรเสาะแสะติดต่อมาไม่เปนปรกติ จีนแสมาดูกราบทูลว่าเพราะพระที่ นั่งเก๋งที่ประทับนั้นสร้างในที่กวงจุ๊ยไม่ดีเปนอัปมงคล จึงโปรดให้รื้อพระ ที่นั่งเก๋งนั้นไปปลูกเสียนอกวัง ( ตรงที่สร้างโรงกระสาปน์เดี๋ยวนี้ ) ถึง รัชกาลที่ ๕ เก๋งนี้ว่างอยู่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยทอดพระเนตรเห็นแต่ยังทรงพระเยาว์ โปรดว่าฝีมือที่ทำประณีต น่าเสียดาย จึงให้ย้ายเอาไปปลูกไว้ในพระราชวังดุสิต เปนที่สำหรับ เจ้านายวังน่าไปประทับเวลาเสด็จขึ้นไปเฝ้า ฯ ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ครั้นเมื่อรื้อพระที่นั่งเก๋งออกไปจากพระบวรราชวังแล้ว จึงทรงสร้าง พระที่นั่งอิกองค์ ๑ ในบริเวณอันเดียวกัน เปนแต่เลื่อนไปข้างตวันออก หน่อยหนึ่ง พระที่นั่งองค์ใหม่นี้ทำเปนตึกอย่างฝรั่ง สร้างโดยประณีต บรรจงเหมือนกัน ขนานนามว่า " พระที่นั่งอิศเรศราชานุสร " พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับอยู่ที่พระที่นั่งองค์นี้ตลอดมาจนเสด็จสวรรคต...

อ้างถึง - http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%91%E0%B9%93 (http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%91%E0%B9%93)
หน้า ๖๓-๖๖



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มี.ค. 15, 17:51
ภาพคนละยุคกันหรือไม่?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 มี.ค. 15, 18:22
เพ่งดูอยู่เหมือนกันครับ  ติดขัดที่อาคารหลังนี้ สถาปัตยกรรมหลังคาดูแปลกตา คล้ายพระอุโบสถวัดราชา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 มี.ค. 15, 07:21
ภาพที่ว่า จะไปอเมริกาแล้วย้อนกลับมาไทยอย่างไรไม่สำคัญ แต่เป็นภาพพระเมรุมาศที่ใช้พระราชรถในการแห่พระศพ การเช่นนี้แสดงว่าพระยศของเจ้านายในพระโกศต้องสูงกว่าเจ้าฟ้า ถ้าไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชินีก็ต้องเป็นอุปราช กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นอุปราชวังหน้าพระองค์สุดท้าย พระเมรุมาศที่ตั้งบนสนามหลวง หน้าพระที่นั่งสำคัญของพระราชวังบวรสถานมงคล ต้องเป็นเจ้านายของวังนั้นไม่ใช่วังหลวง

แต่ภาพอื่นๆของพระเมรุมาศกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญที่เก็บในภาคราชการ ไม่มีเลย ไม่ได้แสดงว่าไม่มีใครถ่าย แต่ภาพอาจจะถูกซื้อไปเก็บไว้โดยเอกชนทั้งไทยและเทศโดยไม่ทราบว่าเป็นภาพพระเมรุมาศของใคร 

ภาพกลุ่มพระเมรุมาศ Late Queen of Siam ที่เขียนบรรยายไว้ครับ ดังนั้นกลุ่มภาพนี้เป็นของสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ซึ่งภาพกลุ่มระทาและราชรถนั้นตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดมหาธาตุในปัจจุบัน ซึ่งอาณาบริเวณของกลุ่มพระเมรุนั้นกินพื้นที่วังหน้าไปด้วย ซึ่งยังมีพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า อยากให้วังหน้า (สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) อย่าได้วิตกเพราะการสร้างเมรุมาศครั้งนี้มีพื้นที่ยาวไปกินที่ของวังหน้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 มี.ค. 15, 07:38
^


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 มี.ค. 15, 07:41

ภาพกลุ่มพระเมรุมาศ Late Queen of Siam ที่เขียนบรรยายไว้ครับ ดังนั้นกลุ่มภาพนี้เป็นของสมเด็จพระเทพศิรินทราฯ ซึ่งภาพกลุ่มระทาและราชรถนั้นตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดมหาธาตุในปัจจุบัน ซึ่งอาณาบริเวณของกลุ่มพระเมรุนั้นกินพื้นที่วังหน้าไปด้วย ซึ่งยังมีพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า อยากให้วังหน้า (สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) อย่าได้วิตกเพราะการสร้างเมรุมาศครั้งนี้มีพื้นที่ยาวไปกินที่ของวังหน้า
[/quote]

จากหนังสืออะไร ใครเป็นผู้ถ่าย ใครเป็นผู้เขียนบรรยายครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มี.ค. 15, 11:11
พระเมรุมาศ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มี.ค. 15, 11:22
เรียนถามอาจารย์ NAVARAT.C

ผมไม่รู้ว่าของท่านใด  ขอเดาว่าเป็นของเจ้าฟ้าศิริราชฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 มี.ค. 15, 14:26
เรียนถามอาจารย์ NAVARAT.C

ผมไม่รู้ว่าของท่านใด  ขอเดาว่าเป็นของเจ้าฟ้าศิริราชฯ

เปิดตำราดูแล้ว ยืนยันว่าใช่ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มี.ค. 15, 14:48
ขอบคุณอาจารย์  NAVARAT.C

ภาพคลองรอบกรุง+คลองมหานาค ที่เราเห็นกันบ่อย
มาจากหนังสือ The Peoples and Politics of the Far East (1895)
ของ  Sir Henry Norman, 1st Baronet PC (19 September 1858 – 4 June 1939)
เป็น English journalist และ Liberal politician.
เป็นนักเดินทางที่เคยเข้ามาในประเทศสยามช่วงหนึ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มี.ค. 15, 15:40
สะพานผ่านฟ้า - จากสะพานไม้สู่สะพานเหล็ก  

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47937;image)
 
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47939;image)

จากสะพานเล็กสู่สะพานใหญ่ 

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=47944;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มี.ค. 15, 20:16
ดูภาพแล้ว     นึกตามที่ท่านพระยาอนุมานราชธนอธิบายในหนังสือฟื้นความหลัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มี.ค. 15, 20:17
ข้อความ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มี.ค. 15, 20:18
ต่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มี.ค. 15, 20:27
ไม่รุ้ประจวบพอเหมาะอะไร มีครูผมสองคนเกียวข้องในถนนนี้
คนหนึ่งนามสกุลบุนนาค เป็นเจ้าของโรงแรมในถนนสุรวงศ์
อีกคนนามสกุลพัฒน์พงศ์พานิช             เป็นผู้หญิงทั้งคู่

สมัยยังเรียนตอนคํ่าๆครูบางคนพาเหล่านิสิตไปกินข้าวต้มที่ร้านนิยม
อยู่ไม่ไกลจากปากซอยด้านพระราม 4

ถ้าเป็นลานเบียร์มีอยู่ที่หน้าโรงแรมมณเฑียร ริมถนนพระราม 4  เฉพาะคํ่าๆ

ถ้าครูไม่พาไป  เราไปกันเอง ต้องภัตตาคารง้วนหลีปากซอยสารสิน ติดสวนลุม อาหารอร่อย ถูกดี

บรรยากาศอย่างนี้คงไม่มีอีกแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 มี.ค. 15, 08:27
เปลี่ยนรูปใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 มี.ค. 15, 09:20
ห้างคีเชียง อยู่ที่สี่กั๊กเสาชิงช้า
ถนนบำรุงเมืองตัดเฟื่องนคร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 15, 09:26
ชอบถนนสุรวงศ์ในค.ห. 663 มากค่ะ   บ้านช่องในตอนนั้นดูสวยสะอาดตา น่าอยู่จริงๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 มี.ค. 15, 12:28
สถานทูตอเมริกาเก่า
ตามที่ท่านพระยาอนุมานราชธนเล่า

คืออยู่ที่ซอยเจริญกรุง 34 ปัจจุบัน
เป็นทางเข้าวัดม่วงแค
ถ้าเดินจากเจริญกรุงเข้าซอยไปด้านซ้ายเป็นสถานทูตอเมริกา ด้านขวาเป็นสถานทูตอังกฤษ(เดิม-ปัจจุบันคือไปรษณีย์กลาง)

สถานทูตของสองประเทศนี้ สมัยเดิมอยู่ใกล้กัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 มี.ค. 15, 14:46
เคยเห็นรูปยุโรป โฮเตล อยู่สองที่
ยังหาข้อมูลไม่ได้

แห่งแรกอยู่ที่เจริญกรุง เยื้องปากสุรวงศ์ อาคารที่มีจั่วสามเหลี่ยม
คือยุโรปโฮเตล

แห่งที่สองมีแต่รูปดูไม่ออกว่าอยู่แถวไหน

ยังหาหลักฐานอะไรไม่ได้ดูแค่รูปไปก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 มี.ค. 15, 14:50
ภาพที่ว่า จะไปอเมริกาแล้วย้อนกลับมาไทยอย่างไรไม่สำคัญ แต่เป็นภาพพระเมรุมาศที่ใช้พระราชรถในการแห่พระศพ การเช่นนี้แสดงว่าพระยศของเจ้านายในพระโกศต้องสูงกว่าเจ้าฟ้า ถ้าไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดินหรือพระราชินีก็ต้องเป็นอุปราช กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นอุปราชวังหน้าพระองค์สุดท้าย พระเมรุมาศที่ตั้งบนสนามหลวง หน้าพระที่นั่งสำคัญของพระราชวังบวรสถานมงคล ต้องเป็นเจ้านายของวังนั้นไม่ใช่วังหลวง

แต่ภาพอื่นๆของพระเมรุมาศกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญที่เก็บในภาคราชการ ไม่มีเลย ไม่ได้แสดงว่าไม่มีใครถ่าย แต่ภาพอาจจะถูกซื้อไปเก็บไว้โดยเอกชนทั้งไทยและเทศโดยไม่ทราบว่าเป็นภาพพระเมรุมาศของใคร  

ขอโทษครับ
เข้ามาบอกว่าขอยืมภาพนี้ไปเปิดกระทู้ใหม่หน่อย

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6228.msg141846#msg141846 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6228.msg141846#msg141846)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 มี.ค. 15, 16:37
ตามสบายครับอาจารย์ ผมต้องกลับไปอ่านของกรมพระยาดำรงฯก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มี.ค. 15, 09:25
คลองสาน

เห็นสะพานหกอยู่ข้างหน้า ภาพแรก

สะพานหกอีกแห่งที่อยู่แถวนี้คือสะพานหกหน้าวัดอนงคาราม
แต่ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อยืนบนสะพานหกนี้จะเห็นวัดพิชยญาติการาม ภาพที่สอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 13 มี.ค. 15, 10:18

เรื่อง Europe Hotel และ Hotel Europe แนะนำให้พ่อหนุ่มสยาม siamese ฝากไปถามพ่อหนุ่มรัตนพันทิป ณล คนดังใน Facebook ผมจำได้ว่าเคยคุยกันเรื่องนี้ใน Facebook เมื่อปีที่แล้ว

สำหรับในภาพที่ ๑ เคยเห็นบ่อยๆ อธิบายภาพว่า อาคารไม้ทางซ้ายมือ คือ สถานีตำรวจบางรัก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มี.ค. 15, 11:09
ไม่เคยรู้ว่าเคยคุยกันเรื่องนี้
ภาพที่สอง  เขารวบรวมไว้ในส่วนผลงานช่างอิตาลี่ในสยาม
บางภาพเคยเอามาลงเช่นบ้านเจ้าพระยารามราฆพ

ภาพแรกเคยเห็นป้ายที่อ่านออกชัดเจนเขียนว่ายุโรปโฮเตล หาไม่เจอแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 มี.ค. 15, 08:53
แผนที่ฉบับนี้น่าจะเป็นของนายวอนนายสอน 
ผมได้มาจากหนังสืออะไรจำไม่ได้แล้ว(น่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรม)กลับไปค้นไม่เจอ
แต่จำได้ว่าเป็นสมบัติของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล 
ที่ได้มามีขอบเขตแค่นี้ ไม่กว้างเหมือนต้นฉบับแผนที่นายวอนนายสอน ปี รศ 115

แผนที่เป็นแบบนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 มี.ค. 15, 11:05
Visitna ครับ แผนที่นายวอน นายสอนนั้นต้นฉบับจะเป็นลักษณะนี้คือ ในส่วนของพื้นที่ตอนเหนือ บริเวณสามเสน พระราชวังดุสิตถูกลบไป และด้านใต้ถึงบริเวณพระรามสาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 มี.ค. 15, 16:54
ขอบคุณคุณหนุ่มสำหรับข้อมูล

ภาพเรือนพระขรรค์ ยังหลงอยู่อีกภาพ ที่ไม่เคยเห็นกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 มี.ค. 15, 09:34
ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์    การออกแบบของสถาปนิก ทามาญโย่
อยู่ที่ถนนสุรวงศ์     เคยเดินเข้าไปสักครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
เดินเล่นมาจากต้นทางถนนพระราม 4 เห็นห้องสมุดเนียลสัน เข้าไปชม  เป็นครั้งเดียว



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 มี.ค. 15, 15:06
ประชาชนชมการละเล่นและเฉลิมฉลองใน

พระราชพิธีมหาพิไชยมงคลลงสรงสนานเฉลิมพระปรมาภิไธย     สถาปนา
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร


เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2429

มีพระนามตามจารึกสุพรรณบัฏว่า..............
 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรสมมติเทพยวรางกูร
บรมมกุฎนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงศ์
อุกฤษฐพงศ์วโรภโตสุชาต
ธัญญลักษณวิลาสวิบุลยสวัสดิ์สิริวัฒนราชกุมาร

   

นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร
เป็นตำแหน่งรัชทายาท แทนตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา


ในการนี้สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้ส่งโทรเลขมาอำนวยพรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 มี.ค. 15, 15:25
คลองคูเมืองเดิม แถวกระทรวงมหาดไทยปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ป้าหวัน ที่ 16 มี.ค. 15, 19:10
เพื่อนของดิฉันส่งมาให้ดูไม่ทราบว่าทางเวปเรือนไทยจะเปิดเข้าไปชมได้หรือไม่ แต่มีภาพเก่าๆน่าสนใจหลายภาพ ไม่ทราบป้าหวันทำผิดกติกาเวปหรือไม่ เพียงอยากแบ่งปันเพื่อนร่วมเวปเท่านั้นค่ะ 
http://petmaya.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93 (http://petmaya.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93)

http://petmaya.com/ (http://petmaya.com/)ภาพสมัยโบราณ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มี.ค. 15, 19:33
เพื่อนของดิฉันส่งมาให้ดูไม่ทราบว่าทางเวปเรือนไทยจะเปิดเข้าไปชมได้หรือไม่ แต่มีภาพเก่าๆน่าสนใจหลายภาพ ไม่ทราบป้าหวันทำผิดกติกาเวปหรือไม่ เพียงอยากแบ่งปันเพื่อนร่วมเวปเท่านั้นค่ะ 
http://petmaya.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93 (http://petmaya.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93)

http://petmaya.com/ (http://petmaya.com/)ภาพสมัยโบราณ

ดีใจจังเลยครับคุณป้าหวัน ที่เจอภาพเก่าในลักษณะนี้

สงสัยคุณป้าหวันยังไม่ทราบว่า หนุ่มรัตนะเจ้าของเพจที่ทำภาพสีนั้น เป็นคนเดียวกับคนที่คุยกับป้าหวัน คนนี้นี่เอง  ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 มี.ค. 15, 20:19
 :D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 มี.ค. 15, 15:02
วังกรมหมื่นนรา? วังใคร  อยู่ที่ไหน  ไม่ทราบ  มีคำบรรยายว่า

Palace of Prince Krom Mim Nara

ดูพอเป็นไอเดีย เพราะลายนํ้าเต็มหน้า ลบได้แค่นี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 มี.ค. 15, 15:09
สะพานเหล็กบน  ยุคต้น



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 มี.ค. 15, 15:15
ประตูสะพานหัน  เห็นบรรยากาศการค้าขายริมประตูเมือง

ผ่านประตูนี้เข้าไปในร้านบนสะพานหัน  ที่เคยเล่ากันในกระทู้ก่อน

ประตูนี้พังลงเมื่อสมัย ต้น ร. 6 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 มี.ค. 15, 15:33
ประตูสะพานหัน  เห็นบรรยากาศการค้าขายริมประตูเมือง

ผ่านประตูนี้เข้าไปในร้านบนสะพานหัน  ที่เคยเล่ากันในกระทู้ก่อน

ประตูนี้พังลงเมื่อสมัย ต้น ร. 6 

โครงสร้างเก่ามากๆ มิน่าละถึงได้พังถล่มลงมา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 มี.ค. 15, 15:52
คงจะพังหลังถ่ายรูปไม่นาน
พังลงมาทับทางรถรางด้วย
รถรางวิ่งจากพาหุรัด โค้งมาชิดกำแพงเมืองติดกับประตูเมือง
ตอนเช้านั้นต้องรีบรื้อทิ้ง เพื่อให้รถรางเดินได้ตามปกติ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มี.ค. 15, 16:37
วังกรมหมื่นนรา? วังใคร  อยู่ที่ไหน  ไม่ทราบ  มีคำบรรยายว่า

Palace of Prince Krom Mim Nara

ดูพอเป็นไอเดีย เพราะลายนํ้าเต็มหน้า ลบได้แค่นี้
น่าจะเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

วังวรวรรณ ตั้งอยู่ใกล้ๆวัดมหรรณพาราม ต่อมาวถูกเวนคืนทำถนน เพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ต่อมาถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ป้าหวัน ที่ 17 มี.ค. 15, 19:30

อยากเห็นบ้านใหญ่แถวคลองสาธรเดิมค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ป้าหวัน ที่ 17 มี.ค. 15, 19:32


ดีใจจังเลยครับคุณป้าหวัน ที่เจอภาพเก่าในลักษณะนี้

สงสัยคุณป้าหวันยังไม่ทราบว่า หนุ่มรัตนะเจ้าของเพจที่ทำภาพสีนั้น เป็นคนเดียวกับคนที่คุยกับป้าหวัน คนนี้นี่เอง  ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D

กรี๊ด อย่างนีจะเรียกว่า ป้าหวันเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหรือว่าจุดใต้ตำตอ ดีคะ ชอบรูปเก่าอย่างนี้มากขอบคุณค่ะคุณหนุ่มรัตนะ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มี.ค. 15, 19:54
ที่นี่เรียกคุณหนุ่มสยามครับ แบบจัดเต็มก็ หนุ่มรัตนะสยาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ป้าหวัน ที่ 18 มี.ค. 15, 06:53
 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มี.ค. 15, 07:14

อยากเห็นบ้านใหญ่แถวคลองสาธรเดิมค่ะ

ให้ภาพถ่ายทางอากาศแนวคลองสาทรและถนนสาทรเหนือ สาทรใต้บริเวณแยกคอนแวนต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 08:40
ตามคำขอของป้าหวัน

รูปแรกเป็นคลองสาทร(สะกดตามชื่อท่านผู้สร้างคลองนี้)
มีถนนสองข้าง มีต้นไม้ร่มรื่นทั้งสองฝั่งถนน
มองไปทางด้านตะวันตก คือมองไปทางแม่นํ้าเจ้าพระยา
ถ่ายเมื่อเดือนมกราคม  พศ 2479


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 08:50
บ้านบนถนนสาทร ใกล้คอลลิน เมมมอเรียล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 08:55
บ้านอีกหลังริมถนนสาทร  ถ่ายปีเดียวกันกับข้างบน
ต้มไม้ส่วนมากน่าจะเป็นมะฮอกกานี  แต่ตรงนี้เป็นต้นมะม่วง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 09:02
บ้านของ ดร.เพ็นเดิลตัน เจ้าของภาพถ่าย

อาจจะอยู่ใกล้ซอยสวนพลู หรือ อยู่ในซอยสวนพลู


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 18 มี.ค. 15, 10:28
มีบ้านหลายหลังบนถนนสาทรที่คุณพี่ visitna นำภาพมาแสดง ก่อนที่ความเจริญจะรุกล้ำเข้าไปตามความเติบโตของเศรษฐกิจ ผมจำได้ว่านั่งรถประจำทางสาย ๑๗ ที่แล่นผ่านทางด้านถนนสาทรใต้ จะประมาณปีไหนก็จำไม่ได้ถนัด

บ้านแต่ละหลังปลูกบนพื้นที่กว้าง แยกอาณาเขตกันด้วยรั้วต้นไม้ตัดสูงประมาณระดับเอว รอบบ้านจะเป็นสนามหญ้า มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นรายไปทั่วพื้นที่ ประตูทางเข้าบ้านเป็นประตูไม้ระแนงแผ่น ถนนภายในก็จะเป้นถนนโรยหินกรวด บางหลังก็จะปลูกไม้พุ่มข้างถนนเอาไว้ด้วย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 18 มี.ค. 15, 10:31
เพื่อนของดิฉันส่งมาให้ดูไม่ทราบว่าทางเวปเรือนไทยจะเปิดเข้าไปชมได้หรือไม่ แต่มีภาพเก่าๆน่าสนใจหลายภาพ ไม่ทราบป้าหวันทำผิดกติกาเวปหรือไม่ เพียงอยากแบ่งปันเพื่อนร่วมเวปเท่านั้นค่ะ  
http://petmaya.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93 (http://petmaya.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93)

http://petmaya.com/ (http://petmaya.com/)ภาพสมัยโบราณ

ดีใจจังเลยครับคุณป้าหวัน ที่เจอภาพเก่าในลักษณะนี้

สงสัยคุณป้าหวันยังไม่ทราบว่า หนุ่มรัตนะเจ้าของเพจที่ทำภาพสีนั้น เป็นคนเดียวกับคนที่คุยกับป้าหวัน คนนี้นี่เอง  ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D ;D

เพิ่งทราบนะนี่ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน ..  :P  :P   ;D

เขาเล่าขานกันว่าหนุ่มรัตนะเขาชอบเป็ดสีเหลืองเป็นชีวิตจิตใจ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มี.ค. 15, 10:38
มีบ้านหลายหลังบนถนนสาทรที่คุณพี่ visitna นำภาพมาแสดง ก่อนที่ความเจริญจะรุกล้ำเข้าไปตามความเติบโตของเศรษฐกิจ ผมจำได้ว่านั่งรถประจำทางสาย ๑๗ ที่แล่นผ่านทางด้านถนนสาทรใต้ จะประมาณปีไหนก็จำไม่ได้ถนัด

บ้านแต่ละหลังปลูกบนพื้นที่กว้าง แยกอาณาเขตกันด้วยรั้วต้นไม้ตัดสูงประมาณระดับเอว รอบบ้านจะเป็นสนามหญ้า มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นรายไปทั่วพื้นที่ ประตูทางเข้าบ้านเป็นประตูไม้ระแนงแผ่น ถนนภายในก็จะเป้นถนนโรยหินกรวด บางหลังก็จะปลูกไม้พุ่มข้างถนนเอาไว้ด้วย

ถนนสาทร เป็นถนนสายที่สวยที่สุดในยุคดิฉันยังเด็ก  เห็นภาพตามที่คุณลุงไก่บรรยายไว้ข้างบนนี้ชัดเจน
มีถนนสายเล็กๆชื่อถนนคอนแวนต์  สวยและสงบเหมือนอยู่ในเมืองเล็กๆของประเทศตะวันตก    ซึ่งปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยอีกแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 18 มี.ค. 15, 11:37
มีรถประจำทางสาย๑๗ สายเดียวที่วิ่งผ่านตลอด ถนนสาทร เพราะแต่ละบ้านบนถนนนี้มีรถยนต์ประจำบ้านทั้งนั้น
วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ถนนทั้งเส้นเงียบมาก เพราะยังเป็นย่านบ้านพักอาศัย แทบไม่มี offfice building เลย ที่จำได้ก็มี บริษัทยาไบเออร์ กับบริษัทเกษตรพืชผล
เงียบสงัดจริงๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 11:43
ลุงไก่ และ อาจารย์เทาชมพู  ได้ผ่านยุคที่ถนนสาทรสวยงามเหมือนผม
ผมมีเพื่อนอยู่ที่ถนนสาทรเหนือ เคยไปสังสรรค์กันที่บ้านนี้

บ้านหลังนี้ อาจารย์ประทุมพร เคยเขียนถึงในหนังสือ   รื่นรมย์บนถนนสี่ ส.
ในครั้งโน้น  สามสหายซื้อที่ดินแปลงใหญ่มาแบ่งกันสร้างเป็นสามบ้าน

บ้านเพื่อนอยู่นอกสุดริมถนน ถัดด้านในหลังที่สองเป็นบ้านพยัคฆาภรณ์ บ้านในสุดเป็นบ้านทวีสิน

 ถ้าผ่านไปถนนสาทรจะเห็นตึกสูงมีป้าย ไบเออร์   คือบ้านหลังนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 18 มี.ค. 15, 11:52
ถนนสาทรเริ่มคับคั่งเมื่อมีการสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินเชื่อมกับฝั่งธน(จำปีก่อสร้างไม่ได้ครับ)
แต่บ้านสวยๆในพื้นที่กว้างๆยังคงมีอยู่
มีการสร้างตอม่อสำหรับระบบขนส่งมวลชนเตรียมไว้ที่สะพานด้วย
ฮาวงจุ้ยเริ่มเปลี่ยน พลังมหาศาลกำลังเริ่มผ่นเข้าถนนสาทร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 11:57
หนังสือชุดนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มี.ค. 15, 12:02
ลุงไก่ และ อาจารย์เทาชมพู  ได้ผ่านยุคที่ถนนสาทรสวยงามเหมือนผม
ผมมีเพื่อนอยู่ที่ถนนสาทรเหนือ เคยไปสังสรรค์กันที่บ้านนี้

บ้านหลังนี้ อาจารย์ประทุมพร เคยเขียนถึงในหนังสือ   รื่นรมย์บนถนนสี่ ส.
ในครั้งโน้น  สามสหายซื้อที่ดินแปลงใหญ่มาแบ่งกันสร้างเป็นสามบ้าน

บ้านเพื่อนอยู่นอกสุดริมถนน ถัดด้านในหลังที่สองเป็นบ้านพยัคฆาภรณ์ บ้านในสุดเป็นบ้านทวีสิน

 ถ้าผ่านไปถนนสาทรจะเห็นตึกสูงมีป้าย ไบเออร์   คือบ้านหลังนี้



คุณ visitna พอจะมีภาพที่ดินแปลงใหญ่แถวสาทร ที่เคยเป็นที่ตั้งของ ฮองเฮา อาบอบนวดไหม จำได้ว่าใหญ่พอสมควร และที่ใกล้ๆ กันนั้นจะมีบ้านเก่าโบราณหลังหนึ่งเนื้อที่กว้างขวางมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 12:03
ลุงไก่ และ อาจารย์เทาชมพู  ได้ผ่านยุคที่ถนนสาทรสวยงามเหมือนผม
ผมมีเพื่อนอยู่ที่ถนนสาทรเหนือ เคยไปสังสรรค์กันที่บ้านนี้

บ้านหลังนี้ อาจารย์ประทุมพร เคยเขียนถึงในหนังสือ   รื่นรมย์บนถนนสี่ ส.
ในครั้งโน้น  สามสหายซื้อที่ดินแปลงใหญ่มาแบ่งกันสร้างเป็นสามบ้าน

บ้านเพื่อนอยู่นอกสุดริมถนน ถัดด้านในหลังที่สองเป็นบ้านพยัคฆาภรณ์ บ้านในสุดเป็นบ้านทวีสิน

 ถ้าผ่านไปถนนสาทรจะเห็นตึกสูงมีป้าย ไบเออร์   คือบ้านหลังนี้



คุณ visitna พอจะมีภาพที่ดินแปลงใหญ่แถวสาทร ที่เคยเป็นที่ตั้งของ ฮองเฮา อาบอบนวดไหม จำได้ว่าใหญ่พอสมควร และที่ใกล้ๆ กันนั้นจะมีบ้านเก่าโบราณหลังหนึ่งเนื้อที่กว้างขวางมาก

คิดว่าไม่มี
หรือมีแต่อาจจะ จำไม่ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 12:09
ท่านํ้าศิริราช ปีไหนไม่บอกไว้

ภาพไม่ค่อยชัดเนื่องจากระบบการพิมพ์สมัยก่อนไม่ดี (เอามาจากหนังสือเก่า) ต้นฉบับอาจจะชัดดี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 12:13
ลุงไก่

ผมอยากอ่านประวัติ เหม เวชกร ในฟ้าเมืองไทย  ที่ท่านเขียนเอง
ลุงเจียวต้ายเคยเอามาลงไว้แล้วผมอยากอ่านซํ้า พอจะหาได้ไหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 12:35
เปรียบเทียบ  วัดปรินายก  ในสามภาพนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 18 มี.ค. 15, 13:09
ลุงไก่

ผมอยากอ่านประวัติ เหม เวชกร ในฟ้าเมืองไทย  ที่ท่านเขียนเอง
ลุงเจียวต้ายเคยเอามาลงไว้แล้วผมอยากอ่านซํ้า พอจะหาได้ไหม

ผมมีหนังสือประวัติของเหม เวชกร ที่ท่านเขียนเองอยู่เล่มหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าจะเป็นอันเดียวกับที่เคยลงพิมพ์ในฟ้าเมืองไทยหรือไม่ ขอไปค้นในลังหนังสือก่อนครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 18 มี.ค. 15, 13:12
ท่านํ้าศิริราช ปีไหนไม่บอกไว้

ภาพไม่ค่อยชัดเนื่องจากระบบการพิมพ์สมัยก่อนไม่ดี (เอามาจากหนังสือเก่า) ต้นฉบับอาจจะชัดดี

ขอเดาไว้ก่อนนะครับว่าเรือนไม้สองชั้นด้านซ้ายมือของภาพ คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลังหรือที่เคยเรียกกันว่าโรงเรียนแหม่มโคล ขออนุญาตคัดลอกประวัติโรงเรียนจากเวปของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยมาให้อ่านกันดังนี้

     โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) โดยมิชชันนารีคณะเพรสไปทีเรียมิชชันจากสหรัฐอเมริกา เดิมมีชื่อเรียกว่า โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ตั้งอยู่บริเวณพระราชวังหลัง ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงเรียนสตรีประจำ และโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย โดยมิสซิสแฮเรียต เอ็มเฮาส์ เป็นครูใหญ่คนแรก มีจุดมุ่งหมายจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านเขียน การศึกษาคริสตจริยธรรม และวิชาเย็บปักถักร้อย ซึ่งเป็นวิชาสำหรับกุลสตรีสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) กิจการของโรงเรียนเจริญขึ้นทำให้สถานที่ตั้งโรงเรียนเดิมไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นได้ มิสเอ็ดน่า เซร่ะ โคล์ ครูใหญ่ในขณะนั้นได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ในสถานที่ปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น “วัฒนาวิทยาลัย” อ้างถึงภาพแผนที่เก่าโรงศิริราชพยาบาลในความเห็นที่ ๖๒๒ ที่เขียนว่า "โรงเรียนอังกฤษ" ทางมุมล่างขวาของภาพ

และสังเกตว่าท่าเรือหน้าโรงศิริราชพยาบาลได้ก่อสร้างขึ้นแล้ว และตึกที่ทำการของโรงพยาบาลฯ ทางด้านขวามือของภาพก็ได้ก่อสร้างแล้ว มีหนังสือเล่มหนึ่งบันทึกปีที่สร้างไว้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มี.ค. 15, 13:50
ท่านํ้าศิริราช ปีไหนไม่บอกไว้

ภาพไม่ค่อยชัดเนื่องจากระบบการพิมพ์สมัยก่อนไม่ดี (เอามาจากหนังสือเก่า) ต้นฉบับอาจจะชัดดี

ขอเดาไว้ก่อนนะครับว่าเรือนไม้สองชั้นด้านซ้ายมือของภาพ คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลังหรือที่เคยเรียกกันว่าโรงเรียนแหม่มโคล ขออนุญาตคัดลอกประวัติโรงเรียนจากเวปของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยมาให้อ่านกันดังนี้

     โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2417 (ค.ศ. 1874) โดยมิชชันนารีคณะเพรสไปทีเรียมิชชันจากสหรัฐอเมริกา เดิมมีชื่อเรียกว่า โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ตั้งอยู่บริเวณพระราชวังหลัง ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช เป็นโรงเรียนสตรีประจำ และโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย โดยมิสซิสแฮเรียต เอ็มเฮาส์ เป็นครูใหญ่คนแรก มีจุดมุ่งหมายจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านเขียน การศึกษาคริสตจริยธรรม และวิชาเย็บปักถักร้อย ซึ่งเป็นวิชาสำหรับกุลสตรีสมัยนั้น ในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) กิจการของโรงเรียนเจริญขึ้นทำให้สถานที่ตั้งโรงเรียนเดิมไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นได้ มิสเอ็ดน่า เซร่ะ โคล์ ครูใหญ่ในขณะนั้นได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ในสถานที่ปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น “วัฒนาวิทยาลัย” อ้างถึงภาพแผนที่เก่าโรงศิริราชพยาบาลในความเห็นที่ ๖๒๒ ที่เขียนว่า "โรงเรียนอังกฤษ" ทางมุมล่างขวาของภาพ

และสังเกตว่าท่าเรือหน้าโรงศิริราชพยาบาลได้ก่อสร้างขึ้นแล้ว และตึกที่ทำการของโรงพยาบาลฯ ทางด้านขวามือของภาพก็ได้ก่อสร้างแล้ว มีหนังสือเล่มหนึ่งบันทึกปีที่สร้างไว้

ใช่แล้วครับ เป็นโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ครับ และในภาพจะเห็นหอถังน้ำ จ่ายน้ำให้กับโรงพยาบาลศิริราช


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 18 มี.ค. 15, 14:09
เรือนไม้ซ้ายมือนั้น ไม่ใช่ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง แต่เป็นเรือนประทับของหม่อมเจ้าหญิงจันทรนิภา เทวกุล (ถ้าจำไม่ผิด) มีท่าน้ำศิริราชเหมือนปัจจุบัน มีป้ายวงกลมห้ามทอดสมอ เพราะวางท่อประปาข้ามแม่น้ำ ภาพนี้มีอายุระหว่าง พ.ศ. 2468-2472 ส่วนเรือนด้านขวามือ เดิมเป็นบ้านพักของพระอาจวิทยาคม (หมอแมคฟาร์แลนด์) ช่วงนี้เป็นอะไรจำไม่ได้  คุณพระอาจท่านย้ายไปอยู่ที่บ้านโฮลี่รู้ทแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 14:36
หนังสือ ชีวิตนี้เพื่อสยาม หนังสือประวัติหมอจอร์จ แมคฟาร์แลนด์
มีรูปบ้านพักของหมอจอร์จแต่ภาพเล็กมาก เป็นเรือนสองชั้นสี่เหลี่ยมเรียบๆ มีระเบียงชั้นบนรอบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 18 มี.ค. 15, 15:19
ดูได้จากภาพนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 17:42
ขอถามคุณกะออม
มีโรงเรียนแหม่มโคล อยู่ในภาพข้างบนบ้างไหม อยากรู้  (ผมไม่รู้จริงๆ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มี.ค. 15, 19:25
ส่วนที่ดินเดิมบริเวณวังหลัง ทางโรงเรียนขายให้สมเด็จพระบรมราชชนกฯ ในเวลาต่อมาสร้างเป็นหอพักพยาบาลของโรงพยาบาลศิริราช...
ที่มา http://www.sujitwongthes.com/2014/03/siam28032557/ (http://www.sujitwongthes.com/2014/03/siam28032557/)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 19:54
ปัญหาคือหอพักพยาบาลอยู่ตรงไหน

คุณหนุ่ม........ เราไม่รู้หมดทุกอย่าง ที่ไม่รู้ค่อยๆค้นคว้าไป

ภาพที่เอามาลบลายนํ้าดูแล้วมีชีวิตชีวากว่าภาพธรรมดาที่ไม่ใส่ลายนํ้า



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 15, 19:58
เปรียบเทียบภาพเดียว กัน
ภาพบนมีลายนํ้า
ภาพล่างไม่มีลายนํ้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 19 มี.ค. 15, 07:22
โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง หรือ โรงเรียนแหม่มโคล์ ปัจจุบันคือคณะพยาบาลศาสตร์ มหิดล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มี.ค. 15, 08:34
ขอบคุณครับคุณกะออม

ห้างบี.กริมแอนโก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2421 รัชกาลที่ 5
ชาวยุโรป 2 คน คือเบิร์นฮาร์ด กริม เภสัชกรชาวเยอรมัน กับเออร์วิน มิลเลอร์ พ่อค้าชาวออสเตรีย
ได้ร่วมก่อตั้งขายยา สยาม ดิสเปนซารี่ ขึ้นแถวปากคลองตลาด

ต่อมาคุณ อดอล์ฟ ลิงค์ซึ่งเป็นเภสัชกรก็เข้ามาบริหาร ร่วมหุ้น และซื้อกิจการมาเป็นของตัวเองในที่สุด
โดยมีธุรกิจด้านห้างสรรพสินค้ และเทรดดิ้งเพิ่มขึ้นอีก

เริ่มแรก  บีกริม แอนด์ โก ตั้งที่ปากคลองตลาด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มี.ค. 15, 08:42
ถนนที่ตัดสมัยรัชกาลที่ 4  ไม่เว้นที่ว่างให้ปลูกต้นไม้เลย   คนเดินคงร้อนน่าดู


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มี.ค. 15, 09:12
โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง หรือ โรงเรียนแหม่มโคล์ ปัจจุบันคือคณะพยาบาลศาสตร์ มหิดล
อย่างนี้ก็หาเจอแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มี.ค. 15, 09:27
เทียบกับปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มี.ค. 15, 12:16
ถนนที่ตัดสมัยรัชกาลที่ 4  ไม่เว้นที่ว่างให้ปลูกต้นไม้เลย   คนเดินคงร้อนน่าดู

เป็นระยะแรกที่ไทยไม่เคยมีประสพการณ์
เมื่อ ร .5 เสด็จเยือนต่างประเทศ การก่อสร้างถนนดีขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มี.ค. 15, 12:18
เทียบกับปัจจุบัน

มีแผนที่อีกรูปที่เคยดูกัน  โรงเรียนอังกฤษ คงเป็นโรงเรียนแหม่มโคล เนื้อที่น้อยมาก



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มี.ค. 15, 12:24
บ้านพักหมอจอร์จ แมคฟาร์แลนด์ ----- พระอาจวิทยาคม
มาจากหนังสือ ชีวิตอุทิศเพื่อสยาม ----ชีวประวัติของ นพ.จอร์จ บี.แม็คฟาร์แลนด์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 19 มี.ค. 15, 12:38
เทียบกับปัจจุบัน

มีแผนที่อีกรูปที่เคยดูกัน  โรงเรียนอังกฤษ คงเป็นโรงเรียนแหม่มโคล เนื้อที่น้อยมาก



พื้นที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๘๑ ตารางวา ..


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 19 มี.ค. 15, 14:48
ในกรอบเขียวคือพื้นที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มี.ค. 15, 15:42
ในกรอบเขียวคือพื้นที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง

ขอบคุณครับ
จะได้เคลียร์กันเสียที  และเข้าใจกันชัดเจนถูกต้อง
ว่าเรื่องโรงเรียนกุลสตรีวังหลังของแหม่มโคลตั้งอยู่ตรงไหน

ผมนี่ติดใจเรื่องนี้มานานแล้วเคยเห็นแต่ภาพตัวโรงเรียน ภาพนักเรียน 
อ่านเรื่องราวของโรงเรียน      แต่ไม่เข้าใจว่าตั้งอยู่ตรงไหนกันแน่   
เพราะไม่มีใครพูดให้ชัดว่าอยู่ตรงนี้นะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มี.ค. 15, 15:52
ในกรอบเขียวคือพื้นที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง
ผมยังคิดว่า ตามพื้นที่จะอยู่ตรงเส้นเหลืองชี้นะครับ เอาแนวถนนที่ไปสุดท่าพรานนกเป็นหลักก็ที่แปลงต่อไป ประมาณไร่ครึ่งเอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 19 มี.ค. 15, 16:33
ปัญหาคือหอพักพยาบาลอยู่ตรงไหน

คุณหนุ่ม........ เราไม่รู้หมดทุกอย่าง ที่ไม่รู้ค่อยๆค้นคว้าไป

ภาพที่เอามาลบลายนํ้าดูแล้วมีชีวิตชีวากว่าภาพธรรมดาที่ไม่ใส่ลายนํ้า



พบแล้ว .. ภาพหอพักพยาบาลริมน้ำ หอพักดั้งเดิมที่ผมเห็นมาตั้งแต่ยังเด็ก ก่อนที่พื้นที่นี้จะเป็นอาคารคณะพยาบาลศาสตร์ทุกวันนี้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มี.ค. 15, 16:39
ลุงไก่   แสดงอยู่ห่างจากท่านํ้า  ล๊อคเดียว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 19 มี.ค. 15, 16:41
ภาพเหตุการณ์โป๊ะเรือล่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ ตึกในภาพด้านขวา คือ อาคารหอประชุมของคณะพยาบาลศาสตร์
ในปีนั้นยังไม่ได้สร้างตึกคณะพยาบาลศาสตร์ คือ อาคารสูงของภาพในความเห็นก่อน
ศรชี้ไปที่ท่อเหล็กในภาพ คือตำแหน่งแนวท่อน้ำประปาที่จ่ายน้ำมาจากฝั่งพระนคร วางลอดใต้แม่น้ำมาขึ้นที่นี่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 19 มี.ค. 15, 16:45
ลุงไก่   แสดงอยู่ห่างจากท่านํ้า  ล๊อคเดียว

คือมีอาคารตึกหอประชุมคั่นอยู่แค่นั้นครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 19 มี.ค. 15, 17:03
อีกภาพหนึ่งของหอพักพยาบาลหลังเดิม มองแบบชัดๆ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มี.ค. 15, 17:23
ภาพเดิมของคุณ กะออม ชัด มี relationship กับส่วนอื่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 มี.ค. 15, 12:11
นักเรียนกุลสตรีวังหลัง ปี 2428


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 มี.ค. 15, 12:24
an inside view of the city wall Bangkok
ตำแหน่ง เวลา ไม่ได้แจ้ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 มี.ค. 15, 13:14
an inside view of the city wall Bangkok
ตำแหน่ง เวลา ไม่ได้แจ้ง

ดุเหมือนว่าช่างกล้องถ่ายภาพอยู่บนสะพาน เพราะห็นราวสะพานด้านซ้ายมือเรา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 มี.ค. 15, 08:27
Shop at mouth of Ong-Ang canal
ไม่รู้ว่าอยู่ที่ป้อมมหากาฬ หรือตรงปากคลองที่ติดแม่นํ้าเจ้าพระยา
ภาพค่อนข้างเลือนลาง  เห็นร้านขายของเรือนแพ บ้านเรือนหลังคามุงจากทั้งนั้น



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 มี.ค. 15, 08:33
A private home in Bangkok, built by architect, Attilio Ferrero, 1930 ca
บ้านหลังนี้หน้าตาคล้ายบ้านมะลิวัลย์หรือที่เรียกว่าทำเนียบท่าช้าง(นายปรีดี เคยอยู่สมัยเป็นผู้สำเร็จราชการ -ร8)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 มี.ค. 15, 08:49
บ้านอีกหลังที่เป็นฝีมือ แอททิลิโอ เฟอร์เรโร



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 21 มี.ค. 15, 11:37
Shop at mouth of Ong-Ang canal
ไม่รู้ว่าอยู่ที่ป้อมมหากาฬ หรือตรงปากคลองที่ติดแม่นํ้าเจ้าพระยา
ภาพค่อนข้างเลือนลาง  เห็นร้านขายของเรือนแพ บ้านเรือนหลังคามุงจากทั้งนั้น



ถ้าเรียกว่าปากคลองโอ่งอ่าง น่าจะหมายถึงปากคลองทางด้านวัดบพิตรภิมุข (วัดตีนเลน หรือ วัดเชิงเลน) ครับ
ถ้าอีกปากคลองหนึ่งจะเรียกว่า ปากคลองบางลำพู


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 21 มี.ค. 15, 11:41
an inside view of the city wall Bangkok
ตำแหน่ง เวลา ไม่ได้แจ้ง

สันนิษฐานว่าจะถ่ายไว้ในยุครัชกาลที่ ๔
ถนนเลียบกำแพงเมืองในยุคต้นสายแรก คือแนวถนนพระสุเมรุและถนนมหาชัย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มี.ค. 15, 11:38
โลหะปราสาท มีลักษณะเป็นเป็นปราสาท 3 ชั้น มี 37 ยอด
ซึ่งหมายถึงพระโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
ภายใน โลหะปราสาท เป็นช่องกลวงจากฐานตลอดยอด
แกนกลางหลักเป็นซุงต้นใหญ่สูงถึงยอดปราสาท โดยเจาะลำต้นตอกเป็นบันไดเวียนขึ้น 67 ขั้น


โลหะปราสาท เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2394
นับจากปีที่เริ่มก่อสร้างวัดราชนัดดารามได้ 5 ปี
แต่ก่อสร้างสำเร็จเป็นเพียงปราสาทโกลน ก็สิ้นสมัยรัชกาลที่ 3
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้าง โลหะปราสาท

จนเข้าสมัยรัชกาลที่ 5 พระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต) เจ้าอาวาส
ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตบูรณะปฏิสังขรณ์ โลหะปราสาท หลายครั้ง ตามกำลังทรัพย์
โดยเริ่มตั้งแต่ชั้นบนลงมา คือ ทำพื้น ก่อมณฑปโบกปูนสีแดง ยกฉัตร ยอดเจดีย์ที่ชั้นบนสุดและชั้นสองทั้งหมด

ต่อมาในช่วงที่ พระราชปัญญาโสภณ (สุข ปุญญรํสี) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
ได้จัดให้มีการบูรณะครั้งใหญ่ของ โลหะปราสาท ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ในปี พ.ศ. 2506 โดยพยายามรักษาแบบแผนดั้งเดิมของ โลหะปราสาท ในสมัยรัชกาลที่ 3 ให้คงไว้มากที่สุด
โลหะปราสาท ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ในครั้งนี้

โลหะปราสาท เป็นที่ประดิษฐานของ พระบรมสารีริกธาตุ
เมื่อครั้งงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงองค์ปัจจุบันของเราชาวไทย
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบก
โลหะปราสาท เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538

สืบเนื่องจากโอกาสสำคัญครั้งนั้น โลหะปราสาท จึงได้รับการบูรณะอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2539
โดยเริ่มจากยอดมณฑปกลาง เปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ
กลายเป็น โลหะปราสาท สุดงดงามจับตา ให้เราได้ชื่นชมและภาคภูมิใจกันทุกวันนี้


โลหะปราสาท เมื่อยังไม่แล้วเสร็จ

น่าจะเป็น สมัยรัชกาลที่ 5 ที่พระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต)
เริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์ โลหะปราสาท อีกหลังจากงานไม่คืบหน้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มี.ค. 15, 12:16
วัดราชนัดดาราม
เห็น โลหะปราสาท  นิดเดียว 
ปี คศ 1900 (ประมาณ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: chakad77 ที่ 22 มี.ค. 15, 20:26
(https://scontent-sin.xx.fbcdn.net/hphotos-xpa1/v/t1.0-9/11081121_1567425303529377_6702598664263652684_n.jpg?oh=027fe636adeadc128349f0156dea1cab&oe=55AD1414)
สถานทูตเบลเยี่ยม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: chakad77 ที่ 22 มี.ค. 15, 20:33
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=55193;image)
[/quote]
เปลี่ยนไปเยอะพอสมควร
(http://image.ohozaa.com/i/a9d/sY7zlU.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: chakad77 ที่ 22 มี.ค. 15, 20:56
เรือนท้าววรคณานันท์ น่าจะมีการเพิ่มปีกซ้ายเข้ามา(กรอบสีแดง)
(http://image.ohozaa.com/i/71d/eWhGex.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มี.ค. 15, 08:21
เรือนท้าววรคณานันท์ น่าจะมีการเพิ่มปีกซ้ายเข้ามา(กรอบสีแดง)
(http://image.ohozaa.com/i/71d/eWhGex.jpg)
เยียมครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ครบถ้วน
สมาชิกจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มี.ค. 15, 08:34
แม่นํ้าเจ้าพระยา
และเหล่าเรือสำเภาทั้งหลาย

ตำแหน่งที่เรืออยู่(คิดว่า)น่าจะเป็นแถวคลองบางหลวง
ปกติเรือจีนจะจอดแถวราชวงศ์ ควรจะลงมาด้านทิศใต้อีก
ภาพถ่ายจากทิศใต้ไปเหนือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มี.ค. 15, 11:41
บันทึกไว้ในอีกรูปแบบหนึ่ง เผื่อภาพต้นฉบับไม่ปรากฏ

เรือนท้าววรคณานันท์ น่าจะมีการเพิ่มปีกซ้ายเข้ามา(กรอบสีแดง)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 23 มี.ค. 15, 12:11
แม่นํ้าเจ้าพระยา
และเหล่าเรือสำเภาทั้งหลาย

ตำแหน่งที่เรืออยู่(คิดว่า)น่าจะเป็นแถวคลองบางหลวง
ปกติเรือจีนจะจอดแถวราชวงศ์ ควรจะลงมาด้านทิศใต้อีก
ภาพถ่ายจากทิศใต้ไปเหนือ

อยู่ตรงนี้หละครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มี.ค. 15, 12:54
ลุงไก่
ลองแคปเจอร์ให้ใกล้อีกนิด  ความคมชัดไม่ดีขึ้น
อยากดูเรือหัวแดงหัวเขียวให้ชัด ไม่ได้ผล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มี.ค. 15, 14:09
ใกล้อีกนิด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มี.ค. 15, 14:52
ลุงไก่
ลองแคปเจอร์ให้ใกล้อีกนิด  ความคมชัดไม่ดีขึ้น
อยากดูเรือหัวแดงหัวเขียวให้ชัด ไม่ได้ผล

เรือเหล่านี้จอดลอยอยูแถวราชวงศ์ ใช่ไหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 15, 14:58
ลองกำปั่นฝรั่งด้านขวามือด้วยสิครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 23 มี.ค. 15, 15:18
ใกล้อีกนิด
[/quote

บ้านเรือนริมน้ำในภาพจะอยู่ในบริเวณหัวโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาแถวๆ ตำบลบางลำพูล่าง ตามที่ผมวงให้เครื่องหมายไว้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มี.ค. 15, 15:41
อาจารย์  NAVARAT.C  ครับ

ได้ประมาณนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 15, 16:00
เยี่ยมเลยครับ ขอบพระคุณ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มี.ค. 15, 16:05
อาจารย์  NAVARAT.C  ครับ ต้นฉบับเป็นแบบนี้ ขนาด 6.6 MB
(สำหรับอาจารย์โดยเฉพาะ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 15, 08:47
หนังสือ siam on the meinam



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 15, 12:35
ภาพเดียวแทนคำบรรยายได้หลายพันคำ
ต้องตีความหมายตาม คำบรรยาย แต่ไม่ยาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 24 มี.ค. 15, 13:08
วิววัดแจ้งที่คห.766  ลำน้ำข้างหน้า คือแถวปากคลองบางหลวงใช่หรือไม่ครับคุณvisitna และป้อมวิไชยประสิทธิ์จะอยู่ด้านขวาของภาพ
เพราะถ้าapproachทางแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นศาลาท่าน้ำ และเรือนแพจะไม่คับคั่งแบบนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 15, 16:11
วิววัดแจ้งที่คห.766  ลำน้ำข้างหน้า คือแถวปากคลองบางหลวงใช่หรือไม่ครับคุณvisitna และป้อมวิไชยประสิทธิ์จะอยู่ด้านขวาของภาพ
เพราะถ้าapproachทางแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นศาลาท่าน้ำ และเรือนแพจะไม่คับคั่งแบบนี้

หารูปมาประกอบ ไม่ต้องพิมพ์มาก พิมพ์มากเดียวผิดอีก

คลองบางหลวง บางกอกใหญ่ อยู่ใต้จากพระปรางค์
ปากคลองเป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์

หลังป้อมคือบ้านหมอปลัดเล
(อยู่จนถึงปี 2481 จนแหม่มหลิน ลูกสาวคนเล็กเสียชีวิต จึงโอนให้กองทัพเรือใช้)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 15, 16:18
พระราชวังเดิมของพระเจ้าตาก

อยู่ระหว่างวัดแจ้ง(ขวามือ)ที่อยู่ทิศเหนือ
ป้อมวิชัยประสิทธิ์(ซ้ายมือ)ที่อยูทางใต้

ภาพนี้มีเรือมาบังไว้   ถ้าไม่มีเรือภาพจะสวยมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 24 มี.ค. 15, 18:16
วิววัดแจ้งที่คห.766  ลำน้ำข้างหน้า คือแถวปากคลองบางหลวงใช่หรือไม่ครับคุณvisitna และป้อมวิไชยประสิทธิ์จะอยู่ด้านขวาของภาพ
เพราะถ้าapproachทางแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นศาลาท่าน้ำ และเรือนแพจะไม่คับคั่งแบบนี้

หารูปมาประกอบ ไม่ต้องพิมพ์มาก พิมพ์มากเดียวผิดอีก

คลองบางหลวง บางกอกใหญ่ อยู่ใต้จากพระปรางค์
ปากคลองเป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์

หลังป้อมคือบ้านหมอปลัดเล
(อยู่จนถึงปี 2481 จนแหม่มหลิน ลูกสาวคนเล็กเสียชีวิต จึงโอนให้กองทัพเรือใช้)

แหม่มหลินโอนที่ดินคืนก่อนเสียชีวิต แล้วเธอไปอยู่ที่โพธิ์สามต้น ตรงที่ต่อมาเป็นสวนสัตว์ธนบุรี (ได้อย่างไรไม่ทราบ) แล้วเป็นปั๊มน้ำมันเอสโซ่ แล้วมาเป็นอาคารคอนโดอพาร์ตเมนท์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 15, 18:48
วิววัดแจ้งที่คห.766  ลำน้ำข้างหน้า คือแถวปากคลองบางหลวงใช่หรือไม่ครับคุณvisitna และป้อมวิไชยประสิทธิ์จะอยู่ด้านขวาของภาพ
เพราะถ้าapproachทางแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นศาลาท่าน้ำ และเรือนแพจะไม่คับคั่งแบบนี้

หารูปมาประกอบ ไม่ต้องพิมพ์มาก พิมพ์มากเดียวผิดอีก

คลองบางหลวง บางกอกใหญ่ อยู่ใต้จากพระปรางค์
ปากคลองเป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์

หลังป้อมคือบ้านหมอปลัดเล
(อยู่จนถึงปี 2481 จนแหม่มหลิน ลูกสาวคนเล็กเสียชีวิต จึงโอนให้กองทัพเรือใช้)

แหม่มหลินโอนที่ดินคืนก่อนเสียชีวิต แล้วเธอไปอยู่ที่โพธิ์สามต้น ตรงที่ต่อมาเป็นสวนสัตว์ธนบุรี (ได้อย่างไรไม่ทราบ) แล้วเป็นปั๊มน้ำมันเอสโซ่ แล้วมาเป็นอาคารคอนโดอพาร์ตเมนท์

ไม่ได้ดำนํ้า
อ่านมาจาก นิทานชาวไร่ของ นอ.สวัสดิ์
ตรงกับข้อเขียนของอาจารย์ ส.พลายน้อย ว่าไว้แบบนี้

ถ้าเป็นแบบคุณ กะออมว่า เป็นความรู้ใหม่ไม่เคยทราบมาก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 15, 18:55
หน้าเดียวพอ คัดมาจาก จากนิทานชาวไร่
เข้าใจว่าแหม่มหลินตายที่นี่
หมาของแก ไม่มีใครให้อาหาร อดตายไปด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มี.ค. 15, 19:15
อาจารย์  NAVARAT.C  ครับ ต้นฉบับเป็นแบบนี้ ขนาด 6.6 MB
(สำหรับอาจารย์โดยเฉพาะ)

ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ ไม่เคยเห็นภาพนี้มาก่อนเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 24 มี.ค. 15, 19:51
เรื่องบ้านแหม่มหลิน อาจารย์หมอสุด แสงวิเชียร ท่านเล่า บ้านท่านก็อยู่ที่โพธิ์สามต้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 มี.ค. 15, 19:55
ให้แผนที่คุณ visitna บริเวณโรงพิมพ์หมอบรัดเล (แผนที่ในหนังสือของแหม่มแอนนา)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 15, 20:09
ข้อมูลของหมอสุด อาจจะเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด

ของ นอ สวัสดิ์ และ ส.พลายน้อย เป็น secondary

ของ อาจารย์หมอสุดอาจจะเคยอ่านแต่ลืมไป

หมอแบรดเลย์ มีบ้านสามหลัง

หลักฐานแรกจากประวัติหมอ จอร์จ แมคฟาร์แลนด์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 15, 20:11
อย่างที่สองเป็นแผนที่คุณหนุ่มและของนายวอนนายสอน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มี.ค. 15, 20:12
จากรูปที่มีการอ้างว่าเป็นบ้านหมอแบรดเลย์ มีสามหลังจริง
หลังสุดท้ายอาจจะเป็นโรงพิมพ์ ในยุคต่อมา ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มี.ค. 15, 21:19
ให้แผนที่คุณ visitna บริเวณโรงพิมพ์หมอบรัดเล (แผนที่ในหนังสือของแหม่มแอนนา)

เพียงแต่ฉงนสงสัยน่ะครับ

เมื่อแหม่มแอนนามาสยาม เป็นสมัยรัชกาลที่ ๔ กรุุงเทพยังไม่มีรถราง ไฉนแผนที่ในหนังสือของแหม่มจึงแสดงรางรถรางสายรอบเมืองด้วย
สงสัยสำนักพิมพ์เอามาเติมให้ทีหลัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 24 มี.ค. 15, 22:46
วิววัดแจ้งที่คห.766  ลำน้ำข้างหน้า คือแถวปากคลองบางหลวงใช่หรือไม่ครับคุณvisitna และป้อมวิไชยประสิทธิ์จะอยู่ด้านขวาของภาพ
เพราะถ้าapproachทางแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นศาลาท่าน้ำ และเรือนแพจะไม่คับคั่งแบบนี้
เมื่อกี้แพนภาพนี้ไปทางซ้ายจนสุดถึงได้เห็นศาลาท่าน้ำตรงขอบขวา
ป้อมวิไชยประสิทธิ์และปากคลองบางหลวงคงจะอยู่ด้านซ้าย(มองไม่เห็นเพาระหลุดขอบไปแล้ว)
ที่วัดคงมีงานอะไรสักอย่าง เห็นผู้คนและเรือแพพลุกพล่าน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 มี.ค. 15, 06:13
พระราชวังเดิมของพระเจ้าตาก

อยู่ระหว่างวัดแจ้ง(ขวามือ)ที่อยู่ทิศเหนือ
ป้อมวิชัยประสิทธิ์(ซ้ายมือ)ที่อยูทางใต้

ภาพนี้มีเรือมาบังไว้   ถ้าไม่มีเรือภาพจะสวยมาก

ภาพนี้ผู้ถ่ายตั้งใจถ่ายภาพเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ ซึ่งขึ้นระวางประจำการปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕  ในเวลาเคารพธงขึ้น ทุก ๐๘๐๐

ในภาพ จะเห็นยามใหญ่ในเรือเข้าแถวทำวันทยาวุธ  ทหารอื่นๆบนเรือ หากถือปืนทำวันทยาวุธ นอกนั้นทำวันทยหัตถ์หรือยืนตรง นกหวีดเป่าเพลงธงขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 25 มี.ค. 15, 07:14
ให้แผนที่คุณ visitna บริเวณโรงพิมพ์หมอบรัดเล (แผนที่ในหนังสือของแหม่มแอนนา)

เพียงแต่ฉงนสงสัยน่ะครับ

เมื่อแหม่มแอนนามาสยาม เป็นสมัยรัชกาลที่ ๔ กรุุงเทพยังไม่มีรถราง ไฉนแผนที่ในหนังสือของแหม่มจึงแสดงรางรถรางสายรอบเมืองด้วย
สงสัยสำนักพิมพ์เอามาเติมให้ทีหลัง

น่าจะเป็นกำแพงเมือง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มี.ค. 15, 13:41
ฝากภาพเรือสำเภาสามเสา จอดอยู่ริมวัดอรุณราชวราราม ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มี.ค. 15, 17:16
ขบวนแห่ที่ไม่รู้?
ตรงสี่กั๊กพระยาศรี
ไม่รู้ว่ามีพ่อสังวาลย์หรือปล่าว เป็นพระเอกลิเกที่ดัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 มี.ค. 15, 14:43
วิววัดแจ้งที่คห.766  ลำน้ำข้างหน้า คือแถวปากคลองบางหลวงใช่หรือไม่ครับคุณvisitna และป้อมวิไชยประสิทธิ์จะอยู่ด้านขวาของภาพ
เพราะถ้าapproachทางแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นศาลาท่าน้ำ และเรือนแพจะไม่คับคั่งแบบนี้
เมื่อกี้แพนภาพนี้ไปทางซ้ายจนสุดถึงได้เห็นศาลาท่าน้ำตรงขอบขวา
ป้อมวิไชยประสิทธิ์และปากคลองบางหลวงคงจะอยู่ด้านซ้าย(มองไม่เห็นเพาระหลุดขอบไปแล้ว)
ที่วัดคงมีงานอะไรสักอย่าง เห็นผู้คนและเรือแพพลุกพล่าน

ยังไม่ได้ตอบคำถาม
ผมไม่ทราบเหมือนกันว่ามีพิธีอะไรหรือเป็นแค่ตลาดนํ้า


เป็นภาพ.....ปากคลองบางหลวง
ซึ่งมีป้อมวิชัยประสิทธิ์อยู่ด้านเหนือ และ วัดกัลยาณมิตรอยู่ด้านใต้
ที่มีต้นไม้แน่นหลังป้อมคือบ้านหมอแบรดเลย์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 มี.ค. 15, 17:49
เรือที่ถ่ายในประเทศสยาม ประมาณปี คศ 1900
สถานที่ไม่บอกว่าที่ไหน
ภาพที่สองเรือบนบก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 26 มี.ค. 15, 21:00

ภาพนี้ผู้ถ่ายตั้งใจถ่ายภาพเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ ซึ่งขึ้นระวางประจำการปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕  ในเวลาเคารพธงขึ้น ทุก ๐๘๐๐

ในภาพ จะเห็นยามใหญ่ในเรือเข้าแถวทำวันทยาวุธ  ทหารอื่นๆบนเรือ หากถือปืนทำวันทยาวุธ นอกนั้นทำวันทยหัตถ์หรือยืนตรง นกหวีดเป่าเพลงธงขึ้น

อาจารย์บรรยายได้เหมือนกับเคยใช้ชีวิตประจำวันบนเรือรบเลยนะครับ
เกือบลืมไปเลยว่าว่าอาจารย์NAVARAT.Cเป็นหลานชายปลัดกระทรวงกลาโหมหนึ่งเดียวของกองทัพเรือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 มี.ค. 15, 21:29
ให้แผนที่คุณ visitna บริเวณโรงพิมพ์หมอบรัดเล (แผนที่ในหนังสือของแหม่มแอนนา)

เพียงแต่ฉงนสงสัยน่ะครับ

เมื่อแหม่มแอนนามาสยาม เป็นสมัยรัชกาลที่ ๔ กรุุงเทพยังไม่มีรถราง ไฉนแผนที่ในหนังสือของแหม่มจึงแสดงรางรถรางสายรอบเมืองด้วย
สงสัยสำนักพิมพ์เอามาเติมให้ทีหลัง

น่าจะเป็นกำแพงเมือง

ภาพหลังนี้กำแพงเมืองแน่นอนครับ ลายเส้นไม่เหมือนภาพแรก และภาพแรกลายเส้นเช่นนั้นเป็นเอกลักษณ์ของรางรถไฟหรือรถรางนะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 มี.ค. 15, 21:32

ภาพนี้ผู้ถ่ายตั้งใจถ่ายภาพเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ ซึ่งขึ้นระวางประจำการปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕  ในเวลาเคารพธงขึ้น ทุก ๐๘๐๐

ในภาพ จะเห็นยามใหญ่ในเรือเข้าแถวทำวันทยาวุธ  ทหารอื่นๆบนเรือ หากถือปืนทำวันทยาวุธ นอกนั้นทำวันทยหัตถ์หรือยืนตรง นกหวีดเป่าเพลงธงขึ้น

อาจารย์บรรยายได้เหมือนกับเคยใช้ชีวิตประจำวันบนเรือรบเลยนะครับ
เกือบลืมไปเลยว่าว่าอาจารย์NAVARAT.Cเป็นหลานชายปลัดกระทรวงกลาโหมหนึ่งเดียวของกองทัพเรือ

แหะๆ เปิดตำราเอาในเน็ตนี่แหละครับ  หากินง่ายดี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 26 มี.ค. 15, 22:17
เนียนมากครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 26 มี.ค. 15, 22:39
ฝากภาพเรือสำเภาสามเสา จอดอยู่ริมวัดอรุณราชวราราม ครับ

ขอชื่นชมความใจดีของคุณหนุ่มสยามค่ะที่อุตส่าห์ลงสีแต่งภาพให้สวยขึ้น วันก่อน เพื่อนดิฉันส่งรูปที่คุณหนุ่มสยามเผยแพร่ทางเฟสบุ๊คมาให้ สวยทุกรูปชอบที่สุดคือรูปเด็กหัวจุกแต่งชุดนักเรียน น่ารักมากค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 มี.ค. 15, 10:20
คลองเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก
แม้ในวัดเลียบมีคลองทะลุกลางไปที่ถนนพาหุรัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 มี.ค. 15, 11:15
อาคารโรงเรียนเพาะช่างที่สูญเสียไปพร้อมกับการทิ้งระเบิดโรงไฟฟ้าวัดเลียบของเครื่องบินทิ้งระเบิดสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง
และสภาพพื้นที่ของโรงเรียนเพาะช่างภายหลังการทิ้งระเบิด และของโรงเรียนสวนกุหลาบที่อยู่ใกล้เคียงกัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 มี.ค. 15, 11:21
คลองเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก
แม้ในวัดเลียบมีคลองทะลุกลางไปที่ถนนพาหุรัด


คลองในโรงไฟฟ้าวัดเลียบเป็นคลองที่ขุดเชื่อมกับคลองโอ่งอ่าง สำหรับเป็นทางขนส่ง ไม้ฟืน แกลบ ถ่านหิน สำหรับเป็นเชื้อเพลิงในการต้มน้ำในหม้อน้ำ เพื่อนำไปป้อนเครื่องกำเนิดไฟฟ่าต่อไป
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 มี.ค. 15, 11:32
ของไทยมีบางครั้ง เอาข้าวเปลือกมาเผาเป็นเชื้อเพลิงด้วยในปีที่ข้าวดีจนล้นตลาด ทั้งนี้เพื่อรักษาราคาไม่ให้ตกต่ำเกิน ตามทฤษฎีของฝรั่งที่ปรึกษารัฐบาล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 เม.ย. 15, 08:27
สกุณวัน หรือ เก๋งกรงนก
สร้างในสมัย ร.4 รื้อในสมัย ร.5
มีเสาธงอยู่สองเสาด้วย
ในปัจจุบันคือสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 เม.ย. 15, 08:37
บ้านหมอแมตตูน เป็นมิชชั่นนารี ไม่ใช่หมอจริง
(เข้ามาเมืองไทยปี พศ.2390-สมัย ร.3)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 เม.ย. 15, 09:39
เก๋งกรงนก อีกภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 เม.ย. 15, 09:42
บ้านหมอเฮ้า MD สามีของนางแฮเรียต ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวังหลัง
เข้ามาในเมืองไทยพร้อมหมอแมตตูน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 15, 09:43
วันนี้ขอออกนอกกรุงเทพฯขึ้นทางเหนือ
ไปดูพุทธสถานที่เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ

            รอยพระพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง ของประเทศ
ตามคติอินเดียถือเป็นอุทเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่งมาแต่โบราณ
ภายหลังพุทธกาลไม่นานัก โดยสร้างขึ้นเพื่ออุทิศต่อพระพุทธเจ้า เป็นของนับถือแทน พระพุทธรูป
(สมัยก่อนชาวชมพูทวีป ไม่นิยมสร้างรูปเคารพ เพราะเป็นการไม่เคารพ เหมือนเป็นการดูหมิ่น
ภายหลังพระเจ้ามิลินท์ หรือ เมนันเดอร์ ราชาชาติกรีก ที่หันมานับถือพระพุทธศาสนา
จึงเริ่มสร้างพระพุทธรูป ซึ่งจะคล้ายเทวรูปของกรีกมาก ซึ่งเรียกว่าพระพุทธรูปสมัยคันธาระ)
แต่ตามคติของลังกา เชื่อกันว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับรอยพระพุทธบาทแห่งนี้
ไว้ด้วยพระองค์เอง ดังนั้น รอยพระพุทธบาทเป็นบริโภคเจดีย์อย่างหนึ่งด้วย คือ
เป็นของเนื่องใน ตถาคตเจ้า เหมือนกับสังเวชนียสถาน 4 แห่ง
ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานรอยพระพุทธบาท
ซึ่งอ้างกันว่าเป็นรอยที่พระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปเหยียบไว้ ด้ยพระองค์เอง มีอยู่ 5 แห่ง ซึ่งก็มีตำนานต่าง ๆ กัน คือ

    ขาสุวรรณมาลิก
    เขาสุมนกูฏ
    เมืองโยนก
    หาดทรายในลำน้ำนัมมทานที
    เขาสุวรรณบรรพต

                     รอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ประดิษฐานบนไหล่เขาสุวรรณบรรพต
หรือเรียกันว่า "เขาสัจจพันธคีรี" ปัจจุบันอยู่ในตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 140 กิโลเมตร
รอยพระพุทธบาทนี้ มีขนาดกว้าง 21 นิ้ว ยาว 5 ฟุต และลึก 11 นิ้ว
ค้นพบในรัชสมัยของ พระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163-2171)
ประดิษฐานอยู่ในมณฑปน้อย อันมีพระมณฑปใหญ่สวมครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง
 

                    พระมณฑปน้อยที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท สร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรม
แต่เดิมมีทองคำหุ้มอยู่ ต่อมาได้ถูกพวกจีนที่อาสาต่อสู้กับพม่า ลอกเอาทองคำไป
 แล้วยังเผาพระมณฑปด้วย
รัชกาลที่ 1 ได้ทรงปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ. 2330
และได้รับการปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4
                 
 พระมณฑปใหญ่ สร้างในสมัยพระเจ้าทรงธรรมเดิมเป็นพระมณฑปยอดเดียว
ได้รับการเปลี่ยนแปลงเครื่องบนให้เป็นพระมณฑป 5 ยอด ในรัชกาลพระเจ้าเสือ (พ.ศ. 2246-2251)
แต่การปฏิสังขรณ์ได้ตกค้างมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ. 2251-2275)
ครั้นในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงเปลี่ยนให้เป็นมณฑปยอดเดียวอีก
ต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนยอดจากไม้เป็นคอนกรีต ทั้งตัว เมื่อ พ.ศ. 2265

     สมเด็จพระพุฒนาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม ได้จัดการซ่อมครั้งหลังสุด เมื่อ พ.ศ. 2477-2478
 สูงประมาณ 37.25 เมตร เครื่องบน และเสาลงรักปิดทองและประดับด้วยกระจกสีต่าง ๆ รอบผนังด้านนอก
ประดับด้วยทองแดงฉลุลายเทพนมบนกระจกสีน้ำเงิน ผนังด้านในถือปูนถึง 3 ชั้น
                    ชั้นแรก  ถือปูนแล้วทาสีแดง เชื่อกันว่า ทำในสมัยรัชกาล ที่ 1
                    ชั้นที่ 2 ถือปูนแล้วปิดทองทึบ ทำในสมัยรัชกาล ที่ 3
                    ชั้นที่ 3 ที่เห็นในปัจจุบัน ประดับลายทองเป็นรูป พระเกี้ยว ปูลาดด้วยแผ่นเงิน เปลี่ยนเป็นเสื่อเงิน สมัยรัชกาลที่ 4
   

 งานนักขัตฤกษ์ประจำปีของเทศกาลพระพุทะบาท มี 2 ช่วง คือ ช่วงขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรก 1 ค่ำ เดือน 3 ครั้งหนึ่ง
กับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงวันแรก 1 ค่ำ  เดือน 4  อีกครั้งหนึ่ง
คำให้การของขุนโขลน ซึ่งพิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 7 บันทึกเกี่ยวกับ รอยพระพุทธบาทไว้ว่า
               

รัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม มีพระสงฆ์ไทยพวกหนึ่ง เดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ ลังกาทวีป
พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ จึงตรัสแก่คณะสงฆ์ ไทยว่า รอยพระพุทธบาทที่อยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา
 บนยอดเขาสุวรรณบรรพต ทิศเหนือกรุงศรีอยุธยา
พร้อมกับทรงพระราชอักษรเป็นราชสาส์นถวายมายัง พระเจ้าทรงธรรม
เมื่อพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้ทราบความในพระราชสาส์นของพระลังกาแล้ว
 จึงมีพระราชโองการตรัสแก่เสนาบดีให้ออกป่าวร้อง แก่ประชาราษฎร์ให้เที่ยวค้นหารอยพระพุทธบาท ให้จงได้
                 นายพรานผู้หนึ่งชื่อบุญ เที่ยวยิงเนื้อในแคว้น ปะรัตนครราชธานี
นายพรานนี้ถือสัตว์มั่นคง จะยิงตัวดำ ถ้าตัวแดงขวางก็ไม่ยิง ถ้าจะยิงตัวเมีย ตัวผู้มาขวาง ก็ไม่ยิง
วันหนึ่งนายพรานยิงเนื้อตาย พอพระฤๅษีลงไป สรงน้ำที่ท่าวัด
นายพรานจึงสั่งพระฤๅษีว่าช่วยบอก พระคงคาให้ไหลขึ้นมาจะล้างเนื้อ
พระฤๅษีจึงว่า ตนเอง สวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันค่ำเข้ามิได้ขาด
ตังแต่หนุ่มจนแก่ ก็ไม่เคยเรียกพระคงคาไหลขึ้นมา บนเขาได้
ต้องลงไปอาบน้ำถึงท่าวัด แต่นายพราน ฆ่าสัตว์อยู่เป็นนิจ
จะสั่งให้พระคงคาไหลขึ้นมาหา ถึงบนเขาได้อย่างไร
 นายพรานจึงให้ไปบอก  เมื่อพระฤๅษีลงไปที่ท่าวัด และบอกแก่พระคงคาตามสั่ง
พระคงคาก็ไหลขึ้นไปที่นายพรานยิงเนื้อไว้นั้น
นายพรานจึงยกเอาก้อนศิลากั้นน้ำไว้ให้เป็นขอบคันบ่ออยู่
นายพรานจึงล้างเนื้อในบ่อนั้น จนกลายเป็น "บ่อพรานล้างเนื้อ" ในปัจจุบัน
                ต่อมาวันหนึ่ง นายพรานยิงเนื้อจนบาดเจ็บ มัหลบหนี ขึ้นไปบนไหล่เขา
ปรากฏว่า เนื้อนั้นกลับหายจากบาดเจ็บ เป็นปกติ
นายพรานเห็นประหลาด จึงเข้าไปดูในถสานที่นั้น
เห็นศิลานั้นเป็นลิ้นถอด มีน้ำขังอยู่ไม่มาก
แต่พอเนื้อได้ดื่มกิน นายพรานจึงตักน้ำ มาดื่ม
และลูกกาย เกลื้อนกลากก็หายไป
นายพราน จึงชักลิ้นศิลาถอดที่ปิดฝ่าพระพุทธบาทนั้นออก ตักน้ำให้แห้ง
จึงได้เห็นพระลายลักษณ์เป็นกงจักร ปรากฏอยู่
นายพรานคิดว่าเป็นรอยของคนโบราณ จึงมิได้บอกเล่าผู้ใด
เมื่อข้าหลวงกรมการเมือง พบนายพรานจึงไต่ถาม นายพรานจึงเล่าให้ฟัง
แล้วนำขึ้นไปยังรอยพระพุทธบาท และพากันไปกราบทูล พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงทราบว่า
รอยพระพุทธบาท สถิตอยู่เหนือยดเขาสุวรรณบรรพต
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อเป็นฝาผนังหลังคามุงกระเบื้องอย่าง
วัดเจ้าพระยาเชิง  (วัดพนัญเชิง อยุทธยา) ให้เป็นร่มพระบาทไว้
 ตั้งให้นายพรานเป็น ขุนสัจภัณฑ์คีรีนพคูหาพนมโขลน นับแต่นั้นมา


.........บทความจาก..........เวปจังหวัดสระบุรี


ภาพวาดพระพุทธบาท โดย M. Catenacci, from a sketch by M. Mouhot  ในหนังสือของมูโอต์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 15, 09:47
ภาพจากหนังสือ twentieth century impressions of siam พิมพ์เมื่อปี 2446


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 15, 09:50
ภาพของวิลเฮล์ม เบอร์เกอร์ ปี พศ 2412


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 15, 09:56
ภาพของ ดร พิลเดิลตัน เมื่อปี 2491
เห็นถนนพหลโยธิน ช่วง สระบุรี ลพบุรี  เพิ่งเสร็จ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 15, 10:10
ของ ดร พิลเดิลตัน อีกรูป  จะได้ครบ  
ท่าน J.A. Prescott ยืน next to a Naga Head sculpture at Wat Phra Phutthabat


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 15, 10:12
และรูปอื่นๆ
รูปสุดท้ายปี พศ.2463


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 15, 10:32
ทางรถไฟสายพระพุทธบาท
 เป็นทางรถไฟเอกชนที่เดินรถระหว่างสถานีรถไฟท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร ตั้งแต่ พ.ศ. 2445 ถึง พ.ศ. 2485
ชาวบ้านท้องถิ่นมักเรียกรถไฟสายนี้ว่า รถไฟกรมพระนรา หรือ รถไฟกรมพระดารา

รถไฟเล็กสายพระพุทธบาทนี้ ได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นพิเศษ
 เมื่อปี พ.ศ. 2445 และได้รับการจัดชั้นเป็น รถราง โดยเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2449

ทางรถไฟสายพระพุทธบาทดำเนินการโดย บริษัทท่าเรือจำกัด
ซึ่งมีผู้ถือหุ้นหลักคือ บริษัทนาบุญจำกัดสินใช้
 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 15, 10:41
ภาพเก่าพระพุทธบาทมีอีกหลายภาพ
ระบบเก็บของผมไม่ดี หาเจอในช่วงเช้านี้แค่นี้
วันหลังจะนำมาเพิ่มเติม  ;D ;D

ภาพทางอากาศ ปี 2489  ของฮันท์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 เม.ย. 15, 09:26
             บรรยายภาพนี้ไว้ว่า
.........new road (Taphan Lek)..........
น่าจะเป็นภาพแถวสะพานเหล็กบนตรงตามที่เขียนบอกไว้
ตรงด้านซ้ายน่าจะเป็นเวิ้งสะพานเหล็ก (ต่อมาเรียกเป็นเวิ้งนาครเขษม)

ภาพล่างถ่ายสมัยต่อมา(พศ.2456)  ตำแหน่งใกล้เคียงกับภาพแรก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 เม.ย. 15, 13:07
ร้านขายยาบางกอกดิสเปนซารี่ ไม่รู้ว่าตั้งแถวไหน
เป็นของชาวเยอรมัน ก่อตั้ง ปี พศ 2428
เป็นร้านตัดแว่นตา ขายยา

apotheke เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า สารเคมี หรือ ยา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 เม.ย. 15, 13:20
ห้างสิงห์โต


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 เม.ย. 15, 15:58
งานเถลิงพลับพลา ที่สวนดุสิต จัดงาน 5 วัน
ตั้งแต่ 28 กพ ถึง 4 มีนาคม พศ.2442


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 15, 11:45
จากหนังสือ siam and china ของ ซัลวาโตเร่ เบสโซ นักหนังสือพิมพ์ชาวอิตาลี่
เป็นการรวมเล่มบทความที่เขาเขียนลงในหนังสือพิมพ์ ทริบูน่า
ได้เข้ามาเมืองไทยราวปลายปี 2454  เดินทางต่อไปที่จีน  ป่วยเสียชีวิตที่ปักกิ่ง  ไม่ได้กลับอิตาลี่



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 15, 11:48
ซัลวาโตเร่ คนที่ยืนหน้าพระมงคลบพิตร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 15, 11:50
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 เม.ย. 15, 13:20
ภาพถนนเยาวราช พ.ศ. 2504


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 15, 14:12
salvatore ได้สนทนากับสมเด็จกรมดำรงฯ
ชมว่าสมเด็จฯ-ตรัสภาษาอังกฤษได้วิเศษ (marvellous)
ภาพในหนังสือเล่มนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 15, 14:14
บางภาพในหนังสือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 15, 14:16
ภาพในหนังสือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 15, 14:23
ต่อไป
ดูพอได้รู้เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 15, 14:55
อีกสักภาพ
เคยเห็นร้านค้าเรือนแพแถวนนทบุรี บ้านแพน หรือริมนํ้าบริเวณอื่น เป็นร้านเล็กๆ
มาเห็นร้านนี้ค่อนข้างใหญ่มาก(ภาษาจีนไม่รู้แปลว่าอะไร)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 เม.ย. 15, 07:36
พระมงคลบพิตร เพิ่มเติม ไม่ทราบว่าถ่ายเมื่อไหร่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 เม.ย. 15, 07:38
ภาพของ ดร พิลเดิลตัน  ถ่าย   16 ตุลาคม 2480
มีการซ่อมแซมบางส่วนแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 เม.ย. 15, 11:20
สมัย ร5 มองจากท่าราชวรดิฐ 
เรือมหาจักรี(ลำแรก ) จอดอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 เม.ย. 15, 12:49
ถัดไปไกลๆคือเรือมกุฏราชกุมาร ลำแรก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 เม.ย. 15, 10:05
คลองรอบกรุงที่สะพานผ่านฟ้า  สมัยที่ยังเป็นสะพานไม้
ขยายให้เห็นลักษณะสะพานชัดๆ
เดินจากสะพานนี้เข้าประตูเมืองที่ชื่อพฤฒิบาศ
ป้อมที่เห็นคือป้อมมหาปราบ ที่อยู่ถัดจากป้อมมหากาฬ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 เม.ย. 15, 10:10
เห็นป้อมมหากาฬ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 เม.ย. 15, 09:15
เจอภาพสามภาพจากคนละแหล่ง คงจะเป็นฝีมือคนเดียวกันคือ แจ็ค เบอร์น ของนิตยสารไลฟ์

-ภาพแรก ถนนสีลม และบริเวณใกล้เคียง ปี 2491
-ภาพที่สอง propaganda headquarters.- Jack Birns
-ภาพที่สาม กงสุลรัสเซีย ปี 2490

น่าจะถ่าย ปีเดียวกัน วันเดียวกันด้วย
ไม่ค่อยเห็นรูปเก่าๆของถนนสีลม สมัยที่ยังมีคลองสีลมกว้างๆ
คลองสีลมค่อยเหลือเล็กลง   จนถมถนนหมดในปี 2508
เอามาให้ดูกันในช่วงสงกรานต์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NT ที่ 15 เม.ย. 15, 16:48
ในความเห็นที่ 828 ในภาพจะมีป้ายอยู่หน้าบ้านหลังใหญ่ พยายามส่องแล้วแต่อ่านไม่ออกครับ ไม่ทราบท่านใดช่วยได้บ้าง และปัจจุบันนี้บ้านดังกล่าวยังดำรงอยู่หรือไม่?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 เม.ย. 15, 08:40
ในความเห็นที่ 828 ในภาพจะมีป้ายอยู่หน้าบ้านหลังใหญ่ พยายามส่องแล้วแต่อ่านไม่ออกครับ ไม่ทราบท่านใดช่วยได้บ้าง และปัจจุบันนี้บ้านดังกล่าวยังดำรงอยู่หรือไม่?

อ่านไม่เห็น ความละเอียดน้อยไป
ป้ายเป็นภาษาต่างประเทศ สามภาษา

ตรงนี้อาจจะอยู่แถวถนนคอนแวนต์ ต้นถนนสีลม
ริมถนนเป็นตึกใหญ่ๆ หมดแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 เม.ย. 15, 08:42
แม่ค้าหาบอาหารขายที่วัดโพ พศ.2458  สมัยรัชกาลที่ 6


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 16 เม.ย. 15, 08:50
เจอภาพสามภาพจากคนละแหล่ง คงจะเป็นฝีมือคนเดียวกันคือ แจ็ค เบอร์น ของนิตยสารไลฟ์

-ภาพแรก ถนนสีลม และบริเวณใกล้เคียง ปี 2491
-ภาพที่สอง propaganda headquarters.- Jack Birns
-ภาพที่สาม กงสุลรัสเซีย ปี 2490
น่าจะถ่าย ปีเดียวกัน วันเดียวกันด้วย
ไม่ค่อยเห็นรูปเก่าๆของถนนสีลม สมัยที่ยังมีคลองสีลมกว้างๆ
คลองสีลมค่อยเหลือเล็กลง   จนถมถนนหมดในปี 2508
เอามาให้ดูกันในช่วงสงกรานต์


เห็นสาวในภาพถ่ายคู่กับปี๊บ เข้าใจว่ากำลังหาบน้ำ ปี 2491 สีลมยังไม่มีน้ำประปาใช้หรือคะ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 เม.ย. 15, 09:01
เจอภาพสามภาพจากคนละแหล่ง คงจะเป็นฝีมือคนเดียวกันคือ แจ็ค เบอร์น ของนิตยสารไลฟ์

-ภาพแรก ถนนสีลม และบริเวณใกล้เคียง ปี 2491
-ภาพที่สอง propaganda headquarters.- Jack Birns
-ภาพที่สาม กงสุลรัสเซีย ปี 2490
น่าจะถ่าย ปีเดียวกัน วันเดียวกันด้วย
ไม่ค่อยเห็นรูปเก่าๆของถนนสีลม สมัยที่ยังมีคลองสีลมกว้างๆ
คลองสีลมค่อยเหลือเล็กลง   จนถมถนนหมดในปี 2508
เอามาให้ดูกันในช่วงสงกรานต์


เห็นสาวในภาพถ่ายคู่กับปี๊บ เข้าใจว่ากำลังหาบน้ำ ปี 2491 สีลมยังไม่มีน้ำประปาใช้หรือคะ?

นํ้าประปามีตั้งแต่สมัย ร.5-ร.6 คงจะไม่ดีอย่างสมัยนี้
บ้านริมนํ้ายังคงใช้นํ้าจากคลองอยู่(ใช้ซักล้าง)

เมื่อคืนอ่านเรื่อง ก๊กสามออ  
บ้านท่านเจ้าจอมเอี่ยม(ถนนสามเสน)นํ้าประปาต้องมีคนเฝ้ารองนํ้าเที่ยงคืนตีหนึ่งตีสอง
เพราะนํ้าประปาไม่ค่อยไหล ---หลังสงครามโลกครั้งที่สอง 2488
คนในบ้านอาบนํ้าจากคลองสามเสน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 เม.ย. 15, 14:06
ในความเห็นที่ 828 ในภาพจะมีป้ายอยู่หน้าบ้านหลังใหญ่ พยายามส่องแล้วแต่อ่านไม่ออกครับ ไม่ทราบท่านใดช่วยได้บ้าง และปัจจุบันนี้บ้านดังกล่าวยังดำรงอยู่หรือไม่?

อ่านไม่เห็น ความละเอียดน้อยไป
ป้ายเป็นภาษาต่างประเทศ สามภาษา

ตรงนี้อาจจะอยู่แถวถนนคอนแวนต์ ต้นถนนสีลม
ริมถนนเป็นตึกใหญ่ๆ หมดแล้ว


ป้ายริมรั้วด้านบนเป็นภาษาเวียดนามครับ ส่วนป้ายภาษาไทยตรงคนขี่จักรยาน เป็นคำว่า "โรงเรียน......"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 เม.ย. 15, 14:17
พิมพ์ผิดอีกแล้ว หนังสือชื่อ เจ้าจอมก๊กออ  ไม่ใช่ก๊กสามออ

ภาพแม่หาบขายอาหา่รพาลูกชายไปด้วย(831) เป็นภาพหนึ่งที่ประทับใจมาก

คนจีนหาบขายอาหารบ้าง กระเตงลูกชายไปด้วย




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 เม.ย. 15, 14:52
ในความเห็นที่ 828 ในภาพจะมีป้ายอยู่หน้าบ้านหลังใหญ่ พยายามส่องแล้วแต่อ่านไม่ออกครับ ไม่ทราบท่านใดช่วยได้บ้าง และปัจจุบันนี้บ้านดังกล่าวยังดำรงอยู่หรือไม่?

อ่านไม่เห็น ความละเอียดน้อยไป
ป้ายเป็นภาษาต่างประเทศ สามภาษา

ตรงนี้อาจจะอยู่แถวถนนคอนแวนต์ ต้นถนนสีลม
ริมถนนเป็นตึกใหญ่ๆ หมดแล้ว


ป้ายริมรั้วด้านบนเป็นภาษาเวียดนามครับ ส่วนป้ายภาษาไทยตรงคนขี่จักรยาน เป็นคำว่า "โรงเรียน......"

อาคารหลังนี้ตั้งอยู่เลขที่ 543 ถนนสีลม คงไม่มีอาคารนี้แล้ว มีแต่โรงแรมขึ้นมาแทน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 เม.ย. 15, 18:17
ในความเห็นที่ 828 ในภาพจะมีป้ายอยู่หน้าบ้านหลังใหญ่ พยายามส่องแล้วแต่อ่านไม่ออกครับ ไม่ทราบท่านใดช่วยได้บ้าง และปัจจุบันนี้บ้านดังกล่าวยังดำรงอยู่หรือไม่?

อ่านไม่เห็น ความละเอียดน้อยไป
ป้ายเป็นภาษาต่างประเทศ สามภาษา

ตรงนี้อาจจะอยู่แถวถนนคอนแวนต์ ต้นถนนสีลม
ริมถนนเป็นตึกใหญ่ๆ หมดแล้ว


ป้ายริมรั้วด้านบนเป็นภาษาเวียดนามครับ ส่วนป้ายภาษาไทยตรงคนขี่จักรยาน เป็นคำว่า "โรงเรียน......"

อาคารหลังนี้ตั้งอยู่เลขที่ 543 ถนนสีลม คงไม่มีอาคารนี้แล้ว มีแต่โรงแรมขึ้นมาแทน

ขอบคุณครับคุณหนุ่ม  
(ราคาที่ดินแถวนี้ ตรว.เหยียบล้าน)

ขอถามต่อ
บ้านเลขที่นี้อยู่ตรงไหนของถนนสีลม?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 เม.ย. 15, 18:38
ภาพใน คห. 831 และ 835 ให้ข้อมูลที่ยืนยันความต่างของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาระหว่างจีนกับไทยที่น่าสนใจ และที่เราอาจจะไม่ค่อยจะนึกถึงกันมากนัก

ผมได้นึกย้อนไปยังภาพในอดีตที่เคยเห็นๆมาและที่เคยได้รับรู้มา   คานหาบแบบไทยนั้นเป็นแบบอ่อน ส่วนคานหาบแบบจีนนั้นเป็นแบบคานแข็ง ซึ่งเป็นคนละปรัชญาในการเคลื่อนย้ายและหาบของขายกันเลย

ของไทยเรานั้น สำหรับสิ่งของที่จะขาย เราเอาของใส่กระจาดสาน หรือวางบนกระด้งที่วางทับบนกระจาด ใช้เชือกหรือหวายทำเป็นสาแหรกยึดติดกับโครงที่รองรับกระจาดปลายหนึ่ง ส่วนอีกปลายหนึ่งทำเป็นหูสำหรับสอดร้อยคานหาม แล้วใช้ไม้คานหาบแบบอ่อน คือสามารถโก่งไปมาได้ตามจังหวะเดิน คล้ายคันธนู เพื่อช่วยลดความหนักของของในกระจาด    
ส่วนในการหาบของหนัก (เช่น น้ำในปี๊บ) เราก็ยังคงใช้คานอ่อนแต่ทำให้หนาและใหญ่กว่าปรกติ  คานหาบของเราทำมาจากไม้ไผ่เท่านั้น เหลาเรียวปลายแหลม สวยงาม  ซึ่งก็มีความสวยที่ต่างกันระหว่างฝีมือ มากพอที่จะหาเก็บเป็นสิ่งของสะสมได้ทีเดียว ผมไม่เคยเห็นการใช้ไม้อื่นใดเลย  


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 เม.ย. 15, 18:53
ส่วนของจีนนั้น เคยสังเกตใหมครับว่า สิ่งของที่เขาหาบขายนั้น มักจะอยู่ในตู้ (closet) ซึ่งอาจจะเป็นตู้ข้างหนึ่งกับเข่งใส่วัสดุอีกข้างหนึ่ง หรืออยู่ในตู้ทั้งสองข้าง (เช่น พ่อค้าขายเส้นหมี่ลูกชิ้นแคะ)  เขาหาบของโดยใช้ไม้คานหาบแบบแข็ง ไม่อ่อนยวบยาบดังเช่นของไทย ไม้คานที่ใช้ก็มีทั้งไม้ไผ่ผ่าครึ่งหรือไม้จริง  แค่คานก็หนักเอาเรื่องแล้วครับ

ผมเคยลองหาบน้ำ 2 ปี๊บ จากแม่น้ำแควน้อยที่ท่าน้ำปากแซง (สถานีน้ำตก รถไฟสายมรณะ) เดินขึ้นเนินเพื่อไปใช้ในบ้านเฝ้าสวนมะนาวของชาวบ้านที่ผมไปอาศัยนอนก่อนเดินทางไปทำงานต่อไป  น้ำ 2 ปี๊บก็คงประมาณ 40 กก. ตอนเริ่มแบกขึ้นบ่าก็รู้สึกหนักเอาการ พอเริ่มเดิน เริ่มจัดจังหวะโหย่งไปโหย่งมาของคานเข้ากับจังหวะเดินได้ดี ความรู้สึกว่าหนักมากก็แทบจะหายไปหมดเลย    ก็เลยหาบเสียสามสี่เที่ยว ได้น้ำในตุ่มมากโขอยู่ทีเดียว  


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 16 เม.ย. 15, 19:01
สำหรับภาพใน คห.835 นั้น ก็น่าสนใจตรงที่  คนหาบของขายซึ่งเป็นคนจีน ก็ยังใช้ผ้าขาวม้าเจียนพุงแบบไทย (ถูกกลืนไปแล้วหรือไร)  แต่ก็ยังถลกขากางเกงข้างหนึ่งขึ้นมา อันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของคนจีนที่ยังพบเห็นได้ในประเทศจีนในปัจจุบันนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 16 เม.ย. 15, 19:03
ป้ายชื่อโรงเรียน เป็นไปได้หรือไม่ คือ โรงเรียนศึกษาวิทยา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 เม.ย. 15, 07:52
ป้ายชื่อโรงเรียน เป็นไปได้หรือไม่ คือ โรงเรียนศึกษาวิทยา

ถ้าอย่างนั้นจะเป็นแถววัดแขก?
ต้องถามคุณหนุ่ม อยู่แถวไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 เม.ย. 15, 08:02
ร้านค้าในสำเพ็ง  ก่อน พศ 2446


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 เม.ย. 15, 08:22
บ้านเจ้าสัวชื่น (พิศาลบุตร)  - พระยาพิศาลศุภผล
ผู้ดำเนินกิจการโรงสีข้าวที่เก่าแก่ที่สุดของคนจีนในเมืองไทย
มีโรงสีข้าวใหญ่สามโรงที่ยานนาวา
ประมาณปี 2446


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 เม.ย. 15, 17:31
สมัยปลายรัชกาลที่ ห้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 15, 10:36
เยาวราช     เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2491
เมื่อเทียบกับปัจจุบันไม่แตกต่างกันมาก พอเห็นเค้ารูปร่างเดิม


แต่กับถนนสีลมปัจจุบัน   จะแตกต่างจากปี 2491 อย่างมากมาย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 15, 10:41
ถนนเจริญกรุงใกล้สุรวงศ์ ปี 2503


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 15, 12:20
ถนนสุรวงศ์ ชมรถรุ่นเก่าที่จอดเรียงรายริมถนนหน้าโรงแรมโทรคาเดโร่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 15, 12:26
ถนนบริพัตร ใกล้ประตูผี พศ.2493   ยังมีรถม้าใช้งานอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 18 เม.ย. 15, 12:44
ถนนเจริญกรุงใกล้สุรวงศ์ ปี 2503

หน้าต่างบานยาวจดพื้นบนชั้นสองในลักษณะนี้ เป็นอย่างที่เรียกกันว่าหน้าต่างแบบฝรั่งเศสใช่หรือเปล่าคะ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 15, 13:19
น่าจะใช่นะคะ รอสถาปนิกมายืนยันอีกที


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 15, 18:02
ถนนเจริญกรุงใกล้สุรวงศ์ ปี 2503

หน้าต่างบานยาวจดพื้นบนชั้นสองในลักษณะนี้ เป็นอย่างที่เรียกกันว่าหน้าต่างแบบฝรั่งเศสใช่หรือเปล่าคะ?

ไม่รู้จริงๆ ตอบไม่ได้
ท่านเจ้าเรือนมาตอบแทนแล้ว-ขอขอบคุณ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 18 เม.ย. 15, 19:11
เห็นภาพเหล่านี้แล้ว ทำให้นึกย้อนกลับไปเมื่อวันวาน

เมื่อกรุงเทพฯเมื่อ 2491 เมื่อ 2493 และเมื่อ 2503 เป็นภาพดังนี้  แล้วต่างจังหวัดจะมีภาพเป็นเช่นใด ??
   
ผมเริ่มเข้ามาเป็นเด็กในกรุงเทพเมื่อ 2498  ก็เลยยังพอจะจำภาพเก่าๆและการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯขนานใหญ่เมื่อยุคกึ่งพุทธศตวรรษได้ดี ตั้งแต่คูคลองข้างถนน รถสามล้อถีบ รถสามล้อเครื่อง รถราง รถเมล์เขียว รถเมล์ขาว ฯลฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 เม.ย. 15, 11:31
เห็นภาพเหล่านี้แล้ว ทำให้นึกย้อนกลับไปเมื่อวันวาน

เมื่อกรุงเทพฯเมื่อ 2491 เมื่อ 2493 และเมื่อ 2503 เป็นภาพดังนี้  แล้วต่างจังหวัดจะมีภาพเป็นเช่นใด ??
   
ผมเริ่มเข้ามาเป็นเด็กในกรุงเทพเมื่อ 2498  ก็เลยยังพอจะจำภาพเก่าๆและการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯขนานใหญ่เมื่อยุคกึ่งพุทธศตวรรษได้ดี ตั้งแต่คูคลองข้างถนน รถสามล้อถีบ รถสามล้อเครื่อง รถราง รถเมล์เขียว รถเมล์ขาว ฯลฯ

พี่  naitang อดีตเหลือไว้แต่ในความทรงจำที่เหลือเชื่อ สวยงาม ประทับใจ
ภาพต่างจังหวัดพอมีแต่จะออกนอก หัวข้อ ภาพเก่ากรุงเทพๆ ไว้คราวต่อไปอาจจะมีการเอาภาพ ตจว.มาดูกัน

ภาพวาดช้างเผือกหลวง น่าจะเป็นตัวเดียวกัน  มาจากหนังสือคนละเล่ม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 เม.ย. 15, 11:36
ถนนคอนกรีตสายแรกในประเทศไทยคือถนนจักรเพชร
เริ่มสร้างพร้อมสะพานพุทธฯ 2473
(ไม่แน่ใจว่ากลับข้างหรือไม่)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 เม.ย. 15, 11:44
วัดพิชยญาติการาม
ภาพสองภาพจากสองแหล่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 เม.ย. 15, 11:23
สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุง (ช่วงที่ชาวบ้านเรียกว่าคลองบางลำพู)
ในอดีตเคยเป็นสะพานไม้ ไม่ปรากฏว่าสะพานเดิมสร้างขึ้นเมื่อใด
เคยเปลี่ยนเป็นสะพานโค้งเหล็กพื้นไม้แบบเดียวกับสะพานนรรัตน์สถานบางลำพู

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ
ให้ปรับปรุงจากสะพานโครงเหล็กมาเป็นสะพานพื้นคอนกรีต อย่างที่เห็น

สะพานแห่งนี้เป็นสะพานโครงเหล็ก
ชนิดมีโครงเหล็กใต้โค้งข้างบน แบ่งเป็นสามตอน
พนักลูกกรงของราวสะพานทั้งสองข้างเป็นเหล็กหล่อ ลวดลายช่อดอกทานตะวัน
มีลวดลายประดับที่คานโค้งซึ่งรับกับตัวสะพานอยู่ด้านล่าง
ที่ปลายสะพานทั้งสองข้างมีเสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริด เป็นลายเฟื่องอุบะที่หัวเสา
และเป็นสำริดรูปเรือไวกิ้งโบราณอยู่ที่กลางเสา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 เม.ย. 15, 11:13
สะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของประเทศไทย
ลงนามในสัญญาก่อสร้าง เมื่อ เมษายน พ.ศ. 2465
เริ่มการก่อสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465

วางหีบพระฤกษ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2466
โดย กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ติดต่อกัน


โดยให้บริษัท เล เอตาบริดจ์มองต์ ไตเต ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับเหมา
เนื่องจากชนะการประมูลโดยอาศัยค่าเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่อ่อนตัว (1 บาทแลกได้ 5 ฟรังก์)
เมื่อเปรียบเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษที่ผูกติดกับทองคำ (1 ปอนด์แลกได้ 11 บาท)
ในเวลานั้นเงินบาทสยามผูกติดกับเงินปอนด์อังกฤษด้วย โดยค่าก่อสร้างเท่ากับ 2,714,113.30 บาท

สะพานสร้างเสร็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2469
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าสะพานพระราม 6
ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6
และโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีเปิดสะพานให้ขบวนรถไฟเดินผ่านข้าม

เป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2469 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2470 แล้ว)

ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยใช้รถจักรไอน้ำ " บอลด์วิน " ล้อแบบแปซิฟิก หมายเลข 226 ทำขบวนเสด็จ
เสด็จจากสถานีสวนจิตรฯไปยังสถานีชุมทางตลิ่งชัน เป็นศิริมงคล

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จตรวจสถานที่ก่อสร้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 เม.ย. 15, 11:15
รถจักรนำเสด็จมายังสะพาน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 เม.ย. 15, 11:17
พระราชพิธีเปิดและแขกที่มาร่วมงาน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 เม.ย. 15, 14:08
เจอแบบสะพานพุทธฯ (ที่เรียกว่า Memorial Bridge on the Menam Chow Phja River at Bangkok  พศ 2472)
 ไม่มีคำอธิบาย มาเล่าไม่ถูก มีแต่รูปให้ดูกัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 เม.ย. 15, 14:16
เปิดสะพานพระราม 6 อีกรูป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 เม.ย. 15, 08:48
ย้อนกลับไปดูระหว่างการก่อสร้างสะพานพระราม 6




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 เม.ย. 15, 08:53
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 เม.ย. 15, 08:55
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 เม.ย. 15, 09:01
การก่อสร้างสะพานใน กทม. มีข้อจำกัด
---ต้องให้เรือผ่านได้
---พื้นที่เป็นดินอ่อนต้องใช้การก่อสร้างวิธีพิเศษ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 เม.ย. 15, 11:54
เขาคุยเรื่องพระประแดง
เราเอารูปตลาดปากนํ้าสมัย ร5 มาดูดีกว่า
เพราะเป็นเมืองด่านหน้าของ กรุงเทพ  เรือทุกลำต้องแวะที่นี้ก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 23 เม.ย. 15, 12:59
ถนนปูอิฐ น่าจะเป็นอิฐที่ได้จากการรื้อป้อม หรืออาจจะเป็นแนวรากกำแพงเดิมที่เช่ือมป้อมถึงกัน
เคยเห็นถนนปูอิฐแบบนี้ท่ีปากน้ำตอนเด็ก(ชั้นประถม)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 15, 13:26
เจอแบบสะพานพุทธฯ (ที่เรียกว่า Memorial Bridge on the Menam Chow Phja River at Bangkok  พศ 2472)
 ไม่มีคำอธิบาย มาเล่าไม่ถูก มีแต่รูปให้ดูกัน



คงเป็นแบบร่างในหลายๆ บริษัทที่ทำการเข้าร่วมประมูลโครงการครับ โดยบริษัทที่ชนะการประมูลเป็นบริษัทของประเทศอังกฤษได้รับคัดเลือกให้ทำการก่อสร้างสะพาน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 15, 13:28
ภาพแพสำหรับสรงสนาน เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมงกุฎราชกุมาร มุมมองระยะใกล้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 เม.ย. 15, 14:06
เจอแบบสะพานพุทธฯ (ที่เรียกว่า Memorial Bridge on the Menam Chow Phja River at Bangkok  พศ 2472)
 ไม่มีคำอธิบาย มาเล่าไม่ถูก มีแต่รูปให้ดูกัน



คงเป็นแบบร่างในหลายๆ บริษัทที่ทำการเข้าร่วมประมูลโครงการครับ โดยบริษัทที่ชนะการประมูลเป็นบริษัทของประเทศอังกฤษได้รับคัดเลือกให้ทำการก่อสร้างสะพาน

เดาว่าเป็นแบบร่างของอิตาลีเจ้าหนึ่ง


-------------------------------------------------

ปากนํ้า พศ 2478



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 เม.ย. 15, 14:10
ได้ภาพใหม่มาหลายภาพ แต่ เป็นภาพลิขสิทธิ์
เช่นภาพสะพานแม้นศรีที่ ส.พลายน้อยบอกว่าไม่เคยเห็นภาพสะพานนี้
ภาพห้องแลป dissecting ที่ศิริราช


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 15, 14:34
ภาพแพสำหรับสรงสนาน เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมงกุฎราชกุมาร มุมมองระยะใกล้

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=56014;image)

มุมมองระยะไกล  ;D

(http://www.bloggang.com/data/offway/picture/1224690043.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 เม.ย. 15, 11:16
หอกลองที่สวนเจ้าเชต(เป็นกรมการรักษาดินแดนทุกวันนี้)
ถ่ายก่อน พศ 2421 รื้อลงเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 เม.ย. 15, 09:25
วัดสามปลื้ม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 เม.ย. 15, 15:23
วัดสามปลื้ม.พศ 2489


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 เม.ย. 15, 08:06
วัดโพ พศ 2423(เฉพาะรูปแรก)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 เม.ย. 15, 19:26
รถรางวันสุดท้ายในกรุงเทพมหานคร 2511

รถรางวันสุดท้ายในกรุงเทพมหานคร 2511 (http://www.youtube.com/watch?v=fdiaj6YM1hE#)

ึคุณเพ็ญชมพูทันนั่งไหมหนอ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 เม.ย. 15, 09:06
รถรางวันสุดท้ายในกรุงเทพมหานคร 2511

รถรางวันสุดท้ายในกรุงเทพมหานคร 2511 (http://www.youtube.com/watch?v=fdiaj6YM1hE#)

ึคุณเพ็ญชมพูทันนั่งไหมหนอ?

ผมไม่เคยเห็นรถรางในกรุงเทพเลย
อาจจะไม่สนใจในเรื่องนี้ตอนนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 เม.ย. 15, 09:16
ร้านท่าเตียนดิสเพนซารี่

เดิมคงอยู่ที่ท่าเตียนจริง
ตามโฆษณาที่ว่าอยู่ถัดจากพระราชวัง

ต่อมาย้ายไปอยู่ที่สี่กั๊กพระยาศรี
แต่คงใช้ชื่อเดิมว่าร้านขายยาท่าเตียน

ตรงด้านหน้าทาสีสลับอ่อนแก่เป็นแถบ

นอกจากขายยาแล้วยังขายอย่างอื่นตามใบโฆษณา
-นํ้าหอม -อุปกรณ์เลี้ยงเด็ก-เครื่องมือผ่าตัด-กล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์เกี่ยวข้อง

การแสดงสินค้าภายในร้านตามรูปสุดท้าย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 เม.ย. 15, 09:16
ในที่สุดก็ถึงจุดอวสานของรถรางไทยเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๑ รวมระยะเวลาที่รถรางโลดแล่นอยู่บนแผ่นดินสยามนับเป็นเวลานานถึง ๘๐ ปี คงเหลือเพียงตำนานเล่าขานในหน้าประวัติศาสตร์ยวดยานพาหนะของไทยเท่านั้น

ในคลิปของคุณแท้บอกว่าถ่ายเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๑๑ เป็นวันสุดท้ายของรถไฟในกรุงเทพฯ ข้อมูลไม่ตรงกัน

ึคุณเพ็ญชมพูทันนั่งไหมหนอ?

สายที่อยู่ในคลิปคือสายรอบเมือง ไม่เคยขึ้นสักที ที่เคยขึ้นคือสายสามเสนจากบ้านแถวท่าวาสุกรีไปโรงเรียนที่บางกระบือ  ;D

ดิฉันเคยทันขึ้นรถราง  จำได้ว่าแม่พาไปขึ้น บอกว่า "นั่งซะ อีกไม่นานเขาก็จะเลิกแล้ว"   
รถรางไม่ค่อยมีคนขึ้นแล้วค่ะตอนนั้น  นั่งสบายไม่แออัดยัดเยียด   มีเบาะปูบนที่นั่งด้วย   นั่งชมถนนไปเรื่อยๆ ไม่ร้อน  คงเป็นเพราะลมโกรกเข้าได้ทั้งสองทาง


เคยขึ้นรถรางไปโรงเรียน ประสบการณ์คนละอย่างกับคุณเทาชมพู นั่งไม่ใคร่สบาย ลุกขึ้นมาที ต้นขาต้องบวมแดงไม่หมดด้วยฤทธิ์ของตัวเรือดใต้ที่นั่ง

เป็นประสบการณ์ที่ไม่รู้ลืม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 เม.ย. 15, 14:39


[ปากนํ้า พศ 2478]


ผมคิดว่าน่าจะเป็นตรงนี้นะครับ ถ่ายภาพเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ ระยะเวลาห่างจากภาพเดิม ๘๐ ปี

ถนนประโคนชัย หน้าศาลหลักเมืองสมุทรปราการ มุ่งหน้าไปทางสามแยกถนนสายลวดและถนนท้ายบ้าน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 เม.ย. 15, 16:53


[ปากนํ้า พศ 2478]


ผมคิดว่าน่าจะเป็นตรงนี้นะครับ ถ่ายภาพเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ ระยะเวลาห่างจากภาพเดิม ๘๐ ปี

ถนนประโคนชัย หน้าศาลหลักเมืองสมุทรปราการ มุ่งหน้าไปทางสามแยกถนนสายลวดและถนนท้ายบ้าน

เจ้าถิ่นมาเองคงต้องเชื่อ
หน้าตาแปลกไปมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 27 เม.ย. 15, 22:11
นึกๆอยู่เหมือนกันว่าพูดถึงปากน้ำๆ เดี๋ยวคุณลุงไก่ต้องเข้ามา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 27 เม.ย. 15, 22:36
รูปปากน้ำ ๒๔๗๘ เห็นต่างจากลุงไก่
ถนนโค้งแบบนี้น่าจะใช่ถนนศรีสมุทร ด้านหลังชายหนุ่ม ๒ คนคือสะพานข้ามไปวัดกลาง
หลังคาจั่ว ๒ จั่วซ้ายมือ ที่มีคนพลุกพล่านอยู่ข้างหน้าคือตลาดสดเก่า ตลาดคุณหญิงถนิม(ราชายสาธก)
ซอยถัดจากตลาดสด ปัจจุบันเป็นตลาดอาหารสำเร็จรูปตอนเย็นจนค่ำ สวรรค์น้อยๆของคนช่างกิน
ซอยถัดไปถ้าเลี้ยวซ้ายก็จะข้ามสะพานไปวงเวียนท้ายบ้านและถนนสายลวด ห้องแถวห้องสุดท้ายตรงมุมนี้แหละเคยเป็นที่ตั้งโรงรับจำนำนายแห กรัยวิเชียร บิดานายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี
ทั้งหมดนี้สันนิษฐานจากโค้งถนนที่คุ้นตา (อาจผิดก็ได้ เพราะเพิ่งเห็นภาพนี้เป็นครั้งแรก อาคารพาณิชย์ยังดูใหม่มาก น่าจะสร้างหลังจากออกเทศบัญญัติ เนื่องจากเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 28 เม.ย. 15, 07:13
รูปปากน้ำ ๒๔๗๘ เห็นต่างจากลุงไก่
ถนนโค้งแบบนี้น่าจะใช่ถนนศรีสมุทร ด้านหลังชายหนุ่ม ๒ คนคือสะพานข้ามไปวัดกลาง
หลังคาจั่ว ๒ จั่วซ้ายมือ ที่มีคนพลุกพล่านอยู่ข้างหน้าคือตลาดสดเก่า ตลาดคุณหญิงถนิม(ราชายสาธก)
ซอยถัดจากตลาดสด ปัจจุบันเป็นตลาดอาหารสำเร็จรูปตอนเย็นจนค่ำ สวรรค์น้อยๆของคนช่างกิน
ซอยถัดไปถ้าเลี้ยวซ้ายก็จะข้ามสะพานไปวงเวียนท้ายบ้านและถนนสายลวด ห้องแถวห้องสุดท้ายตรงมุมนี้แหละเคยเป็นที่ตั้งโรงรับจำนำนายแห กรัยวิเชียร บิดานายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี
ทั้งหมดนี้สันนิษฐานจากโค้งถนนที่คุ้นตา (อาจผิดก็ได้ เพราะเพิ่งเห็นภาพนี้เป็นครั้งแรก อาคารพาณิชย์ยังดูใหม่มาก น่าจะสร้างหลังจากออกเทศบัญญัติ เนื่องจากเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่)

น่าจะถ่ายหน้าคลองเมือง ตรงที่เป็นสะพานแสงรุจิ ข้ามไปวัดกลาง
อาคารในแผนผังข้างล่างที่ลงสีไว้ คืออาคารในภาพ พ.ศ. 2478
ถ่ายภายหลังสร้างอาคารใหม่หลังจากเพลิงไหม้ เดือนกุมภา 2476


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 เม.ย. 15, 09:41
แล้วแต่ท่านผู้สันทัดกรณีทั้งหลาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 เม.ย. 15, 12:33
ตลาดปากนํ้าอีกรูป
น่าจะถ่ายพร้อมกับภาพที่เคยลง

ภาพแรกบอกถ่ายปี พศ 2463 ----น่าจะผิด

ภาพที่สองลงในหนังสือ twentieth century impressions of siam
ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกปี พศ 2446
ต้องถ่ายภาพนี้ก่อนปี ที่พิมพ์ 


เอาภาพเก่ามาลงอีกครั้งเพื่อเปรียบเทียบ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 เม.ย. 15, 14:38
เมื่อวานดูห้างขายยาท่าเตียน ไปแล้ว

ที่สี่กั๊กพระยาศรี ทำตึกอย่างนี้ไว้สี่มุมเหมือนกัน
ที่อ่านผ่าน  มีชื่อร้านแต่ละมุมคือ

-แอล ยี ริกันตี มุมหนึ่ง(ต่อมาเปลี่ยนเป็นห้างเสนามาตยาภรณ์)
-ย ร อันเดร มุมหนึ่ง
-ห้างขายยาศรีกั๊กพระยาศรี ของหมออะดัมสัน
-มุมสุดท้ายยังหาชื่อร้านไม่ได้(อาจจะเป็นห้างขายยาท่าเตียน?ก็ได้)

เมื่อเวลาผ่านไปร้านเหล่านี้ปรับเปลี่ยนออกไป   มีร้านใหม่มาแทน
เช่นในภาพ น่าจะเป็นสมัย รัชกาลที่หกหรือใหม่กว่า
เพราะมีตู้ไปรษณีย์ มีก๊อกประปาที่ชาวบ้านเรียกว่าโซดาดึง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 15, 10:07
   วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497

พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น)
เป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4
ภายในบริเวณวังบางขุนพรหม   -  ซึ่งเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน
(จึงเป็นที่มาของชื่อ ที่ผู้ชมทั่วไปเรียกว่า ช่อง 4 บางขุนพรหม)

โดยในระยะแรก เริ่มทดลองส่งแพร่ภาพโทรทัศน์
จากห้องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. (สีแยกคอกวัว)ไปพลางก่อน

จนกว่าการก่อสร้างอาคารที่ทำการวังบางขุนพรหม พร้อมติดตั้งเครื่องส่งเสร็จสมบูรณ์

         วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498
---------สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ---------
ก็กระจายภาพและเสียง ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
เป็นแห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental)

ซึ่งตรงกับวันชาติของไทยในสมัยนั้น
โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์
แพร่ภาพขาวดำระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 15, 10:12
โฆษณาทางทีวีในยุคแรกต้องยกสินค้ามาวางในห้องส่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 15, 10:17
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 15, 10:33
โฆษณายาเป็นกลุ่มยอดนิยม

ยากฤษณากลั่นตอนเด็กเคยกิน
ขมมากๆ แก้ท้องเสีย-ลำไส้อักเสบ ได้ผลในระดับหนึ่ง

ยาทันใจเป็นผงอยู่ในซองกินแล้วรสเปรี้ยวๆ

ยาจากนอกก็มี ยาถ่ายพยาธิ ปริบเซ่น

ยาระบายแก้ท้องผูก ซีโนค้อท  ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ยาแผนโบราณแก้วสารพัดนึกโอสถ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 15, 12:01
ทดลองส่งโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่กรมประชาสัมพันธ์ ถนนราชดำเนิน เมื่อพ.ศ. 2496


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 15, 12:12
ดาราจอแก้วและผู้สร้างสรรค์ที่อยู่เบื้องหลังในยุคแรก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 15, 12:15
คุณชายถนัดศรีเมื่อยังหนุ่มๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 15, 12:19
สุนทราภรณ์ทางช่องสี่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 29 เม.ย. 15, 12:48
ซุป-ตาร์อารีย์ นักดนตรี กับสังคีตสัมพันธ์??


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 เม.ย. 15, 09:09
หมอมัลคอล์ม สมิธ เขียนในหนังสือหมอฝรั่งในวังสยาม 
---เรือไม่ได้สวยวิเศษอะไรนัก    เรือมหาจักรี ระวางขับนํ้า 2500 ตัน
สร้างในประเทศอังกฤษ นับเป็นเรือผิดธรรมดาสามัญที่สุดลำหนึ่ง
เป็นลูกผสมระหว่างเรือยอร์ชส่วนตัว มีเก้าอี้นวม โซฟากำมะหยี่ และห้องนอนนับไม่ถ้วน กับเรือรบ
ที่ทันสมัย ดาดฟ้าเหล็กกล้า มีเครื่องชนที่หัวเรือ เสากระโดงสองเสา ติดตั้งปืนยิงเร็ว....
เรือสร้างขึ้นเพื่อบรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 150 คน แต่เมือเรือออกเดินทางผู้โดยสารแน่นขนัด 400-500 คน ...ฯลฯ

ข้อมูลจริง ของเรือมหาจักรี ลำที่หนึ่ง

เรือนี้ขึ้นประจำการเมื่อ พศ 2435
สร้างเป็นแบบเรือลาดตะเวน แต่ภายในตกแต่งแบบอย่างเรือพระที่นั่ง
ตัวเรือเป็นเหล็ก ยาว 299 ฟุต กว้าง 40 ฟุต กินนำ้ลึก 14 ฟุต ระวางขับนำ้ 2600ตัน
ติดตั้งเครื่องยนต์ชนิดสามสูบ สองเครื่อง กำลัง 3000 แรงม้า มีหม้อนํ้าสี่หม้อ วิ่งเร็ว 16 น๊อต
มีเครื่องกำเหนิดไฟฟ้า มีเครื่องทำนำ็แข็ง เครื่องกลั่นนํ้าจืด  ใช้ใบได้
มีปืนใหญ่อาร์มสตรอง 120 มม  สี่กระบอก  มีปืนฮอทชกีท 57 มม แปดกระบอก

เรือลำนี้ต่อที่เมือง Leith scotland โดยบริษัท Ramage and Ferguson
สร้างเสร็จ 12 ตค. 2435   เดินทางมาถึงกรุงเทพเมื่อ 6 ธค. 2435

เรือลำนี้รับใช้ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯในภาระกิจท่องทะเลมากมาย
รวมทั้งภาระกิจการเยือนยุโรป ครั้งที่หนึ่ง

เรือลำนี้ปลดประจำการเมื่อ 23 มิย. 2459 โดยขายให้ (ยกเว้นเครื่องจักร)Kawasaki dockyard Co เมืองโกเบ
บริษัทคาวาซากิ ต่อเรือมหาจักรีลำใหม่(2)โดยใช้เครื่องจักรเดิม

เรือมหาจักรีลำที่สองถูกระเบิดทำลายในสงครามโลกครั้งที่สอง




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 15, 13:23
มาเฉลยให้คนเกิดไม่ทัน ได้รู้
ภาพซ้ายบน อารีย์ นักดนตรี  ฉลอง สิมะเสถียร คุณชายกลางของบ้านทรายทอง
ภาพขวาบน  อารีย์ นักดนตรี  กับกำธร สุวรรณปิยะศิริ
ภาพซ้ายล่าง  อารีย์ นักดนตรีกับอาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ
ภาพขวาล่าง อารีย์ นักดนตรีกับวงดนตรีสุนทราภรณ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ป้าหวัน ที่ 30 เม.ย. 15, 14:45


[ปากนํ้า พศ 2478]


ผมคิดว่าน่าจะเป็นตรงนี้นะครับ ถ่ายภาพเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ ระยะเวลาห่างจากภาพเดิม ๘๐ ปี

ถนนประโคนชัย หน้าศาลหลักเมืองสมุทรปราการ มุ่งหน้าไปทางสามแยกถนนสายลวดและถนนท้ายบ้าน

ในฐานะเด็กปากน้ำรุ่นเก๋ากึ๊ก คิดว่าน่าจะเป็นตรงหัวมุมเลี้ยวไปตลาดราชา และวัดกลางวรวิหาร ขอโทษที่จำชื่อถนนไม่ได้ รู้สึกจะเลี้ยวไปทางร้านวัฒนาพานิช  ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ ขอติดdisclaimer ด้วย แต่ดิฉันจำไฟไหม้ตลาดปากน้ำครั้งใหญ่ได้ ในความรู้สึกของเด็ก น่ากลัวมากค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 เม.ย. 15, 15:47
ขอบคุณ

อาจารย์เทาชมพู
ป้าหวัน

สำหรับข้อมูล

ผมไม่อยากพิมพ์มากเพราะพิมพ์ไปยาวจะผิดอยู่เสมอ

นิยายอีกเรื่องที่เอามาทำละครโทรทัศน์   ฉายที่ช่องบางขุนพรหม
คือเรื่อง ลูกทาส ผมอ่านติดมาก
สมัยที่คุณสุวัฒน์เขียนลงในเดลิเมล์วันจันทร์
ตอนนั้นน่าจะอยุ่แค่ชั้นประถม  อ่านทุกฉบับ (แต่ไม่ได้ดูโทรทัศน์)

ผมเคยได้ออกโทรทัศน์ช่องบางขุนพรหม เต็มรายการเกือบชั่วโมง
ในรอบชิงชนะเลิศ ตอบปัญหาของ สปอ. แข่งกับวัดสุทธิวราราม
พิธีกรคือคุณ ธาดา เต็มบุญเกียรติ์   แต่ดันแพ้วัดสุทธิฯในวันนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 15, 16:13
รูปนี้อายุเกิน 50 ปี  ดาราในเรื่องก็ดับแสงไปแล้วหลายดวง
คุณอารีย์เล่นเป็นนางเอก  บุรุษอาวุโสที่มีภาพวาดประดับฉากคือทัต เอกทัต  นักแสดงอาวุโส     หนุ่มสองคนในฉากนี้ คนขวาสุดคือคุณกำธร พระเอกลูกทาส  อีกคนน่าจะเป็นชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ
นักแสดงชายผู้นั่งพับเพียบอยู่ทางซ้ายคือจำรูญ หนวดจิ๋ม ตลกอาวุโสยุคเดียวกับล้อต๊อก สมพงษ์ พงษ์มิตร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 เม.ย. 15, 17:35
ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูอีกครั้ง

คงจะเป็นภาพสุดท้ายเกี่ยวกับทีวี (ยังมีภาพอยู่อีก คงจะเบื่อกันแล้ว)
จากละครเรื่องนุสรา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ค. 15, 09:59
ภาพลายเส้นจากหนังสือของ Fournereau


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ป้าหวัน ที่ 01 พ.ค. 15, 13:33
ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูอีกครั้ง

คงจะเป็นภาพสุดท้ายเกี่ยวกับทีวี (ยังมีภาพอยู่อีก คงจะเบื่อกันแล้ว)
จากละครเรื่องนุสรา
ไม่เบื่อค่ะ ช้อบชอบ ดูแล้วคิดถึงทีวีบางขุนพรหม Please Sir, I want some more.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ค. 15, 14:10
ดูโฆษณาสินค้าในสมัยนั้น ยัง Low tech


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ค. 15, 14:18
เรื่องขุนศึก ของไม้ เมืองเดิม พศ 2502-2504 เห็นเขาว่าฮิตยอดนิยม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ค. 15, 14:31
ป้าหวันครับ จัดให้แล้วไม่รู้จะถูกใจ หรือไม่
สุดท้ายจริงๆ  

สามภาพแรกเรื่อง สาปสวาท

ภาพสุดท้าย ชรินทร์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ค. 15, 14:41
ได้มาจากเวปหนึ่ง น่าจะเป็นภาพสะสมของคุณอารีย์ นักดนตรี 
ผมเอามาลงเอง   ท่านคงจะไม่มา sue ผม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ป้าหวัน ที่ 01 พ.ค. 15, 20:51
ขอบคุณมากค่ะ ได้เดินทางย้อนเวลาจริงๆค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 พ.ค. 15, 08:20
เดินย้อนเวลากลับไปที่ช่อง 4 วังบางขุนพรหม  เชิญคุณป้าหวันและท่านอื่นๆที่เกิดไม่ทัน เดินตามมานะคะ

สมัยนั้นอะไรๆก็ทำกันสดๆ เป็น live show ทุกรายการ  เว้นแต่ข่าวเท่านั้นที่ต้องไปถ่ายเป็นหนังสารคดีขาวดำมาฉาย   ส่วนละคร โฆษณา เกมส์โชว์ทั้งหลาย เล่นกันสดหมด
ละครระดับยักษ์อย่างขุนศึก แสดงเดือนละครั้ง  ครั้งละ 1 ตอน   เป็นรายการสุดท้าย  ในยุคที่ทีวียังมีไม่ทั่วถึงในกรุงเทพ(ต่างจว.ไม่ต้องพูด)  ในละแวกที่มีทีวีเครื่องเดียว โดยมากเป็นร้านของชำศูนย์รวมของตรอกหรือซอย   ชาวบ้านก็อุ้มลูกจูงหลานมาจองที่แคบๆหน้าจอ รอดูคุณกำธรและคุณอารีย์
ดาราทีวีช่อง 4  คือพนักงานบริษัททีวีแห่งนั้น กลางวันทำงานตามหน้าที่ ตกค่ำไปออกทีวี เป็นดารานักแสดง นักพากย์  ทำงานหลังฉาก แล้วแต่จะถูกกำหนด      ทุกคนทำงานได้รอบตัว  ไม่มีใครทำหน้าที่เดี่ยวๆ  คุณอารีย์เองก็ทำทั้งเป็นดารานักแสดง ผู้อ่านรายการประจำวัน   พรีเซนเตอร์โฆษณา

เรื่องขุนศึกเช่นเดียวกับละครเรื่องอื่นๆคือจัดฉากในห้องส่ง ถ่ายทำในห้องส่ง   เล่นกันสดๆร้องเพลงกันสดๆ  ถ้าจำบทไม่ได้ก็มีคนบอกบท  บางทีเสียงคนบอกบทก็ลอดไมค์ออกมาให้คนดูได้ยินกันทั่วถึง(แต่นักแสดงไม่ได้ยินก็มีบ่อยๆ)  เงากล้องถ่ายก็เคลื่อนไหวผ่านหน้าผ่านหลังไปมา    แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำให้คนดูระย่อต่อความสนุกสนานที่ได้รับจากละคร     คุณกำธรก็เป็นพระเอกขวัญใจเล่นได้ทุกบท ตั้งแต่เป็นเสมา ไปจนนาวีพระเอกในเรื่องสาปสวาท   คุณอารีย์ก็เล่นได้ตั้งแต่แม่หญิงเรไร ไปจนบทตลกอย่างนุสรา ที่ได้แรงบันดาลใจจาก I Love Lucy  ทีวีซีรีส์เรื่องดังในยุคนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ค. 15, 09:06
ขอบคุณอาจารย์เทาชมพู

ภาพลายเส้นในหนังสือ ของโฟเนโร 

ลองเทียบกับภาพถ่ายรูปที่สองที่เราเห็นกันบ่อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 พ.ค. 15, 09:29
ขอโทษนะครับ เข้ามาสายไปนิด

ผมมีประสบการณ์กับคุณน้าอารีย์ นักดนตรีสมัยเด็กๆตั้งแต่อยู่ชั้นประถมแหละครับ ไม่ต้องบอกว่าผมนิยมชมชอบนางเอกคนนี้เพียงไร  เมื่อขึ้นมัธยมผมไปเข้าโรงเรียนประจำ วันหนึ่งได้เห็นดาราขวัญใจมาเยี่ยมเพื่อน  คือเธอได้อุปการะหลานชายคนนี้ไว้  จะด้วยเหตุผลอะไรผมก็ไม่ได้ซักถาม  เอาเป็นว่าช่วงบ่ายสองสามโมงของวันพฤหัส เธอจะเดินเข้ามาในโรงเรียน เอาขนมนมเนยมาส่งให้ พูดคุยไม่นานแล้วก็กลับ นัยว่าเธอมีเวลาน้อย ต้องรีบกลับไปทำงาน

ผมอยากจะสารภาพความจริง คุณน้าคงไม่โกรธผม  ตอนเห็นครั้งแรกๆผมนึกว่าคุณน้าใส่หน้ากากมา  คือคงแต่งหน้าไว้แหละครับ แต่หนาเว่อร์ กลบร่องรอยความทรุดโทรมของหญิงวัยสามสิบที่กร้านแสงและความร้อนของสปอร์ตไลท์ในห้องส่งทีวีขาวดำ พอกรายไปใกล้ๆแบบยอมเสียมารยาทนิดๆ ได้ยินคุณน้าอบรมสั่งสอนเพื่อนผม ไม่ให้ขี้เกียจ ดีแต่เล่น ไม่เอาใจใส่ต่อการเรียน บลา บลา บลา น้ำเสียงของดาราคนโปรดเปลี่ยนไปอีกอย่าง เธอดุมากนะครับ  ผมเคยถอดใจ ไม่รอเฝ้าคอยดูคุณน้าแล้ว กลัวจะถูกอบรมเข้าให้มั่ง
ขออภัยหากที่โพส์ตนี้ผมจะล่วงเกินคุณน้าบ้าง แต่มันเป็นความคิดของเด็กๆที่ยังอยู่ในวัยที่ไม่มีจริตน่ะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ค. 15, 09:45
ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ของอาจารย์  NAVARAT.C

--------------------------------------------------------

ภาพลายเส้นประตูพฤฒิบาศ  เป็นครั้งแรกที่เห็นภาพนี้
เคยมีภาพลายเส้นคล้ายนี้ แต่จะหยาบกว่านี้
ภาพนี้คงจะวาดจากภาพถ่าย วาดได้ละเอียดดี
แสงเงาไม่มีตกหล่น จะเห็นเงาต้นมะขามทาบบนพื้น (แม้ไม่เห็นต้นจริง)

บ้านด้านขวามือ คราวนี้เราจะเห็นว่าเป็นร้านค้า ไม่ใช่บ้านอยู่อาศัย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ค. 15, 15:42
ภาพที่คุณหนุ่มต่อไว้
ลองเอามา heal ให้กลมกลืน ดูกันเล่นช่วงที่ยังไม่มีอะไรเคลื่อนไหว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ค. 15, 17:32
เคยเก็บภาพนี้ไว้ตอนเริ่มสนใจภาพเก่าๆ แสนดีใจ

ภาพต้นฉบับชัด แต่มาถึงเราได้ภาพอย่างนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ป้าหวัน ที่ 02 พ.ค. 15, 20:01
ขอบคุณอาจารย์เทาชมพู และคุณ ที่กรุณาแบ่งปันประสบการณ์ค่ะ ตอนอยู่ประถมปลายดิฉันเคยตามพี่ไปตอบปัญารายการคุณจำนง รังสิกุล พวกเราขบขันกันมากที่ได้เห็นคุณอารีย์ออกมาโฆษณา โดยพูดอยู่คนเดียว ความจริงเธอกำลังพูดกับกล้องโทรทัศน์ ในสายตาเด็กเรานึกว่าประหลาดดี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ป้าหวัน ที่ 02 พ.ค. 15, 20:04
เรื่องขุนศึก ของไม้ เมืองเดิม พศ 2502-2504 เห็นเขาว่าฮิตยอดนิยม
ควันหลง ขอต่ออีกนิดนะคะ : สมัยนั้นมีการส่งคำทายเพลง ผู้ตอบถูกจะได้รูปดาราส่งมาให้ถึงบ้าน ดิฉันเป็นแฟน "ไอ้เสมา"เหนียวแน่น เลยได้รูปมาเป็นที่ระลึกพร้อมลายเซนต์ เป็นปลื้มค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ค. 15, 08:40
คนไทยรวมตัวในงานพิธีอย่างหนึ่งในวัด  (ไม่มีรายละเอียด)
แถวหน้ามีผู้ใส่รองเท้าคนเดียว
คงเป็นการแต่งกายอย่างเป็นพิธี  ในยุคนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ค. 15, 08:47
ไม่เกี่ยวกับบางกอก
เป็นภาพบ้านคอมพ์ตัน ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเสด็จสวรรคต
ตอนเช้า วันที่ 30 พฤษภาคม 2484

อ่านรายละเอียด......
http://www.michaeljamiesonbristow.com/death-of-hm-king-prajadhipok-of-thailand-1893-1941 (http://www.michaeljamiesonbristow.com/death-of-hm-king-prajadhipok-of-thailand-1893-1941)
https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/299189100271124 (https://www.facebook.com/topsecretthai/posts/299189100271124)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ค. 15, 11:42
วันนี้มีหลากหลายเรื่อง สัพเพเหระ

รูปนี้ไม่รู้ว่า ฟรานซิส จิตร  ถ่ายไว้หรือไม่
เมื่อท่านเอียงกล้องไปทางซ้ายถ่ายเพื่อนบ้าน
ท่านอาจจะเอียงขวามาถ่ายอีกด้านก็ได้

ยอดเจดีย์สูงอาจจะเป็นของวัดประยุรวงศาวาส


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ค. 15, 11:46
รูปนี้มาพร้อมกับรูปแรกที่มีคนยืนเรียง

หมอจอร์จ แมคฟาร์แลนด์ กำลังสอนนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ค. 15, 11:36
ไฟไหม้ท่าเตียนครั้ง ร4 ปีไหน?
ถ้าหาจากเนทจะเจอข้อความที่ก๊อปต่อกันมาแบบนี้

“ ...เพลิงไหม้เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 1 เวลายามเศษ ไฟไหม้เสียหายจำนวนมาก
เป็นเรือนหม่อมเจ้าในกรมสุรินทร์รักษ์ (กรมหมื่นสุรินทรรักษ พระนามเดิม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉัตร ต้นราชสกุล ฉัตรกุล ณ อยุธยา) 28 หลัง
โรงพระองค์เจ้ามหาหงส์ (พระองค์เจ้ามหาหงษ พระนามเดิม พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามหาหงษโสภาค ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสุรินทรรักษ) 3 หลัง
เรือน 13 หลัง เรือนข้าราชการและราษฎร 44 หลัง ศาลาวัดสองหลังครึ่ง
โรงงานของในหลวง 1 โรง ประตูท่าช้างล่าง
 ตัวไม้ในโรงเรือนที่จะใช้สร้างวังและพระอารามหลวงกว่าร้อยต้น.. ”

ไม่มีใครเขียนให้ชัดว่าปีไหน
ผมก็ยังไม่รู้ว่าปีไหน

มีหนังสือของท่าน ส.พลายน้อย อยู่ใกล้มือ อ่านดูก็เขียนอย่างข้างบน


ภาพหน้าวัดโพ ที่คมชัดดี  คงจะถ่าย ปี 2408 หลังจากไฟไหม้ครั้งนั้นแล้ว
ตัวตึกสวยที่อยู่ริมนํ้า คิดว่าอาจจะเป็น***ศาลต่างประเทศ***ได้ไหม
ที่ครั้งหนึ่ง หม่อมราโชทัย โดนแอ๊คชั่นของกงสุลโอบาเรต์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ค. 15, 12:29
ก่อนหน้าที่จะมีการสร้างอาคารเหล่านี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ค. 15, 12:30
ระยะหลัง  มีการเปลี่ยนแปลงไป

ซุ้มประตูนกยูงก็ปรับเปลี่ยนใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ค. 15, 17:33
ต่อมา รุกพื้นที่ริมนํ้าเข้าไปอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 พ.ค. 15, 18:54
วันนี้มีหลากหลายเรื่อง สัพเพเหระ

รูปนี้ไม่รู้ว่า ฟรานซิส จิตร  ถ่ายไว้หรือไม่
เมื่อท่านเอียงกล้องไปทางซ้ายถ่ายเพื่อนบ้าน
ท่านอาจจะเอียงขวามาถ่ายอีกด้านก็ได้

ยอดเจดีย์สูงอาจจะเป็นของวัดประยุรวงศาวาส
ผมทึ่งเรือนแพนี้มาก นึกว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ จะใช้แพลูกบวบไม้ไผ่เป็นทุ่นลอย แต่ภาพนี้ยืนยันว่าเป็นทุ่นเหล็กนะครับ อย่างโก้ ราคาค่างวดในสมัยนั้นคงไม่เบาทีเดียว

เรือนแพหาใช่ที่อยู่ของผู้ยากไร้ไม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ค. 15, 19:05
วันนี้มีหลากหลายเรื่อง สัพเพเหระ

รูปนี้ไม่รู้ว่า ฟรานซิส จิตร  ถ่ายไว้หรือไม่
เมื่อท่านเอียงกล้องไปทางซ้ายถ่ายเพื่อนบ้าน
ท่านอาจจะเอียงขวามาถ่ายอีกด้านก็ได้

ยอดเจดีย์สูงอาจจะเป็นของวัดประยุรวงศาวาส
ผมทึ่งเรือนแพนี้มาก นึกว่าในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ จะใช้แพลูกบวบไม้ไผ่เป็นทุ่นลอย แต่ภาพนี้ยืนยันว่าเป็นทุ่นเหล็กนะครับ อย่างโก้ ราคาค่างวดในสมัยนั้นคงไม่เบาทีเดียว

เรือนแพหาใช่ที่อยู่ของผู้ยากไร้ไม่

อาจารย์ NAVARAT.C
หลังนี้เรือนฝากระดานด้วย  
แต่หลังคายังมุงจาก เป็นวัสดุทางเลือกเดียวสำหรับเรือนแพ

ในสมัย ร.5 มีโรงงานทำกระเบื้องหลังคาแล้ว
ใน twentieth century impressions of siam  
มีภาพ โรงงานอยู่ที่ข้างวัดสระเกศ
นอกจากนี้มีโรงงานที่สามเสนด้วย
ผลิตด้วยซีเมนต์จากต่างประเทศ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 04 พ.ค. 15, 19:39
น่าจะเป็นกระเบื้องว่าวแบบนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ค. 15, 09:55
ภาพทางอากาศของบริเวณวัดสุทัศน์
วันที่ 26 สิงหาคม 2465
เห็นมีสะพานข้ามคลองที่เรียกว่าคลองวัดสุทัศน์(ถมไปแล้ว)
คลองวัดสุทัศน์เป็นคลองเชื่อมระหว่างคลองหลอดทั้งสอง(วัดราชบพิธ - วัดเทพธิดาราม)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ค. 15, 09:59
มุมมองจากด้านประตูผีเข้าในเมือง
คุณเรืองอุไร กุศลาสัย เคยเล่าว่าท่านเรียนที่ รร.เบญจมราชาลัย
เวลาเดินเข้าโรงเรียนต้องผ่านสะพานไม้โค้งสูงหน้าโรงเรียน(ให้เรือผ่านได้)ที่ข้ามคลองวัดสุทัศน์
ภาพนี้ ปี 2450


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ค. 15, 10:06
เมื่อเดินห่างออกจากเสาชิงช้ามาเรื่อยๆ
ถึงประตูสำราญราษฏร์หรือประตูผี

ประตูผีมองจากสะพานข้ามคลองโอ่งอ่างด้านนอกเมือง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ค. 15, 10:20
เดินทางต่อไป   

ตามถนนบำรุงเมือง ตอนที่ออกนอกเมือง

ผ่านป่าช้าวัดสระเกศ  ใกล้จะถึงสะพานแม้นศรี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ค. 15, 10:37
น่าจะเป็นกระเบื้องว่าวแบบนี้

เป็นแบบที่อาจารย์ว่าไว้

มีหลังคาบ้านแถวภัตตาคารห้อยเทียนเหลา

เมื่อมองที่เส้นขอบฟ้าจะเห็นยอดโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 พ.ค. 15, 11:25
เมื่อเดินห่างออกจากเสาชิงช้ามาเรื่อยๆ
ถึงประตูสำราญราษฏร์หรือประตูผี

ประตูผีมองจากสะพานข้ามคลองโอ่งอ่างด้านนอกเมือง

ผมข้องใจว่าประตูสำราญราษฎร์จะเป็นประตูเดียวกับประตูผีหรือครับ

ประตูผีคือประตูเล็กๆที่เจาะช่องแค่ให้คนเดินผ่านกำแพงเมืองแถวๆวัดราชนัดดา เพื่อเอาศพไปจัดการฝังหรือเผา หรือเอาไปทิ้งให้แร้งกินในป่าช้าวัดสระเกศ
ส่วนประตูสำราญราษฎร์คือ เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าให้ตัดถนนบำรุงเมืองจากประตูนั้น ออกไปนอกเมืองผ่านย่านแม้นศรี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ค. 15, 11:50
เมื่อเดินห่างออกจากเสาชิงช้ามาเรื่อยๆ
ถึงประตูสำราญราษฏร์หรือประตูผี

ประตูผีมองจากสะพานข้ามคลองโอ่งอ่างด้านนอกเมือง

ผมข้องใจว่าประตูสำราญราษฎร์จะเป็นประตูเดียวกับประตูผีหรือครับ

ประตูผีคือประตูเล็กๆที่เจาะช่องแค่ให้คนเดินผ่านกำแพงเมืองแถวๆวัดราชนัดดา เพื่อเอาศพไปจัดการฝังหรือเผา หรือเอาไปทิ้งให้แร้งกินในป่าช้าวัดสระเกศ
ส่วนประตูสำราญราษฎร์คือ เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าให้ตัดถนนบำรุงเมืองจากประตูนั้น ออกไปนอกเมืองผ่านย่านแม้นศรี

ตามที่เข้าใจ ประตูเมืองที่ถนนบำรุงเมือง เดิมเรียกว่าประตูผี
เพราะศพราษฏรห้ามเผาในเมือง ต้องเอาออกทางประตูนี้เป็นส่วนมากไปเผาที่วัดสระเกศ
(ด้านใต้เอาออกไปที่วัดบพิตรภิมุข  ด้านเหนือเอาออกไปที่วัดสังเวช)

ต่อมาไม่แน่ใจว่า ร.4 หรือไม่  ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นประตูสำราญราษฏร์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B9%8C (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3%E0%B9%8C)

ส่วนประตูช่องเล็กที่วัดราชนัดดารามเป็นประตูช่องกุด(หรือกุฎ)
สำหรับให้คนออกนอกกำแพงไม่มีประตูปิด ช่องกุดมีเป็นระยะตลอดแนวกำแพง

ประตูช่องกุดที่อาจารย์ว่านี้น่าจะเป็นช่องออกไปที่โรงลิเกของพระยาเพชรปราณี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 พ.ค. 15, 12:03
น่าจะเป็นกระเบื้องว่าวแบบนี้

เป็นแบบที่อาจารย์ว่าไว้

มีหลังคาบ้านแถวภัตตาคารห้อยเทียนเหลา

เมื่อมองที่เส้นขอบฟ้าจะเห็นยอดโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม

เรื่องกระเบื้องหลังคาแแบบที่เรียกว่ากระเบื้องว่าวนี้ เป็นของฝรั่งได้คิดประดิษฐ์ขึ้น ถ้าร่วมสมัยจะมีสีให้เล่นการปูกระเบื้องให้เป็นลายพรม กระเบื้องแบบนี้เรียกว่า "กระเบื้องเฟอรันโด้" ตามชื่อฝรั่งที่สร้างขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ค. 15, 12:15
ขอบคุณครับคุณหนุ่มสำหรับข้อมูล

ขุนวิจิตรมาตราเขียนเล่าถึงประตูช่องกุดไว้สองที่



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 พ.ค. 15, 12:17
เมื่อเดินห่างออกจากเสาชิงช้ามาเรื่อยๆ
ถึงประตูสำราญราษฏร์หรือประตูผี

ประตูผีมองจากสะพานข้ามคลองโอ่งอ่างด้านนอกเมือง

ผมข้องใจว่าประตูสำราญราษฎร์จะเป็นประตูเดียวกับประตูผีหรือครับ

ประตูผีคือประตูเล็กๆที่เจาะช่องแค่ให้คนเดินผ่านกำแพงเมืองแถวๆวัดราชนัดดา เพื่อเอาศพไปจัดการฝังหรือเผา หรือเอาไปทิ้งให้แร้งกินในป่าช้าวัดสระเกศ
ส่วนประตูสำราญราษฎร์คือ เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าให้ตัดถนนบำรุงเมืองจากประตูนั้น ออกไปนอกเมืองผ่านย่านแม้นศรี
ประตูผีที่กำแพงเจ้าเมืองระนอง ขนาดหน้าตาเท่านี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 พ.ค. 15, 08:37
เมื่อเดินห่างออกจากเสาชิงช้ามาเรื่อยๆ
ถึงประตูสำราญราษฏร์หรือประตูผี

ประตูผีมองจากสะพานข้ามคลองโอ่งอ่างด้านนอกเมือง

ผมข้องใจว่าประตูสำราญราษฎร์จะเป็นประตูเดียวกับประตูผีหรือครับ

ประตูผีคือประตูเล็กๆที่เจาะช่องแค่ให้คนเดินผ่านกำแพงเมืองแถวๆวัดราชนัดดา เพื่อเอาศพไปจัดการฝังหรือเผา หรือเอาไปทิ้งให้แร้งกินในป่าช้าวัดสระเกศ
ส่วนประตูสำราญราษฎร์คือ เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าให้ตัดถนนบำรุงเมืองจากประตูนั้น ออกไปนอกเมืองผ่านย่านแม้นศรี
ประตูผีที่กำแพงเจ้าเมืองระนอง ขนาดหน้าตาเท่านี้
เคยมีท่านผู้รู้เขียนเรื่องประตูผีลงในศิลปวัฒนธรรม
ลองไปค้นดู ไม่เจอเพราะเป็นเล่มเก่า หานานไม่เจอ เลยเลิกหา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 พ.ค. 15, 08:45
สะพานแม้นศรี  มองจากปลายทางเข้าไปในเมือง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 พ.ค. 15, 09:24
ภาพนี้คงมาจากหอจดหมายเหตุ
เมื่อเอามาตีพิมพ์ความคมชัดลดลง

ภาพเดิม--ที่หน้าจั่วบ้านชั้นเดียวเชิงสะพานผ่านฟ้าฯ หน้าวัดปรินายก สามารถอ่านได้ว่าเขียนเป็นภาษาจีน

กำแพงเมืองด้านถนนพระสุเมรุยังมีอยู่
ป้อมหาปราบที่อยู่ถัดจากป้อมมหากาฬโดนต้นไม้บัง
แนวสะพานมหาดไทยอุทิศก็โดนต้นไม้บัง ไม่แน่ว่าสร้างแล้วหรือไม่ อันนี้จะบอกเวลาได้คร่าวๆ

ภาพนี้ครอปมาแล้วภาพเดิมจะกว้างกว่านี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 พ.ค. 15, 10:21
เมื่อมองสวนทางจากสะพานผ่านฟ้าขึ้นมาที่ภูเขาทองจะเป็นแบบนี้หรือไม่?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ค. 15, 07:13
เมื่อวานไปเข้าเรียนที่ห้องเรียนคุณภาพของอาจารย์  NAVARAT.C
ได้เซฟภาพเรือมหาจักรีมาอีก    จัดการลงให้ครบถ้วน เพิ่มจากครั้งก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ค. 15, 07:16
มีภาพ วิหารพระมงคลบพิตร เพิ่มมาอีกสองภาพ
ภาพแรกเป็นสภาพรกร้างมีต้นไม้ขึ้นรอบอาณาบริเวณเหมือนกับถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยเสียกรุง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ค. 15, 07:41
ภูเขาทองเป็นภาพลายเส้นจากหนังสือของโฟเนโร

ภาพที่สองเป็นภาพถ่ายเมื่อปี พศ.2431


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ค. 15, 12:27
ไปธุระข้างนอกที่ รพ.คิดว่ามาไม่ทันวันนี้
เสร็จเร็วเกินคาด มาว่ากันต่อ............

ห้างสิทธิภัณฑ์เป็นห้างเกรดพรีเมี่ยม ของไทยในยุค ร.5
ตั้งอยู่ที่ถนนเฟื่องนคร

ภายในร้านมีทั้งแผนกเครื่องประดับเพชรพลอย    ภาพที่สอง

และของกินของใช้   ภาพที่สาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 พ.ค. 15, 12:37
ห้างสิทธิพันธ์อยู่ตรงกันข้ามกับห้างสันตโภชน์

ร้านค้าที่ลงทุนโดยคนไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓  ได้แก่ ห้างสิทธิพันธ์ ตั้งอยู่ที่ถนนเฟื่องนคร ซึ่งนอกจากจำหน่ายสินค้าทั่วไป ยังรับตกแต่งบ้านเรือนด้วย ซึ่งยุคนั้นเป็นที่นิยมของเจ้านาย และขุนนาง ห้างสันตโภชน์ จำหน่ายผลไม้ ไม้แปรรูป อาหารแห้ง ต่อมาได้ขยายกิจการเป็นร้านอาหาร บาร์ เลาจน์ ร้านขายสรรพสินค้า เสื้อผ้าสตรี และขายยา ซึ่งสินค้าที่จำหน่ายในห้างดังกล่าวเป็นสินค้าจากต่างประเทศ มีราคาแพง และเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย

ข้อมูลจาก วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔ เรื่องการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และผลกระทบต่อร้านขายของชำดั้งเดิม ของ คุณคุณาธิป แสงฉาย หน้า ๒๗


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4932.0;attach=28550;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ค. 15, 13:08
ห้างสิทธิพันธ์อยู่ตรงกันข้ามกับห้างสันตโภชน์

ร้านค้าที่ลงทุนโดยคนไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓  ได้แก่ ห้างสิทธิพันธ์ ตั้งอยู่ที่ถนนเฟื่องนคร ซึ่งนอกจากจำหน่ายสินค้าทั่วไป ยังรับตกแต่งบ้านเรือนด้วย ซึ่งยุคนั้นเป็นที่นิยมของเจ้านาย และขุนนาง ห้างสันตโภชน์ จำหน่ายผลไม้ ไม้แปรรูป อาหารแห้ง ต่อมาได้ขยายกิจการเป็นร้านอาหาร บาร์ เลาจน์ ร้านขายสรรพสินค้า เสื้อผ้าสตรี และขายยา ซึ่งสินค้าที่จำหน่ายในห้างดังกล่าวเป็นสินค้าจากต่างประเทศ มีราคาแพง และเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย

ข้อมูลจาก วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๔ เรื่องการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ และผลกระทบต่อร้านขายของชำดั้งเดิม ของ คุณคุณาธิป แสงฉาย หน้า ๒๗


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4932.0;attach=28550;image)

ขอบคุณครับ คุณเพ็ญชมพู

ห้างสันตโภชน์ มีสินค้าตามข้างบน  และมีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์และคุณหญิงเป็นที่ปรึกษา
ส่งสินค้าไปขายถึงอเมริกา ---- ผลิตภัณฑ์ เคยได้รับรางวัลในการแสดงที่เซ็นต์หลุยส์

มีสาขาที่ถนนเจริญกรุงอีกด้วย




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ค. 15, 15:47
วันก่อนดูบ้านของพระยาพิศาลศุภผล(ชื่น พิศาลบุตร)
วันนีดูโรงสี กอ ฮอง หลี ของท่าน
ซึ่งอยู่ที่บ้านทะวายหรือยานนาวาในปัจจุบัน
โรงสีของท่านมีสามโรงติดกัน และจอดเรือเทียบท่าได้พร้อมกันสามลำ

พระยาพิศาลศุภผล(ชื่น พิศาลบุตร)เป็นคนแซ่กอ โรงสีมีชื่อ กอ ฮอง หลี
เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์(เจ้าสัวยิ้ม พิศลยบุตร)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 พ.ค. 15, 06:35
ภาพลายเส้นต่อ   มาจากหนังสือโฟเนโร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 พ.ค. 15, 06:52
ครอปมาจากภาพเต็มพระองค์
เห็นแผงคอชัดเจน เหรียญตราที่หน้าอกมองไม่ชัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 พ.ค. 15, 07:27
ปรางค์ที่วัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 พ.ค. 15, 08:26
ปรางค์ที่วัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพ

ผมเห็นภาพนี้แล้วสงสัยเหมือนกันว่าเป็นวัดอะไร
คิดว่าเป็นวัดระฆังได้ไหม?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 พ.ค. 15, 08:35
เอารูปที่คุ้นเคย เราเห็นกันบ่อยๆมาลงบ้าง

รูปที่สาม คือ สะพานเหล็กบน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 พ.ค. 15, 10:13
ครอปมาจากภาพเต็มพระองค์
เห็นแผงคอชัดเจน เหรียญตราที่หน้าอกมองไม่ชัด

แผงคอทหารเรือวังหน้าแน่
แต่เหรียญได้แต่สันนิฐานว่าเป็นตราพระราชลัญจกร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 พ.ค. 15, 10:43
ครอปมาจากภาพเต็มพระองค์
เห็นแผงคอชัดเจน เหรียญตราที่หน้าอกมองไม่ชัด

แผงคอทหารเรือวังหน้าแน่
แต่เหรียญได้แต่สันนิฐานว่าเป็นตราพระราชลัญจกร พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯครับ

อาจารย์ เหรียญด้านนี้จะสึกมาก ตรามองไม่ชัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 พ.ค. 15, 12:52
คงไม่ใช่เพราะสึกหรอกครับ ภาพไม่คมชัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ค. 15, 09:50
เปรียบเทียบดูระหว่างสองภาพในบริเวณเดียวกัน

ภาพแรกเป็นการ์ดปีใหม่ ไม่ทราบเวลาที่ถ่าย และถ่ายในงานพิธีอะไร? มีโรงมโหรสพตั้งอยู่ด้วย

ภาพที่สองเป็นงานเมรุมาศของสี่เจ้าฟ้า ปี พศ 2431

พระที่นั่งจักรีฯ (เริ่มสร้าง 2419)เสร็จแล้ว
หอนาฬิกาภูวดลทัศไนย ยังไม่ได้รื้อทิ้ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 พ.ค. 15, 10:10
ศาลหลักเมือง ตอนนั้นอยู่ไหน ใครทราบบ้างครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ค. 15, 10:57
ศาลหลักเมือง ตอนนั้นอยู่ไหน ใครทราบบ้างครับ

ผมไม่ทราบ ต้องหาข้อมูลต่อไป
น่าจะอยู่ที่เดิมที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
ถ้ามีการย้ายหรือตั้งใหม่  น่าจะมีข่าวใหญ่พอสมควรให้เรารู้สึกได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ค. 15, 11:10
อาจารย์ NAVARAT.C  ครับ

ตรงนี้พอจะเข้ากันได้?  ตามหลัก ไม่รู้อย่าไปเดา เดาอย่างไม่รู้โอกาสถูกน้อยมาก :-[

ขุนวิจิตรมาตรา ท่านเคยเล่าตอนนี้ว่าบริเวณสนามด้านทิศใต้ของวงกลมแดง(ถ้าตามในรูป  อยู่บน) เป็นโรงช้างยาวไปตลอดถึงคลองคูเมืองเดิม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ค. 15, 12:47
ในอีกกระทู้ได้เอ่ยถึงชื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา (เขียนเป็นอัพภันตรีปชา )

จากที่ท่านเขียนชื่อตัวท่านเองว่า-- อภันตรี-- ชื่อ อภันตรีปชา น่าจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง

จากชื่อนี้ทำให้นึกถึงว่าช่วงหนึ่งผมได้คุ้นเคยกับชื่อนี้มาก  ในปีหนึ่งเดินผ่านทลุ เดินเฉียดไม่น้อยกว่าครึ่งหนึงของ 365 วัน

นั้นคือ   ตึกอภันตรีปชา เป็นตึกเอ็กซเรย์ ในโรงพยาบาลจุฬาฯ

รพ.จุฬาฯ เปิดทำการเมื่อปี 2457  โดยระยะแรกได้รับการสนับสนุนจากเหล่าเชื้อพระวงศ์เป็นส่วนมาก

ตึกที่อยู่ใน รพ. จะมีชื่อของท่านเหล่านั้นเช่น ตึกปัญจมราชินี -ตึกอาทร- ตึกวชิราวุธ-ตึกพาหุรัด-ตึกจิรประวัติ-ตึกจักรพงศ์

ตึกรับคนไข้เหล่านี้สร้างอย่างดี วัสดุอย่างดี เป็นตึกสองชั้น พื้นปูหินอ่อน บันไดหินอ่อน ประตูเป็นไม้อย่างดี สูง ใหญ่

หลังจากท่านสิ้นพระชนม์ ปี 2477 แล้วต่อมาในปี พศ 2485  มีการสร้างตึก อภันตรีปชา (อยู่ในวงกลมฟ้า)ใช้เป็นตึกเอ็กซเรย์หลังแรก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 พ.ค. 15, 14:21
จากสารคี “เวียงวัง” โดยจุลลดา ภักดีภูมินทร์ ผู้สันทัดกรณีย์เรื่องของในรั้วๆวังๆกล่าวไว้ประโยคหนึ่งว่า

พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา (เข้าใจว่าจะทรงเปลี่ยนเป็น ‘อภันตรีปชา’)

เชิญตีความตามอัธยาศัยครับ แต่พวกเราใครจะใช้อย่างไรคงไม่ผิดทั้งคู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ค. 15, 16:36
กระทู้ไม่ค่อยเดิน
ผมจะว่าต่อไป

-----------------------------------------------------------------

แหล่ประตูสะพานหันพัง  (แหล่เครื่องเล่นมหาชาติกัณฑ์มหาพน)

ที่ ๒๖  กันยายน                      เกิดโกลาหลอัศจรรย์
ที่ประตูยอดสะพานหัน                พังทะลายลั่นเสียงครืนคราน
ทับสายไฟฟ้าขาดเป็นแสง            ถูกนายแดงดับสังขาร
ประชาชนอลหม่าน                    พากันสงสารเวทนา
สองทุ่มหย่อน ๒๐ มินิต               เวลาเมื่ออิฐพังลงมา
เลื่องลือกันลั่นพารา                   ต่างคนต่างพากันมาดู
ทั้งไทยทั้งเจ๊กเด็กผู้ใหญ่              บ้างชวนกันไปเป็นหมู่หมู่
เสียงโจษกันลั่นสนั่นหู                ว่าจะไปดูประตูพัง
บ้างขึ้นรถไอบ้างไปรถลาก           รถม้าก็มากแล่นประดัง
เขย่ากระดิ่งเสียงกริ่งกรั่ง              ซ้อนซับคับคั่งทั้งรถยนต์
บ้างเดินกันกลุ้มทั้งหนุ่มแก่           เสียงพูดกันแซ่ตามถนน
บางคนก็ว่าตายห้าคน                 พูดกันจนล้นเลยอัตรา
สมคำโบราณท่านขานกล่าว          ว่าคนปากยาวกว่าปากกา
พูดเติมต่อแต้มแกมมุสา              บางคนก็ว่าตายมากมาย
ได้สืบถามผู้อยู่ใกล้ชิด                ว่านายแดงโปลิศคนเดียวตาย
เด็กหญิงสองคนที่ถูกสาย             ก็ไม่วางวายอย่าสงกา
ผู้ใหญ่ผู้หญิงถูกอีกคน                ก็ไม่วายชนม์แต่ช้ำกายา
เขาพาเอาไปรักษา                    ที่โรงไฟฟ้าทั้งสามคน
นี่เป็นความจริงไม่ผิดพลั้ง             ท่านผู้ฟังอย่าฉงน
ตกลงรวมสี่ตายหนึ่งคน               เจ็บอีกสามคนไม่ม้วยมรณ์.....

ยังไม่หมดเรื่องประตูพัง              ขอกล่าวแต่ครั้งเมื่อแรกสร้าง
ฉันจะแก้ไขให้กระจ่าง               ประตูนี้สร้างสามครั้งครา
ครั้งแรกรัชกาลที่หนึ่งชัด             ครั้งที่สองรัชกาลที่ห้า
ถึงครั้งที่สามตามอัตรา              รัชกาลที่ห้าอีกเหมือนกัน
ถึงรัชกาลที่หกนี้                     ประตูพังหมดที่สะพานหัน
จึงพังทลายกระจายลั่น              นี่กล่าวสั้นสั้นไม่พิสดาร
ถ้าท่านผู้ฟังยังไม่แจ้ง               ฉันจะแสดงให้วิตถาร
ท่านที่ไม่ชอบจะรำคาญ             ว่ากล่าวยาวยานจนเกินดี
เมื่อครั้งรัชกาลที่หนึ่งหนา           เสวยราชย์มาได้สองปี
จะสร้างประตูพระบุรี                 พร้อมกำแพงมีรอบนคร
แต่ประตูยอดครั้งก่อนใช้            ยอดทำด้วยไม้สูงสลอน
ทำช่องกุดบ้างเป็นตอนตอน         จนรอบนครแต่เดิมมา
ส่วนประตูที่สะพานหัน               ทำครั้งแรกนั้นช่องกุดหนา
ลงมือศกสองถึงศกห้า               จึงแล้วเสร็จว่าแต่ตั้งแผ่นดิน
ถึงรัชกาลที่สามชัด                  ประตูด้านวัดพรหมสุรินทร์
ยอดไม้ผุพังกระทั่งดิน              ทับคนตายดิ้นกลางมรรคา
จึงรื้อประตูยอดทั่วหมด             ทำซุ้มอิฐลดต่ำลงมา
เรียกว่าหอรบมีหลังคา              เผื่อข้าศึกมาได้ป้องกัน
แต่ช่องกุดที่มีประตู                 ยังคงเดิมอยู่ไม่แปรผัน
ถึงรัชกาลที่ห้านั้น                   ท่านทรงจัดสรรการแผ่นดิน
ศกเก้าสิบหกพระทูลเกล้า           โปรดให้เจ้าพระยามหินทร์
เปลี่ยนแปลงประตูพระบุริน         แต่ไม่ทั่วสิ้นทั้งบุรี
รื้อซุ้มหอรบที่มีอยู่                  ทำเป็นประตูยอดสูงดี
ประตูตัดสั้นนั้นก็มี                  ท่านทำท่วงทีดูโสภณ
แต่ประตูที่สะพานหัน               เมื่อคราวครั้งนั้นแปลงอีกหน
เป็นประตูตัดดาดฟ้าบน             ดูเหมือนจะทนทำแข็งแรง
ถึงศกร้อยปีมีสมโภช               โขนเขนเต้นโลดงิ้วตุ้งแชง
พระสงฆ์สวดมนต์รอบกำแพง      เลี้ยงข้าวเลี้ยงแกงสนุกครัน
ครั้นมาถึงศกร้อยเจ็ดปี             แปลงประตูที่สะพานหัน
เป็นประตูยอดตั้งแต่นั้น             มิได้แปรผันอีกเลยนา
ครั้นถึงศกร้อยสามสิบเอ็ด          ประตูเสด็จพังลงมา
เพราะเก่าชะแรแก่ชรา              ขอยุติกาจบกันที...นั้นแหล่

ในแหล่เครื่องเล่นกัณฑ์มหาพน

ประตูสะพานหันเดิมเป็นประตูช่องกุด
รศ 96 เปลี่ยนยอดเป็นดาดฟ้า (วันหลังจะเอาภาพมาให้ดู)
รศ 106 เปลี่ยนอีกที่เป็นยอดแหลม

สุดท้าย ประตูสะพานหันพัง เมื่อ 26 กันยายน 2454
ทับนายแดง เสียชีวิต คนเดียว เจ็บอีกสามคน

ประตูสะพานหันอยูทางซ้ายนอกกรอบ  ทางขวามีกองอิฐหินที่ประตูพังลงมากอง
ถนนทางขวาคือพาหุรัด ที่รถรางวิ่งออกมาชิดขวาริมกำแพงเมือง วิ่งไปตามถนนมหาชัย  ไปหน้าวังบูรพา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 10:41
หนังสือ twentieth century impressions of siam ซึ่งพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ห้า
ลงเรื่องของครอบครัวนายพิณเทพเฉลิม  (บุนนาค)  เป็นบุตรของ พระยาศรีสรราชภักดี(วัน บุนนาค)

พระยาศรีสรราชฯเป็นบุตรของ สมเด็จเจ้าพระยามหาประยุรวงศ์

นายพิณเทพแต่งงานกับ สมบุญ มีบุตรสาวสองคน
บุตรคนโตชื่อคุณเพี้ยน  แต่งงานกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ (โอรสของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ )


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 10:47
นายพิณเทพเฉลิม เป็นเจ้าของเรือเมล์วิ่ง
ระหว่าง สุพรรณบุรี-นครไชยศรี-ท่าจีน
รับผู้โดยสารให้เชื่อมต่อรถไฟสายเพชรบุรี-ท่าจีน-แม่กลอง
กิจการรุ่งเรืองดี
มีเรือหลายลำเช่น ขุนช้าง -นางพิม-ขุนแผน-พระไวยวรนาถ ฯลฯ

นายพิณเทพเฉลิมมีบ้านอาศัยอยู่ในคลองบางหลวง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 10:49
รูปเต็มหน้าในหนังสือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 10:52
คุณ วราห์  โรจนวิภาต
เขียนบทความ ยํ้ารอยอดีตคลองบางหลวง 1
เล่าเรื่องของนายพิณเทพเฉลิม ไว้อย่างนี้

(อ่านยากนิด ไม่อยากพิมพ์เดียวผิดอีก)




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 11:03
ไปเจอรูปในภาพสะสมของนางมาร์กาเร็ต แลนดอน
เป็นรูปหม่อมเปี่ยม(เขียนว่า Mom Piem)
น่าจะเป็นบุตรสาวคนโตของนายพิณเทพเฉลิม
ที่แต่งงานกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์
(ตามประวัติจริงของท่านไตรทศประพันธ์ สมรสกับ เพี้ยน บุนนาค)

นางมาร์กาเร็ต แลนดอน คงเขียนชื่อผิด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 12:41
บรรยากาศที่น่าสบายร่มรื่นในคลองบางหลวง
ชาวบ้านๆ ยังคงห่มผ้าสไบเฉียง โจงกระเบน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 18:24
มีรูปแสดงประตูผีของอาจารย์พิพัฒน์ ที่ผมสงสัย
ภาพซ้ายเป็นคำอธิบายของอาจารย์
ภาพขวาเป็นภาพที่ผมพอจะหามาเปรียบได้แต่มุมไม่กว้างเท่าของภาพอาจารย์
ภาพขวาไปสุดที่ประตูช่องกุด   วงไว้เพื่อ เทียบกับภาพซ้าย 
พ้นวงกลมแดงแล้วเป็นประตูผีตามภาพซ้าย

ดูแล้วลองท่านคิดสักนิด     ผมเพียงแต่สงสัยประตูผีกับวัดเทพธิดาราม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 18:44
ประตูผี

สีเหลืองคือแนวถนนบำรุงเมืองที่ผ่านหน้าวิหารวัดสุทัศน์
มาทะลุประตูผี ออกตามแนวถนนไปนอกเมือง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 19:22
คุณวราห์ โรจนวิภาต เขียนเรื่อง ยํ้ารอยอดีตคลองบางหลวง  ท่านมีความจำแม่น
อ่านดูครับสนุกดี    สำหรับคนชอบความหลัง มีสองตอน

http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=188 (http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=188)
http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=189 (http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=189)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 พ.ค. 15, 19:55
ประตูผี

สีเหลืองคือแนวถนนบำรุงเมืองที่ผ่านหน้าวิหารวัดสุทัศน์
มาทะลุประตูผี ออกตามแนวถนนไปนอกเมือง

วัดสระเกศแต่เดิมนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติทำเมรุปูนขึ้นที่หลังหนึ่ง  โดยมีพระราชดำริว่าให้เมรุปูนนี้ เป็นที่สำหรับพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย และศพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนชาวไทยชาวชาวต่างประเทศที่ต้องการ  และให้มีพลับพลาสำหรับเสด็จมาพระราชทานเพลิงศพด้วย แต่เมรุปูนที่ว่าก็ใช้งานหนักมาก พอถึงรัชกาลที่ ๔ ก็ชำรุดทรุดโทรม ปล่อยให้หลังคาเป็นที่เกาะอาศัยของฝูงแร้งไป   

ในรัชกาลที่ ๕ จึงมีการบูรณะเมรุปูนวัดสระเกศขึ้นใหม่อย่างประณีต มีทั้ง โรงธรรม โรงครัว โรงมหรสพ ตลอดจนพุ่มกัลปพฤกษ์ และระทา ซึ่งเป็นหอสูงทรงสี่เหลี่ยมเรียงกัน ๖ หอตามภาพ สำหรับจุดดอกไม้ไฟงานศพ

เมื่อเข้าหน้าแล้งหมดฝนแล้ว เจ้าภาพที่มีฐานะจะนำศพที่เก็บไว้ที่บ้านออกมากระทำฌาปนกิจ  เรียกว่าออกเมรุ เป็นการจัดงานที่ถือว่าเพื่อจะปลดเปลื้องทุกข์ หลังจากที่ไว้ทุกข์มานมนานแรมเดือนแรมปี  ลมฟ้าอากาศก็สบายๆไร้ฝน สะดวกทั้งเจ้าภาพและแขกเหรื่อที่จะมาร่วมงาน รวมทั้งชาวบ้านชาวช่องที่จะมาชมมหรสพ  เมรุปูนวัดสระเกศจึงถือเป็นบันเทิงสถานของคนกรุงเทพในสมัยนั้น  มีฉายาว่า “วิกเมรุปูน” เวลามีงานศพคนใหญ่คนโต ก็จะมีการละเล่นโขน ลิเก ละคร หุ่นกระบอก  และมีออกร้านขายของกินของใช้ให้กับผู้คน  สนุกครึกครื้นเช่นเดียวกับงานวัด

ประตูเมืองตรงนั้นเลยเปลี่ยนชื่อเป็นประตูสำราญราษฎร์  เพราะเป็นที่เข้าออกของคนเมืองไปดูมหรสพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 พ.ค. 15, 19:59
แต่ประตูสำราญราษฎร์จะเป็นช่องทางที่คนกรุงเอาศพออกไป ที่เรียกว่าประตูผีนั้นหรือไม่ ยังไม่แน่ใจครับ แต่ไม่เป็นไร เชิญเดินกระทู้ต่อไปเรื่อยๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 20:35
แต่ประตูสำราญราษฎร์จะเป็นช่องทางที่คนกรุงเอาศพออกไป ที่เรียกว่าประตูผีนั้นหรือไม่ ยังไม่แน่ใจครับ แต่ไม่เป็นไร เชิญเดินกระทู้ต่อไปเรื่อยๆ

อาจารย์ NAVARAT.C  ครับ เรื่องชื่อนี้ยังไม่มีคำตอบสุดท้าย

เมื่อประมวลข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายคงจะได้คำตอบ

หรือไม่อาจไปในทิศตรงข้ามคือข้อมูลที่เรารวบรวมไม่ถูกต้อง 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ค. 15, 20:42
อาจารย์ ครับ     



จบกิฬาแล้วจะเปิดดูหนังสืออาจารย์ ชัย เรืองศิลป์
ท่านจะเขียนถึงเรื่องนี้หรือไม่  เขียนอย่างไร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 15, 07:21
อาจารย์ชัย เรืองศิลป์ ไม่ได้พูดถึงประตูผีเลยในหนังสือประวัติศาสตร์ ด้านสังคม
แต่เขียนเรืองไฟ้ไหม้ท่าเตียน (มัวไปหน่อย)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 15, 07:22
อาจารย์ ส พลายน้อย เขียนว่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 15, 07:27
ในภาพนิ่งมีการเคลื่อนไหว



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 15, 07:32
สองภาพที่ถ่ายจากจุดเดียวกัน จากบนสะพานผ่านฟ้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 พ.ค. 15, 08:26
ผมก็ออกจะเอนเอียงไปในทางว่าประตูที่สำราญราษฎร์เป็นประตูผีแหละครับ  เพียงมีคำถามว่าแต่ก่อนในสมัยรัชกาลต้นๆของรัตนโกสินทร์ มาจนถึงสมัยตัดถนนบำรุงเมืองนั้น ประตูนี้มีชื่อในทางราชการว่ากระไร เพราะอาจจะเป็นเพียงประตูช่องกุดเล็กๆ ให้พอจะนำศพผ่านออกไปได้เฉยๆ แล้วก็เรียกประตูผีนี่แหละ แต่มิใช่เป็นประตูเมืองหลักทางทิศตะวันออก ประเภทที่มีเครื่องยอดหลังคาสูง เช่นประตูสามยอด หรือยอดเดียวประตูอื่นๆ

พอตัดถนนบำรุงเมือง ก็ทะลายช่องกุดหรือประตูผีเป็นถนน ผ่านป่าช้าวัดสระเกศไปทางแยกแม้นศรี โดยวัดและเมรุปูนอยู่คนซีกถนนกัน ตอนนี้คำว่าแยกสำราญราษฎร์จึงเกิดขึ้น  ไปๆมาๆประตูช่องกุดที่เคยเรียกว่าประตูผีเลยถูกอ้างอิงว่า แต่ก่อนชื่อประตูสำราญราษฎร์ โดยคนสมัยหลังไปเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ค. 15, 20:14
วังวินด์เซอร์ หรือที่รู้จักในชื่อ วังประทุมวัน, วังกลางทุ่ง หรือ วังใหม่
เป็นวังที่สร้างขึ้นโดยพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่จะพระราชทานเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมารองค์แรกแห่งสยามประเทศ
ตั้งอยู่บริเวณทุ่งประทุมวัน กรุงเทพมหานคร (คือ สนามศุภชลาศัย ปัจจุบัน)

ชาวต่างประเทศ ณ ราชกรีฑาสโมสรพบเห็นพระตำหนักแห่งนี้
จึงเรียกตามพระราชวังที่ลักษณะคล้ายกันว่า "วังวินด์เซอร์" หรือที่มาจากพระราชวังวินด์เซอร์ ณ สหราชอาณาจักร

การก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2424 ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอังกฤษ โดยนำแบบของพระราชวังวินด์เซอร์แห่งสหราชอาณาจักรมาย่อส่วน
หากทว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หาได้เสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้แต่อย่างใด
ด้วยเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2437

เมื่อมีการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นในปี พ.ศ. 2459
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชวังนี้รวมทั้งพื้นที่โดยรอบเป็นสมบัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเคยใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวิทยาเขตประทุมวันก่อนการก่อสร้างอาคารบัญชาการ

ในช่วงปี พ.ศ. 2478 นาวาโท หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาในขณะนั้นดำริที่จะจัดสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติขึ้น
จึงได้พิจารณาเช่าที่ดินบริเวณพระตำหนักหอวัง และได้ทำการรื้อถอนพระตำหนักหลังนี้ ปี 2479
รวมถึงอาคารหอพักนิสิตโดยรอบ การก่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติแล้วเสร็จในราวปี พ.ศ. 2481
ซึ่งได้ใช้เป็นที่ทำการสอนของโรงเรียนพลศึกษากลางและกรมพลศึกษา

วังนี้ควรจะได้ตั้งอยู่จนถึงปัจจุบันเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นได้ใช้
แต่ไม่เป็นอย่างนั้น น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

นิสิตรุ่นเก่าของจุฬาฯ(รวมทั้งมัธยมหอวัง)บางรุ่นได้เรียน ได้อยู่พักอาศัยเป็นหอ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ค. 15, 07:17
ถนนบำรุงเมืองที่ตรงแน่ว สุดปลายทางคือประตูสำราญราษฏร์ เห็นลิบๆ
เสาชิงช้ายังอยู่ที่หน้าโบสถ์พราหม ไม่ได้ย้ายมาที่กลางถนน

ตอนต้นเดือน ธันวาคม 2413ทางการรื้อบ้านเรือนริมถนนบำรุงเมือง
แก้ถนนให้ตรง แล้วสร้างตึกแถวสองชั้นทั้งสองฟากขึ้นใหม่
แสดงว่าถ่ายในสมัย ร 5   ก่อนจะย้ายเสาชิงช้า  

เมื่อขึ้นไปภูเขาทอง มองย้อนกลับมา
จะเห็นเสาชิงช้าอยู่หน้าโบสถ์พราหม(วงกลมแดง)
ใกล้ล่างของภาพเป็นประตูช่องกุด เป็นกรอบสี่เหลี่ยมยอดตัด ไม่มียอดซุ้มแหลมหรือหอรบข้างบนแต่อย่างไร
ที่เป็นยอดแหลมข้างขวาของช่องกุดคือประตูวัดเทพธิดาราม เป็นซุ้มยอดแหลม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ค. 15, 07:32
ป้อมพระสุเมรุ

ภาพแรกดูจะไม่เก่าเท่าไหร่ แท้จริงแล้วเก่า
เพราะรถเข็นที่จอดข้างอยู่ข้างเห็นได้ใน
ภาพถ่ายที่สอง ซึ่งถ่ายก่อนปี 2451
ภาพทั้งสองบันทึกในเวลาใกล้กัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 พ.ค. 15, 07:53
ถนนบำรุงเมืองที่ตรงแน่ว สุดปลายทางคือประตูสำราญราษฏร์ เห็นลิบๆ
เสาชิงช้ายังอยู่ที่หน้าโบสถ์พราหม ไม่ได้ย้ายมาที่กลางถนน

ตอนต้นเดือน ธันวาคม 2413ทางการรื้อบ้านเรือนริมถนนบำรุงเมือง
แก้ถนนให้ตรง แล้วสร้างตึกแถวสองชั้นทั้งสองฟากขึ้นใหม่
แสดงว่าถ่ายในสมัย ร 5   ก่อนจะย้ายเสาชิงช้า  

เมื่อขึ้นไปภูเขาทอง มองย้อนกลับมา
จะเห็นเสาชิงช้าอยู่หน้าโบสถ์พราหม(วงกลมแดง)
ใกล้ล่างของภาพเป็นประตูช่องกุด เป็นกรอบสี่เหลี่ยมยอดตัด ไม่มียอดซุ้มแหลมหรือหอรบข้างบนแต่อย่างไร
ที่เป็นยอดแหลมข้างขวาของช่องกุดคือประตูวัดเทพธิดาราม เป็นซุ้มยอดแหลม
ขอบคุณมากครับ ภาพถ่ายเป็นหลักฐานที่ประเสริฐกว่าข้อมูลทั้งปวง ทำให้หายสับสนได้มาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ค. 15, 10:34
ถนนบำรุงเมืองที่ตรงแน่ว สุดปลายทางคือประตูสำราญราษฏร์ เห็นลิบๆ
เสาชิงช้ายังอยู่ที่หน้าโบสถ์พราหม ไม่ได้ย้ายมาที่กลางถนน

ตอนต้นเดือน ธันวาคม 2413ทางการรื้อบ้านเรือนริมถนนบำรุงเมือง
แก้ถนนให้ตรง แล้วสร้างตึกแถวสองชั้นทั้งสองฟากขึ้นใหม่
แสดงว่าถ่ายในสมัย ร 5   ก่อนจะย้ายเสาชิงช้า  

เมื่อขึ้นไปภูเขาทอง มองย้อนกลับมา
จะเห็นเสาชิงช้าอยู่หน้าโบสถ์พราหม(วงกลมแดง)
ใกล้ล่างของภาพเป็นประตูช่องกุด เป็นกรอบสี่เหลี่ยมยอดตัด ไม่มียอดซุ้มแหลมหรือหอรบข้างบนแต่อย่างไร
ที่เป็นยอดแหลมข้างขวาของช่องกุดคือประตูวัดเทพธิดาราม เป็นซุ้มยอดแหลม
ขอบคุณมากครับ ภาพถ่ายเป็นหลักฐานที่ประเสริฐกว่าข้อมูลทั้งปวง ทำให้หายสับสนได้มาก

อาจารย์  NAVARAT.C ครับ
ภาพมันหลอกไม่ได้ ภาพหนึ่งๆ อย่างที่รู้แทนคำบรรยายได้หลายคำ
จะพยายามเอาภาพลงโดยไม่ลดคุณภาพ(ในขนาด 250 กิโลไบท์)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ค. 15, 15:50
วัดอนงคาราม วรวิหาร มีชื่อเดิมคือวัดน้อยขำแถม เป็นชื่อท่านผู้หญิงน้อย
ซึ่งเป็นภรรยาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย
เป็นผู้สร้างขึ้นคู่กันกับวัดพิชัยญาติแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ 3
ส่วนคำว่าขำแถมนั้นมีเพิ่มเติมมาจากนามเดิมของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ) ซึ่งเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้
ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 วัดนี้ก็ได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดอนงคารามอย่างในปัจจุบัน

พระอุโบสถที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ช่อฟ้า ใบระกาลงรักประดับกระจก
หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่างก็มีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม
มีพระพุทธรูปสำคัญอย่างพระพุทธจุลนาคซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย เป็นพระประธานในพระวิหาร
และมีพระพุทธรูปพระสาวกหล่อด้วยโลหะปิดทองยืนอยู่ด้านซ้ายขวา
อีกทั้งด้านหน้าพระประธานยังมีพระพุทธมังคโล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิตั้งอยู่ด้านหน้าอีกด้วย

ชุดนี้ภาพไม่ชัด  เขียนบรรยายว่าคลองสาพิท 
บางคลองเป็นคลองสมเด็จเจ้าพระยา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ค. 15, 15:54
คลองที่พาดขวางซ้ายขวาคือคลองสมเด็จ ทางซ้ายไปออกคลองบางหลวง
ส่วนคลองที่ตรงไปข้างหน้าออกแม่นํ้าเจ้าพระยา
มีสะพานหกที่เรียกว่าสะพานหกวัดพิชยญาติการาม

ภาพนี้ยืนถ่ายภาพที่วัดพิชยญาติการาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ค. 15, 15:58
คลองพวกนี้แต่เดิมตามรูปกว้างมากเรือเมล์ยาวยี่สิบเมตรวิ่งเข้ามาได้สบาย
ตามประวัติขุดเพื่อใช้ในการสร้างวัด พิชยญาติการาม
ปัจจุบันคงตื้นเขิน หรือถูกถม หมดสภาพไปแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ค. 15, 17:50
เอาภาพเก่ามาดูอีกครั้ง

ภาพที่สองเมื่อมองสวนทางกับภาพแรก
ภาพที่สองปี พศ.2428 ต่างสมัยกันพอสมควร
คลองในภาพหลังที่บรรยายในภาพโปสการ์ด เขียนว่าคลองสมเด็จฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 พ.ค. 15, 19:05
เสาปูนสำหรับไว้ประทีบสวยมาก มีลักษณะเดียวกันนี้ที่เหลืออยู่ที่องค์พระปฐมเจดีย์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ค. 15, 10:46
เสาปูนสำหรับไว้ประทีบสวยมาก มีลักษณะเดียวกันนี้ที่เหลืออยู่ที่องค์พระปฐมเจดีย์
ขอบคุณครับ
เราต้องจิตสำนึกในการอนุรักษ์
ไม่ใช่เอาอย่างง่ายๆโดยการรื้อทิ้งอย่างเดียว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ค. 15, 11:05
ในงานเฉลิมพระชนมพรรษา  พศ 2437
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
พระราชทานให้เจ้าพนักงานกระทรวงโยธาธิการ
ไปสร้างสะพานข้ามคลองบางขุนพรหม  ที่ถนนสามเสน
พระราชทานนามว่า ตะพานเฉลิม 42  

นับเป็นสะพานแรกที่สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

ทำพิธีเปิดเมื่อ วันที่ 22 กันยายน 2437
เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯมีพระชนมายุครบ 42 ปี

(ต่อมาเรียกชื่อว่า สะพานเฉลิมศรี 42)

หลังจากนั้นท่านสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างสะพานทุกปี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ค. 15, 11:15
สะพานเฉลิมที่ใหญ่ที่สุดมีสองสะพานคือ สะพานเฉลิมโลก 55 กับสะพานเฉลิมหล้า 56(สะพานหัวช้าง)

สะพานเฉลิมโลก 55 นั้น
"ว่าจ้างเหมานายช่างฝรั่งเศสผู้ชำนาญให้ทำอย่างมั่นคง
โดยวิธีที่เรียกว่าเฟโรกองกริด  ซึ่งยังมิได้เคยทำเลยในกรุงเทพ.....
ได้เริ่มลงมือทำมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม รัตนโกสินทร์ศก 117 นี้ถึงว่าพระราชประสงค์ได้แล้ว"

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จมาประกอบพิธีเปิดสะพานแห่งนี้
เมื่อวันที 21 พฤศจิกายน พศ.2451
อันเป็นวันมหามงคลที่เสด็จดำรงศิริราชสมบัติมาครบ 40 ปี

ตามภาพคนทางซ้าย ที่ยืนอ่านรายงานคือเจ้าพระยายมราช


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ค. 15, 11:24
ภาพทางอากาศสะพานเฉลิมโลก เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2489



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ค. 15, 12:08
ข้างล่างภาพเขียนว่า เวนิซ แห่งตะวันออก
ในภาพ  ดูเหมือนจะซบเซาเงียบเหงา

สะพานหันยังเป็นที่นิยมเรื่อยมา
ตั้งแต่สมัย ร๖  จนหลังสงครามโลก
แล้วสุดท้าย ในปี ๒๕๐๕ ได้รื้อสะพานหันลง เหลือแต่ภาพเก่า

อันล่างเป็นโปสการ์ด น่าจะสมัยเดียวกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 พ.ค. 15, 07:38
ขอย้อนกลับไปเมื่อวานอีกครั้ง เพราะความไม่รอบคอบของผมเอง

มีภาพเดิมที่เอามาทำโปสการ์ด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 พ.ค. 15, 08:57
ถนนสีลมเมื่อปี พศ 2493
ร้านสีลมโฆษณาสมาชิกของเราบางคนชี้ว่าอยู่ปากถนนมเหศักดิ์

ภาพนี้คือถนนมเหศักดิ์ตัดกับถนนสีลม

ถนนสีลมเห็นอยู่ไกลๆ  มีรถราง รถเมล์ มีคลองอยู่ทิศเหนือ 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 พ.ค. 15, 08:59
แถมภาพโคลสอัพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 พ.ค. 15, 12:54
http://youtu.be/J5dQdujL59Q (http://youtu.be/J5dQdujL59Q)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 พ.ค. 15, 09:14
วันนี้ขอแบบขายผ้าเอาหน้ารอดสักวัน
เป็นเรื่องเก่าที่เคยลงในเรือนไทยมาแล้ว

เรื่องนํ้าท่วมปี ๒๔๘๕  เป็นครั้งที่ ๗ ในยุครัตนโกสินทร์
ก่อนหน้าครั้งนี้  คือนํ้าท่วมปีมะเส็ง พศ ๒๔๖๐  เป็นครั้งที่ท่วมสูงมาก
แต่ในปี ๒๔๘๕ นํ้าท่วมสูงกว่าปี ๒๔๖๐ ถึงสองเท่า และท่วมอยู่เป็นระยะนานกว่า

นํ้าเริ่มหลากลงมาจากทางเหนือก่อนเหมือนปัจจุบันนี้
ทางรถไฟสายเหนือขาดเป็นช่วงๆ  พอปลายเดือนกันยายนนํ้าเข้ามาถึงกรุงเทพ สูงประมาณคืบ
แรกๆรถราสามล้อยังวิ่งได้  พอต่อมานํ้าสูงมากขึ้น ต้องประกาศหยุดโรงเรียน
นํ้าในบางที่สูงกว่าเมตร แถวดอนเมืองที่จัดว่าเป็นที่สูงนํ้าท่วมประมาณ ๑ เมตร
ที่หน้ากองรังวัดที่ดินธนบุรี นํ้าสูง ๒.๒๗ เมตร

ระยะนี้อยู่ในระหว่างสงครามพอดีแต่คนไทยไม่ทุกข์ยาก
ยังพายเรือออกมาเที่ยวเตร่กันเป็นที่สนุกสนาน

นํ้าเริ่มลดตอนสิ้นเดือนตุลาคม จนถึงกลางเดือนพฤศจิกายนนํ้าถึงแห้งสนิท

(ภาพอาจจะใหญ่ไปผมไม่อยากลดขนาด)
ภาพที่สามข้างศาลอาญาเห็นเจดีย์วัดบูรณศิริมาตยาราม


                                                                                                                                                                                                              


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 พ.ค. 15, 09:17
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 พ.ค. 15, 09:19
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 พ.ค. 15, 09:30
สะพานข้ามคลองมหานาค สองรูปเอามาเปรียบเทียบกัน
สะพานรูปร่างอย่างนี้คงเป็นแบบ TYPICAL สำหรับกรุงเทพในสมัยแรก ร๑-ร๓
อย่างสะพานตรงประตูพฤฒิบาศเป็นอย่างนี้แล้วค่อยพัฒนาขึ้น

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรามีสะพานป่าถ่าน ที่ก่อด้วยอิฐแล้ว(อาจเฉพาะตอหม้อ)พื้นจะเป็นอิฐหินหรือเปล่า?

รูปที่สองจากหนังสือโฟเนโร ปี พศ ๒๔๓๗


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 15 พ.ค. 15, 12:46
รูปล่างเหมือนงาน outdoor sketch ตอนเรียนปี๑ นะครับ อาจารย์NAVARAT C.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 พ.ค. 15, 20:25
รูปล่างเหมือนงาน outdoor sketch ตอนเรียนปี๑ นะครับ อาจารย์NAVARAT C.
คุณ Jalito จบสถาปัตย์ฯ
เพื่อนผมคนหนึ่ง จบที่จุฬาฯ วาดการ์ตูนเก่ง
ทำหนังสืออ่านกันในห้องตอนมัธยมต้น
แกตีช่องในกระดาษแล้ววาดด้วยปากกาหมึกซึม ไม่ต้องร่าง
ตอนนี้อยู่สิงคโปร์ ไปตั้งแต่จบใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 พ.ค. 15, 20:42
รูปล่างเหมือนงาน outdoor sketch ตอนเรียนปี๑ นะครับ อาจารย์NAVARAT C.

ครับ สมัยผมอาจารย์พาเดินข้ามถนนไปวาดในสลัมหน้าจุฬา เดี๋ยวนี้พัฒนาเป็นคณะคุรุศาสตร์และนิเทศศาสตร์ไปหมดแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 พ.ค. 15, 21:12
ถนนบ้านหม้อ
(อาจจะเป็น)ท่านขุนกำลังเดินนำศรีภรรยาไปไหนก็ไม่รู้
ข้างๆมีร้านแผงลอยเตี้ยขายของ มีเก้าอี้เล็กไว้บริการลูกค้า
ถัดไปด้านหลังมีถนนที่ตัดขวาง ที่กว้างพอกัน

กลางถนนมีรถม้ากำลังวิ่งห่างไป
ส่วนรถลากสองคันกำลังหันเลี้ยวโค้งไปอีกถนนหนึ่ง

ประชาชนรอบบริเวณทำกิจกรรมของตนต่างๆกันไป
บรรยากาศคึกคักพอสมควร เป็นกรุงเทพที่น่าอยู่อาศัย

เวลาน่าจะเป็นตอนสายๆหรือบ่ายแก่เพราะแดดกำลังส่องแรงจนร้านค้าต้องขึงผ้ากันแดด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 15, 09:20
คำว่าเมรุหรือสุเมรุหมายถึงภูเขากลางจักรวาลอันเป็นที่อยู่ของพระอินทร์
ต่อมาใช้เรียกที่เผาศพซึ่งมีหลังคา มียอด มีรั้วรอบว่าเมรุ

ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีเมรุแบบใหม่เกิดขึ้นเรียกว่าเมรุปูน
โดยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงพระราชดำริสร้าง
เมรุปูนขึ้นที่วัดสุวรรณาราม บางกอกน้อย เป็นครั้งแรก
ต่อมาได้สร้างถวายวังหลวงที่วัดอรุณฯ อีกแห่ง

เพื่อเป็นที่ปลงศพของผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นรองๆที่จำเป็นต้องทำเมรุกลางเมือง

ถึงสมัย ร ๓ พระนั่งเกล้าฯโปรดให้พระยาพิพัฒน์รัตนราชโกษา(ทัด บุนนาค)
ทำเมรุปูนเพิ่มอีกแห่ง"ให้ทำเมรุมีพลับพลา  โรงครัว  ระทาดอกไม้ ไว้พร้อมทุกสิ่งสำหรับเป็นทาน"

สมเด็จกรมดำรงฯกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
"เมรุปูนที่วัดสระเกศทำวิจิตรพิศดารกว่าที่วัดสุวรรณารามและวัดอรุณ
ดูเหมือนจะให้ปลงถึงชั้นเจ้านายและเสนาบดี
มีทั้งโรงครัว โรงหุ่น โรงโขน รัดทาจุดดอกไม้เพลิง
ที่สุดพุ่มกัลปพฤกษ์ล้วนก่ออิฐถือปูน
บรรดาอุปกรณ์ที่จำเป็นแก่การปลงศพผูมีบรรดาศักดิ์สูงสร้างไว้ครบถ้วน
ยังสร้างโรงทึมปูนขึ้นอีกแห่งใกล้กัน สำหรับปลงศพชั้นบรรดาศักดิ์ตํ่าลงมา

เมรุปูนวัดสระเกศอยู่มาอีกนาน
ในปี 2466 นิราศพระบาทจำลองยังเขียนถึง

"ที่เมรุใหญ่ใกล้ถนนหนทางรถ
ยังปรากฎคิดไปฤทัยหวน
แต่ก่อนนั้นหลายหลากมากกระบวน
มีครบถ้วนฉันได้เห็นที่เป็นมา
ตามแบบแผนเมรุที่นี่ก็มีมาก
รื้อออกจากตรงนี้มีหนักหนา
ทั้งโรงโขนโรงหุ่นช่องระทา
มิใช่ว่าเมรุตั้งอยู่หลังเดียว"

เมรุวัดสระเกศ พศ 2434
ถนนเส้นขาวที่วิ่งขนานและอยู่ด้านหลังเมรุ คือถนนบำรุงเมืองสร้างราวปี 2404


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 15, 09:27
เมรุปูนหลังใหญ่หลังคามีสามชั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 15, 09:28
เมรุเล็กหลังคามีสองชั้น

สังเกตุภาพแรก ระทาจะอยู่ทางเมรุเล็ก
ในภาพนี้ตัวระทาหายไปหมด (กลับไปอยู่ทางเมรุใหญ่)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 15, 09:34
ถึงปัญหาและคำถาม

เมรุปูนตามรูปนี้ที่เคยบอกกันว่าอยู่ที่วัดสระเกศ
ทำไมเราไม่เคยเห็นภาพในแนวกว้างของวัดสระเกศที่มีเมรุนี้ตั้งอยู่
เห็นแต่เมรุที่มีหลังคาคลุมออกมากว้างๆ
มีแต่แร้งอยู่มากเป็นข้อสังเกตุว่าอาจอยู่ที่วัดสระเกศ

-เมรุนี้อยูที่วัดสระเกศจริงไหม
อยู่ที่วัดสุวรรณารามหรือวัดอรุณได้ไหม?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 พ.ค. 15, 11:24
ถึงปัญหาและคำถาม

เมรุปูนตามรูปนี้ที่เคยบอกกันว่าอยู่ที่วัดสระเกศ
ทำไมเราไม่เคยเห็นภาพในแนวกว้างของวัดสระเกศที่มีเมรุนี้ตั้งอยู่
เห็นแต่เมรุที่มีหลังคาคลุมออกมากว้างๆ
มีแต่แร้งอยู่มากเป็นข้อสังเกตุว่าอาจอยู่ที่วัดสระเกศ

-เมรุนี้อยูที่วัดสระเกศจริงไหม
อยู่ที่วัดสุวรรณารามหรือวัดอรุณได้ไหม?

ไม่ได้บอกว่าเมรุปูนในภาพคือเมรุปูนที่วัดสระเกศ แต่จะเรียนว่าทีวัดสระเกศมีเมรุปูน ๒ แห่งครับ แห่งแรกอยู่ทางด้านทิศใต้ ข้างถนนบำรุงเมือง ปัจจุบัน คือ บริเวณวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร และอีกแห่งหนึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือ ด้านคลองมหานาค ตามหนังสือระบุว่าอยู่เชิงบรมบรรพตวัดสระเกศครับ รื้อถอนไปแต่ปีใด ไม่มีข้อมุลครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 15, 11:36
หวัดดีครับลุงไก่ ผมยังไม่หายสงสัยอยู่ดี

ตามแผนที่ น่าจะเป็นปี 2450
เมรุอยู่ด้านนอกมีถนนบำรุงเมืองคั่นกับตัววัดและบรมบรรพต
ภาพไม่ชัด ได้เศษแผนที่มาจากเวปไซท์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 พ.ค. 15, 11:40
ถนนบ้านหม้อ
(อาจจะเป็น)ท่านขุนกำลังเดินนำศรีภรรยาไปไหนก็ไม่รู้
ข้างๆมีร้านแผงลอยเตี้ยขายของ มีเก้าอี้เล็กไว้บริการลูกค้า
ถัดไปด้านหลังมีถนนที่ตัดขวาง ที่กว้างพอกัน

กลางถนนมีรถม้ากำลังวิ่งห่างไป
ส่วนรถลากสองคันกำลังหันเลี้ยวโค้งไปอีกถนนหนึ่ง

ประชาชนรอบบริเวณทำกิจกรรมของตนต่างๆกันไป
บรรยากาศคึกคักพอสมควร เป็นกรุงเทพที่น่าอยู่อาศัย

เวลาน่าจะเป็นตอนสายๆหรือบ่ายแก่เพราะแดดกำลังส่องแรงจนร้านค้าต้องขึงผ้ากันแดด

ตามภาพเป็นเวลาเช้าครับ เพราะเงาทอดไปทางขวาของภาพ ถนนที่พาดขวางทางขวาคือถนนพระพิพิธ ทางซ้ายคือถนนพาหุรัด มองตรงไปคือไปทางปากคลองตลาด ถนนท่าโรงยา
ผมเข้าใจว่าคุณหลวงท่านกำลังเดินไปที่ทำงานครับ เพราะทิศทางที่ท่านเดินไปคือสี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปคือวัดราชบพิธและกระทรวงมหาดไทย ต้องผ่านหน้าโรงพิมพ์ของ กศร กุหลาบด้วย

เปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 16 พ.ค. 15, 11:49
เมรุปูนตามภาพในวงกลมล่าว คือเมรุปูนตามความเห็น ๑๐๑๒-๑๐๑๔ คือที่เป็นวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร ริมถนนบำรุงเมืองปัจจุบัน
ส่วนเมรุปูนตามวงกลมด้านบนของภาพ ผมยังหาภาพที่ตัวเองมีอยู่ไม่พบ คงต้องรอหนุ่มสยามณล นำมาแสดงหละครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 15, 12:01
ถนนบ้านหม้อ
(อาจจะเป็น)ท่านขุนกำลังเดินนำศรีภรรยาไปไหนก็ไม่รู้
ข้างๆมีร้านแผงลอยเตี้ยขายของ มีเก้าอี้เล็กไว้บริการลูกค้า
ถัดไปด้านหลังมีถนนที่ตัดขวาง ที่กว้างพอกัน

กลางถนนมีรถม้ากำลังวิ่งห่างไป
ส่วนรถลากสองคันกำลังหันเลี้ยวโค้งไปอีกถนนหนึ่ง

ประชาชนรอบบริเวณทำกิจกรรมของตนต่างๆกันไป
บรรยากาศคึกคักพอสมควร เป็นกรุงเทพที่น่าอยู่อาศัย

เวลาน่าจะเป็นตอนสายๆหรือบ่ายแก่เพราะแดดกำลังส่องแรงจนร้านค้าต้องขึงผ้ากันแดด

ตามภาพเป็นเวลาเช้าครับ เพราะเงาทอดไปทางขวาของภาพ ถนนที่พาดขวางทางขวาคือถนนพระพิพิธ ทางซ้ายคือถนนพาหุรัด มองตรงไปคือไปทางปากคลองตลาด ถนนท่าโรงยา
ผมเข้าใจว่าคุณหลวงท่านกำลังเดินไปที่ทำงานครับ เพราะทิศทางที่ท่านเดินไปคือสี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปคือวัดราชบพิธและกระทรวงมหาดไทย ต้องผ่านหน้าโรงพิมพ์ของ กศร กุหลาบด้วย

เปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบัน

ขอบคุณครับสำหรับความกระจ่าง ไม่รู้ว่าจะจำได้ไหม แต่เซฟไว้แล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 15, 14:08
แวะที่ วัดสระเกศแล้วต้องไปดูแร้ง

จากหนังสือ siam on the meinam


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ค. 15, 14:51
ภาพ  ถนนบ้านหม้อ    อยู่ในหนังสือของ สตีฟ แวน บีค
เล่มใหม่ล่าสุดผมก็มี แต่เหมือนกั๊กไว้ภาพไม่ค่อยชัด ครอปเล็กลง ขนาดก็เล็ก
ภาพแรกเหมือนในหนังสือทุกอย่าง


ภาพเดิมมันกว้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 พ.ค. 15, 08:08
ภาพร้านสีลมโฆษณาที่ริมถนนสีลม
มีผู้ถ่ายอยู่สองคน เป็นช่างภาพระดับสุดยอดทั้งคู่
สังเกตุป้ายหน้าร้านไม่เหมือนกัน  เป็นการเปลี่ยนในช่วงเวลาสองปี
อยากรู้ว่าใครเป็นเจ้าของร้าน

คนแรกคือ Jack Birns
ไลฟ์ ส่งไปทำข่าวสงครามกลางเมืองที่ประเทศจีน
ช่วง ประมาณ พศ 2490 ---
พอเดือนสิงหาคม พศ 2491 เข้ามาในเมืองไทย เก็บภาพร้านสีลมโฆษณา
มาถ่ายภาพอย่างอื่นไว้พอสมควร เช่นสนามมวยราชดำเนิน
รูปที่หนึ่ง

คนที่สองคือ Dmitri Kessel  
มาเมืองไทยประมาณเดือนมีนาคม 2493
มาทำข่าวงานพระเมรุมาศ   พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  
ถ่ายภาพไว้มากเช่นตลาดนํ้า ภาพทางอากาศของกรุงเทพที่สวยงาม
รูปที่สอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 พ.ค. 15, 08:40
บ้านเดิมของเจ้าสัวยม หลวงสาทรราชายุทธ  ผู้ขุดคลองสาทร
อยู่ตรงหัวถนนสาทร

ถ่ายโดย แจ๊ค เบิร์น

หลังจากผู้บริหารคนสุดท้ายของตระกูลพิศลยบุตร
คือหลวงจิตรจำนงวานิช(ถมยา รงควนิช)ลูกเขยหลวงสาทรราชายุทธ
โดนเจ้าหนี้ยึดทรัพย์
บ้านหลังนี้เปลี่ยนเจ้าของเป็นสถานทูตรัสเซีย
ต่อมาปรับเป็นโรงแรม(ตามรูป) ดูด้านหน้าเหมือนจะเล็ก
พอเห็นรูปด้านข้างเป็นบ้านที่ใหญ่โต  มีอาคารด้านหลังเข้าไปข้างในอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 พ.ค. 15, 12:31
เคยนำภาพถนนสีลมสามภาพมาให้ดู
มีป้ายโรงเรียนอ่านไม่ได้อยู่ภาพหนึ่ง

เป็นภาพที่นาย แจ๊ค เบอร์นส ถ่ายไว้

แสดงว่าเป็นเดือนสิงหาคม 2491
คุณกะออมเคยสงสัยว่าจะเป็นโรงเรียนศึกษาวิทยา

ไปดูกันว่าโรงเรียนมีชื่อว่าอะไร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 พ.ค. 15, 07:50
ภาพสถานทูตอเมริกัน ค.ศ. 1930


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 พ.ค. 15, 07:56
ห้างนิวเวิล์ดบางลำพูกำลังก่อสร้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ค. 15, 09:17
ห้างนิวเวิล์ดบางลำพูกำลังก่อสร้าง
ขอบคุณครับ นานๆจะได้ดูภาพสี สดใสขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ค. 15, 10:29
พระยาพิพัฒน์โกษา หรือนายเซเรสติโน ซาเวียร์ เกิดที่กรุงเทพ
บิดาชื่อหลุยส์ ซาเวียร์  บิดาส่งไปเรียนหนังสือที่อังกฤษ
หลังจากสำเร็จการศึกษาได้ทำงานช่วยคณะผู้แทนไทยประจำกรุงปารีส
ก่อนจะกลับมารับราชการในประเทศไทย ด้วยพื้นฐานของครอบครัว
และความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษา
ทำให้นายเซเรสติโน ซาเวียร์ เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
มีผลงานเป็นที่พอใจของเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ทั้งในเรื่องราชการการทูตและการค้าระหว่างประเทศ

ท่านยังมีกิจการในธุรกิจส่วนตัว
คือทำธุรกิจที่ดิน มีโรงสีข้าวที่คลองขุดใหม่
ต่อมาเปิดโรงสีข้าวใหม่ชื่อหลุยส์ ซาเวียร์ ขึ้นที่บางปะกอก

ในธุรกิจที่ดินท่านเป็นผู้มีส่วนร่วมในการตัดถนนสี่พระยา
ความสำเร็จของโครงการสี่พระยา
น่าจะเป็นแรงจูงใจให้พระยาพิพัฒน์โกษาหันมาพัฒนาโครงการของตนเองบ้าง
แต่ย้ายทำเลมายังบริเวณพื้นที่ว่างระหว่างถนนสีลมและถนนสาทร
โดยการรวบรวมซื้อและแลกเปลี่ยนที่ดินหลายแปลง
เพื่อเปิดทางหรือตัดถนนเชื่อมต่อกับสีลมและสาทร รวมทั้งถนนเจ้าพระยาสุรศักดิ์ (คอนแวนต์)
ส่วนที่ดินสองข้างถนน แบ่งออกเป็นแปลงๆ
สำหรับลูกค้า คือ บรรดาขุนนาง พ่อค้า คหบดี ทั้งชาวสยามและชาวต่างประเทศ ซื้อไปปลูกบ้านทรงฝรั่งตามสมัยนิยม

พื้นที่บริเวณซอยพิพัฒน์ที่อยู่ระหว่างสองถนน จึงได้รับความเจริญไปพร้อมๆ กัน
ที่สำคัญด้วยขนาดแปลงที่ดินขนาดประมาณ ๑ ไร่
ที่พระยาพิพัฒน์โกษาแบ่งไว้ในอดีต
ทำให้มีพื้นที่เหมาะแก่การพัฒนาที่ดินสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบต่างๆ
(บทความบางส่วนจากอาจารย์บัณฑิต จุลาสัย)

โรงสีหลุยส์ ซาเวียร์ ที่บางปะกอก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 พ.ค. 15, 11:05
ภาพจาก  Twentieth Century Impresson of Siam (http://ia700406.us.archive.org/6/items/twentiethcentury00wrigrich/twentiethcentury00wrigrich.pdf)  หน้า ๑๕๔


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ค. 15, 11:49
ขอบคุณครับคุณเพ็ญชมพู

-------------------------------------------------

วันที่ 2 กรกฏาคม 2476 เปิดโรงหนังเฉลิมกรุง
ฉายปฐมฤกษ์ด้วยหนังฝรั่งเสียงในฟิล์ม เรื่อง "มหาภัยใต้ทะเล"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ค. 15, 12:24
สร้างบริเวณที่เรียกว่าสนามนํ้าจืด
เท่าที่รู้เป็นที่ว่างโล่งๆมีบ่อนํ้าให้ชาวบ้านมาตักไปใช้ได้
เลยเรียกกันว่าสนามนํ้าจืด 
บางทีเปิดการแสดง ละครสัตว์ หรือเปิดเป็นงานสวนสนุก เป็นครั้งคราว

เงินทุนเป็นเงินส่วนพระองค์ของพระปกเกล้าฯจำนวน 9 ล้านบาท

ถ้าสังเกตุจะเห็นตลาดบำเพ็ญบุญกำลังมุงหลังคา อาจจะสร้างระยะเดียวกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 18 พ.ค. 15, 13:16
ถนนบ้านหม้อ
(อาจจะเป็น)ท่านขุนกำลังเดินนำศรีภรรยาไปไหนก็ไม่รู้
ข้างๆมีร้านแผงลอยเตี้ยขายของ มีเก้าอี้เล็กไว้บริการลูกค้า
ถัดไปด้านหลังมีถนนที่ตัดขวาง ที่กว้างพอกัน

กลางถนนมีรถม้ากำลังวิ่งห่างไป
ส่วนรถลากสองคันกำลังหันเลี้ยวโค้งไปอีกถนนหนึ่ง

ประชาชนรอบบริเวณทำกิจกรรมของตนต่างๆกันไป
บรรยากาศคึกคักพอสมควร เป็นกรุงเทพที่น่าอยู่อาศัย

เวลาน่าจะเป็นตอนสายๆหรือบ่ายแก่เพราะแดดกำลังส่องแรงจนร้านค้าต้องขึงผ้ากันแดด

ตามภาพเป็นเวลาเช้าครับ เพราะเงาทอดไปทางขวาของภาพ ถนนที่พาดขวางทางขวาคือถนนพระพิพิธ ทางซ้ายคือถนนพาหุรัด มองตรงไปคือไปทางปากคลองตลาด ถนนท่าโรงยา
ผมเข้าใจว่าคุณหลวงท่านกำลังเดินไปที่ทำงานครับ เพราะทิศทางที่ท่านเดินไปคือสี่กั๊กเสาชิงช้า ตรงไปคือวัดราชบพิธและกระทรวงมหาดไทย ต้องผ่านหน้าโรงพิมพ์ของ กศร กุหลาบด้วย

เปรียบเทียบกับสภาพปัจจุบัน

ขอบคุณครับสำหรับความกระจ่าง ไม่รู้ว่าจะจำได้ไหม แต่เซฟไว้แล้ว

ผิดด้านแล้วค่ะ เวลานั้นเป็นเวลาบ่าย ท่านขุนกำลังเดินไปทางปากคลองตลาด แยกบ้านหม้อด้านซ้ายมือคือถนนพระพิพิธ ด้านขวาไปพาหุรัดค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 พ.ค. 15, 14:30
ผิดด้านแล้วค่ะ เวลานั้นเป็นเวลาบ่าย ท่านขุนกำลังเดินไปทางปากคลองตลาด แยกบ้านหม้อด้านซ้ายมือคือถนนพระพิพิธ ด้านขวาไปพาหุรัดค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ค. 15, 14:42
ว่าอย่างไรว่าตามกัน ผมไม่เคยไปเดินแถวนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ค. 15, 15:25
ในหนังสือ siam then and now มีภาพเปรียบเทียบมุมถนนเหมือนคุณ POJA 

สรุปท่านขุนไปซื้อของจ่ายกับข้าวที่ปากคลองตลาด หรือ อาจจะกลับมาจากที่ทำงาน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 พ.ค. 15, 15:32
เวลานั้นเป็นเวลาบ่าย ท่านขุนกำลังเดินไปทางปากคลองตลาด แยกบ้านหม้อด้านซ้ายมือคือถนนพระพิพิธ ด้านขวาไปพาหุรัดค่ะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=56644;image)

แผนที่ประกอบ  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 พ.ค. 15, 18:07

วันที่ 2 กรกฏาคม 2476 เปิดโรงหนังเฉลิมกรุง
ฉายปฐมฤกษ์ด้วยหนังฝรั่งเสียงในฟิล์ม เรื่อง "มหาภัยใต้ทะเล"

จะเป็นหนังเรื่องนี้ได้หรือไม่   Below the Sea (1933)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ค. 15, 18:35

วันที่ 2 กรกฏาคม 2476 เปิดโรงหนังเฉลิมกรุง
ฉายปฐมฤกษ์ด้วยหนังฝรั่งเสียงในฟิล์ม เรื่อง "มหาภัยใต้ทะเล"

จะเป็นหนังเรื่องนี้ได้หรือไม่   Below the Sea (1933)

อาจารย์ ครับ ยังหาข้อมูลที่ชัดเจนไม่ได้ จะพยายามต่อไป

เบื้องต้นน่าจะใช่เรื่องนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 พ.ค. 15, 11:42
เรื่องบ้านของหลวงสาธรฯ

น่าจะเรียงลำดับอย่างนี้

หลวงสาธรฯ---โรงแรม โฮเต็ลรอแยล---สถานทูตรัสเซีย

(อ่านที่นี่ http://2bangkok.com/luang-sathorn-mansionrussian-embassy-under-renovation.html (http://2bangkok.com/luang-sathorn-mansionrussian-embassy-under-renovation.html))

ภาพแรกเป็นโปสเตอร์ปี 2473 บ้านกลายเป็น hotel royal  แล้ว

ภาพที่สอง เป็นภาพถ่ายปี 2481 ยังเป็น hotel royal

ภาพที่สาม ปี 2491 กำลังปรับปรุง เป็น? สถานทูตรัสเซีย?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 พ.ค. 15, 12:18
ตามหลักฐานในปี 2453 (ปีที่   พระปิยะมหาราช  สวรรคต)

หลวงจิตรจำนงวานิช ลูกเขย และ นางแช่ม ภรรยา ที่เป็นลูกสาวคนโต ของหลวงสาธรฯ มีทรัพย์สินเป็นที่ดิน

-ทีดินและบ้านที่อยู่อาศัย                                                           มูลค่า          400,000  บาท
-ที่ดินปลายถนนสาทร  21000  ตรว (ราคาตลาด ตรว ละ 7 บาท )          มูลค่า          147,000  บาท
-ที่ดินคลองสาทร ห้าแปลง                                                         มูลค่า            94,000  บาท
-ที่ดินและห้องแถว 21 ห้อง  คลองสาทร                                       มูลค่า            32,000   บาท
-ที่ดินและตึกเช่าแห่งหนึ่ง                                                           ราคา            30,000   บาท

นางแช่ม มีที่ดินริมคลองรังสิต อีกจำนวนมาก ลูกสาวท่านบอกว่ามีหลายพันไร่

หลวงจิตรจำนงวานิช เป็นพ่อค้าข้าวรายใหญ่ที่สุดในสมัยท่าน
มีโรงสีตัวเองสองโรง โรงสีถมยา กับ โรงสีลีเช็งชาน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 พ.ค. 15, 14:35
ทิวทัศน์ริมแม่นํ้าสมัย ร ๕
ภาพแรกโดยร้านโรเบิร์ท เลนซ์

ภาพที่สองมุมกว้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 พ.ค. 15, 10:43
ร้านถ่ายรูปเจริญกรุงโฟโตกราฟฟิกสตูดิโอ ร้านของนาย เจ แอนโตนิโอ
อยู่ที่ปากซอยโรงแรมโอเรียลเตล ถนนเจริญกรุง
ปี 2447 เขาพิมพ์หนังสือชื่อ Traveller's Guide to Bangkok and Siam by J. Antonio
มี 104 หน้า ประกอบด้วยรูป 73 รูป

ต่อมาร้านนี้เปลียนเจ้าของ เป็นร้านถ่ายรูปพร้อมของนาย Y. Ebata ชาวญี่ปุ่น
รูปสุดท้ายปี 2473


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 พ.ค. 15, 14:45
เรื่องราวสาระบางอย่างของถนนสีลม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 22 พ.ค. 15, 15:39
บ้านตรงหัวถนนสาทร ปัจจุบันนี้ใช่ที่เป็นโรงแรมดับเบิลยูหรือเปล่าครับ
(http://farm9.static.flickr.com/8093/8476859929_953101da67_o.jpg)
ภาพจาก http://farm9.static.flickr.com (http://farm9.static.flickr.com)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 พ.ค. 15, 16:16
บ้านตรงหัวถนนสาทร ปัจจุบันนี้ใช่ที่เป็นโรงแรมดับเบิลยูหรือเปล่าครับ
(http://farm9.static.flickr.com/8093/8476859929_953101da67_o.jpg)
ภาพจาก http://farm9.static.flickr.com (http://farm9.static.flickr.com)
ใช่
บ้านสีเหลืองตรงกลางคือบ้านเก่าของหลวงสาทรราชายุทธ (เขียนกันหลายอย่าง-ยุตก์ ก็มี -ยุกต์ ก็มี) เอกสารราชการเขียนอย่างไรไม่เคยเห็น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 พ.ค. 15, 16:18
ภาพเขียนปากคลองตลาดมาเพิ่มเข้ากับภาพที่เคยเสนอ( ประมาณปี 2437)

ภาพที่สองของ จอห์น ทอมสัน ปี 2408



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 พ.ค. 15, 08:42
บริเวณปากคลองตลาดมีอาคารหลังคารูปโดมมียอดแหลมขึ้นไปอีกระดับคือโรงเรียนราชินี
โปสการ์ดเก่าอาจจะเขียนว่า Royal College

ถ้าเป็น  King  College  คือโรงเรียนที่สวนอนันท์ หรือ โรงเรียนนันทอุทยาน อยู่ริมคลองมอญฝั่งธนบุรี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 พ.ค. 15, 12:02
ไปที่เรื่องถนนสีลมต่อ
เรื่องนี้ยังมีรายละเอียดอีกยาว

ภาพถนนสีลม ข้างปากซอยศึกษาวิทยา คงอยู่ตรงข้ามซอยเดโช
บ้านสวยริมถนนเป็นแบบที่เรียกว่าทรงขนมปังขิง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 23 พ.ค. 15, 18:04
King  College  คือโรงเรียนที่สวนอนันท์ หรือ โรงเรียนนันทอุทยาน อยู่ริมคลองมอญฝั่งธนบุรีหรือไม่  ข้อนี้ไม่กล้ายืนยันครับ

แต่ King's College ที่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดมีชื่อเป็นภาาาไทยว่า โรงเรียนราชวิทยาลัย  เดิมตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  รัชกาลที่ ๕ ทรงได้แบบมาจากโรงเรียน Raffle ที่สิงคโปร์  สมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งทรงสำเร็จราชการรักษาพระนครเสด็จเปิดโรงเรียนนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐  ต่อมาเกิดอหิวาต์ระบาดครูฝรั่งและนักเรียนเสียชีวิตไปหลายคน  โรงเรียนจึงต้องปิดลงแล้วมาเปิดใหม่ที่โรงเลี้ยงเด็ก สายสวลีสัณฐาคาร  ถึง พ.ศ. ๒๔๕๔  ย้ายไปเปิดสอนที่โรงเรียนใหม่ที่ตำบลบางขวางจังหวัดนนทบุรี  เมื่อรัชกาลที่ ๖ สวรรคตโรงเรียนนี้ถูกยุบรวมเข้ากับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ซึ่งได้รับพระราชทานนามใหม่เป็น โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย  ส่วนอาคารโรงเรียนราชวิทยาลัยเดิมกระทรวงมหาดไทยได้ยืมใช้เป็นศาลากลางจังหวัดนนทบุรีต่อมาอีกหลายสิบปี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 พ.ค. 15, 18:52
ผมเอามาจากรูปข้างล่างที่เป็นโปสการ์ด
บางทีเขียนว่า     ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ที่ คิงส์ คอลเลจ
บางรูปเขียนว่า    ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ที่ sandalay -อาจจะเป็นสุนันทาลัย หรือ สวนอนันท์
เป็นรูปเดียวกันเลย

โรงเรียนสวนอนันท์ ชื่อที่เขียนในหนังสือประวัตฺหมอจอร์จ คือ โรงเรียนหลวงนันทอุทยาน(คนทั่วไปเรียกว่าโรงเรียนสวนอนันท์)
ต้นฉบับภาษาอังกฤษไม่แน่ใจว่า"หลวง"นี่เขียนว่าอะไร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 พ.ค. 15, 09:17
ขอบคุณอาจารย์ V_Mee  สำหรับเรื่องโรงเรียนคิงส์ คอลเลจ

--------------------------------------------------

ภาพหม่อมเจ้าพัฒนายุ อายุประมาณ 10 ขวบ  ในตอนนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ค. 15, 09:45
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับพระธิดาทั้ง ๓
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย (ยืน)
หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา และหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 พ.ค. 15, 09:50
ถนนสีลมต่อ

ภาพจาก วิลเลียม ฮันท์  2489
ถนนสีลมทางขวามาเข้าถนนพระราม 4 (ถนนตรง-ถนนหัวลำโพง)
สะพานเชื่อมต่อ  สีลม-พระราม4   ไม่แน่ใจว่าชื่ออะไร น่าจะสร้างตอนตัดถนนสีลม สมัย รัชกาลที่ 4
มีทางรถไฟสายปากนํ้าวิ่งตามถนนพระราม 4 ที่ รัชกาลที่ 5 เคยมาแซะดินเป็นปฐมฤกษ์ ตามที่ ส.พลายน้อย ท่านเล่าไว้

มีบ้านศาลาแดงของเจ้าพระยายมราช อยู่ตรงกลางภาพ (เรื่องบ้านศาลาแดงมีรายละเอียดอีกยาว)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 พ.ค. 15, 12:01
สถานเสาวภา มีม้า แกะ เลี้ยงไว้ทำ  แอนตี้เซรุ่ม แวคซีน
ถนนที่ขวางคืออังรีดูนัง 
ที่มีตึกหลายหลังอีกฝั่งเป็นโรงพยาบาลจุฬาฯ

วันที่ 7 มิถุนายน 2491


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 25 พ.ค. 15, 12:41
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับพระธิดาทั้ง ๓
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย (ยืน)
หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา และหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ

น่าจะสลับกัน
องค์ที่ยืนคือหม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา
ประทับนั่งคือหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย และหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 พ.ค. 15, 16:25
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับพระธิดาทั้ง ๓
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย (ยืน)
หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา และหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ

น่าจะสลับกัน
องค์ที่ยืนคือหม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา
ประทับนั่งคือหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย และหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ
ดูไม่ค่อยออกพระพักตร์สององค์นี้คล้ายกันมาก


--------------------------------------------
สีลม ต่อ
คลองสีลมที่ลอดใต้สะพานเฉลิมภาคย์  54  ที่ทอดตามแนวถนนเจริญกรุงที่ใกล้สามแยกบางรัก
ถนนสีลมจะอยู่ด้านซ้ายของภาพ  บนถนนสีลมมีสถานีต้นทาง  รถรางสายบางรักประตูนํ้า อยู่ตรงนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 พ.ค. 15, 17:36
คลองสีลมเหลือแค่คูนํ้าสีลม อยู่ข้างป้ายต้นทางรถรางบางรักประตูนํ้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ค. 15, 09:45
สถานเสาวภา มีม้า แกะ เลี้ยงไว้ทำ  แอนตี้เซรุ่ม แวคซีน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=56847;image)

ม้าพวกนี้ใช้สำหรับผลิตเซรุ่มแก้พิษงู ส่วนแกะคงใช้สำหรับผลิตวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (ตำรับสมองแกะ)  :o



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 พ.ค. 15, 10:30
สถานเสาวภา มีม้า แกะ เลี้ยงไว้ทำ  แอนตี้เซรุ่ม แวคซีน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=56847;image)

ม้าพวกนี้ใช้สำหรับผลิตเซรุ่มแก้พิษงู ส่วนแกะคงใช้สำหรับผลิตวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (ตำรับสมองแกะ)  :o


ตำรับสมองแกะ คงไม่มีแล้วในปัจจุบัน ??

อาจารย์ประกอบ ตู้จินดา เคยมาบรรยายให้พวกผมฟัง
เราเลยรู้ความก้าวหน้าตอนนั้น ว่าท่านทำ rabies vaccine จาก duck embryo ----ท่านก้าวหน้ามาก นานมาแล้ว

ปัจจุบันทำจาก ไข่ไก่  purified chicken embryo cell vaccine หรือที่ดีกว่าเป็น  human diploid cell rabies vaccine (H.D.C.V.)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 พ.ค. 15, 10:33
เสาวภา ขยับภาพไปข้างหน้า ต่อจากภาพเก่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ค. 15, 10:41
เป็นภาพฟาร์มสัตว์ที่น่ารื่นรมย์ แต่เบื้องหลังคือความเจ็บปวดและความตายเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ (แอบบ่นแทนผองสัตว์  ;D)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 พ.ค. 15, 12:56
บนถนนเจริญกรุงพอออกจากประตูสามยอด พ้นสะพานเหล็ก
หันหลังกลับมาดูที่สะพานเหล็ก   เห็นอย่างรูปแรก
เมื่อเวลาผ่าน ความเจริญเพิ่ม ถนนเจริญกรุงเปลี่ยนไปตามรูปที่สอง
คิดว่าเป็นตำแหน่งที่ใกล้เคียงกัน

เมื่อมองย้อนสวนทางกับสองภาพแรกจะเห็นอย่างรูป
สาม(พศ 2443  ด้านขวามือเห็นป้ายหน้านาครเขษม สีขาว )และ
สี่(ประมาณ พศ 2473)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 พ.ค. 15, 09:03
ภาพทางอากาศปี 2489 ของวัดปทุมวนาราม หรือ วัดสระปทุม หลัง CENTRAL WORLD  (เขียนผิดว่าวัดราชประชิท)
จะเห็นถนนพระราม ๑ มีทางรถรางและเสาโทรลี่อยู่ด้านล่างสุด

ส่วนภาพที่สอง เป็นภาพเก่ากว่าถ่ายมาจากด้านคลองแสนแสบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 พ.ค. 15, 14:27
โรงแรมรัตนโกสินท์
สะพานผ่านพิภพลีลา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 พ.ค. 15, 14:36
สองปีต่อมา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 พ.ค. 15, 14:38
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 พ.ค. 15, 14:40
ภาพนี้ผิดปกติ ใครรู้บ้าง?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 พ.ค. 15, 14:43
ภาพนี้ก็ไม่ปกติ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 พ.ค. 15, 16:03
สะพานข้ามคลองหลอด(จริง)
คลองหลอดเริ่มจากตรงนี้ ไปออกคลองโอ่งอ่างที่วัดเทพธิดาราม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 พ.ค. 15, 10:02
พระยาอนุมานราชธน (เกิด เดือน ธันวาคม 2431) ท่านเล่าถึงโรงแรมโอเรียลเตล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 15, 09:22
คลองโอ่งอ่างในแต่ละยุค  เมื่อมองย้อนไปในอดีต
เห็นบรมบรรพต เป็นหลัก มีสะพานสมมตอมรมารคทอดข้ามคลองตามแนวถนนบำรุงเมือง

จุดที่ใช้ถ่ายภาพคงยืนบนสะพาน
สะพานนี้น่าจะมีมานานแล้ว  คงไม่ไกลถึงสะพานเหล็ก ดำรงสถิตย์
สะพานที่น่าจะเป็น   ---- คงอยู่ตรงคุกที่กลายเป็นสวนรมณีนาถในปัจจุบัน

ใช้การพิสูจน์ตามหลักคณิตศาสตร์เหมือนตอนเรียนหนังสือ

ภาพตรงกลางประมาณปี ๒๔๔๓ สมัยรัชกาลที่ ๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 29 พ.ค. 15, 12:26
ภาพวาดนี้มีที่มาที่ไปตามรูปข้างบนนี่เอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 พ.ค. 15, 14:06
ใน หนังสือ PEEPS AT MANY LANDS SIAM ปี ๑๙๐๘  (http://www.khamkoo.com/uploads/9/0/0/4/9004485/peeps_at_many_lands_-_siam.pdf) บรรยายภาพนี้ว่า "A TYPICAL CANAL SCENE"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 15, 14:42
ภาพวาดนี้มีที่มาที่ไปตามรูปข้างบนนี่เอง
ผมเคยเห็นภาพนี้ เคยเซฟไว้ เพิ่งดีลีททิ้งไปเมื่อไม่นาน
หาหลักฐานมายืนยันไม่ได้
แต่เซฟหน้าปกหนังสือไว้ ตามรูปข้างล่าง
(ไม่อยากเข้าไปหาใหม่เพราะเสียเวลามาก เอาไว้ว่างๆจะเข้าไปหาใหม่)


อยู่ในหนังสือคนละเล่มกับ ที่คุณเพ็ญชมพู เอามาให้ดู  แต่คนแต่งคนเดียวกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 15, 14:51
ใน หนังสือ PEEPS AT MANY LANDS SIAM ปี ๑๙๐๘  (http://www.khamkoo.com/uploads/9/0/0/4/9004485/peeps_at_many_lands_-_siam.pdf) บรรยายภาพนี้ว่า "A TYPICAL CANAL SCENE"


ลูกผมเรียนที่ UC SAN DIEGO


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 15, 16:17
โรงแรมโอเรียลเตล ต่อมาโค่นต้นหูกวางออก
เหลือปาล์มอยู่สองต้น


ต่อมาโค่นปาล์มออกอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 15, 16:20
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 15, 16:21
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 พ.ค. 15, 16:35
ถนนเจริญกรุง ลักษณะรูปตึกน่าจะอยู่ใกล้ๆสีกั๊กพระยาศรี

มีข้อสงสัย ต้นไม้ที่เห็นในรูปน่าจะเป็นต้นประดู่ ซึ่งรูปเก่าๆจะเป็นต้นหูกวาง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 พ.ค. 15, 09:52
คลองโอ่งอ่าง  มองไปทางบรมบรรพต
สะพานสมมตอมรมารคอยู่ด้านหน้า

ล่าง  สะพานสมมตฯ เดิมในสมัยรัชกาลที่ ๕ เสาเป็นไม้ ราวสะพานเป็นไม้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 พ.ค. 15, 10:01
ภาพที่เคยเอามาลงแล้วแต่ ภาพนี้ชัดกว่า

สะพานมหาดไทยอุทิศ เปิดใช้เมื่อ ๒๓ ตุลาคม พศ. ๒๔๕๗ คงจะกะช่วงเวลาที่ถ่ายภาพนี้ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 พ.ค. 15, 10:56
งานพระเมรุฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เดือนมีนาคม ๒๔๙๓


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 พ.ค. 15, 12:43
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 มิ.ย. 15, 09:02
ภาพของการถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงอานันฯมีประมาณหนึ่งร้อยภาพ
เวลา....ปลายเดือนมีนาคม ๒๔๙๓
ขอต่อไปอีกวัน ภาพคมชัดดี  

ใครเป็นใครคงจะจำได้
มีจอมพล ป. มากับท่านผู้หญิง ด้วยรถบิวอิค รถประจำตำแหน่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 มิ.ย. 15, 09:58
วันที่ ๙ มิถุนายน ทุกปีเป็นวันอานันทมหิดล
(เป็นวันคล้ายวันสวรรคต)
นิสิตคณะผมต้องไปวางพวงมาลาที่วัดสุทัศน์
และถวายเงินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว---สมทบทุนอานันทมหิดล

ปัจจุบันไม่ไปที่วัดสุทัศน์แล้ว
มีพิธีที่โรงพยาบาลจุฬาฯแทน
สมเด็จพระเทพฯเสด็จไปเป็นประธาน

สองภาพสุดท้ายเป็นการลอยพระอังคาร
เรือที่เห็นคือเรือหลวงศรีอยุธยา ที่จอมพล ป.โดน นต.มนัส จี้
(ที่เรียกว่ากบฏ แมนฮัตตัน   ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 )
โดนทิ้งระเบิดจมแม่นํ้าเจ้าพระยา  จอมพล ป.รอดมาได้แบบปาฏิหารย์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มิ.ย. 15, 09:55
สะพานมัฆวานรังสรรค์
เป็นสะพานที่สวยงาม คู่กับ  สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

ภาพสุดท้าย ปี ๒๔๔๗


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 03 มิ.ย. 15, 21:37
สะพานมัฆวานรังสรรค์ เป็นสะพานลำดับที่ ๓ ในชุด "สะพานที่สร้างโดยเทวดา"

   เทเวศรนฤมิตร
   วิศสุกรรมนฤมาณ
   มัฆวานรังสรรค์
   เทวกรรมรังรักษ์
   จตุรพักตรรังสฤษดิ์

ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เรียงลำดับจากปากคลองด้านเหนือลงมา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 มิ.ย. 15, 22:26
สะพานมัฆวานรังสรรค์ เป็นสะพานลำดับที่ ๓ ในชุด "สะพานที่สร้างโดยเทวดา"

   เทเวศรนฤมิตร
   วิศสุกรรมนฤมาณ
   มัฆวานรังสรรค์
   เทวกรรมรังรักษ์
   จตุรพักตรรังสฤษดิ์

ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เรียงลำดับจากปากคลองด้านเหนือลงมา

ขอบคุณสำหรับข้อมูล เมื่อมารวมอยู่ที่เดียวจะได้อ้างอิงได้และหาง่าย

ภาพใหญ่ๆดูกันชัดๆ ของผมที่มีมีแค่สองลำดับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 มิ.ย. 15, 23:04
จากรูปที่ 1080  เกิดความสงสัยว่า พื้นถนนในยุคนั้น ทำด้วยอะไรคะ  ดินทุบให้เรียบ  ยางมะตอย หรือคอนกรีต?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มิ.ย. 15, 06:14
จากรูปที่ 1080  เกิดความสงสัยว่า พื้นถนนในยุคนั้น ทำด้วยอะไรคะ  ดินทุบให้เรียบ  ยางมะตอย หรือคอนกรีต?

ไม่ได้ตอบอาจารย์เทาชมพูเมื่อคืนเพราะหาที่อ้างอิงไม่ได้
อาจารย์ ส.พลายน้อย ท่านว่าไว้แบบนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มิ.ย. 15, 06:27
ยุค ร๔ ทำแบบหนึ่ง เช่นถนนสนามชัย

ถึงยุค ร ๕ พัฒนาขึ้น คงไม่ใช้การปูอิฐ คงเป็นแบบใช้หินทรายอัดแน่น

ต่อมาเป็นแบบยางมะตอยที่เห็นแถวสามแยก ??

สมัย ร ๗ มีถนนคอนกรีตสายแรกคือถนนตรีเพชรที่ทำพร้อมสะพานพุทธฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มิ.ย. 15, 06:36
รูปที่คุณกะออมเคยอ้างถึง  มีอยู่ราว ๕ ภาพ (รวมภาพคลองโอ่งอ่าง)
สนามหลวงยังไม่เห็นต้นมะขาม น่าจะประมาณ พศ ๒๔๔๐-๒๔๔๒


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 มิ.ย. 15, 11:10
จากหนังสือเล่มนี้ ยังมีอีกภาพสถานที่อีกหลายภาพ

ใน หนังสือ PEEPS AT MANY LANDS SIAM ปี ๑๙๐๘  (http://www.khamkoo.com/uploads/9/0/0/4/9004485/peeps_at_many_lands_-_siam.pdf)

วัดโพธิ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 มิ.ย. 15, 11:17
ต้อนช้างเข้าเพนียดที่อยุธยา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 มิ.ย. 15, 11:26
ภาพวาดทั้งหมดมี ๑๒ ภาพ วาดโดย EDWIN  A. NORBURY, R.C.A.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มิ.ย. 15, 11:53
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มิ.ย. 15, 12:09
รูปที่ ๓๒ คือปก
หนังสือเล่มนี้มี ๒๒๑ หน้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 มิ.ย. 15, 12:41
บริเวณเดียวกันคือรอบปากถนนสุรวงศ์ แต่อาจจะไม่ร่วมเวลากัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มิ.ย. 15, 09:03
ประตูเมือง   ของกรุงเทพ  อีกประตู  น่าจะเป็นตรงวัดบวรนิเวศน์   พศ.2438


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มิ.ย. 15, 09:09
บริเวณสามยอด ยืนหันหลังให้ประตูสามยอด มองไปตามถนนเจริญกรุง
ต้นหูกวางปลูกตามแนวถนนเจริญกรุง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 05 มิ.ย. 15, 09:36
ปลายถนน คือ ประตูสามยอด?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 มิ.ย. 15, 12:32
ใช่ครับปลายสุดคือประตูสามยอด พ้นประตูเป็นสะพานดำรงสถิตย์  -- สะพานเหล็กบน
ทางด้านซ้าย พ้นกำแพงเมือง  ริมคลองโอ่งอ่างเคยเป็น วังสมเด็จกรมดำรงฯ ด้านขวาเป็นวังเจ้าลาว(ไม่รู้ว่าเจ้าลาวอะไร?)

เคยเอารูปนี้ของพิพิธภัณฑ์อลินาลี่มาลบลายนํ้าออก

รูปที่สองประตูสามยอดมองจากด้านสะพานเหล็กบน
ด้านที่มีต้นไม้เคยเป็นที่วังของกรมดำรงฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 มิ.ย. 15, 10:27
มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างบริเวณปากถนนสุรวงศ์
ทั้งถนนเจริญกรุง ห้างขายยาอังกฤษตรางู 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 มิ.ย. 15, 12:03
ร้านสีลมโฆษณาปี ๒๔๙๑ ของ Jack Birns เหลืออีกสองภาพ(ที่ผมเซฟไว้ หมดแค่นี้แล้ว)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 มิ.ย. 15, 14:35
บริเวณปากคลองตลาดมีอาคารหลังคารูปโดมมียอดแหลมขึ้นไปอีกระดับคือโรงเรียนราชินี
โปสการ์ดเก่าอาจจะเขียนว่า Royal College

ถ้าเป็น  King  College  คือโรงเรียนที่สวนอนันท์ หรือ โรงเรียนนันทอุทยาน อยู่ริมคลองมอญฝั่งธนบุรี

อ่านผ่านมา เห็นแว่บๆ ว่าเอ่ยถึง Royal College ก็บังเอิญพบภาพโปสการ์ด แสดงอาคาร Royal College ที่ปากคลองตลาดเข้าพอดี
ก็พอจะอนุมานได้ว่า Royal College น่าจะหมายถึง สุนันทาลัย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 07 มิ.ย. 15, 14:43
บนถนนเจริญกรุงพอออกจากประตูสามยอด พ้นสะพานเหล็ก
หันหลังกลับมาดูที่สะพานเหล็ก   เห็นอย่างรูปแรก
เมื่อเวลาผ่าน ความเจริญเพิ่ม ถนนเจริญกรุงเปลี่ยนไปตามรูปที่สอง
คิดว่าเป็นตำแหน่งที่ใกล้เคียงกัน

เมื่อมองย้อนสวนทางกับสองภาพแรกจะเห็นอย่างรูป
สาม(พศ 2443  ด้านขวามือเห็นป้ายหน้านาครเขษม สีขาว )และ
สี่(ประมาณ พศ 2473)

สองภาพบน คุณหนุ่มณล siamese เตยอธิบายไว้นานแล้วว่าเป็นถนนเจริญกรุงมองเข้าเมืองจากแยกวรจักร
ตึกหลังใหญ่ที่อยู่สุดปลายถนนในทั้งสองภาพ คือ วังใกล้ประตูสามยอดที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยประทับอยู่ก่อนที่จะย้ายไปปลูกตำหนักใหม่ที่วังวรดิศ ถนนหลานหลวง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 มิ.ย. 15, 15:00
สวัสดีลุงไก่


พศ ๒๔๓๘
แม่ค้าหาบขนม? เข้าเมืองตามถนนเจริญกรุง (หมายถึงตรงไปที่ประตูสามยอด)
อาจจะเอาขนมไปขายที่เวิ้งนาครฯ หรือข้ามสะพานเหล็กไปที่ประตูสามยอด หรือไปขายหน้าโรงหวยของพระอนุวัตราชนิยม
เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะบริเวณนี้เป็นที่คึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพสมัยนั้น
เวลากะประมาณว่าเลยเที่ยงไปแล้วเล็กน้อย 



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 08 มิ.ย. 15, 07:58
เวิ้งนาครเขษมด้านสะพานข้ามคลองโอ่งอ่าง (ยังไม่ได้สืบค้นเลยว่าตั้งชื่อว่า สะพานดำรงสถิตย์เมื่อไร แต่คิดว่าน่าจะตั้งชื่อนี้เมื่อได้ทำการก่อสร้งสะพานใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล์กช่วงรัชกาลที่ ๗ คือสะพานปัจจุบัน) ยุคปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อรัชกาลที่ ๖ มีธุรกิจที่ห้องพัก เรียกกันว่า ที่พักคนเดินทาง สำหรับคอหวยที่เดินทางมาจากบ้านนอกใช้พักระหว่างที่รอหวยออกมั่ง รอแทงหวยมั่งที่บ่อนขุนพํฒน์หน้าประตูสามยอด 

เมื่อมีที่พัก มีคนมาพัก ก็มีธุรกิจหญิงบริการมาช่วยคลายกำหนัดให้แก่หนุ่มๆ ในเวลานั้นธุรกิจโคมเขียวโคมแดงที่ตึกแถวริมคลองแถวสะพานถ่านคงจะมีแล้ว แต่ที่เวิ้งเลื่อนฤทธิ์จะมีหรือยังไม่แน่ใจ

บรรดาพ่อค้าแม่ค้าน่าจะหาบของกินมาขายที่หน้าโรงหวยนี้หละกระมัง?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มิ.ย. 15, 08:48
บรรยากาศหน้าโรงหวยที่อยู่ตรงข้ามเยื้องประตูสามยอด
อยู่ในหนังสือจดหมายเหตุรายวันเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มิ.ย. 15, 14:49
ภาพเก่าในวังสุโขทัย   ประมาณ ปี ๒๔๗๓-๒๔๘๓
คณะรัฐบาลเคยยึดทำเป็นกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระยะหนึ่ง
ระหว่างที่พระปกเกล้าฯ เสด็จต่างประเทศ

ไม่ทราบว่ารื้อไปแล้วหรือไม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 มิ.ย. 15, 14:51
บริเวณปากคลองตลาด
ภาพแรกรู้ว่าประมาณปี ๒๔๑๘
ภาพหลังไม่รู้ว่าถ่ายเมื่อปีไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มิ.ย. 15, 16:04
บรรยากาศหน้าโรงหวยที่อยู่ตรงข้ามเยื้องประตูสามยอด
อยู่ในหนังสือจดหมายเหตุรายวันเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ชื่อขนมของจีนในนี้น่าสนใจค่ะ อาจารย์หมอ บางอย่างก็ไม่เคยได้ยิน 
ขอยกไปตั้งกระทู้ในห้องวิเสทนิยมนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 มิ.ย. 15, 06:41
บรรยากาศหน้าโรงหวยที่อยู่ตรงข้ามเยื้องประตูสามยอด
อยู่ในหนังสือจดหมายเหตุรายวันเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ชื่อขนมของจีนในนี้น่าสนใจค่ะ อาจารย์หมอ บางอย่างก็ไม่เคยได้ยิน 
ขอยกไปตั้งกระทู้ในห้องวิเสทนิยมนะคะ

ด้วยความยินดีครับอาจารย์

เรื่องขนมจีน(ราดนํ้ายา) เท่าที่เคยอ่านมา เชื่อว่าเราเอามาจากมอญ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 มิ.ย. 15, 06:48
เมื่อ Dmitri  Kessel เช้ามาถ่ายภาพในเมืองไทย เมื่อปี ๒๔๙๓
แกคงติดใจยิ้มสยามของสาวชาวสวนคนหนึ่ง เก็บภาพไปสิบกว่าภาพ
เป็นภาพปอร์เตรทที่น่าสนใจ มาดูกันสัก ๔ ภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มิ.ย. 15, 08:52
บรรยากาศหน้าโรงหวยที่อยู่ตรงข้ามเยื้องประตูสามยอด
อยู่ในหนังสือจดหมายเหตุรายวันเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=57196;image)

คำกลอนนี้อยู่ใน "เพลงยาวตำนานหวย" แต่งโดยนายกล่ำในสมัยรัชกาลที่ ๓ โรงหวยที่นายกล่ำกล่าวถึงเป็นของเจ้าสัวหงตั้งที่กำแพงเมืองใกล้สะพานหัน  แล้วเลื่อนมาอยู่ที่วังบูรพาภิรมย์

เจ้าสัวหงคือพระศรีไชยบาล  คิดตั้งอากรหวยเมื่อปีมะแม ๒๓๗๘
ตั้งที่กำแพงเมืองใกล้สะพานหัน  แล้วเลื่อนมาอยู่ที่วังบูรพาภิรมย์
ออกหวยเวลาเช้า

พระศรีวิโรจน์ดิศเห็นเจ๊สัวหงมีกำไรดี จึงกราบบังคมทูลขอตั้งโรงหวยอีกหนึ่งโรงอยู่ทางบางลำภู
ออกเวลาค่ำวันละครั้ง

ต่อมาพระศรีวิโรจน์ทำการไม่เรียบร้อยหวยจึงรวมอยู่ที่เจ๊สัวหงแห่งเดียว

เงินอากรเมื่อแรกตั้งนั้น ๒๐,๐๐๐ บาท


เพลงยาวตำนานหวยของนายกลำ่  กล่าวถึงเจ๊สัวหงไว้ว่า
(ประชุมเพลงยาวภาคพิเศษ        กรมศิลปากร  ๒๕๔๙)

ยังมีเฒ่าเมธาชราภาพ                           แกโลภลาภไม่เล็กชื่อเจ๊กหง
เจ้าสัวศรีไชยบานชาญณรงค์                    ให้ไทยหลงกลเล่ห์จนเซโซ
เมียสาวสาวบ่าวไพร่ใช้ออกคึก                  ดูพิฤกสิ้นทีมีอักโข
เขาร้องเรียกว่าคุณเปียหังเบี้ยโป                เหมือนสิงโตตั้งตัวไม่กลัวใคร

เพลงยาวตำนสนหวยของนายกล่ำ  แต่งขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ความรู้เรื่องหวยเมื่อแรกมี และรายละเอียดต่างๆ  รวมทั้งประวัติเดิมของตัวหวยที่ยังรวบเรื่องไม่ได้
เอกสารหลุดมือไปอยู่ที่นักสะสมผู้หนึ่ง

จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ โรงหวยหน้าวังบูรพาเกิดไฟไหม้ขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๔๑๕ จึงได้ย้ายมาอยู่ประตูสามยอด ซึ่งเรียกกันเต็มปากเต็มคำว่า “โรงหวย”


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 มิ.ย. 15, 09:56
ขอบคุณ คุณหมอเพ็ญชมพู
เท่าที่อ่านมาโรงหวยแรกอยู่ภายในกำแพงเมืองแถวสะพานหัน
แล้วย้ายมาที่หน้าวังบูรพา
สุดท้ายย้ายมาที่ริมคลองหลอดเยื้องประตูสามยอด

เวลาออกหวยสองครั้งในหนังสือแต่ละเล่มไม่เหมือนกัน
บางที่บอกเก้าโมงเช้ากับสามโมงเย็น
แต่ขุนวิจิตรบอกว่ารอบสองออกหลังเที่ยงคืน

ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ลงตัว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 มิ.ย. 15, 11:23
วันนี้ เป็นวันอานันทมหิดล
วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 มิ.ย. 15, 11:28
มีพิธีวางพวงมาลาเมื่อเช้านี้ ที่ รพ.จุฬาฯ
นำโดยคุณหมอเจรียงนายกสมาคมนิสิตเก่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มิ.ย. 15, 13:28
๙ มิถุนายน เป็น  “วันอานันทมหิดล”  ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัวอานันทมหิดล  พระผู้ให้กำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

http://www.md.chula.ac.th/about.php (http://www.md.chula.ac.th/about.php)

http://www.youtube.com/watch?v=qG4A2KsWsKM#ws (http://www.youtube.com/watch?v=qG4A2KsWsKM#ws)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 มิ.ย. 15, 18:12
รถไฟสายปากนํ้า ที่มีสถานีอยู่ริมคลองหัวลำโพง

รถไฟสายปากน้ำดำเนินการโดย กอมปานีรถไฟ หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำ
บริหารงานโดยอังเดร เดอ ริเชอลิเออ (พระยาชลยุทธโยธิน) ชาวเดนมาร์ก และแอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช (พระนิเทศชลธี)
ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2429 เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ. 2479
เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434  มีวิศวกรเดินรถชื่อ ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ชาวเดนมาร์ก
ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์
ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำพิธีเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2434
(เคยเล่าไว้ว่า ร๕ เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระราชวัง มาตามถนนสนามชัย ไปทางเจริญกรุง ถึงสามแยกบางรัก
เลี้ยวลงตามถนนสีลม ไปถึงชายทุ่งปทุมวันตรงที่จะสร้างทางรถไฟสายปากนํ้า  ตรงแยกศาลาแดง  แซะดินเป็นปฐมฤกษ์)

เมื่อทางรถไฟสายปากน้ำแล้วเสร็จเปิดเดินขบวนรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดบริการ
และเสด็จขึ้นประทับโดยสารขบวนรถไฟพระที่นั่ง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์
 ในพิธีเปิดการเดินรถครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัส ปรากฏความตอนหนึ่งว่า

    "...เรามีความยินดีที่ได้รับหน้าที่อันเป็นที่พึงใจ คือจะได้เป็นผู้เปิดรถไฟสายนี้
ซึ่งเป็นที่ชอบใจและปรารถนามาช้านานแล้วนั้น ได้สำเร็จสมดังประสงค์ลงในครั้งนี้
เพราะเหตุว่าเป็นรถไฟสายแรกที่จะได้เปิดในบ้านเมืองเรา
แล้วยังจะมีสายอื่นต่อ ๆ ไปอีกจำนวนมากในเร็ว ๆ นี้
 เราหวังว่าจะเป็นการเจริญแก่ราชการและการค้าขายในบ้านเมืองเรายิ่งนัก..."

มีภาพ และเรื่องราวของรถไฟสายปากนํ้า ให้เราเห็นบ่อยๆ ลองอ่านดู

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3 (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3)

ภาพนี้เป็นการเสด็จของ ร๕ ไปที่ปากนํ้า อาจจะเป็นภาพ   วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 09 มิ.ย. 15, 22:56
หลังจากวันเปิดเดินรถไฟสายปากน้ำ ๑๑ เม.ย ๒๔๓๖ ได้ ๓ เดือน  วันที่ ๑๓ ก.ค. ๒๔๓๖ ก็เกิดกรณีเรือรบฝรั่งเศสล่วงล้ำอธิปไตยสยามที่ปากน้ำ
ร้อยเอก ที.เอ.ก็อตเช่ วิศวกรเดินรถ ยังเป็นผู้บังคับการป้อมผีเสื้อสมุทร อำนวยการยิงสกัดเรือรบฝรั่งเศสด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มิ.ย. 15, 09:53
หลังจากวันเปิดเดินรถไฟสายปากน้ำ ๑๑ เม.ย ๒๔๓๖ ได้ ๓ เดือน  วันที่ ๑๓ ก.ค. ๒๔๓๖ ก็เกิดกรณีเรือรบฝรั่งเศสล่วงล้ำอธิปไตยสยามที่ปากน้ำ
ร้อยเอก ที.เอ.ก็อตเช่ วิศวกรเดินรถ ยังเป็นผู้บังคับการป้อมผีเสื้อสมุทร อำนวยการยิงสกัดเรือรบฝรั่งเศสด้วย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลสำคัญ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 มิ.ย. 15, 10:09
โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ของหลวงดำรงธรรมสาร(ไม่รู้สะกดถูกไหม)
จากหนังสือ twentieth century impressions of siam พศ ๒๔๕๑
อยู่ที่ถนนบำรุงเมือง มีทั้งโรงพิมพ์ ภายในโรงพิมพ์(๒)   และร้านขาย (๓)พร้อมกัน

เปิดโรงเรียนดรุณีวิทยา(๔) ครู นักเรียนและหลวงดำรงฯยืนอยู่ข้างๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 มิ.ย. 15, 14:11
จากหนังสือของโฟเนโร ปี ๒๔๓๗ ไม่รู้ว่าเคยลงไปแล้วหรือไม่เพราะชักจะมั่วตอนนี้

ภาพพล่างสุดเป็นพิธีโสกันต์สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 มิ.ย. 15, 12:12
สะพานช้างโรงสี    เห็นหอสูงของกระทรวงกลาโหมที่ใช้ถ่ายรูปถนนบำรุงเมือง

รูปล่างถ่ายทางอากาศของวิลเลี่ยม ฮันท์ พศ ๒๔๘๙  สะพานช้างโรงสีเปลี่ยนไปจากเดิม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 มิ.ย. 15, 08:51
ภาพทางอากาศ ๒๔๙๓ ถนนวรจักรอยู่ล่างสุด  วัดพระพิเรนทร์ต่อด้านบน (ลดคุณภาพลงให้คงขนาดใหญ๋)
ภาพที่สองถนนราชดำเนินกลาง(คุณภาพ แค่ 40%)
ถนนราชดำเนินกลางเห็นโรงแรมรัตนโกสินทร์
คลองผดุงกรุงเกษม สะพานเจริญสวัสดิ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 มิ.ย. 15, 08:50
คงเป็นภาพจากหนังสือบางกอก ปี พศ.๒๔๓๗ ของโฟเนโร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 มิ.ย. 15, 12:51
เตรียมไม่ทันวันนี้
ภาพเดียว  สามแยก  ไม่ทราบเวลาที่ถ่ายภาพนี้
ยังไม่มีรถราง อาจจะเป็นการวางระบบไฟฟ้าให้รถราง?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มิ.ย. 15, 12:41
พระที่นั่งอัมพรสถานและพระที่นั่งอุดรภาคมี coverway เชื่อมต่อกัน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯสวรรคต ที่ชั้นสามพระที่นั่งอัมพรสถาน
๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓

ภาพล่างสุดเป็นพระที่นั่งอนันตสมาคม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มิ.ย. 15, 10:15
พระสมุทรเจดีย์
ภาพแรก  พศ ๒๔๒๕
ภาพที่สอง  มาจากหนังสือของโฟเนโร(พศ ๒๔๓๗)
ภาพที่สาม เป็นภาพถ่ายของเพนเดิลตัน พศ ๒๔๗๘  น่าจะเชื่อมต่อกับฝั่งแล้ว
              ไม่เป็นเกาะลอยอีกต่อไป
ภาพที่สี่ ปี พศ ๒๔๓๗  เป็นต้นแบบภาพวาดที่สอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มิ.ย. 15, 10:19
โรงเรียนสตรีวังหลังเมื่อมองจากแม่นํ้าและเมื่อมองจากท่านํ้าโรงเรียน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 15, 10:22
เรือเหล่านี้ปักธงชาติสหรัฐหรือครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มิ.ย. 15, 11:11
คิดว่ามิชชั่นนารีอเมริกาที่ขึ้นเหนือ  มาออกเรือที่นี่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 มิ.ย. 15, 11:43
ขอโทษอาจารย์ NAVARAT.C  ไม่ได้ไปหา academic reference มา
ตอบแบบใช้ความเข้าใจว่าโรงเรียนนี้เป็นของคนอเมริกา ผู้ก่อตั้ง เป็นอเมริกา ได้เงินสนับสนุนจากอเมริกา
ครูส่วนมากเป็นอเมริกา  เป็นแหล่งสมาคมของคนอเมริกา น่าจะเป็นแบบนี้
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 19 มิ.ย. 15, 15:28
น่าจะเป็นเรือที่มิชชันนารีอเมริกันใช้ในการเดินทางขึ้นล่องไปนครเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางการประกาศคริสต์ศาสนาในมณฑลพายัพครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มิ.ย. 15, 15:47
ขอบคุณทั้งสองท่านครับ คิดว่าเป็นเรือของสถานกงสุลเสียอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 มิ.ย. 15, 10:33
ภาพจาก หนังสือ twentieth century impressions of siam  พศ ๒๔๕๑
บางส่วนต้องโคลนเพราะภาพเดิมไม่เป็นสี่เหลี่ยม 
โรงแรมโอเรียลเตลกับบริษัทอีสเอเซียติค ที่เป็นคู่แฝด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 มิ.ย. 15, 19:57
หน้าโฆษณาโรงแรมโอเรียลเตล ในหนังสือ The Fascination of Siam
หาภาพหน้าปกไม่เจอเลยไม่รู้ว่าพิมพ์ปีไหนแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ 
พื้นชั้นสองของโรงแรมปูด้วยไม้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 มิ.ย. 15, 11:32
ตลาดมหานาค

ภาพที่สองโบ้เบ๊


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มิ.ย. 15, 18:34
ช่วงนี้สมาธิหลุด แล้วไปอยู่ในไลน์กับเพื่อนร่วมรุ่น
ขออภัยท่านสมาชิกอาจจะต้องเพลาๆลงบ้าง แม้จะยังพอมีภาพเก่าอยู่บ้าง

ภาพแรก พศ 2407 และภาพหลัง พศ 2438  ต่างกันสามสิบเอ็ดปี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 มิ.ย. 15, 07:10
ถนนเจริญกรุง ๒๔๙๙ ใกล้ไปรษณีย์กลางบางรัก
ป้ายสีนํ้าเงินตัวสีทองคือวัดม่วงแค
ถัดไปด้านบนที่เขียนว่า CENTRAL คือร้านเซ็นทรัลร้านแรกที่ขายหนังสือ ตุ๊กตา เสื้อผ้า 
ก่อนจะขยายเป็นกลุ่มห้างใหญ่โต


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 มิ.ย. 15, 11:14
ถนนเจริญกรุงหน้าไปรษณีย์บางรัก
ผมหาว่าภาพเมื่อวานถ่ายมาจากจุดไหน มองไม่เห็นจุดที่ยืนถ่ายรูป เพราะ อยู่ถัดไปอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 มิ.ย. 15, 09:09
ถนนเจริญกรุง บริเวณไปรษณีย์กลาง ทั้งหมดทุกภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 มิ.ย. 15, 09:11
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ก.ค. 15, 06:22
ไปรษณีย์กลาง ๒๔๙๓ (ต่อ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.ค. 15, 07:19

ไปรษณีย์กลางมีอีกหลายรูป  ขัดจังหวะด้วยตำบลท่าเตียนก่อน ไม่ทราบระยะเวลาที่ถ่ายภาพนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.ค. 15, 08:06

ไปรษณีย์กลางมีอีกหลายรูป  ขัดจังหวะด้วยตำบลท่าเตียนก่อน ไม่ทราบระยะเวลาที่ถ่ายภาพนี้

ภาพนี้สวยงามครับ เห็นบรรยากาศของใช้ต่างๆ น่าจะถ่ายภาพช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ - รัชกาลที่ ๗ นะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 ก.ค. 15, 11:51
ตลาดท่าเตียนบริเวณเดียวกันกับภาพบน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ก.ค. 15, 13:28
ภาพปี ๒๔๙๓ ต่อ
อาจจะใหญ่นิดไม่อยากจะลดขนาด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 ก.ค. 15, 13:35
ภาพถ่ายภาพแรกที่เป็นร้านเซ็นทรัลและวัดม่วงแค
ถ่ายมาจากชั้นสามของห้างไวท์อเวย์แลดลอว์(ต่อมาเปลี่ยนเป็นแบ็งค์ออฟอเมริกา)คือตึกสามชั้นที่อยู่ซ้ายมือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 ก.ค. 15, 08:43
ภาพถนนเจริญกรุงต่ออีกสี่ภาพ เป็น ปี ๒๔๙๓ รถหนาแน่นวิ่งกันเต็มถนน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 ก.ค. 15, 08:57
บริเวณเดียวกับข้างบน แต่เป็นปี ๒๔๕๕ กับ ๒๔๕๙


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ก.ค. 15, 09:32
อาจารย์เทาชมพูเอ่ยถึงคลื่นถาวร
ดูชาวจุฬาฯ ในยุคนั้น  เสียดายสวมหมวกในขณะเชียร์กิฬา

ถนนเจริญกรุงยังไม่จบ ขอต่อวันหลัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 05 ก.ค. 15, 15:16
นิสิตหญิงสมัยนั้นเรียบร้อยจังค่ะ ไปเชียร์กีฬายังแต่งเครื่องแบบ ไม่มีใครใส่กางเกงยีนส์แพล็มมาให้เห็นเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ก.ค. 15, 09:21
นิสิตหญิงสมัยนั้นเรียบร้อยจังค่ะ ไปเชียร์กีฬายังแต่งเครื่องแบบ ไม่มีใครใส่กางเกงยีนส์แพล็มมาให้เห็นเลย

สมัยผมเรียน เฮี้ยบมากๆ เวลาเชียร์ต้องตะโกนสุดเสียง  ให้เสียงแหบ  ยุคมืดของการเชียร์กิฬาคณะจริงๆ
ภาพกำลังร้องเพลงเชียร์กิฬาระหว่างคณะ
ผู้หญิงในภาพคนหนึ่งมีทรัพย์สินหลายพันล้านบาทในปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ก.ค. 15, 09:25
ถนนเจริญกรุงต่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ก.ค. 15, 09:29
ภาพวัดกัลยาณมิตร พ.ศ. 2489 โดยวิลเลียมฮันท์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ก.ค. 15, 10:01
ภาพวัดกัลยาณมิตร พ.ศ. 2489 โดยวิลเลียมฮันท์

ภาพชุดนี้อยู่ที่พระจอมเกล้าลาดกระบัง 
สงสัยว่าทำไมถึงขยักเก็บไว้ไม่ปล่อยภาพมาให้หมด
การที่เราเห็นช้าคือการตัดโอกาสทางด้านวิชาการ
น่าจะปล่อยมาให้ครบหมดทุกภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 15, 17:06
รูปนี้บรรยายว่าเป็นเจ้านายฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ ๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 15, 17:08
ฝรั่งชมวัด
ใครพอจะจำได้บ้างคะ ว่าวัดไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 15, 17:11
พระรูปเจ้าดารารัศมี ทรงฉายในกรุงเทพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ก.ค. 15, 17:43
ขอบคุณอาจารย์เทาชมพู สำหรับภาพ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับ ชาร์ลี แชปลิ้น คศ 1924


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 06 ก.ค. 15, 17:48
ภาพที่ 1161 เป็นภาพศาลาไทยในงาน World Exposition ปีใดไม่ทราบ ภาพสวยงามมากค่ะท่านอาจารย์
คนเดินชมอาจจะเป็นคนไทยด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ก.ค. 15, 17:52
ลืมตัว ออกนอกบางกอกไปแล้ว
ขอบคุณคุณกะออมสำหรับข้อมูล

รูปที่สองถ่ายที่เชียงใหม่ ปี ๒๔๔๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 06 ก.ค. 15, 18:26
ฝรั่งชมวัด
ใครพอจะจำได้บ้างคะ ว่าวัดไหน

น่าจะเป็นงาน Expo ในยุโรปงานหนึ่ง ที่สยามไปออกร้านนะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ค. 15, 20:28
ภาพที่ 1161 เป็นภาพศาลาไทยในงาน World Exposition ปีใดไม่ทราบ ภาพสวยงามมากค่ะท่านอาจารย์
คนเดินชมอาจจะเป็นคนไทยด้วย


Exposition Universelle ที่ปารีส ๕ เมษายน ถึง ๑๒ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๐๐ ศาลาสยามอยู่ติดกับศาลาญี่ปุ่น ที่เห็นลิบ ๆ ตรงมุมบนซ้ายคือศาลาอินเดีย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ก.ค. 15, 09:17
ถ่ายรูปเจ้าดารารัศมี โดยเจ้าจอมเอิบ
บริเวณหน้าพระที่นั่งวิมานเมฆ 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.ค. 15, 15:18
เจ้าจอมอาบในครัวที่   พระตำหนักเรือนต้น พระราชวังดุสิต

เจ้าจอมเอี่ยม น่าจะเป็นท่านที่มีฝีมือทางด้านอาหาร  ภาพที่สอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.ค. 15, 15:21
เจ้าจอมก๊กออกับพระราชโอรสพระราชธิดา  ร. ๕ ที่เรือนต้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.ค. 15, 15:23
เจ้าจอมมารดาอ่อน(ที่สองจากซ้าย)กับพระองค์เจ้าอดิศัยฯ กำลังเสวยอาหาร ที่เรือนต้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.ค. 15, 15:27
เจ้าจอมเอิบ ถ่ายภาพ เจ้าพระยาสุรพันธ์ฯ บิดา  ท่านถ่ายภาพเก่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.ค. 15, 15:30
เจ้าจอม ก๊กออ กำลังเก็บบางอย่างที่ต้นไม้มองไม่ออกว่าต้นอะไร ที่พระราชวังดุสิต


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ก.ค. 15, 15:37
สุดท้าย
เจ้าจอมอาบกับเจ้าจอมเอื้อน กำลังรับประทานอาหาร ที่เรือนต้น สังเกตว่าใช้มือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 06:46
ตลาดปทุมวัฒนา ปี ๒๔๘๐ คุ้นตาอย่างยิ่ง
ตอนเด็กผมนั่งเรือเมล์โดยสารบ่อย
เห็นร้านค้าอย่างนี้อยู่ที่ท่าจอดเรือโดยสาร
มีอาหารขนมสำหรับผู้โดยสารเรือที่มาแวะชั่วคราว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 06:49
ร้านค้าริมคลองแถวธนบุรี ปี ๒๔๗๘
ร้านโชห่วยลักษณะเป็นแบบนี้ทั่วๆไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 06:52
รถรางหน้าวัดชนะสงครามปี ๒๔๔๗ คงเคยเห็นกันแล้วภาพนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 06:56
สะพานมัฆวานรังสรรค์ ยังไม่ได้ลงรูปนี้ที
คงเป็นยุคต้นๆสังเกตจากการแต่งกาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.ค. 15, 09:20
ขอเอาภาพมาแจมสักภาพด้วยครับ

ผมเอาภาพสมัยรัชกาลที่ ๔ มุมมองบนภูเขาทองมาเรียงต่อกันสามภาพ ได้ภาพพาโนรามานี้มา แสดงให้เห็นสภาพบ้านเมืองในพระนครสมัยโน้นได้ดี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.ค. 15, 09:27
ประตูผี คือชื่อที่คนทั่วไปเรียกประตูเมืองด้านทิศตะวันออกนี้ แต่เดิมชื่อเป็นทางราชการว่าประตูอะไรไม่ทราบ สมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อตัดถนนบำรุงเมืองแล้ว มีชื่อใหม่ว่าประตูสำราญราษฎร์ แต่ชื่อประตูผีก็ยังติดปากชาวบ้านอยู่จนปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 09:33
ขอเอาภาพมาแจมสักภาพด้วยครับ

ผมเอาภาพสมัยรัชกาลที่ ๔ มุมมองบนภูเขาทองมาเรียงต่อกันสามภาพ ได้ภาพพาโนรามานี้มา แสดงให้เห็นสภาพบ้านเมืองในพระนครสมัยโน้นได้ดี

ขอบคุณครับอาจารย์  NAVARAT.C
.........................................

ประตูช่องกุดสมัยรัตนโกสินทร์คงจะปรับปรุงให้ดีกว่ายุคอยุธยาซึ่งเจาะช่องกำแพงโดยตรงไม่มีหลังคา
ของรัตนโกสินทร์ทำให้มีหลังคาสวยงามกว่ายุคเก่า
ภาพนี้ไม่ทราบว่าก่อนหรือหลังทำหลังคาเป็นหอรบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 10 ก.ค. 15, 11:16
ตลาดปทุมวัฒนา ปี ๒๔๘๐ คุ้นตาอย่างยิ่ง
ตอนเด็กผมนั่งเรือเมล์โดยสารบ่อย
เห็นร้านค้าอย่างนี้อยู่ที่ท่าจอดเรือโดยสาร
มีอาหารขนมสำหรับผู้โดยสารเรือที่มาแวะชั่วคราว

ภาพนี้อยู่ในกรุงเทพหรือต่างจังหวัดคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 11:24
ตลาดปทุมวัฒนา ปี ๒๔๘๐ คุ้นตาอย่างยิ่ง
ตอนเด็กผมนั่งเรือเมล์โดยสารบ่อย
เห็นร้านค้าอย่างนี้อยู่ที่ท่าจอดเรือโดยสาร
มีอาหารขนมสำหรับผู้โดยสารเรือที่มาแวะชั่วคราว

ภาพนี้อยู่ในกรุงเทพหรือต่างจังหวัดคะ

อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี จัดเป็น ตจว. เหนือกรุงเทพ เหนือนนทบุรี ไป
ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ติดต่อกันทั้งสามจังหวัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.ค. 15, 11:52
ประตูช่องกุดสมัยรัตนโกสินทร์คงจะปรับปรุงให้ดีกว่ายุคอยุธยาซึ่งเจาะช่องกำแพงโดยตรงไม่มีหลังคา
ของรัตนโกสินทร์ทำให้มีหลังคาสวยงามกว่ายุคเก่า
ภาพนี้ไม่ทราบว่าก่อนหรือหลังทำหลังคาเป็นหอรบ

ดูจำนวนบ้านเรือนที่แน่นหนากว่าแล้ว ก็ควรจะถ่ายทีหลังหลายปีอยู่นะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 10 ก.ค. 15, 12:19
ตลาดปทุมวัฒนา ปี ๒๔๘๐ คุ้นตาอย่างยิ่ง
ตอนเด็กผมนั่งเรือเมล์โดยสารบ่อย
เห็นร้านค้าอย่างนี้อยู่ที่ท่าจอดเรือโดยสาร
มีอาหารขนมสำหรับผู้โดยสารเรือที่มาแวะชั่วคราว

ภาพนี้อยู่ในกรุงเทพหรือต่างจังหวัดคะ

อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี จัดเป็น ตจว. เหนือกรุงเทพ เหนือนนทบุรี ไป

ขอเรียนถามอาจารย์เพิ่มเติมอีกสักนิดนะคะ ผู้โดยสารที่มาจอดเรือชั่วคราวเพื่อแวะกินอาหารอย่างในรูปที่อาจารย์นำมาให้ดูนี้ สามารถเดินทางไปกลับกรุงเทพ-ปทุมฯ หรือ กรุงเทพ-นนฯ ได้ภายในวันเดียวอย่างสมัยปัจจุบัน หรือว่าจะต้องค้างคืนคะ
ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ติดต่อกันทั้งสามจังหวัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 13:08
ตลาดปทุมวัฒนา ปี ๒๔๘๐ คุ้นตาอย่างยิ่ง
ตอนเด็กผมนั่งเรือเมล์โดยสารบ่อย
เห็นร้านค้าอย่างนี้อยู่ที่ท่าจอดเรือโดยสาร
มีอาหารขนมสำหรับผู้โดยสารเรือที่มาแวะชั่วคราว

ภาพนี้อยู่ในกรุงเทพหรือต่างจังหวัดคะ



อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี จัดเป็น ตจว. เหนือกรุงเทพ เหนือนนทบุรี ไป

ขอเรียนถามอาจารย์เพิ่มเติมอีกสักนิดนะคะ ผู้โดยสารที่มาจอดเรือชั่วคราวเพื่อแวะกินอาหารอย่างในรูปที่อาจารย์นำมาให้ดูนี้ สามารถเดินทางไปกลับกรุงเทพ-ปทุมฯ หรือ กรุงเทพ-นนฯ ได้ภายในวันเดียวอย่างสมัยปัจจุบัน หรือว่าจะต้องค้างคืนคะ
ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ติดต่อกันทั้งสามจังหวัด
 



  คุณ  Anna ถามละเอียดมาก

กรุงเทพ-นนทบุรี-ปทุมธานี เป็นระยะสั้น ใช้เวลาไม่นานไม่ต้องนอนในเรือ
อาจจะมีช่วงพักครึ่งเทียบท่าให้ผู้โดยสารทานอาหารบ้าง ถ้าวิ่งนานๆหลายชั่วโมง

เรือระยะยาวต้องนอนค้างในเรือเช่น นครสวรรค์-กทม. หรือ สุพรรณบุรี-กทม.
ที่วิ่งระยะยาวเป็นเรือสองชั้น นอนขวางเรือได้สองคน 
เอาหัวออกด้านริมเอาขามาหากัน เว้นระยะเดินตอนกลาง
เรือเดินทางทั้งคืน คนโดยสารนอนหลับกันไป 
ถึงท่าสำคัญแวะให้คนขึ้นลง ทานอาหาร จนกว่าจะถึงปลายทางตอนเช้าๆ


ตอนเด็กทุกหน้าร้อนโรงเรียนปิดเทอม ต้องไปบ้านยาย ไปได้ทางเดียวคือทางเรือ
เป็นความประทับใจอย่างหนึงที่เราได้พบเห็นเรื่องแบบนี้
แต่ละครั้งนั่งเรือนานมากเกือบวันเต็มๆนั่งอยู่ในเรือ (ไม่ได้นอนค้าง)
มองเห็นเหตุการณ์ต่างที่เกิดขึ้น คนขึ้นลง นายท้ายเรือสั่นกระดิ่ง คนคุมเครื่องทำตามสัญญาณกระดิ่ง
เป็นความทรงจำที่เราไม่ลืม

นิยายที่เกี่ยวกับเรือโดยสารมีอยู่มากเช่นหลายชีวิตของท่านคึกฤทธิ์
หรือเรื่องของคุณอาจินต์ เกี่ยวกับแม่นํ้านครชัยศรี
ผมชอบอ่าน อ่านแล้วเราเข้าใจดีในเรื่องราวแบบนั้น





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 13:48
เรือสองชั้นที่ท่าเตียน (ไม่แน่ใจว่าเก่าถึงปี ๒๔๖๕ ตามที่เขียนบอกไว้)
ฝั่งตรงข้ามเป็นปากคลองบางหลวง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 10 ก.ค. 15, 16:54
สุ่มไก่บนหลังคาเรือใช่ไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 18:00
สุ่มไก่บนหลังคาเรือใช่ไหมคะ
กรงขังไก่หรือเป็ดในการขนส่ง
ก่อนมีพลาสติกเราใช้หวายหรือไม้ไผ่สานแทน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ก.ค. 15, 18:07
เรือเมล์สองชั้นและชั้นเดียว จอดริมแม่นํ้าเจ้าพระยา พศ.๒๔๗๘


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ก.ค. 15, 11:38
ท่าราชวรดิฐ ปี ๒๔๓๘


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ก.ค. 15, 11:40
ภาพบุคคล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ก.ค. 15, 08:34
วัดแจ้งและแม่นํ้าเจ้าพระยา ประมาณปี ๒๔๕๓


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ก.ค. 15, 08:36
พระที่นั่งอัมพรสถานและอุดรวิภาค เหลืออยู่อีกภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ก.ค. 15, 09:50
ภาพบุคคลต่อ อยู่ในระยะเวลา พศ. ๒๔๓๓-๒๔๕๓


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ก.ค. 15, 09:52
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ก.ค. 15, 08:39
ภาพจากบรมบรรพต มองไปทิศตะวันออกเฉียงใต้
ผ่านบรรดากุฏิของวัด
ยังไม่เห็นถนนบำรุงเมืองน่าจะก่อน พศ ๒๔๐๔
บางกอกยังเป็นป่าละเมาะตามที่ท่านเก่าเล่าไว้
บริเวณนี่อยู่ใกล้กำแพงเมืองมากแล้ว ยังไม่เห็นบ้านเรือน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 ก.ค. 15, 08:38
เมื่อมองจากบรมบรรพตไปทางทิศตะวันตก เป็นเกาะรัตนโกสินทร์  เป็นป่าเสียส่วนมาก
ที่ใกล้กันภายในกำแพงเมืองคือวัดราชนัดดาราม ยังไม่มีถนนราชดำเนิน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ก.ค. 15, 11:58
เมื่อมองไปทางคลองบางลำพู-เห็นสะพานข้ามคลองจากประตูพฤฒิบาศ ไปที่วัดปรินายก
ที่เส้นขอบฟ้าดูเหมือนจะกำลังสร้างเจดีย์ใหญ่ อาจจะเป็นเจดีย์วัดโสมนัส?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ค. 15, 14:59
ตรวจสอบทิศแล้ว น่าจะเป็นพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหารมากกว่าครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ก.ค. 15, 16:35
ตรวจสอบทิศแล้ว น่าจะเป็นพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหารมากกว่าครับ

เป็นอย่างอาจารย์ NAVARAT.C  ว่าก็ได้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ก.ค. 15, 16:37
น่าจะเป็นด้านทิศใต้
ไกลๆมองเหมือนวัดอีกแห่ง นอกนั้นเป็นป่าไม้พุ่มล้วน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ก.ค. 15, 07:43
มองไปทางวัดเทพธิดาราม
คลองโอ่งอ่างขวางซ้ายขวา  มีคลองหลอดวัดเทพธิดารามลอดไปใต้สะพาน
สุดภาพเป็นพระราชวัง มีบ้านเรือนมากหน่อนในบริเวณนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ก.ค. 15, 07:46
เห็นประตูผีที่ข้างบนเป็นหอรบ  กลางภาพ
มีโบถส์ วิหาร วัดสุทัศน์ อยู่ขวาบน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ก.ค. 15, 07:48
ภาพนี้อยู่ในชุดเดียวกัน
คิดว่าตอนที่ถ่ายรูปนี้บรมบรรพตยังไม่แล้วเสร็จ อยู่ในลักษณะนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ค. 15, 08:29
สงสัยมุมนี้ซิครับ ตรงตำแหน่งที่ปัจจุบันเป็นวัดปรินายก ในภาพแสดงว่าเดิมก็เป็นวัดอยู่แล้ว โดยมีอาคารยอดแหลม ดูไม่ออกว่าเป็นมณฑปหรือเมรุเผาศพ ซึ่งว่ากันว่ามีทางทิศนี้มีแต่ที่วัดสระเกศเท่านั้นที่คนกรุงใช้เป็นสถานที่ปลงศพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ก.ค. 15, 09:12
เมรุปูนเป็นอย่างใหม่เริ่มจากพระราชดำริกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
สร้างไว้แห่งแรกที่วัดสุวรรณาราม ฝั่งธน ต่อมาท่านสร้างเพิ่มที่วัดอรุณราชวราราม
จนถึง ร ๓ โปรดให้สร้างที่วัดสระเกศ
จะมีกล่าวถึงแค่สามวัด
วัดปรินายกเป็นวัดใหญ่เช่นกันมีอาณาเขตกว้าง  โดนถนนราชดำเนินกินที่วัดส่วนหนึ่ง
วัดนี้จะมีเมรุปูนหรือไม่   ไม่ทราบครับอาจารย์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ก.ค. 15, 12:00
วัดที่ชาวกรุงใช้ปลงศพมากในสมัยแรกๆ มีสามวัด
วัดสระเกศ เป็นวัดดังสุด
ด้านเหนือเป็นวัดสังเวช
ด้านใต้เป็นวัดบพิตรภิมุข


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ก.ค. 15, 09:48
เทวดาประจำวัน
ภาพเก่าประมาณปี พศ ๒๔๔๐
ไม่บอกที่มาว่าถ่ายมาจากแห่งใด อาจจะเป็นโบสถ์พราหม  - พิพิธภัณฑ์- หรือที่อื่นๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ก.ค. 15, 09:49
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ก.ค. 15, 17:36
วันเสาร์ที่สมาชิกหายหน้าหายตากันส่วนมาก

------------------------------------------------
 พระตำหนักสวนกุหลาบที่เปิดเป็นโรงเรียนในพระมหาราชวัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ก.ค. 15, 17:38
จะเห็นว่าอยู่ด้านทิศใต้ของพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท
และพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ริมกำแพงด้านถนนสนามไชย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ก.ค. 15, 17:39
ตำแหน่ง ที่วงกลมชี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ก.ค. 15, 17:51
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ค. 15, 19:03
เทวดาประจำวัน
ภาพเก่าประมาณปี พศ ๒๔๔๐
ไม่บอกที่มาว่าถ่ายมาจากแห่งใด อาจจะเป็นโบสถ์พราหม  - พิพิธภัณฑ์- หรือที่อื่นๆ

เทพเคราะห์วังหน้าหล่อไว้ครับ เป็นภาพถ่ายก่อน 2440 ครับผม ปัจจุบันทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ได้เคยนำออกมาให้ประชาชนสักการะเทพเคราะห์ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ค. 15, 19:07
สิ่งก่อสร้างยอดปรางค์ ฐานล่างสี่เหลี่ยม วัดปรินายก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 ก.ค. 15, 06:01
เทวดาประจำวัน
ภาพเก่าประมาณปี พศ ๒๔๔๐
ไม่บอกที่มาว่าถ่ายมาจากแห่งใด อาจจะเป็นโบสถ์พราหม  - พิพิธภัณฑ์- หรือที่อื่นๆ

เทพเคราะห์วังหน้าหล่อไว้ครับ เป็นภาพถ่ายก่อน 2440 ครับผม ปัจจุบันทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ได้เคยนำออกมาให้ประชาชนสักการะเทพเคราะห์ครับ
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
ถ้าเป็นพระเคราะห์ต้องรวม(ไม่รู้มีพระเกตุหรือไม่ แต่ พระราหู มีแน่)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 ก.ค. 15, 06:10
เสาชิงช้าคู่เดิมอยู่หน้าโบสถ์พราหมณ์ ก่อนจะย้ายตำแหน่งในสมัย ร๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.ค. 15, 14:48
สะพานเหล็กบนหรือสะพานดำรงสถิตย์
อันที่สาม ปี พศ ๒๔๓๙


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ก.ค. 15, 19:50
ไม่อยู่หลายวัน ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ก.ค. 15, 16:32
3 lakhon acters          ปี ๒๔๐๔
--------------------

ฝีมือของ Pierre Joseph Rossier   Swiss  photographer
เป็นช่างภาพรุ่นแรกๆที่เข้ามาถ่ายภาพในเมืองสยาม
ติดอกติดใจการเล่นละครของไทยถ่ายภาพการเล่นละครไว้ประมาณ ๒๐ ภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ก.ค. 15, 16:34
ข้อมูลมีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ราคา 995 บาท คุ้มค่าทุกบาทที่ได้จ่าย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 29 ก.ค. 15, 08:57
ข้อมูลมีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ราคา 995 บาท คุ้มค่าทุกบาทที่ได้จ่าย



ภาพในอดีตที่อาจารย์กรุณานำมาแบ่งปันกันชมนี้เป็นความรื่นรมย์อย่างหนึ่งของดิฉันเลยนะคะ กราบขอบพระคุณค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ก.ค. 15, 09:19
ข้อมูลมีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ราคา 995 บาท คุ้มค่าทุกบาทที่ได้จ่าย



ภาพในอดีตที่อาจารย์กรุณานำมาแบ่งปันกันชมนี้เป็นความรื่นรมย์อย่างหนึ่งของดิฉันเลยนะคะ กราบขอบพระคุณค่ะ

ด้วยความยินดี และ ขอบคุณที่ติดตามชม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ก.ค. 15, 09:24
ยังมีภาพของ P Rossier (ที่คิดว่าเป็นภาพใน session เดียวกัน)เหลืออยู่ ขอลงเป็นชุดเดียวกัน
ได้มาจากเวปในเมืองนอก ที่ไม่มีคำอธิบาย เมื่อมาดูแล้วคิดว่าเป็นของคนเดียวกัน
น่าจะเป็นชุด ปี ๒๔๐๔

ภาพแรกของเมื่อวานเป็นภาพ well-known , ฟรานซิส จิต ก๊อปปี้ออกมาขาย
และเคยไปลงในหนังสือของมูโอต์และแอนนา เลียวโนเวนส์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ก.ค. 15, 09:25
อีกสองภาพสุดท้าย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ก.ค. 15, 13:26
ยังมีภาพของ P Rossier (ที่คิดว่าเป็นภาพใน session เดียวกัน)เหลืออยู่ ขอลงเป็นชุดเดียวกัน
ได้มาจากเวปในเมืองนอก ที่ไม่มีคำอธิบาย เมื่อมาดูแล้วคิดว่าเป็นของคนเดียวกัน
น่าจะเป็นชุด ปี ๒๔๐๔

ภาพแรกของเมื่อวานเป็นภาพ well-known , ฟรานซิส จิต ก๊อปปี้ออกมาขาย
และเคยไปลงในหนังสือของมูโอต์และแอนนา เลียวโนเวนส์


กลุ่มภาพชุดนี้จะปะปนกับภาพชาวกัมพูชา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ก.ค. 15, 13:35
ยังมีภาพของ P Rossier (ที่คิดว่าเป็นภาพใน session เดียวกัน)เหลืออยู่ ขอลงเป็นชุดเดียวกัน
ได้มาจากเวปในเมืองนอก ที่ไม่มีคำอธิบาย เมื่อมาดูแล้วคิดว่าเป็นของคนเดียวกัน
น่าจะเป็นชุด ปี ๒๔๐๔

ภาพแรกของเมื่อวานเป็นภาพ well-known , ฟรานซิส จิต ก๊อปปี้ออกมาขาย
และเคยไปลงในหนังสือของมูโอต์และแอนนา เลียวโนเวนส์


กลุ่มภาพชุดนี้จะปะปนกับภาพชาวกัมพูชา
ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูล

ภาพแรกคือ 3 Lakhon Actors  อธิบายในรายละเอียดว่าเป็น Siamese Actors
ดังนั้น ทั้ง ๖ ภาพเป็นภาพคนไทยแน่
สังเกตุจากผ้าปูรองที่มีลายเสือเหมือนกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ก.ค. 15, 13:43
siamese play actor


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ก.ค. 15, 13:47
หน้าแปลกแต่เป็นคนไทย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ก.ค. 15, 14:07
ขอบคุณ คุณหนุ่มสยามที่ให้ข้อมูล

ที่จริงยังมีภาพตัวละครอื่น

ผมเลือกเอาเฉพาะที่มีผ้าลายเสือรอง
จะได้มั่นใจว่าอยู่ใน session เดียวกับ 3 lakhon actors
ภาพอื่นไม่กล้าเอามาลงกลัวจะไม่ใช่ภาพของ P  Rossier
ยังมีอีกประมาณ ๑๒ ภาพ ยังไม่มั่นใจ    ยังไม่ได้โพสต์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: npnett ที่ 29 ก.ค. 15, 15:42
  ภาพตัวละคร หากลูกหลานบังเอิญพบเห็นจากที่นี่ คงดีใจเป็นที่สุด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ก.ค. 15, 18:46
  ภาพตัวละคร หากลูกหลานบังเอิญพบเห็นจากที่นี่ คงดีใจเป็นที่สุด

ครับ แต่จะ tract ขึ้นไปถึงต้นตออันนี้ ยาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ก.ค. 15, 08:56
  หยุดเรื่องราวของ  Pierre Joseph Rossier  ไว้ชั่วคราวก่อน
มีภาพละครมาคั่น น่าจะเป็นของ Wilhelm Burger ที่เรารู้จักกันดี
ปี พศ ๒๔๑๒

ชุดละครพวกนี้หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช  เอาหลบหนีไปเป็นต้นแบบของเขมร
ทำให้ละครเขมรแต่งตัวอย่างนี้ แต่ในเมืองไทยมีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ก.ค. 15, 09:28
  ถ้ามองถึงประวัติของการถ่ายภาพยุคแรกในประเทศเรา  
จัดว่า Pierre Joseph Rossier  เป็น the most influential

-------------------------------------------------------
ช่างภาพในสมัยก่อนมักจะถ่ายภาพเป็นหลายชุด เพราะแผ่นกระจก
เน็กกาทีป อาจจะแตกได้ ถ่ายเป็นชุด เอ ชุด บี แล้วแยกใส่ต่างหีบ
อย่าง ฟรานซิส จิตร ก็ถ่ายภาพออกเป็นหลายเวอร์ชั่นเช่นกัน
ภาพเดียวกันแต่จะแตกต่างกันเล็กน้อยในรายละเอียด

ภาพวัดแจ้งของ  Pierre Joseph Rossier  ภาพนี้มีสอง versions
version แรก เศียรของทศกรรณ ขวา ตรงกับยอดช่อฟ้าพอดี
version สอง จะแตกต่างนิด คือ เศียรจะเยื้องออกมาทางด้านหน้าของยอดช่อฟ้า(ผมหาภาพไม่เจอ  แต่มีในหนังสือ
ไม่อยากก๊อปปี้มา)

ดูภาพในเวอร์ชั่นหนึ่ง พศ ๒๔๐๔-๒๔๐๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ก.ค. 15, 12:16
ไม่ทราบรายละเอียด มีเพียงภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ก.ค. 15, 13:10
ภาพ residence of  a chief monk พศ ๒๔๐๔-๒๔๐๕
ของ Pierre Joseph Rossier  เป็นอีกภาพที่มีสอง versions

ระหว่างถ่ายภาพที่สองสำรอง คนที่ยืนบนพื้นเชิงบันได   เปลี่ยนท่า สังเกตได้

ภาพนี้มีผู้เอาไปวาดเป็นภาพวาดต่อ(หลายครั้ง)แล้วเปลี่ยนชือ

ภาพที่สามเป็นภาพที่วาดจากภาพถ่าย  ภาพหนึ่งในหลายๆภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ก.ค. 15, 19:27
  หยุดเรื่องราวของ  Pierre Joseph Rossier  ไว้ชั่วคราวก่อน
มีภาพละครมาคั่น น่าจะเป็นของ Wilhelm Burger ที่เรารู้จักกันดี
ปี พศ ๒๔๑๒

ชุดละครพวกนี้หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช  เอาหลบหนีไปเป็นต้นแบบของเขมร
ทำให้ละครเขมรแต่งตัวอย่างนี้ แต่ในเมืองไทยมีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง
ลักษณะผลงานของเบอร์เจอร์จะถูกบังคับด้วยการอยู่ในกล่องโครงไม้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ก.ค. 15, 06:38
  หยุดเรื่องราวของ  Pierre Joseph Rossier  ไว้ชั่วคราวก่อน
มีภาพละครมาคั่น น่าจะเป็นของ Wilhelm Burger ที่เรารู้จักกันดี
ปี พศ ๒๔๑๒

ชุดละครพวกนี้หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช  เอาหลบหนีไปเป็นต้นแบบของเขมร
ทำให้ละครเขมรแต่งตัวอย่างนี้ แต่ในเมืองไทยมีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง
ลักษณะผลงานของเบอร์เจอร์จะถูกบังคับด้วยการอยู่ในกล่องโครงไม้
ขอบคุณครับ เรารู้เพิ่มขึ้นอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ก.ค. 15, 12:24
สถานทูตอังกฤษหลังเดิม
อยู่ริมถนนเจริญกรุง ข้างวัดม่วงแค
ปัจจุบันคือไปรษณีย์กลางบางรัก

ข้อความแรกคือฟื้นความหลังของพระยาอนุมานราชธน ที่เล่าถึงสถานทูต
ภาพที่สอง ถ่ายจากด้านข้าง  ตัวสถานทูตเป็นตึกหน้า ที่อยู่เป็นตึกใน(ขวา)
ภาพล่างสุด น่าจะเป็นที่อยู่ของทูต


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ก.ค. 15, 12:31
หลังจากมีรูปปั้นของพระนางวิคตอเรียแล้ว
มุมมองด้านหน้า
มองจากแม่นํ้าเจ้าพระยา

ภาพล่างคือไปรษณีย์กลางบางรัก ตรงที่เคยเป็นสถานทูตอังกฤษเดิม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ส.ค. 15, 14:36
ภาพอื่นของ Pierre Joseph Rossier  ที่เห็นกันบ่อยคือภาพนี้(ภาพเดียวกัน )


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 ส.ค. 15, 14:44
อีกภาพของ P Rossier  คือภาพ second king สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
ต่อมา Bocourt เอามาวาดลงพิมพ์ในหนังสือของมูโอต์ ภาพสอง-สาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ส.ค. 15, 10:38
  ยังมีภาพสวย ของ Pierre Rossier อีก
แต่ตอนนี้เรื่องคุ้มครองลิขสิทธิ์มาแรง ขอเพลาๆไว้ก่อน
ท่านอาจจะหาภาพของ Pierre Rossier ได้จากกูเกิล
มีอยู่สองภาพที่เห็น เป็นภาพที่ไม่เคยเห็นในบ้านเรา
เป็นภาพพระจอมเกล้ากับโอรสธิดา 11 คน (ไม่ใช่ภาพของ F Jagor ที่ถ่ายพร้อมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาศ)
กับภาพโอรสธิดาอีกภาพ 
ประกาศขายตั้ง 1500 ดอลล่าร์  ลองเข้าไปดู


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 15, 12:05
อีกภาพของ P Rossier  คือภาพ second king สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
ต่อมา Bocourt เอามาวาดลงพิมพ์ในหนังสือของมูโอต์ ภาพสอง-สาม

พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ผ่านการถกเถียงกันมากมายทั้งพระบวรฉายาลักษณ์ไหนเป็นต้นฉบับ และใครเป็นผู้ฉายพระรูปกันแน่  ทั้งยังมีเรื่องลิขสิทธ์ให้ถกเถียง  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6059.0;attach=50320;image)

ย้อนถึงเหตุการณ์ครานั้นได้ที่

สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ? (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.0)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ส.ค. 15, 12:28
อีกภาพของ P Rossier  คือภาพ second king สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
ต่อมา Bocourt เอามาวาดลงพิมพ์ในหนังสือของมูโอต์ ภาพสอง-สาม

พระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ผ่านการถกเถียงกันมากมายทั้งพระบวรฉายาลักษณ์ไหนเป็นต้นฉบับ และใครเป็นผู้ฉายพระรูปกันแน่  ทั้งยังมีเรื่องลิขสิทธ์ให้ถกเถียง  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6059.0;attach=50320;image)

ย้อนถึงเหตุการณ์ครานั้นได้ที่

สมัยรัชกาลที่๔ มีPhotoshopแล้วหรือ? (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6059.0)


มีการซื้อขายเนกกาทีฟ กันด้วย เลยกลายเป็นปัญหาใครคือเจ้าของที่แท้จริง
คนที่ถือเนกกาทีฟเป็นคนถ่ายจริงหรือไม่  ไม่แน่นอนเสมอไป
หนังสือเล่มที่อ่านเขาก็อ้าง P Rossier เป็นผู้ถ่ายภาพ

บางกรณีมีเงื่อนเวลา อะไรพอจะจับผิดได้ แต่บางกรณีไม่มีอะไรเป็นหลักฐานพอจะจับได้ 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ส.ค. 15, 13:36
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: PATAMA.M ที่ 06 ส.ค. 15, 09:43
มีแต่รูปหาดูยากและมีคุณค่า ขอขอบคุณทุกท่านมากค่ะที่แบ่งปัน

พยายามสมัครสมาชิกมาหลายปี..  :-[   เพราะอยากมีส่วนร่วม  และหวังว่าจะมีอีกให้ชมอีกเรื่อยๆ  ;D

 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ส.ค. 15, 10:29
ภาพบรรยากาศการแจกเหรียญเสมา ร.5


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ส.ค. 15, 12:45
มีแต่รูปหาดูยากและมีคุณค่า ขอขอบคุณทุกท่านมากค่ะที่แบ่งปัน

พยายามสมัครสมาชิกมาหลายปี..  :-[   เพราะอยากมีส่วนร่วม  และหวังว่าจะมีอีกให้ชมอีกเรื่อยๆ  ;D

 
ขอบคุณครับ คุณ PATAMA.M ยังมีภาพ ติดเรื่องลิขสิทธิ์ที่กำลังมาช่วงนี้ ขอเพลาๆ
ตอนนี้ขอ concentrate เรื่องของอาจารย์ NAVARAT.C สักนิด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ส.ค. 15, 13:17
ภายในธนาคารสยามกัมมาจล ธนาคารแห่งแรกของคนไทย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 06 ส.ค. 15, 15:01
อ้างถึง
ภาพบรรยากาศการแจกเหรียญเสมา ร.5
จะใกล้เคียงบรรกาศการแจกเข็มกลัด Bike for Mom ในปัจจุบันไหมหนา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ส.ค. 15, 10:16
ถนนเจริญกรุงเคยให้ดูแล้ว
ครั้งก่อนครอปขอบ คราวนี้เอามาลดความคมชัด (เหลือ 91%ถ้า 92 จะเกิน 250 KB)ได้แค่นี้
จะเห็นเต็มรูปตามต้นฉบับ

เป็นถนนเจริญกรุงช่วงใกล้สี่กั๊กพระยาศรี
รถรางอยู่ด้านนอกแสดงว่ามองไปทางสะพานเหล็ก

ส่วนถนนเจริญกรุงพ้นสะพานเหล็กไปแล้วจะแคบกว่า
ตามรูปที่สองซึ่งคงไม่ไกลจากสะพานเหล็กเท่าไหร่ เป็นตำแหน่งที่นิยมถ่ายกันบ่อย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ส.ค. 15, 10:24
ถนนเจริญกรุงเคยให้ดูแล้ว
ครั้งก่อนครอปขอบ คราวนี้เอามาลดความคมชัด (เหลือ 91%ถ้า 92 จะเกิน 250 KB)ได้แค่นี้
จะเห็นเต็มรูปตามต้นฉบับ

เป็นถนนเจริญกรุงช่วงใกล้สี่กั๊กพระยาศรี
รถรางอยู่ด้านนอกแสดงว่ามองไปทางสะพานเหล็ก

ส่วนถนนเจริญกรุงพ้นสะพานเหล็กไปแล้วจะแคบกว่า
ตามรูปที่สองซึ่งคงไม่ไกลจากสะพานเหล็กเท่าไหร่ เป็นตำแหน่งที่นิยมถ่ายกันบ่อย

ต้นไม้ขนาดใหญ่ปลูกเป็นทิวแถว ตัวเรือนห้องแถวออกแนวตะวันตกผสมบานเฟี้ยม เป็นบรรยากาศที่สวยมากๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ส.ค. 15, 10:28
ถนนเจริญกรุง นอกเมือง น่าจะเป็นช่วงที่ลงจากสะพานเหล็ก
ตรงรถรางคันหน้าเป็นเวิ้งนาครเขษม
มีผู้คนคีกคัก เป็นศูนย์กลางความบรรเทิงในสมัยนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ส.ค. 15, 12:33
หนังสือของ  John Thomson ที่เขียนเรื่องราวในประเทศสยามอยู่ในหนังสือเล่มนี้
ภาพนี้เป็นหน้าใน  ปกนอกสุดหุ้มด้วยผ้าไม่มีรายละเอียด
เขียนเรื่องสยามไว้ที่หน้า ๗๘-๑๑๘ ในจำนวน ห้าร้อยกว่าหน้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ส.ค. 15, 12:43
ในหน้า ๘๖-๘๗  เขียนไว้อย่างรูปที่หนึ่ง
ในประโยคสุดท้ายว่า   "ขบวนเรือกฐินเป็นภาพที่ประทับใจที่สุดภาพหนึ่ง ที่เคยเห็นในภาคตะวันออก"
------------------------------------------

มีรูปเรืออนันตนาคราชแทรกอยู่เป็นภาพพิมพ์ไม้ (ทุกภาพในหนังสือเล่มนี้เป็นภาพพิมพ์ไม้)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ส.ค. 15, 12:24
Thomson ได้ถ่ายภาพเรืออนันตนาคราช   ปลายปี  พศ.๒๔๐๘
เนื่องจากเรือยาวกว่า ๔๒ เมตร ต้องแยกถ่ายเป็นสองแผ่น
ดูแล้วเหมือนเป็นการโพสต์ท่าทางฝีพายเพื่อการถ่ายภาพโดยเฉพาะ
เพราะเรือยังผูกติดกับเสาไม้  ไม่ได้เคลื่อนที่

เมื่อนำสองภาพมาต่อกันจะได้ตามรูปล่าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ส.ค. 15, 07:40
ภาพแรกคือโรงพิมพ์หมอบลัดเลย์ที่ปากคลองบางหลวง ที่เราทราบกันดี

ภาพที่สองปี พศ๒๔๐๓ ไปเห็นในหนังสือเล่มหนึ่ง ว่าเป็นโรงพิมพ์หมอบลัดเลย์
(อ้างตามจดหมายเหตุ วิทยาลัยโอบาลินของอเมริกา) อาจจะเป็นโรงพิมพ์
แห่งแรกๆก่อนไปอยู่ที่คลองบางหลวง

หมอบลัดเลย์มีโรงพิมพ์แห่งแรกที่ซอยกัปตันบุช
ต่อมาย้ายไปอยู่ที่ฝั่งธนบุรี หน้าวัดประยุรวงศ์ฯ
ครั้งสุดท้ายย้ายไปอยู่ที่ปากคลองบางหลวงหลังป้อมวิชัยประสิทธิ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ส.ค. 15, 07:49
หมอบลัดเลย์ย้ายมาอยู่ที่บ้านปากคลองบางหลวง ปี พศ ๒๓๙๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ส.ค. 15, 08:20
เรือขายน้ำแข็งไส


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 15, 08:48
คนขายแต่งกายสุภาพมาก  สวมเสื้อเชิ้ตขาวกางเกงขายาว สวมหมวกด้วย   น่าจะเป็นยุค "วัธนธัม" ของจอมพลป.
น้องนางในสวนตัดผมบ๊อบยาว  นุ่งกระโจมอกลงน้ำเป็นของปกติ ไม่เขินอายสายตาใคร
อีกคนขึ้นจากน้ำ เดินกลับบ้านไปแล้ว  ผ้ายังเปียกๆแนบรูปร่างอยู่เลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 11 ส.ค. 15, 12:40
บรรยากาศไทยๆ เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของหญิงไทยต่างจังหวัดในสมัยนั้น ใครๆก็ใช้ชีวิตประจำวันแบบนี้
แต่ก็อดแว้บไปสมัยขุนช้าง-ขุนแผนไม่ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ส.ค. 15, 09:06
ขายไอศกรีม ? ตลาดอรัญประเทศ พศ.๒๔๙๑


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ส.ค. 15, 09:13
เด็กขายอาหารที่บ้านหลักลอย โคราช ๑๓  มีนาคม ๒๔๗๙


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ส.ค. 15, 09:19
ขายขนม ที่กรุงเทพ ขนมตะโก้ หรือไม่? ใช้ใบตองเป็นกระทง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ส.ค. 15, 09:22
ขายกาแฟ มีนํ้าแข็งที่รักษาความเย็นด้วยแกลบ
โอเลี้ยงโบราณที่แสนอร่อยพลอยหายไปกับกาลเวลา  เด็กรุ่นหลังคงไม่รู้จักรสชาติเดิมๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ส.ค. 15, 09:28
เรือด้านบนสุดปรุงอาหารอะไร บอกไม่ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ส.ค. 15, 19:20
ภาพชาวเรือจะให้สังเกตุว่าเขาจะใช้ขาเกี่ยวเรือกันและกัน เป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันในการเกี่ยวเรือให้อยู่กับที่นิ่งๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ส.ค. 15, 06:34
ภาพชาวเรือจะให้สังเกตุว่าเขาจะใช้ขาเกี่ยวเรือกันและกัน เป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันในการเกี่ยวเรือให้อยู่กับที่นิ่งๆ
เอาขาเกี่ยวพบบ่อย เป็นการยึดเรือชั่วครั้งชั่วคราว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ส.ค. 15, 06:37
หน้าโฆษณาสมัยก่อน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ส.ค. 15, 06:41
ต่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ส.ค. 15, 09:44
ติดธุระหลายวันครับ  เสร็จงานเจอกันใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 ส.ค. 15, 09:40
สี่แยกราชประสงค์ โรงแรมเอราวัณ ประมาณปี พศ ๒๕๐๓
รถรางสายบางรักประตูนํ้าน่าจะยังมีอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 ส.ค. 15, 11:27
ยังไม่กลับบ้านเลย ลองเสริชดูได้ภาพพวกนี้ เป็นผลงานของ Harrison Forman
สี่แยกราชประสงค์อีกภาพ มองจากด้านข้างศาลพระพรหม
สมัยที่ยังไม่มีไฟจราจร ใช้ป้ายเขียนบอก หยุด ด้านหนึ่ง อีกด้าน  ไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ส.ค. 15, 17:08
ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพ   บอกไม่ได้ว่าแถวไหน
มองเห็นป้ายไกล  อาจเป็น ETO ?  ป้ายขององค์การ รสพ.
รสพ  ก่อตั้งเมื่อปี พศ. ๒๔๙๖ ยุบไปเมือปี ๒๕๔๘

รถยนต์บนถนนแทบไม่มีรถจากญี่ปุ่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ส.ค. 15, 17:14
ถนนเจริญกรุง  หน้าไปรษณีย์กลาง บางรัก  มองไปที่สามแยกบางรัก  เห็นรถรางวิ่งอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ส.ค. 15, 17:17
สนามบินดอนเมืองยุคโน้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ส.ค. 15, 17:21
โรงแรมวิคตอรี่ หน้าโรงพยาบาลเลิศสิน  และถนนสีลมในราวปี ๒๕๐๓


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 23 ส.ค. 15, 19:10
โรงแรมวิคตอรี่ หน้าโรงพยาบาลเลิศสิน  และถนนสีลมในราวปี ๒๕๐๓

รูปนี้ถ่ายในขณะที่โรงแรมยังดำเนินกิจการอยู่หรือเปล่าคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ส.ค. 15, 19:21
โรงแรมวิคตอรี่ หน้าโรงพยาบาลเลิศสิน  และถนนสีลมในราวปี ๒๕๐๓

เหมือนจะถ่ายภาพในห้วงวันมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ในเดือนธันวาคม เพราะเห็นการประดับธงชาติและแถบป้ายผ้าสีเหลืองพร้อมอักษร  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ส.ค. 15, 09:32
โรงแรมวิคตอรี่ หน้าโรงพยาบาลเลิศสิน  และถนนสีลมในราวปี ๒๕๐๓

รูปนี้ถ่ายในขณะที่โรงแรมยังดำเนินกิจการอยู่หรือเปล่าคะ
คงจะดำเนินกิจการอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ส.ค. 15, 09:35
ตลาดมหานาคกับสะพานข้ามคลองโครงเหล็กพื้นไม้อย่างสะพานนรรัตน์
ปี ๒๔๘๑ ภาพของ ดร เพนเดิลตัน



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ส.ค. 15, 09:39
ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการทำอาหารสมัยเก่า



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: MCMLII ที่ 24 ส.ค. 15, 21:14
โรงแรมวิคตอรี่ หน้าโรงพยาบาลเลิศสิน  และถนนสีลมในราวปี ๒๕๐๓
คลองสีลมถูกถมไปราว 2505 วิคตอรี่สร้างหลังจากนั้น 3-4 ปี
โรงแรมวิคตอรี่ หน้าโรงพยาบาลเลิศสิน  และถนนสีลมในราวปี ๒๕๐๓

รูปนี้ถ่ายในขณะที่โรงแรมยังดำเนินกิจการอยู่หรือเปล่าคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ต.ค. 15, 16:18
แผนที่นายวอนนายสอน ๒๔๓๙
แยกเป็นสามแถวตั้งนอน
(ส่งทั้งหมดไม่ได้)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ต.ค. 15, 16:20
แถวกลาง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 ต.ค. 15, 16:21
แถวล่างสุด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 06 ต.ค. 15, 04:11
ตลาดมหานาคกับสะพานข้ามคลองโครงเหล็กพื้นไม้อย่างสะพานนรรัตน์
ปี ๒๔๘๑ ภาพของ ดร เพนเดิลตัน
(http://www.reurnthai.com/index.php?PHPSESSID=054fee97134a8beef41212ef838d865e&action=dlattach;topic=5929.0;attach=58933;image)
ผมคิดว่ารูปนี้ไม่ใช่ตลาดมหานาค  เพราะตลาดมหานาคมีสะพานเหล็กเพียงแห่งเดียว  และเป็นสะพานรถไฟ  ลักษณะแตกต่างจากที่เห็นในรูปขาวดำ
ลักษณะเรือ การค้า ก็ต่างกัน // จากที่ผมเห็นผ่านตามาหลายๆรูป  ตลาดมหานาคจะเป็นเรือลำใหญ่  ลักษณะค้าส่ง
ในรูปขาวดำ..พื้นสะพานยกระดับสูงจากผิวถนน  ถ้ารถไฟจะแล่นขึ้นสะพานต้องทำทางลาดกีดขวางหน้าบ้านเรือน  และถนนนั้นก็แคบด้วยครับ

บางทีรูปขาวดำอาจเป็นคลองบางลำพู กับ สะพานนรรัตน์



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ต.ค. 15, 04:34
.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ต.ค. 15, 04:39
รับเสด็จ    ร๕  กลับจากเยือนยุโรป  รศ ๑๒๖


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 ต.ค. 15, 09:05
ได้มาแค่นี้ ไม่เต็มแผ่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 ต.ค. 15, 09:34
เปิดพระบรมรูปทรงม้า พฤศจิกายน ๒๔๕๑
มีแถวระทาด้วยอยู่ทางขวามือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ต.ค. 15, 05:34
นักเรียนโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ของแหม่มโคล์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ต.ค. 15, 08:07
ภาพมองจากภูเขาทองมองมายังแถบเมรุวัด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 ต.ค. 15, 12:44
ขอบคุณครับคุณหนุ่มสยาม
ภาพนั้นมีลายนํ้าอยู่ตรงศาลากลางภาพ
เมื่อลบลายนํ้าเสาของศาลาโบ๋ เห็นไม่ชัด
ผมขอลงใหม่ น่าจะเป็นภาพเดียวกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 ต.ค. 15, 06:21
เปรียบเทียบภาพลายเส้นกับภาพถ่าย
จากหนังสือ the boy travellers  in the far east


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 ต.ค. 15, 06:24
หนังสือ The land of the white elephant


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 ต.ค. 15, 06:32
 จากหนังสือ  The Straits of Malacca, Indo-China, and China ฯ ของ ธอมสัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ต.ค. 15, 07:42
ภาพนี้ไม่มีคำบรรยาย เป็นภาพถ่ายโป๊สการ์ด
เดาว่าเป็นพิธีเปิดพระบรมรูปทรงม้า เดือน พย. ๒๔๕๑
ภาพแรกคงจะใช่    ภาพที่สองไม่แน่ใจ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 15, 08:08
ภาพนี้ไม่มีคำบรรยาย เป็นภาพถ่ายโป๊สการ์ด
เดาว่าเป็นพิธีเปิดพระบรมรูปทรงม้า เดือน พย. ๒๔๕๑
ภาพแรกคงจะใช่    ภาพที่สองไม่แน่ใจ

ทั้งสองภาพเป็นบรรยากาศงานฉลองในการครองราชย์รัชกาลที่ ๕ ยืนยาวครบ ๔๐ ปีครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ต.ค. 15, 14:53
ขอบคุณครับ
ที่เรียกว่า พิธีรัชมังคลาภิเษก?
จัด เดือน  พย. ๒๔๕๑ เหมือนกัน
ใช้ศาลาเดียวกับพิธีเปิดพระบรมรูปทรงม้า  เดาผิด

รูปบนเรือสำเภาจีน จากหนังสือ John Thomson


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ต.ค. 15, 16:55
ภาพนี้อย่างกับว่า มีการเผาศพในช่วงนั้นอยู่พอดี

หรือไง ช่วยดูหน่อยครับ เป็นที่เนื้อฟิล์มหรือเปล่า เพราะผู้คนไม่เห็นมี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 ต.ค. 15, 17:39
อ.NAVARAT.C  น่าจะเป็นเนื้อฟิล์มอย่างอาจารย์ว่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ต.ค. 15, 06:02
   จากหนังสือ The peoples and politics of the Far East - travels and studies in the British, French, Spanish and Portuguese colonies, Siberia, China, Japan, Korea, Siam and Malaya


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ต.ค. 15, 06:05
 หนังสือเล่มเดียวกัน  The peoples and politics of the Far East - travels and studies in the British, French, Spanish and Portuguese colonies, Siberia, China, Japan, Korea, Siam and Malaya 

วัดอนงคาราม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 ต.ค. 15, 06:17
   บ้านพักของหมอ Gutzlaff บางกอก 

Journal of three voyages along the coast of China, in 1831, 1832 and 1833


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ต.ค. 15, 07:50
 From Golden Gate to golden sun  เรื่องของชีวิต



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ต.ค. 15, 07:59
จากหนังสือ  The boy travellers in the Far East


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ต.ค. 15, 08:45
ที่ริมฝังตรงข้ามมีลักษณะเหมือนป้อม มีอาคารสูงคล้ายโรงสี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ต.ค. 15, 06:51
จากท่าเตียน มองไปฝั่งตรงข้าม
เห็นแลนด์มาร์คสำคัญทางด้านฝั่งธนบุรี
วิหารวัดกัลยาณมิตร,พระปรางค์วัดพิชยญาติการาม
วัดซางตาครู๊ซ,เจดีย์วัดประยุรวงศ์ฯ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ต.ค. 15, 06:59
พระบาทสมเด็จพระปิยะฯเสด็จผ่านวัดบวรฯ
ในพิธีทอดกฐิน  ด้านซ้ายมีกำแพงเมืองให้เห็น
ประมาณ ปี ๒๔๔๓

ภาพที่สองอ้างว่าเป็นกำแพงเมืองด้านวัดบวรฯ ?? ปี ๒๔๓๘


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ต.ค. 15, 07:03
เมรุปูนวัดสระเกศ สร้างสมัยรัชกาลที่ ๓
เมรุปูนเป็นการทำเมรุแบบใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์
ในสมัยแรกมีอยู่สามวัดคือวัดสุวรรณาราม วัดแจ้ง และวัดสระเกศ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ต.ค. 15, 07:14
แม่นํ้าเจ้าพระยา  ท่าเรือวินเซอร์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 ต.ค. 15, 07:29
แผนที่กรุงเทพ พิมพ์ที่ญี่ปุ่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ต.ค. 15, 07:03
ห้างใต้ฟ้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ต.ค. 15, 07:43
ห้างใต้ฟ้า


เห็นหน้าใต้ฟ้า แล้วต้องนึกถึงห้างแมวดำ ที่อยุ่ตรงข้ามกันในภาพฝั่งขวามือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ต.ค. 15, 07:56
อยากเอารูปห้างแมวดำมาให้ดู ตอนนี้ยังหาไม่เจอ (วันหลังค่อยๆหาคงเจอ)
ดูรถลากก่อน




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 ต.ค. 15, 08:02
เยาวราช


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 ต.ค. 15, 06:48
 ภาพลายเส้นสลักไม้จาก The Straits of Malacca, Indo-China, and China,
 or, Ten years' travels, adventures, and residence abroad / by J. Thomson
--- illustrated with upward of sixty wood engravings -----
เมื่อเทียบกับภาพถ่าย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ต.ค. 15, 08:28
ภาพยักษ์กับนาง ยืนบนตั่งไม้แล้วถ่ายภาพ เป็นภาพที่สวยมาก แต่ทำไมเลือกที่ไปยืนบนตั่งเพิ่มความสูง หรือว่า ขาตั้งกล้องมีความสูงเลยต้องผู้ถ่ายยืนบนที่สูง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 15 ต.ค. 15, 09:33

ตรงโคนต้นกล้วย ฝั่งเท้าของนางก็ดูแปลกๆครับ
น่าจะเป็นรอยแต่งภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ต.ค. 15, 07:23
Siam, the land of the white elephant, as it was and is



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ต.ค. 15, 07:58

ตรงโคนต้นกล้วย ฝั่งเท้าของนางก็ดูแปลกๆครับ
น่าจะเป็นรอยแต่งภาพ


โคนกล้วย จะเห็นรอยตัวอักษรสีดำ เขียนว่า J.Thompson เป็นชื่อช่างภาพครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ต.ค. 15, 07:59
Drawn by M. Therond, from a Photograph.จากหนังสือ อองรี มูโอต์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ต.ค. 15, 08:13
Over five seas and oceans, from New York to Bangkok, Siam, and return -some reminiscences
จากรูป ประมาณ รัชกาลที ๔


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 ต.ค. 15, 08:17
Siam, the land of the white elephant, as it was and is
วัดแจ้ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ต.ค. 15, 08:49
หนังสือของ อองรี มูโอต์ Voyage dans les royaumes de Siam, de Cambodge, de Laos et autres parties centrales de l'Indo-Chine, 1858-1861

วัดแจ้ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ต.ค. 15, 08:59
ภาพแรกจาก Voyage dans les royaumes de Siam, de Cambodge, de Laos et autres parties centrales de l'Indo-Chine, 1858-1861
ภาพที่สองจาก Bangkok ของ Lucien Fournereau

โบสถ์อัสสัมชัน อยู่ริมและหันหน้าออกแม่นํ้าเจ้าพระยา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 ต.ค. 15, 09:01
Voyage dans les royaumes de Siam, de Cambodge, de Laos et autres parties centrales de l'Indo-Chine, 1858-1861

สุสานโปรแตสแตนท์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ต.ค. 15, 07:22
Narrative of a residence at the capital of the kingdom of Siam; with a description of the manners, customs, and laws of the modern Siamese


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 ต.ค. 15, 10:23
แผนที่เก่าปี พศ. ๒๔๕๗


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ต.ค. 15, 11:17
สะพานพุทธ ๒๔๗๕ 
เห็นพระอุโบสถหลังเดิมวัดเลียบ  ต่อมาถูกระเบิดพังในสงครามโลก



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ต.ค. 15, 11:40
..


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 ต.ค. 15, 17:24

ภาพเมื่อเดือนเมษายน ๒๔๗๕ ในพิธีเปิดสะพานพุทธ
ประชาชนดีใจที่เดินข้ามเจ้าพระยาได้โดยไม่ต้องอาศัยเรือ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 ต.ค. 15, 05:24
งานสมโพชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 ต.ค. 15, 07:33
China pictorial, descriptive, and historical -With some account of Ava and the Burmese, Siam and Anam


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 ต.ค. 15, 07:33
ไปรษณียาคาร ก่อน พศ ๒๔๕๑ และ พศ ๒๔๗๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ต.ค. 15, 08:47
พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท พระบรมมหาราชวัง
ในการพระราชพิธีโสกันต์
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของสยามประเทศ
เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2433


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 ต.ค. 15, 11:17
The kingdom and people of Siam - with a narrative of the mission to that country in 1855, -Bowring, John, Sir


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ต.ค. 15, 07:33
ภาพของ Thomson
หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม  ในพระอภิเนาว์นิเวศน์
เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์-เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์-พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์

ภาพที่สองจากหนังสือ Siam, the land of the white elephant, as it was and is


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 ต.ค. 15, 07:52
Voyage dans les royaumes de Siam, de Cambodge, de Laos et autres parties centrales de l'Indo-Chine, 1858-1861 ของมูโอต์
คงจะวาดจากภาพถ่าย
รู้จักกันชื่อ  หอนาฬิกาที่ทิมดาบ
ออกแบบโดย กรมขุนราชสีหวิกรม
ปรากฏว่านาฬิกาที่หอนี้ใช้ไม่ได้ เจ้าหน้าที่ทำที่ตีจักรหาย
ใช้เป็นแค่ที่สังเกตุเฝ้าระวังไฟไหม้ ดูความเรียบร้อยในพระนคร
ไม่ทราบเวลาที่ก่อสร้างและรื้อลงว่าเมื่อไร

พิจารณารูปแล้ว จะอยู่ริมคลองคูเมืองเดิมเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 ต.ค. 15, 16:46
สองภาพจากหนังสือ BANGKOK  ของ โฟเนโร
วาระสุดท้ายของคนสามัญชนธรรมดาในสยามยุค พศ ๒๔๓๗



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 ต.ค. 15, 11:15
แผนที่จากหนังสือของ เซอร์ จอห์น เบาริ่ง  มีสองเล่ม

The kingdom and people of Siam  with a narrative of the mission to that country in 1855, v.2


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 ต.ค. 15, 07:24
ภาพสี่รูปจากหนังสือ
The kingdom and people of Siam   with a narrative of the mission to that country in 1855, v.1


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ต.ค. 15, 08:57
เครื่องบูชากัณฑ์เทศน์มหาชาติ เป็นกระจาดใหญ่หรือเป็นรูปเรือสำเภา
ในคราวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงบรรพชาเป็นสามเณร
ตั้งไว้หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ พ.ศ. ๒๔๓๔
ภาพวาดจากหนังสือ    บางกอก     ของโฟเนโร

หม่อมเจ้าหญิง พูนพิสมัย ดิศกุล พระธิดาของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงเล่าถึงบรรยากาศงานเมื่อครั้งนั้นเอาไว้อย่างละเอียด
ในหนังสือ “เรื่องเบ็ดเตล็ดจากสวนดุสิต” ความตอนหนึ่งว่า...

“..ตัวเรือนั้นทำด้วยไม้เป็นโครงใน ข้างนอกใช้อ้อยทั้งๆ ลำมัดตรึงเข้า
สำหรับลำที่เป็นสำเภาพวกลูกเรือตัวทำด้วยน้ำตาล อย่างที่เราเคยเห็นเขาทำสิงโตน้ำตาลไหว้เจ้า
หรือถวายพระเข้าพรรษา ทั้งนี้เพราะลูกเรือสำเภาเป็นเจ๊กตัวต้องขาว

สำเภานี้บรรทุกเครื่องกินทุกอย่างจากเมืองจีน ใส่ถังไม้ย่อมๆ พูนปากถัง
แลเห็นส้มจีน ลูกพลับ เครื่องจันอับ น่าน้ำลายไหล แต่พอถึงลำที่เป็นกำปั่น
 พวกกลาสีแขกนั้นตัวดำเมี่ยม ตรงกันข้ามกับลำโน้น ตัวกลาสีดำเมี่ยมนั้นปั้นด้วยกาละแม
ทั้งนี้เพราะลูกเรือกำปั่นที่เราเคยรู้จักเห็นกันชินตาโดยมากเป็นพวกแขก
เช่น แขกจามซึ่งมีมาแต่ครั้งกรุงเก่า พวกแขกจามยังมีเชื้อสายมาจนถึงรัชกาลที่ ๕
ส่วนของกินที่บรรทุกเรือลำนี้ก็เป็นของนอกอย่างเมืองฝรั่ง
ส่วนที่พื้นรอบลำเรือทั้งสองมีลูกคลื่นทำแสนที่จะเหมือน
มีเต่า ปลา และสัตว์น้ำผุด มีไข่เต่า ไข่จะละเม็ดวางเรียงราย
ล้วนแต่ของกินได้ทั้งนั้น ตามประเภทของทะเล..”


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ต.ค. 15, 08:24
การก่อสร้างสะพานพุทธ
ฝั่งกรุงเทพและฝั่งธนบุรี
ภาพถ่ายมุมสูงของสะพาน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 15, 07:21
จอมพล ป. โดย  Dmitri Kessel   ปี ๒๔๙๓
ตำรวจที่อยู่ข้างคือหลวงชาติตระการโกศล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 15, 07:27
ภาพที่สอง คนที่เปิดประตู ฮ. ไม่แน่ใจว่าเป็น หลวงวิจิตรวาทการ หรือไม่?

ภาพสุดท้ายเป็นเทศกาลปีใหม่ที่สนามหลวง
เห็นป้าย " มหาวิทยาลัย วิชาธัมสาตรและการเมือง" เป็นยุคภาษาวิบัติ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 30 ต.ค. 15, 08:24
ภาพที่สอง คนที่เปิดประตู ฮ. ไม่แน่ใจว่าเป็น หลวงวิจิตรวาทการ หรือไม่?

คงจะคนละคนกันแน่ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 ต.ค. 15, 09:26
ขอบคุณอาจารย์นวรัตน
ผมแค่เดา เห็นหน้าตาคล้าย
ปี ๒๔๙๓  หลวงวิจิตรฯตาม จอมพล ป กลับมารับราชการอีก
-----------------------------------------
หลังโดนข้อหาอาชญากรสงครามในปี ๒๔๘๘ หลวงวิจิตรฯ ว่างงานอยู่สักพัก
พอจอมพล ผิน ปฏิวัติ ๒๔๙๑ จอมพล ป มาเป็นนายกอีกรอบ
ท่านก็เข้ามา   ในฐานะเป็นคนสนิท   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ต.ค. 15, 08:17
Voyage dans les royaumes de Siam, de Cambodge, de Laos et autres parties centrales de l'Indo-Chine, 1858-1861
หนังสือของอองรี มูโอต์  ภาพบางภาพซํ้ากับหนังสือเล่มอื่น เพราะวาดจากโปสการ์ดที่มีขายในยุคนั้น
ขอเอามาลงให้ครบ
ภาพที่สาม  พระราชวังและพระที่นั่งดุสิตฯ
ภาพที่สี่    พระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระอภิเนาว์นิเวศน์ (รื้อแล้ว)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ต.ค. 15, 08:23
ผู้หญิงกรุงเทพ
นางละคร
ละคร
ขุนนางสยามในเขมร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 ต.ค. 15, 08:35
ภาพถ่าย จาก P Rossier


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ย. 15, 07:17
.http://www.youtube.com/watch?v=L73f4ciyyXo (http://www.youtube.com/watch?v=L73f4ciyyXo)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ย. 15, 08:58
ภาพวาดวัดอรุณฯ จาก Voyage dans les royaumes de Siam, de Cambodge, de Laos et autres parties centrales de l'Indo-Chine, 1858-1861
ภาพที่สองภาพถ่าย อ้างว่าเป็นของ Wilhelm Burger 1869

ดูปีแล้วแปลกที่ภาพวาดเก่ากว่าภาพถ่าย(หรืออาจจะวาดจากภาพถ่ายอื่น)

ลองวิเคราะห์กันดู


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ย. 15, 10:54
จากหนังสือ Where the strange trails go down  พิมพ์ปี คศ ๑๙๒๑


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 พ.ย. 15, 08:38
คราวนี้ไปไกลจากกรุงเทพ
เราเอาภาพจากมูโอต์มาหลายภาพ
ดูที่สุดท้ายที่เขาได้อยู่อย่างชั่วนิรันดร์

มูโอต์ออกเดินทางจากลอนดอนเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๐๑
มายังกรุงเทพ ใช้เวลาสี่เดือนในเรือ
เขาเดินทางสำรวจสี่ครั้งระหว่างเดือนตุลาคม ๒๔๐๑ ถึงเดือนตุลาคม ๒๔๐๔
เพื่อสำรวจสยาม กำพูชาและลาว

ครั้งแรกเดินทางไป สระบุรี พระพุทธบาท พระพุทธฉาย ถึง อยุธยา แล้วกลับกรุงเทพ

ครั้งที่สอง ใช้เวลานานถึง ๑๕ เดือน  ไปตามชายฝั่งตะวันออกอ่าวไทย ทางจันทบุรี
ขึ้นบกที่ท่ากำปอต  ไปอุดงค์มีชัย  เมืองพญาฤา พนมเปญ เมืองบรีลุม โตนเลสาป
พระตะบอง แล้วเข้านครวัด กลับสยามทาง มงคลบุรี ศรีโสภณ กบินทรบุรี แปดริ้ว

ครั้งที่สาม ไปเพชรบุรี ได้เห็นการก่อสร้างเขาวัง

ครั้งที่สี่ เดินทางไปลาว  ตั้งใจไปให้ถึงหลวงพระบาง  ผ่านลพบุรี อยุธยา
สระบุรีเขาคอก ดงพญาไฟ เขาค้อ บัวชุม ชัยภูมิ
มาที่โคราช ขอใบเบิกทาง กลับไปชัยภูมิ ภูเขียว  เลย ท่าเดื่อ สุดท้ายไปถึงหลวงพระบาง
แล้วเขาเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๐๔

ในบันทึกที่เขียน เมื่อ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๔๐๔( เล่าถึงเหตุการณ์ วันที่ ๕ กันยายน ๒๔๐๔)
 ด้วยประโยคสุดท้าย...........
"โอ้พระผู้เป็นเจ้า  ได้โปรดเมตตาข้าด้วย .........."เขาเสียชีวิตด้วยไข้ป่า(วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๐๔)
ถูกฝังไว้ที่ริมแม่นํ้าคาน ไม่ไกลจากหลวงพระบาง โดยคนรับใช้สองคนชื่อ ไพร และ แดง

ภาพที่สองในหนังสือการสำรวจอินโดจีนของ ฟรังซี การ์นิเย (ประมาณ ปี ๒๔๑๐)
ภาพที่สามในหนังสือของบันทึกการเดินทางของอองรี มูโอต์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ย. 15, 08:20
หนังสือแนะนำสยามและกรุงเทพปี ๒๔๔๗ โดย เจ แอนโตนิโอ เจ้าของร้านถ่ายรูปเจริญกรุง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 พ.ย. 15, 08:45
สาวงามของกรุงเทพในยุคนั้น  โดย เจ แอนโตนีโอ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 พ.ย. 15, 08:46
ร้านถ่ายรูปของ นาย เจ แอนโตนีโอ ถนนเจริญกรุง ปากซอยโอเรียนเตล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 พ.ย. 15, 08:57
ปี ๒๔๖๓ ภาพแรก  เปลี่ยนเป็นร้านถ่ายรูปพร้อม   ของญี่ปุ่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 พ.ย. 15, 07:47
วางศิลาฤกษ์เพื่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อเดือน พฤศจิกายน ๒๔๕๑ ปลายสมัย ร ๕
ก่อสร้างโดยกลุ่มช่างอิตาลี่   ใช้วิธีใหม่ในการทำฐานราก 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 พ.ย. 15, 09:14
วันนี้ไปไกลกว่ากรุงเทพฯ
จากหนังสือสยามและลาวที่มิชชั่นนารีอเมริกาได้พบเห็น ปี ๒๔๒๗

วัดพระพุทธบาท    ที่สระบุรี เปรียบเหมือน MECCA ของคนสยาม
ที่ประชาชนต้องขึ้นไปนมัสการในเดือนกุมภาพันธ์
น่าจะวาดจากภาพเดิมของ Wilhelm Burger ปี ๒๔๑๒ ภาพที่สอง

ภาพที่สามของ ดร.เพ็นเดิลตัน ปี ๒๔๙๑

ภาพที่สี่ของ นายเจ แอนโตนีโอ หนังสือแนะนำกรุงเทพและสยาม ปี ๒๔๔๗



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ย. 15, 08:31
ลานพระบรมรูปทรงม้า
การประชุมสภาผู้แทนฯ
ภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม
ภาพของ ดร.เพ็นเดิลตัน เมื่อ ๕ มีนาคม ๒๔๙๑


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 พ.ย. 15, 08:41
พระที่นั่งอนันตสมาคม ๒๔๖๓ ของ คานโน ริกิโอ ชาวญี่ปุ่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: gd,lN ที่ 09 พ.ย. 15, 20:14
กระทู้นี้ทำให้ได้เจอภาพเก่าๆ ที่หาชมได้ยากไว้มากมายเลยครับ
ขอบคุณครับผม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 09 พ.ย. 15, 20:54
ด้านสวนอัมพรมีต้นไม้ครึ้มมากเลย  ดูลำต้นใหญ่ประมาณเขียงหรือกว่า ผิวลานพระรูปยังเป็นคลุกอยู่เลย ฝุ่นไม่เยอะเพราะไม่มีรถวิ่ง
ทราบว่าพระยาพหลยืนอ่านประกาศคณะราษฎรแถวๆนี้นี่แหละ
ถึงวันนี้(9พ.ย. 20:55 น.)ก็ยังไม่ทราบว่าพระยาวิเศษสิงหนาทหายไปไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 10 พ.ย. 15, 07:43
จำได้คลับคล้ายคลับคลา ว่าเจ้าคุณไปตามง้อแม่เกิดที่บ้านสวนแถวบางซื่อนะคะ เลยไม่โดนซิว รอดไปอย่างเฉียดฉิว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ย. 15, 08:12
กระทู้นี้ทำให้ได้เจอภาพเก่าๆ ที่หาชมได้ยากไว้มากมายเลยครับ
ขอบคุณครับผม

ยินดีแบ่งปัน อยากให้เซฟไปเผยแพร่กันต่อ  ดีใจที่ชอบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ย. 15, 08:20
The peoples and politics of the Far East
เคยเสนอภาพนี้
อาจจะเป็นรูปที่ชัดที่สุดที่เคยเห็น(น่าจะมีชัดกว่านี้)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 10 พ.ย. 15, 08:34
ขออภัยคุณ visitna ที่เอามุขมาเล่นที่กระทู้นี้  เห็นบรรยากาศพระที่นั่งอนันต์และลานพระรูปโล่งๆทำให้มโนถึงจุดเริ่มประชาธิปไตยที่นี่
แล้วเลยโยงไปถึง พันเอกพระยาวิเศษสิงหนาท ตัวละครของ ว.วินิจฉัยกุล ในนวนิยาย ราตรีประดับดาว (ไปได้มาจากงานหนังสือคราวนี้ ท่านผู้ประพันธ์เซ็นต์เป็นที่ระลึกให้ด้วย)
ขอบคุณคุณAnna ที่ช่วยรับมุข คุณหญิงของเจ้าคุณชื่อเกดครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 15, 09:21
อะแฮ่ม
กลับเข้ารูปเก่าเถอะค่ะ
ดูรูปลานพระรูปแล้ว กำลังจะถามอยู่พอดีว่าพื้นลานเป็นอะไร  ไม่น่าใช่คอนกรีต หรือเป็นดินทุบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 พ.ย. 15, 09:35
ขออภัยคุณ visitna ที่เอามุขมาเล่นที่กระทู้นี้  เห็นบรรยากาศพระที่นั่งอนันต์และลานพระรูปโล่งๆทำให้มโนถึงจุดเริ่มประชาธิปไตยที่นี่
แล้วเลยโยงไปถึง พันเอกพระยาวิเศษสิงหนาท ตัวละครของ ว.วินิจฉัยกุล ในนวนิยาย ราตรีประดับดาว (ไปได้มาจากงานหนังสือคราวนี้ ท่านผู้ประพันธ์เซ็นต์เป็นที่ระลึกให้ด้วย)
ขอบคุณคุณAnna ที่ช่วยรับมุข คุณหญิงของเจ้าคุณชื่อเกดครับ

งง เช่นกันเพราะตามมุมไม่ทัน
ไม่ได้อ่านนิยายนานแล้ว
เดิมติดนิยายเหมือนกัน ตั้งแต่สมัยเรื่องลูกทาส ต้องติดตามทุกฉบับ
สมัยเรียนชั้นประถม  เอาหนังสือเดลิเมล์วันจันทร์ไปรองเขียนคำตอบช่วงสอบไล่ทุกครั้ง
ตอนนี้หนังสือประวัติศาสตร์ที่ซื้อทุกเดือนอ่านไม่ทัน กองเต็มโต๊ะ


ภาพจาก An official guide to eastern Asia v.5 ของการรถไฟญี่ปุ่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 พ.ย. 15, 09:19
จดหมายจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(สามหน้าแรก)
และของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีไปถึง เซอร์ จอห์น บาวริ่ง เมื่อเดือนมีนาคมและ เดือนพฤษภาคม ๒๓๙๘


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 พ.ย. 15, 16:42
อะแฮ่ม
กลับเข้ารูปเก่าเถอะค่ะ
ดูรูปลานพระรูปแล้ว กำลังจะถามอยู่พอดีว่าพื้นลานเป็นอะไร  ไม่น่าใช่คอนกรีต หรือเป็นดินทุบ

เป็นดินอัดแน่น ด้านบนโรยกรวดหยาบครับ ในยุคนี้จะเห็นได้อีกแห่งหนึ่งหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ หัวลำโพง ก็เป็นกรวดหยาบโรยไว้ที่ถนนครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 พ.ย. 15, 13:04
จาก The peoples and politics of the Far East  พิมพ์เมื่อ ปี ๒๔๓๘


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ย. 15, 08:39
ซุ้มรับเสด็จสมเด็จพระปิยะฯ เสด็จกลับจากยุโรป ๒๔๕๐
(ไม่แน่ใจว่าลงไปแล้วหรือไม่ เพราะชักจำไม่ได้ ขออภัย ถ้าลงไปแล้วไม่ได้ตั้งใจให้ซํ้า)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ย. 15, 09:03
ดูรูปลานพระรูปแล้ว กำลังจะถามอยู่พอดีว่าพื้นลานเป็นอะไร  ไม่น่าใช่คอนกรีต หรือเป็นดินทุบ

เป็นดินอัดแน่น ด้านบนโรยกรวดหยาบครับ ในยุคนี้จะเห็นได้อีกแห่งหนึ่งหน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ หัวลำโพง ก็เป็นกรวดหยาบโรยไว้ที่ถนนครับ
พอคุณหนุ่มสยามตอบว่าเป็นดินอัด ด้านบนโรยกรวดหยาบ   ทำให้นึกได้ถึงถนนในบ้าน  ตอนดิฉันยังเล็ก   เป็นถนนโรยกรวดสีเทา    ไม่ใช่เฉพาะบ้านนี้บ้านเดียว  บ้านเพื่อนบ้านในซอยก็แบบเดียวกัน 
ผู้หญิงใส่ส้นสูงเดินลำบากมาก ส้นถ้าไม่จมลงไประหว่างกรวด  ก็เหยียบกรวดแข็งๆ คอยแต่จะพลิก    เวลาย่ำบนพื้นกรวดจะมีเสียงกรอบแกรบให้ได้ยิน
ต่อมาถนนโรยกรวดก็หายไป ถูกแทนที่ด้วยคอนกรีต

น่าจะเป็นถนนโรยกรวดแบบเดียวกันมั้งคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 พ.ย. 15, 09:31
ถนนเจริญกรุงเป็นถนนสายแรกที่ลาดยางแอสฟัลท์(ที่เราเรียกยางมะตอย)
คงเป็นช่วงสมัย ร๖ แล้ว (ถนนเจริญกรุงสร้างในสมัย ร๔)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 พ.ย. 15, 11:38
ภาพขยายจากชุดเรืออนันตนาคราชในคลองบางกอกน้อย
ของ จอห์น ทอมสัน 
เขาขายอะไรกันบ้างในร้านเรือนแพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 พ.ย. 15, 08:47
วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือ วัดพระแก้ววังหน้า
เป็นวัดในพระราชวังบวรสถานมงคล เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามภายในพระบรมมหาราชวัง
และด้วยเหตุที่เป็นวัดในวัง ดังนั้น จึงไม่มีพระภิกษุจำพรรษา
สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่การยังไม่แล้วเสร็จพระองค์เสด็จทิวงคตเสียก่อน
การก่อสร้างวัดพระแก้ววังหน้าจึงมาก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และได้รับพระราชทานนามว่า วัดบวรสถานสุทธาวาส
ปัจจุบัน วัดบวรสถานสุทธาวาสตั้งอยู่ในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป
เป็นวัดที่ไม่มีการประกอบสังฆกรรมใด ๆ
และถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีไหว้ครู พิธีครอบครู
และพิธีมงคลต่าง ๆ ของบรรดานาฏศิลปิน ดุริยางคศิลปินและกรมศิลปากร



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 พ.ย. 15, 09:59
เมรุวัดสระเกศที่สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สาม
มีสองโรงทึม  ตามภาพแรก

---------------------------------------------------------
ภาพที่สองที่อ้างว่าเป็นเมรุวัดสระเกศเช่นกัน
ตามรูปน่าจะไม่ใช่ของวัดสระเกศแล้ว(จะเป็นวัดไหนไม่ทราบ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 17 พ.ย. 15, 10:26
อ้างถึง
เขาขายอะไรกันบ้างในร้านเรือนแพ

ผมว่า ดูคล้ายปืน  :o แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้นะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 พ.ย. 15, 11:18
คิดแบบเดียวกัน คล้ายปืนคาบศิลา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 17 พ.ย. 15, 15:54
(http://i1286.photobucket.com/albums/a611/yakob001/IMG_1424_zps0c65d18e.jpg)

หรือจะเป็น "มีดหวด" ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 พ.ย. 15, 18:46
อ้างถึง
เขาขายอะไรกันบ้างในร้านเรือนแพ

ผมว่า ดูคล้ายปืน  :o แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้นะครับ

ร้านเรือนแพขายหมอน ขายฟูก และที่แขวนไว้คือ ด้ามไม้กวาด ครับผม  ;D ;D ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 พ.ย. 15, 09:03
อ้างถึง
เขาขายอะไรกันบ้างในร้านเรือนแพ

ผมว่า ดูคล้ายปืน  :o แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้นะครับ

ร้านเรือนแพขายหมอน ขายฟูก และที่แขวนไว้คือ ด้ามไม้กวาด ครับผม  ;D ;D ;D
ขอบคุณครับสำหรับความเห็น
ภาพไม่ค่อยชัด  บอกยากว่าคืออะไร
ที่เห็นชัดคือมีกระโถนคายหมากขายเยอะ

ภาพของทอมสันที่มองมุมกว้างในลานพระราชวังและภาพขยาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 พ.ย. 15, 08:31
วัดสระเกศเมื่อมองจากภูเขาทอง เริ่มเห็นถนนบริพัตรอยู่ตรงกลางซ้ายของภาพ
ตามเวลาในโพสต์การ์ด คือ พศ ๒๔๖๔


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: MCMLII ที่ 07 ก.พ. 16, 02:32
สมัยดิฉันไปบางปู  slider น่าจะถอดออกไปแล้ว เพราะจำไม่ได้เลยค่ะ   แต่ห้องโถงยังอยู่  สะพานไม้ทอดไปดูทะเลโคลนก็ยังอยู่
[/quoteราว 2500 เหลืออยู่แต่ spring board แล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: MCMLII ที่ 07 ก.พ. 16, 02:48
ขอถามคุณหนุ่มสยาม ว่าถนนนี้เป็นถนนอะไร (สายยาว ซ้ายบนมาขวาล่าง)

มีโรงหนังอะไรอยู่บ้าง

ถามจริงๆผมไม่รู้ คิดว่าอาจจะเป็นเจริญกรุง (จำทิศทางไม่ได้แม่น)



ตรงกลางภาพที่เห็นคือ แยกหมอมี หรือสามแยกต้นประดู่ที่มีโรงพักสามแยกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ปัจจุบันตรงนี้เป็อาคารธนาคาร UOB สาขาสามแยก

ถนนเจริญกรุงจากภาพด้านบนลงมา ถนนเจิญกรุงจะหักเบนออกไปทางซ้ายของภาพผ่านย่านตลาดน้อย ตรงไปยังสะพานพิทยเสถียร ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมไปสี่พระยา หรือที่เรียกว่า สะพานเหล็กล่าง ในสมัยก่อน

ถนนเส้นตรงที่ต่อจากถนนเจริญกรุงที่แยกหมอมีคือถนนพระรามสี่ ผ่านวัดไตรมิตรวิทยาราม ตรงไปยังสะพานเจริญสวัสดิ์ ๓๖ ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมผ่านไปทางหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง

ถนนเส้นพาดขวางจากซ้ายไปขวาของภาพคือถนนทรงสวัสดิ์ จากวัดสัมพันธวงศ์ ตัดกับถนนเยาวราชที่แยกเฉลิมบุรี ไปสุดที่วงเวียน ๒๒ กรกฎา

อาคารตึกสองชั้นหลังคาจั่ว คือโรงหนังสิริรามาหรือโรงหนังพัฒนาการเดิมข้างโรงพยาบาลกว๋องสิวใกล้สี่แยกแปลงนาม
อาคารตึกสองชั้นด้านซ้ายของภาพที่เห้นเพียงครึ่งหลังคือโรงหนังเฉลิมบุรี ที่มีร้นลอดช่องสิงคโปร์อันลือชื่ออยู่ใกล้ๆ
มุมบนขวาของแยกหมอมีหลังตึกริมถนนเจริญกรุงตัดถนนดำรงรักษ์ คือ ตรอกมะขาม อันลือลั่นในอดีตไม่แพ้ย่านต้นขนุนริมคลองรอบกรุงหลังศาลอาญา ที่ ป. อินทปาลิต ยังเอ่ยถึงในหนังสือชุดสามเกลอ

เทียบเทียบกับแผนที่และภาพนี้ครับ


[/quoteโรงหนังที่เห็นเพียงครึ่งก็คงเป็นโรงหนังสิงคโปร ที่มีร้านขายลอดช่องมาเปิดอยู่หน้าโรงหนัง แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นเฉลิมบุรีในภายหลัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 16, 17:13
ได้รูปจากไลน์ของเพื่อนเป็นภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เอามาให้ดู   ถ่ายมาจากถนนเดียวกัน
น่าจะเป็นถนนพหลโยธิน หันหลังให้สนามเป้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 มี.ค. 16, 17:15
ตามนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มี.ค. 16, 18:47
ได้รูปจากไลน์ของเพื่อนเป็นภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เอามาให้ดู   ถ่ายมาจากถนนเดียวกัน
น่าจะเป็นถนนพหลโยธิน หันหลังให้สนามเป้า
ภาพพี่กอดน้อง น่ารักมากๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มี.ค. 16, 19:04
ภาพ 1392-3  น่าจะราวพ.ศ. 2490

บ้านเรือนสมัยนั้นไม่ต้องมีรั้วหรือกำแพง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 มี.ค. 16, 19:21
ส่องขยายแล้วเด็กน้อยยืนประมาณที่ทำตำแหน่งไว้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 18 มี.ค. 16, 23:00
บริเวณที่พี่น้องสองท่านยืนอยู่ น่าจะเป็นปากซอยลือชา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มี.ค. 16, 11:43
ไปอ่านหนังสือคอคิดขอเขียนของ อ สถิตย์ เสมานิล
ท่านเล่าเรื่องไปดูหนังฉายครั้งแรกของท่านในกรุงเทพ
ท่านเล่าว่าในปี 2456 ท่านไปดูหนังที่โรงหนังญี่ปุ่นหลวง
หรืออีกชื่อที่ท่านเรียกคือโรงหนังสะพานเหล็ก
ในสมัยนั้นมีโรงหนังแค่สามโรงคือ
1 โรงหนังญี่ปุ่นหลวงได้ตราอาร์มหลวง แขวนเหนือป้ายชื่อโรงหนัง
2 โรงหนังกรุงเทพ หรือโรงวังเจ้าปรีดา หน้าวังพระองค์เจ้าปรีดา
3 โรงหนังพัฒนากร

ส่วนโรงหนังที่สี่ที่สร้างคือ  โรงหนังปีระกา   สร้างปี รศ 129 หรือปี พศ 2453
โรงนี้อยู่ในเวิ้งนาครเขษม แต่ฉายได้วันเดียวหรืออาจจะไม่กี่วัน(เขาเล่า) ไฟไหม้หมด
เราคงจะหาภาพโรงหนังปีระกายากมาก

โรงหนังญี่ปุ่นหันหน้าไปทิศใต้ (ซ้าย)โรงหนังที่สร้างใหม่ต่อมาคือโรงเวิ้งนาครเขษมหันไปทางทิศเหนือ
ลักษณะพื้นที่สร้างอยู่ต่อติดกัน 

ภาพที่เห็นหลังคาสูงในเวิ้งน่าจะเป็นโรงเวิ้งนาครเขษม ที่หันหน้าไปทิศเหนือ(ขวามือ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มี.ค. 16, 11:47
ส่วนตำแหน่งโรงหนังปีระกา ต่อมาทำเป็นตลาดปีระกา หรือ ตลาดใหม่สะพานหัน
ตามที่เขียนในแผนที่ ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มี.ค. 16, 13:36
เหตุการไฟไหม้ต้องถาม มิสเตอร์ ปี.มาซอล ที่ทำการตั้งฉายในพื้นที่กรมพระคลังข้างที่ริมวัดไชยชนะสงคราม เพลิงไหม้ทุ่มเศษ และดับสองทุ่มเศา ไฟไหม้โรงเรือนของบริษัทหนังรวม 5 หลัง 16 ห้อง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มี.ค. 16, 13:42
แนบแผนที่สำรวจ 2450 วางแนวโรงหนังญี่ปุ่นให้ชมครับ ทางเข้าหลักอยู่ด้านทิศใต้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มี.ค. 16, 14:41
ลองใส่ตำแหน่งโรงหนังคร่าวๆ ได้ดังนี้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 มี.ค. 16, 17:07
ภาพถนนเยาวราช มีอาคารหลังคาสูงมีคนสงสัยเรื่อยมาว่าคืออาคารอะไร(รวมทั้งผม)
บางคนว่าโรงหนังปีระกาบ้าง ว่าเป็นโรงอื่นบ้าง
ทำให้ผมพยายามหาข้อมูลตรงนี้
ไปเจอข้อเขียนอาจารย์สถิตย์ ที่ท่านเล่าพอเอามาตีความได้
ตามภาพที่อยู่ ตามตำแหน่งคงไม่ใช่

สรุปว่า ไม่ใช่โรงหนังปีระกาแน่เพราะโดนไฟไหม้ไปตั้งแต่ปีระกาแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 มี.ค. 16, 15:20
มีภาพอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  อีกมุมที่เราเคยเห็นกัน
แต่ยังไม่มีใครบอกว่าถ่ายมาจากด้านไหน
สำหรับความคิดของผมเป็นอย่างในภาพ แต่ไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซนต์
คิดว่าถ่ายในแนวถนนราชวิถี  --- รพ. ราชวิถีอยู่ขวามือ มองจากแยกตึกชัย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 มี.ค. 16, 15:50
ด้านถนนพญาไท


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 26 มี.ค. 16, 22:58
มีภาพอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  อีกมุมที่เราเคยเห็นกัน
แต่ยังไม่มีใครบอกว่าถ่ายมาจากด้านไหน
สำหรับความคิดของผมเป็นอย่างในภาพ แต่ไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซนต์
คิดว่าถ่ายในแนวถนนราชวิถี  --- รพ. ราชวิถีอยู่ขวามือ มองจากแยกตึกชัย
เห็นด้วยกับคุณvisitna เป็นหัวถนนราชวิถีด้านที่ไม่มีรถไฟฟ้าbtsอ้อมผ่าน ฝั่งซ้ายถนนคือฝั่งวัดมะกอก ฝั่งขวาคือโรงพยาบาลราชวิถี (เดิมชื่อโรงพยาบาลหญิง)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 มี.ค. 16, 08:16
มีภาพอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  อีกมุมที่เราเคยเห็นกัน
แต่ยังไม่มีใครบอกว่าถ่ายมาจากด้านไหน
สำหรับความคิดของผมเป็นอย่างในภาพ แต่ไม่มั่นใจร้อยเปอร์เซนต์
คิดว่าถ่ายในแนวถนนราชวิถี  --- รพ. ราชวิถีอยู่ขวามือ มองจากแยกตึกชัย
เห็นด้วยกับคุณvisitna เป็นหัวถนนราชวิถีด้านที่ไม่มีรถไฟฟ้าbtsอ้อมผ่าน ฝั่งซ้ายถนนคือฝั่งวัดมะกอก ฝั่งขวาคือโรงพยาบาลราชวิถี (เดิมชื่อโรงพยาบาลหญิง)
น่าจะถูกต้อง 
เหลือภาพด้านที่มาจากดินแดงเรายังไม่เคยเห็น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 27 มี.ค. 16, 18:36
เรือนแพริมนํ้าเจ้าพระยา พศ 2414
น่าจะเป็นบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่
เรือนแพหนาแน่นซ้อนกันสามสี่ชั้น
ชาวเรือนแพคงใช้นํ้าจากแม่นํ้าโดยตรง
ไม่มีโอ่งหรือการเก็บนํ้าฝนไว้บริโภค
การระบาดของโรคอหิวาต์จึงรวดเร็วเสียชีวิตกันมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 มี.ค. 16, 12:06
ถนนราชดำเนินกลางตลอดสายหลังสงครามโลก ครั้งที่สอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 มี.ค. 16, 18:10
รูปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ   อีกรูป
เราไม่ค่อยเห็นรูปอนุสาวรีย์ฯบ่อยนัก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 มี.ค. 16, 09:24
ไปอ่านหนังสือคอคิดขอเขียนของ อ สถิตย์ เสมานิล
ท่านเล่าเรื่องไปดูหนังฉายครั้งแรกของท่านในกรุงเทพ
ท่านเล่าว่าในปี 2456 ท่านไปดูหนังที่โรงหนังญี่ปุ่นหลวง
หรืออีกชื่อที่ท่านเรียกคือโรงหนังสะพานเหล็ก
ในสมัยนั้นมีโรงหนังแค่สามโรงคือ
1 โรงหนังญี่ปุ่นหลวงได้ตราอาร์มหลวง แขวนเหนือป้ายชื่อโรงหนัง
2 โรงหนังกรุงเทพ หรือโรงวังเจ้าปรีดา หน้าวังพระองค์เจ้าปรีดา
3 โรงหนังพัฒนากร

ส่วนโรงหนังที่สี่ที่สร้างคือ  โรงหนังปีระกา   สร้างปี รศ 129 หรือปี พศ 2453
โรงนี้อยู่ในเวิ้งนาครเขษม แต่ฉายได้วันเดียวหรืออาจจะไม่กี่วัน(เขาเล่า) ไฟไหม้หมด
เราคงจะหาภาพโรงหนังปีระกายากมาก

โรงหนังญี่ปุ่นหันหน้าไปทิศใต้ (ซ้าย)โรงหนังที่สร้างใหม่ต่อมาคือโรงเวิ้งนาครเขษมหันไปทางทิศเหนือ
ลักษณะพื้นที่สร้างอยู่ต่อติดกัน 

ภาพที่เห็นหลังคาสูงในเวิ้งน่าจะเป็นโรงเวิ้งนาครเขษม ที่หันหน้าไปทิศเหนือ(ขวามือ)

ขอแก้ที่จำผิด หนังสือของอาจารย์สถิตย์ ชื่อ หนังสือ วิสาสะ  ไม่ใช่คอคิดขอเขียน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 มี.ค. 16, 09:40
ภาพสะพานแม้นศรีที่สวยงามและหายาก
ผมเคยเอามาให้ดูครั้งหนึ่งแต่เป็นภาพเล็ก
วันนี้เป็นภาพดั้งเดิม มีวิศวกรและสถาปนิกนั่งอยู่ด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 มี.ค. 16, 10:49
Open air fruit market in front of Wat Nora Nat Bangkok 1938 (พศ 2491)
ของ Robert L Pendleton


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 มี.ค. 16, 13:05
ข้อความ ที่ถูก พศ 2481   ไม่ใช่ 2491


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 31 มี.ค. 16, 08:51
สำนักงานหนังสือพิมพ์จีนโนสยามวารศัพท์ ของนายเซียวฮุดเส็ง  สีบุญเรือง
ตั้งอยู่ที่ตรอกฮ่องกงแบ็งค์ ปากคลองผดุงกรุงเกษม  
รูปทรงชิโนปอร์ตุกีสรุ่นแรกๆ  
ช่วงหลังหนังสือพิมพ์นี้มี 12 หน้าเป็นจีน 8 หน้า ไทย 4 หน้า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 เม.ย. 16, 08:16
หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม พิศลยบุตร)เป็นผู้ขุดคลองสาทรและสร้างถนนสาทร
เป็นบุตรของเจ้าสัวยิ้ม(พระยาพิศลสมบัติบริบูรณ์ ---พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ เขียนกันสองแบบ) ผู้ขุดคลองภาษีเจริญ

หลวงสาทรฯเกิดเมื่อปี 2400 ได้ราชทินนามเป็นหลวงสาทรราชายุตก์เมื่อปี 2434
ท่านคงจะขุดคลองสาทรเมื่อปี 2431
ก่อนได้ตำแหน่งจึงเรียกคลองที่ท่านขุดว่า คลองพ่อยม -คลองเจ้สัวยม

เมื่อท่านเสียชีวิตในปี 2438   มีอายุแค่ 38 ปี 


บ้านหลังใหญ่ของท่านอยู่ที่ถนนสาทรฝั่งเหนือ

ใน พ.ศ. 2467 บ้านท่านแปลงสภาพเป็นโรงแรม "โฮเต็ล รอแยล"
ต่อมาราว พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงแรมไทยแลนด์"
ต่อมา พ.ศ. 2491-2542 สถานเอกอัครราชทูตสหภาพแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (ปัจจุบันใช้ชื่อว่าสถานเอกอัครราชทูตรัสเซีย)
ได้เช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโรงแรมไทยแลนด์ จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เพื่อใช้เป็นสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทย
และในปี พ.ศ. 2543 กรมศิลปากร โดยฝ่ายทะเบียนโบราณสถานฯ
ได้เข้าทำการสำรวจอาคารและพื้นที่ โดยจัดให้เป็นอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมของกรมศิลปากร

ปัจจุบันอาคารดังกล่าวได้กลับมาใช้งานเป็นโรงแรมอีกครั้ง
โดย บริษัท นอร์ท สาธร เรียลตี้ จำกัด
ได้เช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เพื่อปรับปรุงบ้านสาทรเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรมดับเบิลยู กรุงเทพ
ซึ่งปัจจุบัน บ้านสาทรตั้งอยู่ระหว่างตัวโรงแรมและสาทรสแควร์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 เม.ย. 16, 08:04
แม่นํ้าเจ้าพระยาปี พศ 2414 กับ ปี พศ 2443


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 เม.ย. 16, 09:11
ภาพที่คิดว่าเป็นฝีมือของ Pierre Joseph Rossier  ช่างภาพสวิส
เข้ามาในสยามเมื่อปี พศ. 2404 (คศ. 1861)
บางภาพที่เจอในเวป แคปชั่นผิดเวลาผิดสถานที่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 03 เม.ย. 16, 20:14
ภาพบ้านที่เพชรบุรี ไม่ทราบว่าถ้ามีบ้านลักษณะนี้ เจ้าของบ้านจะมีฐานะอยู่ประมาณไหนคะ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 04 เม.ย. 16, 08:42
ตอบคุณแอนนา
ผมลืมอธิบายต่อในภาพ ที่เขียนว่า*** ปี 1880 บ้านที่เพชรบุรี****

ในภาพที่เขียนว่าปี 1880 ผิด ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 1861-1862 เพราะรอสสิเออร์เข้ามาเมื่องไทยปี 1861-1862
ส่วนบอกว่าเป็นบ้านเพชรบุรีก็น่าจะผิด
ภาพแรก  ผมเจอภาพนี้อีกที่หนึ่งที่บรรยายว่า house in siam capital (ซึ่งผิดเช่นกัน)
ภาพที่สองจากหนังสือ Siam ของคุณพิพัฒน์ อธิบายว่าเป็น กุฏิเจ้าอาวาส น่าจะถูกต้อง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 05 เม.ย. 16, 07:59
วัยรุ่นกรุงเทพ ปี พศ. 2453


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 05 เม.ย. 16, 20:48
ทรงผม 5 คน 5 สไตล์ น่าจะซ่าส์ตามควรแก่ยุคสมัย ถ้าอยู่ถึงพ.ศ.นี้ก็เกินร้อยไปแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 เม.ย. 16, 21:40
ทรงผมคนขวาสุดเป็นทรงแมนจู น่าจะเป็นคนจีน

ภาพข้างล่างจาก ชมรมประวัติศาสตร์สยาม  (https://www.facebook.com/siamhistory/photos/a.435240936530190.98873.435087346545549/476188522435431/)บรรยายว่า ภาพครอบครัวชาวจีนที่ร่ำรวยในบางกอก พ.ศ. ๒๔๔๓ สมัยรัชกาลที่ ๕


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 เม.ย. 16, 09:18
ภาพวัดโพธิ์จาก P  Rossier เป็นภาพกระจกที่เรียกว่าสเตริโอวิว
จะสังเกตุเห็นว่ากลับด้านจากขวาเป็นซ้าย
จะไม่เห็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่สี่ที่เรียกว่าเจดีย์ทรงศรีสุริโยทัย เป็นเจดีย์เรือนธาตุเข้าไปข้างในได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 เม.ย. 16, 09:24
ภาพแรก เมื่อกลับด้านให้ถูกจะเป็นอย่างนี้  ป้อมมหายักษ์ต้องอยู่ด้านขวาของวิหารพระนอน หรือ ขวาของประตูนกยูง
            ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี พศ 2404

ภาพที่สอง ถ่ายหลังจากภาพแรกสี่ปี เป็นของ จอห์น ทอมสัน เห็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ สี่กำลังก่อสร้าง  ภูมิสถานหน้าวัดก็เปลี่ยนไปมาก



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 เม.ย. 16, 14:51
ภาพของ เจ แอนโตนิโอ ประมาณคราวๆ ราวปี 2450 (+-)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 16, 08:38
หอระฆังวัดเทพธิดาราม ปี 2404


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 16, 08:43
เสาชิงช้าต้นเก่าก่อนที่จะย้ายมาอยู่บนถนนหน้าวิหาร น่าจะปลายรัชกาลที่ สี่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 07 เม.ย. 16, 08:49
วัดกัลยาณมิตร ร่วมสมัยภาพข้างบน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 07 เม.ย. 16, 12:47
เสาชิงช้าต้นเก่าก่อนที่จะย้ายมาอยู่บนถนนหน้าวิหาร น่าจะปลายรัชกาลที่ สี่
จุดที่น่าสังเกตคือ ไม่มีเสาคู่สั้นยึดขนาบที่โคนเสาตัวหลัก อย่างที่มีในปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 08 เม.ย. 16, 08:52
ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม  ของ  วิลเลี่ยม ฮันท์
มีวันที่บอกไว้ขอบด้านล่างของภาพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 เม.ย. 16, 09:12
Tamagno continued with the Hua Lampong Railway Station in 1910,
 a familiar Bangkok landmark near Chinatown.
The station was completed in 1912


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: walai ที่ 09 เม.ย. 16, 09:54
 ???อยากทราบความเป็นมาในการก่อสร้างค่ะ  ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 เม.ย. 16, 10:28
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 09 เม.ย. 16, 17:09
ประวัติสถานีรถไฟหัวลำโพง
   
   

“สถานีรถไฟกรุงเทพ” หรือเรียกกันทั่วไปว่า “หัวลำโพง”
เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คือในปี 2453
การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการ
โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯทรงกระทำพิธี กดปุ่มสัญญาณไฟฟ้า
ให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2459

“สถานีรถไฟกรุงเทพ” สร้างอยู่ในพื้นที่ 120 ไร่เศษ
อยู่ห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศใต้ ประมาณ 500 เมตร
ตั้งอยู่ใน ท้องที่ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
 มีอาณาเขตทิศใต้จรดถนนพระราม 4 ทิศเหนือจรดคลองมหานาค ทิศตะวันออก จรดถนนรองเมือง
และทิศใต้จรดคลองผดุงกรุงเกษม
สำหรับที่ตั้งของสถานีกรุงเทพเดิมซึ่งอยู่บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
ทรงประกอบพระราชพิธีเริ่มการก่อสร้างและเปิดเดินรถไฟหลวงนั้น หลังจากได้ก่อสร้างสถานีกรุงเทพหลังปัจจุบันแล้ว
จึงรื้อถอนออกไป
ต่อมาผู้ปฏิบัติงานรถไฟได้ร่วมกันสละทรัพย์สร้างเป็นอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงขึ้น
เมื่อปี พ.ศ.2533 เพื่อเป็นการ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเป็นอนุสรณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์แก่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป

“สถานีกรุงเทพ” มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง
มีลักษณะคล้ายกับสถานี รถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
อีกทั้งวัสดุในการก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมันนีเช่นกัน
ลวดลายต่างๆที่ประดับไว้เป็นศิลปะที่มีความวิจิตรสวยงามมาก
บันไดและเสาอาคารบริเวณทางขึ้นที่ทำการกองโดยสารหรือ
โรงแรมราชธานีเดิมเป็นหินอ่อน โดยเฉพาะเพดานเป็นไม้สักสลักลายนูน
ซึ่งหาดูได้ยาก จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่ง
คือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ซึ่งติดตั้งไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคารเช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลา
ที่มีอายุเก่าแก่เท่าๆกับตัวอาคารสถานี โดยติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางยอดโดมสถานี
เป็นนาฬิกาที่สั่งทำพิเศษเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิต
แสดงให้เห็นเหมือนนาฬิกาอื่นๆ นาฬิกาเรือนนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร
ควบคุมด้วยไฟฟ้าระบบ ดี.ซี.จากห้องชุมสาย โทรศัพท์กรุงเทพ
เป็นเครื่องบอกเวลาแก่ผู้สัญจรผ่านไป-มา และผู้ใช้บริการที่สถานีกรุงเทพจนถึงปัจจุบันนี้

บริเวณด้านหน้าสถานีกรุงเทพมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน
โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์เป็นมูลค่า 9,150.-บาท
จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯอุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร”
มีพระบรมฉายาลักษณ์ด้านข้างแบบลายนูนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่
เดิมสถานีกรุงเทพใช้เป็นที่รับ-ส่ง ทั้งผู้โดยสารและสินค้า
โดยถ้าเรายืนอยู่บริเวณด้านหน้าสถานีและหันหน้าเข้าสู่สถานี ภายใต้พื้นที่หลังคารูปครึ่งวงกลมจะเป็นส่วนให้บริการแก่ผู้โดยสาร
พื้นที่ด้านขวามือเป็นที่ตั้งของโรงแรมราชธานี
ปัจจุบันนี้ เป็นที่ทำการกองโดยสาร และด้านซ้ายมือจะเป็นที่ทำการรับ-ส่งสินค้า
ซึ่งปัจจุบันเป็นจุดจอดรถแท๊กซี่
โดยในส่วนพื้นที่บริการด้าน สินค้านี้ การรถไฟฯได้พิจารณาให้ย้ายไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503
เนื่องจากมีการขยายตัวทั้งด้านการโดยสาร และสินค้าประกอบกับ การจราจรบริเวณหน้าสถานีเริ่มมีปัญหา
อีกทั้งเพื่อปรับปรุงย่านสถานีกรุงเทพเสียใหม่ให้สามารถรองรับ การโดยสาร ที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นทุกๆปี

สถานีกรุงเทพได้รับการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับการสภาพการโดยสารตลอดมา
เป็นต้นว่าการขยายความยาวของชานชาลา
หรือก่อสร้างชานชาลาและหลังคาคลุมชานชาลาเพิ่มเติม
ปรับปรุงห้องจำหน่ายตั๋ว โดยแยกเป็นห้องจำหน่ายตั๋วประจำวันและ ห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า
จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆแก่ผู้โดยสารและผู้ที่มารับส่ง เช่น ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ร้านค้าเบ็ดเตล็ด
ร้านขายหนังสือพิมพ์ ที่ทำการไปรษณีย์ เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วสถานีกรุงเทพยังเป็นสถานที่รณรงค์ต่อต้านภัยจากการสูบบุหรี่โดยจัด
ให้เป็นเขตปลอดบุหรี่เพื่อสุขภาพของผู้โดยสารของทุกคนส่วนรวม
ในปี 2541 สถานีกรุงเทพได้รับการปรับปรุงในส่วนพื้นที่รองรับ ผู้โดยสารหรือผู้เข้ามาใช้บริการอื่นๆ
แบบที่เรียกว่า“พลิกโฉม” โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของรถไฟไทยให้ตอบรับกับ ปีอะเมซิ่งไทยแลนด์
และรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
ระหว่างวันที่ 6 – 20 ธันวาคม พ.ศ.2541
โดยการรถไฟฯได้คัดเลือกและแต่งตั้งบริษัทไทยสินเอ็กซ์เพรส จำกัด
ซึ่งมีประสบการณ์ในการบูรณะและพัฒนาอาคาร อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์หลายแห่งมาแล้ว
ให้เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าต้องอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีกรุงเทพ ให้อยู่ในสภาพเดิม
เนื่องจากเป็นอาคารที่อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์

ในการปรับปรุงอาคารสถานีกรุงเทพจะประกอบด้วยการปรับปรุงพื้นที่ 2 ข้างในห้องโถงอาคารให้เป็นร้านขายอาหารและ ร้านค้า
โดยมีชั้นลอยเพื่อเป็นที่นั่งคอยของผู้โดยสารเป็นการเพิ่มบริการให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบาย
ในการนั่งรอและสามารถ เลือกซื้อ อาหาร ตลอดจนของใช้จำเป็นอื่นๆได้ตามความต้องการ
โดยมีร้านค้าหลากหลาย อาทิ ร้านอาหาร , ขนม ,เครื่องดื่ม ,ผลไม้ ,ขนมปังและเบเกอรี่, ไอศกรีม, อาหารจานด่วน, อุปกรณ์การเดินทาง, หนังสือ และร้านขายยา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ให้ บริการด้านการท่องเที่ยว,บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน,บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา ,ตู้ เอ.ที.เอ็ม. และห้องละหมาด เป็นต้น

สำหรับห้องจำหน่ายตั๋วประจำวันก็ได้จัดสร้างขึ้นใหม่
โดยหันหน้ารับผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในสถานีบนชั้น 2 ของห้อง
 ขายตั๋วทำเป็นพื้นที่ทำงานของพนักงาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสะดวกในการปฏิบัติงาน
 ส่วนที่เป็นห้องโถงจะคงสภาพเดิมไว้ เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารจำนวนมากๆได้
ในส่วนชานชาลาได้เพิ่มเติมร้านขายของ และจัดเป็นที่พักสำหรับผู้โดยสารที่มารอ การเดินทางด้วย
ทางด้านข้างของอาคารสถานีทิศตะวันตก หรือคลองผดุงกรุงเกษม
ก่อสร้างเป็นหลังคาคลุมใหม่เป็นรูปโค้งครึ่ง วงกลมครอบคลุมพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร
เป็นพื้นที่สำหรับรองรับผู้โดยสารขาเข้าและขาออกให้ได้รับความสะดวกมากขึ้นกว่าเดิม
การปรับปรุงเพื่อพลิกโฉมของสถานีกรุงเทพใหม่ที่กล่าวมานี้แล้วเสร็จและจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2541

“สถานีกรุงเทพ” เป็นสถานีเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง
ถ้านับอายุจนถึงปัจจุบัน(พ.ศ. 2544)ก็มีอายุถึง 85 ปีแล้ว
ปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ ในแต่ละวันจะมีขบวนรถเข้า-ออก ประมาณ 200 ขบวน
และมีผู้โดยสารเดินทางเข้าและออกที่สถานีนี้ นับหมื่นคนเลยทีเดียว
โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์สำคัญๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา
หรือตรุษจีนจะมีผู้คนหลั่งไหล มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพนี้นับแสนคน
จนสถานที่อันกว้างขวางโอ่โถงของสถานีแห่งนี้ดูคับแคบลงไปเลยทีเดียว
นอกจากความเก่าแก่ แล้ว“สถานีกรุงเทพ”ยังเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม
และการคมนาคมขนส่ง สมควรยิ่งที่จะต้องอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกของชาติและอนุชนรุ่นหลังสืบไป
 
   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 เม.ย. 16, 17:19
“สถานีกรุงเทพ” มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-48.jpg)

สถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-49.jpg)

สถานี Porta Nuova เมืองตูรินในประเทศอิตาลี

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-47.jpg)


ลองพิจารณาดูให้ดี

หัวลำโพงของเราเหมือนสถานีรถไฟของเยอรมันหรืออิตาลี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 16, 07:55
พระราชพิธีเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมา ระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าขึ้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439

รายละเอียด พระราชพิธี มีดังนี้

     เวลา  10.00  น. พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ 
เสด็จพระราชดำเนิน โดยขบวนรถพระที่นั่ง ออกจากพระบรมมหาราชวัง เลี้ยวไปตามถนนบำรุงเมือง 
แล้วเลี้ยวไปทางถนน  หน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสพานกรมรถไฟ ข้ามสพานไปเทียบพะรที่นั่ง ณ ที่พักรถม้า
ในบริเวณรถไฟ  พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น พิทยลาภพฤติธาดา  เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ 
และข้าราชการกระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟ พร้อมกันรับเสด็จอยู่ที่นั่น

      ครั้นเสด็จฯ  ลงจากรถพระที่สั่งแล้ว หม่อมเจ้าหญิงมุมนมาลย์  ใน  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติธาดา 
ได้ทูลเกล้าฯ ถวายดอกกุหลาบมัดแด่ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราินีนาถ

      เมื่อมีพระราชดำรัส  พอสมควรแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปตามทางซึ่งดาดปรำตกแต่งเป็นระยะทาง 3 เส้น 
จึงถึงโรงพระราชพิธี ซึ่ง  ณ ที่นั้น มีพระบรมวงศานุวงศ์ หม่อมห้าม เจ้านาย ข้าราชการ และภรรยา
 ตลอดจนทูตานุทูต และภรรยา  กับผู้มีบรรดาศักดิ์ และพ่อค้าบรรดาที่ได้รับเชิญ
ได้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นจำนวนมาก

      เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัส กับบรรดาที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพะรบาท บางท่านแล้ว
 ก็ทรงจุดเทียนนมัสการ ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จพระราชดำเนินสู่ที่ ซึ่งจะได้ทำพระราชพิธี ที่หน้าพลับพลา
ตรงที่ได้เทมูลดิน ซึ่งทรงขุดกระทำพระฤกษ์ เริ่มการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2434 
ทรงตรึงหมุดที่รางทองรางเงิน ข้างเหนือให้ติดกับหมอนไม้มริดคาดเงิน มีอักษรจารึก เป็นพระฤกษ์ 
พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่  15  รูป  มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นประธาน
สวดคาถาชัยมงคล เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรพิณพาทย์ และแตรวงขึ้นพร้อมกัน
แล้ว สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ จึงทรงตรึงรางเงินรางทอง ลงเหนือหมอนไม้มรดคาดเงิน 
มีอักษรจารึก ซึ่งทอดไว้ทางด้านใต้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และทูตานุทูต
ทั้งชายหญิง ช่วยกันตรึงต่อไป 
จนเสร็จทั้ง 2 ราง ซึ่งนับว่าทางรถไฟ ในระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าติดต่อกันแล้ว  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

     ต่อจากนั้น  พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่โรงพิธี ประทับหน้าพระบัลลังก์
ซึ่งจัดตั้งพระราชอาศน์คู่หนึ่งอยู่ใต้เพดานแพร
มีธงบรมราชธวัชดาดอยู่ด้านหลังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น พิทยลาภพฤฒิธาดา
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ทรงอ่านคำกราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว
มิสเตอร์เบทเก เจ้ากรมรถไฟ อ่านรายงานกราบบังคมทูพระกรุณา
ต่อจากนั้น พระองค์ได้มีพระราชดำรัส แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ ์เป็นบำเหน็จ  แก่เจ้าพนักงานกระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟ

     ต่อมา เจ้าพนักงานกรมรถไฟ  ได้เคลื่อนขบวนรถไฟฟพระที่นั่ง
 ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินประทับ เป็นพระฤกษ์
เข้ามาเทียบ ที่หน้าพลับพลา  เมื่อพระองค์ทรงเจิมรถไฟพระที่นั่งแล้ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระชัยแนาวโลหะขึ้นสู่รถนำ 
พร้อมด้วยพระราชาคณะผู้ใหญ่ 3 รูป มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ และ หม่อมเจ้าพระศรีสุคตดัติยานุวัตร
กับพระราชาคณะฝ่ายรามัญ 1 รูป ฝ่ายวิปัสสนาธุระ  1 รูป 
สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และโปรยทรายไปในรถนำ
ซึ่งอยู่หน้าพระที่นั่งแล้ว พระองค์ก็เสด็จพะรราชดำเนินขึ้นสู่รถพระที่นั่ง
(ส่วนสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถนั้น ไม่ได้โดยเสด็จด้วย  เมื่อส่งเสด็จจนรถพระที่นั่งเคลื่อนออกจากหน้าพลับพลาแล้ว จึงได้เสด็จพะรราชดำเนินกลับพระบรมมหาราชวัง)
โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูตและพ่อค้า ตามเสด็จขึ้นสู่รถพ่วงคัน ต่อจากรถพระที่นั่งตามลำดับ

     ครั้นพร้อมแล้ว  ขบวนรถไฟฟพระที่นั่ง ซึ่งนับเป็นรถโดยสารขบวนแรก
ก็เคลื่อนออกจากที่พระสงฆ์ ที่ยังเหลือ 10 รูป มีสมเด็จพระวันรัต เป็นประธานสวดคาถาถวายชัยมงคลอีกครั้งหนึ่ง 
ชาวประโคม ก็ประโคมสังข์  แตรและพิณพาทย์พร้อมกัน

     รถพระที่นั่งดังกล่าว ได้วิ่งผ่านสถานีรายทางซึ่งตกแต่ง
ประดับประดาด้วยธงและรายทางซึ่งตกแต่งประดับประดา ด้วยธงและไบไม้ไปตามลำดับ 
จนกระทั่ง13.00 น. เศษ  จึง่ถึงพลับพลาหลวง สถานีพระราชวังบางปะอิน
ที่นี่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินลงจากรถพระที่นั่ง ประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน 
พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย และทูตานุทูต

     ครั้นเสวยแล้ว  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา  เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
จึงกราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว
แล้วพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และทูตานุทูต พร้อมกันถวายชัยมงคล 
ต่อจากนั้น พระองค์ได้พระราชทานพร แก่เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
และกรมรถไฟ แล้วพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน ขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่ง
ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ส่วนผู้ที่ไม่ได้ตามเสด็จทางกรมรถไฟ ได้จัดรถไฟอีกขบวนหนึ่ง นำกลับเข้ากรุงเทพฯ)

     เมื่อขบวนรถไฟพระที่นั่ง เคลื่อนออกจากสถานีบางปะอิน บรรดาข้าราชการ และทูตานุทูต ชาวต่างประเทศ
ที่ไม่ได้ตามเสด็จ ได้โห่ถวายชัยมงคล 3 ลา
ต่อจากนั้น ขบวนรถไฟพระที่นั่ง ก็ได้วิ่งมาถึงสถานีกรุงเก่า 
ณ ที่นั่น มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
และข้าราชการหัวเมือง มาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท เป็นจำนวนมาก
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังจากที่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระทำพิธีเปิด ศาลาว่าการรัฐบาลแล้ว
 เวลา 16.00 น. เศษ พระองค์ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่ง กลับกรุงเทพฯ  ถึงกรุงเทพฯ เวลา 18.00 น. เศษ


ภาพแรก สมเด็จฯทรงตรึงรางหมุดเป็นปฐมฤกษ์
ภาพที่สอง สเตชั่นรถไฟหรือชาวบ้านเรียกว่าสเตแท่น เป็นสถานที่ทำพิธีเปิดในวันนั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 16, 08:04
ภาพเก่าๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 10 เม.ย. 16, 11:24
หลังคาเหล็กโค้ง มาจากสัญชาติเยอรมัน (วิศวกรต่างชาติของกรมรถไฟหลวง)
มุขซ้ายขวาสีเหลืองนวลที่เป็นตัวจบปลายอาร์ค และถูกเช่ือมถึงกันด้วยทางเข้าหลัก ที่เป็นdeckข้างบน มาจากสัญชาติอิตาเลียน (นายช่างออกแบบของกรมโยธาธิการ-มารีโอ ตามัญโญ)  มุขนี้มีรูปแบบเดียวกับโดมเล็กของพระที่นั่งอนันตฯที่สร้างร่วมสมัยกัน เพียงแต่ตัดหลังคาโดมออก ส่วนเสาใหญ่เล็กของทางเข้าเป็นสไตล์เดียวกับรั้วของพระที่นั่งฯ
เลยเป็นรูปแบบเยอรมันผสมอิตาเลียน เฉพาะตัว ใครเห็นก็บอกได้ว่านี่คือสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีหัวลำโพง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 10 เม.ย. 16, 13:10
หลังคาเหล็กโค้ง มาจากสัญชาติเยอรมัน (วิศวกรต่างชาติของกรมรถไฟหลวง)
มุขซ้ายขวาสีเหลืองนวลที่เป็นตัวจบปลายอาร์ค และถูกเช่ือมถึงกันด้วยทางเข้าหลัก ที่เป็นdeckข้างบน มาจากสัญชาติอิตาเลียน (นายช่างออกแบบของกรมโยธาธิการ-มารีโอ ตามัญโญ)  มุขนี้มีรูปแบบเดียวกับโดมเล็กของพระที่นั่งอนันตฯที่สร้างร่วมสมัยกัน เพียงแต่ตัดหลังคาโดมออก ส่วนเสาใหญ่เล็กของทางเข้าเป็นสไตล์เดียวกับรั้วของพระที่นั่งฯ
เลยเป็นรูปแบบเยอรมันผสมอิตาเลียน เฉพาะตัว ใครเห็นก็บอกได้ว่านี่คือสถานีรถไฟกรุงเทพ หรือสถานีหัวลำโพง


ดูภาพอีกมุมมองคือภาพในระยะไกล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 10 เม.ย. 16, 15:54
ถนนพระรามที่๔ยังไม่ได้ขยาย คลองหัวลำโพงยังไม่ถูกถม ยังเห็นตึกแถวและสถานีหัวลำโพงของรถรางสายปากน้ำ แต่รถรางไฟฟ้าสายนี้เลิกให้บริการไปแล้วตั้งแต่ ๑ ม.ค.๒๕๐๓  กลิ่นน้ำครำของคลองหัวลำโพงช่วงนี้ยังจำติดจมูกอยู่ คลองในกรุงเทพช่วงเวลานั้นดำปี๋แทบทุกคลอง ผู้รับผิดชอบคือเทศบาลนครกรุงเทพ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 เม.ย. 16, 10:10
ถนนบำรุงเมือง   รถรางจอดที่ป้าย ถ่ายจากแยกแม้นศรีเข้าในเมือง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 11 เม.ย. 16, 17:12
ภาพฝั่งธนบุรีที่ถ่ายจากเจดีย์วัดโพธิ์  คิดว่าถ่ายจากเจดีย์ประจำ ร3 องค์ใต้สุด
มองผ่านหลังคาศาลต่างประเทศ ที่มีเสา(ไม่รู้ว่าเสาอะไร?)อยู่ด้านหน้า
ฝั่งตรงข้ามน่าจะเป็นบริเวณพระราชวังเดิม ? ดูรกทึบเต็มไปด้วยต้นไม้
ประมาณเวลาของรูป  ราว ตั้งแต่สร้างศาลต่างประเทศ ถึงพศ. 2450

ภาพที่สองเป็นแนวทางของมุมกล้อง  ที่ลองเสนอว่าเป็นแบบนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: กะออม ที่ 12 เม.ย. 16, 06:57
ฝั่งตรงข้ามตอนนี้น่าจะเป็นหอประชุมกองทัพเรือมากกว่าพระราชวังเดิม หลังคาพระวิหารหรือพระอุโบสถเห็นยอดพระเจดีย์ด้านขวาของภาพก็คงเป็นวัดเครือวัลย์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 เม.ย. 16, 08:10
วันที่ 14 ธค. พศ 2487  เวลา 9.40 น.     ในช่วงสงครามโลก
เครื่องบิน B 29 ของสัมพันธมิตร 33 ลำ (คุณสรศัลย์ เขียนในหนังสือ หวอ ว่า 30 ลำ)
เข้ามาทิ้งระเบิดกรุงเทพ โดยมีจุดหมายทำลายสะพานพระราม 6  แต่ทำลายไม่สำเร็จในวันนั้น
 มีเครื่องบินลำหนึ่งเข้าใจผิด ไปทิ้งระเบิดสะพานพุทธ เสียหายขาดไปช่วงหนึ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 เม.ย. 16, 07:51
พระราชพิธีเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมา ระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าขึ้น ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439

รายละเอียด พระราชพิธี มีดังนี้

     เวลา  10.00  น. พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ 
เสด็จพระราชดำเนิน โดยขบวนรถพระที่นั่ง ออกจากพระบรมมหาราชวัง เลี้ยวไปตามถนนบำรุงเมือง 
แล้วเลี้ยวไปทางถนน  หน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสพานกรมรถไฟ ข้ามสพานไปเทียบพะรที่นั่ง ณ ที่พักรถม้า
ในบริเวณรถไฟ  พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น พิทยลาภพฤติธาดา  เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ 
และข้าราชการกระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟ พร้อมกันรับเสด็จอยู่ที่นั่น

      ครั้นเสด็จฯ  ลงจากรถพระที่สั่งแล้ว หม่อมเจ้าหญิงมุมนมาลย์  ใน  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติธาดา 
ได้ทูลเกล้าฯ ถวายดอกกุหลาบมัดแด่ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราินีนาถ

      เมื่อมีพระราชดำรัส  พอสมควรแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปตามทางซึ่งดาดปรำตกแต่งเป็นระยะทาง 3 เส้น 
จึงถึงโรงพระราชพิธี ซึ่ง  ณ ที่นั้น มีพระบรมวงศานุวงศ์ หม่อมห้าม เจ้านาย ข้าราชการ และภรรยา
 ตลอดจนทูตานุทูต และภรรยา  กับผู้มีบรรดาศักดิ์ และพ่อค้าบรรดาที่ได้รับเชิญ
ได้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เป็นจำนวนมาก

      เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัส กับบรรดาที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพะรบาท บางท่านแล้ว
 ก็ทรงจุดเทียนนมัสการ ต่อจากนั้นก็ได้เสด็จพระราชดำเนินสู่ที่ ซึ่งจะได้ทำพระราชพิธี ที่หน้าพลับพลา
ตรงที่ได้เทมูลดิน ซึ่งทรงขุดกระทำพระฤกษ์ เริ่มการก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2434 
ทรงตรึงหมุดที่รางทองรางเงิน ข้างเหนือให้ติดกับหมอนไม้มริดคาดเงิน มีอักษรจารึก เป็นพระฤกษ์ 
พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่  15  รูป  มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นประธาน
สวดคาถาชัยมงคล เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรพิณพาทย์ และแตรวงขึ้นพร้อมกัน
แล้ว สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ จึงทรงตรึงรางเงินรางทอง ลงเหนือหมอนไม้มรดคาดเงิน 
มีอักษรจารึก ซึ่งทอดไว้ทางด้านใต้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และทูตานุทูต
ทั้งชายหญิง ช่วยกันตรึงต่อไป 
จนเสร็จทั้ง 2 ราง ซึ่งนับว่าทางรถไฟ ในระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าติดต่อกันแล้ว  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

     ต่อจากนั้น  พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่โรงพิธี ประทับหน้าพระบัลลังก์
ซึ่งจัดตั้งพระราชอาศน์คู่หนึ่งอยู่ใต้เพดานแพร
มีธงบรมราชธวัชดาดอยู่ด้านหลังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น พิทยลาภพฤฒิธาดา
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ทรงอ่านคำกราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว
มิสเตอร์เบทเก เจ้ากรมรถไฟ อ่านรายงานกราบบังคมทูพระกรุณา
ต่อจากนั้น พระองค์ได้มีพระราชดำรัส แล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ ์เป็นบำเหน็จ  แก่เจ้าพนักงานกระทรวงโยธาธิการและกรมรถไฟ

     ต่อมา เจ้าพนักงานกรมรถไฟ  ได้เคลื่อนขบวนรถไฟฟพระที่นั่ง
 ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินประทับ เป็นพระฤกษ์
เข้ามาเทียบ ที่หน้าพลับพลา  เมื่อพระองค์ทรงเจิมรถไฟพระที่นั่งแล้ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระชัยแนาวโลหะขึ้นสู่รถนำ 
พร้อมด้วยพระราชาคณะผู้ใหญ่ 3 รูป มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ และ หม่อมเจ้าพระศรีสุคตดัติยานุวัตร
กับพระราชาคณะฝ่ายรามัญ 1 รูป ฝ่ายวิปัสสนาธุระ  1 รูป 
สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และโปรยทรายไปในรถนำ
ซึ่งอยู่หน้าพระที่นั่งแล้ว พระองค์ก็เสด็จพะรราชดำเนินขึ้นสู่รถพระที่นั่ง
(ส่วนสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถนั้น ไม่ได้โดยเสด็จด้วย  เมื่อส่งเสด็จจนรถพระที่นั่งเคลื่อนออกจากหน้าพลับพลาแล้ว จึงได้เสด็จพะรราชดำเนินกลับพระบรมมหาราชวัง)
โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูตและพ่อค้า ตามเสด็จขึ้นสู่รถพ่วงคัน ต่อจากรถพระที่นั่งตามลำดับ

     ครั้นพร้อมแล้ว  ขบวนรถไฟฟพระที่นั่ง ซึ่งนับเป็นรถโดยสารขบวนแรก
ก็เคลื่อนออกจากที่พระสงฆ์ ที่ยังเหลือ 10 รูป มีสมเด็จพระวันรัต เป็นประธานสวดคาถาถวายชัยมงคลอีกครั้งหนึ่ง 
ชาวประโคม ก็ประโคมสังข์  แตรและพิณพาทย์พร้อมกัน

     รถพระที่นั่งดังกล่าว ได้วิ่งผ่านสถานีรายทางซึ่งตกแต่ง
ประดับประดาด้วยธงและรายทางซึ่งตกแต่งประดับประดา ด้วยธงและไบไม้ไปตามลำดับ 
จนกระทั่ง13.00 น. เศษ  จึง่ถึงพลับพลาหลวง สถานีพระราชวังบางปะอิน
ที่นี่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินลงจากรถพระที่นั่ง ประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน 
พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย และทูตานุทูต

     ครั้นเสวยแล้ว  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา  เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
จึงกราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว
แล้วพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และทูตานุทูต พร้อมกันถวายชัยมงคล 
ต่อจากนั้น พระองค์ได้พระราชทานพร แก่เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
และกรมรถไฟ แล้วพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนิน ขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่ง
ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ส่วนผู้ที่ไม่ได้ตามเสด็จทางกรมรถไฟ ได้จัดรถไฟอีกขบวนหนึ่ง นำกลับเข้ากรุงเทพฯ)

     เมื่อขบวนรถไฟพระที่นั่ง เคลื่อนออกจากสถานีบางปะอิน บรรดาข้าราชการ และทูตานุทูต ชาวต่างประเทศ
ที่ไม่ได้ตามเสด็จ ได้โห่ถวายชัยมงคล 3 ลา
ต่อจากนั้น ขบวนรถไฟพระที่นั่ง ก็ได้วิ่งมาถึงสถานีกรุงเก่า 
ณ ที่นั่น มีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
และข้าราชการหัวเมือง มาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท เป็นจำนวนมาก
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังจากที่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระทำพิธีเปิด ศาลาว่าการรัฐบาลแล้ว
 เวลา 16.00 น. เศษ พระองค์ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่ง กลับกรุงเทพฯ  ถึงกรุงเทพฯ เวลา 18.00 น. เศษ


ภาพแรก สมเด็จฯทรงตรึงรางหมุดเป็นปฐมฤกษ์
ภาพที่สอง สเตชั่นรถไฟหรือชาวบ้านเรียกว่าสเตแท่น เป็นสถานที่ทำพิธีเปิดในวันนั้น

ภาพอีกหนึ่งภาพในพิธีเปิดทางรถไฟครั้งแรก ที่สถานีสเตชั่นรถไฟ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 13 เม.ย. 16, 09:10
ภาพวันเดียวกัน ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 เม.ย. 16, 18:28
ภาพวันเดียวกัน ?

ภาพการตกแต่งอาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินเปิดรถไฟสายแปดริ้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 เม.ย. 16, 07:31
วันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2475

เป็นวันเริ่มการฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 150 ปี

โดยในวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2475
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระที่นั่งราชยานพุดตานทองเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารค 
จากพระบรมมหาราชวังเพื่อทรงนมัสการบูชาปูชนียวัตถุ ณ วัดบวรนิเวศวิหารและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
และทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีกระบวนแห่นำและตามเสด็จไปยังพระโรงราชพิธีที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ
ทรงเปิดผ้าคลุมพระบรมรูป พระปฐมบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ
 ซึ่งเชื่อมฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี ถือเป็นอนุสรณ์ที่ยิ่งใหญ่ของงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ในครั้งนี้
จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินลงประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคไปเทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าราชวรดิษฐ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 เม.ย. 16, 07:42
พิธีรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
เมื่อ  วันที่ 5 ธันวาคม  2436


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 เม.ย. 16, 07:44
พิธีรัชดาภิเษก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 เม.ย. 16, 13:03
สถานีรถไฟหัวลำโพง ไม่ทราบเวลา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 เม.ย. 16, 14:25
สะพานผ่านฟ้า ป้อมมหากาฬ     น่าจะมีสะพานมหาดไทยอุทิศแล้ว
ต้องเป็นหลัง พศ. 2457   ยังเห็นแนวกำแพงเมืองตามถนนพระสุเมรุ

ตรงสามแยกปากคลองมหานาค บริเวณด้านหลังป้อมมหากาฬ มีตึกโบราณหลังหนึ่ง
เป็นอาคารชั้นเดียวที่พระยาญาณประกาศ (เลื่อน ศุพศิริวัฒน์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารหลังนี้ใช้เป็นท่าเรือต้นทาง
สำหรับเจ้านายและข้าราชการที่จะเดินทางไปเฝ้าฯสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ซึ่งทรงย้ายไปประทับที่วังสระปทุม ริมคลองแสนแสบ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๙
นอกจากนั้นแล้ว ยังเล่ากันว่า อาคารท่าเรือหลังนี้ได้ใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายที่เสด็จมาทอดพระเนตรการเล่นสักวาในคลองโอ่งอ่าง
ซึ่งในระยะหลังการเล่นสักวามักมีในช่วงงานภูเขาทอง กลางเดือน ๑๒ วันลอยกระทง งานมีถึง ๑๐ วัน ๑๐ คืน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 14 เม.ย. 16, 19:50
รูปปี พศ 2508 มาเปรียบเทียบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 14 เม.ย. 16, 22:15
ภาพปี๒๕๐๘ ที่ต่างไปจากพ.ศ.นี้(๒๕๕๙)คือ ยังไม่มีหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เชิงสะพานผ่านฟ้าตรงจุดนั้นยังเป็นที่ตั้งคัตเอาท์โฆษณาหนังไทย
และตึกบชน.ผ่านฟ้า ยังตั้งเด่นเป็นสง่า (ตึกสูงหลังคาทรงไทย ฝั่งตรงข้ามกระทรวงคมนาคม) ก่อนถูกเผาวอดไปเมื่อเหตุการณ์ ๑๔ ต.ค.๒๕๑๖


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 14 เม.ย. 16, 23:41
ขออภัยครับเกิดอาการหลงทิศ!
ฝั่งตรงข้ามบชน.ผ่านฟ้า คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และวัดปรินายก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 เม.ย. 16, 06:52
  ภาพจาก หนังสือ an official guide to eastern asia v 5
ของการรถไฟญี่ปุ่น ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ปี พศ. 2463



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 15 เม.ย. 16, 07:21
คลองรอบกรุง(โอ่งอ่าง) คลองมหานาค ภูเขาทอง แต่ละเวลา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 เม.ย. 16, 08:45
สะพานกษัตริย์ศึก ที่ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่ถนนบำรุงเมืองและทางรถไฟที่ถนนพระรามหนึ่ง
ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าสร้างพร้อมกันเป็นตอนเดียวตลอดหรือสร้างข้ามทางรถไฟก่อน
แล้วถึงจะมาสร้างข้ามคลองผดุงฯ(สะพานยศเสเดิมเป็นไม้) ที่หลัง
ตามแผนที่ปี 2450 เห็นมีสะพานไม้ชื่อยศเส ส่วนทางรถไฟยังไม่มีสะพานลอยข้าม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 เม.ย. 16, 09:07
วันที่ 6 เมษายน 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเสด็จมาเปิดสะพานกษัตริย์ศึก
รางรถบนสะพานคือรถรางสายปทุมวันที่มีต้นสายอยู่ที่นี่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 เม.ย. 16, 09:19
หมอสงัด เปล่งวานิช อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขียนเล่าเรื่องราว ในปี 2463
ของนิสิตจุฬาฯยุคที่เรียนกันที่หอวังหรือวังวินเซอร์(ที่อยู่ตรงสนามศุภชลาศัย)
ปี 2463 ยังไม่มีรถรางสายปทุมวัน ถ้ามีรถรางสายนี้ท่านไม่ต้องเดินไปขึ้นรถที่ยศเส


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 เม.ย. 16, 10:14
ภาพ Poo Kao Tongจาก หนังสือ an official guide to eastern asia v 5
ของการรถไฟญี่ปุ่น ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ปี พศ. 2463
เป็น postcard ฝีมือของนาย Y Ebata ร้านถ่ายรูปพร้อมปากตรอกชาร์เตอร์แบงค์
นาย Ebata คงรับเซ้งร้าน charoen Krung photographic studio ของนาย J Antonio  มาดำเนินต่อ
ด้านหลังภาพเขียนว่า Issued by Y. Ebata ( Photo studio Mikasa, Y. Asow & Co. )
เป็นไปได้ว่าร้านถ่ายรูปของชาวญี่ปุ่นสามร้านร่วมมือกันในการจำหน่ายภาพ
ร้านสามร้านคือ
Prom Photo Studio --อยู่ที่ถนนเจริญกรุง
Mikasa--อยู่ที่สี่กั๊กพระยาศรี
Y Asow & CO --อยู่แถวสะพานพุทธ พาหุรัด  (จำตำแหน่งไม่ได้แน่นอน)

ภาพของ นาย วาย อีบาต้า




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 17 เม.ย. 16, 10:19
ภาพอื่นๆที่เป็นของร้าน ถ่ายรูปพร้อม ของ นาย Y Ebata เช่น bird eye view of bangkok
คงจะบันทึกประมาณหลังปี 2459ิ ไม่นาน

เอาภาพ (ภาพ 2-3)ของท่านอื่นในตำแหน่งเดียวกันมาเปรียบเทียบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 16, 08:00
ไปรษณีย์ไทยสมัยที่ยังอาศัยอาคารสถานทูตอังกฤษเก่าที่ถนนเจริญกรุง
ภาพนี้มีอายุประมาณ ปี 2470 ถึง 2482  
ไม่แน่ใจว่าเป็นด้านข้าง,ด้านหลังหรือด้านหน้า  เพราะด้านหน้าห่างจากถนนเจริญกรุงมาก มีวงเวียนอยู่ด้านหน้าอาคาร
เคยมีรูปเก่าถ่ายด้านหน้าในเรือนไทย ผมหาไม่เจอ
ตัวอาคารเป็นอย่างในรูปที่สองที่สาม

อ่านเรื่องไปรษณีย์ไทยที่นี่
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=yyswim&date=06-03-2008&group=3&gblog=164 (http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=yyswim&date=06-03-2008&group=3&gblog=164)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 16, 08:08
ไปรษณีย์ไทย   มีที่ทำการตั้งอยู่ ณ อาคารใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2426
ตอนปากคลองโอ่งอ่าง ด้านทิศเหนือ ..อาคารนี้ เดิมทีเป็นของพระปรีชากลการ (สำอางค์ อมาตยกุล) เจ้าเมืองปราจีนบุรี
ซึ่งได้โอนมาเป็นของหลวง ..แต่ปัจจุบันน่าเสียดาย อาคารนี้ถูกรื้อไปแล้ว เพื่อใช้สถานที่สร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานพุทธ
..และที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกนี้ ได้ใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดพระนครด้วย เรียกชื่ออาคารว่า “ไปรษณียาคาร”


กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งอยู่ ณ ไปรษณียาคาร จนกระทั่งถึงปีพ.ศ.2470
จึงได้ย้ายไปใช้อาคารและที่ดินริมถนนเจริญกรุงเป็นที่ทำการ(บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งสถานทูตอังกฤษ)
..ณ ที่ทำการแห่งใหม่นี้ใช้งานอยู่ 12 ปี
พอถึงปีพ.ศ.2482 ก็ได้ปรับปรุงอาคารโดยรื้ออาคารออก
แล้วสร้างอาคารหลังใหม่เป็นที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ที่ทำการไปรษณีย์กลาง”

ไปรษณียาคาร ปากคลองโอ่งอ่าง  ที่เคยเป็นบ้านของพระปรีชากลการ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 16, 08:30
ไปรษณีย์กลาง บางรัก เจริญกรุง  หลังปี 2482 



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 16, 12:22
ไปรษณีย์ royal mail   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 18 เม.ย. 16, 13:51
ภาพไปรษณีย์โทรเลขกลาง ที่เคยลงในเรือนไทย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 19 เม.ย. 16, 10:27
เมื่อดูรูปร้านถ่ายรูปพร้อม  มาดูรายละเอียดเกี่ยวกับนาย ไว เอบาต้า เจ้าของร้านชาวญี่ปุ่น
จากข้อเขียนของคุณสรศัลย์ แพ่งสภา เขียนไว้ในหนังสือชื่อ "สงครามมืด วันญี่ปุ่นบุกไทย"
อย่างน้อยร้านถ่ายรูปนี้อยู่มาจนถึงสงครามโลก 2484
------------------------------------------------------------------------------------------------------


ห้างถ่ายรูปพร้อมหรืออีกชื่อหนึ่งคือห้าง ไว เอบาต้า
ตั้งอยู่ที่ปากตรอกชาร์ตเตอร์แบงค์ ถนนเจริญกรุง
ใกล้กับตรอกโฮเต็ล โอเรียลเตล  ถนนเจริญกรุง
ใครๆก็รู้จักครับ ชอบไปถ่ายกันทั้งนั้น ไฮโซไฮซ้อวัยรุ่น วัยจ๊าบวัยดึก
เพราะราคาถูกกว่า ไวต์ อเวย์ ของอังกฤษ ที่อยู่ตรงข้ามกับตึกไปรษณีย์กลาง
สินค้าญี่ปุ่นเป็นมิตรกับกระเป๋ามากกว่าของอังกฤษแน่นอน
เจ้าของห้างถ่ายรูปพร้อม  คือนาย ไว เอบาต้า  เข้ามาดำเนินกิจการนานเต็มที
นานจนกระทั่งลูกชายที่เกิดในกรุงเทพฯ เรียนจบจากโรงเรียนอัสสัมชัน ราว พศ.2477 ชื่อนายสุริยะ เอบาต้า
ห้างพร้อมมีผู้จัดการอีกคนชื่อ นายทีเคดะ(นาย ที เอ็ม ทีเคดะ)และมีพนักงานชาวญี่ปุ่นอยู่อีกคนสองคนค้นชื่อไม่ได้
สุริยะ เอบาต้า ไปเรียนต่อวิชาอะไรที่ญี่ปุ่นไม่มีใครสนใจ เขากลับมาเป็นหนุ่มใหญ่ตอนต้นปี พศ.2484
ผมทราบแค่นั้น
ตึกแถวสองชั้นที่ตั้งของห้างถ่ายรูปพร้อมนี้เช่าจาก
สำนักงานจัดการผลประโยชน์ในพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 อยู่กันมาช้านานทีเดียว


นายเอบาต้าเป็นคนมีอัธยาศัยโอภาปราศรัย และยังเป็นช่างภาพมือดีอีกด้วย จึงกว้างขวางอยู่ในทุกระดับสังคม
นายเอบาต้ามาออกลายแสดงตัวเอาใน วันที่ 8 ธันวาคม พศ. 2484
ตอนเช้ามืดแกเข้าไปที่กรมโฆษณาการ(กรมประชาสัมพันธ์ปัจจุบัน ตรงข้ามโรงแรมรัตนโกสินทร์)
เข้าไปแสดงอาการที่เรียกว่า “เบ่ง” คาดคั้นจะเอาคำตอบของรัฐบาลไทยว่า
จะ รบ หรือจะยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเข้าประเทศและเดินผ่าน
ซึ่งขณะนั้นรัฐมนตรีก็ยังประชุมไม่ได้ ฯพณฯนายกฯยังมาไม่ถึงวังสวนกุหลาบ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ท่านอันตรธานไปไหนไม่มีผู้ใดทราบ  และที่กรมโฆษณาการไม่มีตัวอธิบดีนั่งอยู่ที่นั้น
พันตรีวิลาส โอสถานนท์ ผู้เป็นอธิบดีต้องเข้าประชุมที่วงสวนกุหลาบ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการคมนาคมด้วย
ตอนนั้นเราก็รู้มาขั้นหนึ่งว่านายช่างถ่ายภาพย่านบางรัก เป็นเจ้าหน้าที่มีระดับของญี่ปุ่น
และอีกไม่กี่วันต่อมาคนในละแวกไปรษณีย์กลางก็เห็นนายทหารญี่ปุ่นที่ชื่อ พันโท ไว เอบาต้า
สวมเครื่องแบบลากดาบญี่ปุ่นไปกินอาหารกลางวันอยู่กับ ร้อยเอก ที เอ็ม ทีเคดะ ในห้องอาหารชมซุยฮง

ภาพสามภาพคือร้านของ J Antonio เปลี่ยนมาเป็นร้านถ่ายรูป พร้อม



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 เม.ย. 16, 09:35
ภาพเก่าที่เราเคยเห็นกันแต่ไม่มีรายละเอียดเท่าที่ควร
เราช่วยกันหารายละเอียด คำอธิบายกันต่อ 
มีเวลาว่างๆ    คิดกันเรื่อยเปื่อยแก้เหงา 
ภาพใหม่ที่คมชัดก็มีแต่ไม่อยากละเมิด  ค่อยๆเปิดตามโอกาส 
ทุกวันนี้เราดูกันเพื่อด้านความรู้ งานอดิเรก ไม่ได้เพื่อการค้า

ภาพภูเขาทองของนาย J Antonio  ตามรายละเอียดเขียนว่าถ่ายเมื่อปี พศ 2447 สมัย ร. 5
ต้องยืนถ่ายบนสะพานผ่านฟ้าลีลาศ 
สะพานนี้มีสามรูปแบบในระยะเวลาใกล้เคียงกัน(รูป สอง -สาม -สี่)


รูปที่สองเป็นสะพานไม้ดั้งเดิมไม่รู้ว่าสร้างเมื่อไหร่ อยู่กันมาถึงปีไหน
รูปที่สาม เป็นสะพานเหล็กโค้ง(อย่างสะพานนรรัตนสถานบางลำพู, สะพานสุประดิษฐ์ หัวลำโพง) อ้างว่าถ่ายปี พศ. 2436 
รูปที่สี่ เป็นสะพานเหล็กสร้างเมื่อ ร 5 เสด็จกลับจากยุโรป ครั้งที่สอง ปี พศ. 2450

เมื่อดูรูปแล้วคิดว่า คงจะถ่ายรูปนี้บนสะพานโค้งเหล็ก ในช่วงระยะเวลา 2436  (+-)  อาจจะตรงตามรูป ว่าถ่าย ปี 2447
 และน่าจะก่อนปี 2450 ต้องก่อนปี 2457 ที่สร้างสะพานมหาดไทยอุทิศแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 เม.ย. 16, 09:52
โปสการ์ดภาพภูเขาทอง จาก ร้านพร้อมโฟโต ของนายไว เอบาต้า
ร้านญี่ปุ่นจะมีการระบายสีลงในรูป
รูปในจอคอมพิวเตอร์ขนาดพอดีเมื่อเอาลงในเรือนไทยภาพจะค่อนข้างใหญ่ (ผมใช้จอ 22 นิ้ว)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 เม.ย. 16, 09:59
ร้าน มิกาซ่า ที่แยกสี่กั๊กพระยาศรี
บนป้ายเขียน ---
ห้างมิกาซ่า
ช่างถ่ายรูปญี่ปุ่น
มีขายเครื่องถ่ายรูป
   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 เม.ย. 16, 10:10
สะพานเฉลิมโลก ๕๕ ที่ประตูนํ้า
เป็นสะพานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีที่ ๕๕
โดยมีพระราชดำริว่า สะพานข้ามคลองบางกะปิจะเป็นสะพานสำคัญที่จะเชื่อมพระนคร
ทั้งตอนเหนือและตอนใต้ให้สัญจรไปมาได้โดยสะดวก
สะพานเฉลิมโลก ๕๕ เป็นสะพานข้ามคลองใหญ่
เรือค้าขายสัญจรไปมามาก การก่อสร้างแตกต่างจาก
สะพานเฉลิมแห่งอื่น ๆ ด้วยการก่อสร้างอย่างมั่นคงถาวร
โดยใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก
พนักราวสะพานทึบและมีลายประดับแบบเรขาคณิต
มีชื่อสะพานทำเป็นอักษรกดลึกติดอยู่กับพนักสะพานด้านใน
โดยใช้นายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ก่อสร้าง
การก่อสร้างสะพานนี้เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ
ยืนนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประเทศไทย
โดยทรงประกอบพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกขึ้นในปีนี้ด้วย
และการเปิดสะพานเฉลิมโลกเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลองนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเฉลิมโลก ๕๕
เมื่อ    วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 เม.ย. 16, 11:25
สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือ สะพานหัวช้าง
เป็นสะพานในชุดเฉลิม สะพานที่ 15 สร้างข้ามคลองบางกะปิหรือคลองแสนแสบ ที่ถนนพญาไท
เพื่อเชื่อมทางระหว่างพระนครให้ต่อกันทั้งตอนเหนือและตอนใต้
คู่กับสะพานเฉลิมโลก 55 สะพานนี้อยู่ติดกับวังสระปทุม

สะพานเฉลิมหล้า 56 เป็นสะพานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีที่ 56
มีลักษณะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก คานเป็นคอนกรีตรูปโค้ง
มีรายละเอียดงดงามมาก หัวสะพานทั้งสี่มุม มีรูปประดับเป็นช้าง 4 ด้าน
ลูกกรงหล่อแบบลูกมะหวดฝรั่ง กลางสะพานมีพระปรมาภิไธยย่อ จปร.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452
ซึ่งในปีนี้พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมอัยกาธิราช
จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีพระชนมายุมงคลเสมอรัชกาลที่ 2
และฉลองวัดอรุณราชวรารามด้วย
และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีช้างเผือกในแผ่นดินถึง 4 เชือก
จึงพระราชทานนามว่า สะพานเฉลิมหล้า
ซึ่งมาจากพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
และหัวเสาของสะพานออกแบบเป็นหัวช้างเผือก 4 หัว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 เม.ย. 16, 17:20
ภาพสะพานหัวช้างข้างบน   คงกำลังก่อสร้างกันเห็นคนงานอยู่จำนวนหนึ่ง
ภาพล่างเป็นอีกมุมหนึ่งของสะพาน น่าจะสร้างเสร็จแล้ว
สังเกตุแถวคอสะพานเป็นแถวที่ไม่ค่อยมีคนอาศัย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 21 เม.ย. 16, 21:17
ภาพจากเวปรถไฟไทย
แสดงภาพถ่ายทางอากาศของวิลเลี่ยม ฮันท์ ปี 2489
บริเวณเหนือสะพานเฉลิมโลก ประตูนํ้า
เขาดาวน์โหลดได้ความละเอียดมาสูงเอามาขยายได้มาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 เม.ย. 16, 09:03
ประวัติของอาคารกระทรวงกลาโหม เดิมเรียกว่าโรงทหารหน้า
(จำง่ายๆว่าเริ่มสร้างเมื่อกรุงเทพมีอายุครบร้อยปี คือ ปี 2425)
เปลี่ยนเป็นศาลายุทธนาธิการ แล้วสุดท้ายเป็นกระทรวงกลาโหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 22 เม.ย. 16, 13:21
ไปอ่านเจอคำบรรยายภาพนี้ว่า--การแสดงรถยนต์-
อาจจะเป็นมอเตอร์โชว์ยุคแรกๆก็เป็นได้
สยามของเราไม่ใช่ธรรมดาตั้งแต่ยุคก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 23 เม.ย. 16, 06:12
พริตตี้สมัยนั้นเป็นผู้ชาย  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 เม.ย. 16, 08:28
พริตตี้สมัยนั้นเป็นผู้ชาย  ;D
ระยะเวลาร้อยปีวงการพริตตี้ก้าวกระโดดอย่างน่าเป็นห่วง  ต้องใช้สติกันให้มากขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 เม.ย. 16, 08:37
เมื่อดูรูปด้านข้างสะพานเฉลิมโลก
มาดูรูปด้านบน ของ William Hunt จะได้ครบกระบวนการไม่ต้องวนกลับไปมา
ถ่ายเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน 2489 
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ยังไม่ได้สร้าง ถนนเพชรบุรีมาตันที่ถนนราชปรารภ ข้างสะพานเฉลิมโลก
แนวที่เป็นถนนเพชรบุรีตัดใหม่จะเห็นโรงหนังศาลาเฉลิมโลก

ส่วนสะพานเฉลิมโลกดูเหมือนจะมีสะพานคู่ขนานที่เล็กกว่าแต่ยังหาคำอธิบายไม่ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 23 เม.ย. 16, 12:49
รูปบนสุด มีสะพานข้ามคลองแสนแสบอยู่ลิบๆ ๑ สะพาน
เห็นจะเป็นสะพานรถไฟตรงวัดมักกะสัน(ดิสหงสาราม)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 เม.ย. 16, 12:58
รูปบนสุด มีสะพานข้ามคลองแสนแสบอยู่ลิบๆ ๑ สะพาน
เห็นจะเป็นสะพานรถไฟตรงวัดมักกะสัน(ดิสหงสาราม)
น่าจะใช่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 เม.ย. 16, 17:18
ติดธุระหลายวัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 16, 18:28
เมื่อดูรูปด้านข้างสะพานเฉลิมโลก
มาดูรูปด้านบน ของ William Hunt จะได้ครบกระบวนการไม่ต้องวนกลับไปมา
ถ่ายเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน 2489 
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ยังไม่ได้สร้าง ถนนเพชรบุรีมาตันที่ถนนราชปรารภ ข้างสะพานเฉลิมโลก
แนวที่เป็นถนนเพชรบุรีตัดใหม่จะเห็นโรงหนังศาลาเฉลิมโลก

ส่วนสะพานเฉลิมโลกดูเหมือนจะมีสะพานคู่ขนานที่เล็กกว่าแต่ยังหาคำอธิบายไม่ได้

เป็นสะพานใหญ่สำหรับทางรถวิ่ง และสะพานเล็กสำหรับคนข้าม โดยสองสะพานแยกห่างกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 25 เม.ย. 16, 20:29
ภาพจากเอสซีจี 100ปี  มีภาพสวยๆมาให้ดู


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 เม.ย. 16, 07:27
ภาพจากเอสซีจี 100ปี  มีภาพสวยๆมาให้ดู

ภาพงานแห่งานหนึ่งบนถนนตีทอง บ้านไหนตีทองคำเปลวบ้างหนอ  ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 เม.ย. 16, 08:27
ถนนตีทองเราเห็นมานานแต่จะเบลอไม่ชัด ภาพนี้ชัดที่สุดเท่าที่เคยพบ เอามาฝากสมาชิก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 16, 10:53
หนังสือความทรงจำ พระนิพนธ์ สมเด็จฯกรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งมีความว่า...

ฉันมาทราบในภายหลังว่า การทำเสาธงนั้น เกี่ยวกับการเมือง เป็นข้อสำคัญ
ควรจะเล่าให้ปรากฏ คือในเมืองไทยแต่ก่อนมา การตั้งเสาธงมีแต่ในเรือกำปั่น
บนบกหามีประเพณีเช่นนั้นไม่

มีคำเล่ากันมาว่า เมื่อในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงตำแหน่งเจ้าฟ้า โปรดขนบธรรมเนียมฝรั่ง
ให้ทำเสาธงขึ้น ณ พระราชวังเดิม อันเป็นที่เสด็จประทับ
และชักธงบริวารเป็นเครื่องบูชาในเวลาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ ไปทอดพระกฐิน

เมื่อสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็น ตรัสถามผู้อยู่ใกล้พระองค์ว่า

*****นั่นท่านฟ้าน้อย เอาผ้าขี้ริ้วขึ้นตากทำไม??******

พิเคราะห์เห็นว่า มิใช่เพราะไม่ทรงทราบว่า ทำโดยเคารพตามธรรมเนียมฝรั่ง
ที่มีพระราชดำรัสเช่นนั้น เพราะไม่โปรดที่ไปเอาอย่างฝรั่งมาตั้งเสาชักธงเท่านั้นเอง

คุณเอนก นาวิกมูล บันทึกเรื่องนี้ไว้ใน หมายเหตุประเทศสยามเล่ม 8 ว่า เวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ยังไม่ได้เป็นวังหน้า ส่วน ร.4 ยังทรงผนวช

ครั้นถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสสั่งให้ทำเสาธงขึ้นทั้งในวังหลวงและวังหน้า
เสาธงวังหลวงให้ชักธงตราพระมหามงกุฏ เสาธงวังหน้าให้ชักธงจุฑามณี (ปิ่น) ...


------------------------------------------------------------------------------------

...คนทั้งหลายก็เข้าใจกันว่า เสาชักธงนั้นเป็นเครื่องหมายพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน

ครั้นเมื่อทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับรัฐบาลฝรั่งต่างประเทศ
มีกงสุลนานาประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ตั้งเสาชักธงชาติของตนขึ้น
คนทั้งหลายไม่รู้ประเพณีฝรั่งก็พากันตกใจ โจษกันว่าพวกกงสุลจะเข้ามาตั้งแข่งพระราชานุภาพ

ทรงรำคาญพระทัย ทรงพระราชดำริหาอุบายแก้ไข
ดำรัสสั่ง เจ้านายต่างกรม กับขุนนางผู้ใหญ่ให้ทำเสาธงช้าง ขึ้นตามวังและที่บ้าน

เมื่อมีเสาธงชักมากขึ้น คนทั้งหลายก็หายตกใจ

------------------------------------------------------------------------------
นอกจากพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพแล้วยังมีหลักฐานการมีเสาธงแรกบนแผ่นดินสยาม
ซึ่งอยู่ในหนังสือสาสน์สมเด็จอีกเล่ม
มีใจความการโต้ตอบด้วยลายพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ ดังนี้

แรกสุด สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงกล่าวว่ามีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งบรรยายรูปเสาธงบนป้อมเผด็จดัสกร
ตรงข้ามศาลหลักเมืองเป็นทำนองว่าเก่าแก่มากๆ ทั้งๆ ที่ความจริงเก่าเพียง ๓๑ ปี เท่านั้นเอง เรียกว่าเป็นของเมื่อวานซืน

จากนั้นจึงทรงระลึกถึงเสาธงครั้ง ร. ๔***** ที่ ร. ๔ ทรงสร้างขึ้นบริเวณเก๋งกรงนกหรือสกุณวัน “อันเป็นเสาธงแรกมีในพระบรมมหาราชวัง”

“เสาธงที่ทูลกระหม่อมทรงสร้างขึ้นในบริเวณเก๋งกรงนกอันเป็นเสาธงแรกมีในพระบรมมหาราชวัง
 ต่อมาเมื่อสร้างพระที่นั่งใหม่ ย้ายเสาธงไปตั้งที่สนามหน้าพระที่นั่งใหม่ ครั้นสร้างพระที่นั่งจักรี
ย้ายเสาธงไปตั้งที่หน้าหอรัชฎากร ไม้เสาธงนั้นผุ จะต้องเปลี่ยนใหม่
จึงคิดทำเสาเหล็ก และย้ายไปตั้งที่บนป้อมเผด็จดัสกร...”

จากข้างต้นทำให้ทราบว่าเสาธงแรกอย่างเป็นทางการที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง
ก็คือเสาธงหน้าเก๋งกรงนกหรือกรงเลี้ยงนกขนาดใหญ่ตรงสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งอมรอมรินทรวินิจฉัยนั่นเอง
เสาธงนี้ต่อมาถูกย้ายไปที่ใกล้ๆ กันเพื่อสร้างเก๋งใหม่
ครั้นสร้างพระที่นั่งจักรีปราสาท (พ.ศ. ๒๔๑๘ เฉลิมพระราชมณเฑียร พ.ศ. ๒๔๒๕)
ก็ถูกย้ายอีก คราวนี้ย้ายไปตั้งที่หน้าหอรัษฎากรพิพัฒน์
ต่อมาไม้เสาธงนั้นผุ ต้องเปลี่ยนใหม่ จึงทำเสาเหล็กขึ้นแทน แล้วย้ายเสาธงไปตั้งที่ป้อมเผด็จดัสกร

ต่อไปสมเด็จฯ กรมพระยานริศฯ ทรงระลึกบ้าง
ทรงให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าเสาธงที่ว่าแรกมีในพระบรมมหาราชวังนั้นมี ๒ เสา
คือ เสาข้างตะวันออกเป็นเสาแบบจีน ทาสีแดง ใช้ชักธงตราประจำพระองค์ตามรัชกาลในเวลาทำบุญพระบรมอัฐิ
และเสาข้างตะวันตกเป็นเสาอย่างฝรั่ง ทาปล้องขาวปล้องดำ ใช้ชักธงสแตนดาดทุกวัน
ส่วนในเวลากลางคืน เสาจีนจะชักโคมคอนนกแก้ว ๒ ดวง และเสาฝรั่งชักโคมคันกังหันดวงเดียว กับหางนกยูง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 16, 11:38
 อีกตอนที่กล่าวถึงเก๋งกรงนก ในพระประวัติ กรมสมเด็จดำรงฯ

เมื่ออายุได้ ๗ หรือ ๘ ปี  ได้เริ่มเรียนหนังสือขอมกับพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม)  ครั้งยังเป็นหลวงราชาภิรมปลัดกรมราชบัณฑิต  
ที่พระที่นั่งสุทไธศวรรย์พร้อมด้วยเจ้าพี่หลายพระองค์  อันที่จริงเรียนมคธภาษา  
แต่ต้องเรียนตั้งแต่อ่านหนังสือขอมที่เป็นเครื่องใช้เขียน และจารตำหรับเรียน  เรียกอย่างหมิ่นเหม่  แต่บุพพภาคว่า  เรียนหนังสือขอม  
ใครชักนำให้ไปเรียนหารู้ไม่  ในเวลานี้เราก็หลากใจว่า  อายุเท่านั้นเริ่มเรียนมคธภาษาแล้ว
 เราเป็นเด็กที่สุดในหมู่เจ้านายผู้เรียนอยู่  
ตั้งแต่หัดอ่านหนังสือขอมตลอดถึงเรียนบทมาลาที่เรียกว่า ไวยากรณ์
ในบัดนี้อาจารย์ลำบากมาก  ต้องเขียนต่อลงในสมุดดำให้ศิษย์ทุกพระองค์
 ต่อขึ้นคัมภีร์คืออรรถกถาธรรมบท  จึงค่อยสะดวก  ไม่ต้องเขียน  
อาจารย์ของเราแกมีใจดีเยือกเย็น  
แต่แกเป็นข้าราชการฝ่ายหน้า  แกไม่อาจตั้งตัวเป็นอาจารย์แกถ่อมตัว  แกไหว้พวกเรา พูดอย่างอ่อนน้อม  
เราหาได้ความรักใคร่สนิทสนมฉันครูกับศิษย์ไม่  ออกจะเห็นเป็นครูชั้นเลว  แต่ก็ยังคมคือยกมือไหว้แก  
เราเรียนต่อมากับท่านอาจารย์นี้จนถึงรัชกาลที่ ๕  แต่ย้ายสถานมาเรียนที่เก๋งกรงนก  หรือสกุณวัน  
เรียกชื่ออย่างนั้นเพราะเดิมมีกรงนกใหญ่  ทำเขาและผาไว้ในนั้น  
เลี้ยงนกและสัตว์จตุบทเล็กๆ  เราจำได้ว่ามีกระจง  
มีเก๋งอยู่สี่ทิศของกรงนก  แต่ในเวลาที่มาเรียนนั้น  กรงนกรื้อเสียแล้วทำเป็นศาลาใหญ่  ชื่อเก๋งวรสภาภิรมย์  ที่สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  
ครั้งยังเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  นั่งว่าราชการ  
เก๋งหลังที่เราเรียนหนังสือนั้น  ชื่อราชานุอาสน์ (อีกประวัติเขียนว่าราชานุราชอาสน์)
อยู่หน้าพระทวารเทเวศรรักษาแห่งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย  มีทางเดินคั่นในระวางเท่านั้น  แต่เรียนอยู่ไม่นานก็เลิก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 เม.ย. 16, 13:36
จากภาพประตูนํ้า คลองแสนแสบ เมื่อเอามาขยายจะเห็นรายละเอียดเพิ่ม
จะเห็นโรงหนังศาลาเฉลิมโลก ที่อยู่ในแนวถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ที่จะตัดเพิ่มในเวลาต่อมา
อีกภาพจะเป็นทางรถไฟสายแม่นํ้า ที่เชื่อมระหว่าสถานีมักกะสันกับคลองเตย คลังนํ้ามันช่องนนทรี โรงกลั่นบางจาก
เป็นเส้นทางรถไฟขนสินค้า แต่ให้มีผู้โดยสารบ้าง(จากเวปรถไฟไทย)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 เม.ย. 16, 09:05
ถนนเจริญกรุงด้านในกำแพงพระนครชาวบ้านเรียกกันอย่างสามัญว่า ถนนใหม่ หรือ new road
มีประตูเมืองที่เรียกว่าประตูสามยอด สร้าง-ประมาณ-ปี 2430 แทนประตูเดิมที่พัง
ประตูสามยอดน่าจะรื้อไปราวปี 2444 หรือ 2445 (จากขุนวิจิตรมาตราในหนังสือ กรุงเทพเมื่อวานนี้)
ภาพถนนเจริญกรุงสองภาพนี้ ภาพหนึ่งมีประตูสามยอด อีกภาพไม่มีประตูแล้ว
คงจะถ่ายใกล้เคียงกัน ประมาณปี 2444 ( - +)
ภาพที่สองเขียนว่า photo by j antonio
ท่านเล่าว่าถนนเจริญกรุงจากสะพานมอญ จนจดถนนมหาไชย ปลูกต้นหูกวางเป็นระยะๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 30 เม.ย. 16, 09:24
แผนที่ส่วนบนของเกาะรัตนโกสินทร์
แผ่นแรก ปี พศ.2475
แผ่นที่สอง ปี พศ.2490
ในระยะสิบห้าปีมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ค. 16, 09:00
วันนี้เป็นภาพของด๊อกเตอร์เพนเดิลตัน ที่ถ่ายไว้ช่วง 2490 ต้นๆ
ภาพพวกนี้เราคงเคยเห็นกันแล้ว  
ภาพแรกเยาวราช เมื่อ 31 มีนาคม 2491 รถลากกลายเป็นรถขนของ ผู้โดยสารหันไปนั่งสามล้อแทน
ภาพที่สองสะพานเจริญสวัสดิ์ หัวลำโพง ถ่ายวันเดียวกับภาพแรก
ภาพตลาดสะพานหัน 31 มีนาคม 2491 เหมือนกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 01 พ.ค. 16, 09:05
ตลาดน้อย 23 มีนาคม 2491
ถนนเจริญกรุงแถวสี่พระยาเห็นตึกนายเลิศ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ค. 16, 09:42
ภาพเยาวราชต่อจากเมื่อวาน ยุค พศ.2491 เห็นด้านหน้าโรงหนังศรีราชวงศ์
ป้อมมหากาฬ   เมื่อประมาณ พศ. 2500 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 02 พ.ค. 16, 19:50
ภาพโปสการ์ดของนาย ไว เอบาต้า ชื่อ city wall มุมกล้องเหมือนภาพบน
โปสการ์ดส่งจากนครราชสีมาไปอุบล
ที่ด้านหลังไปรษณีย์ประทับวันที่ ๑๒-๑๐-๖๘ หมายถึงวันที่ ๑๒ เดือน ๑๐ ปี พศ.๒๔๖๘
กับ 12-1-1924 คือ วันที่ 12 เดือน มกราคม คศ 1924  ซึ่งเป็นวันเดือนปีเดียวกัน


วันที่ (ไทย) ๑๒ เดือน ๑๐ คือเดือนมกราคม (เริ่ม นับเดือนเมษายน เป็นเดือน ๑) พศ ๒๔๖๘
เดือน ๑๑ คือ กุมภาพันธ์  ไปหมดเดือนสุดท้าย  ๑๒ คือ  มีนาคม  

ส่วนวันที่ฝรั่ง ตรงตามสากล

เรานับวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันปีใหม่ตั้งแต่ ปี๒๔๓๒ ถึง๒๔๘๓
ก่อนหน้าเราถือวันขึ้น ๑ คํ่าเดือน ๕ เป็นวันปีใหม่
หลังจากปี ๒๔๘๓ เรานับวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันปีใหม่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ค. 16, 08:30
ภาพวัดในกรุงเทพ เป็นภาพสะสมของนาย Galileo Chini
อุโบสถหลังเล็กๆที่ทรุดโทรม ลักษณะเรียบง่ายไม่มีลวดลายประดับ หน้าบันไม่มีลายใดๆ
มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่สวยงาม ประดับลวดลายเต็มที่
คงจะถ่ายในราว พศ 2454-2456


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ค. 16, 15:44
มีภาพเก่าที่มีคำบรรยายไว้ว่า  "1902-silom-road-scene-near-charoen-krung-crossing-bkk"
หมายความว่าเป็นภาพถนนสีลมที่ไปออกถนนเจริญกรุง อย่างที่ผมเรียกว่า สามแยกบางรัก

เวลาตามที่เขียน   ปี พศ 2445 อาจจะเป็นไปได้
แต่ตัวถนน   ดูไปแล้วไม่เหมือนสีลม  ถนนสีลมมีคลองขุดกว้างถึง 6 วา หรือ 12 เมตร
ในภาพไม่มีคลองให้เห็น
ที่พอจะเข้าได้   มีต้นประดู่ริมถนนอย่างที่ถนนสีลมปลูกไว้จริง

ถนนสีลมในยุคแรกเป็นสวน ที่ดินเลี้ยงแพะเลี้ยงวัวของพวกแขก นานๆถึงจะมีบ้านสักหลัง
เป็นบ้านหลังใหญ่ ไม่ใช่กระจุกตัวแน่น หรือมีคนพลุกพล่านอย่างในรูป

ในภาพเป็นย่านพลุกพล่าน ย่านค้าขาย อย่างแถวเยาวราช เจริญกรุง ตลาดน้อย

ผมไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นถนนสีลมจริง
เรียนถามท่านผู้รู้ว่าเป็นถนนอะไรกันแน่หรือใครทราบช่วยบอกด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ค. 16, 19:02
มีภาพเก่าที่มีคำบรรยายไว้ว่า  "1902-silom-road-scene-near-charoen-krung-crossing-bkk"
หมายความว่าเป็นภาพถนนสีลมที่ไปออกถนนเจริญกรุง อย่างที่ผมเรียกว่า สามแยกบางรัก


ผมไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นถนนสีลมจริง
เรียนถามท่านผู้รู้ว่าเป็นถนนอะไรกันแน่หรือใครทราบช่วยบอกด้วย

ดูแล้วน่าจะเป็นถนนมหาไชยมากที่สุด โดยสี่แยกที่เห็นคือ สี่แยกประตูสามยอด เห็นหลังคาป้อมมหาไชยอยู่ลางๆ แถมมีรถรางด้านซ้ายมือเรา

ภาพนี้ควรถ่ายจากสะพานพอดี มองไปยังสี่แยก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 03 พ.ค. 16, 20:14
มีภาพเก่าที่มีคำบรรยายไว้ว่า  "1902-silom-road-scene-near-charoen-krung-crossing-bkk"
หมายความว่าเป็นภาพถนนสีลมที่ไปออกถนนเจริญกรุง อย่างที่ผมเรียกว่า สามแยกบางรัก


ผมไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นถนนสีลมจริง
เรียนถามท่านผู้รู้ว่าเป็นถนนอะไรกันแน่หรือใครทราบช่วยบอกด้วย

ดูแล้วน่าจะเป็นถนนมหาไชยมากที่สุด โดยสี่แยกที่เห็นคือ สี่แยกประตูสามยอด เห็นหลังคาป้อมมหาไชยอยู่ลางๆ แถมมีรถรางด้านซ้ายมือเรา

ภาพนี้ควรถ่ายจากสะพานพอดี มองไปยังสี่แยก

คุณหนุ่มหมายความว่าเป็นแบบนี้ อาจเป็นไปได้ (ภาพในยุคต่อมา ที่แยกสามยอด)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ค. 16, 21:09
เชิญต่อกระทู้ใหม่นะคะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6507.new#new (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6507.new#new)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: dukedike ที่ 16 ต.ค. 20, 20:02
เจอภาพสามภาพจากคนละแหล่ง คงจะเป็นฝีมือคนเดียวกันคือ แจ็ค เบอร์น ของนิตยสารไลฟ์

-ภาพแรก ถนนสีลม และบริเวณใกล้เคียง ปี 2491
-ภาพที่สอง propaganda headquarters.- Jack Birns
-ภาพที่สาม กงสุลรัสเซีย ปี 2490

น่าจะถ่าย ปีเดียวกัน วันเดียวกันด้วย
ไม่ค่อยเห็นรูปเก่าๆของถนนสีลม สมัยที่ยังมีคลองสีลมกว้างๆ
คลองสีลมค่อยเหลือเล็กลง   จนถมถนนหมดในปี 2508
เอามาให้ดูกันในช่วงสงกรานต์

บ้านหลังดังกล่าว ต่อมา เป็นคลีนิคของ นายแพทย์สมาน มันตราภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ อยู่จนถึงทุกวันนี้ บ้านหลังนี้อยู่เยื้องๆป่าช้าฝรั่ง อยู่เกือบถึงเเยกสีลมตัดกับนราธิวาสราชนครินทร์



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ต.ค. 20, 07:29
วันวาน - วันนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 10
เริ่มกระทู้โดย: dukedike ที่ 17 ต.ค. 20, 11:12
เจอภาพสามภาพจากคนละแหล่ง คงจะเป็นฝีมือคนเดียวกันคือ แจ็ค เบอร์น ของนิตยสารไลฟ์

-ภาพแรก ถนนสีลม และบริเวณใกล้เคียง ปี 2491
-ภาพที่สอง propaganda headquarters.- Jack Birns
-ภาพที่สาม กงสุลรัสเซีย ปี 2490

น่าจะถ่าย ปีเดียวกัน วันเดียวกันด้วย
ไม่ค่อยเห็นรูปเก่าๆของถนนสีลม สมัยที่ยังมีคลองสีลมกว้างๆ
คลองสีลมค่อยเหลือเล็กลง   จนถมถนนหมดในปี 2508
เอามาให้ดูกันในช่วงสงกรานต์

ป้ายที่เห็นคือ สมาคมบรรเทาทุกข์ชาวเวียดนาม
ส่วนโรงเรียนที่เห็นคือโรงเรียนศึกษาวิทยา
ขออนุญาตเเก้ไขข้อมูลนะครับ ที่บอกว่าเป็นบ้านของหมอสมาน ผมเอาภาพมาเปรียบเทียบดู ดูยังไงก็ไม่ใช่บ้านของหมอสมาน บ้านหมอสมานจะเล็กกว่าสมาคมบรรเทาทุกข์ชาวเวียตนามมาก(เทียบภาพดู) เเล้วสถานที่ตั้งก็คนละเเห่ง จึงเป็นไปได้ว่าคนละที่เเน่นอน ผมไปหาข้อมูลมาใหม่ครับ สมาคมบรรเทาทุกข์ชาวเวียดนาม
Vietnamese Mutual Assistance Association
ปากตรอกตำบีซา
Entrance to the Tam Bee Za alley
ถนนสีลม เลียบคลองสีลม
Silom Road, Silom Canal
กรุงเทพมหานคร (พระนคร) | Bangkok
ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1949 (พ.ศ.๒๔๙๒)
Photographer: Jack Birns
Image Source: LIFE Photo Collection, United States
ถ้าเราหันหน้าไปทางพระราม4 บ้านหมอในรูปอยู่ซอยเลขคู่ฝั่งซ้ายมือ ส่วนสมาคมบรรเทาทุกข์ชาวเวียตนามอยู่ขวามือเลขคี่ ป้จจุบันตรอกตำบีซา ก็คือสีลมซอย11นั่นเอง
กราบขออภัยอย่างสูง สำหรับข้อมูลที่ผิดพลาด ไม่อยากให้ปล่อยผ่านไปเลยกลับมาเเก้ไขครับ