เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: inteera ที่ 26 พ.ย. 12, 00:14



กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: inteera ที่ 26 พ.ย. 12, 00:14
อันนี้โควทมาจาก wiki "เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง
โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง
ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป
[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรม
การสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1"

ที่ผมสงสัยคือวันก่อนผมได้ไปคุยกับครูภาษาไทยท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าจริง ๆ แล้วเป็นเพียงประเพณีในราชสำนักรัตนโกสินทร์
ประมาณว่าลอยเล่นในวัง แล้วพวกขุนนางค่อยทำตามอยู่นอกวัง แล้วพอขุนนางนำประเพณีนี้มาเล่นปั๊บ ประเพณีลอยกระทงก็ค่อย ๆ
มีคนทำตามมากขึ้น ๆ ๆ และบูมสุด ๆ ตอนสุนทราภรณ์แต่งเพลงรำวงวันลอยกระทง

จริงเท็จประการใดครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: inteera ที่ 26 พ.ย. 12, 00:16
ลบนะครับ พิมพ์ซ้ำ  :-[


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: inteera ที่ 26 พ.ย. 12, 00:16
กดรัวไปหน่อยครับ ลบ  :-X


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ย. 12, 04:46
รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องลอยกระทงและการท่องเที่ยว ในวารสารเมืองโบราณ ปี ๒๕๔๗ ฉบับที่ ๓๐.๔

ลอยกระทง: จากประเพณีหลวงสู่ประเพณีราษฎร์ แล้วพินาศด้วยการท่องเที่ยว (http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=31)

พระราชพิธีลอยกระทงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ นับเป็นประเพณีที่โอ่อ่าและโดดเด่นทางสังคม มีตำนานอ้างการเกิดมาจากการริเริ่มของนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ อันเป็นพระสนมองค์หนึ่งของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย ครั้งกรุงสุโขทัย

ครั้งรัชกาลที่ ๓ พระมหากษัตริย์เสด็จออกประทับ ณ พระที่นั่งริมน้ำหน้าพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งเจ้านาย ขุนนางฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ทอดพระเนตรการประกวดลอยกระทงที่บรรดาเจ้านาย ขุนนาง และข้าราชการตกแต่งเป็นรูปต่างๆ และมีกลไกแสดงเรื่องราวต่าง ๆ แข่งกันลอยประกวด ทำให้เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่และโอ่อ่า

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าสิ้นเปลือง จึงให้เลิกรูปแบบนั้นเสีย แต่ทรงสร้างรูปแบบใหม่ขึ้นมาแทน คือโปรดฯ ให้สร้างเป็นเรือลอยพระประทีปขึ้นมาแทน เป็นเรือเล็กๆ จำลองจากขบวนเรือพระที่นั่ง เพื่อจุดประทีปลอยตามลำน้ำในวันลอยกระทงแทน เพราะหลังวันงานแล้วยังเก็บไว้ใช้ลอยในปีต่อ ๆ ไปได้

แต่รูปแบบที่เกิดใหม่นี้ดูไม่เป็นที่นิยม จึงทำให้เลือนหายไป

ครั้งรัชกาลที่ ๕ ก็มีการฟื้นฟูการทำกระทงขึ้นมาใหม่ แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นครั้งรัชกาลที่ ๓

เข้าใจว่าประเพณีนี้เพียงคลายจากการเป็นพระราชพิธีในราชสำนักมาเป็นพิธีราษฎร์โดยทั่วไปแทน จึงได้มีการสืบเนื่องเรื่อยมา แล้วมาฟื้นฟูกันอีกแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นต้นมา

จนในปัจจุบันนี้ ประเพณีลอยกระทงดูเหมือนได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาให้เกิดมีหลากหลายรูปแบบและความหมายอย่างสุด ๆ จนเรียกได้อย่างเต็มปากว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวโดยการชี้แนะและสนับสนุนของ ททท. ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐเลยทีเดียว

สังคมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่พระนครศรีอยุธยามาจนถึงกรุงเทพฯ คือสังคมที่พัฒนาขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำลำคลองของดินดอนสามเหลี่ยมใหม่ (young delta) ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ ลงมา โดยมีอยุธยาและกรุงเทพฯ เป็นราชธานี การดำรงชีวิตของคนส่วนใหญ่ขึ้นกับน้ำในแม่น้ำลำคลองที่มีอิทธิพลทั้งในด้านการคมนาคม การอยู่อาศัย และการทำมาหากิน ทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องน้ำและแสดงออกด้วยการมีประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำในรอบปีอย่างโดดเด่น

เกิดพระราชพิธีสนามทางน้ำขึ้นในท้องน้ำที่มีการกำหนดขอบเขตไว้อย่างชัดเจน คือพระราชพิธีเสี่ยงน้ำในเดือนสิบเอ็ด พระราชพิธีส่งน้ำในเดือนสิบสอง และพระราชพิธีไล่น้ำในเดือนอ้าย หรือเดือนหนึ่ง

พระราชพิธีในเดือนสิบเอ็ด เป็นการแข่งเรือระหว่างพระมหากษัตริย์และพระมเหสี เป็นการเสี่ยงทาย ถ้าหากว่าเรือพระมหากษัตริย์ชนะ ปีนั้นการเพาะปลูกไม่ได้ผลดี แต่ถ้าเรือพระมเหสีชนะ ก็จะมีความอุดมสมบูรณ์

พระราชพิธีเดือนสิบสอง พระมหากษัตริย์เสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไปส่งน้ำเพื่อให้น้ำลดลง

ในขณะที่พระราชพิธีเดือนอ้ายเป็นการเสด็จไปทำพิธีไล่น้ำ เพื่อให้ลดลงไปก่อนที่จะท่วมต้นข้าวให้ตาย

พระราชพิธีเดือนสิบสอง คือพิธีส่งน้ำนั้นแหละคือต้นเค้าของการลอยกระทง เพราะน้ำจะขึ้นเต็มที่ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง อันเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง นับเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพียงครั้งหนึ่งในรอบปี ทำให้คนโบราณนำไปเกี่ยวพันกับการเป็นเวลาศักดิ์สิทธิ์

ในเดือนนี้ นอกจากมีพิธีส่งน้ำแล้ว ก็ยังมีพระราชพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม อันเป็นพิธีพราหมณ์รวมอยู่ด้วย

ดังนั้น ถ้ามองจากรูปแบบที่เป็นพิธีส่งน้ำและจองเปรียงแล้ว ก็แลไม่เห็นว่าจะมีพิธีลอยกระทงกันตรงไหน

พระราชพิธีเดือนสิบสองนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับพิธีเดือนสิบเอ็ดและพิธีเดือนอ้ายแล้วมีภาษีกว่า เพราะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งในเรื่องน้ำและเวลากลางคืน อันสว่างไสวไปด้วยพระจันทร์เต็มดวง ที่กระตุ้นความสุขและความยินดี จึงทำให้เป็นประเพณีที่ต่อเนื่องและแพร่หลายได้ดี ประเพณีเดือนสิบเอ็ดและเดือนอ้าย

อีกทั้งเกิดมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน ของรัชกาลที่ ๕ ทรงกล่าวถึงว่ามีหลักฐานการเสด็จลงเรือพระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งเข้าใจว่าคือสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ทรงพระภูษาสีขาวเงิน ประทับเรือพระที่นั่งเสด็จไปตามลำน้ำพร้อมด้วยข้าราชบริพารฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เพื่อไปทำพระราชพิธีส่งน้ำในวันเพ็ญเดือนสิบสอง

พระราชพิธีในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้คงคลายความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ตามคติของศาสนาพราหมณ์ที่มีในสมัยอยุธยาตอนต้นไปมากแล้ว คงให้ความสำคัญกับเรื่องความสนุกรื่นเริงเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงจากการตอบสนองความต้องการในด้านจิตใจมาเป็นกิจกรรมทางสังคม

ครั้นถึงสมัยกรุงเทพฯ ความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ก็ยิ่งน้อยลง แต่หันมาเพิ่มความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมแทน จึงเกิดรูปแบบใหม่ที่เน้นความสนุกสนานทางโลก ในรูปแบบการลอยกระทงที่เป็นศิลปวัฒนธรรมแทน

แต่พอทางราชการในสมัยรัชกาลที่ ๔ เห็นว่าเป็นการฟุ่มเฟือย และโปรดฯ ให้เรือประทีปมาลอยแทน ก็เลยเซ็งเลิกร้างกันไป ทำให้พิธีหลวงเปลี่ยนมาเป็นพิธีราษฎร์ คือผู้คนที่เป็นประชาชนไปเล่นลอยกระทงกันเองตามที่ต่าง ๆ

เทศกาลลอยกระทงในประเพณีราษฎร์อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่ก็ยึดปรากฏการณ์ธรรมชาติในช่วงเวลาที่น้ำขึ้นถึงขีดสุดในวันเพ็ญเดือนสิบสองว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน เพราะเป็นเวลาที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนจะอธิษฐานขอพรสิ่งนอกเหนือธรรมชาติให้พาเอาความทุกข์โศกโรคภัยออกไป แล้วนำสิ่งที่เป็นความสุขและความสวัสดิมงคลมาให้ เป็นกิจกรรมทางสังคมที่เชื่อมความสัมพันธ์ทางสังคมของบรรดาผู้คนที่อยู่ในหมู่เหล่าชุมชนในท้องถิ่นเดียวกัน

ข้าพเจ้าคิดว่าผู้ที่ทำให้ประเพณีหลวงคลายความสำคัญลงก็คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะทรงเห็นว่าพระราชพิธีในสมัยรัชกาลที่ ๓ นั้นสิ้นเปลือง เลยทรงคิดรูปแบบพระราชพิธีแบบประหยัดขึ้นมา จึงไม่ทรงตระหนักว่าการลอยกระทงครั้งรัชกาลที่ ๓ นั้นได้กลายเป็นประเพณีที่ยอมรับกันในสังคมแล้ว อีกทั้งทำให้เกิดการทำกระทงลอยกัน ในบรรดาราษฎรตามท้องถิ่นในลุ่มน้ำลำคลองโดยทั่วไป

ประเพณีลอยกระทงครั้งรัชกาลที่ ๓ หาได้มีความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ในการส่งน้ำอย่างที่มีมาในสมัยอยุธยาไม่ หากเป็นงานนักขัตฤกษ์ที่เน้นความรุ่งเรืองสุขสำราญของผู้คนทั้งหลายในสังคมโดยตรง ดังมีคำกลอนของนางนพมาศจากตำนานที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ว่า

เป็นบุญตัวที่ได้ตามเสด็จประพาส
นักขัตฤกษ์ประชาราษฎร์สโมสร
สว่างไสวไปทั่วทั้งนคร
ทิฆัมพรแจ่มแจ้งแสงจันทร์เอย

ครั้งรัชกาลที่ ๔ ประเพณีหลวงหมดไป เพราะไม่เข้าใจความหมายทางสังคม พอรัชกาลที่ ๕ ฟื้นฟูใหม่ก็ไม่ขึ้น แต่ประเพณีราษฎร์เฟื่องฟูและแพร่หลายตามท้องถิ่นต่างฯ จรรโลงทั้งความมั่นคง ทางจิตใจของปัจเจกบุคคล และความสัมพันธ์ของสังคมของผู้คนในท้องถิ่น

เมื่อยังเป็นเด็ก ข้าพเจ้าได้รับการสั่งสอนจากผู้ใหญ่ว่า การลอยกระทงนั้นคือการขอขมาพระแม่คงคาผู้มีพระคุณ ขอขมาจากการขับถ่ายสิ่งสกปรกลงในน้ำ ขอสะเดาะเคราะห์ให้สิ่งเลวร้ายทั้งหลายลอยพ้นตัวไป แล้วในเวลากลางดึก ตอนน้ำขึ้นสูงสุดและทรงตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่งก่อนที่จะลดลงนั้น ก็ให้สวดมนต์ขอพรและตักน้ำนั้นมาล้างหน้าหรือชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ (purification rite)

ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล จะเชื่อจะทำหรือไม่ก็ตามที แต่ลอยกระทงของชาวบ้านนั้นมีความหมายทางสังคมมาก เพราะเป็นเวลาแห่งการรอคอยที่จะได้พบปะผู้คนที่รู้จักและไม่รู้จัก เพื่อสร้างความสัมพันธ์เก่าและใหม่ ทุกคนอยากแต่งตัวสวยงาม ทุกคนอยากไปดูการมหรสพ และมีส่วนรวมในการทำพิธีกรรม โดยเฉพาะหนุ่มสาวนั้นก็พอใจไปกับการเกี้ยวพาราสี อธิษฐานเสี่ยงทายในเรื่องของความรักและอนาคต

รัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีอันเป็นสมัยเชื้อชาตินิยมนั้น ก็มีการฟื้นฟูประเพณีลอยกระทงให้เป็นประเพณีของชาติ มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตมาอธิบายความหมายความสำคัญของประเพณีลอยกระทงต่าง ๆ นานา แต่ที่ผู้คนในสังคมขานรับ ก็แต่เพียงเรื่องเพลงรำวงวันลอยกระทงเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังร้องและรำกันอยู่

ความรุ่งเรืองของประเพณีลอยกระทงอันกลายมาเป็นประเพณีราษฎร์นั้น เริ่มมีอันเปลี่ยนไปจนกลายเป็นประเพณีในการจัดการของรัฐอีกวาระหนึ่งตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา ครั้งนั้นมีการจัดตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวขึ้นวางแผนเศรษฐกิจของชาติเพื่อให้มีรายได้จากการท่องเที่ยว ลอยกระทงจึงกลายเป็นงานแสดงแบบนำเอาวัฒนธรรมของผู้คนในสังคมมาขายให้กับนักท่องเที่ยวที่มาจากภายนอก

และในขณะเดียวกันก็เป็นงานรื่นเริงแก่ผู้คนภายในที่ไม่มีหัวนอนปลายตีน มาปลดปล่อยและระบายสิ่งสารพัดของความหยาบคายอันเป็นอาจมของมนุษย์ชาติ

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ย. 12, 04:55
แนวคิดเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงและนางนพมาศของสุจิตต์ วงษ์เทศ อ่านได้จากบทความเรื่อง  “ลอยกระทงขอขมาธรรมชาติ”  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

ลอยกระทงขอขมาธรรมชาติ

ลอยกระทง เป็นพิธีกรรมร่วมกันของผู้คนในชุมชนทั้งสุวรรณภูมิ หรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ เพื่อขอขมาต่อธรรมชาติ อันมีดินและน้ำที่หล่อเลี้ยง ตลอดจนพืชและสัตว์ที่เกื้อกูลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ มนุษย์จึงมีชีวิตเจริญเติบโตขึ้นได้ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าลอยกระทงเริ่มมีมาแต่เมื่อไร แต่พิธีกรรมเกี่ยวกับ “ผี” ผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ มีอยู่กับผู้คนในชุมชนสุวรรณภูมิไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนรับศาสนาพุทธ-พราหมณ์จากอินเดีย

ผีสำคัญยุคแรก ๆ คือ ผีน้ำ และ ผีดิน ซึ่งต่อมาเรียกชื่อด้วยคำยกย่องว่า “แม่พระคงคา” กับ “แม่พระธรณี” มีคำพื้นเมืองนำหน้าว่า “แม่” ที่หมายถึงผู้เป็นใหญ่

ผู้คนในสุวรรณภูมิรู้ว่าที่มีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะ น้ำ และ ดิน เป็นสำคัญ และ น้ำ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นบ่อเกิดของสิ่งมีชีวิต ดังนั้น เมื่อคนเรามีชีวิตอยู่รอดได้ปีหนึ่ง จึงทำพิธีขอขมาที่ได้ล่วงล้ำก้ำเกินโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น เหยียบย่ำ ถ่ายของเสีย หรือทำสิ่งอื่นใดที่ไม่เหมาะสมเสียครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ทำพิธีบูชาพระคุณไปพร้อมกัน ด้วยการใช้วัสดุที่ลอยน้ำได้ใส่เครื่องเซ่นไหว้ให้ลอยไปกับน้ำ อาทิ ต้นกล้วย กระบอกไม้ไผ่ กะลามะพร้าว ฯลฯ และช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คนเราเรียนรู้จากประสบการณ์ธรรมชาติ คือ สิ้นปีนักษัตรเก่า ขึ้นปีนักษัตรใหม่ ตามจันทรคติที่มีดวงจันทร์เป็นศูนย์กลาง เพราะเป็นสิ่งที่มีอำนาจทำให้เกิดน้ำขึ้น น้ำลง ซึ่งวันสิ้นปีนักษัตรเก่า ก็คือ วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ เพราะเป็นช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุด และเมื่อพ้นไปจากนี้ก็เริ่มขึ้น ปีนักษัตรใหม่ เรียกเดือนอ้าย แปลว่าเดือนหนึ่ง ตามคำโบราณนับหนึ่ง สอง สาม ฯลฯ ว่า อ้าย ยี่ สาม เป็นต้น และเมื่อเทียบช่วงเวลากับปฏิทินตามสุริยคติที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางก็จะตกราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี

ช่วงเวลาต่อเนื่องกันนี้เองที่ทำให้ชุมชนโบราณมีพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำหลายอย่าง เพื่อวิงวอนขอ “แม่” ของน้ำอย่าให้นองหลากมากล้น จนท่วมข้าวที่กำลังออกรวงเต็มที่ มิฉะนั้นข้าวจะจมน้ำตายหมด อดกินไปทั้งปี ดังมีกลอนเพลงเก่า ๆ ว่า “เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง เดือนอ้ายเดือนยี่ น้ำก็รี่ไหลลง” ทำให้มีประเพณีแข่งเรือเสี่ยงทาย และการร้องขอ ขับไล่น้ำให้ลงเร็ว ๆ อย่าให้ท่วมข้าว

และหลังจากรับศาสนาพุทธ-พราหมณ์จากอินเดียเมื่อราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ราชสำนักโบราณในสุวรรณภูมิก็ได้ปรับพิธีกรรม “ผี” เพื่อขอขมาน้ำและดินให้เข้ากับศาสนาที่รับเข้ามาใหม่ ทำให้ความหมายเดิมเปลี่ยนไป กลายเป็นการลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าและเทวดา ซึ่งในส่วนนี้มีพยานหลักฐานเก่าสุด คือ รูปสลักพิธีกรรมทางน้ำคล้ายลอยกระทงที่ปราสาทหินบายนในนครธม ทำขึ้นราวหลัง พ.ศ. ๑๗๐๐ แต่สำหรับชุมชนชาวบ้านทั่วไปก็ยังเข้าใจเหมือนเดิม คือ ขอขมาแม่พระคงคาและแม่พระธรณี ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารของลาลูแบร์ชาวฝรั่งเศส ที่บันทึกพิธีชาวบ้านในกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเอาไว้หลายตอน เช่น “ประชาชนพลเมืองจะแสดงความขอบคุณแม่คงคาด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ) อยู่หลายคืน...เราจะได้เห็นทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ......” เป็นต้น

สำหรับราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ที่อยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำ และมีน้ำท่วมนานหลายเดือนก็เป็นศูนย์กลางสำคัญที่จะสร้างสรรค์ประเพณีเกี่ยวกับน้ำขึ้นมาให้เป็น “ประเพณีหลวง” ของราชอาณาจักร ดังมีหลักฐานการตราเป็นกฎมนเทียรบาล ว่าพระเจ้าแผ่นดินต้องเสด็จฯ ไปประกอบพิธีกรรมทางน้ำ เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งทางกสิกรรมของราษฎร และยังมีกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคเพื่อประกอบพระราชพิธีโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีเอกสารบันทึกอย่างเป็นทางการอยู่ในตำราพระราชพิธีกับวรรณคดีโบราณ เช่น โคลงทวาทศมาสที่มีการกล่าวถึงประเพณี “ไล่ชล” หรือไล่น้ำเพื่อวิงวอนให้น้ำลดเร็ว ๆ เป็นต้น ซึ่งประเพณีหลวงอย่างนี้ ไม่มีหลักฐานใด ๆ ปรากฏว่ามีอยู่ในเมืองที่อยู่เหนือกรุงศรีอยุธยาขึ้นไป เช่น สุโขทัย ที่ตั้งอยู่บนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง จึงไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ส่วนตระพังหรือสระน้ำในสุโขทัยก็มีไว้เพื่อกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการบริโภคอุปโภคของวัดและวังที่อยู่ในเมือง และมิได้มีไว้เพื่อกิจกรรมสาธารณะอย่างเช่น ลอยกระทง ฯลฯ

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงที่บ้านเมืองมั่นคง การศึกสงครามลดลงเกือบหมด การค้าก็มั่งคั่งขึ้น โดยเฉพาะกับจีน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ฟื้นฟูประเพณีพิธีกรรมสำคัญเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร และด้วยความจำเป็นในด้านอื่น ๆ อีก จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ ขึ้นมา โดยสมมุติให้ฉากของเรื่องเกิดขึ้นในยุคพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ซึ่งตำราดังกล่าวได้พูดถึงนางนพมาศว่าเป็นพระสนมเอกของพระร่วง ที่ได้คิดประดิษฐ์กระทงใบตองเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้ง สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน”

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดกระทง ทำด้วยใบตองแทนวัสดุ อื่น ๆ แล้วนิยมใช้ลอยกระทงมาแต่คราวนั้นตราบจนทุกวันนี้ ซึ่งตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศนี้ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากสำนวนโวหารมีลักษณะร่วมกับวรรณ กรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีเพราะมีข้อความหลายตอนที่แสดงให้เห็นว่าแต่งสมัยกรุงสุโขทัยไม่ได้ เช่น การอ้างถึงอเมริกัน ปืนใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น นางนพมาศ จึงเป็นเพียง “นางในวรรณคดี” มิได้มีตัวตนอยู่จริง

นอกจากนี้ ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารร่วมสมัย ก็ไม่มีปรากฏชื่อ “ลอยกระทง” แม้แต่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็มีแต่ชื่อ “เผาเทียน เล่นไฟ” ที่มีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่า การทำบุญไหว้พระ โดยไม่มีคำว่า “ลอยกระทง” อยู่ในศิลาจารึกนี้เลย ส่วนเอกสารและวรรณคดีสมัย กรุงศรีอยุธยาสมัยแรก ๆ ก็มีแต่ชื่อ ชักโคม ลอยโคม แขวนโคม และลดชุดลอยโคมลงน้ำ ในพิธีพราหมณ์ของราชสำนักเท่านั้น และแม้แต่ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่มีชื่อนี้ จนถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีปรากฏชัดเจนในพระราชพงศาวดารแผ่นดิน รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และเรื่องนางนพมาศ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๓ ซึ่งก็หมายความว่า คำว่า “ลอยกระทง” เพิ่งปรากฏในต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าประเพณีลอยกระทงจะเกิดขึ้น และมีพัฒนาการมาอย่างไรก็ตาม แต่ความหมายที่มีคุณค่ามหาศาลต่อสังคมปัจจุบันอันควรเผยแพร่ให้เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางก็คือ ลอยกระทงแม่พระคงคา ขอขมาธรรมชาติ อันมีดินและน้ำที่หล่อเลี้ยงเกื้อกูลความมีชีวิตให้มวลมนุษย์ตลอดจนพืชและสัตว์ ซึ่งการระลึกถึงพระคุณของธรรมชาตินี้เองจะช่วยให้เราเคารพและไม่ทำร้ายธรรมชาติ จนส่งผลให้ธรรมชาติย้อนกลับมาลงโทษมนุษย์ ดังเช่นที่เห็นในปัจจุบัน

 ;D



กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ย. 12, 05:00
ในค่ำคืนของวันเพ็ญเดือนสิบสอง กิจกรรมที่สำคัญคู่กับการลอยกระทงคงไม่พ้นการประกวดนางนพมาศ  นางนพมาศมีตัวจริงหรือไม่ อ่านได้จากบทความของ วรัฏรยา หุ่นเจริญ จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖

ในสำนึกของคนไทยส่วนใหญ่เวลานี้ นามของนางนพมาศดูเหมือนจะได้กลายเป็น "สัญลักษณ์" ของงานลอยกระทงไปเสียแล้ว เพราะไม่ว่าจะเป็นที่แห่งใด ไฮไลต์ของงานลอยกระทงส่วนใหญ่จะกลายเป็นการประกวดนางนพมาศไปทั้งหมด  จริง ๆ แล้วชื่อ "นางนพมาศ" มาจากวรรณคดีไทยที่ค้นพบในสมัยรัชกาลที่ ๕ ต้นฉบับเป็นสมุดไทย ๙ เล่ม ที่ปัจจุบันสำนักหอสมุดแห่งชาติเก็บรักษาไว้ ซึ่งมีการนำมาพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือที่รู้จักกันดีในชื่อ "นางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์" ที่เชื่อกันว่านางนพมาศ สนมเอกพระร่วงเจ้าในสมัยสุโขทัยเป็นผู้ประพันธ์ขึ้น นางนพมาศเริ่มต้นสาธยายเรื่องตั้งแต่ "ว่าด้วยชาติและภาษาต่าง ๆ" ซึ่งเป็นการจำแนกชาติและภาษาต่าง ๆ ออกไปหลายสิบชาติภาษา จากนั้นก็มาถึง "ว่าด้วยการแบ่งอาณาเขตในชมพูทวีป" อันเป็นการพรรณนาว่าด้วยการแบ่งพระนครและประเทศราช การทำสงครามและการเป็นไมตรีในระหว่างเมืองเอกราชเหล่านั้น จากนี้ไปอีก ๗ ตอน เป็นเรื่องเกี่ยวกับสมเด็จพระร่วงเจ้าและกรุงสุโขทัย พ้นไปจากนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับนางนพมาศโดยตรง

ประวัติของเธอในตอนนี้เริ่มจับความตั้งแต่เกิด เหตุที่เธอได้เป็นสนม ตลอดจนคำสอนที่บิดามารดามอบให้ มีการลองปัญญา มีการชักนิทานอุปมาอุไมย แล้วก็จบลงที่นางเรวดีผู้เป็นมารดานำเธอเข้าถวายตัวเป็นนางสนมในพระบรมมหาราชวัง จบตอนที่ว่าด้วยประวัตินางนพมาศ แล้วก็มาถึงตอนที่ว่าด้วยพระราชพิธีต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่พิธีจองเปรียญ พิธีวิสาขบูชาจนไปถึงพิธีอาศยุช ซึ่งในช่วงที่กล่าวถึงพิธีต่าง ๆ นี้ยังได้แทรกเกียรติประวัติของนางนพมาศเอาไว้เป็นแห่ง ๆ ด้วย โดยเฉพาะที่เธออ้างว่าเธอคิดประดิษฐ์โคมลอยเป็นรูปดอกกระมุทก็จะอยู่ในตอนนี้ แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าเรื่องที่เธออ้างว่าเธอเป็นผู้ประดิษฐ์กระทง ก็คือ บทสรุปของนักวิชาการส่วนใหญ่ในสยามประเทศนี้ ที่มีมติพ้องต้องกันว่า เรื่องของนางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง

ผู้นำขบวนค้านพระองค์แรกคือสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงมีลายพระหัตถ์ชัดเจนจาก Cinnamon Hall ที่ปีนัง เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๔๗๙ ถึงพระยาอนุมานราชธน ว่า "หนังสือเรื่องนางนพมาศซึ่งฉันเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์" ด้วยทรงพบพิรุธจุดใหญ่ ๆ ดังนี้

ช่วงที่นางนพมาศพูดถึงชนชาติต่าง ๆ ก็ออกชื่อฝรั่งมาหลายชาติโดยเฉพาะอเมริกา แล้วฝรั่งมังค่าจะมาสุโขทัยตั้งแต่เมื่อ ๗๐๐ ปีก่อนได้อย่างไร ด้วยในเวลานั้นในยุโรปยังคงอยู่ในยุคมืดและเชื่อว่าโลกแบน กว่าวาสโก ดา กามา จะอ้อมแหลมกู๊ดโฮปได้เวลาก็ล่วงเลยมาจน พ.ศ. ๒๐๔๑  ที่สำคัญที่สุดคือ นางนพมาศเอ่ยชื่อฝรั่งชาติอเมริกา ประเทศที่เพิ่งสถาปนามาเมื่อประมาณ ๒๐๐ ปี  แม้แต่คำว่า "อเมริกัน" เองก็เพิ่งเกิดขึ้นในครั้งกรุงเก่าเป็นราชธานี

เรื่องที่พูดกันมาตลอดคือสภาพภูมิศาสตร์ของรัฐสุโขทัยซึ่งตั้งอยู่บนที่ลาดราบเชิงเขา มีระยะห่างจากแม่น้ำยมซึ่งอยู่ด้านตะวันออกไปไม่น้อยกว่า ๑๐ กิโลเมตร จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เมืองสุโขทัยขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและน้ำหลากมากไปในฤดูฝน วิธีแก้ไขเรื่องน้ำหลากน้ำแล้ง คือสร้างสิ่งที่เรียกว่า "สรีดภงส" หรือทำนบกั้นน้ำหลากจากภูเขา และ "ตระพัง" เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้เมื่อยามขาดแคลน  ดังนั้น ตระพังหรือสระน้ำทั้งหลายที่มีอยู่หลายแห่งในเมืองสุโขทัยจึงไม่ได้มีไว้ให้พายเรือเล่นสนุก หรือเพื่อลอยกระทงแต่อย่างใด เข้าใจกันเสียที ประเพณีลอยกระทงจึงหามีในรัฐสุโขทัยไม่ เนื่องจากพิธีลอยกระทงมีพัฒนาการมาจากการบูชาแม่น้ำของรัฐในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับ "น้ำ" นอกจากพิธีลอยกระทงแล้วยังมีอีกมาก และกลายเป็นประเพณีที่สำคัญมากๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

หากใครเชื่อมั่นว่าศิลาจารึกของพ่อขุนรามสร้างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์แล้วลองอ่าน "จารึกพ่อขุนรามคำแหง : วรรณคดีประวัติศาสตร์การเมืองแห่งกรุงสยาม" รศ.ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ได้เปรียบเทียบสำนวนและสาระในศิลาจารึกหลัก ๑ กับตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ไว้อย่างบรรทัดต่อบรรทัด และสรุปไว้ชัดเจนว่า ผู้แต่งเรื่องนางนพมาศอาจจะเป็นคนเดียวกับผู้แต่งพ่อขุนรามคำแหง เนื่องจากผู้แต่งมีความประทับใจในเมืองสุโขทัยและต้องการสร้างโลกทัศน์ใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เห็นได้ชัดว่า เรื่องนางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ "มีพิรุธ" พอ ๆ กับจารึกพ่อขุนรามคำแหง แต่ต่างกันตรงที่เรื่องนางนพมาศมีบทสรุปแล้วว่าแต่งขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๙ ทำไมคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติยังหลับหูหลับตาเผยแพร่เรื่องนางนพมาศ ผู้เป็นต้นคิดประดิษฐ์กระทงว่า นางมีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์สุโขทัยมาจนบัดนี้

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: inteera ที่ 26 พ.ย. 12, 09:31
ขอบคุณอาจารย์เพ็ญชมพูครับ ละเอียดมากิ ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 26 พ.ย. 12, 10:05
          บางส่วนจากบทความล่าสุดของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ
(บรรณาธิการหนังสือ ไม่มีนางนพมาศ ไม่มีลอยกระทงสมัยสุโขทัย)

                  ลอยกระทง คลองสวย น้ำใส

มติชนรายวัน 22 พฤศจิกายน 2555

                http://www.sujitwongthes.com/2012/11/siam22112555/

            นางนพมาศ เป็นวรรณกรรมคล้ายนิยายแต่งสมัย ร.3 กรุงรัตนโกสินทร์ ที่สมมุติฉากกรุงสุโขทัย
โดยไม่เคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ          
            ลอยกระทง เป็นประเพณีขอขมาด้วยสำนึกในพระคุณดินน้ำธรรมชาติซึ่งชุบเลี้ยงมนุษย์ ที่มีสืบมา
ยาวนานมาก ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้วของอุษาคเนย์สืบจนปัจจุบัน
            โดยใช้วัสดุลอยน้ำได้ เช่น กระบอกไผ่, ต้นกล้วย, ฯลฯ ประดับประดาขอขมาผีดินผีน้ำที่เลี้ยงดูผู้คน
มาตลอดทั้งปี

            ครั้นถึง ร.3 ปรับเปลี่ยนวัสดุเหล่านั้นเป็นกระทงใบตองประดิดประดอยเป็นพิเศษ ดังมีบอกไว้ใน
พระราชพงศาวดาร แล้วนับแต่นั้นมานิยมเรียกลอยกระทง
  
            เหตุที่ลอยกระทงขอขมาดินน้ำธรรมชาติ ต้องอยู่ตอนกลางเดือน 12 ของทุกปี เพราะเป็นช่วงเวลา
สิ้นฤดูกาลเก่า (ส่งท้ายปีเก่า?) ตามจันทรคติ (ยกย่องพระจันทร์) แล้วกำลังจะขึ้นฤดูกาลใหม่(ขึ้นปีใหม่?)
ในเดือนอ้าย หรือเดือนที่หนึ่ง

            เมืองสุโขทัยของพระร่วง ตั้งอยู่บนที่ดอนเชิงเขาหลวง มีทางน้ำธรรมชาติไหลผ่านตัวเมืองเรียกคูแม่ลำพัน
ลงแม่น้ำยม ซึ่งห่างตัวเมืองสุโขทัยไปทางทิศตะวันออกราว 12 กิโลเมตร (ลำพัน น่าจะมาจากคำเขมรว่า ลํพาน่
อ่านว่า ลุม-เปือน หมายถึงว่านชนิดหนึ่ง จำพวกหญ้า ใบแบน ใช้ทำยาได้)

            เมื่อตั้งอยู่บนที่ดอนเชิงเขา เป็นบริเวณแล้งน้ำในฤดูแล้ง จึงต้องจัดการระบบน้ำในเมืองโดยขุดสระน้ำ
เรียกตระพัง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามแล้ง

            สระน้ำ หรือตระพัง กลางเมืองสุโขทัย เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ของวัดและวังในเมือง จึงไม่ใช่ขุดไว้
ลอยกระทง (ตามที่ทางการยกเมฆหลอกคนทั่วไป) ซึ่งไม่เคยมีในยุคสุโขทัย


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ย. 12, 10:14
           นางนพมาศ เป็นวรรณกรรมคล้ายนิยายแต่งสมัย ร.3 กรุงรัตนโกสินทร์ ที่สมมุติฉากกรุงสุโขทัย
โดยไม่เคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ

หนังสือเรื่อง "นางนพมาศ" หาอ่านได้ที่ ตู้หนังสือเรือนไทย  (http://www.reurnthai.com/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A8) นี้ นี่เอง

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ย. 12, 08:29
            ครั้นถึง ร.3 ปรับเปลี่ยนวัสดุเหล่านั้นเป็นกระทงใบตองประดิดประดอยเป็นพิเศษ ดังมีบอกไว้ใน
พระราชพงศาวดาร แล้วนับแต่นั้นมานิยมเรียกลอยกระทง

กระทงใหญ่สมัยรัชกาลที่ ๓

จิตรกรรมบนบานประตูพระอุโบสถวัดยานนาวา ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ (ภาพจากหอจดหมายเหตุ)

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 พ.ย. 12, 09:21
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการกล่าวถึงการลอยกระทงครั้งหนึ่ง ซึ่งกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ เป็นเรื่องที่หลังจากเซอร์ เจมส์ บรุคนำเรือกำปั่นมาทอดสมอรอที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อนำหนังสือสัญญาทางการค้ามาเปลี่ยนที่ทำไว้ในสมัยมิสเตอร์หันแตร โดยครั้งนี้สันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้กีดขวางเรือกำปั่นไว้ได้ ซึ่งเมื่อเซอร์ เจมส์ บรุค ได้เดินทางออกจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาไปเรียบร้อยแล้ว

เมื่อเรือตระเวนไทย เห็นเรือรบอังกฤษแล่นเข้ามาเกยตื้น จึงแจ้งราชการต่อพระยาสมุทบุรานุรักษ์ และพระยาสมุทบุรานุรักษ์จึงนำข้อความขึ้นกราบเรียนเจ้าพระยาพระคลัง เจ้าพระยาพระคลังจึงให้ล่ามไปถามเซอร์ เจมส์ บรุค

ล่าม ว่า : “เหตุใดจึงได้พาเรือมาติดเกยแห้งอยู่ดังนี้”

เซอร์ เจมส์ บรุค : เพียงอยากจะแล่นลองกำลังเรือดูว่าจะมีแรงกล้าแล่นข้ามสันดอนได้หรือไม่ได้ เมื่อเรือติดอยู่เช่นนี้ ขอคนมาช่วยขุดทรายเข็นเรือออกแล้ว จะลากลับไปบ้านเมือง

เจ้าพระยาพระคลังจึงมีบัญชาเกณฑ์คน ๑๐๐ คนเศษ ไปขุดทรายและเข็นเรือกำปั่นออกจากสันดอน ขุดทรายตั้งแต่เช้าน้ำขึ้น แต่พอเรือเขยื้อนได้ เรือก็หลุดออกพ้นสันดอน และชักกลับออกจากกรุงสยามเมื่อเวลาเที่ยงวัน

เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์, เจ้าพระยาพระคลัง  และพระยาสุริยวงศ์มนตรี เห็นว่าเซอร์ เจมส์ บรุค คงไม่กลับมาแน่นอน จึงได้พากันกลับไปเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูล มูลเหตุที่เป็นมาแล้ว ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทรงพระราชโสมนัสปราโมทย์ยิ่งนัก พระราชทานดำรัสว่า “เทพยดาที่รักษาโขลนทวารปากน้ำเจ้าพระยา เธอเป็นสัมมาทิฐิป้องกัน มิให้พวกมิจฉาทิฐิเข้ามาในพระนครได้”

จึงโปรดเกล้าฯดำรัสให้เจ้าพระยาพระคลัง ตั้งการสมโภชจ้าวโขลนทวารปากน้ำเจ้าพระยา มีการสวดมนต์เย็น เลี้ยงพระเช้า สามวัน ทั้งจัดหาละคร งิ้ว มอญรำ และเวลากลางคืนมีกระทงดอกไม้สด ลอยลงไปที่ปากน้ำด้วย

จากเรื่อง โขลนทวารปากแม่น้ำเจ้าพระยา (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/04/K9170716/K9170716.html)


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ย. 12, 10:50
และหลังจากรับศาสนาพุทธ-พราหมณ์จากอินเดียเมื่อราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ราชสำนักโบราณในสุวรรณภูมิก็ได้ปรับพิธีกรรม “ผี” เพื่อขอขมาน้ำและดินให้เข้ากับศาสนาที่รับเข้ามาใหม่ ทำให้ความหมายเดิมเปลี่ยนไป กลายเป็นการลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าและเทวดา ซึ่งในส่วนนี้มีพยานหลักฐานเก่าสุด คือ รูปสลักพิธีกรรมทางน้ำคล้ายลอยกระทงที่ปราสาทหินบายนในนครธม ทำขึ้นราวหลัง พ.ศ. ๑๗๐๐

ประเพณีลอยประทีปไหว้พระแข

ภาพสลักที่ปราสาทบายน ราวพ.ศ. ๑๗๕๐

บน   - ภาพสลักลอยประทีป ผนังระเบียงด้านนอกสุดของปราสาทบายน บริเวณมุมผนังด้านทิศใต้มุมตะวันออก ถ่ายภาพโดย วรรณิภา สุเนต์ตา

ลาง  - ลายเส้นลอยประทีป ที่ปราสาทบายน ฝีมือ ธัชชัย ยอดพิชัย

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ย. 12, 11:32
"ข้าน้อยนพไหว้วันทา พระแม่คงคา ที่ใช้น้ำดื่มกิน ใช้น้ำท่า หุงข้าวหาปลา ข้าน้อยขอขมาพระแม่คงคา กราบไหว้บูชาที่มีน้ำไว้ใช้"

ภาพสลักหินนูนต่ำ ปราสาทบายน สร้างขึ้นก่อนกรุงสุโขทัย  มีสลักประจักษ์ไว้บนแผ่นหินในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งตัวปราสาทมีมาก่อนกรุงสุโขทัย เลยอยากทราบว่าเรารับวัฒนธรรมการขอขมาพระแม่คงคาจากเขมร หรือว่า ไทยคิดเองครับ
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3587.0;attach=15409;image)

คำอธิบายของคุณสุจิตต์ข้างบน คงตอบคำถามของคุณหนุ่มได้

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ย. 12, 13:58
แต่สำหรับชุมชนชาวบ้านทั่วไปก็ยังเข้าใจเหมือนเดิม คือ ขอขมาแม่พระคงคาและแม่พระธรณี ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารของลาลูแบร์ชาวฝรั่งเศส ที่บันทึกพิธีชาวบ้านในกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเอาไว้หลายตอน เช่น “ประชาชนพลเมืองจะแสดงความขอบคุณแม่คงคาด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ) อยู่หลายคืน...เราจะได้เห็นทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ......” เป็นต้น

The Siameses also have some Religious Shows. When the Waters begin to retreat, the People returns them Thanks for several Nights together with a great Illumination; not only for that they are retired, but for the Fertility which they render to the Lands. The whole River is then seen cover’d with floating Lanthorns, which pass with it. There are different Sizes, according to the Devotion of every particular Person; the variously painted Paper, whereof they are made, augments the agreeable effect of so many Lights. Moreover, to thank the Earth for the Harvest, they do on the first days of their Year make another magnificent Illumination; and we saw the Walls of the City adorned with lighted Lanthorns at equal distances; but the inside of the Palace was much more pleasant to behold. In the Wall which do make the Inclosures of the Courts, there were contrived three rows of small Niches all round, in every of which burnt a Lamp. The Windows and Doors were likewise all adorn’d with several Fires, and several great and small Lanthorns, of different Figures, garnished with Paper, or Canvas, and differently painted, were hung up with an agreeable Symmetry on the Branches of the Trees, or on Posts.

จาก A NEW HISTORICAL RELATION OF THE KINGDOM OF SIAM  (http://thaishortstories.blogspot.com/2009/10/168.html) โดย Simone de La Loubère


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ย. 12, 14:19
อนึ่ง ชาวสยามมีมหรสพเนื่องในการพระศาสนาด้วย ลุฤดูน้ำเริ่มลด ประชาชนพลเมืองจะแสดงความขอบคุณแม่คงคาด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ) อยู่หลายคืน มิชั่วแต่แม่พระคงคาจะลดราถอยไปเท่านั้น ยังอำนวยให้พื้นดินที่จะทำการเพาะปลูกอุดมดีอีกด้วย เราจะได้เห็นทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ (กระทง) ไปตามกระแสธาร มีขนาดใหญ่ย่อมต่างกันตามศรัทธาประสาทะของแต่ละคน และมีกระดาษสีต่าง ๆ ซึ่งประดิษฐ์คิดทำกันขึ้นประดับประดาเครื่องลอยประทีปนั้น เพิ่มให้แสงสีงดงามขึ้นอีก.  โดยนัยเดียวกัน เพื่อแสดงความขอบคุณต่อแม่พระธรณีที่อนุเคราะห์ให้เก็บเกี่ยวพืชพรรณธัญญาหารได้อย่างอุดมสมบูรณ์ในวันต้น ๆ ของปีใหม่ ชาวสยามก็จะตามประทีปโคมไฟขึ้นอย่างมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง. ครั้งแรกที่เราไปถึงเมืองละโว้นั้นเป็นเวลากลางคืน พอดีกับคราวตามประทีปนั้น และเราได้เห็นกำแพงเมืองตามประทีปโคมไฟสว่างไสวรายเรียงอยู่เป็นระยะ ๆ แต่ภายในพระบรมมหาราชวังนั้นยังงดงามยิ่งขึ้นไปอีก ในกำแพงแก้วที่ล้อมพระราชฐานนั้น มีซุ้มช่องกุฏิ ๓ แถวโดยรอบ แต่ละช่องมีประทีปดวงหนึ่งตามไฟไว้ บัญชรและทวารทั้งนั้นก็ประดับดวงประทีปด้วยเหมือนกัน มีโคมประทีปใหญ่และย่อม ตกแต่งเป็นรูปแปลก ๆ กัน ปิดกระดาษ หรือหุ้มผ้าแก้วโปร่งระบายสีต่าง ๆ  แขวนไว้อย่างเป็นระเบียบตามกิ่งไม้หรือตามเสาโคม.

จากหนังสือ "จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม" แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 พ.ย. 12, 18:16
คุณสุจิตต์ :
ไม่มีหลักฐานใด ๆ ปรากฏว่ามีอยู่ในเมืองที่อยู่เหนือกรุงศรีอยุธยาขึ้นไป เช่น สุโขทัย ที่ตั้งอยู่บนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง จึงไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ส่วนตระพังหรือสระน้ำในสุโขทัยก็มีไว้เพื่อกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการบริโภคอุปโภคของวัดและวังที่อยู่ในเมือง และมิได้มีไว้เพื่อกิจกรรมสาธารณะอย่างเช่น ลอยกระทง ฯลฯ

คุณม้า :
เมืองเก่าสุโขทัยไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำ ถ้าชาวสุโขทัยคิดจะลอยกระทงก็เป็นไปได้สองอย่างคือ
1.ลอยในตระพัง วิธีนี้คงจะแย่หน่อยเพราะแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของชาวสุโขทัยอยู่ที่นี่ ยิ่งกำลังจะเข้าหน้าแล้งอย่างนี้ มีหวังได้เกิดโรคระบาดหลังลอยกระทงเป็นประจำแน่ (http://www.vcharkarn.com/shareimages/smilies/biggrin.gif)
2.ลอยในแม่น้ำ วิธีนี้ต้องเดินป่าไปที่แม่น้ำ ลอยกระทงเสร็จก็มืดแล้ว ยังต้องเดินป่ากลับมาอีก ในสภาพที่สมัยก่อนเป็นป่าดง ผมว่าเป็นทางเลือกที่เสี่ยงมากทีเดียว เพราะอาจจะได้ทำทานวันลอยกระทงเป็นอาหารเสือกันบ้างแน่ะครับ

โดยส่วนตัว ผมว่าไม่มีเหตุผลที่จะคิดได้ว่าเคยมีประเพณีลอยกระทงในสุโขทัยจริง แต่จะมีในช่วงต้นอยุธยาหรือยุคอโยธยาหรือไม่นั้น ถือว่าน่าสนใจครับ


เจ้าเรือน :
คุณCrazyHOrse
ดิฉันขอแถมข้อ ๓ ได้ไหมคะ  คือลอยในคลอง หรือลำน้ำขนาดเล็กอื่นๆที่ไม่จำเป็นต้องเป็นแม่น้ำ
สุโขทัยคงไม่ได้มีแต่แม่น้ำสายใหญ่และสระเท่านั้น


คุณม้า :
ผมก็อยากให้เป็นอย่างนั้นครับคุณเทาฯ แต่จนใจจริงๆ เพราะเมืองเก่าสุโขทัยตั้งอยู่ในที่ดอน คลองน่ะมีเป็นคลองขุด ลักษณะเป็นลำรางส่งน้ำจากสรีดภงส์ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นน้ำจากเชิงเขานอกเมือง ลำรางนี้ส่งน้ำมาลงตระพังซึ่งอยู่ในเมืองครับ เป็นอันว่าน่าจะตัดไปได้อีกเหมือนกันครับ อีกอย่างเมืองเก่าสุโขทัย ไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำยมเหมือนเมืองสุโขทัยปัจจุบันนะครับ ห่างแม่น้ำไกลทีเดียว

คุณเพ็ญ :  

;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ย. 12, 19:45
ทบทวนความหลังในเรือนไทย

คืนวันนั้นในสระใหญ่ที่พระราชวังบางปะอิน สว่างไสวไปด้วยแสงไฟ สิ่งที่เรียกร้องความสนใจที่สุดก็คือ กระทงใหญ่ต่างๆ ที่ลอยอยู่ในสระ พลอยลงเรือพายกับช้อยและพวกข้าหลวงตำหนักเดียวกันอีกสองคน เที่ยวพายดูกระทงเหล่านั้นด้วยความตื่นตาตื่นใจ กระทงใหญ่ ที่มาลอยอยู่ในสระนั้นเป็นของเจ้านายข้าราชการ และพ่อค้าคฤหบดีจัดทำมาสนองพระเดชพระคุณ ทุกกระทง จุดไฟสว่างไสวและประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ มีเครื่องยนต์กลไกลอยู่ในนั้น บางกระทงทำเป็นรูปเรือรบ ย่อส่วนจากของจริงลงมาได้ขนาดและมีครบทุกอย่าง อีกกระทงหนึ่งทำเป็นรูปนางธรณีบีบมวยผม มีเครื่องสูบน้ำซ่อนอยู่ข้างใน สูบน้ำจากสระให้ไหลออกมาทางมวยผมได้จริงๆ เลยไปอีกทางหนึ่งเป็นกระทง ทำเป็นรูปพระยานาคจำศีล งดงามวิจิตรด้วยลวดลายสลัก จนดูเหมือนกับว่าพระยานาคนั้นมีชีวิต ถ้าใครไปกระทบ เข้าก็เคลื่อนไหวสำแดงอิทธิฤทธิ์ กระทงของอีกเจ้าของหนึ่ง ทำเป็นรูปกระโจมแตรที่มีของจริงอยู่ในพระราชวังนั้น ย่อส่วนลงมาจนเหลือเล็กน่าเอ็นดู ต่อจากนั้นไปเป็นกระทงแสดงหุ่นภาพเรื่องพระอภัยมณี ตอนสุดสาครเข้าเมืองผีดิบ ทำเป็นผีรูปต่างๆหน้าตาดุร้ายน่ากลัว แล้วยังมีกระทงทำเป็นเรือนขุนช้างขนาดย่อส่วน น่ารักรูปร่างเป็นเรือนแบบไทยเหมือนเรือนต้นที่สวนดุสิต ข้างในนั้นมีกระถางไม้ดัด ตลอดจนเครื่องใช้ และเครื่องตกแต่งพร้อมสรรพ ทุกอย่างเล็กๆ ได้ส่วนกับตัวเรือนไปสิ้น พลอยพายเรือวนเวียนดูกระทงเหล่านั้น อยู่จนดึก ดูเท่าไรก็ไม่รู้จักเบื่อ ในสระนั้นก็เต็มไปด้วยเรือเจ้านายและเรือข้างใน ออกพายเวียนวนดูกระทง อยู่ทั่วกัน เสียงทักทายกันเบาๆ เสียงชมกระทงนั้นเปรียบกับกระทงนี้ดังอยู่ไม่ขาด กระทงที่นำมาลอยในสระนี้ ลอยอยู่จนครบสามวัน อันเป็นเวลาตั้งพระศพบำเพ็ญพระราชกุศล ในคืนต่อมาเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พร้อมด้วยคณะกรรมการประกวดกระทง กระทงใดที่ได้รับรางวัลที่ ๑ ก็ให้ปักธงเหลืองไว้เป็นสำคัญ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ย. 12, 19:46
^
^


น่าจะเป็นงานพระราชทานเพลิงศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี

คุณวิกกี้เล่าไว้ว่า

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค) ก่อนที่พระองค์จะเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ

ทรงเป็นพระราชธิดาคู่ทุกข์คู่ยากของรัชกาลที่ ๕ หลังจากการทรงกรมเป็น "กรมขุนสุพรรณภาควดี "ได้เพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระราชวังบางปะอิน โดยใช้พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์เป็นที่ประดิษฐานพระศพ และโปรดให้จัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก จนเป็นที่กล่าวขานในหมู่ชาววังว่า ใครไม่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ถือเป็นคนนอกสังคมชาววัง

ในระหว่างการจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร ซึ่งทรงสนิทกับพระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์มาก เกิดทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ ณ วรนาฎเกษมสานต์ ภายในพระราชวังบางปะอินนั่นเอง ซึ่งในนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ไว้ว่า

"เชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอพระองค์หนึ่งขึ้นไป แล้วก็กลับต้องเชิญพระศพอีกพระองค์หนึ่งลงมา"

http://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวังบางปะอิน (http://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวังบางปะอิน)

http://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์_สุนทรศักดิกัลยาวดี_กรมขุนสุพรรณภาควดี (http://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์_สุนทรศักดิกัลยาวดี_กรมขุนสุพรรณภาควดี)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/11/K7198628/K7198628-13.jpg)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/11/K7198628/K7198628-14.jpg)



http://th.wikisource.org/wiki/สี่แผ่นดิน_-_แผ่นดินที่ ๑_-_บทที่ ๑๖_(หน้าที่ ๒) (http://th.wikisource.org/wiki/สี่แผ่นดิน_-_แผ่นดินที่ ๑_-_บทที่ ๑๖_(หน้าที่ ๒))

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 พ.ย. 12, 15:48
ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ เสด็จพระราชดำเนินลงลอยพระประทีปตรงพระตำหนักแพลอย (หน้าท่าราชวรดิฐปัจจุบันนี้) เป็นการเสด็จฯออกนอกกำแพงพระราชวังและนอกกำแพงพระนคร จึงต้องจัดการป้องกันรักษาพระองค์อย่างแข็งแรง พนักงานกรมต่างๆ ทั้งกรมวัง กรมทหาร กรมพระตำรวจ กรมอาสา ฯลฯ ลอยเรือล้อมวงทอดทุ่นเป็นสามสาย สายใน สายกลาง และสายนอก สายละประมาณยี่สิบลำ

หน้าพระตำหนักแพลอยทอดเรือบัลลังก์สองลำขนานกัน เรือบัลลังก์ลำหนึ่งสำหรับเสด็จลงจุดพระทีปและประทับทอดพระเนตร เรือบัลลังก์ลำหลังจัดเป็นที่บรรทม ที่สรงลงพระบังคน และทอดเครื่องเสวย มีพระสุธารสเป็นต้น เพราะมักจะเสด็จลงประทับตั้งแต่หัวค่ำไปจนสิ้นเวลาลอยประทีป

ในรัชกาลที่ ๑ และที่ ๒ นั้น กระทงหลวงทำเป็นเรือต่าง ๆ ประดิษฐ์รูปสัตว์ต่าง ๆ  มีเรือหยวกบริวาร ๕๐๐ ทรงจุดประทีปเรือหลวง แล้วก็เรือสำเภาของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี เรือพระบรมวงศานุวงศ์ แล้วจึงโปรดฯให้ปล่อยเรือกระบวนของข้าราชการ จุดประทีปลอยมากลางน้ำระหว่างทุ่นสายในกับเรือบัลลังก์ที่ประทับ

ในรัชกาลที่ ๑ มีเหตุ พระองค์เจ้าจันทบุรีพระชันษา ๕ ปี พลัดตกลงไปในน้ำระหว่างเรือบัลลังก์ก็จอดขนานกันในขณะตามเสด็จฯลงลอยพระประทีปนี้ ซึ่งเคยเล่ามาแล้ว

พระราชพิธีลอยพระประทีปครั้งที่ยิ่งใหญ่มโหฬารที่สุด คือในแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองที่สุด ถึงขนาดราษฎรมีเงินมาก พากันเก็บเงินฝังดินไว้ไม่นำออกมาใช้ จนไม่มีเงินหมุนเวียนในบ้านเมือง เป็นระยะที่อาจเรียกได้ว่า ‘ไพร่ฟ้าหน้าใส’ จดหมายเหตุโหรจดไว้ว่าราษฎรพูดจากันไพเราะไม่ด่าทอกัน

“จ.ศ. ๑๑๙๑ (พ.ศ.๒๓๗๒) ครั้งนั้นราษฎรชายหญิงเด็กรุ่นพูดกันต่าง ๆ ว่า พ่อขา แม่ขา ลุง ตายาย”

ผิดจากเมื่อ ๑๒ ปีก่อน เมื่อเพิ่งสถาปนาพระนครได ๓๕ ปี (พ.ศ. ๒๓๖๐) จดว่า “ครั้งนั้นชาวพระนครราษฎรด่ากัน ไอ้ห่ากิน ไอ้ห่าฟัด ไอ้ห่าหักคอ ทุกหญิงชายเด็ก”

ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจดี มั่งคั่งร่ำรวยกันตั้งแต่ขุนนางคหบดีลงไปถึงชาวบ้าน ใน พ.ศ.๒๓๖๘ และ พ.ศ.๒๓๖๙ ทั้งสองปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดฯให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ ซึ่งมีกำลังทรัพย์ ทำกระทงใหญ่ถวาย

พระราชพิธีลอยประทีปครั้งนี้ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พรรณนาไว้ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ดังนี้
 
“ผู้ต้องเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง ๘ ศอกบ้าง ๙ ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด ๑๐ ศอก ๑๑ ศอก (๔ ศอก = ๑ วา) ทำประกวดประขันกันต่าง ๆ  ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง ๔ บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้น ๆ บ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนเลี้ยงช่างเบ็ดเสร็จก็ถึง ๒๐ ชั่งบ้าง หย่อนกว่า ๒๐ ชั่งบ้าง กระทงนั้นวัน ๑๔ ค่ำ เครื่องเขียว วัน ๑๕ ค่ำเครื่องขาว แรมค่ำ ๑ เครื่องแดง ดอกไม้สดก็เลือกหาตามสีกระทง และมีจักรกลต่างกันทุกกระทง มีมโหรีขับร้องอยู่ในกระทงนั้นก็มีบ้าง เหลือที่จะพรรณนาว่ากระทงท่านผู้นั้นทำอย่างนั้น ๆ คิดดูการประกวดประขันกันจะเอาชนะกัน คงวิเศษต่าง ๆ กัน เรือมาดูกระทงตั้งแต่บ่าย ๔ โมง เรือชักลากกระทงขึ้นไปเข้าที่บ่าย ๕ โมง เรือเบียดเสียดกันแน่นหลีกไม่ใคร่จะไหวดูเป็นอัศจรรย์ เรือข้าราชการและราษฎรมาดูเต็มไปทั้งแม่น้ำที่ทรงขอแรงทำกระทงนั้น ในพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ คือ กรมหมื่นสุรินทรรักษ ๑ กรมหมื่นรักษรณเรศร ๑ กรมหมื่นเดชอดิศร ๑ กรมหมื่นพิพิธภูเบนทร ขุนนาง คือ ท่านเจ้าพระยาอภัยภูธร ๑ ท่านเจ้าพระยาพระคลัง ๑ ท่านพระยาศรีพิพัฒน์ ๑ พระยาพิชัยวารี ๑ พระยาราชมนตรี ๑ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี ๑ รวม ๑๐ กระทง เวลาค่ำเสด็จลงพระตำหนักน้ำ ทรงลอยพระประทีป

เจ้าพระยาพระคลัง พระยาศรีพิพัฒน์ ได้ชักชวนขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยที่เข้ามาเฝ้าตามเสด็จลงไปอยู่ที่โรงเรือหลังพระตำหนักน้ำรักษาด้านนอกอยู่ ครั้นเสด็จกลับขึ้นมาทอดพระเนตรเห็น ก็ได้พระราชทานส่วนพระราชกุศล ทรงปราศรัยด้วยทุกคน ด้วยแต่ก่อนเสด็จลงลอยพระประทีปแล้วขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยที่เข้าไปเฝ้าต่างคนต่างไปบ้านก่อนเวลาเสด็จขึ้น การที่เจ้าพระยาพระคลังทำจึงเป็นอย่างเป็นธรรมเนียมติดมาจนทุกวันนี้

ปีรุ่งขึ้น พ.ศ.๒๓๖๙ เมื่อโปรดฯให้ทำอีกยิ่งงดงามวิเศษยิ่งขึ้น ทรงทราบว่าต้องลงทุนมากมาย จึงมีพระราชดำรัสว่า “ไม่รู้เลย ลงทุนรอนมากมายหนักหนา ตั้งแต่นี้ต่อไปอย่าให้ทำอีกเลย”

จาก เรื่องพระราชพิธีลอยกระทง (http://writer.dek-d.com/bird711/writer/viewlongc.php?id=524172&chapter=121) โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์

สุขสันต์วันลอยกระทง

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 พ.ย. 12, 21:47
ในหลวงและสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯท่าน้ำโรงพยาบาลศิริราช ทรงลอยพระประทีปในวันลอยกระทง พ.ศ. ๒๕๕๕ (http://www.komchadluek.net/detail/20121128/145968/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%9B.html)

(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2012/11/28/acdc9eg6kcahjfg9bhcc8.)

http://www.youtube.com/watch?v=RkAX7BSj35c&feature=youtu.be

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 พ.ย. 12, 09:29
เอาภาพกระทงที่วัดยานนาวา ที่ได้รับการบูรณะแล้วนำมาให้ชมครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 พ.ย. 12, 09:32
ภาพขยายล่างสุด จะเห็นมีกระทงน้อย ๆ เหมือนอย่างปัจจุบันลอยให้เห็นด้วยครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 พ.ย. 12, 14:28
กระทงน้อยน่าจะถูกแต่งเติมขึ้นใหม่คราบูรณะ

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 พ.ย. 12, 18:54
ส่วนพวกประทัด ดอกไม้ไฟ ข้างบนนี้ ก็คงเติมเข้ามาคราเดียวกัน

 ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 01 ธ.ค. 12, 15:42
ประตูเดียวกันแต่บูรณะคนละครั้ง หรือคนละประตู  ???


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 11:50
เดือนสิบสอง ปีนี้,นสพ. มติชน ฉบับวานนี้ ลงเรื่องราวลอยกระทง ที่  

               สุวรรณภูมิในอาเซียน : ลอยกระทงไทย จาก ลอยโคมจีน ขอขมาดินน้ำและธรรมชาติในศาสนาผี
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562

https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_1744215

เชิญ อ่านที่เว็บไซท์ และขอนำมาบันทึกไว้ในกระทู้นี้(ที่ยังค่อนข้างไม่นานมาก)


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 11:52
ลอยโคมดอกบัวในจีน


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 11:53
ลอยกระทงมีครั้งแรก สมัยร.๓


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 11:54
สมุดไทยดำเรื่องนางนพมาศ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 11:55
กระทงใบตองเก่าสุดในกัมพูชา


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 11:57
สระน้ำในเมืองเก่าสุโขทัย
ไม่ขุดไว้ใช้ลอยกระทง


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 11:59
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ไม่ใช่วงศ์สุโขทัย
แต่เป็นเชื้อวงศ์สุพรรณภูมิ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 12:01
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
(ต่อ)


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 12:02
หนังสือนางนพมาศ เจ้าฟ้ากุ้ง
ไม่มีเห่เรือ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 พ.ย. 19, 12:07
เห่เรือ และ เรือพระราชพิธี
มาจากไหน?


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 พ.ย. 19, 18:20
ลอยกระทง - สารทจีน - เทวทีปาวลี

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=844.msg158584#msg158584


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 09 พ.ย. 19, 19:05
หนังสือนางนพมาศ เจ้าฟ้ากุ้ง
ไม่มีเห่เรือ

สมัยอยุธยามีบันทึกถึงเห่เรือพระที่นั่ง​ และพิธีลอยกระทงแน่นอน​


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ย. 19, 19:20
หนังสือนางนพมาศ เจ้าฟ้ากุ้ง
ไม่มีเห่เรือ
เอ   แล้วถ้างั้นในกาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้ากุ้งตอนนี้  พลพายเขาร้องอะไรกันคะ  จะว่าร้องเพลงก็ไม่น่าจะใช่นะคะ

เรือครุธยุดนาคหิ้ว            ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง   ร้องโห่เห่โอ้เห่มา


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: ศรีสรรเพชญ์ ที่ 09 พ.ย. 19, 21:26
ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา ลอยโคมประทีปทำด้วยกระกาษครับ


จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์บันทึกการชักโคมและลอยประทีปของชาวสยามไว้ว่า

        "อนึ่ง  ชาวสยามมีมหรสพเนื่องในการพระศาสนาด้วย ลุฤดูน้ำเริ่มลด ประชาชนพลเมืองจะแสดงความขอบคุณแม่คงคาด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ) อยู่หลายคืน มิชั่วแต่แม่คงคาจะลดราถอยไปเท่านั้น ยังอำนวยให้พื้นดินที่จะทำการเพาะปลูกอุดมดีด้วย เราจะได้เห็นทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ (กระทง) ไปตามกระแสธาร มีขนาดใหญ่ย่อมต่างกันตามประสาทะของแต่ละคน และมีกระดาษสีต่างๆ ซึ่งประดิษฐ์คิดทำกันขึ้นประดับประดาเครื่องลอบประทีปนั้น เพิ่มให้แสงสีงดงามขึ้นอีก. โดยนัยเดียวกัน เพื่อแสดงความขอบคุณต่อแม่พระธรณีที่อนุเคราะห์ให้เก็บเกี่ยวพืชพรรณธัญญาหารได้อย่างอุดมสมบูรณ์ในวันต้นๆ ของปีใหม่ ชาวสยามก็จะตามประทีปโคมไฟขึ้นอย่างมโหฬารอีกครั้งหนึ่ง"



ในจดหมายเหตุราชทูตลังกาเข้ามาขอพระสงฆ์สยามสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ระบุว่าในพระราชพิธีจองเปรียงมีการลอย "โคมกระดาษทำเป็นรูปดอกบัว" กับ "ดอกไม้น้ำ" ลงในแม่น้ำด้วย

       "ตามบรรดาวัดริมฝั่งน้ำทั้ง ๒ ฟาก ทุกวัดต่างปักไม้ไผ่ลำยาวขึ้นเป็นเสา โน้มปลายลงมาผูกเชือกชักโคมต่างๆ (ครั้นได้เวลา) พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาเสด็จโดยกระบวนเรือพร้อมด้วยกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ แลเจ้าพระยามหาอุปราช เรือที่เสด็จล้วนปิดทองมีกันยาดาดสีแลผูกม่าน ในลำเรือปักเชิงทองแลเงิน มีเทียนจุดตลอดลำ มีเรือข้าราชการล้วนแต่งประทีปแห่นำตามเสด็จด้วยเป็นอันมาก แลในการพิธีนี้ ยังมีโคมกระดาษทำเป็นรูปดอกบัวสีแดงบ้าง สีขาวบ้าง มีเทียนจุดอยู่ในนั้น ปล่อยลงน้ำลงมาเป็นอันมาก จะนับจะประมาณมิได้ นอกจากลอยโคม ยังมีการจุดดอกไม้น้ำกันอีกเป็นอันมาก และมีระบำดนตรีมาในเรือด้วย ต่อกระบวนเสด็จถึงเรือกระบวนผ้าแห่ไตรแลเครื่องบริขารเป็นของทรงพระราชอุทิศแก่พระสงฆ์ตามพระอารามในพระนคร แลพระอารามที่อยู่ตามริมแม่น้ำในการพระราชพิธีนี้

       การพระราชพิธีที่พรรณนามานี้ ข้าราชการไทยอธิบายแก่ทูตานุทูตว่า เป็นราชประเพณีเคยทำมาในกรุงศรีอยุธยาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนพินระวัน ๑ วันกลางเดือนนั้นวัน ๑ วันแรมค่ำ ๑ วันแรม ๗ ค่ำ วันแรม ๘ ค่ำ แลวันต้นเดือนเมื่อพ้นแต่วสาแล้ว พระราชพิธีอันนี้ ทำเพื่อการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ซึ่งบรรจุไว้ในพระจุฬามณีเจดีย์) ในดาวดึงสพิภพ แลบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งพระยานาคได้กราบทูลอัญเชิญสมเด็จพระพุทธองค์ให้ทรงประดิษฐานไว้เหนือหาดทรายฝั่งแม่น้ำนัมมานที

        รุ่งขึ้น ณ วันพุธ ข้าราชการไทย ๒ คน นำทั้งโคมบัวแลดอกไม้น้ำมายังที่พักทูตานุทูต บอกว่าเป็นของพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาพระราชทานมาเพื่อให้ทูตานุทูตได้บำเพ็ญการกุศลในพระราชพิธีนั้นด้วย พวกทูตานุทูตจึงลงเรือไปกับข้าราชการไทย ได้จุดโคมบัวลอยน้ำแลจุดดอกไม้น้ำซึ่งพระราชทานมา ทั้งเมื่อวันพุธแลต่อไปในวันพฤหัสบดีแลวันศุกร์ รวม ๓ วัน"



จะเห็นได้ว่าในสมัยอยุทธยามีการลอยประทีปแล้ว  เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีช่วงปลายปีและลอยกันหลายวัน ไม่ได้ลอยวันเดียวเหมือนปัจจุบัน โดยในสมัยอยุทธยาตอนปลายประทีปมีลักษณะเป็นโคมกระดาษ จึงปรากฏในกฎมณเฑียรบาลเรียกว่า "ลอยโคม"  เข้าใจว่าได้อิทธิพลมาจากจีนที่มีการทำโคมรูปดอกบัวเหมือนกัน

ส่วนดอกไม้น้ำอาจจะลักษณะคล้ายกระทงดอกไม้ในสมัยหลัง   พอถึงสมัยรัตนโกสินทร์เข้าใจว่าเปลี่ยนมาใช้ดอกบัวสด ปักเทียนบ้าง เย็บใบตอง ใบพลับพลึง ทำเป็นกระทงเจิมปักทูปเทียนดอกไม้ หรือทำเป็นเรือหยวกปักธูปเทียนดอกไม้  จึงปรากฏเรียกว่า "ลอยกระทง" สืบมาครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 พ.ย. 19, 10:57
สุจิตต์ วงษ์เทศ : เห่เรือ มีครั้งแรก สมัย ร.4 กรุงรัตนโกสินทร์ กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง ยุคอยุธยา ไม่ใช้เห่เรือ

นสพ.มติชน วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559

         เห่เรือ ที่เข้าใจกันทุกวันนี้ หมายถึงขับลำนำเป็นทำนองอย่างหนึ่งในกระบวนเรือพระราชพิธีพยุหยาตรา
ทางชลมารค


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 พ.ย. 19, 10:59
กาพย์เห่เรือ
ไม่ใช้เห่เรือ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 พ.ย. 19, 11:00
ยุคอยุธยา ไม่พบเห่เรือพระที่นั่ง
เห่เรือ เมื่อจอดกลางน้ำ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 10 พ.ย. 19, 11:08
โคลงทวาทศมาส
เห่ กล่อม


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 10 พ.ย. 19, 16:06
ยุคอยุธยา ไม่พบเห่เรือพระที่นั่ง
เห่เรือ เมื่อจอดกลางน้ำ
ข้อความนี้ไม่ถูกต้องแน่ๆ​ ครับ
ในสมัยพระเจ้าปราสาททองมีเห่เรือพระที่นั่ง


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 19, 17:10
รู้สึกมั่วๆนะคะ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 พ.ย. 19, 09:56
ต้องออกตัวว่า ตั้งใจจะนำเสนอข้อมูล(จากผู้อื่น) ที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจเนื่องในเทศกาลนี้ ไม่ได้ยืนข้างใด

และ เห่เรือ ในที่นี้ หมายถึง
        
อ้างถึง
เห่เรือ ที่เข้าใจกันทุกวันนี้ หมายถึงขับลำนำเป็นทำนองอย่างหนึ่งในกระบวนเรือพระราชพิธีพยุหยาตรา ทางชลมารค

มีข้อมูลจาก สารานุกรมไทยฯ
 
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=1&page=t30-1-infodetail06.html

ตัดมาบางส่วนว่า

           กาพย์เห่เรือบทพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เมื่อศึกษาเนื้อหาของบทเห่เรือนั้นโดยละเอียดแล้ว
ไม่ปรากฏหลักฐานว่า เป็นบทที่แต่งสำหรับเห่เรือพระที่นั่งในพระราชพิธีใดๆ ทั้งสิ้น
          
           บทเห่เรือพระราชนิพนธ์ตามหลักฐานที่ปรากฏในวงวรรณกรรมของไทย ล้วนเป็นบทเห่เรือเล่นแทบทั้งสิ้น และ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ไม่ทรงพบข้อสันนิษฐานถึงสาเหตุที่นำมาใช้ในการเห่เรือพระที่นั่ง

           บทเห่เรือสมัยอยุธยาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง เหลือตกทอดมาถึงปัจจุบันมีเพียง ๒ เรื่อง เป็นพระนิพนธ์ใน
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร คือ
           บทเห่เรือชมพยุหยาตราทางชลมารค  สำนวนในเรื่องแสดงให้เห็นว่า ทรงพระนิพนธ์สำหรับเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์เอง

และ       บทเห่เรื่องกากี ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร สันนิษฐานว่า จะใช้บทเห่นี้เฉพาะเวลาทรงเรือประพาส
            เป็นการส่วนพระองค์

            บทเห่เรือชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชั้นแรกสันนิษฐานว่า
ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับเห่เรือเสด็จประพาสเท่านั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำบทเห่เรือ
ครั้งกรุงศรีอยุธยา และบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาใช้เห่เรือในราชการเป็นแบบอย่างสืบมา


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 19, 10:16
อ๋อ เข้าใจแล้วค่ะ
ยกกาพย์เห่เรือมาให้อ่านกัน

ปางเสด็จประเวศด้าว      ชลาลัย
ทรงรัตนพิมานชัย      กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร      แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว      เพริศพริ้งพายทอง

กาพย์
พระเสด็จโดยแดนชล      ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย      พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด      ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน      สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
เรือครุฑยุดนาคหิ้ว      ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง      ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน      เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา      หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถชัยไกรกราบแก้ว      แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร      ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย      งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์      ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
เรือชัยไวว่องวิ่ง      รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม      ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน
คชสีห์ทีผาดเผ่น      ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ที่ยืนยัน      คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ      แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง      องค์พระพายผายผันผยอง
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน      โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง      เป็นแถวท่องล่องตามกัน
นาคาหน้าดังเป็น      ดูเขม้นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน      ทันแข่งหน้าวาสุกรี
เลียงผาง่าเท้าโผน      เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรี      มีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
ดนตรีมี่อึงอล              ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม      โสมนัสชื่นรื่นเริงพล
กรีธาหมู่นาเวศ      จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล      ยลมัจฉาสารพันมี

คือคงจะตีความว่าในบทพระนิพนธ์นี้ไม่ได้ระบุเลยว่าพยุหยาตราทางชลมารคที่ว่า ไปในงานพระราชพิธีอะไร   บอกแต่เพียงว่าเรือทั้งหลายที่ยกกันไปมีเรืออะไรบ้าง
เมื่อไม่ได้บอกว่าไปเนื่องในงานอะไร ก็เลยสันนิษฐานว่าไม่ได้ไปงาน  เป็นการไปเที่ยวทางน้ำเฉยๆ
ยิ่งบทต่อๆไปมีบทชมนกชมไม้ บทสังวาส ก็ยิ่งคิดว่าไม่ใช่งานพิธีการใดๆ

ส่วนดิฉันคิดว่าลักษณะเรือทั้งหลายที่ยกกันไปทางน้ำนี้  มีลักษณะอลังการเกินกว่าจะไปเที่ยวทางน้ำกันธรรมดา   


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 19, 12:10
สุขสันต์วันลอยกระทง ๒๕๖๒  ;D

https://youtu.be/Eb-lzTh_klA

ลอยกระทง วัฒนธรรมน้ำร่วมราก
http://arts.tu.ac.th/culture/Master%20Kratong4.pdf


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 พ.ย. 19, 13:00


ดนตรีมี่อึงอล              ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม      โสมนัสชื่นรื่นเริงพล

กระบวนเรือ ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
คือขบวนแห่ ที่ต้องการประกาศให้พลเมืองได้ทราบ
ไม่ว่าจะเป็น พิธีพระราชทานพระกฐิน พิธีฟันน้ำ หรือ พิธีรับแขกเมือง
มีวงดนตรี และการแห่ ร้องเพลงปลุกใจ เฉลิมพระเกียรติ ไปตลอดทาง

ถ้าไม่เชื่อหลักฐานไทย ก็ต้องอ้าง 1. วันวลิต 2. ตาชา 3. แชรแวส 4. ลาลูแบร์
ต่างกล่าวถึงการเห่เรือในขบวนพยุหยาตราทางชลมารคสอดคล้องกันหมดครับ



กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 11 พ.ย. 19, 16:56
ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ
1. การเห่เรือในขบวนเสด็จทางชลมารคไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระราชพิธี 12 เดือนโดยตรง ไม่มีการเห่เรือในพระราชพิธี 12 เดือนไม่ได้แปลว่าไม่มีการเห่เรือในสมัยอยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์นะครับ
2. การโห่ร้องกับประโคมดนตรีในขบวนเสด็จทางชลมารคเป็นคนละอย่างกับการเห่เรือครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 11 พ.ย. 19, 17:20
อ่านเรื่องการเห่เรือ ที่ สารานุกรมไทย(ฉบับเยาวชน)
เริ่มจาก วัตถุประสงค์ของการเห่เรือ

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=1&page=t30-1-infodetail01.html


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 11 พ.ย. 19, 17:45
ตามสารานุกรมนี้คือเห่เรือเพื่อให้จังหวะฝีพายในพระราชพิธี แต่โบราณไม่เกี่ยวกับพระราชพิธี หากใช้ระหว่างเดินทาง

เรื่องปัจจุบัน อันนี้ชัดเจนครับ คงไม่มีประเด็นอะไร
แต่เรื่องสมัยโบราณที่ว่า อาจจะต้องเจาะจงว่าเป็นสมัยไหน

ที่น่าสงสัยคือข้อความส่วนนี้ครับ

นอกจากนั้น ยังปรากฏหลักฐานว่า มีการเห่เรือในกระบวนทางชลมารค เพื่อความสำราญส่วนพระองค์ของเชื้อพระวงศ์ ตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้าขึ้นไป ดังบทเห่เรือที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์ขึ้น สำหรับเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์ เมื่อตามเสด็จไปยังพระพุทธบาท สระบุรี บทเห่เรือบรรยายการโดยเสด็จออกจากกรุงศรีอยุธยาในตอนเช้า ถึงท่าเจ้าสนุก ในตอนเย็นพอดี

ถ้าใช้เห่เรือระหว่างเสด็จไปพระพุทธบาทจริง จะเห่อย่างไร ระยะทางกับความยาวของกาพย์เห่เรือไม่สัมพันธ์กันเลย นานๆเห่สักบทสองบท หรือเห่ซ้ำๆวนไป แปลกอยู่นะครับ

ถ้าจะตั้งประเด็นให้เจาะจงลงไปคือ เคยมีการเห่เรือในสมัยอยุธยาหรือไม่ เคยมีการเห่เรือสมัยต้นรัตนโกสินทร์หรือไม่ หรือเจาะจงลงไปคือกาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง หรือพระราชนิพนธ์ ร.2 มีไว้เพื่อเห่เรือ หรือเคยใช้เห่เรือจริงๆหรือไม่ครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ย. 19, 18:51
วันเพ็ญเดือนสิบสองของคนภาคกลางเป็นวันลอยกระทง เป็นกิจกรรมที่ทำกันตอนเย็น  แต่ก่อนโน้นก็จะทำการลอยกันในเวลาโพล้เพล้ช่วงใกล้จะหมดแสงเต็มทื  ความสว่าง ณ บริเวณที่นำกระทงลงลอยน้ำจะได้มาจากแสงรำไรของเทียนตะไลที่จุดวางประดับประดากันไว้  เป็นกิจกรรมที่มักจะกระทำกันเป็นครอบครัว พ่อแม่จะมีไฟฉายตราเสือช่วยส่องทางเดินให้กับเด็กๆ   คนที่มีเงินหน่อยก็จะเช่าเรือแท๊กซี่ลอยลำออกไปห่างจากฝั่ง เพื่อจะได้ไปปล่อยกระทงลงน้ำในบริเวณที่ใม่มีเด็กๆลอยคออยู่ในน้ำคอยเก็บเงินเหรียญที่ใส่อยู่ในกระทง เป็นการกระทำที่เป็นที่ไม่พอใจของคนที่นำกระทงมาลอยซึ่งอยากจะเห็นกระทงของตนล่องลอยตามสายน้ำออกไปไกลๆ    ผมได้มีโอกาสสัมผัสกับภาพนี้สองสามครั้งเมื่อครั้งยังเป็นเด็กวัยกระเตาะเข้ามาเรียนอยู่ในกรุงเทพฯ    เรือแท๊กซี่ที่ว่าในสมัยนั้นใช้เครื่องยนต์เรือแบบต้องเผาหัวก่อนจะติดเครื่อง ติดเครื่องแล้วก็ติดเลย ไม่ดับเครื่องกันจนกระทั่งจบการใช้งานในแต่ละวัน กินน้ำมันน้อย เสียงไม่ดัง (แล้วค่อยขยายความเมื่อมีโอกาส)

วันเพ็ญเดือนสิบสองของคนในภาคเหนือเป็นประเพณีการทำบุญเนื่องในวันยี่เป็ง ซึ่งก็เป็นวันเดียวกัน (ผมจำผิดหรือเปล่า ??) เพียงแต่จะมีกิจกรรมที่ทำต่างกันและจะกระทำกันสองสามวันล่วงหน้า  มีการทำกระทงเหมือนกัน แต่เป็นกระทงรวมของผู้คนซึ่งทำกันที่วัด ซึ่งก็จะช่วยกันนำมาลอยในแม่น้ำ บ้างก็มีกระทงของตนเองที่ทำมาร่วมลอยด้วย ต่างกับภาคกลางที่เป็นกิจกรรมในช่วงเวลาบ่าย  ส่วนในช่วงเวลาหมดแสงอาทิตย์แล้วก็จะเป็นการลอยโคม   ผมเองไม่คุ้นนัก นานมาแล้วและก็ยังเป็นเด็กอยู่มากๆ (ช่วงต้น teen+/- ) เลยลงไปลึกไม่ได้


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 11 พ.ย. 19, 22:09
ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ
1. การเห่เรือในขบวนเสด็จทางชลมารคไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระราชพิธี 12 เดือนโดยตรง ไม่มีการเห่เรือในพระราชพิธี 12 เดือนไม่ได้แปลว่าไม่มีการเห่เรือในสมัยอยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์นะครับ
2. การโห่ร้องกับประโคมดนตรีในขบวนเสด็จทางชลมารคเป็นคนละอย่างกับการเห่เรือครับ

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง​ นี่บรรยายกิจกรรมเห่เรือสมัยอยุธยาหรือเปล่าครับ​ หรือว่ามีเห่เรืออีกแบบ​?


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 พ.ย. 19, 06:51
http://www.openbase.in.th/files/satienbook057.pdf


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 12 พ.ย. 19, 10:29
             นอกจากเพลงไทย ลอยกระทง บรรเลงโดยวงดนตรีตะวันตก ในคลิปก่อนหน้านี้แล้ว
ขอนำเสนอคลิปเพลงคลาสสิคบรรเลงประกอบการเสด็จประพาสทางชลมารค มาลงไว้ให้ฟังประกอบการอ่านกระทู้ด้วย

https://www.youtube.com/watch?v=A3N-OJTpikc

                ผลงานของ George Frideric Handel ประพันธ์ถวายพระเจ้าจอร์จที่ 1 ตามพระประสงค์เพื่อใช้
บรรเลงในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.1717 เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินประพาสทางชลมารคโดยเรือพระที่นั่ง
จากพระตำหนักไวท์ฮอลล์ (Whitehall) ไปยังเชลซี (Chelsea) ระยะทางประมาณ 3 ไมล์เศษ เป็นบทเพลง
ชุดเต้นรำ (French Suite) จำนวน 3 บท เป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า The Water Music Suite
โดยเขาลงมาเป็นผู้ควบคุมวงดนตรีมโหรีหลวงเล่นประกอบตลอดการล่องเรือในครั้งนี้ด้วยตนเอง
                พระเจ้าจอร์จที่ 1 ทรงพอพระทัยบทเพลงที่มีความยาวประมาณหนึ่งชั่วโมงนี้ยิ่งนัก โปรดให้เล่นซ้ำ
แล้วซ้ำอีกทั้งขาไปและกลับ จนกว่าจะสิ้นสุดเสียงลงก็เมื่อดึกดื่นหลังเที่ยงคืนจนนักดนตรีต่างอ่อนระโหยโรยแรง


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 12 พ.ย. 19, 15:42
ผมมีข้อสังเกตดังนี้ครับ
1. การเห่เรือในขบวนเสด็จทางชลมารคไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระราชพิธี 12 เดือนโดยตรง ไม่มีการเห่เรือในพระราชพิธี 12 เดือนไม่ได้แปลว่าไม่มีการเห่เรือในสมัยอยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์นะครับ
2. การโห่ร้องกับประโคมดนตรีในขบวนเสด็จทางชลมารคเป็นคนละอย่างกับการเห่เรือครับ

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง​ นี่บรรยายกิจกรรมเห่เรือสมัยอยุธยาหรือเปล่าครับ​ หรือว่ามีเห่เรืออีกแบบ​?

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้งบรรยายขบวนพยุหยาตราทางชลมารค แต่ไม่ได้กล่าวถึงการเห่เลย มีแต่บอกการประโคมดนตรีและโห่ครับ

ดนตรีมี่อึงอล   ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม   โสมนัศชื่นรื่นเริงพล

น่าสังเกตว่าต่างจากขบวนพิธีพยุหยาตราทางชลมารคในปัจจุบันที่มีการเห่อยู่ด้วยกันเสมอ และบ่อยครั้งขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจะถูกเรียกอย่างลำลองว่าขบวนเห่เรือนะครับ




กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 พ.ย. 19, 16:19
บทเห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

๏ ปางเสด็จประเวศด้าว   ชลาลัย
ทรงรัตนพิมานไชย   กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร   แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว   เพริศพริ้งพายทอง ๚
กาพย์
๏ พระเสด็จโดยแดนชล   ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย   พายอ่อนหยับจับงามงอน
๏ นาวาแน่นเปนขนัด   ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน   สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
๏ เรือครุธยุดนาคหิ้ว   ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง   ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
๏ สรมุขมุขสี่ด้าน   เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา   หลังคาแดงแย่งมังกร
๏ สมรรถไชยไกรกาบแก้ว   แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร   ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
๏ สุวรรณหงษ์ทรงภู่ห้อย   งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงษ์ทรงพรหมินทร์   ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
๏ เรือไชยไวว่องวิ่ง   รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม   ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน

ช้าลวะเห่
๏ คชสีห์ทีผาดเผ่น   ดูดังเปนเห็นขบขัน
ราชสีห์ทียืนยัน   คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
๏ เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ   แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง   องค์พระพายผายผันผยอง
๏ เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน   โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง   เปนแถวท่องล่องตามกัน
๏ นาคาหน้าดังเปน   ดูขะเม่นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน   ทันแข่งหน้าวาสุกรี
๏ เลียงผาง่าเท้าโผน   เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรี   ทีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
๏ ดนตรีมี่อึงอล   ก้องกาหล พลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม   โสมนัศชื่นรื่นเริงพล
๏ กรีฑาหมู่นาเวศ   จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล   ยลมัจฉาสารพันมี ฯ มูละเห่ ฯ

สวะเห่
๏ เห่แลเรือ เห่ละเห่เห เห่โหวเห่โห เหโหวเห่เห้ เห่เหเห่เหเห่ โอละเห่
๏ สาละวะเห่ โหเห่เห เหเห่ เหเห่เห โอละเห่
๏ ช้าละวะเห่ เหเห่ เห่เหเห่ โอละเห่ เจ้าเอยก็พาย พี่ก็พาย พายเอยลง
   พายลงให้เต็มพาย โอวโอวเห่
๏ ช้าละวะเห่ โหเห่เห เหเห เหเห่เห โอละเห่ มูละเห่ มูละเหเห่เห้
  โอเห้มารา โอเห้เจ้าข้า โอเห้เจ้าข้า มาราไชโย สีเอยไชย
  สีไชยแก้วเอย ไชยเอยแก้ว ไชยแก้วพ่อเอย โอวโอว ๚
สมุทรโฆษคำฉันท์

๏ ดลเดือนอาสยุชพิธี   เปนอุสภศรี
สรนุกนิเรียบเรือชา   
๏ ซ้ายไกรสรมุขมหิมา   ฝ่ายเบื้องข้างขวา
สมรรถไชยเจียรไกร   
๏ เพียบพลพายนั่งศรีไสว   ฆ้องกลองเอาไชย
แลพาทย์ดุริยดนตรี   
๏ ไชยไชยสรมุขมหิษี   ไชยไชยจักรี
สมรรถไชยราชา
 ๏ พายแอ่นเอาไชยไปมา   พลพวงซ้ายขวา
ประเบียดแลเสียดตาตอม   
๏ หัวท้ายธงฉัตรปักจอม   นายกลางกรถนอม
กรลดกั้งกึ่งกลาง   
๏ พายขึ้นถึงกลางที่วาง   ทอดพวนขันขวาง
นทีแลเทียบเทียมหัว   
๏ สองฟากนํ้าพลชมชัว   บดห้องหาวมัว
แลมืดด้วยตัวพลพวง   
๏ เสียงฆ้องไชยศัพท์รลวง   จึงวางเรือหลวง
ทั้งคู่แลควรคนชม   
๏ พลพายทองพายสระสม   เสียงดุริยระงม
แลสังขก้องกาหล   
๏ ดุจเสียงฟ้าฟาดภูวดล   เสียงชลก้องกล
สมุทรดาลดำบรรพ์   
๏ สุดช้าชุกครแขงขัน   สรมุขแลสมรร -
ถไชยชิงไชยศรี   
ถ้อยขึ้นถ้อยแขงมี่มี   ไชยเมื่อถึงที
จะใกล้ที่แดนยอพาย
   
๏ เพื่อท้าวเธอจะมีไชยพราย   พระยศฦๅสาย
สมรรถไชยมีไชย   
๏ ให้โลกทั้งภูวนัตไตร   รู้ว่าท้าวไท
จะมาล้างนิกรศัตรู   


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 พ.ย. 19, 17:03
ตำหรับนางนพมาศซึ่งเปนท้าวศรีจุฬาลักษณ์

     ครั้นระดูเดือนสิบเอ็ดชลาลดชายฝั่งถึงการพระราชพิธีอาศะยุชนักขัตฤกษ์ ชีพ่อพราหมณ์ก็สังเวยพระนารายน์ปางเกษียรสมุทรแลพระลักษมีพระมเหศวะดีโดยตำหรับ ชนประชาชาวพระนครต่างบอกกล่าวป่าวกัน พาบุตรนัดดาลงนาวาเปนพวกเปนเหล่า ตกแต่งกะรัชกายงามตามชาติตามตระกูล พายเนื่องแน่นกันมาจอดเรียงลอย คอยดูแข่งเรือพระที่นั่งเอกไชยทั้งสองฟากฝั่งตลอดเฉียบ จึ่งออกพระณรงค์ฤทธิรำบานชาญชลสินธุ ผู้ได้บังคับบัญชาเหล่าจำนำทหารเรือ ก็เบิกบายศรีสมโภชเชิญขวัญเรือพระที่นั่งเอกไชยอันงามงอนระหงทั้งสองลำสรรพเสร็จ พร้อมด้วยพลพายและเครื่องดนตรีสังคีตพระกันภิรมชุมสายตั้งรายตลอดลำ มีหมู่สิทธิไชยถือธงทองประจำหน้าท้ายเรือรูปตราตำแหน่งนายทหาร แห่ห้อมล้อมพายเห่ช้ามาสู่มณฑลทุ่นทอดท้องสนาม
     พระครูพราหมณ์พิธีศรีบรมหงษ์ก็อัญเชิญพระนารายน์ปางเกษียรสมุทร ลงทรงสถิตย์บุษบกเรือพระที่นั่งไชยเฉลิมธรณิน อันโลกสมมุติว่าเปนเรือพระยามีมาแต่โบราณ จึ่งพระครูเพทางคสาตรราชไตรเพทก็อัญเชิญพระลักษมีพระมเหศวะดี ลงทรงสถิตบุษบกเรือพระที่นั่งไชยสินธุพิมาน อันสมมุติว่าเปนเรือพระอรรคชายาราชมเหษีและคำกล่าวโดยตำหรับพระราชพิธีอาศะยุชว่า เรือพระที่นั่งไชยเฉลิมธรณินไชยสินธุพิมานทั้งสองลำนี้ เปนที่เสี่ยงทายแสดงความจำเริญและมิจำเริญแก่บ้านเมืองพลทหารชำนาญพาย ๆ แข่งกันมิได้ละลด ถ้าเรือทรงพระนารายน์คือเรือพระยามีไชยชำนะ ก็ทำนายว่าสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าจะแผ่ผ้านพระเดชเดชานุภาพไปทั่วทิศานุทิศ ลูกค้าพานิชนานาประเทศ จะแตกตื่นกันมาเชยชมบรมโพธิสมภารพระเจ้าแผ่นดิน บ้านเมืองจะบริบูรณ์ด้วยสรรพสิ่งของต่างประเทศ ราคาซื้อขายจะย่อมเยาว์เบาค่าทุกสิ่งสินค้า ธัญญาหารมัจฉมังษาหารผะลาหารพานจะเสื่อมทรามฝืดเคืองไม่สู้อุดม เศษทำนายว่าสัตรีจะมีบุตรเปนชายโดยมาก หนึ่งโสดแม้ว่าเรือทรงพระลักษมี คือเรือพระอรรคชายามีไชยชำนะ ในตำหรับทำนายทายว่าบ้านเมืองจะบริบูรณ์ด้วยธัญญาหารมัจฉมังษาหารผะลาหาร น้ำอ้อยน้ำตาลสาระพัดของบริโภค อันลูกค้าพานิชซึ่งจะมาค้าขายชายจะเบาบาง สิ่งของต่างประเทศมิได้อุดมมัธยม เศษทำนายว่าสัตรีจะมีบุตรเปนธิดาโดยมาก ผิว่าเรือพระที่นั่งทั้งสองแข่งเสมอลำกันก็ทำนายว่า บ้านเมืองจะมิได้บริบูรณ์ทุกสิ่ง มีอาหารการกินเปนต้นในขวบปีนั้น แลธรรมเนียมทหารจำนำประจำพายนาวาคู่แข่ง ถ้าเรือพระที่นั่งลำใดได้ไชยชนะ ทหารพลพายประจำลำก็ได้รับพระราชทานขนอนในกรุงเช้าชั่วค่ำในวันนั้นเปนรางวัล ไปแบ่งปันกันตามบานพะแนกนายและไพร่
     ครั้นเพลาตระวันชายแสง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกณะพระที่นั่งชลพิมานชานชลา พระอรรคชายาแลราชประยูรวงษานุวงษ์พระสนมกำนัล โดยเสร็จสพรั่งพร้อม หมู่มุขมาตยาขี่เรือตาริ้วล้อมวงจอดลอยคอยรับราชบริหารอยู่รายเรียง เรือเที่ยวข่าวก็พายขยุมสุม บอกให้ยกธงเรือทุ่นทุก ๆ ลำเปนสำคัญสัญญา ให้วางเรือพระที่นั่งคู่แข่งลงมาถวายทอดพระเนตร์ พระครูพรหมพรตพิธีบรมหงษ์ และพระครูเพทางคสาตรราชไตรเพทก็อ่านวิษณุมนต์บันฦๅเสียงสังข์ปรายเข้าตอกดอกไม้ ทหารเรือแห่ก็โห่เอาไชยขึ้นสามลา ชาวดุริยางค์ในพระที่นั่งลำแข่ง ก็ประโคมสังคีตประสานเสียงเสนาะเพราะบันเลงเพลงล่องเรือ
     โหราลั่นฆ้องฤกษ์สิทธิไชยก็โบกธงหน้าท้าย พลพายออกเรือพระที่นั่งทั้งคู่พร้อมกัน เสียงคนแห่คนดูโห่ร้องอวยไชยให้พรเอิกเกริกก้องโกลาหลทั้งสองฟากฝั่ง เรือพระที่นั่งเอกไชยคู่แข่งงอนระหงงามอร่ามด้วยแสงสุวรรณวิไลยเลขา บุษบกบัลลังก์แลระยับจับสายน้ำไหล เครื่องสูงสล้างรายเรียงหน้าท้ายธงทองธวัช พลพายใส่เสื้อแดงหมวกแดงดูงามสง่ากรายพรายทองดังจะบินฟ้าพาเรือแล่น ดูผาดโผนมากลางสายชลชะลาทั้งคู่แข่งกันขึ้นกันลดล่วงลงมาถึงหน้าฉาน เรือพระที่นั่งเอกไชยเฉลิมธรณิน ก็เหลื่อมลำแล่นเลยพระที่นั่งไชยสินธุพิมาน บรรดาคหบดีเศรษฐีพวกพ่อค้าก็ยินดีต่างตบมือโห่ร้องรำฟ้อนไปทั้งท้องน้ำ พลพายลำข่มมีน้ำใจพายหนีมาถึงเฉียบขาดพระที่นั่งเอกไชยเฉลิมธรณินมีไชยชำนะ ทหารแห่และพลพายก็เฮฮาบ่ายหน้าเรือพายกรายเห่ช้ามาลอยถวายลำอยู่ตรงหน้าฉาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระโสมนัศเบิกบานสำราญราชหฤไทยตรัสประภาษเชยชม แล้วโปรดให้พระราชทานรางวัลอย่างแต่หลัง ฯ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 พ.ย. 19, 17:13

“I confess that when the King's Ambassadors entered in the River, the Beauty of the Show surprised me.  The River is of an agreeable breadth, and notwithstanding its Meanders, there is always discovered a very great extent of its Chanel, the Banks where of are two Hedge-tows continually green. This would be the best Theater in the World for the most sumptuous and magnificent Feasts but no Magnificence appears like a great number of men devoted to serve you. There were near three Thousand embarks in seventy or eighty Balons, which made the Train of the Ambassador. They rowed in two ranks, and left the Balons with the King's Ambassadors in the middle. Everyone was animated and in motion : All eyes were taken up with the diversity and number of the Balons, and with the pleasantness of the River's Channel ; and yet the ears were diverted by a barbarous, but agreeable noise of Songs, Acclamations and Instruments ; in the intervals of which the Imagination ceased not to have a sensible taste of  the natural silence of the River. In the night there was another
sort of Beauty, by reason that every Balon had its Lanthorn ; and that a noise which pleases, is much more pleasant in the night.”

De la Loubere (1689)



กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 พ.ย. 19, 18:09
เห่ช้าแลเรือ = สวะเห่
๏ เห่แลเรือ เห่ละเห่เห เห่โหวเห่โห เหโหวเห่เห้ เห่เหเห่เหเห่ โอละเห่
๏ สาละวะเห่ โหเห่เห เหเห่ เหเห่เห โอละเห่
๏ ช้าละวะเห่ เหเห่ เห่เหเห่ โอละเห่ เจ้าเอยก็พาย พี่ก็พาย พายเอยลง
   พายลงให้เต็มพาย โอวโอวเห่
๏ ช้าละวะเห่ โหเห่เห เหเห เหเห่เห โอละเห่ มูละเห่ มูละเหเห่เห้
  โอเห้มารา โอเห้เจ้าข้า โอเห้เจ้าข้า มาราไชโย สีเอยไชย
  สีไชยแก้วเอย ไชยเอยแก้ว ไชยแก้วพ่อเอย โอวโอว ๚

"a barbarous, but agreeable noise of Songs, Acclamations and Instruments"  De La Loubere
"พลพายกรายพายทอง   ร้องโห่เห่โอ้เห่มา"  กาพย์เห่เรือ
 "ถ้อยขึ้นถ้อยแขงมี่มี   ไชยเมื่อถึงที จะใกล้ที่แดนยอพาย "  สมุทรโฆษคำฉันท์
"ทหารแห่และพลพายก็เฮฮาบ่ายหน้าเรือพายกรายเห่ช้ามาลอยถวายลำอยู่ตรงหน้าฉาน" ตำนานนางนพมาศ

https://www.youtube.com/watch?v=sq1CBdU23XM (https://www.youtube.com/watch?v=sq1CBdU23XM)


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 พ.ย. 19, 18:50

Nicolas Gervaise (1688)


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 12 พ.ย. 19, 23:45
ผมยังไม่เห็นมีตรงไหนที่เข้าเค้าว่าจะเป็นเห่ด้วยกาพย์เห่เรืออย่างในปัจจุบันเลยครับ มีแต่เห่ให้จังหวะ อย่างตัวอย่างที่คุณ Koratian ยกมานั่นแหละครับ

ถ้าเห่อย่างปัจจุบันแล้วลาลูแบร์บรรยายว่า a barbarous, but agreeable noise of Songs, Acclamations and Instruments ; in the intervals of which the Imagination ceased not to have a sensible taste of  the natural silence of the River.

ผมว่ามันไม่ใช่นะครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 13 พ.ย. 19, 06:30

แล้ว​ Nicolas  Gervaise  ตรงที่ขีดเส้นใต้แกเขียนว่าอย่างไรครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 พ.ย. 19, 10:48
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5461.0;attach=71912;image)

คุณสันต์ ท.โกมลบุตร ถอดความตอนนี้ไว้ในหนังสือ "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ และการเมืองแห่งราชอาณาจักร" โดย นิโกลาส แชรแวส ไว้ดังนี้

นำเรือพระที่นั่งทรงเป็นคู่ ๆ ไปข้างหน้า เรือพระที่นั่งนั้น ใช้ฝีพายพวกแขนแดง ซึ่งมีความชำนาญมาก และได้รับเลือกเฟ้นมาเป็นพิเศษ ทุกคนสวมหมวก เสื้อเกราะ ปลอกเข่า และปลอกแขน ทำด้วยทองคำทั้งสิ้น น่าดูแท้ ๆ เวลาเขาพายพร้อม ๆ กัน เป็นจังหวะจะโคน พายนั้นทาทองเหมือนกัน เสียงพายกระทบกันเบาๆ ประสานกับทำนองเพลง ที่เขาเห่ยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน เป็นคล้ายเสียงดนตรี ที่เสนาะโสตของพวกชาวบ้านชาวเมืองเป็นอันมาก


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ย. 19, 17:39
ขอโทษที่ช่วงนี้มีงานนอกเรือนเอาเวลาไปหมด เลยไม่มีโอกาสไปค้นคว้าหาข้อมูลมาเพิ่มเติม
แต่อ่านทั้งหมดที่ท่านสมาชิกช่วยกันนำมาลง      ดิฉันก็เชื่อไม่ลงว่าขบวนเรืออันอลังการจำนวนหลายลำเหล่านี้จะมีไว้เพื่อขุนหลวงในรัชกาลต่างๆท่านเสด็จไปเที่ยวเล่นทางน้ำอย่างเดียว    โดยไม่ใช้ในพระราชพิธีอะไรเลย   
 อยุธยานั้นเต็มไปด้วยพิธีหลวงต่างๆไม่เว้นแต่ละเดือน  อย่างที่เห็นในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนที่สืบทอดมาจนถึงรัตนโกสินทร์  ก็ต้องใช้ขบวนเรือเหล่านี้กันด้วยแน่นอน

ส่วนเรื่องเห่กับโห่นั้น ก็ไม่เชื่อว่านั่งเรือกันไปนานๆหลายชั่วโมง กว่าจะถึงจุดหมาย  จะเปล่งเสียงแต่เสียงโห่ฮิ้ว โห่ฮึ่ม สลับเสียงเฮๆ เหมือนโห่เชียร์กีฬาบนอัฒจันทร์ ก็กระไรอยู่     อยุธยามีกวีประจำราชสำนักกันมาทุกรัชสมัย      ถ้ากวีต่างๆจะแต่งบทกวีขานขับให้ไพเราะสง่างามเข้ากับจังหวะพาย ซึ่งมีหลายแบบ  ก็สมเหตุสมผลกว่า
กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งนั้น  เมื่อยังทรงเป็นวังหน้า ย่อมทรงมีอำนาจเต็ม บุญบารมีเหลือล้นรองจากพระราชบิดาพระองค์เดียว     ท่านนิพนธ์กาพย์บรรยายขบวนเรือ บรรยายธรรมชาติข้างทาง บนบกในน้ำออกสารพัด  แล้วเอามาขานขับอยู่เงียบๆกับมหาดเล็กอยู่ในวังเท่านั้นหรือ   ไม่น่าเป็นไปได้
ดูลักษณะการแต่งนั้นแล้ว อลังการเกินกว่าจะเขียนแล้วให้อาลักษณ์ลอกลงสมุดไทยเก็บเงียบ   แต่น่าจะเป็นแต่งเพื่อใช้งานเสด็จทางชลมารค

บันทึกที่คุณสันต์แปลมาข้างบนนี้  บอกอยู่แล้วว่ามีการขับขานทำนองเพลงกันนะคะ     


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 14 พ.ย. 19, 11:49
(ออกตัวอีก, เป็นเพียงการ) นำเสนอข้อมูลเพื่อพิจารณา

       ในบทความที่กล่าวว่า - ไม่พบหลักฐานว่ามีเห่เรือในขบวนเรือพระที่นั่ง - นั้น,น่าจะมีที่มาจากบันทึกอื่นๆ
ได้แก่

             ราชทูตลังกาเห็นขบวนเรือสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เสด็จทางชลมารคไปทอดกฐิน แล้วมีบันทึกว่า
ในขบวนเรือมีเล่นระบำเล่นดนตรี แต่ไม่พูดถึงเห่เรือ        

 https://www.matichon.co.th/columnists/news_357041

             จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยาม ของ บาทหลวงตาชาร์ด
นายสันต์ ท. โกมลบุตร แปล กรมศิลปากรพิมพ์ พ.ศ.2517
             พรรณนาอย่างละเอียด พระนารายณ์เสด็จทางชลมารคทอดกฐินแล้วมีแข่งเรือ จนถึงลอยโคม แต่ไม่มีเห่เรือ

https://www.matichonweekly.com/column/article_13616

             ไม่มีเห่เรือ ยุคอยุธยา สมัยพระนารายณ์ จากบันทึกของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศส        

https://www.matichon.co.th/columnists/news_342587


ภาพริ้วขบวนแห่พยุหยาตราทางชลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เขียนลงสมุดไทยขาวยาวต่อเป็นแผ่นเดียวกัน


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 14 พ.ย. 19, 18:03

สนับสนุนข้อมุลเพิ่มเติมครับ

royin.go.th (http://royin.go.th)

เห่เรือ
น. ทำนองที่ขับร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค.



กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 15 พ.ย. 19, 10:22
ผมไปนึกถึง เวลาที่เขาฝึกทหารเกณฑ์กัน ระหว่างที่จ่าครูฝึกนำทหารวิ่ง เขาก็จะมีการ "ออกเสียง" อะไรบางอย่าง(ขออนุญาตใช้คำกว้างนะครับ) เช่น อาจจะแต่ตะโกนพร้อมกัน ว่า "ขวา ขวา ขวา ซ้าย ขวา" หรือ "ชาติ เกียรติ วินัย กล้าหาญ อดทน"

หรืออาจจะร้องเพลงอะไรก็แล้วแต่ เพลงหน่วย เพลงกองร้อย เพลงมาร์ชทหารบก หรือแม้แต่เพลงทั่วๆไป แบบว่า วิ่งไปร้อง ขอใจเธอแลกเบอร์โทร ไปด้วย ก็ยังทำได้

ทีนี้ ผมก็มานึกถึงการพายเรือ โดยเฉพาะในกระบวนเรือใหญ่ๆ ภาพก็น่าจะพอเปรียบกับการที่ทหารจำนวนมากวิ่งไปพร้อมๆกันได้อยู่บ้างกระมังครับ ถ้าในระหว่างพาย ฝีพายเหล่านั้น "ออกเสียง" อะไรบางอย่าง เช่น อาจจะแค่ ออกเสียงว่า "ฮึ่ย ฮึ่ย ฮึ่ย" หรือมีการร้องเพลงอะไรสักเพลงที่รู้จักกันในสมัยนั้น อาจจะเป็นบทร้องลำตัด บทร้องเกี้ยวพาราสีในตลาด ที่เป็นมีม (Meme) อยู่ในตอนนั้น หรืออะไรอื่นทำนองนี้

ถ้ามีการกระทำอย่างนี้ในขณะที่ฝีพาย กำลังพายเรือ เช่นนี้ จะถือได้ว่า มีการ "เห่เรือ" หรือไม่

หรือ การที่จะถือได้ว่า มีการเห่เรือ จะต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการคือ ต้องเป็นการออกเสียงในขณะที่พายเรือ และต้องเป็นการออกเสียงวรรณกรรมที่ดีไซด์มาเพื่อขับร้องบนเรือเท่านั้น ขาดข้อหนึ่งข้อใดไป ไม่นับว่ามีการเห่เรือเกิดขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น บรรดากาพย์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็มีความยาวพอสมควร ผมค่อนข้ามมั่นใจว่า คงจะต้องมีการซ้อมกันให้ดีก่อนที่จะนำไปใช้จริงแน่ ไม่น่ามีใครกล้าร้องสดโดยไม่ซ้อมต่อหน้าพระพักต์ แต่การซ้อม อาจจะซ้อมกันบนบก ไม่ได้ซ้อมในเรือ ถ้าใช้บันทัดฐานอย่างแค่ คือต้องมีทั้ง 2 องค์ประกอบ ต่อให้ซ้อมเป็นหมื่นเที่ยว พันเที่ยว ก็ต้องนับว่า นี่ไม่ใช่การเห่เรือ อยู่นั่นเอง และถ้าสมมุติว่า กรุงศรีเกิดมีอันล่มสลายลงไป ก่อนที่จะได้จัดขบวนพยุหยาตราขึ้นมา ก็ต้องนับว่า ในยุคกรุงศรีฯ ไม่มีเพลงเห่เรือ เพราะไม่ครบองค์ประกอบ

จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 15 พ.ย. 19, 10:29
หรือในทางกลับกัน
ในการเสด็จพระราชดำเนินทางเรือคราวหนึ่ง ในคราวพันท้ายนรสิงห์ก็ได้รับ แผ่นดินพระเจ้าเสือ ก่อนยุคเจ้าฟ้ากุ้งอย่างแน่นอน
สมมุติว่า พลพายสมัยนั้น นิยมพายไป ร้องเพลงไปอยู่เหมือนกัน แต่เพลงที่ร้องก็เป็นเพลงเรือธรรมดาๆ (พราะตอนนั้นยังไม่มีผู้ใดแต่งเพลงสำหรับร้องในเรือขึ้นเป็นการเฉพาะ) ถ้ามีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอย่างนี้ ในทางพิจารณาก็ถือว่าไม่ครบองค์ประกอบของการเห่เรืออยู่ดี เพราะขาดข้อ "เพลงเฉพาะ" ไป นักประวัติศาสตร์จึงต้องถือว่า ในแผ่นดินพระเจ้าเสือไม่เคยมีการเห่เรือ

อย่างนั้นใช่หรือไม่ครับ 


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ย. 19, 14:13
ถามสมเป็นนักกฎหมาย มีที่มาที่ไป มีองค์ประกอบครบถ้วน ในการชี้ประเด็น
ใครที่ฟังเห่เรือจะพบว่ามีท่วงทำนองขับขาน มีเสียงสูงต่ำเหมือนเสียงโน้ตดนตรี และมีคอรัสประกอบเสียด้วย   ฝรั่งจะฟังเป็นดุริยางค์ ก็ไม่ถือว่าพี่แกฟังผิด   
แต่ในกระทู้นี้  หลายท่านน่าจะเน้นว่าไม่มีพยานหลักฐานจะจะ ว่ามีการเห่เรือ    ต้องมีคำว่าเห่ หรือมีคำบรรยายประกอบที่ดิ้นไม่หลุดว่าเป็นการเห่แน่ๆ
ในเมื่อมีแต่พยานแวดล้อมที่ไม่แน่นอนว่าเป็นคำนี้   จึงตัดสินให้จำเลยคือขบวนเรือหลุดข้อหาไป ว่าไม่มีการเห่เรือ ค่ะ   


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 15 พ.ย. 19, 15:34
ถามสมเป็นนักกฎหมาย มีที่มาที่ไป มีองค์ประกอบครบถ้วน ในการชี้ประเด็น
ใครที่ฟังเห่เรือจะพบว่ามีท่วงทำนองขับขาน มีเสียงสูงต่ำเหมือนเสียงโน้ตดนตรี และมีคอรัสประกอบเสียด้วย   ฝรั่งจะฟังเป็นดุริยางค์ ก็ไม่ถือว่าพี่แกฟังผิด   
แต่ในกระทู้นี้  หลายท่านน่าจะเน้นว่าไม่มีพยานหลักฐานจะจะ ว่ามีการเห่เรือ    ต้องมีคำว่าเห่ หรือมีคำบรรยายประกอบที่ดิ้นไม่หลุดว่าเป็นการเห่แน่ๆ
ในเมื่อมีแต่พยานแวดล้อมที่ไม่แน่นอนว่าเป็นคำนี้   จึงตัดสินให้จำเลยคือขบวนเรือหลุดข้อหาไป ว่าไม่มีการเห่เรือ ค่ะ   

กรณีนี้ ศาลตัดสินแบบงงๆ นะครับ

โจทย์ร้องว่า "ไม่มีการเห่เรือในสมัยอยุธยา"
ฝ่ายโจทย์จึงต้องพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยว่าไม่มีเห่เรือจริง ไม่ใช่อีกทางกลับกัน


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 พ.ย. 19, 15:52
โจทก์ร้องว่า ไม่มีการเห่เรือในอยุธยา    อ้างจากเอกสารเก่าๆสมัยอยุธยาที่หากันมา   ไม่มีฉบับไหนระบุเลยว่ามีการเห่เรือ
มีแต่บอกว่าตอนขบวนเรือล่องไปตามแม่น้ำ  มีโห่บ้าง มีการใช้เครื่องดนตรีประกอบบ้าง    แต่ไม่มีคำว่า "เห่"
โจทก์จึงลงความเห็นว่า  ถ้ามีการเห่เรือคงมีเอกสารอย่างน้อยก็ 1 ฉบับบอกไว้ว่า "เห่"   นี่ไม่มีบอก ก็ทำให้เชื่อได้ว่าไม่มีเห่ เจ้าค่ะ ศาลที่เคารพ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 15 พ.ย. 19, 20:10

ศาลที่เคารพ

ขอยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณารวมคดี "ไม่มีเห่เรือในสมัยอยุธยา" นี้เป็นคดีเดียวกันกับคดี "ไม่มีลอยกระทงในสมัยอยุธยา"
ทั้งนี้ฝ่ายโจทย์ได้ใช้เหตุร้องต่อศาลในลักษณะเดียวกัน
กล่าวคือใช้นิยามความหมายของ "เห่เรือ" และ "กระทง"  ตามที่ฝ่ายโจทย์ตีความเอาเอง
และไม่เป็นไปตามความหมายที่บุคคลทั่วไปหรือทางราชการใช้ในปัจจุบัน
และขอให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องก่อนว่า คำฟ้องดังกล่าวมีมูลหรือไม่

(กรณีลอยกระทง โจทย์อ้างว่า ไม่มีหลักฐานการใช้กระทงใบตองลอยน้ำสมัยอยุธยา มีแต่กระทงกระดาษ จึงไม่มีพิธีลอยกระทง มีแต่พิธีลอยโคม)

อ้างอิง พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

กระทง ๑
(๑) น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูงสำหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม,
     ภาชนะที่ทำขึ้นสำหรับลอยนํ้าในประเพณีลอยกระทง

เห่เรือ
น. ทำนองที่ขับร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค.



กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 19, 08:14
คุณคนโคราชเขียนสำนวนคล่องมาก   ศาลนริศคงได้เพื่อนแล้ว


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 16 พ.ย. 19, 11:29
ควัน(ธูปเทียน)หลงคืนลอยกระทง ลอยมาตอบคำถามกระทู้ว่า    

                 ตกลง(แล้ว)ว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัย(หรือ)ครับ

จากนสพ.มติชนวันลอยกระทง 11 พฤศจิกายน 2562

         คืนลอยกระทงพักหลังมานี้ สุจิตต์ วงษ์เทศ อาจนอนหหบฝันดีเป็นพิเศษ(55) เพราะกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรมเผยแพร่หนังสือ "ลอยกระทง รักษ์น้ำ รักษ์วัฒนธรรม" ระบุโดยชัดเจน


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 17 พ.ย. 19, 16:42

อีกทฤษฎีหนึ่ง  ;D

เมื่อนางนพมาศ เกิดในสมัยอยุธยา

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7013.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7013.0)


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 21 ม.ค. 20, 15:52

การเห่เรือสมัยอยุธยาจากคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม

"อันพระราชบุตร พระราชธิดานั้นลงเรือศรีสักกลาดไปหลังพระธินั่ง อันเหล่าสนมพระกำนัลลงขี่เรือศรี ผ้าแดงตามเสด็จไปท้ายพระธินั่ง อันเจ้าพญาจักรีแลพญากลาโหมนั้นมีทานทองแลเจียดกระบี่ซ้ายขวา แลสัปะทนปักน่าเรือตามตำแหน่งแล้วขี่เรือคชสีห์แลราชสีห์มีกูปก้านแย่งแล้วพายซ้ายขวาแห่ไป อันพญายมมะราชาธิบดีสีโลกทันทาธรขี่เรือนรสิงห์มีพานทอง แลเจียดกระบี่สัปะทน ตามตำแหน่งบันดาจตุสดมทั้ง ๔ นำหน้าเสดจ์ดูน้ำฦกแลตื้นบันดาอำมาตย์ราชเสนาบดีทั้งปวงนั้น ขี่เรือดั้งแลเรือกันมีเครื่องอุปะโภคตามตำแหน่ง แล้วพายแห่ไปซ้ายขวาหน้าหลัง บันดาเหล่ามหาดเลกขอเฝ้าทั้งปวงนั้น ขี่เรือตามเสดจ์หลังกระบวนแห่ อันนายเพชฆาฏนั้น ขี่เรือเสือแล้วดาบแดงไปหน้าเรือตามเสดจ์ไปหลังพยุบาตตราตามตำแหน่ง อันเหล่าเกนฝีพายนั้น บ้างก็โห่ร้องพายแห่ไปฯ

บันดาเรือดั้งเรือกันนั้น ก็พายแห่แล้วร้องโยนยาวอื้ออึงไปในแม่น้ำ อันที่พายเรือพระที่นั่งเอกนั้น บ้างก็พายนกบินแลพายกราย แล้วทำเพลงร้องเห่เรือเปนลำๆ เสียงเพราะพร้อมกันต่างๆ บ้างโห่ร้องอื้ออึงแล้วพายไป ดังไปด้วยเสียงฆ้องกลอง แลปี่พาทย์ราดตะโพน แลเสียงดุริยางค์ดนตรีทั้งปวง บ้างก็ร้องรำทำเพลงพายไปเตมทั้งแม่น้ำเสียงอื้ออึงคนึง
ครั้นแห่ไปถึงวัดไชยธนารามแล้วจึ่งห่อพระอัษฐิทั้งสองพระองค์นั้น ลงถ่วงน้ำแล้วเรียกว่าจรดพระอังคารตามอย่างตามธรรมเนียมแต่ก่อนมา ครั้นแล้วจึ่งแห่เสดจกลับมาประทับเรือพระที่นั่งที่น่าฉนวนน้ำ แล้วเสดจขึ้นบนท้องฉนวน จึ่งเข้าประตูฉนวนในพระราชวัง"


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 20, 16:11
สุขสันต์วันลอยกระทง  สำหรับชาวเรือนไทยทุกท่านค่ะ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 20, 16:14
ฉลองสองวันรวด ลอยกระทงกับฮัลโลวีน


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ต.ค. 20, 16:16
https://www.youtube.com/watch?v=Eb-lzTh_klA


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ย. 22, 08:51
ลอยกระทงปีนี้

ชัชชาติขอ อย่าใส่เงินในกระทง แย่งกันเก็บ จมน้ำดับ บุญไม่ได้ เป็นบาป

ชัชชาติวอน อย่าใส่เหรียญในกระทง เด็กแย่งกันเก็บ บุญไม่ได้ เจอบาปแทน เพราะจมน้ำดับกันทุกปี อีกเรื่องอย่าเล่นประทัดพลุ รำลึกพระแม่คงคากันอย่างสวยงามเถอะ

วันที่ 7 พ.ย.2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วอนประชาชนอย่าลงเก็บเงินในกระทง แม้จะไม่มีกฎหมายห้าม แต่กทม.ได้จัดเจ้าหน้าที่ขอความร่วมมือแล้ว ถ้าอยากจะทำบุญปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก ขอนำเงินไปบริจาค จะจัดหาตู้ให้ ได้บุญไม่น้อยกว่าลอยในกระทง

ทั้งนี้คนที่ลงน้ำไปเก็บเงินในกระทงส่วนใหญ่จะจมน้ำ ไม่มีใครได้ใช้ หากนำเงินไปบริจาคให้เด็ก 10-20 บาท ขออย่าไปใส่เลย เกิดบาปด้วยซ้ำ เพราะเด็กอาจไปแย่งกันเก็บ จนจมน้ำตายอย่างที่เกิดเหตุมาด้วย

สำหรับการเล่นดอกไม้ไฟ หรือจุดสู่อากาศต้องขออนุญาตจากสำนักงานเขต กทม.จะไม่ไปไล่จับ แต่จะต้องขอความร่วมมือ เพราะช่วงนี้อยู่ในช่วงที่เสี่ยงเกิดเหตุอัคคีภัยรุนแรง ขออย่าไปเล่น เพราะเราอยู่กันด้วยความสวยงาม รำลึกถึงบุญคุณของพระแม่คงคา ตอบแทนบุญคุณท่าน

นอกจากนี้คืนวันลอยกระทงระดับน้ำจะลดลง เพราะกทม.พร่องน้ำไว้ และน้ำฝนไม่ได้เพิ่ม ดังนั้นระหว่างลอยกระทง ขอให้ประชาชนระมัดระวัง อาจต้องมีอุปกรณ์เพิ่ม เช่น สไลเดอร์เพื่อปล่อยกระทง หรือกระบวยที่ใช้ยื่น พร้อมทั้งฝากดูแลเด็กและผู้ที่อ่อนแอ ระวังการพลัดหลง กทม.จะเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก

ขณะที่ปัญหาขยะจากกระทง จะเห็นว่าปีที่ผ่านมาโฟมน้อยลงมาก เป็นเลขตัวเดียว ที่เหลือเป็นขยะที่สามารถย่อยสลายได้ แต่ไม่สามารถปล่อยให้ย่อยสลายเองได้เพราะน้ำจะเน่า จึงต้องเร่งเก็บให้หมดในรุ่งเช้า กทม.จะดูแลเรื่องขยะเหมือนมีมือวิเศษมาเก็บให้ อย่างไรก็ตามขอประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนให้เลือกใช้กระทงที่ย่อยสลายได้ เพราะหากเป็นขยะจะสามารถทำเป็นปุ๋ยได้

เบื้องต้นได้ ตรวจโป๊ะ 404 แห่ง มีโป๊ะไม่ได้มาตรฐานและงดใช้งาน 28 แห่ง มีสวนสาธารณะที่จัดงานลอยกระทง 31 แห่ง ได้ขยายเวลาเปิด-ปิดจนถึง 00.00 น. อยากให้ประชาชนเฉลี่ยเวลาไปลอยกระทง ไม่อยากให้แออัด จึงได้มอบหมายให้รองปลัดกรุงเทพมหานครดูแล ควบคุมการเข้า-ออกแล้ว


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ย. 22, 09:35
 ปีนี้ ลอยกระทงมีข่าวพิเศษ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เตือนประชาชนว่า

 "....ได้มีเว็บไซต์ต่างๆ ใช้โอกาสนี้ในการจัดกิจกรรมลอยกระทงออนไลน์ โดยให้ผู้ที่มีความประสงค์จะร่วมกิจกรรมกรอกชื่อ นามสกุล ข้อมูลส่วนบุคคล และคำอธิฐานต่าง ๆ เพื่อลอยไปกับกระทงออนไลน์
       สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนให้ระมัดระวังในการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มีความอ่อนไหว เช่น วันเดือนปีเกิด ชื่อนามสกุลจริง หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรประชาชน ที่อยู่ ฯลฯ และขอให้เลือกใช้บริการเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากอาจมีผู้ไม่หวังดี อาศัยโอกาสนี้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อนำไปใช้โดยมิชอบ หรือนำไปใช้ในการกระทำผิดกฎหมาย และบางเว็บไซต์อาจให้พี่น้องประชาชนกรอก บัญชี และรหัสผ่าน ของสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งบางเว็บไซต์อาจสร้างหน้าเว็บขึ้นมาเพื่อหลอกเก็บข้อมูล บัญชี และรหัสผ่าน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในภายหลัง ซึ่งจะส่งผลให้พี่น้องประชาชนได้รับความเสียหาย
       ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝากขอความร่วมมือมายังพี่น้องประชาชน หากพบเห็นเว็บไซต์ใดที่มีการขอข้อมูลส่วนบุคคลเกินกว่าความจำเป็น หรือน่าสงสัยว่าอาจหลอกเอาข้อมูลรหัสผ่าน สามารถแจ้งเบาะแสไปยังสายด่วน 191 และสายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ย. 22, 16:44
จาก Facebook คุณ Drama-addict

คืนนี้นอกจากเป็นวันลอยกระทงแล้ว ยังมีเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ คือมีจันทรุปราคาแบบเต็มดวง หรือ เงาของโลกไปบดบังดวงจันทร์ทั้งหมด แต่วันนี้จะพิเศษหน่อยตรงที่เป็น พระจันทร์สีเลือด คือ พอเงาของโลกบังแสงบนดวงจันทร์ แต่ยังมีแสงบางส่วนที่หักเหผ่านชั้นบรรยากาศไปถึงดวงจันทร์ได้ ทำให้มองเห็นเป็นสีแดง ดังนั้นคืนนี้จะมีทั้ง จันทรุปราคา และ พระจันทร์สีเลือด
ซึ่งก็ไม่มีผลกับดวงชะตาพ่อแม่พี่น้องที่เกิดตามจักรราศีต่างๆแต่ประการใด ก็ใครจะอยู่บ้านหรือออกจากบ้านก็ตามสะดวก แต่ขอให้ระวังภัยอันตรายจากประทัดกันให้ดีครับ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 พ.ย. 22, 16:51
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงลอยพระประทีป
จาก เลาะรั้ว​ ชมวัง
คุณDanny Karn 


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ย. 22, 15:46
‘ลอยกระทง’ มีครั้งแรกสมัย ร.3 สระน้ำในเมืองเก่าสุโขทัย ไม่ขุดไว้ลอยกระทง | สุจิตต์ วงษ์เทศ

ลอยกระทงที่ทำสืบเนื่องถึงทุกวันนี้ เริ่มมีครั้งแรกสมัย ร.3 ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ น่าเชื่อว่าได้แบบจากจีน (เคยอธิบายแล้วก่อนหน้านี้)

แล้วสร้างคำอธิบายใหม่ให้ดูสมจริง โดยอ้างอิงย้อนยุคถึงสุโขทัย 3 เรื่อง ดังนี้

1. นางนพมาศ ริเริ่มประดิษฐ์กระทงทำจากใบตอง (กล้วย) ก่อนหน้านั้นไม่มี

2. พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงลอยกระทงครั้งแรก ก่อนหน้านั้นไม่มี

3. ลอยกระทง เนื่องในศาสนาพุทธ เพื่ออุทิศบูชาพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐานยังนัมมทานที

สมุดไทยดำเรื่องนางนพมาศ ซึ่งกรมพระสมมตอมรพันธุ์ รับสั่งว่าเป็นลายพระหัตถ์ ร.3 (เจ้าพระยารัตนบดินทร์ มอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ)

“หนังสือเรื่องนางนพมาศ ซึ่งฉันเข้าใจว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์”

(สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีลายพระหัตถ์ จาก Cinnamon Hall ที่ Penang เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2479 ถึงพระยาอนุมานราชธน ในหนังสือ ให้พระยาอนุมาน : มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดพิมพ์ เมื่อ 14 ธันวาคม 2521 หน้า 56)

หลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีไม่สนับสนุนคำอธิบายทั้ง 3 เรื่องนั้น [รายละเอียดมีในหนังสือ ไม่มีนางนพมาศ ไม่มีลอยกระทง สมัยสุโขทัย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ.2545] จะสรุปมาดังนี้

1. นางนพมาศเป็นหนังสือมีนิยายแต่งใหม่สมัย ร.3 เป็นคู่มือลูกสาวผู้ดีที่ถวายตัวเข้ารับราชการในวัง เป็นสนมนางบำเรอ

2. ลอยกระทง สมัยกรุงเทพฯ สืบจากลอยโคมในน้ำไหล สมัยอยุธยา ซึ่งมีพัฒนาการจากพิธีกรรมขอขมาน้ำและดิน ยุคดึกดำบรรพ์

3. ลอยกระทง มีรากเหง้าเนื่องในศาสนาผี ไม่พุทธ แต่สมัยหลังโยงให้เกี่ยวกับพุทธ

2  กระทงใบตองเก่าสุดในกัมพูชา
ภาชนะใส่เครื่องเซ่นผีของราชสำนักกัมพูชา พัฒนาเป็นกระทงใบตอง ราว พ.ศ.1750 จากเดิมใช้กาบกล้วยและวัสดุลอยน้ำอื่นๆ

กระทงใบตอง มีในภาพสลักบนระเบียงปราสาทบายน (นครธม) แบ่งภาพสลักเป็น 2 ส่วนบนพื้นที่เดียวกัน คือ ส่วนบนกับส่วนล่าง
ส่วนบน สลักเป็นรูปพระราชากับเจ้านาย อยู่บนเรือลอยน้ำ มีฝูงปลาและไม้น้ำ
ส่วนล่าง สลักเป็นรูปสตรีคล้ายนางสนมกำนัล 6 คน นั่งคุกเข่าราบกับพื้น บ้างพนมมือ บ้างประคองกระทง บ้างยกกระทงใบตองขึ้นจบหน้าผาก กระทงจีบเหมือนที่เรียกกันว่าบายสีปากชาม

เอกสารเก่าของกัมพูชาสมัยหลังๆ เรียกพิธีเดือน 12 ว่าลอยประทีป และไหว้พระแข (แข แปลว่า พระจันทร์)
สระน้ำในเมืองเก่าสุโขทัย ไม่ขุดไว้ลอยกระทง
สุโขทัย เมืองแล้งน้ำ ตั้งบนที่ดอนเชิงเขา จึงต้องขุดตระพังเก็บน้ำ
ตระพังในเมืองเก่าสุโขทัย เป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดกับวัง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้ขุดไว้ลอยกระทง หรือเผาเทียนเล่นไฟ
ลอยกระทง เป็นประเพณีของบริเวณที่ราบลุ่ม มีน้ำไหล

“การเสริมสร้างประเพณีใหม่ๆ ขึ้น ณ แหล่งโบราณสถาน เพื่อวัตถุประสงค์ทางการท่องเที่ยว เช่น การจัดลอยกระทงที่สุโขทัย มิใช่ความผิด——-
แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรได้ตระหนักถึงความจริงทางประวัติศาสตร์ที่เราต้องรับผิดชอบส่งต่อให้สาธารณชน ว่าประเพณีนี้ที่สุโขทัยเป็นของปรุงแต่งขึ้นในปัจจุบันนี้เท่านั้น
ไม่เคยมีหลักฐานใดๆในประวัติศาสตร์สุโขทัย ว่าการลอยกระทงเป็นประเพณีรื่นเริงของชุมชนซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่ในที่แล้งน้ำโดยธรรมชาติ จนต้องจัดระบบหาทางนำน้ำมาใช้ ซึ่งเราได้เห็นประจักษ์พยานจากสิ่งก่อสร้างบนผิวดินอันปรากฏร่องรอยอยู่ชัดเจน”

(ธิดา สาระยา : การอนุรักษ์สุโขทัยฯ ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2530 หน้า 22)

ขอขมาธรรมชาติ ในศาสนาผี
ลอยกระทง มีต้นทางจากประเพณีพิธีกรรมประจำฤดูน้ำหลากท่วมท้น เนื่องในศาสนาผี ราว 3,000 ปีมาแล้ว เพื่อขอขมาเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในน้ำและดิน (ก็คือขอขมาธรรมชาติ) ปีละครั้ง

ยุคดั้งเดิม พิธีขอขมาเริ่มเมื่อน้ำหลากท่วมราวกลางเดือน 11 ต่อเนื่องถึงเดือน 12 แล้วสิ้นสุดพิธีเมื่อน้ำค่อยๆ ลดเมื่อเดือนอ้าย (เดือน 1)

ต่อมาเปลี่ยนไปเริ่มก่อนกลางเดือน 12 ไม่มีกำหนดเลิกเมื่อไร? แต่ปัจจุบันกำหนดตายตัววันเดียวคือกลางเดือน 12

เหตุที่ต้องขอขมาก็เพราะคนเราเชื่อว่าได้ล่วงเกินเจ้าแม่และดื่มกินข้าวปลาอาหารเลี้ยงชีวิตตลอดปีจากน้ำและดิน

เจ้าแม่ คือ ผีน้ำ ผีดิน ที่สิงอยู่ในน้ำและดิน บางทีเรียกว่าผีเชื้อ แต่คนบางกลุ่มออกเสียงเป็นผีเสื้อ (คำว่าเชื้อ ออกเสียงเป็น เสื้อ) มีร่องรอยอยู่ในคำสอนของพวกไทดำ (ในเวียดนาม) ว่า “กินข้าวอย่าลืมเสื้อนา กินปลาอย่าลืมเสือน้ำ”
“กินข้าว อย่าลืมเสื้อนา” หมายความว่าเมื่อกินข้าวอย่าลืมผีเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในท้องนา ซึ่งปลูกข้าวเติบโตออกรวงมีเมล็ดให้คนกิน
“กินปลา อย่าลืมเสื้อน้ำ” หมายความว่าเมื่อกินปลาก็อย่าลืมผีเจ้าแม่ที่สิงอยู่ในน้ำ

https://www.matichonweekly.com/in-depth/article_14670



กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 พ.ย. 22, 15:51
จาก Facebook คุณThepmontri Limpaphayorm

เห็นมีคนเอามาเผยแพร่อีกแล้ว ตีความภาพผิด กระทงเซ่นไหว้พระแม่โพสพทำขวัญข้าว ไม่ใช่ลอยกระทง
ต้นข้าว หนูมากินข้าว นั่นมันภาพนาข้าว
 เวลาดูภาพมันต้องดูทั้งผนังระเบียงคด ผมอดขำไม่ได้
กระทงที่เห็นในภาพขืนลอยก็จมน้ำ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 พ.ย. 22, 16:54
รายละเอียดความเห็นของคุณเทพมนตรี ลิมปพยอม เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นหลักของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ และ อาจารย์วรณัย พงศาชลกร

https://facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02PdrrLQE9LeTYU5Ksxur5dkkpweEMvnvAeZSvZaVc9ALHjW3gM8ezAqcif4M3ASgwl&id=1690065094637302


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 พ.ย. 22, 17:25
ความเห็นของอาจารย์วรณัย พงศาชลกร

ภาพสลักหนึ่งบนผนังกำแพงฝั่งตะวันตกของห้องคูหามุขมณฑป มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ แสดงเป็นภาพของ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ บนบัลลังก์ กลางเรือพระที่นั่ง (ยังไม่ได้สลัก คงเห็นเพียงลายเส้นและหัวนาคประกอบพระแท่นที่ประทับ) พระมเหสีทั้งสองพระองค์ พระนางราเชนทรเทวี (ชยราชเทวี) และพระนางอินทรเทวี พร้อมข้าราชบริพาร ซึ่งมีนางกำนัลคนหนึ่งถือเครื่องบูชาคล้ายรูปกระทงดอกไม้ประดิษฐ์ บนเรือพระที่นั่งในขบวนเรือในการเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ที่มีภาพสลักของเรือลำอื่น ๆ อีกหลายลำ ต่อเนื่องไปบนผนังกำแพงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ด้านล่างของภาพสลักเป็นภาพของ “ริมตลิ่ง”ที่มีเหล่าสตรีชั้นสูง ตัวแทนของกษัตริย์ในฐานะ “นางขวัญ” ผู้เป็นตัวแทนของแผ่นดิน (ข้าราชบริพารนางในตามปกติไม่สวมเทริดประดับศีรษะ) กำลังประกอบพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับภาพขบวนเรือด้านบน โดยมีภาพของนกกินปลาปากแหลม อย่าง นกกระสา นกกระยาง นกกาน้ำ เกาะอยู่บนต้นไม้พุ่มเตี้ย (ไม้ริมน้ำ) หลายตัว ภาพของฝูงปลานานาชนิด และภาพคนหาปลาที่ล้วนแต่แสดงความเป็นริมฝั่งน้ำ

นางขวัญหลายคนในภาพกำลังแสดงการนมัสการ/อัญชลีพร้อมเครื่องบูชาที่เป็น “กระทง”ดอกไม้ประดิษฐ์ เพื่อบูชาอำนาจเหนือธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับ “น้ำ” อย่างชัดเจน โดย นางขวัญคนแรกและคนที่สองได้ลอยกระทงบูชาออกไปแล้ว นางขวัญคนต่อมายังไม่ได้ลอยกระทงออกไป ซึ่งนางขวัญคนสุดท้ายด้านขวาสุดกำลังทำท่ายกกระทงขึ้นและก้มโค้งศีรษะลงมาใกล้กับกระทง แสดงให้เห็นพฤติกรรมของการอธิษฐาน ขอพรจากอำนาจเหนือธรรมชาติ

ข้ามมาทางซ้ายของภาพยังเป็นภาพของกลุ่มคนหาปลาที่อยู่ห่างออกไป (มีภาพพุ่มไม้และสัตว์เล็กที่อาศัยเขตชายน้ำคั่นไว้) คนหน้าสุดกำลังนั่งลงแสดงการกราบไหว้ความเคารพต่อพิธีกรรม “ลอยกระทงพระประทีป” คนด้านหลังกำลังหาปลาและคุกเข่าลง ที่บริเวณริมน้ำอยู่ใกล้เคียงกับการลอยกระทง 

*** ในภาพสลักตามแบบขนบแบบแผนโบราณ ยังไม่มีการพัฒนาเป็นรูปแบบเปอร์สเปคทีฟ (Perspective) จึงยังไม่มีการสลักภาพบุคคลแบบ ๓ มิติ ที่จะให้หันหลังมองขึ้นไปด้านบนหรือเห็นเฉพาะด้านหลังกำลังถือกระทงอย่างมีมิติ แต่สลักให้เห็นได้เห็นเพียงทางด้านข้างในแบบ ๒ มิติได้เพียงเท่านั้น รูปบุคคลทั้งหมดในภาพด้านล่าง จึงหมายถึงรูปของบุคคลที่กำลังนั่งอยู่ริมตลิ่งและหันหน้าลงไปทางแม่น้ำ รับกับขบวนเรือพยุหยาตรา

https://facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02zPDuBCU1ddpXe79MBeJLdixy3dKaoj1pyEDuwoq9Fqrt1UjhhuWcajqZm5j1j26Nl&id=100013641335044


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 พ.ย. 22, 17:35
ภาพบน : ภาพสลักนูนต่ำ ปราสาทบายน พระนางอินทรเทวีและข้าราชบริพาร บนเรือพระที่นั่งส่วนหัวเรือ ในงานเทศกาลน้ำหลากเดือน ๑๒

ภาพกลาง : การลอยกระทงดอกบัวพระประทีปที่ริมตลิ่ง (ตามแบบจีน) ในระหว่างเทศกาลฤดูน้ำหลากเดือน ๑๒

ภาพล่าง : พระนางราเชนทรเทวี (ชยราชเทวี)  และข้าราชบริพาร ที่ส่วนท้ายเรือของเรือพระที่นั่ง ตรงกลางยังไม่ได้สลัก เป็นภาพของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ด้านล่างเป็นภาพริมตลิ่ง ที่มีคนหาปลา (ชาวประมง) ร่วมแสดงความเคารพต่อพิธีลอยพระประทีปในฤดูน้ำหลาก


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 พ.ย. 22, 08:35
ความเห็นของอาจารย์วรณัย พงศาชลกร (ต่อ)

ถึงแม้ว่าจะปรากฏหลักฐานของรูปสลักนูนต่ำบนผนังกำแพงระเบียงชั้นนอกสุดฝั่งตะวันตก ของคูหาห้องมณฑปมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทบายน เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ที่แสดงภาพขบวนเรือในการเสด็จพยุหยาตราทางชลมารค ที่มีภาพพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ บนบัลลังก์ (ยังไม่ได้สลัก คงเห็นเพียงลายเส้นและหัวนาคประกอบพระแท่นที่ประทับ) กลางเรือพระที่นั่ง พระนางราเชนทรเทวี (ชยราชเทวี) พระนางอินทรเทวี และเชื้อพระวงศ์ ผู้คนชนชั้นสูงพร้อมข้าราชบริพาร รวมทั้ง ภาพของสตรีชั้นสูงสวมเทริดประดับศีรษะที่กำลังแสดงการนมัสการ/อัญชลี ในท่าทางแสดงการอธิษฐาน-ขอพร  ในมือถือเครื่องกระทงประดิษฐ์รูปดอกบัวตามแบบจีน มาใช้เป็นเครื่องบูชาในพิธีกรรมเพื่อการบูชาแม่น้ำและความอุดมสมบูรณ์ ในช่วงฤดูน้ำหลาก พร้อมกับการจัดขบวนพยุหยาตราเพื่อการลอยพระประทีปด้วยเรือเป็นประเพณีหลวงของราชสำนัก ประกอบภาพชาวประมงจับปลาที่มาร่วมแสดงความเคารพ  ตามภาพรวมของเรื่องราวจากภาพสลักบนผนังภาพขบวนเรือที่ต่อเนื่องกัน   

แต่กระนั้นก็มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป ที่มักจะเอามานำเสนอกัน แสดงความเห็นต่างมุมมองในช่วงของประเพณีลอยกระทงของทุกปี ที่บ้างก็ (มโน) สันนิษฐานว่า สิ่งที่สตรีสวมเทริดถืออยู่นั้น ไม่ใช่กระทงหรอกนะ แต่เป็นรูปศิลปะของ “ปลาย่างเสียบไม้” บ้างก็ว่าไม่มีรูปสลักกระทงลอยอยู่ในน้ำให้เห็น จึงไม่ใช่การลอยกระทงลงน้ำ บ้างก็ว่าเป็นการไหว้ต้นข้าว (แม่โพสพ) เพราะเห็นสัตว์มีหางตัวยาวตัวหนึ่งเกาะอยู่ที่ต้นไม้ จึงตีขลุมว่าเป็นหนู และยกต้นไม้ในภาพก็คือต้นข้าว โดยไม่ได้พิจารณาภาพของต้นไม้ที่สลักไว้ว่า “ไม่ได้เหมือนกันทุกต้น”

ทั้งยังมีภาพของต้นไม้แบบเดียวในผนังต่อเนื่องของกลุ่มภาพขบวนเรือ ที่มีสัตว์ชนิดอื่นประกอบ ทั้งกวาง กระต่าย ภาพเสือกำลังไล่คน (ที่ไม่น่าจะมาไล่กันนาข้าว) ภาพสลักส่วนเชิงของผนังทั้ง ๔ ในเรื่องขบวนเรือเดียวกัน จึงเป็นภาพของป่าชายน้ำและแม่น้ำ (ที่มีภาพสลักปลาและนกจำนวนมาก) มากกว่าจะเป็นจะเป็นภาพของทุ่งข้าว ให้มาไหว้แม่โพสพ ที่ก็ไม่ควรมีภาพคนหาปลาและสัตว์ป่ามาเกี่ยวข้องกัน (อีกนั่นแหละ) 

เมื่อได้เห็นภาพโดยรวมของภาพสลักเชิงผนังที่ต่อเนื่องกัน แล้วจะคิดมโนตีความว่าเป็นอะไร ก็คงเรื่องของ “ความเชื่อ” ของแต่ละบุคคล คงบังคับให้เชื่อกันไม่ได้

*** การไหว้แม่โพสพหรือต้นข้าวในทางมานุษยวิทยา  ไม่เคยปรากฏหลักฐานว่าเป็นประเพณีหลวง ไม่เคยใช้สตรีสูงศักดิ์จากราชสำนักลงมาทำพิธีด้วยกระทงดอกบัวประดิษฐ์อันงดงาม นอกจากการผูกตะกร้า ชะลอมสานและกระบะกาบไม้ ใส่อาหารคาวหวานเป็น “เครื่องบัตรพลี” วางทิ้งไว้ที่โคนต้นข้าวหรือวางทิ้งที่ทางสามแพร่งในการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ตามพิธีกรรมของประเพณีราษฎร์ ในระดับสังคมชาวไร่นาเท่านั้น

https://facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid026admTQCUL8BWBYjAZbTdePT1jy7cP7pQTCdAQQVVEafWHFghpgLhbAJsJ3FNM3Myl&id=100013641335044


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 พ.ย. 22, 09:35
เมื่อได้เห็นภาพโดยรวมของภาพสลักเชิงผนังที่ต่อเนื่องกัน แล้วจะคิดมโนตีความว่าเป็นอะไร ก็คงเรื่องของ “ความเชื่อ” ของแต่ละบุคคล คงบังคับให้เชื่อกันไม่ได้

ลายเส้นภาพแกะสลักหินกำแพงปราสาทบายน แสดงภาพต่อเนื่อง ฝีมือคุณหนุ่มสยาม

ดูเหมือนคุณหนุ่มจะมีความเห็นแย้งกับอาจารย์วรณัย มีรายละเอียดประการใด ขอเชิญเข้ามาเล่าแจ้งแถลงไขเทอญ ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 22, 13:34
จาก FB  คุณ Thepmontri Limpaphayorm

พิธีกรรมของชาวเขมรโบราณทำขวัญข้าว ถวายเครื่องเซ่นในกระทงใบตอง บนแปลงนาข้าว ระเบียงคด ปราสาทบายน วงกลมสีแดงคือหนูที่มากินเมล็ดข้าว ไม่ใช่พิธีลอยกระทงอย่างที่ตีความภาพผิด


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 22, 13:35
 :)


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 22, 13:35
 :)


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 พ.ย. 22, 13:57
เมื่อได้เห็นภาพโดยรวมของภาพสลักเชิงผนังที่ต่อเนื่องกัน แล้วจะคิดมโนตีความว่าเป็นอะไร ก็คงเรื่องของ “ความเชื่อ” ของแต่ละบุคคล คงบังคับให้เชื่อกันไม่ได้

ลายเส้นภาพแกะสลักหินกำแพงปราสาทบายน แสดงภาพต่อเนื่อง ฝีมือคุณหนุ่มสยาม

ดูเหมือนคุณหนุ่มจะมีความเห็นแย้งกับอาจารย์วรณัย มีรายละเอียดประการใด ขอเชิญเข้ามาเล่าแจ้งแถลงไขเทอญ ;D

ต้องตีความเนื้อหาภาพที่แบ่งส่วนบน และ ส่วนล่าง ว่า
.
1. ภาพทั้งหมดมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
.
2. ภาพแยกเนื้อหากันหรือไม่ ระหว่างภาพส่วนบน กับ ภาพส่วนล่าง
.
ทั้งนี้ในส่วนของภาพสลักในห้องอื่นๆ เป็นฉากยุทธนาวีฉากสู้รบเขมรกับจาม ส่วนเนื้อหาภาพล่างก็เป็นบรรยากาศชาวบ้านหุงหา เตรียมสำรับอาหาร ซึ่งมีแนวโน้มว่าภาพส่วนบนกับส่วนล่างไม่เกี่ยวข้องกันในเนื้อหา และทั้งนี้ภาพสลักบูชาต้นข้าว พรั่งพร้อมไปด้วยคนแปกปลาพวงใหญ่ย่อเข่าด้วยความเคารพ ทุกอย่างหันสู่ต้นข้าวซึ่งบรรยายและการขอบคุณถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งทรัพยากร
.
ช่วยกันคิดนะครับว่าหากจะแกะสลักการลอยกระทง จะมีลักษณะภาพอย่างไร และจำเป็นอย่างไรที่จะต้องสลักการเล่นลอยไฟแบบนี้ที่ปราสาทบายนซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คงไม่อินเท่าไหร่ ... อิอิ


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 11 พ.ย. 22, 09:35
คุณเทพมนตรี ลิมปพยอม (https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0cUM4PD9wUC9Kq2KTDa8unRz6Kb8Bdj5qR2GkGPnM4y4FnPgVnk1JPzv7BNJUR62ml&id=100000964084010)

"พิธีกรรมของชาวเขมรโบราณทำขวัญข้าว ถวายเครื่องเซ่นในกระทงใบตอง บนแปลงนาข้าว ระเบียงคด ปราสาทบายน วงกลมสีแดงคือหนูที่มากินเมล็ดข้าว ไม่ใช่พิธีลอยกระทงอย่างที่ตีความภาพผิด"

คุณหนุ่มสยาม (https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02QiDhMMpZHGoWy38Uz8RPBKAJYuCLj873dzQWBJVWckKJ51RfP2cyRF56H17MXnMvl&id=100003957666315)

"ถัดมาเป็นกลุ่มคนแบบปลาขนาดใหญ่ มีหางแซงแซว กับ ปลาฉลาด ย่อตัวน้อมนอบต่อกอรวงข้าว ในขณะที่อีกฝั่งเป็นกลุ่มสตรีชั้นสูงแต่งตัวเต็มยศถือกระทงดอกบัวเป็นเครื่องบูชามาลาต่อรวงข้าว มีหนูอยู่ใต้ต้นข้าวเป็นสิ่งสำคัญ"

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5461.0;attach=79105;imag)

ขออนุญาตเห็นต่าง ที่เห็นตามกิ่งก้าน น่าจะเป็นใบไม้มากกว่ารวงข้าว สัตว์ที่ตะกายอยู่ใต้ต้นตัวใหญ่ แลรูปร่างกำยำไม่คล้ายหนูเลยหนอ ถ้าบอกว่าเป็นแมวจะน่าเชื่อมากกว่า ;D


กระทู้: ตกลงว่า ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้เกิดขึ้นสมัยสุโขทัยหรือครับ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 12 พ.ย. 22, 07:54

ในรูปแกะสลักต้นไหนบ้างที่เป็นต้นข้าว ?