เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 15 ก.พ. 12, 18:22



กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 15 ก.พ. 12, 18:22

http://www.youtube.com/watch?v=E20dvo8wlfk&feature=related

เนื้อร้องและทำนอง  จรัล  มโนเพ็ชร
ขับร้อง สุนทรี เวชานน
ท์

มะเมี๊ยะ

มะเมี๊ยะ เป๋นสาวแม่ก้า คนพม่า เมืองมะละแมง
งามล้ำ เหมือนเดือนส่องแสง คนมาแย่ง หลงฮักสาว.
มะเมี๊ยะ บ่ยอมฮักไผ มอบใจ๋ ฮื้อหนุ่มเจื้อเจ้า.
เป๋นลูก อุปราชท้าว เจียงใหม่

แต่เมื่อ เจ้าชาย จบก๋าน ศึก ษา
จ๋ำต้อง ลาจาก มะเมี๊ยะไป.
เหมือนโดน มีดสับ ดาบฟัน หัวใจ๋
ปลอมเป๋น ป้อจาย หนีตามมา

เจ้าชายเป๋นราชบุตร แต่สุด ตี้ฮักเป๋นพม่า
ผิดประเพณี สืบมา ต้องร้าง ลา แยกทาง
วันตี้ต้อง ส่งคืนบ้านนาง เจ้าชาย ก็จัดขบวนช้าง
ไปส่งนาง คืน ทั้งน้ำตา

มะเมี๊ยะ ตรอมใจ๋ อาลัย ขื่น ขม
ถวาย บังคม ทูล ลา.
สยาย ผมลง เจ๊ดบาท บา ทา
ขอลา ไปก่อน แล้วจ้าดนี้.

เจ้าชายก็ตรอม ใจ๋ตาย มะเมี๊ยะเลยไป บวชชี
ความฮัก มักเป๋นเช่นนี้ แล เฮย


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 15 ก.พ. 12, 18:26
วันนี้มีเพื่อนพูดถึงตำนานความรักของเจ้าน้อยสุขเกษมแห่งเมืองเชียงใหม่และสาวมะเมี๊ยะแห่งเมืองมะละแหม่ง

รู้สึกว่าเรื่องนี้น่าสนใจทั้งในหลายมิติทั้งด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง จึงอยากจะขอตั้งกระทู้ขอความรู้จากทุกๆ ท่านในเรือนไทย จะได้ช่วยกันรวบรวมความรู้เรื่องนี้มาปะติดปะต่อกันค่ะ ... ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 15 ก.พ. 12, 18:36
(http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/pict/ID_25748_.jpg)

รูปเจ้าน้อยสุขเกษม ณ เชียงใหม่

เจ้าน้อยสุขเกษมเป็นบุตรคนแรกและคนโตของ นายพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ  เจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 9 (พ.ศ.2452 - 2482) กับแม่เจ้าจามรี ธิดาเจ้าราชภาคิไนย (แผ่นฟ้า)  เจ้าน้อยฯ มีพี่น้อง 5 คนคือ

          1. เจ้าอุตรการโกศล (เจ้าน้อยสุขเกษม)
          2. เจ้าหญิงบัวทิพย์
          3. เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน)
             (ลำดับ 1-3 เกิดแต่แม่เจ้าจามรี)
          4. เจ้าพงษ์อินทร์
          5. เจ้าหญิงศิริประกาย
          6. เจ้าอินทนนท์
              (ลำดับ 4-6 เกิดแต่หม่อมเขียว)


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.พ. 12, 19:03
เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะกระมัง

 ;D


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 15 ก.พ. 12, 19:20
กำลังงค่ะ เห็นมีสะกดกันหลายแบบ  ??? ???


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 15 ก.พ. 12, 19:22
(http://blog.eduzones.com/images/blog/forwardmail/2009061661129.jpg)

ภาพนี้ดูเลือนๆ แต่น่าจะเป็นศุขเกษมอย่างที่อาจารย์เพ็ญชมพูว่าค่ะ แก้หัวข้อกระทู้ได้ไหมคะเนี่ย


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.พ. 12, 20:11
แก้หัวข้อกระทู้ ค่อนข้างยุ่งยากค่ะ เพราะระบบไม่เปิดโอกาสให้แก้ได้  ต้องย้ายกระทู้ไปและย้ายกระทู้กลับ   ถ้าทำพลาดตามประสามือสมัครเล่น อาจหายไปทั้งกระทู้

เรื่องเจ้าน้อยศุขเกษม เล่าไว้ในกระทู้เก่า ค.ห. 21

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=730.15


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.พ. 12, 20:31
ภาพพร้อมลายเซ็น

 ;D


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 15 ก.พ. 12, 20:49
ศุขเกษม ชัดๆ เลยทีนี้ ขอบคุณค่ะ ... อาจารย์ว่าแจ้งลบแล้วตั้งกระทู้ใหม่ด้วยชื่อที่ถูกต้องดีไหมคะ


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.พ. 12, 21:48
ถ้าลบ  มันจะหายไปหมดทั้งกระทู้ค่ะ


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 15 ก.พ. 12, 23:23
ค่ะ ลบแล้วเริ่มใหม่เลย


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 16 ก.พ. 12, 08:16
เจ้าอุตรการโกศล (น้อยศุขเกษม) ถึงแก่กรรมด้วยวัณโรคในวัยเพียง ๓๓ ปี เมื่อต้นรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๕๖
ในภาพเจ้าอุตรการโกศลแต่งเครื่องแบบปกติขาวนายทหารบกชั้นยศ นายดาบ ครับ


กระทู้: เจ้าน้อยสุขเกษมและมะเมี๊ยะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 12, 09:37
กู่ของเจ้าน้อยศุขเกษม ที่วัดสวนดอก เชียงใหม่


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.พ. 12, 19:08
แก้ไขชื่อกระทู้ให้แล้วนะคะ  ลองดูค่ะ


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 12, 19:12
^
^
ขอแสดงความยินดีกับคุณกระต่ายด้วย

ในคำเรียกชื่อภาษาพม่านั้น สำหรับผู้หญิงมีคำนำหน้าบ่งบอกถึงสถานะอยู่ ๒ คำคือ มะ และ ดอ

มะ หมายถึงเด็กหญิงจนถึงสาวรุ่น  ส่วน ดอ หมายถึง สาวใหญ่

มะเมียะจึงหมายถึง สาวที่ชื่อเมียะ

ในภาษาพม่า เมียะแปลว่ามรกต

 ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 16 ก.พ. 12, 22:46
แก้ไขชื่อกระทู้ให้แล้วนะคะ  ลองดูค่ะ

กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูมา ณ ที่นี้ค่ะ


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 00:24
เนื่องจากตำนานรักเรื่องนี้มีจุดหักเหที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างผู้เล่นสามฝ่ายคือ นครเชียงใหม่ สยาม และพม่าที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ... จึงอยากจะขอเกริ่นด้วยสภาพเหตุการณ์บ้านเมืองของล้านนาเพื่อจะได้เห็นความสัมพันธ์ในหลายๆ มิติ

สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 1898 - 2068)

ในราวกลางราชวงศ์มังราย นับแต่สมัยพระยากือนา เป็นต้นมา อาณาจักรล้านนาเจริญขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งถือเป็นยุคทอง
หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เริ่มเสื่อมลง โดยกล่าวได้ถึงความเจริญเป็นประเด็นได้คือ ความเจริญทางพุทธ ศาสนา ในยุครุ่งเรือง ตามหมู่บ้านต่างๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนเขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายในปัจจุบัน

ความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนาซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านนา วัดสำคัญได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วย ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายกว้างขวาง มีพ่อค้าจากเมืองเชียงใหม่ ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม
ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะเป็นเมืองผ่านไปยังทางใต้และทางตะวันตก จึงมีพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่ ทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้ารวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่างๆ ทางตอนบน แล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองมอญ

กษัตริย์มีบทบาทการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่างๆ ในอาณาจักรส่งส่วยให้ราชธานีจึงออกกฎหมาย บังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามาถวาย รูปแบบการค้าของป่า กษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำกับดูแล สินค้าชนิดต่างๆ มีการพบตำแหน่ง "แสนน้ำผึ้ง" ซึ่งเป็นข้าหลวงที่ดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด

กำลังทหารที่เข้มแข็ง ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังที่เข้มแข็ง ดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยา โดยทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้น ล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้

(http://lib.payap.ac.th/webin/ntic/the%20past/place/postcard/DSC_0036.jpg)

ภาพวัดเจดีย์หลวงหรือวัดโชติการามวิหารซึ่งสร้างขึ้นในสมัยที่ล้านนารุ่งเรือง


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 00:37
สมัยเสื่อมและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ.๒๐๖๘-๒๑๐๑)

เกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พระญาเกศเชษฐราชขึ้นครองราชย์ จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน ช่วงเวลา ๓๓ ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง ๔ ปี เพราะขุนนางขัดแย้งกันเอง ตกลงไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ นอกจากนี้ ปัจจัยความเสื่อมสลาย ยังเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐในหุบเขา ที่ทำให้เมืองต่างๆ ในอาณาจักรมีโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ

ในระยะแรก เมืองราชธานีจึงพยายามสร้างเสถียรภาพให้ศูนย์กลางมีความเข้มแข็งตลอดมา โดยกษัตริย์อาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าเมืองต่างๆ ในระบบเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐขยายขึ้น จำเป็นต้องสร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพแทนที่ระบบเครือญาติ แต่อาณาจักรล้านนาสถาปนาระบบราชการไม่ได้ รัฐจึงอ่อนแอและเสื่อมสลายลง



กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 00:45
ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.2101 - 2317)

นับเป็นยุคแห่งความอ่อนแอของล้านนา ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครอง แต่จะมีบางช่วง ที่อยุธยายกทัพ ขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้ เช่น สมัยพระนเรศวรและสมัยพระนารายณ์ นอกจากนั้นมีบางช่วงที่เชียงใหม่ และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ เช่น ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 เนื่องจากเป็นช่วงที่พม่าประสบปัญหาการเมืองภายใน เมื่อพม่าแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วจะยกทัพมาปราบล้านนา ดังนั้นอำนาจพม่าในล้านนาจึงไม่สม่ำเสมอ

ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง(พ.ศ. 2101) จนถึง พ.ศ. 2317 สมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม ล้านนาในสมัยพม่าปกครองเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานถึง 216 ปี นโยบายของพม่าที่ปกครองล้านนาได้ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขการเมืองภายในของพม่าและปรับตามสภาพการเมืองในท้องถิ่นล้านนา

(http://www.thailandsworld.com/sites/thailandsworld_com/images/North_Thailand%2FWat_Yuen_2.jpg)
สิงห์ศิลปะพม่า ณ วัดเชียงมั่น



กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 00:58
ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (พ.ศ. 2317 - 2427)

หลังจากเสร็จสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ พ.ศ. 2317 แล้ว พระเจ้าตากสินทรงตอบแทนความดีความชอบ โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พญาจ่าบ้าน (บุญมา) เป็นพญาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปาง และทรงมอบอาญาสิทธิ์แก่เจ้าเมืองทั้งสองให้ปกครองบ้านเมืองตามธรรมเนียมเดิมของล้านนา อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยธนบุรี พม่ายังคงพยายามกลับมายึดเชียงใหม่อีกหลายครั้ง ซึ่งพญาจ่าบ้าน ป้องกันเมืองเชียงใหม่อย่างเข้มแข็ง แต่ด้วยผู้คนมีอยู่น้อยและกำลังอดอยากจึงต้องถอยไปตั้งมั่นที่ท่าวังพร้าวและลำปาง จากนั้นจึงกลับไปที่เชียงใหม่เมื่อพม่ายกทัพกลับ

การณ์เป็นไปในเช่นนี้ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อพญาจ่าบ้านเสียชีวิตลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน พระเจ้ากาวิละเริ่มตั้งมั่นที่เวียงป่าซางในพ.ศ. 2325 ก่อน จากนั้นจึงเข้าตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2339 ซึ่งเป็นปีที่เชียงใหม่มีอายุครบ 500 ปี อิทธิพลของพม่าในล้านนาถือว่าได้สิ้นสุดลงในสงครามขับไล่พม่า พศ. 2347 โดยกองทัพชาวล้านนาร่วมกับกองทัพไทยยกไปตีเมืองเชียงแสนที่มั่นของพม่าได้สำเร็จ

พระเจ้ากาวิละจึงได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่โดยรวบรวมพลเมืองเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการกวาดต้อนชาวเมืองที่หลบหนีเข้าป่า และกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองพันนาและรัฐชานมาเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่ายุค ในยุคสมัยที่ว่า "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" เชียงใหม่จึงพ้นจากสภาพเมืองร้างและยังได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง จากนั้นพระเจ้ากาวิละ ได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ราชประเพณี โดยกระทำพิธีราชาภิเษกสถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในลักษณะเดียวกับราชวงศ์มังราย การสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ การสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก และการทำนุบำรุงพุทธศาสนา เป็นต้นเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละจึงมีความเจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเป็นศูนย์กลางของล้านนาที่เข้มแข็ง หลังจากสมัยพระเจ้ากาวิละแล้วก็มีเจ้าเมืองปกครองต่อมา รวมทั้งสิ้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน มี 9 องค์

(http://www.bloggang.com/data/moonfleet/picture/1264329752.jpg)

ภาพ เจ้ากาวิละกู้เมืองเชียงใหม่ บนฐานด้านหนึ่งของอนุสาวรีย์ บรรพชนลานนาไทย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เพื่อสมโภชเมืองเชียงใหม่ 700 ปี


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 01:04
นโยบายและวิธีการปกครองดินแดนหัวเมืองประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่านมีลักษณะระมัดระวัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ล้านนาเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าถึงสองร้อยกว่าปีย่อมมีความใกล้ชิดกับพม่ามาก รัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ เกรงว่าล้านนาจะหันกลับไปหาพม่า และในขณะเดียวกันพม่าก็พยายามแย่งชิงล้านนากลับคืนไปอีก รัฐบาลกลางจึงปกครองล้านนา โดยไม่เข้าไปกดขี่อย่างที่พม่าเคยทำกับล้านนา แต่กลับใช้วิธีการปกครองแบบผูกใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยยอมผ่อนผันให้เจ้าเมืองมีอิสระในการปกครองภายใน เศรษฐกิจ การศาล การต่างประเทศ และขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนยกย่องให้เกียรติแก่เจ้าเมืองในโอกาสอันควร

การเปลี่ยนแปลงในรูปที่รัฐบาลต้องเข้าไปควบคุมกิจการภายในหัวเมืองประเทศราชล้านนามากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในที่สุดก็ผนวกเอาล้านนาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก ด้านการปกครองหัวเมือง มีการยกเลิกระบบการปกครอง เมืองประเทศราช ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาช้านาน โดยจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแทน มีข้าหลวงเทศาภิบาลซึ่งรัฐบาลกรุงเทพฯส่งไปปกครองและขึ้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นจึงเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กันของชาติรัฐซึ่งมีอำนาจรวมศูนย์ที่องค์พระมหากษัตริย์

การรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้ากับส่วนกลาง รัฐบาลกลางวางเป้าหมายของการปฏิรูปการปกครองเพื่อสร้างเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว การดำเนินการต้องกระทำ 2 ประการคือ

ประการแรก ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมาปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสีย โดยรัฐบาลกลาง ริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไป

ประการที่สอง การผสมกลมกลืนชาวล้านนาให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับ พลเรือนส่วนใหญ่ของประเทศ คือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ ซึ่งแต่เดิมมีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นคนละพวก คนทางใต้เข้าใจว่าชาวล้านนาเป็นลาว ไม่ใช่ไทย รัฐบาลกลางใช้วิธีจัดการปฏิรูปการศึกษาโดยจัดระบบโรงเรียนหนังสือไทยแทนการเรียนอักษรพื้นเมืองในวัด และกำหนดให้กุลบุตรกุลธิดาต้องศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จ ชาวเชียงใหม่และล้านนาต่างถูกผสมกลมกลืนจนมีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทย


การดำเนินการ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการปกครอง การศาล การภาษีอากร การคลัง การศึกษา การสาธารณสุขและอื่น ๆ โดยจัดเป็นระบบเดียวกับกรุงเทพฯ ในทุกด้าน


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 01:15
การผนวกล้านนาเข้ากับสยามอย่างละมุนละม่อมนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เรื่องราวระหว่างรัชกาลที่ 5 และเจ้าดารารัศมี (ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าน้อยศุขเกษม)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/c/c6/DARARAT_2.jpg/246px-DARARAT_2.jpg)

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าหญิงดารารัศมี" พระนามลำลองเรียกกันในหมู่พระประยูรญาติว่า "เจ้าอึ่ง" ประสูติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 เป็นพระราชธิดาใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์ กับ แม่เจ้าเทพไกรสรพระมหาเทวี ซึ่งแม่เจ้าเทพไกรสรนั้นทรงเป็นพระราชธิดาใน พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และพระมหาเทวี เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงดารารัศมีทรงพระอักษรทั้งฝ่ายล้านนา สยาม และภาษาอังกฤษ จนแตกฉาน ทั้งยังได้ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆจนนับได้ว่าทรงเป็นผู้รอบรู้ในด้านขนบประเพณีอันเก่าแก่เหล่านั้น

ในช่วงเลานั้นอังกฤษได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครอง พม่าแล้ว อังกฤษได้พยายามขยายอิทธิพลเข้ามายังนครเชียงใหม่และอาณาจักรหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดย สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ส่งราชทูตมาทูลขอ เจ้าหญิงดารารัศมี ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม ในเวลานั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีรับสั่งกราบทูลตอบกลับไปว่าอย่างไร โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระองค์นั้นได้พระราชทานเงื่อนไขว่า หากยกเจ้าหญิงดารารัศมีให้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระนางเจ้าฯ แล้วไซร้ เจ้าหญิงดารารัศมีจะได้ทรงครองพระอิสริยยศในทางราชการเป็นภาษาอังกฤษว่า "Princess Of Siam" เทียบเท่ากับพระราชโอรส-พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามทุกประการและเวียงพิงค์เชียงใหม่จะได้มีอำนาจมากกว่าเดิมอีกด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลว่า หากเจ้าหญิงดารารัศมีได้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งอังกฤษแล้ว นครเชียงใหม่อาจจะต้องกลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษไป เนื่องจากในสมัยนั้นมีการล่าอาณานิคมเป็นเมืองขึ้นตามประเทศต่างๆ แม้ว่าจะเป็นข้อเสนอที่ดูผิวเผินเพียงแค่เจรจาไมตรี หากมองดูลงไปให้ลึกซึ้งอังกฤษต้องการนครเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง (พม่า แล รัฐฉานหรือ เมิงไต นั่นเอง)

อย่างไรก็ตาม ความดังกล่าวได้ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2426 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (เวลานั้นดำรงตำแหน่งเทียบได้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในภาคพายัพ) ได้อัญเชิญพระกุณฑล (ตุ้มหู) และพระธำมรงค์เพชร ไปพระราชทานเป็นของเฉลิมพระขวัญแก่เจ้าหญิงดารารัศมี นัยว่าเป็นของทรงหมั้นนั่นเอง รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ฯ พระราชทานเจ้าหญิงดารารัศมีตามแบบอย่างเจ้านายใน "พระบรมราชจักรีวงศ์" เป็นกรณีพิเศษ

ในปี 2429 นั้น พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้เสด็จลงมายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมในพระราชพิธีลงสรง และสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร เจ้าหญิงดารารัศมีได้โดยเสด็จพระราชบิดาลงมากรุงเทพฯ ในครั้งนี้ด้วย และได้รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม ตำแหน่งพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เลยประทับอยู่ ณ กรุงเทพพระมหานครนับแต่นั้นมา


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 01:26
ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 นี้ บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทะยอยเข้ามาประกอบกิจการในเชียงใหม่เช่นบริษัทบริติชบอร์เนียว (British Borneo) เข้ามาในราว พ.ศ. 2407 บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burma) เข้ามาในราว พ.ศ. 2432 และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest) เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง และชาวพื้นเมืองอื่น ๆ เข้ามาทำงานในกิจการดังกล่าว ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษเข้ามาในล้านนามากขึ้นตามลำดับ และในการทำป่าไม้ได้เกิดปัญหาถึงขั้นฟ้องศาลที่กรุงเทพหลายคดี

จากหลักฐานพบว่ามีคดีความจำนวน 42 เรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2401-2416 ตุลาการตัดสินยกฟ้อง 31 เรื่อง ส่วนอีก 11 เรื่องพบว่าเจ้านายทำผิดจริง จึงตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายรวม 466,015 รูปี หรือ 372,812 บาท เจ้าเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้นคือพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯได้ขอชำระเพียงครึ่งเดียวก่อน ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน 6 เดือน แต่กงสุลอังกฤษไม่ยอมรับ บังคับให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ชำระทั้งหมด หรือมิฉะนั้นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ซึ่งราชสำนักกรุงเทพฯก็ไม่ยินยอม ดังนั้น เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงจ่ายค่าเสียหาย 150,000 รูปี (120,000 บาท) ราชสำนักกรุงเทพฯให้ยืมเงิน 310,000 รูปี (248,000 บาท) โดยต้องชำระคืนภายใน 7 ปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยในรูปไม้ขอนสัก 300 ท่อนต่อปี

ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเหตุหนึ่ง ให้ต้องมีการปฏิรูปการปกครองในมณฑลพายัพในเวลาต่อมา โดยเริ่มตั้งแต่ส่งพระนรินทรราชเสนี (พุ่ม ศรีไชยยันต์) ปลัดบัญชีกรมพระกลาโหมไปเป็นข้าหลวงสามหัวเมือง ประจำอยู่ที่เชียงใหม่ มีหน้าที่ควบคุมดูแลและแนะนำให้พระเจ้าเชียงใหม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาเชียงใหม่ พ.ศ.2416 และ โปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงพิเศษ มาจัดการแก้ไขปัญหาชายแดนและดำเนินการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2427 ดำเนินการปฏิรูปการปกครองตามระบบมณฑลเทศาภิบาลอยู่ภายใต้การกำกับราชการของข้าหลวงเทศาภิบาล

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/f/fc/King_Intawichayanon.jpg/220px-King_Intawichayanon.jpg)

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 มีพระนามเดิมว่า เจ้าอินทนนท์ เป็นราชบุตรเจ้าราชวงศ์มหาพรหมฅำฅงกับแม่เจ้าฅำหล้า และเป็นราชบุตรเขยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เสกสมรสกับเจ้าเทพไกสร(เทพเกษร) มีบุตรและธิดากับแม่เจ้าเทพไกสรพร้อมกับแม่เจ้าอื่น ๆ และหม่อมอีก รวมทั้งหมด 11 คน คนที่มีบทบาทสำคัญต่อมา 3 องค์ คือ

โอรสคนที่ 6.เจ้าน้อยสุริยะ (ต่อมาเป็นเจ้าสุริยวงศ์- เจ้าราชบุตร-เจ้าอุปราช แล้วเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ฯเจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำดับที่ 8 |กำเนิดจากแม่เจ้ารินฅำ)
โอรสคนที่ 7.เจ้าแก้วนวรัฐ (ต่อมาเป็นเจ้าราชภาคินัย -เจ้าสุริยวงศ์-เจ้าราชวงศ์-เจ้าอุปราชตามลำดับ แล้วเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ลำดับที่ 9|กำเนิดจากหม่อมเขียว)
และพระธิดาองค์ที่ 11.เจ้าหญิงดารารัศมี (ต่อมาคือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 |กำเนิดจากแม่เจ้าเทพไกสร)


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 01:42
ระหว่างการปฏิรูปการปกครอง สยามพยายามลดอำนาจและผลประโยชน์ทีละน้อยรัฐบาลกลางได้ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่ ในลักษณะที่ร่วมกันปกครองกับเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานโดยที่ข้าหลวงพยายามแทรกอำนาจลงไปแทนที่ ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งได้แก่รายได้จากการเก็บภาษีอากรส่วนหนึ่งต้องส่งกรุงเทพฯ

นอกจากนั้น ป่าไม้ซึ่งแต่เดิมเป็นของเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานได้ถูกโอนเป็นของรัฐใน พ.ศ. 2439 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการสุรคตของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และหลังจากสิ้นสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว รัฐบาลกลางให้เจ้าอุปราชรั้งเมืองอยู่หลายปี จนกระทั่งเห็นว่าให้ความร่วมมือกับรัฐบาลกลางดี จึงมีการแต่งตั้งให้เจ้าอุปราชเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ 8 (พ.ศ. 2444 - 2452)

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/834/46834/images/chaingmai/Clip.jpg)
พระเมรุพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ณ ข่วงเมรุ (บริเวณตลาดวโรรส ในปัจจุบัน)


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 02:04
ครั้นพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ พระบิดาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2441 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯ ว่าราชการแทนเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยได้ว่าราชการแทนเจ้าผู้ครองนคร 2 ปี ได้เป็นเจ้าผู้ครองนคร 8 ปี รวมที่ได้ว่าราชการเมืองเชียงใหม่ 10 ปี สมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯนี้ เป็นยุคที่มีข้าหลวงเทศาภิบาลกำกับราชการทั้งปวง ดังนั้น จึงไม่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการและต้นไม้ทองต้นไม้เงินอีกต่อไป โดยที่เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯ ได้รับพระราชทานเงินเดือนเดือนละ 20,000 บาท

ในบั้นปลายชีวิตของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯนั้น ท่านเป็นโรคไอ แพทย์หลวงตรวจดูอาการพบว่า ปอดเสีย จนถึงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2452 ก็ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อชนมายุได้ 51 ปี

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/3/3d/King_Intawaroros.jpg/220px-King_Intawaroros.jpg)

เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำดับที่ 8





กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 02:15
และช่วงเวลานั้นเอง (พ.ศ. 2441) ที่เจ้าแก้วนวรัฐ - ราชบุตรของเจ้าอินทวิชยานนท์ผู้วายชนม์ ผู้เป็นน้องของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้น ก็ได้ส่งลูกชายคือเจ้าน้อยศุขเกษมวัย 15 ปี ไปเรียนที่โรงเรียน St. Patrick's School โรงเรียนกินนอนชายซึ่งเป็นคาธอลิคในเมืองเมาะละแหม่ง โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2385 ทำไมเจ้าราชบุตรจึงส่งลูกชายไปเรียนที่นั่น กล่าวกันว่าเจ้าแก้วนวรัฐค้าไม้สักกับพม่าเมืองเมาะละแหม่งจนสนิทสนมเป็นอันดีกับเศรษฐีพ่อค้าไม้ชาวพม่าคนหนึ่งชื่อ อูโพดั่ง เจ้าน้อยศุขเกษมนั่งช้างจากเชียงใหม่ไปถึงเมาะละแหม่งได้พักที่บ้านพ่อค้าอูโพดั่งในช่วงวันหยุด วันเรียนหนังสือก็อยู่ที่โรงเรียนกินนอน

ในทัศนะของฝ่ายสยาม เจ้าแก้วนวรัฐทำไม่ถูกต้องที่ส่งลูกชายคือเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่พม่าในปี พ.ศ. 2441 เพราะขณะนั้นสถานการณ์เริ่มคับขันแล้ว สยามกำลังจะยกเลิกฐานะเมืองขึ้นของล้านนาและรวมล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม มีข่าวว่าเจ้านายล้านนาหลายคนไม่พอใจอำนาจท้องถิ่นที่ถูกสยามลิดรอน เจ้าดารารัศมีจึงไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาเคารพและเผาศพพ่อ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในปี 2440 และน่าเชื่อว่าเจ้าแก้วนวรัฐส่งเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนหนังสือที่พม่าโดยมิได้แจ้งหรือปรึกษาหรือขออนุมัติจากสยาม

(http://www.compasscm.com/issue_picture/Feb10/scoop3.jpg)


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 02:27
โรงเรียน St. Patrick's School ที่เมืองเมาะละแหม่งซึ่งเจ้าน้อยศุขเกษมได้มาเข้าเรียนนั้น เป็นโรงเรียนคาธอลิคแห่งแรกที่อังกฤษตั้งขึ้นที่พม่า ปัจจุบันกลายเป็นโรงเรียนอีกแห่งไปแล้วในชื่อ  BEHS-5 Mawlamyine  

(http://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/62734960.jpg)

(http://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/62735085.jpg)

(http://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/62733850.jpg)

ภาพโรงเรียน BEHS-5 Mawlamyine ในปัจจุบัน หรือ โรงเรียน  St. Patrick's School ในอดดีต


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 02:45
จนเมื่อปี 2445 หนุ่มน้อยศุขเกษมวัย 19 ปีไปเที่ยวตลาดไดวอขวิ่น ซึ่งเป็นตลาดห่างจากบ้านพ่อค้าอูโพดั่งราว 10 นาที ก็ได้พบและหลงรักสาวน้อยวัย 15 ปี นาม "มะเมียะ" (ภาษาพม่าแปลว่ามรกต) สาวมะเมียะ ขายบุหรี่เซเล็ก (ภาษาพม่าแปลว่ายามวน) ก็รักหนุ่มน้อยจากเชียงใหม่เช่นกัน เมื่อความรักเพิ่มพูนกลายเป็นความมุ่งมั่นและความผูกมัด วันหนึ่ง ทั้งสองก็ชวนกันขึ้นไปไหว้พระเจดีย์ไจ้ตาหล่านอันเป็นที่เคารพสูงสุดของชาวเมือง สาบานว่าจะครองรักกันไปตราบสิ้นลม และถ้าผู้ใดผิดคำสาบานก็ขอให้มีอันเป็นไป



(http://image.ohozaa.com/i/2d1/5vW3k0.JPG)

ภาพการทำบุหรี่พม่าที่ม้วนด้วยมือ

(http://www.grathonbook.net/iravadee/longgang/images/52.jpg)

พระประธาน วัดไจ้ตาหล่าน

(http://www.grathonbook.net/iravadee/senthang/image/16.jpg)

มหาเจดีย์ทอง วัดไจ้ตาหล่าน



กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.พ. 12, 06:00
สมมุตินามตามท้องเรื่องว่าชื่อ "มะเมียะ"

 ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.พ. 12, 06:15
ขอส่งสาวพม่าเข้าประกวด"มิสมะเมียะ"มั่ง

แต่ เขาว่า มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ นะครับ

http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538727377&Ntype=2


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 17 ก.พ. 12, 06:47
ความรู้เรื่องแผ่นดินล้านนาที่คุณกระต่ายหมายจันทร์นำมาฝากกันนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ  แต่ขออนุญาตแสดงความเห็นแย้งเรื่องควีนวิคตอเรียจะขอพระราชชายาฯ ไปเป็นธิดาบุญธรรม  รวมถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระกุณฑลระย้าเพชรไปทรงหมั้นพระราชชายาฯ นั้น  มีเอกสารจดหมายเหตุบันทึกไว้ชัดเจนว่า พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน  สุรนันทน์) ข้าหลวงศาลต่างประเทศสามหัวเมืองได้มีใบบอกลงมากรุงเทพฯ กราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้ามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ผู้ทรงสำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ  ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า มีข่าวเล่าลือที่เมืองเชียงใหม่ว่า ควีนวิคตอเรียจะขอเจ้าดารารัศมีไปเป็นพระธิดาบุญธรรม  พระยาราชสัมภารากรได้ตรวจสอเรื่องนี้แล้ว  พบว่าข่าวนี้หมู่ม่านเงี้ยวที่เข้ามาค้าขายในเมืองเชียงใหม่เป็นผู้นำมาร่ำลือกัน 

เรื่องดังกล่าวจึงเป็นเพียงข่าวลือ  อีกทั้งในเวลานั้นยังไม่มีไวซ์กงสุลขึ้นไปประจำที่เชียงใหม่  แล้วใครจะไปติดต่อทาบทามพระเจ้าอินทวิชยานนท์เพื่อขอพระราชชายาฯ ไปเป็นธิดาบุญธรรมของควีนวิคตอเรีย?

เรื่องพระราชทานพระกุณฑลนั้น  ก็มีเอกสารจดหมายเหตุเป็นสารตราพระราชสีห์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ส่งไปถึงพระยาราชสัมภารากร  มีความว่า เมื่อคราวที่เจ้าทิพเกษร ชายาพระเจ้าอินทวิชยานนท์ลงมาเฝ้าฯ ที่กรุงเทพฯ  ดูเหมือนจะในงานฉลองพระนคร ๑๐๐ ปี  ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เมื่อกลับขึ้นไปเชียงใหม่แล้วจะจัดพิธีโกนจุกฑิดาคือเจ้าดารารัศมี  จากนั้นก็มีใบบอกของพระยาราชสัมภารากรบอกลงมายังกรุงเทพฯ ว่า  เจ้าทิพเกษรได้ปรึกษาเรื่องการพิธีโสกันต์  จึงได้แนะนำไปตามที่เคยเห็นการพระราชพิธีโสกันต์ในกรุงเทพฯ  มีสารตราพระราชสีห์ตอบกลับไปว่าที่ได้จัดการไปนั้นเป็นการชอบแล้ว  และเมื่อใกล้วันโสกันต์ทางเมืองเชียงใหม่  ก็ได้มีพระราชกระแสให้ผู้สำเร็จราชการมหาดไทยมีสารตราพระราชสีห์ส่งพระกุณฑลระย้าเพชรขึ้นไปทางเมืองตาก  ให้เจ้าเมืองตากจัดคนนำส่งพระกุณฑลนี้ขึ้นไปให้พระยาราชสัมภารากรที่เชียงใหม่  เพื่อเชิญไปพระราชทานเป็นของขวัญแก่เนื่องในการโกนจุกแก่เจ้าดารารัศมี



กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 09:46
สมมุตินามตามท้องเรื่องว่าชื่อ "มะเมียะ"

 ;D

ตอนแรกว่าจะเอารูปสาวน้อยคนนี้ลงเหมือนกันค่ะอาจารย์ แต่เอารูปอื่นลงแทนจะได้เห็นภาพการมวนยา  ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 10:09
ขอส่งสาวพม่าเข้าประกวด"มิสมะเมียะ"มั่ง

แต่ เขาว่า มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ นะครับ

http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538727377&Ntype=2


ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้ค่ะอาจารย์ NAVARAT ขอโคว้ตข้อมูลบางส่วนจากลิ้งค์ที่อาจารย์ให้ไว้ก่อนหน้านะคะ

"ในขณะนั้นเมื่อได้ยินเนื้อเพลงว่า “มะเมี๊ยะเป็นสาวแม่ก้า คนพม่า เมืองมะละแหม่ง...” ก็ไม่เคยติดใจสงสัยอะไร ต่อเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้วและได้ศึกษาประวัติศาสตร์มอญ สอบถามผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่าน ต่างก็บอกตรงกันว่า เมืองมะละแหม่งมีแต่มอญ ไม่มีพม่า

สภาพทั่วไปของเมืองมะละแหม่งนั้นเป็นเมืองเกษตรกรรมชายทะเล ริมอ่าวเมาะตะมะ รวมทั้งเป็นเมืองต้นทางของผู้เขียน เนื่องจากบรรพชนของผู้เขียนเคยอาศัยอยู่ในเมืองนี้เมื่อราว ๒๐๐ ปีก่อน คนมอญเรียกชื่อเมืองนี้ว่า โหมดแหมะเหลิ่ม เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วก่อนที่อังกฤษจะเข้ามาถึง เมืองนี้แทบหาคนเชื้อชาติอื่นไม่ได้เลย นอกจากคนมอญ[๒] อย่างไรก็ตามได้มีชาวไทใหญ่บางท่านเชื่อว่า มะเมี๊ยะ เป็นชาวไทใหญ่ แต่จากการได้สอบถามผู้รู้ภาษาและประวัติศาสตร์ไทใหญ่[๓] ต่างกล่าวตรงกันว่า “มะเมี๊ยะ” เป็นมอญ เพราะมาจากเมืองมะละแหม่ง ผู้เขียนจึงเชื่อว่ามะเมี๊ยะเป็นมอญ ไม่ใช่ พม่า ดังเหตุผลที่จะได้กล่าวต่อไป"


ใครอยากอ่านเหตุผลเต็มๆ เชิญได้ที่ลิ้งค์ของอาจารย์ NAVARAT ค่ะ ... แต่ลิ้งค์นี้คำสะกด มะเมี๊ยะ อาจไม่ผ่านคิวซีของอาจารย์เพ็ญชมพูนะคะ  :)

ย้อนกลับไปมองภาพของวัดไจ๊ตาหล่านที่สองหนุ่มสาวเคยไปสาบานรักกันไว้ก็เป็นศิลปะกรรมแบบมอญล้านนา (ลักษณะพระพักตร์ ได้แก่ พระเกศาม้วนเป็นเกลียว ขนาดของพระวรกายได้สัดส่วนเป็นอย่างดี ดวงเนตรโดดเด่น พระมัสสุบากเป็นร่องและพระสอเป็นรอยย่น)

งั้นเราคงพอจะสันนิษฐานได้ว่า มีความเป็นได้สูงที่มะเมียะอาจจะเป็นสาวพม่าเชื้อชาติมอญ คนเชื้อชาติมอญในพม่าดูจะมีอิทธิพลและจำนวนมากพอสมควร ต่ายยังเคยได้ยิน คำว่า "พม่ารามัญ" บ่อยๆ เหมือนเป็นคำสร้อยที่ติดกันมา บางแหล่งยังกล่าวว่าแม้แต่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของพม่าก็ยังมีเชื้อชาติมอญด้วย

ทีนี้ถ้ามะเมียะเป็นสาวมอญอย่างว่า ก็คงคมเข้มคล้ายๆ ในรูปที่อาจารย์เอามาส่งเข้าประกวด ... แม้จะไม่มีภาพถ่ายมะเมียะ แต่ก็เชื่อได้ว่ามะเมียะต้องเป็นผู้หญิงที่สวยมากขนาดที่เจ้าน้อยศุขเกษมเห็นแล้วก็ต้องสะดุด แม้ว่านางจะเป็นเพียงหนึ่งในแม่ค้าขายยามวนในตลาดที่มีคนมากมาย


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 10:45
ความรู้เรื่องแผ่นดินล้านนาที่คุณกระต่ายหมายจันทร์นำมาฝากกันนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ  แต่ขออนุญาตแสดงความเห็นแย้งเรื่องควีนวิคตอเรียจะขอพระราชชายาฯ ไปเป็นธิดาบุญธรรม  รวมถึงล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระกุณฑลระย้าเพชรไปทรงหมั้นพระราชชายาฯ นั้น  มีเอกสารจดหมายเหตุบันทึกไว้ชัดเจนว่า พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน  สุรนันทน์) ข้าหลวงศาลต่างประเทศสามหัวเมืองได้มีใบบอกลงมากรุงเทพฯ กราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้ามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ผู้ทรงสำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ  ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า มีข่าวเล่าลือที่เมืองเชียงใหม่ว่า ควีนวิคตอเรียจะขอเจ้าดารารัศมีไปเป็นพระธิดาบุญธรรม  พระยาราชสัมภารากรได้ตรวจสอเรื่องนี้แล้ว  พบว่าข่าวนี้หมู่ม่านเงี้ยวที่เข้ามาค้าขายในเมืองเชียงใหม่เป็นผู้นำมาร่ำลือกัน 

เรื่องดังกล่าวจึงเป็นเพียงข่าวลือ  อีกทั้งในเวลานั้นยังไม่มีไวซ์กงสุลขึ้นไปประจำที่เชียงใหม่  แล้วใครจะไปติดต่อทาบทามพระเจ้าอินทวิชยานนท์เพื่อขอพระราชชายาฯ ไปเป็นธิดาบุญธรรมของควีนวิคตอเรีย?

เรื่องพระราชทานพระกุณฑลนั้น  ก็มีเอกสารจดหมายเหตุเป็นสารตราพระราชสีห์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ส่งไปถึงพระยาราชสัมภารากร  มีความว่า เมื่อคราวที่เจ้าทิพเกษร ชายาพระเจ้าอินทวิชยานนท์ลงมาเฝ้าฯ ที่กรุงเทพฯ  ดูเหมือนจะในงานฉลองพระนคร ๑๐๐ ปี  ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เมื่อกลับขึ้นไปเชียงใหม่แล้วจะจัดพิธีโกนจุกฑิดาคือเจ้าดารารัศมี  จากนั้นก็มีใบบอกของพระยาราชสัมภารากรบอกลงมายังกรุงเทพฯ ว่า  เจ้าทิพเกษรได้ปรึกษาเรื่องการพิธีโสกันต์  จึงได้แนะนำไปตามที่เคยเห็นการพระราชพิธีโสกันต์ในกรุงเทพฯ  มีสารตราพระราชสีห์ตอบกลับไปว่าที่ได้จัดการไปนั้นเป็นการชอบแล้ว  และเมื่อใกล้วันโสกันต์ทางเมืองเชียงใหม่  ก็ได้มีพระราชกระแสให้ผู้สำเร็จราชการมหาดไทยมีสารตราพระราชสีห์ส่งพระกุณฑลระย้าเพชรขึ้นไปทางเมืองตาก  ให้เจ้าเมืองตากจัดคนนำส่งพระกุณฑลนี้ขึ้นไปให้พระยาราชสัมภารากรที่เชียงใหม่  เพื่อเชิญไปพระราชทานเป็นของขวัญแก่เนื่องในการโกนจุกแก่เจ้าดารารัศมี



ขอบคุณค่ะอาจารย์ V_Mee เป็นไปได้ไหมคะว่าการทาบทามจะผ่านมาทางอังกฤษฝั่งพม่า โดยที่ทางสยามไม่รู้ เพราะอังกฤษย่อมพยายามดำเนินการในทางลับไม่ให้สยามรู้ด้วยหมายจะครอบครองเชียงใหม่เสียเอง ... คล้ายกับในตอนที่ว่าอังกฤษติดต่อมาทางพระเจ้าอินทวิชยานนท์ขอให้เมืองเชียงใหม่ไปรวมกับพม่า แล้วทางสยามก็ไม่ทราบเรื่องนี้ จนกระทั่งเจ้าดารารัศมีเอาจดหมายของท่านพ่อ เจ้าอินทวิชยานนท์ไปให้รัชกาลที่ 5 ทรงอ่าน (หรือเรื่องนี้ก็เป็นตำนาน ไม่ใช่ความจริงเหมือนกัน  ???)

ส่วนเรื่องพระกุณฑลนั้น ... ขออนุญาตแก้ไขเนื้อความก่อนหน้านี้ด้วยข้อมูลจากอาจารย์ V_Mee นะคะ


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 10:55
คั่นเรื่องราวด้วยภาพการทำกิจการป่าไม้ในสมัยก่อน กิจการป่าไม้โดยเฉพาะไม้มีค่าอย่างไม้สัก เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก ที่ทั้งสยามและอังกฤษก็ต้องการ

(https://fbcdn-sphotos-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash2/40503_150379944977735_100000171926377_504761_2472307_n.jpg)

ภาพนี้เชื่อว่าเป็นภาพการทำสัมปทานป่าไม้ของบริษัท บอร์เนียว เบอร์ม่า ที่จังหวัดลำพูน


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 11:13
ภาพบ้านเมืองเชียงใหม่ในช่วงที่เจ้าน้อยศุขเกษมเป็นหนุ่ม

(https://fbcdn-sphotos-a.akamaihd.net/hphotos-ak-snc7/38672_149199271762469_100000171926377_494887_3718861_n.jpg)

ภาพถนนท่าแพจากสี่แยกอุปคุต ถ่ายโดยหลวงอนุสารสุนทร ในปี พ.ศ. 2445 ตรงกับช่วงที่เจ้าน้อยศุขเกษมถูกส่งไปเรียนหนังสือที่พม่า


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 12, 11:21
เชื้อชาติพม่า และ เชื้อชาติรามัญ ไม่ค่อยจะถูกกันนะครับ

ชาวมอญจะใช้ภาษามอญ ผิวออกไปทางคล้ำ แยกได้ระหว่างเชื้อชาติพม่า


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 11:59
เชื้อชาติพม่า และ เชื้อชาติรามัญ ไม่ค่อยจะถูกกันนะครับ

ชาวมอญจะใช้ภาษามอญ ผิวออกไปทางคล้ำ แยกได้ระหว่างเชื้อชาติพม่า

อ๋อ ... ขอบคุณมากค่ะคุณ Siamese

ดูในรูปของเจ้าน้อยก็หน้าตาคมเข้ม ถ้ามะเมียะเป็นสาวมอญที่หน้าตาสวยสะดุดใจ ก็คงจะเป็นคู่ที่จัดว่าหน้าตาดีทั้งคู่


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 12, 12:25
สภาพตลาดการค้าในเมืองในยุคใกล้เคียงกัน


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 12, 12:27
เคยดูรายการโทรทัศน์ไปเจาะลึกเรื่องตำนานมะเมี๊ย ทราบว่า มะเมี๊ยเป็นสาวมอญขายบุหรี่แบบพม่า


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.พ. 12, 14:09
ส่ง มะเมี๊ย มาเข้าประกวด อีกคนค่ะ... ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.พ. 12, 14:43
^
^
เปิ้นบ่ใจ้มะเมียะ เปิ้นเป๋นคนเจียงใหม่เน้อ

ภาพจาก ห้องภาพแม่ญิงล้านนา (http://www.sri.cmu.ac.th/~maeyinglanna/main14/main1.php)

 ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 14:59
อันนี้ภาพสาวมอญที่เมืองมะละแหม่ง สวยนะคะคนนี้ ดูตราประทับเวลาบนภาพแล้วถ่ายเมื่อปี 1998

(http://www.openbase.in.th/files/u10/talemonpic011.jpg)

http://www.openbase.in.th/node/10123


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.พ. 12, 15:00
ส่ง มะเมี๊ย มาเข้าประกวด อีกคนค่ะ... ;D

แบบนี้มอบให้คุณดีดีครับ .... "...มะเมี๊ย บ่ ยอมฮักไผ๋ มอบใจ๋ ฮื้อหนุ่มเจื้อจ้าว..."


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.พ. 12, 15:12
มะเมี๊ย เวอร์ชั่นนี้ ยังจำกันได้หรือเปล่าคะ... ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.พ. 12, 15:51
มะเมี๊ยะ เป็นเรื่องจริง หรือไม่คะ  ???
จากบทความข้างล่าง น่าจะเป็นเรื่องจริง ปนนิยาย จากจินตนาการของคุณปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ตามที่เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ หลานอา ของเจ้าน้อยศุขเกษมกล่าวถึงนะคะ
http://www.compasscm.com/issue/Feb10/module_back.asp?content=Feb10/scoop&lang=TH (http://www.compasscm.com/issue/Feb10/module_back.asp?content=Feb10/scoop&lang=TH)


"เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ กล่าวในฐานะคนในว่า “เรื่องมันไม่ได้เป็นนิยายอย่างนั้น มันไม่ได้ใหญ่โตจนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพียงแต่มันไม่เหมาะสม เพราะตามตำแหน่ง เจ้าน้อยฯ ต้องเป็นเจ้าหลวงในอนาคต หลายคนคงลำบากใจที่ได้เมียเป็นชาวพม่า และที่สำคัญ อุตส่าห์ส่งไปเรียนหนังสือ กลับได้เมียมา เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ต้องไม่พอใจ คงเหมือนสมัยนี้แหละ บางคนก็ต่อว่าเจ้าปู่เรา (เจ้าหลวงแก้วนวรัฐ) ว่าแบ่งขีดแบ่งชั้นกีดกันความรัก ความจริงอีกอย่างคือเจ้าอาว์ (เจ้าน้อยศุขเกษม) ก็รูปหล่อ เป็นลูกเจ้าอุปราชฯ ท่านก็เป็นคนสำราญตามประสาเจ้าชายหนุ่ม และตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ท่านมิได้หมกมุ่นตรอมใจจนตายอย่างนิยายว่า เรื่องเพิ่งจะมาเศร้าโศกปวดร้าวเมื่อคุณปราณี ขยายให้เป็นนิยายนี่เอง  และถ้าเรื่องนี้เป็นไปตามนั้น ไม่มีทางจะปิดชาวเชียงใหม่ได้มิดหรอก ”

“เมื่อต้นปี 2523 คุณปราณีได้เขียนหนังสือเรื่อง ผู้บุกเบิกแห่งเชียงใหม่ใกล้จะเสร็จ จึงเขียนชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่ ควบคู่กันไปด้วย คุณปราณีว่า เรื่องมะเมียะ เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นภายในคุ้มเมืองเชียงใหม่ เรื่องราวต่าง ๆ จึงรู้กันแต่ภายใน คนภายนอกไม่เคยได้เห็นหน้า หรือรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของสาวพม่าคนนั้น  เพราะอาจถูกห้ามไม่ให้พูดถึง จนกระทั่งนางถูกส่งกลับเมืองพม่า เรื่องราวต่าง ๆ จึงเงียบสงบลง ไม่มีใครพูดถึงอีกเลย คุณปราณี เล่าต่ออีกว่า เมื่อพี่ (คุณปราณีชอบให้เรียกตัวเองว่าพี่) ลงมือจะเขียนเรื่องนี้ก็ติดอยู่ที่ว่าไม่รู้ชื่อสาวพม่าคนรักของเจ้าน้อยฯ จึงจำเป็นต้องสมมติชื่อขึ้น ให้ชื่อว่ามะเมียะ ซึ่งเป็นชื่อของผู้หญิงไทใหญ่ที่พี่รู้จักดีและมีบ้านอยู่ใกล้กัน ที่ใช้ชื่อนี้เพราะจำง่ายสะดุดหู"


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 16:26
จากคำพูดของเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ท่านไม่ได้ปฏิเสธว่าเรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นค่ะ กลับยืนยันว่าเจ้าน้อยศุขเกษมมีภรรยาเป็นพม่าและเอากลับมาเชียงใหม่ด้วย แต่ตอนหลังต้องเลิกรากัน เพียงแต่ท่านอยากลดความร้อนแรงของประเด็นที่ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองไม่ ปฏิเสธเจ้าน้อยศุขเกษมไม่ได้ตรอมใจตาย และเรื่องมันไม่ได้ดราม่าขนาดนั้น

ส่วนประเด็นว่าสาวพม่าคนนั้นชื่อมะเมียะจริงหรือไม่หรือเป็นชื่อสมมติที่คุณปราณีนำมาจากผู้หญิงไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในซอยเดียวกันรึเปล่า ก็มีเค้าเป็นไปได้ค่ะ เพราะมีการตามกันไปถึงบ้านคุณปราณีและพบว่าเข้าเค้าอยู่ตามข้อมูลด้านล่าง ... มีคำอธิบายอยู่สองแบบ มะเมียะเป็นนิยายที่แต่งขึ้นล้วนๆ หรือมะเมียะเป็นชื่อสมมติที่มอบให้กับสาวพม่าที่ไม่รู้ชื่อจริงซึ่งเคยเป็นคนรักของเจ้าน้อยศุขเกษม

"มะเมียะมีจริงหรือ

ประเด็นนี้เกิดจากจดหมายจากผู้อ่านนาม เหนือฟ้า ปัญญาดี ส่งถึงบรรณาธิการหนังสือพลเมืองเหนือ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม  2548 หลังจาก อาจารย์จีริจันทร์  ประทีปะเสน ตีพิมพ์หนังสือ ชื่อมะเมียะ ได้ 1 ปี เนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึงการตามหาแม่ชีชื่อมะเมียะ ที่เมืองเมาะละแหม่ง ประเทศพม่า แต่พบเรื่องของแม่ชีด่อนางเหลี่ยน แทน

เหนือฟ้า ปัญญาดี พยายามไขปริศนานี้ โดยเขียนเล่าในจดหมายฉบับดังกล่าว ผู้เขียนใคร่ขออนุญาตนำเนื้อหาในจดหมาย (เกือบทั้งหมด) มาเล่าต่อ ขอกราบขอบพระคุณนักเขียนปริศนาท่านนี้ มา ณ ที่นี้ เนื้อความตามจดหมาย คือ...

“เมื่อต้นปี 2523 คุณปราณีได้เขียนหนังสือเรื่อง ผู้บุกเบิกแห่งเชียงใหม่ใกล้จะเสร็จ จึงเขียนชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่ ควบคู่กันไปด้วย คุณปราณีว่า เรื่องมะเมียะ เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นภายในคุ้มเมืองเชียงใหม่ เรื่องราวต่าง ๆ จึงรู้กันแต่ภายใน คนภายนอกไม่เคยได้เห็นหน้า หรือรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของสาวพม่าคนนั้น  เพราะอาจถูกห้ามไม่ให้พูดถึง จนกระทั่งนางถูกส่งกลับเมืองพม่า เรื่องราวต่าง ๆ จึงเงียบสงบลง ไม่มีใครพูดถึงอีกเลย คุณปราณี เล่าต่ออีกว่า เมื่อพี่ (คุณปราณีชอบให้เรียกตัวเองว่าพี่) ลงมือจะเขียนเรื่องนี้ก็ติดอยู่ที่ว่าไม่รู้ชื่อสาวพม่าคนรักของเจ้าน้อยฯ จึงจำเป็นต้องสมมติชื่อขึ้น ให้ชื่อว่ามะเมียะ ซึ่งเป็นชื่อของผู้หญิงไทใหญ่ที่พี่รู้จักดีและมีบ้านอยู่ใกล้กัน ที่ใช้ชื่อนี้เพราะจำง่ายสะดุดหู

จากคำพูดของคุณปราณีเมื่อยี่สิบห้าปีต่อมา มันจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่ความลับว่า ทำไมการตามหามะเมียะจึงพบทางตัน ไม่พบแม่ชีมะเมียะที่เมาะละแหม่ง กลับพบแต่แม่ชีชื่อด่อนางเหลี่ยน

ต้นตอของชื่อมะเมียะเกิดขึ้นที่ปากซอยศิริธร (ซอยนี้ชื่อเดียวกับนามสกุลคุณปราณี อยู่ติดกับวัดป่าเป้าด้านทิศตะวันตก ถนนมณีนพรัตน์ เมืองเชียงใหม่) ตรงปากซอยแต่เดิมเป็นห้องแถวเรือนไม้หลายห้อง ห้องแรกเป็นร้านซ่อมนาฬิกาถัดมาเป็นเรือนพัก ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์  สุดท้ายเป็นร้านขายผลไม้ดอง ปัจจุบันรื้อปลูกเป็นตึกแถว ห้องที่ซ่อมนาฬิกาเป็นครอบครัวชาวไทใหญ่มีอยู่ 3 คน พ่อแม่และลูกสาว พ่อชื่อส่างอ่อง แม่ชื่อแม่นางเหม่ ส่วนลูกสาวเป็นครู จำชื่อไม่ได้ ครอบครัวนี้คุณปราณีรู้จักและสนิทสนมอย่างดี จึงน่าคิดว่าว่า คุณปราณีน่าจะนำชื่อของแม่นางเหม่มาใช้ เพราะชื่อจริงของแม่นางเหม่คือ แม่นางเมียะ ส่วนคำว่า “มะ” ในภาษาพม่าคือคำนำหน้าของผู้หญิงตั้งแต่เด็กจนเป็นสาว จึงไม่แปลกที่จะเรียกตัวละครนี้ว่า นางมะเมียะ ส่วนคำว่า “ด่อ” ใช้นำหน้าชื่อ ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เช่น ด่อนางเหลี่ยน

นี่คงเป็นเบื้องลึกและเบื้องหลังอีกข้อหนึ่งที่ทำให้คนที่สนใจและนักวิชาการหลาย ๆ ท่านติดตามหามะเมียะไม่พบในเมืองเมาะละแหม่ง และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รู้ว่า อันตัวตนของมะเมียะจริง ๆ นั้นมิใช่สาวชาวพม่าที่มีหน้าตาจิ้มลิ้มพริ้มเพรา สวยงามหยดย้อยดังที่คุณปราณีได้เขียนพร่ำพรรณนาเอาไว้ กลับเป็นหญิงสาวไทใหญ่แก่ ๆ ธรรมดา ๆ คนหนึ่ง และสำหรับความรักของคนทั้งสองนั้น ในความรู้สึกของผมบอกได้ว่า มันไม่ใช่ตำนานหรือประวัติศาสตร์หน้าใดหน้าหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ ความประสงค์ของคุณปราณีที่เขียนขึ้นนั้น เป็นเพียงต้องการจะเล่าถึงความรักของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง ต่างเชื้อชาติกันและไม่สมหวัง เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้ เพิ่มเติมสีสันให้น่าอ่าน น่าติดตามก็เท่านั้น และถ้าตอนนี้คุณปราณียังมีชีวิตอยู่ จะแน่ใจกันสักแค่ไหนว่าเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายจะได้รับคำตอนที่เป็นจริงว่า มะเมียะ นั้น เป็นเพียงนางในจิตนาการที่แต่งขึ้น หรือว่ามีตัวตนจริง ๆ กันแน่”


(http://www.compasscm.com/issue_picture/Feb10/scoop5.jpg)

ก่อนจะเขียนบทความนี้จบเพียง 2 วัน ผู้เขียนได้ไปสำรวจสถานที่ตามคำของ เหนือฟ้า  ปัญญาดี ที่ซอยข้างวัดป่าเป้า ชุมชนไทใหญ่ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ พบว่า เรื่องที่ เหนือฟ้า  ปัญญาดีเขียนไว้นั้น เป็นความจริงทุกประการ อีกทั้งยังได้สอบถามคุณลุงช่างตัดผมในซอยดังกล่าว ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คุณลุงส่างอ่องช่างซ่อมนาฬิกามีภรรยาชื่อ ป้าเมียะ ลูกสาวชื่อครูเนตร สอนหนังสืออยู่ที่อำเภอสารภี โรงเรียนอะไรก็จำชื่อไม่ได้ เสียดายวันที่ผู้เขียนไปเก็บข้อมูลไม่ได้พบคุณลุงปราณี จะได้ถามให้รู้ความไปเลย (คุณลุงเธอสิ้นบุญไปแล้ว เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540)"


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 17:26
ต่อเรื่องมะเมียะนะคะ แล้วค่อยแวะไปประเด็นตามรอยมะเมียะกันอีกที เรื่องราวที่จะเล่าต่อจากที่ไปอ่านมาอาจจะดูคล้ายนิยายนะคะ เพราะผู้ที่ได้นำเรื่องราวของมะเมียะออกมาเผยแพร่ทางสื่อเป็นท่านแรกคือ นายปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์และนักประวัติศาสตร์คนสำคัญของเมืองเชียงใหม่ รูปแบบการเขียนงานของคุณปราณีคือผ่านการค้นคว้าทั้งหลักฐานข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ หลังจากนั้นก็เอามาร้อยเรียงเป็นเรื่องให้น่าอ่าน ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการแต่งเติมเรื่องราวบ้างตามเกร็ดประวัติศาสตร์ หนังสือชื่อ เพ็ชร์ล้านนา เล่ม 2 ตีพิมพ์ที่เชียงใหม่ในปี 2538 โดยคุณ ปราณี ศิริธร ณ พัทลุงค่ะ ก็จะเรียบเรียงมาทั้งในส่วนที่ประกอบข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และเนื้อหาในหนังสือของคุณปราณีไปด้วยกันนะคะ ซึ่งเรื่องของมะเมียะนี้คุณปราณีอ้างว่าได้รับการบอกเล่ามาจากเจ้าหญิงบัวชุมซึ่งเป็นชายาของเจ้าน้อยศุขเกษม และเจ้าหญิงบัวนวลซึ่งเคยเป็นคู่หมั้นของเจ้าน้อยศุขเกษมค่ะ

หลังจากที่สองหนุ่มสาวได้พบรักกันก็ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา จนกระทั่งเจ้าน้อยศุขเกษมอายุ 20 ปี เรียนจบหลักสูตรที่พม่าและต้องกลับเมืองเชียงใหม่ น่าจะอยู่ราวปี พ.ศ. 2446 จึงได้ตัดสินใจให้มะเมียะ ปลอมตัวเป็นชายติดตามขบวน เพื่อกลับไปยังเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเพื่อนหนุ่มชาวพม่า

เชียงใหม่ขณะนั้นปกครองโดยเจ้าลุงของเจ้าน้อยศุขเกษม คือเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ฯ ส่วนเจ้าพ่อของเจ้าน้อยศุขเกษมคือเจ้าแก้วนวรัฐกำลังจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอุปราชของเมืองเชียงใหม่ (ข้อมูลบอกว่าเจ้าแก้วนวรัฐได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าอุปราชในปี พ.ศ. 2447) เจ้าน้อยศุขเกษมเป็นราชบุตรคนโตของเจ้าแก้วนวรัฐที่ได้รับการวางให้เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่คนต่อไป จึงถูกจับตามองว่าตัวเจ้าน้อยศุขเกษมเองอาจจะเป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ลำดับถัดไปต่อจากเจ้าลุงและเจ้าพ่อของท่าน และการกลับมาของเจ้าน้อยศุขเกษมจากพม่าก็อยู่ในช่วงเวลาเหลื่อมกันที่บิดาของท่านอาจจะกำลังจะได้เป็นเจ้าอุปราชหรือเพิ่งได้เป็นเจ้าอุปราช ในระหว่างที่การรุกคืบเข้ามาบริหารเชียงใหม่โดยสยามผ่านระบบเทศาภิบาลกำลังเข้มข้น

เมื่อมาถึงที่บ้าน เจ้าน้อยก็ให้มะเมียะซ่อนตัวอยู่ในบ้านหลังเล็กที่เจ้าพ่อและจ้าวแม่จัดไว้ให้ เจ้าน้อยโดยหารู้ไม่ว่าเจ้าพ่อและจ้าวแม่ได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวลธิดาของเจ้าสุริยวงศ์ ให้เป็นคู่หมั้นของเจ้าน้อย ตั้งเมื่อเจ้าน้อยเดินทางไปศึกษาที่เมืองพม่า

(http://picdb.thaimisc.com/s/sanguanmaejo25/680-34.jpg)

คุ้มของเจ้าแก้วนวรัฐในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองครเชียงใหม่แล้ว (ปัจจุบันคือบริเวณของตลาดนวรัฐ) ไม่แน่ใจว่าเป็นคุ้มที่เจ้าน้อยศุขเกษมเคยพักอาศัยหรือไม่


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 17:49
(http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/pict/ID_25748_9.jpg)

รูปเจ้าบัวนวล สิโรรส เจ้าของตำนาน "แม่ยิงขี่รถถีบกางจ้อง" คู่แรกของเจียงใหม่ คู่กับเจ้าบัวผัน สิโรรส (ณ เชียงใหม่) ชายาเจ้าน้อยอินทปัตย์ สิโรรส

เจ้าบัวนวล สิโรรส เป็นธิดาคนแรกของเจ้าสุริยวงศ์ (คำตัน สิโรรส นักกวีล้านนา) กับเจ้าสุคันธา เจ้าบัวนวลเป็นผู้หญิงเก่ง ได้รับความไว้วางใจให้กำกับ บริหาร ดูแล บ่าวไพร่ และไร่นา ของเจ้าคำตันตั้งแต่เป็นเริ่มสาว และสามารถขี่ม้า ยิงปืนได้ เป็นที่พอใจของแม่เจ้าจามรี (มารดาเจ้าน้อยศุขเกษม) และแม่เจ้าจามรี (ธิดาเจ้าเรือนคำ) เองก็เป็นลูกผู้พี่ของเจ้าคำตัน (บุตรเจ้ากาวิละ) และเจ้าสุคันธา (ธิดาเจ้าสมนา) ต้องการให้เครือญาติเกี่ยวดองกัน พอเรื่องมะเมียะเกิดขึ้นทางฝ่ายเจ้าบัวนวลของถอนหมั้นจากเจ้าน้อยศุขเกษม ต่อเจ้าหญิงบัวนวลแต่งงานกับเจ้าน้อยธรรมวงษาบุตรเจ้าอุบลวรรณนา ณ เชียงใหม่

เจ้าหญิงบัวนวลท่านมีชีวิตยืนยาว 90 กว่าปี (ถึง พ.ศ.2510 กว่า) เป็นผู้ถ่ายทอดเองราวใน "เพ็ชรล้านนา" อีกคนหนึ่งกับเช่นเดียวกับ เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ (ชายาเจ้าน้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่)


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 17:55
ภาพเจ้าหญิงบัวนวลตอนเด็กๆ (หมายเลข 6.1)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7586131/K7586131-53.jpg)


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 17:58
หลังจากที่ต้องแอบซ่อนมะเมียะไว้ในบ้านหลังเล็ก ที่เจ้าพ่อและจ้าวแม่จัดเตรียมเป็นที่พักมาแล้วหลายวัน ในที่สุดเจ้าน้อยจึงตัดสินใจบอกความจริงกับเจ้าพ่อและเจ้าแม่ และเจ้าน้อยรู้ดีว่า แม้ท่านทั้งสองจะมิได้เอ่ยคำใดแต่คงไม่ยอมรับให้มะเมียะเป็นศรีสะใภ้แน่นอน เนื่องจากเจ้าน้อยได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับตำแหน่งเจ้าหลวงองค์ถัดไป หากเจ้าน้อยเลือกมะเมียะเป็นภรรยา ประชาชนย่อมอึดอัดใจในการยอมรับมะเมียะ ผู้เป็นหญิงต่างชาติมาดำรงสถานะภรรยาของเจ้าเมืองอย่างแน่นอน

สถานการณ์ในขณะนั้นน่าวิตกยิ่งเนื่องจากอังกฤษได้แผ่อิทธิพลไปทั่วเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มะเมียะเป็นคนในบังคับของอังกฤษ และอาศัยอยู่ในคุ้มของอุปราช อาจเป็นปัญหาที่ใหญ่โตทางการเมืองได้ในภายหลังในที่สุดเจ้าพ่อและเจ้าแม่จึงยื่นคำขาดให้เจ้าน้อย ส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะระแหม่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง เจ้าศุขเกษมถึงน้ำตาตลอหลังจากแน่นิ่งฟังเจ้าพ่อเจ้าแม่ ความคิดภายในสับสนบอกไม่ถูก เมื่อคิดถึงประเพณีกับความรัก พลางโพล่งออกมาว่า

"มะเมียะไม่ได้ทำร้ายใคร
ไม่ได้ลบหลู่ใครมะเมียะเป็นคนดี
ข้าเจ้ารักมะเมียะ มะเมียะเป็นหัวใจของข้าเจ้า
ข้าเจ้าเป็นหัวใจของมะเมียะ
เราเคยสาบานกันต่อหน้าพระธาตุมะระแหม่งว่า
ถ้าใครทรยศต่อรักแล้ว
ขอให้อายุสั้น
ข้าเจ้ารักมะเมียะเจ้าแม่"


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 18:14
แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่เป็นผลดั่งใจเจ้าน้อย เนื่องจากปัญหาบ้านเมืองนั้นน่าวิตกยิ่งมะเมียะได้ถูกเกลี้ยกล่อมให้กลับไปรอเจ้าน้อยที่เมืองมะระแหม่ง มิฉะนั้น บ้านเมืองอาจเดือดร้อน นางได้เอ่ยขึ้นด้วยความเสียใจ และยอมจากไป เพื่อไม่ให้คนที่ตนรักได้รับความเดือดร้อน

"มะเมียะเห็นใจเจ้าแล้ว
มะเมียะต้องจากเจ้าไป
ตลอดชีวิตของมะเมียะจะไม่ขอเป็นของใครอีก
มะเมียะจะเป็นของเจ้าคนเดียวเท่านั้น
มะเมียะมีใจเดียวรักเดียว
จะขอรอเจ้าจวบจนชีวิตดับ"

เสียงมะเมียะขาดห้วงลง เหมือนมีอะไรมาจุกอยู่ที่คอหอยมิให้พูดต่อไปอีก เจ้าศุขเกษมดึงร่างมะเมียะกระชับเข้ามาอีก แล้วคร่ำครวญเป็นภาษาพม่าอย่างชัดถ้อยชัดคำ

"สุดที่รักของฉัน ฉันเกิดมามีกรรม
เราเคยสาบานกันว่าใครทรยศต่อรักขออย่าให้อายุยืนยาว
แล้วฉันก็ต้องทำลายเธอ
ทำลายชีวิตเธอทางอ้อมขอกลับไปรอฉันที่บ้านเถิด
หากฉันมีบุญวาสนาในวันหน้า
ฉันจะไปรับเธอกลับมาอยู่เชียงใหม่จนได้
มะเมียะจ๋า ฉันจะรักเธอจนวันตาย"

แล้ววันนั้นก็มาถึง วันที่ถูกพลัดพรากจากกันจนชั่วชีวิต มันเป็นเช้าของเดือนเมษายน พ.ศ. 2446 เจ้านายข้าราชการและประชาชนรวมทั้งชาวพม่า มอญ เงี้ยว ต่องสู้ ที่ทราบข่าวการตัดสินใจเดินทางกลับเมาะละแหม่งของหมะเมียะยอดหญิงของทายาทเจ้าอุปราชผู้ยอมหลีกทางให้เพราะแรงกดดันทางการเมืองและเพื่อความสุขสวัสดิ์สถาพรและอนาคตของสามีอย่างน่าสรรเสริญต่างก็จับกลุ่มเดินมุ่งสู่ประตูหายยา ซึ่ง ณ ที่นั่นขบวนช้างอันเป็นพาหนะและคนติดตามควบคุมขบวนและเสบียงกรังได้ไปรอคอยอยู่ เสียงสนทนาพาทีของประชาชนเซ็งแซ่ล้วนแต่สงสารเอ็นดูสาวน้อยวัย 16 ปี ผู้มีกรรมจำพราก ท้าวบุญสูงผู้มีหน้าที่ไปรับตอนเดินทางมาแต่แรกต้องรับภาระนี้อีก ควบคุมลูกหาบประมาณ 20 คน รวมทั้งช้าง 3 เชือก ทุกคนรอการมาถึงของมะเมียะด้วยความกระสับกระส่ายกระวนกระวายใจ ต่างใคร่เห็นรูปโฉมโนมพรรณของสาวพม่าที่ร่ำลือกันว่างามแสนงาม (หมายเหตุ ท้าวบุญสูงเป็นพี่เลี้ยงคนสนิทของเจ้าน้อยศุขเกษม)

สักครู่ใหญ่ รถม้าของคุ้มอุปราชก็ค่อยๆชะลอมาหยุดกึกลงมะเมียะในชุดแต่งกายพม่า มีผ้าคลุมผมก้าวลงจากรถก่อน ตามติดด้วยเจ้าน้อยศุขเกษม ทั้งคู่มีหน้าตาหมองคล้ำ ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะปิดบังหรือละอายใจ ถึงแม้ประชาชนจะห้อมล้อมมุงดูอยู่รอบด้านมืดฟ้ามัวดิน

เจ้าน้อยศุขเกษมเองก็พลอยสะอื้นตื้นตันใจ คร่ำครวญสุดแสนอาดูรจนท้าวบุญสูงมาเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า ว่าถึงเวลาจะเคลื่อนขบวนเดินทาง นั่นแหละทั้งสองจึงยอมแยกจากการโอบกอดกัน

แม้จะขึ้นไปบนกูบช้างแล้วก็ตาม มะเมียะก็ขอลงมาหาเจ้าน้อยศุขเกษมอีกจนได้ เธอคุกเข่าลงกับพื้นก้มหน้าสยายผมออกเช็ดเท้าสามีด้วยความรักอาลัย เรียกน้ำตาของเจ้าน้อยศุขเกษมให้ไหลลงนองอาบสองแก้ม แล้วก็โผเข้ากอดรัดกันอีก

เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงซึ่งเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาประชาชนทั้งชายหญิง ทำให้ผู้ที่มีจิตใจไม่เข้มแข็งกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่เหมือนกัน ท้าวบุญสูงต้องอึดอัดใจอย่างยิ่ง เพราะไหนจะต้องปลอบใจมะเมียะกลับขึ้นไปบนหลังช้าง ไหนมะเมียะจะดึงดันกลับลงมาอีกเป็นหนที่สองวิ่งเข้าสู่อ้อมกอดเจ้าน้อยศุขเกษมอีก กว่าขบวนจะออกเดินทางได้ก็เลยกำหนดเวลาไปนานอีกโข

เจ้าน้อยศุขเกษมยืนเหม่อมองดูจุดเล็กๆที่ขยับเขยื้อนได้ โดยมีหมะเมียะเหลียวมองด้านหลังจากบนหลังช้างนั้นตลอดเวลาจนลับจากสายตา จึงกลับสู่คุ้ม

ประชาชนชาวเชียงใหม่ ไม่มีโอกาสได้ประสบพบเห็นความรักต่างแดนอันลงเอยด้วยความโศกสลดรันทดใจมาก่อน และไม่มีโอกาสจะพบเห็นอีกแล้วในประวัติศาสตร์ของเวียงพิงค์

(http://61.19.145.8/student/web4142/M404/404-01/images/0019.jpg)

รูปประตูหายยา


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 17 ก.พ. 12, 18:38



ขอบคุณค่ะอาจารย์ V_Mee เป็นไปได้ไหมคะว่าการทาบทามจะผ่านมาทางอังกฤษฝั่งพม่า โดยที่ทางสยามไม่รู้ เพราะอังกฤษย่อมพยายามดำเนินการในทางลับไม่ให้สยามรู้ด้วยหมายจะครอบครองเชียงใหม่เสียเอง ... คล้ายกับในตอนที่ว่าอังกฤษติดต่อมาทางพระเจ้าอินทวิชยานนท์ขอให้เมืองเชียงใหม่ไปรวมกับพม่า แล้วทางสยามก็ไม่ทราบเรื่องนี้ จนกระทั่งเจ้าดารารัศมีเอาจดหมายของท่านพ่อ เจ้าอินทวิชยานนท์ไปให้รัชกาลที่ 5 ทรงอ่าน (หรือเรื่องนี้ก็เป็นตำนาน ไม่ใช่ความจริงเหมือนกัน  ???)

ส่วนเรื่องพระกุณฑลนั้น ... ขออนุญาตแก้ไขเนื้อความก่อนหน้านี้ด้วยข้อมูลจากอาจารย์ V_Mee นะคะ
[/quote]

ที่ว่าอังกฤษพยายามดำเนินการโดยไม่ให้สยามรับรู้  ข้อนี้ไม่มีทางเป็นไปได้  เพราะในเวลานั้นพระเจ้าอินทวิชยานนท์เป็นเจ้านครเชียงใหม่แต่เพียงในนาม  ผู้ที่กุมอำนาจในเมืองเชียงใหม่ในเวลานั้นมีอยู่ ๒ คน คือ เจ้าทิพเกษรและเจ้าอุปราชบุญทะวงผู้เป็นน้องชายของพระเจ้าอินทวิชยานนท์  ซึ่งต่างก็ไม่ยอมลงให้กัน  แต่เจ้าทิพเกษรดูจะมีอำนาจมากกว่าเพราะนอกจากจะเป็นธิดาพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์แล้ว  ยังเป็นชายาพระเจ้าอินทวิชยานนท์อีกด้วย  และเมื่อเจ้าอุปราชบุญทะวงถึงอนิจกรรมไปแล้ว  อำนาจทั้งหมดก็ตกอยู่ในมือเจ้าทิพเกษรเพียงคนเดียว  เมื่อเจ้าทิพเกษรป่วยหนักพวกญาติวงศ์เจ้าเชียงใหม่จึงกีดกันมิให้มิชชันนารีอเมริกันเข้าไปตรวจรักษา  ในขณะเดียวกันก็ปรากฏความตามรายงานของกรมหลวงพิชิตปรีชากรว่า  บรรดาญาติวงศืต่างก็รอจะแย่งชิงอำนาจกัน  เมื่อเจ้าทิพเกษรถึงอสัญกรรมลง  เจ้าราชบุตร (น้อยขัติยะ - ต่อมาเป็น เจ้าราชวงศ์) บุตรชายคนใหญ่ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ที่เกิดจากชายาคนก่อนก็รวบอำนาจไว้ในมือทั้งหมด  เมื่อเจ้าราชวงศ์ (น้อยขัติยะ) ถึงอนิจกรรม  ก็มีรายงานว่า เงินค่าตอไม้และค่าอากรของแผ่นดินสูญไปกับเจ้าราชวงศ์เป็นจำนวนมาก  ต่อจากนั้นจึงเป็นสมัยที่เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ขึมามีบทบาท

กล่าวสำหรับเจ้าทิพเกษรนั้น  เป็นชายาของเจ้านครในล้านนาเพียงคนเดียวที่ได้ลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นประจำ  และเป็นผู้ที่ทรงคุ้นเคยยิ่ง  และเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงพิชิตปรีชากรเสด็จขึ้นไปจัดระเบียบปกครองเมืองเชียงใหม่เพื่อเตรียมรับรองกงสุลอังกฤษที่จะขึ้นไปประจำที่เชียงใหม่  เจ้าทิพเกษรก็ให้ความร่วมมือด้วยดี  แม้จะเจ็บหนักก็ยังปรึกษาพระเจ้าอินทวิชยานนท์ให้ช่วยกรมหลวงพิชิตปรีชากรจัดระเบียบปกครองเมืองเชียงใหม่ต่อไป  หากตัวหายป่วยแล้วก็จะรับดำเนินการปกครองตามวิธีที่กรมหลวงพิชิตปรีชากรจัดไว้ทุกประการ  นอกจากนั้นเจ้าทิพเกษรยังเป็นผู้ที่ตระหนักถึงภัยจากคดีวิวาทเรื่องสัมปทานป่าไม้ซึ่งพิพาทต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์  ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์  ดีที่ว่ารัฐบาลสยามเป็นคนกลางเข่าไกล่เกลี่ย  แม้กระนั้นพระเจ้าอินทวิชยานนท์ก็ยังต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้พ่อค้าไม้อังกฤษกว่า ๓ แสนรูเปีย  นอกจากนั้นเจ้าทืิพเกษรคงจะตระหนักถึงการที่บริษัทบอมเย์เบอร์ม่าเคยใช้อุบายเรื่องสัมปทานป่าไม้เป็นเหตุวิวาทกับพระเจ้าธีบอ  จนพม่าต้องเสียดินแดนพม่าใต้ให้อังกฤษและสูญเสียเอกราชให้แก่อังกฤษในช่วงที่มีข่าวลือเรื่องควีนวิคตอเรียจะมาขอพระราชชายาฯ ไปเป็นธิดาบุญธรรม  ข้อที่น่าคิดอีกเรื่องคือเวลานั้นอังกฤษกำลังรบติดพันกับพม่ายังไม่ได้พม่าเหนือ  แล้วอังกฤษจะมีใจมาติดต่อขอพระราชชายาฯ เชียวหรือ? 


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 18:51
^
^

ข้อมูลแน่นปึ้ก ... ขอบคุณมากค่ะคุณ V_Mee ที่มาไขข้อสงสัยจนกระจ่าง

เจ้าทิพเกษรนี่ฟังดูเป็นผู้หญิงแกร่งมากเลยนะคะ ... เห็นข้อมูลและสถานการณ์แวดล้อมตามที่คุณ V_Mee นำมาเสนอแบบนี้น่าจะสรุปได้อย่างแน่นหนาว่าเรื่องควีนวิคตอเรียมาขอเจ้าดารารัศมีไปเป็นธิดาบุญธรรมนั้น เห็นจะเป็นเรื่องเล่าลือมากกว่าเรื่องจริง ขอบคุณอีกครั้งค่ะ :D :D :D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 17 ก.พ. 12, 19:00
ขออนุญาตอธิบายเรื่องการสืบทอดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครในหัวเมืองประเทศราชล้านนาครับ

การสืบทอดตำแหน่งเจ้านครนั้นปกติจะเลื่อนขึ้นไปจากผู้ดำรงตำแหน่งอุปราช  แต่ถ้าไม่มีตัวเจ้าอุปราช  เจ้าราชวงศ์  หรือเจ้าราชบุตร หรือเจ้าบุรีรัตน จึงจะได้เลื่อนขึ้นครองตำแหน่งเจ้านครไปตามลำดับ  คือถ้าไม่มีตัวเจ้าอุปราชและราชวงศ์จึงจะไปถึงคิวของเจ้าราชบุตร  หากศึกาาการสืบทอดตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองล้านนาจึงมักจะเป็นการสืบทอดจากพี่ไปน้อง  หรือจากอาไปหลาน  เพิ่งจะมามีการสืบทอดจากพ่อสู่ลูกก็ในระยะหลังๆ เช่น จากพระเจ้าอินทวิชยานนท์ไปยังเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์  เจ้านรนันทไชยชวลิตไปเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต  แต่เมื่อถึงคราวถัดจากนั้นกกลับเป็นจากพี่สู่น้อง คือ จากเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ไปเจ้าแก้วนวรัฐฯ  มีที่ประหลาดก็คือที่เมืองลำปาง  เมื่อเจ้าบุญวาทย์ถึงพิราลัย  ผู้ที่ขึ้นเป็นผู้รั้งเจ้านครลำปางกลับเป็นเข้าราชบุตร (น้อยแก้วเมืองพวน) ซึ่งเป็นบุตรเขยของเจ้าบุญวาทย์  ที่ว่าประหลาดก็คือเวลานั้น เจ้าราชวงศ์ (น้อยแก้วภาพเมรุ) ยังมีชีวิตอยู่แต่ทำไมจึงถูกข้ามไป  ข้อนี้ยังไม่ทราบคำตอบที่แน่ชัด

ที่ว่าเจ้าน้อยศุขเกษมจะได้รับตำแหน่งเจ้านครเชียงใหม่ต่อไปนั้น  หากเรียงลำดับบรรดาศักดิ์แล้ว เจ้าอุตรการโกศล จัดว่าเป็นเจ้าตำแหน่งชั้นที่ ๓ รองลงไปจากเจ้าในขันธ์ทั้ง ๕ ซึ่งประกอบไปด้วย เจ้านคร  เจ้าอุปราช  เจ้าราชวงศ์  เจ้าราชบุตร  เจ้าบุรีรัตน  ลำดับถัดลงมาจึงเป็น "เจ้าราช" อันประกอบด้วย เจ้าราชภาคิไนย  เจ้าราชสัมพันธวงศ์ และเจ้าราชภาติกวงษ์  ถัดลงไปจึงเจ้าลำดับที่สาม  มีเจ้าอุตรการโกศล  เจ้าประพันธพงษ์  เจ้าทักษิณนิเกต  เจ้านิเวศน์อุดร  ฯลฯ  

เมื่อเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ถึงอสัญกรรมนั้น เจ้าอุปราชแก้ว ได้เลื่อนเป็นเจ้แก้วนวรัฐฯ  ในขณะเดียวกันเจ้าน้อยเลาแก้วบุตรชายของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ก็ได้เป็นเจ้าราชบุตร  มีลำดับศักดิ์เหนือกว่าเจ้าอุตรการโกศล  เมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมถึงแก่กรรมไปแล้ว  และเจ้าราชบุตร (น้อยเลาแก้ว) ได้เลื่อนเป็นเจ้าราชวงศ์  เจ้าราชสัมพันธวงษ์ (วงษ์ตวัน) ผู้เป็นน้องเจ้าอุตรการโกศล (น้อยศุขเกษม) จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าราชบุตรแทน


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 19:11
การผนวกล้านนาเข้ากับสยามอย่างละมุนละม่อมนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เรื่องราวระหว่างรัชกาลที่ 5 และเจ้าดารารัศมี (ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าน้อยศุขเกษม)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/c/c6/DARARAT_2.jpg/246px-DARARAT_2.jpg)

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าหญิงดารารัศมี" พระนามลำลองเรียกกันในหมู่พระประยูรญาติว่า "เจ้าอึ่ง" ประสูติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 เป็นพระราชธิดาใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์ กับ แม่เจ้าเทพไกรสรพระมหาเทวี ซึ่งแม่เจ้าเทพไกรสรนั้นทรงเป็นพระราชธิดาใน พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และพระมหาเทวี เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงดารารัศมีทรงพระอักษรทั้งฝ่ายล้านนา สยาม และภาษาอังกฤษ จนแตกฉาน ทั้งยังได้ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆจนนับได้ว่าทรงเป็นผู้รอบรู้ในด้านขนบประเพณีอันเก่าแก่เหล่านั้น

ในช่วงเลานั้นอังกฤษได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครอง พม่าแล้ว อังกฤษได้พยายามขยายอิทธิพลเข้ามายังนครเชียงใหม่และอาณาจักรหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดย สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ส่งราชทูตมาทูลขอ เจ้าหญิงดารารัศมี ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม ในเวลานั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีรับสั่งกราบทูลตอบกลับไปว่าอย่างไร โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระองค์นั้นได้พระราชทานเงื่อนไขว่า หากยกเจ้าหญิงดารารัศมีให้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระนางเจ้าฯ แล้วไซร้ เจ้าหญิงดารารัศมีจะได้ทรงครองพระอิสริยยศในทางราชการเป็นภาษาอังกฤษว่า "Princess Of Siam" เทียบเท่ากับพระราชโอรส-พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามทุกประการและเวียงพิงค์เชียงใหม่จะได้มีอำนาจมากกว่าเดิมอีกด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลว่า หากเจ้าหญิงดารารัศมีได้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งอังกฤษแล้ว นครเชียงใหม่อาจจะต้องกลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษไป เนื่องจากในสมัยนั้นมีการล่าอาณานิคมเป็นเมืองขึ้นตามประเทศต่างๆ แม้ว่าจะเป็นข้อเสนอที่ดูผิวเผินเพียงแค่เจรจาไมตรี หากมองดูลงไปให้ลึกซึ้งอังกฤษต้องการนครเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง (พม่า แล รัฐฉานหรือ เมิงไต นั่นเอง)

อย่างไรก็ตาม ความดังกล่าวได้ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2426 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (เวลานั้นดำรงตำแหน่งเทียบได้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในภาคพายัพ) ได้อัญเชิญพระกุณฑล (ตุ้มหู) และพระธำมรงค์เพชร ไปพระราชทานเป็นของเฉลิมพระขวัญแก่เจ้าหญิงดารารัศมี นัยว่าเป็นของทรงหมั้นนั่นเอง รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ฯ พระราชทานเจ้าหญิงดารารัศมีตามแบบอย่างเจ้านายใน "พระบรมราชจักรีวงศ์" เป็นกรณีพิเศษ

ในปี 2429 นั้น พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้เสด็จลงมายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมในพระราชพิธีลงสรง และสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร เจ้าหญิงดารารัศมีได้โดยเสด็จพระราชบิดาลงมากรุงเทพฯ ในครั้งนี้ด้วย และได้รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม ตำแหน่งพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เลยประทับอยู่ ณ กรุงเทพพระมหานครนับแต่นั้นมา


ข้อมูลจากส่วนที่เป็นสีแดงเป็นข้อมูลที่เชื่อว่าได้รับการบอกกล่าวแบบคลาดเคลื่อน กรุณาอ่านคำอธิบายเพิ่มเติมจากคุณ V_Mee ในหน้า 2 และ 4 นะคะ


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 17 ก.พ. 12, 19:16
ขออนุญาตอธิบายเรื่องการสืบทอดตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครในหัวเมืองประเทศราชล้านนาครับ

การสืบทอดตำแหน่งเจ้านครนั้นปกติจะเลื่อนขึ้นไปจากผู้ดำรงตำแหน่งอุปราช  แต่ถ้าไม่มีตัวเจ้าอุปราช  เจ้าราชวงศ์  หรือเจ้าราชบุตร หรือเจ้าบุรีรัตน จึงจะได้เลื่อนขึ้นครองตำแหน่งเจ้านครไปตามลำดับ  คือถ้าไม่มีตัวเจ้าอุปราชและราชวงศ์จึงจะไปถึงคิวของเจ้าราชบุตร  หากศึกาาการสืบทอดตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองล้านนาจึงมักจะเป็นการสืบทอดจากพี่ไปน้อง  หรือจากอาไปหลาน  เพิ่งจะมามีการสืบทอดจากพ่อสู่ลูกก็ในระยะหลังๆ เช่น จากพระเจ้าอินทวิชยานนท์ไปยังเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์  เจ้านรนันทไชยชวลิตไปเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต  แต่เมื่อถึงคราวถัดจากนั้นกกลับเป็นจากพี่สู่น้อง คือ จากเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ไปเจ้าแก้วนวรัฐฯ  มีที่ประหลาดก็คือที่เมืองลำปาง  เมื่อเจ้าบุญวาทย์ถึงพิราลัย  ผู้ที่ขึ้นเป็นผู้รั้งเจ้านครลำปางกลับเป็นเข้าราชบุตร (น้อยแก้วเมืองพวน) ซึ่งเป็นบุตรเขยของเจ้าบุญวาทย์  ที่ว่าประหลาดก็คือเวลานั้น เจ้าราชวงศ์ (น้อยแก้วภาพเมรุ) ยังมีชีวิตอยู่แต่ทำไมจึงถูกข้ามไป  ข้อนี้ยังไม่ทราบคำตอบที่แน่ชัด

ที่ว่าเจ้าน้อยศุขเกษมจะได้รับตำแหน่งเจ้านครเชียงใหม่ต่อไปนั้น  หากเรียงลำดับบรรดาศักดิ์แล้ว เจ้าอุตรการโกศล จัดว่าเป็นเจ้าตำแหน่งชั้นที่ ๓ รองลงไปจากเจ้าในขันธ์ทั้ง ๕ ซึ่งประกอบไปด้วย เจ้านคร  เจ้าอุปราช  เจ้าราชวงศ์  เจ้าราชบุตร  เจ้าบุรีรัตน  ลำดับถัดลงมาจึงเป็น "เจ้าราช" อันประกอบด้วย เจ้าราชภาคิไนย  เจ้าราชสัมพันธวงศ์ และเจ้าราชภาติกวงษ์  ถัดลงไปจึงเจ้าลำดับที่สาม  มีเจ้าอุตรการโกศล  เจ้าประพันธพงษ์  เจ้าทักษิณนิเกต  เจ้านิเวศน์อุดร  ฯลฯ  

เมื่อเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ถึงอสัญกรรมนั้น เจ้าอุปราชแก้ว ได้เลื่อนเป็นเจ้แก้วนวรัฐฯ  ในขณะเดียวกันเจ้าน้อยเลาแก้วบุตรชายของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ก็ได้เป็นเจ้าราชบุตร  มีลำดับศักดิ์เหนือกว่าเจ้าอุตรการโกศล  เมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมถึงแก่กรรมไปแล้ว  และเจ้าราชบุตร (น้อยเลาแก้ว) ได้เลื่อนเป็นเจ้าราชวงศ์  เจ้าราชสัมพันธวงษ์ (วงษ์ตวัน) ผู้เป็นน้องเจ้าอุตรการโกศล (น้อยศุขเกษม) จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าราชบุตรแทน

ขอบคุณมากค่ะคุณ V_Mee ได้ผู้รู้มาให้ข้อคิดเห็นแบบนี้ดีจังเลยค่ะ


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.พ. 12, 20:41
ใครสะกด มะเมี๊ยะ  ครูเพ็ญชมพูจะไม่ให้ผ่านด่านไปได้เด็ดขาด

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2403.msg100448;topicseen#msg100448


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.พ. 12, 21:17
คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B0) เรียก "นางสาวมะเมียะ" ให้ผ่านดีไหมหนอ

ในคำเรียกชื่อภาษาพม่านั้น สำหรับผู้หญิงมีคำนำหน้าบ่งบอกถึงสถานะอยู่ ๒ คำคือ มะ และ ดอ

มะ หมายถึงเด็กหญิงจนถึงสาวรุ่น  ส่วน ดอ หมายถึง สาวใหญ่

มะเมียะจึงหมายถึง สาวที่ชื่อเมียะ


"นางสาวมะเมียะ"

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/8/81/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B0.jpg/414px-%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B0.jpg)

คุณวิกกี้ส่งเข้าประกวด

 ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.พ. 12, 06:30
คำว่า "น้อย" ในชื่อเจ้าน้อยศุขเกษม ก็เป็นคำนำหน้าบ่งบอกถึงสถานะเช่นกัน

ลูกเจ้านครเป็น "เจ้า" ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง  คงเรียก "เจ้า" เหมือนกันหมด
แต่ถ้าเป็นชายที่เคยบวชเณร  ก็จะเรียก เจ้าน้อยแล้วต่อด้วยชื่อ  เช่น เจ้าน้อยเลาแก้ว
ถ้าเคยบวชเป็นพระก็จะเรียกเจ้าหนานแล้วต่อด้วยชื่อ  เช่น เจ้าหนานบุญทวง
ถ้าเจ้าผู้ชายไม่มีคำว่า น้อยหรือหนาน แสดงว่าผู้นั้นไม่เคยบวชเรียน  เจ้าแก้ว หรือเจ้าแก้วนวรัฐฯ
คำว่าน้อยใช้เรียกคนที่เคยบวชเณร  หนานคือผู้ที่เคยบวชพระ  ตรงกับ "ทิด" ในภาคกลาง

 ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.พ. 12, 11:23
สาวพม่าขายบุหรี่ แบบนี้งามแท้ ๆ

ภาพจาก Among Pagodas and Fare Ladies


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 13:45
คำว่า "น้อย" ในชื่อเจ้าน้อยศุขเกษม ก็เป็นคำนำหน้าบ่งบอกถึงสถานะเช่นกัน

ลูกเจ้านครเป็น "เจ้า" ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง  คงเรียก "เจ้า" เหมือนกันหมด
แต่ถ้าเป็นชายที่เคยบวชเณร  ก็จะเรียก เจ้าน้อยแล้วต่อด้วยชื่อ  เช่น เจ้าน้อยเลาแก้ว
ถ้าเคยบวชเป็นพระก็จะเรียกเจ้าหนานแล้วต่อด้วยชื่อ  เช่น เจ้าหนานบุญทวง
ถ้าเจ้าผู้ชายไม่มีคำว่า น้อยหรือหนาน แสดงว่าผู้นั้นไม่เคยบวชเรียน  เจ้าแก้ว หรือเจ้าแก้วนวรัฐฯ
คำว่าน้อยใช้เรียกคนที่เคยบวชเณร  หนานคือผู้ที่เคยบวชพระ  ตรงกับ "ทิด" ในภาคกลาง

 ;D

ความรู้ใหม่อีกแล้ว ขอบคุณค่ะ


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 13:47
คุณ Siamese มีรูปสวยๆ เยอะเลยนะคะ ปลื้มมาตั้งแต่รูปตลาดที่พม่าที่เอามาลงให้ก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้ได้อรรถรสมากๆ เวลาจินตนาการประกอบเรื่อง  ;D ;D ;D ;D ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 13:55
ต่อเรื่องเจ้าน้อยกับมะเมียะให้จบนะคะ...

เมื่อกลับไปถึงเมืองมะระแหม่งแล้ว มะเมียะได้แต่เฝ้ารอคอยเจ้าน้อย จนครบกำหนดเดือนที่ท่านได้รับปากไว้แต่กลับไร้วี่แววใดๆ มะเมียะ จึงตัดสินใจเข้าพึ่งร่มพุทธจักร ครองตนเป็นชี เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่านางยังซื่อสัตย์ต่อความรัก ที่มีต่อเจ้าน้อยศุขเกษม

หลังจากที่มะเมียะ ทราบข่าวการเข้าพิธีมงคลสมรส ระหว่างเจ้าน้อย กับ เจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่ และขอพบเจ้าน้อยเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงความยินดีกับชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์องค์อดีตสวามีผู้เป็นที่รัก ก่อนที่จะตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชีไปตลอดชีวิต

แต่เจ้าน้อยศุขเกษม ไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อมะเมียะได้ จึงไม่ยอมลงไปพบแม่ชีมะเมียะตามคำขอร้องเพียงแต่มอบหมายให้เจ้าบุญสูงพี่เลี้ยงคนสนิท นำเงินจำนวน 80 บาทไปมอบให้แก่แม่ชีมะเมียะ (หมายเหตุ บางแหล่งก็บอก 800 บาท บางแหล่งบอกว่าตอนมะเมียะมาหายังไม่ได้บวชชี บางแห่งบอกเป็นแม่ชีแล้ว) เพื่อใช้ในการทำบุญ พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่ง เป็นตัวแทนของเจ้าน้อย ให้ไปกับแม่ชีมะเมียะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มะเมียะและเจ้าน้อย ต่างสะเทือนใจเป็นที่สุด

(http://i493.photobucket.com/albums/rr298/bluemoon054/2.jpg)

เจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่และเจ้าน้อยศุขเกษม


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 14:03
หลังจากเดินทางถึงเมืองมะระแหม่งมะเมียะได้ครองชีวิตเป็นแม่ชีตามความตั้งใจจนกระทั่งถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. 2505 รวมอายุได้ 75 ปี

ส่วนเจ้าน้อยศุขเกษมได้รับราชการ เป็นรองอมาตย์โท ร้อยตรี เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม) ส่วนชีวิตสมรสของเจ้าน้อยก็ไม่มีความสุขต้องแยกทางกันกับ เจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ เจ้าศุขเกษมติดสุราอย่างแรง
จนกระทั่ง...ตรอมใจวายชนม์ เมื่ออายุได้ 33 ปี

หมายเหตุ

- ตามเอกสารที่ออกจากศาลาว่าการมหาดไทย เมื่อวันที่ 26 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2456 บันทึกไว้ว่า “เจ้าอุตรการโกศล (น้อยศุขเกษม) กรรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่ได้ป่วยเป็นโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรังมาช้านาน ได้ถึงแก่กรรมเสียเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2456 นี้แล้ว อายุได้ 33 ปี”

- เจ้าวงศ์สักก์  ณ เชียงใหม่ (มีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าน้อยศุขเกษม) กล่าวในฐานะคนในว่า “เรื่องมันไม่ได้เป็นนิยายอย่างนั้น มันไม่ได้ใหญ่โตจนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพียงแต่มันไม่เหมาะสม เพราะตามตำแหน่ง เจ้าน้อยฯ ต้องเป็นเจ้าหลวงในอนาคต หลายคนคงลำบากใจที่ได้เมียเป็นชาวพม่า และที่สำคัญ อุตส่าห์ส่งไปเรียนหนังสือ กลับได้เมียมา  เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ต้องไม่พอใจ คงเหมือนสมัยนี้แหละ บางคนก็ต่อว่าเจ้าปู่เรา (เจ้าหลวงแก้วนวรัฐ) ว่าแบ่งขีดแบ่งชั้นกีดกันความรัก ความจริงอีกอย่างคือเจ้าอาว์ (เจ้าน้อยศุขเกษม) ก็รูปหล่อ เป็นลูกเจ้าอุปราชฯ  ท่านก็เป็นคนสำราญตามประสาเจ้าชายหนุ่ม และตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ท่านมิได้หมกมุ่นตรอมใจจนตายอย่างนิยายว่า เรื่องเพิ่งจะมาเศร้าโศกปวดร้าวเมื่อคุณปราณี ขยายให้เป็นนิยายนี่เอง และถ้าเรื่องนี้เป็นไปตามนั้น ไม่มีทางจะปิดชาวเชียงใหม่ได้มิดหรอก”


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 14:08
หลังจากนั้นก็มีเสียงเล่าลือกันว่ามีการนำอัฐิของมะเมียะมาเก็บไว้ที่วัดสวนดอก ในประเด็นนี้มีคำชี้แจงว่า ...

ทายาทเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 9 มีถึงบรรณาธิการหนังสือ พลเมืองเหนือ อีกเช่นกัน เรื่อง การตีพิมพ์บทความชื่อ กู่มะเมียอยู่ที่ใด  ผู้เขียนขอสรุปความมาเล่าต่อ ดังนี้

“...กล่าวคือมีผู้เขียนบทความว่า ณ บริเวณกู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอก มีกู่อยู่องค์หนึ่งศิลปะการก่อสร้างต่างไปจากกู่องค์อื่น คือมีรูปแบบอย่างพม่า ทำให้ผู้คนที่พบเห็นเข้าใจว่านี่คือกู่อัฐิของมะเมียะ ต่อข้อสงสัยนี้ ทางทายาทของเจ้าแก้วนวรัฐ จึงทำหนังสือชี้แจงว่า การนำพระอัฐิและอัฐิของผู้ใดไปประดิษฐานในบริเวณกู่แห่งนี้ นับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ดูแลรับผิดชอบ 2 ฝ่ายคือ (หนึ่ง) ฝ่ายสายตระกูล ณ เชียงใหม่ มีผู้ดูแลรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง (สอง) ฝ่ายวัดสวนดอก โดยความเห็นชอบของเจ้าอาวาส จะถือหลักปฏิบัติว่าต้องเป็นอัฐิบุคคลที่เป็นลูกหลานและเครือญาติของเจ้าหลวง  และทั้งสองฝ่ายไม่เคยอนุญาตให้มีการนำอัฐิของบุคคลภายนอกเข้าไปไว้เลย แม้กระทั่งบุคคลใกล้ชิด เช่น หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ ชายาเจ้าแก้วนวรัฐ หรือคุณหญิงหม่อมศรีนวล  ณ เชียงใหม่ ต้องนำไปบรรจุไว้ ณ ที่แห่งอื่น จึงไม่เคยปรากฏหลักฐานว่า มีการนำอัฐิของมะเมียะมาไว้ในบริเวณกู่ดังกล่าว

และกู่ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นของมะเมียะนั้นทางคณะทายาทเจ้าแก้วนวรัฐได้ขออนุญาตกรมศิลปากรดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายในกู่ เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.2547 พบว่าเป็นกู่บรรจุอัฐิของเจ้าแม่ทิพโสม ธิดาของเจ้าราชบุตรธนันชัย โอรสในเจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าหลวงองค์ที่ 4...”

(http://www.bloggang.com/data/met/picture/1213691389.jpg)

กู่เจ้านายฝ่ายเหนือที่วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 14:24
เสริมด้วยประวัติของเจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ น่าสนใจค่ะ

เจ้าหญิงบัวชุม หรือ เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ เป็นธิดาองค์น้อยในจำนวน 9 คน ของเจ้าดวงทิพย์ ซึ่งเป็นราชบุตรองค์ที่ 10 ของเจ้าราชวงศ์ มหาพราหมณ์คำคง และเป็นอนุชาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 เจ้าบัวชุมเป็นลูกผู้พี่ผู้น้องของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี

เจ้าบัวชุมได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตอยู่ในพระบรมมหาราชวังตั้งแต่เยาว์วัย ใน พ.ศ. 2436 หลังจากที่เจ้าดารารัศมีเข้าถวายตัวเป็นพระสนมชั้นเจ้าจอมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ 7 ปี เจ้าบัวชุมได้ติดตามขบวนเจ้านายผู้ใหญ่อันมี พระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เดินทางลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รายงานข้าราชการต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคณะผู้ติดตามนอกจากเจ้าบัวชุม ก็มี เจ้าอุตรการโกศล (เจ้าน้อยศุขเกษม) เจ้ามหาวงศ์ เจ้าราชบุตร (คำตื้อ) เจ้าบุรีรันต์ (น้อยแก้ว) พระญาพิทักษ์เทวี (น้อยบุญทา) พระพี่เลี้ยงของเจ้าดารารัศมี การลงไปกรุงเทพฯครั้งนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของเจ้าดารารัศมีที่ต้องการจะอุปการะชุบเลี้ยงนั่นเอง

ขบวนเรือของเจ้าหลวงครั้งนั้นมีประมาณ 10 ลำ เดินทางโดยไม่รีบร้อน ใช้เวลากว่า 20 วันถึงกรุงเทพฯ เมื่อถึงกรุงเทพฯ ขบวนเรือเข้าจอดเทียบท่าที่วังหลัง และเจ้าหลวง พร้อมด้วยผู้ติดตามก็พักที่วังหลังนั่นเอง ขณะนั้นเรียกติดปากกันว่า วังเจ้าลาว เพราะได้จัดให้เป็นที่พักของเจ้าผู้ครองนครอื่นๆก่อนหน้านี้คติดต่อกันมา

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเฝ้าพระราชชายา เจ้าดารารัศมีไต่ถามสาระทุกข์สุขดิบ ตามประสาพ่อลูก และได้เฝ้ารายงานข้อราชการแต่อพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระราชชายาก็ได้เสด็จไปเยี่ยมเจ้าพ่อที่วังหลัง เป็นการตอบแทน พร้อมกับเปิดโอกาสให้เจ้านายฝ่ายเหนือที่ตามขบวนเสด็จได้เข้าเฝ้า ขากลับ เจ้าบัวชุม วัย 7 ขวบจึงได้แยกกับขบวนเจ้าหลวง ตามเสด็จพระราชชายาเข้ามาอยู่ในวังหลวงด้วยตั้งแต่บัดนั้น

พระราชชายาทรงมอบหมายให้เจ้าบัวชุมอยู่ในความดูแลของครูช้อย ครูสอนภาษาไทยให้แก่พวกเจ้าเมืองเหนือ นอกจากเรียนหนังสือ และภาษาพูดกับครูช้อย ยังมีครูผิว ให้มีความรู้ฝึกสอนดนตรีไทยให้อีกด้วย เจ้าบัวชุมมีพรสวรรค์ ในทางดนตรีทำให้พระราชชายาเห็นแววก้าวหน้าจึงส่งเสริมให้เรียนดนตรีสากลกับแหม่มชาวยุโรป ชื่อ แบลล่า เพิ่มจากการเล่นดนตรีไทยทุกวันเจ้าบัวชุมต้องนั่งรถม้าไปเรียนเปียโนที่บ้านพักครูแหม่ม ถนนสุรวงศ์ โดยมีนางกำนัลของพระราชชายาไปเป็นเพื่อน จนกระทั่งมีความชำนาญ โอกาสเดียวกันเจ้าบัวชุมก็ได้เรียนออแกนจาก ครูแปลก ประสานทรัพย์ เพราะออแกนนั้นบรรเลงเข้ากับเพลงไทยได้ ส่วนเปียโนบรรเลงกับเพลงสากลได้ ครูแปลกยังสอนการขับร้องให้เจ้าบัวชุมจนร้องอยู่ในขั้นดีพอใช้

หลายปีในพระบรมหาราชวังผ่านไป พร้อมกับเจ้าบัวชุมได้เติบใหญ่เป็นสาวแรกรุ่น มีทั้งความสวยงามละมุนละม่อม กริยามารยาทอ่อนช้อย แถมมีความสามารถทางดนตรีชนิดอวดใครๆได้ ความสาว ความสวย และความเก่ง ของเจ้าบัวชุมไม่พ้นสายตาของเจ้านายผู้ชายที่หนุ่มและไม่หนุ่มที่ได้พบเห็น เริ่มต้นด้วย พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ต่อมาทรงกรมเป็น พลเรือเอกกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงพอพระทัยฝีมือการดนตรีและความสวยของเจ้าหญิงชาวเหนือวัย 15 ปี ถึงกับทาบทามกับพระราชชายาทูลขอเอาเป็นหม่อม แต่พระราชชายาทรงรู้ว่าเจ้านายผู้นี้มากมายไปด้วยหม่อมอยู่แล้ว และอีกอย่างหนึ่งทรงปราถนาที่จะสร้างกุลสตรีเมืองเชียงใหม่ผู้นี้ให้เหมาะสมกับเจ้านายพระญาติพระวงศ์ชาวเหนือของพระองค์มากกว่า จึงทรงปฏิเสธไปอย่างนุ่มนวลอ้างเอาความเยาว์วัยของเจ้าบัวชุมเป็นข้อขัดข้องทำให้เจ้านายองค์นี้ผิดหวังมาก

20 ปีให้หลัง เมื่อเจ้าบัวชุมอายุได้ 35 ปีแล้ว เจ้าบัวชุมได้สอนเปียโนให้หม่อมเจ้าหญิงจารุพัตรที่วังกรมหลวงชุมพร เสด็จในกรมก็ยังไม่ทรงลืมความหลัง รับสั่งกระเซ้าเย้าหยอกเอาตรงๆว่า " เมื่อก่อนนี้เธอสวยมาก ฉันอยากได้เธอมาเป็นหม่อมของฉันจริงๆ เสียดายว่าฉันมีหม่อมมากไปเลยไม่อยากเอาชนะเธอ ไม่อย่างนั้นเธอจะต้องมาเป็นหม่อมของฉันจริงๆ" ไม่เพียงแต่กรมหลวงชุมพรเท่านั้นที่อยากได้เจ้าบัวชุมมาเป็นหม่อม แม้แต่สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็เคยสู่ขอเจ้าบัวชุมต่อพระราชชายา แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากพระราชชายาว่า เจ้าหญิงมีคู่หมั้นแล้วกับทายาทเจ้าแก้วนวรัฐ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีวี่แววอะไรเลย

เจ้านายองค์ที่สามที่เข้ามาขอเจ้าบัวชุมคือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช กฤดากร แต่พระราชชายากลับเสนอเจ้าทิพวันให้แทน และในที่สุดก็ได้เสกสมรสกับเจ้าทิพวัน

เมื่อเจ้าหลวงอินทวโรรส สุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระราชชายา เดินทางไปทูลละอองธุลีพระบาทพระเจ้าอยู่หัว ได้นำเจ้าหลานชายราชบุตรของเจ้าแก้วนวรัฐชือ เจ้าศุขเกษม ลงไปด้วย พระราชชายาทรงจัดงานเลี้ยงต้อนรับอย่างเอิกเกริกที่พระตำหนักในวังหลวง มีการบรรเลงดนตรีด้วย เจ้าน้อยศุขเกษมจึงได้พบกับ เจ้าบัวชุม

เจ้าน้อยศุขเกษม เป็นโอรสของอุปราชเจ้าแก้วนวรัฐ เคยไปเรียนหนังสือที่เมือง มะละแหม่งประเทศพม่านาน ถึง 5 ปี เจ้าน้อยศุขเกษมมีหน้าตาคมคายสมชายชาตรี เป็นที่พอพระทัยของพระราชชายา เจ้าน้อยศุขเกษมในฐานะราชบุตรของเจ้าแก้วนวรัฐ ได้เดินทางมากรุงเทพฯอีกครั้ง เพื่อรับพระราชทานยศทหารเป็น นายร้อยตรี รับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คราวนี้การสู่ขอก็ได้เกิดขึ้นด้วยความยินยอมเห็นชอบของผู้ใหญ่

เมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมกับเจ้าบัวชุมแต่งงานกันแล้วก็พากันไปพำนักอยู่ที่บ้านซึ่งพระราชชายาซื้อประทานให้ที่สามเสน หลังแต่งงานได้ 6 เดือน พระราชชายาจึงมีรับสั่งให้เจ้าแก้วนวรัฐไปรับผัวเมียคู่นี้มาอยู่ที่เชียงใหม่ แต่ระหว่างการรอคอยการกลับนั้น ร้อยตรีศุขเกษมซึ่งมีราชการจะต้องเป็นองค์รักษ์เจ้านายผู้บังคับบัญชาขึ้นมาราชการเมืองเหนือ พระราชชายาจึงรับสั่งให้เจ้าบัวชุมกลับเข้าไปอยู่ตำหนักของพระองค์เป็นการชั่วคราว

เจ้าน้อยศุขเกษมอยู่เชียงใหม่ได้ประมาณ 1 ปีจึงลงไปรับเจ้าบัวชุมมาอยู่ด้วย ครองรักกันหวานชื่นราบรื่นดีได้เพียง 7 ปีเศษ เจ้าศุขเกษมก็ถูกพญามัจจุราชมาพรากชีวิตไปอย่างไม่มีวันกลับ ที้งที่อายุเพียง 33 ปี เจ้าบัวชุมจึงต้องเป็นหม้ายตั้งแต่ยังสาว เจ้าบัวชุมเป็นหม้ายอยู่เจ็ดปีเต็มๆ มีผู้ชายมาหมายปองมากมายแต่ในที่สุดโดยความยินยอมเห็นชอบของพระราชชายา เจ้าดารารัศมีผู้เป็นเสมือนร่มไทรอันยิ่งใหญ่เจ้าบัวชุมจึงเข้าพิธีสมรสกับเจ้าไชยวรเชษฐ์ (มงคงสวัสดิ์ ณ เชียงใหม่)

ชีวิตสมรสเจ้าบัวชุมครั้งที่สองนี้ไม่ราบรื่น อยู่กันเพียง 3 ปีก็หย่าร้างกัน ตอนนั้นพระราชชายาได้เสด็จกลับไปประทับถาวรที่นครเชียงใหม่แล้ว เมื่อหย่าขาดจากสามีแล้วก็กลับไปอยู่กับพระราชชายาอีกครั้ง ครั้งนี้นานถึง 18 ปี จนกระทั่งพระราชชายาสิ้นพระชมน์

เจ้าหญิงบัวชุมจึงเจ้านายฝ่ายเหนือที่เป็นนางข้าหลวงรับใช้ไกล้ชิดพระราชชายา เจ้าดารารัศมีจนตลอดชีวิต


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 14:38
ตามหามะเมียะ


เมื่อวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2545 ที่ผ่านมา นักวิชาการชาวเชียงใหม่ท่านหนึ่งซึ่งสนใจเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมและสาวมะเมีย ได้ไปเยือนเมืองเมาะละแหม่ง เธอ คือ รศ.จีริจันทร์ ประทีปะเสน

เส้นทางที่ปิดระหว่างเมียวดีกับเมาะละแหม่งทำให้คนไทยที่สนใจจะไปเยือนเมาะละแหม่งต้องบินจากฝั่งไทยไปที่นครย่างกุ้ง แล้วนั่งรถยนต์หรือรถไฟย้อนกลับมา น่าเสียดายที่อาจารย์จีริ จันทร์ไปถึงเมืองเมื่อค่ำแล้ว และต้องเดินทางจากเมืองตอนสายวันรุ่งขึ้น แต่กระนั้นในความมืดของคืนนั้นและความสลัวรางของเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น อาจารย์ก็ได้เห็นหลายสิ่งที่น่าตื่นใจ และจะเป็นฐานสำคัญสำหรับการเดินทางของเธอครั้งต่อไปและของผู้สนใจศึกษารุ่นต่อไป

อาจารย์เล่าว่าค่ำคืนนั้น ธอได้ขึ้นไปที่วัดไจ้ตาหล่าน เมื่อขึ้นไปถึงลานกว้างหน้าพระเจดีย์ ขณะที่เธอกำลังไหว้พระเจดีย์สีทองอร่าม มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งนั่งเคียงกันอยู่ไม่ไกลนักกำลังไหว้พระเจดีย์เช่นกัน ลานนี้เองเมื่อ 99 ปีก่อน (พ.ศ. 2446) ที่เจ้าชายหนุ่มแห่งเมืองเชียงใหม่กับสาวพม่าคู่หนึ่งนั่งเคียงกันไหว้พระเจดีย์เบื้องหน้า และสัญญาต่อกันและต่อหน้าพระเจดีย์ว่าจะรักและซื่อสัตย์ต่อกันตราบฟ้าสิ้น ดินสลาย

เมื่ออาจารย์พบพระรูปหนึ่งและถามถึงแม่ชีของวัดนี้ ท่านได้พาเธอไปพบเจ้าอาวาสซึ่งมีอายุราว 60 ปี ท่านเจ้าอาวาสเล่าว่าวัดนี้เคยมีแม่ชีคนเดียวเมื่อนานมาแล้ว กล่าวคือเมื่อท่านเริ่มบวชเณรอายุ 18-19 ปี ประมาณ พ.ศ. 2504-2505 ที่วัดมีแม่ชีชรารูปหนึ่ง ชื่อ ด่อนังเหลี่ยน อายุ 70 ปีเศษ และหลังจากนั้นไม่นาน แม่ชีก็เสียชีวิต

เจ้าอาวาสเล่าว่าท่าน ได้ยินว่าแม่ชีผู้นี้บวชชีตั้งแต่เป็นสาว เป็นแม่ชีที่ชอบมวนบุหรี่ และมีคนมารับไปขายเป็นประจำ แม่ชีได้บริจาคเงินให้วัดสร้างศิลาจารึกเป็นภาษามอญมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ที่ยังคงเก็บไว้ที่วัด เจ้าอาวาสเล่าว่าห้องพักของแม่ชียังคงอยู่ หม้อข้าวและเครื่องใช้บางอย่างก็ยังคงอยู่ อาจารย์จีริจันทร์คิดว่าแม่ชีด่อนังเหลี่ยน คือ มะเมียะ เพราะเป็นที่รู้กันที่เชียงใหม่ว่าหลังจากที่มะเมียะถูกพรากจากเจ้าน้อยศุขเกษม เธอก็ไปรอชายคนรักที่เมืองเมาะละแหม่ง ไม่ได้รักใครอีก หลังจากนั้น เธอได้กลับมาที่เมืองเชียงใหม่อีกครั้งเพื่อมาพบเจ้าน้อยศุขเกษม

ในตอนนั้น เจ้าน้อยแต่งงานแล้วก็กับเจ้าหญิงบัวชุม ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าดารารัศมีและพิธีสมรสจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเจ้าน้อยทราบว่ามะเมียะมารอพบที่บ้านเชียงใหม่ เจ้าน้อยศุขเกษมไม่ยอมออกมาพบ แม้ว่ามะเมียะจะรออยู่นานแสนนาน โดยที่เจ้าน้อยได้ฝากเงินให้ 800 บาทและแหวนทับทิมที่ระลึกวงหนึ่ง หลังจากนั้นมะเมียะก็กลับมาบวชชีที่วัดใหญ่ในเมืองเมาะละแหม่งจนสิ้นชีวิต

อาจารย์ จีริจันทร์สนใจข้อเท็จจริงที่ว่าแม่ชีผู้นี้บวชตั้งแต่ยังสาว และชอบมวนบุหรี่ไปขายหารายได้จึงน่าเชื่อว่าด่อนังเหลี่ยนกับมะเมียะเป็นคนเดียวกัน ส่วนคำว่ามะเมียะเป็นภาษาไทใหญ่แปลว่าสีแดง (ด่อ คือ นาง) ก็เป็นประเด็นที่ต้องค้นคว้าต่อไปว่าเหตุใดมะเมียะจึงเปลี่ยนชื่อและเหตุใดต้องใช้ชื่อว่านังเหลี่ยน

เช้าวันรุ่งขึ้น อาจารย์ไปถามหาบ้านไม้สักหลังใหญ่ของเศรษฐีอูโพดั่ง ซึ่งเคยเป็นบ้านที่พักของเจ้าน้อยศุขเกษม อาจารย์บอกว่าอูโพดั่งเป็นชื่อถนนสายหนึ่งในย่านนั้น ส่วนบ้านนั้นรื้อขายไปแล้ว อาจารย์ได้ไปที่ตลาดได วอขวิ่น ที่เจ้าน้อยได้พบกับมะเมียะ และเป็นตลาดที่มะเมียะเคยขายบุหรี่ที่นั่น เพราะเป็นตลาดที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านของเศรษฐีอูโพดั่ง เธอได้พบตลาดเก่าแก่ และมีสภาพที่ไม่น่าจะแตกต่างจากสภาพเมื่อเกือบ 100 ปีก่อน และได้พบย่านขายบุหรี่

จากนั้น อาจารย์ได้ไปที่โรงเรียน St. Patrick ได้พบว่าเป็นโรงเรียนที่มีเนื้อที่กว้างขวางเกือบ 10 ไร่ มีอาคารสร้างด้วยไม้สัก มีเสาขนาดใหญ่กว่า 60 ต้น มีโบสถ์ มีอาคารตึกที่เป็นหอพัก มีโรงอาหารขนาดใหญ่ และสระว่ายน้ำ
แต่ขณะนี้โรงเรียนดังกล่าวได้ปิดกิจการไปแล้วและกลายเป็นโรงเรียนสอนวิชาบัญชี

(http://bc.feu.ac.th/chaw/GTsilver/guide3-51/image_prof/Jirichan2.JPG)
ภาพรศ.จีริจันทร์ ประทีปะเสน


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 14:47
ขอขอบคุณลิ้งค์ข้อมูลต่างๆ นะคะที่เอามาประกอบกระทู้นี้ ตั้งใจรวบรวมไว้ที่เดียวกันค่ะ สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างจุใจ

http://www.lannaworld.com
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/12/K4992226/K4992226.html
http://blog.eduzones.com/forwardmail/26112
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=84489
http://www.compasscm.com/issue/Feb10/module_back.asp?content=Feb10/scoop&lang=TH
http://www.chiangmai-thailand.net/person/sokkasem_htn.htm
http://mblog.manager.co.th/tawanrorn/th-33685/
http://en.wikipedia.org/wiki/Mawlamyine
http://www.panoramio.com/photo/62734960
http://veryhistory.pad-soa-th.com/cultural/3155.html
http://www.mariusztravel.com/countries/myanmarphotos3.php
http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=73.0
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/356442
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%A1%E0%B8%B5_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 14:51
หากต้องการฟังเรื่องมะเมียะเป็นรูปแบบของไฟล์เสียง อสมท. เชียงใหม่ได้ทำสารคดีนี้ไว้ค่ะ

ตอนที่ 1 http://www.mcotcm.com/lanna/sound.php?table=doc&id=166
ตอนที่ 2 http://www.mcotcm.com/lanna/sound.php?table=doc&id=167
ตอนที่ 3 http://www.mcotcm.com/lanna/sound.php?table=doc&id=168


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 14:58
ประวัติคุณปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ผู้บอกเล่าเรื่องราวของมะเมียะผ่านสื่อเป็นคนแรก

(http://www.thainews70.com/news/news-culture-arnu/picture/0155_0.gif)


อดีตนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเชียงใหม่ที่สร้างผลงานไว้เป็นที่ประจักษ์แก่คนรุ่นปัจจุบัน คือ นายปราณี ศิริธร ณ พัทลุง โดยเฉพาะการค้นคว้าและเขียนหนังสือเพ็ชรลานนาทั้งเล่ม ๑ และ ๒ พิมพ์จำหน่ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ เนื้อหายังทรงคุณค่าทั้งในปัจจุบันและอนาคต

นายปราณี ศิริธร ณ พัทลุง จบมัธยมจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและมีความสามารถด้านการเขียนตั้งแต่เป็นนักเรียน หลังจากการศึกษาได้ออกสิ่งพิมพ์อย่างจริงจัง ซึ่งนายบุญเสริม สาตราภัย ค้นคว้าไว้ว่า

"ปี พ.ศ.๒๔๙๑ ปราณี ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ 'แสงอรุณ' พิมพ์ที่โรงพิมพ์เจริญเมือง ของนายเมืองใจ ชัยนิลพันธ์ จำหน่ายฉบับละ ๑ บาท ต่อมาได้นำผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ฟังจากสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการ มาลงในเล่ม ทำให้ 'แสงอรุณ' ขายดีขึ้น ต่อมานายปราณี ศิริธร มาทำหน้าที่บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ 'ชาวเหนือ' ของนายเยื้อนโอชเจริญ อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาได้กลับมาทำหนังสือพิมพ์'แสงอรุณ'ของตนเองต่อ ไม่มีรายละเอียดว่าทำอยู่อีกนานเพียงใด (จดหมายเหตุ เครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ สมาคมหนังสือพิมพ์ภาคเหนือแห่งประเทศไทย,พ.ค.-ก.ค.๒๕๔๖)

เกี่ยวกับหนังสือเพ็ชรลานนา นายปราณี ศิริธร เขียนไว้ในคำนำในการจัดพิมพ์หนังสือเพ็ชรลานนา ครั้งที่ ๑ ด้านความตั้งใจที่มุ่งมั่นว่า "ความตั้งใจของกระผมในการที่จะรวบรวมชีวประวัติบุคคลสำคัญของลานนาไทยนั้นมีมาแต่อดีตแล้ว ในขณะที่ยังเรียนหนังสืออยู่ใน ร.ร.ประจำมณฑลพายัพ ยุพราชวิทยาลัย เมื่ออายุได้ ๑๕ ปีมาแล้ว กระผมตั้งใจว่า โตขึ้นกระผมจะเป็นคนแรกที่จะออกหนังสือพิมพ์ในนครเชียงใหม่ให้สำเร็จให้จงได้ และในปี พ.ศ.๒๔๘๙ กระผมก็ได้กระทำแล้วและได้สำเร็จแล้ว ภายหลังสงครามเสร็จสิ้นลงใหม่ๆ..."

เหตุผลในการค้นคว้าและจัดพิมพ์หนังสือเพ็ชรลานนา คือ "หลังจากที่ได้กระทำงานให้แก่สาธารณะ ทางด้านความเจริญของวัตถุและเอกสารต่างๆ ปรากฏขึ้นมาแล้ว อันเกิดผลแต่ส่วนรวมและความสุขของบ้านเมือง ทีนี้หันมาดูและพิจารณาเรื่องราวของบุคคลและชื่อเสียงของชาวลานนาไทยผู้ได้กระทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองในอดีต ตลอดจน ราชวงศ์เจ้านายฝ่ายเหนือ 'เจ้าเจ็ดตน' กำลังจะหายสูญและเป็นอดีตไปเสียแล้วเพราะได้เกิดบุคคลสำคัญๆ ใหม่ขึ้นมาแทน จึงทำให้ความเคารพ บูชาเชิดทูนบุคคลเหล่านี้นับวันมีแต่จะถูกลืมไปเป็นอดีตเสีย จึงเป็นแรงผลักดันทำให้เกิดพลังงานทางใจขึ้น ยกย่องชีวประวัติบุคคลสำคัญของลานนาไทยที่เคยขี่ม้า ขี่ช้าง จับดาบออกศึกเหนือเสือใต้ ทั้งเจ้านาย ทั้งขุนพล แม่ทัพ ซึ่งเคยเอาชีวิตไปทิ้งกลางป่ากลางเขาและยอดดอย แล้วเผากับกระดูกให้ลูกเมียดูต่างหน้าทางบ้าน แต่แล้ววีรกรรมของท่านเหล่านั้น นับวันก็จะจมฝังดินโดยไม่มีใครขุดค้นขึ้นมา

"กระผมจึงขอถือโอกาสนำมาบันทึกเป็นอนุสรณ์ไว้ในโอกาสนี้ ทั้งนี้อาจจะขาดบุคคลสำคัญในราชวงศ์ไปอีกหลายองค์ที่ได้ทำประโยชน์ไว้แต่มิได้นำลงมาเขียนหมดทั้งนี้เนื่องด้วยเกี่ยวกับระยะเวลาและกำลังเขียนและหน้ากระดาษที่ได้พิมพ์ แต่ก็คิดว่าได้พยายามรวบรวมไว้มากที่สุดเท่าที่จะพึงหาภาพมาประกอบเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ด้วยความกรุณาเมตตาของเจ้านายในราชวงศ์ฝ่ายเหนือเป็นส่วนมาก"

ด้านข้อมูลอ้างอิง "เรื่องทุกเรื่องที่เขียนขึ้นนี้เขียนจากชีวิตจริงทั้งสิ้น พร้อมกับมีหลักฐานยืนยันได้ทุกๆ กรณี ซึ่งบุคคลที่กล่าวนามในหนังสือ เพ็ชร์ลานนา นั้นแทบทุกท่านเป็นบรรพบุรุษของสกุลใหญ่ๆ อยู่ในภาคเหนือที่มีชีวิตอยู่ในเวลานี้..."

ข้อความที่เป็นปรัชญาแห่งชีวิตที่ นายปราณี ศิริธร เขียนไว้ที่คำนำหนังสือ
เพ็ชรลานนา เล่ม ๒ ซึ่งเขาใช้คำว่า "คำอุทิศ เพ็ชรลานนา"

"อีกไม่ช้าวันหนึ่งข้างหน้า...ก็จะมาถึง ปัจจุบันกลายเป็นอดีตไป เราทุกคนก็เดินทางไปสู่เชิงตะกอนเผาศพ หรือไม่ร่างกายของเราก็อยู่ในหลุม ทั้งนี้ โดยธรรมชาติจะเรียกลงหายใจของเราไปจากร่างกายเราทุกๆ คน ก็จะเหลือแต่ซากเอาไว้ และแล้วอีกไม่ช้าก็เหลือแต่ชื่อเอาไว้ประดับริมฝีปากประชาชนและความคิดคำนึงของคนรุ่นหลังเท่านั้น ทุกคนต้องแก่ชราทำอะไรไม่ได้ และแล้วก็ต้องตายทุกคนไม่มีใครจะอยู่ค้ำฟ้าได้สักคนเดียว"

นอกเหนือจากงานเขียนเพ็ชรลานนาเล่ม ๑ และ ๒ แล้ว ผลงานของนายปราณี ศิริธร ณ พัทลุง เล่มอื่นๆ ก็มีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ ผู้บุกเบิกแห่งเชียงใหม่ , ชีวิตและการต่อสู้ในพระนครเชียงใหม่ราชธานีเชียงใหม่,ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่,มะเมียะ สาวพม่าผู้ชนะใจราชบุตรอุปราชแห่งนครเชียงใหม่,เหนือแคว้นแดนสยาม เป็นต้น

เมื่อมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป ประกอบกับบุคลิกที่ชอบเข้าสังคมทำให้ นายปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ลงเล่นการเมืองท้องถิ่นและได้รับเลือกหลายสมัย ทั้งส.จ.(สมาชิกสภาจังหวัด)และ ส.ท.(สมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่)

นายปราณี ศิริธร ณ พัทลุง เสียชีวิตเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๔๐ ขณะอายุ ๗๗ ปี (ข้อมูลส่วนหนึ่งจากบทความเรื่อง ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง คลังข้อมูลชีวประวัติเจ้านายฝ่ายเหนือ,สมโชติ อ๋องสกุล,นสพ.ภาคเหนือรายวัน,๗ มี.ค.๒๕๔๐)

http://www.thainews70.com/news/news-culture-arnu/view.php?topic=156


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 15:04
ฟังเพลง มะเมียะ กันอีกที คราวนี้ขับร้องโดยคุณจรัล มโนเพ็ชร ผู้มีบทบาทสำคัญอีกท่านหนึ่งที่ทำให้เรื่องของมะเมียะเป็นที่รู้จักในวงกว้างผ่านบทเพลงโฟล์คซองคำเมือง

http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=Ta9dNdS6MxA


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 18 ก.พ. 12, 15:50
ส่งมะเมียะประกวดอีกคนครับ


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.พ. 12, 16:51
จากนิราศพระบาท

พี่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก                        ถึงสามโคกต้องแดดยิ่งแผดแสง
ให้รุ่มร้อนอ่อนจิตระอิดแรง                               เห็นมอญแต่งตัวเดินมาตามทาง
ตาโถงถุงนุ่งอ้อมลงกรอมส้น                             เป็นแยบยลเมื่อยกขยับอย่าง
เห็นขาขาววาวแวบอยู่หว่างกลาง                        ใครยลนางก็เป็นน่าจะปรานี

จิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถ วัดบางน้ำผึ้งนอก


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2935.0;attach=6274;image)

 ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 18 ก.พ. 12, 18:11
เรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมที่ร่ำลือกันนี้  หากพิจารณากันในประเด็นที่เจ้าแก้วนวรัฐฯ ไม่เคยบวชเป็นสามาเณรเลยไม่รู้หนังสือ  ทั้งหนังสือยวน (ตั๋วเมือง) และไทยใต้ (สยาม)  แต่ส่งเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่เมืองมะระแหม่ง  ซึ่งอยู่ในปกครองของอังกฤษ  แต่กลับส่งบุตรชายคนรองคือ เจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน) มาเรียนที่กรุงเทพฯ โดยให้อยู่ในปกครองของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี  แต่ก็มีบันทึกความผาดโผนในเรื่องผู้หญิงของเจ้าวงษ์ตวันจนพระราชชายาฯ ออกพระโอษฐ์ไม่ทรงรับเป็นผู้ปกครอง  โดยส่วนตัวเจ้าน้อยศุขเกษมนั้นก็ไม่มีเอกสารหลักฐานใดกล่าวถึงความโลดโผนขแงท่าน  ผิดกับเจ้าราชบุตรที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  เรื่องนี้เลยชวนให้คิดไปว่าเรื่องของเจ้าน้อยศุขเกษมที่เล่าๆ กันมานั้นจะเป็นเรื่องจริงของเจ้าราชบุตรหรือไม่  และเมื่อจะกล่าวกระทบไปถึงเจ้าราชบุตรก็เกรงว่าจะมีภัย  เลยไปใช้ชื่อเจ้าน้อยศุขเกษมผู้เป็นพี่ชายที่ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุเพียง ๓๐ เศษแทน  เรื่องนี้เพียงแต่เสนอไว้ให้ขบคิดกัน  เพราะไม่อาจหาหลักฐานเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมได้  แต่เรื่องเจ้าราชบุตรนั้นมีรายละเอียดพิสดารคล้ายๆ กันนี้


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 18 ก.พ. 12, 22:31
เรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมที่ร่ำลือกันนี้  หากพิจารณากันในประเด็นที่เจ้าแก้วนวรัฐฯ ไม่เคยบวชเป็นสามาเณรเลยไม่รู้หนังสือ  ทั้งหนังสือยวน (ตั๋วเมือง) และไทยใต้ (สยาม)  แต่ส่งเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่เมืองมะระแหม่ง  ซึ่งอยู่ในปกครองของอังกฤษ  แต่กลับส่งบุตรชายคนรองคือ เจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน) มาเรียนที่กรุงเทพฯ โดยให้อยู่ในปกครองของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี  แต่ก็มีบันทึกความผาดโผนในเรื่องผู้หญิงของเจ้าวงษ์ตวันจนพระราชชายาฯ ออกพระโอษฐ์ไม่ทรงรับเป็นผู้ปกครอง  โดยส่วนตัวเจ้าน้อยศุขเกษมนั้นก็ไม่มีเอกสารหลักฐานใดกล่าวถึงความโลดโผนขแงท่าน  ผิดกับเจ้าราชบุตรที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  เรื่องนี้เลยชวนให้คิดไปว่าเรื่องของเจ้าน้อยศุขเกษมที่เล่าๆ กันมานั้นจะเป็นเรื่องจริงของเจ้าราชบุตรหรือไม่  และเมื่อจะกล่าวกระทบไปถึงเจ้าราชบุตรก็เกรงว่าจะมีภัย  เลยไปใช้ชื่อเจ้าน้อยศุขเกษมผู้เป็นพี่ชายที่ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุเพียง ๓๐ เศษแทน  เรื่องนี้เพียงแต่เสนอไว้ให้ขบคิดกัน  เพราะไม่อาจหาหลักฐานเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมได้  แต่เรื่องเจ้าราชบุตรนั้นมีรายละเอียดพิสดารคล้ายๆ กันนี้

ถ้ามองในบริบทของสังคมปัจจุบันเรื่องส่งลูกคนนึงไปมะระแหม่ง อีกคนมากรุงเทพ ... ให้เดาเอาก็คงจะเป็นการแทงกั๊กเพราะไม่รู้ว่าสยามหรืออังกฤษจะเป็นพี่ใหญ่กันแน่ คล้ายๆ กับสมัยนี้ที่มีพ่อแม่หลายคนส่งลูกไปเรียนที่เมืองจีนหรืออินเดียมากขึ้น แทนที่จะส่งลูกไปอังกฤษหรืออเมริกาเหมือนแต่ก่อน แต่อันนี้เป็นบริบทในอดีตอาจจะเป็นเรื่องอื่นก็ได้ เดาเอาล้วนๆ ค่ะ  ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 12, 10:44
แต่ก็มีบันทึกความผาดโผนในเรื่องผู้หญิงของเจ้าวงษ์ตวันจนพระราชชายาฯ ออกพระโอษฐ์ไม่ทรงรับเป็นผู้ปกครอง   โดยส่วนตัวเจ้าน้อยศุขเกษมนั้นก็ไม่มีเอกสารหลักฐานใดกล่าวถึงความโลดโผนขแงท่าน  ผิดกับเจ้าราชบุตรที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  เรื่องนี้เลยชวนให้คิดไปว่าเรื่องของเจ้าน้อยศุขเกษมที่เล่าๆ กันมานั้นจะเป็นเรื่องจริงของเจ้าราชบุตรหรือไม่  และเมื่อจะกล่าวกระทบไปถึงเจ้าราชบุตรก็เกรงว่าจะมีภัย  เลยไปใช้ชื่อเจ้าน้อยศุขเกษมผู้เป็นพี่ชายที่ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุเพียง ๓๐ เศษแทน  เรื่องนี้เพียงแต่เสนอไว้ให้ขบคิดกัน  เพราะไม่อาจหาหลักฐานเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมได้  แต่เรื่องเจ้าราชบุตรนั้นมีรายละเอียดพิสดารคล้ายๆ กันนี้

คุณวีมีพอจะเผยรายละเอียดพิสดารเรื่องความผาดโผนของเจ้าราชบุตรวงษ์ตวัน

ได้บ้างไหมหนอ

 ;)


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 12, 11:18
ถ้าหากว่าเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ (ระวังไม่เผลอใส่ไม้ตรี). เป็นเรื่องแต่งขึ้นอย่างที่คุณวีมีสันนิษฐาน. ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก. เพราะเรื่องแต่งจะปรุงรสชาติเป็นแบบไหนก็ได้ทั้งสิ้น
แต่ถ้าเป็นเรื่องจริง.  ดิฉันก็จับประเด็นว่าคงมีแค่เจ้าน้อยศุขเกษมเมื่อเป็นหนุ่ม.  ไปได้หญิงสามัญชาวพม่ามาเป็นนางเล็กๆคนหนึ่ง.   ข้อนี้ไม่แปลกสำหรับชายหนุ่ม.  และไม่จำเป็นว่าต้องมีนิสัยเจ้าชู้.    แต่เป็นเรื่องประสาผู้ชายในวัยหนุ่ม.   ยิ่งมีอำนาจราชศักดิ์และหน้าตาก็หล่อ.  ยิ่งหาเมียได้ง่าย.  จะเอาคนสวยขนาดไหนก็ได้
แต่เมื่อพ่อแม่ไม่เห็นด้วย.   ตัวเองก็ถูกจับหมั้นและจะเข้าพิธีแต่งงาน   เรื่องนางเล็กๆคนเดิมก็เป็นอันเลิกกันไป.   ถ้าไม่เลิกจะยิ่งเดือดร้อนกับตัวเองและตระกูล
นี่ก็เป็นคำตอบว่าทำไม เจ้าน้อยจึงไม่ให้มะเมียะเข้ามาพบ.     แต่ฝากเงินไปให้มากเอาการ. พอที่เธอจะไปตั้งตัวได้
ส่วนมะเมียะจะไปบวชหรือไม่.  เป็นแต่คำบอกเล่าซึ่งยังหาหลักฐานไม่ได้.     ถ้าเป็นชีวิตจริงที่ห่างไกลจากโรแมนติค. มะเมียะอาจกลับบ้านเดิม ไปเริ่มชีวิตใหม่ก็เป็นได้.     แต่มันจะจบแบบแห้งแล้ง. ไม่ประทับใจคนดู


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 12, 11:45
ดิฉันก็จับประเด็นว่าคงมีแค่เจ้าน้อยศุขเกษมเมื่อเป็นหนุ่ม.  ไปได้หญิงสามัญชาวพม่ามาเป็นนางเล็กๆคนหนึ่ง.   ข้อนี้ไม่แปลกสำหรับชายหนุ่ม.  และไม่จำเป็นว่าต้องมีนิสัยเจ้าชู้.    แต่เป็นเรื่องประสาผู้ชายในวัยหนุ่ม.   ยิ่งมีอำนาจราชศักดิ์และหน้าตาก็หล่อ.  ยิ่งหาเมียได้ง่าย.  จะเอาคนสวยขนาดไหนก็ได้

ว่ากันตามเนื้อเรื่องที่รับรู้กันจากเรื่องของของคุณปราณี ศิริธร ณ พัทลุง  และเพลงของคุณจรัล มโนเพ็ชร ที่จบลงด้วยความว่า

"เจ้าชายก็ตรอมใจ๋ตาย มะเมียะเลยไปบวชชี  ความฮักมักเป๋นเช่นนี้ แลเฮย"

เจ้าน้อยศุขเกษมคงไม่มองมะเมียะเป็นแค่ "นางเล็ก ๆ" คนหนึ่ง

เป็นเพียงแต่ม่านประเพณีและการเมือง

ทำให้รักของทั้งสองต้องแรมรา

 :(


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: กระต่ายหมายจันทร์ ที่ 19 ก.พ. 12, 12:07
โดยส่วนตัวเชื่อว่าเรื่องนี้มาจากเค้าโครงเรื่องจริงแต่ถึงปรุงเพิ่มให้ถูกปากคนอ่านเรื่องราว ... หากเรื่องนี้มีส่วนจากเรื่องจริง การที่มะเมียะเป็นชาวพม่าย่อมมีส่วนทำให้เรื่องนี้จบแบบไม่แฮปปี้เอนดิ้งเพราะสถานการณ์ทางการเมืองอันละเอียดอ่อนที่เรื่องเล็กๆ อาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวได้ จึงจำเป็นต้องตัดไฟแต่ต้นลม เพราะถ้ามะเมียะเป็นคนไทย เรื่องก็อาจจะจบที่มะเมียะเป็นหนึ่งในภรรยาหลายๆ คนของเจ้าน้อย ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องไม่สบายใจ เรื่องฐานันดรก็ไม่ใช่ประเด็นเพราะเจ้ามีภรรยาเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าเหมือนกัน


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 19 ก.พ. 12, 17:34
เรื่องของเจ้าราชบุตรเท่าที่เคยอ่านมาจากเอกสารจดหมายเหตุ  มีบันทึกว่าพระราชชายาฯ ทรงรับเจ้าวงษ์ตวันไว้ในพระอุปการะให้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ  โดยพักอยู่ที่ตำหนักพระราชชายาฯ  เธอก็ไปติดพันคุณข้าหลวงเจ้านายตำหนักอื่น  เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณก็โปรดให้ไปเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัย  เธอก็ไปวาดลวดลายส่งเพลงยาวจีบน้องสาวเพื่อนจนสุดท้ายพระราชชายาฯ ต้องส่งตัวกลับเชียงใหม่


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.พ. 12, 20:17

"เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ กล่าวในฐานะคนในว่า “เรื่องมันไม่ได้เป็นนิยายอย่างนั้น มันไม่ได้ใหญ่โตจนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพียงแต่มันไม่เหมาะสม เพราะตามตำแหน่ง เจ้าน้อยฯ ต้องเป็นเจ้าหลวงในอนาคต หลายคนคงลำบากใจที่ได้เมียเป็นชาวพม่า และที่สำคัญ อุตส่าห์ส่งไปเรียนหนังสือ กลับได้เมียมา เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ต้องไม่พอใจ คงเหมือนสมัยนี้แหละ บางคนก็ต่อว่าเจ้าปู่เรา (เจ้าหลวงแก้วนวรัฐ) ว่าแบ่งขีดแบ่งชั้นกีดกันความรัก ความจริงอีกอย่างคือเจ้าอาว์ (เจ้าน้อยศุขเกษม) ก็รูปหล่อ เป็นลูกเจ้าอุปราชฯ ท่านก็เป็นคนสำราญตามประสาเจ้าชายหนุ่ม และตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ท่านมิได้หมกมุ่นตรอมใจจนตายอย่างนิยายว่า เรื่องเพิ่งจะมาเศร้าโศกปวดร้าวเมื่อคุณปราณี ขยายให้เป็นนิยายนี่เอง  และถ้าเรื่องนี้เป็นไปตามนั้น ไม่มีทางจะปิดชาวเชียงใหม่ได้มิดหรอก ”

ตอบคุณเพ็ญชมพู
ดิฉันตัดประเด็นข้อเขียนของคุณปราณี  และเพลงของคุณจรัลออกไปเลย    ตามเหตุผลของเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ค. 12, 22:06
คุณวีมีให้ความเห็นน่าสนใจไว้ที่ พันทิป (http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K12372564/K12372564.html)

เมื่ออ่านเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมกับมะเมียะนั้น  ได้พบข้อพิรุธอยู่หลายตอน  เช่น

๑) เรื่องเจ้าน้อยฯ ไปเรียนที่มะละแหม่ง  คุณปราณีว่าเจ้าน้อยอายุ ๑๕ ปี  แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลเรื่องอายุแล้ว  ปีที่อ่างว่าไปเรียนนั้นเจ้าน้อยมีอายุจริงได้ ๑๙ ปี ซึ่งน่าจะเลยเวลาเล่าเรียนไปแล้ว

๒) เรื่องเจ้าน้อยฯ ไปส่งมะเมียะขึ้นช้างกลับมะละแหม่งที่ประตูหายยา  เรื่องนี้ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นจริง  เพราะการเดินทางไปมะละแหม่งนั้น  จะต้องล่องเรือตามลำน้ำปิงไปเมืองระแหงหรือเมืองตาก  แล้วเดินบกไปมะละแหม่ง  การเดินทางจากเชียงใหม่ไปเมืองตากโดยทางบกนั้นไม่มีใครทำกัน

๓) คุณปราณีว่า เจ้าแก้วนวรัฐฯ และเจ้าน้อยฯ มอบเงินให้มะเมียะติดตัวกลับไปเป็นเงิน ๘๐๐ และ ๘๐ บาท  ข้อนี้ก็พิรุธเพราะสมัยนั้นทางล้านนาไม่มีการใช้เงินบาท  แต่ใช้เงินรูเปียอินเดียที่อังกฤษเอามาใช้ที่พม่า  ที่เรียกกันว่า "เงินแถบ"  เงินบาทเพิ่งจะขนขึ้นไปใช้จนแพร่หลายในช่วงหลัง พ.ศ. ๒๔๕๙  หรือในช่วงกลางรัชกาลที่ ๖ มาแล้ว 

จากข้อพิรุธดังกล่าวจึงได้ตรวจเช็คข้อมูลเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมกับมะเมียะจากเอกสารหลักฐานทางราชการสยามแล้ว  ก็พิสูจน์ได้ว่าเรื่องดังกล่าวเกิดจากจินตนาการของคุณปราณี  ศิริธร ณ พัทลุง  ที่อาศัยเค้าโครงมาจากคำบอกเล่าที่เป็นเรื่องจริงของเจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน) ที่ลงมาเล่าเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัยเมื่ออายุ ๑๔ ปี ในปีเดียวกับที่คุณปราณีระบุว่าเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่มะละแหม่ง  นอกจากนั้นในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ ยังพบความ "เรื่องประหลาด" ในพระราชบันทึกส่วนพระองค์  ที่ทรงกล่าวถึงเจ้าราชบุตรจะสมรสกับหญิงคนหนึ่งที่เป็นธิดานอกสมรสของพระบรมวงศ์พระองค์หนึ่ง  โดยในชั้นต้นเข้าใจกันว่าเป็นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์  จึงมีพระราชดำริที่จะจัดการสมรสพระราชทาน  แต่เมื่อตรวจสอบแล้วสตรีนั้นเป็นบุคคลที่บิดาไม่รับเป็นบุตร  จึงมิได้เป็นหม่อมเจ้า  ในเมือมิได้เป็นเจ้าจึงต้องทรงวางเฉยในเรื่องนี้  และไม่ปรากฏว่าเจ้าราชบุตรได้สมรสกับหญิงคนนี้

จากคุณ : V_Mee   
เขียนเมื่อ : 14 ก.ค. 55 17:20:09

 ;D



กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ค. 12, 06:15
เห็นด้วยกับข้อวิเคราะห์ของคุณ V_Mee ค่ะ


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 06 ม.ค. 13, 18:15
สมาชิกใหม่ค่ะ  มานั่งอ่านเรื่องเก่า

อยากจะเรียนว่ารูปใน คห. 49 ที่ว่าเป็นรูปเจ้านางบัวนวลในวัยเด็กนั้น

อันที่จริงรูปนั้นเป็นรูปแม่เจ้าสุวรรณา  พระมารดาของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเชียงตุง กับมหาเทวี ชายา และเหล่าธิดาของเจ้าฟ้าเชียงตุง

ลำดับ 6.1 เป็นเจ้านางบัวนวลที่เป็นธิดาของเจ้าฟ้าเชียงตุงกับเจ้านางบัวทิพย์น้อย  ชายาองค์สุดท้ายค่ะ


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.พ. 15, 10:24
คุณวีมีให้ความเห็นน่าสนใจไว้ที่ พันทิป (http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K12372564/K12372564.html)

ลิงก์ที่ให้ไว้ข้างบนปัจจุบันเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ขอแก้ไขเป็น

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/07/K12372564/K12372564.html#6 (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/07/K12372564/K12372564.html#6)

ล่าสุดคุณวีมีเขียนเรื่องนี้ไว้ในบทความลงในหนังสือศิลปวัฒนธรรม

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6208.0;attach=54569;image)

สนใจติดตามหาอ่านกันได้เน้อ  ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 17 ก.พ. 15, 14:32
ต้องตามไปสอยมาอ่านเสียแล้วเจ้าค่า ;D ;D ;D ;D


กระทู้: เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
เริ่มกระทู้โดย: prahnmongkol ที่ 25 ก.พ. 15, 21:26
ขอสนับสนุนความเห็นที่84 ของคุณ tita ดูจากเครื่องแต่งกายเป็นเจ้านายเชียงตุงแน่นอน