เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: T.Klinhom ที่ 10 มิ.ย. 22, 22:29



กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: T.Klinhom ที่ 10 มิ.ย. 22, 22:29
จากการสืบค้นทราบแต่เพียงว่าพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน) เป็นผู้บูรณะวัดนาคปรก ภาษีเจริญ แต่ไม่มีข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับท่านเลยครับ อยากทราบว่าท่านเป็นต้นตระกูลใดและมีประวัติอย่างไรบ้าง มีท่านใดทราบบ้างไหมครับ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 22, 08:31
 ตามประวัติเล่าสืบกันว่า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๓-๔) มีพ่อค้าเรือสำเภาชาวจีนชื่อ เจ้าสัวพุก แซ่ตัน เดินทางมาประกอบการค้าขายที่พระนคร ฝั่งธนบุรี ย่านตลาดพลู   กระทั่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น"พระบริบูรณ์ธนากร" โดยได้ตั้งหลักปักฐานและแต่งงานกับหญิงไทย

 ภรรยาของเจ้าสัวพุก เป็นหญิงที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โดยได้ชักชวนเจ้าสัวพุกทำบุญบูรณะวัดที่ถูกทิ้งร้าง เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม กิจกรรม และศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา

 ในขณะนั้นวัดนาคปรกเป็นวัดที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สร้างใน พ.ศ.๒๒๙๑ ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยา ๑๙ ปี) สภาพอุโบสถเหลือแต่หลังคา และผนังเท่านั้น

เมื่อบูรณะอุโบสถแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการตอบแทนคุณชาวไทยที่ทำให้การค้าขายของตนเติบโตก้าวหน้า ท่านได้จ้างช่างวาดภาพจากเมืองจีนให้มาเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเครื่องบูชามงคลของชาวจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ตนเอง

 นอกจากนี้แล้ว ยังสร้างวิหารลักษณะทรงไทยเป็นอนุสรณ์แก่ภรรยา เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังลายไทย เล่าเรื่องราวการเสด็จลงจากดาวดึงส์ และเรื่องราวการชนะมารของพระพุทธเจ้า

 ครั้นแล้วได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางมารวิชัย ๒ องค์ มาจากเมืองสุโขทัย โดยองค์หนึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ ซึ่งภายหลังชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อเจ้าสัว”

https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/63230
 


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 22, 08:41
ดูจาก“แซ่ตัน” ของพระบริบูรณ์ธนากร  ท่านเป็นจีนฮกเกี้ยน   เพราะแซ่ตันเป็นคำภาษาฮกเกี้ยน ถ้าเป็นภาษาจีนกลางเรียกว่า “แซ่เฉิน” ส่วนภาษาแต้จิ๋วคือ “แซ่ตั้ง”
เจ้าสัวพุก แซ่ตัน  ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก แซ่ตัน) ต้นสกุล "โชติกพุกกณะ" ยังมีลูกหลานใช้นามสกุลนี้สืบต่อมาจนทุกวันนี้


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 มิ.ย. 22, 08:55
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๓ "เจ้าสัวพุก" พ่อค้าคหบดีเชื้อสายจีน (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก แซ่ตัน ต้นสกุล "โชติกพุกกณะ") ได้มีศรัทธาเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดปก หรือวัดนาคปรก จากการชักชวนจากพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (จ๋อง ต้นสกุลอิงคานนท์) ซึ่งเป็นผู้บูรณะวัดนางชีโชติการาม

จาก เว็บวัดนาคปรก (https://www.watnakprok.com/about)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7290.0;attach=77599;image)

ภาพจากกระทู้ สอบถามเรื่องรูปพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก โชติกะพุกกณะ) (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7290.0)


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 22, 09:28
ได้รับนามสกุลพระราชทาน


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 22, 09:43
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเชื้อสายพระบริบูรณ์ธนาการ(พุก แซ่ตัน) หรือต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นพระยาโชฎึกราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าซ้าย

บุตรชายคนหนึ่งของท่านชื่อฮวด หรือบุ้นฮวด ได้สืบตำแหน่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐีต่อจากบิดา   พระยาโชฎึกฯ(ฮวด) สมรสกับคุณหญิงเพิ่ม ธิดาพระยาพิศลยสมบัติบริบูรณ์(เจ้าสัวยิ้ม ต้นสกุลพิศลยบุตร)
คุณหญิงเพิ่มเป็นน้องสาวเจ้าจอมมารดาอ่วมในรัชกาลที่ ๕  ซึ่งเป็นเจ้าจอมมารดาของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากรมพระจันทบุรีนฤนาถ  ต้นราชสกุลกิติยากร
พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ฮวด) กับคุณหญิงเพิ่ม มีบุตรธิดา ๒ ท่านคือ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ผ่อง) และคุณหญิงเผื่อน  โชติกะพุกกณะ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มิ.ย. 22, 09:48
คุณเจ้าของกระทู่หาอ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7290.0


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 มิ.ย. 22, 10:04
บุตรชายคนหนึ่งของท่านชื่อฮวด หรือบุ้นฮวด ได้สืบตำแหน่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐีต่อจากบิดา   พระยาโชฎึกฯ(ฮวด) สมรสกับคุณหญิงเพิ่ม ธิดาพระยาพิศลยสมบัติบริบูรณ์(เจ้าสัวยิ้ม ต้นสกุลพิศลยบุตร)

คุณหญิงเพิ่มเป็นน้องสาวเจ้าจอมมารดาอ่วมในรัชกาลที่ ๕  ซึ่งเป็นเจ้าจอมมารดาของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ากรมพระจันทบุรีนฤนาถ  ต้นราชสกุลกิติยากร

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ฮวด) กับคุณหญิงเพิ่ม มีบุตรธิดา ๒ ท่านคือ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ผ่อง) และคุณหญิงเผื่อน  โชติกะพุกกณะ

จาก คำนำใน หนังสืออธิบายเครื่องบูชา (https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/0e/อธิบายเครื่องบูชา_-_ดำรง_-_๒๔๗๓.pdf)


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: T.Klinhom ที่ 12 มิ.ย. 22, 12:32
ขอบคุณมากครับ แต่ผมได้สอบทานเรื่องเเซ่ของพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน) กับ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก ต้นสกุลโชติกพุกกณะ) ท่านเป็นคนแซ่ลี้ พบว่าท่านทั้งสองนั้นคนละเเซ่กัน เลยคิดว่าท่านน่าจะเป็นคนละคนกันครับ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มิ.ย. 22, 16:43
งั้นประวัติวัดนาคปรก ในเว็บนี้ ผิดหรือคะ

https://www.watnakprok.com/about


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: T.Klinhom ที่ 12 มิ.ย. 22, 17:24
คิดว่าใช่ครับ วัดน่าจะเข้าใจผิดครับ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มิ.ย. 22, 18:37
อยากเห็นหลักฐานที่แสดงว่าพระยาโชฎึกฯ ท่านแซ๋ลี้ ค่ะ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 มิ.ย. 22, 19:20
;D

พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) ต้นสกุลโชติกพุกกณะ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ มีนามในภาษาจีนว่า ลี้เซ่งเต็ก มีเชื้อสายจีนแคะ บิดาเป็นบัณฑิตผู้รู้จากเมืองจีน

ข้อมูลจาก หนังสือสำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก (https://www.facebook.com/groups/783674078384718/permalink/1646922335393217/) โดย พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร

แซ่ลี้ในสำเนียง ฮากกา หรือ จีนแคะ ออกเสียงว่า แซ่หลี่


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 มิ.ย. 22, 19:35
คิดว่าใช่ครับ วัดน่าจะเข้าใจผิดครับ

วัดน่าจะเข้าใจผิดว่า แซ่ของเจ้าสัวผู้บูรณะวัดนาคปรกคือ แซ่ตัน แท้จริงคือ แซ่หลี่

จากหนังสือ กระเบื้องถ้วยกะลาแตก โดย พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ หน้า ๑๐๖


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มิ.ย. 22, 19:43
ลี้ เป็นคำออกเสียงแบบแต้จิ๋ว

มาอ่านข้อความนี้ดูนะคะ

 กำเนิดข้าวต้มกุ๊ยที่ตลาดน้อย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีพระบรมราชโองการให้นายลี้เซ่งเต็ก  บุตรชายของ ลี้ไค่กี่ บัณฑิตจากเมืองแต้จิ๋ว บรรพบุรุษมีอาชีพเดินเรือค้าขายเครื่องลายครามและกระเบื้องจีน ภายใต้ยี่ห้อ“กิมตึ๋งฮกกี่” ซึ่งเป็นที่นิยมของเศรษฐีและราชสำนัก จึงมีฐานะร่ำรวยปลูกคฤหาสน์หลังใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านฝั่งธนบุรี ด้านใต้ติดกับคลองต้นไทร(ปัจจุบันเป็นเชิงสะพานตากสิน) เยื้องกับวัดลาว(วัดยานนาวา) มีอาณาบริเวณกว้างกว่า ๑๐๐ ไร่ บำรุงวัดอุภัยราชบำรุง(วัดญวนตลาดน้อย)
พ.ศ.๒๔๑๔ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นายลี้เซ่งเต็ก(พุก) มีโอกาสเห็นบรรดากขุนนางจีนและพวกผู้ดีที่เมืองจีนนั่งรถลากกันอย่างสง่าผ่าเผย ไม่ต้องเดินสบายดี จึงซื้อติดสำเภาเข้ามาด้วยหลายคันและได้นำขั้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่ ๕ สำหรับประทับให้มหาดเล็กลากประพาสเล็กในพระบรมมหาราชวัง

https://www.facebook.com/groups/ThailandTeaLover/permalink/1354565667935670/

แปลกใจวิธีเขียนชื่อแซ่ในนี้  นายลี้เซ่งเต็ก ทำไมเขียนชื่อในวงเล็บว่า "พุก"  เคยเห็นแต่ราชทินนามไทย วงเล็บชื่อตัวซึ่งอาจเป็นชื่อจีนไว้ท้ายคำ ไม่เคยเห็นคนจีนเขียนชื่อแบบนี้
ทำไมนายลี้เซ่งเต็กถึงมีชื่อจีน 2 ชื่อ   แล้วยังบอกว่าในปี พ.ศ.๒๔๒๐ จีนพุก ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาโชฎึกเศรษฐี(พุก  โชติกะพุกกณะ)

แสดงว่ามีแหล่งอ้างอิง 2 แห่งที่ระบุชื่อบุคคลไม่ตรงกัน  แล้วมีความเข้าใจว่าทั้งสองคนนั้นคือคนเดียวกันงั้นหรือคะ จึงใส่ชื่อทั้งสองชื่อรวมกันเข้าไป


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 มิ.ย. 22, 10:48
ในความสับสนทั้งหมดข้างบนนี้   ดิฉันวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อๆ ให้คุณเพ็ญชมพู และคุณ T.Klinhom ช่วยพืจารณา

1  พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ท่านมีชื่อเดิมว่า "พุก" แน่นอน   ยืนยันได้โดยหลักฐานชั้นปฐมภูมิจากการขอนามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 6  ซึ่งผู้ทำเรื่องกราบบังคมทูลฯ จะต้องระบุชื่อบรรพบุรุษของตนไปด้วย    มีบันทึกว่านามสกุลพระราชทาน   หมายเลข  ๐๓๔๙  คือ โชติกพุกกณะ  สะกดเป็นอักษรโรมัน ว่า  Jotikabukkana
 ผู้ขอคือ พระตำรวจตรี พระยากำแหงรณฤทธิ์ (ฉาย) สมุหบาญชีใหญ่ กรมพระตำรวจ กับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด) กรมท่าซ้าย กระทรวงนครบาล บุตรพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก)   
  https://sites.google.com/site/thailandsurname/home/-ch-1
  ในเมื่อบรรพบุรุษชื่อ "พุก" นามสกุลนี้จึงพระราชทานว่า โชติกพุกกณะ   ส่วนพระยาโชฎึกราชเศรษฐีอีกท่านที่มีชื่อเดิมว่า เล่าเถียน   พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6  พระราชทานนามสกุลว่า โชติกเสถียร   ด้วยนัยเดียวกัน คือมีชื่อบรรพบุรุษอยู่ในนามสกุล
  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานในหนังสือเกี่ยวกับประวัติของสกุลโชติกพุกกณะ ที่คุณเพ็ญชมพูแสดงไว้ในคห. 7  ว่า ท่านชื่อเดิมวา "พุก"
2  ถ้าหากว่าพระยาโชฎึก(พุก) มีแซ่ว่า แซ่ตัน   การออกเสียงแซ่ทำให้สันนิษฐานว่าท่านเป็นจีนฮกเกี้ยน   ไม่ใช่แต้จิ๋ว หรือแคะ หรือจีนกลาง 
    แต่ถ้าท่านแซ่อื่น ข้อนี้ก็ตกไป
3  คำว่า "พุก" เป็นได้ทั้งภาษาจีนและไทย   ถ้าเป็นจีนก็เป็นได้ทั้งฮกเกี้ยน แคะ และแต้จิ๋ว
4  บุตรของพระยาโชฎึกฯ ที่ชื่อพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเช่นกัน    มีนามเดิมว่า ฮวด หรือบุ้นฮวด  คำนี้เป็นการออกเสียงแบบแต้จิ๋ว
   ทำให้คิดว่า "พุก" น่าจะเป็นสำเนียงแต้จิ๋วด้วย    เพราะไม่น่าเป็นไปได้ที่พ่อเป็นฮกเกี้ยน แล้วจะตั้งชื่อลูกเป็นแต้จิ๋ว
ุุ5 ชื่อนายลี้เซ่งเต็ก   ปรากฏในหนังสือของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร และในกูเกิ้ล   แต่ไม่ทราบที่มาว่าได้มาจากหลักฐานใด   ในเมื่อหลักฐานในสมัยก่อนหน้าที่เกี่ยวกับตระกูลโชติกพุกกณะ ล้วนระบุว่าท่านชื่อ "พุก"
6  ถ้าหากว่านายลี้เซ็งเต็กเป็นคนเดียวกับเจ้าสัวพุก  ก็ควรมีคำอธิบายว่าทำไมนายลี้เซ็งเต็ก ถึงมีอีกชื่อว่า นายพุก แซ่ตัน หรือนายตันพุก    ทำไมคนคนเดียวถึงเรียก 2 ชื่อและแซ่ ไม่เหมือนกัน
7  ถ้านายพุก แซ่ตันเป็นคนละคนกับพระยาโชฎุึกราชเศรษฐี (พุก)   ข้อ 1-6  ก็จบกันไป

กลับมาถามคุณ T.Klinhom ว่าคุณมีหลักฐานอะไรนอกเหนือจากหนังสือของคุณพิมพ์ประไพบ้างที่ทำให้เชื่อว่าพระบริบูรณ์ธนากร มีชื่อว่าพุก แซ่ตัน และเป็นคนละคนกับพระยาโชฎึกฯ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 13 มิ.ย. 22, 19:05
ในความสับสนทั้งหมดข้างบนนี้   ดิฉันวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อๆ ให้คุณเพ็ญชมพู และคุณ T.Klinhom ช่วยพืจารณา

1  พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ท่านมีชื่อเดิมว่า "พุก" แน่นอน   ยืนยันได้โดยหลักฐานชั้นปฐมภูมิจากการขอนามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 6  ซึ่งผู้ทำเรื่องกราบบังคมทูลฯ จะต้องระบุชื่อบรรพบุรุษของตนไปด้วย    มีบันทึกว่านามสกุลพระราชทาน   หมายเลข  ๐๓๔๙  คือ โชติกพุกกณะ  สะกดเป็นอักษรโรมัน ว่า  Jotikabukkana
 ผู้ขอคือ พระตำรวจตรี พระยากำแหงรณฤทธิ์ (ฉาย) สมุหบาญชีใหญ่ กรมพระตำรวจ กับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด) กรมท่าซ้าย กระทรวงนครบาล บุตรพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก)   
  https://sites.google.com/site/thailandsurname/home/-ch-1
  ในเมื่อบรรพบุรุษชื่อ "พุก" นามสกุลนี้จึงพระราชทานว่า โชติกพุกกณะ   ส่วนพระยาโชฎึกราชเศรษฐีอีกท่านที่มีชื่อเดิมว่า เล่าเถียน   พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6  พระราชทานนามสกุลว่า โชติกเสถียร   ด้วยนัยเดียวกัน คือมีชื่อบรรพบุรุษอยู่ในนามสกุล
  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานในหนังสือเกี่ยวกับประวัติของสกุลโชติกพุกกณะ ที่คุณเพ็ญชมพูแสดงไว้ในคห. 7  ว่า ท่านชื่อเดิมวา "พุก"
2  ถ้าหากว่าพระยาโชฎึก(พุก) มีแซ่ว่า แซ่ตัน   การออกเสียงแซ่ทำให้สันนิษฐานว่าท่านเป็นจีนฮกเกี้ยน   ไม่ใช่แต้จิ๋ว หรือแคะ หรือจีนกลาง 
    แต่ถ้าท่านแซ่อื่น ข้อนี้ก็ตกไป
3  คำว่า "พุก" เป็นได้ทั้งภาษาจีนและไทย   ถ้าเป็นจีนก็เป็นได้ทั้งฮกเกี้ยน แคะ และแต้จิ๋ว
4  บุตรของพระยาโชฎึกฯ ที่ชื่อพระยาโชฎึกราชเศรษฐีเช่นกัน    มีนามเดิมว่า ฮวด หรือบุ้นฮวด  คำนี้เป็นการออกเสียงแบบแต้จิ๋ว
   ทำให้คิดว่า "พุก" น่าจะเป็นสำเนียงแต้จิ๋วด้วย    เพราะไม่น่าเป็นไปได้ที่พ่อเป็นฮกเกี้ยน แล้วจะตั้งชื่อลูกเป็นแต้จิ๋ว
ุุ5 ชื่อนายลี้เซ่งเต็ก   ปรากฏในหนังสือของคุณพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร และในกูเกิ้ล   แต่ไม่ทราบที่มาว่าได้มาจากหลักฐานใด   ในเมื่อหลักฐานในสมัยก่อนหน้าที่เกี่ยวกับตระกูลโชติกพุกกณะ ล้วนระบุว่าท่านชื่อ "พุก"
6  ถ้าหากว่านายลี้เซ็งเต็กเป็นคนเดียวกับเจ้าสัวพุก  ก็ควรมีคำอธิบายว่าทำไมนายลี้เซ็งเต็ก ถึงมีอีกชื่อว่า นายพุก แซ่ตัน หรือนายตันพุก    ทำไมคนคนเดียวถึงเรียก 2 ชื่อและแซ่ ไม่เหมือนกัน
7  ถ้านายพุก แซ่ตันเป็นคนละคนกับพระยาโชฎุึกราชเศรษฐี (พุก)   ข้อ 1-6  ก็จบกันไป

กลับมาถามคุณ T.Klinhom ว่าคุณมีหลักฐานอะไรนอกเหนือจากหนังสือของคุณพิมพ์ประไพบ้างที่ทำให้เชื่อว่าพระบริบูรณ์ธนากร มีชื่อว่าพุก แซ่ตัน และเป็นคนละคนกับพระยาโชฎึกฯ


อาจารย์ครับ ข้อ ๔  บุ้นฮวด  เป็นฮกเกี้ยนก็ได้ครับ
文發 ฮกเกี้ยนจะอ่าน บุ๋นฮวด แต้จิ๋วอ่าน บุ้นหวด มันคล้ายกันมากครับ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มิ.ย. 22, 08:40
ขอบคุณค่ะ อาจารย์หมอ CVT กำลังอยากหาคนช่วยวิเคราะห์ภาษาจีนอยู่พอดีค่ะ

ใจดิฉันนั้นเอียงไปทางว่า พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ต้นสกุลโชติกะพุกกณะ เป็นคนละคนกับนายลี้เซ็งเต็ก   ชื่อเดิมท่านคือพุก แซ่ตัน   
ปกติทางวัดมักจะเก็บหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับวัดเอาไว้อย่างดี เช่นรายชื่อเจ้าอาวาส  ผู้สร้างหรือผู้อุปถัมภ์สำคัญ    เพราะวัดเป็นแหล่งรวมของมหาเปรียญทั้งหลายที่รู้หนังสือ  ตำราโบราณต่างๆก็เก็บไว้ที่วัด

แต่ก็ยังตะหงิดๆว่าทำไมลูกพระยาโชฎึก (พุก) ถึงมีชื่อเป็นแต้จิ๋ว ถ้าพ่อเป็นฮกเกี้ยน 
แต่พอคุณหมอบอกว่า บุ้นฮวด เป็นฮกเกี้ยนได้ ก็เท่ากับคลี่คลายไปได้อีก 1 เปลาะ

ใจยังเอียงไปข้างที่ว่า พระบริบูรณ์ธนากรกับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(พุก) เป็นคนเดียวกัน    เพราะขุนนางไทยเลื่อนจากบรรดาศักดิ์น้อยขึ้นไปหามาก  เช่นจากขุน เป็นหลวง เป็นพระ เป็นพระยา เป็นเจ้าพระยา
ถ้าพระยาโชฎึกฯ จะได้ตำแหน่งเจ้ากรมท่าซ้าย ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ๆก้าวพรวดเดียวจากนายตันพุกขึ้นเป็นพระยา ต้องมีบรรดาศักดิ์อื่นที่ต่ำกว่ามาก่อน 
ถ้าท่านเคยเป็นพระบริบูรณ์ธนากรมาก่อนเป็นพระยาโชฎึกฯ ก็ดูเข้าเค้า    เพราะบริบูรณ์ธนากรแสดงว่าขุนนางคนนี้รวยมาก  เป็นขุนนางค้าๆขายๆ เช่นพวกเจ้าภาษี  ไม่ใช่ขุนนางรบทัพจับศึก 
คนที่ทำการค้าจนสามารถทำบุญบูรณะวัดเก่าแก่รกร้างจนกลายเป็นวัดสวยงามได้  (เรียกว่าเท่ากับสร้างใหม่น่ะแหละ )
ต้องเป็นคนมีเงินทองบริบูรณ์
ส่วนพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ราชทินนามก็บ่งอยู่แล้วว่าคนรับตำแหน่งนี้ได้ ต้องห่างไกลจากฐานะยากจนหรือแม้แต่ปานกลางแน่นอน   


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 มิ.ย. 22, 10:35
(๑)ใจดิฉันนั้นเอียงไปทางว่า พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ต้นสกุลโชติกะพุกกณะ เป็นคนละคนกับนายลี้เซ็งเต็ก   ชื่อเดิมท่านคือพุก แซ่ตัน  

(๒)ใจยังเอียงไปข้างที่ว่า พระบริบูรณ์ธนากรกับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(พุก) เป็นคนเดียวกัน    เพราะขุนนางไทยเลื่อนจากบรรดาศักดิ์น้อยขึ้นไปหามาก  เช่นจากขุน เป็นหลวง เป็นพระ เป็นพระยา เป็นเจ้าพระยา

(๑) หลักฐานว่า พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) มีแซ่ ลี้ หรือ หลี่ (李) คือ ชื่อจีนของ พระยาโชฎึกราชเศรษฐีผู้ลูกและหลาน

ชื่อจีนของ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด) คือ Li Guat Chew และของ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ผ่อง) คือ Li Thye Phong

(๒) บรรดาศักดิ์ก่อนเป็น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฮวด) คือ พระบริบูรณ์โกษากร  และบรรดาศักดิ์ก่อนเป็น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ผ่อง) คือ หลวงไมตรีวาณิช

จากหนังสือ Twentieth Century Impressions of Siam (http://seasiavisions.library.cornell.edu/catalog/seapage:363_156) หน้า ๑๕๖


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มิ.ย. 22, 18:39
ติดต่อไปยังอาจารย์ถาวร สิกขโกศล  ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและวัฒนธรรมจีน    ท่านกรุณาไปค้นคว้าสอบถามมาให้
ได้คำตอบมาดังนี้ค่ะ

คุณเศรษฐพงษ์ จงสงวนไปอ่านป้ายสถิตวิญญาณที่บ้านสกุลโชติกพุกณะ  ขณะนั้นท่านปั้น บุตรพระยาโชฎึกผ่องยังมีชีวิตอยู่ อายุ90 เศษเป็นคนพาเข้าไปอ่าน
พระยาโชฎึกพุก มีชื่อที่ป้ายสถิตวิญญาณว่าลี้เซ่งเต๊ก เป็นคนบ้านหงั่วซัว อำเภอเท่งไฮ้ เมืองแต้จิ๋ว  ชื่อเซ่งเต๊กเป็นชื่อทางการ เหมือนชื่อเหี้ยนเต๊กของเล่าปี่(แต่ฉ.ไทยแปลคลาดเคลื่อนไปว่า เมื่อน้อยชื่อเหี้ยนเต๊ก ควาจริงเป็นชื่อเมื่อโต) พุกอาจเป็นอีกชื่อหนึ่งของท่าน 
ท่านใช้ชื่อยี่ห้อการค้าว่า กิมตึ๋งฮกกี่  ฮก แปลว่าบุญวาสนา อาจกลายเสียงเป็น พก พุก ได้  ส่วนลูกชายท่านชื่อบุ้นฮวด แปลว่าอารยวัฒน์ ฮวดแปลว่าเจริญ รุ่งเรือง วัฒนา เสียงจีนแคะว่า ฝัด
ฉะนั้นตระกูลนี้เป็นจีนแต้จิ๋วแน่นอน
เจ้าสัวบุ้นฮวดใช้ยี่ห้อการค้าว่า กิมตึ๋งฮวดกี่  กิมตึ๋งแปลว่า ห้องโถงลายคำหรือห้องโถงอันสวยงามดุจแพร ที่มีดอกดวง ฮวด แปลว่าเจริญรุ่งเรือง กี่ แปลว่าเครื่องหมายการค้าครับ คนทั่วไปคงจะเรียกเจ้าสัวเซ่งเต๊กตามยี่ห้อการค้าว่าเจ้าสัวฮก แล้วกลายเสียงเป็นพุก ก็ได้ครับ

ส่วนพระบริบูรณ์ธนากร พุก นั้นอาจจะเป็นคนละคนกับ พุก โชฎึก หรือไม่ก็เข้าใจผิดว่าท่านแซ่ตัน

อ. Li Guat Cheu นั้น น่าจะมาจากเสียงจีนแต้จิ๋วว่า ลี้ฮวด...  พยางค์สามผมโยงหาคำจีนไม่ถูก แต่ Li Thye Phong น่าจะเป็นลี้ไท่พ้ง ไท่ แปลว่ ใหญ่ มหา พ้งคือนกในตำนานจีน เทียบได้กับครุฑของไทย แต่รูปวาดคล้ายนกวายุภักษ์ครับ สรุปว่า เจ้าสัวผ่องก็น่าจะมีชื่อจีน เสียงแต้จิ๋วว่าพ้ง  จีนกลางว่าเผิง


ขอขอบพระคุณอาจารย์ถาวรเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 มิ.ย. 22, 19:35
ยังมีอีกชื่อหนึ่งซึ่งเป็นกิจการของตระกูลลี้ คือ โรงสีข้าว Li Tit Guan

จาก The Directory & Chronicle for China, Japan, Corea, Indo-China, Straits Settlements, Malay States, Siam, Netherlands India, Borneo, the Philippines, &c 1908 หน้า ๑๑๗๕


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 มิ.ย. 22, 21:35
Li Thye Phong น่าจะเป็นลี้ไท่พ้ง ไท่ แปลว่ ใหญ่ มหา พ้งคือนกในตำนานจีน เทียบได้กับครุฑของไทย แต่รูปวาดคล้ายนกวายุภักษ์ครับ สรุปว่า เจ้าสัวผ่องก็น่าจะมีชื่อจีน เสียงแต้จิ๋วว่าพ้ง  จีนกลางว่าเผิง

อีกทางหนึ่ง Phong อาจมา "ผ่อง" ในภาษาไทย ซึ่งเป็นชื่อที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ตั้งให้

จาก หนังสือจดหมายเหตุเรื่องพระราชไมตรีในระวางกรุงสยามกับกรุงจีน พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาอำมาตย์ตรี พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ผ่อง โชติกะพุกกณะ) ปีระกา ๒๔๗๖


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: T.Klinhom ที่ 15 มิ.ย. 22, 11:12
ขอเพิ่มเติมข้อมูลครับ หลักฐานจากทางวัดที่ระบุว่าเป็นพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน) เป็นผู้บูรณะวัด เพราะที่วัดเคยมีหลักฐานเป็นจารึกแผ่นหินอยู่ที่ซุ้มประตูกำแพงแก้วครับ เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันได้หายไปแล้ว แต่ยังปรากฏในหนังสืองานศพของอดีตเจ้าอาวาสที่ได้อ้างถึงแผ่นจารึกนี้ไว้ครับ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 มิ.ย. 22, 10:35
ปรากฏในหนังสืองานศพของอดีตเจ้าอาวาสที่ได้อ้างถึงแผ่นจารึกนี้ไว้ครับ

อดีตเจ้าอาวาสท่านไหนหนอ ? อยากเห็นข้อความที่กล่าวถึงแผ่นจารึกในหนังสืองานศพของท่าน ;D

"วัดนาคปรก มีเจ้าอาวาสครองวัดมาแล้วหลายรูป แต่ไม่มีการจดบันทึกไว้ เริ่มมาบันทึกเป็นทางการถึงปัจจุบัน รวม ๕ รูป คือ


๑. พระอธิการ คงชูนาม พ.ศ. ๒๔๕๔-๒๔๗๗

๒. พระอธิการเลี่ยม นนฺทิโย พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๐๕

๓. พระอาจารย์อำนาจ นราสโภ พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๑๒

๔. พระครูศรีพัฒนคุณ (พิศิษฐ สิมมามี) พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๔๒

๕. พระครูวรกิตติโสภณ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) พ.ศ. ๒๕๔๓-ปัจจุบัน"

https://monkhistory.kachon.com/353480


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 16 มิ.ย. 22, 15:03
หนังสืองานศพอดีตเจ้าอาวาสน่าจะเล่มนี้ครับ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 16 มิ.ย. 22, 15:04
เนื้อหาที่อ้างถึงจารึกที่ซุ้มประตู


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 มิ.ย. 22, 11:35
ถ้าจารึกที่ซุ้มประตูกำแพงแก้ว ระบุว่าเป็น "ผู้สร้างวัด" แทนที่จะเป็น "ผู้บูรณะวัด" ข้อมูลเรื่อง  "แซ่ตัน " ของเจ้าสัวพุกดูจะด้อยความน่าเชื่อถือลง


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 มิ.ย. 22, 09:18
สงสัยว่าคงจะตอบได้แค่นี้ คือพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน) เป็นคนละคนกับพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(พุก)   ดูจากนามสกุลแล้วท่านน่าจะเป็นจีนฮกเกี้ยน 
แต่ไม่รู้ว่าท่านมีลูกหลานสืบสกุลต่อมาหรือเปล่า  และใช้นามสกุลว่าอะไร ก็ยังไม่ทราบเหมือนกันค่ะ

เปิดกระทู้ไว้แค่นี้ เผื่อมีผู้รู้เข้ามาตอบในอนาคต


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 มิ.ย. 22, 10:35
ณ เวลานี้ผมกำลังเขียนเรื่อง (บท). เรื่องสยามประเทศ เป็นเรื่องของสมัย รศ. ๑๑๒ หรือจะเป็นเรื่องการเสียดินแดนก็คงจะได้. แต่เรื่องของผมเริ่มเรื่อง สมัย รศ.๑๐๔ เมื่อพระนายไวยฯ ได้เดินทางไปรบฮ่อที่แคว้นหัวพันห้าทั้งหก

ตัวละคอนในเรื่องจะเป็นบุคลในจินตนาการล้วน ๆ ไม่มีตัวตน (หวังว่าเช่นนั้น) พระเอกของเรื่องเป็นหม่อมราชวงค์ คือ ร้อยโท มรว.เต็ม อัษฎาภักดี นางเอกจะเป็นไฮโซในยุคนั้นคือ คุณนงเยาว์ รัษฎากร บุตรสาวของพระยารัษฎามหาสมบัติ (พุก แซ่ตัน) ไม่ต้องไปเปิดทำเนียบดูหรอกครับเพราะเป็นพระยาในจินตนาการล้วน ๆ

ตามบทภาพยนตร์ของท่าน Cinephile ในจินตนาการของท่าน ลูกหลานของท่านพุก แซ่ตันใช้นามสกุลว่า "รัษฎากร"

ที่น่าสนใจคือ ท่านเอาชื่อ พุก แซ่ตัน มาจากไหนหนอ ?


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 มิ.ย. 22, 14:34
ต้องรอท่าน Cinephile แวะมาเฉลย


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: T.Klinhom ที่ 23 มิ.ย. 22, 15:25
วันนี้ได้มีโอกาสไปสำรวจที่วัดได้เบาะเเสมานิดหน่อยครับ ภาพที่แนบมาเป็นช่องอัฐิของบุตรสาวพระบริบูรณ์ธนากร (http://)
ในช่องอัฐิเขียนว่า "นางวัน วิถีธรรมสัญจร (ชีวกานนท์)
(ธิดาพระบริบูรณ์ธนากร ผู้สร้างวัดนาคปรก) และนายดิศ ชีวกานนท์ บุตร
ชาตะ 1 ม.ค. 2414 ปีกุน
มรณะ 20 ม.ค. 2496 ปีมะเส็ง"


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มิ.ย. 22, 16:28
เป็นอันว่าได้ข้อมูลเพิ่มอีกนิดหน่อย

อ่านแล้วก็ยังงงๆ ว่า ธิดาพระบริบูรณ์  มีนามสกุลเดิมว่า วิถีธรรมสัญจร หรือ ชีวกานนท์ กันแน่
ส่วนนายดิศ เป็นบุตรคุณนายวัน  หรือว่าบุตรของพระบริบูรณ์ธนากร
ถ้านายดิศเป็นบุตรคุณนายวัน   ก็คือคุณนายแต่งงานกับคนนามสกุล ชีวกานนท์  ส่วนนามสกุลเดิมคือ วิถีธรรมสัญจร

นามสกุลชีวกานนท์เป็นนามสกุลพระราชทาน ที่1299 ผู้ขอพระราชทานคือหลวงพิชิตชโนประการ (สาตร์)  นายเวรกระทรวงนครบาล   ปู่ของคุณหลวงชื่อเสมียนตราเลี้ยง  ไม่ใช่หลวงบริบูรณ์ธนากร (พุก)


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มิ.ย. 22, 16:43
ไปได้ข้อมูลอีกนิดหน่อยจากห้องสมุดดิจิทัล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์    จากหนังสืองานศพ คุณแม่ชม ชีวกานนท์
ได้ความว่าท่านเป็นภรรยานายดิศ  ชีวกานนท์   มีธิดา 4 คน
ก็สรุปได้ว่า นายดิศเป็นหลานตาของพระบริบูรณ์ธนากร   มารดาชื่อคุณนายวัน  สกุลเดิม วิถีธรรมสัญจร


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 24 มิ.ย. 22, 09:27
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/2402.PDF

มีเอ่ยถึง หลวงวิถีธรรมสัญจร(เปลี่ยน ปาลิกภัฎ)

ผมเลยคิดว่าคุณนายวัน ท่านนามสกุลชีวกานนท์ตามสามี ซึ่งมีราชทินนามเป็น วิถีธรรมสัญจร
แต่สามีท่านเป็นคนละคนกับหลวงวิถีธรรมสัญจร(เปลี่ยน ปาลิกภัฎ) ครับ


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มิ.ย. 22, 09:45
ขอบคุณค่ะ   น่าคิดมากค่ะ   อาจารย์หมอ CVT  

ดิฉันไม่ทันคิดว่า วิถีธรรมสัญจร อาจเป็นราชทินนามของสามีคุณนายวัน  ไม่ใช่นามสกุลเดิมของท่าน
นึกอีกที   ก็อาจเป็นได้ว่าราชทินนาม "วิถีธรรมสัญจร" มีขุนนางมากกว่า 1 คนที่ได้รับ  นอกจากหลวงวิถีฯ(เปลี่ยน)แล้วยังมีหลวงวิถีฯ อีกท่าน ที่นามสกุลชีวกานนท์

ดิฉันหาประวัตินายดิศ ชีวกานนท์ไม่เจอเสียด้วย   ไม่งั้นคงได้คำตอบแล้ว

คุณนายวันกับสามีมีลูกสาว 4 คน ไม่มีลูกชาย   ก็หมายความว่าบรรดาหลานยายของท่าน ไม่มีใครใช้นามสกุลชีวกานนท์อีก ทำให้สืบยากเข้าไปอีก

ต้องรอคุณ T.Klinhom เข้ามาบอกว่า เจอป้ายชื่อเพิ่มเติมที่วัดนาคปรกหรือไม่   ถ้ามีแต่คุณนายวันและนายดิศ ก็เป็นได้ว่าท่านอาจเป็นลูกสาวคนเดียวของเจ้าสัวพุก  
ดูจากพ.ศ.ที่เกิดว่าเป็นช่วงต้นๆ ในรัชกาลที่ 5  ท่านน่าจะแต่งงานในรัชกาลที่ 5 นั่นเอง   สมัยนั้นคนไทยยังไม่มีนามสกุล  คุณนายวันอาจไม่มีนามสกุลเลยก็ได้  พอแต่งงานไปกับหลวงวิถีธรรมสัญจร ก็ใช้นามสกุลสามี   พอถึงแก่กรรม ป้ายชื่อจึงจารึกไว้แบบนั้น


กระทู้: ่ตามหาประวัติพระบริบูรณ์ธนากร (พุก แซ่ตัน)
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มิ.ย. 22, 10:09
คุณยุวลี  ลูกสาวคนที่ 3 ของคุณนายวัน สมรสกับนายกิจจำนง วัฒนจินดา  
ดิฉันไปเจอหนังสืออนุสรณ์งานศพของอาจารย์กิจจำนง ในเว็บหนังสือเก่า   เลยได้รายชื่อทายาทรุ่นที่ 4 ของพระบริบูรณ์ธนากรมาลงให้อ่านกัน  
ที่ลงชื่อนี่ เผื่อหลานเหลนคุณพระท่านมาอ่านเจอเข้า อาจจะมาให้คำตอบได้ว่า คุณนายวันมีนามสกุลเดิมว่าอะไร

1  นางวรรณา ตรีครุธพันธ์
2  พ.ต.ท. วินิจ วัฒนจินดา
3  นางนงเยาว์ สิงหสุวิช
4  นายนิวัติ  วัฒนจินดา
5  นางสุวรรณา  สุนทรวิจิตร
6  เภสัชกรวัฒนา วัฒนจินดา
7  น.ส.สุภาวดี  วัฒนจินดา

หมายเหตุ ถ้าสะกดผิด ขอให้คุณเพ็ญชมพูบอกด้วยค่ะ  หน้าหนังสือเก่าแก่และแสงมัว อ่านยากมาก