เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: นายนุ่น ที่ 13 พ.ค. 01, 05:10



กระทู้: ควรใช้ "ฅ ฅน" เขียนคำว่า " ฅน" ดีไหม ?
เริ่มกระทู้โดย: นายนุ่น ที่ 13 พ.ค. 01, 05:10
ปราชญ์โบราณเขากำหนดตัวอักษให้ใช้แยกกันชัดเจนดีแล้ว  มี ฅ - ฅน  มี ค - ควาย ใช้แยกกันชัดเจน   ฅนสมัยก่อนจึงมีคุณธรรม  และเป็นฅนโดยธรรมชาติ  พอให้ยกเลิกใช้ ฅ-ฅน  มาใช้ ค-ควาย  เขียนคำว่า คน  มันก็เลยอาเพท  กลับไปใฃ้อย่างเดิมน่าจะดีนะ


กระทู้: ควรใช้ "ฅ ฅน" เขียนคำว่า " ฅน" ดีไหม ?
เริ่มกระทู้โดย: เบิ้ม ที่ 12 พ.ค. 01, 06:00
ที่ pantip.com ห้องไกลบ้าน (มองอดีต)
มีคุยเรื่อง ฅ ฃ ไว้ครับ คุณแมงมุมเพื่อนรัก อธิบายไว้ยาวเหมือนกัน ทราบว่า ฅ ใช้กับ
คอ คือส่วนต่อระหว่างตัวกับหัวครับ เขียนว่า
ฅอ แต่ใช้อยู่คำเดียวเลยโดย ค กลืนซะ


กระทู้: ควรใช้ "ฅ ฅน" เขียนคำว่า " ฅน" ดีไหม ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ค. 01, 17:10
นักนิรุกติศาสตร์สันนิษฐานว่า คำหลายคำที่เราออกเสียงเดียวกันในตอนนี้ อย่าง ค คน และคอ ควาย(ขออภัย หาค คน บนแป้นคีย์บอร์ดไม่พบ)    ช ฌ  หรือ  ส ษ ศ
เดิมออกเสียงคนละอย่าง    จึงมีการแยกให้รู้กันไว้ว่าเป็นคนละคำ คนละเสียง
เมื่อสอบเทียบกับภาษาถิ่น หรือที่มาของคำนั้นๆก็จะพบความแตกต่าง
ในประเทศไทย โดยเฉพาะในเมืองหลวงซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีผู้คนมารวมกันจากหลายชาติหลายถิ่น   นานๆเข้า  เสียงที่แตกต่างถูกกลืนหายไป  ออกเป็นเสียงเดียวกันก็ได้
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นการผสมปนเปของชาติพันธุ์ข้ามถิ่น   แนวโน้มความนิยม  ความยากง่ายในการออกเสียงฯลฯ
การสะกดที่แตกต่างกันเป็นตัวอย่างให้สอบเทียบย้อนกลับไปได้ถึงที่มา และความสัมพันธ์ของภาษาค่ะ