เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มี.ค. 13, 09:21



กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มี.ค. 13, 09:21
ทุก ๆ ปี เวลาใน "เรือนไทย" จะเปลี่ยนไปคือเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงในเดือนมีนาคม และช้าลง ๑ ชั่วโมงในเดือนพฤศจิกายน

เวลาของกระทู้นี้ เวลาจริง (ในเมืองไทย) คือ ๙ นาฬิกา ๒๑ นาที แต่ใน "เรือนไทย" คือ ๑๐ นาฬิกา ๒๑ นาที

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ เรื่องนี้มีคำอธิบาย

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5510.0;attach=38733;image)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มี.ค. 13, 09:31
คำถามที่พบเสมอเมื่อถึง

เดือนมีนาคม

คำถาม

คือเวลาในเรือนไทยเนี่ยครับ มันเวลาของประเทศไหนกันแน่ครับ
ไม่ใช่เวลาของอังกฤษ หรือไทย หรือจะเป็นของอเมริกา
ผมสงสัยว่าเป็นเวลาของอินเดียหรือบังคลาเทศหรือเปล่าครับ
ตั้งตามเวลาไทยไม่ได้หรือครับ

คำตอบ

พี่ว่าคงเป็นเพราะตอนนี้้ในอเมริกายังใช้เวลา day light saving's time อยู่น่ะค่ะ  มันจึงขาดไปชั่วโมงนึง  ปีหนึ่งในอเมริกาและยุโรปจะเปลี่ยนเวลาสองครั้ง  แต่เมืองไทยไม่เปลี่ยน  เลยออกจะสับสนกันน่ะค่ะ

และพฤศจิกายน

คำถาม

เวลาในเรือนไทยช้าไปหนึ่งชั่วโมง ขณะนี้ เวลา 6.59

คำตอบ

สาเหตุจากสิ้นสุดเวลาออมแสงที่อเมริกา

เรือนไทยอิงการปรับเวลาที่อเมริกา เพราะมี server อยู่ที่นั่น  (http://www.seekwebsite.com/reurnthai.com.html)

ปีนี้ที่อเมริกา เวลาออมแสงจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๒ นาฬิกาของวันที่ ๑๑ มีนาคม และจะสิ้นสุดลงเวลา ๒ นาฬิกาของวันที่ ๔ พฤศจิกายน

"เวลาออมแสง" คุณรู้จักหรือไม่ !!! (http://board.postjung.com/521269.html)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มี.ค. 13, 10:30
เวลาออมแสง หรือ daylight saving time - DST คืออะไร

คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87) อธิบายไว้ดังนี้

เวลาออมแสง (daylight saving time - DST) หรือ เวลาฤดูร้อน (summer time) เป็นข้อตกลงในการปรับนาฬิกาไปข้างหน้า เพื่อให้มีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่ายมากขึ้นและมีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้ามีน้อยลง โดยปกติแล้วจะปรับไปข้างหน้าหนึ่งชั่วโมง ก่อนจะเข้าฤดูใบไม้ผลิ และปรับกลับหลังในฤดูใบไม้ร่วง เวลาออมแสงในยุคสมัยใหม่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย William Willett นักก่อสร้างชาวอังกฤษ หลายประเทศได้เริ่มใช้เวลาลักษณะนี้นับตั้งแต่นั้น โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามสถานที่และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งคราว
 
การเลื่อนนาฬิกาของเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่าง ๆ เวลาลักษณะนี้ทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น ก่อความวุ่นวายให้การนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน
 
ระบบเวลาออมแสงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีช่วงแสงสว่างที่ "เหมาะสม" ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยปรับนาฬิกาให้เข้ากับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเปลี่ยนไปตามฤดู ตามความเอียงของแกนโลก
 
ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เริ่มทำการปรับเวลาออมแสงแตกต่างจากประเทศอื่นโดยการ เริ่มต้น ๓ อาทิตย์ก่อนเวลาออมแสงปกติ และสิ้นสุด ๑ อาทิตย์หลังเวลาออมแสงปกติ ซึ่งลงชื่อรับรองโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
 
ในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยมี DST ได้แก่มาเลเซียและฟิลิปปินส์

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/5a/DST_Countries_%28September_2011%29.png/800px-DST_Countries_%28September_2011%29.png)


สีฟ้า      - บริเวณที่มีการใช้เวลาออมแสง

สีเหลือง - บริเวณที่เคยใช้เวลาออมแสง
 
สีแดง    - บริเวณที่ไม่เคยมีการใช้เวลาออมแสง

ผลของเวลาออมแสง คุณประกอบและคุณหมอศานติน่าจะให้ข้อมูลได้มากกว่านี้

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มี.ค. 13, 10:43
เวลาออมแสงในอเมริกา ยกเว้นฮาวาย อเมริกันซามัว กวม เปอร์โตริโก หมู่เกาะเวอร์จิน หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และอริโซนา (ยกเว้นเขตสงวนเผ่านาวาโฮ) ;D


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มี.ค. 13, 11:20
ขณะนี้ เวลาใน "เรือนไทย" เป็นเวลาออมแสงแบบที่ใช้ในอเมริกา

คิดว่าคงกลับมาใช้เวลา "เมืองไทย" ในไม่ช้านี้

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: admin ที่ 10 มี.ค. 13, 12:15
ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูที่แจ้งเตือนครับ เป็นข้อจำกัดของระบบที่ใช้อยู่ครับ ต้องแก้มือทุกครั้ง แล้วก็ลืมทุกครั้งเสียด้วยสิครับ

 :-[


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: ศานติ ที่ 10 มี.ค. 13, 21:41
เวลาออมแสง (Daylight Saving Time) เรื่มตอนหมดฤดูหนาว ไปสุดสิ้นตอนฤดูใบไม้ร่วง วิธีจำ (mnemonic) ที่ผมใช้คือ Fall back then spring forward. แปลได้สองอย่าง ถอยหลังแล้วกระโดดไปข้างหน้า หรือ ถอยหลังตอนฤดูใบไม้ร่วงแล้วกระโดดไปข้างหน้าตอนฤดูใบไม้ผลิ  ม่ายงั้นจำไม่ได้ว่าจะตั้งให้เร็วชึ้นหรือช้าลง


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 11 มี.ค. 13, 02:28
เรื่องเศร้าๆ ของเวลาออมแสงคืออีกไม่กี่วันข้างหน้าที่อังกฤษจะปรับเวลาเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมง จากเดิมตื่น 7 โมงเช้า จะกลายเป็น 8 โมงกลายเป็นสายโด่ง ปรับทีขาดทุนไป 1 ชั่วโมง ผมเลยชอบตอนปรับเวลาให้ช้าลงมากกว่า เพราะเดิมตื่น 7 โมงเช้า กลายเป็น 6 โมงเช้าแทน รู้สึกเหมือนได้กำไรมา 1 ชั่วโมง


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 มี.ค. 13, 09:54
        ที่อังกฤษ - British Summer Time (BST) เริ่มต้นที่ 
วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม จนถึง วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม
ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓๑ มีนาคม - ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ 

         2013: Sunday, 31 March, 01:00 - Sunday, 27 October, 02:00

     


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 มี.ค. 13, 11:05
การเลื่อนนาฬิกาของเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายต่าง ๆ เวลาลักษณะนี้ทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น ก่อความวุ่นวายให้การนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรม ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน

อยากฟังคุณหมอศานติและคุณประกอบเล่าประสบการณ์ความยุ่งยากอื่น ๆ ที่พบ อันมีผลเนื่องมาจากเวลาออมแสง

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/smiley03.png)



กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 11 มี.ค. 13, 17:55
นอกจากความรู้สึกว่าขาดทุนหรือกำไรเวลา 1 ชั่วโมงตอนที่มีการปรับเวลา ความยุ่งยากอื่นๆ แทบไม่ค่อยมีครับ ที่มีก็เห็นจะเป็นเรื่องที่ต้องปรับนาฬิกาบางเรือนใหม่เท่านั้น แต่ที่อังกฤษนี่มีนาฬิกาที่เรียกว่า radio control   คือรับสัญญาณเวลาทางคลื่นวิทยุจากไหนก็ไม่รู้  ในเมืองไกลปืนเที่ยงนอกตัวเมืองในหมู่บ้านชนบทแบบของผมนาฬิกาก็ยังรับสัญญาณได้  ดังนั้นเวลาเปลี่ยนนาฬิกาพวกนี้ก็เปลี่ยนให้เองอัตโนมัติ สะดวกดีมาก ต้องปรับใหม่แต่นาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาในรถเท่านั้น  นอกนั้นก็ต้องปรับเวลาโทรกลับบ้านที่เมืองไทยนิดหน่อย แต่อย่างอื่นเรียกได้ว่าไม่มีผลกระทบครับ


จริงๆ แล้วการปรับเวลานี่ผมว่าจะเป็นสำหรับประเทศที่อยู่บนๆ หรือใต้ๆ มากๆ ด้วยเพราะในฤดูที่แตกต่างช่วงเวลากลางวันกลางคืนจะแตกต่างกันมาก ไม่เหมือนกับเมืองไทยที่ไม่ว่าฤดูไหนกลางวันกลางคืนก็ยาวพอๆ กัน  ดังนั้นการปรับเวลาทำให้ช่วงเวลากลางวันโดยเฉพาะเวลาทำงานจะตรงกับเวลาที่มีแสงอาทิตย์มากกว่า ก็นับว่าเหมาะสมดีครับ


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 มี.ค. 13, 20:04
รู้จักเวลาออมแสงครั้งแรกเมื่อไปเรียน    เพราะกลางวันกลางคืนของที่โน่นสั้นยาวไม่เท่ากัน  ไม่เหมือนบ้านเรา    หน้าร้อนของเขา สว่างไปจนสามทุ่ม   ส่วนหน้าหนาวแค่ห้าโมงเย็นก็มืดแล้ว   จึงต้องมีการปรับเวลาให้เร็วขึ้นช้าลง
ตอนแรกก็ไม่ชอบการปรับเวลา   เพราะฤดูหนาวมืดเร็ว  ยิ่งถอยเวลาไปอีกหนึ่งชั่วโมงยิ่งทำให้มืดเร็วหนักขึ้น  แทนที่จะมืดห้าโมงเย็นก็กลายเป็นมืดตั้งแต่สี่โมง  ตอนเช้าเคยมี class ตอนเจ็ดโมงเช้า    ความจริงมันก็แปดน่ะแหละ  แต่เจ็ดหรือแปดก็หนาวดับจิตเท่ากัน

ขอสารภาพว่าโพสต์กระทู้นี้ด้วยความยากลำบาก เพราะเริ่มจะสับสนว่าหน้าร้อนหน้าหนาวนี่มันเร็วหรือช้ายังไงกันแน่  ขนาดอ่าน Fall back then spring forward. ของอาจารย์หมอศานติเป็นแนวทางแล้วนะคะ


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: ศานติ ที่ 11 มี.ค. 13, 22:10
เพิ่งเมื่อคืนนี้เองครับ นัดเพื่อนฝรั่งสองคู่ไปทานอาหารกันตอนหนึ่งทุ่ม มาหนึ่งคู่ตรงเวลาดี แต่อีกคู่ 19:15 ก็ยังไม่มา โดยมากคู่นี้เขาตรงต่อเวลามาก เลยโทร.ไปหา ปรากฎว่าทั้งสามีภริยาลืมเรื่องออมแสง ไม่ได้ปรับเวลาใหม่ เลยมีเรื่องเก็บไว้ล้อกันวันหลัง

เดือนแรกที่ผมมาอยู่อเมริกาตรงกับหน้าร้อนพอดี ตีห้าก็สว่างจ้า กว่าพระอาทิตย์จะตกก็สามทุ่ม รู้สึกง่วงนอนทั้งวัน นึกไม่ออกจนมานึกได้ว่าอยู่เมืองไทยเข้านอนหลังพระอาทิตย์ตกสัก 3-4 ชม. ตื่นก็ตอนพระอาทิตย์ขึ้น ติดนิสสัยไปทำแบบนั้นคืนหนึ่งๆเลยได้นอนไม่พอ ต้องหัดดูนาฬิกา  

มีเด็กไทยซื่อๆ อายุ 20 โดนเขาหลอกให้เอายาเสพย์ติดเข้าประเทศ โดนจับได้ โดยมากผมไม่ยุ่งด้วย แต่รายนี้ผมว่าโดนต้มจริงๆ เลยช่วย ไม่มีที่อยู่ ภริยาผมก็ใจดียอมให้มาพักที่ apartment ที่ผมเช่าอยู่ ร้านอาหารข้างบ้านกำลังบูรณะ ต้องการคนช่วย ผมเลยแนะให้เด็กไปหาเขา เขานัดพบเพื่อสัมภาษณ์ 10 โมงเช้า ผมกินข้าวเช้าอยู่สัก 8 โมง ภริยาถามว่า "...หายไปไหน ออกไปแต่เช้า" ผมว่า "เขามีนัดไม่ใช่เหรอ" "ใช่ แต่นัด 10 โมง นี่แค่ 8 โมง"  อีกสักพักเขากลับมา บอกว่าร้านยังไม่เปิด เห็นพระอาทิตย์ขึ้นสูงแล้ว ผมเลยบอกเขาว่า "พระอาทิตย์ฝรั่งเชื่อไม่ได้หรอก ต้องดูนาฬิกา"

นานๆเจอคนซื่อก็ทำให้ปลื้มใจ แต่ต้องระวังจัง  ตอนพักอยู่กับผมมีเด็กสาวโทรมาหาทุกวัน ถามไปถามมาได้ความว่าเป็นลูกสาว อายุ 14-15 ของคนข้างบ้านคนที่เป็นต้นคิดให้ทางคนที่เมืองไทยลอบเอายาเสพย์ติดว่าเป็นเครื่องแกงใส่กระเป๋าเข้าประเทศ ท่าทีเด็กแก่เกินวัย ผมเลยต้องอธิบายให้ฟังว่าอเมริกันเคร่งเรื่องนึ้มากกว่าไทย(สมัยโน้น) ติดตะรางเอาง่ายๆ จะแก้ตัวว่า เด็กมันยั่วผม ไม่ได้


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 มี.ค. 13, 23:42
การผิดนัดน่าจะเป็นปัญหาพื้นฐานของการปรับเวลาออมแสง  ;)

เรื่องการปรับเวลาให้เร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงนี้ เมืองไทยก็เคยมีคนเสนออยู่เหมือนกัน แต่ไม่เกี่ยวกับ "แสง" หากเกี่ยวกับ "ทรัพย์" ข้อเสนอนี้เกิดขึ้นเมื่อง ๒๐ ปีที่แล้ว

ข่าวเก่าจาก หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ (http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=5948)

จู่ ๆ ช่วงกุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ปีนี้ อุทัย พิมพ์ใจชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็เกิดปิ๊งในไอเดียของตัวเอง ที่จะให้มีการปรับปรุงเวลาประเทศไทยให้เร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมงด้วยเหตุผลเชิงเศรษฐกิจ ที่จะทำให้นักธุรกิจ นักการค้าระหว่างประเทศและนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความได้เปรียบในการบริหารเวลา เพราะเวลาที่ปรับเร็วขึ้นนี้จะใกล้เคียงประเทศฮ่องกง แต่จะเร็วกว่าสิงคโปร์ และจะช้ากว่าญี่ปุ่นเพียงหนึ่งชั่วโมงจากเดิมที่ช้าถึง ๒ ชั่วโมง

 รมว. อุทัยมอบหมายให้ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายการต่างประเทศของกระทรวงฯ ศึกษาความเป็นไปได้ และได้มีการเปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงผลดีของการปรับเวลานี้ ว่าเป็นประโยชน์ต่อการติดต่อทางธุรกิจกับกลุ่มประเทศอาเซียน และตะวันออกไกล นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดไฟฟ้า

คุณชายสุขุมพันธ์ยังให้ทัศนะต่อไปว่า ปัจจุบันสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป หากยังเป็นสังคมเกษตรเหมือนเดิมก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเวลา แต่หากเปลี่ยนแปลงเวลาแล้วไม่กระทบต่อเกษตรกรก็ควรทำ เพราะการทำเกษตรกรรมนั้นขึ้นอยู่กับแสงอาทิตย์ ไม่จำเป็นต้องปลุกควายขึ้นมากินหญ้าเร็วขึ้น!

 "เวลาไม่ใช่เรื่องศักดิ์สิทธิ์เหมือนศาสนาที่แตะต้องไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่ทำขึ้นมาเพื่อความสะดวก แต่ยอมรับว่าเป็นเรื่องใหม่ หากเปลี่ยนเวลาจริงก็ต้องเลื่อนเวลาของนักเรียนให้เหมาะสมขึ้น" คุณชายสุขุมพันธ์แถลงข่าว

 งานนี้ กรมอุทกศาสตร์ ผู้ดูแลรักษาเวลาบอกว่าเป็นเรื่อง SENSITIVE แม้จะเปลี่ยนเวลาสักวินาทีเดียว เพราะตามข้อตกลงที่ประเทศต่าง ๆ ทำไว้กับสถาบันเวลามาตรฐานสากล B.I.P.M. และ U.S.N.O. แห่งราชนาวีสหรัฐฯ ได้มีการแบ่งโซนเวลาทั่วโลก โดยไทยนั้นถือเอาเวลาที่เห็นดวงอาทิตย์เร็วกว่าเมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ ๗ ชั่วโมง

 อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ประเทศสิงคโปร์ก็เคยประสบความสำเร็จในการขอเปลี่ยนแปลงเวลาทางเศรษฐกิจเพื่อให้ใกล้เคียงกับฮ่องกงมาแล้ว

 "เราไม่จำเป็นต้องทำขนาดนี้ หากอยากจะเปิดตลาดหุ้นให้ตรงกับฮ่องกง ก็เปิดตลาดหุ้นไทยให้เร็วขึ้นก็ได้" เจ้ากรมอุทกศาสตร์ พล.ร.ท. ถนอม เจริญลาภกล่าว

 แต่ในแวดวงนักธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธีรศักดิ์ สุวรรณยศ กรรมการผู้จัดการ บงล. นครหลวงเครดิต กลับเห็นว่าการปรับเวลาเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมงนี้จะก่อให้เกิดผลบวกมากกว่า เพราะเมื่อเวลาทำการซื้อขายหุ้นในไทยเท่ากับเวลาเปิดตลาดหุ้นฮ่องกง ก็จะมีส่วนช่วยให้นักลงทุนต่างชาติหันมาสนใจซื้อขาย

 "ปกติตลาดหุ้นไทยเปิดและปิดทำการซื้อขายหุ้นช้ากว่าตลาดฮ่องกง พอนักลงทุนต่างชาติซื้อขายหุ้นฮ่องกงจนปิดตลาดก็เลิกซื้อแล้ว โดยส่วนตัวผมจึงเห็นด้วยให้เลื่อนเวลาเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมง แม้จะตื่นเร็วขึ้น แต่ก็เลิกงานเร็วทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัว" ธีรศักดิ์กล่าว

 ขณะที่วิเชียร เจียกเจิม กรรมการผู้จัดการ บงล. เกียรตินาคินให้ทัศนะว่า ไม่น่าจำเป็นที่เราจะปรับเวลาให้เร็วขึ้น เพราะภาวะซื้อขายหุ้นแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นมากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้น

 ยังเป็นข้อถกเถียงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบที่จะเกิดขึ้นจากการบริหารเวลาใหม่ของไทยว่า ถ้าเวลาไทยเท่ากับสิงคโปร์ ธุรกิจบ้านเราก็ยิ่งเสียเปรียบเพราะสิงคโปร์เป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนที่มีความพร้อมและแรงจูงใจมากกว่า

 คุ้มหรือไม่! เมื่อมองจากปริมาณการค้ากับสิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งไทยเทียบเวลาแข่งขันด้วย ทำไมจึงไม่เปลี่ยนไปตั้งเวลาให้เท่ากับญี่ปุ่นซึ่งมีปริมาณการค้าสูงกว่า?

 คำถามเหล่านี้ยังไม่ครอบคลุมไปถึงผลกระทบเชิงสังคมวัฒนธรรม ความเชื่อทางโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และอีกร้อยแปดพันประการที่น่าปวดเศียรเวียนเกล้า

 แต่สำหรับอุทัย พิมพ์ใจชน รมว. พาณิชย์ ที่คิดการใหญ่จะบริหารเวลาประเทศไทยใหม่ ต้อนรับศักราชใหม่ของนโยบายอาฟต้า เขตการค้าเสรีอาเซียน ด้วยการทลายกำแพงเวลา นอกเหนือจากการลดกำแพงภาษีการค้าในภูมิภาคนี้ทั้งหมด อาจจะเป็นไอเดียสุดเท่ของรัฐบาลชุดนี้ก็ได้ !!!
 

แต่ในที่สุดข้อเสนอนี้ก็ตกไป

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 มี.ค. 13, 09:31
เรื่องการปรับเวลาประเทศไทยให้เร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงยังมีการพูดถึงกันอีกใน พ.ศ. ๒๕๓๘ และ พ.ศ. ๒๕๔๔

บทความจาก กระแสทรรศน์ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยจำกัด (http://202.29.22.182/research/intranet/product/thai/member/research/res01/jul/z1082.pdf)

เวลามาตรฐานประเทศไทย : ปรับเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมง เปลี่ยนอนาคตเศรษฐกิจไทย

การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ได้มีการเสนอแนวคิดในการปรับเวลามาตรฐานของประเทศไทยให้เท่ากับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการสร้างคุณภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นมาตรการ ๑ ใน ๒๘ มาตรการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

แนวคิดในการปรับเปลี่ยนเวลามาตรฐานของประเทศไทย ได้เคยเป็นประเด็นที่ได้รับการวิพากวิจารณ์กันมาครั้งหนึ่งแล้วในช่วงปี ๒๕๓๖ สมัยที่นาย อุทัย พิมพ์ใจชน ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนเวลาในประเทศไทยให้เร็วขึ้น ๑ ชั่วโมง เป็นเวลาเดียวกับสิงคโปร์และฮ่องกง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทยให้เทียบเท่ากับทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวได้เงียบหายไปในเวลาต่อมา

หลังจากนั้น ๒ ปี การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๕ ปี ๒๕๓๘ ที่กรุงเทพ ได้มีการเสนอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดการใช้เวลาเดียวกัน (ASEAN Common Time : ACT) เพื่อเป็นแนวทางสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในประชาคมอาเซียน อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้น ช่วยให้การเดินทางติดต่อค้าขายและการเจรจาต่อรองต่าง ๆ มีความสะดวกรวดเร็ว ปราศจากอุปสรรคทางด้านเวลา สำนักเลขาธิการอาเซียนได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เวลามาตรฐานอาเซียน ซึ่งเห็นว่าในกรณีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการปรับเวลาท้องถิ่นให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง ในช่วง ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง ประเทศสมาชิกจะไม่ประสบปัญหามากนัก เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนไม่มีปรากฏการณ์ที่ระยะเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืนมาก

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 มี.ค. 13, 11:32
สำนักเลขาธิการอาเซียนจึงได้เสนอแนวทางการกำหนดเวลาร่วมกันของอาเซียนเป็น ๒ ลักษณะ เพื่อให้สมาชิกพิจารณาคัดเลือก ได้แก่

๑. เลื่อนเร็วขึ้น ๓๐ นาที หมายถึงการกำหนดให้เวลามาตรฐานของอาเซียน (ACT) เป็นเวลาก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช ประเทศอังกฤษ (Greenwich Mean Time : GMT) ๗.๕ ชั่วโมง หรือ GMT+๗.๕ ชั่วโมง ปัจจุบันไทยมีเวลามาตรฐานเท่ากับ GMT+๗ หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ ก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช ๗ ชั่วโมง ประเทศอาเซียนที่มีเวลาก่อนกรีนิช ๗ ชั่วโมง เหมือนประเทศไทย ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ลาว และกัมพูชา

๒. เลื่อนเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมง หมายถึง การกำหนดให้เวลามาตรฐานของอาเซียน (ACT) เป็นเวลาก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช ๘ ชั่วโมง หรือเท่ากับ GMT+๘ ซึ่งจะทำให้เวลาท้องถิ่นของประเทศอาเซียนไปตรงกับเวลาท้องถิ่นของกรุงปักกิ่ง กรุงไทเป และฮ่องกง อีกทั้งยังจะทำให้เวลาท้องถิ่นอาเซียนใกล้เคียงกับเวลาที่กรุงโตเกียว และกรุงโซล ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนที่กำหนดเวลาท้องถิ่นอยู่ที่ GMT+๘ อยู่แล้ว ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน

โครงการการใช้เวลามาตรฐานร่วมกันของอาเซียน (ACT) ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาและยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการปี ๒๕๓๙ ณ ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดที่จะนำผลศึกษามาพิจารณาทบทวนกันในช่วงปี ๒๕๔๓-๒๕๔๖ แต่เนื่องจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินเอเชียตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินอย่างร้ายแรง ทำให้ประเด็นเรื่องการใช้เวลามาตรฐานร่วมกันของอาเซียนจึงยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากประเทศสมาชิก เมื่อเทียบกับประเด็นเศรษฐกิจทั่วไปของกลุ่มอาเซียน

ดูจากแผนที่เขตเวลา (time zone map) จะเห็นว่าประเทศที่อยู่ในเขต GMT+๗ มีเพียงไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และอินโดนีเซียเท่านั้นที่กำหนดเวลาตามความเป็นจริง ส่วนมาเลเซีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง และจีน อยู่ในเขตเวลาเดียวกับเราแท้ ๆ กลับใช้เวลา GMT+๘

หากเรากำหนด GMT+๘ บ้างก็ไม่น่าแปลก


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3276.0;attach=9565;image)



กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 มี.ค. 15, 08:36
ทุก ๆ ปี เวลาใน "เรือนไทย" จะเปลี่ยนไปคือเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงในเดือนมีนาคม และช้าลง ๑ ชั่วโมงในเดือนพฤศจิกายน

เวลาออมแสงในอเมริกา ยกเว้นฮาวาย อเมริกันซามัว กวม เปอร์โตริโก หมู่เกาะเวอร์จิน หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และอริโซนา (ยกเว้นเขตสงวนเผ่านาวาโฮ) ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5562.0;attach=39549;image)

เวลาออมแสงเริ่มต้นแล้วในวันนี้ เวลาในเรือนไทยก็จะเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงเป็นการชั่วคราว (จนกว่าแอดมินจะปรับลงให้เป็นปรกติ)  ;D


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 15, 09:03
คุณหมอเพ็ญไม่เคยพลาดอยู่แล้ว
แอดมิน รับแซ่บ ด่วน!


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: admin ที่ 08 มี.ค. 15, 12:50
ขอบพระคุณครับ ผมตั้งเตือนตัวเองไว้ล่วงหน้าหลายเดือน ยังมีประสิทธิภาพไม่ไดีเท่า  ;D


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 มี.ค. 15, 10:53
สถานีต่อไป วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ และล่วงหน้าในอีก ๔ ปี  ;D


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 19 มี.ค. 15, 18:31
ก่อนที่กระทู้จะตกหน้าไป  ก็จะขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกสองสามเรื่องครับ ขออภัยครับ

เวลาออมออมแสงจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลใดก็ไม่ทราบ แต่เคยได้ยินเมื่อครั้งไปปฎิบัติงานในกรุงออตตาวา แคนาดา ครั้งหนึ่งว่า ในปีนั้นรัฐจะขอเริ่มเร็วกว่าวันกำหนดเดิม ด้วยเหตุผลว่า ต้องการประหยัดพลังงานเพิ่มมากขึ้น
 
จึงพอจะทำให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานของความคิดในเรื่องของเวลาออมแสงนี้ แล้วก็ทำให้พอเข้าใจว่า ด้วยเหตุใดหลายประเทศที่ตั้งอยู่ในละติจูดสูงๆด้วยกัน จึงมีทั้งการใช้และการไม่ใช้เวลาออมแสง    พื้นฐานแท้ๆมันไปเกี่ยวพันกับเรื่องทางเศรษฐกิจนั่นเอง
 
ขยับเวลาเร็วขึ้นเพื่อให้คนไปอยู่กับบ้าน ซึ่งใช้พลังงานโดยรวมๆกันน้อยกว่าช่วงเวลาของการทำงาน คือ เป็นการปรับ peak load และลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า    ขยับเวลาช้าลงก็เช่นเดียวกัน คนจะไปอยู่นอกบ้านนานขึ้น มีกิจกรรมใช้ไฟน้อยลง
   
ในละติจูดสูงๆนั้น กว่าดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าก็สามสี่ทุ่มและกว่านั้น  จะนอนก็ต้องใช้ม่านช่วยปิดแสง ม่านหน้าต่างบ้านเขาจึงมี 2 ชั้น แยกเรียกว่า curtain และ blinder   


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 มี.ค. 15, 19:08
curtain และ blinder 


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 15, 07:22
ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ๆ เราเดินทางมาถึงสถานีเวลาออมแสงถอยหลังไป ๑ ชั่วโมงแล้ว

ทุก ๆ ปี เวลาใน "เรือนไทย" จะเปลี่ยนไปคือเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมงในเดือนมีนาคม และช้าลง ๑ ชั่วโมงในเดือนพฤศจิกายน

สถานีต่อไป วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘

จนกว่าท่านแอดมินจะปรับเวลาให้เป็นปรกติ  ;D


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 15, 08:13
ความจริงแล้ววันนี้เป็นวันสิ้นสุดเวลาออมแสงซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๘ ในอเมริกาทุกคนหมุนเข็มนาฬิกาเดินหน้ามา ๑ ชั่วโมง  เมื่อจบเทศกาลออมแสงจึงเตือนกันใหญ่ให้หมุนเข็มนาฬิกากลับไป ๑ ชั่วโมง (ตรงกันข้ามกับในเรือนไทย)  ;D


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: admin ที่ 01 พ.ย. 15, 13:12
ขออภัยที่มาช้าครับ เดี๋ยวนี้ผมจะตั้งเวลาล่วงหน้า เตือนให้มาแก้เวลาในเรือนไทย เสียแต่ว่าบางครั้งอยู่ในที่ๆไม่สะดวกจะทำได้ ก็เลยช้าหน่อยครับ


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มี.ค. 16, 21:14
เราเดินทางมาถึงสถานีแรกของปี ๒๐๑๖ อีกแล้ว (เวลาเดินหน้าไป ๑ ชั่วโมง) ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5562.0;attach=54936;image)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: admin ที่ 13 มี.ค. 16, 21:24
ขอบคุณครับ ผมนึกว่าตั้งเตือนไว้แล้ว ปรากฏว่าที่ตั้งไว้ไม่รู้ว่าหายไปไหน  :-[


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ย. 16, 07:18
วันนี้ (อาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) รถไฟออมแสงแห่งเรือนไทยเข้าเทียบชานชลาสถานีที่ ๒ ของปี ๒๐๑๖ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในอเมริกาต้องหมุนเข็มนาฬิกาย้อนหลังไป ๑ ชั่วโมง ส่วนในเรือนไทยตรงกันข้ามกันคือต้องหมุนเข็มเดินหน้าไป ๑ ชั่วโมง


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: admin ที่ 06 พ.ย. 16, 10:40
จัดการเรียบร้อยแล้วครับ


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 พ.ย. 16, 11:11
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=821.0;attach=62491;image)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 มี.ค. 17, 13:01
หมายเหตุ เวลาของเรือนไทยเร็วไป ๑ ช.ม. (ขณะพิมพ์เป็น ๑๒.๕๒ แต่ขึ้นเวลาเป็น ๑๓.๕๒) ตามเมืองนอก
ปรับเวลาออมแสงกระมัง

คุณศิลาร่วมเดินทางมาถึงสถานีออมแสงแรกของปี ๒๕๖๐ แล้ว  :D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5562.0;attach=54936;image)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: admin ที่ 12 มี.ค. 17, 21:26
ปรับเวลาแล้วครับ  ;D


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 มี.ค. 17, 10:48
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6749.0;attach=63832;image)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 28 มี.ค. 17, 11:35
แสงเเดดสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่มาก
ตอนไปสิงคโปร์ เช้าๆ ออกมาหาโจ๊กรับทาน
โจ๊กริมทางนอกเมืองจะเก็บร้านแล้ว

หย่อนตัวลงนั่ง สั่งโจ๊ก และหันไปสั่ง "โอวเลี้ยง" ชูหนึ่งนิ้วประกอบ
อาตี๋หน้าเหรอ อาแป๊ะแก่กุลีกุจอชงให้ พลางบอกว่า
หลานชายมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ มันฟัง [ฮกเกี้ยน] ไม่รู้เรื่องหรอก

"อาแปะ ลื้อเก็บร้านเร็วจัง"
"แปดโมงแล้ว คนหมดแล้ว"
ดูเหมือนเจ็ดโมงแดดยังไม่ออก แต่สิงคโปร์สายแล้วเพราะข้ามขั้นไปใช้เวลาฮ่องกง





กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 มี.ค. 17, 14:28
"อาแปะ ลื้อเก็บร้านเร็วจัง"
"แปดโมงแล้ว คนหมดแล้ว"
ดูเหมือนเจ็ดโมงแดดยังไม่ออก แต่สิงคโปร์สายแล้วเพราะข้ามขั้นไปใช้เวลาฮ่องกง

ดูจากแผนที่เขตเวลา (time zone map) จะเห็นว่าประเทศที่อยู่ในเขต GMT+๗ มีเพียงไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และอินโดนีเซียเท่านั้นที่กำหนดเวลาตามความเป็นจริง ส่วนมาเลเซีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง และจีน อยู่ในเขตเวลาเดียวกับเราแท้ ๆ กลับใช้เวลา GMT+๘

หากเรากำหนด GMT+๘ บ้างก็ไม่น่าแปลก


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5562.0;attach=39563;image)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 มี.ค. 17, 14:55
การที่บุคคลจากแต่ละประเทศ ตื่นนอนไม่พร้อมกัน เข้าทำงานไม่พร้อมกัน รับประทานอาหารไม่พร้อมกัน ฯลฯ ได้ถูกกำหนดไว้ด้วยมาตรฐานแห่งเวลา ชาติใดที่มีมาตรฐานแห่งเวลาเป็นจุดร่วมกับนานาอารยประเทศมากที่สุด ย่อมมีความได้เปรียบ ด้วยความต้องการแห่ง Real Time ซึ่งเป็นผลลัพธ์แห่งเทคโนโลยียุคดิจิทัล ความเหลื่อมล้ำทางเวลาย่อมเป็นผลเสียต่อการประกอบธุรกิจ

สิงคโปร์และมาเลเซียอยู่ทางทิศตะวันตกของ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม และอยู่ทางทิศใต้ของไทย ด้วยหลักแห่งธรรมชาติแล้ว สิงคโปร์และมาเลเซียควรมีเวลามาตรฐานเดียวกับไทย แต่กลับกำหนดมาตรฐานไว้เร็วกว่าไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ทั้งที่พระอาทิตย์ขึ้นภายหลังประเทศเหล่านี้

ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสิงคโปร์และมาเลเซีย “เลือก” ที่จะตื่นนอนพร้อมกับ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บรูไน ฯลฯ และไม่ได้เรียกร้องว่า ๖ โมงเช้าของพวกเขา พระอาทิตย์จะต้องขึ้นแล้ว

เร็วนี้ ๆ ได้มีการสถาปนาเวลามาตรฐานอาเซียน หรือ ASEAN Common Time เพื่อกำหนดให้ประเทศส่วนใหญ่ของอาเซียน รวมถึงไทย ใช้ GMT+8 เป็นมาตรฐานแห่งเวลา ซึ่งจะลดความเสียเปรียบเนื่องด้วยความแตกต่างของเวลา และทำให้ไทยสามารถก้าวได้ทันเพื่อนบ้าน แต่เป็นที่น่าเสียดายสำหรับชาวไทย เพราะมีรายงานข่าวว่า ประชากรไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการที่ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการที่ต้องตื่นเร็วขึ้น ๑ ชั่วโมง หากประเทศไทยเลือกใช้เวลามาตรฐานอาเซียน  

ความเจริญก้าวหน้าของประเทศย่อมมาจากการเสียสละของคนในชาติ บางครั้งเพียงแค่ตื่นนอนเร็วขึ้นเพียงหนึ่งชั่วโมง สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างที่ไม่อาจคาดคิด แต่ในครั้งนี้ การปรับเปลี่ยนมาตรฐานแห่งเวลา ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตื่นเร็วขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนจะได้เข้านอนกันเร็วขึ้นอย่างที่ไม่ต้องพยายาม โปรดให้โอกาสประเทศไทยกันครับ

จากบทความเรื่อง ไทยเกือบช้าที่สุดในอาเซียน ของ ดร. อธิป อัศวานันท์ (http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634603)

https://youtu.be/gU5PsrRcTho

 


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 29 มี.ค. 17, 15:55
ในเดือนมิถุนายนปีหนึ่ง จากปักกิ่ง นั่งรถไฟไปฉางชุน เพื่อต่อไปวลาดิวอสตอค
ถึงฉางชุนราวตีสามครึ่ง แวะ 1 คืน ยามวิกาลหวั่นๆ อยู่ว่ารถราคงหายาก
เปิดม่านหน้าต่าง ตะลึง แสงอาทิตย์อร้าอร่ามดั่งเจ็ดโมงเช้าบ้านเรา

เพื่อนร่วมทางชาวจีนบอกว่า ฤดูเซี่ยเทียนประหยัดไฟดี เพราะมืดจริงๆ สองสามชั่วโมงเอง
กลับบ้านมาดูแผนที่ ฉางชุนอยู่สูงขึ้นไปกว่าชิคาโกเล็กน้อย แต่กว่าจะมืดเกือบเที่ยงคืน
ตีสามก็สว่างจ้า เป็นเมืองที่ไม่หลับไหล
นกกาคงไม่ได้หลับได้นอน เช่นกัน


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 03 ก.ย. 18, 11:20
มีแถลงข่าวจาก European Commission - Press release เมื่อ 31 August 2018 เรื่อง

      Summertime Consultation: 84% want Europe to stop changing the clock

อ่านเนื้อหาต่อที่  http://europa.eu/rapid/press-release_IP-18-5302_en.htm

รูป theverge.com


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ย. 18, 11:55
อ่านเนื้อหาต่อที่  http://europa.eu/rapid/press-release_IP-18-5302_en.htm

ร่วมด้วยช่วยลิ้งก์  ;D

http://europa.eu/rapid/press-release_IP-18-5302_en.htm (http://europa.eu/rapid/press-release_IP-18-5302_en.htm)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ก.ย. 18, 16:07
ถ้ายุโรปยกเลิกจริงๆ  อเมริกาก็คงต้องยกเลิกไปด้วย
มาสนับสนุนอีกรายค่ะ


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 28 ต.ค. 18, 11:01
          วันอาทิตย์ที่ 29 ต.ค. นี้ อังกฤษจะปรับเวลาถอยหลัง 1 ชั่วโมงเตรียมเข้าสู่ฤดูหนาว
เปลี่ยนมาใช้เวลามาตรฐานกรีนิชหรือ GMT (Greenwich Mean Time) ทำให้เวลาที่อังกฤษ
ช้ากว่าที่ไทย 7 ชั่วโมง

https://www.bbc.com/thai/international-41786279?ocid=socialflow_facebook


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 31 ต.ค. 18, 11:25
ผมขออนุญาตสอบถามเพื่อความเข้าใจอีกครั้งนะครับ เวลาช้าลง หมายความว่าอย่างไรครับ

สมมุติ ในขณะที่นาฬิกาแสดงตัวเลข 8.00 น. ในฤดูร้อน
ถ้าเป็นในฤดูหนาว ในจังหวะเดียวกัน นาฬิกาจะแสดงตัวเลขอะไรครับ 7.00 หรือ 9.00 ครับ   

 
 


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ต.ค. 18, 11:34
คุณนริศสามารถหารายละเอียดเรื่องเวลาออมแสงในอังกฤษได้ที่นี่

https://www.istudyuk.co.th/daylight-saving-time-in-uk/


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ย. 18, 18:02
ผมขออนุญาตสอบถามเพื่อความเข้าใจอีกครั้งนะครับ เวลาช้าลง หมายความว่าอย่างไรครับ

สมมุติ ในขณะที่นาฬิกาแสดงตัวเลข 8.00 น. ในฤดูร้อน
ถ้าเป็นในฤดูหนาว ในจังหวะเดียวกัน นาฬิกาจะแสดงตัวเลขอะไรครับ 7.00 หรือ 9.00 ครับ  

ตอบ  เป็น 9.00 น. ค่ะ
daylight savings time (ตามที่เรียกในสหรัฐอเมริกา) ถึงฤดูหนาว ทางการตั้งเวลาเร็วขึ้น 1 ชม. ค่ะ เพราะฉะนั้นจะค่ำเร็วมาก
ในโคโลราโด  ห้าโมงเย็น(ซึ่งก่อนหน้านี้คือสี่โมงเย็น)ก็มืดสนิท


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 พ.ย. 18, 19:20
ที่อังกฤษมีการหมุนเข็มนาฬิกาอยู่ ๒ ครั้ง คือ มีนาคม (ฤดูใบไม้ผลิ - Spring) หมุนเข็มชั่วโมงไปข้างหน้า และ ตุลาคม (ฤดูใบไม้ร่วง - Autumn, Fall) หมุนเข็มชั่วโมงกลับมาข้างหลัง ฤดูร้อน (Summer) เริ่มเดือนมิถุนายน และฤดูหนาว (Winter) เริ่มเดือนธันวาคม

เข็มนาฬิกาบอกเวลาในฤดูร้อนที่ ๘.๐๐ น. ถูกหมุนกลับมาที่ ๗.๐๐ น.ในฤดูใบไม้ร่วง และก็ยังคงเป็น ๗.๐๐ น. ในฤดูหนาวอยู่นั่นเอง


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 พ.ย. 18, 20:04
Daylight Saving Time (when you set your clocks ahead one hour) runs from the second Sunday in March to the first Sunday in November.


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ย. 18, 06:48
เวลาออมแสงข้างบนใช้ที่อเมริกา จะหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับไป ๑ ชั่วโมงในวันอาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ (๔ พฤศจิกายน)

เวลาในอเมริกาสัมพันธ์กับเวลาในเรือนไทย ดังนั้นในเรือนไทยแอดมินก็จะหมุนเข็มนาฬิกาเดินหน้ามา ๑ ชั่วโมงตามเวลาไทย


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5562.0;attach=54936;image)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 02 พ.ย. 18, 11:49
ขอบพระคุณอีกครั้งครับ และขออนุญาตสอบถามเพิ่มอีกเรื่องนึงครับ คือ มีกฎหมายบางเรื่องที่กำหนดสิทธิของบุคคลโดยผูกติดกับเวลาไว้ การที่เวลาปรับไปปรับมาได้เช่นนี้ อาจทำให้สิทธิบองประการของบุคคลเปลี่ยนแปลงไปได้

ยกตัวอย่าง เช่น การจ่ายเงินเดือนกรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนดให้จ่ายได้จนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย คือ ตายวันไหนก็จะจ่ายเงินเดือนให้จนถึงวันนั้นเป็นวันสุดท้าย สาระสำคัญของเรื่องนี้ จึงอยู่ที่ ผู้ตายตายในวันใด

กรณีสมมุติ มีข้าราชการผู้หนึ่ง ถึงแก่ความตาย ในขณะที่เข็มนาฬิกา แสดงเวลา 23.30 ของวันที่ 10 เดือนเมษายน ข้าราชการผู้นี้ จะได้เงินเดือนในเดือนเมษายนอันเป็นเดือนสุดท้าย 10 วัน

เปรียบเทียบกับข้าราชการอีกผู้หนึ่ง ที่ถึงแก่ความตายในจังหวะเดียวกัน แต่เป็นเดือนพฤศจิกายน ณ ขณะที่เขาถึงแก่ความตาย นาฬิกาย่อมแสดงเวลาเร็วขึ้น 1 ชัวโมง เป็น 0.30 น. ซึ่งข้ามมาเป็นวันที่ 11 พฤศจิกายนแล้ว เท่ากับว่า ข้าราชการรายที่สอง ได้เงินเดือนในเดือนสุดท้าย 11 วัน มากกว่าข้าราชการคนแรก 1 วัน

กรณีแบบนี้ เขาไม่ถือว่า ได้เปรียบหรือเสียเปรียบ หรือมีการรอนสิทธิกันบ้างหรือครับ หรือมันก็แค่วันเดียว ฝรั่งเขาไม่คิดมากกันขนาดนั้นหรอก


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 พ.ย. 18, 12:29
หากคุณนริศอ่านข้อมูลในตารางข้างบนดี ๆ จะเห็นว่า การหมุนเข็มนาฬิกาไม่ว่าจะเดินหน้าหรือย้อนหลัง เริ่มเมื่อเวลา ๒.๐๐ น. (ตีสอง)

หากข้าราชการผู้นั้นเสียชีวิตในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๑๘ ในเวลา ๒.๐๐ น. เข็มนาฬิกาจะหมุนไปเป็นเวลา ๑.๐๐ น. ซึ่งอย่างไรก็อยู่ในวันที่ ๔ นั่นเอง

สำหรับตัวอย่างที่คุณนริศยกมาที่เสียชีวิตในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน เวลา ๒๓.๓๐ น. ก็ไม่มีการหมุนเข็มนาฬิกาอีกแล้ว ก็อยู่ในวันที่ ๑๐ อยู่นั่นเอง

สรุปว่าเวลาออมแสงไม่มีผลต่อการนับวันแต่ประการใด  ;D


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 05 พ.ย. 18, 09:51
ขอบพระคุณอีกรอบครับ
จริงอยู่ที่การหมุขเข็มนาฬิกา เกิดขึ้นในเวลาตี 2 ของวันที่ 1 พ.ย. แต่สิ่งนี้ย่อมทำให้เวลาของวันก่อนปรับและวันหลังปรับไปเปลี่ยนแปลงไปได้นี่ครับ เวลา 23.30 ของวันที่ 30 ต.ค กับ 23.30 ของวันที่ 2 พ.ย. ย่อมไม่ใช่เวลาเดียวกัน (เพียงแต่นาฬิกาแสดงตัวเลขเดียวกันเท่านั้น) ความแตกต่างของเวลา 1 ชั่วโมงในช่วงคาบเกี่ยว ผมว่าอย่างไรก็ต้องมีครับ แต่ที่ไม่เกิดปัญหาอาจเป็นเพราะเล็กน้อยมังครับ 1 ปี มีแค่ 2 ชั่วโมงที่จะเกิดปัญหาได้ เลยไม่มีใครติดใจเท่าใดนัก 


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 06 พ.ย. 19, 11:02
                รอบปีวนมาถึงคราปรับ เวลาออมแสง อีกครั้ง  ที่ยังคงมีเรื่องราวน่าสนใจให้อ่าน

ที่เว็บไซท์นี้ เป็นบทความเมื่อสัปดาห์ก่อน(Oct 28, 2019)

https://www.vox.com/science-and-health/2019/10/28/20931998/daylight-saving-time-2019

ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ และอุบัติเหตุ ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่

https://www.nbcnews.com/know-your-value/feature/daylight-saving-time-4-surprising-health-effects-falling-back-ncna929546

(Nov. 2, 2018/ Updated Nov. 3, 2019)


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ย. 19, 11:43
ดิฉันนึกว่ายกเลิกเวลาออมแสงแล้วเสียอีกค่ะ


กระทู้: เวลาออมแสง คุณรู้จักหรือไม่
เริ่มกระทู้โดย: คนธรรมพ์สัญจร ที่ 06 พ.ย. 19, 13:18
โตรอนโต้,ประเทศแคนนาดาพึ่งเปลี่ยนเวลา Daylight saving ไป 1 ชั่วโมงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาครับ,ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้ทำผมมึนหลับไม่ตรงเวลาและตื่นก่อนเวลาตลอดเลยครับ,อีกอย่างผมรู้สึกว่าเวลาเดินเร็วผิดกว่าปกติทุกปีจนถึงฤดูร้อนเลยครับ