เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 10, 11:12



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 10, 11:12
สนามหลวงปัจจุบัน สภาพวุ่นวายไปด้วยสารพัดกลุ่มคนที่เข้ามาทำมหากิน

มาดูสนามหลวงเมื่ออดีตกันซิ แม้ว่าจะเข้ามาใช้ทำมาหากิน แต่ก็ยังมีระเบียบ

มาร่วมกันรำลึกถึง ด้วยความทรงจำที่ดีและไม่ค่อยจะดี ให้ลูกหลานได้รับรู้




กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 10, 11:29
ยากที่จะได้เห็นการแข่งว่าวที่ท้องสนามหลวงในปัจจุบัน นอกจากการรณรงค์ท่องเที่ยวของรัฐตามกระแส
(ขอยืมภาพจากกระทู้คุณโตโจ เวปพันทิป)



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 10, 11:33
วิ่งว่าว กองเชีย์หลบให้ดีๆ คนวิ่ง วิ่งถอยหลังโดยคนลาก ซอยขาไม่ทัน ประคองตัวไม่ดี ก็มีสิทธิ์หงายท้อง





กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 03 มี.ค. 10, 11:34
ถ้ามีจักรยานมาให้เช่าขับอีกสักอย่างเหมือนเมื่อก่อน ...


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 03 มี.ค. 10, 20:38
ขอบคุณสำหรับภาพนะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 04 มี.ค. 10, 09:03
อยากเห็นภาพตอนเป็นตลาดนัดจังเลยครับ 8)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 มี.ค. 10, 09:54
ตลาดนัดสนามหลวง ก็คือในรูปแรกที่คุณลุงไก่นำมาลงให้ดูกัน
เป็นร้านชั่วคราว  กั้นด้วยผ้าเต๊นท์  ติดกันตลอด  คล้ายๆจตุจักรตอนแรกๆ
http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/bangkok/index6.htm


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 มี.ค. 10, 09:56
สนามหลวง น้ำท่วม  เข้าใจว่าเป็นปีน้ำท่วมใหญ่ ๒๔๘๕
ลิ้งค์นี้มีภาพกรุงเทพสมัยเก่า ให้ดูหลายภาพ

http://www.playfc.com/www2/bbs/viewthread.php?action=printable&tid=1740


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 05 มี.ค. 10, 12:06
ใครก็ได้ ช่วยพาหนูหัดขี่จักรยาน ที่สนามหลวงได้ไหมคะ 8)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 มี.ค. 10, 12:21
สนามหลวง น้ำท่วม  เข้าใจว่าเป็นปีน้ำท่วมใหญ่ ๒๔๘๕

ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๓  ตุลาคม  ๒๔๘๕ 

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/12/K7296683/K7296683.html#88


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 21 เม.ย. 10, 10:05
พยายามนึกภาพสนามหลวงสมัยผมยังเด็กประมาณปี 2481-2 เป็นสนามว่างๆนะ ทางเดินต้นมะขามไม่มีอะไรรุงรัง แต่ละปีมีการแสดงยุทธกรีฑา น่าดูมาก วันหยุดมีเจ็กหาบหมุสะเต๊ะ จะทานเขาก็จะกางเก้าอี้ผ้าใบให้เรานั่ง ซื้อแล้วก็จิ้มลงไปในหม้อเลยทีเดียว เชียว พอโตขึ้นมาตอนเรียนอยู่สามย่าน หัวค่ำไฟมันตกมากอ่านหนังสือ เขียนแบบไม่ค่อยเห็น(ไฟ 110โวลท์) ผมก็จะไปนั่งเล่นที่สนามหลวง ลมเย็นดีมาก น่าจะทั้งลมทั้งฝุ่นนั่นแหละ สมัยนั้นทางเดินก็ยังไม่รุงรัง ตอนเย็นๆมีเมี่ยงคำขาย ครับ
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 เม.ย. 10, 10:29
สมัยนั้น สนามหลวงมีคนมาเล่นว่าวกันหรือยังคะ
เมี่ยงคำ ยังมีขายอยู่ ในยุคที่เขาเล่นว่าวจุฬากับปักเป้ากัน ตอนเย็นๆ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: indyindy ที่ 22 เม.ย. 10, 14:43
เมื่อก่อนท้องสนามหลวงเป็นตลาดนัดใช่มั้ยคะ  ดูจากรูปรู้สึกจะเต็มพื้นที่ท้องสนามหลวงเลย  ถ้าหากมีพระราชพิธีสำคัญทุกคนก็ต้องย้ายข้าวของออกไปหมดเลยใช่มั้ยคะ

ตลาดนัดสวนจตุจักรในปัจจุบันนี้ ก่อนจะเป็นตลาดนัดไม่ทราบว่าพื้นที่ตรงนี้ใช้ทำอะไรคะ  ถ้ามีรูปเก่า ๆ ให้ดูด้วยจะดีมากเลยค่ะ  ดิฉันชอบดูรูปเก่าในอดีตมากค่ะ   



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 23 เม.ย. 10, 12:42
ตอนเด็กๆผมไม่แน่ใจ เพราะคุณพ่อ คุณแม่ ไม่ได้พามาบ่อย ตอนอยู่สามย่าน จำได้ว่า เขามีแข่งว่าวกันแล้ว ตอนเช้าวันหยุดมีคนมารวมกันแบ่งทีมเล่นฟุตบอลที่นั่น รวมทั้งผมด้วย เล่นเสร็จก็แยกกันกลับไม่รู้ว่าใครชื่ออะไรด้วยซ้ำไป สนามหลวงสมัยประมาณปี 2495-6 นั่นไม่มีร้านค้ารุงรังนะครับ
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 23 เม.ย. 10, 14:35
ขอบคุณ คุณมานิตมากครับ
มาเล่าเรื่องให้เราฟังกันทีไรทำให้ผมอดยิ้มไม่ได้เสียทุกครั้งเลย



ขออนุญาตยืมตัวยิ้มแฉ่งมาใช้นะครับ >>>>  ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 เม.ย. 10, 13:16
วันนี้ได้ภาพเสี้ยวหนึ่งของสนามหลวงในวันที่มีตลาดนัดมาเสนอ เป็นบริเวณทิศใต้ตรงข้ามกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๑๖
สังเกตที่ด้านซ้ายของภาพครับที่เป็นตลาดนัด ภาพไม่ชัดเพราะผมตัดมาจาก clip
ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ทางเทศบาลนครกรุงเทพฯ (สมัยนั้นยังไม่เปลี่ยนรูปแบบการบริหารราชการเป็นกรุงเทพมหานคร) สนามหลวงจะกลายเป็นตลาดนัดของกรุงเทพ ตั้งแต่ค่ำวันศุกร์ เหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ค้าจะเริ่มเอาผ้าใบมาขึงกับต้นมะขามเทศ มีการปักเสาไม้ไผ่เพิ่มเติมเพื่อเป็นเสาเต๊นท์ ทับกันไปทับกันมาจนกลายเป็นหลังคาผ้าใบโดยรอบท้องสนามหลวง ยกเว้นถนนผ่ากลางท้องสนามหลวงที่ต้องเว้นไว้ และเก็บผ้าใบหลังคาลงให้หมดภายในค่ำวันอาทิตย์
ในฤดูฝน ถ้าวันไหนฝนตกจะสนุกมากกับการเดินหลบน้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคาผ้าใบเป็นจุดๆ แย่งกันกับคนขายรายเล็กรายน้อยที่วางแผลเล็กๆ บ้าง ปูกับพื้นบ้าง ตรงกลางแนวถนน
สมัยนั้นยังไม่มีเจ้าหน้าที่เทศกิจคอยไล่จับ ปู่คนเล็ก น้องคนสุดท้องของย่าผมเล่าให้ฟังว่า ปู่ทำงานอยู่เทศบาลนครกรุงเทพเป็นเจ้าหน้าที่อนามัย วันเสาร์อาทิตย์ต้องมีหน้าที่ไปคอยไล่จับพวกที่มาวางแผงขายอยู่กลางถนน ซึ่งก็คือหน้าที่ของเจ้าหน้าทีเทศกิจปัจจุบันนี้

กำลังหาภาพแผงหนังสือสนามหลวงใกล้พระแม่ธรณีมาให้ชมครับ



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 เม.ย. 10, 13:24
ภาพถ่ายทางอากาศของสนามหลวง พระบรมมหาราชวัง วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕
จากหนังสือฉลอง ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์




กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 10 มิ.ย. 10, 10:01
ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานคร

ท้องสนามหลวง เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’”

ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาที่สนามหลวง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง และไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมืองด้วย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล พิธีพิรุณศาสตร์มีกำแพงแล้วล้อมรอบบริเวณ ข้างในสร้างหอพระพุทธรูปสำคัญเป็นที่ประดิษฐานพระสำหรับพิธี สำหรับการพิธีมีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธี มีหอดักลมลงที่พลับพลาสำหรับทอดพระเนตรการทำนา ข้างพลับพลามีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง ด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้วสำหรับประทับทอดพระเนตรการทำนาในท้องทุ่ง นอกกำแพงแก้วยังมีฉางสำหรับใส่ข้าวที่ได้จากการปลูกข้าว

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขยายสนามหลวงจากเดิม และรื้อพลับพลาต่าง ๆ ที่สร้างในรัชกาลก่อน ๆ เพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องทำนา และได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การฉลองพระนครครบ 100 ปี งานฉลองเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากยุโรปใน พ.ศ. 2440 ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ใช้เป็นสนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ

ในรัชกาลปัจจุบันมีการใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก รวมทั้งงานพระเมรุมาศเจ้านายระดับสูง เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 10 มิ.ย. 10, 10:04
สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้งพระเมรุมาศของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 10 มิ.ย. 10, 10:05
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีพืชมงคล


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 10 มิ.ย. 10, 10:19
เป็นที่ชุมนุมทางการเมืองมาทุกยุคทุกสมัย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 มิ.ย. 10, 10:33
นึกถึงเพลง ต้นมะขามสนามหลวง - กรรมาชน พ.ศ. ๒๕๑๙

ต้นมะขามสนามหลวง                      แต่ละต้นแต่ละช่วงเกิดก่อ
อันเป็นศาลประชาชนสถิตรอ              ทุกคดีทีละข้อรายต่อราย

นับหนึ่งสองสาม                           นับต้นมะขามด้วยหัวใจมาดหมาย
แต่ละกิ่งจะผูกบ่วงเป็นเงื่อนตาย           แล้วจับพวกวายร้ายมาแขวนคอ


อีกเพลงชื่อเดียวกัน ต้นมะขามสนามหลวง - สุรชัย จันทิมาธร คาราวาน

ต้นมะขามสนามหลวง                      ห่วงลูกหลานเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา
ต้นมะขามย้ำเตือนเรื่องราวนานา           เพราะหลายดวงตาเป็นสักขีพยาน

เมื่อวันที่หกตุลา                            คลื่นลมโถมซัดหญ้าแพรกแหลกลาญ
เหล่าสมุนขุนโจรผู้เผด็จการ                เข่นฆ่าลูกหลานหนุ่มสาวสายเลือดชาวไทย

ต้นมะขามน้ำตาไหล                       เจ็บจำไว้ไม่เคยลืมเลือน
ผ่านมาแล้วหลายวัน หลายปี หลายเดือน   ริ้วรอยคอยเตือนอนุสติคนไทย

 :(


                         


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 11 มิ.ย. 10, 14:33
อย่าลุงไก่ว่าใน คห.15 นั่นแหละ 

สนามหลวงสมัยโน้น ขายกันเต็มพื้นที่ หากเดินเข้าไปแล้วอาจหลงทิศและหลงทางได้ง่ายๆ


เด็กบ้านนอกทุกคน(รวมทั้งผู้ใหญ่)หากไปไหนไม่ถูก ให้ไปเริ่ม ก.ไก่ ที่สนามหลวง เพราะเป็นที่ผ่านของรถเมล์หลายสาย   


ต้นมะขาม สนามหลวง...................เป็นห่วงลูกเต้าเหล่าประชา ฯ  ..................ฟังเพลงนี้แล้วทอดถอนใจ อโหสิให้กับคุณจมูกชมพู่--
หากศรีสยามไม่จับไข้เพราะโดนฝนที่ม็อบสนามหลวง ตอนเย็นวันที่ 5 ตุลา 19  ก็คงเป็นอะไรสักอย่างใน มธ. เมื่อ 6 ตุลา


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: pooklook ที่ 15 มิ.ย. 10, 05:31
ขอบคุณที่นำภาพมาให้ชมกันค่ะ เป็นภาพที่ทำให้เราอยากให้ความสงบสุขกลับมาอีกครั้ง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 มิ.ย. 10, 07:53
บังเอิญค้นเจอรูปที่เข้ากับกระทู้จึงเอามาแบ่งกันชม................


 :D


สนามหลวง..................ช่วง.กึ่งพุทธกาล





กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 มิ.ย. 10, 08:03
หากเข้าไปดูใกล้ๆ......ก็จะเห็นสภาพรถเมล์สมัยนั้น


เข้าใจว่าถ่ายภาพนี้ช่วงใกล้เที่ยง................ถนนใล่งว่าง... ;D


ปัจจุบันน่าจะมีเพียง บางสถานการณ์เท่านั้นที่จะเป็นเช่นนี้....สงกรานต์ / จลาจล?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 มิ.ย. 10, 08:11
ซูมดูรถเมล์?สมัยนั้น



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 มิ.ย. 10, 08:47
ถอยออกไปมองเต็มภาพ................


สนามหลวง.ช่วงกึ่งพุทธกาล

วัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง กระทรวงกลาโหม วัดมหาธาตุ เจ้าพระยา..............ศิลปากร



 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 12 ก.ค. 10, 17:12
ใช้เป็นที่ปลูกข้างเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 13 ก.ค. 10, 23:08
เสาร์ อาทิตย์มีตลาดนัด ริมคลองหลอดเป็นตลาดไม้ดอก ไม้ประดับ 
หน้าศาลหลังแม่ธรณีบีบมวยผม มีแผงหนังสือใหม่ เก่า ขายทุกวัน
เมษามีกีฬาไทย ว่าว กระบี่กระบอง ตะกร้อ
ฝั่งสังคีตศาลามีการแสดงของกรมศิลป์
ร้านอาหารไก่ย่างจีรพันธ์ มีดนตรี
เมี่ยงคำ ร้านปูเสื่อ บายเยียที่ผมชอบ หมึกปิ้ง เดินขาย
โรงกษาปฌ์ อาหารกลางวันถูกอร่อยทุวัน ยกเว้นวันหยุด



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: tony_hui ที่ 14 ก.ค. 10, 11:32
ลองหาหัสนิยายสามเกลอ พล นิกร กิมหงวน ตอน นักเลงพระ ถ้าจำไม่ผิดสำนักพิมพ์บรรณาคารยังพิมพ์จำหน่ายรวมเล่มเป็นปกแข็งอยู่
จะนึกภาพเกี่ยวกับตลาดพระที่ท้องสนามหลวงได้อย่างแจ่มชัดชนิดเหมือนเกาะหลังท่านเจ้าคุณฯไปลองเอามีดโกนเฉือนกันเลยนะขอรับ
ผมมีปก อสท. ที่เป็นภาพสาวงามเดินเฉิดฉันท์อยู่ที่แผงขายหนังสือสนามหลวง แต่ตอนนี้เฝ้าลูกอยู่โรงพยาบาล กลับบ้านเมื่อไหร่จะ
เอามาให้รำลึกความหลังกันครับ :)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 15 ก.ค. 10, 00:37
ขอมีเอี่ยวด้วยคนนะครับ เมื่อก่อนยังเคยไปหัดขี่จักรยานที่สนามหลวงอยู่ หากเป็นรถ3ล้อ ก็ 5บาท แต่ถ้าเป็น2ล้อ ก็3บาท เท่านั้น สมัยนั้นผมเรียนอยู่ที่วัดดุสิต เชิงสะพานปิ่นเกล้า เดินข้ามฟากมาก็เจอแล้ว ซุ้มฝั่งตรงข้ามสนามหลวงใกล้ๆแม่พระธรณีบีบมวยผม จะมีห้องน้ำและตามซอกหลีบของซุ้มและหลังห้องน้ำก็จะมีสุภาพบุรุษนิรนามมาสอบถามด้วยเสียงกระซิบแผ่วๆ..โป้มั้ยพี่  เหมือนกับปัจจุบันหากไปเดินบ้านหม้อหรือคลองถม ก็จะเจอสุภาพบุรุษนิรนามเหมือนกันแต่ปัจจุบันก็จะเปลี่ยนจากหนังสือ มาเป็นดีวีดี แทน           แล้วอย่าลืมหนัง 100จอ นะครับที่ฉายวันที่ 4 ธันวา ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันยังมีอยู่หรือเปล่า หนังกลางแปลงสมัยนั้นฉายตั้งแต่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ตั้งจอเรื่อยไปจนทั่วท้องสนามหลวงและล้นข้ามสะพานไปจนถึงแยกอรุณอมรินทร์


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 15 ก.ค. 10, 12:09
ห้องน้ำที่ท่านว่า(คห.31)เหม็นสุดๆๆๆเลยครับผม วิธีหัดขี่จักรยานของผมคือ ขึ้นไปบนเนินให้คุณแม่จับให้ได้แนวที่ดี แล้วปล่อยลงมา ครั้งเดียวขี่เป็นเลย ครับผม
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 16 ก.ค. 10, 02:44
ใครจำปั้มน้ำมันตราสามทหารได้บ้างมั้ยครับว่าอยู่ตรงไหน ไช่ทึ่ปัจจุบันเป็นศาลฎีกาหรือเปล่าครับ  และครีมกวนอิมของนยห้างประจวบ จำปาทอง ก็ขายประจำอยู่ที่ตลาดนัดแห่งนี้ สมัยนั้น จะมีการเอาแหวนทองคำหนักประมาณ ครึ่งสลึง หรือหนึ่งสลึง ไม่แน่ใจนะครับใส่ลงไปในตลับครีมด้วย ขายดิบขายดีมาก คาดว่าคนอ่านในเรือนไทยนี้น่าจะใข้กันเกินครึ่งเวปแน่ๆ ยืนยันกับคุณมานิตอีกครั้งครับ ห้องน้ำ เหม็นจริงๆ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 16 ก.ค. 10, 22:00
ผมว่านะ เหนือศาลหลักเมืองขึ้นมา แล้วก็ถึงท่ารถเมล์เทศบาลเมืองนนท์
ฝั่งตรงข้ามพระแม่ธรณี ฯ  มีสะพานรถรางข้ามคลองหลอด เรียกสะพานเสี้ยว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ค. 10, 20:35
ปั๊มน้ำมันสามทหารอยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ค่ะ
ถ้าเดินจากกระทรวงกลาโหมมา มุ่งหน้าไปถนนราชดำเนิน   ก็จะผ่านศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และปั๊มน้ำมันสามทหาร   เดินเรื่อยขึ้นมา ผ่านศาลยุติธรรม  จะถึงแม่พระธรณีบีบมวยผม
รอบๆแม่พระธรณีเป็นบูธขายหนังสือเก่า  มีหนังสือสารพัดชนิดแม้แต่แค็ตตาล็อคสินค้าของห้างสรรพสินค้า Sears ของอเมริกา   แมกกาซีนฝรั่งอย่าง Lady's Home Journal ก็มีขาย 
ข้ามถนนมาฟากสนามหลวง  วันธรรมดา มีหมอดูนั่งประจำกันอยู่ใต้ต้นมะขาม  ดูลายมือกันเป็นส่วนใหญ่  ไม่เห็นดูไพ่ป๊อก  ไพ่ทาโร่ต์ก็ไม่มี     เขาเรียกกันล้อๆว่า หมอดูโคนต้นมะขาม


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: tony_hui ที่ 18 ก.ค. 10, 17:30
เอาภาพมาฝากครับ :D
(http://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_20100718172940_b.jpg)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 18 ก.ค. 10, 20:26
เห็นหนังสือ อสท ของคุณ โทนี่ ก็นึกได้เมื่อก่อนจะทำรายงานส่งครู ผมก็ต้องแวะมาหาภาพประกอบจากซุ้มหนังสือ เศษกระดาษสมัยนี้ เมี่อก่อนทางร้านเขาจะหนีบไว้เป็นปึก แยกว่าเป็นรูปอะไร ภาพแบบไหน มีหมด ราคาขั้นต่ำก็ 1 บาทหนังสือที่คุณเทาชมพูเล่ามา อาจจะกองรวมกับปึกพวกนี้ อันนี้คงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนังสือเก่าได้หายไปจากท้องตลาดเพราะเอาไปฉีกแยกขายเป็นแผ่นหมด  ณ.ปัจจุบันไม่รู้ว่ายังมีฉีกขายอีกหรือเปล่า คนขายที่สนามหลวงตอนนี้ย้ายมาขายอยู่แยกปิ่นเกล้า ตรงข้าม 35 โบว์ ก็มีบางส่วน  บางกลุ่มก็ย้ายไปขายที่ข้างตลาด อตก บางส่วนก็ไปขายอยู่ที่ เซ็นทรัลลาดมะพร้าว เลยทำให้กว่าจะหาหนังสือดีๆสักเล่มนึง ราคาไม่แพง หายากมากๆสมัยผมไม่ค่อยชอบซื้อหรอกครับ ชอบยืนอ่านเสียมากกว่า พอแยกย้ายกันอย่างนี้หาอ่านลำบาก แต่ถ้าอยากจะหาหนังสือดีๆอ่าน ขอแนะนำ แถวๆกาดพยอม ต.สุเทพ แถวๆหน้า มช. มีร้านหนังสือเช่า หนังสือเก่าเยอะมาก บางร้านมีหนังสือเก่ากว่าหกสิบปีให้เช่าอ่านด้วยแต่ค่ามัดจำแพงมาก   อยากจะสอบถามท่านผู้รู้ด้วยครับ สงสัยมากว่า 30 ปีแล้ว ตรงหน้าซุ้มหนังสือ จะมีป้อมปูนกลมๆ หลังคาสีเขียว อยู่ริมถนนใกล้กับทางม้าลาย เขาทำไว้ทำไมครับเห็นมีคนไปติดประกาศไว้ หรือมันคือแบรนเนอร์สมัยนี้ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ค. 10, 20:32
บรรยากาศนี้ละค่ะ จำได้
สองสาวในภาพ น่าจะเป็นคุณป้าคุณยายกันไปหมดแล้ว
หนังสือเก่ามีแปลกๆที่เราหาไม่ได้ตามร้านหนังสือหลังวัง   สนุกตรงได้เข้าไปคุ้ยหนังสือเป็นตั้งๆ  หาเล่มที่ต้องการ
บางเล่มก็ถูกมาก บางเล่มก็แพง    สนุกอีกอย่างตรงได้ต่อราคานี่ละค่ะ
หนังสือฉีกเป็นแผ่นๆดิฉันพอจำได้แต่รางเลือนมาก    จำได้ว่าที่ฉีกเฉพาะปกเป็นรูปดาราสวยๆ ก็มี

ป้อมสีเขียว ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนเทศบาลจะทำไว้เพื่อให้แปะประกาศโฆษณาได้ฟรี    ป้องกันไปแปะเลอะเทอะตามเสาไฟฟ้า   ตัวป้อมเขียวรีไซเคิลจากถังหรือปูนซีเมนต์อะไรสักอย่าง   ออกมาน่าเกลียดมากค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 18 ก.ค. 10, 21:29
ปั๊มสามทหารตามค.ห.35 ถูกต้องครับ น่าจะปิดไปตอนประมาณปี 251x ครับ
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ค. 10, 09:46
ไปหารูปแผงหนังสือเก่ามาได้  จากในเน็ต
จำได้ว่าผู้คนคึกคักมาก  ไปทีไร  ไม่เคยเห็นว่างลูกค้าเลย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ค. 10, 09:47
อยู่ด้านหลังแม่พระธรณี


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ค. 10, 09:49
ได้มาอีกรูปหนึ่ง สนามหลวงที่ยังโปร่งตา รถราไม่คับคั่ง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 20 ก.ค. 10, 12:17
2517 แผงหนังสือหลังแม่พระธรณี เป็นแหล่งรวมสารพัดหนังสือและนิตยสาร นอกเหนือจากอสท.เล่มนั้น

สามารถหาซื้อนิตยสารรายเดือนเกี่ยวกับการถ่ายรูป....ที่ราคาหลักร้อยในห้างดังแถวสีลม
ลดเหลือหลักสิบ-ใหม่เอี่ยม/พ้นเดือนแล้ว...........

เป็ที่พึ่งของผู้มีรสนิยมการอ่านสูง/รายได้
(สมัยนั้นเงินเดือนเริ่มที่ 750 บาทได้กระมัง)




เล่มนี้ ฉบับเดือนกุมภา 2517


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 20 ก.ค. 10, 13:04
เมื่อ 2498 จบวิศว รับ 950 ถ้าเกียรติฯรับ 1150 ครับผม
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 20 ก.ค. 10, 15:30
คงเป็นเช่นนั้นครับ.....แต่ 750 สำหรับอาชีพอย่างเจ้าแห้วนะขอรับ..............ไม่มีวุฒิใดๆครับ
ขออภัยที่ลืมบอกให้ละเอียด

;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ค. 10, 20:50
ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับสนามหลวง แต่เป็นภาพสมัยก่อน   
ขอถามว่าเป็นถนนไหนของกรุงเทพคะ   ใครดูออกบ้าง ช่วยเข้ามาไขปริศนาให้หน่อย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.ค. 10, 20:55
2517 (สมัยนั้นเงินเดือนเริ่มที่ 750 บาทได้กระมัง)


รู้แต่ว่า 2513  เงินเดือนคนจบปริญญาตรี ราชการเริ่มต้นให้ 1250 บาท ค่ะ   ตอนนั้นข้าวแกงจานละ 2 บาท


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 20 ก.ค. 10, 23:31
ในภาพ ที่อ. เทาชมพูเอามาให้ชม น่าจะเป็นแถวๆ ตรอก อิสรานุภาพ ตรงข้ามกับ สน.พลับพลาชัย เพราะปัจจุบันยังคงเห็น ภาพหลังคาเก่าและแนวบ้านสมัยนั้นอยู่บ้างครับ ส่วนตึกที่อยู่บริเวณ สี่แยก ดาดฟ้า น่าจะเป็น ศาลเจ้า อยู่ในตรอก ที่มีของใหว้เจ้าขาย อาหารสดๆ อาหารทะเล แถวนี้เพียบ ราคาก็ไม่ค่อยแพงด้วยครับ สังเกตุจากตึกแถวที่สร้างน่าจะหลัง 2510 แล้ว  ละแวกวรจักร เยาวราช ก็ยังมีมนต์ขลัง ไม่แพ้ สนามหลวง นะครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ค. 10, 10:31
นึกไม่ออกเลยค่ะว่าตรงไหนของพลับพลาชัย   ตึกแถวริมถนนคงไม่เหลือแล้ว  มองทีแรกนึกว่าเป็นเวลาก่อนสงครามโลก  แต่มองอีกทีเห็นตึกหลายชั้นกำลังก่อสร้างก็เลยคิดว่าเป็นหลังปี ๒๕๐๐ กว่าๆ

เอาวิดีโอสยามในรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. 2474)  มาให้ดูกัน

http://www.youtube.com/watch?v=d_98jT7XmZw


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ค. 10, 10:38
อีกชุดหนึ่งที่หาดูได้ยาก 
สยามในพ.ศ. ๒๔๙๑  หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ จบลง ๓ ปี
มีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในปีนั้นอยู่ในวิดีโอด้วยค่ะ
มองถนนหนทางและความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น   กรุงเทพยังมีที่หายใจมากกว่าเดี๋ยวนี้มาก

http://www.youtube.com/watch?v=6ORxHenl1oo


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 21 ก.ค. 10, 11:47
นึกถึงบุณคุณ ร้านหนังสือแถวๆสนามหลวง ครับผม ตอนอยู่สามย่านโดนไล่ให้ไปเรียน เอ ยู เอ "มานิตภาษาเธอไม่ได้เรื่อง" ผมเลยไปกว้านซื้อสรรพตำราทั้งหลายแหล่ทั้ง อิเดียม ทั้งสะแลง มาท่อง มีงานแก้เหงา(มีตังเลี้ยงหลาน)ตอนนี้ ก็เพราะร้านที่ว่านี่แหละ ครับผม
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 21 ก.ค. 10, 11:52
ขออนุญาตลองหาสถานที่ตามภาพใน คห. 46 ดูครับ

หากขยายชื่อตรงมุมขวาล่างจะพออ่านได้ว่า ไท้แปะ ซึ่งคงเป็นชื่อเทพดาวพระศุกร์
http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/4/0099-1.html

คงมีศาลเจ้านี้ในภูเก็ตหลายศาล?
ที่ตั้งของป้ายชื่อดังกล่าวเป็นศาลเจ้า/มูลนิธิ?

ภาพนี้ถ่ายที่ภูเก็ต? ก็ไม่น่าจะใช่....สรุป...งงเหมือนเดิม



แต่คงไม่ใช่ตรอกอิสรานุภาพ แถวพลับพลาไชยเพราะตรอกนี้แคบมากกว่า


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ค. 10, 12:38
ดูจากสภาพภูมิประเทศ ที่เป็นที่ราบจนสุดเส้นขอบฟ้า   และความกว้างขวางของเมือง น่าจะเป็นกรุงเทพ ไม่ใช่ภูเก็ตนะคะ
คุณศรีสยามลองขยายภาพตรงเจดีย์และหลังคาโบสถ์ดีไหมคะ  เผื่อจะนึกออกว่าที่ไหน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 22 ก.ค. 10, 08:51
ขออนุญาตเดา....อย่างไม่มีหลักการ.อีกครั้งครับ..............ก่อนยกธงขาว

กลุ่มเจดีย์ที่เส้นขอบฟ้า...ทางซ้าย...คือวัดแจ้ง
หลังคาโบสถ์/วิหารทางขวา.....อาจเป็นวัดสุทัศน์


ตามมุมแลทิศแล้ว......ภาพนี้น่าจะถ่ายที่ถนนเยาวราช?.ช่วงตัดถนนมหาจักร

หากเลี้ยวซ้ายก็เข้าสำเพ็ง................





ติ๊ก...ต็อก...ๆๆๆๆๆๆๆ.....ใช่ไหมเอ่ย?

 ;D ;) :)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ค. 10, 13:23
บอกไม่ถูกจริงๆค่ะ  รู้แต่ว่าเป็นถนนสายเก่าแก่ของกรุงเทพ   อาจเป็นพลับพลาชัยอย่างคุณ Natadol ว่า หรือว่าเยาวราช 
หรือว่าวรจักร  หรือแม้แต่นางเลิ้ง  ก็ได้

เอามาให้ดูอีกรูป เขาบอกว่าเป็นกระทรวงคมนาคม ในช่วงน้ำท่วมใหญ่ปี 2485


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 22 ก.ค. 10, 15:10
พอดี เมื่อวานนี้ ผมมีโอกาสได้เข้าไปทำงาน แถวๆ สำเพ็ง ผมขึ้นไปตั้งจานดาวเทียมที่ดาดฟ้าบ้านลูกค้า มองไปทั่วบริเวณ ก็มีส่วนคล้ายในรูปเหมือนกันครับ หากดูจากอายุในภาพที่ถ่าย ตึกที่สูงขนาดถ่ายภาพมุมกว้างได้จะมีเพียงตึกเดียว คือตึกของห้างทองโต๊ะกัง (เก่า)  น่าที่จะเป็นละแวกนี้ครับ เพราะ ชุมชนที่มีบ้านเรือนหนาแน่น ในเวลานั้นก็จะมี ไม่มากครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ค. 10, 15:22
นึกสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ภาพนี้ต้องถ่ายจากตึกสูงเจ็ดแปดชั้น  จะเป็นตึกไหนได้
ดูจากในรูป ตึกอื่นๆก็อยู่ต่ำลงไปมาก ขนาดตึกสามชั้นยังอยู่ต่ำกว่ามากเลย   
กรุงเทพในรูปนี้ ยังไม่มีตึกสูง  ตึกสร้างใหม่ทางขวามือ ดูเหมือนจะแค่สี่ชั้น
งั้นถนนสายยาว นี้คือถนนพลับพลาชัย หรือว่าเยาวราช คะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ค. 10, 18:58
เสียดายจริงๆ คุณNatadol คงติดตั้งจานดาวเทียมเสร็จแล้ว    ไม่งั้นจะขอให้ถ่ายรูปถนนมาให้ดูหน่อย ว่ามันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากขนาดไหน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 22 ก.ค. 10, 20:51
งานเสร็จแล้วก็ลืมเครื่องมือได้???   อิอิอิอิ
 ;)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 22 ก.ค. 10, 21:46
สงสัยจะถ่ายจากโรงแรม 9 ชั้น เยาวราชนะครับอาจารย์

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 23 ก.ค. 10, 13:57
ไปพบภาพสนามหลวงมุมสูง ปี 1946 จากคุณ mamyee ในเวปนี้เข้าจึงเอามาฝากทุกท่าน

 ;) ;D

http://www.flickr.com/photos/kitdec/3040503562/


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ค. 10, 15:55
น่าดูมากค่ะ    เทียบกับปัจจุบัน  เปลี่ยนไปมาก  คลองระหว่างถนนหายไปแล้ว กรมประชาสัมพันธ์ก็ไม่มีเหลืออีก 
ในยุคหลังสงครามโลกจบลง ๑ ปี สนามหลวงปูหญ้าหรือตอนนั้น


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 23 ก.ค. 10, 16:30
น้ำในคลองยังใส............ต้นไม้แถวแผงหนังสือยังทึบ..........แต่หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ต้นประดู่ยังเพิ่งเริ่มโต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 24 ก.ค. 10, 21:42
ภาพที่คุณsrisiam เทียบกันแล้ว เห็นความแตกต่างกันมากเลยครับ แต่ผมงง ตรงข้ามโรงแรมรัตนโกสินทร์ ก็ต้องเป็นกรมโฆษณาการไช่ไหมครับ แล้วถนนที่อยู่ด้านหลังคือถนนอะไรครับ ไช่ถนนพระอาทิตย์หรือเปล่าครับ  มองๆไปเหมือนจะเห็นรถรางวิ่งอยู่นะครับ แล้วโดมสูงๆที่อยู่ตรงสุดถนนเส้นนี้ น่าที่จะเป็นโดมไฟฉายที่ฉายส่องเครื่องบินช่วงสงครามหรือเปล่าครับ เพราะเด็กๆ ผมเคยเห็นอยู่แถวๆ บางขุนศรี อยู่ป้อมนึงแล้วเขาก็รื้อสร้างสถานีจอดรถทัวร์ปรับอากาศ สายใต้ 


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 25 ก.ค. 10, 07:02
ถนนด้านหลังกรมโฆษณาการน่าจะเป็นถนนจักรพงษ์...จะเห็นหลังคาโบสถ์วัดชนะสงคราม
ส่วนถนนพระอาทิตย์อยู่ซ้ายสุดด้านบนของภาพ/ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
มองไม่เห็นรถรางสักคัน

ลองZoomภาพดูจะเห็นชัดขึ้น

ที่มองคล้ายหอคอยส่องไฟ.............น่าจะเป็นถนนสามเสนช่วงข้ามคลองไปบางขุนพรหมมากกว่า
หากเข้าไปเว็ปนี้จะเห็นว่าตึกกรมโฆษณาการเดิมนั้นสวยมาก.....ดังภาพ


 ;D

http://www.torakom.com/article_index.php?sub=article_show&art=126


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ค. 10, 19:30
มีรูปกรุงเทพเมื่อวันวานมาให้ดูกันอีก   รูปแรกถ่ายในพ.ศ. ๒๔๙๓   
ถามคุณศรีสยาม และคุณณัฐดล ลองเดาได้ไหมคะว่าวัดอะไรในกรุงเทพ  และถนนรอบวัดคือถนนอะไร


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 ก.ค. 10, 19:32
ถนนราชดำเนินในพ.ศ. ๒๔๙๓  หลังสงครามโลกจบลง๕ ปี   ขอถามว่าคนถ่าย ถ่ายจากมุมไหนกัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 25 ก.ค. 10, 22:24
เชิญคุณณัฐดล...คนบางกอก/บางขุนศรี....ก่อนเลยครับ....

ผมคนบ้านนอก......2493...ยังแบเบาะอยู่เลยครับอาจารย์
 ;) ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 25 ก.ค. 10, 23:44
ภาพแรกน่าจะเป็นวัดเบญจมบพิตรนะครับ ส่วนภาพที่ 2 หาก สุดถนนที่เลยจากอนุสาวรีย์ไป น่าที่จะเป็นภูเขาทองครับ ถ้าไม่ถ่ายที่กองสลาก ก็น่าที่จะเป็น กรมโฆษณาการครับ อาจารย์ศรีสยามครับ 2493 อาจารย์ยังแบเบาะ ส่วนตัวผม 2516 ครับ  กราบขอสมัครเป็นลูกศิษย์สักคนนะครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ค. 10, 17:45
ถูกต้องค่ะ ภาพแรกคือวัดเบญจมบพิตร
ภาพที่สอง  ที่นำมาถามเพราะดิฉันไม่แน่ใจว่าผู้ถ่าย ถ่ายภาพจากมุมด้านภูเขาทอง  หรือว่าทางด้านกรมประชาสัมพันธ์    มองไม่เห็นวัดเทพธิดา หรือสนามหลวง ที่จะช่วยตัดสินได้  คุณณัฐดลก็ช่วยตัดสินให้ว่าเป็นทางด้านกรมประชาสัมพันธ์ หรือกรมโฆษณาการเดิม

มีรูปมาฝากให้ดูอีก  คุณศรีสยาม คุณณัฐดล และท่านอื่นๆ  ดูออกไหมคะ ว่าที่ไหน
ที่ถามไม่ใช่ลองภูมิ แต่ดิฉันเองก็ไม่รู้เหมือนกัน
รู้แต่ว่าเส้นทางจากเหนือลงใต้  เป็นคลอง ไม่ใช่ถนน  ส่วนถนนตัดขวางจากซ้ายไปขวา


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 26 ก.ค. 10, 20:17
ลองดู แต่ไม่น่าจะผิด ราชดำเนิน จากด้านกรมประชาสัมพันธ์ เพราะตรงอนุสาวรีย์ด้านซ้ายน่าจะ
เป็นโรงเรียนสตรีวิทย์ และร้านค้าคุรุสภา แล้วเห็นตึกเตี้ยริมอนุสาวรีย์ด้านซ้ายและขวามือรูปโค้ง ซึ่งมีอยู่รอบๆ
เข้าใจว่าด้านขวามือที่เห็นคือด้านที่เป็นร้านศรแดง
รูปที่สอง น่าจะเป็นคลองเทเวศ ถ่ายจากด้านวังจันทร์กระทรวงศึกษา
เมื่อประมาณ ๐๕-๐๖ ญาติผมเคยบรรทุกแตงโมไปจอดขายในคลองนี้
สะพานที่เห็น เหตุมีเมื่อเร็วๆนี้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ค. 10, 20:31
พยายามวาดภาพตามไป แต่ยังนึกตามไม่ออก
ถนนที่ตัดขวางภาพคือถนนอะไรคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 ก.ค. 10, 20:47
ขอส่งเข้าประกวดครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ค. 10, 21:10
อึ้งไปเลย   กับคำเฉลยของคุณนวรัตน
เริ่มมองเห็นรางๆว่าอะไรอยู่ตรงไหน     กรุงเทพเมื่อ ๖๐ ปีก่อน ดูโอ่โถง มีที่ว่างกว้างขวางให้หายใจได้มากกว่าเดี๋ยวนี้แยะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 26 ก.ค. 10, 21:11
ส่งการบ้านย้อนหลังครับ..........


คห. 66  -  ถนนรอบวัดเบ็ญจฯ ขวา-ศรีอยุธยา     ตัดขวางหน้าประตูวัด-ถนนนครปฐม

ที่จำได้เพราะวัดนี้เคยเป็นสนามสอบเมื่ออบรมมัคคุเทศก์ รุ่นเดียวกับหม่อมอุ๋ย จัดโดยอักษรศาสตร์ จุฬา
อาจารย์ไพฑูรย์ พงษบุตร ผู้อำนวยการโครงการและสอบปากเปล่ากับผู้เข้าอบรมฯ  สมัยประภาส จารุเสถียร  อธิการบดี
มีอ.หม่อมเจ้าสุภทรดิศ เป็นหนึ่งในผู้บรรยาย

คห. 67  -  ไม่ทราบว่าถนนที่เห็นชัดในซ้ายมือใช่ถนนข้าวสารไหม?



ส่วนภาพสุดท้ายต้องดูภาพลุงเกิ้ลประกอบ...จะไม่งง

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ค. 10, 21:35
ส่งการบ้านย้อนหลังครับ..........


ที่จำได้เพราะวัดนี้เคยเป็นสนามสอบเมื่ออบรมมัคคุเทศก์ รุ่นเดียวกับหม่อมอุ๋ย จัดโดยอักษรศาสตร์ จุฬา
อาจารย์ไพฑูรย์ พงษบุตร ผู้อำนวยการโครงการและสอบปากเปล่ากับผู้เข้าอบรมฯ  สมัยประภาส จารุเสถียร  อธิการบดี
มีอ.หม่อมเจ้าสุภทรดิศ เป็นหนึ่งในผู้บรรยาย


คุ้นกับทั้ง ๓  ท่าน  ดร.ไพฑูรย์เป็นอาจารย์ดิฉันเอง    จอมพลประภาสเป็นอธิการบดีสมัยดิฉันเป็นนิสิต   ส่วนท่านสุภัทรเป็นนายสมัยดิฉันทำงาน

หายงงแล้วค่ะ ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ค. 10, 20:53
มีรูปถนนในกรุงเทพ มาถามอีกแล้ว  รู้แต่ว่าถ่ายในพ.ศ. 2490 กว่า ๆ   แต่ไม่รู้ถนนอะไร
ดิฉันขยายภาพจากภาพเดิม  เพื่อให้เห็นตึกสูงเหมือนเก๋งจีนตรงเกือบสุดถนน   ไม่รู้ว่าคือตึกอะไร
เดาว่าเป็นถนนเจริญกรุง แถวโรงแรมโอเรียนเต็ล
ใครเห็นอย่างไรบ้างคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ค. 10, 20:56
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อ พ.ศ. 2493


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ค. 10, 20:58
ใครยังไม่เคยเห็นรถลาก  (rickshaw) ของไทย ซึ่งลากโดยคนจีน   ก็ดูได้ในภาพนี้นะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 29 ก.ค. 10, 21:16
เรียน อ.เทาชมพูครับ ภาพที่วงเวียน อนุสาวรีย์ขัยสมรภูมิ ปี2493 ผมว่าไม่น่าไช่นะครับ เพราะรู้สึกว่า อนุสาวรีย์ชัยเปิดปี2485 น่าจะเป็น วงเวียนแถวไหนสักแห่งนะครับ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ค. 10, 21:28
ขอบคุณที่ทักท้วงค่ะ    ดิฉันจำผิด กลับไปคิดอีกที น่าจะเป็นวงเวียนใหญ่นะคะ
ช่วยดูกันหน่อย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ค. 10, 21:30
วัดที่มีรถลาก  วัดเทพธิดาหรือว่าวัดโพธิ์คะ  ใครพอจะดูออกบ้าง?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 29 ก.ค. 10, 21:43
การบ้าน คห. 77 ยากมาก...โดดเรียนซะเลยครับ

เกรงใจคุณnatadolเพื่อนร่วมรุ่น......กลับมาทำการบ้านต่อครับ




วงเวียนอนุสาวรีย์ชัยฯ.......น่าจะเป็นวงเวียน 22 กรกฎา มากกว่านะครับ

วิกิ้บอกว่า......
วงเวียน 22 กรกฎาคม สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระทัยนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2460 โดยประกาศสงครามกับกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะ ส่งผลให้เมื่อสิ้นสุดสงคราม ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ และการทหาร รวมทั้งสามารถเรียกร้องแก้ไขและยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ของชาติมหาอำนาจที่เคยทำไว้กับประเทศไทย


หากดูจากตา(กู)เกิ้น...จะเห็นชัดว่าน่าจะใช่นะครับ


ส่วน ภาพรถลากคงจอดอยู่แถวท่าเตียน.ใกล้วัดโพธิ์ใช่ไหมครับ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 29 ก.ค. 10, 21:47
สังเกตุได้ว่า 22 กรกฎา  ใกล้ความจริงกว่า

วงเวียนขนาดกระทัดรัด.ถนนไม่กว้างมาก........จำนวนถนนตัดแยกเท่ากันเด๊ะ




ส่วนรถลากนั้น...........สังเกตุวัดว่าเป็นวัดใด ได้จากแบบของซุ้มประตูนะครับ..........วัดโพธิ์...ค่อนข้างมั่นใจ

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 29 ก.ค. 10, 22:07
ภาพซุ้มประตูวัดโพธิ์................จากผู้จัดการออนไลน์ครับ

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ค. 10, 22:39
น่าจะเป็นวัดโพธิ์นะคะ  ดูจากซุ้มประตูทางซ้ายมือของภาพขาวดำ
ถ้าเป็นวงเวียน ๒๒ กรกฎา   ก็แปลกตาจากปัจจุบันมากทีเดียวค่ะ     ยังนึกไม่ออกเลยว่าอะไรอยู่ตรงไหนในปัจจุบัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ก.ค. 10, 22:52
ฝากการบ้านไว้อีกภาพ ให้คุณศรีสยาม และคุณณัฐดล (ท่านอื่นๆด้วยเผื่อจะตอบ)
แถวสำราญราษฎร์หรือเปล่าคะ  ภาพนี้   ยังดูไม่ออกว่าคลองและสะพานชื่ออะไร


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 30 ก.ค. 10, 02:45
ขอใช้ตำราของอ. ศรีสยามครับ ไปหาในตาเกิ้นมาครับ รูปที่มีเจดีย์ทรงจีนถ้ามองจากถนนเจริญกรุงแถวตลาดบางรักไม่พยเลยครับมีวัดจีนอยู่วัดเดียวคือวัดโพธ์แมนก็ไม่มีเจดีย์จีนครับ งง ถ้าเป็นถนนเจริญกรุงหน้าโอเรียลเต็ลจะมีรถรางผ่านแต่ไม่เห็นแนวรางและสายไฟผ่านเลยครับ  รูปต่อมา อ.ศรีสยามบอกว่า วงเวียน22 ผมเข้าไปหาในตาเกิ้น เจอ 2คำตอบเลยครับ รูปวงเวียนที่เห็นคือ แพร่งสรรพศาสตร์ มีรูปที่ถ่ายมุมใกล้เคียงกับของ อ.เทาชมพูครับ และอีกภาพเป็นโรงเรียนราชินี ริมถนนอัษฎางค์ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 30 ก.ค. 10, 18:18
ตึกที่เห็นคล้ายเก๋งจีน......อาจจะเป็นตึกโรงแรมนายเลิด 9 ชั้น สร้างในปี 2470  ของนายเลิดสะมันเตา
อยู่ติดถนนเจริญกรุงช่วงสะพานเหล็กล่างหรือสะพานพิทยเสถียร

 :D



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ค. 10, 20:04
ดิฉันขยายรูปเก๋งจีนได้แค่นี้เองค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ค. 10, 20:07
รูปที่ 87 ไม่น่าเป็นร.ร.ราชินีนะคะคุณณัฐดล  เหมือนห้างร้านริมถนนมากกว่า   


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ค. 10, 21:14
รูปนี้รู้ว่าที่ไหน    ถนนพญาไท ตรงสี่แยกราชเทวี     โปรดสังเกตว่ามีโรงแรมเอเชียอยู่แล้วในยุคสามสิบกว่าปีก่อน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ค. 10, 21:22
ใครจำไดมารููแห่งแรกตรงเซนทรัลด์เวิร์ลด์ได้บ้างคะ   เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกที่มีบันไดเลื่อนขึ้น   (แต่ไม่มีบันไดเลื่อนลง  ต้องลงบันไดธรรมดาจากชั้น ๒ ลงมาเอง)
หลังจากนั้นไดมารูก็ย้ายไปฝั่งตรงข้ามของราชดำริ   


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 30 ก.ค. 10, 21:44
เรียน อ.เทาชมพูครับ พอดีผมตามอ.ศรีสยามไปหาใน กูเกิ้ลมานะครับ พิมพ์ว่า ถนนอัษฎางค์ แล้วดูที่รูปภาพ จะพบกับรูปที่เหมือนกับรูปของ อ.เทาชมพู เอามาลงไว้ครับในข้อมูลบอกว่าเป็น โรงเรียนราชินีแห่งแรก ส่วนสะพานน่าจะเป็สะพานหกครับ ส่วนเก๋งจีนที่อ.เทาชมพูขยายให้ ผมกลับปักใจไปทางอ.ศรีสยามว่าเป็น ตึก9ชั้นของนายเลิศ ครับ และจากลวดลายตามตึก ผมกลับพบว่ามีอยู่แถวพาหุรัด และบ้านหม้อ แต่แถบ ยานนาวาและตลาดน้อย กลับเป็น แบบบ้านที่เป็นลายเรียบง่ายไม่อ่อนช้อย อย่างที่ อ.เทาชมพูนำมาให้ชมนะครับ ส่วนภาพไทยไดมารู ไช่ที่เดียวกับ ที่ติดนารายภัณฑ์หรือเปล่าครับ ที่ตรงข้ามกับวังเพชรบูรณ์ เคยไปยืนรอรถเมล์แถวนั้นตอนเที่ยงคีน  สมัยรถแก๊สระเบิดใหม่ๆ น่ากลัวมากครับ  ตรงวังเก่าก็มืด เขาลือกันว่าผีดุ ตรงถ.เพชรบุรี ก็คนตายเยอะ ต้องหาสาวๆมารอรถเป็นเพื่อน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ค. 10, 22:19
ไม่รู้มาก่อนเลยค่ะว่ามีร.ร.ราชินีที่อื่นนอกจากปากคลองตลาด  ขอบคุณสำหรับข้อมูล
ส่วนเก๋งจีน ๙ ชั้นที่ว่า เป็นธุรกิจอะไรก็ยังไม่รู้เหมือนกัน ต้องรอคุณศรีสยามหรือท่านอื่นๆมาช่วยขยายความ
ไดมารูแห่งแรก  อยู่ตรง Central World ค่ะ   ก่อนจะย้ายข้ามถนนไปอยู่ใกล้นารายณ์ภัณฑ์    แห่งแรกตั้งอยู่ที่นั่นหลายปีก่อนคุณณัฐพลเกิด
ช่วงพ.ศ. 2506 เห็นจะได้
ตรงข้ามกับไดมารูคือซอยเกษรหรือถนนเกษรในปัจจุบัน  เป็นศูนย์การค้าไฮโซของชาวกรุงในทศวรรษ 2500s   เอารูปมาให้ดู



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 31 ก.ค. 10, 00:22
ภาพห้างไดมารูใน คห.93  ทำให้นึกถึงภาพบึงน้ำใหญ่ของวังเพชรบูรณ์............น้ำสีเขียวเข้ม.......ริมบึงเป็นพงหญ้า....มีต้นไม้ใหญ่บนเกาะกลางบึง?
งูชุมมาก..........

บึงน้ำนี้อยู่ติดห้างไดมารูนี้(ซ้ายสุดของภาพ)

ที่ตั้งของไดมารูจะอยู่ในซอย...........ไม่มีอาคารจอดรถเหมือนห้างใหญ่ๆดังทุกวันนี้...........รถราในกรุงเทพยังไม่มาก.....จะมีรายการรถติดก็เฉพาะบางจุด/บางเวลาเท่านั้น  ไม่ติดเป็น7/11อย่างปัจจุบัน
ไดมารูแห่งแรกนี้เรียกกันว่าไดมารูราชประสงค์.....บันไดเลื่อนตัวแรกนี้สามารถเรียกคนต่างจังหวัดไกลๆมาดู/ลองขึ้น.....เปิด 10 ธค.2507และย้ายไปฝั่งตรงข้ามเป็นไทยไดมารูราชดำริ

ตอนเข้ามาเรียนต่อในกทม.เป็นครั้งแรก.......เช่าบ้านอยู่หลังวัดสระปทุม(วัดปทุมวนาราม)   จึงค่อนข้างคุ้นเคย.....แม้จะเลือนๆบ้าง-เพราะผ่านมา 45 ปีแล้วครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ก.ค. 10, 09:23
เมื่อเข้ามาอยู่หลังวัดปทุม  คุณศรีสยามเคยไปแถวบางรักบ่อยไหมคะ    ไม่ไกลกันนัก
บรรยากาศของตลาดบางรักเป็นอย่างในรูปนี้หรือเปล่า


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 31 ก.ค. 10, 17:06
สมัยนั้นไม่ค่อยได้ไปแถวบางรักครับ.....ไม่ได้กลัวพบรัก.....แต่เรียนแถวๆริมรั้วสีชมพูและไปต่อแถวสนามหลวง
จะคุ้นเคยกับปทุมวัน/ประตูน้ำ/วงเวียนใหญ่.................


ได้รูปบางรักโบราณมาครับ


แถบบางรักเดิมสมัย ร.4 เป็นย่านฝรั่งต่างชาติ..........ที่ท่านโปรดให้สร้างถนนสายลาดยางเส้นแรกก็ที่บางรักนี้เพราะต่างชาติร้องเรียนว่าไม่มีที่พักผ่อนขี่ม้า/นั่งรถตากลม
บางรักจึงเป็นย่านฝรั่งอังม้อดังกล่าว..ขณะที่มีตลาดบางลำพูสำหรับไทย/เยาวราช-จีน


ตลาดบางรักเมื่อ40-50 ปีที่แล้ว-จัดว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง...อาจเป็นเพราะอยู่ใกล้สะพานปลาด้วยก็ได้

 :D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 31 ก.ค. 10, 23:27
ผมได้รับข้อความของ อ.ศรีสยามแล้วครับกราบขอประทานอภัยด้วยนะครับที่ผมเรียกว่าอาจาร์ย ส่วนตัวผมถีอว่าหากใครให้ความรู้ และประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาให้เราก้าวเดินตามได้   ผมก็เต็มใจที่จะเรียกว่าอาจาร์ยทั้งกายและใจครับ  หากอาจาร์ยไม่สะดวกที่จะให้เรียกผม  ขอใช้คำว่า  ผู้อาวุโส  แทนก็แล้วกันนะครับ     ผมขอรบกวนขอสอบถามว่าตรงที่ไดมารู ราชประสงค์นั้นปัจจุบันก็คือที่ตั้ง เทพตรีมูรติไช่ไหมครับ  รบกวนถามอีกหัวข้อนึงนะครับผมสงสัย คำตอบนี้ขอแบบส่งข้อความให้ผมก็ได้ครับ คีอผมสงสัยว่า อ.เทาชมพูน่าจะไช่คนเดียวกันกับ ว.วินิจฉัยกุล ไช่ไหมครับ หรือจะเป็น ทมยันตี แต่ผมว่าน่าจะเป็นชื่อแรกมากกว่า รบกวนท่านผู้อาวุโส ช่วยหน่อยนะครับ กราบขอบพระคุณครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 31 ก.ค. 10, 23:45
ขอบคุณครับ..........คุณNTD...

ไดมารูเดิมนั้นน่าจะอยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับ บิกซีราชประสงค์ในปัจจุบัน(ถ้าจำไม่ผิด) แต่ไม่ได้อยู่ติดถนนราชดำริ....หากแต่อยู่หลังตึกแถวเข้าไปอีกทีครับ

ส่วนคำถามเรื่องอาจารย์เทาชมพูนั้น....ผู้น้อยมิบังอาจตอบแทนท่าน....ขอปัดให้ไปถามตาเกิ้นแทนจะเหมาะกว่าครับ


แค่กดเซิร์ชคำว่า     เทาชมพู    สิ่งที่ต้องการรู้ก็มาพลัน
 ;D :D



บอกได้แค่ว่าไม่ใช่คุณทมยันตีครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 08:32
คุณณัฐดลกรุณาดูรูปในคห. 95 อีกทีนะคะ   ภาพที่เห็นคือสี่แยกราชประสงค์ ถ่ายจากบริเวณหน้าอมรินทร์พลาซ่า  รถเบนซ์กำลังมุ่งหน้าไปสี่แยก
ตึกแถวทางขวา คืออยู่ตรงริมถนนเกษร
ข้ามสี่แยกไปมองเห็นตึกแถวสองชั้น นั่นคือริม Central World ที่ปัจจุบันเป็นลานโล่ง    ตรงที่เป็นโครงเหล็กระเกะระกะหลังตึกแถวนั่นแหละคือใกล้ๆไดมารูเก่า
ไดมารูเก่าอยู่หลังตึกแถวพวกนี้ มีทางเลี้ยวเข้าตรงข้ามกรมตำรวจ   เข้าไปในซอยแคบๆ หลังตึกแถว จะถึงไดมารูทางซ้ายมือค่ะ อยู่ตรงมุมซอยแยกเล็กอีกที
ภายใน เป็นอย่างที่เห็น  สมัยนั้น ห้างใหญ่ มีสินค้ามากขนาดนี้ก็ถือว่าโก้สุดๆแล้ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 08:34
จุฬา เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 09:32
ในเว็บอรุณสวัสดิ์ มีภาพสยามในอดีตมากมายค่ะ
นี่คือเยาวราชเมื่อประมาณ ๔๐ กว่าปีก่อน   อยู่ตรงไหนของเยาวราชยังดูไม่ออก  ฝากดูด้วยนะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 09:35
ถนนหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อ ๔๐ กว่าปีก่อนเป็นแบบนี้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 09:39
ถนนเพชรบุรี เมื่อดิฉันยังเด็ก จำได้ว่ามีบ้านที่อยู่อาศัยเป็นตึกใหญ่ๆ ในเนื้อที่กว้าง เรียงรายกันสองข้างถนน ดูโอ่อ่ามาก  เหมือนบ้านในรูปนี้ละค่ะ
แล้วก็ค่อยๆหายไปกลายเป็นตึกแถว 
ป.อินทรปาลิต ก็สร้างให้บ้านของสามเกลออยู่แถวถนนเพชรบุรี


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 01 ส.ค. 10, 17:27
จำได้ว่าบ้านเจ้าคุณปัจนึกพินาศ(อู๊ด ศิริสวัสดิ์)อยู่ถนนรองเมือง บ้านเจ้าคุณประสิทธิ์นิติศาสน์ (พัชราภรณ์)อยู่ถนนพญาไทส่วนบ้านเจ้าสัวกิมไซ แซ่เบ๊ อยู่ ถนนทรงวาด และห้างสี่สหายพาณิชย์ น่าจะอยู่ถนนเจริญกรุง ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 17:29
ถ้างั้นดิฉันคงจะจำผิดเองว่าบ้านของสี่สหายอยู่ที่ถนนเพชรบุรี  :-[


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ส.ค. 10, 18:09
มีรูปมาเปรียบเทียบกันครับ

ยังงงอยู่ว่า ตรงนี้น่ะที่ไหน ตึกเก๋งจีนคืออะไร ทำไมผมจึงไม่รู้จัก


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 19:02
ดีใจจริง  ได้รูปมาเปรียบเทียบ   ถ่ายกันคนละเวลาแต่มุมเดียวกัน สถานที่เดียวกัน
แน่ใจจากภาพที่คุณนวรัตนนำมาให้ดูว่าเป็นถนนเจริญกรุง   ตรงบางรัก  
ตึกสีขาวทรงเหลี่ยมที่มีอยู่ในภาพของคุณ แต่ไม่มีในภาพของดิฉันเพราะขอบบนตัดพอดี คือตึกไปรษณีย์กลางบางรัก  จำรูปปั้นครุฑที่มุมตึกได้ค่ะ
แต่เก๋งจีนคือตึกอะไร  ยังไม่รู้เหมือนกัน    มันน่าจะยังอยู่ถึงปัจจุบันนะคะ  ตึกสูงใหญ่ขนาดนั้น  ตึก ๙ ชั้นที่เยาวราชหรือเปล่า

ป.ล. ทำไมรูปของคุณนวรัตน ใส่สีสวยได้ล่ะคะ     มันยุครูปขาวดำนี่นา


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ส.ค. 10, 19:58
^
รูปได้มาจากเวป ผมไม่ได้ใส่สีเองดอกครับ และคงไม่ใช่photoshopด้วย

รูปสีมีเข้ามาในเมืองไทยราวๆ 2505+- หรือไม่ก็printout จากslideเก่า
น่าจะเป็นoriginalครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 20:15
ตอนนี้ ได้คำตอบว่าถนนสายนี้คือเจริญกรุง ใกล้ๆไปรษณีย์บางรัก    เมื่อขับรถขึ้นไปเรื่อยๆในรูปนี้จะไปเจอตึกเก๋งจีนสูงโดดเดี่ยวอยู่บนถนน    อาจจะยังอยู่ ทุกวันนี้แต่ตึกสูงๆบังหมด
เพียงแต่ดิฉันยังนึกไม่ออกเท่านั้นว่าตึกอะไร  อยู่สี่พระยา หรือสัมพันธวงศ์    ไม่น่าจะถึงเยาวราช


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 21:40
^
รูปได้มาจากเวป ผมไม่ได้ใส่สีเองดอกครับ และคงไม่ใช่photoshopด้วย

รูปสีมีเข้ามาในเมืองไทยราวๆ 2505+- หรือไม่ก็printout จากslideเก่า
น่าจะเป็นoriginalครับ
ถ้ารูปสีเข้ามาราว 2505+ รูปนี้ก็ต้องขาวดำเพราะถ่ายตั้งแต่กรุงเทพยังมีรถสามล้อ   รถสามล้อถูกยกเลิกไปจากกรุงเทพสมัยจอมพลสฤษดิ์เป็นนายกฯ ประมาณ 2500   ให้คนถีบสามล้อไปจับจองที่ดินทำมาหากินที่สระบุรีได้คนละ ๒๕ ไร่
ข้อมูลนี้เขียนจากความทรงจำซึ่งอาจจะผิดพลาดได้  ต้องขอคุณมานิต หรือคุณวันดี ซึ่งคงจำได้แม่นกว่า มายืนยันอีกทีค่ะ

ป.ล. ซูมรูปดูอีกที  พบว่ามีรถลากด้วย   :o 
รถยนต์ในรูปก็รุ่นเก่ากว่าพ.ศ. 2505 แน่นอน  อาจจะตั้งแต่ก่อน 2500 ด้วยซ้ำ   ซูมเครื่องแต่งกายของแม่ค้า รู้สึกว่าเป็นโจงกระเบนมากกว่าผ้าถุง นะคะ  ส่วนหมวกคนขี่สามล้อ มุมขวาล่าง น่าจะเป็นหมวกสานด้วยใบลาน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 01 ส.ค. 10, 22:11
^
ไปถามคุณวิกี้มาแล้วครับ

ฟิมล์สี kodakchrome ถ่ายออกมาเป็นslideนั้น ออกสู่ตลาดโลกในปี1935 ตรงกับพ.ศ.2478

ไม่ทราบว่าฟิมล์นี้ได้เข้ามาขายเมืองไทยเมื่อไหร่ แต่เมืองไทยล้างไม่ได้ ในพ.ศ.2505+-ยังต้องส่งไปล้างที่ออสเตรเลีย

แต่ฝรั่งอาจจะเป็นคนถ่ายภาพข้างบนนี้ก็ได้ คือเอาฟิมล์มาเองแล้วหอบกลับไปล้าง
คนไทยไปเจอภาพนี้เข้าที่ไหนสักแห่ง เลยเอามาเผยแพร่กันในพ.ศ.นี้กระมังครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ส.ค. 10, 22:23
รูปของดิฉันได้มาจาก http://www.thaicultureblogs.com/index.php/traffic-jam-in-1950-s-bangkok

เจ้าของได้มาจากอีกแห่ง  เขาบรรยายว่า  
These old black and white photos of Bangkok in 1950 were taken by Dmitri Kessel for Life magazine. This one is labelled as "traffic jam in Bangkok". It is interesting to look at these old photos. I think it helps you to understand Thai culture better if you can see what life was like for them in the past.

รูปของคุณนวรัตน น่าจะถ่ายโดยคนเดียวกัน จากมุมเดียวกัน แต่คนละเวลา ดูจากเงาแดดในรูป เวลาคงไม่ห่างกันเท่าไร
Kessel คงถ่ายไว้หลายรูป เพื่อไปเลือกรูปดีที่สุดเอาลงในไลฟ์แมกกาซีน  เขาอาจจะถ่ายทั้งขาวดำ และสี   ซึ่งออกมาละมุนมากค่ะ  แม้ว่าไม่ค่อยแจ่มชัดเท่ารูปสีในยุคปัจจุบัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ส.ค. 10, 07:01
ชุดนี้มีสองรูป

นี่คืออีกรูปนึงครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 09:22
Kessel คงถ่ายถนนเจริญกรุง แถวไปรษณีย์บางรัก  ทั้งฟิล์มขาวดำและฟิล์มสี ในค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493)
ฟิล์มสีที่ว่า เมื่อมาถึงปัจจุบัน เอามาลงในเว็บอีกที   สีคงเหลือให้เห็นเป็นอย่างที่เห็นนี้เอง
บางรักหลังสงครามโลก ๕ ปี  คนเดินกันแน่นขนัด  คงเป็นแหล่งธุรกิจสำคัญในยุคนั้น

ตึกที่เห็นคล้ายเก๋งจีน......อาจจะเป็นตึกโรงแรมนายเลิด 9 ชั้น สร้างในปี 2470  ของนายเลิดสะมันเตา
อยู่ติดถนนเจริญกรุงช่วงสะพานเหล็กล่างหรือสะพานพิทยเสถียร

 :D


นายเลิดสะมันเตา ก็คือนายเลิศ เศรษฐบุตร (พระยาภักดีนรเศรษฐ)  เจ้าของกิจการรถเมล์ขาว      ทราบแต่ว่าบุตรีของท่าน คือท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ สร้างโรงแรมปาร์คนายเลิศ   
แต่ไม่เคยรู้ว่ามีโรงแรมนายเลิดสะมันเตามาก่อน  สูงถึง ๙ ชั้น  ถ้าใช่ ปัจจุบันคงรื้อทิ้งไปแล้วมั้งคะ 


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 02 ส.ค. 10, 09:40
ค.ห.75-76 ผมก็มัคคุฯครับ รุ่น7 เพื่อนผม ท่านอ. วิลาศวงศ์ ท่านชวน วันนี้ผ่านเข้ามาดูนิดนึง แล้วจะเข้ามาแจมด้วย อ้อตอนเรียนสามย่าน บ้านผมอยูที่หลังวัดเทพธิดาฯที่นั่นผมไม่เห็นรถเจ๊ก ครับผม
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 09:42
ยังไม่ละความพยายาม ;)

คุณมานิตจำตึกเก๋งจีนที่ถนนเจริญกรุงได้ไหมคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 02 ส.ค. 10, 11:48
ต้องขอขอบคุณทั้งอาจารย์เทาชมพูและคุณNavarat.C สำหรับทั้งภาพสีและขาวดำของ Kessel

Dmitri Kessel 1902-1995
เป็นชาวรัสเชียเกิดในยูเครนเข้ามาอยู่อเมริกาเมื่ออายุ 18 ปี

ผ่านชีวิตการเป็นช่างภาพสงคราม โดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่ 2
ตระเวนถ่ายภาพให้ Life Magazineในหลายแห่ง ..........

แม่น้ำแยงซีเกียง / การทำเหมืองในอัฟริกากลาง/อเมริกาใต้

ถ่ายภาพเทือกเขาแอนดีส..........


เสียชีวิตด้วยหัวใจล้มเหลวในรพ.ในอังกฤษเมื่ออายุ 92 ปี



อาจเป็นไปได้ว่าภาพกรุงเทพฯที่เขาถ่ายทั้ง 2 ภาพที่คุณNAVARAT.C นำเสนอนั้นคงตีพิมพ์ใน Life ฉบับใดฉบับหนึ่งในสมัยนั้น
ดูจาก format ของภาพและการวิเคราะห์ของคุณ NAVARAT.C แล้ว เข้าใจว่าคงถ่ายด้วยไสลด์ Kodachrome –ขนาดฟิล์มเบอร์120 ความไวแสง 25 ที่ขึ้นชื่อที่สุดของโกดัก เพราะคุณภาพสี/ความละเอียด(Grain) สูงมาก(ยิ่งไวแสงต่ำเนื้อฟิล์มยิ่งละเอียด)

แต่เห็นแย้งจากอาจารย์เทาชมพูนิดหนึ่ง.....ทั้งภาพสีและขาวดำนั้นถ่ายเวลาใกล้เคียงกันเลยครับ-ต้องสังเกตจากเงาที่ตัวตึกโดยเฉพาะด้านขวาจะเห็นชัด...........โดยเฉพาะรถยนต์สีดำขวามือ..จอดที่เดิมทั้งสองภาพ...เรียกว่าพอถ่ายภาพขาวดำเสร็จก็ลดกล้องลงเปลี่ยนเป็นกล้องสี....มืออาชีพระดับนั้นไม่ต่ำกว่า 2 กล้องแน่

แต่เป็นภาพที่สะท้อน/บอกเรื่องมากมาย


ส่วนภาพในคห. 115 นั้นไม่แน่ใจว่าเป็นบางรัก อาจเป็นช่วงหนึ่งของถนนเจริญกรุงมากกว่าครับ
เพราะคนจีนเดินเต็มไปหมด....บางรักคงไม่มีคนเดินมากขนาดนี้แน่ๆ
และก็ไม่ใช่เยาวราชเพราะถนนเยาวราชกว้างกว่านี้มาก
ชื่อร้านทางขวามือของภาพอ่านได้ว่า   บริษัทแซ้งเฮียงหลีค้าทอง...อะไรทำนองนี้


ส่วนเก๋งจีนนั้นไม่แน่ว่าจะเป็นเก๋งจีน..............อาจเป็นตึกสูงที่มีป้ายและอื่นๆที่ทำให้ดูเหมือนเก๋งจีนก็ได้ครับอาจารย์.....
ความรู้เรื่องโรงแรมเก้าชั้นของนายเลิด...ได้จากเว็ป....คงไม่ใช่แห่งเดียวกับโรงแรมเก้าชั้นเยาวราชครับ


 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 02 ส.ค. 10, 12:40
ค.ห. 55 อนุสาวรีย์เล็กๆนั้นน่าจะเป็น สำหรับทหารผ่านศึกสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 กระทรวงคมนาคมสมัยนั้นอยู่ที่สนามหลวง?
ค.ห. 61 เห็นกรมโฆณาการชัดเลย ข้างขวาเป็นสถานลีลาศแบบไม่มีแอร์ครับผม
ค.ห. 87 เดินจากหลังวัดเทพฯไปขึ้นรถเมล์ขาวที่สะพานดำทุกวัน ไม่เห็นตึกที่ว่านะครับ มองคล้ายๆตีก SAB
ค.ห. 93 ประมาณปี 2502 ผมโดนเนรเทศไปแดนอาทิตย์อุทัยนานพอควร กลับมาแวะที่อ่องกง เขามีไดมารู ก็ยังนึกอยากให้บ้านเรามี ต่อมาไม่นานเราก็มี ผมก็เห่อกับเขาเหมือนกัน เห็นว่าเปิดตอนแรกโดนโจรกรรมนาฬิกากันไปเกลี้ยงร้านเลยครับ แถวนั้นมีร้าน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 02 ส.ค. 10, 12:48
มีความผิดพลาดครับ จะเรียนว่าแถวๆนั้นมีร้านที่มี big band ผมไปฟังทุกศุกร์เลย เขาจะเริ่มจาก ball room ช้าๆไปจนเร็ว แล้วเปลี่ยนไปเป็น latin โดยมักจะจบด้วยจังหวะ bunny hop ครับผม ร้านน่าจะชื่อว่า Star dust ครับผม
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 19:50
ค่ะ  เห็นด้วย  น่าจะถ่ายห่างกันประมาณ 5-10 นาที  ดูจากแม่ค้าที่หาบของมาในภาพขาวดำ  พอมาถึงภาพสี แกเดินมาถึงหัวมุม
ส่วนรถในภาพขาวดำแล่นไปพ้นหมดแล้ว  ภาพสี รถไม่ซ้ำกัน 


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 02 ส.ค. 10, 20:01
ภาพในคห.115 น่าสนใจมากครับ...........ขอความรู้ด้วยครับ

ภาพแรกที่ตัดส่วนขยายมาจาก 115 เป็นเสาอะไรเอ่ย?
ภาพที่สอง-มีคนยืนดูบนระเบียงห้างทอง...........ดูอะไรกัน?
ภาพสาม-อุ้มเด็ก.........ความเป็นแม่ไม่เคยเปลี่ยน....แม้ต่างยุค
ภาพที่สี่- ฝูงชนมากมายทำอะไรกันอยู่ครับ?


 :) ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 20:31
ตอบไม่ได้สักข้อ
เสาสัญญาณ เข้าใจว่าเกี่ยวกับสัญญาณจราจร มีไฟแดงอยู่ข้างใน  คิดได้แค่นี้ละค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 02 ส.ค. 10, 21:56
ผมแอบลอกข้อสอบของท่านผู้อาวุโส ศรีสยาม เข้าไปดูที่บริษัทเซ่งเฮงหลีค้าทอง ก็เลยพบคำตอบของภาพ 115 ครับ ถ่ายเมื่อปี 1950 +543=2493 พื้นที่แถวเยาวราชครับ ตรวจสอบดูแล้วปีนั้นจะมีสงครามเกาหลี และเปิดเซ็นทรัล เยาวราช ครับ  ส่วนแท่งปูนที่ตั้งน่าที่จะเป็นที่ยืนทำการของตำรวจจราจรครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 22:44
เยาวราชนี่เอง  ถนนสายแคบมาก     แคบจนทีแรกดิฉันเดาว่าเป็นวรจักรเสียอีก   หรือว่าเยาวราชมาขยายถนนในภายหลังก็ไม่ทราบ
ที่คนมากันเนืองแน่นเพราะเปิดห้างเซนทรัลเยาวราชหรือคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 09:12
ไปเจอภาพสนามหลวงในอดีต เลยนำมาลง  ดูไม่ออกว่าสมัยไหน
เข้าใจว่าถ่ายจากด้านถนนทางลงสะพานพระปิ่นเกล้าในปัจจุบัน    มองตรงไปคือวัดพระแก้ว   ขวาคือด้านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาพนี้ถ่ายจากมุมสูง    เป็นภาพมุมกว้าง  คนถ่ายเขาปีนขึ้นไปถ่ายจากที่ไหนกันนะคะ  เพราะกรมประชาสัมพันธ์ยังไม่น่าจะตั้งขึ้นในยุคนี้แน่ๆ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 03 ส.ค. 10, 09:35
ขอบพระคุณมากครับสำหรับภาพนี้................


ลองคิดกลับกันว่าที่เห็นนั่นไม่ใช่วัดพระแก้ว..เพราะไม่เห็นกำแพงซึ่งสังเกตง่าย...แต่เป็นด้านถนนเจ้าฟ้าละครับ


ก็จะพอเดาได้ว่าอาจถ่ายจากนั่งร้านที่ใช้สร้างพระเมรุมาศ....ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งกระมังครับ


 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 10:11
ขยายรูปให้คุณศรีสยามดูอีกครั้งค่ะ  
ถนนเจ้าฟ้า มีสิ่งก่อสร้างอะไรที่เหมือนวัด  
ตรงขอบสนามหลวงทั้ง ๔ ด้าน มีแต่ทางวัดพระแก้วเท่านั้นที่มีวัด   ทางขวาก็มีอาคารสีขาวหลังใหญ่  น่าจะเป็นวัดพระแก้วกับพระบรมมหาราชวัง  อีก ๓ ด้านไม่มีอาคารแบบนี้
ดิฉันมองเห็นเสาสูงทางขวามือด้วย  น่าจะเป็นเสาสัญญาณธงที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ท่าราชวรดิฐ

สถานที่ที่ถ่าย สูงลิบ  ขนาดมองเห็นยอดไม้ใหญ่ (น่าจะเป็นมะฮ็อกกานี หรือมะขาม ) ต่ำลงไปมาก  จากมุมที่ถ่ายค่อนไปทางขอบสนามหลวง  ถ้าถ่ายจากฟากวัดพระแก้ว ช่างภาพต้องปีนขึ้นไปบนยอดปรางค์
ส่วนพระเมรุ ก็ไม่น่าสูงขนาดนี้นะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 ส.ค. 10, 11:25
เห็นท่าจะไม่ใช่ท้องสนามหลวงที่บางกอกแล้วล่ะครับ

เพราะทำเลและบรรยากาศเงียบเหงาผิดบรรยากาศพระนครมาก

ถึงจะว่าเป็นภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๔  ก็ไม่น่าจะใช่ 
เพราะครึ่งหนึ่งของสนามหลวงเดิมเป็นเขตวังหน้า
และสนามหลวงก็ยังไม่มีไม้ใหย่ขึ้นครึ้มขนาดนี้
ถ้าถ่ายที่ความสูงขนาดนี้  ต้องเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาแน่นอน

พิจารณาจากพื้นที่ในภาพ  และร่องรอยกำแพงก่ออิฐทางซ้ายมือ
น่าจะเป็นสนามหลวงที่กรุงเก่าโน้น   หาใช่ทุ่งพระเมรุที่บางกอกไม่ :-\


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 11:57
ความเห็นของคุณหลวงเล็ก น่าทึ่ง จนอึ้ง
 
เชื่อว่าคุณศรีสยามและดิฉันไม่ได้คิดว่าเป็นที่อื่นเลยนอกจากสนามหลวง   เพราะคำบรรยายบอกไว้ว่า formerly of Phramane Ground
น่าสังเกตว่าพื้นสนามมีหญ้าเขียว และตัดสั้นเรียบ   น่าจะเป็นยุคที่มีการดูแลสถานที่เป็นอย่างดี
ถ้าเป็นอยุธยา น่าจะมีร่องรอยเจดีย์ระดะแซงเสียดยอด  วังกับวัดวาอื่นๆ ให้เห็นมากกว่านี้นะคะ    หรือคุณหลวงว่าไง?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 03 ส.ค. 10, 13:05
หลงออกนอกกระทู้สนามหลวงของลุงไก่ไปถึงบางรัก/เยาวราช
ย้อนกลับมาสนามหลวงอีกที ถึงกับร่อนลงผิดที่เสียได้



จริงดังว่า..........คุณหลวงทำให้ฉุกคิด...........


ซ้ายมือ.....จามจุรีดอกสีชมพูของคุณเพ็ญชมพูเห็นอยู่ชัดๆ
ต้นมะขามคงไม่ใช่มะขามเสียแล้ว....น่าจะเป็นอื่น.....เพราะมีแขนงเหนือโคนนิดเดียว
ดำๆ 3 จุดเรียงเป็นแถว   แถบซ้ายของสนาม    มองดูคล้ายฐานเจดีย์?


งง  งง  งง


 8) :)

ที่ไหนเอ่ย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 13:14
ถึงว่าเถอะค่ะ     น่ากลัวจะแลนดิ้งผิดสนามเสียแล้ว

มองขอบล่างของภาพเห็นยอดไม้ขึ้นรำไร ตรงนี้น่าจะเป็นแนวต้นไม้ล้อมขอบสนาม   ถ้างั้นทุ่งพระเมรุที่นี่ก็เล็กเท่าที่เห็นพื้นสนามนี่เอง   ขนาดคงสักครึ่งหรือไม่ถึงครึ่งสนามหลวงเท่านั้นเอง

สนามหลวงกรุงเก่า อย่างคุณหลวงเล็กว่าหรือไฉน ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 03 ส.ค. 10, 13:37
คุณหลวงเล็กแม่นครับ เทียบจากภาพถ่ายดาวเทียมแล้วไม่ผิดแน่ เป็นภาพทุ่งพระเมรุกรุงเก่า ที่เห็นตรงปลายทุ่งทางซ้ายมือคือวัดหน้าพระเมรุครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 13:43
คุณม้าควบม้าขาวมาตอบแล้ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 13:59
ขอถามคุณณัฐดลว่า นี่คลองเทเวศร์ใช่ไหมคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 14:46
หน้าสวนลุมพินี ในช่วง 1950 กว่าๆ   ยังไม่มีสิ่งก่อสร้างสูงๆอะไรเลย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 03 ส.ค. 10, 15:31
รูปนี้ของอาจารย์......ทำให้คิดถึงรถรางมากๆ...กำลังเข้าโค้งอีกตะหาก


ไงๆก็ยังข้องใจภาพ 115  จึงเอาภาพเยาวราช 2495 มาให้ดู   ถนนกว้างกว่ามาก...หากจอดรถเก๋งเรียงกันคงได้แปดคันกระมังครับ




ในภาพเขียนด้วยลายมือว่า ถนนเยาวราช เซ่งเฮงหลี เลี่ยงเซ่งเฮง เซ็นทรัล คาเธย์ ตึก 7 ชั้น พ.ศ. 2495
 ;D :) :D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 ส.ค. 10, 16:07
ภาพนี้เป็นคลองคูเมืองข้างศาลอาญาครับ
ตึกข้างหน้าคือ สนง.ฉลากกินแบ่งที่ออกแบบโดยคุณพิชัย วาสนาส่ง แล้วถูกเผาในคราว14ตุลา

กิจกรรมในภาพที่เห็นเป็นวันที่ติดตลาดนัดสมัยอยู่ท้องสนามหลวง
ย่านนี้เป็นย่านขายต้นไม้และผลไม้
ชาวสวนขนใส่เรือมาขายเยอะ

เห็นแล้วคิดถึงวันคืนเก่าๆ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 16:28
พยายามวาดภาพตามไป  ที่จริงก็ผ่านสนามหลวงอยู่เป็นประจำ  ทำไมนึกไม่ออก 
แม่พระธรณีน่าจะอยู่ทางซ้าย   ทางขวาเป็นถนนอัษฎางค์ใช่ไหมคะ
เดี๋ยวนี้ทางซ้ายมือเป็นอะไรคะ   คงไม่มีต้นไม้ขายกันแล้ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 16:29

ตึกข้างหน้าคือ สนง.ฉลากกินแบ่งที่ออกแบบโดยคุณพิชัย วาสนาส่ง แล้วถูกเผาในคราว14ตุลา


อาคารกรมประชาสัมพันธ์ (ตรงกลางภาพ)  ก็หายไปในคราวเดียวกัน

(http://img140.imageshack.us/img140/2317/sanamlung1946gs4.jpg)

 :(
 


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 16:37
รูปนี้ของอาจารย์......ทำให้คิดถึงรถรางมากๆ...กำลังเข้าโค้งอีกตะหาก

ไงๆก็ยังข้องใจภาพ 115  จึงเอาภาพเยาวราช 2495 มาให้ดู   ถนนกว้างกว่ามาก...หากจอดรถเก๋งเรียงกันคงได้แปดคันกระมังครับ

ในภาพเขียนด้วยลายมือว่า ถนนเยาวราช เซ่งเฮงหลี เลี่ยงเซ่งเฮง เซ็นทรัล คาเธย์ ตึก 7 ชั้น พ.ศ. 2495
 ;D :) :D

คุณศรีสยามทำเอาดิฉันต้องเปิดหน้า 8 กับ 10 ในกระทู้นี้อุตลุด
รูปซ้ายกับขวาข้างล่างนี่   ถ้าถนนเดียวกันก็คนละยุค   ถ้ายุคเดียวกันก็คนละถนน

รูปทางซ้ายถ่ายในปี 2493  ถ้าเป็นเยาวราช ก็ต่างจากเยาวราชปี 2495 ในรูปขวา มากๆ
น่าจะคนละถนนกันนะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 03 ส.ค. 10, 18:17
อีกทีเถิดครับ ขอประทานโทษ

ตึกตรงหน้าที่คุณพิชัย วาสนาส่งออกแบบไม่ใช่ตึกกองสลากที่อยู่ถัดออกไป ไม่เห็นในภาพ
แต่เป็นตึกของกรมประชาชาสัมพันธ์ ที่สร้างขึ้นตรงที่ตั้งห้างแบดแมนเดิม ในรูปปลายคลองจะเห็นส่วนผนังกระจกของตึก

ตึกนี้ที่ถูกเผาในเหตุการณ์14ตุลาเพราะออกแต่ข่าวฝ่ายรัฐบาลที่บิดเบือนกระจะๆ คนตรงนั้นเลยเผาเสียเลย แล้วยังเผากองสลากในข้อหามอมเมาประชาชนอีกด้วย

ส่วนจุดที่ตั้งกล้องอยู่ตรงสะพานเล็กๆข้างศาลอาญาครับ
ตรงที่ขายต้นไม้ในรูป กทม.ปรับปรุงเป็นทางเท้าริมคลองน่าเดินดีครับ น้ำก็ไม่เน่าแล้วเดี๋ยวนี้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 19:44
เคยได้ยินชื่อห้างแบดแมนมาตั้งแต่เด็กๆ  คู่กับชื่อห้างไว้ท์อะเวย์ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอยู่ไหน   ไปถามลุงเกิ้นดูถึงรู้ว่ามีชื่อเต็มๆว่า ห้างแบดแมน แอนด์ กำปะนี (Harry A. Badman and Go.,) สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นับว่าเป็นห้างฝรั่งรุ่นแรกๆ ของบ้านเมืองไทย เดิมที "ห้างแบดแมน" ตั้งอยู่ที่หัวมุมกระทรวงมหาดไทย ถนนบำรุงเมือง ก่อนจะย้ายมาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา หัวถนนราชดำเนินกลาง
"ห้างแบดแมน" เริ่มกิจการเมื่อปี 2422 เป็นห้างขายของจากต่างประเทศ คล้ายๆ ห้างสรรพสินค้าในปัจจุบัน และเล่าลือกันว่าห้างแบดแมนมีความหรูหรามาก ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่นำมาขาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นของฝรั่งทันสมัย เช่นสุรา ยารักษาโรค และพืชไร่ที่ต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเป็นห้างที่เจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์เข้ามาซื้อ สินค้ากันมาก

เวลาต่อมาเมื่อห้างแบดแมนได้ปิดตัวลง อาคารถูกใช้เป็นตึกกรมโฆษณาการ แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 20:00
ดิฉันมีรูปเยาวราชในอดีตมาให้คุณศรีสยามและท่านอื่นๆดูอีกรูปค่ะ  ถ่ายระหว่าง 2501-2507


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 20:03
ถนนเจริญกรุง แต่ไม่รู้ตรงไหน   พยายามอ่านป้ายที่ตึกใหญ่ อ่านออกแต่ภาษาอังกฤษว่า PAA


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 20:12
ชื่อโรงงิ้วที่เยาวราช   เห็นจะต้องตามคุณม้ามาอ่าน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 20:21
เขาบรรยายว่าเป็นซอย 39/41 อินทมระ  ในพ.ศ. 2506 ค่ะ 


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 20:23
สวนชานเมืองในพ.ศ. 2504  แถวๆที่เป็นถนนสุทธิสารวินิจฉัย
หนูน้อยเหล่านี้ ปัจจุบันคงใกล้ๆ 60 แล้วละมัง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 03 ส.ค. 10, 22:11
พอดีผมไปเจอภาพนี้มาครับ เป็นเก๋งจีนแน่ๆ ภาพถ่ายอยู่บริเวณริมคลองแต่ไม่รู้ว่าที่ไหนครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 10, 08:16
เอารูปในไฟล์ของคุณณัฐดลมาลงให้ดู     ถ้าคุณณัฐดลจะนำภาพลง  ตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ หรือเลขฝรั่งก็ได้ค่ะ
ระบบเรือนไทยไม่รู้จักชื่อไฟล์ภาษาไทย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 04 ส.ค. 10, 09:02
นึกว่าหายไปไหน.....ที่แท้ไปตามหาเก๋งจีน...พบซะด้วย-เยี่ยมมากครับคุณ NTD

ช่วยกันดูหน่อยครับ ว่าเป็นเก๋งจีนหรือเปล่า? ภาพนี้เขียนไว้ชัดเจนว่าถนนเจริญกรุงเป็นภาพชุดเดียวกับที่อาจารย์เทาชมพูเคยลงไว้ใน คห. 115 ป้ายโฆษณารถยนต์ซึ่งคงเป็นภาพที่ถ่ายโดยพนักงานของเคี่ยนหงวนมอเตอร์ หรือไม่ก็บริษัทรับทำป้ายโฆษณา

ลายมือที่เขียน ระบุขนาด/จำนวน และตำแหน่งที่ติดตั้งป้าย
ฉะนั้นข้อมูลที่เขียนด้วยลายมือในทุกภาพชุดนี้...น่าแม่นยำที่สุดและเขียนโดยคนเดียวกัน/ในโอกาสเดียวกัน


คือรายงานเรื่องการติดตั้งป้ายโฆษณา


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 10, 09:16
แปลกจริง   มันน่าจะเป็นตึกสูงตึกเดียวกัน  แต่ทำไมใน ๒ รูปถึงดูไม่เหมือนกัน 
รูปที่คุณณัฐดลหามาได้   ใหญ่พอจะมองเห็นว่าไม่ใช่เก๋งจีน   แต่ละชั้นมีประตูโค้งราวกับสุเหร่า   จะว่าเป็นโรงแรมก็ไม่ใช่ 
ส่วนรูปของคุณศรีสยาม   เหมือนกับตัวตึกไม่ได้เป็นแท่งตรง แต่มีชั้นหนึ่งกว้างออกมา ผิดกับชั้นอื่นๆ

เป็นไปได้ว่าตึกนี้ถูกรื้อทิ้ง   ถ้ายังอยู่น่าจะมีใครจำได้บ้างนะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 10, 09:25
ดิฉันขยายรูปของคุณณัฐดลมาให้ดูตึกเก๋งจีน(เรียกอย่างนี้ไปก่อนนะคะ) ดูใกล้ๆแล้วไม่เหมือนเก๋งจีน  หน้าตาชวนให้นึกถึงสุเหร่า  อย่างที่บอกแล้ว แต่ไม่มีโดมแขกอย่างที่เราเห็นกันสมัยนี้   มีอะไรอย่างหนึ่งคล้ายๆป้อมบนหลังคา
ที่น่าสนใจคือปล่องไฟสูงลิ่วที่อยู่ใกล้ๆ   มันเป็นปล่องอะไร ปล่อยควันดำโขมง   ตอนดิฉันเด็กๆ จำได้ว่าเห็นปล่องของโรงไฟฟ้าวัดเลียบปล่อยควันดำออกมาแบบนี้      
จะว่าเป็นปล่องโรงสีก็สูงใหญ่กว่ามาก  อีกอย่าง โรงสีไม่ได้อยู่ใจกลางกรุงเทพแน่นอน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 04 ส.ค. 10, 11:21
อยากเดาจังเลยครับว่า อยู่แถวๆสะพานเหล็ก และปล่องเป็นปล่องของโรงทำน้ำแข็ง ครับผม
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 04 ส.ค. 10, 12:04
ยังภาพเก่างามๆในเวปนี้อีกมาก....ลองเข้าไปชม

http://www.flickr.com/photos/kitdec/3039601575/in/photostream/


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 10, 12:05
ถ้าอยู่แถวสะพานเหล็ก  ตึกนี้จะเป็นอะไรได้ล่ะคะ   สูงขนาดนี้ เขาใช้ทำอะไร


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 04 ส.ค. 10, 13:13
ใช่ไหมเอ่ย?.................. :o


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ส.ค. 10, 13:30
น่าคิดมาก   ตึกเก๋งจีนอยู่แถวสี่พระยาหรือคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 04 ส.ค. 10, 14:44
ไม่กล้าตอบอะไรเลยครับ เพราะช่วงที่ไปอยู่ที่ตึกนภาวิถี(ค่ายมวยทรงกิตติรัตน)ตรงสี่แยกสี่พระยานั้น ผมอยู่ปี 4 เช้าตรู่(กำเหล็ก) วิ่ง แล้วกลับมากินข้าว แล้วนั่งรถเมล์เขียวไปสามย่าน กลับมาก็ซ้อม ซ้อมเสร็จกินข้าว แล้วทำการบ้าน แทบไม่มีเวลากระดิกไปไหนเลย แต่เห็นแว็บๆ ว่าพอออกมาจากค่าย มาถึงสี่แยกไฟแดงเลี้ยวซ้ายเดินไปนิดเดียวก่อนจะถึงสะพานเหล็ก เห็นอาคารสูงคล้ายๆแบบนั้น แต่ไม่ได้สังเกตุละเอียด นะครับ ไปอยู่ใหม่ๆนอนไม่หลับครับ โรงงานเขาเดินเครื่องทั้งวันทั้งคืน (เขามีปล่องไฟคล้ายๆรูปด้วย) เสียงดังมาก (แต่แล้วก็ชินไปเอง) ถามเขาถึงได้รู้ว่าเป็นโรงน้ำแข็ง ครับผม
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 04 ส.ค. 10, 22:37
ผมเข้าไปค้นจากภาพเก่าย่านตลาดน้อยและพบภาพ เก๋งจีน เขียนว่าศาลเจ้าโจวเซียนซือ อยู่ติดริมแม่น้ำ แต่เห็นอีกภาพนึงเป็นตึกแถว9ชั้นของนายเลิศเป็นโรงน้ำแข็งเก่าเขียนว่าเป็นตึกที่ทางนายเลิศสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของทางราชการสร้างหอสูงไว้เพื่อคอยแจ้งเหตุเพลิงไหม้หรืออันตรายต่างๆในเขตพระนครครับ ตึกนี้อยู่ตรงข้ามห้างเทพนครที่ขายจักรยานราเลย์ เชิงสะพานพิทยเสถียร เดี๋ยววันไหนว่างๆผมต้องไปดูให้เห็นกับตาว่าเป็นอะไรกันแน่ครับ ถ้าเช่นนั้น อ.เทาชมพูก็ตอบถูกว่าเป็นถนนสี่พระยา ท่านผู้อาวุโสศรีสยามก็ตอบถูกว่าเป็นตึกเก้าชั้นของนายเลิศ สะมันเตา และ อ.มานิตย์ก็ตอบถูกว่าเป็นโรงนำแข็งเก่า จิ๊กซอล์ค่อยๆเติมเต็มแล้วนะครับ  รบกวนสอบถาม ท่านอาจาร์ยทั้งหลายครับผมได้ข่าวว่า ที่หน้า ม.จุฬา มีอุโมงค์ใต้ดินที่ลอดถนนปทุมวันอยู่ อยู่ตรงไหนครับ แล้วทุกวันนี้ยังสามารถเดินลอดได้อยู่หรือเปล่าครับ และรบกวนสอบถาม อ. มานิตย์ว่า กู้เกียรติ ทรงกิตรัตน์ (ไอ้ช้างน้ำ)ในหัสนิยาย พลนิกร กิมหงวน มีอยู่จริงหรือไม่ครับ น่าจะชื่อดังพอๆกับ จำเริญ ทรงกิตรัตน์ แต่ผมหาในเวปไม่เจอนะครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 05 ส.ค. 10, 11:00
1.ใช่ครับ ตึกที่อยู่ข้างๆค่ายมวยคือตึกนายเลิด
2.มีรูปจุฬาวันก่อนเห็นตึกวิศว เดิมเป็น 2 ชั้นแบบอังกฤษมาเพิ่มเป็น 3 ชั้นตอนปิดเทอมใหญ่ตอนผมอยู่ปี 3 ครับ
3.อุโมงยังอยู่นะครับ เลยประตูใหญ่มาหน่อย
4.ท่าน"กู้เกียรติ" มีจริงครับ ตัวท่านแบบมะขามข้อเดียวครับ รุ่นนั้นมี ท่านกู้เกียรติ ท่านอุ่นจิตร ท่านกิมโฮ้ว ส่วนท่านจำเริญ นั้นท่านไปแยกฝึกที่สามพรานครับ
5.ครูสอนมวยนอกจากท่านหน.ค่ายคือท่านกิตติ แล้วก็มีท่านหลวงพิพัฒน์พลกาย ครับผม ท่านี้ท่านก็ชอบผมเสียจริง แม่ไม้มวยเด็ดๆจะนำมาประสิทธ์ ประสาทให้ผม ตอนดึกๆ กลัวคนอื่นรู้ ครับผม
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ส.ค. 10, 15:07
ผมได้ร่องรอยตึกที่ว่าเป็นเก๋งจีนมาแล้วครับ

ตึกนี้ปัจจุบันถ้ามองจากสี่แยกบางรักจะไม่เห็นเลย เข้าไปใกล้ๆจึงมองเห็นแต่ผมถ่ายรูปไม่ทัน
หน้าตาเป็นตึกแถวธรรมดา แต่เจ้าของต่อยอดเฉพาะคูหานั้นให้สูงชลูดขึ้นไป

พออ้อมรถกลับมาดูทางด้านถนนมหาพฤฒาราม จะเห็นชัด
ด้านหลังตึกนี้ติดคลองผดุงกรุงเกษม ช่วงที่เลยหัวลำโพงไป

ยังไม่ทราบชื่อว่าเป็นตึกอะไรครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 10, 15:25
นับถือในฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  ;D

ตึกที่ว่าคงผ่านการซ่อมแซมปรับปรุงมาหลายครั้งแล้ว  ปัจจุบันหน้าตาเป็นตึกเรียบๆ  หน้าต่างคงจะใส่ใหม่ ไม่เหมือนเก่า
ถ้าคุณณัฐดลเคยคุมลูกน้องปีนป่ายขึ้นไปติดจานดาวเทียม  แถวๆถนนมหาพฤฒาราม หรือมีเพื่อนฝูงอยู่แถวนั้น คงสอบถามได้ว่าตึกอะไร
ยุค  1950  เป็นตึกโอ่อ่าเอาการทีเดียว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 05 ส.ค. 10, 16:24
น้อมคารวะคุณNAVARAT.C..........ขอบพระคุณที่ช่วยให้พวกเราพ้นทุกข์ครับ

 ;D :D :P


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 05 ส.ค. 10, 16:44
เอ้อเหอ..ขนาดนั้นเลยนะครับ

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 10, 09:32
มีทุกข์ใหม่มาฝากทุกท่านค่ะ 
ใครรู้บ้างว่านี่โรงหนังอะไร   ดิฉันเดาว่าเป็นเอมไพร์เก่าที่ปากคลองตลาด


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 ส.ค. 10, 10:46
^
ภาพบนผมว่าเดาง่ายนะครับ เพราะสุดตึกแถวก็เป็นเวิ้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ของร.1เชิงสพานพุทธฯ

ภาพนี้ละครับ ที่ไหน น่าจะอยู่ใกล้ๆแถวนั้นด้วยหรือเปล่า


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 10, 16:49
ทุกข์ที่คุณ Navarat ให้กลับมา  หนักกว่าดิฉันหลายเท่า  เห็นแต่ชื่อร้านนำเจริญร้านเดียว   อ่านข้อความใต้ชื่อร้านไม่ออกด้วยว่าเป็นร้านขายอะไร


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 10, 19:35
ถนนสายเดียวกับสายนี้หรือเปล่าคะ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 ส.ค. 10, 20:19
ไม่ใช่ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 10, 20:29
สอบตกไป ๑ รูป   ขอสอบแก้ตัว
ถนนจักรเพชรหรือเปล่าคะ?

ดิฉันทำลูกศรไม่เป็น    คุณนวรัตนใช้โปรแกรมอะไรคะ จะได้หัดทำบ้าง
ดูในรูปที่นำมาในค.ห.นี้  ตรงกลางรูปเหมือนสะพานนูนสูงขึ้นจากถนน หน่อยๆ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 ส.ค. 10, 21:05
^
ผมยังว่าไม่น่าจะใช่นะครับ ที่ว่าอย่างนี้ไม่ใช่ตนเองจะทราบเหมือนกัน แต่คลับคล้ายคลับคลาน่าจะอยู่แถวๆนครเขษม ซึ่งผิด

เรื่องแต่งรูป ผมใช้เปิดด้วยpaintเพื่อเติมลูกศร แล้วsaveทีหนึ่งก่อน
หลังจากนั้นเปิดอีกทีด้วยpicasaเพื่อพิมพ์ตัวหนังสือครับ

แล้วที่ท่านอาจารย์แทรกรูปตรงกลางเรื่องล่ะครับ ทำอย่างไร


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 10, 21:29
แวบขึ้นมาว่าอาจเป็นถนนผ่านเวิ้งนาครเขษม  แต่ผ่านไป   เพราะคิดว่าน่าจะอยู่แถวปากคลองตลาด เลยนึกว่าถนนจักรเพชร

วิธีใส่รูปตรงกลางช่องข้อความ     คุณเพ็ญชมพูเคยสอนไว้  
1 เวลาเจอรูปในเน็ต ให้คลิกขวาที่รูป  
2 เลือก properties ซึ่งอยู่ล่างสุด  มันจะขึ้นหน้าต่างมา
3  copy ตรง address (หรือ url)
4  เลือกเครื่องหมายที่เรียงเป็นตับอยู่บนช่องพิมพ์ความเห็น คลิก รูปที่ 3 จากแถว 2  ซึ่งเป็นกรอบภาพเล็กๆ
 มันจะขึ้นมาเป็นคำนี้
 [ img ]-[ /img ]
5  แปะ address ลงระหว่างกลางคำ
6  รูปก็จะขึ้นมา  
7  คลิกแสดงตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบ

ดิฉันแนบตัวอย่างมาให้ดูค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 ส.ค. 10, 22:24
.

อย่างนี้ถูกไหมครับ

(http://www.weekendhobby.com/camp/webboard/picture%5C196255219185.jpg)

ขอบพระคุณครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ส.ค. 10, 22:43
เก่งมากค่ะ :)

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:LiX1bQX-ZAW7sM::&t=1&usg=__XlqVYYGMAx-RJ42-)



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: นางมารน้อย ที่ 08 ส.ค. 10, 08:33
เข้ามาดูค่ะ ขอบคุณมากนะคะที่นำรูปมาให้ชม


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 10, 09:07
คุณนวรัตนใช้โปรแกรม paint พิมพ์ฟ้อนท์ลงบนรูปได้นะคะ  ไม่ต้องเปลี่ยนไปใช้โปรแกรมอื่นให้ยุ่งยาก
1 เปิดรูปที่ต้องการ
1 คลิกที่ตัวสัญลักษณ์  A  แล้วจะมีรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ ขึ้นมาให้เลือกระหว่าง opoque กับ transparent   อย่างแรกพื้นหลังจะกลายเป็นขาวทึบ  อย่างหลังพื้นหลังจะใส  ให้เลือก transparent 
2  ลากเม้าส์ไปตามส่วนของรูป ที่คุณต้องการพิมพ์ตัวหนังสือลงไป จะเกิดขอบเส้นประสี่เหลี่ยมขึ้นตามลาก พร้อมหน้าต่าง fonts  ให้เลือกแบบฟ้อนท์


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ส.ค. 10, 09:30
^
ขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่งครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ส.ค. 10, 09:45
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย หน้าสถานทูตอังกฤษในกรุงเทพ
ตอนสงครามโลก   ญี่ปุ่นสร้างกล่องสี่เหลี่ยมขึ้นมาครอบพระรูปนี้ไว้  แล้วเจาะเฉพาะหน้าพระพักตร์ให้มองเห็นได้   ต่อมาจึงได้รื้อออกไป


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ส.ค. 10, 15:52
แว๊บเข้าหัวข้อของกระทู้เสียหน่อย
พอดีเจอในเวปรูปสนามหลวงตอนติดตลาดนัดทุกวันเสาร์อาทิตย์มาดูกันครับ

เมื่อก่อนหน้า ตลาดนัดนี้มีในวังสราญรมย์ ต่อมาคับแคบไปก็ย้ายมาสนามหลวงและริมคลองหลอด(คลองคูเมือง)
เมื่อเสื่อมโทรมหนัก ต้นมะขามทำท่าจะตายเลยย้ายไปจตุจักรจนถึงทุกวันนี้

จอมพลประภาสชอบนุ่งกางเกงขาสั้นมาเดินตอนเย็นๆ แต่ไม่ค่อยซื้ออะไร ตอนนั้นคนเกลียดเยอะเหมือนกันเพราะเป็นเผด็จการตัวบิ๊ก แต่ก็มาเดินสบายๆไม่มีบอดี้การ์ดล้อมหน้าล้อมหลัง มีแต่คนขับรถเดินตาม คงพกปืนเหมือนกันละน่าแต่ไม่ประเจิดประเจ้อ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 10 ส.ค. 10, 12:44
ถ่ายภาพจากฝั่งครงข้าม


สนามหลวง......พระบรมมหาราชวัง...วัดพระแก้ว....






ไม่ทราบปีที่ถ่ายภาพ ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ส.ค. 10, 19:01
ถ่ายจากที่สูงมาก   เหมือนถ่ายจากเครื่องบิน
น่าจะถ่ายหลังสงครามโลกนะคะ   ดูหน้าตาเรือ เหมือนเรือรบ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ส.ค. 10, 12:17
ภาพที่ 168 เป็นภาพเชิงสะพานดำรงสถิตย์ ใกล้ปากทางเข้าเวิ้งนครเขษม คงจะถ่ายจากด้านที่มาจากเฉลิมกรุงค่ะ

ีภาพที่ 170 น่าจะเป็นประตูน้ำมากกว่าค่ะ เพราะรถเมล์สาย 17 วิ่งผ่านตรงนั้น และตึกแถวแบบใหม่ด้านซ้ายมือ น่าจะเป็นบ้านเพื่อนที่ขายผ้าตรงนั้นค่ะ

หวังว่าจะตอบถูกสักภาพนะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 12:45
เอาภาพที่ 168 กับ 170 มาให้ดูกันอีกครั้ง
#  168    น่าจะเป็นแถวนาครเขษมอย่างที่ว่า
#   170   ประตูน้ำนี่เอง เมื่อตอนเด็กๆเคยไปเดินบ่อยเพราะไม่ไกลบ้านนัก     สุดปลายถนนคือมักกะสันหรือเปล่าคะ



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 13:29
มีรูปถนนอีกสายมาฝาก  หลายคนคงทันเห็นถนนพหลโยธิน  ตรงทางออกไปดอนเมือง  ในยุคที่ยังเป็นเช่นนี้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ส.ค. 10, 14:06
ครั้งแรกผมก็คิดว่าเป็นแถวนาครเขษมเหมือนกันครับ เพราะมีสพาน ลงสพานไปแล้วถนนจะเลี้ยวโค้งไปทางขวาหน่อยๆ

แต่ผ่านไปสังเกตุอีกที มันไม่ใช่ ลองเปรียบเทียบรูปดูซิครับ
ก่อนถึงสพานเป็นตึกสูง
หลังสพานเป็นตึกแถวร่วมสมัยกับภาพบนจริง แต่ไม่ใช่  sky lineก็ไม่ใช่


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 14:22
ภาพล่างสุดเป็นแถวไหนคะ    ตึกแถวทาสีแสด น่าจะเป็นจุดสะดุดตาให้จำได้ว่าถนนสายไหน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 14:49
ภาพนี้ แถวนาครเขษม?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ส.ค. 10, 17:23
ทั้งสองรูปถ่ายบนถนนเจริญกรุง ตรงมาจากศาลาเฉลิมกรุง

รูปแรกถ่ายก่อนขึ้นสพานตามตำแหน่งที่1 ทั้งสองข้างเป็นตึกสูง มีบริษัทมึนเซ่น มาชีนเนอรีอยู่ด้านซ้าย ด้านขวาไม่ทราบ
รถเยอะมากครับ หาช่องถ่ายลำบาก

รูปที่2 ถ่ายบนถนน เลยสะพานมาหน่อยนึงแล้ว ฝั่งตรงข้ามกับตึกสีแสดนี้เป็นย่านขายของโบราณของเวื้งนาครเขษมครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 18:56
ถ้าคุณศรีสยามกับคุณณัฐดลเข้ามาเห็น   คงบอกว่าท่านนวรัตนทำให้พวกผมเป็นทุกข์อีกแล้ว   ;D

ไม่น่าเชื่อเลย ถนนสายเดียวในรูป # 168 ทำให้ดิฉันอยากจะเอารถออกไปตระเวนถ่ายรูปดู  ตั้งแต่ห้าแยกพลับพลาชัย มาจนวรจักร ไปเวิ้งนาครเกษม  ไปเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร ฯลฯ เสียให้รู้แล้วรู้รอดว่า  มันเป็นสายไหนกันแน่

ถนนในรูปดูเหมือนจะใกล้ๆสุริวงศ์หรือหัวลำโพง    พอใกล้เคียงกับถนนปริศนาบ้างไหมคะ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 14 ส.ค. 10, 20:39
เหมือนไหมครับ..


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 20:40
ไปหารูปสะพานที่เวิ้งนาครเขษมมาได้เพื่อจะเปรียบเทียบกับรูปในค.ห. ๑๓๘

(http://img167.imageshack.us/img167/9707/shopmap04lj2.jpg)

ส่วนสะพานในรูป ๑๓๘ อยู่นี่ค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 20:45
อีกรูปหนึ่งของเวิ้งนาครเขษม  เห็นสะพานนูนสูงขึ้นเหมือนรูป ๑๓๘


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ส.ค. 10, 21:01
^
ถนนนี้คือถนนเยาวราชน่ะครับ รูปที่นำมาให้ดูจะถ่ายย้อนผ่านสพานเหล้กไปเห็นอดีตโรงหนังคิงส์ ที่เดี๋ยวนี้เป็นห้างเซนทรัลหรืออะไรเนี่ย

แต่ภาพของผมถ้าใช่ ก็คือจะต้องถ่ายมาจากด้านดรงหนังคิงส์ ข้ามสพานมาที่เยาวราช แต่มันไม่ใช่ ถนนเยาวราชช่วงนั้นตรงเป๊ะ ไม่โค้งขวาเหมือนในรูป

ผมชักจะคิดว่ามันอยู่แถวฝั่งธนฯเสียแล้ว แต่แถวโน้นผมไม่ค่อยชำนาญเสียเลย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 21:19
ย้อนกลับไปปากคลองตลาดอีกครั้ง  ไปทางร.ร.ราชินี  เป็นไปได้ไหมคะ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ส.ค. 10, 23:37
คุณ Navarat คะ

ดิฉันยืนยันว่า รูป 138 หรือ 168 เป็นภาพที่ถนนเจริญกรุง ถ่ายตรงเชิงสะพานดำรงสถิต ข้ามคลองโอ่งอ่าง ไปเวิ้งนาครเขษมแน่นอนค่ะ

ดูสีส้มของรถเมล์สมัยนั้นสิคะ นั่นแหละค่ะ ไม่สาย 25(ท่าช้าง-ปากน้ำ) ก็สาย 40 (มาจากสามแยกไฟฉาย ไปเอกมัย) ร้านนำเจริญ(ดูเหมือนจะขายแผ่นเสียงเก่าๆ) คาดว่าน่าจะถูกรื้อทิ้ง สร้างตึกใหม่ กลายเป็นห้างมินเซน แมชชีนเนอรี่ และ โรงแรมมิราม่าค่ะ

เปรียบเทียบรูปใหม่ที่เพิ่งถ่ายมา จะเห็นตึกแถวสีส้มนั่นแหละค่ะ หลักฐานชัดเจนเลยว่า ถนนโค้งไปทางขวาเล็กน้อย รูปร่างตึกตรงสีส้มไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม

ภาพของอาจารย์เทาชมพู เป็นภาพที่ถ่ายจากด้านถนนเยาวราช มองไปโรงหนังคิงส์ หรือ วังบูรพาเก่า ทางขวา เป็นเวิ้งนาครเขษม มีซอยต่อไปออกเชิงสะพานดำรงสถิตยค่ะ

ที่จำแม่น เพราะเพื่อนสนิท มีบ้านอยู่หัวมุม หน้าโรงหนังคิงส์พอดี  และวันนี้ก็ได้ผ่านไปทางนั้น

บังเอิญอีกแหละค่ะว่า ช่วงหนึ่งของชีวิต จำต้องไปอยู่บ้านฝั่งธนฯระยะหนึ่ง ตั้งแต่แถว ๆ ปิ่นเกล้ายังเป็นสวนอยู่นะคะ อยู่จนกลายเป็นตึก จึงย้ายกลับมาฝั่งกรุงเทพ  รับรองว่า ไม่เคยเห็นตึกแถวอะไรที่คล้ายจะเป็นดังภาพนี้เลยค่ะ

"ร่วมฤดี"


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ส.ค. 10, 23:47
ภาพ 186 ของอาจารย์เทาชมพู คือ พหลโยธิน สมัยที่ดิฉันเป็นนิสิต ฒ.เกษตรปี 1 แหละค่ะ

มีต้นก้ามปู มีคลอง และท้องนา มีลอมฟาง  เห็นระหัสวิดน้ำ มีควายด้วย ไม่มีตึกแถว อากาศดีมาก

ต่อมาก็เริ่มมี สนามกอล์ฟ Par 3 และต่อมาอีก ก็มีสวนสนุก แดนเนรมิตร มี Central Plaza และพอใกล้จบ ปี 4 ก็ต้องทนดมกลิ่นขยะที่เขานำมาถมที่ ทำสวนจตุจักรนี่แหละค่ะ แค่ 4 ปีที่เรียนที่นั่น เปลี่ยนไปจนจำไม่ได้เลยค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 14 ส.ค. 10, 23:55
ผมคิดว่าคุณร่วมฤดีชี้เป้าถูกต้องนะครับ

ลองดูรูปนี้ (จาก google maps) นะครับ

(http://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/31666038.jpg)

เทียบกับรูป คคห. 168 ที่ผมขยายมาเฉพาะส่วน น่าจะตึกหลังเดียวกันครับ



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ส.ค. 10, 06:56
อ้าว.. ต้องช่วยกันดูอีกทีแล้วละครับ

ถ้ารูปอดีตกับปัจจุบันมันสลับกัน ก็อาจจะใช่นะครับ
แต่นี่ ..มันเป็นอย่างนี้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ส.ค. 10, 08:19
ไม่น่าเชื่อเลย กระทู้นี้หลอนดิฉันไม่รู้จบ  :-\
 
ตื่นนอนขึ้นมา    แทนที่จะคิดถึงงานที่ต้องทำ   อย่างแรกกลับนึกถึงกระทู้ว่าสะพานเจ้ากรรมนั่นมันพาดข้ามคลองอะไรแน่  ถมไปหรือยัง ถึงหาไม่เจอจนแล้วจนรอด   
คิดต่อไปว่าถ้าเป็นทางฝั่งธนล่ะ  ตอบได้ว่าถ้าข้ามสะพานปิ่นเกล้า สะพานซังฮี้  รับรองว่าไม่มีตึกแถวแบบนี้    แล้วถ้าข้ามสะพานพุทธล่ะมีไหม   ก็คิดว่าไม่มี ไปจนวงเวียนใหญ่ ถนนก็ไม่เหมือนกัน  ถนนในรูปแคบมากไม่เหมือนถนนลงจากสะพานพุทธ  สรุปว่าไม่ใช่ฝั่งธน
รีบเข้าเรือนไทย  เห็นคุณณัฐดลเข้ามาเฉลย  หมดไป ๑ รูปก็โล่งใจ  ขอบคุณมากค่ะที่ยังร่วมวงติดตามรูปเก่าเล่าเรื่องกันอยู่ 
อย่าเพิ่งไปไหนนะคะ  อาจจะต้องขอแรงอีกหลายรูป

จากนั้นเลื่อนเม้าส์ลงมาเห็นคุณร่วมฤดีเข้ามาไขปริศนา ร่วมกับคุณม้า  ก็ดีใจมาก  สบายใจว่าหมดเรื่องค้างคาใจ จะได้ไปปั่นการบ้านส่งสนพ.    สลับกับจะขอแยกซอยในกระทู้จอมพลป.2  ต่อไปอีกสัก ๒-๓ ซอย    เมื่อคืนหารูปท่านผู้หญิงวิจิตราอยู่จนดึก  แปลกใจว่าทำไมน้องกู๊กไม่เก็บรูปท่านไว้บ้าง  วันนี้จะไปหาต่อ

ลากเม้าส์ลงมาอีกเจอข้อสงสัยท้ายสุดของคุณนวรัตน ก็อึ้ง    สงสัยคืนนี้ดิฉันคงหลอนอีกแล้ว...


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ส.ค. 10, 10:02
^
ขออภัยครับ ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 ส.ค. 10, 10:34
คราวนี้อาจารย์คงซึ้งคำว่าพ้นทุกข์(ส่วนตัวของผม)นะครับหลงคิดว่าผมเป็นคนเดียว

ทุกข์แสนหวาน---สวีท ซัฟเฟอริ่ง --





ยังไม่เจอ....ภาพ.... .ที่เก็บไว้...หาพบแล้วจะนำมาเพิ่มทุกข์ให้ถ้วนหน้า

 ;D ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ส.ค. 10, 10:47
ถ้าคุณศรีสยามจะอนุเคราะห์ให้พ้นทุกข์  ช่วยไปค้นกรุสมบัติรูปของคุณได้ไหมคะ  เผื่อจะเจอรูปเจริญกรุงตรงสะพานดำรงสถิต ที่ข้ามคลองโอ่งอ่าง ไปเวิ้งนาครเขษม
ดิฉันจะได้นอนตาหลับเสียที
แล้วหลังจากนั้นค่อยมาเป็นทุกข์ ในรูปใหม่ๆ   กันใหม่


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 ส.ค. 10, 11:23
หมายถึงรูปสถานที่อื่นครับ.......แถวเวิ้งเคยเดินแต่ไม่มีรูปครับ....

 :D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 15 ส.ค. 10, 11:59
ขอฮึดสู้อีกสักเฮือกครับ

A สี่แยก
B นำเจริญ
C ตึกแถวริมคลอง
D ตึกที่เห็นหน้าต่าง
E ตึกหน้าต่ำหลังสูง (สังเกตว่าระดับหลังคาตึกด้านหน้าสูงกว่าระดับหลังคาตึกรอบๆเพียงเล็กน้อย)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ส.ค. 10, 12:24
คุณม้า สู้ สู้  
ดิฉันแกะรอยตาม A B C D ไปด้วย   หวังว่าคืนนี้คงจะได้หลับสบายเสียที
คุณม้าตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะตึกแถว หน้าต่ำหลังสูง  เลยไปหารูปตึกแถวเก่าของเจริญกรุงมาให้เปรียบเทียบกัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ส.ค. 10, 16:50
ข้อสังเกตุของคุณม้าก็เป็นไปได้ เพียงแต่ว่าปัจจุบันต้นไม้ข้างถนนโตมาก นั่งรถดูไม่มีทางเห็นตึกEได้ แถมรถติด บังมุมกันตลอด จะเอาให้แน่จริงๆก็ต้องลงเดิน แต่ไม่รู้จะจอดรถที่ไหนอีก

เอาเป็นว่าเชิญหลับตามสบาย
ผมรับไปสวีท ซัฟเฟอรริ่ง  นอนฝันเป็นตึกแถวเก่าๆแทนทุกท่านแล้วกัน

เห็นแต่ภาพนักการเมืองในอดีตมาหลอนเป็นเดือนแล้ว



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 15 ส.ค. 10, 18:50
ขอนำเรื่องปวดหัวมาให้อีกหนี่งตัวเลือกนะครับ หากมองจากขอบบนของตัวตึก จะเห็นข้อแตกต่างระหว่างบ้านที่ถนนเจริญกรุงกับภาพที่อ.เนาวรัตน์ให้ไว้ครับ และตึกที่สร้างประมาณ 7ห้องแล้วแยกเป็นซอย ก็เห็นอยู่แถวๆ เชิงสะพานนรรัตน์สถาน พอข้ามสะพานไปก็จะเป็นห้างนิวเวิลดิ์ บางลำพู ตรงที่ตำรวจยืนอยู่น่าจะเป็นปากซอยสามเสน 3 ครับ ตึกแถวในภาพยังพอมีให้เห็นอยู่บ้างครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ส.ค. 10, 20:58
คุณนวรัตนท่านเป็นอาสาสมัคร รับเหมาเรื่องไปสวีทซัฟเฟอริ่งแต่ผู้เดียวแล้วก็จริง   แต่ดิฉันก็ติดภาพหลอน  ต้องดอดกลับเข้ามาอีก

รูปที่คุณณัฐดลเอามาลงเป็นสามเสน   แต่ตึกแถวในรูปปริศนา เป็นคนละแบบกับตึกแถวสามเสนนะคะ   เชื่อว่าคนละถนนกัน
เมื่อกี้ เพื่อนเข้ามาดูกระทู้นี้ว่ามันอะไรกันนักกันหนา  ทำไมเทาชมพูทำใจไม่ได้สักที    เธอบอกว่าสะพานปริศนาน่าจะเป็นสะพานเหล็กค่ะ
สะพานเดิม ปัจจุบันขยายกว้างและปรับเป็นระดับราบเกือบเท่าถนน ไม่สูงชันขึ้นมาเหมือนของเดิม
โปรดดูรูปในค.ห. 193


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ส.ค. 10, 21:16
ขอบคุณคุณณัฐดลที่ช่วยชี้ช่องนะครับ คราวนี้ใช่เลย ฟันเฟิร์ม ตามภาพครับ

ถนนเจริญกรุงไม่ใช่ ถนนที่ไปเห็นมาเมื่อ2-3วันที่แล้วมันแคบกว่าในภาพ
แต่ยกข้อสงสัยให้คุณม้าไปทีหนึ่งก่อน วันนั้นผมไม่เห็นอะไรมาก เพราะรถและต้นไม้บังอย่างที่บอกไปแล้ว แถมขับรถด้วยถ่ายรูปด้วย แต่ตอนนั้นก็ชัวร์นะครับว่าไม่ใช่

ถนนสามเสนใกล้บ้านเกิดผมนิดเดียว เจ้าร้านนำเจริญนี่ผมก็ว่าคุ้นๆ เมื่อไหร่ผมไปวัดบวรแล้วจะถ่ายรูปมายืนยันอีกทีครับ
คืนนี้ขอนอนหลับสบายก่อน

...ซา-หลิด
...ซา-หลิด........


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ส.ค. 10, 21:25
จุกแอ้กไปเลย...
ถนนสามเสน เส้นไปบางลำพูจริงๆหรือนี่   :o 
ผ่านบ่อยมาก แต่ไม่เคยคิดเลยว่าใช่ เพราะดูรูปที่คุณณัฐดลนำมาลงเข้าใจว่าเป็นแถวตรงข้ามร.พ.วชิระ  ส่วนรูปปริศนาไปปักใจเชื่อว่าเป็นเจริญกรุง

คุณนวรัตน คุณณัฐดล คุณศรีสยามคงพ้นทุกข์ไปแล้ว    แต่คุณม้า คุณร่วมฤดี กับดิฉัน   ยังเวียนว่ายกันอยู่...(มั้ง)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 ส.ค. 10, 21:43
มิได้ขอรับ..อาจารย์..........ยังเป็นเพื่อนร่วมทุกข์กับทุกท่านอยู่เหมียนเดิม.........
แอบปลีกวิเวกบ้างเป็นครั้งคราว...........



เชียร์ทุกท่านเลยครับ..........
 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 ส.ค. 10, 21:47
แอบลุ้น............เบอร์นี้อยู่
natadol....สู้ๆ....ลุงเอาใจช่วย.........



 ;) ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 09:17
เชื่อว่าในวันนี้พรุ่งนี้..จะมีเพื่อนเราท่านใดท่านหนึ่ง....นำภาพถ่ายปัจจุบันของสถานที่นี้(เจ้าแห่งปัญหาคาใจ)มาให้พวกเราชมกัน...

จึงเอารูปเดิมที่โพสต์ซ้ำในกระทู้นี้ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง???.....มาโพสต์ซ้ำอีกครั้ง...รอไว้เปรียบเทียบกันครับ..

เพิ่งทราบว่าคุณnavarat ชอบปลาสลิดเหมือนผม...อิอิอิ


 ;D ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ส.ค. 10, 09:58
ขอคาระวะท่านที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นเชิงสะพานแถวบางลำพูค่ะ
ดูจากมุมต่าง ๆ แล้ว ยอมยกธงขาวค่ะ

อาจารย์เทาชมพูคะ จะว่าไปแล้ว การเดาภาพภ่ายเก่า ๆ นี่ พิสูจน์อายุของผู้เข้ามาตอบไปในตัวนะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 10:24
กระทู้นี้เช็คอายุไงคะ  ;D
สนุกออกค่ะ ชวนกันมานั่งล้อมวง คุยเรื่องที่พวกเราต่างก็รู้เห็นกันมาด้วยกัน  จะได้คุยกันได้ยาว

ยังอยากฟังคุณร่วมฤดีเล่าถึงม.เกษตร  เผื่อคุณศรีสยามและคุณณัฐพลมีรูปถ่ายในอดีตมาแจมให้เห็นภาพ     บางเขนในยุคที่ดิฉันกับคุณนวรัตนเรียนอยู่สามย่าน  เป็นทุ่งบางเขนชานเมืองไกล ขนาดนิสิตเกษตรต้องมีหอพักอยู่กัน  ไปกลับไม่ได้
จำได้ว่าเกษตรศาสตร์สมัยนั้นได้ชื่อว่าเป็นแหล่งวิชาเกษตรจริงๆ   ไม่มีคณะมนุษย์  สังคม วิศวะ    เพื่อนๆดิฉันที่เรียนสายศิลป์มาจากร.ร.เตรียม  ถ้าไม่เลือกเข้าจุฬาก็เลือกเข้าธรรมศาสตร์    ไม่มีคนไหนไปเรียนเกษตรเลย คิดว่าไม่มีสาขาที่จะเรียนกัน

เอารูปที่ไม่เป็นปริศนามาลงให้ดูเป็นของแกล้ม        เมื่อคืนหลับสนิทดีมากค่ะ

(http://thai-blogs.com/media/blogs/richpictures/oldbangkok_station.jpg)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 10:57
เอารูปที่ไม่เป็นปริศนามาลงให้ดูเป็นของแกล้ม      

มีปริศนาเกี่ยวกับรูปที่ไม่เป็นปริศนาข้างบน  ;)

"สถานีกรุงเทพ" (หัวลำโพง)  มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองมีลักษณะคล้ายกับ สถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน  อีกทั้งวัสดุในการก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมันนีเช่นกัน  ลวดลายต่าง ๆ ที่ประดับไว้เป็นศิลปะที่มีความวิจิตรสวยงามมาก บันไดและเสาอาคารบริเวณทางขึ้นที่ทำการกองโดยสาร หรือโรงแรมราชธานีเดิมเป็นหินอ่อน โดยเฉพาะเพดานเป็นไม้สักสลักลายนูน ซึ่งหาดูได้ยาก

ข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทย
http://www.thaitransport-photo.net/railmap/bangkok.htm

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-48.jpg)

สถานีรถไฟ เมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-49.jpg)

สถานี Porta Nuova เมืองตูรินในประเทศอิตาลี

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-47.jpg)


ลองพิจารณาดูให้ดี

หัวลำโพงของเราเหมือนสถานีรถไฟของเยอรมันหรืออิตาลี

 ???


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 10:59
หน้าจอของดิฉัน รูปขึ้นแต่สถานีรถไฟอิตาลี  :'(


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 11:32
ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวเมืองเวนิส คงได้เห็นตึกโบราณหลังหนึ่งที่สวยมากชื่อ Ca' d' Oro เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิค-เวนิส อยู่ติด Grand Canal สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ปัจจุบันนี้เป็นหอศิลป์ ชื่อว่า Galleria Franchetti

แต่ถ้าไม่มีโอกาสไป ดูที่เมืองไทยก็ได้ ที่ บ้านนรสิงห์ - ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นี้เอง

ตึกไทยคู่ฟ้า -  Ca' d' Oro

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-61.jpg)

 ;D



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 11:41
อ้อ รูปขึ้นมาหมดแล้วค่ะ เสียเวลารอโหลดอยู่พักหนึ่ง

ยังตาลายจากสะพานข้ามคลองโอ่งอ่างอยู่   รอท่านอื่นมาชี้ขาดก็แล้วกัน
เอาด้านในตึกไทยคู่ฟ้าแห่งเวนิสมาเสริมอีกรูป

(http://www.italyheaven.co.uk/veneto/venice/images/cadoro1.jpg)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 11:44
มีสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่มีสถาปัตยกรรมเหมือนกับสิ่งก่อสร้างในอิตาลี

พระที่นั่งอนันตสมาคม  และ โดมของวิหาร Superga (Basilica di Superga) แห่งตูริน อิตาลี

วิหาร Superga เป็นสถาปัตยกรรมแบบบารอค ออกแบบโดย Filippo Juvarra (Messina 1678 - Madrid 1736) สถาปนิกผู้มีชื่อเสียงมากของอิตาลี ผลงานเด่น ๆ มีอยู่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตูริน

วิหารแห่งนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ ๑๗ บนเนินเขาที่มีทัศนียภาพสวยงามมาก สามารถมองลงมาเห็นเมืองตูรินได้ทั้งเมือง ในวันที่อากาศดีท้องฟ้าแจ่มใส สามารถมองเห็นภูเขาซึ่งอยู่รายรอบแคว้น Piedmont ได้ชัดเจน

พระที่นั่งอนันตสมาคม - Basilica di Superga

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-65.jpg)


ทั้ง สถานีรถไฟหัวลำโพง, ตึกไทยคู่ฟ้า และพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งมีกลิ่นอายขอสถาปัตยกรรมอิตาเลียน เป็นผลงานของสถาปนิกชาวเมืองตูรินนามว่า มาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno)

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-63.jpg)

มาริโอ ตามานโญ ยี่สิบห้าปี แห่งการเป็น สถาปนิก ในราชสำนักสยาม (๒๔๔๓-๒๔๖๘)
http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=149

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 11:50
ถ้าใครมีโอกาสไปเที่ยวเมืองเวนิส คงได้เห็นตึกโบราณหลังหนึ่งที่สวยมากชื่อ Ca' d' Oro เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิค-เวนิส อยู่ติด Grand Canal สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ปัจจุบันนี้เป็นหอศิลป์ ชื่อว่า Galleria Franchetti

แต่ถ้าไม่มีโอกาสไป ดูที่เมืองไทยก็ได้ ที่ บ้านนรสิงห์ - ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นี้เอง

ตึกไทยคู่ฟ้า -  Ca' d' Oro

(http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2008/08/H6908701/H6908701-61.jpg)

 ;D




ใช่ตึกนี้ไหมครับ?...กึ่งพุทธกาลนี่เอง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 12:16
มาตอบครูเพ็นโนก่อน
หัวลำโพง เหมือนในอิตาลีมากกว่าเยอรมนี ค่ะ
รูปตึกไทยคู่ฟ้าที่คุณศรีสยามนำมาลง สวยมากกว่าในปัจจุบัน  สภาพแวดล้อมดีกว่า

ขอแลกรูปให้ดูกัน   สมัยตึกไทยคู่ฟ้าเป็นบ้านนรสิงห์


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 13:03
ปริศนาตราำไก่ที่บ้านนรสิงห์

(http://topicstock.pantip.com/blueplanet/topicstock/2008/09/E6952343/E6952343-36.jpg)


เมื่อเดินดูรอบ ๆ แล้ว จะเห็นสิ่งหนึ่งคือ ปูนปั้นเป็นรูป "หัวไก่" แค่คอบ้าง ครึ่งตัวบ้าง ประดับอยู่ตามใต้กรอบหน้าต่างเหมือนกับเป็นเครื่องหนุนคาน หน้าต่างทุกบาน และตามปลายรางน้ำที่ระบายน้ำฝนจากหลังคาลงสู่พื้นชั้นล่างทุกราง แม้ปลายคานรับระเบียงก็ประดับด้วยหัวไก่เช่นเดียวกัน

เรื่องนี้ มีบางท่านให้ความเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม สั่งให้ทำเป็นหัวไก่ เมื่อมีการปรับปรุงตึกไทยคู่ฟ้า เพราะท่านเกิดปีระกา

แต่มีหลายท่านซึ่งเคยอาศัยอยู่ในบริเวณบ้านนรสิงห์ยืนยันว่า เดิมก็เป็นรูปหัวไก่ไม่ใช่ของทำใหม่ เพราะคุณหญิงประจวบฯ ภริยาของท่านเจ้าของบ้าน เกิดปีระกา

http://www.thaigov.go.th/multimedia/admin/goverment_house/goverment_house/goverment_house06.htm


ตราไก่ หมายถึง จอมพล ป. หรือ  คุณหญิงประจวบ  กันแน่

 ???





กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 13:27
ถ้าเป็นตราไก่ละก็ จอมพลป.     แต่หัวไก่ที่ประดับประดาอาจหมายถึงคุณหญิงรามราฆพจริงๆอย่างที่ว่า

ฝากรูปถ่ายเก่าแก่อีกรูปหนึ่ง   แต่ไม่ถามแล้วนะคะว่าถนนไหน  ท่านใดจะช่วยเฉลยก็แล้วแต่สมัครใจ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 14:02
ไม่ทราบว่าเป็นแถวๆแพร่งนรา-หลังกระทรวงมหาดไทยหรือไม่ครับ....
ลักษณะอาคาร/หน้าต่าง/ชองแสง/ช่องลม...แบบเดียวกัน???


 ;D :D

ตอบแบบ EMS เลยครับ
 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 14:05


เห็นภาพไก่...............ทำให้คิดถึงลุงไก่..เจ้าของกระทู้...

อยู่ไหนเอ่ย.....ระวังอาจารย์เทาฯตามตัวนะครับ...


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 14:09
วันนี้ไปทำกิจธุระในเมือง แล้วก็หาเรื่องโฉบไปตรงนั้นซะด้วยความชำนาญ ยังมีท่านใดสงสัยอีกไหมครับ ถ้าสงสัย คราวนี้คงนอนไม่หลับไปอีกนาน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 14:12
ตอบ EMS ทันใจจริงๆ คุณศรีสยาม

คลับคล้าย ว่าเป็นแพร่งใดแพร่งหนึ่งค่ะ   จำไม่ได้ว่าแพร่งไหน  เคยเดินตามอ.ประทุมพร วัชรเสถียร จากโรงแรมรัตนโกสินทร์ ไปทัศนศึกษาทั้ง 3 แพร่ง ฟังอาจารย์อธิบาย สนุกเพลิดเพลินไปจนถึงเวลากลับ  แต่พอทบทวนความจำ   กลับจำได้แต่ร้านไอศกรีมกะทิ   กับลายฉลุที่ระเบียงร.ร.ตะละภัฏ

กระทู้นี้ลุงไก่ตั้งเพื่อถามถึงสนามหลวง   แต่ว่ามาถูกชิงพื้นที่   ขยายออกนอกเขตแดนสนามหลวงไปไกลถึงเวนิส     คุณลุงเลยเงียบหายสาบสูญไปเลย
ด้วยความเกรงใจ   เราย้ายไปตั้งกระทู้ใหม่ในห้องศิลปะวัฒนธรรม   ชื่อ รูปเก่าเล่าเรื่อง ดีไหมคะ
ขอแรงคุณศรีสยามช่วยตั้งให้ด้วย จะได้เอารูปที่สะสมมาแลกกันดู


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 14:23
วันนี้ไปทำกิจธุระในเมือง แล้วก็หาเรื่องโฉบไปตรงนั้นซะด้วยความชำนาญ ยังมีท่านใดสงสัยอีกไหมครับ ถ้าสงสัย คราวนี้คงนอนไม่หลับไปอีกนาน

สาธุ  เป็นพระคุณอย่างสูง

ถ้ายัง---
- สงสัยว่าถนนในปัจจุบันดูกว้างกว่าในอดีต
- สงสัยว่าร้านนำเจริญยังอยู่หรือเปล่า  
- สงสัยว่าพอลงสะพานแล้วตึกแถวที่โค้งไปทางขวามือมันหายไปไหนทั้งแถบ  เห็นแต่ตึกนิวเวิร์ลด์ผุดขึ้นตระหง่าน
- สงสัยว่าในรูปซ้าย ดูไม่ออกเลยว่าลงสะพานไปแล้วมีสี่แยก  เห็นแต่ตึกแถวเรียงไม่ขาดสายริมถนน
บลา บลา บลา ฯลฯ
คืนนี้  ก็คงต้องกินอาติแวนเข้าไปหลายเม็ด  แล้วค่อยตื่นไปล้างท้องที่ร.พ.

เพราะยังงั้น  ไม่สงสัยแล้วละค่ะ  ยืนยัน
เก่งมาก ที่อะไรต่อมิอะไรเปลี่ยนไปหมดแล้ว เหลือแต่สะพานที่คงเดิม ก็ยังหาจนเจอ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 15:00
กระทู้นี้แยกไปที่  "รูปเก่าเล่าเรื่อง"

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3462.msg69478;topicseen#msg69478

ขอเอาคืนคุณเพ็ญชมพู ด้วยการถามว่าสะพานหันของกรุงเทพ  มาจากสะพานอะไรของอิตาลี
ที่จริงแล้ว เรียกเอาคืนให้โก้ไปงั้นแหละ  คำตอบจริงๆคือดิฉันจำไม่ได้  ขอช่วยหาให้หน่อยนะคะ 
ชื่อเพ็ญชมพูอาจได้เป็นชื่อนางเอกเร็วหน่อย ;)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 15:11
เอาครับ ใครจะไปทัวร์อิตาลี่ก็เชิญทางโน้น ถ้าไม่ไป ผมจะพาทัวร์หัวถนนเจริญกรุงให้สิ้นสงสัยไปอีกเรื่องหนึ่ง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 15:16
โรงแรมทั้งสองเมื่อกี้สร้างแทนที่ตึกเก่า นั่นไม่สงสัย เดินเลยมาเลย บัดเดี๋ยวก็ถึงสะพาน
สังเกตุดีๆนะครับ ระดับสะพานจะไม่สูงเท่าไหร่


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 15:20
เมื่อก่อนเป็นคลองน้ำเน่า เดี๋ยวนี้ดีขึ้น เพราะกทม.ติดตั้งระบบสูบหมุนเวียน ชักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาชำระน้ำโสโครกออกไป


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 15:24
ขอเอาคืนคุณเพ็ญชมพู ด้วยการถามว่าสะพานหันของกรุงเทพ  มาจากสะพานอะไรของอิตาลี
ที่จริงแล้ว เรียกเอาคืนให้โก้ไปงั้นแหละ  คำตอบจริงๆคือดิฉันจำไม่ได้  ขอช่วยหาให้หน่อยนะคะ 
ชื่อเพ็ญชมพูอาจได้เป็นชื่อนางเอกเร็วหน่อย ;)

ให้คุณเทาชมพูเลือกระหว่าง

สะพาน rialto ที่เวนิส

(http://www.travel-tidbits.com/tidbits/images/italy/I_Venice_Rialto_Bridge.jpg)


และ สะพาน Ponte Vecchio ที่ฟลอเรนซ์

(http://www.roma-antica.co.uk/custom/Ponte%20Vecchio.jpg)


ไม่ทราบว่าความเร็วขนาดนี้ ใช้ชื่อเป็นนางเอกได้หรือยัง

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 15:25
ชื่อสะพาน ผมนึกว่าสะพานนี้จะอยู่ใกล้หลานหลวงเสียอีก

ขอถามว่า สพานแบบนี้มีในอิตาลี่ที่ไหนบ้าง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 15:27
ดิฉันส่งคุณเพ็ญชมพูเธอไปอิตาลีแล้วค่ะ   ตอนนี้ขอสะพายกระติกน้ำ  เดินตามไกด์ไปเจริญกรุงคนเดียวก่อนนะคะ  
คุณศรีสยามมัวไปอยู่อีกกระทู้  คุณม้า คุณณัฐดล กับคุณร่วมฤดีคงจะตามมาสมทบทีหลัง  

v
v
หวาย ชนกันกลางอากาศ  คุณเพ็ญชมพูเหาะกลับมาด้วยความเร็วปานแสง   
เห็นจะต้องลัดคิว ตั้งชื่อนางเอกเรื่องใหม่ว่าเพ็ญชมพูเสียแหล่ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 15:36
ระหว่างที่รอผู้สันทัดกรณีย์มาตอบคำถามของผม ขอเชิญหันไปดูถนนเจ้าปัญหาที่คุณม้าทำเอาผมนอนไม่หลับ A B C D นั้นเป็นชื่อที่คุณม้าตั้งในแผนที่ของคุณม้า


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 15:42
ตึกนี้เป็นตึกที่ตั้งใจไปดู ที่ผ่านไปคราวก่อน เห็นแวบๆอยู่หลังต้นโพธิ์ พอรถของผมวิ่งไปถึงก็มีรถเมล์คันเบ่อเริ่มวิ่งมาบังวิว ไม่ได้เห็นอะไรเลย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 15:46
เห็นแล้วก็หายสงสัย ตึกอย่างนี้จะไปอยู่ในรูปโน้นได้อย่างไร ส่วนตึกนี้ตกสำรวจ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 15:51
ตึกDนี้เป็นตึกที่มีเอกลักษณ์เด่นตรงซุ้มหน้าต่าง ที่มีกันสาดโค้งและช่องระบายลมบนหลังคา ก็สังเกตุไม่ได้จากรูปปริศนา ส่วนตึกEนี้ก็อีกตึกหนึ่ง วันก่อนโน้นไม่มีโอกาสได้เห็นเลยครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 16:01
ก็เป็นตึกเล็กๆบางๆอีกตึกหนึ่ง ไม่ได้สูงมาก มองแทบไม่เห็น ถ้าท่านสงสัยจริงๆก็ลองย้อนกลับไปดูในหน้าที่แล้ว ตึกEสูงนิดเดียว ไม่เหมือนตึกใหญ่ในภาพปริศนา
.
.
จบขอรับ สิ้นสงสัยขอรับ
เชิญไปเที่ยวอิตาลี่ต่อขอรับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 16:03
เขื่อว่าคุณม้าก็เห็นตามนี้แหละครับรวมทั้งผมด้วย...
รูปที่คุณม้านำมาจากกูเกิ้ลนั้นก็เป็นหัวถนนเจริญกรุงดังท่านnavaratว่าครับ...จึงต่างจากรูปเจ้าปัญหา



อาจารย์เทาฯท่านไล่ผมไปเหงาเฝ้ากระทู้โน้น.....จึงแอบตามมา...เอารูปสะพานหันอีกรูปมาฝากครับ





 ;D ;)



สะพานหันที่คลองรังสิตครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 16:11
รูปนี้ ผู้บรรยายบอกว่าเป็นสพานดำรงสถิตย์ในสมัยรัชการที่5 แต่ทำไมราวสะพานเป็นเหล็กหล่อ หรือจะเป็นสะพานเหล็กที่อยู่ถัดไป?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 16:13
ขอคารวะด้วยถนนเจริญกรุง ในอดีต ๑ จอก
นับถือ นับถือ  ท่านจอมยุทธ

(http://www.bloggang.com/data/offway/picture/1216910884.jpg)

คุณศรีสยามมาโวยแล้วว่า ไปติดเกาะอยู่กระทู้โน้นคนเดียว

ขอส่งเทียบเชิญท่านจอมยุทธไปเยี่ยมชมกระทู้ รูปเก่าเล่าเรื่อง
ถ้าท่านจะกรุณาเสริมให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ฟังเรื่องอะไรบ้าง ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยว (ก็ได้)  ก็จะยิ่งขอบพระคุณ
ถือว่าพักเหนื่อย จากส่งท่านจอมพลขึ้นเวทีมาเป็นแรมเดือนแล้ว

V
V
กระทู้ชนกันกลางอากาศกับคุณนวรัตนอีกแล้ว  :o
ชื่อสะพานเป็นปริศนาอีกแล้วหรือคะ  ขอจามหน่อย  ภูมิแพ้รูป กำเริบขึ้นมา  ;)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 16:21
คุณวิกี้บรรยายภาพสะพานเหล็กที่ค.ห. 245 ว่า
สะพานดำรงสถิตย์ เดิมเรียกว่า สะพานเหล็กบน สร้างสะพานเหล็กข้ามคลองโอ่งอ่าง เมื่อครั้งสร้างถนนเจริญกรุง
ภาพนี้ถ่ายจากประตูสามยอดมองไปที่สะพาน (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5)

สะพานเหล็กบน ?  มีสะพานเหล็กล่างด้วยหรือ?

ปัจจุบัน ไม่มีเค้าอดีต

(http://img167.imageshack.us/img167/9707/shopmap04lj2.jpg)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 16:28
ส่งยานัตถ์หมอมีมาแก้จามครับ

นี่ของจริง มีเหล็กที่ไหน หรือมีแล้วถูกถอดไปเมื่อไหร่


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 16:30
ขยายความเรื่องสะพานหันอีกนิด ไปเที่ยวอิตาลีกันอีกหน่อย   ;)

หมอบลัดเลย์ได้บรรยายลักษณะของสะพานหันเมื่อปลายรัชกาลที่ ๓ ว่า "สะพานหันเก่านั้น มีแต่กระดานสองแผ่น ม้า รถ ไปไม่ได้ ไปได้แต่คน กับแพะและสุนัข" คงคล้าย ๆ สะพานหันที่คลองรังสิตของคุณศรีสยาม

สะพานหันได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะจากเดิมหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้เรียบเสมอกัน ใต้พื้นไม่มีล้อเหล็กแล่นบนราง สามารถแยกสะพานออกจากกันให้เรือผ่านได้ และอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างสะพานหันใหม่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสะพานอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ ทั้งอดีตและปัจจุบัน เพราะทรงนำแบบมาจากสะพานริอัลโตที่เมืองเวนิส และสะพานเวคคิโอที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี คือเป็นสะพานไม้รูปโค้งกว้างกว่าปกติ เพราะ ๒ ฟากสะพานมีห้องแถวเล็ก ๆ สำหรับให้เช่าขายของ ฟากละ ๗ หรือ ๘ ห้อง ตรงกลางเป็นทางเดินกว้างประมาณ ๑.๕ เมตร ปัจจุบันสะพานหันเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นเดียวกับสะพานทั่ว ๆ ไป แต่ชื่อสะพานยังคงเหลือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงลักษณะสะพานเมื่อแรกสร้าง

สะพานหันในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีพรรณนาไว้ในนิราศ สำเพ็งของนายบุศย์ มีความในนิราศว่า

ถึงสะพานหันผันแปรแลดูแปลก              เมื่อแต่แรกขนานนามสะพานหัน
กรมโยธาสามารถฉลาดครัน                 คิดจัดสรรแนวถนนให้ผลมี
ทำเปลี่ยนแปลงแค่สถานสะพานโค้ง         มีร้านโรงสองข้างทางวิถี
พวกแขกเช่าขายผ้าสินค้าดี                  เจ๊กก็มีที่ขายลูกไม้จีน

 ;D




กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 16:44
เฉลยเรื่องสะพานดำรงสถิตย์ เป็นรัอยแก้วน่ะครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 17:27
ตอบคุณเพ็ญชมพู นางเอกนิยายคนใหม่

นิราศบางลำพู(สู่เจริญกรุง) ฉบับท่านนวรัตน ณ เรือนไทย

โอ้สะพานเจ้ากรรมทำกันได้
เหนื่อยกายใจเหนื่อยกล้องเที่ยวมองหา
หาไม่ได้ก็หมดสิทธิ์จะนิทรา
หลอนด้วยภาพปริศนาค้างคาใจ

ส่องดาวเทียมเล็งกล้องมองจนรู้
โถสะพานบางลำพูเพิ่งรู้ได้
แต่สะพานเหล็กเก่าเล่าทำไง
กลายเป็นปริศนาใหม่หรือไม่เอย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 19:42
อันสะพานเหล็กเก่านะเจ้าข้า
สร้างสมัยร.5เชียวท่านเอ๋ย
พอร.6ท่านสั่งทำใหม่เลย
เป็นคอนกรีตอย่างเราเคยไปเห็นมา

แต่ชาวบ้านก็ยังขานสะพานเหล็ก
สมัยเด็กเราก็งงเป็นหนักหนา
ไหนเหล็กบนเหล็กล่างกันละวา
เห็นตำตาไม่มีเหล็กหรือเจ๊กลวง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ส.ค. 10, 19:49
ตกลงสพานเหล็กบนคือสะพานดำรงสถิตย์ครับ

สพานเหล็กล่างคือสะพานภาณุพันธุ์ ที่เห็นในรูปนี้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 21:21
สะพานนี้ ราวเหล็กของแท้  ใครจำได้บ้างคะ  น่าจะนึกออกไม่ยาก


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 16 ส.ค. 10, 21:49
คุยกันเล่นๆ ซ้ายมือคือศาลาเฉลิมไทย
ตึกที่เห็น โดนเผาไปแล้ว ของ ต.ร.
ขวามือเป็นป้อมที่มีปัญหา
โครงเหล็กสวย ยังอยู่ของเดิมหรือเปล่า


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 16 ส.ค. 10, 22:06
อ้า... โยนผ้าเช็ดตัวตั้งแต่เห็นรูปใน คคห.๒๒๙ แล้วครับ รูปทรงของตึกแถวชัดเจนจนตีความเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

ข้าน้อยขอคารวะ  ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 16 ส.ค. 10, 22:23
ขอตัวเลือกอีกครั้งนะครับสำหรับสะพานเหล็กบน -ล่าง คิดว่าคำคล้องจองน่าจะมีผลนะครับ ดำรงสถิตย์-พิทยเสถียร


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 16 ส.ค. 10, 22:25
อีกภาพครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 22:29
ตอบคุณ puyum  ถูกต้องค่ะ สะพานผ่านฟ้าลีลาศ 
ยังไม่ได้ผ่านไปแถวนั้นจนบัดนี้ เลยไม่รู้ว่าสภาพเป็นไงค่ะ

นำรูปที่ 229 มาฉายซ้ำอีกครั้งก่อนนอน  เพื่อจะได้หลับสนิทกันทุกท่าน



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 16 ส.ค. 10, 22:32
และภาพที่ทำให้ผมได้เป็นหลานท่านลุงsrisiamครับ อยู่เชิงสะพานนี้เอง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 22:39
สุดยอดของการเกาะติดเลยนะครับเนี่ย...หลานของลุง...(เรียกพี่ได้ไหม???...เพลงครับเพลง)

ในที่สุดก็พบตึกเก๋งจีนของอาจารย์เทาฯจนได้
 ;D :D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 22:56
หลับสนิท ๒ เท่าค่ะคุณ natadol

ตึก ๗ ชั้นหลังนี้ได้รับการบูรณะเสียจนดูทันสมัย   มองไม่ออกเลยว่าสร้างมาหลายสิบปีแล้ว
เป็นตึกของบริษัทอะไรคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 17 ส.ค. 10, 04:23
หามาฝากอ.เทาชมพูครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ส.ค. 10, 08:46
ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับสนามหลวง แต่เป็นภาพสมัยก่อน    
ขอถามว่าเป็นถนนไหนของกรุงเทพคะ   ใครดูออกบ้าง ช่วยเข้ามาไขปริศนาให้หน่อย

ขอแรงคุณnatadol.......พร้อมกล้องดิจิตอลตัวใหม่ 12 ล้านพิกเซล....และฝีมือเยี่ยมยุทธ...
ช่วยไขปริศนาที่ค้างคาในภาพ คห. 46  นี้ด้วยครับ....ว่าใช่เยาวราชช่วงใกล้แยกราชวงศ์แถบโรงแรมเก้าชั้น(เก่า)หรือแถวๆนั้นไหม????



ลองถ่ายมาเปรียบเทียบด้วยครับ......อาจารย์เทาฯท่านจะได้หลับสนิทเป็นสามเท่า..


 ;D ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 17 ส.ค. 10, 08:47
อาจารย์เทาคะ

เกรงใจเจ้าของกระทู้ "สนามหลวงสมัยก่อน" ค่ะ ขอย้ายไปเล่าเรื่อง ม. เกษตร บางเขน ที่กระทู้ "รูปเก่าเล่าเรืองเมืองบางกอก"นะคะ

จะว่าไปแล้ว อยากจะชวนเพื่อน ๆ ที่กำลังสนุกสนานกับการทายรูปสถานที่ ที่ไม่เกี่ยวและไม่ใกล้สนามหลวงไปด้วยกันดีกว่าค่ะ

สำหรับสนามหลวงนั้น อยากดูรูปร้านรวงสมัยนั้น ที่ขายของแปลก ๆ แต่ไม่มีให้เห็นแล้วในสมัยนี้ค่ะ เช่น

ของเล่นเด็กที่ทำจากไม้ระกำ

จำได้ไว่า ร้านที่ขายของพวกนี้ จะมีพวก หัวโขน แส้ปัดยุง และงูปลอม ตุ๊กแกปลอม ทำจากไม้ระกำ เบา และ นิ่ม ๆ ทาสีสวย ๆ  เอามาสะบัดเล่น ก็ดุดดิกได้เหมือนมีชีวิต

มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง หน้าตาเหมือนจะเข้ แต่มันอันเล็ก ๆ ทำด้วยไม้ มีสายให้ดีด และมีปุ่มให้กด แทนการวางนิ้วลงบนสาย

ตอนที่ได้เห็นของเหล่านี้ ยังเป็นเด็กเล็ก ๆ อยากได้มาก แต่ผู้ใหญ่ท่านไม่เคยซื้อให้เลยสักชิ้น จึงอาฆาตว่า รอโตทำงาน มีรายได้ จะมาซื้อไปเล่น แต่สนามหลวงก็ชิงจากไปก่อน

ใครมีภาพมาเผื่อแผ่ คนแก่ได้ระลึกความหลัง ก็ขอกราบขอบพระคุณงาม ๆ มัดจำไว้ก่อนเลยค่ะ



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 13:38
ของเล่นที่คุณร่วมฤดีบรรยายมา จำได้ทั้งหมดค่ะ  จำได้ว่ามีขายที่งานภูเขาทอง    เขามาออกร้าน   มีตุ๊กตากระโปรงบานโรยกากเพชร ที่เสียบเสาไม้ขาย  คนขายก็เดินแบกเสา ไปๆมาๆ อยู่ในงาน 
ไปเที่ยวตลาดน้ำสี่ภาคที่พัทยาเมื่อเดือนก่อน   เดินลึกเข้าไปข้างใน เห็นร้านขายของเล่นโบราณ   ไม่รู้ว่ามีงูไม้ระกำหรือเปล่า แต่มีของเล่นแบบที่ดิฉันเคยเล่นตอนเด็กๆ รวมทั้งหม้อข้าวหม้อแกงดินเผาใบเล็กๆด้วย
เขาว่าตลาด ๑๐๐ ปีที่สามชุกก็มี    ถ้าผ่านไปทางนั้นลองแวะดูนะคะ

ไก่แบบนี้ดิฉันเคยมีค่ะ  แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว ที่เท่คือพอกดให้มันหมอบ สปริงข้างใต้ท้องก็เปิดออก มีลูกกลมสีทองเป็นฟองไข่ไก่หล่นลงมา  จับยัดเข้าไปให้มันหล่นลงมาได้อีก

(http://www.88foto.com/wp-content/uploads/2008/11/dscf1882.jpg) 


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 17 ส.ค. 10, 13:49
เข้ามาแจมว่า รูปหัวลำโพง ถ้าเก่าจริงต้องมีหลุมหลบภัยอยู่ข้างหน้า นะขอรับ ไปแจม เรื่อง ม. เกษตร ละนะขอรับ
มานิต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 13:51
ร้านขายของเล่นโบราณ (น่าจะเป็นตลาด ๑๐๐ ปีสามชุก) จะทำให้คุณร่วมฤดีกลับเป็นเด็กอีกครั้ง

ดิฉันยังทันเจอเจ๊กหาบของเล่น เดินขายตามถนน    มีไม้คานพาดบ่าและตู้กระจกสี่เหลี่ยมข้างหน้าและข้างหลัง   ข้างในมีตุ๊กตาตัวเล็กตัวน้อยเขียวๆแดงๆ   เขาเรียกเจ๊กป๋องแป๋ง เพราะแกมีเครื่องมือเล็กๆสั่นแล้วเป็นเสียงป๋องแป๋ง จำไม่ได้ว่ารูปร่างเป็นอะไร

(http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/tbw008/picture/00358_3.jpg)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 13:55
รูปใน #263 อยู่ในจุฬาหรือเปล่าคะ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 10, 14:33

รูปใน #263 ถ้าอยู่ในจุฬาก็คือเรือนพระยาภะรตราชา


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 10, 14:38
ผมขอส่งสี่แยกบางลำพูเข้าประกวดอีกทีหนึ่งครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ส.ค. 10, 15:31
สะพานเหล็กเปลี่ยนเป็นคอนกรีต..ตอนขยายถนนในช่วงหลัง?....โดยไม่ได้ใช้ราวเหล็กเดิมเป็นราวสะพาน?


ทำให้เราข้องใจกันหลายราตรี.....




ประวัติการสร้างอยู่ที่นี่........น่าสนใจ....
 ;D


สะพานพิทยเสถียร

สะพานเหล็กบน และสะพานเหล็กล่าง

สะพานเหล็ก คือ สะพานเหล็กข้ามคลองรอบพระนคร บริเวณคลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร

ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิตย์" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน

สะพานเหล็กทั้ง 2 สะพานนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สิ้นเงิน 23,200 บาท


            แรกเริ่มเดิมที ก่อนรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ จนถึงต้นรัชกาลที่ ๔ สะพานข้ามคลองรอบพระนครชั้นใน (คลองบางลำพู-โอ่งอ่าง ซึ่งขุดในรัชกาลที่ ๑) และสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม (คลองรอบพระนครชั้นนอกขุดในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ.๒๓๙๕) ล้วนเป็นสะพานไม้ทั้งสิ้น

            จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๔๐๔ จึงได้มีการสร้างสะพานเหล็กขึ้นสองแห่งเป็นครั้งแรก คือ สะพานเหล็กบนข้ามคลองบางลำพู-โอ่งอ่าง เชื่อมต่อระหว่างถนนเจริญกรุง ในกำแพงพระนครกับนอกกำแพงพระนคร เป็นสะพานเหล็กไขให้เปิดปิดได้ เพราะสมัยก่อนโน้นยังมีขบวนเรือแห่พระราชพิธีอยู่ กับโปรดฯให้รื้อสะพานหันเดิม ซึ่งเป็นสะพานไม้หันได้ สร้างเป็นสะพานเหล็กแบบเดียวกันอีกสะพานหนึ่ง

            สมัยนั้นยังไม่ได้พระราชทานชื่อสะพาน ชาวบ้านจึงเรียกสะพานเหล็กที่สร้างใหม่ (ยังไม่มีบนและล่าง) ว่า ‘สะพานเหล็ก’ บ้าง ‘ตะพานเหล็ก’ บ้าง ส่วนตรงสะพานหันเดิม ยังคงเรียกว่า สะพานหัน-ตะพานหัน ตามที่เคยเรียกกันมา (แม้ต่อมาจะเปลี่ยนรูปสะพานเป็นสะพานโค้งขายของสองฟาก คนก็ยังเรียกกันว่าสะพานหัน จนทุกวันนี้)

            ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ จดเรื่องการสร้างสะพานเหล็กสองสะพานนี้ไว้ว่า

             “การถนนแล้วยังไม่มีสพาน (คือทำถนนเจริญกรุงเสร็จแล้ว-จุลลดาฯ) ได้บอกบุญขุนนางและเจ๊สัวตามแต่ผู้ใดจะศรัทธา รับทำสพานข้ามคลองที่ตรงถนนใหม่ข้ามท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๕) ที่สมุหพระกลาโหมรับทำสพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุงริมวังเจ้าเขมรข้าม คิดทั้งเหล็กสพานค่าจ้าง ค่าไม้ ค่าอิฐ รวมเป็นเงิน ๑๖๐ ชั่ง ที่สะพานหันเก่าข้ามคลองรอบกรุงลงไปวัดจักรวรรดิ์ ทำสะพานเหล็กอีกสะพานหนึ่งเป็นของหลวง ราคาเครื่องเหล็กที่สั่งเข้ามาก็เหมือนกัน”

            ต่อมาตอนต้นรัชกาลที่ ๕ สะพานไม้เก่าข้ามคลองผดุงกรุงเกษมตอนใกล้จะออกแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปลายๆ คลอง ตำบลสี่พระยา ซึ่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สร้างถวายเช่นกัน มีพวกฝรั่งร้องเรียนว่าสะพานไม่แข็งแรง พวกฝรั่งต้องนั่งรถม้าบ้าง ขี่ม้าบ้าง ข้ามไปข้ามมาบ่อยๆ เกรงว่าจะเกิดอันตราย พระบาทสมเด็จพระพระพุทธเจ้าหลวงจึงโปรดฯให้เปลี่ยนเป็นสะพานเหล็กแบบเดียวกับสะพานเหล็ก ๒ สะพานแรก ชาวบ้านจึงเรียกสะพานเหล็ก

แห่งนี้ว่า สะพานเหล็กล่าง และเรียกสะพานเหล็กเดิมว่า สะพานเหล็กบนเป็นคู่กัน

            ถึงรัชกาลที่ ๕ โดยเหตุที่วังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตั้งแต่เริ่มเสด็จออกวังอยู่ตรงที่ริมเชิงสะพานเหล็กบน จึงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อสะพานเหล็กบนว่า ‘สะพานดำรงสถิตย์’

            วังของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ดังกล่าวเป็นที่บ้านของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ผู้เป็นขรัวตาของสมเด็จฯ ทรงได้รับมรดก และประทับอยู่ ณ วังริมเชิงสะพานดังกล่าว จึงได้สร้างวังวรดิศที่ถนนหลานหลวง และย้ายไปประทับที่วังวรดิศต่อมาจนสิ้นพระชนม์

            ส่วนสะพานเหล็กล่างนั้นอยู่ใกล้วังตลาดน้อยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงพระราชทานชื่อว่า ‘สะพานพิทยเสถียร’ คล้องจองกัน

            พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภ (พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต) เดิมประทับวังอันเป็นที่บ้านของเจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ ๔ (ท้าววรจันทร์) เจ้าจอมมารดาของท่านอยู่ที่ใต้ปากคลองตลาด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดฯให้ทรงสร้างวังที่ถนนเจริญกรุงตรงตลาดน้อย แลกกับที่วังปากคลองตลาด จึงทรงย้ายไปประทับวังตลาดน้อยตลอดพระชนมายุ

            สมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภฯ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระชันษาไล่เลี่ยกัน สมเด็จฯ ประสูติ พ.ศ.๒๔๐๕ ฯ กรมขุนพิทยลาภฯ ประสูติ พ.ศ.๒๔๐๖

            ทั้งสองพระองค์ต่างทรงเป็นดังที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ‘ลูกโทน’ ของเจ้าจอมมารดา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ ผู้มีนามเดิมว่า ‘ดิศ’ สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงได้พระราชทานพระนามว่า ‘ดิศวรกุมาร’

            ทั้งเจ้าจอมมารดาชุ่มและเจ้าจอมมารดาวาด (ท้าววรจันทร์) เป็นพระสนมเอกได้รับพระราชทานพานทองตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๔ พานทองเป็นเครื่องประกอบเกียรติยศทั้งฝ่ายในและฝ่ายหน้า ฝ่ายในเจ้าจอมชั้นพานทองเป็นพระสนมเอก ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดมากกว่าเจ้าจอมชั้นต่ำลงมา ‘พระยา’ ถ้าได้รับพระราชทานพานทอง เรียกกันว่า พระยาพานทอง หรือเจ้าคุณพานทอง มีเกียรติยศสูงกว่าพระยาที่มิได้รับพานทอง ‘หม่อมเจ้า’ ก็เช่นกัน หม่อมเจ้าอาวุโสได้รับพระราชทานพานทองย่อมเป็นผู้มีเกียรติยศกว่าหม่อมเจ้าทั่วๆ ไป

            ในพระนิพนธ์ “ความทรงจำ” ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าถึง ‘คุณตา’ หรือขรัวตาของท่านพระยาอัพภันตริกามาตย์ เอาไว้ว่า

             “คุณตาเกิดแต่ในรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๒ เมื่อ เมื่องานพระราชพิธีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯลงสรง คุณตาอายุได้ ๗ ขวบ พระยาจันทราทิตย์ ผู้ปู่นำถวายสมโภช จึงได้เป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมอยู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์มา ครั้งถึงรัชกาลที่ ๓ กรมหมื่นศักดิพลเสพได้เป็นพระมหาอุปราช ท่านทรงคุ้นเคยกับนายเลี้ยงบิดาของคุณตามาแต่ก่อน จึงโปรดตั้งให้เป็นจมื่นอินทรประพาสในกรมวัง วังหน้า เวลานั้นพระยาจันทราทิตย์ถึงอนิจกรรมแล้ว จมื่นอินทรประพาสจะเอาคุณตาไปถวายตัวทำราชการให้มียศศักดิ์ในวังหน้า คุณตาไม่ยอมไป ว่า “ไม่ขอเป็นข้าสองเจ้า” ถึงจะเป็นอย่างไรก็จะอยู่เป็นข้าแต่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯพระองค์เดียว แล้วอยู่สนองพระเดชพระคุณมาจนตลอดรัชกาลที่ ๓ จึงทรงยกย่องความซื่อตรงของท่าน เล่ากันมาอย่างนี้ และมีความปรากฏในหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ อยู่แห่ง ๑ ทรงบริภาษพวกข้าหลวงเดิมว่า เห็นผู้อื่นมีบุญก็เอาใจออกหาก เคยเห็นใจมาเสียแล้วจะไม่เป็นเช่นนั้นก็แต่ “อ้ายเฒ่าดิศ” (กับใครอีก ๒ คน) พระราชดำรัสนี้ดูประกอบคำที่เล่า ให้เห็นว่าเป็นความจริง”

            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระราชทานราชทินนามพระยาอัพภันตริกามาตย์ คงหมายถึง อำมาตย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้อยู่ภายในหรือเป็นของพระองค์ เพราะอัพภันดร หรืออัพภันตร-แปลว่า ภายใน ส่วนใน

            (ในรัชกาลที่ ๕ ธิดารุ่นเล็กของพระยาอัพภันตริกามาตย์ คือเจ้าจอมมารดาแส ถวายตัวในรัชกาลที่ ๕ มีพระองค์เจ้าชาย ๑ พระองค์เจ้าหญิง ๒ พระองค์เจ้าหญิงพระองค์ใหญ่ได้รับพระราชทานพระนามว่า “พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชาตามราชทินนามของขรัวตา)

            เจ้าจอมมารดาวาด (ต่อมาได้เป็นท้าววรจันทร์ ท้าวนางผู้ใหญ่ในรัชกาลที่ ๕) นั้น หากพูดกันอย่างสำนวนสมัยนี้ ต้องนับว่าท่าน ‘ดัง’ อยู่ในราชสำนักฝ่ายในมาแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ จนถึงรัชกาลที่ ๕

            พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระองค์เจ้าธานีนิวัติ) นัดดาของท่าน ทรงพระนิพนธ์ไว้ในประวัติของท่าน ตอนหนึ่งว่า

             “นิสัยคุณย่าเป็นคนที่ภาษาสามัญใช้ว่า หัวโจก มีอัธยาศัยเฉียบขาดรุนแรง แต่ระคนด้วยเมตตากรุณา พยายามคุ้มครองระวังรักษาผู้น้อยใต้บังคับบัญชาไม่ว่าในราชการ หรือในครอบครัวในระหว่างที่เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่สี่ก็เป็นคนกว้างขวาง มีบริวารมาก อันนิสัยเช่นนี้ในทางดีย่อมเห็นกันอยู่แล้ว แต่ในทางร้ายของการมีบริวารมากก็ใช่ว่าไม่มี ท่านเคยเล่าว่าท่านได้ให้ยกพวกบ่าวไพร่เพื่อนฝูงไปตีกันกับบริวารของเจ้าจอมอื่นๆ ก็มี มาถึงตอนรัชกาลที่ ๕ ที่เข้าไปเป็นท้าววรจันทร์ นิสัยหัวโจกดูเหมือนจะช่วยท่านได้มาก ด้วยนิสัยนี้ช่วยให้ท่านรู้เท่าถึงนัยของหัวโจกต่างๆ ที่ตั้งตัวขึ้นในพระบรมมหาราชวังในครั้งนั้น และซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดงพระราชประสงค์ให้ท่านเข้าไปปราบปรามนั้น ท่านจึงได้ทำการปกครองได้สำเร็จ...”

            เมื่อเจ้าจอมมารดาวาดประสูติพระองค์เจ้า สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานพระนามว่า “พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต” โดยทรงมีพระราชกระแสว่า พระนามนี้ทรงตั้งพระราชหฤทัย พระราชทานอนุโลมตามเรื่อง “โสณนันทชาดก” รับสั่งว่า “ถ้ามีลูกอีกคนหนึ่งข้าจะให้ชื่อว่านนทบัณฑิต และจะให้นิมนต์พระมาเทศน์เรื่องชาดกนี้ให้ฟัง” แต่ท้าววรจันทร์ก็หาได้มีพระโอรสอีกไม่

            (โสณ แปลว่า ทองคำ)

            เล่าเรื่องสะพานเหล็กบน (ดำรงสถิตย์) และสะพานเหล็กล่าง (พิทยเสถียร) ต่ออีกนิด

            ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ สะพานเหล็กบนสร้างอยู่ตรงประตูกำแพงพระนคร (ในรัชกาลที่ ๔ ยังเป็นประตูไม่มียอด เพิ่งจะขยายประตูต่อยอดในรัชกาลที่ ๕ สามยอด จึงเรียกว่าประตูสามยอดแต่นั้นมา)

            เล่ากันว่า สนุกนัก เพราะในกำแพงพระนครมีโรงหวย โรงหญิงหากิน (ซ่อง) นอกกำแพงมีโรงบ่อน มีร้านขายของขายขนมสารพัด โรงบ่อนมักหาลิเก หางิ้วให้ดูฟรี ล่อให้คนมาเที่ยวบ่อน ตกบ่ายเย็นตลอดค่ำคืนจึงเป็นที่สนุกครึกครื้นของราษฎรสมัยนั้น



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ส.ค. 10, 15:33

ขอพลังจงสถิตย์อยู่กับท่าน


   ร้อยแปดที่กรุงเทพ ตอน สะพานดำรงสถิตย์
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2009, 07:26:43 pm » 

--------------------------------------------------------------------------------




ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวัดที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิตย์" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน สะพานทั้งสองนี้

           ต่อมาได้รับการปรับปรุงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากรายงานเรื่องการจัดกิจการตำรวจกรมกองตระเวน ในรัชกาลที่ 5 ร.ศ. 109 (พ.ศ.2434) ในท้องที่สำเพ็งตั้งโรงพัก 2 ตำบล ทำให้ทราบสภาพท้องที่ในเวลานั้น คือ โรงพักที่ 16 ตั้งที่สามแยกถนนเจริญกรุง วางพลตระเวรรักษาท้องที่ ดังนี้ ตรอกตลาดกับตรอกบ้านกวักไม้ ตรอกอาจมกับตรอกหลังโรงงิ้ว ตรอกเต๊ากับตรอกบ้านพระสุทรา ตรอกเจ้าสัวเนียมกับตรอกวัดพลับพลาไชย ตรอกป่าช้าสุนัขเน่ากับ ตรอกถั่วงอก ตรอกมะขาม ตรอกไหมริมโรงบ่อนขุนพัฒแย้ม โรงบ่อนตลาดวัวลำพอง ตรอกหลังตลาดใหม่ ตรอกศาลเจ้าอานม้า ตรอกวัดสามจีนทางไปวัวลำพอง และสามแยกถนนเจริญกรุง โรงพักที่ 17 ตั้งข้องป้อมปิดปัจจนึก (คือ ที่ตั้งที่ว่าการเขตสัมพันธวงศ์ในปัจจุบัน) วางพลตระเวนรักษาท้องที่ ดังนี้ เชิงสะพานช้าง ด้านเหนือ ตรอกวัดสามจีน ตรอกเชียงกงกับตรอกข้าวหลาม หน้าโรงบ่อนวัดสามจีน ตรอกวัดอุภัยราชบำรุง ปากตรอกตลาดน้อยกับตรอกบ้านราชฑูต เชิงสะพานเหล็กและตรอกเข้าไปข้างป้อมปิดปัจจนึก โรงพัก 2 ตำบล รวมเป็นกองที่ 7 มีนายสารวัตรแขวง 1 คน นายหมวด 2 คน นายยาม 6 คน คนตระเวร 144 คน รวมเป็น 153 คน

 


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 16:16
คุณศรีสยามหามาให้ละเอียดยิบ ขอบคุณมาก  ดิฉันจะไปหาสถานที่ตามที่ระบุไว้ในรายละเอียด  เผื่อเจอรูปเก่าจะมาโพสให้ดู

ภาพปริศนาที่คุณนวรัตนเฉลยว่าบางลำพู    ยังจับทิศทางไม่ถูก   นิวเวิร์ลด์อยู่ตรงไหนคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 10, 16:27
^
ตรงนี้ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 16:49
งั้นสะพานข้ามคลองที่หากันแทบล้มประดาตาย ก็อยู่ต่ำลงไปจากขอบล่างซ้ายของภาพน่ะซีคะ

เคยไปสัมภาษณ์เจ้าของร้านขายของเก่าตรงข้ามนิวเวิร์ลด์   เพื่อเอาข้อมูลมาเขียนนิยายเรื่องจากฝันสู่นิรันดร   แต่ดูรูปนี้  นึกไม่ออกจริงๆ
ไปหารูปถนนพระสุเมรุมาได้   เอามาลงให้ดูลักษณะตึกแถวด้านหลังค่ะ

(http://i189.photobucket.com/albums/z250/baac159/album%20name/SPP02/51057.jpg)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 10, 16:55
อ้างถึง
งั้นสะพานข้ามคลองที่หากันแทบล้มประดาตาย ก็อยู่ต่ำลงไปจากขอบล่างซ้ายของภาพน่ะซีคะ

ถ้าใช่ก้เป็นเช่นนั้นครับ
ฝั่งตรงข้าม ดูในกูเกิลเห็นมีตึกสูงอยู่ริมคลองพอดี ถ้าสมัยนั้นตึกนี้สร้างแล้ว ผู้ถ่ายคงขึ้นไปบนหลังคาแล้วถ่ายภาพลงมาครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 10, 17:08
natadol


อ้างถึง
ขอตัวเลือกอีกครั้งนะครับสำหรับสะพานเหล็กบน -ล่าง คิดว่าคำคล้องจองน่าจะมีผลนะครับ ดำรงสถิตย์-พิทยเสถียร


ผมเพิ่งนึกได้ถึงคำทักท้วงนี้ และขอยืนยันความถูกต้องของคุณณัฐดลครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 17:16
สืบเนื่องจากเรือนในค.ห. 263
เรือนเดียวกันใช่ไหมคะ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 17:18
แล้วนี่ล่ะคะ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 17 ส.ค. 10, 18:59
ขอเพิ่ม ความคิดที่ ๒๗๕
ขวามือคือทางไปป้อมพระสุเมรุ
ริมถนนซ้ายมือ ห้างแผ่นเสียงตรากระต่าย ยังอยู่หรือไม่
ขอภาพเก่าด้วย
จากสี่แยกไปทางวัดบวร ตึกริมคลองแหล่งชอปฯเก่าแก่
ผมรู้จักเสื้อเชิตดัง ยี่ฮ่อ A กางเกงยีน W  เมดอิน USA
ปัจจุบันเมดอิน TH


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 10, 19:55
280รูปขวา เป็นเรือนจุฬานฤมิตครับ อยู่ในกลุ่มอาคารเดียวกัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 20:08
ถ้างั้นคุณนวรัตนก็ตอบถูกอีกครั้งแล้วค่ะ    ภาพที่คุณณัฐดลนำมาลงคือเรือนภะรตราชา ในบริเวณจุฬาฯ ฝั่งสำนักอธิการบดี

http://www.naewna.com/news.asp?ID=174577


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ส.ค. 10, 21:27
ยังกังขาภาพเก่าใน คห. 275 อยู่ครับ......

หากเป็นแยกบางลำพูดังท่านnavaratว่าไว้....
ระยะห่าง(กูเกิ้ล)จากห้างนิวเวิลด์ไปวังหน้า...ประมาณ 700 เมตร
                                   ไปวังหลวง..ประมาณ 1,300 เมตร

ดูจากภาพน่าจะไกลกว่านั้น.......
ที่เห็นเป็นวังหน้า......น่าจะเป็นพระอุโบสถและวิหารวัดสุทัศน์มากกว่าไหม?

ลองดูภาพวัดสุทัศน์นี้จะเห็นว่าใกล้เคียงลักษณะที่ว่า

คงต้องพึ่งคุณnatadolชี้ขาดด้วยภาพละครับ...............




รางวัลหรือสินบน..อาจจะได้โอกาสหิ้วตะกร้าหมากพลูเดินตามหลังป้า...ดีไหมครับnatadol?



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 21:41
ขยายรูปให้ดูค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 21:52
เอารูปมาเทียบกัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ส.ค. 10, 22:32
ขอบคุณครับอาจารย์

ลองสังเกตหลังคาโบสถ์/วิหารวัดสุทัศน์ ในภาพขวากับภาพขยายของอาจารย์
ลักษณะหลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ และแนวการวางตำแหน่งระหว่างโบสถ์กับวิหาร..........ซึ่งหากลากเส้นจากจุดที่คิดว่าเป็นหัวถนนเจริญกรุงจะได้เห็นตำแหน่งของโบสถ์/วิหารในลักษณะในภาพเก่า-ตรงกันไม่ผิดเพี้ยน
ระยะทางจากเจริญกรุงไปวัดสุทัศน์น่าสอดคล้องกับภาพเก่ามากกว่าบางลำพู


อีกอย่าง....วังหน้าไม่มีอาคารสูงขนาดนี้และตำแหน่งวางตัวขวางกันแบบในภาพ
 ;D

จะนอนหลับฝันร้ายกันไหมนี่?





กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 10, 22:38
ตื่นอยู่ยังฝันร้ายเลยครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ส.ค. 10, 22:47
ลองดูภาพอีกครั้ง..จะเห็นว่าแนวลูกศรแดง.........จะชี้ทะแยงได้มุมเดียวกันกับภาพซ้าย..


หากไปดูในกูเกิ้ล....จะพบว่าในแนวทิศนี้...มีเพียงหัวถนนเจริญกรุงเท่านั้นที่โค้งซ้ายใกล้เคียงกัน
ส่วนวังหลวงหรือวัดพระแก้วก็อยู่ตำแหน่งตรงกัน

 :)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ส.ค. 10, 22:50
นี่ถ้าอยู่กรุงเทพฯ..จะชวนnatadolแบกกล้องธีโอโดไลท์ไปส่องแล้วกลับมาพล็อตโทโปเลยละครับ


แหะๆ...ไม่รู้เรียกถูกไหม?

 ;D >: ;)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ส.ค. 10, 22:55
ถ้ามีวิชาอ่านรูปถนนในกรุงเทพ  ดิฉันคงสอบตกตั้งแต่บทแรก
พยายามจะแกะรอยตามคุณศรีสยาม แต่ยังมองไม่เห็น  จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าอะไรอยู่ตรงไหน
ยิ่งเจอศัพท์เทคนิคน่าสะพรึงกลัว เข้าก็ยิ่งฝ่อ

มองเห็นรางๆว่า ถนนโค้งสายนี้ทำท่าจะเป็นเจริญกรุงอีกแล้ว    :-\

นึกอีกที  ไม่ทายคำตอบดีกว่า  เดี๋ยวหลอนอีก
รอเฉลยลูกเดียว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ส.ค. 10, 23:33
แก้งงแก้ง่วงด้วยภาพนี้ครับ.....

ไม่ทราบจะงงยิ่งกว่าเก่าไหม?

A  คือจุดถ่ายภาพ
B  วัดสุทัศน์
C  วังหลวงหรือวัดพระแก้ว



 ;D ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 10, 23:36
เอาอันนี้ดีกว่าครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ส.ค. 10, 23:43
ขออภัยครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ส.ค. 10, 00:05
ความจริงคุณศรีสยามเลือกตำแหน่งถูกแล้วครับ แต่เรียกชื่อถนนผิด ถนนตรงโค้งนั้นคือย่านคลองถมตรงด้านเยาวราช


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ส.ค. 10, 00:14
ขออนุญาตเดา....อย่างไม่มีหลักการ.อีกครั้งครับ..............ก่อนยกธงขาว

กลุ่มเจดีย์ที่เส้นขอบฟ้า...ทางซ้าย...คือวัดแจ้ง
หลังคาโบสถ์/วิหารทางขวา.....อาจเป็นวัดสุทัศน์


ตามมุมแลทิศแล้ว......ภาพนี้น่าจะถ่ายที่ถนนเยาวราช?.ช่วงตัดถนนมหาจักร

หากเลี้ยวซ้ายก็เข้าสำเพ็ง................






ติ๊ก...ต็อก...ๆๆๆๆๆๆๆ.....ใช่ไหมเอ่ย?

 ;D ;) :)



อัลไซเมอร์.....อัลไซเมอร์

ขอบคุณครับที่ช่วยยืนยันว่าผม...อัลไซเมอร์
;D ;D ;)




กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 18 ส.ค. 10, 00:48
ลุงsrisiamครับ หลานมาช่วยแล้ว โดนรุมจนเป็นอัลไซเมอร์แล้ว ตอนผมเข้ามาเวปนี้แรกๆ ลุงเคยสอนให้ไปถามตาเกิ้น ถ้าตอบถูก เครดิตยกให้ลุงเลยครับ เข้าเรื่องเลยครับ หาไปหามา ก็อยู่ใน3-4รูปที่อาจาร์ยเทาชมพูวางหมากไว้นะครับ มี2 รูปครับ หากผ่านแถวนั้นอีกจะหาให้ได้ว่าไท้แป๊ะคืออะไรครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 18 ส.ค. 10, 00:57
ภาพแรกคือห้องแถวตรงสึ่แยก ภาพที่ 2 แทบหมดแรง ขึ้นไปติดจานดาวเทียมบ่อยๆ เจาะพุกแล้วปูนไม่ยึดกับขาจานซะทีเพราะปูนเก่ากลายเป็นทรายไปหมดแล้ว ทำไมไม่จำก็ไม่รู้  หาภาพมาจากเที่ยวตลาดน้อยครับ แก้ขัดไปก่อน ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ส.ค. 10, 07:55
ปั่นจักรยานคันนี้ไปถ่ายรูปใช่ไหม? ............แฮนด์เท่มากๆ

 ;)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ส.ค. 10, 08:09
คงเป็นไปได้ว่า..............ถนนแยกซ้ายในภาพ...คือครอกข้าวหลาม...................หิวเลยเรา..


 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ส.ค. 10, 08:15
ตั้งใจว่าจะไม่หลอน ก็ไม่วายหลอน :-\

ตื่นมา ถึงเวลาเข้าเน็ตได้ก็ตรงมากระทู้นี้    เห็นดาวเทียมคนละดวงสองดวงจนมึนไปอีก    มาเจอรูปถ่ายถนนข้าวหลามของคุณณัฐดลก็ยังนึกไม่ออกว่าตรงไหน
ได้ข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า  เวลาผ่านไปค่อนศตวรรษ  ตึกแถวเปลี่ยน  ผู้คนเปลี่ยน  ถนนแคบเปลี่ยนเป็นกว้าง แต่ถนนโค้งจะไม่เปลี่ยนเป็นถนนตรง
ลักษณะพิเศษของถนนปริศนาคือโค้งมากและยาวด้วย    ถ้าหาถนนโค้งมากๆแบบนี้เจอ  ก็จะเจอคำตอบ
ถอยไปนั่งดูแถวแรกค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ส.ค. 10, 08:42
อย่าลืมสังเกตุทางรถรางด้วยนะครับ

ตรอกข้าวหลามอยู่ไหนไม่ทราบ และมีรถรางบริการด้วยหรือเปล่า

อ้อ ตึกแถวร่วมสมัยในกรุงเทพตอนโน้น ตรงหัวมุมหลังคาเป็นอย่างนั้นทั้งนั้นแหละครับ
ผังพื้นมันบังคับตามเทศบัญญัติ ทำให้หลังคาหักศอก90องศาไม่ได้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ส.ค. 10, 09:15
ไหนๆหลอนแล้ว   ก็หลอนกันให้ถึงที่สุด

ลิ้งค์เส้นทางรถรางหลักๆค่ะ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=260197

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/881/16881/images/story25/bs_ss_bkl_line_map.jpg)


ตรงไหนบ้าง ถนนโค้ง ???


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ส.ค. 10, 09:47
ก็คงต้องยืนยัน....ว่าเจริญกรุง...เอ๊ย..เยาวราช/ช่วงคลองถม.....รถรางสายศาลาแดง-สามเสนผ่านตรงโค้งนี้ด้วยครับ

หากดูฝั่งซ้ายในปัจจุบัน...อาจเป็นร้านขายเครื่องชั่ง..สารพัดแบบ  อยู่หัวมุมตึก



ภาพเก่าเจ้าปริศนาภาพนี้....ถูกล็อคเป้าด้วย 2 จุดใหญ่ๆ

1- วัดสุทัศน์.มองไม่เห็นว่าจะป็นวัดอื่นไปได้...เพราะโบสถ์-วิหารสูงใหญ่...ที่สำคัญวางตำแหน่งขวางกันอยู่...จำนวนชั้นของหลังคา..ความสูง..ตรงกัน
    จากรูปวัดสุทัศน์ที่บังเอิญมีอยู่    ลองหมุนทิศในกูเกิ้ลดู...แล้วตามหาถนนโค้ง...
    ก็มาตรงกับเยาวราชช่วงดังกล่าว

2- วังหลวง...ตรงแนวกับวัดแจ้ง...หากค่อยๆดูจะเห็นลางๆ


3- คะเนจากระยะห่าง....แล้วเทียบระยะจากกูเกิ้ล...ใกล้เคียงมากครับ


หากชี้ขาด....ง่ายมากเพียงแค่ถ่ายรูปมุมกว้าง...จากแถวคลองถม..ฝั่งเยาวราช..ยืนถ่ายจากฝั่งขวาแบบเดียวกับภาพต้นฉบับ...จะบอกได้ 100%


 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 18 ส.ค. 10, 10:22
ท่านอาจารย์เทาชมพูครับ แผนที่ที่ท่านเอามาแสดงมันเป็น graphic work ที่เขียนทับไปบนของเดิม
ลองดูต้นฉบับที่ผมเอามาแสดง จะเห็นว่ามันโค้งจริงตรงตำแหน่งที่ผมระบุครับ

ส่วนคุณศรีสยาม รถรางที่ผ่านเยาวราชช่วงนี้เป็นเส้นสามเสน-วิทยุครับ

ออกจากท่าเขียวไข่กาข้าร.ร.ราชินีบน มาตามถนนสามเสน ผ่านเทเวศน์ บางลำพู ข้ามคลองหลอดวิ่งเรียบคลอง ผ่านหลังกลาโหมไปเลี้ยวซ้ายข้ามคลองหลอดที่สพานข้างโรงสี วิ่งเลียบคลองไปเลี้ยวเข้าพาหุรัต สพานหัน เลี้ยวเข้ามหาไชยถึงหน้าวังบูพาแล้วเลี้ยวเข้าเยาวราช วิ่งไปตามถนนโค้งๆนี้ไปจนถึงสามแยก ข้ามคลองผดุงไปหัวลำโพง แล้ววิ่งตามถนนพระราม4ฝั่งใต้ ผ่านสามแยก ศาลาแดง ไปสุดปลายทางที่ถนนวิทยุตัดกับถนนสาธร เป็นเส้นทางที่คุณรุ้งขึ้นรถรางไปพบกับคุณอุไรวรรณ เรียกว่าเป็นเส้นทางสายโรแมนติกแบบโหดๆหน่อย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ส.ค. 10, 10:25
ที่แท้คำเฉลยของโจทย์ข้อนี้  อยู่ในคลิปน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ 2485 ในกระทู้ -ภาพเก่าเล่าเรื่อง- คห. 48 ของอาจารย์เพ็ญชมพู  สดๆร้อนๆ

หลังจากผ่านหัวลำโพงไปแล้ว..
จะมีภาพสี่แยกราชวงศ์..............


ลองช่วยกันสังเกตุดูนะครับ

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 18 ส.ค. 10, 10:50
ติดตามดูด้วยใจระทึกว่าภาพปริศนานี้คือถนนอะไร คุณ Navarat หาภาพยาก ๆ เก่งมาก

ถนนราชวงศ์ละคะ ใครมีภาพบ้าง

เคยฟังรายการวิทยุรายการหนึ่ง บอกว่า ตึกเก่า ๆ ที่ถนนราชวงศ์ หากได้รับการดูแล บูรณะ และ จัดให้เป็นเขตอนุรักษ์ ไม่ใช่ที่ค้าขายรกเรื้อเช่นปัจจุบัน เราจะได้เมืองเก่า ที่สวยงามไม่แพ้เมืองในยุโรป เพราะตึกแถวนั้น สร้างแบบยุโรปกันนะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ส.ค. 10, 10:52
ภาพถนนเยาวราช-ช่วงแยกราชวงศ์จากคลิปน้ำท่วมใหญ่ กรุงเทพฯ 2485 โดย แท้ ประกาศวุฒิสาร

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 10, 11:02
สี่แยกราชวงศ์ ปี ๒๔๘๕ ถ่ายโดย เอก วีสกุล นักหนังสือพิมพ์อาวุโส


(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/12/K7296683/K7296683-25.jpg)

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ส.ค. 10, 11:03
ลองช่วยกันดูนะครับ..ว่าเป็นไปได้ไหม?



 8)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ส.ค. 10, 11:41
ภาพข้างบนอยู่นาทีที่ ๓.๕๐ - ๓.๕๓ เสียงบรรยายว่า ถนนเยาวราชไปทางสี่แยกวัดตึก

สี่แยกราชวงศ์อยู่นาทีี่ที่ ๓.๕๔

http://www.youtube.com/watch?v=1VhX9gTBPKA&feature=player_embedded#!

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ส.ค. 10, 12:12
ขอบพระคุณที่ทักท้วงครับ...............


อารามดีใจที่พบถนนเยาวราชจำเพาะเจาะจงตรงจุดพอดิพอดีในคลิปของอาจารย์เพ็ญชมพู
 :D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 20 ส.ค. 10, 21:05
ลองไปหาดูในตาเกิ้นได้ภาพนี้มาดูจากแนวถนนแล้วน่าจะไช่ครับ เป็นภาพถ่ายจากตึก 7ชั้น ที่ท่านลุงsrisiamเคยบอกไว้ครับ อ่านขาดตั้งแต่ต้นเลย ถ้าภาพที่อาจาร์ย เทาชมพูเอามาโพสน่าจะถ่ายจากตึกฮั่วเซ่งเฮง และฝั่งตรงข้ามของตึก ที่มีชื่อไท๊แป๊ะ เป็นเทพเจ้าดาวศุกร์ แต่พอผมไปค้นในตาเกิ้นแล้ว เจอคำว่าไท่แป๊ะ เป็นโรงระบำโป้ในสมัยนั้น และถูกรื้อมาสร้างเป็นโรงหนังเทียนกัวเทียนครับ ซึ่งโรงหนังเทียนกัวเทียนตั้งอยู่ตรงข้ามกับห้างทองฮั่วเซ่งเฮงครับ  จะถูกมั้ยครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 20 ส.ค. 10, 21:34
ขอคารวะในความพยายาม............รูปนี้ไม่เคยพบมาก่อน....


ใครว่าอ่านขาดแต่แรก...หลงไปภูเก็ตซีไม่ว่า..อาจารย์เทาชมพูท่านไล่กลับกรุงเทพฯจึงตั้งหลักได้...
ขอบคุณมากครับ.......ทุกท่านจะได้ฝันดีกันเสียที่


สุดยอด...!     ;D :)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 20 ส.ค. 10, 23:37
ชื่อ ไท้แป๊ะ... เป็นชื่อแบบเทพจีน และดูลักษณะหลังคาอาคารด้านหน้า "ไท้แป๊ะ..." ก็เหมือนวัดจีนครับ
ลองค้นดู พบว่าตรงนั้นเป็นวัดจีนนิกายชื่อวัดบำพ็ญจีนพรต (หย่งฮกหยี่)
สอบถามที่วัดอาจจะได้ความครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 10, 10:05
น้องกู๊กเล่าว่า
วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) ตั้งอยู่ในตรอกวัดกันมาตุยาราม ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ สภาพที่ตั้งวัดเป็นพื้นที่กลางเมือง ติดถนนเยาวราช ล้อมรอบด้วยอาคารพาณิชย์ โดยรอบส่วนใหญ่มีความสูง 3 ชั้นขึ้นไป บริเวณใกล้เคียงเป็นวัดกันมาตุยารามฝ่ายธรรมยุตินิกาย และวัดกุศลสมาครฝ่ายอนัมนิกาย (วัดญวน)

(http://www.thumboon.com/images/photekyi3.jpg)




กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ส.ค. 10, 10:19
นั่นน่ะซี้ โรงระบำโป๊แถวเยาวราชที่เคยเป็นโรงงิ้วเดิมแล้วเจ้งไปผมว่าชื่อไต้แป๊ะ ที่เขาเขียนเป็นภาษาไทยไว้ไม่ใช่ไท่แป๊ะ
ระบำโป๊ที่ไต้แป๊ะนี่ พวกรุ่นพี่มาโม้ให้ฟังเสีย โอ้โฮ แต่พอผมโตขั้นจนหน้าหนาพอจะกล้าเดินไปตีตั๋วได้ เข้าไปดู ....โครตหลอน!


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 10, 19:31
ขยายรูปที่คุณ natadol นำมาลงให้ดูกันอีกที  ขอบคุณที่ไปเสาะหาจนเจอ
ต่อไปนี้เข็ด   จะไม่ลงรูปอะไรที่ไม่รู้คำตอบอีกแล้วค่ะ  มันหลอนเกินไป  แล้วยังแพร่เชื้อหลอนระบาดไปอีกหลายคนด้วย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ส.ค. 10, 19:32
บอกด้วยความมั่นใจว่า ที่ทำการไปรษณีย์กลาง บางรัก



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 25 ส.ค. 10, 13:18
ภาพนี้ก็มั่นใจเช่นกันครับผม......

 ;D

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sanamluang&month=07-2010&date=05&group=3&gblog=127


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 10, 06:22
มีรูปเก่าสนามหลวงสมัยต้นรัชกาลที่6มาให้ชมครับ

เสด็จพระราชดำเนินมาตรวจพลสวนสนามด้วยรถม้าพระที่นั่ง เข้าสู่สนามหลวงทางช่่องว่างระหว่างต้นมะขามธรรมดาๆ ไม่มีถนนเหมือนทุกวันนี้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 10, 06:29
เอามาให้ทาย อีกแระ

ที่ไหนครับ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 28 ส.ค. 10, 07:15
เกรงภาพเก่าชุดงามของท่านNAVARAT.C จะไปหลอนอาจารย์เทาชมพูท่าน จึงต้องรีบทาย....คงพอเดากันได้...


A  สะพานพุทธฯกำลังเปิดให้เรือผ่าน
B  วัดเลียบ
C  วังบูรพาภิรมย์-เสียดายอาคารงามหลังนี้....รู้สึกว่าไม่อยู่เสียแล้ว



 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ส.ค. 10, 09:29
ยินดีมากที่เห็นภาพของคุณนวรัตน  ตอนเก้าโมงครึ่ง  ถ้าเห็นตั้งแต่กลางดึกเมื่อคืน ก็คงไม่ได้หลับอย่างปกติสุข
ขอบคุณคุณศรีสยามที่รีบมาฉีดวัคซีน   ป้องกันอาการหลอน

วังบูรพาถูกรื้อไปนานแล้วค่ะ  ตั้งแต่เจ้าของวังสิ้นพระชนม์และทายาทขายเพื่อแบ่งมรดกกัน    คนซื้อก็ไม่ได้รักษาวังไว้ แต่ว่าทุบทิ้งไปเพื่อทำเป็นอาคารพาณิชย์

สนามหลวงในรัชกาลที่ ๖ ดูกว้าง โปร่งโล่งตามาก


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 10, 11:18
.


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ส.ค. 10, 12:28
หาเรื่องใส่ตัวอีกแล้ว
แกะรอยพาหุรัดกับสำเพ็ง
แต่ไม่รู้ว่าสถานที่ที่วงไว้  คือเวิ้งนาครเขษม ใช่หรือเปล่า


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 10, 12:49
อ้างถึง
ถ้ามีวิชาอ่านรูปถนนในกรุงเทพ  ดิฉันคงสอบตกตั้งแต่บทแรก
พยายามจะแกะรอยตามคุณศรีสยาม แต่ยังมองไม่เห็น  จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าอะไรอยู่ตรงไหน
ยิ่งเจอศัพท์เทคนิคน่าสะพรึงกลัว เข้าก็ยิ่งฝ่อ

ข้อความในล้อมกรอบนั้นถูกต้องครับ ส่วนข้อความในกระทู้บน^ ไม่ใช่ครับ

ตรงนั้น ถ้ายืนบนสะพานภาณุพันธ์ หันหน้าไปทางวังบูรพาภิรมย์ ขวามือจะเป็นห้างบีกริมแอนด์โก ส่วนทางซ้ายมือ(ของภาพเก่า)จะเป็นกำแพงและประตูวังบูรพา  เดี๋ยวนี้ ตรงห้างกลายเป็นตึกสูงตึกหลังใหญ่ที่เห็นอยู่ในภาพล่าง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ส.ค. 10, 12:54
อ่านได้ความว่า สอบตกอีกแล้ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 10, 13:01
^
 :-\

พอเถอะครับ ได้โปรดเถิด กลัวฝาพัง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 28 ส.ค. 10, 13:05
เจอข้อมูลของตึกนี้ด้วยครับ ชื่อตึกนายเลิศ (เลิศ เศรษฐบุตร หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ)
มีเรื่องเล่าข้างล่างด้วยครับ

ด้วยความมานะอุตสาหะ ทุ่มเทกำลังความคิดศึกษางานรอบด้านอย่างจริงจัง นายเลิศก็บรรลุความหวังตั้งแต่เยาว์วัยที่จะเป็น "นายห้าง" ด้วยวัยเพียง 22 ปี ท่านสามารถรวบรวมทุนเปิด "ห้างนายเลิศ" ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2437 จำหน่ายจักรเย็บผ้า ซิงเกอร์ เครื่องกระป๋องและสินค้า ต่างประเทศ และเริ่มขยายกิจการมาขาย น้ำโซดา ที่เรียกกันว่า "น้ำมะเน็ด" ร่วมกับบริษัทบอร์เนียว ซึ่งขายดีมาก ท่านจึงคิดจะแยกตัวมาทำการค้าโซดาและน้ำมะเน็ดเพียงผู้เดียว แต่ทางบริษัทบอร์เนียว ผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ยอม ท่านจึงเลิกกิจการและ หันมาจำหน่ายน้ำมันมะพร้าว และหนังสือ ต่างประเทศ พอมีเงินทุนมากขึ้นท่านก็เริ่มค้าสังกะสีแต่ก็โชคร้ายขาดทุน ต่อมาท่านสั่งจักรยานเข้ามาขายแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จอีกตามเคย
นายเลิศ มีนิสัยเป็นพ่อค้าเต็มตัวมีไหวพริบเชิงการค้า แม้ว่าจะประสบปัญหาใหญ่หลวงจนเกือบล้มละลาย ท่านก็มิได้ย่อท้อ ท่านถือคติที่ว่า "ไม่กังวลต่อสิ่งที่แล้วไป" ท่านจึงต่อสู้ต่อไปด้วยการริเริ่มกิจการโรงแรมขึ้นที่บริเวณสะพาน เหล็กล่าง นับเป็นคนไทยคนแรกที่เปิดกิจการโรงแรมขึ้นมา กิจการนี้ให้ผลดีแก่ นายเลิศ มากว่า 10 ปี

แสดงว่า ตึกนี้เคยเป็นทั้งห้างทั้งโรงแรม ส่วนของโรงแรมคงเป็นหอสูงนั่นแหละครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ส.ค. 10, 13:34
ในที่สุด  ก็ได้คำตอบว่าเก๋งจีนปริศนานั้นคืออะไรกันแน่    ได้มาทั้งประวัติด้วย  ;D
ขอคารวะท่านจอมยุทธ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ส.ค. 10, 13:46
เจอข้อมูลของตึกนี้ด้วยครับ ชื่อตึกนายเลิศ (เลิศ เศรษฐบุตร หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ)
มีเรื่องเล่าข้างล่างด้วยครับ

 ขยายกิจการมาขาย น้ำโซดา ที่เรียกกันว่า "น้ำมะเน็ด" ร่วมกับบริษัทบอร์เนียว ซึ่งขายดีมาก ท่านจึงคิดจะแยกตัวมาทำการค้าโซดาและน้ำมะเน็ดเพียงผู้เดียว

นำรูปขวดน้ำมะเน็ดมาให้ดูกันค่ะ
ชื่อนี้เพี้ยนมาจาก lemonade หรือน้ำมะนาว

(http://www.kroobannok.com/thumbnail_v.php?im=news_pic/p33429271247.jpg)

น้ำมะเน็ดเป็นน้ำอัดลมชนิดหนึ่งที่คนไทยเรียกเพี้ยนมาจากน้ำ Lemonade ของฝรั่ง   คำว่า Lemonade แปลว่าน้ำมะนาวก็จริง แต่น้ำมะเน็ดไม่ใช่น้ำมะนาวเปรี้ยวแท้ๆ  แต่เป็นน้ำมะนาวปลอมๆ ที่มีการแต่งรสแต่งสีแล้ว ถ้าเปรียบเทียบกับน้ำอัดลม  ในยุคปัจจุบันคงใกล้เคียงกับน้ำสไปรท์
ฝรั่งเริ่มผลิตน้ำมะเน็ดขายตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทราบ แต่ต้องหลังจากจาคอบ ชเวพ (Jacob Schwepp) คิดทำน้ำโซดาได้เมื่อ พ.ศ. 2335
หรือเมื่อราว 200 ปีก่อน
สำหรับในเมืองไทยนั้นพบโฆษณาขายน้ำมะเน็ดในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ของหมอบรัดเลย์ฉบับวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1866 โดยน้ำมะเน็ดในสมัยก่อนจะบรรจุอยู่ในชวดรีๆ แบบลูกรักบี้ และปิดปากขวดด้วยจุกไม้ก๊อก เขาออกแบบขวดให้วางนอนขนานกับพื้นอยู่เสมอเพื่อไม่ให้จุกก๊อกแห้งและหด อ้างอิงตามรูปในหนังสือ The Art of the Label ของ Robert Opie ยอดนักสะสมบรรจุภัณฑ์ หน้า 10  กับหน้า 65

จนเมื่อ ค.ศ. 1875 หรือ พ.ศ. 2418 ตรงกับต้นสมัยรัชกาลที่ 5 มีการประดิษฐ์ขวดแบบคอคอด และมีจุกลูกแก้วอยู่ที่ปากขวดโดย Hirem Codd จึงมีการบรรจุน้ำมะเน็ด รวมทั้งน้ำโซดา และน้ำอัดลมอื่นๆ ลงในขวดชนิดนี้ ในการบรรจุต้องจับหัวขวดให้คว่ำลง เมื่อน้ำอัดลมเข้าไปในขวดแล้ว แรงแก๊สจะดันลูกแก้วให้ลอยขึ้นไปแนบและแน่นติดกับวงแหวนยางที่ปากขวด เมื่อจะดื่มต้องเอาไม้กระแทกลูกแก้ว
ลงไปแรงๆ ส่วนวิธีรินไม่ให้ลูกแก้วกลิ้งมาปิดปากขวด คือ ต้องหมุนขวดให้ลูกแก้วไปตกอยู่ระหว่างคอหยักที่เขาทำไว้ จึงจะรินน้ำได้สะดวก

น้ำมะเน็ดเคยมีขายตามโรงหนังและตามร้านต่างๆ อยู่นานพอสมควร แต่ในที่สุดก็หายไปจากเมืองไทยเมื่อราว 50-60 ปีก่อน

ที่มา: หนังสือ สารพัดเก็บ Collectable Variety โดย เอนก นาวิกมูล
จากเว็บ  www.kroobannok.com


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 29 ส.ค. 10, 07:49
ผู้น้อยตามมาน้อมคารวะท่านผู้อาวุโสที่เป็นจอมยุทธจริงๆ..

ภาพของท่าน NAVARAT ทำให้เพิ่งทราบว่าชื่อดั้งเดิมเขียนสะกดด้วย ศ---นายเลิศ---
คงมาเปลี่ยนเป็น นายเลิด สมัยท่านผู้นำพาชาติพ้นภัยนี่เอง



ขอบพระคุณครับ

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 ส.ค. 10, 11:29
นำภาพนายเลิศ พระยาภักดีนรเศรษฐ์ มาให้ดูกันค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 30 ส.ค. 10, 09:53
เห็นภาพนายเลิศ.........นึกถึงบริษัทรถเมล์ขาวนายเลิด....ที่ถูกฆาตกรรมไปเมื่อ 1 ตุลาคม 2519 ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่กี่วัน

รถเมล์ขาว.ที่พึ่งของคนกรุง..คนทำงานหรือเที่ยวดึก.......รถเมล์เที่ยวที่เป็นคันสุดท้ายของแต่ละวัน....จะเป็นความหวังของคนยังไม่ถึงบ้านทั้งหลาย...ว่าวันนี้จะได้กลับบ้านไหม?

รถเมล์บริษัทเดียวในกว่า 30 บริษัทของกรุงเทพฯที่มีบริการดีเป็นเลิศสมชื่อ....พขร.   ......กระเป๋า/กระปี๋  ......ทุกคนแต่งเครื่องแบบขาว....หมวก/รองเท้า...ขาวสะอาด....ไม่ใช่แกล้งขาว



หม่อมคึกฤทธิ์ หม่อมเสนีย์ ทั้งสองท่านทำประโยชน์แก่เมืองไทยมากมาย...
แต่หนึ่งอย่างที่สองท่านทำบาปกับคนกรุง.จนถึงทุกวันนี้คือ...
การฆาตกรรมบริษัทรถเมล์นายเลิด...ทั้งๆที่ควรเหลือไว้ 1 บริษัทให้แข่งกับขสมก.

 :(

http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=2&t=25341&start=30


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 30 ส.ค. 10, 21:46
ของนายเลิศ เป็นเรือด่วนเจ้าพระยา ไม่ใช่หรือ
แต่ที่หายไปเสียดายที่สุด คือรถราง (ที่ลพบุรีด้วย)
บางซื่อ-บางกระบือ-วิทยุฯ จำผิดหรือเปล่าไม่รู้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ส.ค. 10, 22:03
ของนายเลิศ เป็นเรือด่วนเจ้าพระยา ไม่ใช่หรือ
แต่ที่หายไปเสียดายที่สุด คือรถราง (ที่ลพบุรีด้วย)
บางซื่อ-บางกระบือ-วิทยุฯ จำผิดหรือเปล่าไม่รู้


คุณ puyum เกิดไม่ทันรถเมล์สีขาวมีรูปกากะบาทสีแดงในวงกลม ที่เรียกว่ารถเมล์ขาวนายเลิศ หรือคะ

(http://xchange.teenee.com/up01/post-6017-1277308957.jpg)
กิจการรถเมล์ขาวถูกยุบไป โดยรัฐบาลม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช  รวมเข้าเป็นกิจการรถ ขสมก.


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 30 ส.ค. 10, 22:26
ทันครับ ผมหมายถึงว่าลูกหลาน ได้ไปทำเรือด่วนเจ้าพระยาต่อ(จำผิดไปหรือเปล่า ไม่รู้)
ส่วนที่จำแม่นที่สุดก็ ศรีนคร จากบางซื่อไปลงเที่ยวเขาดิน
เมล์แดงที่เทเวศ ใกล้ตลาดไม้ดอกไม้ประดับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 26 ต.ค. 10, 20:30
ใครจำปั้มน้ำมันตราสามทหารได้บ้างมั้ยครับว่าอยู่ตรงไหน ไช่ทึ่ปัจจุบันเป็นศาลฎีกาหรือเปล่าครับ  และครีมกวนอิมของนยห้างประจวบ จำปาทอง ก็ขายประจำอยู่ที่ตลาดนัดแห่งนี้ สมัยนั้น จะมีการเอาแหวนทองคำหนักประมาณ ครึ่งสลึง หรือหนึ่งสลึง ไม่แน่ใจนะครับใส่ลงไปในตลับครีมด้วย ขายดิบขายดีมาก คาดว่าคนอ่านในเรือนไทยนี้น่าจะใข้กันเกินครึ่งเวปแน่ๆ ยืนยันกับคุณมานิตอีกครั้งครับ ห้องน้ำ เหม็นจริงๆ


ปั๊มน้ำมันสามทหารอยู่ตรงนี้หละครับ หน้าศาลหลักเมืองพอดี ตอนนี้สวยงามด้วยดอกไม้ประดับจาก กทม

จริงๆ นะ เมื่อก่อนเขาถึงบอกกันว่า มากรุงเทพฯ แล้วไปไหนไม่ถูก ให้มาเริ่มต้นที่สนามหลวง





กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 26 ต.ค. 10, 20:33
มองจากป้ายรถเมล์ตรงหน้าศาลฎีกา ก็จะเป็นอย่างนี้ ...



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 26 ต.ค. 10, 20:44
แฉลบไปแถวๆ ถนนตรีเพชรมั่ง ... มีอะไรอยู่หลังตึกยาว เขาชุมนุมอะไรกัน




กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 27 ต.ค. 10, 09:26
ผมว่านะ เหนือศาลหลักเมืองขึ้นมา แล้วก็ถึงท่ารถเมล์เทศบาลเมืองนนท์
ฝั่งตรงข้ามพระแม่ธรณี ฯ  มีสะพานรถรางข้ามคลองหลอด เรียกสะพานเสี้ยว


ภาพด้านซ้ายคือสะพานเสี้ยวข้ามคลองหลอด ใกล้กับอนุสาวรีทหารอาสา จากฝั่งสนามหลวงเข้าถนนจักรพงษ์เข้าบางลำพู ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร

ภาพด้านซ้ายมือคือสะพานเสี้ยวข้ามคลองหลอดหลังตึกกระทรวงกลาโหมเก่า ตรงหน้าอาคารใหม่ที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จ ใกล้กับสะพานช้างโรงสี ปัจจุบันไม่มีร่องรอยเหลือแล้วว่าเคยมีสะพาน

ผมหาภาพสะพานเสี้ยวทั้งสองสะพานมาตั้งนานแล้ว เพิ่งจะพบ ก็เลยนำมาลงไว้ให้ชมกัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 27 ต.ค. 10, 23:03
ขอบคุณลุงไก่
เดือนก่อนไปกราบนมัสการสมเด็จพระมหาธีราจารย์ที่วัดชนะสงคราม ยังเดินเลยไประลึกความหลัง
ลงจากสะพานพุทธฯ ขวามือคือ โรงไฟฟ้าเก่า(อยากเห็นรูป)
ซ้ายมือ ๓๔๑ เข้าแถวรูปรัศมีคือ ส.ก.
ตึกสูง เพื่อนบ้าน เพาะช่าง
ไช่ป่าว แค่เดินผ่านบ่อยๆ ไม่เคยอยู่ในรั้ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 ต.ค. 10, 15:14
ช่วงนี้กรุงเทพฯ กำลังเผชิญภาวะวิกฤติ น้ำเหนือบ่าน้ำทะเลหนุน บางพื้นที่ท่วมไปแล้ว
เก็บภาพสนามหลวงคราน้ำท่วมหนัก พ.ศ. ๒๔๘๕ มาฝากเข้าบรรยากาศเดียวกันค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 28 ต.ค. 10, 17:28
มาตรวัดแสดงระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๘๕





กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 01 พ.ย. 10, 11:21
เอาภาพมาฝากครับ :D
(http://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_20100718172940_b.jpg)

ภาพของแผงหนังสือสนามหลวง เทียบกับภาพจากกหนังสือของ อ.ส.ท. แล้ว ภาพนี้น่าจะเก่ากว่า
เข้าใจว่าตอนนั้นยังไม่ได้มีการก่อสร้างตู้แผงหนังสือถาวรขึ้น ผู้ขายยังต้องขนมาจากบ้านมาขาย และขนกลับตอนปิดร้าน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 18 พ.ย. 10, 17:10
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 19 พ.ย. 10, 10:57
ภาพสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ใน คห.347
น่าจะถ่ายไม่เกิน 20 ปีนี้ เพราะไม่มีกรมประชาสัมพันธ์แล้ว ถูกเผาไปตอน พฤษภาคม 2535 ค่ะ

เขาเลยทำถนนโค้งเข้าราชดำเนินเพิ่มขี้น

รถแท็กซี่เป็นสี เขียว-เหลือง แล้ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 21 พ.ย. 10, 11:11
ลุงไก่คะ พอจะมีผังโบราณไหมคะว่า ก่อนจะกลายเป็นทุ่งพระเมรุ ตรงสนามหลวงเคยเป็นวังหน้าใช่ไหมคะ แล้ว มีรูปร่างหน้าตาเป็นเช่นไร

ดิฉันเคยเห็นรูปถ่ายจากด้านพระบรมมหาราชวังสมัย ร.4 ถ่ายจากที่ไกล ๆ เห็นเป็นสิ่งก่อสร้างเต็มไปหมด แต่ไม่ทราบว่า ตรงนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เห็นรูปการใช้สนามหลวงในยามบ้านเมืองสงบแล้ว อยากให้มีวันอย่างนั้นอีก ไม่อยากเห็นการใช้สนามหลวงเป็นที่ผลิตผรุสาวาจาทางการเมืองเลยค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 21 พ.ย. 10, 13:06
ภาพสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ใน คห.347
น่าจะถ่ายไม่เกิน 20 ปีนี้ เพราะไม่มีกรมประชาสัมพันธ์แล้ว ถูกเผาไปตอน พฤษภาคม 2535 ค่ะ


คงคลาดเคลื่อนเรื่องวันเผากรมประชาสัมพันธ์
ที่ถูกควรเป็นวันที่ 15 ตุลาคม 2516 หลังจากประชาชน/นักศึกษาผู้เรียกร้องประชาธิปไตยถูกฆ่าตายจำนวนมาก

เห็นในหลายกระทู้/เวป เข้าใจผิดว่าเป็นพฤษภา 2535


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 21 พ.ย. 10, 14:13
จำได้ว่า กรมประชาสัมพันธ์ถูกเผาปี 2535 ค่ะ

ไม่น่าจะเป็น 2516 หรือ 2519  เพราะ่ยังอยู่ชั้นประถม ไม่ได้ผ่านแถวนี้

เวลาผ่านแถวนี้่ จะดูนาฬิกาที่หน้าตึกเสมอ ว่าสายแล้วหรือยัง

กรมประชาสัมพันธ์ ถูกเผาพร้อมกรมสรรพากร ที่อยู่ด้านหลัง

ไม่แน่ใจนะคะ  ไม่ได้ค้นคว้าอะไร เขียนจากความทรงจำ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 21 พ.ย. 10, 19:21
ขอบคุณคุณ POJA  ที่ไม่ยอมเชื่อเรื่องเผากรมประชาสัมพันธ์...ขออภัยด้วยครับ

ที่ถูกต้องคือ ถูกเผาเมื่อ 19 พฤษภาคม 2535 ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
จริงๆแล้ว...จากผลงานการบิดเบือนข่าวสารข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามนักการเมืองสั่ง....ควรถูกเผาตั้งแต่ 14 ตุลา 16 แล้วใช่ไหม???

 ;)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 พ.ย. 10, 20:06
อ้างถึง
ลุงไก่คะ พอจะมีผังโบราณไหมคะว่า ก่อนจะกลายเป็นทุ่งพระเมรุ ตรงสนามหลวงเคยเป็นวังหน้าใช่ไหมคะ แล้ว มีรูปร่างหน้าตาเป็นเช่นไร

ดิฉันเคยเห็นรูปถ่ายจากด้านพระบรมมหาราชวังสมัย ร.4 ถ่ายจากที่ไกล ๆ เห็นเป็นสิ่งก่อสร้างเต็มไปหมด แต่ไม่ทราบว่า ตรงนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง


ขอประทานโทษลุงไก่ที่เข้ามาตอบคุณร่วมฤดีตรงนี้ครับ

บังเอิญผมมีแผนผังวังหน้าที่รังวัดในปีพ.ศ. ๒๔๓๐ สมัยรัชกาลที่๕ ก่อนจะรื้อกำแพงส่วนหนึ่งลง พยายามแสกนอย่างดีแล้วได้เพียงเท่านี้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 พ.ย. 10, 20:09
และนี่เป็นภาพถ่ายบริเวณวังหน้าจากอวกาศของกูเกิลเอิร์ท


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 พ.ย. 10, 20:13
จะเห็นว่ากำแพงวังหน้าด้านทิศตะวันออกนั้น กินพื้นที่มากกว่าเส้นกึ่งกลางของสนามหลวงในปัจจุบัน ก่อนที่จะรื้อลง ปืนใหญ่ประจำป้อมนับร้อยกระบอกถูกฝังไว้ตรงนั้นก่อนจะถมดินปรับพื้นที่สนามหลวงใหม่ในสมัยรัชกาลที่๕

กำแพงด้านตะวันตกริมแม่น้ำนั้น ทางเหนือกลายเป็นแนวถนนพระอาทิตย์ ทางใต้อยู่ในธรรมศาสตร์ ฐานรากบางส่วนยังได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นประวัติศาสตร์ คราวที่ขุดพบขณะทำการก่อสร้างอาคารห้องอาหารของนักศึกษา รูปประกอบหามาจากเน็ท เจ้าของบล็อกบรรยายรูปว่าเป็นกำแพงพระนครสมัยโบราณ ความจริงคือกำแพงของวังหน้าครับ

ด้านทิศเหนือและทิศใต้ อาณาเขตยังคงเดิมๆ แต่กำแพงทางทิศเหนือถูกรื้อลง บางส่วนทางทิศใต้ยังคงไว้ บริเวณที่อยู่ของฝ่ายในทั้งหมดคือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 พ.ย. 10, 20:19
ภาพทรากกำแพงที่ว่า ขออนุญาตท่านเจ้าของภาพตามที่ปรากฏนามด้วยครับ ขอบพระคุณ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: POJA ที่ 22 พ.ย. 10, 09:37
ย้อนเรื่องเผา ๆ สักนิดนะคะ คุณ Srisiam
 
อาคารที่ถูกเผาในปี 2516 คืออาคารกองสลาก ที่ตั้งอยู่ที่ สี่แยกคอกวัว
ปัจจุบัน เป็นอาคารอนุสรณ์สถานวีรชน

กองสลากย้ายออกมาตรงที่ปัจจุบัน ก็ถูกเผาอีก
แล้วสร้างใหม่ เป็นอาคารในปัจจุบัน

ท่อนสุดท้ายนี่ไม่แน่ใจค่ะ ว่าในปีไหน ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 22 พ.ย. 10, 10:49
อาคารสำคัญที่ถูกเผาเมื่อ 14 ตุลาคม 16 คือกองสลาก...ขณะนั้นอยู่ติดกับกรมประชาสัมพันธ์
ส่วนอีกตึกที่สี่แยกคอกวัวเป็นสำนักงานกตป.ที่ณรงค์ กิตติขจร ลูกชายจอมพลถนอมควบคุมดูแล..บางคนจึงเชื่อว่าเป็นการเผาทำลายหลักฐานการทุจริต


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 พ.ย. 10, 10:54
ถือกระป๋องตามแก๊งค์ลูกน้ำมาช้อนลูกน้ำต่อแถวสนามหลวง
วังหน้ากินเนื้อที่ตั้งแต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาจนถึงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และข้ามมาถึงบางส่วนของสนามหลวง
หลงเหลือกำแพงวังให้เห็นที่ถนนพระจันทร์

อ้างถึง
จะเห็นว่ากำแพงวังหน้าด้านทิศตะวันออกนั้น กินพื้นที่มากกว่าเส้นกึ่งกลางของสนามหลวงในปัจจุบัน ก่อนที่จะรื้อลง ปืนใหญ่ประจำป้อมนับร้อยกระบอกถูกฝังไว้ตรงนั้นก่อนจะถมดินปรับพื้นที่สนาม หลวงใหม่ในสมัยรัชกาลที่๕
ข้อมูลนี้ยังไม่ทราบ   ทำไมถึงฝังปืนใหญ่ไว้คะ

กองสลากถูกเผาครั้งล่าสุดเมื่อพฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 พ.ย. 10, 11:37
^
^

อ้างถึง
สำหรับพระราชวังหน้านั้นปัจจุบันคือบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฏศิลป์นั่นเอง รวมทั้งพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของท้องสนามหลวงก็เคยเป็นอาณาบริเวณของ วังหน้ามาก่อน เวลามีการก่อสร้างต่างๆบริเวณนี้เมื่อขุดลงไปในดินจึงมักพบ โบราณวัตถุหลายอย่าง โดยเฉพาะปืนใหญ่แบบโบราณ มีการขุดได้บริเวณนี้ หลายกระบอก


อ้างถึง
ปืนใหญ่ที่ค้นพบเหล่านี้ เป็นปืนใหญ่ของวังหน้า และเป็นปืนใหญ่รุ่นโบราณผลิตจากประเทศอังกฤษ ที่ต้องใส่ดินปืน และลูกปืนจากทางด้านหน้า ที่ท้ายกระบอกจึงมีรูสำหรับให้จ่อไฟจุดชนวน ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปปืนใหญ่เหล่านี้ ก็กลายเป็น อาวุธที่ "ตกรุ่น" เพราะยุโรป - อเมริกาได้สร้างปืนใหญ่ปืนไฟแบบใหม่ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า ปืนใหญ่ ของ วังหน้า เหล่านี้จึงอาจถูกมองว่าเป็นเพียง "เศษเหล็ก" และวิธีการทำลายที่ง่ายที่สุดคือการฝังไว้ใต้ดิน


ทั้งสองข้อความข้างต้นได้มาจากเวปครับ รวมทั้งรูปข้างล่างด้วย ด้านหลังของทหารปืนใหญ่เหล่านั้นคือกำแพงวังหน้าในส่วนที่อยู่กลางท้องสนามหลวงในปัจจุบัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 พ.ย. 10, 11:48
สวัสดีค่ะ คุณ navarat   ขอบคุณสำหรับคำอธิบาย

ดิฉันไม่ทันนึกว่าเป็นการฝังไว้เพราะเลิกใช้งาน     เพราะนึกไปถึงปืนใหญ่หลายกระบอกหน้ากระทรวงกลาโหม อย่างนางพญาตานี ซึ่งใช้กันในต้นรัตนโกสินทร์  ก็ยังเก็บไว้จนทุกวันนี้     เลยนึกว่าวังหน้าคงจะเก็บไว้ด้วย 
อย่างน้อย "เศษเหล็ก" น่าจะหลอมไปใช้อย่างอื่นได้

ปืนใหญ่แบบที่ฝังดิน น่าจะยังใช้จนถึงรัชกาลที่ ๕ จำได้ว่าเมื่อปราบผีบุญ ทหารจากเมืองหลวงก็ลากปืนแบบในรูปนี้แหละ ไปถึงอีสาน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 พ.ย. 10, 11:54
ขอบคุณคุณ POJA  ที่ไม่ยอมเชื่อเรื่องเผากรมประชาสัมพันธ์...ขออภัยด้วยครับ

ที่ถูกต้องคือ ถูกเผาเมื่อ 19 พฤษภาคม 2535 ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
จริงๆแล้ว...จากผลงานการบิดเบือนข่าวสารข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามนักการเมืองสั่ง....ควรถูกเผาตั้งแต่ 14 ตุลา 16 แล้วใช่ไหม???

 ;)

ที่ถูกคือ อาคารกรมประชาสัมพันธ์ถูกเผาสองครั้ง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ และ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๕

สภาพอาคารกรมประชาสัมพันธ์วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๖
http://www.14tula.com/images/gallery/15_16_tula2516.htm


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 22 พ.ย. 10, 12:44
ขอบพระคุณอาจารย์ Navarat มาก ๆ ค่ะ ขอบพระคุณจริง ๆ เพราะแผนที่กับภาพเปรียบเทียบเช่นนี้ อยากเห็นมานานแล้ว

เคยได้ยินได้ฟังว่า มีปืนใหญ่ฝังที่สนามหลวง ตรงนี้ ตรงนั้น เคยเป็นวังหน้า นึกเท่าไรก็ไม่เห็นภาพ เชื่อว่าหลายคนก็คงเป็นเหมือนดิฉัน

ดิฉันนึกสงสัยตั้งแต่อ่านประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 1 ที่เกิดแตกแยกกันระหว่างวังหน้าและ วังหลวง แล้ว มีการเอาปืนใหญ่มาประจันหน้ากัน ตรงบริเวณสนามหลวง

คำว่าประจันหน้ากัน น่าจะเป็นการวางปืน อยู่คนละฝั่ง แต่วังหน้าที่เหลือให้เห็นวันนี้ ทำให้นึกไม่ออกว่าจะประจันกันได้อย่างไร

อีกประการหนึ่ง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงเป็นผู้มีบุญบารมีไม่ใช่น้อย ๆ การที่พระราชวังจะเล็กและแคบเท่าที่เหลืออยู่นี้ ไม่น่าจะใช่ค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 22 พ.ย. 10, 13:42

ที่ถูกต้องคือ ถูกเผาเมื่อ 19 พฤษภาคม 2535 ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
จริงๆแล้ว...จากผลงานการบิดเบือนข่าวสารข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามนักการเมืองสั่ง....ควรถูกเผาตั้งแต่ 14 ตุลา 16 แล้วใช่ไหม???

 ;)


http://www.14tula.com/images/gallery/15_16_tula2516.htm
[/quote]


อาคารที่ในเวป 14 ตุลา อ้างว่าเป็นภาพกรมประชาสัมพันธ์ถูกเผานั้นที่แท้จริงคืออาคาร กตป. หัวมุมแยกคอกวัว ยังจำภาพในหนังสือพิมพ์ที่ชายคนหนึ่ง(อาจเป็นคนวางเพลิงจากภายใน??) ไม่ยอมกระโดดลงจากระเบียงอาคาร..จนกระทั่งไฟคลอกตาย


ส่วนกรมประชาสัมพันธ์นั้น รูปแบบอาคารไม่ใช่ชุดราชดำเนินดังในภาพและไม่ได้อยู่หัวมุมของสี่แยกคอกวัว...

หากพบภาพชัดเจนกว่านี้จะนำมาให้ชมครับ...


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 พ.ย. 10, 13:44
^
^
อาณาเขตวังหลวงกับวังหน้า ผมอยากเห็นอยู่เหมือนกัน เลยลองทำรูปขึ้นมาดูครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 พ.ย. 10, 14:05

อาคารที่ในเวป 14 ตุลา อ้างว่าเป็นภาพกรมประชาสัมพันธ์ถูกเผานั้นที่แท้จริงคืออาคาร กตป. หัวมุมแยกคอกวัว ยังจำภาพในหนังสือพิมพ์ที่ชายคนหนึ่ง(อาจเป็นคนวางเพลิงจากภายใน??) ไม่ยอมกระโดดลงจากระเบียงอาคาร..จนกระทั่งไฟคลอกตาย

ขอบพระคุณและขออภัยคุณศรีสยาม

อาคาร กตป. จริง ๆ ด้วย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 พ.ย. 10, 14:31
ตามหลังคุณเพ็ญชมพูมาให้คุณศรีสยามตีมืออีกคน ที่ตอบผิด  :'(

ถอยกลับไปกำแพงวังหน้าอีกครั้ง
เส้นเขตสีเหลืองที่คุณ navarat ลากแสดงเขตวังหน้า ถูกต้อง ตรงกับแผนที่วังหน้า ที่ทำขึ้นเมื่อพ.ศ. 2461

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3175.0;attach=15444;image)

ขอลอกคำอธิบายในสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ในหนังสือ ตำนานวังหน้า  มาลงตามนี้

" พระราชวังบวรฯ ดูตามแผนที่   แนวกำแพงวังไม่เท่ากันทุกด้าน  เข้าใจว่าเมื่อลงมือสร้างแล้วจึงต่อกำแพงด้านตะวันตกขึ้นไปข้างเหนือ ให้ได้แนวคลองคูเมืองเดิม   เอาเป็นคูวังด้านเหนือ   กำแพงวังด้านเหนือจึงต้องชักแปรตามออกไป   วัดตามแนวกำแพงวังประมาณ
    ด้านตะวันออก  ๗  เส้น
    ด้านใต้    ๙  เส้น
    ด้านตะวันตก  ๑๒  เส้น
    ด้านเหนือ ๑๐ เส้น "

แต่ ๑ เส้นเท่ากับกี่ร้อยเมตร  คำนวณไม่ถูก ค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 22 พ.ย. 10, 15:46
มีปัญหาการคำนวนเหมือนอาจารย์เทาชมพูค่ะ
ใครพอจะช่วยแปลงหน่วยวัดความยาวแบบไทย เป็นมาตราวัดแบบปัจจุบันเป็นความรู้ได้ไหมคะ
1 เส้น ยาวเท่ากับ กี่ฟุต กี่เซนต์
1 ศอก ยาวเท่ากับเท่าไรคะ
4 ศอกเป็น 1 วา คืออะไรคะ ....เป็นงง..ค่ะ

ยิ่งไปอ่านพระไตรปิฎก ดิฉันยิ่งกว่าเป็นงงเข้าไปอีก เพราะมีมาตราวัดที่เรียกว่า
1 ฟุตช่างไม้ แปลว่า ไม้บรรทัดสมัยก่อน มีหลายขนาดที่เราปัจจุบันไม่รู้จักอ่ะค่ะ
 


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 พ.ย. 10, 17:54
^
^
มาตราความยาวระหว่างไทย
4 กระเบียด เป็น 1 นิ้ว
12 นิ้ว เป็น 1 คืบ
2 คืบเป็น 1 ศอก
4 ศอกเป็น 1 วา
20 วาเป็น 1 เส้น
400 เส้นเป็น 1 โยชน์

เมื่อเทียบมาตราความยาวระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจะเป็นดังนี้

 1 เมตรเท่า กับ 2 ศอก
 40เมตรเท่ากับ1เส้น
1000เมตร(1 กิโลเมตร)เท่ากับ 25 เส้น

 และถ้าเทียบมาตรไทย กับอังกฤษจะได้ 1 ไมล์ เท่ากับ 40 เส้น  เมื่อเทียบ1กิโลเมตร=1.60ไมล์นะครับ ไม่ได้เทียบตรง12นิ้ว(INCH) = 1คืบ จึง = 1ฟุต (FOOT) อันน่าจะหมายถึง1ฟุตช่างไม้ที่ว่านั่นครับ

งงมั้ยครับ งงก็ให้รู้ว่างง อย่าไปค้นคว้าหาคำตอบอะไรเลยครับถ้าไม่ได้ใช้ของพวกนี้ทำมาหากินในชีวิตประจำวัน
พวกช่างผู้รับเหมาไทยเขาปวดหัวกับมาตราเหล่านี้มาก
ยกตัวอย่าง ไม้สั่งจากนอกมาฝรั่งขายราคาคิดต่อ1คิวบิกเมตร
แต่เมื่อถึงที่นี่ พ่อค้าไทยขายในประเทศ ไม้แต่ละท่อน ความยาวคิดเป็นเมตร(ฝรั่งเศส) ความกว้างและหนาคิดเป็นตารางนิ้วฟุต ราคาคำนวณตามมาตรฐานคิดต่อ1คิวบิกฟุต(อังกฤษ)

แต่ถ้าเป็นไม้เลื่อยในเมืองไทย ความยาวคิดเป็นเมตร ความหนาคิดเป็นตารางนิ้วฟุต ราคาคำนวณคิดเป็นยก (1ยก=1280ลูกบาศก์นิ้วไทย)

อย่าถามผมนะครับว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไร คิดออกมาได้ไฉน แล้วทำไมจึงทนคิดกันอย่างนี้กันอยู่


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 พ.ย. 10, 18:06
อ่าน 2 เที่ยว   แล้วตัดสินใจว่าขออ่านรู้เรื่องแค่ 40 เมตร=1 เส้น  น่าจะพอสมควรแก่สติปัญญา  มากกว่านี้ คงเกินจะเข้าถึง

กำแพงวังหน้า ที่สมเด็จฯทรงระบุไว้
     ด้านตะวันออก  ๗  เส้น  =  280 เมตร
    ด้านใต้    ๙  เส้น    =     360 เมตร
    ด้านตะวันตก  ๑๒  เส้น =  480  เมตร
    ด้านเหนือ ๑๐ เส้น   =    400 เมตร  

ใช่ไหมคะ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 พ.ย. 10, 18:30
^
^
ถูกต้องได้คะแนนเต็ม พอแล้วครับสมัยนี้

แถมให้อีกนิด ในเมื่อที่ดินบ้านเรามักจะตั้งราคาขายเป็นตารางวา หรือไร่ จึงควรจำตารางนี้ด้วย

100 ตารางวาเป็น1งาน
4 งานเป็น1ไร่ หรือ 400 ตารางวาเป็น1ไร่ นั่นเอง

แต่หน้ากว้างที่ดิน กลับนิยมวัดกันเป็นเมตร จึงต้องคำนวณเนื้อที่ดินเป็นตารางเมตรก่อน แล้วไปเทียบราคาที่ดินที่ตั้งไว้ตารางวาละ หรือไร่ละเท่าไรอีกที

เอาสูตรนี้ไปใช้นะครับ

2 เมตรเป็น1วา
4 ตารางเมตรเป็น1ตารางวา
1600 ตารางเมตรเป็น 1 ไร่

บวกลบคูณหารออกมาเป็นราคาที่ซื้อขายที่ดิน หรือเสียภาษีที่ดินให้ทางราชการครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 22 พ.ย. 10, 18:31
หากคุณหนูร่วมฯยังไม่หายงงหรือยังงงไม่พอก็ลองท่องมาตราวัดระยะของโบราณนี้ดู.......


หรืออยากงงมากขึ้นก็เข้าที่เวปนี้ครับ.........
http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=127600

 ;) ;) ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 22 พ.ย. 10, 18:37
เป็นความชาญฉลาดอย่างเอกอุของคนโบราณท่าน ที่กำหนดใช้หลายส่วนของอวัยวะในร่างกายเรา ตั้งแต่ข้อนิ้วมือ(องคุลี)  ฝ่ามือที่กางออก(คืบ-วัดจากปลายหัวแม่มือไปสุดปลายนิ้วกลาง ลองทาบกับฝ่าเท้าดู - จะได้เท่ากับ 1 ฟุต ฝรั่ง)

ศอก ก็มีกันทุกคน 2 ศอกได้ 1 เมตร
เข้าไป/ลงเรือ/ไปไร่ไปนา  ไม่ต้องมีไม้วัดก็ วัดได้ โดยประมาณ แทบไม่ต้องง้อตลับเมตรหรือไม้วัดเลยยังได้

 ;D :)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 พ.ย. 10, 19:15

แถมให้อีกนิด ในเมื่อที่ดินบ้านเรามักจะตั้งราคาขายเป็นตารางวา หรือไร่ จึงควรจำตารางนี้ด้วย

100 ตารางวาเป็น1งาน
4 งานเป็น1ไร่ หรือ 400 ตารางวาเป็น1ไร่ นั่นเอง

แต่หน้ากว้างที่ดิน กลับนิยมวัดกันเป็นเมตร จึงต้องคำนวณเนื้อที่ดินเป็นตารางเมตรก่อน แล้วไปเทียบราคาที่ดินที่ตั้งไว้ตารางวาละ หรือไร่ละเท่าไรอีกที

วิวัฒนาการของตารางวาและตารางเมตร   
เมื่อคุณ navarat และดิฉันยังเรียนแถวสามย่าน    คุณศรีสยามยังอยู่ถิ่นเดิมใกล้เวิร์ลเทรด  คุณร่วมฤดียังช้อนลูกน้ำอยู่ที่ถนนวิทยุ    จำได้ว่าที่ดินขายกันเป็นตารางวา  ไม่มีใครขายเป็นตารางเมตร  ก็เลยได้ยินแต่คำว่าตารางวา   ส่วนที่ดินต่างจังหวัด ขายกันเป็นไร่   และพ่วงท้ายด้วยกี่งาน  ก็ว่ากันไป
หลังจากทำงานมาไม่กี่ปี  จำได้ว่าเพื่อนร่วมงานซื้อบ้านจัดสรร เนื้อที่ 75 ตารางวา  มาบ่นว่าตัวบ้านเต็มเนื้อที่พอดี ไม่มีสนาม 
แต่เดี๋ยวนี้  ได้ยินแต่ตารางเมตร  เพราะที่อยู่เปลี่ยนจากพื้นดินขึ้นไปลอยฟ้าเป็นคอนโด   แต่ละห้องวัดกันเป็นตารางเมตร  ไม่ค่อยได้ยินตารางวาอีก
นานๆที  ได้ยินคำว่าตารางวา จากข่าวสังคมที่ลงว่าเจ้าของบ้านกลางใจเมืองเฉือนสนามหน้าบ้านขายไป กี่ร้อยตารางวาไม่ทราบ ได้มา 1000 ล้าน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 22 พ.ย. 10, 20:27
ตารางคุณ srisiam มี ๐ เกินมาตัวหนึ่งในรายการก่อนสุดท้ายน่ะครับ

๒๐ วา เท่ากับ ๑ เส้น (๔๐ เมตร)

เคยเจอมากกว่าหนึ่งหนในวรรณคดีเก่าว่ามีการพูดถึงระยะทางเป็นตัวเลขลอยๆ ตรวจสอบระยะดูแล้วพบว่าเป็น เส้น ครับ แสดงว่าเป็นหน่วยวัดระยะทางที่นิยมใช้กัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 22 พ.ย. 10, 21:09
อ้างถึง
หากคุณหนูร่วมฯยังไม่หายงงหรือยังงงไม่พอก็ลองท่องมาตราวัดระยะของโบราณนี้ดู.......



เป็นงง....แล้วจ้าลุงSrisiamจ๋า ตอนนี้ไม่ได้อยู่กับตู้หนังสือ พรุ่งนี้จะกลับไปค้นเรื่องที่สงสัยมาเทียบ

หากคำนวนไม่เป็นอีก จะยกการบ้านมาถามที่นี่เจ้าค่ะ

เคยทำงานมีหน้าที่สั่งซื้อไม้ ก็เป็นงงมาก ๆ กับวิธีคิดราคาไม้ อย่างที่ อาจารย์นวรัตน์บอกไว้

เพราะซื้อไม้ตามจำนวนที่นายฝรั่งสั่ง แต่คนขายเป็นคนไทยเชื้อสายจีน พูดไทยไม่ชัดค่ะ กว่าจะตกลงราคาได้ เกือบลาป่วย.........


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 22 พ.ย. 10, 21:54
ตารางคุณ srisiam มี ๐ เกินมาตัวหนึ่งในรายการก่อนสุดท้ายน่ะครับ

๒๐ วา เท่ากับ ๑ เส้น (๔๐ เมตร)

เคยเจอมากกว่าหนึ่งหนในวรรณคดีเก่าว่ามีการพูดถึงระยะทางเป็นตัวเลขลอยๆ ตรวจสอบระยะดูแล้วพบว่าเป็น เส้น ครับ แสดงว่าเป็นหน่วยวัดระยะทางที่นิยมใช้กัน

ขอบพระคุณและขออภัยครับ..........
แก้แล้วจ้า...


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: nudongky ที่ 23 พ.ย. 10, 16:22
 :)ขอบคุนหลายๆๆ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 10, 08:02
รูปวังหน้าในสมัยรัชกาลที่๔   มองจากมุมสูง ผ่านข้างกำแพงวังหลวงด้านกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน
 
มองเห็นแต่อาคารน้อยใหญ่ไม่ค่อยจะเป็นระเบียบเท่าไรเพราะเป็นชั้นนอกๆ ส่วนพระราชฐานชั้นในจริงๆที่ยังคงเก็บรักษาไว้จนปัจจุบันไม่ปรากฏในภาพ เพราะถูกกลุ่มอาคารที่รื้อลงแล้วนั้น บดบังหมด


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 10, 08:07
วันก่อนผมเข้าไปในเมืองมา  แล้วก็เลยหาโอกาสไปเดินเที่ยวในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อดูทรากกำแพงวังหน้าอันเป็นโบราณสถานของชาติที่ทางมหาวิทยาลัยได้อนุรักษ์ไว้อย่างดี มีนิทรรศการจัดไว้บรรยายความว่าทรากที่ปรากฎนั้นเป็นทรากกำแพงพระนคร ซึ่งก็จริงอยู่ว่าแนวกำแพงพระนครวนรอบตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาและแนวกำแพงวังหน้ามาชนต่อกันในแนวฉากทางด้านนี้ กำแพงพระนครจึงเป็นส่วนหนึ่งของวังหน้าไปโดยปริยาย ไม่ได้มีกำแพงซ้อนกำแพงเป็น๒ชั้นดังในรูปที่ติดแสดงไว้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 10, 08:11
แผนผังที่แสดงตำแหน่งทรากที่เจอก็สอดรับกับแผนผังของวังหน้าที่ผมแสดงไปแล้วก่อนนี้   โบราณสถานที่ขุดเจอครั้งก่อสร้างอาคารคณะเศรษฐศาสตร์เป็นทรากกำแพงเมือง และทรากฐานรากของอาคารรักษาการของทหารริมกำแพงด้านในพระราชวัง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 10, 08:18
มีทรากเรือโบราณฝังเลนอยู่ชายน้ำ ที่กลายเป็นดินไปแล้วเมื่อถูกค้นพบใหม่ แต่ผุเปื่อยจนรักษาไว้ไม่ได้ ดูขนาดของเรือแล้วใหญ่ไม่น้อยทีเดียว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 10, 08:24
พบปืนใหญ่ขนาดเล็ก ฝังดินอยู่ใกล้ๆกับเรือ ดูขนาดกระบอกแล้วอาจเป็นปืนหัวเรือก็ได้


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 10, 08:28
ตรงหน้าเขื่อนตรงคณะเศรษฐศาสตร์ มีศาลาที่วางสิงโตจีนนี้ ผมเคยอ่านๆพบเรื่องราวความเป็นมาอยู่เหมือนกัน จึงค้นมาให้ไว้ด้วยครับ

สมัยที่ กรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพ ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯในรัชกาลที่3 ก็ได้มีผู้กราบบังคมทูลว่า พระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลนั้นอยู่ตรงกับปากคลองบางกอกน้อยและเป็นปากทางสามแพร่ง ซึ่งตามหลักฮวงจุ้ยในตำราจีนถือว่าไม่ดีจะมีแต่เรื่องวุ่นวาย ต้องแก้เคล็ดโดยทำรูปสิงโตคาบกั้นหยั่นไปติดไว้ที่ริมน้ำหันหน้าไปสู่ปากคลองเพื่อต่อสู้กับสิ่งชั่วร้ายที่จะเข้ามาในพระราชวัง

ซึ่งเครื่องรางรูปสิงโตคาบกั้นหยั่นของจีนนี้ นับแต่ครั้งโบราณถึงปัจจุบันก็เป็นที่นิยมใช้สำหรับแก้อาถรรพณ์ฮวงจุ้ยของสถานที่อยู่อาศัย หรือที่ทำงาน โดยคนจีนถือว่าเป็นเครื่องรางของขลังสำหรับปราบมาร หรือสิ่งไม่ดี ให้ออกไปและบันดาลโชคลาภมาให้ จึงนิยมหามาติดไว้โดยเฉพาะหน้าบ้านหรือที่ทำงานที่อยู่ใกล้ทางสามแพร่ง หรือมีบ้านที่หน้าจั่วบ้านอื่นหันมาตรงกับบ้านเรา บ้านที่มีเสาไฟฟ้าตรงกับหน้าบ้านและบ้านที่มีเจ้าที่เจ้าทางแรง เป็นต้น

ส่วนอาถรรพณ์ภายในวังหน้าเมื่อมีผู้กราบบังคมทูลเช่นนั้น กรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพŽ ทรงเห็นว่าหากนำป้ายรูปสิงโตคาบกั้นหยั่นไปติดไว้จะไม่เหมาะสม พระองค์จึงได้สั่งให้นำสิงโตหินมาจากเมืองจีน 3 ตัว เพื่อทำพิธีทางไสยศาสตร์มีการปลุกเสกและลงยันต์ ทำพิธีตามธรรมเนียมจีน เสร็จแล้วจึงนำลงไปไว้ในแม่น้ำเจ้าพระยาหันหน้าตรงปากคลองบางกอกน้อย (บางข้อมูลก็ว่านำไปตั้งไว้ริมน้ำเจ้าพระยา แต่ต่อมาถูกกระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งลงไปเรื่อยๆ สิงโตทั้งสามจึงร่วงหล่นไปอยู่ใต้น้ำ) กระทั่งต่อมาได้มีผู้นำสิงโตตัวเล็ก 1 ใน 2 ตัว ขึ้นมาตั้งไว้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสร้างศาลให้เป็นที่สักการะบูชา ส่วนสิงโตตัวใหญ่และตัวเล็กอีก 1 ตัว นั้นได้มีนักประดาน้ำดำลงไปดูยังเห็นว่าคงอยู่ในตำแหน่งเดิม เพียงแต่มีตะไคร่น้ำเกาะอยู่หนาเตอะ

นี่ก็เป็นที่มาของการแก้อาถรรพณ์ในรั้ววัง ซึ่งทำให้รู้ว่าในสมัยโบราณผู้คนและเจ้านายในยุคนั้นก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย หลักฐานนั้นก็ยังมีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 10, 08:49
แล้วก็เดินเลยมาดูประตูวังทางด้านสนามหลวงครับ

ความจริงประตูนี้ถูกรื้อออกไปแล้ว แต่มีคณะนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกันลงขันสร้างกลับขึ้นมาใหม่ในรัชกาลนี้เอง ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าจะเป็นประตูเดียวกันกับที่เห็นในภาพนี้หรือหาไม่


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 24 พ.ย. 10, 09:38
ประตูในรูป 385 นั้น หากแนวกำแพงที่เห็น เป็นกำแพงหลังจากที่รื้อร่นเข้ามาเพื่อสร้างสนามหลวง
ก็น่าจะเป็นประตูเดียวกันนะคะ แต่หากรูปเก่านี้ เป็นรูปก่อนสร้างสนามหลวง ก็ไม่น่าจะใช่

สารคดีเรื่องนี้น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ใคร ๆ ก็ไปเที่ยวแต่วังหลวง ส่วนวังหน้า คนจะเห็นแต่พิพิธภัณฑ์
ไม่มีใครนึกภาพรวม ๆ ออกว่า วังหน้าจริง ๆ เป็นอย่างไร มีฝ่ายหน้าฝ่ายในหรือเปล่า

เรื่องสิงห์โตหินก็ได้ยินเล่าลือกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก โดยไม่รู้ว่า เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องลือพอสนุกไปวัน ๆ
มีคนเล่าว่า ตกน้ำที่โป๊ะเวลาจะข้ามฟากไปฝั่งรถไฟบางกอกน้อย พอตัวจมลงไปในน้ำ มองเห็นสิงโตมีขนปุกปุย ดวงตาแดงก่ำอยู่ใต้น้ำ

เด็ก ๆ ฟังแล้วได้แต่ร้องอื้อฮือ..... มีอย่างนี้ด้วยหรือ โม้หรือเปล่า

ที่แท้ก็มีสิงห์โตจริง ๆ และ มีที่มาที่ไปที่น่าฟังอย่างยิ่ง แต่คงไม่มีดวงตาแดงก่ำนะคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 พ.ย. 10, 09:40
พอดีนึกได้ว่าในบ้านอาจจะมีรูปนี้ จึงไปค้นหนังสือหามาได้ ภาพชัดกว่าที่เอามาจากเน็ทมาก เห็นได้ว่า กำแพงและประตูวังหน้าดังกล่าวอยู่แนวเดียวกับกำแพงวัดมหาธาตุ เป็นประตูและกำแพงที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่๕หลังจากที่รื้อพระราชฐานชั้นนอกของวังหน้าเพื่อทำสนามหลวงลงแล้ว พื้นที่ในกำแพงส่วนนี้ใช้เป็นกรมทหารจนถึงรัชกาลที่๘(ดูภาพถ่ายทางอากาศรูปที่แล้ว)ก่อนจะสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นที่นั่น

ในรูปข้างล่างนี้ จะเห็นส่วนยอดของประตูไม่เหมือนกับปัจจุบัน กำแพงกรมทหารที่ทำล้อกำแพงวังด้านสนามหลวงถูกรื้อทิ้งไป เพื่อเปิดทัศนียภาพขอองมหาวิทยาลัย

ถนนที่เห็นคือถนนที่ผ่ากลางสนามหลวง ผ่านกำแพงวังและกำแพงวัดไปสู่ท่าพระจันทร์ สังเกตุดีๆจะเห็นต้นมะขามปลูกเป็นแนวขอบสนามหลวง ปัจจุบันกลายเป็นมะขามเฒ่าไปแล้ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 10, 10:01
ขอย้อนกลับไปในอดีตวังหน้า   นำแผนที่วังมาลงให้ดูกันค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 10, 10:07
ดิฉันเข้าธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ทีไรก็ไปแต่หอประชุม กับคณะศิลปศาสตร์    คณะอื่นๆอยู่ตรงไหนจำไม่ได้ เพราะไม่ค่อยได้เข้า
ก็เลยเทียบได้แค่คณะที่รู้จัก
ส่วนที่เป็นฝ่ายในของวังหน้า บรรดาเจ้าจอมหม่อมห้ามอยู่กัน ตรงกับคณะศิลปศาสตร์


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 24 พ.ย. 10, 19:29

อาคารที่ในเวป 14 ตุลา อ้างว่าเป็นภาพกรมประชาสัมพันธ์ถูกเผานั้นที่แท้จริงคืออาคาร กตป. หัวมุมแยกคอกวัว ยังจำภาพในหนังสือพิมพ์ที่ชายคนหนึ่ง(อาจเป็นคนวางเพลิงจากภายใน??) ไม่ยอมกระโดดลงจากระเบียงอาคาร..จนกระทั่งไฟคลอกตาย

ขอบพระคุณและขออภัยคุณศรีสยาม

อาคาร กตป. จริง ๆ ด้วย

อาคารอีกหลังหนึ่งที่ถูกเผาเมื่อเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ คืออาคารกองบัญชาการตำรวจนครบาลสมัยนั้น และเป็นที่ตั้งของศูนย์วิทยุตำรวจ ๑๙๑ ที่ใช้นามเรียกขานว่า "ผ่านฟ้า" นั่นแหละครับ
อยู่ตรงหัวถนนราชดำเนินนอกตัดถนนนครสวรรค์ ปัจจุบันคือสถานที่ตั้งกองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน
ส่วนอาคาร กตป ที่สี่แยกคอกวัว เขาเล่ากันว่าพื้นที่นี้มีอาถรรพ์ อาคารหลังแรกที่ก่อสร้างยุบตัวลงดินไปทั้งหลัง อาคารหลังที่สองก็ถูกเผา ครั้งนี้มาสร้างอนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลาฯ จะเป็นอย่างไรต่อไป ... ?



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 24 พ.ย. 10, 19:50
ลุงไก่คะ พอจะมีผังโบราณไหมคะว่า ก่อนจะกลายเป็นทุ่งพระเมรุ ตรงสนามหลวงเคยเป็นวังหน้าใช่ไหมคะ แล้ว มีรูปร่างหน้าตาเป็นเช่นไร

ดิฉันเคยเห็นรูปถ่ายจากด้านพระบรมมหาราชวังสมัย ร.4 ถ่ายจากที่ไกล ๆ เห็นเป็นสิ่งก่อสร้างเต็มไปหมด แต่ไม่ทราบว่า ตรงนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เห็นรูปการใช้สนามหลวงในยามบ้านเมืองสงบแล้ว อยากให้มีวันอย่างนั้นอีก ไม่อยากเห็นการใช้สนามหลวงเป็นที่ผลิตผรุสาวาจาทางการเมืองเลยค่ะ

แผนที่เก่าที่พอจะหาได้ในตอนนี้ ไม่ได้ระบุปีในแผนที่ .. ให้สังเกตแนวถนนพระจันทร์ที่ตรงเข้าไปในพื้นที่ของสนามหลวงในปัจจุบัน
ขอให้อ่านเรื่องตำนานวังน่า พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประกอบด้วยครับ



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 24 พ.ย. 10, 20:01
พอดีนึกได้ว่าในบ้านอาจจะมีรูปนี้ จึงไปค้นหนังสือหามาได้ ภาพชัดกว่าที่เอามาจากเน็ทมาก เห็นได้ว่า กำแพงและประตูวังหน้าดังกล่าวอยู่แนวเดียวกับกำแพงวัดมหาธาตุ เป็นประตูและกำแพงที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่๕หลังจากที่รื้อพระราชฐานชั้นนอกของวังหน้าเพื่อทำสนามหลวงลงแล้ว พื้นที่ในกำแพงส่วนนี้ใช้เป็นกรมทหารจนถึงรัชกาลที่๘(ดูภาพถ่ายทางอากาศรูปที่แล้ว)ก่อนจะสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นที่นั่น

ในรูปข้างล่างนี้ จะเห็นส่วนยอดของประตูไม่เหมือนกับปัจจุบัน กำแพงกรมทหารที่ทำล้อกำแพงวังด้านสนามหลวงถูกรื้อทิ้งไป เพื่อเปิดทัศนียภาพขอองมหาวิทยาลัย

ถนนที่เห็นคือถนนที่ผ่ากลางสนามหลวง ผ่านกำแพงวังและกำแพงวัดไปสู่ท่าพระจันทร์ สังเกตุดีๆจะเห็นต้นมะขามปลูกเป็นแนวขอบสนามหลวง ปัจจุบันกลายเป็นมะขามเฒ่าไปแล้ว


ภาพที่คุณ NAVARAT C. อ้างถึงในนี้ ถ้าความจำของผมไม่เบลอจนเกินไป น่าจะเป็นภาพการเตรียมทัพในการไปปราบฮ่อในครั้งแรกที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีสมัยที่เป็นจมื่นไวยวรนาถเป็นแม่ทัพ ครับ
สำหรับภาพของสนามหลวงอีกภาพหนึ่งที่พอหาได้ .. เปรียบเทียบขนาดของต้นมะขาม ..


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ย. 10, 08:59
ถ้าใครช่วยร่างแผนที่คร่าวๆของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ตั้งของคณะต่างๆ มาให้     
ดิฉันจะเปรียบเทียบให้ดูว่าคณะต่างๆ ก่อนย้ายไปรังสิต ตรงกับส่วนไหนของวังหน้าในอดีตบ้าง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 พ.ย. 10, 09:06
ใช้ได้ไหมคุณเทาชมพู

 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 พ.ย. 10, 11:33
^
^
ต้องดูประกอบกันไปครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ย. 10, 11:39
เอ่อ...
ดิฉันคงต้องใช้เวลานานกว่าที่คิด    เชิญคุณนวรัตนอธิบายไปก่อนค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 พ.ย. 10, 13:18
ถ้าใครช่วยร่างแผนที่คร่าวๆของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ตั้งของคณะต่างๆ มาให้     
ดิฉันจะเปรียบเทียบให้ดูว่าคณะต่างๆ ก่อนย้ายไปรังสิต ตรงกับส่วนไหนของวังหน้าในอดีตบ้าง

ภาพขยายมาจากภาพเดิม มองยากหน่อยนะครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 25 พ.ย. 10, 13:20
กับอีกภาพหนึ่ง ขยายขึ้นมาเช่นกัน ..





กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ย. 10, 18:54
ลองเทียบแผนผังวังหน้ากับม.ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ไปทีละส่วน  ถ้าผิดก็ช่วยทักท้วงด้วย  
เริ่มด้วยส่วนติดแม่น้ำเจ้าพระยา

ไล่มาตั้งแต่ด้านใต้ คือท่าพระจันทร์
คณะศิลปศาสตร์ (เลข 6)  ลานโพธิ์(เลข 12)  เคยเป็น ตำหนัก(ฝ่ายใน) ของวังหน้า
ลานปรีดี พนมยงค์ (เลข 20) และตึกโดม (เลข 8) เคยเป็น เรือนแถว และตำหนัก ของวังหน้า    
(หมายเหตุ เดาเป็นส่วนตัวว่าเรือนแถว อาจจะทำนองเดียวกับเต๊งของวังหลวง)
ลาน 60 ปี (เลข 20)ธรรมศาสตร์ กับสำนักหอสมุด(เลข 17)  เคยเป็นศาลเทพารักษ์ พระที่นั่งต่างๆ เช่นพระที่นั่งปฤษฎางค์ภิมุข

อ่านมาได้แค่นี้เอง ขอหยุดให้ตรวจสอบกันก่อน



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 พ.ย. 10, 21:57
^
^

ในความเป็นจริง นอกแผนผังดังกล่าวยังมีพื้นที่นอกกำแพงอีกมากก่อนจะถึงตลิ่งแม่น้ำ แต่ก่อนอาจเป็นบ้านเรือนของพวกข้าราชการวังหน้า หรืออู่เรือพระที่นั่ง ตรงนี้มีความกว้างเท่าไหร่ไม่ทราบแน่ชัดแต่ปัจจุบันธรรมศาสตร์ครอบครองหมด ตรงตลิ่งก็สร้างเขื่อนปรับแนวกันใหม่ให้เป็นเส้นตรง

ฝั่งแม่น้ำจึงไม่ใช่จุดที่ควรจะเริ่มหาว่าอะไรเป็นอะไร แต่ควรจะเริ่มต้นจากแนวกำแพงวังที่เหลืออยู่อย่างบริบูรณ์เป็นแนวยาวด้านถนนพระจันทร์ ตึกที่ติดกับกำแพงคือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ซึ่งตรงนั้นก็เคยเป็นบริเวณเรือนของพวกฝ่ายใน หอประชุมและสนามฟุตบอลทั้งสนามก็เป็นบริเวณเรือนฝ่ายในด้วย

จากแนวกำแพงวังที่เหลืออยู่นั้น จะสามารถหาแนวกำแพงด้านอื่นๆได้ ผมเคยวัดตามอัตราส่วนคร่าวๆ คิดว่าแนวกำแพงด้านริมแม่น้ำคือแนวถนนภายในของธรรมศาสตร์จากท่าพระจันทร์ไปท่าพระอาทิตย์นั่นแหละ คนสมัยก่อนก็นิยมรื้อกำแพงเมืองแล้วสร้างถนนบนรากฐานเดิม เพราะทุ่นเงินและเวลา ไม่ต้องบดอัดดินกันใหม่
ดังนั้น ถ้าการสันนิฐานของผมไม่ผิด คณะศิลปศาสตร์ (เลข 6)  ลานโพธิ์(เลข 12)  และลานปรีดี พนมยงค์ (เลข 20) ลาน 60 ปี (เลข 20)ธรรมศาสตร์ กับสำนักหอสมุด(เลข 17)  จะอยู่นอกกำแพงวังทั้งสิ้น ที่ว่ามามีตึกโดมเท่านั้น ที่อยู่ในกำแพงวัง

อันที่จริง อาคารต่างๆในวังหน้าที่ถูกรึ้อลงเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่ของฝ่ายในเกือบจะทั้งหมด ไม่น่าจะสลักสำคัญมาก นอกจากตรงที่เป็นคณะรัฐศาสตร์ ตำแหน่งนั้นเป็นพระที่นั่งจตุรมุของค์หนึ่งที่มีสระน้ำล้อมรอบ ชื่อพระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก น่าเสียดายที่ไม่ได้อนุรักษ์ไว้ อาจจะเห็นว่าผุพังมากเกินจะซ่อมก็เป็นได้



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 พ.ย. 10, 07:57
ส่วนศาลเทพารักษ์ พระที่นั่งต่างๆ เช่นพระที่นั่งปฤษฎางค์ภิมุขนั้น ดูจากภาพทางอวกาศของกูเกิลเอิร์ทแล้ว ยังอยู่ดี เป็นส่วนหนึงของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติวังหน้า อยู่ท้ายพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย





กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 พ.ย. 10, 08:25
แนววังหน้า เส้นสีฟ้า คือเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมที่เลยออกไปถึงกลางท้องสนามหลวง(ไม่เห็นในภาพ) ส่วนเส้นประคือแนวปัจจุบันหลังถูกแบ่งพื้นที่ไปเป็นสนามหลวง ถนนและทางเท้า

แนวเขตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในเส้นสีส้มครับ ถัดออกซึ่งเป็นส่วนพระราชฐานชั้นนอกนั้น ยังเก็บรักษาไว้อยู่โดยเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 26 พ.ย. 10, 13:08
ถามไป 1 คำถาม เกี่ยวกับผังวังหน้า ได้คำตอบมากมายที่มีค่ามากค่ะ
ก่อนอื่น กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ข้อมูลตรงนี้

สุดสัปดาห์นี้ (คุณแจ๋วร่วมฤดีจะได้หยุดงาน) จะเก็บรถเก๋งไว้บ้าน โหนรถเมล์ไปเดินเที่ยว
เริ่มจาก วังหน้า เข้า ธรรมศาสตร์ ลามเลยไปยังบ้านหม้อ (จะไปดูหม้อดินบนตึกค่ะ ไม่เคยสังเกตุเห็นมาก่อน)

ได้ฟังวิทยุรายการอะไรไม่ทราบ(ไม่สำคัญ) เขาพูดถึงยักษ์วัดแจ้ง ทะเลาะกับยักษ์วัดโพธิ์
ข้ามฟากมารบกันจนเกิดที่ราบริมแม่น้ำ เรียกว่า ท่าเตียน

มีใครทราบที่มาของท่าเตียนไหมคะว่า แท้จริงแล้ว มีความเป็นมาอย่างไร

อีกประการหนึ่ง สำหรับสนามหลวง ดิฉันยังติดใจอีกเรื่องค่ะ
คือ วัดมหาธาตุนั้น มองจากด้านสนามหลวง มีสิ่งก่อสร้างปิดบังวัดไว้เกือบมิด
จนบัดนี้ ดิฉันตอบไม่ถูกว่า หน้าวัด หันไปทางไหนกันแน่
ดิฉันไปที่นั่นบ่อย (อาศัยวัดจอดรถค่ะ) แต่ งง ค่ะ เกิดอะไรขึ้นกับวัีดนี้
วัดที่เคยเป็นที่ประทับของพระสังฆราชเจ้า แต่ถูกซ่อนอยู่หลังตึกสารพัด


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 10, 14:29
มาให้กิ๊ฟคุณ Navarat ค่ะ   ไม่สงสัยเรื่องแผนผังวังหน้าเปรียบเทียบกับม.ธรรมศาสตร์อีกแล้ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 พ.ย. 10, 16:30
ขอบคุณครับ

และสำหรับเรื่องที่มาของชื่อท่าเตียนนั้น ผมเคยเขียนไว้ในกระทู้เจ้าจอมมารดาเอม เวอร์ชั่นที่ไปออกวิกพันทิป มีเพื่อนในห้องเข้ามาเสวนาต่างไปจากวิกเรือนไทยพอสมควร ถ้าสนใจลองเข้าไปดูได้ครับ ตอนต้นๆจะเหมือนกัน แต่ตอนท้ายๆกระทู้ไม่เหมือน

 ความคิดเห็นที่ 64

“พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ เมื่อเสร็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ทรงมีพระราชดำริว่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับพระราชวังเดิมของกรุงธนบุรี เป็นชัยภูมิเหมาะสมที่จะตั้งเป็นพระมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่แหลมยื่นออกมา มีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์เพราะได้แม่น้ำเป็นคูเมืองทางด้านตะวันตก และด้านใต้ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาวิจิตรนาวีกับพระยาธรรมาธิบดีเป็นแม่กอง สถาปนาพระราชวังแห่งใหม่ ณ ที่บ้านพระยาราชาเศรษฐี และหมู่บ้านชาวจีน โดยให้พระยาราชาเศรษฐีนำพวกจีนไปตั้งบ้านเรือนอยู่ใหม่ในที่สวน ตั้งแต่คลองใต้วันสามปลื้มจนถึงคลองเหนือวัดสำเพ็ง และมีรับสั่งให้ไปรื้อกำแพงและป้อมกรุงศรีอยุธยา เพื่อเอาอิฐมาสร้างกำแพงและป้อมปราการกรุงเทพฯ เพื่อมิให้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่อาศัยของข้าศึก…….”

นักเขียนบทความประวัติศาสตร์ก็คัดลอกกันมาผิดๆ แล้วก็เลยงงตาม ไปมั่วว่าที่ตรงนั้น(ซึ่งเป็นชุมชนจีน)เป็นชุมชนญวนอยู่ร่วมด้วยเพราะชื่อพระยาราชาเศรษฐีนี่เอง ในโลกไซเบอร์นี้ก็ลอกต่อๆกันมาจนเรื่องผิดจะกลายเป็นถูกไปแล้ว

ความจริงบ้านญวนสมัยกรุงธนบุรีอยู่ร่วมกับโปรตุเกศที่บริเวณกุฎีจีน เพราะเป็นคริสตังจากอยุธยาด้วยกัน ต่อมาได้กวาดต้อนครัวญวนหลังสงครามมาตั้งชุมชนแห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ คือบ้านญวนในแถบท่าเตียนถึงพาหุรัด พวกนี้เรียกตนเองเป็นญวนฮาเตียน ซึ่งภายหลังเลยเพี้ยนจากฮาเตียนมาเป็น “ท่าเตียน” จนทุกวันนี้  
เมืองฮาเตียนตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามติดกับกัมพูชาคนไทยเรียกว่าบันทายมาศบ้าง พุทธไธมาศบ้าง เป็นของไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีมาจนเสียคืนให้เจ้าของไปในสมัยรัชกาลที่สอง ชุมชนญวนนี้ไม่เคยย้ายไปแถวสามเพ็งแต่ขยายตัวต่อเนื่องไปทางบ้านหม้อ พาหุรัด มาจนถึงแผ่นดินรัตนโกสินทร์ คือหลังจากองเชียงลือซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารหนีไปกู้ชาติ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงกริ้วมาก และทรงเห็นว่าชัยภูมิแถวท่าเตียน สามารถใช้เรือเดินทางออกจากแม่น้ำได้เร็ว โปรดให้ญวนที่เหลือย้ายไปอยู่ที่สามเสนให้ห่างจากพระนคร เพราะไม่ไว้พระทัย
Navarat.C

จาก

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/10/K9839741/K9839741.html


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 10, 17:37
ขอแยกซอยออกไปต่อเรื่องญวนสามเสน สักหน่อย ก่อนจะเลี้ยวรถกลับไปสนามหลวงตามเดิม

คนไทยเชื้อสายญวนโยกย้ายไปอยู่สามเสนเรียบร้อยแล้วเมื่อสุนทรภู่มาเห็นเมื่อเดินทางไปสระบุรี  ใน นิราศพระบาท   ตอนนั้นบ้านญวนสามเสนเป็นชุมชนที่คึกคักทีเดียว

“ถึงบ้านญวน ล้วนแต่โรงแลสะพรั่ง
มีข้องขังกุ้งปลาไว้ค้าขาย
ตรงหน้าโรงโพงพางเขาวางราย
พวกหญิงชายพร้อมเพียงมาเมียงมอง”

ญวนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในไทยตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์  รับราชการประจำกองทหารปืนใหญ่ และกองทหารเรือญวน สมัยรัชกาลที่ 1 ญวนอพยพเข้ามาอีกหลายกลุ่ม อาศัยกระจัดกระจายทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองภาคกลาง  มีทั้งจันทบุรี ชลบุรี นครปฐม อยุธยา ฯลฯ
บ้านญวนแห่งแรกบนเกาะรัตนโกสินทร์ คือบ้านญวนในแถบท่าเตียนถึงพาหุรัด เรียกวาญวนฮาเตียน ซึ่งภายหลังเพี้ยนมาเป็น “ท่าเตียน” อย่างที่คุณนวรัตนเล่าไว้แล้วข้างบนนี้
ในรัชกาลที่ 3  ญวนกลุ่มใหม่อพยพเข้ามาอีก เป็นญวนนับถือคริสตศาสนานิกายคาธอลิค  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงทรงโปรดให้ไปอยู่สามเสน รวมกับญวนกลุ่มเดิม   บ้านญวนสามเสนจึงกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่  ดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน   
แต่พวกญวนแท้ๆไม่มีอีกแล้ว ด้วยหลายเหตุผล เช่นสมรสกับคนไทยเชื้อสายอื่นๆ   แม้แต่ภาษาญวนก็เกือบจะไม่มีใครพูดกันได้อีก นับแต่ถูกกีดกันด้วยนโยบายวัธนธัมของจอมพลป.พิบูลสงครามที่ห้ามเปิดโรงเรียนสอนภาษาญวน ห้ามสวดภาษาญวน ไม่ให้ใช้ภาษาญวนในการพูดหรือเขียน   จนกระทั่งวัฒนธรรมเดิมจางไปเกือบหมด   เหลือแต่มรดกทางวัฒนธรรมเช่น "แหนมเนือง" ซึ่งยังเป็นที่รู้จักกันอยู่

เริ่มจากชุมชนญวนมาจนลงเอยด้วยของกิน  เห็นจะต้องจบเสียทีละค่ะ  เห็นรูปแล้วหิวก็อย่าเพิ่งมาว่ากัน




กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 10, 19:18
กลับมาสนามหลวงอีกครั้ง
ใครยังจำงานพระราชทานเพลิงพระศพ ครั้งนี้ได้บ้างคะ?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 26 พ.ย. 10, 19:31
กระบวนหน้าแต่งกายทหารเรือทั้งนั้นเลยครับ

อาจารย์ NAVARAT.Cพอจะมีข้อมูลเรื่องการนำท้องสนามหลวง ดังนี้หรือไม่ครับ
๑. สนามกอล์ฟ แห่งแรกที่จัดท้องสนามหลวง
๒. เซอร์คัส ครั้งแรกที่สนามหลวง
๓. สนามแรลลี่ ครั้งแรกที่สนามหลวง
 ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 พ.ย. 10, 20:25
^

มีรูปนี้อยู่ ไม่ทราบว่าจะตรงกับที่ต้องการหรือเปล่าครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 พ.ย. 10, 21:13
^รูปบนโน้น^

ข้อมูลจากหนังสือ “หลวงปู่ศุขและกรมหลวงชุมพร” 

วันที่๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๖ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ได้เสด็จไปพักผ่อนทางใต้โดยเรือรบหลวงเจนทะเล  โดยเจ้าจอมมารดาโหมดซึ่งไม่เคยไปไหนมาไหนด้วยเลย คราวนั้นได้ติดตามพระโอรสไปด้วย ทรงแวะขึ้นฝั่งที่หาดทรายรี จังหวัดชุมพรหลายวัน แล้วเลยไปสงขลาเพื่อทรงเยี่ยมสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศ ซึ่งทรงเป็นอุปราชมณฑลปักษ์ใต้อยู่ในขณะนั้น  คืนวันหนึงชาวบ้านจัดหนังตะลุงถวาย ทรงประทับทอดพระเนตรอยู่จนดึก คราวนั้นน้ำค้างแรงมาก หลังจากนั้นจึงทรงประชวร อยู่ได้เพียง๓วันก็สิ้นพระชนม์ ทั้งที่มีนาวาโท หลวงทรงบุณยแพทย์ หมอประจำพระองค์ดูแลรักษาอยู่ และพระมารดา เจ้าจอมมารดาโหมด กับพระธิดาองค์ใหญ่ หม่อมเจ้าหญิงจารุพัตรา ช่วยพยาบาลอย่างใกล้ชิด

เรือหลวงเจนทะเลได้รีบนำพระศพเข้ากรุงเทพ และถ่ายลงเรือหลวงพระร่วง ที่โปรดเกล้าฯให้ลงไปรับพระศพที่ปากน้ำ นายทหารเรือทั้งหลายร้องไห้กันระงม พระศพถูกนำกลับไปบำเพ็ญพระราชกุศลที่วังนางเลิ้งได้ประมาณ๗เดือนก็ออกพระเมรุที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖ พระชนมายุ ๔๓ เศษ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 10, 21:45

เรือหลวงเจนทะเลได้รีบนำพระศพเข้ากรุงเทพ และถ่ายลงเรือหลวงพระร่วง ที่โปรดเกล้าฯให้ลงไปรับพระศพที่ปากน้ำ นายทหารเรือทั้งหลายร้องไห้กันระงม พระศพถูกนำกลับไปบำเพ็ญพระราชกุศลที่วังนางเลิ้งได้ประมาณ๗เดือนก็ออกพระเมรุที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖ พระชนมายุ ๔๓ เศษ


100 คะแนนเต็ม ;D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 พ.ย. 10, 21:54
แหะๆ ผมเปิดตำราในห้องสอบน่ะครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 10, 22:07
รีเอ๊กแซมค่ะ
พระเมรุของเจ้านายพระองค์ไหน
(ออกนอกสนามหลวงไป..ไม่หน่อยละ)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 26 พ.ย. 10, 22:50
ผมไม่เคยเห็นครับ

ขอเชิญท่านอื่นเข้าสอบต่อไป


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 27 พ.ย. 10, 00:23
แวะมาขอบคุณเรื่อง ญวนห่าเตียนค่ะ สบายใจเยอะเลยที่ "ยักษ์ไม่เกี่ยว"

รูปพระเมรุของ อ.เทาชมพู สุดปัญญาจะเดาค่ะ แต่เป็นพระเมรุที่แปลกนะคะ ไม่สูงใหญ่อย่างที่เห็นในสนามหลวง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 พ.ย. 10, 08:01
รีเอ๊กแซมค่ะ
พระเมรุของเจ้านายพระองค์ไหน
(ออกนอกสนามหลวงไป..ไม่หน่อยละ)

อาจารย์เลยสนามหลวงขึ้นไปมาก ขึ้นไปถึงวัดนิเวศธรรมประวัติ ที่พระราชวังบางปะอินเลยครับ ;D

ในภาพเป็นงานพระเมรุของพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี  กรมขุนสุพรรณภาควดี (เรียกกันลำลองว่า เสด็จพระองค์ใหญ่)
เสด็จพระองค์ใหญ่ได้สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้เชิญพระศพไปพระราชทานเพลิงที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นงานใหญ่ โดยเชิญพระศพโดยทางกระบวนรถไฟไปที่บางปะอิน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ย. 10, 08:32
พาออกไปนอกสนามหลวงเสียไกลมากๆ  คุณ siamese ยังตามแกะรอยเจอ

รีเอ๊กแซม - ผ่านค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 30 พ.ย. 10, 08:45
ดึงบรรยากาศกลับมาสนามหลวงเช่นเดิม ...

ถิ่นของคุณหลวงเล็ก ... เริ่มด้วยภาพลายเส้นนะครับ



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 03 ธ.ค. 10, 12:05
ภาพตึกแถวริมถนนมหาราชใช่ไหมคะคุณหลวงเล็ก


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 03 ธ.ค. 10, 12:07
ทราบว่าอาคารหัวมุมตรงท่าช้่างวังหลวงนี้ ได้เป็นอาคารอนุรักษ์ไปแล้วค่ะ
อ้างถึง
สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องด้วยบริเวณดังกล่าวเป็นตลาดและชุมชนชาวไทยและต่างชาติ อาคารชุดนี้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเช่นเดียวกันกับตึกแถวบริเวณหน้าพระลาน ซึ่ง ณ ที่แห่งนี้ประวัติศาสตร์ของคนไทยเกิดขึ้นนานับประการ นับแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชดำเนินพระบาทเปล่า ตามกระบวนอัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากกรุงสุโขทัยลงมายังวัดสุทัศน์เทพวราราม หรือแม้แต่ภาพของกระบวนช้างหลวงลงอาบน้ำที่ท่าน้ำแห่งนี้ทุกวี่วัน เป็นเวลานับร้อยปี จึงมีชื่อเรียกขานกันว่า “ท่าพระ” บ้าง “ท่าช้าง”บ้าง


(ที่ตั้ง : ริมถนนมหาราช บริเวณท่าช้างวังหลัง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ธ.ค. 10, 08:16
อ้างถึง
อาจารย์ NAVARAT.Cพอจะมีข้อมูลเรื่องการนำท้องสนามหลวง ดังนี้หรือไม่ครับ
๑. สนามกอล์ฟ แห่งแรกที่จัดท้องสนามหลวง
๒. เซอร์คัส ครั้งแรกที่สนามหลวง
๓. สนามแรลลี่ ครั้งแรกที่สนามหลวง

ผมไปได้มาอีกภาพหนึ่งครับ

เป็นเหตุการณ์เดียวกับรูปก่อนที่ลงไว้ ไม่แน่ใจว่าเขามาแรลลี่กันตามความหมายที่คุณหนุ่มสยามกล่าวถึงหรือเปล่า
แต่ก็ขอเอามารวบรวมไว้ในกระทู้นี้แล้วกัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 10, 09:45
ขอย้อนกลับไปที่วังหน้าอีกครั้ง
ขอขยายแผนที่ส่วนหนึ่งของวังหน้ามาให้เห็น    ที่สงสัยคือมีส่วนหนึ่ง เป็น "โฮเต็ล"
น่าจะอยู่แถวๆโรงละครแห่งชาติ ในปัจจุบัน

วังหน้ามีโฮเต็ลไว้สำหรับทำอะไรคะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ธ.ค. 10, 13:48
ผมก็สงสัยอยู่เหมือนกันแหละครับ แต่ค้นเอกสารไม่เจอเลย
อยากจะเดาว่า
ทั้งสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ท่านทรงจ้างฝรั่งไว้หลายคน
และทรงคบหาสมาคมกับฝรั่งอยู่มาก

อาจทรงทราบว่า ชาวยุโรปที่มาเมืองไทยจะหาที่พักชั่วคราวยาก
จึงทรงจัดสถานที่ไว้ต้อนรับแขกชั้นดีของพระองค์ท่าน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 08 ธ.ค. 10, 15:39
มาช่วยสงสัยอีกคนค่ะ เชื่อว่าเหตุผลของอาจารย์ Navarat เป็นไปได้มาก

ชวนให้คิดไปถึง ฝรั่งอีกคนที่มารับราชกาลและไม่มีที่อยู่นอกจากต้องพักในวัง
(อันนี้ ดูจาก The King & I นะคะ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรไม่ทราบค่ะ)

เธอคือ แหม่มแอนนาค่ะ ดีไม่ดี ในวังหลวง อาจจะมี Hotel ด้วยก็ได้

หากเธอพักรวมกับฝ่ายใน ลูกชายคือ นายหลุยส์ ก็ไม่สามารถไปมาหาสู่คุณแม่ได้

มีใครพอจะทราบไหมค่ะ ว่า ตำแหน่งแห่งที่ของบ้านแหม่มในวัง อยู่ตรงไหน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 10, 15:43
เป็นไปได้มากๆ
เสียดาย ไม่มีหลักฐานว่าหน้าตา "โฮเตล" ที่ว่าเป็นอย่างไร    แต่ดิฉันขอ เดา เหมือนกันว่าคงจะเป็นอาคารแบบฝรั่ง ข้างในก็ตกแต่งแบบฝรั่ง
ดูจากสัดส่วนในแผนที่ น่าจะเป็นอาคารที่ไม่ใหญ่โตอะไรนัก  ขนาดดูเหมือนจะเล็กกว่าโรงงิ้วเสียอีก   เพราะฝรั่งที่มีโอกาสมาพักคงมีจำนวนน้อยมาก  แต่การตกแต่งคงจะทันสมัยแบบตะวันตก

นึกถึงบันทึกของเซอร์จอห์น เบาริง ที่อธิบายถึงพระที่นั่งของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ไว้  แต่ไม่รู้ว่าพระที่นั่งองค์ไหนที่เป็นแบบบ้านผู้ดีอังกฤษ

            พระเจ้าแผ่นดินที่สอง (หมายถึงสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)
        ทรงเป็นผู้ที่น่ารัก มีพระราชอัธยาศัยเงียบขรึม และน่าคบหาสมาคม
        ที่ประทับของพระองค์สะดวกสบายน่าอยู่  และการจัดก็แสดงถึงรสนิยม
        สูงของผู้เป็นเจ้าของ...เครื่องประดับห้องทุกชิ้นอาจทำให้ท่านเชื่อว่า
        ท่านได้เข้าไปอยู่ในบ้านของสุภาพบุรุษอังกฤษโดยแท้  ตรัสภาษาอังกฤษ
        ได้อย่างดีเลิศ  และกระแสพระราชดำรัสก็แสดงว่าทรงได้รับการศึกษา
        อย่างสูงมาแล้ว...พระองค์มีห้องสมุดหนังสือภาษาอังกฤษซึ่งได้ทรงเลือก 
        สรรแล้วและจัดไว้เป็นอย่างดี  มีพิพิธภัณฑ์เก็บเครื่องมือในทางเครื่อง
        จักรเครื่องกลที่น่าสนใจยิ่ง  พร้อมทั้งตัวอย่างเครื่องจักรกลใหม่ๆทาง
        วิทยาศาสตร์ 



        จึงขอเดาต่อว่า โฮเตล น่าจะตกแต่งแบบฝรั่งไม่แพ้กัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ธ.ค. 10, 15:50
ขอผ่าน
จำเนื้อเรื่องแหม่มแอนนาไม่ได้แล้ว      ต้องรอคนมีหนังสือ Anna and the King of Siam  เรื่องนี้มาเล่าให้ฟังค่ะ

แต่จำเกร็ดได้อย่างหนึ่ง    พวกบุนนาคเล่าให้ดิฉันฟังว่า พระเอกตัวจริงที่แอนนาหลงรัก  เป็นพระยาท่านหนึ่งในสกุลบุนนาค  คุณภานุเมศร์เคยได้ยินพงศาวดารกระซิบเรื่องนี้หรือเปล่า


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ธ.ค. 10, 22:37
อ้างถึง
นึกถึงบันทึกของเซอร์จอห์น เบาริง ที่อธิบายถึงพระที่นั่งของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ไว้  แต่ไม่รู้ว่าพระที่นั่งองค์ไหนที่เป็นแบบบ้านผู้ดีอังกฤษ


พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรครับ สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงสร้างขึ้นเป็นที่ประทับของพระองค์ ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติดูแลรักษาอยู่ และอยู่ระหว่างการบูรณะใกล้แล้วเสร็จ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 08 ธ.ค. 10, 23:03
เวลาตั้งใจจะหา มักจะหาไม่เจอ
ครั้นเลิกตั้งใจ พลิกหนังสือดูเล่นๆ กลับหาเจอบ่อยๆ

ข้างล่างนี่ จากตำนานวังหน้า ของกรมศิลปากรเป็นผู้พิมพ์จำหน่ายครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 10, 09:19
ขอบคุณค่ะ  หายสงสัยแล้วเรื่องโฮเตล
ดูจากแผนที่ สิ่งก่อสร้างของวังหน้ามีหลายแห่งที่ถูกรื้อถอนไป    อย่างป้อมต่างๆ ไม่มีเหลือเลย  โรงช้าง โรงงิ้ว โรงรถ ก็หมดไปด้วย
เดาว่าเกิดขึ้นหลังจากตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลยกเลิกไปในรัชกาลที่ ๕    ทรงสถาปนาตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารขึ้นแทน
ยังอ่านไม่พบว่าในรัชกาลที่ ๖  สภาพของวังหน้าเป็นอย่างไร    ฝากถามคุณ V_Mee เผื่อแวะเข้ามา  ว่าพอทราบไหมคะ

เกิดสงสัยขึ้นมาว่าเมื่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพ.ศ. ๒๔๗๗   สถานที่ริมสนามหลวงแห่งนี้ เมื่อไม่เป็นวังหน้าอีกต่อไปแล้ว  กลายเป็นอะไร ไปค้นประวัติที่มาของมธ. ก็ได้ความเพียงสั้นๆว่า
 
"สำหรับที่ตั้งมหาวิทยาลัย ครั้งแรกใช้ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิมที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา   ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2478 มหาวิทยาลัยขอซื้อที่ดินบริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งเดิมเป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิมพร้อมทั้งสร้างตึกโดม"

ทำไมถึงกลายเป็นที่ของทหาร และทหารหน่วยไหน?


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ธ.ค. 10, 09:48
สมัยรัชกาลที่๕ บริเวณพระราชฐานชั้นในที่พวกผู้หญิงอยู่ ยังคงเป็นเช่นนั้นจนถึงรัชกาลที่๖ จึงโปรดเกล้าให้เจ้านายและข้าหลวงที่ยังเหลืออยู่ ย้ายไปอยู่วังหลวง แล้วทรงมอบพื้นที่ส่วนนั้นให้ทหาร

ส่วนทหารจะย้ายออกไปและธรรมศาสตร์เข้ามาแทนอย่างไร ตามได้จากบทความต่อไปนี้ครับ


ตรงนี้ขอแทรกในเรื่องที่เกี่ยวกับที่ดินของ มธก. ที่ท่าพระจันทร์ (จากบทความของปรีชา สุวรรณทัต ใน ธรรมศาสตร์ ๕๐ ปี) โดยเกิดปัญหาว่าเมื่อ มธก. ซื้อที่ดินบริเวณโรงทหารกองพันทหารราบที่ ๔ ตำบลท่าพระจันทร์ จากกระทรวงกลาโหมด้วยเงิน ๓ แสนบาทนั้น ได้มีการนำเรื่องเข้าสภาผู้แทนราษฎร เพื่อออก พ.ร.บ. โอนกรรมสิทธิ์ ก็มีปัญหาตามกระทู้ของนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ สส. อุบลราชธานี ว่า “สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งจะโอนแก่กันได้หรือไม่นั้นข้าพเจ้าสงสัย เพราะว่าในทางปฏิบัติที่ข้าพเจ้าเคยทราบนั้น อย่างเราไปโอนที่ดินกรมทหารให้แก่กระทรวงธรรมการ อย่างนี้ก็หาได้ทำเป็นพระราชบัญญัติไม่”

ส่วนกรมทหารราบที่๔ มีประวัติอย่างไร  ก็ตามข้างล่างครับ

พ.ศ.๒๔๔๕พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทานกำเนิด กรมทหารราบที่ ๒ ล้อมวัง มีหน้าที่รักษาการภายใน ราชฐานชั้นนอก หน่วยในขณะนั้น คือ กองพันทหารราบที่ ๒ นามหน่วยในขณะนั้นคือ ร.๒ พัน ๑ ล้อมวัง

** พ.ศ.๒๔๕๑โปรดเกล้ายกฐานะกรมทหารราบที่ ๒ ล้อมวังเป็นกรมทหารราบที่๑๑ รักษาพระองค์ โดยมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯครั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เป็นนายพันเอกแห่งกรมนี้

** พ.ศ.๒๔๗๐ เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ และย้ายเข้าไปตั้งที่ท่าช้างวังหน้า (ท่าพระจันทร์)

** พ.ศ.๒๔๗๕ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ร.๒ พัน.๑ ได้แปรสภาพเป็น กองพันทหารราบที่ ๔ ( ร.พัน.๔ ) และย้ายจากท่าพระจันทร์ไปตั้งที่พญาไท


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 10, 10:08
 :D


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 10, 12:21
นำภาพในอดีต ที่เกี่ยวกับสนามหลวงมาลงให้ดูกันอีกครั้ง
ใครนึกออกบ้างว่า ว่าเป็นพระเมรุเจ้านายพระองค์ไหน



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 09 ธ.ค. 10, 16:29
พระเมรุ ๕ ยอด สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย (กรมพระเทพนารีรัตน์) และสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ณ ท้องสนามหลวง วัตถุก่อสร้างที่เหลือจากงานพระเมรุเป็นต้นกำเนิดให้เกิดโรงพยาบาลศิริราช

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/425/2425/images/Merumas8.jpg)

http://www.oknation.net/blog/phaen/2008/01/09/entry-1
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1226708881&grpid=01&catid=01

ภาพบนและล่างเป็นภาพเดียวกันแต่กลับซ้ายเป็นขวา

ภาพไหนทิศทางถูกต้องหนอ  ???



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ธ.ค. 10, 19:31
คุณเพ็ญชมพูครับ พระเมรุนี้เป็นงานใหญ่ ด้วยมีการถวายพระเพลิงพระศพของเจ้านายทั้ง ๔ พระองค์

"พระเมรุ ๕ ยอด
พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดงานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดชเป็นแม่กองในการก่อสร้างพระ เมรุห้ายอด ซึ่งนอกจากใช้เป็นพระเมรุถวายพระเพลิงพระศพของสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์แล้ว ยังใช้สำหรับถวายพระเพลิงพระศพของสมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ รวมทั้งหมด 4 พระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ภายหลังงานพระเมรุโปรดให้รื้อไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง พระเมรุไปสร้างเรือนคน ไข้ภายในโรงพยาบาลวังหลัง พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องใช้สอยต่าง ๆ ที่ใช้ในการออกพระเมรุให้นำไปใช้ภายในโรงพยาบาลด้วย"

ขอส่งขนมครกให้รับประทานก่อน แล้วจะต่อด้วยภาพกลับซ้าย ขวาหรือไม่ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ธ.ค. 10, 20:18
ภาพพระเมรุที่อาจารย์เทาชมพู นำมาลงไว้ นั้นถูกต้องแล้ว มีเหตุผลสนับสนุนดังนี้

๑. มองไปยังวัดสลัก หรือ วัดมหาธาตุฯ ประกอบด้วยอาคารสามหลัง โดยหลังแรกสุดขวามือภาพ คือ พระอุโบสถวัด ยังคงเห็นเสารองรับหลังคา ผิดกับอาคารถัดมาอีกสองหลังเป็นแบบผนังรองรับหลังคาทั้งหมด


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ธ.ค. 10, 20:28
๒. ถัดมาด้านซ้ายภาพ จะพบกับเขตพุทธาวาส ของวัดมหาธาตุอย่างชัดเจน และต่อด้วยวังท่าพระ เห็นเรือจักรไอน้ำลำสีขาวลอยลำอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา และเหนือเรือลำสีขาว จะพบกับอุโปสถวัดระฆังโฆสิตาราม และด้านขวาของพระอุโบสถจะประดิษฐานพระปรางค์ใหญ่ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นเครื่องตัดสินว่าภาพนี้ไม่ได้กลับซ้ายเป็นขวา


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ธ.ค. 10, 20:36
๓. ภาพหน้าพระเมรุนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ ๒ ประการ
      ประการแรก คือ หัวราชรถ พร้อมเชือกชักลาก จากซ้าย ไปขวามือ ย่อมชักลากมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเลี้ยวเข้ายังประตูใหญ่ จึงเป็นไปไม่ได้หากภาพที่กลับด้านจะมาจากวังหน้า
   
      ประการที่สอง คือ เงาแสงแดงยังคงสำแดงผลได้อย่างเที่ยงแท้ เงาทอดจากซ้ายไปขวา นั่นหมายถึงตะวันทอดใต้เสมอ ไม่เคยเยื้องจากเหนือมาก่อน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ธ.ค. 10, 20:47
ยอดเยี่ยมครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 10, 20:53
คุณ siamese คงเคยเกิดสมัยนั้นแน่ๆเลย  ;)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ธ.ค. 10, 21:18
ขอคนสมัยโน้น ช่วยวิเคราะห์หน่อยนะครับ

จากภาพทั้งสองนี้ คือตำแหน่งใดของกรุงเทพในปัจจุบัน
ในฉากด้านขวาที่ดูราวกับป่านั้นคือที่ไหน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ธ.ค. 10, 21:35
พระเมรุ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชที่สวนมิสกวัน ต่อมาเป็นเมรุเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดีฯ) เป็นงานที่สองจัดขึ้นที่สวนมิสักวัน ดังนั้นกระบวนแห่จึงตั้งอยู่บนราชดำเนิน ซึ่งสร้างเสร็จในปี ๒๔๔๒ ภาพนี้ก็ถ่ายเมื่อ ๒๔๔๗ ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ธ.ค. 10, 21:44
ถ้าอย่างนั้น ภาพบน บรรยายภาพไว้ผิดหรือครับ

แล้วขบวนตั้งอยู่ตรงช่วงไหนของถนนราชดำเนิน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 09 ธ.ค. 10, 21:55
ไหนๆก็ไหนๆ ขอถามอีกรูป

จากภาพพระเมรุมาศ สมเด็จเจ้าฟ้า นภาจรจำรัสศรี
คือส่วนไหนของสนามหลวงครับ

ฉากหลังด้านซ้ายคือส่วนหนึ่งของวังหน้าก่อนถูกรื้อหรือเปล่า แล้วส่วนขวามือที่เห็นเป็นชุมชนบ้านเรือน เดี๋ยวนี้เป็นอะไร


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 10, 22:19
ก่อนคุณ siamese ณ สมัยโน้น จะเข้ามาตอบ  ขอนำรูปพระเมรุพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ที่สวนมิสกวัน พ.ศ.2452 มาลง  ต่อมาเป็นเมรุเจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดีฯ) เป็นงานที่สอง

(http://www.thaicontractors.com/UserFiles/image/maru10.jpg)


(http://www.thaicontractors.com/UserFiles/image/maru11.jpg)

จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=1105497&month=06-2008&date=24&group=12&gblog=18


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 09 ธ.ค. 10, 22:21
ฉากหลังน่าจะเป็นดังที่เขียนไว้ดังนี้ค่ะ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ธ.ค. 10, 23:04
ขยายรูปบางส่วนให้ดู   ถ้าหากว่าทางซ้ายบนคือพระบรมมหาราชวัง ประตูวังที่เห็นคือประตูวิเศษชัยศรีหรือคะ?



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ธ.ค. 10, 19:48
เป็นภาพถ่ายวังหลวง ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ธ.ค. 10, 19:54
เดินลงไปมุมล่าง จะเป็นแบบนี้ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ธ.ค. 10, 20:05
เหมือนว่าอาจารย์ NAVARAT.C กำลังจะหาภาพถ่ายมุมสูงวังหน้า  ซึ่งพบได้น้อยมาก จึงขอส่งภาพนี้ให้ชม ถ่ายจากถนนสนามไชย มุ่งสู่วังหน้า


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ธ.ค. 10, 20:30
ส่งภาพนี้ให้อาจารย์ NAVARAT.C ภาพวังหน้าครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ธ.ค. 10, 08:14
ขอบคุณทุกท่านมากนะครับ

ขณะนี้ผมอยู่ขอนแก่น และกำลังจะเดินทางต่อ
ไม่สามารถอยู่ในอินเทอร์เนตได้นานๆ
ถึงบ้านแล้วจะกลับเข้ามาร่วมสนทนาต่่อครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ธ.ค. 10, 18:29
คุณหนุ่มมีแผนที่นี้อยู่ใช่ไหมครับ

กรุณาสแกนครอบคลุมวังหลวง วังหน้า สนามหลวงและปริมณฑลไปถึงแม่น้ำ
นำมาลงเป็นวิทยาทานแก่ผมหน่อยได้ไหมครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ธ.ค. 10, 19:34
อาจารย์ NAVARAT.C  ต้องมีอะไรจะบอกเล่าเป็นแน่


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ธ.ค. 10, 19:47
มาขอบคุณเสียชั้นหนึ่งก่อนครับ

ดูเคร่าๆก็ตอบปัญหาคาใจหลายอย่าง
ขอเวลาดูให้ถ้วนถี่อีกสักหน่อย


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ธ.ค. 10, 20:18
มาขอบคุณเสียชั้นหนึ่งก่อนครับ

ดูเคร่าๆก็ตอบปัญหาคาใจหลายอย่าง
ขอเวลาดูให้ถ้วนถี่อีกสักหน่อย

เรื่องคาใจสิ่งใดวานบอก จักได้ร่วม Brain Storm กันครับ  ;)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 10, 20:29
ปูเสื่อรอที่สนามหลวง  พร้อมเสิฟเมี่ยงคำ

(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2009/04/17/f5i6g5fkkca9fcdeagi8i.jpg)


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ธ.ค. 10, 21:26
ผมกำลังคิดว่า ตึกทั้ง3หมายเลข จากภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่๔นี้
ไม่ปรากฏในแผนที่ ซึ่งจัดทำในสมัยรัชกาลต่อมาทุกฉบับ

ทุ่งพระเมรุ สมัยที่เห็นในภาพถ่ายก็เล็กนิดเดียว แถมมีสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ เช่นตึก๑อยู่ด้วยตรงด้านหน้าของวัดมหาธาตุ
อาคารใหญ่ในกำแพงชั้นนอกของวังหน้าที่คุณหนุ่มสยามว่าเป็นโรงทหาร ก็ไม่น่าจะต้องสูงและใหญ่ขนาดข่มพระที่นั่งทรงพลับพลา ดูผิดธรรมเนียม

แค่คิดนะครับ แค่คิด
จะช่วยระดมสมองต่อก็เชิญเลยครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ธ.ค. 10, 21:36
เอาแผนที่ที่ได้จากคุรหนุ่มสยามมาเปรียบเทียบกับภาพถ่ายจากอวกาศก่อน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ธ.ค. 10, 21:56
"สถานที่ต่าง ๆที่ทรงสร้างรอบนอกพระราชวัง ท้องสนามหลวง ที่ทุ่งข้างเหนือพระราชวัง เดิมเรียกว่าทุ่งพระเมรุ โปรดให้เรียก ว่าท้องสนามหลวง แลตอนข้างใต้ ในสนามนั้นโปรดให้สร้างบริเวณสำหรับการพระราชพิธีพืชมงคลแลพิธีพรุณสาตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ข้างในสร้างหอพระเปนที่ประดิษฐานพระสำหรับการพิธี มีพระพุทธคันธารราฐเปนต้น หลัง ๑ มีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธีหลัง ๑ มีหอสำหรับดักลมลงที่พลับพลาหลัง ๑ ข้างพลับพลามีโรงลครสำหรับเล่นบวงสรวงหลัง ๑ ข้างด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้ว สำหรับประทับทอดพระเนตรทำนาในทุ่งนั้นหลัง ๑ แลสร้างฉางสำหรับไว้เข้านาหลวงในบริเวณนั้นด้วยอิกหลัง ๑. ( การทำนาที่ทุ่งพระเมรุที่กล่าวกันว่าตั้งต้นทำเปนการหลวงเมื่อในรัชกาลที่ ๓ ประสงค์จะให้ปรากฏไป ถึงนานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยเข้าปลาอาหารมีไร่นาจนกระทั่งใกล้ ๆ พระราชวัง เพราะ ไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เปนกำลังบ้านเมือง ด้วยในสมัยนั้นมีทูตญวนไปมาอยู่กับเมืองไทยเนือง ๆ จึงทำนาในท้องสนามหลวงตลอดมาจนรัชกาลที่ ๔ ที่พลับพลาท้องสนามหลวงเปนที่ทำพระราชพิธีพืชมงคลแลพิธีพรุณสาตรมาจนในรัชกาลที่ ๕ ครั้นเมื่อทำสนามใหญ่ที่บริเวณนั้นกีดอยู่ในสนาม ทั้งสถานต่าง ๆ มีพลับพลาเปนต้นชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดให้รื้อเสียหมด )"

เป็นไปได้ไหมว่า อาคารหมายเลข 1 คือ ยุ้งฉางหลวง

และแผนที่วังหน้าที่อาจารย์เทาชมพูส่งให้ผมครับ หมายเลข 2 และ พลับพลาสูงหมายเลข 3


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 10, 22:01
มีแผนที่แต่เทียบไม่ถูก   ได้แต่ส่งแผนที่ให้ผู้รู้ไปดูกัน
ถามจากรูปของคุณ navarat ว่า  หลังคาวัด ด้านซ้ายบนสุด  ที่ลูกศรชี้คือวัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานสุทธาวาศใช่ไหมคะ
ถ้างั้นป้อมตรงกลางรูปคือป้อมอะไร  ถ้ารู้จะได้กลับไปพยายามอ่านแผนที่อีกครั้ง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ธ.ค. 10, 22:04
แผนที่จากวัดพระแก้ววังหน้าและสถานที่ใกล้เคียง



กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ธ.ค. 10, 22:07
เล็งดูทั้งแผนที่ทั้งภาพถ่ายแล้ว น่าจะใช่ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ธ.ค. 10, 22:12
เรื่องพลับพลาสูงครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ธ.ค. 10, 22:32
ผมดูแผนที่ของท่านอาจารย์เทาชมพู ไม่ได้ติดใจพลับพลาสูงตั้งแต่แรก เพราะขนาด สัดส่วนและทิศทางสอดคล้องกับภาพถ่ายครับ

แต่แผนที่ที่คุณหนุ่มนำมาแสดง จะเห็นว่าขนาดอาคารเพี้ยนไปมาก แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นอาคารใหม่(สมัย ร๕)ที่สร้างขึ้นมาแทนที่อาคารในรัชกาลก่อนหรือไม่

ส่วนอาคารที่เขียนว่าโรงหัดทหารนั้น คืออาคารใหญ่ในภาพ
ผมยังสงสัยอยู่ดี โรงหัดทหารคือโรงเรียนนายทหารหรืออย่างไร เพราะทหารคงไม่ฝึกกันในร่ม

ในแผนผังเขียนอาคารในกลุ่มนี้ว่าเป็นโรงหัดทหารทั้งหมด แต่ในรุปเห็นเป็นอาคารขนาดย่อมๆทั้งนั้น มีอาคารที่ว่าสูงใหญ่โดดขึันมาหลังเดียว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ธ.ค. 10, 06:55
อาคารสองหลังนี้ มีความคล้ายคลึงกันมากทั้งขนาด รูปทรง และการวางตำแหน่งทิศทาง ประหนึ่งจะเป็นอาคารที่สร้างขึ้นมาคู่กัน
แต่อาคารด้านซ้ายอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน ส่วนอาคารด้านขวาอยู่ในกำแพงวังส่วนภายนอกพระราชฐาน
สถาปัตยกรรมรูปทรงวิหารนี้ ถ้าไม่ใช่อาคารทางศาสนาก็เป็นพระราชมณเฑียรเพื่อทรงใช้งานในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง

ไม่น่าจะเป็นโรงหัดทหาร
แต่อาจจะเป็นพลับพลาโถง ที่ปรากฏในคำบรรยายแต่ไม่ปรากฎในแผนผัง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ธ.ค. 10, 07:26
ดูแผนผัง บริเวณภายในกำแพงพระบวรราชวังส่วนนอกพระราชฐาน และคำบรรยายที่แสดงว่ามีอาคารที่เรียกว่าพลับพลาโถง


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ธ.ค. 10, 08:15
ผมก็นึกออกว่า รูปภาพที่นำมาลงเทียบกับแผนที่วังหน้านั้น ต่าง พ.ศ. กัน โดยภาพถ่ายมุมสูงถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2408 และแผนที่วังหน้าสำรวจไว้เมื่อ พ.ศ. 2430 ระยะเวลาห่างกัน 22 ปี ดังนั้นในภาพถ่ายจึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งผู้ครองวังหน้าคือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

สำหรับอาคารหลังพลับพลาสูง ผมเห็น "โรงช้าง" ซึ่งก่อสร้างด้วยตึกครับ ไม่ใช่อาคารฝาไม้กระดาน ถัดจากโรงช้างมาด้านหน้าติดกัน เป็นอาคารเล็กกว่า ทรงไตรมุข (รูปตัว T) และต่อมาค่อยเป็นอาคารขนาดใหญ่ (เบอร์ 2) ที่อาจารย์สงสัยครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ธ.ค. 10, 08:24
โอโห ทำสีแจ่มแจ๋วเชียว

ครับ อาคารต่างๆและพระราชฐานในพระบวรราชวังหลังจากสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จสวรรคตแล้ว คงมีแต่รื้อลง มิได้สร้างขึ้นใหม่อย่างเลิศเพราะพระบารมีของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมิได้เทียมเท่าพระราชบิดา สิ้นพระองค์แล้ววังหน้าส่วนนี้ถูกรื้อลงเป็นสนามหลวง เปลี่ยนโฉมพื้นที่สีเขียวของพระนครให้ดูปลอดโปร่งและสง่างามขึ้นมาก

อาคารสมัยโน้น อายุใช้งานสักสิบยี่สิบปีก็ทรุดโทรม ต้องซ่อมบำรุงกันยกใหญ่ บางทีก็ไม่คุ้ม รื้อลงสร้างใหม่เลยดีกว่า
กลุ่มพระราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวังก็ถูกรื้อลงในรัชสมัยของรัชกาลที่๕เสียส่วนหนึ่ง เพื่อสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ๆขึ้นมาแทนเหมือนกัน


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ธ.ค. 10, 08:49
อาจารย์ NAVARAT.C เคยอ่านเรื่อง "ไฟไหม้วังหลวง" ไหมครับ เกิดขึ้นในสมัยพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นวิกฤตวังหน้าที่เป็นคำตอบอยู่เพียงเสี้ยวถึงเหตุการณ์ยุบวังหน้า

ผมลองจัดสิ่งก่อสร้าง ถูกผิดประการใดก็ชี้แนะด้วยครับ ผมดูแล้วอาคาร ทั้งสองหลังอยู่เขตพระราชฐานชั้นนอก ด้วยระหว่างจะมีถนนหรือคูน้ำพร้อมต้นไม้ใหญ่เป็นแนวแบ่งเขตครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ธ.ค. 10, 09:13
รูปที่แสดงข้างบนนี้ มีความเป็นไปได้สูงมาก

เรื่องเหตุการณ์ไฟไหม้วังหลวงต่อมาถึงวิกฤตวังหน้า ผมเคยอ่านครับ แต่จำไม่ได้ว่าได้มีการอ้างถึงอาคารกลุ่มนี้ในรายละเอียดอย่างไร เพียงแต่จำแบบรวบยอดว่ามีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวังหน้า ซึ่งรวมถึงการยุบกรมทหารในส่วนนี้ อาจจะหมายรวมถึงการรื้ออาคารต่างๆลงด้วย แม้ก่อนที่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจะสิ้นพระชนม์

หลังสถาปนาสยามมกุฏราชกุมารแล้ว วังหน้าส่วนนี้ถูกรื้อกลายเป็นสนามหลวงดังกล่าวมาแล้ว

ถ้าคุณหนุ่มมีข้อความใดต่างกับที่ผมว่ามานี้ กรุณานำมาลงด้วยครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ธ.ค. 10, 09:15
ส่วนตึกหน้ากำแพงวังหน้าวัดมหาธาตุ ดูเหมือนเขาจะเรียกตึกลักษณะนี้ว่าตึกดิน
ใช้ประโยชน์ต่างๆกัน ผมไม่ทราบว่าที่อยู่ด้านตะวันออกของพระบรมมหาราชวังนี้(ตรงกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน)ใช้เป็นอะไร แต่ดูรูปลักษณะจะเหมือนกับตึกที่คุณหนุ่มตั้งปุจฉาว่าอาจจะเป็นฉางข้าวสำหรับพระนคร

ผมไม่มีอะไรจะค้านหรอกครับ แต่สงสัยว่าถ้าเป็นคลังเก็บอะไรก็ตาม น่าจะอยู่ในรั้วรอบขอบชิดพอสมควร เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้น่ะครับ มันโล่งๆก็โจรกรรมง่าย วินาศกรรมก็ง่าย

ถ้าทราบว่าตึกดินข้างกำแพงวังหลวงเป็นอะไร ตึกดินข้างกำแพงวังหน้าก็น่าจะใช้งานอย่างนั้น


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ธ.ค. 10, 10:22
ส่วนตึกหน้ากำแพงวังหน้าวัดมหาธาตุ ดูเหมือนเขาจะเรียกตึกลักษณะนี้ว่าตึกดิน
ใช้ประโยชน์ต่างๆกัน ผมไม่ทราบว่าที่อยู่ด้านตะวันออกของพระบรมมหาราชวังนี้(ตรงกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน)ใช้เป็นอะไร แต่ดูรูปลักษณะจะเหมือนกับตึกที่คุณหนุ่มตั้งปุจฉาว่าอาจจะเป็นฉางข้าวสำหรับพระนคร

ผมไม่มีอะไรจะค้านหรอกครับ แต่สงสัยว่าถ้าเป็นคลังเก็บอะไรก็ตาม น่าจะอยู่ในรั้วรอบขอบชิดพอสมควร เพื่อกันไว้ดีกว่าแก้น่ะครับ มันโล่งๆก็โจรกรรมง่าย วินาศกรรมก็ง่าย

ถ้าทราบว่าตึกดินข้างกำแพงวังหลวงเป็นอะไร ตึกดินข้างกำแพงวังหน้าก็น่าจะใช้งานอย่างนั้น


กลุ่มอาคารขวามือของพระบรมมหาราชวัง อยู่ตรงข้ามพระที่นั่งไชยชุมพล เหนือท้องสนามจักรวรรดิ์ หรือ ท้องสนามไชย ที่ปักเสานางเรียงเอาไว้ ซึ่งรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯสร้าง โรงม้าแซง ๒ ข้าง โรงโขน อยู่กลาง ตรงน่าพระที่นั่งไชยชุมพลครับ

ตึกลักษณะแบบนี้มีช่องแสงด้านบนเจาะเป็นช่องๆ มีหน้าต่างน้อยมาก เป็นการก่อสร้างที่รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบตะวันตก ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วครับ และเรื่อยมาจนถึงยุคอาณานิคม เป็นคล้ายๆอาคารโกดัง ครับ


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ธ.ค. 10, 10:36
นี่ก็เป็ฯอีกภาพหนึ่ง ซึ่งถ่ายไว้ต่างเวลากัน สังเกตุว่า อาคารตรงกลางเปลี่ยไปแล้ว


กระทู้: สนามหลวงสมัยก่อน
เริ่มกระทู้โดย: lalulalalulalala ที่ 26 ธ.ค. 10, 03:37
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3175.0;attach=8332;image)

ภาพตรงลายเซ็นต์สวยมากเลยค่ะ  ;D