เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 18998 บันไดมหัศจรรย์แห่งซานตา เฟ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 20:04

ลองชมคลิ๊ปสั้นๆนี้ครับ จะได้เข้าใจวิธีทำบันไดเวียนยากๆ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 20:50

ดูจากคลิปข้างบนนี้  พอเข้าใจเพิ่มขึ้นแล้วค่ะ

กลับมาถึงทฤษฎีของนางคุก   เธอบอกว่าค้นพบความลับแล้วว่าเรื่องปาฏิหาริย์ของบันไดเวียน เป็นการกุขึ้นทั้งเพ
ก่อนอื่น นางคุกไม่ใช่นักประวัติศาสตร์มืออาชีพ แต่เป็นนักประวัติศาสตร์สมัครเล่น   เธอเล่าว่าใช้เวลาถึง 7 ปีกว่าจะค้นคว้าได้ครบถ้วน  หลักฐานที่เธอไปหามาได้ อยู่ในหนังสือชื่อ Loretto: The Sisters and Their Santa Fe Chapel

ขอเรียงลำดับให้อ่านกันง่ายๆ

1    ในตอนแรก  การสร้างวิหารลอเร็ตโตอยู่ในความรับผิดชอบของอาชบิชอปฌองข บัปติสต์ ลามี่  และออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศสชื่ออองตวน มูลี ( Antoine Mouly) โดยมีลูกชายเป็นผู้ช่วย   ว่ากันว่าเอาแบบวิหารมาจากโบสถ์  Sainte-Chapelle ในปารีส   แต่ว่าระหว่างสร้างก็เกิดอุปสรรคคือพ่อป่วยและตาบอด  ลูกชายก็เสียชีวิต  งานสร้างวิหารก็เลยค้างอยู่ตรงบันไดเชื่อมระหว่างชั้นบนกับชั้นล่าง

2    นางคุกสำรวจหลักฐานร่วมสมัยในช่วงค.ศ. 1895   พบว่าในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ลงประกาศมรณกรรม(หรือมรณบัตร)ของผู้ชายคนหนึ่งชื่อ ฟรังซัวร์ ซอง โคชาต์ร( Francois-Jean Rochas) (ขอเรียกตามท่านนวรัตน)   ในนั้นระบุว่า นายคนที่ถึงแก่กรรมคนนี้เป็นคนสร้างบันไดแห่งวิหารลอเร็ตโต

3   นายคนนี้เป็นช่างไม้ และเป็นผู้อพยพมาจากฝรั่งเศส  มาถึงซานตาเฟในช่วงเวลาประมาณเดียวกันบันไดถูกสร้าง  จากนั้นแกก็ไม่ได้กลับยุโรป    และไม่ได้ไปประกอบอาชีพช่างไม้   แต่ว่าไปตั้งถิ่นฐานเป็นชาวไร่เลี้ยงปศุสัตว์อยู่ทางตอนใต้ของนิวเมกซิโก  จนกระทั่งเสียชีวิตเพราะกระสุนปืนในบ้านล็อคเคบิน ในค.ศ. 1895 อย่างปริศนาว่าฆ่าตัวตายหรือถูกยิงตายกันแน่

4  นางคุกได้ค้นพบสมุดบัญชีประจำวิหารของคณะนางชี  ในปี 1881  ลงหลักฐานการจ่ายเงินให้นายโคชาต์ร เป็นจำนวน $150 พร้อมคำอธิบายสั้นว่า  "ค่าไม้."
   นอกจากนี้เธอยังพบบิลล์ค่าส่งไม้ทางเรือจากฝรั่งเศสมาที่นี่ด้วย   จึงสรุปว่าเป็นไม้ประกอบบันไดที่โคชาต์รสั่งเข้ามา  โดยเธอสันนิษฐานว่า  เป็นงานทำจากโรงงานหรือบริษัทในฝรั่งเศส แล้วส่งเป็นชิ้นเข้ามาประกอบในวิหารด้วยฝีมือนายคนนี้

5  นางคุกสรุปว่า ในยุคปลายศตวรรษที่ 19  คือตอนที่สร้างวิหารเสร็จ  ชาวบ้านร้านถิ่นก็รู้กันดีว่าบันไดนี้สร้างโดยฝีมือช่างไม้จากฝรั่งเศส    ไม่มีอะไรแปลก   แต่ว่าพอข้ามศตวรรษมาถึงศตวรรษที่ 20    เมื่อชาวบ้านยุคนั้นล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว   ตำนานก็เข้ามาแทนที่ข้อเท็จจริง   จะด้วยฝีมือใครก็ตามทีเถิด
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:09

ช่องโหว่ของทฤษฎีของนางคุก ที่เปิดโอกาสให้ลากกระทู้ยาวมาได้จนค.ห.นี้ก็คือ

1    ไม่มีหลักฐานว่าบันไดนี้สร้างมาจากฝรั่งเศส  เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของนางคุก  ว่า "น่าจะ" สร้างมาทั้งชุด แล้วนำมาประกอบที่วิหารด้วยฝีมือนายช่างไม้คนนี้ละ
2    นางคุกไม่สามารถหาหลักฐานมาได้ว่าบันไดในลักษณะนี้ ฝีมือแบบนี้ ผลิตจากโรงงานหรือบริษัทที่ไหนในฝรั่งเศสเมื่อปลายศตวรรษที่ 19   ซึ่งถ้าทฤษฎีของเธอเป็นจริง   โรงงานที่ประกอบบันไดแบบนี้น่าจะทำแบบมืออาชีพ  สร้างบันไดมาเยอะแยะแล้ว   ต้องมีร่องรอยให้สืบหาได้ว่าบันไดวิหารลอเร็ตโตผลิตจากแหล่งไหนในฝรั่งเศส
      และความจริงอีกข้อก็คือ  ไม่มีบันไดแบบนี้ให้เห็นที่ไหนอีก พอจะบอกได้ว่ามาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน
3    ไม่ปรากฎว่าผู้ชายที่ชื่อฟรังซัวร์ ซอง โคชาต์ร( Francois-Jean Rochas) สร้างงานช่างไม้อื่นใดอีก เมื่อเขามาอยู่ที่ซานตาเฟ    ประวัติมีอยู่ว่าเขาอพยพมาตั้งถิ่นฐาน  ไปดำเนินชีวิตแบบชาวไร่ แล้วก็ตายอยู่ในไร่ปศุสัตว์ของเขานี่เอง   
4    คนที่มีฝีมือสร้างบันไดได้สวยงามขนาดนี้  ทำไมแกถึงหากินทางสร้างงานช่างไม้ต่อไปไม่ได้อีก     และถ้าแกไม่ได้สร้างแต่เป็นแค่คนประกอบบันไดที่ผลิตเรียบร้อยแล้วจากปารีส    ทำไมจึงไม่มีใครค้นหาแหล่งผลิตได้พบ     
5    ถ้าหากว่าช่างไม้ฝรั่งเศสไม่ได้เป็นคนออกแบบ  เป็นแค่คนประกอบเข้าด้วยกัน      ก็ต้องมีสถาปนิกฝรั่งเศสอีกคนออกแบบให้ หลังจากพ่อลูกมูลี่ตายไปแล้ว   สถาปนิกคนนั้นจะต้องคอยคุมช่างไม้อีกทีหนึ่งเพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์เรียบร้อย     แต่ไม่มีหลักฐานใดๆบอกบ่งถึงสถาปนิกคนนี้ว่ามีตัวตนจริง
6    รูปการณ์ก็ดูเหมือนว่า อยู่ๆก็มีช่างไม้ฝรั่งเศสคนหนึ่ง สั่งไม้มาจากปารีส  เขาทำบันไดที่ออกแบบได้สวยงามไม่มีที่ติได้เสร็จเรียบร้อย ก็เลิกอาชีพนี้โดยสิ้นเชิง   ไปเลี้ยงสัตว์อยู่ในทุ่งทางตอนใต้ของนิวเมกซิโก  ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวกับงานช่างอีกจนตายอย่างปมปริศนาในเวลาไม่กี่ปีต่อมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:12

     ชีวิตของช่างไม้ Rochas ที่ลึกลับ หาที่มาที่ไปไม่ได้เต็มปากนี้เอง น่าจะจุดประกายให้เกิดการเสริมต่อเป็นตำนานของนักบุญโจเซฟขึ้นมาในที่สุด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:22

อ้างถึง
2    นางคุกสำรวจหลักฐานร่วมสมัยในช่วงค.ศ. 1895   พบว่าในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ลงประกาศมรณกรรม(หรือมรณบัตร)ของผู้ชายคนหนึ่งชื่อ ฟรังซัวร์ ซอง โคชาต์ร( Francois-Jean Rochas) (ขอเรียกตามท่านนวรัตน)   ในนั้นระบุว่า นายคนที่ถึงแก่กรรมคนนี้เป็นคนสร้างบันไดแห่งวิหารลอเร็ตโต

สำเนาถ่ายจากตัวจริงของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับลงวันที่ Jan. 6, 1896 ที่ว่าครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:32

St Vincent's Sanitarium


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:43

ขอยกเอามาทั้งดุ้นก่อน

Dorothy Copus Brush
"Random Thoughts"

Easter and the wonderful staircase, Part II

Last week's column related the 118-year-old story of the famous spiral staircase located in the chapel of the Sisters of Lorreto in Santa Fe, NM. The legend of the builder has been retold numerous times for more than a century. He appeared at the chapel with only a donkey and some tools and offered to build the staircase. When he completed the work he vanished without any pay or ever revealing his name.

Most people called it a mystery, but to the sisters it was a miracle. The chapel was almost completed when it was discovered no stairs to the choir loft were in the plans and now there was no room to add them. The sisters prayed to St. Joseph, patron saint of carpenters, for a solution and this man appeared at their door.

Engineers marvel at the construction of the graceful structure with its two complete 360-degree turns but with no center support. Carpenters recognize the work of an expert in the way the stringers were put together with great precision. The wood is spliced in seven places on the inside and nine on the outside, with each piece forming a part of a perfect curve. Even the wood, which is a hard variety but not a native wood of New Mexico, poses more questions since the local lumber yard had no record of any wood being purchased.

Because of the determination of a highly respected amateur historian, the identity of the likely builder has been discovered. Santa Fean Mary Jean Cook spent 11 years methodically researching the mystery. She traveled to France four times during those years before she announced her findings.
Undoubtedly there will be some controversy over her conclusions, but for now they have been accepted by local historians and Catholic officials, although the home of the staircase is no longer a Catholic chapel but a privately operated museum.


Sixty-nine-year old Cook names the mystery builder as Francois-Jean "Frenchy" Rochas also called "Frenchy of Dog Canyon." He was a master French woodworker living in a tiny wine-growing village near Grenoble, France. Why he abandoned his family and friends to end up in the rugged country called Dog Canyon is unknown.

Located between the Sacramento Mountains and White Sands in southern New Mexico, it was a favorite Apache campsite. White settlers were disliked by the Apaches, but somehow "Frenchy" got along with them and lived there as a hermit rancher.

Before spending his final years in this wild country he had first worked in Santa Fe among French and other European craftsmen building the grand St. Francis Cathedral. Cook has no doubt he was a specialist and she believes he belonged to an exclusive French secret society of talented artisans. She agrees the staircase is very special and recognizes "Frenchy" as a master craftsman.

Cook and her husband were exploring Dog Canyon in 1994 where they visited a small museum showing artifacts from a 1977 excavation. There they saw a display case filled with carpentry tools that had belonged to a Frenchman, Francois-Jean Rochas. He was only 43 when he met a violent death. An unidentified assailant had shot him and left him to die alone in his small cabin.

Cook went to the probate records and learned his death had been in December 1894. She had searched early newspapers years before, looking for mention of the mystery staircase with no success. Now with a date she returned to the newspaper archives and found the exciting proof.
A one-paragraph death notice on Jan. 6, 1896 said of Rochas, "He was a Frenchman, and was favorably known in Santa Fe as an expert worker in wood." The last sentence proved Cook had solved the mystery. It read, "He built the handsome staircase in the Lorreto chapel." For Cook this was the confirmation she searched for over so many years.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:51

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 22:00

St.Vincent Sanitarium  น่าจะเป็นโรงพยาบาลที่ซานตาเฟค่ะ ไม่ใช่ในเทกซัส    เซนต์วินเซนต์ที่เทกซัสสร้างขึ้นมาทีหลัง ประมาณ 1903
น่าเสียดายหารูปบันไดที่นี่ไม่เจอ  จะได้เห็นว่าฝีมือของ Rochas เป็นอย่างไร
แต่หลักฐานนี้ก็ลบล้างไปได้แล้วว่า แกไม่ได้อยู่อย่างโนเนม   แต่เป็นที่รู้จักของคนร่วมสมัยพอสมควร   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 22:15

^
อ้าว เป็นอย่างนั้นหรือครับ

ช่างไม้ระดับนี้ต้องเรียกว่าเป็นศิลปินคนหนึ่ง การที่อยู่ๆเขาก็หายไปแบบไม่อาวรณ์กับค่าจ้าง อาจจะเพราะไม่ถูกใจใครคนใดคนหนึ่งก็ได้ เพราะเหมือนจะทิ้งงานไปในขณะที่ยังไม่เสร็จดี  ราวบันไดยังไม่ได้ทำ ปกติช่างคงไม่ได้ตั้งใจให้บันไดเวียนแบบนี้ปราศจากราวกันตก พฤติกรรมเช่นนี้นี้เป็นปกติของคนที่เป็นศิลปิน  เขาเป็นคนฝรั่งเศสซึ่งมาจากเมืองที่ปลุกองุ่น และไปสร้างกระท่อมง่ายๆอยู่คนเดียวแบบฤาษี เพื่อปลูกองุ่นในทุ่งเชิงเขา ก็ไม่แปลกสำหรับคนที่เป็นศิลปินอีกนั่นแหละ นักเลงเจ้าถิ่นมาไล่ก็ไม่ไป จนในที่สุดก็ถูกยิงตายคากระท่อมนั่นเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 22:26

อ้างถึง
St.Vincent Sanitarium  น่าจะเป็นโรงพยาบาลที่ซานตาเฟค่ะ ไม่ใช่ในเทกซัส

ได้รูปมาแล้วครับ น่าจะถูกต้องเพราะเป็นอาคารไม้
แต่อาคารในรูปนี้ถูกรื้อไปแล้วและสร้างเป็นโรงพยาบาลขึ้นแทน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 00:14

มีความเป็นไปได้มากทีเดียวกับข้อวิเคราะห์ว่าบันไดนี้สร้างไม่เสร็จ  ยังขาดราวบันได   ก็เกิดเหตุให้ศิลปินช่างไม้ของวิหารวางมือไปเสียก่อน
แต่งานส่วนที่เขาทำไป ก็ได้รับค่าจ้างไปตามชิ้นงานคือ $150
ประวัติส่วนตัวของเขาค่อนข้างลึกลับ    เราไม่รู้ว่าทำไมคนมีฝีมือระดับนี้ถึงทิ้งบ้านช่องลูกเมียในฝรั่งเศสมาอยู่ไกลลิบลับเข้าเขตชายแดนเม็กซิโก   อายุแกก็ไม่ใช่หนุ่มรุ่นๆที่จะเริ่มผจญชีวิต   แต่ปาเข้าไปสามสิบปลายๆแล้ว 

Before spending his final years in this wild country he had first worked in Santa Fe among French and other European craftsmen building the grand St. Francis Cathedral. Cook has no doubt he was a specialist and she believes he belonged to an exclusive French secret society of talented artisans. She agrees the staircase is very special and recognizes "Frenchy" as a master craftsman.
ตรงนี้บอกว่าเขาเป็นหนึ่งในช่างไม้ที่สร้างโบสถ์เซนต์ฟรานซิส   โบสถ์นั้นอยู่ข้างๆวิหารเองละค่ะ   ข้างในสวยมาก  แต่เข้าไปดูไม่ได้เพราะวันที่ไปเขากำลังจัดงานวิวาห์กันอยู่เหมือนกัน 


an exclusive French secret society of talented artisans
คำนี้ไม่ได้แปลว่าสมาคมลับ  แต่หมายถึงการรวมตัวของช่างฝีมือที่ตั้งขึ้นเป็นกลุ่ม คัดเลือกสมาชิกเพื่อเข้ามาทำงานเป็นผู้ฝึกงาน  จะได้รับถ่ายทอดวิชาให้ต่อไป   ไม่ได้สอนให้ใครสะเปะสะปะ     ตัวอย่างก็เช่นสมาคมฟรีเมสันในอังกฤษ   ของไทยเราก็มีทำนองเดียวกัน เช่นบ้านดนตรีไทยของตระกูลต่างๆ 
นางคุกเชื่อว่า Rochas  คงผ่านการฝึกงานมาจากสมาคมช่างฝีมือพวกนี้ ถึงเก่ง   คงเคยฝึกมาชำนาญเรื่องงานช่างไม้       อาจเป็นได้ว่าบันไดนี้ไม่ได้ผลิตในฝรั่งเศส  เพียงแต่ไม้ถูกส่งมาจากฝรั่งเศส  แล้วช่างไม้ฝีมือดีของเรา(อาจมีลูกมือหรือผู้ร่วมงานด้วย) ก็ออกแบบสร้างขึ้นมาที่วิหารนี้เอง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 00:17

โบสถ์เซนต์ฟรานซิสแห่งอซิซิ  ใกล้ๆวิหารลอเร็ตโต
ที่บทความข้างบนนี้บอกว่า Rochas มีส่วนร่วมสร้างเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 00:21

อินทรเนตรช่วยหารูปงานไม้สลักภายในโบสถ์มาให้ดูกันได้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 02:30

กลับไปถามพระอินทร์ว่าปัจจุบันนี้วิหารลอเร็ตโตเป็นอะไร   อินทรเนตรก็มองหาคำตอบมาให้ว่า โรงเรียนสตรีของคณะชีปิดกิจการเมื่อค.ศ. 1968   วิหารและอาคารอื่นๆถูกนำออกขายในท้องตลาดเมื่อค.ศ. 1971  จากนั้นกลายเป็นทรัพย์สินของบริษัทเอกชน  ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากโรงแรมระดับสี่ดาวที่อยู่ใกล้ๆกันนั่นเอง     

ผู้ดำเนินกิจการเปิดวิหารให้ทำพิธีแต่งงานได้  มีรายได้จากให้เข้าชมและจำหน่ายของที่ระลึก  เสียค่าชมคนละ $3   ปีหนึ่งๆมีนักท่องเที่ยวมาเยือนซานตาเฟประมาณ 250,000 คน   จุดหมายสำคัญในการมาเที่ยวก็เพื่อมาดูบันไดมหัศจรรย์   ซึ่งท่านนวรัตนช่วยเฉลยข้อมูลจนหายมหัศจรรย์เรียบร้อยโรงเรียนลอเร็ตโตไปแล้ว    รายได้ก็คงดีพอใช้

นอกจากนี้รายได้อื่นๆเท่าที่เห็น  น่าจะเป็นเปิดตลาดนัดให้ขายของกันในบริเวณลานโบสถ์ น่าจะเป็นช่วงเสาร์อาทิตย์    ตอนเดินเข้าไปรอวิหารเปิด  เขากำลังขายของกันคึกคัก   เห็นแล้วคิดถึงตลาดนัดชานเมืองบ้านเรา



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง