เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: cinephile ที่ 24 เม.ย. 20, 14:23



กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 24 เม.ย. 20, 14:23
มีใครมีภาพกงดินของหลวงพระบางในสมัยร.๕บ้างครับ
น่าจะมีคนสะสมบ้างนะครับ


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 เม.ย. 20, 14:29
กงดิน คืออะไรคะท่าน


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 20, 09:05
ใน พจนานุกรมภาษาอีสาน โดย ดร.ปรีชา พิณทอง (https://esan108.com/dict/) ให้ความหมาย กงดิน ว่า เขตดิน  ภาษาอังกฤษว่า territory ดังตัวอย่างการใช้

เค็งเค็งเค้ากงดินดาแตก (กา) ฟังยินเสียงสะเทือนก้องกงดินดาแตก (สังข์) แม้นจักรทำคุณเกื้อกงดินดาเกิ่งก็ดายแล้ว (สังข์)

https://esan108.com/dict/view/กงดิน (https://esan108.com/dict/view/กงดิน)


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 25 เม.ย. 20, 10:50
กงดินที่ผมสงสัยก็เหมือนที่คุณเทาชมพูว่านั่นแหละครับ
ผมพบคำว่ากงดินจากประวัติการของจอมพลเจ้าพระยา
สุรศักดิ์มนตรีครับ
ผมคัดลอกมาให้พิจารณาครับ
"สั่งให้เก็บหลักฐานของบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ เหล่านั้นทุก ๆ เมือง มีตราสําหรับเมืองหนึ่ง ๆ เรียกว่ากงดิน เหมือนดังเป็นสัญญาบัตรที่ได้ตั้งแต่งให้เป็นผู้ว่าราชการเมือง จารึกลงบนแผ่นใบลานนั้น เอาครั่งตีตราของเจ้านครหลวงพระบางไว้ทุก ๆ แผ่นดิน มีตราเป็นรูปต่าง ๆ และมีผ้าที่เรียกว่าผ้ากงดิน เขียนด้วยหมึกกล่าวถึงเขตแดนว่า เขตแขวงของ เมืองหนึ่ง ๆ ตั้งแต่เขาลูกนั้นวัดไปตามสันเขาตกห้วยนั้น ๆ รอบเขตของเมือง กับมีกฎหมายเป็นข้อบังคับอยู่ในผ้านั้นด้วย ผ้านั้นกว้างอยู่ใน ๒ ฟุตเศษ ยาวอยู่ใน ๕ ฟุต ประทับตรา ไว้กับผ้านั้น ๆ เมืองหนึ่ง ๆ มีผ้ากงดินและผ้าท้องตราอย่างนี้หลายฉบับ เพราะเปลี่ยนเจ้านครหลวงพระบางคนหนึ่ง ก็ต้องตั้งแต่งให้ท้องตราและกงดินเปลี่ยนกันเสมอไป ผ้าและกงกินเหล่านี้มีอายุนับได้ ๑๐๐ ปี แม่ทัพได้รวบรวมเกม มาไว้เป็นเมือง ๆ ใส่เป็นหีบ ๆ ละเมือง ส่วนผ้าและกงดินของฝ่ายญวนฝ่ายจีนก็เขียนเป็นแผนที่ คือเมืองก็เขียนเป็นรูปบ้านเรือน วัดวาอารามก็เขียนเป็นรูปวัด มีรูปแม่น้ําและป่า เขาระบายสีลงในผืนผ้านั้น ตั้งให้เจ้าเมืองซึ่งเป็นหัวพันของเมืองต่าง ๆ พร้อมกันกับเจ้านครหลวงพระบางที่เปลี่ยนเจ้าเมือง ซึ่งเรียกกันว่า ๒ ฝ่ายฟ้าหรือ ๓ ฝ่ายฟ้าบ้างนั้น แม่ทัพได้ให้ทําแผนที่และขีดเขตแดนในกงดินของหัวเมือง แขวงหัวพันห้าทั้งหกและแขวงสิบสองจุไทยไว้ เพื่อที่จะได้เก็บเอาไว้ชี้แจงแสดงหลักฐานของกงดิน ที่ฝ่ายเมืองนครหลวงพระบางเป็นเจ้าของ"


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 25 เม.ย. 20, 10:52
คำถามของผมก็คือมีใครสะสม "กงดิน" บ้างหรือเปล่าครับ
ผมอยากเห็นครับ


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 25 เม.ย. 20, 12:13
เป็นภาพกงดินของเมืองเดียนเบียนฟู เป็นของฝ่ายญวน
หรือฝ่ายจีนครับ
(http://)แผนที่โบราณเมืองแถง.jpg


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 20, 12:51
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึง "กงดิน" ใน สาส์นสมเด็จ (https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๒/ธันวาคม/วันที่-๕-ธันวาคม-พศ-๒๔๘๒-ดร) ถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒  

เมื่อสองสามวันมานี้ ไม่รู้ว่าด้วยเหตุอันใด หม่อมฉันนึกขึ้นถึงคำเคยได้ยินมาช้านานกว่า ๓๐ ปีแล้วคำ ๑ บางทีท่านก็จะทรงระลึกได้ เมื่อเรารับราชการอยู่ในกรมยุทธนาธิการด้วยกัน เจ้าพระยาสุรศักดิ์กลับลงมาจากเมืองหลวงพระบาง เอาของอย่างหนึ่งเรียกว่า “กงดิน” ของพวกท้าวขุนเมืองหัวพันห้าทั้ง ๖ มาส่งให้ที่กรมยุทธนาธิการ เป็นหีบไม้ย่อม ๆ ในนั้นมีผ้าเขียนแผนที่ผืน ๑ และดวงตราสำหรับประทับหนังสือหลายดวง ท่านบอกว่าเป็นตราตำแหน่งซึ่งพระเจ้าแผ่นดินญวนตั้งพวกท้าวขุนเหล่านั้น ก็นึกว่าเรียก “กงดิน” ตามภาษาญวน เพิ่งมาคิดได้ว่าที่จริงเป็นภาษาไทยแท้ และเอามาใช้เหมาะด้วย คำ “กง” นั้นก็คือคำเดียวกับ “กงจักร” และ กงรถ นั่นเอง “กงดิน” จึงหมายความตรงกันว่า “อาณาเขต” ซึ่งหมายในแผนที่นั้นว่ามีอำนาจปกครองไปถึงไหน ๆ น่าชมว่าเป็นความคิดดี


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 25 เม.ย. 20, 14:50
แล้วหีบไม้ที่สมเด็จนายกรมรับสั่งถึง ตอนนี้อยู่ที่ไหนครับ?


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 25 เม.ย. 20, 18:29
(http://แผนที่โบราณเมืองแถง.jpg)

ลองส่งรูปกงดินอีกครั้ง ไม่รู้ว่าจะสำเณจหรือไม่


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 25 เม.ย. 20, 18:30
ส่งรูปไม่สำเร็จครับ ไม่รู้ว่าทำไม


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 25 เม.ย. 20, 18:42
 ;)(http://กงดิน.jpg)

ลองย่อขนาดของภาพดูครับ


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 25 เม.ย. 20, 18:47
(http://kongdin.jpg)


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: ninpaat ที่ 25 เม.ย. 20, 18:57
ผมเดาว่าภาพ "แผนที่โบราณเมืองแถง.jpg" ของท่าน
อาจยังมีขนาดของไฟล์ใหญ่กว่า 250 KB อยูู่ครับ (ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต: 250 KB)

จึงอาจเป็นเหตุที่ทำให้ส่งแนบไฟล์ภาพ มาที่ server เรือนไทยไม่ได้ครับ


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 20, 18:58
วิธีส่งภาพ

๑. บันทึกภาพไว้ในมือถือ หรือ PC
๒. กด "ตัวเลือกเพิ่มเติม"
๓. กด "แนบไฟล์"
๔. กด "เลือกไฟล์"
๕. กด "คลังภาพ"
๖. กดภาพที่ต้องการส่ง
๗. บรรยายภาพที่ส่ง
๘. กด "ส่งข้อความ"


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 20, 19:07
หรือ คัดลอก url ของภาพ ข้างล่างเป็นตัวอย่างของการโพสต์ภาพข้างบน  ;D


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 20, 20:33
เขตกงดินเมืองวังอ่างคำ ดินแดนชาวผู้ไทเมืองเรณูนครในอดีต ปัจจุบัน คือ เมืองวีละบุลี เมืองเซโปน ในแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว

ที่มา : มรดกตระกูลเจ้าเมืองเรณูนคร ปัจจุบันเก็บไว้ที่บ้านลูกหลาน หลวงชาญยุทธกิจ (กา เตโช) นายอำเภอเมืองเรณูนครคนแรก

https://facebook.com/Zung2500/photos/a.2201099360165451/2201099640165423/?type=3&source=43


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 20, 20:50
แผนที่เขตปกครองเมืองเรณูนคร พ.ศ.๒๓๘๗-๒๔๔๐ ดินแดนผู้ไทสร้างบ้านแปงเมืองในอาณาเขตประเทศสยาม ตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๕

ที่มา : มรดกตระกูลเจ้าเมืองเรณูนคร ปัจจุบันเก็บไว้ที่บ้านลูกหลานหลวงชาญยุทธกิจ (กา เตโช) นายอำเภอเมืองเรณูนคร คนแรก

https://www.facebook.com/Zung2500/photos/a.2201094273499293/2201094280165959/?type=3



กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 เม.ย. 20, 22:00
กงดินเมืองสบแอด จารึกบนใบลาน

http://israyanatan.blogspot.com/2015/01/blog-post_31.html


(http://www.laomanuscripts.net/DLLM_images/PLMP0388/PLMP0388_316_06018514001_04_001_J72.jpg)


กงดินเมืองเชียงลาน จารึกบนใบลาน

http://israyanatan.blogspot.com/2015/01/blog-post_84.html


(http://www.laomanuscripts.net/DLLM_images/PLMP0388/PLMP0388_320_06018514001_05_001_J72.jpg)

ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ หอพิพิธภัณฑ์ เมืองหลวงพระบาง


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 20, 07:17
เพลงกงดินเมืองพวน  ;D

https://youtu.be/gYJMw6qM55M


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 26 เม.ย. 20, 14:29
ทำตามทุกขั้นตอนแล้วครับ เหลือแต่หาคลังภาพไม่เจอครับ


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: cinephile ที่ 26 เม.ย. 20, 14:39
ส่งภาพได้แล้วครับ โง่เสียนาน
ต้องขอบคุณทุกท่านที่อุตส่าห์
หาภาพกงดินจนเจอ สุดยอดจริงๆ ครับ
ขอบคุณมากมากเลยครับ


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 เม.ย. 20, 15:17
ภาพค่อนข้างเบลอ ถ้าต้องการให้ชัดเหมือนต้นฉบับ แนะนำให้ทำดังนี้

๑. กดที่ภาพต้นฉบับ จะมีข้อความ "บันทึกภาพ" และ "คัดลอก"
๒. กดที่ "คัดลอก"
๓. วาง url ของภาพที่คัดลอก ใส่ อักษร img ข้างหน้าและข้างหลัง url ดังตัวอย่าง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7112.0;attach=73260;image)

๔. กด "ส่งข้อความ"


กระทู้: กงดินสมัยร.๕
เริ่มกระทู้โดย: นโม ตสฺส ที่ 29 พ.ค. 20, 14:18
กงดินเมืองแถง

กำหนดเขตรแขวงของเมืองแถง ซึ่งคงอยู่ในปัตยุบันนี้ รวมเขตรทั้งเมืองน้อยที่ขึ้นอยู่ในรวมกงดินนี้ด้วยนั้น คือดังนี้ ทิศเหนือแลต่อไปทั้ง ๔ ทิศ

ตำบลแกวหินบ่อน้อยเปนที่สุดเขตรแดนเมืองแถงต่อกันกับ แดนเมืองไล มีภูเขาใหญ่ยาวแลสูงชื่อภูแกวหิน เปนภูเขาดิน มีศิลาเกิดแกมแซมบ้างกั้นอยู่เปนสำคัญ ข้ามภูเขาภูแกวหินนั้น ขึ้นไปเปนแดนดินเมืองไล ข้ามภูแกวหินลงมาเปนแดนดินเมืองแถง มีแม่น้ำ ๑ เปนแม่น้ำน้อย ชื่อแม่น้ำหมึก ต้นน้ำไหลไปแต่แดนดิน เมืองแสนหัวเมืองชั้นในเมืองหลวงพระบาง ข้างทิศตวันตกไหลผ่าน ไปกลางเมืองเหมือนหัวเมืองขึ้นเมืองแถง ระยะทางแต่เมืองแถง ไปเมืองเหมือนถึงแม่น้ำหมึกนั้น ๒ วัน แม่น้ำนั้นไหลไปทางทิศ ตวันออกเฉียงเหนือแห่งเมืองแถง ข้ามแม่น้ำหมึกไปทางทิศตวัน ออกเฉียงเหนือนั้น มีภูเขาใหญ่ ๑ ชื่อภูหนองสามทาง สุดเขตร ภูหนองสามทางนี้ต่อแดนเมืองมนเมืองบาง ตั้งแต่ภูหนองสามทาง ไปทางทิศตวันออกนั้น ประมาณระยะทาง ๓ วัน ๔ วันถึงภูเขาใหญ่สูงแห่ง ๑ ชื่อภูเขาเขื่อง ระยะทางแต่ภูหนองสามทางไปถึงภูเขาเขื่อง ทางทิศตวันออกนั้นไม่มีบ้านเมือง เปนป่าแลภูเขาทั้งสิ้น สุดเขตร ภูเขาเขื่อง ข้างทิศเหนือนั้นต่อแดนกับเมืองควาย ตั้งแต่ภูเขาเขื่องไปทางทิศตวันออกนั้นระยะทางเดินประมาณ ๗ วัน ถึงห้วยน้ำเล็ก แห่ง ๑ ชื่อห้วยแซน มีภูเขา ๑ ชื่อภูย่าเฒ่า เปนภูดินไม่ใหญ่ ไม่เล็กนัก เปนภูเขาประมาณขนาดกลาง ตั้งอยู่ฟากห้วยทิศตวันออกปลายแม่น้ำเมืองฮัวะหัวเมืองของเมืองควายนั้นไหลมาบรรจบแม่น้ำ มาอยู่ข้างใต้ห้วยแซนนั้น เรียกว่าปากฮัวะมา เปนสุดเขตรแดน เมืองแถงข้างทิศตวันออก ตั้งแต่ปากน้ำชื่อปากฮัวะมานั้นไปทาง ตวันออกเฉียงใต้ ระยะทางสามวัน ถึงภูเขาใหญ่สูงแห่งหนึ่งชื่อภูคำ ตั้งอยู่ในทิศตวันออกเฉียงใต้แห่งแดนเมืองแถง สุดเขตรภูคำข้าง ทิศตวันออกเฉียงใต้นั้นต่อแดนเมืองฮั้ว ตั้งแต่ภูคำไปทางทิศใต้ระยะทาง ๓ วัน ถึงห้วยน้ำแห่ง ๑ ชื่อห้วยย่านางหินกองเปนสุดเขตรแดนเมืองแถง ต่อกันกับแดนเมืองสบแอด ซึ่งเปนเมืองหัวพันห้าทั้งหกนั้น ต้นธารห้วยย่านางนี้ก็ไหลไปแต่ในแดนเมืองแถง แลมีศิลาสากองตั้ง เปนสำคัญ ปันเขตรเมืองแถงกับแดนเมืองสบแอดจดกันที่ตำบลนั้น จึงเรียกว่าห้วยย่านางหินกองสืบมา ตั้งแต่ห้วยย่านางหินกองไปทางทิศตวันตกเฉียงใต้ระยะทางเดิน ๘ วัน ถึงภูเขาใหญ่สูงแห่ง ๑ ชื่อ ภูถ้ำหนู ตั้งอยู่ทิศตวันตกเฉียงใต้ สุดเขตรภูถ้ำหนูออกไปทาง ตวันตกเฉียงใต้นั้น ต่อเขตรแดนเมืองเป้อเมืองซ่อน ซึ่งเปนเมืองหัวพันห้าทั้งหก ตั้งแต่ภูถ้ำหนูออกไปทางทิศตวันตก ระยะทางเดินประมาณ ๖ วัน ๗ วัน ถึงภูเขาแห่ง ๑ ชื่อภูยอดน้ำแล้ง ตั้งอยู่ใน ทิศตวันตกแห่งเมืองแถง มีธารน้ำไหลออกจากเชิงภูเขานั้นอยู่เสมอ น้ำธารนั้นไหลผ่านมาในแดนดินเมืองแถง ลงในแม่น้ำกงแดนเมืองสบแอดเมืองวา นอกนั้นภูยอดน้ำแล้งออกไปต่อแดนเมืองใต้ หัวเมืองขึ้นของเมืองหลวงพระบาง ตั้งแต่ภูยอดน้ำแล้งไปทางทิศตวันตก แห่งเมืองแถง ระยะทางเดินประมาณ ๗ วัน ถึงภูเขาใหญ่สูงแห่ง ๑ ชื่อภูห้วยปุง ตั้งอยู่ในที่สุดแดนเมืองแถงข้างทิศตวันตก น้ำใน ห้วยนั้นไหลเข้ามาในเมืองลอยหัวเมืองขึ้นของเมืองแถง นอกภูห้วยปุงนั้นต่อแดนเมืองฮึบหัวเมืองขึ้นของเมืองหลวงพระบาง ตั้งแต่ภูห้วยปุงไปทางทิศตวันตก ระยะทางเดินประมาณ ๖ วัน ถึงภูเขาสูงใหญ่ แห่งหนึ่ง ชื่อภูผาปูน ตั้งอยู่ที่สุดแดนเมืองแถงข้างทิศตวันตก ต่อกันกับแดนเมืองขวา หัวเมืองขึ้นของเมืองหลวงพระบาง ศิลา ที่ภูเขานี้ขาว ๆ เหมือนสีปูนขาวทั่วไปทั้งภูเขา จึงเรียกว่าภูผาปูน ตั้งแต่ภูผาปูนไปทางทิศเหนือ ระยะทางประมาณ ๑๐ วัน ถึงแม่น้ำ น้อยแห่ง ๑ เรียกว่าน้ำจิม อยู่ใกล้ภูเขาสูงใหญ่ชื่อเมืองตีนจ้าย หาใช่เปนบ้านเมืองไม่ เปนป่าแลภูเขาทั้งสิ้น แต่เรียกว่าภูเมือง ตีนจ้ายมาแต่โบราณ ภูเขานี้ตั้งอยู่ในที่สุดแดนเมิองแถงข้างทิศเหนือ ต่อกันกับแดนเมืองแสนแลแดนเมืองไล เปนที่แบ่งแดนแยกจากกัน เปน ๓ แพร่ง น้ำจิมแห่งนี้เปนน้ำน้อย ถ้าน่าแล้งน้ำแห้งขาดเปน ห้วง ๆ เรือแพเดินไม่ได้ทั้งน่าน้ำน่าแล้ง แลน้ำนี้ปลายน้ำไหล ลงแม่น้ำหมึก น้ำหมึกนั้นไหลไปลงแม่น้ำแท้ ตั้งแต่น้ำจิมแล ภูตีนจ้ายนี้ไปทางทิศเหนือ บรรจบรอบถึงตำบลแกวหินบ่อน้อย ซึ่ง กล่าวมาแล้วแต่ข้างต้นนั้นเปนระยะทาง ๒ วัน เปนรอบแดนเมืองแถงทั้ง ๔ ทิศใหญ่ แลรวมทิศน้อยเปน ๘ ทิศด้วยกัน ตำบลเมืองน้อย ซึ่งขึ้นแก่เมืองแถงแลตำบลบ้าน ก็รวมอยู่ในส่วนเขตรนี้ทั้งสิ้น อนึ่งเมืองขึ้นของเมืองแถง ซึ่งเปนเมืองน้อยที่ร้างบ้าง ยังคง อยู่บ้างในทุกวันนี้ อันรวมอยู่ในกงดินดังกล่าวมาแล้วนั้นมี ๑๒ เมือง คือเมืองใหญ่ ๑ เมืองแถง เมืองน้อยที่ขึ้น คือ ๒ เมืองฟางฤๅฝั่ง ๓ เมืองเหมือน ๔ เมืองโปน ๕ เมืองยา ๖ เมืองดวน ๗ เมืองแตน ๘ เมืองดอย ๙ เมืองแลว ๑๐ เมืองสบขบ ๑๑ เมืองวา ๑๒ เมืองลาน

ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๙ พงษาวดารเมืองแถง (เมืองแถง ꪹꪣꪉ ꪵꪖꪉ ปัจจุบันคือเดียนเบียนฟู 奠邊府 Điện Biên Phủ)