เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: LOFT ที่ 30 มี.ค. 11, 00:52



กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: LOFT ที่ 30 มี.ค. 11, 00:52
ไม่รู้เรียกถูกหรือเปล่า แต่ดูจากเอกสารเก่าตามในรูปแล้ว วันเดือนปี แบบนี้เราจะอ่านอย่างไร และมีหลักการเขียนได้อย่างไรครับอย่าง ข้างขึ้น ข้างแรม จะดูอย่างไร รบกวนด้วยครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 30 มี.ค. 11, 07:45
อ่านว่า  วันพุธ  เดือนอ้าย  ขึ้น ๒ ค่ำ  ปีมะเส็ง  ตรีศก  จุลศักราช  ๑๒๙๓
วันพฤหัสบดี  เดือนอ้าย  ขึ้น ๓ ค่ำ  ปีมะเส็ง  ตรีศก  จุลศักราช  ๑๒๙๓
วันศุกร์  เดือนอ้าย  ขึ้น ๔ ค่ำ  ปีมะเส็ง  ตรีศก  จุลศักราช  ๑๒๙๓

หลักการอ่าน  เริ่มที่ตัวเลขตัวแรก ซึ่งแทนวันอาทิตย์ - วันเสาร์ 
๑ = วันอาทิตย์  ๒ = วันจันทร์ ๓ =  วันอังคาร = ๓  .....  วันเสาร์ = ๗

ตัวเลขถัดมาคือ  ตัวเลขถัดจากเครื่องหมาย ฯ  เป็นตัวเลขแทนเดือน
๑ = เดือนอ้าย  ๒ = เดือนยี่  ๓ = เดือน ๓ .......  ๑๒ = ดกือน ๑๒
แต่บางปีที่เป็นอธิกมาศ  ที่มีเดือนซ้ำกัน ๒ หน เช่นเดือน ๘ สองหน  ก็จะแทนค่าด้วย เลข ๘๘

คำอ่านค่ำที่สาม เป็นตัวเลขหมายข้างขึ้น ข้างแรม  ตัวเลขที่อยู่เหนือ ฯ อ่านว่า ข้างขึ้น  ตัวเลขใต้ ฯ อ่านว่าข้างแรม
ข้อสังเกต  วันข้างแรมเดือนคี่  คือ เดือนอ้าย  เดือนสาม  เดือนห้า ...  เดือนสิบเอ็ด  จะมเพียง ๑๔ วัน  ไม่มีแรม ๑๕ ค่ำ

ถัดมาคือ ปีนักษัตร  ชวด  ฉลู  ขาล  เถาะ......

ถัดมาเป็นตัวหนังสือกำกับศก เพื่อป้องกันความสับสนในการอ้างปีนักษัตร  ตัวเลขกำกับศกนี้จะตรงกับเลขตัวสุดท้ายในปีจุลศักราช  เช่น จุลศักราช ๑๒๔๓  ตรงกับปัมะโรง  มีตัวเลขสุดท้ายของปีจุลศักราชเป็นเลข ๓ เวลาเขียนก็จะใช้ว่า ปีมะโรง  ตรีศก  จุลศักราช ๑๒๔๓  ถ้าเป็นปีมะเส็ง  จุลศักราช ๑๒๔๔  ก็จะเขียนว่า ปีมะเส็ง  จัตวาศก  จุลศักราช ๑๒๔๔

หลักการเขียนศกกำกับปีนั้น คือ  ปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข
๐  เขียนว่า  สัมฤทธิศก
๑  เขียนว่า  เอกศก
๒  เขียนว่า  โทศก
๓  เขียนว่า  ตรีศก
๔  เขียนว่า  จัตวาศก
๕  เขียนว่า  เบญจศก
๖  เขียนว่า  ฉศฏ  (อ่าว่า ฉอ ศก)
๗  เขียนว่า  สัปตศก
๘  เขียนว่า  อัฐศก
๙  เขียนว่า  นพศก



กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 30 มี.ค. 11, 09:20
เรียนถามนะคะ  ;D

๑ = เดือนอ้าย  ๒ = เดือนยี่  ๓ = เดือน ๓...
ตรงกับเดือนในปัจจุบัน คือ ๑ = เดือนมกราคม ๒ = เดือนกุมภาพันธ์ ...หรือไม่คะ
แล้วปีที่เป็นอธิกมาศ มีเดือน ๘ สองหน จะให้ชื่อว่าเป็นเดือนสิงหาคม ซ้ำกัน ๒ เดือน เหรอคะ  ???


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 มี.ค. 11, 09:28
เรียนถามนะคะ  ;D

๑ = เดือนอ้าย  ๒ = เดือนยี่  ๓ = เดือน ๓...
ตรงกับเดือนในปัจจุบัน คือ ๑ = เดือนมกราคม ๒ = เดือนกุมภาพันธ์ ...หรือไม่คะ
แล้วปีที่เป็นอธิกมาศ มีเดือน ๘ สองหน จะให้ชื่อว่าเป็นเดือนสิงหาคม ซ้ำกัน ๒ เดือน เหรอคะ  ???

เดือนอ้ายนั้น ไม่ตรงกับเดือนมกราคมหรอกครับ
ปกติจะเริ่มประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม แล้วแต่ปี ไม่ตรงกันเสมอไป

ตัวอย่างก็เช่นวันลอยกระทง
ที่เราพูดกันว่า "วันเพ็ญเดือน 12" ก็ไม่เห็นจะเป็นเดือนธันวาคม แต่กลับกลายเป็นกลางเดือนพฤศจิกายนไปซะนี่

วันทางจันทรคติ กับสุริยคติ ทับลายกันอยู่เสมอๆ ;D

ส่วนอธิกมาศนั้น ปกติถ้าใช้กันเป็นวันทางจันทรคติแล้ว ก็นิยมเขียนเดือนเป็นตัวเลขมากกว่า
คือ เดือน 8-8 จึงไม่ค่อยมีปัญหาว่าเทียบกับสุริยคติแล้ว จะเขียนชื่อเดือน 8 อย่างไร
จึงไม่มี "เดือนสิงหาคม 2 หน" อย่างที่คุณดีดีสงสัยครับ ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 มี.ค. 11, 09:38
เดือนอ้ายนั้น ไม่ตรงกับเดือนมกราคมหรอกครับ
ปกติจะเริ่มประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม แล้วแต่ปี ไม่ตรงกันเสมอไป

ตามปฏิทินจันทรคติไทย เดือน ๑ หรือเดือนอ้ายมักเริ่มในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม มี ๒๙ วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ ถึงแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑ มีช่วงเวลาดังนี้

๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๑ - ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99_1)

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 มี.ค. 11, 10:37
อีกอย่างนะครับ ;D

โบราณท่านเรียกเดือนแปดแรกว่า "เดือนแปดบูรพาษาฒ"
     ส่วนเดือนแปดหลังนั้นเรียกว่า "เดือนแปดทุติยาสาฬห"


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 30 มี.ค. 11, 11:09
ส่วนเดือนแปดหลังนั้นเรียกว่า "เดือนแปดทุติยาสาฬห"  เรียนถามคุณ art47 ว่าอ่านแบบนี้อยู่ในหนังสืออะไรครับ (อยากจะเก็บข้อมูลครับ)

เพราะที่เคยเจอมีหลายแบบ แต่ถ้าแบบของ คุณหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) ท่านจะต้องอ่านว่า " เดือนแปด อุตราสาฬห " ตามชื่อฤกษ์ ทั้ง

27 ดาวฤกษ์ครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 30 มี.ค. 11, 11:12
     คุณ DD กำลังสับสนน่ะครับ   คติไทย ไม่มีการเรียกชื่อเดือน มกราคม-ธันวาคม นะครับ นั่นเป็นของสากลเขาที่เรานำมาใช้ต่างหาก
     ระบบสุริยคติคำนวณจาก ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก 1 ปี กินเวลา 365.25875 วัน  แต่ระบบจันทรคติคำนวณจาก ดวงจันทร์โคจร
รอบโลก 1 ปี (12 เดือน) กินเวลา 354.367056 วัน  ปีหนึ่งจึงต่างกัน 10 วันเศษ  ดังนั้นเมื่อครบ 30 วัน (ราว 3 ปี) จึงเพิ่มเดือน 8
เข้าไป  ปีนั้นจึงมีเดือน 8 สองหน เป็นปี "อธิกมาส" (มี 13 เดือนทางจันทรคติ) เดือน 8 แรก จะแทนด้วยเลข 8 ตัวเดียว  ส่วนเดือน 8
หลังจะแทนด้วยเลข 8 ซ้อนกัน หรือ 8-8 หรือ 88


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 30 มี.ค. 11, 11:23
บุรพ (สันสกฤต) บุพพ (บาลี) แปลว่า ก่อน, แรก
อาษาฒ (สันสกฤต) อาสาฬห (บาลี) คือ เดือนแปด  (ตามชื่อฤกษ์)

 บุรพาษาฒ (สันสกฤต) บุพพาสาฬห (บาลี) คือ เดือนแปด (อาสาฬห) แรก (บุพพ)


ทุติย แปลว่า ที่สอง

ทุติยาสาฬห แปลว่า เดือนแปด (อาสาฬห) หน (ครั้งที่) สอง (ทุติย)


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 มี.ค. 11, 11:24
ร่วมด้วยช่วยอธิบาย

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกครั้งหนึ่งใช้เวลา ๒๙ วันครึ่ง ดังนั้นจึงต้องนับ ๕๙ วัน เป็นสองเดือน คือให้นับเดือนคี่มี ๒๙ วัน และเดือนคู่มี ๓๐ วัน (เดือนคี่ บางทีเรียกว่าเดือนขาด ได้แก่เดือน ๑, ๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑ ส่วนเดือนคู่หรือเดือนเต็ม ได้แก่เดือน ๒, ๔, ๖, ๘, ๑๐, ๑๒ ) โดยระบบนี้เดือนคี่จึงเป็นเดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับกันจนครบรอบ (๑๒ เดือน) แล้วเริ่มต้นใหม่ เมื่อนับวันกันจริง ๆ ปีจันทรคติ จึงมีเพียง ๓๕๔ วัน ซึ่งมีการเพิ่มวัน เรียกว่า อธิกวาร ดังนันปีจันทรคติปรกติมี ๓๕๔ วัน ปีมีอธิกวาร มี ๓๕๕ วัน อธิกวาร คือวันเพิ่มในเดือน ๗ อีก ๑ วัน มีแรม ๑๕ ค่ำ หรือข้างแรม ๑๕ วัน จึงเป็นเดือนเต็ม (มี ๓๐ วัน) จัดเป็นเดือนพิเศษ  ถ้าเป็นปีอธิกมาศ จะมี ๓๘๔  อธิกมาส คือ เดือนเพิ่ม หมายถึงการมีเดือนเพิ่มอีก ๑ เดือน ในปีนั้น ๆ (อธิกมาส) จึงมีเดือน ๑๓ กล่าวคือ เมื่อถึงแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แล้วจะมีเดือน ๘ อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่าเดือน ๘ สอง ๘ (เดือน ๘ สองเดือน ๘ หน้า ๘ หลัง)

เหตุที่เกิดอธิกวาร (วันเพิ่ม) และอธิกมาส (เดือนเพิ่ม) เนื่องจากในจันทรคติ ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนก็จริง แต่มีจำนวนวัน ๓๕๔ วัน  แม้ดวงจันทร์โคจรรอบโลกแล้ว ๑๒ ครั้ง คือ ๑๒ เดือน แต่โลกยังไม่ได้โคจรไปรอบปริมณฑลองศาของดวงอาทิตย์ครบ ๑๒ ราศี หรือ ๓๖๐ องศา ถ้าเทียบกับปีสุริยคติปรกติ ซี่งมี ๓๖๕ วัน  ปีจันทรคติปรกติจะมีวันน้อยกว่าปีสุริยคติถึงปีละ ๑๑วัน ภายในเวลาสามปีเวลาจะเหลื่อมกันถึงหนึ่งเดือนกว่า อันเป็นสาเหตุให้ฤดูกาลต่าง ๆ ไม่อยู่ในกำหนดเวลาที่เป็นจริง เช่น เดือน ๕ (เมษายน) เป็นเดือนร้อนจัด ถ้าปล่อยให้เหลื่อมเวลาต่อไปเรื่อย ๆ  หน้าร้อนอาจตรงกับเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม ฯลฯ ก็ได้ ดังนั้นเพื่อรักษาสภาพธรรมดาโลก ให้ปีเดือนทางจันทรคติทันกับสุริยคติจึงต้องเพิ่มเดือนคือเดือน ๘ ขึ้นอีกหนึ่งเดือน ในปีที่ ๒ บ้างที่ ๓ บ้าง ในปีที่เพิ่มจึงมี ๑๓ เดือน เรียกตามศัพท์ว่า อธิกมาส ในปฏิทินเขียนเดือนแปดที่เพิ่มมาเป็น ๘ ๘ หรือ 8 8 หรือ อาจจะเขียน ๘,๘ หรือ 8.8

เดือนในจันทรคติมีสองช่วงหรือ ๒ ปักษ์ (ช่วง หรือปักษ์ละ ๑๕ วัน) คือข้างขึ้นและข้างแรม  

ข้างขึ้น   เรียกตามศัพท์ว่า ชุณหปักษ์ หรือชุษณปักษ์ หรือศุกลปักษ์ เป็นต้น เดือนหนึ่งมี ๑๕ วัน ใช้ตัวย่อว่า ข.

ข้างแรม เรียกตามศัพท์ กาฬปักษ์นับเป็นปลายเดือนใช้ตัวย่อว่า ร. ข้างแรมนี้มีข้อสังเกตคือ ถ้าเป็นเดือนคู่ จะมี ๑๕ วัน (มีถึงแรม ๑๕ ค่ำ) แต่ถ้าเป็นเดือนคี่จะมีเพียง ๑๔ วัน (มีเพียงถึงแรม ๑๔ ค่ำ) เท่านั้นด้วยเหตุนี้เดือนคี่จึงมักเรียกกันว่า เดือนขาดเป็นการบอกให้รู้ในตัวว่า ข้างแรมมีเพียง ๑๔ วัน   นอกจากเดือน ๗ ที่เป็นอธิกวารจึงมีแรม ๑๕ ค่ำ

ที่มา :  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 มี.ค. 11, 11:28
ส่วนเดือนแปดหลังนั้นเรียกว่า "เดือนแปดทุติยาสาฬห"  เรียนถามคุณ art47 ว่าอ่านแบบนี้อยู่ในหนังสืออะไรครับ (อยากจะเก็บข้อมูลครับ)

เพราะที่เคยเจอมีหลายแบบ แต่ถ้าแบบของ คุณหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) ท่านจะต้องอ่านว่า " เดือนแปด อุตราสาฬห " ตามชื่อฤกษ์ ทั้ง

27 ดาวฤกษ์ครับ

คำว่า "ทุติยาสาฬหะ" นี้
มีอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานครับ
มาจากคำภาษามคธว่า ทุตย + อาสาฬหะ

พบได้ในเอกสารโบราณ เช่น
จดหมายเหตุเมืองถลางและหัวเมืองปักษ์ใต้ สมัยกรุงธนบุรี เรื่องกปิตันมังกูขายปืน (ต้นฉบับของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต)
"กฎหมายให้ไว้ ณ วันศุกร์ เดือนแปด ทุตวิยลาด ขึ้นเจ็ดค่ำ ปีระกา นพศก"


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 30 มี.ค. 11, 11:30
การเรียกชื่อเดือนมีอีกวิธีหนึ่งคือโดยเรียกตามตำแหน่งดวงจันทร์ กับกลุ่มดาวฤกษ์ ๑๒ กลุ่ม  คือ พระจันทร์เต็มดวง ณ ตำแหน่งกลุ่มดาวใด ก็จะนำชื่อกลุ่มดาวนั้นมาเป็นชื่อเดือน(คำว่า "มาส" แปลว่า เดือน)

เดือนอ้าย เรียก มิคสิรมาส มิคสิระมาส มิคเศียรมาส มฤคศิรมาส มฤคศิรษมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๕ คือ มฤคศิระ มฤคศีรษะ หรือ มิคสิระ (ดาวหัวเนื้อ)

เดือนยี่ เรียกว่าบุษยมาส ปุสสะมาส ปุษยมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๘ คือ บุษยะ ปุสสะ หรือปุษยะ หรือสิธยะ (ดาวปุยฝ้ายหรือดาวสมอสำเภา)

เดือนสาม เรียก มาฆะ (ดาวแข้งม้า ดาวถัง ดาวงอนไถ หรือดาวงูผู้)

เดือนสี่  เรียก ผัคคุณมาส ผัคคุณะมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๑ – ๑๒ คือ ผัคคุณี เรียกเต็ม ๆ ว่า บุรพผลคุณี (ดาวงูเมีย) และอุตรผลคุณี (ดาวเพดาน)

เดือนห้า เรียกว่า จิตมาส, จิตตมาส, จิตตะมาส หรือจิตรมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๔ คือ จิตตะ หรือจิตรา (ดาวจระเข้ หรือดาวหมู)

เดือนหก เรียกว่า วิสาขมาส วิสาขะมาส ไพศาขมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๖ คือ วิศาขา (ดาวคันฉัตร ดาวเขากระบือ หรือดาวแขนนาง)

เดือนเจ็ด  เรียก เชษฐมาส เชฏฐมาส เชฏฐะมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑๘ คือ เชษฐา, เชฏฐา (ดาวแพะหรือดาวช้างใหญ่)

เดือนแปด  เรียก อาษาฒมาส หรืออาสาฬหมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๒๐ – ๒๑ คืออาษาฒะหรืออาสาฬหะ เรียกเต็มอีกแบบหนึ่งว่า บุรพาษาฒและอุตราษาฒ (ดาวสัปคับช้าง ดาวแตรงอนหรือดาวแรด)

เดือนเก้า เรียก สาวนมาส หรือ ศราวณมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๒๒ คือ สาวนะ หรือ ศราวะณะ (ดาวหลักชัยหรือดาวคนฟังธรรมจำศีล)

เดือนสิบ  เรียกภัทรบทมาส ภัททปะทะมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๒๕-๒๖ คือภัทรปทา หรือภัทรบท (ดาวราชสีห์)

เดือนสิบเอ็ด เรียก อัสสยุชะมาส อัสยุชมาส อัศวยุชมาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๑ คือ อัสสยุชะ อัสวนี หรืออัสวยุช (ดาวม้า)

เดือนสิบสอง  เรียก กิตติกะมาส กัตติกมาส กัตติกามาส หรือ กฤติกามาส พระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์ที่ ๓ กัตติกา กฤตติกา หรือ กฤติกา (ดาวลูกไก่หรือดาวธงสามเหลี่ยม)


ที่มา :  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

http://www.culture.go.th/knowledge/story/vid/newyear/vid.html


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 30 มี.ค. 11, 12:16
ขอบพระคุณค่ะ สำหรับทุกคำตอบ...
เข้าใจมากขึ้นค่ะ แต่ยังมีงงอยู่บ้าง คงต้องใชเเวลาทำความเข้าใจอีกนานเลยค่ะ...;D


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 30 มี.ค. 11, 13:09
ขอบคุณๆ art47 และ คุณ Bhanumet   :) ครับ แถมได้ความรู้ใหม่จากโหรสายใต้ ซึ่งหาตำรายากมากกกก ครับ ขนาดให้คนที่อยู่ทางใต้หาเองยัง

ยาก

ขออนุญาติเสริมท่านอาจารย์เพ็ญชมภูหน่อยนะครับ  ดาวฤกษ์ไทยมี 27 กลุ่มดาวฤกษ์ไทยเราใช้นับแบบเป็นช่วงหรือคาบ ทำให้มีแค่ 27 กลุ่ม ส่วน

ของจีนมี 28 กลุ่ม นับที่กลุ่มดาวครับ  ส่วนที่ท่านอาจารย์เพ็ญชมภู บอกว่ามี 12 กลุ่มดาวเพราะท่านนับจากดาวจันทร์ครบรอบ 1 เดือนคือตั้งแต่ขึ้น ๑

ค่ำ ถึงแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำตามแต่ละเดือน

ของไทยมีเดือนซ้ำกันแค่เดือน ๘ เดือนเดียวส่วนของจีนนั้นแล้วแต่ปีว่าจะซ้ำกันเดือนใดก็อยู่ที่การคำนวณครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: Bhanumet ที่ 30 มี.ค. 11, 13:59
บุรพ (สันสกฤต) บุพพ (บาลี) แปลว่า ก่อน, แรก
อาษาฒ (สันสกฤต) อาสาฬห (บาลี) คือ เดือนแปด  (ตามชื่อฤกษ์)

 บุรพาษาฒ (สันสกฤต) บุพพาสาฬห (บาลี) คือ เดือนแปด (อาสาฬห) แรก (บุพพ)


ทุติย แปลว่า ที่สอง

ทุติยาสาฬห แปลว่า เดือนแปด (อาสาฬห) หน (ครั้งที่) สอง (ทุติย)

ขอแก้ศัพท์เล็กน้อยครับ แหะ ๆ

บูรพ, ปูรพ (ปูรฺว) - สันสกฤต ไม่ใช่ บุรพ (แต่ไทยแผลงมาใช้ บุรพ)
ส่วนบาลี ถูกต้องแล้ว คือ บุพพ (ปุพฺพ)



กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 30 มี.ค. 11, 15:45
     ได้อ่าน คคห. 11 ของ อ. เพ็ญชมพู ที่บอกว่า "การเรียกชื่อเดือนมีอีกวิธีหนึ่งคือโดยเรียกตามตำแหน่งดวงจันทร์ กับกลุ่มดาวฤกษ์ ๑๒ กลุ่ม  คือ พระจันทร์เต็มดวง
ณ ตำแหน่งกลุ่มดาวใด ก็จะนำชื่อกลุ่มดาวนั้นมาเป็นชื่อเดือน" แล้วอาจจะมีหลายๆ ท่านงุนงงสงสัย  เพราะไม่คุ้นเคยหรือรู้จักชื่อเดือนเหล่านั้นเอาเสียเลย
     ชื่อเดือนต่างๆ ที่ อ. เพ็ญชมพู ยกขึ้นมาเป็นชื่อ เดือนของ กลุ่มดาว "นักษัตรฤกษ์"  โดยอาศัยดูจากดวงจันทร์ว่าเสวยฤกษ์ใดก็นำเอาชื่อของกลุ่มดาวนักษัตรฤกษ์นั้น
มาตั้งเป็นชื่อเดือน (ตั้งแต่เดือน ๑-๑๒)  กลุ่มดาวนักษัตรฤกษ์มีอยู่ทั้งหมด 27 กลุ่ม ครับ ไม่ใช่ 12 กลุ่ม

     ยังมีกลุ่มดาวอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกว่า กลุ่มดาว "นักษัตรบท" มีอยู่ทั้งหมด 12 กลุ่ม   
     เดือนใดที่เรามองจากโลกออกไปยังจักรวาล  และแลเห็นดวงอาทิตย์ (โลก) โคจรกระทบขอบวงของกลุ่มดาวนักษัตรบทใด  เราก็นำรูปร่างลักษณะของกลุ่มดาว
นักษัตรบทนั้นมาเรียกเป็นชื่อเดือน  (โหรแยกกลุ่มดาวนักษัตรบทนี้ออกเป็น 12 ราศีๆ ละ 30 องศา)  ซึ่งกลุ่มดาวนักษัตรบทประจำราศีมีดังนี้

     ๑. ราศีเมษ          รูป แกะ                                                ๗. ราศีตุลย์          รูป ตาชั่ง
     ๒. ราศีพฤษภ       รูป โคผู้                                                ๘. ราศีพิจิก           รูป แมงป่อง
     ๓. ราศีเมถุน        รูป คนคู่                                                ๙. ราศีธนู            รูป คันศร,  คนน้าวศร
     ๔. ราศีกรกฎ        รูป ปู                                                  ๑๐. ราศีมังกร         รูป มังกร
     ๕. ราศีสิงห์         รูป สิงโต                                               ๑๑. ราศีกุมภ์         รูป คนเทินหม้อน้ำ, หม้อน้ำ
     ๖. ราศีกันย์         รูป นางสาว                                            ๑๒. ราศีมีน           รูป ปลา

     


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 30 มี.ค. 11, 17:23
เรียนถามนะคะ  ;D

๑ = เดือนอ้าย  ๒ = เดือนยี่  ๓ = เดือน ๓...
ตรงกับเดือนในปัจจุบัน คือ ๑ = เดือนมกราคม ๒ = เดือนกุมภาพันธ์ ...หรือไม่คะ
แล้วปีที่เป็นอธิกมาศ มีเดือน ๘ สองหน จะให้ชื่อว่าเป็นเดือนสิงหาคม ซ้ำกัน ๒ เดือน เหรอคะ  ???

เรื่องการนับเดือนอ้าย  เดือนยี่  แบบไทยนั้นคงเป็นไปตามที่หลายท่านได้ช่วยกันอธิบายไว้ข้างต้น

ส่วนที่ตรงกับเดือนในปัจจุบัน คือ ๑ = เดือนมกราคม ๒ = เดือนกุมภาพันธ์ นั้นเป็นการนับโดยอนุโลมตามแบบการนับเดือนแบบสากล  ที่เราเริ่มใช้เดือนมกราคมเป็นเดือนที่ ๑ ของปีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔  แต่การนับเดือนแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ พร้อมกับการใช้รัตนโกสินทรศก  ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ร.ศ. ๑๑๐  ซึ่งเลิกใช้วันข้างขึ้นข้างแรมแบบเก่ามาใช้วันที่ตามแบบปฏิทินสากล  แต่ครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้วันที่  ๑  เมษายน  เป็นวันขึ้นปีใหม่  และได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อเดือนเป็นตัวเลขตามลำดับดังนี้
 
๑ = เมษายน
๒ = พฤษภาคม
๓ = มิถุนายน
๔ = กรกฎาคม
๕ = สิงหาคม
๖ = กันยายน
๗ = ตุลาคม
๘ = พฤศจิกายน
๙ = ธันวาคม
๑๐ = มกราคม
๑๑ = กุมภาพันธ์
๑๒ = มีนาคม

ถ้าอ่านเอกสารเก่าก่อน พ.ศ. ๒๔๘๔  แล้วพบตัวย่อชื่อเดือน  ต้องเข้าใจว่าเป็นลำดับเดือนตามที่ยกมาข้างต้น 
แต่ถ้าเป็นตัวย่อเดือนนับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา  ต้องเริ่ม ๑ = มกราคม  ๒ = กุมภาพันธ์  ไปตามลำดับจนถึง ๑๒ = ธันวาคม  เพราะปี พ.ศ. ๒๔๘๓ นั้นมีเพียง ๙ เดือน คือ มกราคม - ธันวาคม  พอถึงมกราคม  ก็เปลี่ยนเป็น พ.ศ. ๒๔๘๔ แล้ว

เรื่องการเปลี่ยนปีแบบเก่ากับแบบใหม่นี้  กำลังเป็นปัญหาสำคัญของการฉลอง ๑๐๐ ปีของหน่วยราชการหลายแห่ง  หากไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ แล้ว  การนับอายุจะผิดไปถึง ๑ ปีเต็มเลยทีเดียว  ตัวอย่างเช่น วันก่อนดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งอ้างว่า กรมศิลปากรจะมีอายุครบ ๑๐๐ ปีในวันที่  ๒๗  มีนาคม ๒๕๕๔  แต่เมื่อตรวจสอบจากประกาศพระบรมราชโองการซึ่งลงวันที่  ๒๗  มีนาคม  ร.ศ. ๑๓๐ ให้ยกงานโยธาจากจากกระทรวงโยธาธิการมารวมกับงานประณีตศิลป์  กระทรวงนครบาล  และงานพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ  มารวมจัดเป็นกรมศิลปากร  กระทรวงวังตั้งแต่วันที่  ๑  เมษายน  ร.ศ. ๑๓๑ เป็นต้นไป  หากนับกันอย่างปัจจุบัน  พระบรมราชโองการดังกล่าวจะออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๔  ในขณะที่กรมศิลปากรเพิ่งเริ่มจัดตั้งในวันที่  ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๕๕  แต่โดยข้อเท็จจริงนั้นพระบรมราชโองการออกมาก่อนที่จะจัดตั้งกระทรวงศึกษาธิการเพียง ๔ วันเท่านั้น   


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 30 มี.ค. 11, 17:51
     "เพราะปี พ.ศ. ๒๔๘๓ นั้นมีเพียง ๙ เดือน คือ มกราคม - ธันวาคม  พอถึงมกราคม  ก็เปลี่ยนเป็น พ.ศ. ๒๔๘๔ แล้ว"
     ผมแก้ไขข้อความข้างต้นแทนคุณ V_Mee ดังนี้นะครับ
     "เพราะปี พ.ศ. ๒๔๘๓ นั้นมีเพียง ๙ เดือน คือ เมษายน - ธันวาคม ดังนั้นเดือน มกราคม - มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงไม่มี"
     ขออภัยด้วยครับ.


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 30 มี.ค. 11, 18:37
     อ่านข้อความของคุณ V_Mee ย่อหน้าสุดท้ายแล้วอยากจะเสริมว่า   การอ่านเอกสารโบราณที่บ่งบอก วัน-เดือน-ปี เอาไว้ แล้วจะคำนวณกลับมาเป็น วัน-เดือน-ปี ของ
เวลาปัจจุบันเป็นงานสุดหินนะครับ  ไม่ใช่งานง่ายๆ
     นอกจาก พ.ศ. ๒๔๘๓ ที่มีอยู่แค่ ๙ เดือนแล้ว  ถ้าเอกสารนั้นเก่าแก่กว่า พ.ศ. ๒๑๒๕ เราจะต้องระวังอีกด้วยว่า เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๑๒๕ นั้นมีอยู่เพียง ๒๑ วันเท่านั้น
ปฏิทินสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกขณะนี้เป็นปฏิทินแบบเกรกอเรียน  ซึ่ง พระสันตะปาปา เกรกอรี่ ที่ ๑๓ ทรงคิดคำนวณขึ้นใช้แทนปฏิทินของ จูเลียส ซีซาร์ ดั้งเดิม ที่เรียกกันว่า
ปฏิทินแบบจูเลี่ยน   และเอกสารโบราณของเราก่อนกรุงรัตนโกสินทร์มาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นใช้การบันทึกแบบจันทรคติทั้งสิ้น  ต้องคำนวณกันถึงสามระดับทีเดียว  นอก
จากนี้ยังต้องตัดศักราชออกเสีย ๑ ก่อนเสมอ (ถ้าเอกสารนั้นบันทึกไว้ก่อนสมัย ร. ๕)  จะเห็นได้ว่างานนี้เปลืองสมองขนาดไหน  เรื่องเหล่านี้เคยทำให้บุคคลระดับอาจารย์เสีย
ฟอร์มมาแล้วครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 31 มี.ค. 11, 14:42
ที่ท่าน willyquiz เรียกว่า กลุ่มดาว "นักษัตรบท" นั้น คนละกลุ่มกับ กลุ่มดาวนักษัตร นะครับ กลุ่มดาวนักษัตร เราใช้เรียก สัญลักษณ์ของแต่ละปีไล่ตั้งแต่ชวดถึงกุน(หรือกุญชร:ฝ่ายเหนือ)

ส่วนนักษัตรบทนั้น ส่วนใหญ่ทางโหรท่านเรียก " นักษัตรฤกษ์" ครับ ดูจากดาวอาทิตย์ยกหรือย้ายราศีเข้าราศีอะไรก็เรียกตาม กลุ่มดาวราศีนั้นๆไป

ส่วนชื่อเดือนต่างๆนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ องค์ผู้ให้กำเนิดชื่อเดือนทั้ง ๑๒ เดือน ครับผม ทั้งยังทรงประปรีชา ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ เรียกว่า เทวะ

ประติทิน อีกด้วย  :)


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: LOFT ที่ 31 มี.ค. 11, 14:44
ขอบพระคุณทุกท่านมากเลยนะครับ ผมได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลยครับ และก็สนุกับการเขียนวันไทยๆ ด้วย ฮร่าๆๆๆ  ขอบคุณอีกครั้งนะครับ ทุกๆท่านเลย


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 มี.ค. 11, 15:14
ส่วนนักษัตรบทนั้น ส่วนใหญ่ทางโหรท่านเรียก " นักษัตรฤกษ์" ครับ ดูจากดาวอาทิตย์ยกหรือย้ายราศีเข้าราศีอะไรก็เรียกตาม กลุ่มดาวราศีนั้นๆไป

ส่วนชื่อเดือนต่างๆนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ องค์ผู้ให้กำเนิดชื่อเดือนทั้ง ๑๒ เดือน ครับผม ทั้งยังทรงประปรีชา ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ เรียกว่า เทวะ

ประติทิน อีกด้วย  :)

สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ กับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา โดยทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๔๒  พระนามเดิม ว่า "พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงษ"  ทรงสนพระทัยศึกษาเรียนรู้ค้นคว้าเกี่ยวกับปฏิิทิน และโหราศาสตร์มาตั้งแต่แรก เมื่อเสด็จไปราชการต่างประเทศในยุโรป พ.ศ. ๒๔๓๐ ทรงซื้อหนังสือที่เป็นตำราโหราศาสตร์ว่าด้วยสุริยุปราคาจากกรุง เบอร์ลินมา ๑ เล่ม ภายในเล่มนี้มีแผนที่ทางสุริยุปราคาอยู่เกือบเต็มทั้งเล่ม

การที่ทรงสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์นี้ อาจเป็นเพราะทรงได้รับอิทธิพลทางความคิดเกี่ยวกับโหราศาสตร์จาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นพระราชบิดา ความชำนาญเรื่องโหราศาสตร์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ จึงต้องเกี่ยวพันไปกับการตรวจตรา ตรวจสอบดูปฏิทินด้วย เพราะต้องเรียนรู้การคำนวณ วัน เดือน ปี โดยตรง เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับปฏิทินโดยตรง จึงทำให้เกิดที่มาของชื่อเดือน ดังที่กล่าวมา

คำว่า "ปฏิทิน" ที่เราใช้ในปัจจุบัน สามารถเขียนได้เป็น "ประติทิน" ภาษาสันสกฤต หรือ "ประฏิทิน" บาลีแผลง "ประดิทิน" หรือ "ประนินทิน" ก็ได้  การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๓๘๕ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ ขณะนั้นปฏิทินยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ" การนับ วัน เดือน ปี ถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก ต่อมาจึงมีวิธีนับวัน เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า "สุริยคติ ประเทศไทยประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แม้เราจะใช้ปฏิทินตามสุริยคติ แต่ทางจันทรคติเราก็ยังใช้ควบไปด้วย

ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับตั้งแต่เดือนอ้าย เดือนยี่...ถึง เดือนสิบสอง มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับวันและเดือนแบบสากล ขึ้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่ ๕ จากนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๒ เรียกว่า "เทวะประติทิน" ที่เป็นต้นแบบปฏิทินไทยในวันนี้

สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย ๑๒ ราศี ตามวิชาโหราศาสตร์มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง ๑๒ เดือน  ทั้งนี้ แบ่งเดือนที่มี ๓๐ วัน และเดือนที่มี ๓๑ วัน ให้ชัดเจน ด้วยการลงท้ายเดือนต่างกัน คือ คำว่า "ยน" และ "คม"  และเดือนที ๒๘ หรือ ๒๙ วัน ลงท้ายด้วย "พันธ์"

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานสร้างวังให้สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ บนที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า วังเทวะเวสม์ ทรงเป็นต้นราชสกุล เทวกุล   ทรงสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๑ ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. ๑๒๘๕ ตรงกับวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๖ พระชันษา ๖๖ ปี

ที่มา :  บทความเรื่อง "กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อเดือนของไทย โดย สุชาฎา ประพันธ์วงศ์


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 31 มี.ค. 11, 19:31
     อ่าน คคห.ที่ 19 ของคุณธีร์แล้วต้องกลับมาชี้แจงสักหน่อยเพราะแน่ใจแล้วว่าเรามากันคนละสาย
     "กลุ่มดาวนักษัตร เราใช้เรียก สัญลักษณ์ของแต่ละปีไล่ตั้งแต่ชวดถึงกุน(หรือกุญชร:ฝ่ายเหนือ)"  ที่คุณธีร์กล่าวถึงนี่เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมจริงๆ ไม่ทราบว่า
อ้างอิงจากตำราใด  ไฉนกลุ่มดาวนักษัตรจึงไปเกี่ยวข้องกับปีชวดถึงปีกุนได้?????
     กลุ่มดาวนักษัตร ถ้ากล่าวลอยๆ โดยไม่มีส่วนอื่นเกี่ยวข้อง คุณธีร์จะหมายถึงกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่มไหนครับ?   แต่สำหรับผมแล้วถ้าเอ่ยถึงกลุ่มดาวนักษัตรลอยๆ ผม
จะหมายถึงกลุ่มดาวนักษัตรฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่มทันที  ผมขออธิบายโดยใช้มโนภาพนิดหน่อยนะครับ
     ถ้าสมมติว่าเราจะแบ่งจักรวาลออกเป็นสามชั้นโดยให้เป็น ชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน   กลุ่มดาวฤกษ์ชั้นนอกซึ่งมีอยู่ 27 กลุ่ม ผมเรียกว่า กลุ่มดาวนักษัตรฤกษ์
ส่วนกลุ่มดาวฤกษ์ชั้นกลางซึ่งมีอยู่ 12 กลุ่ม ผมเรียกว่า กลุ่มดาวนักษัตรบท  และกลุ่มชั้นในสุดก็คือสุริยจักรวาลที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์บริวารทั้งปวง
(ขอให้คิดเป็นมโนภาพนะครับ ไม่ใช่ความเป็นจริงทางดาราศาสตร์)
     กลุ่มดาวฤกษ์ 27 กลุ่มที่ผมเรียกว่ากลุ่มดาวนักษัตรฤกษ์นั้น  กำหนดโดยอาศัยดวงจันทร์โคจรผ่าน เรียกว่าเสวยฤกษ์ ดังที่ อ.เพ็ญชมพูได้กล่าวไว้แล้ว
     ส่วนกลุ่มดาวนักษัตรบท 12 กลุ่ม กำหนดโดยอาศัยดวงอาทิตย์ (โลก) โคจรผ่าน  เมื่อโคจรผ่านกลุ่มดาวนักษัตรบทกลุ่มใด  ก็นำสัญญลักษณ์ของกลุ่มดาวนั้น
มาเรียกเป็นชื่อเดือนทางสุริยคติ  ง่ายๆ อย่างนี้แหละครับไม่ซับซ้อนอะไร จะเรียกว่าย้ายเข้าราศีอย่างคุณธีร์เรียกผมก็ไม่ขัดข้อง
     ที่คุณธีร์เรียก กลุ่มดาวนักษัตร เฉยๆ มันอึมครึมเกินไป  อย่างนี้เขาเรียกว่าแทงกั๊ก ออกด้านไหนก็ถูก  หรือจะบอกว่า กลุ่มดาวนักษัตร ใช้เรียกเฉพาะสัญญลักษณ์
ของปีชวด-ปีกุนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  อย่างนี้ใช่หรือไม่?
     จากข้อเขียนของคุณธีร์ผมพอจะเข้าใจว่าเรามากันคนละด้าน  แต่ผมยอมรับความแตกต่างเสมอ  ถ้าคุณธีร์จะไขให้กระจ่างผมก็ยินดีรับฟังครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 01 เม.ย. 11, 13:43
กลุ่มดาวนักษัตร ถ้ากล่าวลอยๆ โดยไม่มีส่วนอื่นเกี่ยวข้อง โดยปกติที่ศึกษาทั้งตามตำราเก่าสุดของ หลวงวิศาลดรุณกร(อั้น สาริกบุตร)ครับ จะยึดเล่มนี้

เป็นหลักและ โดยทั่วๆไปถ้าพูดถึงดาวนักษัตร ก็จะหมายถึงดาว 12 นักษัตร กันอยู่แล้วนี้ครับ  ??? ผิดหรือครับ แนะนำด้วยครับ

ถ้าจะพูดถึงนักษัตรฤกษ์ก็จะบอกแค่ลำดับที่ของฤกษ์และชื่อฤกษ์นั้นๆเลย

ส่วนคำว่า นักษัตรบท ผมก็พึ่งจะเคยได้ยินจากท่านนี้ละครับ ขนาดอ่านตำราเรียนอักษรไทยโบราณ ที่มีตัวอย่างหลักศิลาจารึกแล้วก็ยังไม่มีกล่าวไว้

ไม่ทราบว่า คำนี้มาจากสายไหนครับ ใคร่รู้เช่นเดียวกันครับ

รบกวนคุณ willyquiz  ด้วยครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 01 เม.ย. 11, 14:10
นักษัตร  ในภาษาไทย  มี ๒ ความหมาย
๑.กลุ่มดาวฤกษ์  ๒๗ กลุ่ม  ซึ่งใน ๒๗ กลุ่ม  จะมี ๑๒ กลุ่มดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นชื่อเดือนทางจันทรคติ

๒.ตัวสัตว์ที่เป็นเครื่องหมายในรอบ ๑๒ ปีตามคติการนับปีของไทย จีน เขมร และชนชาติบางกลุ่ม
ซึ่งล้วนใช้คตินับปีแบบรอบพฤหัสบดีจักร (๖๐ ปี)  เดิมคำนี้  เป็น ภาษาเขมรมาแต่โบราณว่า
อฺนกสตฺว  แปลว่า  ตัวสัตว์ ที่เป็นเครื่องหมายปีในรอบ ๑๒ ปี  ต่อมาคำคำนี้ กร่อนลงเป็น นักสัตว
และเพี้ยนไปซ้ำรูปกับ นักษัตร ในภาษาสันสกฤต (บาลี นักขัตต) และพลอยทำให้คนที่ไม่รู้สับสนไปด้วย
คำว่า นักสัตว นี้ มีใช้ในจารึกไทยสมัยสุโขทัย อยุธยาตอนต้น อยู่บ้างก่อนจะกลายมาใช้นักษัตรเหมือนกันหมด


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 01 เม.ย. 11, 19:43
     ขิงแก่ย่อมเผ็ดกว่าขิงอ่อน  คำอธิบายของคุณหลวงเล็ก ง่ายๆ สั้น กระชับ ผมแทบไม่ต้องเสริมอะไรอีกเลย  คุณธีร์กับผมกำลังคุยกันแบบ ไปไหนมาสามวาสองศอก
ทั้งวันก็ไม่เข้าใจกัน     ขณะที่ อ.เพ็ญชมพู (คคห. 11) กับผม (คคห. 15) กล่าวถึงกลุ่มดาวฤกษ์ ที่เรียกอีกอย่างว่า "กลุ่มดาวนักษัตร" ตามความหมายในข้อ ๑ ของ
คุณหลวงเล็ก    คุณธีร์ (คคห. 19) กลับกล่าวถึง ปีนักษัตร ตามความหมายข้อ ๒ ของคุณหลวงเล็ก โดยใช้คำว่า "กลุ่มดาวนักษัตร" อย่างนี้จะคุยกันไปได้ถึงไหนล่ะครับ
     ในความคิดเห็นล่าสุดของคุณธีร์เปลี่ยนมาใช้คำว่า "ดาวนักษัตร" ผมจึงมาถึงบางอ้อน่ะครับ  ผมกำลังกล่าวถึงเรื่อง "ราศีจักร" คุณธีร์กลับกล่าวถึงเรื่อง "ทักษา" แทรก
เข้ามา ผมก็เลยสับสนไปหน่อย  ขออภัยครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 02 เม.ย. 11, 14:05
 ??? ??? ???  ผมพูดถึง ทักษา ตั้งแต่เมื่อไรหรือครับ งง ครับ ถ้าพูดเรื่องฤกษ์ ก็คือเรื่องของฟ้า
  ไม่กล่าวเรื่องดินครับ ผมไม่ได้พูดถึงดินเลยนะครับ ::)
ที่คุณ luanglek กล่าวนั้น ผมก็เข้าใจเหมือนที่คุณ luanglek กล่าวครับ  กลุ่มดาวฤกษ์  ๒๗ กลุ่ม  ซึ่งใน ๒๗ กลุ่ม  จะมี ๑๒ กลุ่มดาวฤกษ์ที่ใช้เป็นชื่อ

เดือนทางจันทรคติ นั้นไม่มีคำว่า เมษ พฤษภ ฯ แน่ๆครับ  ถ้ากล่าวว่า ๑๒ กลุ่มดาวที่ใช้เป็นชื่อเดือนทางจันทรคตินั้น ท่านกำหนดมี จิตรมาศ มาฆะมาส

เป็นต้นครับ

แต่ที่คุณ willyquiz  กล่าวถึง นักษัตรบท นั้น คือ ผมไม่เคยได้ยินถามท่านที่น้องๆเจ้ากรมตำราก็ไม่เคยได้ยิน

ที่ท่านกล่าวว่านั้น ท่านบอกว่า นักษัตรบทคือ ฤกษ์ชั้นกลางโดยสมมุติ ที่ผ่านฤกษ์ที่ 12 โหรไทยเล่มไหนเรียก ดาว ๑ เข้าราศีแล้วเรียกว่าฤกษ์ มีแต่

จันทร์ผ่านราศีแล้วเรียกฤกษ์ครับ คำว่าฤกษ์ที่ศึกษามาเขาใช้กับดวงจันทร์ครับ แม้แต่การให้ฤกษ์ปัจจุบันโหรบางท่านยังให้แบบ ครูโหรยัง งง

อีกอย่างดาว ๑ ผ่านเข้ากลุ่มดาว เป็นคติของ สุริยคติ มาทางลาตินครับ ถึงจะเรียก เมษ พฤษภ มิถุน ฯ ถ้าของไทยใช้ทางจันทรคติใช้ จิตรมาส วิสาข

มาส ฯ  ที่สงสัยเพราะไม่เคยผ่านตาแม้จากหนังสือ โลกธาตุ หรือสมุดข่อย หรือจากหนังสือพระราชทานเพลิงพระศพกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาท ครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 02 เม.ย. 11, 16:29
     ผมนึกว่าเรื่องนี้จะยุติแล้วเสียอีก  ผมก็ขออภัยในความเข้าใจผิดของผมไปแล้ว   ผมขอให้คุณธีร์กรุณากลับไปอ่านข้อความต่างๆ ที่ได้ลงไว้อย่างช้าๆ ก็คงจะเข้าใจ
หลังจากการอธิบายครั้งนี้  ผมจะไม่โต้ตอบอะไรอีกแล้ว
     ถ้าผมจะบอกคุณธีร์ว่า ถึงแม้ผมจะมีความสามารถไม่ทัดเทียมแม้สักฝุ่นธุลีของ อ. ทองเจือ อ่างแก้ว ก็ตาม แต่ผมก็สามารถคำนวณหาวัน เวลา ของวันมหาสงกรานต์
ได้  โดยคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะยกขึ้นสู่ราศีเมษในวันเวลาใด  คุณธีร์พอจะมองอะไรออกไหม  หรือลดลงมาอีก  ถ้าผมจะบอกว่าผมสามารถผูกดวงชะตาแบบอินทภาส-
บาทจันทร์ หรือจะเรียกว่า "ดวงพิชัยสงคราม" ได้ คุณธีร์พอมองเห็นภาพไหม  ถ้าคุณธีร์อยู่ในแวดวงโหราศาสตร์จะรู้ทันทีว่าผมหมายถึงอะไร  แต่ถ้าคุณธีร์ยังไม่รู้ผมก็
ป่วยการที่จะอธิบายต่อไปอีก
     ผมมิได้มีเจตนาที่จะยกตนข่มท่านแต่อย่างใด  แต่ความหมายของผมก็คือ ผมรู้พื้นฐานเบื้องต้นของดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ดีครับ  รู้ทั้งจากการอ่านและปฏิบัติ
ด้วยตนเอง  ผมไม่ได้อ่านเฉยๆ อย่างเดียว  ขณะที่คุณธีร์กำลังโพสท์ข้อความอยู่ที่กระทู้นี้  ผมก็กำลังโพสท์ข้อความอยู่อีกกระทู้หนึ่ง แต่เราส่งกระทู้เวลาเดียวกัน  ถ้า
คุณธีร์ไม่รังเกียจ  ลองเจียดเวลาเข้าไปอ่านบ้างก็ได้ 
     ถ้าผมทำหรือเขียนอะไรที่ทำให้คุณธีร์ขุ่นเคืองใจ  ผมขออภัยไว้ในที่นี้อีกครั้งครับ


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: nakor ที่ 03 เม.ย. 11, 08:38
ขอถามโดยเขลาครับ

ระบบจันทรคติ เริ่มเดือนอ้ายที่ปลายปี ประมาณธันวา แต่ทำไมโบราณถึงมีการขึ้นปีใหม่ตอนสงกรานต์ครับ ทำไมไม่ขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนสิบสอง-ต้นเดือนอ้าย


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 03 เม.ย. 11, 12:52
     ตามความเห็นส่วนตัว ขอย้ำว่้าความเห็นส่วนตัว  ปีใหม่ในยุคตอนต้นของกรุงสุโขทัยคงจะเป็น วันขี้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ ซึ่งผมสันนิษฐานจากหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑
ที่จำหลักไว้ มีใจความกล่าวถึงโดยสังเขปว่า หลังจากออกพรรษา (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑)  มีการกรานกฐิน เดือนหนึ่งจึ่งแล้ว (ปัจจุบันเทศกาลกฐิน จะอยู่ราวกลางเดือน
๑๑ ถึง กลางเดือน ๑๒) มีการเฉลิมฉลองต่างๆ อย่างยิ่งใหญ่ 'คนเสียดกันเข้าดูท่านเผาเทียนเล่นไฟ' ซึ่งคงจะหมายถึงวันลอยกระทง (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) หรืออาจจะ
เลยไปถึงสิ้นเดือน ๑๒ ก็เป็นได้  เป็นการฉลองสิ้นปี (อบ่างเดียวกับสมัยปัจจุบันกล่าวว่า ส่งท้ายปีเก่า)
     มีการเปลี่ยนศักราชหรือวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งในสมัยของพญาลิไท  สันนิษฐานจากหลักศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงหลักที่ ๑ ที่จำหลักว่า "...มีพระปรีชาโอฬาริก ฝ่ายผาลคุณานุต
...ศักราชที่เกินทรงแก้ให้สั้น เบา ถูกต้อง....)  "ผาลคุณานุต" คาดว่าคือต้ดเดือนสี่ให้สิ้นสุด (ผัคคุณมาส = เดือนสี่)   หมายถึงว่าทรงเริ่มต้นศักราชเสียใหม่ให้เป็น วันขึ้น ๑ ค่ำ
เดือน ๕  ซึ่งก็ใช้กันมาโดยตลอดตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มาจนถึงตอนกลางของกรุงรัตนโกสินทร์
     เมื่ออิทธิพลทางตะวันตกเริ่มแพร่ขยายเข้ามา  จึงมีการเปลี่ยนศักราชหรือวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งเพื่อให้เป็นไปตามสมัยนิยมเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๒ (ร.ศ. ๑๐๘)
     และการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายซึ่งใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔

     วันสงกรานต์ไม่ใช่วันขึ้นปีใหม่ครับ  วันปีใหม่อยู่ถัดจากวันสงกรานต์สองวัน เรียกว่าวันเถลิงศก


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 03 เม.ย. 11, 13:17
 8) ไชโย ได้คำตอบและ แหมนึกว่ามาจากหนังสือของใคร ตอนแรกนึกว่าของ อ.ส แสงตะวัน ที่ไหนได้จากหนังสือ อ.เอื้อน มณเฑียรทอง แห่งสำนักหอคำ มาทุกตัวอักษรนี้เอง  :-X


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 03 เม.ย. 11, 15:34
     ผมขอไชโยด้วยครับ และขอบคุณคุณธีร์ "ด้วยใจจริงและสำนึกในบุญคุณ" เพราะตอนนี้ผมรู้แล้วว่าเวลาสวดมนต์ผมจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลถึงครูคนไหน
ถูกต้องเลยครับผมเคยมีหนังสือของ อ. เอื้อน มณเฑียรทอง ชื่อ "คัมภีร์โหราศาสตร์...อะไรสักอย่าง" และมีอีกหลายเล่ม และของหลายๆ ท่าน  ถ้าบังเอิญ
คุณธีร์แวะเข้าไปอ่านกระทู้ โคลง กลอน... ของผมจะเห็นว่าผมปรารภเอาไว้ว่า เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ ฯ ปี 2526 หนังสือส่วนใหญ่ของผมจมน้ำหมด
นั่นรวมถึงตำราด้านโหราศาสตร์ทั้งหลายด้วย  แต่บังเอิญผมเป็นคนชอบเขียน ชอบบันทึก เมื่อผมพบข้อความสำคัญจากหนังสือเล่มใด ผมก็จะแยกออกมาบันทึก
ไว้เป็นส่วนตัวเพื่อการศึกษา  (คุณคงไม่แบกตำราทั้งเล่มหลายๆ เล่มไปไหนต่อไหนด้วยเป็นแน่)  แต่ความหละหลวมของผมคือ ไม่ได้บันทึกแนบเอาไว้ว่าจด
บันทึกมาจากเล่มใด ของใคร เพราะคิดว่ามีหนังสืออยู่กับบ้านอยู่แล้ว  แต่ อ.คนหนึ่งที่ผมจำชื่อได้แน่นอน คือ อ. จำรัส ศิริ เพราะผมใช้วิธีการผูกดวงชะตาแบบ
อินทภาส-บาทจันทร์ของท่าน นั่นเพราะว่าวิธีการคำนวณของท่านแม่นยำ ไม่สับสน ไม่เหมือนกับตำราของใครทั้งสิ้นในยุคนั้น ทำให้ผมจำได้แม่นกว่าเพื่อน
     ผมศึกษาและจดบันทึกจากตำราโหราศาสตร์ต่างๆ คงไม่ต่ำกว่าห้าสิบเล่ม เริ่มตั้งแต่ อ.พลูหลวง เป็นต้น คัดและกรองเอาแต่ส่วนที่สำคัญเอาไว้  ไม่เฉพาะแต่
เรื่องราวของโหราศาสตร์เท่านั้น  บันทึกโคลงกลอน เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ฯลฯ ผมก็บันทึกไว้ด้วย   เมื่อกาลเวลาผ่านไปหลายสิบปี  คุณธีร์คิดหรือว่าผมจะจำได้
ทั้งหมดว่าจดบันทึกมาจากที่ใดบ้าง
     ผมขอคัดลอกข้อความในกระทู้ของผมมาให้คุณธีร์อ่านบางตอนเพื่อความเข้าใจกัน

    "ผมพยายามค้นคว้าหาเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับบทบาทของพระมหากษัตรฺิย์ไทยที่เกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์  แต่ยอมรับว่าหาได้ยากจริงๆ  จึงได้
หวนกลับมาหาสมุดบันทึกเก่าๆ ส่วนตัวที่ได้จดบันทึกสิ่งละอันพันละน้อยที่ได้อ่านพบและจดเป็นบันทึกเอาไว้  แต่น่าเสียดายที่บางครั้งก็หละหลวมไม่
ได้บันทึกเอาไว้ว่าจดบันทึกมาจากที่ใดเอาไว้  ในบันทึกส่วนตัวของผมฉบับนี้มีส่วนหนึ่งที่ได้จดบันทึกเอาไว้ว่า"
     นี่เป็นข้อความของวันที่ 22 มีนาคม  และ ของวันที่ 23 มีนาคมเป็นดังนี้
     "เป็นที่น่าเสียดายว่าผมไม่สามารถจำได้ว่าบันทึกเรื่องราวนี้มาจากหนังสือเล่มใด   ผมต้องขอยกคุณความดีทั้งหลายให้แก่ท่านเจ้าของหนังสือที่
ผมได้จดจำคัดลอกใส่สมุดบันทึกส่วนตัวของผมมาไว้ในที่นี้  และขออนุญาตนำบางช่วงบางตอนมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานต่อไป"

     คุณหลวงเล็ก แนะนำ ชี้แจง แก้ไข ตักเตือน ผมแค่บางสิ่งบางอย่างเล็กๆ น้อยๆ ผมยังเคารพนับถือท่านเป็นเสมือนครูบาอาจารย์   ถ้าผมจำได้ว่าข้อความที่
ผมถ่ายทอดมาลงไว้ในกระทู้ เป็นของ อ. เอื้อน มณเฑียรทอง  คุณคิดว่าผมจะไม่ยกนามของท่านมาอ้างอิงหรือ?    และข้อความว่า "ผมต้องขอยกคุณความดี
ทั้งหลายให้แก่ท่านเจ้าของหนังสือที่ผมได้จดจำคัดลอกใส่สมุดบันทึกส่วนตัวของผมมาไว้ในที่นี้"  มิได้แสดงออกหรือว่าผมไม่มีเจตนาอ้างความดีความชอบว่าเป็น
ผลงานของตัวเองอยู่เลย    ผมใช้คำว่า" จดจำค้ดลอก" นะครับ

     ผมไม่คิดว่านี่เป็นข้อความตอบโต้คุณธีร์หรอกนะครับ   แต่จะบอกคุณธีร์ว่าผมขอบคุณด้วยใจจริงทั้งหมดของผม ไม่ว่าคุณธีร์จะมีเจตนาอย่างไร  ผมรู้ว่าผม
จะบูชาคุณใครนั่นก็เป็นความพึงพอใจอย่างใหญ่หลวงแล้ว เพราะนั่นหมายเลยไปถึงบรรดาอาจารย์ของอาจารย์เอื้อนอีกด้วย   


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 03 เม.ย. 11, 16:49
ขอบรมราชานุญาติอัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕

ฝูงชนกำเนิดคล้าย คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง อ่อนแก้ ฤๅไหว


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: nakor ที่ 03 เม.ย. 11, 20:45
ขอบคุณครับ คุณ willyquiz

 ;D


กระทู้: สอบถามเรื่องหลักการเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติครับ
เริ่มกระทู้โดย: willyquiz ที่ 04 เม.ย. 11, 23:14
จุดวิษุวัต  จักรราศีเคลื่อนที่เป็นที่กำหนดหมายเอาว่าเป็นจักรราศีของราศี  ส่วนจักรราศีคงที่เป็นที่หมายรู้ว่าเป็นจักรราศีของ 'นักษัตร'
เพราะราศีต่าง ๆ โดยมากแบ่งและกำหนดเขตราศีด้วย "นักษัตรบท"  และให้ชื่อคล้อยตามนักษัตรนั้น ๆ

http://www.astroneemo.net/index.php?option=com_content&view=article&id=1039:-3--&catid=139:2011-01-02-02-38-44&Itemid=28