เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: bthawees ที่ 18 เม.ย. 11, 19:48



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 18 เม.ย. 11, 19:48
ผมได้รับมอบหมายจากทางมหาวิทยาลัยให้เตรียมต้นฉบับหนังสือเรื่อง  "พรรณไม้ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ให้กับมหาวิทยาลัย ผมและคณะได้นำเนินการไปแล้วได้แบ่งเนื้อหาของหนังสือออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตอนที่ 2 จามจุรีศรีจุฬา ฯ และตอนที่ 3 จุฬานานาพรรณ

ตอนที่ 1 ได้เขียนเกี่ยวกับสภาพกายภาพของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วังกลางทุ่งมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่เก็บข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่พยายามหาและได้มา มีเรื่องเกี่ยวกับอาคารต่าง ๆ ของจุฬาฯ ที่ผมสนใจมากที่สุดคือ อาคารเก่า ๆ ที่มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี ในสมัยนั้นมีการปลูกต้นอะไร และปัจจุบันยังอยู่หรือไม่ เพื่อที่จะได้บันทึกเป็นประวัติของต้นไม้ในจุฬาฯ

ผมใคร่จะขอความร่วมมือจากสมาชิกเรือนไทย ที่เคยเรียนในจุฬาฯ ช่วยกันเล่าถึงต้นไม้ในสมัยที่ท่านเรียน  ในคณะ หรือในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ (หรือคณะอักษรศาสตร์)  ว่ามีต้นอะไรบ้าง เพื่อให้หนังสือนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมอันเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังได้มากขึ้นกว่าที่ผมและคณะช่วยกันค้นคว้าอยู่ครับ
 
ขอบพระคุณมากครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 20:05
หากอาจารย์ทวี ศ. เคยเรียนอยู่คณะวิทยาศาสตร์เมื่อประมาณ ๓๐-๔๐ ปีก่อน คงเคยเห็น ต้นสาละลังกา  (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2421.msg68173#msg68173) อยู่หน้าอาคารธุรการคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  ตอนนี้คิดว่าถูกย้ายไปเรียบร้อยแล้ว ไม่แน่ใจว่าเป็นต้นเดียวกับต้นข้าง ๆ ศาลาพระเกี้ยวหรือไม่

(http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics/normal_%B4%CD%A1%CA%D2%C5%D0%204.jpg)

เป็นต้นไม้ชนิดที่สองที่จำได้ว่าอยู่ในจุฬาฯ รองมาจากต้นจามจุรี (ศรีจุฬา)

 ;D



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 20:14
             ถึงที่นี่จะมีหางนกยูงอยู่         ไหนจะสู้ชงโคบานลานอักษร
      ถึงริมโขงจะเป็นบ้านเมืองมารดร      ให้อาวรณ์หรือจะเท่าเจ้าพระยา
                                                       ประยอม ซองทอง  ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 18 เม.ย. 11, 20:20
หากอาจารย์ทวี ศ. เคยเรียนอยู่คณะวิทยาศาสตร์เมื่อประมาณ ๓๐-๔๐ ปีก่อน คงเคยเห็น ต้นสาละลังกา  (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2421.msg68173#msg68173) อยู่หน้าอาคารธุรการคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  ตอนนี้คิดว่าถูกย้ายไปเรียบร้อยแล้ว ไม่แน่ใจว่าเป็นต้นเดียวกับต้นข้าง ๆ ศาลาพระเกี้ยวหรือไม่

(http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics/normal_%B4%CD%A1%CA%D2%C5%D0%204.jpg)

เป็นต้นไม้ชนิดที่สองที่จำได้ว่าอยู่ในจุฬาฯ รองมาจากต้นจามจุรี (ศรีจุฬา)

 ;D
ผมและชาววิดยาจะเรียกต้นไม้นี้ว่า "แคนนอลบอล" ครับ เคยถูกย้ายมาปลูกหน้าอาคารมหามกุฏ ตรงข้ามศาลาพระเกี้ยว ปัจจุบันถูกย้ายกลับไปปลูกด้านข้างของตึกขาว อยู่คนละด้านกับที่เดิมครับ



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 18 เม.ย. 11, 20:25
             ถึงที่นี่จะมีหางนกยูงอยู่         ไหนจะสู้ชงโคบานลานอักษร
      ถึงริมโขงจะเป็นบ้านเมืองมารดร      ให้อาวรณ์หรือจะเท่าเจ้าพระยา
                                                       ประยอม ซองทอง  ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘


ชอบมาเลยครับ...ชงโคบานลานอักษร.... ชงโคนี้คือชงโคฮ่องกงครับ :D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 เม.ย. 11, 20:32
แล้วนี่ชงโคอะไรคะ

(http://i485.photobucket.com/albums/rr215/meiyo_darkness/chongko.jpg)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 18 เม.ย. 11, 21:00
แล้วนี่ชงโคอะไรคะ

(http://i485.photobucket.com/albums/rr215/meiyo_darkness/chongko.jpg)

น่าจะเป็นชงโคฮ่องกงเหมือนกันครับ เป็นต้นที่คาดว่ากลายพันธุ์ ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 07:40
เบื้องหน้าต้นใหญ่เป็นต้นจามจุรี ส่วนไม้ประดับรอบๆตึก น่าจะเป็นหมากเหลือง และเห็นไม้ทรงพุ่มแหลมไกลๆ ..สนทะเล


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 09:02
ภาพตึกคณะอักษรฯ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 09:12
ภาพมุมสูง ต้นไม้ยังเตี้ยๆอยู่เลย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 09:17
ขอส่งไม้ประดับสัก ๑ อย่าง แม้ว่าไม่ใช่ไม้ยืนต้นหยั่งรากลึกลงไป แต่เป็นไม้อากาศ ยึดติดกับไม้ใหญ่บริเวณคณะทันตะกับคณะสัตวศาสตร์ กว่า ๒๐ ปีมาแล้ว คือ "เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด" ซึ่งมีความพิเศษคือ สีชมพู ค่อนออกไปทางขาวแต่ไม่เผือก มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกทุกพฤษภาคม ดอกมีจุดชมพูประปรายแต่ไม่เข้มมาก ไม่เหมือนกุหลาบกระเป๋าปิดที่ไหนเลย เคยขอแบ่งมาปลูกไว้ที่บ้าน เมื่อออกดอกเลยนำมาให้ชมครับ



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 09:39
หอประชุม สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๘๒ ภาพนี้ยังคงเห็นหอประชุมก่อนที่จะมีการต่อเติมด้านข้างให้อ้วนขึ้น


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 เม.ย. 11, 09:47
^
ในพ.ศ. ๒๔๘๒  มีตึกหอสมุด (ตึกมหาวชิราวุธ) แล้ว   แต่ยังไม่มีต้นชงโค


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 09:50
ตึกบัญชาการ คณะอักษรฯ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 19 เม.ย. 11, 09:56
ภาพตึกจักรพงษ์ (หอประวัติ) ค่ะ ซ้ายมือคือ ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ สมัยที่ยังไม่ได้สร้างตึกมหาวชิราวุธเชื่อมต่อกัน และยังไม่มีตึกคณะวิศวะ และหอประชุม ค่ะ
มีต้นอะไรบ้างเนี่ย...?


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 10:06
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง และในวันที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นจามจุรี ๕ ต้น หน้าหอประชุม และได้พระราชทานพระราชดำรัชถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับต้นจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเล่าว่า ทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล ต้นจามจุรีงอกขึ้นบริเวณต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที ก่อนจบกระแสพระราชดำรัส ได้รับสั่งว่า ฝากต้นไม้ไว้ ๕ ต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล จามจุรีพระราชทานห้าต้นจึงยืนต้น อย่างแข็งแรงเป็นศรีสง่าและสิริมงคลแก่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 10:12
อาจารย์สวัสดิ์ จงกล ผู้เชี่ยวชาญเอกสารหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บันทึกถึง ความผูกพันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับจามจุรี อันเป็นที่มาของลานจามจุรีนี้ไว้ในสูจิบัตรการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ ๒๑ จามจุรีเกมส์ว่า ต้นจามจุรีมีความผูกพันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของสยามประเทศมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ตลอดถนนพญาไทซึ่งยังไม่กว้างเหมือนสมัยนี้ มีต้นจามจุรีทั้ง ๒ ฝั่ง มีผู้คนให้ข้อสังเกตว่าถ้าจะมาโรงเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ให้ดูบริเวณถนนที่ผ่านต้นจามจุรีมาก ๆ เป็นหลัก และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อาศัยร่มเงาต้นจามจุรีในขณะที่เดินทางมาเรียน อาศัยโคนต้นเป็นที่อ่านหนังสือ พูดคุยปรึกษา และยังเป็นที่ ๆ เกิดตำนานรัก หนุ่มสาวชาวจุฬาฯ หลายคู่


จากคำบอกเล่าของนิสิตรุ่นปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ เล่าว่า ในพิธีรับน้องใหม่เริ่มมีการนำ กิ่งก้านของจามจุรีมาใช้ในการทำซุ้มและเริ่มมีมาลัยใบจามจุรีมอบให้น้องใหม่เป็นรางวัลสำหรับนักกีฬาของคณะต่าง ๆ มีการนำใบและดอกจามจุรีมาเป็นสัญลักษณ์ครั้งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อครั้งที่สโมสรนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการแข่งขันฟุตบอลโดยใช้ชื่อทีมฟุตบอลว่าจามจุรี



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 10:14
ภาพตึกจักรพงษ์ (หอประวัติ) ค่ะ ซ้ายมือคือ ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ สมัยที่ยังไม่ได้สร้างตึกมหาวชิราวุธเชื่อมต่อกัน และยังไม่มีตึกคณะวิศวะ และหอประชุม ค่ะ
มีต้นอะไรบ้างเนี่ย...?

ได้สองต้นครับ  ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 10:19
สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ]

ในสมัยเมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังเป็นโรงเรียนมหาดเล็กนั้น บรรดานักเรียนได้ขอก่อตั้ง "สมาคมนักเรียนโรงเรียนมหาดเล็ก" ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ นักเรียนได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งสมาคมได้และได้รับการสนับสนุนให้ปกครองกันเอง เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น จัดกิจกรรมด้านสันทนาการและด้านความเป็นผู้นำ เมื่อโรงเรียนมหาดเล็กเปลี่ยนเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมาคมของนักเรียนก็ยังคงอยู่ภายใต้ชื่อว่า "สโมสรนักเรียนโรงเรียนข้าราชการพลเรือนพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการสถาปนาขึ้น สโมสรนี้ก็กลายมาเป็น "สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" โดยที่ทำการของสโมสรนิสิตมีอยู่ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ปทุมวันซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับนิสิตทุกคน อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ศิริราชสำหรับนิสิตแพทย์


มาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงการบริหารงานของสโมสรนิสิตให้ดีขึ้น โดยสโมสรนิสิตประกอบด้วยนายกสโมสร ประธานฝ่ายและประธานชมรมต่างๆ และคณะกรรมการกลางที่ประกอบด้วยผู้แทนจากคณะต่างๆ ในตอนแรกสโมสรนิสิตยังไม่มีตึกที่ทำการของตนเองและใช้ปีกหนึ่งของหอพักเป็นสถานที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านไม้สองชั้นใกล้กับหอพัก

ในพุทธศักราช ๒๔๗๕ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ทรงรับพระราชดำริของสมเด็จพระบรมราชชนก เกี่ยวกับการสนับสนุนกิจกรรมของสโมสรนิสิต พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ประทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นเงินสองหมื่นบาทเพื่อสร้างตึกที่ทำการของสโมสรนิสิต และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ แด่เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลก ประชานารถ ผู้ทรงมีพระดำริเกี่ยวกับการบริหาร ปกครองโดยนิสิตด้วยกันเอง

ด้านหน้าปลูกหมากประดับไว้ ๒ ด้าน มีไม้ตัดทงพุ่มฉัตรด้วย



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 10:23
สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งชาวจุฬาฯ และสังคมทั่วไปก็คือ บริเวณที่เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นมีต้นจามจุรีขึ้นอย่างหนาแน่น อาจารย์และนิสิตรุ่นเก่า ๆ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตใครก็ตามประสงค์จะไปติดต่อราชการหรือธุระส่วนตัวที่ “โรงเรียนมหาวิทยาลัย” หรือ ”โรงเรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งค่อย ๆ สั้นลงมาเป็น “โรงเรียนจุฬาฯ” และเหลือแต่ “จุฬาฯ” นั้น จะมีผู้แนะนำให้สังเกตว่าที่ใดเป็นโรงเรียนมหาวิทยาลัยนั่นคือไปที่ประทุมวัน บริเวณที่มีถนนผ่านต้นจามจุรีมาก ๆ พอไปถึงจะเป็นตึกเรียน นักเรียนและอาจารย์เส้นทางที่จะไปสถานที่ซึ่งมีจามจุรีมาก ๆ คือ ถนนพระราม 1 ถนนพระราม 4 และถนนพญาไท

นิสิตรุ่น พ.ศ.2460 กว่า ๆ เล่าให้ฟังว่า บริเวณที่เป็นส่วนหนึ่งของสนามศุภชลาศัยและที่เป็น “เชียงกง” และร้านค้าใกล้สี่แยกเจริญผลเป็นสวนผัก ซึ่งนิสิตจะแอบมองและเกี้ยวพาราสี “หมวยสาว” โดยเฉพาะผู้ที่อยู่หอพักหลังวังวินด์เซอร์ ส่วนบริเวณที่เป็น Siam Square ในปัจจุบันเป็นสวนหย่อมซึ่งทางราชการใช้เป็นแหล่งทดลองปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เส้นทางถนนพญาไท ทางเดินและทางรถยนต์เลี้ยวเข้าวังวินด์เซอร์แถวหน้าโรงเรียมเตรียมอุดมศึกษาในปัจจุบันนั้น เป็นเส้นทางซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกทรงขับรถยนต์พระที่นั่งผ่านเพื่อไปสอนหนังสือที่วังวินด์เวอร์ นิสิตคณะแพทยศาสตร์คงจำกันได้แม่นยำว่าจะพากันเดินช้า ๆ (กะว่าเวลารถยนต์พระที่นั่งผ่าน) พระองค์ท่านจะทรงหยุดรถและรับนิสิตขึ้นรถยนต์พระที่นั่งเพื่อให้ไปเรียนทัน บ่อยเข้าก็รับสั่งอย่างรู้ทันว่าหากอยากนั่งรถยนต์พระที่นั่งก็รอปากทางก็แล้วกัน ไม่ต้องเดินทอดน่องให้เห็นหรอก เล่นเอานิสิตผู้วางแผน “มาสาย” เขินไปตาม ๆ กัน นิสิตรุ่นนั้นต่างเล่าตรงกันว่าต้นจามจุรีให้ร่มเงาในเวลาเดินทางไปมา และเดินทางจากวังวินด์เซอร์ไปเรียนที่อาคารตึกบัญชาการ (ตึกอักษรศาสตร์ 1 ในปัจจุบัน) และได้อาศัยโคนต้นจามจุรีเป็นที่นั่งพักผ่อนตลอดจนดูหนังสือ

นิสิตรุ่น พ.ศ. 2470 กว่า ๆ ต่างก็ให้ข้อมูลตรงกัน เช่น ศาสตราจารย์ ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี คุณเกรียง กีรติกร อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา (ถึงแก่กรรมมาหลายปีแล้ว) เล่าให้ฟังว่าคุณเกรียงกับศาสตราจารย์ ม.ล. จิรายุ นพวงศ์ เป็นคู่หนึ่งในหลาย ๆ คู่ ที่ซ้อนท้ายจักรยานจากวังวินด์เซอร์ไปเรียนที่ตึกบัญชาการเวลาเปลี่ยนชั่วโมงเรียนเพื่อไปเรียนภาษาอังกฤษ ได้อาศัยร่มเงาของจามจุรีเดินทางทั้งตามถนนโรยกรวด หรือถ้าไม่มีฝนตกก็ลัดเลาะผ่านต้นจามจุรีซึ่งขึ้นเต็มไปหมด

นิสิตรุ่น พ.ศ.2480 กว่า ๆ ได้เล่าให้ลูกศิษย์และน้อง ๆ และลูกหลานฟัง โดยเฉพาะนิสิตหญิงคณะอักษรศาสตร์จะจดจำกันว่าเวลาถึงหน้าหนาวจะต้องคอยดูเสื้อกันหนาวของตนให้ดี นิสิตที่ยิ่งสวยมากเท่าไรก็มีโอกาสที่เสื้อกันหนาวจะลอยไปค้างที่กิ่งจามจุรีหลังตึกอักษรศาสตร์ ส่วนใหญ่กลัว 2 อย่างคือกลัวผี เพราะมีคนผูกคอตายหลายราย กับกลัวสัตว์ร้าย โดยเฉพาะงู เพราะต้นจามจุรีขึ้นหนาทึบ ตามพื้นดินมีกิ่งไม่ใบไม้ทับถมหนา จามจุรีจึงเป็นต้นไม้แห่งความหลังอันระทึกใจ และมีทั้งชื่นใจและตรอมใจอยู่หลายคู่

นิสิตรุ่น พ.ศ.2490 กว่า ๆ เริ่มพบกับจามจุรีที่เป็นซุ้มรับน้องใหม่ ปลายทศวรรษนี้เริ่มมีมาลัยจามจุรีมอบให้น้องใหม่หรือเป็นรางวัลสำหรับนักกีฬาของคณะต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อ 2493 สุนทราภรณ์ได้แต่เพลง “จามจุรีศรีจุฬาฯ” ให้แก่ชาวจุฬาฯ ทั้งนี้เพราะสมัยโน้นวงดนตรีสุนทราภารณ์และจุฬาฯ ใกล้ชิดกันมาก สุนทราภรณ์ได้นำความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ และจามจุรีมาแต่เนื้อร้องที่มีความหมายกินใจ และใส่ทำนองเพลงที่ไพเราะยิ่งเชื่อว่าสายสัมพันธ์อันเป็นที่มาของเพลงนี้คงจะมีมาก่อนทศวรรษ 2490 แน่นอน

ช่วงเวลา พ.ศ. 2490 จามจุรีเป็นชื่อทีมฟุตบอลที่แข่งขันถ้วยต่าง ๆ สโมสรนิสิต (สจม.) และสโมสรนิสิตเก่า (สนจ.) ใช้เป็นชื่อทีมฟุตบอลแข่งขันงานที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจัดขึ้น คนรุ่นหลังโดยเฉพาะผู้ที่ชอบและติดตามการแข่งขันฟุตบอลเริ่มรู้ว่าชาวจุฬาฯ มีความผูกพันกับจามจุรีเพียงใด

นอกเหนือจากข้อมูลที่ประมวลมาเสนอข้างต้นแล้ว สิ่งที่นิสิตจุฬาฯ มีความรู้สึกนึกคิดตรงกันคือสีดอกจามจุรีเป็นสีชมพู จามจุรีให้ร่มเงาสำหรับการเดินไปมา การพักผ่อน การดูหนังสือ ใช้กิ่งก้านใบจามจุรีในกิจกรรมรับน้องใหม่กับการแข่งขันกีฬา วัฏจักรของจามจุรีสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ สีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในภาคต้น และภาคที่สองทั้งใบและฝักเตือนให้รีบดูหนังสือเตรียมตัวสอบปลายปีมิฉะนั้นจะพบกัน repeat หรือ retire จามจุรีอยู่ที่จุฬาฯ มานานจนบอกไม่ได้ว่าเมื่อไร ด้วยเหตุนี้จามจุรีกับจุฬาฯ จึงผูกพันกันมากจนกลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาฯ

ประมาณต้นทศวรรษของ พ.ศ. 2500 ผู้บริหารของจุฬาฯ เห็นว่าจามจุรีเป็นไม้ที่สลัดใบ และฝักทำให้ถนนและคูข้างถนนในจุฬาฯ สกปรก มีโรคพืชทำให้กิ่งก้านหักหล่น จึงไม่มีนโยบายปลูกทดแทนต้นที่ตายไป นอกจากนั้นในช่วง พ.ศ.2480-2500 มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมาก จึงต้องโค่นจามจุรีเพื่อสร้างตึกใหม่ จามจุรีจึงลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย ส่วนจะมีเหตุอะไรที่อยู่เบื้องหลังนโยบายไม่ปลูกต้นจามจุรีจะมีอะไรบ้างนั้นคงจะเล่าเรื่องบางเรื่องในข้อเขียนไม่ได้เพราะเสี่ยงต่อการตกเป็นจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท

จากการที่จามจุรีมีน้อยลงอย่างเห็นชันเจน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชกระแสถามถึงเหตุที่ทำไมจามจุรีจึงมีน้อย อาจารย์และนิสิตเก่าอาวุโสหลายท่านเล่าให้ฟังว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่าจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนนี้มาก หากจุฬาฯ ไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2506 มีโทรศัพท์จากพระราชตำหนักจิตรดารโหฐานถึงผู้บริหารจุฬาฯ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรี ความโกลาหลระคนกับความปลื้มปิติเกิดขึ้นและแผ่ขยายไปทั้งจุฬาฯ ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นจามจุรี 5 ต้นหน้าหอประชุม ได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ ทรงเล่าว่าทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล จามจุรีงอกขึ้นที่บริเวณต้นไม้ซึ่งทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที สถานที่เรียนนั้นไม่มีที่ใดเหมาะเท่าจุฬาฯ จึงทรงนำมาปลูกไว้ที่จุฬาฯ ก่อนจบกระแสพระราชดำรัสในวันที่ได้รับสั่งว่า “ฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล” จามจุรีพระราชทานทั้งห้าต้นจึงยืนต้นอย่างแข็งแรงเป็นศรีสง่าและสิริมงคลแก่ชาวจุฬาฯ มาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป

ที่มา http://www.memocent.chula.ac.th/article/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99/



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 10:34
จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 10:41
ต้นเข็มแดง ก็ปลูกประดับอยู่ทั่วบริเวณ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 19 เม.ย. 11, 11:08

ด้านหน้าปลูกหมากประดับไว้ ๒ ด้าน มีไม้ตัดทงพุ่มฉัตรด้วย



เนื่องจากผู้ออกแบบตึกจักรพงษ์นี้คือ พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สารโรช ร. สุขยางค์) กับหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ  ปัทมจินดา) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบตึกวชิรมงกุฎและตึกพยาบาลที่วชิราวุธวิทยาลัย  แล้วที่หน้าตึกวชิรมงกุฎสมัยที่ผมเรียนเมื่อสี่สิบปีก่อนมีต้นสนตัดเป็นทรงพุ่มอยู่ที่เชิงบันไดคู่หนึ่ง  ต้นไม้ทรงพุ่มฉัตรที่หน้าตึกจักรพงษ์จึงน่าจะเป็นต้นสนเหมือนกัน 

อีกประเด็นที่สองสถาบันนี้คล้ายกันคือ มีการปลูกค้นก้ามปูไว้บังลม  ผมเคยนั่งถกกับ อ.สวัสดิ์  จงกล ถึงเรื่องต้นก้ามปูนี้ว่า  ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกบัญชาการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘  และมาแล้วเสร็จในปี ๒๔๕๙  ในขณะเดียวกันปี ๒๔๕๙ ก็ได้พระราชทานที่ดินสวนกระจังด้านทิศตะวันตกติดกับโรงรถยนต์หลวงให้เป็นสนามกีฬาของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  เมื่อผมเป็นนักเรียนนั้นรอบสนามกีฬาที่นักเรียนเรียกกันว่า "สนามหลัง" เพราะอยู่หลังโรงเรียน  มีต้นก้ามปูปลูกเรียงกันโดยรอบสนาม  แต่ละต้นมีขนาดใหญ่มาก  จึงชวนให้สันนิษฐานไปว่า ต้นก้ามปู้ที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงนี้น่าจะปลูกพร้อมกันกับที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นแน่   


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 19 เม.ย. 11, 11:26
จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"
ผมอยากทราบครับว่าถนนสายแรกของจุฬาฯ ที่เริ่มจากประตูด้านถนนสนามม้า ผ่านตึกอักษรศาสตร์ 1 ตึก 1 (ปราสาทแดง สร้างเสร็จ ปี 2478) ของคณะวิศวฯ ผ่านตึกจุลจักรพงษ์ (สร้างเสร็จปี 2475) ผ่านตึกขาว (สร้างเสร็จปี 2471) และออกถนนพญาไท ถนนสายนี้สร้างเมื่อปีพ.ศ. ใด ครับ ผมว่าก่อนการสร้างหอประชุมจุฬาฯ แต่ไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 19 เม.ย. 11, 11:28
เบื้องหน้าต้นใหญ่เป็นต้นจามจุรี ส่วนไม้ประดับรอบๆตึก น่าจะเป็นหมากเหลือง และเห็นไม้ทรงพุ่มแหลมไกลๆ ..สนทะเล

ภาพนี้ประมาณพ.ศ. อะไร ครับ และจะหาภาพที่มีรายละเอียดสูงได้จากที่ไหนครับ ขอบคุณมากครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 19 เม.ย. 11, 11:29
ภาพมุมสูง ต้นไม้ยังเตี้ยๆอยู่เลย

พอจะทราบปีที่ถ่ายไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 19 เม.ย. 11, 11:33
ภาพตึกจักรพงษ์ (หอประวัติ) ค่ะ ซ้ายมือคือ ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ สมัยที่ยังไม่ได้สร้างตึกมหาวชิราวุธเชื่อมต่อกัน และยังไม่มีตึกคณะวิศวะ และหอประชุม ค่ะ
มีต้นอะไรบ้างเนี่ย...?


จะขอภาพมาลงหนังสือได้ไหมครับ แต่อยากได้ที่ความละเอียดของภาพมากกว่านี้ครับ ขอบคุณครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 19 เม.ย. 11, 11:37
จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"

หอประชุมจุฬาฯ สมัยแรก ๆ ยังมีปลูกสนทะเลทั้งสองข้าง ไม่ทราบว่าสนทะเลคู่นี้ตัดไปตอนปีไหนครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 19 เม.ย. 11, 11:55
เรียนท่านอาจารย์ทวี  ภาพตึกจักรพงษ์ (หอประวัติ) ในคห.ที่ 14 ได้มาจากอินเตอร์เน็ทค่ะ
ถ้าอาจารย์ต้องการภาพที่มีรายละเอียดสูงเพื่อนำลงเผยแพร่ในหนังสือ คงต้องติดต่อ
หอประวัติจุฬา โทร.0-2218-7097-8,0-2218-4595 ค่ะ
คิดว่าทางหอประวัติน่าจะยินดีสนับสนุน และคงจะมีภาพในอดีตของจุฬา อีกมาก



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 19 เม.ย. 11, 12:19
เรียนท่านอาจารย์ทวี  ภาพตึกจักรพงษ์ (หอประวัติ) ในคห.ที่ 14 ได้มาจากอินเตอร์เน็ทค่ะ
ถ้าอาจารย์ต้องการภาพที่มีรายละเอียดสูงเพื่อนำลงเผยแพร่ในหนังสือ คงต้องติดต่อ
หอประวัติจุฬา โทร.0-2218-7097-8,0-2218-4595 ค่ะ
คิดว่าทางหอประวัติน่าจะยินดีสนับสนุน และคงจะมีภาพในอดีตของจุฬา อีกมาก


ขอบคุณครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 12:22
เบื้องหน้าต้นใหญ่เป็นต้นจามจุรี ส่วนไม้ประดับรอบๆตึก น่าจะเป็นหมากเหลือง และเห็นไม้ทรงพุ่มแหลมไกลๆ ..สนทะเล

ภาพนี้ประมาณพ.ศ. อะไร ครับ และจะหาภาพที่มีรายละเอียดสูงได้จากที่ไหนครับ ขอบคุณมากครับ

ภาพนี้ได้จากเนตครับ ไม่มีภาพละเอียดสูงครับ ภาพนี้เดาช่วงอายุจากรถ + หอประชุมยังไม่มีการต่อเติมปีกข้างอาคาร คงเดาช่วงอายุได้ แต่ผมไม่ถนัดเรื่องรถยนต์ครับ  :-[


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 12:29
จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"
ผมอยากทราบครับว่าถนนสายแรกของจุฬาฯ ที่เริ่มจากประตูด้านถนนสนามม้า ผ่านตึกอักษรศาสตร์ 1 ตึก 1 (ปราสาทแดง สร้างเสร็จ ปี 2478) ของคณะวิศวฯ ผ่านตึกจุลจักรพงษ์ (สร้างเสร็จปี 2475) ผ่านตึกขาว (สร้างเสร็จปี 2471) และออกถนนพญาไท ถนนสายนี้สร้างเมื่อปีพ.ศ. ใด ครับ ผมว่าก่อนการสร้างหอประชุมจุฬาฯ แต่ไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้
คงมีการกรุยถนนให้สำหรับเป็นทางเดินมังครับ ให้ดูแผนที่ ๒๔๘๒ ครับ แผนที่ระวางนี้จัดทำขึ้นก่อนที่จะสร้างอาคารหอประชุม ลองดูถนนตามอาคารต่างๆนะครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 13:22
ภาพตึกคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา
เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิชาก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 13:33
หมู่ตึกบัญชาการ (คณะอักษรฯ)

ที่มา หนังสือสมุดภาพสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กราฟิคอาร์ต, ๒๕๒๕.
พิมพ์เนื่องในการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ๒๔๒๔), ๓๘๐


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 13:40
ตึกคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มูลเหตุ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงกำหนดให้สร้างอาคารขึ้นสำหรับการจัดการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยงกับความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับมูลนิธิRockefeller ว่า ประเทศไทยจะต้องสร้างตึกทดลองวิทยาศาสตร์หนึ่งหลัง อาคารนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ และเริ่มใช้งานในปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๑๙ (สร้างเสร็จ พ.ศ. ๒๔๗๑)

ภาพด้านข้างตึก จะเห็นผู้ถ่ายภาพนั้นยืนใต้ร่มก้ามปู

ที่มา : ชาตรี ประกิตนนทการ. การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์
ชาตินิยม. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๗), ๒๔๑.


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 19 เม.ย. 11, 13:44
ต้นหมากค่ะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 13:50
ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มูลเหตุ ตึกจักรพงษ์เป็นสโมสรสถานที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงสร้างประทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ถวายแด่สมเด็จพระชนกคือ จอมพลสมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๕ อาคารนี้ตั้งอยู่ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ หันหน้าไปทางหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้านทิศเหนือ ด้านหลังจรดสระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย

พระบรมราชชนกจึงได้พระราชทานคำแนะนำว่า ควรสร้างสโมสรสถานให้อาจารย์และนิสิตใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์และเล่นกีฬาในร่ม เพราะนิสิตไม่มีอาคาร
เพื่อกิจการดังกล่าว พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักพงศ์จึงประทานเงินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ทรงเห็นว่ามีนิสิตเพิ่มมากขึ้นจึงประทานเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้ก่อสร้างเพิ่มเติมด้านหลังของอาคาร

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๗ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นว่าจำนวนของนิสิตและกิจกรรมนิสิตมีประมาณเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับได้มีการเปลี่ยนการบริหารงานของคณะนิสิตเป็นองค์การบริหารนิสิต ซึ่งมีสโมสรและชุมนุมต่าง ๆ บริหารงานเกี่ยวกับนิสิต มีสภานิสิตเป็นองค์กรที่ดำเนินงานควบคู่กับองค์การบริหารนิสิต จึงสร้างอาคารอเนกประสงค์คือศาลาพระเกี้ยวขึ้น พร้อมกันนั้นก็มอบส่วนหนึ่งของอาคารศาลาพระเกี้ยวให้คณะนิสิตดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

ตึกจักรพงษ์เมื่อแรกสร้าง(ยังไม่ได้ต่อเติมมุขด้านหลัง) ต้นไม้พุ่มตรงบันไดหน้าตึก ไม่มีแล้ว
ที่มา : วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคนอื่นๆ, พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงาน
สถาปัตยกรรม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต (กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม, ๒๕๓๖), ๕๖


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 19 เม.ย. 11, 14:22
จากการสอบถามนิสิตรุ่น พ.ศ.2474-2477 ทราบว่ายังไม่มีสระน้ำและถนนรอบหอประชุมอย่างในปัจจุบัน นิสิตที่เรียนตั้งแต่ พ.ศ.2485 เป็นต้นมาจะเริ่มทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้เชื่อว่าสระน้ำจะถือกำเนิดในช่วงที่สร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2481 ประกอบกับมีการสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตึกเคมี 2 และตึกคณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศาลาวิทยาศาสตร์ (ตึกขาว) ของคณะวิทยาศาสตร์ อ้อมไปด้านหน้าผ่านตึกสร้างใหม่ฝั่งขวามือของหอประชุม เสาธงซึ่งสร้างคู่กับหอประชุมทำให้มีสนามด้านหน้าหอประชุม ครั้งกระนั้นการขุดสระเพื่อให้ดินถมสนามจึงทำให้จุฬาฯ ได้ทั้งสระน้ำสนามที่กว้างและถนนรอบหอประชุม ทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมงามสง่าขึ้นมาก

"บัวสาย"
ผมอยากทราบครับว่าถนนสายแรกของจุฬาฯ ที่เริ่มจากประตูด้านถนนสนามม้า ผ่านตึกอักษรศาสตร์ 1 ตึก 1 (ปราสาทแดง สร้างเสร็จ ปี 2478) ของคณะวิศวฯ ผ่านตึกจุลจักรพงษ์ (สร้างเสร็จปี 2475) ผ่านตึกขาว (สร้างเสร็จปี 2471) และออกถนนพญาไท ถนนสายนี้สร้างเมื่อปีพ.ศ. ใด ครับ ผมว่าก่อนการสร้างหอประชุมจุฬาฯ แต่ไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้
คงมีการกรุยถนนให้สำหรับเป็นทางเดินมังครับ ให้ดูแผนที่ ๒๔๘๒ ครับ แผนที่ระวางนี้จัดทำขึ้นก่อนที่จะสร้างอาคารหอประชุม ลองดูถนนตามอาคารต่างๆนะครับ

ต้องสารภาพครับดูไม่เป็นครับ ว่าตรงไหนเป็นแนวถนน


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 19 เม.ย. 11, 14:25
ภาพตึกคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา
เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิชาก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น


ตึกนี้สร้างเสร็จปี 2484 ปัจจุบันมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่หลายต้น แต่ละต้นสูงมากและมองไม่เห็นดอก บางต้นยังหาชื่อไม่ได้ครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 เม.ย. 11, 16:08
ขอส่งไม้ประดับสัก ๑ อย่าง แม้ว่าไม่ใช่ไม้ยืนต้นหยั่งรากลึกลงไป แต่เป็นไม้อากาศ ยึดติดกับไม้ใหญ่บริเวณคณะทันตะกับคณะสัตวศาสตร์  กว่า ๒๐ ปีมาแล้ว คือ "เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด" ซึ่งมีความพิเศษคือ สีชมพู ค่อนออกไปทางขาวแต่ไม่เผือก มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกทุกพฤษภาคม ดอกมีจุดชมพูประปรายแต่ไม่เข้มมาก ไม่เหมือนกุหลาบกระเป๋าปิดที่ไหนเลย เคยขอแบ่งมาปลูกไว้ที่บ้าน เมื่อออกดอกเลยนำมาให้ชมครับ

คณะที่ติดกับคณะทันตะเห็นจะเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์มากกว่านะคุณไซอามีส

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 16:26
ขอส่งไม้ประดับสัก ๑ อย่าง แม้ว่าไม่ใช่ไม้ยืนต้นหยั่งรากลึกลงไป แต่เป็นไม้อากาศ ยึดติดกับไม้ใหญ่บริเวณคณะทันตะกับคณะสัตวศาสตร์  กว่า ๒๐ ปีมาแล้ว คือ "เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด" ซึ่งมีความพิเศษคือ สีชมพู ค่อนออกไปทางขาวแต่ไม่เผือก มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกทุกพฤษภาคม ดอกมีจุดชมพูประปรายแต่ไม่เข้มมาก ไม่เหมือนกุหลาบกระเป๋าปิดที่ไหนเลย เคยขอแบ่งมาปลูกไว้ที่บ้าน เมื่อออกดอกเลยนำมาให้ชมครับ

คณะที่ติดกับคณะทันตะเห็นจะเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์มากกว่านะคุณไซอามีส

 ;D

ครับๆ ตามคุณเพ็ญชมพูเลยครับ บังเอิญขณะพิมพ์คณะนี้ ก็พลอยให้นึกถึงรุ่นพี่กำลังผ่าม้าทั้งตัวอยู่ครับ เลยตกคำว่า "แพทย์" ไป :-[


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 เม.ย. 11, 16:31
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง

ในหนังสือ "คราบหมอควาย" ของ ศาสตราจารย์เชื้อ ว่องส่งสาร  (http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p241.html) เขียนเล่าไว้ว่า

จุฬาสมัยนั้น (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๙ ปีที่อาจารย์เชื้อเรียนปี ๑ - เพ็ญชมพู) มีตึกอยู่สามหลัง เหมือนโบสถ์หลังหนึ่ง (คณะอักษรศาสตร์) วิหารหลังหนึ่ง (คณะวิทยาศาสตร์) และเป็นตึกสมัยใหม่หลังหนึ่ง คือตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ บริเวณด้านหน้าติดกับคู หน้าจุฬามีคู ต้นก้ามปูขึ้นเต็มไปหมด ต้นนี้เรียกว่าก้ามปู เรียกว่าต้นฉำฉา ดูเหมือนไม้จะคล้ายไม้ทำลัง ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าลังไม้ฉำฉา ต่อมาคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman และได้ชื่อใหม่ว่า จามจุรี เห็นจะเป็นเพราะดอกมีเกสรคล้ายขนจามจุรีก็ไม่ทราบ บังเอิญเกสรเป็นสีชมพูซึ่งเป็นสีมหาวิทยาลัย และก็เป็นจังหวะที่มีการใช้ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ก่อตั้งใหม่ได้มีการปลูกต้นจามจุรีเต็มไปหมดเพื่อใช้ร่ม เพราะเป็นบริเวณกลางทุ่งและแสนไกล เมื่อคราวมีการปรับปรุงขนานใหญ่ จุฬาโค่นต้นจามจุรีจนเกือบหมดแล้วไปเอาต้นนนทรีมาปลูกแทน ทางเกษตรต้นนนทรีก็ยังเล็กมีแต่จามจุรีเต็มไปหมด เลยงงไปว่าต้นจามจุรีและนนทรีเป็นของใครกันแน่ เดี๋ยวนี้ค่อยยังชั่ว มหาวิทยาลัยเกษตรตัดต้นจามจุรีเกือบหมด ต้นนนทรีออกดอกสะพรั่งโตงามดีทั้งที่เกษตรและจุฬา

 ;D




กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bookaholic ที่ 19 เม.ย. 11, 16:45
จนบัดนี้ก็ยังมีนนทรีอยู่ริมสนามครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 16:51
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง

ในหนังสือ "คราบหมอควาย" ของ ศาสตราจารย์เชื้อ ว่องส่งสาร  (http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p241.html) เขียนเล่าไว้ว่า

จุฬาสมัยนั้น (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๙ ปีที่อาจารย์เชื้อเรียนปี ๑ - เพ็ญชมพู) มีตึกอยู่สามหลัง เหมือนโบสถ์หลังหนึ่ง (คณะอักษรศาสตร์) วิหารหลังหนึ่ง (คณะวิทยาศาสตร์) และเป็นตึกสมัยใหม่หลังหนึ่ง คือตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ บริเวณด้านหน้าติดกับคู หน้าจุฬามีคู ต้นก้ามปูขึ้นเต็มไปหมด ต้นนี้เรียกว่าก้ามปู เรียกว่าต้นฉำฉา ดูเหมือนไม้จะคล้ายไม้ทำลัง ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าลังไม้ฉำฉา ต่อมาคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman และได้ชื่อใหม่ว่า จามจุรี เห็นจะเป็นเพราะดอกมีเกสรคล้ายขนจามจุรีก็ไม่ทราบ บังเอิญเกสรเป็นสีชมพูซึ่งเป็นสีมหาวิทยาลัย และก็เป็นจังหวะที่มีการใช้ต้นไม้เป็นสัญลักษณ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ก่อตั้งใหม่ได้มีการปลูกต้นจามจุรีเต็มไปหมดเพื่อใช้ร่ม เพราะเป็นบริเวณกลางทุ่งและแสนไกล เมื่อคราวมีการปรับปรุงขนานใหญ่ จุฬาโค่นต้นจามจุรีจนเกือบหมดแล้วไปเอาต้นนนทรีมาปลูกแทน ทางเกษตรต้นนนทรีก็ยังเล็กมีแต่จามจุรีเต็มไปหมด เลยงงไปว่าต้นจามจุรีและนนทรีเป็นของใครกันแน่ เดี๋ยวนี้ค่อยยังชั่ว มหาวิทยาลัยเกษตรตัดต้นจามจุรีเกือบหมด ต้นนนทรีออกดอกสะพรั่งโตงามดีทั้งที่เกษตรและจุฬา

 ;D




เด็กนักเรียนอัสสัมชัญ รู้จักต้นจามจุรี มานานแล้วครับ โรงเรียก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ มีต้นจามจุรีต้นแรกของประเทศไทยปลูกไว้ ตามหนังสืออุโฆษสารของโรงเรียนครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 19 เม.ย. 11, 21:15
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง




เด็กนักเรียนอัสสัมชัญ รู้จักต้นจามจุรี มานานแล้วครับ โรงเรียก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ มีต้นจามจุรีต้นแรกของประเทศไทยปลูกไว้ ตามหนังสืออุโฆษสารของโรงเรียนครับ

ต้นจามจุรีต้นแรกนี้ยังอยู่หรือเปล่าครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 เม.ย. 11, 21:38
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง




เด็กนักเรียนอัสสัมชัญ รู้จักต้นจามจุรี มานานแล้วครับ โรงเรียก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ มีต้นจามจุรีต้นแรกของประเทศไทยปลูกไว้ ตามหนังสืออุโฆษสารของโรงเรียนครับ

ต้นจามจุรีต้นแรกนี้ยังอยู่หรือเปล่าครับ

ถูกโค่นทิ้งไปกว่า ๔๐ ปีแล้วครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 เม.ย. 11, 21:40
ประวัติของต้นจามจุรีที่นำเข้าในประเทศไทย มีอยู่หลายเวอร์ชั่น

เวอร์ชั่นของคุณไซอามีส อยู่ในเรื่องเล่าของ คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5)

ต้นจามจุรีต้นแรกในประเทศไทยปลูกอยู่ภายในโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยบาทหลวงรอมิเอล ซึ่งเป็นนักบวชที่อยู่ในวัดอัสสัมชัญ เป็นผู้นำพันธุ์มาจากเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม ต่อมาภายหลังก็เป็นที่แพร่หลายและนิยมนำมาปลูกเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงา

เวอร์ชั่นที่สอง อยู่ใน เว็บคลังปัญญา (http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5)

จามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันทั่วไป อาจพบเห็นได้ตามริมถนน วัด หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ เข้าใจว่ามิสเตอร์ เอช เสลด (Mr. H. Slade.) อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกได้นำพันธุ์จากประเทศพม่ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่ทำการป่าไม้เขตเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาจึงได้นำไปปลูกตามถนนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นไม้โตเร็วเรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาเป็นอย่างดี

เวอร์ชั่นที่สาม มาจากหนังสือ เรื่องปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ ในเรื่อง "เสด็จประพาสชะวา"

เจ้าคุณพ่อเล่าให้ฟังว่าท่านประสบโชคดี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสชะวา ๒ ครั้ง คือเมื่อ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ขณะที่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นนายสุจินดา หุ้มแพร และเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี

ท่านได้เล่าถึงการเสด็จชะวา ร.ศ. ๑๑๕ ว่า........

จากการเสด็จประพาสชะวาครั้งนี้ ได้มีสิ่งที่งอกงามได้เร็จตามเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครด้วย คือ

๑. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเมล็ดเข้ามาเพาะ ปรากฏว่าขึ้นงอกงามเร็ว มีกิ่งก้านแตกสาขาออกไปมาก จึงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "ต้นก้ามปู" ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ใช้เป็นประโยชน์ นอกจากให้ความร่มเย็นแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปล่อยตัวครั่งเป็นอย่างดี


(มีอีก ๓ อย่างที่นำเข้ามาพร้อมกับต้นก้ามปูคือ ผักตบชวา, ปาล์มขวด และกวางดาว)

ถ้าจามจุรีต้นแรกของคุณไซอามีสปลูกก่อน พ.ศ. ๒๔๓๙ จริง ก็น่าจะเป็นต้นแรกจริง

 ;D






กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 เม.ย. 11, 21:47
ถามอาจารย์ทวีว่า เรื่องนี้จริงหรือไม่

ต่อมาคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman

เห็น คุณวิกกี้ (http://en.wikipedia.org/wiki/Albizia_saman) บอกว่า

The original name, saman - known in many languages and used for the specific name - derives from zamang, meaning "Mimosoideae tree" in some Cariban languages of northern Venezuela.

 ???



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 20 เม.ย. 11, 06:42
ถามอาจารย์ทวีว่า เรื่องนี้จริงหรือไม่

ต่อมาคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman


จามจุรีเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศที่อยู่ทางตอนเหนือของอเมริกาใต้ จากโคลัมเบีย ลงมาถึงบราซิล และมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เอาไว้ตั้งแต่ปี 1800s แต่ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันในปัจจุบันคือ Samanea saman (Jacq.) Merr. ดังนั้นที่กล่าวว่าคุณหลวงสมานวนกิจพบว่าเป็นไม้ใหม่ยังไม่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์เลยให้ชื่อ Enterolobium saman จึงน่าจะคลาดเคลื่อน ที่ถูกน่าจะเป็น "เป็นไม้ใหม่ที่เข้ามาในประเทศไทย และหาชื่อวิทยาศาสตร์ได้เป็น Enterolobium saman


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 20 เม.ย. 11, 06:53
มีพันธุ์ไม้อีกชนิดที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงนำเข้ามาปลูกคือ มะฮอกกานี  ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ  ไกรฤกษ์) เป็นผู้เพาะขยายต้นพันธุ์  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ พระราชทานที่ดินสวนกระจังเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตต้นมะฮอกกานีจากพระยาบุรุษรัตนฯ มาปลูกที่สองข้างถนนหน้าโรงเรียนตลอดแนวคลองเปรมประชากร  เพื่อให้เข้าคู่กับต้นมะขามที่ปลูกอยู่ริมถนนพระรามที่ ๕  แต่ไม่พบหลักฐานว่า เมื่อพระราชทานที่ดินตำบลปทุมวันให้โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ นั้น  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ขอพระราชทานต้นมะฮอกกานีไปปลูกหรือไม่?


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 20 เม.ย. 11, 07:18
ประวัติของต้นจามจุรีที่นำเข้าในประเทศไทย มีอยู่หลายเวอร์ชั่น

เวอร์ชั่นที่สาม มาจากหนังสือ เรื่องปกิณณกะในรัชกาลที่ ๕ โดย นายแพทย์นวรัต ไกรฤกษ์ ในเรื่อง "เสด็จประพาสชะวา"

เจ้าคุณพ่อเล่าให้ฟังว่าท่านประสบโชคดี ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสชะวา ๒ ครั้ง คือเมื่อ ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ขณะที่ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นนายสุจินดา หุ้มแพร และเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ขณะที่ท่านเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพ็ธภักดี

ท่านได้เล่าถึงการเสด็จชะวา ร.ศ. ๑๑๕ ว่า........

จากการเสด็จประพาสชะวาครั้งนี้ ได้มีสิ่งที่งอกงามได้เร็จตามเข้ามายังกรุงเทพพระมหานครด้วย คือ

๑. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำเมล็ดเข้ามาเพาะ ปรากฏว่าขึ้นงอกงามเร็ว มีกิ่งก้านแตกสาขาออกไปมาก จึงพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "ต้นก้ามปู" ขณะนี้มีอยู่ทั่วประเทศ ใช้เป็นประโยชน์ นอกจากให้ความร่มเย็นแล้ว ยังเป็นที่สำหรับปล่อยตัวครั่งเป็นอย่างดี

;D
มีข้อมูลที่เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 128 ที่ทรงเรียก จามจุรี ในสมัยนั้นว่า "ต้นกุ้งก้ามกราม" และทรงสั่งให้ปลูกริมถนนพญาไท ในปี 2452 (วารสารจามจุรี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2553 หน้า 46-51 โดย บัณฑิต จุลาศัย และรัชดา โชติพานิช)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 07:27
ประวัติของต้นจามจุรีที่นำเข้าในประเทศไทย มีอยู่หลายเวอร์ชั่น

เวอร์ชั่นของคุณไซอามีส อยู่ในเรื่องเล่าของ คุณวิกกี้ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5)

ต้นจามจุรีต้นแรกในประเทศไทยปลูกอยู่ภายในโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยบาทหลวงรอมิเอล ซึ่งเป็นนักบวชที่อยู่ในวัดอัสสัมชัญ เป็นผู้นำพันธุ์มาจากเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม ต่อมาภายหลังก็เป็นที่แพร่หลายและนิยมนำมาปลูกเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงา



สำหรับภาพนี้ผมนำมาจากหนังสือ ๑๐๐ โรงเรียนอัสสัมชัญ พิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ระบุว่าเป็นต้นจามจุรีต้นแรกในประเทศไทย (ซึ่งแก่กว่าวิกกี้ หลายปี  :D :D)
จากตึกเรียนด้านหลังนั้นได้ถูกวางศิลาฤกษ์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๓๐ ดังนั้นการปลูกต้นจามจุรี ก็คงปลูกหลังจากนี้ไม่นาน


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 09:33
มีพันธุ์ไม้อีกชนิดที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงนำเข้ามาปลูกคือ มะฮอกกานี  ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ  ไกรฤกษ์) เป็นผู้เพาะขยายต้นพันธุ์  

มะฮอกกานีคงได้มาจากเมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง ร.ศ. ๑๒๖ เป็นมะฮอกกานีพันธุ์ใบใหญ่ Swietenia mocrophylla King ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อแข็งมีกลิ่นหอม ผู้รับสนองพระบรมราชโองการจัดหาเมล็ดพันธุ์มะฮอกกานีใบใหญ่ และนำมาพร้อมกับพระองค์คราวเสด็จกลับจากการเสด็จประพาสยุโรป คือพระสารสาสน์พลขันธ์ (ยี อี เยรินี) ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ว่า

...ส่วนพืชพันธุ์นั้น ต้องไปเอาพระสารสาสน์ (เยรินี) มาขอให้ช่วยเป็นผู้จัดการได้ตกลงกันว่า ไม้ที่ปลูกด้านหัวกำลังเป็นฤดูอยู่ ในเวลานี้จะให้สั่งหัวเข้าไปก่อน เม็ดที่ควรจะได้ก็ให้สั่ง แต่ไม้ที่ต้องเอาต่อกิ่งเข้าไป ซึ่งเป็นฤดูส่งจะได้ต่อเดือนตุลาคมนั้น จะไว้คอยส่งลงเรือเมล์ที่พ่อจะกลับที่เดียวจะได้ดูแลรักษาไปได้ ส่วนไม้ที่จะส่งล่วงหน้าไปก่อนนั้น พ่อสั่งให้แกพูดโดยตรงกับกรมดำรงฯ เมื่อได้ส่งอะไรมาบ้าง จึงบอกให้รู้

 :D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 10:21
ภาพตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในปัจจุบันครับ

ต้นไม้เปลี่ยนไปจากเมือสมัยผมเข้าเรียนในปี๒๕๐๙มากมาย
ที่เห็นเป็นป่าจามจุรีข้างสระน้ำหน้าคณะ ตอนนั้นพวกนั้ยังวัยรุ่นอยู่ ไม่ใหญ่โตดังในภาพ ถนนหน้าคณะเคยเป็นหางนกยูง ในภาพนี้ดูไม่ออกว่ายังใช่อยู่ หรือเป็นจามจุรีไปแล้ว

อีกฝั่งหนึ่งของถนน ติดกับตึก เคยเป็นตะแบก หรือเสลาไม่แน่ใจ ถ้ายังใช่อยู่ก็คงเป็นต้นมโหฬาร แคฝรั่งปลูกอยู่แถวมุมตึก ได้ข่าวว่ายังคงอยู่ น่าจะแก่แล้ว


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 10:27
ดูภาพนี้แล้ว เห็นตะเบบูญ่า หรือชมพูพันธุ์ทิพย์มาแจมอยู่ด้วย
เขาคงเห็นว่าต้นนี่ออกดอกเป็นสีชมพูมั้ง เลยเอามาปลูกหน้ามหาวิทยาลัย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 10:32
            ถึงที่นี่จะมีหางนกยูงอยู่            ไหนจะสู้ชงโคบานลานอักษร
          ถึงริมโขงจะเป็นบ้านเมืองมารดร    ให้อาวรณ์หรือจะเท่าเจ้าพระยา
                                                       ประยอม ซองทอง  ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘

          ในแดนดินถิ่นงามจามจุรี             ยังมีที่ไม้พรรณอื่นยืนอาศัย
          หางนกยูงงามดอกออกร่มใบ        ดุจสายใยสายสัมพันธ์อันมั่นยืน

  

                                           ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 11:04
ต้นแคที่หน้าตึกสถาปัตย์ไม่ได้เรียกว่าแคฝรั่งครับ ที่ถูกคือแคแสด


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 11:48
ดอกบัวงามในสระน้ำหน้าเสาธง



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 11:52
ฤๅจะสู้นวลอนงค์ชาวจุฬา


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 12:15
ดูดุจัง


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 12:17
แล้วถ้าคนนี้ล่ะ

ดอกไม้บานให้คุณค่า    จงบานช้าช้าแต่ว่ายั่งยืน (http://www.arts.chula.ac.th/~complit/etext/octobertext/octtext/jiranunt2.htm)

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 12:22
คนที่ไม่มีดอกไม้บานดีกว่าครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 20 เม.ย. 11, 15:44
แล้วถ้าคนนี้ล่ะ

ดอกไม้บานให้คุณค่า    จงบานช้าช้าแต่ว่ายั่งยืน (http://www.arts.chula.ac.th/~complit/etext/octobertext/octtext/jiranunt2.htm)

 ;D

รบกวนถามครับว่าใครมีภาพตอนรับน้องใหม่ที่มีพวงมาลัยจามจุรี หรือลอดซุ้มจามจุรี ที่จะอนุญาตให้ลงในหนังสือได้ กรุณาบอกด้วยครับ อยากได้ภาพสมัยเก่า ๆ ครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 20 เม.ย. 11, 15:51
ภาพตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในปัจจุบันครับ

ต้นไม้เปลี่ยนไปจากเมือสมัยผมเข้าเรียนในปี๒๕๐๙มากมาย
ที่เห็นเป็นป่าจามจุรีข้างสระน้ำหน้าคณะ ตอนนั้นพวกนั้ยังวัยรุ่นอยู่ ไม่ใหญ่โตดังในภาพ ถนนหน้าคณะเคยเป็นหางนกยูง ในภาพนี้ดูไม่ออกว่ายังใช่อยู่ หรือเป็นจามจุรีไปแล้ว

อีกฝั่งหนึ่งของถนน ติดกับตึก เคยเป็นตะแบก หรือเสลาไม่แน่ใจ ถ้ายังใช่อยู่ก็คงเป็นต้นมโหฬาร แคฝรั่งปลูกอยู่แถวมุมตึก ได้ข่าวว่ายังคงอยู่ น่าจะแก่แล้ว
แคแสดยังอยู่ครับขนาดใหญ่แล้ว เสลาก็ยังอยู่ และมีต้นไกรด้วย สามต้นนี้อยู่ติดอาคารครับ ส่วนหางนกยูงอยู่ฝั่งตรงข้ามถนนหน้าคณะสถาปัตย์ฯ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 20 เม.ย. 11, 16:02
ดูภาพนี้แล้ว เห็นตะเบบูญ่า หรือชมพูพันธุ์ทิพย์มาแจมอยู่ด้วย
เขาคงเห็นว่าต้นนี่ออกดอกเป็นสีชมพูมั้ง เลยเอามาปลูกหน้ามหาวิทยาลัย
ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ด้านหลังสระน้ำ ศ.เดชา บุญค้ำเป็นคนวางตำแหน่งและดำเนินการปลูกเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2520 เวลาผ่านไป 34 ปี ต้นไม่ใหญ่เท่าไหร่ แต่เมื่อปี 2553 ช่วงต้นปีแล้งมาก ชมพูพันธุ์ทิพย์ทิ้งใบเกือบหมดและออกดาวสีชมพูพราวทั้งต้น สวยงามมาก เอาไว้ดูภาพในหนังสือนะครับ

ผมมีข้อสังเกตครับ ต้นไม้บริเวณโดยถนนโดยรอบและในสนามหน้าเสาธง โตค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับต้นที่ปลูกบริเวณอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย ยังหาสาเหตุไม่ได้ครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 16:53
"ต้นหูกวาง ก็มีนะครับ"  ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 17:18
สมัยผมเป็นนิสิต ภายในคณะมีคอร์ตปลูกหูกวางต้นยักษ์ไว้ให้ร่มเงาหลายต้นอยู่


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 17:24
พอออกมาแล้ว คณะสร้างตึกใหม่ ต้องตัดต้นหูกวางทิ้งไป แล้วปลูกต้นอะไรไม่ทราบ แต่ตอนนั้นเป็นที่นิยมปลูกกันมากแทน ผมกำลังหาอยู่ว่าเป็นต้นอะไร กิ่งยาวเหยียดตรงออกไปจากลำต้น ใบเหมือนใบกระท้อน แต่มีลักษณะเป็นช่อใบ ๓ใบต่อ๑ช่อ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 17:45
^
ผมคิดว่าเป็นต้นตะกู แต่เพื่อนบอกว่าไม่ใช่ แต่พยายามคิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออกว่ามันต้นอะไร ต้องเลิกลากันไป

หลังๆมานี้ พยายามถามกันว่าอยู่บ้านมีอะไรทำกันบ้างหรือเปล่า เดี๋ยวชีวิตหลังเกษียณจะเฉาตาย
เพื่อนอารมณ์ดีคนนึงบอกว่า "ข้าไม่เคยว่างเลย ยุ่งทั้งวัน"
ทุกคนงง ซักต่อว่า "เอ็งทำอะไรวะ"
มันบอกว่า "หาของ"

ใครอ่านแล้วไม่ตลก แปลว่าวัยยังไม่ถึง พวกที่ตลก รู้ไว้ด้วยว่าคุณน่ะแก่แล้ว


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 20 เม.ย. 11, 18:38
^
ผมคิดว่าเป็นต้นตะกู แต่เพื่อนบอกว่าไม่ใช่ แต่พยายามคิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออกว่ามันต้นอะไร ต้องเลิกลากันไป

หลังๆมานี้ พยายามถามกันว่าอยู่บ้านมีอะไรทำกันบ้างหรือเปล่า เดี๋ยวชีวิตหลังเกษียณจะเฉาตาย
เพื่อนอารมณ์ดีคนนึงบอกว่า "ข้าไม่เคยว่างเลย ยุ่งทั้งวัน"
ทุกคนงง ซักต่อว่า "เอ็งทำอะไรวะ"
มันบอกว่า "หาของ"

ใครอ่านแล้วไม่ตลก แปลว่าวัยยังไม่ถึง พวกที่ตลก รู้ไว้ด้วยว่าคุณน่ะแก่แล้ว

คล้ายตะกูครับ ตะกูคืออีกชื่อหนึ่งของ "กระทุ่ม" ต้นนี้น่าจะเป็น "กระทุ่มน้ำ" หรือ "ก้านเหลือง" เป็นต้นไม้ต่างสกุล แต่อยู่ในวงศ์เดียวกัน


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 20:03
แล้วถ้าคนนี้ล่ะ

ดอกไม้บานให้คุณค่า    จงบานช้าช้าแต่ว่ายั่งยืน (http://www.arts.chula.ac.th/~complit/etext/octobertext/octtext/jiranunt2.htm)

 ;D

รบกวนถามครับว่าใครมีภาพตอนรับน้องใหม่ที่มีพวงมาลัยจามจุรี หรือลอดซุ้มจามจุรี ที่จะอนุญาตให้ลงในหนังสือได้ กรุณาบอกด้วยครับ อยากได้ภาพสมัยเก่า ๆ ครับ

น้องใหม่จุฬา พ.ศ. ๒๕๑๖



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 20:12
มีอีกหลายภาพ

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/04/K9064328/K9064328-46.jpg)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/04/K9064328/K9064328-47.jpg)

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 20:13
ลอดซุ้มจามจุรี


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 20 เม.ย. 11, 21:03
;D


น้องใหม่จุฬา พ.ศ. ๒๕๑๖


ภาพสมเด็จพระเทพฯมีแล้วครับ ผมหมายถึงภาพส่วนตัวของแต่ละท่านครับ ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 21:59
สมัยเรียน มีรุ่นพี่คนหนึ่ง  เรียนจบก็เป็นอาจารย์สอนคณะวิทยาศาสตร์ ชื่อสุรศักดิ์ ศรีประพันธ์    แต่งกลอนเก่งเป็นที่เลื่องลือ   ถ้าอยู่มาจนบัดนี้ก็น่าจะถึงขั้นศิลปินแห่งชาติ
เสียดายว่าไปประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตจากดินถล่ม   เพราะฝนตกหนักที่ภูกระดึง ดูเหมือนจะพ.ศ. 2511 ประมาณนั้น   นิสิตจุฬาที่ไปทริปนั้น เสียชีวิตไป ๓ คน ล้วนแต่เป็นบุคลากรมีค่าของวรรณศิลป์จุฬา  รวมพี่สุรศักดิ์ด้วย    ท่าน NAVARAT น่าจะจำเหตุการณ์นี้ได้  เพราะสะเทือนขวัญพวกจุฬากันมาก 
พี่สุรศักดิ์ชอบเขียนถึงกระถินณรงค์     แต่ดิฉันก็ไม่มีโอกาสไปดูสักที  ว่ามีกระถินณรงค์ปลูกอยู่ที่คณะวิทย์ฯจริงหรือไม่
เมื่อช่วยอาจารย์ทวีหาต้นไม้ในอดีตของจุฬา  ก็เลยเมล์ไปหาคุณประยอม ซองทอง   ท่านให้คำตอบมาว่า

" กระถินณรงค์ดูเหมือนมีแถวคณะวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะภาควิชาพฤกษศาสตร์ หรืออยู่ระหว่าคณะวิศวะกับรัฐศาสตร์ (?)
 แต่ที่พี่ตรึงใจก็มีสวีแดร์หรือแคฝรั่ง (ที่อยู่ในกลอนของพี่)ซึ่งอยู่ริมคลองอรชรและที่มุมที่เป็นโรงอาหารอักษร(ที่จอดรถปัจจุบัน)

เป็นอันว่าได้มาอีกต้น ที่คณะอักษรฯ  คือแคฝรั่งหรือสวีแดร์  คำนี้ไม่เคยได้ยิน  ต้องถามว่าเป็นภาษาอะไรคะ   

กระถินณรงค์

(http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/313/255/original_Wattle.jpg?1285616735)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 11, 23:16
กระถินณรงค์เป็นต้นไม้ประจำคณะเภสัชศาสตร์

ภาพตึกคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา
เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิชาก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18457;image)

มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น  

ใช่ต้นกระถินณรงค์หรือเปล่า

 ???


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 เม.ย. 11, 23:25
^
รูปทรง เรือนพุ่ม ไม่ใช่ครับ
น่าจะเป็นจามจุรี


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 เม.ย. 11, 23:43
ต้นหูกวาง - ลักษณะให้ร่มเงาได้ดี แต่มีข้อเสียอยู่คือ เมื่อถึงฤดูหนาว จะผลัดใบร่วงทั้งตน และยังมีบุ้งคัน สีเหลืองมีขนยาวๆ อยู่มากมาย เมล็ดใหญ่ ตกใส่รถ อาจบุบนิดๆได้

กระถินณรงค์ - ใบเป็นเสี้ยวพระจันทร์ ที่บ้านเคยปลูกไว้ สงสัยพ่อคงจบสถาปัตย์มาคงเป็น Trend นิยมปลูกต้นไม้เป็นพักๆ เหมือนนิยมบีปขาว บีปทอง สัก บุนนาค จันทน์กะพ้อ แต่กระถินณรงค์มีข้อเสียคือ ดอกสีเหลืองนี้เป็นยางเหนียวมาก ร่วงมาทียางติดหนึบเลยครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 06:18
กระถินณรงค์เป็นต้นไม้ประจำคณะเภสัชศาสตร์

ภาพตึกคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา
เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิชาก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18457;image)

มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น  

ใช่ต้นกระถินณรงค์หรือเปล่า

 ???

ดูจากทรงพุ่มไม่น่าใช่ครับ เป็นเรื่องแปลกที่กระถินณรงค์เป็นต้นไม้ประจำคณะเภสัชศาสตร์ แต่ทั้งที่อาคารเรียนเก่าในปัจจุบัน และบริเวณคณะที่ย้ายไปอยู่บริเวณสยามสแควร์ไม่มีปลูกกระถินณรงค์เลย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 06:49
สมัยเรียน มีรุ่นพี่คนหนึ่ง  เรียนจบก็เป็นอาจารย์สอนคณะวิทยาศาสตร์ ชื่อสุรศักดิ์ ศรีประพันธ์    แต่งกลอนเก่งเป็นที่เลื่องลือ   ถ้าอยู่มาจนบัดนี้ก็น่าจะถึงขั้นศิลปินแห่งชาติ
เสียดายว่าไปประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตจากดินถล่ม   เพราะฝนตกหนักที่ภูกระดึง ดูเหมือนจะพ.ศ. 2511 ประมาณนั้น   นิสิตจุฬาที่ไปทริปนั้น เสียชีวิตไป ๓ คน ล้วนแต่เป็นบุคลากรมีค่าของวรรณศิลป์จุฬา  รวมพี่สุรศักดิ์ด้วย    ท่าน NAVARAT น่าจะจำเหตุการณ์นี้ได้  เพราะสะเทือนขวัญพวกจุฬากันมาก 
พี่สุรศักดิ์ชอบเขียนถึงกระถินณรงค์     แต่ดิฉันก็ไม่มีโอกาสไปดูสักที  ว่ามีกระถินณรงค์ปลูกอยู่ที่คณะวิทย์ฯจริงหรือไม่
เมื่อช่วยอาจารย์ทวีหาต้นไม้ในอดีตของจุฬา  ก็เลยเมล์ไปหาคุณประยอม ซองทอง   ท่านให้คำตอบมาว่า

" กระถินณรงค์ดูเหมือนมีแถวคณะวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะภาควิชาพฤกษศาสตร์ หรืออยู่ระหว่าคณะวิศวะกับรัฐศาสตร์ (?)
 แต่ที่พี่ตรึงใจก็มีสวีแดร์หรือแคฝรั่ง (ที่อยู่ในกลอนของพี่)ซึ่งอยู่ริมคลองอรชรและที่มุมที่เป็นโรงอาหารอักษร(ที่จอดรถปัจจุบัน)

เป็นอันว่าได้มาอีกต้น ที่คณะอักษรฯ  คือแคฝรั่งหรือสวีแดร์  คำนี้ไม่เคยได้ยิน  ต้องถามว่าเป็นภาษาอะไรคะ   

กระถินณรงค์

(http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/313/255/original_Wattle.jpg?1285616735)

เสียดายอาจารย์สุรศักดิ์เหมือนกันครับ ผมจะทึ่งพวกที่เรียนวิทย์แต่สามารถแต่งคำประพันธ์ได้ไพเราะ ตอนนี้ก็ยังมีอยู่บ้าง ขอบคุณครับอาจารย์ที่กรุณาให้ข้อมูลพรรณไม้ในจุฬาฯ เพิ่มเติม กระถินณรงค์เคยมีปลูกหลายที่ในจุฬาฯ ต่อมาก็ถูกตัดไป ในคณะวิทยาศาสตร์ปัจจุบันไม่มีแล้ว ที่เห็นเด่นมีที่ริมถนนหน้าตึกบรมราชกุมารี และด้านข้างของสระน้ำฝั่งตรงข้ามกับคณะสถาปัตย์ฯ

สำหรับแคฝรั่งผมเขียนไว้ในต้นฉบับหนังสือว่า “....ศาสตราจารย์หลวงศรีสมรรถวิชชากิจ อดีตหัวหน้าแผนกพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้เป็นเจ้าหน้าที่แต่งและรักษาบริเวณมหาวิทยาลัย ในปี  พ.ศ. ๒๔๘๔ อาจารย์หลวงศรี ฯ เป็นผู้ดำเนินการให้ปลูกต้นแคฝรั่งเป็นไม้ถนนบริเวณประตูใหญ่ของมหาวิทยาลัย ด้านหน้าของสระน้ำจุฬา ฯ  ผ่านหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ไปจนถึงตึกคณะศิลปกรรมศาสตร์ (เดิมเป็นอาคารเรียนคณะเภสัชศาสตร์)...”   แคฝรั่งชุดนี้ถูกตัดไปบริเวณหน้าประตูใหญ่ พร้อมกับจามจุรีประมาณปี 2505  ปัจจุบันมีแคฝรั่งเหลือรอดเป็นไม้ถนน 4 ต้นครับ

ชื่อ “สวีแดร์” ผมไม่เคยได้ยินเหมือนกันครับ ที่ทราบมีแต่ชื่อต่อไปนี้ครับ
Gliricidia, mother of cocoa, quick stick, Nicaraguan cocoa shade, Mexican lilac, mouse killer, St. Vincent plum, tree of iron


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 06:50
กระถินณรงค์เป็นต้นไม้ประจำคณะเภสัชศาสตร์

ภาพตึกคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา
เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิชาก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18457;image)

มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น  

ใช่ต้นกระถินณรงค์หรือเปล่า

 ???


ขอเดาว่าต้นไม้ด้านซ้ายมือ ทรงพุ่มอย่างต้นจามจุรี  ส่วนต้นใหญ่ขวามือ รูปทรงเหมือนต้นหูกวางครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 06:54

" กระถินณรงค์ดูเหมือนมีแถวคณะวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะภาควิชาพฤกษศาสตร์ หรืออยู่ระหว่าคณะวิศวะกับรัฐศาสตร์ (?)
 แต่ที่พี่ตรึงใจก็มีสวีแดร์หรือแคฝรั่ง (ที่อยู่ในกลอนของพี่)ซึ่งอยู่ริมคลองอรชรและที่มุมที่เป็นโรงอาหารอักษร(ที่จอดรถปัจจุบัน)

เป็นอันว่าได้มาอีกต้น ที่คณะอักษรฯ  คือแคฝรั่งหรือสวีแดร์  คำนี้ไม่เคยได้ยิน  ต้องถามว่าเป็นภาษาอะไรคะ   

กระถินณรงค์

(http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/313/255/original_Wattle.jpg?1285616735)

อยากอ่านกลอนที่มีแคฝรั่งของศิลปินแห่งชาติครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 07:02
ภาพตึกคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา
เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิชาก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น
เป็นตึกที่รูปทรงคล้ายกัน แต่ภาพนี้ผมว่าน่าจะเป็นตึกเคมี 1 หรือ อาคารศิลปกรรมในปัจจุบันครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 07:17
เคยเห็น "ต้นสน คริสมาส" หรือ "สนอังกฤษ" เคยปลูกไว้หน้าศาลาพระเกี้ยว เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นปลูกกันเท่าไร เป็นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ใบยาวเป็นแท่ง เป็นใบย่อยเรียงกันเป็นเกลียว

อีกประเภทคือ "พวกปาล์มประดับ" ก็ปลูกอยู่มากนะครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 07:19
ร่มเงาไม้ จามจุรี


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 09:06

กระถินณรงค์เป็นต้นไม้ประจำคณะเภสัชศาสตร์

ภาพตึกคณะเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชา
เขียนแบบสถาปัตยกรรมและวิชาก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18457;image)

มีไม้ใหญ่ร่มเงาด้านหน้า ๓-๔ ต้น  

ใช่ต้นกระถินณรงค์หรือเปล่า

 ???

ดูจากทรงพุ่มไม่น่าใช่ครับ เป็นเรื่องแปลกที่กระถินณรงค์เป็นต้นไม้ประจำคณะเภสัชศาสตร์ แต่ทั้งที่อาคารเรียนเก่าในปัจจุบัน และบริเวณคณะที่ย้ายไปอยู่บริเวณสยามสแควร์ไม่มีปลูกกระถินณรงค์เลย


ภาพหน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ (คณะเภสัชศาสตร์เดิม)

(http://www.faa.chula.ac.th/main/images/phocagallery/2mar2010/thumbs/phoca_thumb_l_dsc051.jpg)

แล้ว ๒-๓ ต้นนี้ ใช่กระถินณรงค์หรือเปล่า

 ???


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 09:18
ถ่ายจากมุมสูง

(http://www.faa.chula.ac.th/main/images/phocagallery/2mar2010/thumbs/phoca_thumb_l_dsc045.jpg)

สองภาพข้างบนถ่ายเมื่อ วันสถาปนาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 10:38
เสน่ห์เภสัช
 
คำร้อง ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน        
  
เภสัชจำรัสขจี
เหนือแดนฤดีที่รักแห่งเรา
เหมือนฝันบรรเจิดจันทร์พันแสงแฝงเงา
ฉายโลมโฉมชาวเราเสาวภา

เภสัชประภาสประไพ
ไฉไลเร้าใจให้รักเรื่อยมา
รักหลงรอยรูปทรงตรงไหนนำพา
พริ้มตาฝันเพลินพาหรรษาซ่าน

ใต้ร่มกระถินณรงค์
เคยนั่งลงตรงวงล้อมหอมหวาน
ข้างกอเตยเคยสำราญ
ส่งกระแสแดดานควานคว้าอารมณ์


เสน่ห์เภสัชที่มี
เหมือนมนต์วดีที่ฟ้าพร่างพรม
ขลังหนาทางเมตตามหานิยม
เชื้อเชิญและชวนชมโฉมน้องพี่  

ชาวเภสัชในอดีตคงผูกพันกับ กระถินณรงค์ และ กอเตย กันมาก

 ;D

 


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 10:42
เกร็ดเกี่ยวกับเพลงเสน่ห์เภสัช คุณ marine เขียนไว้น่าสนใจ

เพลงนี้เป็นเพลงของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เดิมสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๒ มีการเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยสาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยมหิดล ณ เวลานั้นมหาวิทยาลัยมหิดลมีสองคณะคือ "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" ในบริเวณจุฬาฯ และ "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล" ในพื้นพี่เขตพญาไท ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้มีคำสั่งให้โอนย้ายสังกัดคณะเภสัชศาสตร์ในบริเวณจุฬาฯ กลับสู่สังกัดเดิมคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ในปัจจุบัน ส่วน "คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล" ก็ได้ตัดสร้อยพญาไทออกเป็น "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" ในปัจจุบัน

ดังนั้น ข้อสันนิษฐานว่าแต่งให้มหาวิทยาลัยมหิดลนั้นคงไม่ถูกต้องเพราะบรรเลงปี ๒๕๐๕ ซึ่งบรรเลงก่อนมีการก่อตั้งคณะเภสัช มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบันถึง ๖ ปี และเนื้อเพลงทั้งหมดล้วนบรรยายสภาพคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ทั้งสิ้นโดยมีการให้ข้อมูลพื้นที่คณะแก่วงสุนทราภรณ์ จึงได้เป็นเพลงนี้ในเวลาต่อมา

และกระถินณรงค์ ไม่ใช่ต้นไม้ของคณะเภสัชศาสตร์ทุกคณะ กระถินณรงค์มีที่มาจากบริเวณคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์) เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปัจจุบัน (เรียกว่าตึกเทา) มีต้นกระถินณรงค์อยู่มาก และอย่างเภสัช มหิดล ก็มีดอกกันภัยมหิดลเป็นสัญลักษณ์ ไม่ใช่กระถินณรงค์ และม.บูรพาเป็นต้นปาล์ม เป็นต้น

http://www.websuntaraporn.com/suntaraporn/lyric/postlyric.asp?GID=147

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 11:11
ผมว่าใช่กระถินณรงค์นะครับ จำได้คลับคล้ายคลับคลาอยู่ เพราะเป็นเพื่อนบ้านติดกัน สมัยผมเข้าถาปัดใหม่ๆปี๒๕๐๙ เค้าอยู่ในจุฬาแต่ไม่ใช่จุฬานะ ขึ้นอยู่กับแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งตอนนั้นสถาบันอิสระคู่กับศิริราช หรืออย่างไรนี่ หน้าอกเขาติดเข็มงู๒ตัวพันคบเพลิง ท่าทางเซ็งๆหงอยๆ เพราะไม่ได้ร่วมกิจกรรมสนุกๆอะไรกับเขาเลย ตอนปีท้ายๆ มีการผนวกคณะที่น่าสงสารเหล่านี้เข้ากับจุฬา นอกจากเภสัชแล้วก็มีสัตวแพทย์ศาสตร์ที่ตั้งอยู่แถวสาธิตปทุมวัน แต่ผ่าไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นต้น ผมจึงได้เห็นสาวๆคณะนี้กระดี๊กระด้าไม่ต่างกับคณะอื่นๆในจุฬาเลย

แปลก ประวัติคณะในเวปของเภสัชเองมั่วๆ ไม่ชัดเจนนักในช่วงนี้ แต่ใครอย่ามาเถียงนะ ผมสามารถระดมคนแก่ขี้ลืมมาช่วยยืนยันได้เป็นร้อย

แถมอีกนิด ผมรู้จักนิสิตสัตวแพทย์คนหนึ่งดี เป็นรุ่นพี่ชื่อถาวร เพียแป ก็นามสกุลอย่างนี้แหละจึงจำได้ พี่เขาเล่นรักบี้ให้เกษตร ตัวใหญ่เบ่อเร่อเบ่อร่าแต่วิ่งเร็วชะมัด จัดเป็นดาราชั้นนำ ปีสุดท้ายที่สัตวแพทย์เกษตรย้ายมาสังกัดจุฬา เราก็รอดูว่าพี่ถาวร เพียแปจะมาซ้อมกับทีมจุฬาไหม ไหนได้ นอกจากจะไม่มาแล้ว ยังคงใส่เสื้อสีเขียวลงมาอัดผมลงไปนอนจุกแอ็ดๆกลางสนามศุภเสียอีก
 
แต่สิ้นปีการศึกษานั้น พี่ถาวรสวมเสื้อครุยเทวดา รับปริญญาจุฬา เที่ยวเดินถ่ายรูปหน้าบานเป็นกระด้งทีเดียว


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 11:31
เพราะเป็นเพื่อนบ้านติดกัน สมัยผมเข้าถาปัดใหม่ๆปี๒๕๐๙ เค้าอยู่ในจุฬาแต่ไม่ใช่จุฬานะ ขึ้นอยู่กับแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งตอนนั้นสถาบันอิสระคู่กับศิริราช หรืออย่างไรนี่ หน้าอกเขาติดเข็มงู๒ตัวพันคบเพลิง ท่าทางเซ็งๆหงอยๆ

แล้วคุณชาย เข้าไปแหวกหญ้าให้งูตื่น !!! บ้างหรือเปล่า  ???  ;D ;D ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 11:52
แหะๆ ผมกลัวคบไฟคร้าบ เขาจะเอาทิ่มหน้าให้

คือตอนแรกนึกว่าพวกเภสัชเป็นเด็กเรียนแบบเก็บกด ที่คณะก็เงียบๆ ไหนได้ พอเป็นจุฬาเข้า ซ้อมเชียร์วี๊ดกรี๊ดกันทุกวัน
ว่าแต่ว่า เราคุยกันเรื่องต้นไม้หรือเปล่านี่

อาจารย์จะเอายังไง สั่งได้นะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 15:12
ผมว่าใช่กระถินณรงค์นะครับ จำได้คลับคล้ายคลับคลาอยู่ เพราะเป็นเพื่อนบ้านติดกัน  สมัยผมเข้าถาปัดใหม่ๆปี๒๕๐๙ เค้าอยู่ในจุฬาแต่ไม่ใช่จุฬานะ ขึ้นอยู่กับแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งตอนนั้นสถาบันอิสระคู่กับศิริราช หรืออย่างไรนี่ หน้าอกเขาติดเข็มงู๒ตัวพันคบเพลิง ท่าทางเซ็งๆหงอยๆ เพราะไม่ได้ร่วมกิจกรรมสนุกๆอะไรกับเขาเลย ตอนปีท้ายๆ มีการผนวกคณะที่น่าสงสารเหล่านี้เข้ากับจุฬา แต่สิ้นปีการศึกษานั้น พี่ถาวรสวมเสื้อครุยเทวดา รับปริญญาจุฬา เที่ยวเดินถ่ายรูปหน้าบานเป็นกระด้งทีเดียว

เพื่อนบ้านติดคณะของคุณนวรัตนน่าจะเป็นคณะวิทยาศาสตร์  ตึกเคมีของคณะวิทยาศาสตร์อยู่กลางระหว่างคณะของคุณนวรัตนกับคณะเภสัชศาสตร์

สาว ๆ วิดยา สมัยนั้นเป็นไงบ้าง

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 15:19
ก็คงจะอยู่กะเคมีมากไปหน่อย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 15:37
ในคลองอรชร มีปลูกอะไรไว้บ้างหรือเปล่าครับ คุณชาย  ???


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 15:47
ถ้าหมายถึงผมละก็ ผมไม่ใช่คุณชายนะครับ โดนเรียกหลายทีแล้ว..ชักเขิน ;D

 ???คลองอรชร....ชงโคมั้ง


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 15:58
ในคลองอรชร มีปลูกอะไรไว้บ้างหรือเปล่าครับ คุณชาย  ???

ถ้าเป็นในคลอง   ก็ปลูกบัวได้อย่างเดียวค่ะ  ;D
สมัยดิฉันเรียนที่ร.ร.เตรียม  คลองอรชรกลายเป็นคูน้ำ ไม่มีไม้น้ำแล้ว    แต่สมัยพี่ประยอม ดูเหมือนจะทันเห็นบัวในคลองอรชร


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 16:07
บัวกลางเทวาลัย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 16:08

เพื่อนบ้านติดคณะของคุณนวรัตนน่าจะเป็นคณะวิทยาศาสตร์  ตึกเคมีของคณะวิทยาศาสตร์อยู่กลางระหว่างคณะของคุณนวรัตนกับคณะเภสัชศาสตร์

ตึกตรงนั้น เขาเรียก "เคมีปฏิบัติ"   ดิฉันก็ไม่รู้ว่าเป็นคณะหรืออะไรกัน  เคยมีเพื่อนเข้าไปเรียนอยู่คนหนึ่ง แต่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบจุฬา

อาจารย์ทวีคงไม่ถือที่กระทู้นี้กลายเป็นที่ฟื้นความทรงจำ   จนออกนอกเส้นทางต้นไม้ไปบ้าง   จำกันไปจำกันมา อาจจะได้มาอีกหลายต้นนะคะ
ดิฉันส่งเมล์ถามพี่ประยอมไปแล้วว่าสวีแดร์คืออะไร  และขอกลอนพี่ประยอมด้วย  ได้คำตอบเมื่อไรจะเอามาลงให้อ่านกันค่ะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 16:17
อ้างถึง
รบกวนถามครับว่าใครมีภาพตอนรับน้องใหม่ที่มีพวงมาลัยจามจุรี หรือลอดซุ้มจามจุรี ที่จะอนุญาตให้ลงในหนังสือได้ กรุณาบอกด้วยครับ อยากได้ภาพสมัยเก่า ๆ ครับ

ภาพอย่างนี้พอจะเข้าสะเป๊กบ้างไหมครับ
ถ้าใช้ได้ ในหนังสือรุ่นตามห้องสมุดคณะต่างๆ คงมีให้เลือกไม่หวาดไม่ไหว


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 16:18
บัวกลางเทวาลัย มาปลูกสมัยหลังดิฉันเรียนจบมาแล้ว   ตอนนั้นเป็นสนามโล่งๆ ระหว่างตึกอักษรศาสตร์กับตึกหอสมุด  (หมายถึงตึกมหาจุฬาฯกับตึกมหาวชิราวุธ)
ภาพนี้คือตึกอักษรศาสตร์  ก่อนพ.ศ. 2482


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 16:19
ไม้ใหญ่ให้ร่มเงานี้ควรจะมีบ้าง นนทรี (ดอกเหลือง) และดอกตะแบก (สีม่วง)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 16:20

เพื่อนบ้านติดคณะของคุณนวรัตนน่าจะเป็นคณะวิทยาศาสตร์  ตึกเคมีของคณะวิทยาศาสตร์อยู่กลางระหว่างคณะของคุณนวรัตนกับคณะเภสัชศาสตร์

ตึกตรงนั้น เขาเรียก "เคมีปฏิบัติ"   ดิฉันก็ไม่รู้ว่าเป็นคณะหรืออะไรกัน  เคยมีเพื่อนเข้าไปเรียนอยู่คนหนึ่ง แต่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบจุฬา

ไม่น่าจะใช่ เพราะ เคมีปฏิบัติ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4) เป็นนิสิตฝากเรียน สังกัดที่แท้จริงคือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

อาจารย์ทวีช่วยยืนยันที

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 16:31
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ค่ะ

"ต้นไม้ในคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นมีอยู่มากมาย และหลายต้นในนั้นก็มีประวัติที่น่าสนใจและมีค่าเป็นอย่างมาก ต้นไม้แรกที่เราอยากจะพูดถึงในครั้งนี้คือต้นสักหน้าตึก 3 ซึ่งเป็นต้นสักขนาดใหญ่จำนวน 3 ต้น
จากการย้อนรอยพบว่าต้นสัก 3 ต้นปลูก สมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต เป็นคณบดี เมื่อตอนต้นปี พ.ศ. 2518 ในโอกาสที่คณะวิศวฯ ครบรอบ 60 ปี ซึ่งปลูกโดย ศาสตราจารย์ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ นายกสภามหาวิทยาลัย 1 ต้น โดย ศาสตราจารย์ ดร. เกษม สุวรรณกุล อธิการบดี 1 ต้น และ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ชัย มุกตพันธุ์ อดีตคณบดี 1 ต้น"


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 เม.ย. 11, 16:39
ประดู่แดง ภาควิชาวิศวกรรมเหมือนแร่และปิโตรเลียม ค่ะ

"ต้นประดู่แดง 2 ต้นที่ปลูกบริเวณพื้นที่หน้าตึกปฏิบัติการเหมืองแร่ มีขนาดรอบลำต้น 3 เมตร และ 2.40 เมตร สูงใหญ่ร่มเย็น ผู้ที่นำพันธุ์มาปลูกคือ ศ.วรวิทย์ เงยไพบูลย์
ต้นประดูแดงทั้ง 2 ต้นนี้มีอายุมากกว่า 60 ปี เจริญเติบโตมาพร้อมกับภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ฯ ซึ่งผลิตบัณฑิตรุ่นแล้วรุ่นเล่าจนถึงปัจจุบัน ต้นประดู่แดงคู่นี้เป็นต้นไม้คู่แรกที่นำมาปลูกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสัญลักษณ์ของภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณาจารย์และรุ่นพีจะเล่าประวัติของต้นประดู่แดงทั้ง 2 ต้นนี้ให้นิสิตฟังทุกรุ่นว่าประดู่แดงนั้นเป็นสัญลักษณ์ของภาควิชาฯ มีความหมายว่า...
“พวกเรา (บุคลากรและนิสิต) เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่ ประดู่แดงหมายถึงความพร้อม ความร่วมมือร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”
พวกเราทุกคนชื่นชม รักษ์และภูมิใจต้นประดู่แดงคู่นี้ตลอดไป..."


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 16:40
ต้นหมากเหลือง หายไป ไม้ลั่นทมเข้าแทนที่ ไม่ทราบว่า สมัย อ.เทาชมพู มีการปลูกลั่นทมรอบบริเวณเทวาลัยหรือยังครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 เม.ย. 11, 16:49
ดิฉันไม่ทราบว่ายุคในรูปข้างบนนี้ยุคไหน   ทำไมชงโคหายไปหมด
สมัยดิฉัน ไม่มีลั่นทมค่ะ   

พี่ประยอมคงจะยังหากลอนสวีแดร์ไม่พบ    ดิฉันเลยไปค้นเองว่ามันต้นอะไร  พบว่าสะกดว่า "สวีแด"  ชื่อสามัญคือแคฝรั่ง  ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Gliricidia Sepium Steud

(http://www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/pic054.jpg)

เป็นดอกไม้ประจำวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

(http://www.bloggang.com/data/mamchan/picture/1211527784.jpg)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 17:41
เคยเห็น "ต้นสน คริสมาส" หรือ "สนอังกฤษ" เคยปลูกไว้หน้าศาลาพระเกี้ยว เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นปลูกกันเท่าไร เป็นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ใบยาวเป็นแท่ง เป็นใบย่อยเรียงกันเป็นเกลียว

อีกประเภทคือ "พวกปาล์มประดับ" ก็ปลูกอยู่มากนะครับ
พอจะทราบช่วงเวลาปลูกไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 17:49
ร่มเงาไม้ จามจุรี

จามจุรีต้นนี้ติดลำดับ ๑-๑๐ ต้นจามจุรีใหญ่ในจุฬาฯ ครับ เห็นไกล ๆ ต้นดูไม่ใหญ่ แต่ถ้าดูใกล้ ๆ ลำต้นอวบอ้วนมากครับ อายุก็น่าจะมากกว่า ๗๐ ปี มีใครพอจะทราบประวัติต้นนี้ไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 17:54
ถ่ายจากมุมสูง

(http://www.faa.chula.ac.th/main/images/phocagallery/2mar2010/thumbs/phoca_thumb_l_dsc045.jpg)

สองภาพข้างบนถ่ายเมื่อ วันสถาปนาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

 ;D

ไม่มีกระถินณรงค์บริเวณนี้ครับ ที่เห็นบริเวณนี้มีต้นทองหลางลาย อีกต้นน่าจะเป็นประดู่  ขยับไปทางตะวันตกอีกนิดจะเป็นไม้ใหญ่สูงเท่าความสูงของตึกคือต้นยางนาครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 18:00
อ้างถึง
รบกวนถามครับว่าใครมีภาพตอนรับน้องใหม่ที่มีพวงมาลัยจามจุรี หรือลอดซุ้มจามจุรี ที่จะอนุญาตให้ลงในหนังสือได้ กรุณาบอกด้วยครับ อยากได้ภาพสมัยเก่า ๆ ครับ

ภาพอย่างนี้พอจะเข้าสะเป๊กบ้างไหมครับ
ถ้าใช้ได้ ในหนังสือรุ่นตามห้องสมุดคณะต่างๆ คงมีให้เลือกไม่หวาดไม่ไหว

อยากได้ภาพที่เป็นต้นฉบับ จะได้ชัดเจนครับ โดยเฉพาะเป็นภาพรับน้องของคนรุ่นเก่า ๆ ตอนนี้ผมมีเก่าสุด เป็นน้องใหม่ปี ๒๔๙๘


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 18:06

ตึกตรงนั้น เขาเรียก "เคมีปฏิบัติ"   ดิฉันก็ไม่รู้ว่าเป็นคณะหรืออะไรกัน  เคยมีเพื่อนเข้าไปเรียนอยู่คนหนึ่ง แต่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบจุฬา

ไม่น่าจะใช่ เพราะ เคมีปฏิบัติ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4) เป็นนิสิตฝากเรียน สังกัดที่แท้จริงคือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
อาจารย์ทวีช่วยยืนยันที
;D
ตึกตรงนั้นคือตึกเคมี ๑ ครับ เคมีปฏิบัติตอนหลังสังกัดจุฬาฯ พอจบ ๓ ปีได้อนุปริญญา มาต่อที่วิดยา อีก ๒ ปีได้ปริญญาตรีครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 18:10
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ค่ะ

"ต้นไม้ในคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นมีอยู่มากมาย และหลายต้นในนั้นก็มีประวัติที่น่าสนใจและมีค่าเป็นอย่างมาก ต้นไม้แรกที่เราอยากจะพูดถึงในครั้งนี้คือต้นสักหน้าตึก 3 ซึ่งเป็นต้นสักขนาดใหญ่จำนวน 3 ต้น
จากการย้อนรอยพบว่าต้นสัก 3 ต้นปลูก สมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต เป็นคณบดี เมื่อตอนต้นปี พ.ศ. 2518 ในโอกาสที่คณะวิศวฯ ครบรอบ 60 ปี ซึ่งปลูกโดย ศาสตราจารย์ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ นายกสภามหาวิทยาลัย 1 ต้น โดย ศาสตราจารย์ ดร. เกษม สุวรรณกุล อธิการบดี 1 ต้น และ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ชัย มุกตพันธุ์ อดีตคณบดี 1 ต้น"

ขอบคุณมากครับ ผมถามเพื่อนที่สอนที่วิศวฯ ก็ไม่มีใครรู้เรื่องเกี่ยวกับต้นสัก ๓ ต้นนี้ครับ อาจจะไม่สนใจ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 18:17
ประดู่แดง ภาควิชาวิศวกรรมเหมือนแร่และปิโตรเลียม ค่ะ

"ต้นประดู่แดง 2 ต้นที่ปลูกบริเวณพื้นที่หน้าตึกปฏิบัติการเหมืองแร่ มีขนาดรอบลำต้น 3 เมตร และ 2.40 เมตร สูงใหญ่ร่มเย็น ผู้ที่นำพันธุ์มาปลูกคือ ศ.วรวิทย์ เงยไพบูลย์
ต้นประดูแดงทั้ง 2 ต้นนี้มีอายุมากกว่า 60 ปี เจริญเติบโตมาพร้อมกับภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ฯ ซึ่งผลิตบัณฑิตรุ่นแล้วรุ่นเล่าจนถึงปัจจุบัน ต้นประดู่แดงคู่นี้เป็นต้นไม้คู่แรกที่นำมาปลูกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นสัญลักษณ์ของภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณาจารย์และรุ่นพีจะเล่าประวัติของต้นประดู่แดงทั้ง 2 ต้นนี้ให้นิสิตฟังทุกรุ่นว่าประดู่แดงนั้นเป็นสัญลักษณ์ของภาควิชาฯ มีความหมายว่า...
“พวกเรา (บุคลากรและนิสิต) เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่ ประดู่แดงหมายถึงความพร้อม ความร่วมมือร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”
พวกเราทุกคนชื่นชม รักษ์และภูมิใจต้นประดู่แดงคู่นี้ตลอดไป..."


ศ.วรวิทย์ เงยไพบูลย์ เกษียณประมาณปีไหนครับ ผมอยากเทียบอายุประดู่แดง ๒ ต้นนี้ครับ ทางภาคพฤกษศาสตร์มีข้อมูลว่า ศ.กสิน สุวะตะพันธ์เป็นผู้มอบต้นไม้ ๒ ต้นนี้ให้ อาจารย์วรวิทย์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตสองคณะหลังจากที่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อนหน้านี้ แต่ผมหาช่วงเวลาไม่ได้


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 21 เม.ย. 11, 18:22
ต้นหมากเหลือง หายไป ไม้ลั่นทมเข้าแทนที่ ไม่ทราบว่า สมัย อ.เทาชมพู มีการปลูกลั่นทมรอบบริเวณเทวาลัยหรือยังครับ
ภาพนี้ไม่เก่านะครับ ปัจจุบันลั่นทมต้นที่เห็นก็ไม่โตขึ้นเท่าไร ผมเห็นต้นรวงผึ้งด้วยครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 เม.ย. 11, 19:26
อ้างถึง
ศ.วรวิทย์ เงยไพบูลย์ เกษียณประมาณปีไหนครับ ผมอยากเทียบอายุประดู่แดง ๒ ต้นนี้ครับ ทางภาคพฤกษศาสตร์มีข้อมูลว่า ศ.กสิน สุวะตะพันธ์เป็นผู้มอบต้นไม้ ๒ ต้นนี้ให้ อาจารย์วรวิทย์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตสองคณะหลังจากที่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อนหน้านี้ แต่ผมหาช่วงเวลาไม่ได้

ปี๐๙ที่ผมเป็นน้องใหม่แหละครับ เกิดเหตุการณ์ที่ว่า ท่านอาจารย์วรวิทย์ท่านอยู่ในช่วงนั้น แต่เกษียณปีไหนจำไม่ได้


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 20:44
ภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ภาพขาวดำด้านล่างภาพเป็นบริเวณสนามม้าสปอร์ตคลับ และเรื่อยขึ้นไปกลางภาพเป็นถนนอังรีดุนังต์ และทางเข้าหลักมหาวิทยาลัย เทียบกับ ภาพสีในปัจจุบัน


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 เม.ย. 11, 20:45
ภาพขาวดำขยายใหญ่


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 22 เม.ย. 11, 08:17
ภาพขาวดำขยายใหญ่
ผมเห็นแนวต้นจามจุรีที่ปลูกสองข้างถนนสายแรกของจุฬาฯจากถนนสนามม้าผ่านตึกบัญชาการ (อักษรศาสตร์ ๑) ไปออกถนนพญาไท มีภาพที่ชัดและลงหนังสือได้ไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 08:59
ภาพขาวดำขยายใหญ่
ผมเห็นแนวต้นจามจุรีที่ปลูกสองข้างถนนสายแรกของจุฬาฯจากถนนสนามม้าผ่านตึกบัญชาการ (อักษรศาสตร์ ๑) ไปออกถนนพญาไท มีภาพที่ชัดและลงหนังสือได้ไหมครับ

ยินดีครับ อ.ทวีศักดิ์ รบกวนส่งอีเมล์หลังไมค์นะครับ ผมส่งภาพให้ แล้วอาจารย์ทวีศักดิ์ค่อยดูว่าใช้ได้หรือไม่นะครับผม


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 10:34
อักษรศาสตร์บัณฑิตรุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๗๘


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 10:43
ภาพถ่ายเหล่านิสิต ด้านหลังเป็นอาคารหอประชุม ไม่ทราบปี พ.ศ. เครื่องแบบนิสิตหญิง กระโปรงยาวคลุมเท้า ถือกระเป๋าหนังสือ ส่วนฝ่ายชายทำไมแต่งเครื่องแบบคล้ายทหาร  ??? อาจจะเป็นเครื่องแต่งกายใน "ชุดเดินป่า" ใช้สำหรับฝึกวิชาการตำรวจเวลาเรียนภาคสนาม


มีต้นไม้เตี้ยๆ ริมผนังตึกไม่โตมาก


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 10:44
เทวาลัย พร้อมต้นหมากริมอาคาร


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 10:46
นักกีฬารักบี้ (ไม่รู้ว่า อ.NAVARAT.C  ชอบเล่นหรือไม่) เบื้องซ้าย-ขวา คงเป็นทรงพุ่มของจามจุรี และกลางภาพริมตึกเป็นสนทะเล


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 10:48
บรรยากาศแบบนี้ กำลังเข้าแถวเพื่อรอเสด็จกลับ ของเจ้านายแน่เลย มองไกลภาพต้นไม้ยังเล็กอยู่


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 10:49
ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ ริมอาคารปลูกต้นหมาก และไม้แต่งทรงพุ่ม


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 10:55
ภาพถ่ายเหล่านิสิต ด้านหลังเป็นอาคารหอประชุม ไม่ทราบปี พ.ศ. เครื่องแบบนิสิตหญิง กระโปรงยาวคลุมเท้า ถือกระเป๋าหนังสือ ส่วนฝ่ายชายทำไมแต่งเครื่องแบบคล้ายทหาร  ???

ชุดยุวชนทหารค่ะ    ยุคจอมพลป.พิบูลสงคราม   ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 เม.ย. 11, 11:05
ที่ถูกคือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปี ๒๔๘๒ ครับ และต้องกลับภาพซ้ายเป็นขวาด้วย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 11:13
^
ขอบคุณครับที่กลับภาพให้  ยังมีอีกภาพถ่ายไว้เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๘ กว่าๆ ยังเห็นต้นก้ามปูสองด้าน ตึกนี้ปัจจุบันคือ ตึก ๒ อยู่ในเขตของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แต่ก่อนพื้นที่ระหว่างรั้วจุฬา กับ รั้งโรงเรียนเตรียมอุดม ไม่มีเป็นพื้นที่โล่งๆ กั้นด้วยคลองเล็กๆ พอกระโดดข้ามได้


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 22 เม.ย. 11, 17:28
รถยนต์ที่จอดในภาพในความเห็นที่ ๑๒๔ นั้น  เป็นรถยนต์พระที่นั่งเดมเลอร์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เลขทะเบียน คือ ร.ย.ล.๑  (ที่จำได้เพราะกระจกบังลมหน้ารถนั้นสามารถผลักออกไปด้านหน้าให้ลมโกรกเข้ามาในตัวรถได้) ในภาพดังกล่าวน่าจะเป็นการรอส่งเสด็จ  เพราะรถยนต์พระที่นั่งจอดอยู่กับที่แล้ว  และยังไม่ปักธงมหาราชที่หน้ารถ  เมื่อใกล้จะเสด็จลงมาประทับรถพระที่นั่งผู้ช่วยสารถึจึงจะประดับธงที่หน้ารถ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 18:07
^
บันไดนี้คือบันไดหลังของหอประชุม   ส่วนตึกด้านหลังคือตึกหอสมุดเดิม   หรือตึกมหาวชิราวุธในปัจจุบัน    ต้นไม้ขนาดย่อมๆริมบันไดคือต้นชงโคของเดิม


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 22 เม.ย. 11, 18:50
ภาพขาวดำขยายใหญ่
ผมเห็นแนวต้นจามจุรีที่ปลูกสองข้างถนนสายแรกของจุฬาฯจากถนนสนามม้าผ่านตึกบัญชาการ (อักษรศาสตร์ ๑) ไปออกถนนพญาไท มีภาพที่ชัดและลงหนังสือได้ไหมครับ

ยินดีครับ อ.ทวีศักดิ์ รบกวนส่งอีเมล์หลังไมค์นะครับ ผมส่งภาพให้ แล้วอาจารย์ทวีศักดิ์ค่อยดูว่าใช้ได้หรือไม่นะครับผม
ขอบคุณครับ ภาพอื่น ๆ ที่ลงวันนี้ถ้าให้ได้และพอจะประมาณปี พ.ศ. ได้ รบกวนขอด้วยครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 22 เม.ย. 11, 18:55
นักกีฬารักบี้ (ไม่รู้ว่า อ.NAVARAT.C  ชอบเล่นหรือไม่) เบื้องซ้าย-ขวา คงเป็นทรงพุ่มของจามจุรี และกลางภาพริมตึกเป็นสนทะเล
มีท่านใดพอจะทราบไหมครับว่า ต้นสนทะเลที่ปลูกด้านข้างหอประชุมทั้งสองข้างถูกตัดไปในปีพ.ศ. ใด ผมคาดว่าน่าจะก่อนปี 2510


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 เม.ย. 11, 19:17
^
ตัดไปช่วงที่มีการปรับปรุง ขยายด้านข้างของหอประชุมให้กว้างขึ้น น่าจะราวๆ 2511-2512 ต้องลองตรวจสอบกับประวัติของหอประชุมดูนะครับ



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 19:57
ขยายภาพตึกหอประชุม ปี ๒๔๘๒ เห็นการปลูกต้นไม้ในรั้วสีขาว


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 20:25
^

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18620;image)

ต้นไม้เล็กๆในรั้วสีขาวข้างบน  เติบโตขึ้นในรูปนี้   ภาพในกระทู้นี้ถ่ายหลังพ.ศ.  2482 แต่ไม่เกิน 2490    ยุวชนทหารถูกยุบเลิกไปในปีนั้น   


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 20:48
ขยายให้ดูยุวชนทหารและต้นไม้ปลูกใหม่ ด้านหลัง


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 22 เม.ย. 11, 21:21
ขยายภาพตึกหอประชุม ปี ๒๔๘๒ เห็นการปลูกต้นไม้ในรั้วสีขาว
ด้านหลังหอประชุมด้านซ้ายคือตึกหอสมุดใช่ไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 21:35
อาจารย์หมายถึงภาพนี้หรือคะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18653;image)

ตึกด้านหลังหอประชุมคือตึกหอสมุด อยู่ตรงข้ามตึกอักษรศาสตร์ ค่ะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 21:39
ยุวชนทหาร คู่กับ ยุวนารี

เครื่องแบบยุวนารีมีขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๘๓ ใช้ในวันฝึกและอบรมยุวนารี

(http://www.bloggang.com/data/klongrongmoo/picture/1218899573.jpg)

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 22:25
http://www.youtube.com/watch?v=hkQMw7jc8l4&feature=related


http://www.youtube.com/watch?v=SBVO9WKSs_0

คลิปล่าง ตอนต้นมีภาพในอดีตของจุฬาหลายภาพ รวมทั้งจุฬาน้ำท่วมปี 2485 ด้วย  ต้นไม้คงตายกันไปแยะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 เม.ย. 11, 22:33
เอาภาพแห่งความหลังมาให้ดูกันค่ะ

http://www.youtube.com/watch?v=3pe92liZF1M&feature=related

เข้าใจว่าเป็นนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์   
"สินกำ" รุ่นไหนกันนี่


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 22:54
^
ดูจากถุงกระดาษเซนทรัล, เครื่องแต่งกาย, ทรงผม น่าจะอยู่ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๕


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 23:04
เสด็จทรงดนตรี ๒๐ กันยายน ๒๕๑๔


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 23:13
เรือนไทย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 23:18
บรรยากาศห้องเรียน ไม่ทราบ พ.ศ.


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 เม.ย. 11, 23:23
พ.ศ. ๒๕๓๙ ปีมหามงคลฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และจุฬา ทูลเกล้าถวาย พระแก้วบุศย์เนื้อใส บนฐานงาช้างพร้อมฉัตรประกอบ ซึ่งงดงามมาก

รอบบริเวณอนุสาวรีย์ ๒ รัชกาล ประดับกุหลาบสีชมพู และ เฟื่องฟ้า


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 07:16
อาจารย์หมายถึงภาพนี้หรือคะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18653;image)

ตึกด้านหลังหอประชุมคือตึกหอสมุด อยู่ตรงข้ามตึกอักษรศาสตร์ ค่ะ
ใช่ครับ ภาพนี้น่าจะหลังปี พ.ศ. 2500 ใช่ไหมครับ เพราะสร้างหอกลางเสร็จแล้ว รบกวนถามอาจารย์เทาชมพูต่ออีกนิดครับว่า ในอดีตเวลาที่ในหลวงเสด็จมาจุฬาฯ จะเสด็จขึ้นทางบันไดหลังหอประชุมหรือครับ หรือว่าภาพที่มีนิสิตคอยเฝ้ารับเสด็จเป็นเพราะเสด็จมาทอดพระเนตรการแสดงอะไรสักอย่างจึงเสด็จประทับบนชั้นสอง จึงต้องเสด็จมาทางด้านหลัง


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 08:43
อาคารที่เห็นอยู่ริมซ้ายภาพ ไม่ใช่หอกลาง เป็นมุมตึกของอาคารคณะศิลปกรรมในปัจจุบันนี้ หรือ คณะเภสัชศาสตร์ในสมัยเดียวกับภาพครับ ผมจึงขายภาพให้ชมและนำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า ช่องหน้าต่างแบบเดียวกัน และหากดูในแผนที่แล้วการถ่ายภาพจะเห็นแนวเดียวกันนี้ครับ

ภาพนี้ระบุว่าถ่ายไว้เมื่อสร้างหอประชุมเสร็จใหม่ๆ ในปี ๒๔๘๒ ซึ่งดูจากภาพแล้วผมวิเคราะห์ได้ดังนี้
๑. ต้นไม้ที่อยู่ขวามือ (ต้นใหญ่) ปลูกไว้นานแล้ว เนื่องจากต้นไม้มีขนาดลำต้นใหญ่โตมาก
๒. แม้ว่ามีการปลูกต้นไม้เล็ก (ล้อมรั้วขาว) ก็ไม่หมายถึงว่าจะปลูกพร้อมกับอาคารขณะเปิดตึก
๓. หน้าบันอาคารดูแล้ว ไม่ขาวนิ้ง เหมือนของใหม่ (ผมคาดว่าต้องถ่ายหลังจากปี ๒๔๘๒)
๔. ผมเห็นความไม่สะอาดบริเวณผนังด้านข้างอาคาร ชั้นฐานเขียง บัวคว่ำ บัวหงาย บริเวณบันไดข้าง เหมือนรอยเพิ่งผ่านน้ำท่วมมา จึงเป็นไปได้ว่า ภาพนี้อาจจะ
ถ่ายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพใหญ่ ๒๔๘๕ และอยู่ในช่วงรื้อฟื้น ปลูกต้นไม้ จัดสวนกันใหม่ครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 09:17
อาคารที่เห็นอยู่ริมซ้ายภาพ ไม่ใช่หอกลาง เป็นมุมตึกของอาคารคณะศิลปกรรมในปัจจุบันนี้ หรือ คณะเภสัชศาสตร์ในสมัยเดียวกับภาพครับ ผมจึงขายภาพให้ชมและนำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า ช่องหน้าต่างแบบเดียวกัน และหากดูในแผนที่แล้วการถ่ายภาพจะเห็นแนวเดียวกันนี้ครับ

ภาพนี้ระบุว่าถ่ายไว้เมื่อสร้างหอประชุมเสร็จใหม่ๆ ในปี ๒๔๘๒ ซึ่งดูจากภาพแล้วผมวิเคราะห์ได้ดังนี้
๑. ต้นไม้ที่อยู่ขวามือ (ต้นใหญ่) ปลูกไว้นานแล้ว เนื่องจากต้นไม้มีขนาดลำต้นใหญ่โตมาก
๒. แม้ว่ามีการปลูกต้นไม้เล็ก (ล้อมรั้วขาว) ก็ไม่หมายถึงว่าจะปลูกพร้อมกับอาคารขณะเปิดตึก
๓. หน้าบันอาคารดูแล้ว ไม่ขาวนิ้ง เหมือนของใหม่ (ผมคาดว่าต้องถ่ายหลังจากปี ๒๔๘๒)
๔. ผมเห็นความไม่สะอาดบริเวณผนังด้านข้างอาคาร ชั้นฐานเขียง บัวคว่ำ บัวหงาย บริเวณบันไดข้าง เหมือนรอยเพิ่งผ่านน้ำท่วมมา จึงเป็นไปได้ว่า ภาพนี้อาจจะ
ถ่ายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพใหญ่ ๒๔๘๕ และอยู่ในช่วงรื้อฟื้น ปลูกต้นไม้ จัดสวนกันใหม่ครับ

ขอบคุณมากครับ ที่กรุณาดูรายละเอียดของภาพ ทางด้านหลังของหอประชุม อาจารย์เทาชมพูกรุณาตอบว่าเป็นหอกลาง ซึ่งสร้างเสร็จปี 2499 ทำพิธีเปิดปี 2500 ภาพนี้จึงน่าจะถ่ายหลังปี 2499 ไม่ทราบว่าก่อนที่จะมีการซ่อมใหญ่หอประชุมในปี 2527 และมีลักษณะภายนอกอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ก่อนหน้านั้นก็น่าจะมีการซ่อมใหญ่เหมือนกัน ซึ่งไม่ทราบว่าบันไดด้านข้างหายไปในปีใด


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 11, 16:25
ดอกไม้สีชมพู ริมสระน้ำจุฬา

กัลปพฤกษ์

(http://www.pixpros.net/forums/attachment.php?s=aef2fc9d925ba7c491d9db991ed61327&attachmentid=114500&stc=1&d=1207679019)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 11, 17:13
ชมพูพันธุ์ทิพย์

ดูภาพนี้แล้ว เห็นตะเบบูญ่า หรือชมพูพันธุ์ทิพย์มาแจมอยู่ด้วย
เขาคงเห็นว่าต้นนี่ออกดอกเป็นสีชมพูมั้ง เลยเอามาปลูกหน้ามหาวิทยาลัย
ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ด้านหลังสระน้ำ ศ.เดชา บุญค้ำเป็นคนวางตำแหน่งและดำเนินการปลูกเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2520 เวลาผ่านไป 34 ปี ต้นไม่ใหญ่เท่าไหร่ แต่เมื่อปี 2553 ช่วงต้นปีแล้งมาก ชมพูพันธุ์ทิพย์ทิ้งใบเกือบหมดและออกดาวสีชมพูพราวทั้งต้น สวยงามมาก เอาไว้ดูภาพในหนังสือนะครับ


(http://farm3.static.flickr.com/2123/2227831699_8ee3fa7574.jpg?v=0)

(http://farm3.static.flickr.com/2185/2227831991_601bbe59de.jpg?v=0)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 11, 19:21
ภาพนี้รวมมิตร

กัลปพฤกษ์ - ชมพูพันธุ์ทิพย์ - เฟื่องฟ้าสีชมพู

มีคณะของคุณนวรัตนเป็นฉากหลัง

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 19:43
ภาพนี้รวมมิตร

กัลปพฤกษ์ - ชมพูพันธุ์ทิพย์ - เฟื่องฟ้าสีชมพู

มีคณะของคุณนวรัตนเป็นฉากหลัง

 ;D

 ::)  อ่อ นึกว่า ตัวคุณนวรัตน์เป็นฉากหลัง อ่านดีๆจึงเห็นว่า เป็นคณะของคุณนวรัตน์  ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 19:53
หอประชุม ไม่ทราบปี พ.ศ.


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 20:14
ต้นสักที่คณะวิศวกรรมศาสตร์


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 11, 20:20
ลั่นทมที่คณะของคุณเทาชมพู

(http://multiply.com/mu/sweetypenguin/image/4/photos/14/500x500/18/DSC-3970.jpg?et=SLbY4saKN5D7SeNfCpCIQA&nmid=61852817)  (http://multiply.com/mu/sweetypenguin/image/5/photos/14/500x500/19/DSC-3971.jpg?et=pR9QKTu%2Cdt60HEEVhppDPw&nmid=61852817)

ภาพโดยคุณ sweetypenguin  (http://multiply.com/mu/sweetypenguin/logo/6)  http://sweetypenguin.multiply.com/photos/album/14/14 (http://sweetypenguin.multiply.com/photos/album/14/14)  ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 21:45
ชมพูพันธุ์ทิพย์

ดูภาพนี้แล้ว เห็นตะเบบูญ่า หรือชมพูพันธุ์ทิพย์มาแจมอยู่ด้วย
เขาคงเห็นว่าต้นนี่ออกดอกเป็นสีชมพูมั้ง เลยเอามาปลูกหน้ามหาวิทยาลัย
ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ด้านหลังสระน้ำ ศ.เดชา บุญค้ำเป็นคนวางตำแหน่งและดำเนินการปลูกเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2520 เวลาผ่านไป 34 ปี ต้นไม่ใหญ่เท่าไหร่ แต่เมื่อปี 2553 ช่วงต้นปีแล้งมาก ชมพูพันธุ์ทิพย์ทิ้งใบเกือบหมดและออกดาวสีชมพูพราวทั้งต้น สวยงามมาก เอาไว้ดูภาพในหนังสือนะครับ


(http://farm3.static.flickr.com/2123/2227831699_8ee3fa7574.jpg?v=0)

(http://farm3.static.flickr.com/2185/2227831991_601bbe59de.jpg?v=0)

ภาพสวยมากเลยครับ ชมพูสดใส


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 22:16
ภาพลายเส้นแบบแปลนเดิมของการก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 22:20
ภาพลายเส้นแบบแปลนเดิมของการก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แปลนเดิมที่จะเป็นตึกบัญชาการไช่ไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 22:23
ภาพลายเส้นแบบแปลนเดิมของการก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แปลนเดิมที่จะเป็นตึกบัญชาการไช่ไหมครับ

ดูจากแปลนแล้ว ประกอบด้วยอาคาร ๓ กลุ่ม ซ้าย - กลาง - ขวา ซึ่งอาคาร ซ้าย และขวา คงเหมือนในปัจจุบันนี้


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 11, 22:47
ตึกนี้คือตึกอักษรศาสตร์ หรือที่อาจารย์ทวีเรียกว่าตึกบัญชาการ   เมื่อลงมือสร้างจริงๆ  ลดความซับซ้อนลงกว่าแปลน   คือยอดปรางค์ทั้งสามแห่งหายไป  หลังคาที่ซ้อนกันสามชั้นก็เหลือชั้นเดียว    ส่วนหน้าบันยังอยู่ 
ตัวอาคารเมื่อสร้างก็ยังเป็นเค้าโครงตามแปลน    ตึกกลางมีมุขยื่นออกมา  ส่วนอาคารปีกทั้งสองข้างไม่มีมุข    ส่วนที่เชื่อมระหว่างอาคารทั้งสาม  ในแปลนดูจะยาวกว่าของจริง
ดูออกแค่นี้ค่ะ    ถ้าจะถามรายละเอียดคงต้องพึ่งท่าน NAVARAT.C  ช่วยอธิบายในฐานะสถาปนิก

ตึกหอสมุดสร้างแบบตึกอักษรศาสตร์ เกือบจะเป็นฝาแฝด แต่ไม่ละเอียดประณีตเท่า    ที่เห็นชัดคือตรงหน้าบันที่ไม่มีลายปูนปั้นอย่างตึกอักษรศาสตร์ แต่ประดับช่องหน้าต่างกระจกแทน


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 เม.ย. 11, 22:51
อาจารย์ทวีเคยถามถึงกลอนของคุณประยอม ซองทอง เขียนถึงแคฝรั่ง   ดิฉันไปขอมาได้แล้วค่ะ

                                     แผลชีวิต
             แคฝรั่งพรั่งพรูกรูจากกิ่ง      ริ้วร่างดิ่งลงคลองล่องลับหาย
ดูแล้วแดเราจะดิ้นชีวินวาย              ไม่ควรหมายมาดูแคให้แพ้ใจ
ไม่อยากเห็นก็ต้องเห็นจำเป็นพบ      จะหลีกหลบลี้ไกลกระไรได้
เพระพันธะที่ผูกพันทุกวันไป              แรงฤทัยรึก็เร้าให้เฝ้ามอง
             ชีวิตเอ๋ย                     ไม่นึกเลยจะระกำถึงซ้ำสอง
เคยรอบคอบก่อนมอบใจให้ใครครอง   กลับมาหมองเหมือนมีมีดมากรีดแด
เจ็บครั้งนี้ทีจะจำสุดสำนึก              ด้วยรู้สึกเหลือฉกาจเหนือบาดแผล
แม้ไม่ดิ้นสิ้นร่างลงอย่างแค              ไหนจะแก้แผลชีวิตได้มิดรอย
         
         กลอนบทนี้แต่งเมื่อพ.ศ.2502   พี่ประยอมให้คำอธิบายประกอบว่า 

        "  แรงบันดาลใจจากแคฝรั่งริมคลองอรชร ทั้งข้างโรงพยาบาลจุฬา ฯ ข้างคณะรัฐศาสตร์   และดูเหมือนที่มุมด้านที่เป็นตึกโรงอาหารและที่จอดรถปัจจุบัน ก็ดูเหมือนจะมีด้วย ถ้าจำไม่ผิด  แต่ไม่กล้ายืนยันว่า มีแคฝรั่งในจุฬาฯ"
       
          อย่างน้อยพี่ประยอมก็แน่ใจว่าริมคลองอรชร มีแคฝรั่งแน่ๆค่ะ    ส่วนมุมด้านตึกโรงอาหารก็คือมุมจุฬาถัดจากตึกบรมราชกุมารี ไปสุดกำแพงรั้วด้านถนนอังรี   ปัจจุบันกลายเป็นอาคารที่จอดรถ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 เม.ย. 11, 22:59

อ้างถึง
อ้างถึง
ภาพนี้รวมมิตร

กัลปพฤกษ์ - ชมพูพันธุ์ทิพย์ - เฟื่องฟ้าสีชมพู

มีคณะของคุณนวรัตนเป็นฉากหลัง

อ้างถึง
อ่อ นึกว่า ตัวคุณนวรัตน์เป็นฉากหลัง อ่านดีๆจึงเห็นว่า เป็นคณะของคุณนวรัตน์


นี่ครับ ภาพคณะของคุณนวรัตน แต่เป็นคณะเพื่อนถาปัดตอนเป็นน้องใหม่ที่ไปเชียรโปโลน้ำ สมัยโน้นเขาเล่นกันในสระหน้าจุฬา สระเดียวกับรูปของคุณเพ็ญชมพูที่ว่ามีคณะของคุณนวรัตนเป็นฉากหลังนั้นแหละ น้ำเขียวๆใสๆ พวกนักกิฬาจึงมีโรคประจำตัว๒โรค คือตาแดง๑ กับสังคังอีก๑ โชคดีผมเป็นสัตว์บก ไม่ใช่สัตว์น้ำ เขาเลยเอาไปเล่นกิฬาอย่างอื่น รอดตัวไป
ในภาพ จะเห็นคณะของคุณนวรัตนอยู่หลังคณะของคุณนวรัตนอีกที (อ่านแล้วจะเข้าใจไหมนั่น ก็คนเขียนเองยังงงๆอยู่เลย)

อ้อ เดี๋ยวใครจะมาหาว่ารูปไม่เกี่ยวกับต้นไม้ เกี่ยวซีครับ เห็นนนทรีไหมละท่าน ตอนนั้นเขายังไม่เอาต้นที่มีดอกสีชมพูหวานแหววมาปลูก เอ..ไม่รู้ว่านนทรีพวกนี้ยังอยู่หรือเปล่า หรือว่าเขาย้ายไปอยู่เกษตรแล้ว


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 23:00
ตึกนี้คือตึกอักษรศาสตร์ หรือที่อาจารย์ทวีเรียกว่าตึกบัญชาการ   เมื่อลงมือสร้างจริงๆ  ลดความซับซ้อนลงกว่าแปลน   คือยอดปรางค์ทั้งสามแห่งหายไป  หลังคาที่ซ้อนกันสามชั้นก็เหลือชั้นเดียว    ส่วนหน้าบันยังอยู่ 
ตัวอาคารเมื่อสร้างก็ยังเป็นเค้าโครงตามแปลน    ตึกกลางมีมุขยื่นออกมา  ส่วนอาคารปีกทั้งสองข้างไม่มีมุข    ส่วนที่เชื่อมระหว่างอาคารทั้งสาม  ในแปลนดูจะยาวกว่าของจริง
ดูออกแค่นี้ค่ะ    ถ้าจะถามรายละเอียดคงต้องพึ่งท่าน NAVARAT.C  ช่วยอธิบายในฐานะสถาปนิก

ตึกหอสมุดสร้างแบบตึกอักษรศาสตร์ เกือบจะเป็นฝาแฝด แต่ไม่ละเอียดประณีตเท่า    ที่เห็นชัดคือตรงหน้าบันที่ไม่มีลายปูนปั้นอย่างตึกอักษรศาสตร์ แต่ประดับช่องหน้าต่างกระจกแทน

อาจารย์เทาชมพูเห็นสภาพกายภาพของจุฬาฯ เป็นแบบนี้ไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 23:04
บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 23:08
ภาพถ่ายทางอากาศ (อีกครั้ง) พ.ศ. ๒๔๖๓ ตามแนวลูกศร ของถนนอังรีดุนังต์ และคลองอรชร (ติดรั้วจุฬาฯ) มีต้นไม้ปลูกเป็นระยะๆ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 23:10
อาจารย์ทวีเคยถามถึงกลอนของคุณประยอม ซองทอง เขียนถึงแคฝรั่ง   ดิฉันไปขอมาได้แล้วค่ะ

                                     แผลชีวิต
             แคฝรั่งพรั่งพรูกรูจากกิ่ง      ริ้วร่างดิ่งลงคลองล่องลับหาย
ดูแล้วแดเราจะดิ้นชีวินวาย              ไม่ควรหมายมาดูแคให้แพ้ใจ
ไม่อยากเห็นก็ต้องเห็นจำเป็นพบ      จะหลีกหลบลี้ไกลกระไรได้
เพระพันธะที่ผูกพันทุกวันไป              แรงฤทัยรึก็เร้าให้เฝ้ามอง
             ชีวิตเอ๋ย                     ไม่นึกเลยจะระกำถึงซ้ำสอง
เคยรอบคอบก่อนมอบใจให้ใครครอง   กลับมาหมองเหมือนมีมีดมากรีดแด
เจ็บครั้งนี้ทีจะจำสุดสำนึก              ด้วยรู้สึกเหลือฉกาจเหนือบาดแผล
แม้ไม่ดิ้นสิ้นร่างลงอย่างแค              ไหนจะแก้แผลชีวิตได้มิดรอย
         
         กลอนบทนี้แต่งเมื่อพ.ศ.2502   พี่ประยอมให้คำอธิบายประกอบว่า 

        "  แรงบันดาลใจจากแคฝรั่งริมคลองอรชร ทั้งข้างโรงพยาบาลจุฬา ฯ ข้างคณะรัฐศาสตร์   และดูเหมือนที่มุมด้านที่เป็นตึกโรงอาหารและที่จอดรถปัจจุบัน ก็ดูเหมือนจะมีด้วย ถ้าจำไม่ผิด  แต่ไม่กล้ายืนยันว่า มีแคฝรั่งในจุฬาฯ"
       
          อย่างน้อยพี่ประยอมก็แน่ใจว่าริมคลองอรชร มีแคฝรั่งแน่ๆค่ะ    ส่วนมุมด้านตึกโรงอาหารก็คือมุมจุฬาถัดจากตึกบรมราชกุมารี ไปสุดกำแพงรั้วด้านถนนอังรี   ปัจจุบันกลายเป็นอาคารที่จอดรถ
ขอบคุณมากครับกลอนของศิลปินแห่งชาติเพราะมาก ๆ ในจุฬาฯมีปลูกแคฝรั่งตั้งแต่ปี 2484 ปัจจุบันแคฝรั่งในยุคนั้นยังเหลือรอดมา 4 ต้นครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 23:16
ภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ภาพขาวดำด้านล่างภาพเป็นบริเวณสนามม้าสปอร์ตคลับ และเรื่อยขึ้นไปกลางภาพเป็นถนนอังรีดุนังต์ และทางเข้าหลักมหาวิทยาลัย เทียบกับ ภาพสีในปัจจุบัน
ภาพนี้ปี 2463 หรือ 2468 ครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 23:19
บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ภาพแผนที่ถนนที่เห็นพื้นที่จุฬาฯ ทั้งหมดมีไหมครับ และเป็นแผนที่ในช่วงปีอะไรครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 23:22
บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ผมสงสัยเรื่องคลองไผ่สิงโตครับ ว่าอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯด้วยหรือ เห็นมีเขียนในหนังสือ 90 ปี กายภาพของจุฬาฯ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 23:23
บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ภาพแผนที่ถนนที่เห็นพื้นที่จุฬาฯ ทั้งหมดมีไหมครับ และเป็นแผนที่ในช่วงปีอะไรครับ

แผนที่ปี ๒๔๖๐ ครับ เพิ่งก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่กี่ปีเอง


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 23:26
หอประชุม ไม่ทราบปี พ.ศ.
เป็นไปได้ไหมครับว่าประมาณปี 2527 หลังจากปิดซ่อมใหญ่


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 23:31
บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ภาพแผนที่ถนนที่เห็นพื้นที่จุฬาฯ ทั้งหมดมีไหมครับ และเป็นแผนที่ในช่วงปีอะไรครับ

แผนที่ปี ๒๔๖๐ ครับ เพิ่งก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่กี่ปีเอง
ขอบคุณครับ ถนนบรรทัดทองยังไม่ได้ตัดเลย ผมสงสัยครับว่าทำไมคลองอรชรจึงเห็นในแผนที่อยู่ในแนวเดียวกับที่จะเป็นถนนบรรทัดทอง ผมเข้าใจตามที่บอกมาว่าอยู่ในแนวขนานกับถนนสนามม้าเท่านั้น


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 11, 23:34
ภาพลายเส้นแบบแปลนเดิมของการก่อสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18679;image)

รูปนี้ชัดกว่า



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 23:35
บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ผมสงสัยเรื่องคลองไผ่สิงโตครับ ว่าอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯด้วยหรือ เห็นมีเขียนในหนังสือ 90 ปี กายภาพของจุฬาฯ

คลองไผ่สิงโตอยู่ฝั่งเหนือโรงพยาบาลจุฬา ครับ และพื้นที่ส่วนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยจุฬา ซึ่งคลองไผ่สิงโตถูกโอนเป็นสาธารณะประโยชน์เมื่อปี ๒๔๘๕


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 เม.ย. 11, 23:36
^
^
โปรดสังเกตว่าเป็นแบบของ University of Siam at Bangkok

ซึ่งเป็นชื่อที่คิดไว้ครั้งแรกสำหรับ "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์) ซึ่งเป็นผู้ที่ร่างโครงการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นการจัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา และเสนอให้ใช้คำว่า “สากลวิทยาลัย” ในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นมหาวิทยาลัยที่จะจัดตั้งขึ้นควรมีชื่อเป็น “รัตนโกสินทร์สากลวิทยาลัย” (University of Siam) ข้อเสนอในเอกสารฉบับนี้เป็นที่พอพระราชหฤทัยในสมเด็จพระปิยมหาราช แต่ยังมิได้ทรงดำเนินพัฒนาโรงเรียนที่ทรงจัดตั้งขึ้นเป็นยูนิเวอร์ซีตีก็เสด็จสวรรคต ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแห่งแรกมีพระนามเดียวกับพระบรมชนกนาถ เพื่อให้เป็นการเพิ่มพูนพระเกียรติยศ เป็นที่คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่ ถาวร และจะอยู่คู่เมืองไทยไม่มีวันเสื่อมสูญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อัญเชิญพระนามาภิไธยในสมเด็จพระบรมราชชนกเป็นชื่อมหาวิทยาลัยว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความหมายว่า มหาวิทยาลัยของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นชื่อที่สืบเนื่องจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเหตุนี้เมื่อเขียนชื่อมหาวิทยาลัยเป็นภาษาอังกฤษและใช้ University นำหน้า จะต้องเป็น University of Prince Chulalongkorn

ข้อมูลจาก หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย (http://www.memocent.chula.ac.th/faq/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%83%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99/)

 ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 23:39
^
^
โปรดสังเกตว่าเป็นแบบของ University of Siam at Bangkok

ครับ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก  ;)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 เม.ย. 11, 23:49
ย้อนกลับไปแผนที่ พ.ศ. ๒๔๔๕  เรื่องคลองอรชร อาจจะเป็นคลองสายเดียวกัน ซึ่งดูจากการเรียกชื่อแล้วผสมกันไปมาดังนี้

๑. แผนที่ฉบับ ๒๔๔๕ ไม่ได้ระบุชื่อคลองซึ่งอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน แต่บ่งว่าคลองนั้นผ่านเข้ามายังพื้นที่ของจุฬาแน่นอน
๒. แผนที่ฉบับ ๒๔๖๐ คลองอรชร ถูกระบุว่าตั้งอยุ่ในแนวเดียวกับถนนบรรทัดทองในปัจจุบันนี้
๓. แผนที่ฉบับ ๒๔๘๕ เรียกคลองที่ผ่านหน้าจุฬา ว่า คลองสนามม้า ซึ่งเข้าใจว่า เป็นคลองอรชร ที่ผ่านหน้าจูฬาและโรงเรียนเตรียมอุดมในอดีต


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 23 เม.ย. 11, 23:55
บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ผมสงสัยเรื่องคลองไผ่สิงโตครับ ว่าอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯด้วยหรือ เห็นมีเขียนในหนังสือ 90 ปี กายภาพของจุฬาฯ

คลองไผ่สิงโตอยู่ฝั่งเหนือโรงพยาบาลจุฬา ครับ และพื้นที่ส่วนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยจุฬา ซึ่งคลองไผ่สิงโตถูกโอนเป็นสาธารณะประโยชน์เมื่อปี ๒๔๘๕
ขอบคุณครับ ที่ผมเห็นมาเป็นคลองที่อยู่ในแนวขนานกับคณะสถาปัตย์ครับ ผมก็เลยงง ตามแผนที่ที่ลากให้ดู คลองไผ่สิงโตดูเหมือนจะเป็นสาขาของคลองสนามม้าหรือคลองอรชร


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 24 เม.ย. 11, 00:30
บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ฝากช่วยดูภาพนี้ด้วยครับ ปัจจุบันเป็นตึกอะไรครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 08:37
^
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์   ไม่ได้อยู่ในคณะวิทยาศาสตร์หรือคะ?


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 11:10
ให้ อ.ทวีศักดิ์ ไว้ดูแนวต้นไม้จามจุรี และกลุ่มไม้ต่างๆ สมัย พ.ศ. ๒๔๙๘ ครับ

บริเวณข้างหอประชุมใหญ่ ก่อนบันไดทางขึ้น จะมีต้นไม้ใหญ่ น่าจะเป็นสนทะเล


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 11:18
ภาพนี้ถ่ายไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐  เป็นเหตุการณ์ที่นิสิตจุฬาประท้วงทางการเมืองสมัยนั้น จึงรวมตัวกันและประท้วงรัฐบาลด้วยการลดธงครึ่งเสา จะเห็นแนวต้นจามจุรี น่าจะถ่ายหน้าตึกจักรพงษ์ จนถึงตึกคณะวิทยาศาสตร์


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 11:29
บางคนไม่รู้จักคลองอรชร จึงได้นำตำแหน่งของคลองมาให้ชมกัน จากแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ (ตามลูกศร) เป็นคลองที่เชื่อมจากคลองถนนตรง (ถนนพระราม ๔) ไปเชื่อมกับคลองบางกะปิ (ซึ่งเดิมเรียกรวมกันไปว่า คลองแสนแสบ)
ฝากช่วยดูภาพนี้ด้วยครับ ปัจจุบันเป็นตึกอะไรครับ

ชี้ภาพที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์ครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 13:12
อ้อ เดี๋ยวใครจะมาหาว่ารูปไม่เกี่ยวกับต้นไม้ เกี่ยวซีครับ เห็นนนทรีไหมละท่าน ตอนนั้นเขายังไม่เอาต้นที่มีดอกสีชมพูหวานแหววมาปลูก เอ..ไม่รู้ว่านนทรีพวกนี้ยังอยู่หรือเปล่า หรือว่าเขาย้ายไปอยู่เกษตรแล้ว

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18692;image)

นนทรีที่คุณนวรัตนถามถึง ยังคงยืนต้นดูเด่นเป็นสง่าอยู่ริมสระน้ำจุฬา

(http://i112.photobucket.com/albums/n189/greendragoncloud/IMG_3215.jpg) 

(http://i112.photobucket.com/albums/n189/greendragoncloud/IMG_3228.jpg)

(http://i112.photobucket.com/albums/n189/greendragoncloud/IMG_3216.jpg) 

(http://i112.photobucket.com/albums/n189/greendragoncloud/IMG_3325.jpg)

ภาพถ่ายโดยคุณ cruduslife 

(http://www.bloggang.com/data/c/cruduslife/picture/profile.jpg)

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cruduslife&date=28-03-2009&group=6&gblog=19   

;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 24 เม.ย. 11, 17:43
^
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์   ไม่ได้อยู่ในคณะวิทยาศาสตร์หรือคะ?
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ในภาพเป็นวันเปิดพิพิธภัณฑ์โดยนายกรัฐมนตรีและอธิการบดี (จอมพลแปลก พิบูลสงคราม) ที่ผมไม่แน่ใจคือปัจจุบันตึกนี้เป็นตึกจามจุรี ๑ หรือจามจุรี ๒ ครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 24 เม.ย. 11, 18:15
ให้ อ.ทวีศักดิ์ ไว้ดูแนวต้นไม้จามจุรี และกลุ่มไม้ต่างๆ สมัย พ.ศ. ๒๔๙๘ ครับ

บริเวณข้างหอประชุมใหญ่ ก่อนบันไดทางขึ้น จะมีต้นไม้ใหญ่ น่าจะเป็นสนทะเล
ขอบคุณครับ ผมไม่แน่ใจว่าจามจุรีที่ปลูกสองข้างถนนสายแรกของจุฬาฯ เริ่มปลูกในปี พ.ศ. ใด แต่ผมเห็นจากภาพถ่ายทางอากาศที่ถ่ายจากด้านสนามม้ามุมกล้องมองไปทางทิศตะวันตกที่คุณ siamese โพสต์มาให้ดูครั้งที่ ๑ บอกไว้ว่าปี ๒๔๖๓ และภาพเดียวกันเมื่อโพสต์ครั้งที่ ๒ ได้เพิ่มเติมลูกศรชี้ตำแหน่งแนวต้นไม้ในถนนสนามม้าหรือถนนอังรีดูนังต์ในปัจจุบัน ได้บอกไว้ว่าเป็นปี ๒๔๖๘ ผมสรุปได้ว่ามีการปลูกจามจุรีตามแนวถนนนี้เมื่อสร้างถนนเสร็จตั้งแต่ระยะแรก ๆ ที่มีการสถาปนาแต่ยังหาปีที่สร้างถนนไม่ได้ ในภาพล่าสุดนี้ปี ๒๔๙๘ ยังคงเห็นจามจุรีขึ้นมีเรือนยอดสานกันแน่น ผมเคยเห็นถนนสายนี้จากภาพเป็นถนนลาดยางครับกว้างไม่น่าเกิน ๔ เมตร ต่อมาจามจุรีบนถนนสายนี้ถูกตัดไป ในปัจจุบันจึงเห็นจามจุรีที่มีอายุไม่มากและมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นไม่ถึง ๓๐๐ ซม. ยกเว้น ๔ ต้นที่อยู่ใกล้ประตูที่ออกถนนสนามม้าแต่เดิม และอีก ๑ ต้นที่อยู่ปลายถนนตรงทางออกถนนพญาไท ด้านหน้าของตึกขาว เข้าใจว่าถูกตัดไปตอนที่ขยายถนนแต่ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นปีใดครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 18:15
บรรยากาศห้องเรียน ไม่ทราบ พ.ศ.

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18661;image)

ประมาณ 2490s ต้นๆ  สังเกตจากทรงผมของนิสิตหญิง
เก้าอี้ไม้หนาเทอะทะ หนักมาก ที่นั่งกันอยู่  ยังใช้มาจนถึงยุคของดิฉัน


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 11, 18:39
ตึกพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์   

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18706;image)

อาจารย์คิดว่าเป็นตึกเดียวกับตึกนี้ (ตรงส่วนมุขยื่นออกมา) หรือคะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 24 เม.ย. 11, 18:55
ตึกพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์   

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18706;image)

อาจารย์คิดว่าเป็นตึกเดียวกับตึกนี้ (ตรงส่วนมุขยื่นออกมา) หรือคะ

ใช่ครับ แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นด้านซ้าย (จามจุรี ๒) หรือด้านขวา (จามจุรี ๑) ครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 เม.ย. 11, 19:24
^
ถ้าเป็นตึกนี้ สมัยผมเขาเรียกว่า "ตึกบรรยเวกษ์" นะครับ
บรรยเวกษ์ คืออาจารย์ผู้ปกครองของมหาวิทยาลัยนั่นแหละ แต่เรียกให้ดูหญ่ายมากๆ เพราะจะได้เหมาะกับคนใหญ่คนโต

อดีตคณะบดีสถาปัตย์ ศาตราจารย์ ม.ร.ว.แหลมฉาน หัสดินทร ท่านอยู่ในตำแหน่งนานมาก แต่สุดท้ายเขาแต่งตั้งให้ท่านไปเป็นบรรยเวกษ์ ปีเดียวกับที่นิสิตจุฬาเดินขบวนขับไล่อธิการบดีของตนเองในข้อหาคอรัปชั่น ท่านอาจารย์ของผมเป็นเดือดเป็นร้อนมาก เพราะท่านอธิการบดีเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมหาดไทยอยู่ด้วย ผมจะไม่ขอเอ่ยชื่อละนะครับ เมื่อพยายามห้ามเท่าไหร่ก็ไม่มีใครฟังแม้กระทั่งลูกศิษย์คณะสถาปัตย์เอง ไปร่วมชุมนุมไฮปาร์คกันที่หน้าหอประชุมจุฬาทุกคณะรวมกันร่วมพันคน

และสุดท้ายก็เป็นเชื้อให้ไม่นานต่อมา ก็ขยายผลไปจนเกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาขึ้นจนได้
ถึงตอนนั้น บรรเวกษ์ท่านได้พิจารณาตนเอง ลาออกจากตำแหน่งไปแล้ว


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 19:34
ชี้ตำแหน่งผิด  :-[  งั้นฝานภาพตึกจามจุรี ๒ ไว้ให้เทียบครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 19:37
อาคารหอชาย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 24 เม.ย. 11, 19:44
ชี้ตำแหน่งผิด  :-[  งั้นฝานภาพตึกจามจุรี ๒ ไว้ให้เทียบครับ
ตึกพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในอดีต จึงเป็นตึกจามจุรี ๑ ในปัจจุบันไช่ไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 19:55
ชี้ตำแหน่งผิด  :-[  งั้นฝานภาพตึกจามจุรี ๒ ไว้ให้เทียบครับ
ตึกพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในอดีต จึงเป็นตึกจามจุรี ๑ ในปัจจุบันไช่ไหมครับ

ครั้งนี้ไม่พลาดอีกแล้ว  :o ดูจากภาพเก่านั้นถ่ายจากขวาไปซ้าย บนหลังคาอาคารเป็นแนวต่อเนื่องกับทางเดินโถงอาคาร จึงสมควรเป็น "จามจุรี ๒"  แต่ถ้าถ่ายในมุมเดียวกันที่จามจุรี ๑ จะไม่เห็นแนวต่อเนื่องของอาคาร


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 19:58
ตามนี้ครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 24 เม.ย. 11, 20:07
ตามนี้ครับ
ตกลงเป็นตึกจามจุรี ๒ ในปัจจุบัน ขอบคุณครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 24 เม.ย. 11, 20:10
ชี้ตำแหน่งผิด  :-[  งั้นฝานภาพตึกจามจุรี ๒ ไว้ให้เทียบครับ
ตึกพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในอดีต จึงเป็นตึกจามจุรี ๑ ในปัจจุบันไช่ไหมครับ

ครั้งนี้ไม่พลาดอีกแล้ว  :o ดูจากภาพเก่านั้นถ่ายจากขวาไปซ้าย บนหลังคาอาคารเป็นแนวต่อเนื่องกับทางเดินโถงอาคาร จึงสมควรเป็น "จามจุรี ๒"  แต่ถ้าถ่ายในมุมเดียวกันที่จามจุรี ๑ จะไม่เห็นแนวต่อเนื่องของอาคาร
ภาพนี้ พ.ศ. ใดครับ ยังไม่ได้สร้างทางเชื่อมระหว่างจามจุรี ๑ และจามจุรี ๒


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 20:18
ชี้ตำแหน่งผิด  :-[  งั้นฝานภาพตึกจามจุรี ๒ ไว้ให้เทียบครับ
ตึกพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในอดีต จึงเป็นตึกจามจุรี ๑ ในปัจจุบันไช่ไหมครับ

ครั้งนี้ไม่พลาดอีกแล้ว  :o ดูจากภาพเก่านั้นถ่ายจากขวาไปซ้าย บนหลังคาอาคารเป็นแนวต่อเนื่องกับทางเดินโถงอาคาร จึงสมควรเป็น "จามจุรี ๒"  แต่ถ้าถ่ายในมุมเดียวกันที่จามจุรี ๑ จะไม่เห็นแนวต่อเนื่องของอาคาร
ภาพนี้ พ.ศ. ใดครับ ยังไม่ได้สร้างทางเชื่อมระหว่างจามจุรี ๑ และจามจุรี ๒

ต้นไม้บังทางเดินครับ ภาพนี้จาก google earth คาดว่าประมาณ 1-2 ปีที่ผ่านมา


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 เม.ย. 11, 21:52
ข้อมูลตึกจามจุรี ๑ และ ๒ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 25 เม.ย. 11, 08:30
ข้อมูลตึกจามจุรี ๑ และ ๒ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓
ขอบคุณมากครับ คุณ siamese พอจะบอกแหล่งข้อมูลนี้ได้ไหมครับ ผมเข้าใจว่าปีพ.ศ. ๒๔๘๓ คือปีที่เริ่มสร้าง สร้างเสร็จปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงมีบันทึกไว้เหนือประตูทางเข้าว่าปี พ.ศ. ๒๔๘๔ แต่ขอมูลจากเอกสารต่าง ๆ ของจุฬา ฯ ซึ่งได้มาจากหอประวัติจุฬาฯ ระบุว่า จามจุรี ๒ สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ และ จามจุรี ๑ สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ไม่ทราบว่าตัวเลขปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เพี้ยนมาจากไหน เป็นไปได้ไหมครับว่า สร้างทางเดินเชื่อมในปี พ.ศ. ๒๕๑๐
 


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 08:57
ข้อมูลตึกจามจุรี ๑ และ ๒ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓
ขอบคุณมากครับ คุณ siamese พอจะบอกแหล่งข้อมูลนี้ได้ไหมครับ ผมเข้าใจว่าปีพ.ศ. ๒๔๘๓ คือปีที่เริ่มสร้าง สร้างเสร็จปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงมีบันทึกไว้เหนือประตูทางเข้าว่าปี พ.ศ. ๒๔๘๔ แต่ขอมูลจากเอกสารต่าง ๆ ของจุฬา ฯ ซึ่งได้มาจากหอประวัติจุฬาฯ ระบุว่า จามจุรี ๒ สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ และ จามจุรี ๑ สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ไม่ทราบว่าตัวเลขปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เพี้ยนมาจากไหน เป็นไปได้ไหมครับว่า สร้างทางเดินเชื่อมในปี พ.ศ. ๒๕๑๐
 

ถ้าข้อมูลเป็นดังนั้นก็น่าจะสร้างตึกจามจุรีใน ๑ ปี ซึ่งปีที่สร้างเสร็จปี ๒๔๘๔ เพื่อเป็นประจักษ์ถึงว่า ตึกเริ่มเปิดให้ใช้บริการได้ตั้งแต่ปีดังกล่าว และจากข้อมูล รูปแบบสถาปัตยกรรม และเทคนิคการก่อสร้าง ผนัง พื้น วัสดุของทั้งสองอาคารอยู่ในรุ่นเดียวกัน นั่นหมายถึงสร้างพร้อมกันครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 25 เม.ย. 11, 11:28
ให้ อ.ทวีศักดิ์ ไว้ดูแนวต้นไม้จามจุรี และกลุ่มไม้ต่างๆ สมัย พ.ศ. ๒๔๙๘ ครับ

บริเวณข้างหอประชุมใหญ่ ก่อนบันไดทางขึ้น จะมีต้นไม้ใหญ่ น่าจะเป็นสนทะเล
ผมได้ข้อมูลมาแล้วครับว่า หอประชุมมีการซ่อมใหญ่ในปี พ.ศ. 2506 ขยายด้านข้าง ไม่มีบันไดด้านนอก ตัดสนทะเลทั้ง
สองข้าง


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 25 เม.ย. 11, 21:19
^
ถ้าเป็นตึกนี้ สมัยผมเขาเรียกว่า "ตึกบรรยเวกษ์" นะครับ
บรรยเวกษ์ คืออาจารย์ผู้ปกครองของมหาวิทยาลัยนั่นแหละ แต่เรียกให้ดูหญ่ายมากๆ เพราะจะได้เหมาะกับคนใหญ่คนโต

อดีตคณะบดีสถาปัตย์ ศาตราจารย์ ม.ร.ว.แหลมฉาน หัสดินทร ท่านอยู่ในตำแหน่งนานมาก แต่สุดท้ายเขาแต่งตั้งให้ท่านไปเป็นบรรยเวกษ์ ปีเดียวกับที่นิสิตจุฬาเดินขบวนขับไล่อธิการบดีของตนเองในข้อหาคอรัปชั่น ท่านอาจารย์ของผมเป็นเดือดเป็นร้อนมาก เพราะท่านอธิการบดีเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมหาดไทยอยู่ด้วย ผมจะไม่ขอเอ่ยชื่อละนะครับ เมื่อพยายามห้ามเท่าไหร่ก็ไม่มีใครฟังแม้กระทั่งลูกศิษย์คณะสถาปัตย์เอง ไปร่วมชุมนุมไฮปาร์คกันที่หน้าหอประชุมจุฬาทุกคณะรวมกันร่วมพันคน

และสุดท้ายก็เป็นเชื้อให้ไม่นานต่อมา ก็ขยายผลไปจนเกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาขึ้นจนได้
ถึงตอนนั้น บรรเวกษ์ท่านได้พิจารณาตนเอง ลาออกจากตำแหน่งไปแล้ว
พอจะทราบเกี่ยวกับการตัดต้นจามจุรีและแคฝรั่งบริเวณหน้าประตูใหญ่ในช่วงเวลานั้นไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 25 เม.ย. 11, 21:36
ข้อมูลตึกจามจุรี ๑ และ ๒ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓
ถ้าข้อมูลเป็นดังนั้นก็น่าจะสร้างตึกจามจุรีใน ๑ ปี ซึ่งปีที่สร้างเสร็จปี ๒๔๘๔ เพื่อเป็นประจักษ์ถึงว่า ตึกเริ่มเปิดให้ใช้บริการได้ตั้งแต่ปีดังกล่าว และจากข้อมูล รูปแบบสถาปัตยกรรม และเทคนิคการก่อสร้าง ผนัง พื้น วัสดุของทั้งสองอาคารอยู่ในรุ่นเดียวกัน นั่นหมายถึงสร้างพร้อมกันครับ
ผมตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่าต้นจามจุรีที่มีมากในจุฬาฯ ก่อนที่จะสร้างหอประชุมจุฬาฯ  เกิดจากการกระจายพันธุ์ของฝักจามจุรีที่ปลูกสองข้างของถนนพญาไทตั้งแต่ปี   พ.ศ. ๒๔๕๒ คุณ siamese พอจะมีภาพถนนพญาไทเก่า ๆ ที่มีจามจุรีและคูน้ำสองข้างถนนไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 เม.ย. 11, 22:06
ข้อมูลตึกจามจุรี ๑ และ ๒ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓
ถ้าข้อมูลเป็นดังนั้นก็น่าจะสร้างตึกจามจุรีใน ๑ ปี ซึ่งปีที่สร้างเสร็จปี ๒๔๘๔ เพื่อเป็นประจักษ์ถึงว่า ตึกเริ่มเปิดให้ใช้บริการได้ตั้งแต่ปีดังกล่าว และจากข้อมูล รูปแบบสถาปัตยกรรม และเทคนิคการก่อสร้าง ผนัง พื้น วัสดุของทั้งสองอาคารอยู่ในรุ่นเดียวกัน นั่นหมายถึงสร้างพร้อมกันครับ
ผมตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่าต้นจามจุรีที่มีมากในจุฬาฯ ก่อนที่จะสร้างหอประชุมจุฬาฯ  เกิดจากการกระจายพันธุ์ของฝักจามจุรีที่ปลูกสองข้างของถนนพญาไทตั้งแต่ปี   พ.ศ. ๒๔๕๒ คุณ siamese พอจะมีภาพถนนพญาไทเก่า ๆ ที่มีจามจุรีและคูน้ำสองข้างถนนไหมครับ

ถนนพญาไท ปลูกต้นไม้ไว้ ๓ จุด คือ บริเวณสองข้างทาง และบริเวณเกาะกลาง - ถนนพญาไทถุกตัดขึ้นไม่มีคลองครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 26 เม.ย. 11, 06:05
ข้อมูลตึกจามจุรี ๑ และ ๒ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓
ถ้าข้อมูลเป็นดังนั้นก็น่าจะสร้างตึกจามจุรีใน ๑ ปี ซึ่งปีที่สร้างเสร็จปี ๒๔๘๔ เพื่อเป็นประจักษ์ถึงว่า ตึกเริ่มเปิดให้ใช้บริการได้ตั้งแต่ปีดังกล่าว และจากข้อมูล รูปแบบสถาปัตยกรรม และเทคนิคการก่อสร้าง ผนัง พื้น วัสดุของทั้งสองอาคารอยู่ในรุ่นเดียวกัน นั่นหมายถึงสร้างพร้อมกันครับ
ผมตั้งสมมติฐานเอาไว้ว่าต้นจามจุรีที่มีมากในจุฬาฯ ก่อนที่จะสร้างหอประชุมจุฬาฯ  เกิดจากการกระจายพันธุ์ของฝักจามจุรีที่ปลูกสองข้างของถนนพญาไทตั้งแต่ปี   พ.ศ. ๒๔๕๒ คุณ siamese พอจะมีภาพถนนพญาไทเก่า ๆ ที่มีจามจุรีและคูน้ำสองข้างถนนไหมครับ
ถนนพญาไท ปลูกต้นไม้ไว้ ๓ จุด คือ บริเวณสองข้างทาง และบริเวณเกาะกลาง - ถนนพญาไทถุกตัดขึ้นไม่มีคลองครับ
เป็นแค่คูน้ำสองข้างนะครับ และมีสพานข้ามเช่นสพานอุเทนถวาย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 27 เม.ย. 11, 08:00
ให้ อ.ทวีศักดิ์ ไว้ดูแนวต้นไม้จามจุรี และกลุ่มไม้ต่างๆ สมัย พ.ศ. ๒๔๙๘ ครับ

บริเวณข้างหอประชุมใหญ่ ก่อนบันไดทางขึ้น จะมีต้นไม้ใหญ่ น่าจะเป็นสนทะเล
ผมได้แผนที่จุฬาฯ สำรวจปี 2468 เห็นถนนตัดจากถนนสนามม้าตรงไปออกถนนพญาไท เห็นตามแนวถนนทำเครื่องหมายว่าเป็นต้นไม้ที่ปลูกอยู่ไช่ไหมครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: bthawees ที่ 27 เม.ย. 11, 08:24
ข้อมูลตึกจามจุรี ๑ และ ๒ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓
ขอบคุณมากครับ คุณ siamese พอจะบอกแหล่งข้อมูลนี้ได้ไหมครับ ผมเข้าใจว่าปีพ.ศ. ๒๔๘๓ คือปีที่เริ่มสร้าง สร้างเสร็จปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงมีบันทึกไว้เหนือประตูทางเข้าว่าปี พ.ศ. ๒๔๘๔ แต่ขอมูลจากเอกสารต่าง ๆ ของจุฬา ฯ ซึ่งได้มาจากหอประวัติจุฬาฯ ระบุว่า จามจุรี ๒ สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ และ จามจุรี ๑ สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ไม่ทราบว่าตัวเลขปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เพี้ยนมาจากไหน เป็นไปได้ไหมครับว่า สร้างทางเดินเชื่อมในปี พ.ศ. ๒๕๑๐
 
ช่วยดูหน่อยครับว่าเป็นภาพประมาณปี พ.ศ. ใด และที่ลูกศรสีแดงชี้อยู่คืออาคารอะไรครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 08 ต.ค. 12, 21:01
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีคณะต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงต้องโค่นต้นจามจุรีเพื่อสร้าง ตึกใหม่ ต้นจามจุรีจึงลดน้อยลงอย่างน่าใจหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งว่าต้นจามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ปลูกจะเสด็จพระราชดำเนินมาปลูกต้นจามจุรีเอง และในวันที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นจามจุรี ๕ ต้น หน้าหอประชุม และได้พระราชทานพระราชดำรัชถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับต้นจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเล่าว่า ทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล ต้นจามจุรีงอกขึ้นบริเวณต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที ก่อนจบกระแสพระราชดำรัส ได้รับสั่งว่า ฝากต้นไม้ไว้ ๕ ต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล จามจุรีพระราชทานห้าต้นจึงยืนต้น อย่างแข็งแรงเป็นศรีสง่าและสิริมงคลแก่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป

เมื่อต้นปีจามจุรีงามล้น เครื่องหมายแทนสิ่งมงคล ทุกคนเริ่มต้นสนใจ
เริ่มเวลารับชาวจุฬาน้องใหม่ เบิกบานสำราญฤทัย น้องเรามาใหม่หลายคน
เห็นจามจุรีสีงาม ทุกยามต้องงามล้ำล้น น้องเราเข้ามาทุกคน เบิกบานกมลเริ่มต้นด้วยดี
พร้อมกันในวันนี้เอง ร้องเพลงครื้นเครงเต็มที่ หมายเอาจามจุรี เป็นเกียรติเป็นศรีของชาวจุฬา
เมื่อกลางปีจามจุรีฝักหล่น ถึงเวลาหน้าฝนลำต้นก็ลื่นหนักหนา
ฝักหล่นไปทั้งยางก็ไหลลงมา ถ้าเดินพลั้งพลาดท่าจะล้มทันที
ฉันใดก็ดียางจามจุรีเตือนใจ ว่ายางที่ไหลนั่นคือยางอายเรานี้
พลาดการศึกษาแสนอายหนักหนาทั้งตาปี จำยางจามจุรีเตือนใจ
เมื่อปลายปีดอกจามจุรีร่วงหล้น ทิ้งใบเกลื่อนถนน เหลือเพียงลำต้นยืนไว้
เหล่าจุฬาทิ้งความสุขาทันใด พ่อแม่น้องพี่ไกลใกล้อยู่ไหนลืมพลัน
ที่กินถิ่นนอน มิได้อาวรณ์นำพา มีความปรารถนาเหลือเพีงตำราเท่านั้น
เพื่อนเชือนชักทิ้งจนคนรักสารพัน หวังมิให้ตกชั้นรีไทร์

ฮึกเหิมครับ  ;D
เขียนจากความทรงจำ (จำชื่่อเพลงไม่ได้แล้ว)
นี่ก็เป็นอานิสงฆ์จากการได้ทบทวนกระทู้ดีๆหลังจากรู้วิธีเรียงลำดับกระทู้จากท่าน Admin



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ต.ค. 12, 21:15
ชื่อเพลง จามจุรี ศรีจุฬา ค่ะ

http://www.youtube.com/watch?v=9_VSc7NNxjs



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 08 ต.ค. 12, 22:24

เพิ่งเห็นว่ามีเรื่องของชาวจุฬาโผล่มาวันนี้เองครับ

ha ha ผมยังจำได้ว่าถาปัดดังมากโดยเฉพาะ...ละครถาปัด

เข้าใจว่าท่าน NAVARAT คงไปเล่นแน่เลยเพราะเห็นว่าคณะถาปัดคนไม่เยอะโดนจับเล่นทุกคน

แล้วรู้สึกว่าจะเห็นท่าน มาจีบสาวบัญชีทุกวัน นะครับ ;)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 28 ต.ค. 12, 14:52
ตอนนํ้าท่วมต้นไม้คงจะแย่ เคยอ่านว่าท่วมเป็นเดือน


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ต.ค. 12, 16:27
อ้างถึง
เพิ่งเห็นว่ามีเรื่องของชาวจุฬาโผล่มาวันนี้เองครับ

ha ha ผมยังจำได้ว่าถาปัดดังมากโดยเฉพาะ...ละครถาปัด

เข้าใจว่าท่าน NAVARAT คงไปเล่นแน่เลยเพราะเห็นว่าคณะถาปัดคนไม่เยอะโดนจับเล่นทุกคน

แล้วรู้สึกว่าจะเห็นท่าน มาจีบสาวบัญชีทุกวัน นะครับ

เพิ่งเห็นบัดเดี๋ยวนี้เองละครับ เลยไม่ได้ตอบ

สมัยที่ถาปัดทำละครกัน ผมเลิกจีบสาวบัญชีไปแล้วครับ ไม่รู้จะจีบภรรเมียไปทำไมอีก
ถ้าท่านทันเห็นผมจริง สมัยนั้นถาปัดทำหนังครับ ยังไม่ได้เล่นละคร


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ต.ค. 12, 16:37
รูปนี้ขอยืมมาจากเจ้าของ   ถ่ายประมาณพ.ศ. 2511-12 เมื่อเธอเป็นน้องใหม่คณะสัตวแพทยศาสตร์   สระน้ำตรงนี้ไม่มีแล้ว   
มองเห็นต้นไม้ด้านข้างหอประชุม ต้นเล็กต้นใหญ่    แต่ไม่ทราบว่าต้นอะไรบ้าง และยังอยู่จนทุกวันนี้หรือเปล่าค่ะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 28 ต.ค. 12, 20:50
อ้างถึง
เพิ่งเห็นว่ามีเรื่องของชาวจุฬาโผล่มาวันนี้เองครับ

ha ha ผมยังจำได้ว่าถาปัดดังมากโดยเฉพาะ...ละครถาปัด

เข้าใจว่าท่าน NAVARAT คงไปเล่นแน่เลยเพราะเห็นว่าคณะถาปัดคนไม่เยอะโดนจับเล่นทุกคน

แล้วรู้สึกว่าจะเห็นท่าน มาจีบสาวบัญชีทุกวัน นะครับ

เพิ่งเห็นบัดเดี๋ยวนี้เองละครับ เลยไม่ได้ตอบ

สมัยที่ถาปัดทำละครกัน ผมเลิกจีบสาวบัญชีไปแล้วครับ ไม่รู้จะจีบภรรเมียไปทำไมอีก
ถ้าท่านทันเห็นผมจริง สมัยนั้นถาปัดทำหนังครับ ยังไม่ได้เล่นละคร

อ้า ใช่จริงๆ ครับผมจำผิดไป .....หนังถาปัดครับ

....ไข่มุกและคณบดี  ....ผมจำได้แล้ว ....เป็น Title ของหนัง

เลียนแบบ หนังของ Pearl & Dean  


555




กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ต.ค. 12, 09:13
ดูภาพเก่าของจุฬาฯจะเห็นต้นไม้น้อยกว่าสมัยหลังๆ

โดยเฉพาะตามแนวถนนหลักของมาวิทยาลัย---สมัยก่อนไม่ค่อยเห็นต้นจามจุรี
จะมีมากด้านหน้าคณะวิทยาศาสตร์และหน้าตึกจักรพงษ์
ฝั่งสถาปัตย์,เคมีสอง,และเภสัช มีต้นไม้น้อยกว่ามาก

อย่างปี 2490 (หลังนํ้าท่วมใหญ่ ในปี 2485) ตามภาพ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 29 ต.ค. 12, 09:24
เทียบกับภาพปี 2498  ต้นไม้หนาตาขึ้น

เทวาลัยครึ่งซ้ายกำลังมุงหลังคา
คงจะกำลังสร้างในระยะนี้


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ต.ค. 12, 09:24
รูปนี้ขอยืมมาจากเจ้าของ   ถ่ายประมาณพ.ศ. 2511-12 เมื่อเธอเป็นน้องใหม่คณะสัตวแพทยศาสตร์   สระน้ำตรงนี้ไม่มีแล้ว   
มองเห็นต้นไม้ด้านข้างหอประชุม ต้นเล็กต้นใหญ่    แต่ไม่ทราบว่าต้นอะไรบ้าง และยังอยู่จนทุกวันนี้หรือเปล่าค่ะ

ต้นไม้กลางภาพในวงกลมรี สีเขียว เป็นลักษณะของต้นจามจุรีครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 29 ต.ค. 12, 09:45
เอารูปดีๆไปเติมหน้ากากซะเสียหายหมด


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ต.ค. 12, 10:28
^
เกรงเจ้าตัวเขาจะเขินน่ะค่ะ    :-[


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 ต.ค. 12, 15:14
จัดภาพเปรียบเทียบกัน เป็นภาพมุมสูง


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 29 ต.ค. 12, 17:16
เพิ่งสังเกตเห็นน่ะครับ ว่าเดิมตรงตึก 3 เป็นสระน้ำมาก่อน แต่ไม่ทราบว่าเป็นต้นอะไร





กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มี.ค. 13, 08:58
นำมาเก่าจุฬามาต่อเนื่อง เป็นภาพถ่ายในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ครับ
เครดิตภาพ: Wolfgang Sievers


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 มี.ค. 13, 09:00
ตึก Chem Tech พ.ศ. ๒๕๐๙ ถนนทางเดินยังโรยอิฐหัก มีต้นมะพร้าว ศาลพระภูมิ
เครดิตภาพ: Wolfgang Sievers


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 16 มี.ค. 13, 16:20
ตึกนี้จำได้ เสียดายผมไม่ได้ถ่ายรูปไว้

เข้ามาจากรั้วประตูจุฬาฯ(ถนนตรงกับ รร.สาธิต) ตึกจะอยู่ขวามือของถนนนี้
ด้านซ้ายมือตรงกันข้าม ชั้นล่างเป็นโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นบนเป็นแผนกวิทยาศาสตร์ทั่วไป( general science)
ปีที่ถ่ายรูปผมยังไม่ได้เข้ามาเรียน  เคยขึ้นไปหาน้องหลายครั้งที่ตึกนี้

น้องสาวผมเข้ามาเรียนที่แผนก  chem. en. ที่ตึกนี้ หลังผมสองปี
ตอนหลังน้องไปจบ doctor eng. ที่ตูลูส ฝรั่งเศส
ขณะนี้เป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่หนึ่ง

รุ่นพี่เคยเล่าว่า ตีกันกับคณะวิศวกรรม ที่แถวนี้ ก่อนหน้านี้สักสองปี


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 มี.ค. 13, 20:49
จำได้ถึงยุคที่วิศวะเป็นพี่ใหญ่เที่ยวยกพวกตีกันกับคณะอื่นๆ     ยัวะมากเพราะมายกพวกกันในวันที่อักษรกำลังสอบพอดี   นั่งสอบอยู่ในห้อง 10 ชั้นล่างของเทวาลัย   วิศวะแต่งชุดสีน้ำเงินเดินกร่างอยู่เต็มถนนหน้าคณะพวกเขา    เล่นเอาไม่มีสมาธิสอบ
คุณ visitna  น่าจะรุ่นหลังดิฉันไม่กี่รุ่น   เพราะตอนคุณเข้ามา  เขาตีกันเสร็จไปแล้ว 2 ปี


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 มี.ค. 13, 20:55
ในภาพนี้เป็นเพื่อนร่วมรุ่นสถาปัตย์09ของผม เราเข้าเป็นน้องใหม่อปี๑ วิชาแรกๆที่ต้องเรียนเป็น outdoor sketch ในวิชา Architectural Presentation คนในภาพนี้ที่เห็นหน้าผมจำชื่อได้ทุกคน ที่หน้าไม่ชัดก็พอเดาได้ว่าเป็นใคร

ขอบคุณคุณหนุ่มสยามที่เอามาลงครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 17 มี.ค. 13, 18:00
ต้นนี้จะนับว่าเป็นพรรณไม้จุฬาฯ ได้ไหมครับ ผมเห็นขึ้นอยู่โคนต้นจามจุรีตรงหน้าคณะบัญชี



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 17 มี.ค. 13, 19:28
ในภาพนี้เป็นเพื่อนร่วมรุ่นสถาปัตย์09ของผม เราเข้าเป็นน้องใหม่อปี๑ วิชาแรกๆที่ต้องเรียนเป็น outdoor sketch ในวิชา Architectural Presentation คนในภาพนี้ที่เห็นหน้าผมจำชื่อได้ทุกคน ที่หน้าไม่ชัดก็พอเดาได้ว่าเป็นใคร

ขอบคุณคุณหนุ่มสยามที่เอามาลงครับ

  ผมมีรุ่นพี่ม.ปลายเอ็นท์ติดสถาปัตย์จุฬาฯรุ่นปี09นี้ด้วย มีเฮกันใหญ่ นัยว่าเป็นคนแรกของโรงเรียนที่ติดคณะนี้ (โรงเรียนผมอยู่ชานเมืองแถวปากน้ำ ตอนนั้นเพิ่งเปิดม.ปลายมาได้ 8 รุ่น) ท่านชื่อ สมยศ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 มี.ค. 13, 21:42
สมยศ บุณยเกียรติ จบอำนวยศิลป์ไม่ใช่หรือครับ

คนนี้หรือเปล่า?
(มีพรรณไม้อยู่ข้างหลัง ถือว่าไม่ผิดกระทู้นะครับ)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 มี.ค. 13, 13:26
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระอนุชาธิราช และสมเด็จพระราชชนนีได้เสด็จฯ มาเยี่ยมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่๕ มกราคม ๒๔๘๙
สถานที่ น่าจะเป็นด้านหลังตึกคณะอักษรศาสตร์(อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน) เป็นลานที่หันไปทางด้านคณะวิศวกรรมศาสตร์
ต้นไม้ที่ปรากฏในภาพ ต้นจามจุรีใช่ไหมคะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 18 มี.ค. 13, 22:29
สมยศ บุณยเกียรติ จบอำนวยศิลป์ไม่ใช่หรือครับ

คนนี้หรือเปล่า?
(มีพรรณไม้อยู่ข้างหลัง ถือว่าไม่ผิดกระทู้นะครับ)
  รูปหล่อสูงยาวท่านนี้แหละครับ บางกระแสว่าเคยเป็นศิษย์เก่าโยธินบูรณะเพราะวิ่งข้ามรั้วฝีเท้าจัด ท่านเรียนอยู่ห้องใกล้ๆกัน ตอนนั้นที่โรงเรียนมีม.ปลายเพียงชั้นละห้องเอง คงจะมาติวๆเสริมๆให้จบๆ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 31 ต.ค. 13, 18:24
อ่านผ่านๆ เพราะเป็นกระทู้ที่ค่อนข้างยาว จำได้ว่ามีกล่าวถึงต้นลั่นทมที่ตึกอักษร

ใช้เวลานึกตั้งแต่เที่ยงจดเย็น อ้อ อยู่ข้างตึกนี่เอง
บนทางเดินตึกที่ขนานกับแนวต้นลั่นทม จำได้ว่าวันหนึ่ง อาจารย์ จินตนา ยศสุนทรเดินมาพอดี อาจารย์สวมชุดสีเขียว ลายเหลืองหรือทองนี่แหละ ทาปากเล็กน้อย ยิ้มนิดๆทักทายบรรดาลูกศิษย์ (ไม่รวมคนแปลกหน้า)
ที่จำได้ คงเป็นเพราะอาจารย์เรียกได้ว่าดังมาก ออกรายการโทรทัศน์บ่อย ไม่คาดคิดว่าจะได้เจอท่าน

 


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 13, 18:53
ลั่นทมที่คณะอักษรศาสตร์  
จาก devonshire.bloggang.com


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: scarlet ที่ 31 ต.ค. 13, 19:06
อีกแห่งหนึ่งทีมีต้นลั่นทม น่าจะเป็นคณะครุศาสตร์ มีทางเดินอยู่กลาง ต้นลั่นทมดอกสีขาว ไม่ใช่สีชมพูเหมือนในรูปข้างบน (แต่ผมจำได้ว่าที่ตึกอักษรก็สีขาว ดอกดกด้วย บางทีเดินๆ มีกลิ่นลอยมา)

ต้นใม้อีกต้นที่นึกออกคือ (น่าจะ) ชื่อเปลวสุริยา ที่นึกออกเพราะไม่เหมือนใครในบริเวณ ต้นนี้อยู่ประตูทางเข้าจากพญาไท เดินเข้ามาหน้าคณะวิดยาพอดี เป็นประตูเล็กกว่าเมนเกท ในเวลาราชการ เปิดให้รถผ่านได้ (น่าจะออกทางเดียว เพราะขนาดเล็ก ช่วยระบายรถให้ไม่ต้องอ้อมขวาไปออกเมนเกท ถ้าจะเลี้ยวซ้ายไปทางสามย่าน ออกประตูนี้ได้เลย)
ไม่แน่ใจนะครับ อาจไม่ใช่เปลวสุริยาก็ได้ อาจเป็นต้นอื่น แต่ไม่ใช่จามจุรีเหมือนรอบๆแล้วกัน อีกอย่าง เวลาเป็นสิบๆปี อาจไม่อยู่แล้วก็ได้


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 12 ธ.ค. 13, 14:47
ภาพเทวาลัยหรือไม่ ?

มีเทศกาลพิเศษอะไร ถึงมีต้นไม้เยอะแยะ



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ธ.ค. 13, 22:35
ถ้าใช่  ก็ต้องเป็นตึกเทวาลัย  หรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน   เพราะดูจากยุคสมัยแล้วน่าจะเป็นรัชกาลที่ 7    ตึกแฝดยังไม่ได้สร้าง
และถ้าใช่     ถนนที่รถจอดอยู่ก็เป็นถนนด้านประตูถนนอังรีดูนังต์ ไม่ใช่พญาไท

แต่เป็นงานอะไร รอคุณหนุ่มสยามดีกว่าค่ะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 13, 08:42
ใช่ตึกเทวาลัยแน่หรือ? ชักสงสัยเสียแล้ว


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 06 มิ.ย. 14, 10:02
นํ้าท่วมปี 2485

มองต้นไม้ไม่ชัด ภาพมันดำไป


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 20 มิ.ย. 14, 10:58
..


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ย. 14, 12:08
ภาพเทวาลัยหรือไม่ ?

มีเทศกาลพิเศษอะไร ถึงมีต้นไม้เยอะแยะ


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=45352;image)

มีภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติมาให้พิจารณาเผื่อว่าจะมีคำตอบ  ;D

เห็นเรื่องต้นไม้เลยนึกขึ้นมาได้ ตอนแรกคิดว่าจะนำภาพนี้ไปลงในกระทู้เก่าเรื่องพรรณไม้ในจุฬา แต่เอามาลงที่ตรงนี้เลยจะดีกว่าเพราะลืมไปแล้วว่ามีใครเคยลงไปแล้วที่โน่นหรือไม่

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6072.0;attach=50973;image)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 14, 19:15
ตึกขวาคือเทวาลัยหรือคะ
ถ้างั้นถนนตรงนี้ก็ต้องเป็นมุมจุฬาด้านคณะวิศวฯ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ธ.ค. 14, 09:14
อาจารย์เจ้าของกระทู้คงรวบรวมเรื่องนี้เสร็จแล้ว  แต่ไปเจอรูปเก่าเข้าอีก เลยดึงกระทู้ขึ้นมา
ให้ช่วยกันดูว่าต้นไม้เล็กๆหน้าตึกเทวาลัย คือต้นอะไร
ภาพนี้ถ่าย 2484 ค่ะ  เครื่องแบบที่แปลกไปจากเครื่องแบบนิสิต คือยุวนารีที่จอมพลป.ให้มีขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 27 มิ.ย. 15, 23:16
บรรยากาศห้องเรียน ไม่ทราบ พ.ศ.

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18661;image)

ประมาณ 2490s ต้นๆ  สังเกตจากทรงผมของนิสิตหญิง
เก้าอี้ไม้หนาเทอะทะ หนักมาก ที่นั่งกันอยู่  ยังใช้มาจนถึงยุคของดิฉัน

โต๊ะเก้าอี้ลักษณะนี้ เคยเห็นที่อาคารมหาจักรีสิรินธรที่สร้างขึ้นใหม่ สักประมาณสองปีที่แล้ว มีวิชาหนึ่งได้ไปสอบอยู่ไม่แน่ใจว่าชั้น ๖ หรือ ชั้น ๘ มีโต๊ะและเก้าอี้ลักษณะนี้อยู่ ดูเก่ามาก แต่ก็ยังใช้การได้ ไม่แน่ใจว่าเป็นชุดเดียวกันหรือเปล่า เพราะโต๊ะของอาคารฯใหม่นี้ ส่วนใหญ่เป็นโต๊ะที่สั่งมาใหม่ทั้งหมด ก็เห็นมีแต่ห้องที่ไปสอบใช้โต๊ะเก้าอี้ไม้แบบเก่าแบบนี้อยู่ห้องเดียวค่ะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 มิ.ย. 15, 09:02
ของราชการนั้นตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้  หมายความว่าวัสดุครุภัณฑ์ทั้งหลายจะทิ้งไปเฉยๆไม่ได้   ถ้ายังไม่หมดสภาพ  ก็ต้องเก็บไว้ตามระเบียบ
เก้าอี้ไม้เหล่านี้หนาเทอะทะ เป็นไม้แข็งแรงไม่ใช่ไม้อัด    ของที่คุณปิ่นเจอก็มีสิทธิ์ว่าจะเป็นของร่วมสมัยกับในภาพค่ะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 28 มิ.ย. 15, 10:44
ของราชการนั้นตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้  หมายความว่าวัสดุครุภัณฑ์ทั้งหลายจะทิ้งไปเฉยๆไม่ได้   ถ้ายังไม่หมดสภาพ  ก็ต้องเก็บไว้ตามระเบียบ
เก้าอี้ไม้เหล่านี้หนาเทอะทะ เป็นไม้แข็งแรงไม่ใช่ไม้อัด    ของที่คุณปิ่นเจอก็มีสิทธิ์ว่าจะเป็นของร่วมสมัยกับในภาพค่ะ

ไม่ใช่ไม้อัดค่ะอาจารย์ เป็นไม้แบบแข็งแรงเลยค่ะ นั่งแล้วไม่โยกด้วย แสดงว่าสภาพยังดีมากอยู่


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 04 ก.ค. 15, 23:21
ขออนุญาตถาม(นอกเรื่อง)ได้มั้ยคะว่าทรงผมแบบในรูปมีชื่อเรียกหรือเปล่า  ???


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ก.ค. 15, 23:22
เขาเรียกว่า "คลื่นถาวร" ค่ะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 05 ก.ค. 15, 00:01
สมัยอาจารย์เทาชมพูสาวๆร่วมยุคกับคลื่นถาวรด้วยหรือเปล่าคะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 05 ก.ค. 15, 00:10
ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะที่ช่วยไขข้อสงสัยให้กระจ่าง
พอดีโดนรับน้องด้วยคำถาม ทรงผม(จำชื่อไม่ได้ค่ะ คลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็น อักษรานิยม หรืออะไรทำนองนี้)มีลักษณะเด่นอย่างไร
ตัวเองแล้วก็เพื่อนๆก็งงกันถ้วนหน้า ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยได้ยินเลยค่ะ คิดว่าคงเป็นทรงผมแบบในรูปล่ะมั้งคะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 11:05
สมัยอาจารย์เทาชมพูสาวๆร่วมยุคกับคลื่นถาวรด้วยหรือเปล่าคะ

แว้ก....
เคยรู้สึกแบบนี้สมัยสอนหนังสือได้ไม่นาน   เล่าเกร็ดในอดีตของไทยให้ฟังประกอบการสอน   นศ.ชายคนหนึ่งก็เอ่ยถามขึ้นว่า
" ตอนสงครามโลก  อาจารย์เรียนอยู่ปีไหนครับ"

เอิ่ม.....จำไม่ได้ค่ะ ตอนนั้นยังอยู่ในชาติก่อน...

ตอบคุณปิ่น  ยุคดิฉัน  เขาไม่ดัดผมกันค่ะ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 05 ก.ค. 15, 11:31
^
คนขวาคือซูซาน ดีย์ จากแพททริดจ์ แฟมิลี หรือเปล่าคะ  หน้าคุ้นๆ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 11:41
เรื่องทรงผมสาวอักษรยุค ๒๔๙๐ นำไปแปะไว้ที่กระทู้ ทรงผมคนไทยโบราณ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4374.150) แล้ว  ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 12:09
^
คนขวาคือซูซาน ดีย์ จากแพททริดจ์ แฟมิลี หรือเปล่าคะ  หน้าคุ้นๆ
ใช่ค่ะ   
ในสามวัย ตั้งแต่สาวน้อย สาวมาก จนสาว(เหลือ)น้อย


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 05 ก.ค. 15, 12:40
ผมทรงยาวตรงนี่ยุคสมัยไหนๆก็ไม่ old fashion


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 05 ก.ค. 15, 12:52
เรื่องทรงผมสาวอักษรยุค ๒๔๙๐ นำไปแปะไว้ที่กระทู้ ทรงผมคนไทยโบราณ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4374.150) แล้ว  ;D

ขอบคุณอาจารย์เพ็ญชมพูมากเลยค่ะ  ;D


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 มี.ค. 16, 10:58
            ถึงที่นี่จะมีหางนกยูงอยู่            ไหนจะสู้ชงโคบานลานอักษร
          ถึงริมโขงจะเป็นบ้านเมืองมารดร    ให้อาวรณ์หรือจะเท่าเจ้าพระยา
                                                       ประยอม ซองทอง  ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๘

           ในแดนดินถิ่นงามจามจุรี             ยังมีที่ไม้พรรณอื่นยืนอาศัย
          หางนกยูงงามดอกออกร่มใบ        ดุจสายใยสายสัมพันธ์อันมั่นยืน


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18484;image)

สังขารทั้งปวงย่อมสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา หางนกยูงในจุฬาก็ไม่พ้นสัจธรรมนี้ นับแต่มี ข่าวต้นหางนกยูงล้มฟาดนิสิตวิศวะ จุฬา  (http://www.dailynews.co.th/crime/384749) บาดเจ็บหลายรายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (วันพุธที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๙)  หางนกยูงพิการหลายต้นก็ต้องล้มลงเพื่อความปลอดภัยของบุคลากรในจุฬา

ต้นนี้อยู่ข้างตึกคณะวิทยาศาสตร์



กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 มี.ค. 16, 19:28
 :(


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 19 มี.ค. 16, 11:00
กระทู้นี้เป็นหนังสือไปแล้วนะครับ
ศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ บุญเกิด ท่านเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ไปเมือปลายสัปดาห์ที่แล้ว เนื้อหาสาระ วิชาการแน่นเพียบ

ผู้สนใจอาจซื้อหาได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬา


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 มี.ค. 16, 18:12
วันนี้จุฬาครบ 99 ปี สู่ปีที่ร้อย มีงานใหญ่ที่สนามหน้าหอประชุม
พรรณไม้เก่าดั้งเดิมถ้าอยู่มา 99 ปีคงจะใหญ่น่าดู (ถ้าผู้บริหารยุคก่อนใส่ใจเรื่องต้นไม้)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 26 มี.ค. 16, 18:57
ภาพสดจากไลน์ของเพื่อน ตรงนี้หน้า-เยื้องตึกถาปัตย์


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 เม.ย. 16, 10:28
กระทู้นี้เป็นหนังสือไปแล้วนะครับ
ศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ บุญเกิด ท่านเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ไปเมือปลายสัปดาห์ที่แล้ว เนื้อหาสาระ วิชาการแน่นเพียบ


หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงต้นไม้หลายหลากชนิด แต่ที่น่าสนใจสำหรับชาวจุฬาฯ เห็นจะเป็น "ต้นจามจุรี"

พื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเวลานั้น เดิมเป็นเรือกสวนไร่นาอันกว้างใหญ่ของทุ่งพญาไท และเป็นที่ดินของพระคลังข้างที่ โดยทิศเหนือจรดถนนสระปทุม (ถนนพระราม ๑ในปัจจุบัน) ทิศใต้จรดถนนหัวลำโพง (ถนนพระราม ๔ ปัจจุบัน) ทิศตะวันออกจรดคลองอรชร มีถนนสนามม้าคู่ขนานไปกับคลอง(ถนนอังรีดูนังต์) ทิศตะวันตกจรดคลองอรชร(ถมแล้วสร้างเป็นถนนบรรทัดทอง) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ตัดถนนพญาไทผ่านพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเชื่อมถนนสระปทุมและถนนหัวลำโพงเข้าด้วยกันในปีพ.ศ. ๒๔๕๒ ทรงมีรับสั่งให้ปลูกต้นจามจุรี เป็นไม้ตลอดสองข้างทางของถนนพญาไท

ต่อมาทรงโปรดให้ตัดถนนเชื่อมระหว่างถนนพญาไทกับถนนสนามม้า จึงเกิดเป็น ถนนสายแรกในจุฬาฯ คือถนนเส้นที่ตัดจากถนนพญาไท ผ่านตึกขาว (ตึกชีววิทยา ๑ ในปัจจุบัน), ตึกจักรพงษ์, ตึก ๑ และตึก ๒ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และตึกบัญชาการ(ตึกอักษรศาสตร์) ไปออกสนามม้า(ถนนอังรีดูนังต์) ทรงรับสั่งให้ปลูกต้นจามจุรีบริเวณสองข้างทางของถนนสายนี้ ปรากฎในแผนที่จุฬาฯ ซึ่งจัดทำในปีพ.ศ. ๒๔๖๘ และภาพถ่ายทางอากาศพ.ศ. ๒๔๘๖


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 เม.ย. 16, 10:35
จามจุรีที่ปลูกในช่วงต้น ๆ ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยนี้ น่าจะเป็นที่มาของ "ป่าจามจุรี" ที่นิสิตจุฬาฯ รุ่นแรก ๆ เรียกขานกัน

"ป่าจามจุรี" สมัยนั้นร่มครึ้มและแน่นขนัดไปด้วยต้นไม้ ดังบทบรรยายท่อนหนึ่งที่ว่า

“ครั้งหนึ่งทางคณะอักษรศาสตร์ได้จัดให้มีงานชุมนุมต้อนรับนิสิตใหม่ภายในโรงอาหารไม้หลังเก่าของ สจม.(สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ซึ่งในช่วงที่ดิฉันยังเรียนอยู่นั้น ยังไม่ได้รื้อ ภายหลังได้รื้อไปตั้งแต่เมื่อโค่นป่าจามจุรีเพื่อสร้างหอประชุมจุฬาฯ เมื่อพูดถึงครั้งเริ่มโค่นจามจุรีสร้างหอประชุมมหาวิทยาลัยครั้งกระโน้น ก็ใคร่ขอกล่าวย้อนไปให้เห็นสภาพของจุฬาฯ และถ้าจะให้แคบลงมาอีกสักหน่อยก็คือ อาณาบริเวณตึกอักษรศาสตร์ที่ดิฉันเริ่มเข้าไปศึกษาขณะนั้น มีแต่เสียงจักจั่นและจิ้งหรีดเรไรร้องระงม เพราะบริเวณนั้นยังเป็นป่ารกชัฏ มีลำธารน้ำไหลเซาะไปตามป่า ให้ความร่มเย็นและสงบสงัดแก่พวกเราชาวอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง”

จากบทความเรื่อง ‘อักษรศาสตร์ชาติจุฬา’ ในหนังสือมหาวิทยาลัย เขียนโดย ศาสตราจารย์พิเศษเรืองอุไร กุศลาสัย เมื่อครั้งเข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๘๐


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 เม.ย. 16, 10:41
ประมาณปีพ.ศ. ๒๕๐๐ จำนวนต้นจามจุรีลดลงอย่างมาก บางส่วนล้มตายตามอายุขัย ถูกโรค-แมลงรบกวน ถูกโค่นเพื่อนำพื้นที่ไปใช้ก่อสร้างอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของมหาวิทยาลัย

ช่วงปลายพ.ศ. ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปรารภว่า

“จามจุรีมีความผูกพันกับคนแถวนี้มาก หากจุฬาฯ ไม่ปลูก จะเสด็จมาปลูกเอง”

เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาฯ พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน ๕ ต้น พระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง ณ บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอลทางด้านขวา จำนวน ๓ ต้น ด้านซ้ายจำนวน ๒ ต้น และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งในตอนท้ายไว้ว่า

“ฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล”


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 เม.ย. 16, 10:50
ต่อมาเนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี จุฬาฯ จึงตกแต่งบริเวณที่ปลูกจามจุรีพระราชทานทั้ง ๕ ต้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงเปิด "ลานจามจุรี" เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ นับถึงวันนี้ต้นจามจุรีพระราชทานทั้ง ๕ ต้น มีอายุครบ ๕๔ ปีแล้ว

จากบทความเรื่อง จามจุรี หนึ่งไม้ใหญ่คู่เมือง อันมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปิดตัวหนังสือ 'พรรณไม้ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'  (http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/693995)


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 11 เม.ย. 16, 15:17
วันที่เสด็จเปิดลานนั้น ผมอยู่เฝ้ารับเสด็จอยู่ด้วยครับ


กระทู้: พรรณไม้จุฬาฯ ในอดีต
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 เม.ย. 16, 16:22
แด่ชาวจุฬาฯ

จามจุรีสืบต่อก่อความหมาย
คือมหา'ลัยเด่นดีศรีสยาม
คือจุฬาสถาบันอันเด่นงาม
คือนิยามชาวจุฬาสง่าจริง