เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: นวล ที่ 10 พ.ค. 02, 23:43



กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: นวล ที่ 10 พ.ค. 02, 23:43
 จากกระทู้ให้เว็บอื่น มีผู้ถามมาตามหัวข้อ
/>
และอิฉันตอบได้เพียงบางส่วน และในห้องนี้

มีท่านผู้รู้จริง
รู้แน่นกว่าอิฉันมาก จึงอยากขอศีกษา
/>
หาความรู้เพิ่มเติมจากท่านทั้งหลายค่ะ...


/>
"...ส่วนในพจนานุกรม เล่มเล็ก (ฉบับ พ.ศ. 2493)

ท่านเก็บคำว่า
'ฯพณฯ' เลย แล้วบอกคำอ่านว่า

'พะนะท่าน'
และบอกข้อความไว้ในวงเล็บว่า '(ย่อมา

จากคำ พณหัว พณหัวเจ้า
พณหัวเจ้าท่าน) น. เป็นคำนำ
/>
หน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี

เอกอัครราชฑูต
เป็นต้น'



แต่เหตุใด คำว่า "ฯพณฯ"
จึงมีไปยาลทั้งข้างหน้า

ข้างหลัง คำนี้ คุณนาค ใจอารีย์
ได้เคยให้ข้อคิดไว้ว่า

อาจจะมาจากคำเต็มว่า
'พระเดชพระคุณพ่อเหนือหัวเจ้า

ท่าน'
ทั้งนี้เพราะเวลาเราพูดกับผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นเสนาบดี
/>
หรือพระราชาคณะ เรามักใช้คำแทนตัวท่านว่า

'พระเดชพระคุณ'
หรือบางทีก็ 'พระเดชพระคุณใต้เท้า'

ถ้าเป็นเช่นนี้
ไปยาลตัวหน้าก็คงย่อมาจาก

'พระเดชพระคุณ'
และไปยาลตัวหลังก็คงย่อมาจาก

'หัวเจ้า' เดี๋ยวนี้เราพูดกันเพียง
'พะนะท่าน' เท่านั้น



ในสมัยหนึ่ง
เคยมีผู้เสนอว่าถ้าเป็นเพียงเอกอัครราชฑูต

หรือรัฐมนตรี
ให้ใช้ไปยาลหลังอันเดียว

แต่ถ้าเป็นนายกรัฐมนตรี
จึงใช้ไปยาลทั้งข้างหน้าข้างหลัง

แต่ก็ไม่มีการใช้กัน ก็เลยใช้ ฯพณฯ
คือมีไปยาลข้างหน้า

ข้างหลังดังกล่าวมาแล้ว..."
/>
(คัดลอกตัดตอนมาจาก ภาษาของเรา - จำนงค์ ทองประเสริฐ)

…………….
/>
…………….

อิฉันเข้าใจว่า (เข้าใจเองนะคะ ยังหาข้อมูลมาสนับสนุน
/>
ไม่ได้) ให้ใช้แต่ผู้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันเท่านั้น
/>
พอพ้นวาระไปแล้ว ก็กลับไปใช้ยศเฉยๆ ยกตัวอย่าง

อดีตนายกชวน
ตอนนี้ก็เป็นนายชวน หลีกภัย

ผู้นำฝ่ายค้าน สมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา


พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก็เช่นกัน แต่คุณหญิงก็ยัง

เป็นคุณหญิง
เพราะได้รับพระราชทานมา

ส่วน ฯพณฯ พลเอกเปรมฯ  
เพราะในปัจจุบันท่านเป็น

รัฐบุรุษอาวุโส แลประธานองคมนตรี
/>
และหากว่าจะใช้ ก็ต้องเป็น อดีต ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ฯ มิใช่ ฯพณฯ
พล.อ ชวลิต ฯ



ส่วน รมต (ทั้ง รมว กะ รมช) นั้น
ไม่แน่ใจว่าควรจะใช้

หรือไม่ และพอพ้นวาระตำแหน่งหน้าที่
ยังควรใช้ต่อไปอีก

หรือเปล่า


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: นวล ที่ 05 พ.ค. 02, 00:42
 สมาิชิก(มือ)ใหม่หัดตั้งกระทู้ แต่......
อ๊ากกกก... ทำไมคนอื่นมีแต่ V ตามหลังชื่อ
แล้วของอิฉันมีสร้อยตามด้วยล่ะ....
ขอถามต่อจากหัวข้อกระทู้ว่า จะลบสร้อยออกยังไงคะ


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: เปี้ยว ที่ 05 พ.ค. 02, 05:32
 ครั้งหนึ่ง เมื่อนานมาแล้ว แต่ผมจำได้ดี
คุณนวลเคยบอกว่าจะช่วยสอนภาษาอังกฤษในเว็บ เลยเป็นที่มาของสร้อย ฮ่าๆ    


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 05 พ.ค. 02, 07:01
 มากรี๊ดต้อนรับคุณครูค่า ฮ่าๆๆ


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: bookaholic ที่ 05 พ.ค. 02, 17:15
 มานั่งฟังครูหลังชั้นครับ ไม่ดื้อไม่ซน


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: ทองรัก ที่ 05 พ.ค. 02, 18:42
 มานั่งฟังคุณครูด้วยคนค่ะ
รับรองว่าไม่แอบหลับ และไม่แกล้งเพื่อน    


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: นวล ที่ 05 พ.ค. 02, 22:26
 ฮา ฮา ฮา เจอ"หลาน"ศิษย์หนึ่งคนที่นี่ด้วย
ไม่ดื้อไม่ซน เป็นแต่แสบอย่างเดียว... อิ อิ อิ

คุณเปี้ยวหนา คุณก็ประมาณว่าใช้ทิงเจอร์ไม่ได้เหมือนกัน
เดี๋ยวจะเกิดปฏิกิริยากับทิงเจอร์... ช่วยแกะออกให้ทีเถอะนะคะ
หรือว่าแกะออกแล้ว อิฉันยังไม่ได้ลองเลย...
เอ.. จำไม่ได้นะ (ทำหน้าตาว่าจำไม่ได้จริงๆ ประกอบด้วย)
เคยบอกว่าจะช่วยสอนหรือคะ... (ทำตาใสด้วย)
เคยเข้าไปชมโต๊ะเด็กศิลป์ แต่ไม่ค่อยเห็นมีปัญหาถาม
ทางด้านภาษาเลยนะคะ

สวัสดีค่ะคุณพวงร้อย คุณทองรัก ...

... ช่วยตอบที่ถาม(ตามหัวกระทู้)หน่อยนะค้า
อยากทราบการใช้คำนี้จริง ๆ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: caeruleus ที่ 07 พ.ค. 02, 06:06
 welcome the new teacher ka - I promise not to throw friends about when they annoy me ka    


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 07 พ.ค. 02, 06:11
 I guess you are right krab Pa Nual, about "H.E." being for those VIPs in current positions only and not for ex-VIPs.



However, I never see a written rule on the matter, so I can't confirm your assumption yet.



Well, whatever the case may be, in practise,  being Thais, sometimes we still kreng-jai the ex-VIPs, and we tend to think to pay too much respect is better than to pay too little respect to the Puyais, so I have seen the honorific used for some ex-VIPs krab. But I guess it's case- by - case.



For your information, now in the formal correspondences within my Ministry (like reports, official notes, telegrams, etc.) when we refer to Dr. Surin Pitsuwan, my former boss who is now aiming to be the next UN High Commissioner for Human Rights, we call him without the "Excellency" krab.



In Khmer, they translate this honorific as "AkeUdom" krab, not "PanaTan" as in Thai. I rather like the Khmer word. What's the meaning of "excellency/excellence"? Of course, it means "EkUdom", and the sounds are similar too.


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 02, 09:45
 ดิฉันเคยเห็น  ฯพณฯ ในหนังสือเก่าๆ   ต่อมา ฯ ตัวหน้าหายไป   เหลือตัวหลัง  คงเป็นเพราะไม่นิยมกันแล้ว และไม่ได้ออกเสียงแทนคำอะไรด้วย เพราะเราไม่ได้พูดว่าพระเดชพระคุณ..นำหน้าอีกแล้ว

นายกฯที่เป็นพณฯ เป็นคนที่ยังอยู่ในตำแหน่ง  พ้นตำแหน่งแล้วก็ไม่ได้ใช้อีก ตายไปแล้วก็ไม่ใช้อีกเหมือนกัน  
เท่าที่ได้ยินมานะคะ  แต่เดิมเป็นสรรพนามบุรุษที่สองมากกว่าที่สาม
กราบเรียน พณฯนายกรัฐมนตรี...

สมัยก่อนใครมีสิทธิ์เป็น พณฯ  ท่าน?
จำได้ว่าท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุลฯ เคยกล่าวว่าคนที่ได้สายสะพายชั้นเจ้าพระยา   ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอะไรก็ต้องเรียกนำว่า พณฯ
สายสะพายชั้นเจ้าพระยา น่าจะปฐมจุลจอมเกล้าฯนะคะ
แต่ปัจจุบันความนิยมแบบนี้คงจะเปลี่ยนไปแล้ว  ไปใช้กับตำแหน่งนายกฯและรมว.เสียละมาก


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 07 พ.ค. 02, 11:20
 ขอแสดงความเห็นแบบขวางๆสักหน่อยนะครับ :)

วัตถุประสงค์หนึ่งของการเปลี่ยนแปลงการปกครองคือการขจัดความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ไฉนเสนาบดีในระบอบใหม่นี้จึงยังมีคำแสดงความเป็น "พ่อเหนือหัว" อย่างระบอบเดิมเล่า

น่ายกเลิกไปไหม?

ว่าแต่ว่าคุณเปี้ยวอย่าลืมทำระบบแจ้ง password สำหรับคนขี้ลืมอย่างผมด้วยนาครับ คราวที่แล้วอ่านอย่างเดียวนานไปหน่อย ลืม password ไปเลย เล่นเอาใบ้กินไปนาน ต้องให้พระเอกเปี้ยวขี่ม้าขาวมาช่วย ถึงได้มีปากมีเสียงกับเขาบ้าง :)


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 02, 12:27
 ไม่ขวางหรอกค่ะคุณ CH   เพียงแต่พูดเรื่องการเมืองแล้วอาจจะเป็นปากเป็นเสียงกันง่ายเท่านั้น
แต่ในเรือนไทย คิดว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น  ถ้าเราเพียงแค่แลกเปลี่ยนความคิด  ไม่ใช่จ้องจับผิดหรือขัดขากัน

คุณ CH ก็คงคิดคล้ายดิฉัน เพียงแต่พูดกันคนละอย่าง ว่า...ใครที่ขึ้นเป็นใหญ่ เอาเข้าจริงอุดมการณ์ว่ายังไง อาจจะเป็นคนละทางกับปฏิบัติ  
จึงอดไม่ได้ที่จะสร้างความสูงให้ตัวเองเหนือกว่าประชาชนสามัญ   ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  รวมทั้งทางภาษาด้วย
ในเมื่อสร้างภาษาใหม่ขึ้นมาไม่ได้ ก็ต้องไปยืมศัพท์จากระบบเก่าที่บอกบ่งถึงความสูงมาใช้กับตัวเอง  อย่าง พณฯ ที่ใช้ในภาษาเขียน  หรือ ท่าน ที่ใช้ในภาษาพูดเวลาเขาอภิปรายกันในสภา  จะมี ท่าน นำหน้ากันหมด
ท่าน เดิมก็คือคำนำหน้าเรียกหม่อมเจ้าอย่างไม่เป็นทางการ  แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นคำนำหน้าท่านผู้แทนไปเสียแล้ว


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: นวล ที่ 07 พ.ค. 02, 16:27
 ขอบคุณค่ะสำหรับทุกความเห็น โดยเฉพาะของคุณ นกข.
ซึ่งเหมือนกับการยืนยันว่า ในจดหมายราชการ ก็จะไม่เรียก
ผู้ที่พ้นวาระตำแหน่งหน้าที่ว่า พณฯ  แต่ตัวเอง ครั้งหนึ่งเคย
ไปงานศพ หันมองอ่านพวงหรีด ปรากฏว่าเจอแต่ พณฯ
เต็มไปหมด รุ่นไหนต่อรุ่นไหนมีทั้งนั้น...... หุ หุ หุ

คุณเทาชมพูขา ... เหมือนกันค่ะ เคยแต่ได้ยิน คิดเอาเอง
แต่หาแบบเป็นลายลักษณ์อักษรไม่มีเลย ค้นหาทุกเล่มที่มี
แม้กระทั่ง ระเบียบในราชสำนัก เก่าย้อนหลังไปเมื่อ
สี่สิบปีที่แล้ว ก็ไม่พบ... กำลังสงสัยมากว่า น่าจะเป็น
"โดยพฤตินัย" มากกว่า "โดยนิตินัย" นะคะ

คุณ CH ค่ะ... เมื่อไม่นานมานี้ มีใครสักคนถามว่า ถ้าเราไม่
นับถือ เคารพ ศรัทธาในตัวใครสักคน เวลาเจอหน้า ไม่ยก
มือไหว้ได้หรือไม่ เพราะไม่อยากฝืนใจ... อิฉันตอบไปว่า
การยกมือไหว้ใครนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงการแสดงความเคารพ
นับถือในตัวบุคคลนั้นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการทักทาย
ได้เช่นกัน ดังนั้น คิดเสียว่าเราไหว้เขา เป็นการทักทายเขา
ไม่ใช่แสดงความเคารพนับถือ... ในกรณีนี้ก็เช่นกัน การเรียกใครสักว่า พณฯ อาจเป็นเพราะมันเป็นมรรยาททางสังคมก็ได้ มันติดมากับตำแหน่งที่เขาได้มาก็ได้ มันเป็นการยกย่องเขาก็ได้ ทั้งนี้ แล้วแต่ผู้เรียกจะคิด คุณอยากจะเรียกแต่ชื่อเขาโดดๆ ก็ยังได้ ไม่ผิดกติกา แต่อาจผิดมรรยาท
สมัยก่อนอาจเป็นการเรียกเพื่อยกย่อง แต่ปัจจุบัน ได้วิวัฒนาการกลายเป็น "คำเรียก" เฉยๆ ไปแล้วมั้งคะ เหมือน
กับที่คุณเทาชมพูกล่าวไว้เรื่องคำ "ท่าน" ... เวลามีประชุมสภาฯ แล้วได้ยินเขาเรียก ท่านประธานฯ ที่เคารพ หรือ
ท่านสมาชิกสภาที่เคารพ ทีไร ... แทบสำลักน้ำที่กำลังดื่ม
อยู่ทุกทีเลยค่ะ ... แต่เอ... ใครเคยได้ยินเขาเรียก พณฯ ท่านรัฐมนตรี---กันในที่ประชุมสภาฯ บ้างหรือเปล่าคะ  
อิฉันไม่ทันสังเกตจริงๆ ...


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 09 พ.ค. 02, 00:14
 ผมไม่รับรองว่าผมถูกนะครับ แต่ผมติดวิธีเขียน ฯพณฯ แบบมีไปยาลหน้าหลังแล้วครับ ชินมือเสียแล้ว ถ้าจะให้เขียน พณฯ คือมีไปยาลเฉพาะข้างหลัง จะรู้สึกว่าขาดๆ ยังไงไม่ทราบ



ผมก็คิดอย่างป้านวลครับว่า มันเป็นส่วนประกอบที่มากับชื่อ เป็นหัวโขนหรือเป็นสิ่งสมมติ เมื่อท่านนั้นๆ ยังมีหัวโขนอยู่เราก็เรียกท่านไปตามระเบียบ ตามที่สมมติไว้  เป็นการให้เกียรติตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นการให้เกียรติตัวบุคคล ในเรื่องนี้วงการทูต (เอ้อ .... ป้านวลครับ ทูต สะกด ท.ทหาร ครับ) ก็รับรองเป็นแบบแผนที่รับรู้ทั่วไป แม้แต่ในประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ก็ยังเรียกเอกอัครราชทูตว่า ฯพณฯ ตามที่โลกสมมติกันครับคุณ CH ที่เมืองจีน (แดง) สมัยยังปฏิวัติจ๋า จะใช้คำนี้ไหมก็ไม่รู้ (ตอนโน้นอาจจะเรียกว่า "สหายทูต" ก็ได้กระมัง) แต่เมื่อชักจะซาๆ อุดมการแล้ว จีนเขาก็รับใช้คำนี้ครับ ภาษาจีนเรียกว่า เก๋อเซี่ย ครับคุณ CH (ที่จริงเรื่องเก๋อเซี่ย เตี้ยนเซี่ย อะไรนี่ก็สนุก ผมเองเคยเขียนตั้งข้อสังเกตไว้เหมือนคุณ CH เหมือนกันว่า แปลออกมาแล้วมันเหลื่อมล้ำต่ำสูงชัดๆ ทำท่าว่าน่าจะขัดอุดมการ แต่จีนเขาก็ใช้โดยถือว่าเป็นแค่คำๆ หนึ่งเท่านั้นเองครับ)

รัสเซียนั้น สมัยนี้หรือแม้แต่สมัยที่ยังเป็นสหภาพโซเวียตอยู่ เขาเรียกทูตเขาว่า ฯพณฯ เช่นกัน (ไม่ทราบเหมือนกันว่าสมัยเพิ่งปฏิวัติเสร็จเขาเรียกยังไง) มีที่ผมนึกออกก็ลีเบีย ซึ่งหลังกัดดาฟีทำปฏิวัติแล้วแกก็ยกเลือกตำแหน่งทูต ผู้แทนของลิเบียในต่างประเทศ และสถานทูตด้วย เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ทั้งคนทั้งสำนักงาน สถานทูตลิเบียไม่เรียก Embassy เรียกว่าเป็น People's Bureau of ลิเบีย ประจำประเทศนั้น ตัวทูตเรียกตำแหน่งใหม่ว่า Secreatry of the People's Committee ประจำประเทศนั้น ก็คือเอกอัครราชทูตนั่นแหละ ก็ประหลาดดี เดี๋ยวนี้จะเปลี่ยนหรือยังไม่ทราบ

ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงว่าคำๆ นี้เป็นเพียงสมมติได้ชัดๆ คือกรณีของปลัดกระทรวงครับ ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ปลัดกระทรวงเป็นข้าราชการประจำสูงสุดของกระทรวงนั้นๆ รวมทั้งของกระทรวงผมด้วย ทูตทั้งหลายเป็นตำแหน่งระดับ C.10 ท่านปลัดเป็น C. 11 และแน่นอน ท่านปลัดต้องเป็นนายเหนือทูตทั้งหลายแน่ๆ อยู่แล้ว ปลัดส่วนมากหรือเกือบทั้งหมดก่อนจะขึ้นมาเป็นปลัดได้ก็ต้องเคยเป็นเอกอัครราชทูตมาแล้วด้วย แต่ตามระเบียบทั้งทางไทยทางฝรั่งไม่ได้กำหนดให้ใช้คำว่า ฯพณฯ กับปลัดกระทรวงครับ ให้ใช้แต่กับทูตซึ่งเป็นผู้แทนประเทศไทยและเป็นผู้แทนพระองค์ในหลวงในต่างประเทศ ดังนั้นท่านปลัด ซึ่งใหญ่กว่าท่านทูต จึงเป็นนาย หรือ Mr. เฉยๆ (แม้ว่าแต่ก่อนนี้ คนๆ เดียวกันนั้นสมัยเป็นทูตก่อนจะมาเป็นปลัด จะเป็น ฯพณฯ มาแล้วก็ตาม) ถ้าอีกหน่อยมีปลัดหญิงก็เป็นนางหรือนางสาวเฉยๆ แต่นาย นาง นางสาวเฉยๆ นี่แหละ สั่งบรรดา ฯพณฯ ได้ครับ ก็ใช้กันมาเช่นนี้ ไม่เห็นมีใครเดือดร้อนอะไร ท่านปลัดท่านก็ทราบดีว่า ถึงท่านจะไม่ได้เป็น ฯพณฯ ท่านก็เป็นซี 11 สั่ง ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ได้อยู่แล้วในทางราชการ นั่นแหละสำคัญกว่า


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: นวล ที่ 09 พ.ค. 02, 01:27
 ขออภัย ขออภัย
ทูต ทูต ทูต ทูต ทูต

รู้สึก(เอาเองจากที่ได้ยิน)ว่า การขานเรียกเอกอัครราชทูต
ว่า ฯพณฯ (พณฯ) นั้น จะทำกันเมื่อท่านทูตนั้นอยู่ต่างแดน
แต่หากเมื่อไร อยู่ในเขตราชอาณาจักรไทย ก็จะเหลือแต่
นาย.......... เอกอัครราชทูตไทยประจำ.......... เฉยๆ เท่านั้น


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: อ้อยขวั้น ที่ 09 พ.ค. 02, 14:29
 เพื่อนดิฉันต้องติดต่อราชการอยู่บ่อยๆ ค่ะ  เวลาได้ยินเธอโทรศัพท์ไปตามหน่วยราชการแล้วให้ขัดหูขัดใจซะจริงๆ  ขนาดนายพัน นายพล ทั้งหลาย  เพื่อนดิฉันยังขานคำนำหน้าว่า "ท่าน" ไปซะหมด  พอท้วงเข้าเธอก็ว่าขืนไปเรียกคุณนั่นคุณนี่  เดี๋ยวคุณๆ หน้าห้องเค้าก็ไม่ยอมพูดด้วยน่ะสิ  เคยเจอแบบว่าไปเรียกนายของเจ้าหล่อนว่าคุณ  แม่เจ้าประคุณตอบเน้นๆ เสียงมาว่า "ท่าน ไม่ว่างนะเคอะ"


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: ทองรัก ที่ 09 พ.ค. 02, 16:47
 เดี๋ยวนี้อาการนี้ระบาดไปเกือบทุกวงราชการไทยแล้วค่ะ
คุณอ้อยขวั้นขา พี่ชายลูกพี่ลูกน้องของทองรักอยู่ในแวดวงตุลาการ เคยเล่าให้ฟังว่าในวงการผู้พิพากษานั้นเขาใช้สรรพนามบุรุษที่ 2 กันว่า "ท่าน" ไม่ใช่เฉพาะผู้น้อยพูดกับผู้ใหญ่นะคะ ระดับเดียวกันก็พูดอย่างนั้น เจอกันในลิฟต์ตอนเช้าก็ทักกันว่า "สวัสดีครับท่าน" ถ้าเจอตอนเย็นก็ "ท่านจะกลับบ้านแล้วหรือ" ตอนแรกก็นึกว่าพี่เขาล้อเล่น พอวันหนึ่งมีโอกาสได้ยินเข้ากับหูตัวเองเข้าถึงกับอึ้ง  
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าในวงการวิชาการ โดยเฉพาะลูกศิษย์กับอาจารย์ กลับไม่มีใครยอมใช้สรรพนามแทนอาจารย์ว่า "ท่าน" ทั้งที่น่าจะใช้ถ้าเราคิอว่าการเรียกอีกฝ่ายหนึ่งว่า "ท่าน" คือการยกย่อง เด็กเดี๋ยวนี้เรียกอาจารย์ลับหลังด้วยชื่ออาจารย์อย่างเดียวค่ะ ใช้สรรพนามแทนอาจารย์ว่า "แก" อย่างเบาะ ๆ ก็ "เค้า" ทองรักเองแอบได้ยินนักศึกษาที่คณะพูดมาหลายครั้งแล้วก็ได้แต่อึ้งอีกเหมือนกันค่ะ    


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 10 พ.ค. 02, 14:15
 จริงๆแล้วผมก็ไม่ได้รังเกียจรังงอนอะไรหรอกครับ เข้าใจอยู่ว่าเป็นแค่ เครื่อง ประจำตำแหน่ง แต่หมั่นไส้นิดหน่อยน่ะครับ เลยขอเหน็บสักหน่อย  

จะว่าไปแล้วชีวิตนี้ได้แต่หวังว่าจะไม่มีโอกาสไปพบกับ พณฯ เหล่านั้น กลัวว่าตอนพูดแล้วเผลอนึกขึ้นได้ว่ามันแปลว่า พ่อเหนือหัวเจ้าท่าน แล้วจะพาลคายของเก่าออกมาตรงนั้นน่ะครับ เสียดาย...

อย่างการใช้สรรพนามนั้น ผมเองกลับรู้สึกเฉยๆ เพราะภาษาเหล่านี้เปลี่ยนไปตามสมัยนิยม ภาษาไทยนี้ดูจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับเรื่องนี้ ดูง่ายๆ สรรพนามบุรุษที่ 1-2 เรามีใช้กันมากมาย ทั้ง ผม-คุณ, ข้า-เจ้า, เรา-นาย, เรา-เธอ, ชั้น-ตัว, ฉัน-เธอ, เรา-นาย, เรา-ตัวเอง, อั๊ว-ลื้อ, กู-มึง(ขอโทษ), ชั้น-แก, ฯลฯ เยอะจนงง (นี่ขนาดไม่รวม ผม-มึง ที่เพื่อนผมบางคนใช้) ในขณะที่ภาษาอังกฤษมีแค่ I-you (ไม่นับพวกที่ใช้ในวรรณคดีที่ไม่เคยได้ยินใครใช้อีกแล้ว) จีนก็มีแค่ หว่อ-หนี่(หรือ หนิน สำหรับยกย่อง) ต้องยอมรับว่าพี่ไทยเราเหนือชั้นกว่าเยอะในเรื่องนี้ อย่างการเรียกอาจารย์ว่า แก แทนที่จะเป็น ท่าน นั้นผมว่าน่าจะยอมรับได้ ถ้าเรียกด้วยความเคารพ ถ้าเรียกเป็นชื่อเฉยๆก็คงต้องถือว่าเป็นการเรียกโดยละความเคารพ(เอาไว้ที่ไหนไม่รู้) ก็คงมาเข้ายุคสมัยเรื่องการเคารพคนที่การกระทำ ไม่ใช่หัวโขนที่สวม

เรื่องวิวัฒน์(รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้เขาจะให้ใช้คำนี้แทน วิวัฒนาการ)ของภาษานั้น เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับจริงๆ ผมเห็นการโต้เถียงเรื่องการใช้ภาษามามาก บ้างว่าน่าจะดำรงไว้ บ้างว่าน่าจะปล่อยให้เปลี่ยนแปลงไป ผมว่าภาษาที่เราใช้กันนั้นมันต่างไปจากสมัยพ่อขุนรามฯไปถึงไหนๆแล้ว ในขณะเดียวกันการคัดง้างการเปลี่ยนแปลงนั้นเชื่อว่าไม่ได้เพิ่งมาเกิดในสมัยนี้หรอกครับ มันต้องมีมาอยู่ตลอดควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงนั่นแหละ และก็ต้องถือว่าเป็นกลไกหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย

ลองดูคำว่าพิสดารที่ถูกใช้ในความหมายว่า พิลึกสิครับ เชื่อว่าความหมายนี้น่าจะถูกใช้มาไม่เกิน 30 ปีนี่เอง (ผมจำได้ว่าคู่มือสอบสมัยปี 251x ยังเขียนว่าเฉลยโดยพิสดารอยู่เลย ถ้าเป็นสมัยนี้ เขียนอย่างนี้ ใครจะกล้าซื้อเนี่ย   )

หรือคำว่า แพ้ ที่สมัยสุโขทัยดันแปลว่าชนะ (ถ้าจะบอกว่าแพ้ต้องใช้พ่าย)

จะคุยเรื่องคำเหล่านี้ให้เข้าไส้สงสัยต้องตั้งกระทู้ใหม่ครับ


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 11 พ.ค. 02, 23:43
 
ผมว่า เราก็ไม่ต้องไปนึกสิครับว่าเดิมคำนี้แปลว่าอะไร จะได้ไม่เกิดอาการคลื่นไส้...
คำที่เดี๋ยวนี้เป็นธรรมดาไปแล้ว คือคำว่า นาย ที่เท่ากับ Mr.  นั่น ที่จริงก็มีความหมายเดิมเป็นเชิงยกย่องมาก ให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นนายคนพูด แต่เดี๋ยวนี้ ถ้าเรียกประกอบกับชื่อว่า นายนิลกัง ขาสกุล ก็ฟังดูเป็นการเรียกชื่อธรรมดาๆ ที่เป็นทางการ (มักเกิดบนอำเภอ) ถ้าเรียกว่า "นาย"  - "นายนั่นน่ะ"  ด้วยสำเนียงอย่างหนึ่งอาจกลายเป็นการกดให้ต่ำได้ด้วยซ้ำ อย่าว่าแต่จะไม่ยกย่องเลย

พิสดารเคยแปลว่าละเอียด ต่อมากลายเป็นแปลว่าแปลกประหลาด แต่คำที่ตรงกับพิสดารในภาษาบาลี (คำว่าพิสดารเองเป็นสันสกฤตครับ) นั่นคือ วิตถาร ที่จริงคำเดียวกัน แต่วิตถารได้ความหมายในทางไม่ดีมานานแล้ว ก่อนพิสดารครับ

ในภาษาจีน เอ ท่าผมจะต้องเชิญคุณ CH อ่านเรื่องที่ผมเขียนไว้นานแล้ว เรื่อง คำว่า -เซี่ย ทั้งหลาย คือคำประกอบที่เป็นการยกย่อง มี เช่น เก๋อเซี่ย เตี้ยนเซี่ย ปี้เซี่ย เป็นต้น และคำที่คล้ายกันอีกคำคือ หวางซ่าง เซี่ยแปลว่าล่าง หรือใต้ ซ่างแปลว่าบน หรือเหนือ เห็นไหมครับว่ามีร่อยรอยของการเหลี่ยมล้ำต่ำสูงชัดเลย แต่คนจีนปัจจุบันก้ไม่ได้ใช้เคร่งมากหรอก หรือถ้าจะใช้อยู่เขาก็ใช้ไปในฐานะคำในภาษา ไม่ได้นึกแยกศัพท์จับแปล ผมเอาบทความบทนั้นที่เขียนไว้นานแล้วไปไว้ไหนก็ไม่ทราบแล้วครับ ขอค้นก่อน เขียนไว้หลายปีมากแล้ว

เรื่องนี้น่าจะตั้งกระทู้ได้อีกกระทู้อย่างคุณ CH ว่า

พูดถึงหนิน ในภาษาจีน แถมให้หนึ่งเรื่องครับ วัยรุ่นไต้หวันเคยมีคำแสลงที่เป็นเก๋เป็นเดิ้นพูดติดปากกันพักหนึ่ง ไม่ทราบว่าจะตกเวทีแฟชั่นไปรึยังตอนนี้ คือบอกรักว่า 520 ครับ เดี๋ยวนี้อาจจะเชยแล้วก็ได้ คำว่าฉันรักเธอ นั่นเรารู้กันอยู่ว่าจีนกลางบอกว่า หว่ออ้ายหนี่ หนี่ เป็น หนินได้ ถ้าจะยกย่อง หว่ออ้ายหนี่จึงเป็น หว่ออ้ายหนินก็ได้ และ วัยรุ่นวัยเฮ้วจีนไต้หวันเขาว่า  520 นั้น ฟังคล้ายๆ หว่ออ้ายหนิน (หูผมว่าไม่เห็นคล้ายเลย แต่หลานๆ น้องๆ เขาว่าคล้ายง่ะ-) 520 ออกเสียงว่า อู่เอ้อร์หลิง หรือลากเป็น หวู่เอ้อหลิน แล้วปะล่อมปะแล่มเป็น หว่ออ้ายหนิน - เอ้า คล้ายก็คล้ายวะ 520 ครับทุกท่าน


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: Le Roi du Soleil ที่ 09 ธ.ค. 05, 05:03
 ผมเอากระทู้เก่าๆ มาตอบจะผิดกติกาไหมครับ (ถ้าโดยธรรมเนียมที่นี่เขาไม่ทำกันก็ขอความกรุณาเตือนด้วยนะครับ จะได้ไม่ทำอีก) เข้าเรื่องดีกว่า

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณฯ ได้กำหนดไว้ว่าบุคคลที่สามารถใช้คำนำหน้านามว่า ฯพณฯ ได้คือ

๑. ประมุขฝ่ายต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่
   ๑.๑ ประมุขฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกรัฐมนตรี
   ๑.๒ ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ ประธานรัฐสภา (ตามรธน. ฉบับบปัจจุบันคือ ประธานสภาผู้แทยราษฎร์ และให้อนุโลมใช้กับประธานวุฒิสภาด้วย)
   ๑.๓ ประมุขฝ่ายตุลาการ ได้แก่ ประธานศาลศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด

๒. ประธานองคมนตรี

๓. ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่
   ๓.๑ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
   ๓.๒ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
   ๓.๓ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   ๓.๔ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ
   ๓.๕ ประธานกรรมการป้งกันและปราบปรามการฟอกเงิน
   ๓.๖ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
   ๓.๗ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ    
   ๓.๘ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

มีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ ผู้ที่สามารถใช้คำนำหน้าว่า ฯพณฯ ได้ เวลาเราทำหนังสือราชการไปถึงผู้นั้น จะต้องขึ้นต้นว่า "กราบเรียน" และลงท้ายว่า "ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง" (จากปกติเราขึ้นต้นและลงท้ายว่า "เรียน" และ "ขอแสดงความนับถือ")


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 05, 06:26
 ไม่ผิดกติกาค่ะ  เชิญเลือกตอบได้ตามอัธยาศัย


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: ประชาชน ที่ 13 ธ.ค. 05, 05:01
 สังคมทุกสังคม ไม่ว่ายุคใดสมัยใด ต่างมีการจัดลำดับชั้นทางสังคมทั้งสิ้น ไม่ว่าการจัดลำดับชั้นนั้นจะเรียกชื่อว่า อย่างไร แต่โดยเนื้อแท้คือ การจัดลำดับชั้นทางสังคม ตัวอย่างคำว่า prince ที่ใช้เริ่มต้นจากโรมัน ก็มาจากคำว่า first among equal คือ จักรพรรดิออกุสตุส ไม่ต้องการทำตัวว่าเหนือกว่าคนอื่น ก็ใช้ title นี้  (เพราะโรมันยุคนั้น โดยกฎหมายยังคงเป็น สาธารณรัฐ ซีซาร์ถูกฆ่าเพราะมีแนวคิดที่จะเป็นกษัตริย์) แต่โดยโครงสร้างอำนาจ ไม่ว่าออกุสตุสจะใช้ title ว่าอะไร เขาก็เป็นคนที่มีอำนาจที่สุดในจักรวรรดิ์โรมันอยู่นั้นเอง title นั้น จึงสำคัญ

โครงสร้างอำนาจในสังคมไทยปัจจุบัน นักการเมือง และข้าราชการหัวหน้าหน่วยงานคือ คนที่มีอำนาจในสังคม จะชอบหรือไม่ชอบ คำเรียกคนเหล่านี้ สังคมก็ต้องสร้างมันขึ้นมา ให้พิเศษกว่าคนอื่นอยู่นั้นเอง

ดังนั้น "โครงสร้างอำนาจ" ไม่มีทางหายไปจากสังคมมนุษย์ ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอะไรก็ตาม


กระทู้: "ฯพณฯ" ที่มา และการใช้
เริ่มกระทู้โดย: vasudo ที่ 19 ธ.ค. 05, 11:36
 ที่มาเหมือนไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) รึเปล่าครับ คือผมก็ไม่ทราบที่มาเหมือนกัน

สวัสดีครับเป็นสมาชิกใหม่ครับ