เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: cinephile ที่ 26 ก.ย. 18, 12:10



กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 26 ก.ย. 18, 12:10
ผมอยากได้ภาพแหล่งอบายมุขในสมัยรัชกาลที่ ๕ เช่นสำนักโคมเขียว
บ่อนเบี้ย(ของขุนพัฒน์) โรงยาฝิ่นทั้งภายในและภายนอก โรงงิ้ว ฯลฯ.
จะเป็นแถวตรอกเต๊า สำเพ็ง จะเป็นซ่องยายแฟงหรือซ่องของลูกสาวยาย
แฟงก็ได้ครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 16:56
ถ้าเป็นภาพหายาก เห็นจะต้องส่งไม้ต่อให้คุณหนุ่มสยาม Siamese ค่ะ
 ดิฉันมีแต่ภาพโรงยาฝิ่น


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 18:56
มุมหนึ่งในตรอกสำเพ็ง


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 18:59
หน้าตาโคมเขียว


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 19:03
ย่านโคมเขียว

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ
https://www.facebook.com/siamhistory/photos/a.435240936530190/597823386938610/?type=1&theater


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 19:12
อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ
https://www.facebook.com/siamhistory/photos/a.435240936530190/597823386938610/?type=1&theater

ฤๅเป็นลิ้งก์นี้

https://www.facebook.com/435087346545549/posts/597828590271423/


ปลายรัชกาลที่ ๕ มีการตรา พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/051/1365.PDF) ตอนหนึ่งมีความว่า “ต้องมีโคมแขวนไว้หน้าโรงเป็นเครื่องหมาย…” ทั้งนี้ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นโคมสีอะไร แต่สันนิษฐานว่าที่ใช้โคมสีเขียวคงเป็นในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ คือทำโคมใช้กระจกสีเขียวเป็นตัวอย่าง โคมดังกล่าวจึงเป็นสีเขียวเหมือนกันหมด กฎหมายฉบับนี้ จัดเป็นฉบับแรกที่ตราใช้บังคับหญิงนครโสเภณีให้ปฏิบัติตามกฎหมาย


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 19:37
โรงหญิงนครโสเภณีหรือโรงโคมเขียวสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีทั่วไปแทบทุกตรอกซอกซอย แต่ที่มีนักเที่ยวไปใช้บริการกันคับคั่งคือที่ ตรอกเต๊า โรงยายแฟง โรงแม่กลีบ โรงแม่เต้า ยายแฟงเป็นแม่เล้าใจบุญ ได้นำเงินไปสร้างวัดใหม่ขึ้นวัดหนึ่งที่ตรอกวัดโคก ชาวบ้านเรียก วัดใหม่ยายแฟง หรือ วัดคณิกาผล (วัดที่สร้างขึ้นจากผลประโยชน์ของนางคณิกา) ส่วนแม่กลีบได้สร้างวัดที่ปากตรอกเต๊า เรียก วัดกันมาตุยาราม

กาญจนาคพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงโคมเขียวที่ตรอกเต๊าไว้ดังนี้ “ในตรอกเต๊านี้ เป็นห้องแถวยาวติดต่อกันไปตลอดตรอก ทุกห้องแขวนโคมเขียวไว้หน้าห้องเป็นแถว และเวลาก่อนค่ำ จะเห็นพวกโสเภณีเขาจุดรูปราวกำมือหนึ่ง (ราวสัก ๒๐ ดอก) มาลนที่ใต้โคมเขียวหน้าห้อง ข้าพเจ้าเคยถามเขาว่าลนทำไม เขาบอกว่าลนให้มีแขกเข้ามามาก ๆ พวกนี้ราคาอยู่ใน ๖ สลึงหรือสองบาท ส่วนที่ตึกใหญ่ตรงกันข้ามกับตรอกนี้ก็มีอาชีพเช่นเดียวกัน แต่เขาแขวนโคมเขียวไว้ให้ลับเข้าไปมองไม่เห็น นอกจากคนเคยแล้วก็รู้จักมีนามว่า “ยี่สุ่นเหลือง” เป็นชั้นสูงหน่อย ไม่จุ้นจ้านเหมือนพวกตรอกเต๊า ราคาราว ๓ บาทถึง ๕ บาท ข้าพเจ้าเคยเข้าไปหลายครั้ง ออกจะสภาพเรียบร้อยดี ห้องแต่ละห้องในตึกก็ตกแต่งดี แปลว่ารับแขกชั้นสูง ไม่สัพเพเหระเหมือนตรอกเต๊า”


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 26 ก.ย. 18, 21:28
เมื่อพูดถึงซ่องอำแดงกลีบทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ว่าสมัยที่ผมเป็นเด็ก
4-5 ขวบผมได้รู้จักดาราแก่ๆ คนหนึ่งของพ่อ (พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้า
อนุสรมงคลการ) แกชื่อพระดรุณรักษา อีกหลายสิบปีต่อมาผมถึงรู้ว่าแก
เป็นลูกชายอำแดงกลีบที่โด่งดังนั่นเอง
คุณพระดรุณฯ เป็นคนรักเด็ก ชอบเล่านิทานตลกให้พวกเด็กๆ ฟัง เสียดาย
ที่ผมยังไม่สนใจเรื่องหญิงโคมเขียว ถ้าแกยังมีชีวิตอยู่ แกคงจะมีเรื่องเล่า
มากมาย
ผมไม่เคยรู้ว่าคุณพระเสียเมื่อไหร่ หนังรื่องสุดท้ายที่เล่นกับพ่อน่าจะเป็นเรื่อง
“ม่วยสิ่น” ครับ (พศ. 2494)


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 21:55
พระดรุณรักษา (กัน สาครวาสี) ลูกชายอำแดงกลีบ และหลานยายของยายแฟง  ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกันติดตามกองทัพไทยไปปราบฮ่อที่เมืองหนองคายจนได้ชัยชนะ หลังจากกลับมา  ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงบริคุดวรภัณฑ์” เจ้ากรมภาษี
หลวงบริคุตวรภัณฑ์(กัน)ทูลถวายวัดใหม่ยายแฟงของยายและวัดใหม่ที่มารดาสร้างขึ้นให้เป็นพระอารามหลวง แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าวัดหลวงมีมากแล้ว จึงไม่โปรด  แต่ได้พระราชทานนามวัดใหม่ยายแฟงว่า“วัดคณิกาผล” พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า“วัดกันมาตุยาราม”แปลว่า วัดของมารดานายกัน
หลวงบริคุดวรภัณฑ์ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น“พระดรุณรักษา” เมื่อออกราชการก็ตั้งนิวาสสถานอยู่ที่หน้าวัดกัน ซึ่งแบ่งเขตไว้เป็นที่ตั้งโรงครัวของวัดและเป็นที่อาศัยอยู่ของโยมสงฆ์
คุณพระดรุณรักษาถึงแก่กรรม ได้รับพระราชทานเพลิงศพที่เมรุวัดนี้เอง  แต่ไม่ทราบปีพ.ศ. ที่ถึงแก่กรรมค่ะ


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 22:09
ผมไม่เคยรู้ว่าคุณพระเสียเมื่อไหร่ หนังเรื่องสุดท้ายที่เล่นกับพ่อน่าจะเป็นเรื่อง
“ม่วยสิ่น” ครับ (พศ. 2494)

คุณพระดรุณรักษาที่ท่าน cinephile รู้จัก เป็นคนละคนกับคุณพระดรุณรักษา (กัน สาครวาสี) บุตรอำแดงกลีบ

จาก ราชกิจจานุเบกษา (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/1770.PDF)


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 22:30
จาก ราชกิจจานุเบกษา (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/222.PDF)


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 26 ก.ย. 18, 22:59
แล้วพระดรุณัษที่ล่นนังของพอขงผมเป็นใครหว่า


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 23:48
คงเป็นคนเดียวกับที่เล่นหนังเรื่อง ตื่นเขย

ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง เรื่อง ตื่นเขย   เป็นภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม 35 มม. ขาวดำ  เรื่องที่ 19 ของบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง  ออกฉายเมื่อปี  2481  นำแสดงโดย เลิศล้วน  อมาตยกุล แสดงเป็น อำนวย   และ วาสนา สุวรรณทัต   แสดง เป็น ลัดดา  นอกจากนั้นยังมี พระดรุณรักษา  และ เยาวลักษณ์ อมาตยกุล  เป็นต้น

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ มีเพลงอยู่  3  เพลง  คือ  เห็นใจฉัน   บุญแต่ง  และ ตื่นตาตื่นใจ
http://oknation.nationtv.tv/blog/oldies/2008/05/20/entry-1


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ย. 18, 23:53
พระดรุณรักษาที่ท่าน cinephile เคยพบ   คือครูเพิ่ม เมษประสาท หรือเปล่าคะ


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 18, 11:36
บ่อนโอเพ่นแอร์


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 28 ก.ย. 18, 14:37
ภาพที่ผมอยากเห็นคือภาพภายในบ่อนของขุนพัฒน์ครับ สงสัยจะเหมือนบ่อน
ในเมืองจีนหรือเปล่าครับ มีใครมีรูปบ้างครับ


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ย. 18, 15:03
ยังไม่เคยเห็นภาพถ่ายห้องภายในบ่อนเลยค่ะ


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 28 ก.ย. 18, 18:11
ผมก็ไม่เคยเห็นครับคุณหญิง แต่ก็น่าจะมีใครถ่ายเอาไว้บ้างนะครับ
สมัย ร.๕ มีบ่อนเบี้ยเป็นร้อยเป็นพันบ่อน ก็น่าจะมีคนถ่ายรูปเอาไว้บ้าง
คงจะมีพวกเราสักคนมีรูปภายในบ่อนมาให้ชมกันบ้าง จะเป็นพระคุณอย่าง
สูงขอรับ


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 28 ก.ย. 18, 18:43
ผมชอบบ่อนโอเพ่นแอร์จัง เพียงแต่ไม่รู้เขากำลังเล่นอะไรกัน


ภาพวาดสำนักโคมเขียวยังมีน้องหมากับน้องไก่เข้าเฟรม เอกลักษณ์ประจำชาติที่แทเ้จริง  :)


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ย. 18, 20:00
น่าจะเป็นไพ่ตองค่ะ   ดูจากไพ่ในมือผู้ชายคนขวาสุด


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ย. 18, 20:02
คนสูบฝิ่นในโรงฝิ่น


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ก.ย. 18, 08:51
รูปถ่ายภายในบ่อนค่อนหายาก
แม้รูปจากอาจารย์ใหญ่ใช่จริงนา
ฝรั่งถ่ายจัดฉากไทยเล่นไพ่นา
ทัศนาแปลนโรงบ่อนก่อนแล้วกัน


บริเวณที่เคยเป็นโรงหนังปรินซ์รามา (ปัจจุบันคือโรงแรม Prince Theatre Heritage Stay) ย่านบางรัก บนถนนเจริญกรุง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นที่ตั้งของ ‘โรงบ่อนเบี้ยบางรัก’

ประวัติย้อนกลับไปแรกสร้างเป็นโรงบ่อนหลวงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ และเป็นหนึ่งใน ๕ โรงบ่อนสุดท้ายของสยาม

ปัจจุบันยังปรากฏสิ่งที่หลงเหลือบ่งบอกให้รู้ว่าเคยเป็นโรงบ่อนเก่า คือ "ฮวงจุ้ย" ของอาคารซึ่งดูจากแปลน จะเห็นว่าเป็นลักษณะอาคารทรงยาวและปาดมุมทั้งสี่เหมือน "โลงศพ" ทั้งยังพบว่ามีเสา ๑-๒ ต้นที่สร้างขึ้นลอย ๆ ไม่มีฐานราก ให้เหมือนกับคนป่วยถือไม้เท้า รวมเป็นฮวงจุ้ยที่ทำให้คนที่เข้ามาอ่อนแอ เป็นการออกแบบโรงบ่อนเพื่อให้คนเข้ามาเล่นแพ้ นอกจากนี้ยังมีถึงโลโก้เก่าที่มี "ดาบ" ทิ่มแทงคนที่เข้ามา และยังมี "น้ำเต้า" ดูดทรัพย์ ตั้งไว้ที่ท้ายอาคารในห้องทำงาน


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6875.0;attach=67589;image)

รอบข้างโรงบ่อนรายล้อมไปด้วยอาคารสถานที่อย่างโรงฝิ่น ซ่องโสเภณี โรงรับจำนำ และตลาด

ที่โรงบ่อนบางรักนี้มีการแสดงงิ้วเพื่อเรียกคนมาเที่ยว แสดงเป็นสองระยะ เริ่มต้นตอนบ่ายโมงเศษ จนถึงราวบ่ายสี่โมงระยะหนึ่ง หยุดพักตอนเย็นแล้วเริ่มแสดงใหม่ราว ๑๙ นาฬิกา ไปเลิกเอาราวเที่ยงคืน (ฟื้นความหลัง ของพระยาอนุมานราชธน (https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_7777))


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 30 ก.ย. 18, 14:49
เสียดายที่ไม่มีรูปภายในบ่อนนะครับ


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 18, 17:04
ท่าน cinephile คิดว่ามันจะมีอะไรคล้ายๆบ่อนในเมืองจีนบ้างไหมคะ
คือถ้าเป็นการพนันชนิดเดียวกัน  มันก็คงมีองค์ประกอบเช่นโต๊ะหรืออุปกรณ์เล่นอย่างเดียวกัน


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 18, 17:06
 ;D


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 18, 17:10
เล่นกำถั่ว  (fantan)


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 ก.ย. 18, 17:48
กิจกรรมเล่นการพนันในโรงบ่อนเบี้ยน่าจะปูเสื่อเล่นกับพื้น ดังที่พระยาอนุมานราชธนเล่าไว้ในหนังสือฟื้นความหลัง เล่ม ๑ ฉบับสมบูรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ บทที่ ๑๓ เมื่อเด็ก เรื่องมหรสพและเรื่องบ่อนเบี้ย หน้า ๑๓๐ - ๑๓๕


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ต.ค. 18, 18:12
วงเล่นโป ตรงกลางเป็นรูปกากบาทเรียกว่า แกงแนง น่าจะเป็นเพียงตัวอย่างการตั้งวงเล่น การเล่นจริง ๆ คนจะมากกว่านี้ เป็นวงใหญ่ จึงต้องคนถือไม้ด้ามยาวปลายเป็นวง สำหรับรวบเงินมาให้เจ้ามือ หรือจ่ายเงินให้ผู้ที่แทงถูก


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ต.ค. 18, 11:52
เมื่อ เมีย-ลูก มาตาม ผัว-พ่อ ถึงโรงบ่อนเบี้ย  ;D

จากพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม


กระทู้: แหล่งอบายมุขในสมัย รัชกาลที่ ๕
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ต.ค. 18, 11:36
จิตรกรกาลิเลโอ ผู้ร่วมวาดภาพจิตรกรรมที่โดมพระที่นั่งอนันตสมาคมในรัชกาลที่ ๖ วาดภาพสีน้ำมันรูปบ่อนการพนันไว้แบบนี้