เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: pipat ที่ 28 มี.ค. 06, 00:25



กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 มี.ค. 06, 00:25
 ตอนนี้ CD ของคุณ B ทำเสร็จเรียบร้อย พร้อมมอบให้ผู้เป็นเจ้าของ สะดวกเมื่อไรก็แจ้งมานะครับ จะส่งให้โดยด่วน
นึกสนุกขึ้นมา จะลองเล่าเรื่อง Brahms เล่นดูสักหน่อย เป็นข้อมูลประกอบ CDไปด้วยในตัว เพราะผมเลือกทำ CD the Brahms Experience ให้นะครับ

Brahms ตายเมื่อปี 1897 ตรงกับพ.ศ. 24เ40 ปีเดียวกับที่ ร. 5 เสด็จยุโรปครั้งแรก จะว่าเป็นคนยุคเก่าก็ได้ แต่ถ้านึกว่าเป็นหนึ่งในทำเนียบสุดยอดนักแต่งเพลง ก็นับว่าใกล้กับเรามากพอดู เพราะหลังยุคของ Brahms แล้ว แทบจะไม่มีมหาบุรุษระดับนี้ดำรงชีวิตอีกเลย (ผมนึกได้แค่คนกว่าๆ ที่ยอมรับให้เข้าในทำเนียบ ชนิดไม่อายรุ่นพี่)
ตอนที่ตาย เขามีฐานะเป็นเศณษฐีแห่งเวียนนาได้คนหนึ่ง แต่ก็มิได้สะสมสมบัติพัศถานอออันใดไว้เลย เมียก็ไม่มีมีแต่น้องชายที่ไม่ได้ทำอะไรสำคัญพอจะให้เขียนถึง แม้ว่าจะเป็นคนดังระดับโลก เทียบแล้วก็คงประมาณไอน์สไตน์ ฟลอยด์ หรือยอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ ประมาณนั้น เรียกว่าไปที่ใหน พระเจ้าแผ่นดินของที่นั้นเป็นต้องอยากพบ แต่ Brahms ไม่เคยเห่อเหิมกับเกียรติยศนี้  ออกOxford จะมอบปริญญาให้ ก็ปฎิเสธ บอกว่าไม่กล้านั่งเรือข้ามไปเกาะอังกฤษ ทั้งๆที่เพื่อนซี้ ไปเผยแพร่ทำทางไว้จนเขาแทบจะปิดเกาะต้อนรับ
Sir Edward Elgar สรรเสริญไว้อย่างหรูเริ่ด แต่ George Bernard Shaw ก็ด่ายับไม่มีชิ้นดีเหมือนกัน
ถ้าจะให้สรุปโดยผมเอง ก็ขอบอกว่า งานของ Brahms นี่ หาคนสู้ยาก เพราะฉลาดในการเรียงร้อยถ้อยความ จนหาที่ติไม่ได้
มีเกณฑ์เฉลี่ยผลงานที่ดีถึงดีเลิศ สูงมาก เช่นถ้าเทียบกับ Beethoven แต่ง Symphony ไว้ 9 ชิ้น เบอร์ 1, 2, 4,  8, ถือว่างั้นๆ แต่ของ Brahms 4 ชิ้น ยอดเยี่ยมทุกชิ้น
คนส่วนใหญ่ชอบกล่าวหา ว่า งานของเขา สูงส่ง ลึกซึ้ง และน่าเบื่อ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ จริงอยู่งานของเขาค่อนข้างยากในเชิงเทคนิค แต่ก็ไม่ใช่งานที่ยากสุดๆ
ดูอย่างนี้ก็แล้วกัน เขาเล่น Piano concerto หมายเลข 2 ของตัวเอง ทั้ง 4  movementsโดยใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 37 นาที แต่ปัจจุบัน ทุกคนจะเล่นที่ ประมาณ 50 นาที เวลาที่ต่างกันสิบกว่านาทีนี่ ถือว่ามีนัยยะสำคัญอย่างมากครับ เวลาขนาดนี้ เท่ากับหนึ่งเพลงเชียวครับ ผมเคยเจอ เล่นยาวถึง 53-54 นาทีก็มี
นี่อาจเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่ชี้ว่า เราไม่รู้จัก Brahms ตัวจริงกันเลยกระมัง

จริงอย่างยิ่งครับ ชาวยุโรปร่วมสมัยกับ Brahms เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่วางเรื่องเล่าลือไว้กับชีวิตของเขา แม้จนถึงวันที่เขาเสียชีวิต เรื่องคาวๆก็หาได้จางหายไป

เขาลือกันว่า Brahms เป็นชู้กับภรรยาของอาจารย์ตัวเอง


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: paganini ที่ 28 มี.ค. 06, 03:02
ขอบคุณครับ ที่ชวนคุยเรื่องดนตรี

ขอแสดงความเห็นแย้งเล็กน้อยเกี่ยวกับ Johannes Brahms ครับ
อันที่จริงเรื่องดนตรีนี่ผมว่าเป็นเรื่องของรสนิยมนะคุณ pipat อาจจะเห็นว่าบราห์มส์นี่เลอเลิศที่สุดแล้ว แต่ก็เป็นแค่ในรสนิยมแบบคุณเท่านั้นนะครับ
ในทัศนะของผม ท่าน Brahms เป็นยอดนักแต่งเพลงคนหนึ่ง งานของท่านเต็มไปด้วยสติปัญญาและการสร้างสรรค์ นักดนตรีในยุคนั้นยกย่องบราห์มส์มากเพราะว่าท่านมีความคิดสร้างสรรค์ในการแปรเปลี่ยนทำนองได้หลากหลาย แต่ด้วยความลึกซึ้งนี่เองอาจจะทำให้คนฟังทั่วๆไปไม่นิยมอยู่บ้างด้วยบางตอนอาจจะน่าเบื่อไม่หวือหวา จุดเด่นของท่านอยู่ที่ Orchestration หรือการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับ วง orchestra ที่ยอดเยี่ยม มีสีสัน เวลาฟังงาน orchestra ของบราห์มส์สังเกตดูว่าดนตรีของท่านจะฟังดูแน่นมาก กระหึ่มเลยทีเดียว

แต่ผมเห็นว่ามันจะเป็นการไม่ยุติธรรมถ้าจะบอกว่างานของ Beethoven 9ชิ้น เฉลี่ยสู้ของ Brahms ไม่ได้ แหมๆ ในทางศิลปะไม่น่าจะคิดค่าเฉลี่ยนะครับ 555555

อีกประการหนึ่ง Beethoven เขียน Symphony ชิ้นแรกเมื่ออายุ 20 กว่าๆ เขียน Symphony No.5 ที่ลือเลืองเมื่ออายุ 30 ต้นๆ แต่บราห์มส์เขียน symphony บทแรกของท่านเมื่ออายุ 40 แถมท่านยังยอมรับด้วยว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก symphony หมายเลข 9 ของ Beethoven

การนำงานของคีตกวียุคก่อนมาเปรียบกับงานของคีตกวียุคหลังอาจจะไม่ค่อยแฟร์ เท่าไหร่นะผมว่า เพราะคนยุคหลังได้เรียนรู้ผลการค้นคว้าวิจัยจากคนยุคก่อนแล้วนำมาพัฒนาเป็นของตัวเอง

Brahms เป็นคนที่ถ่อมตัวและคมคายมาก เขาเป็นเพื่อนสนิทกับ Johann Strauss II ผู้แต่งเพลง An der Shoennen Blauen Donau (By the Beautiful Blue Danube) อันลือลั่นเป็นเพลงอมตะยอดฮิตมาถึงทุกวันนี้
ครั้งหนึ่งมีนักเรียนดนตรีเอาโน๊ตเพลง Blue Danube มาขอให้ Brahms เซ็นชื่อบนหน้าปก

Brahms ก็เขียนลงไปว่า
"อนิจจา ไม่ได้แต่งโดย บราห์มส์"


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 28 มี.ค. 06, 09:59
 ดูๆ บราห์มส ก็นิสัยน่ารักนะครับ ตามที่คุณปากานินี่เล่า

ผมส่งเมล์คุยกับคุณปากานีนี่หลังไมค์แล้วนะครับ

เรื่องอื่นๆ ผมยังไม่มีความเห็น หรือยังไม่มีความเห็นในที่นี้ก็แล้วกัน ฟังๆ คุยกันไปต่อไปผมอาจจะอยากมีความเห็นขึ้นบ้างก็ได้

ขอให้ "น่อง B เหอ" ของผมฟังเพลงของบราห์มสด้วยความสุขสนุกสนานเทอญ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 28 มี.ค. 06, 12:57
 คุณ Paganini วิจารณ์ได้ลึกซึ้งถึงเชิงดนตรีเช่นเคยครับ

แต่จะว่าไปแล้ว งานศิลปะใช่ว่าจะให้คะแนนไม่ได้เอาเสียเลย ในเมื่อเป็น subjective opinion  เราก็สามารถใช้คะแนนจากความคิดเห็นโดยเฉลี่ยได้ระดับหนึ่ง

หาไม่แล้วคงไม่มีคีตกวีที่ "เป็นที่ยอมรับ" นะครับ

ถ้าขอยกมือโหวตบ้าง ผมก็ขอบอกว่าชอบงานของ Beethoven มากกว่างานของ Brahms (โดยเฉลี่ย) ครับ

มีเรื่องที่ผมยังแปลกใจคือ ฟังงานของ Brahms ผมไม่ได้รู้สึกถึงความเกี่ยวพันกับงานของ Schumann อาจารย์ของเขาเลย หรือแค่หูผมไม่สามารถเข้าถึงได้

ขอท่านผู้เยี่ยมยุทธทั้งหลายโปรดชี้เแนะ    


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: paganini ที่ 28 มี.ค. 06, 14:19
 Brahms อาจจะไม่ได้เป็นศิษย์ของชูมันน์เพียงคนเดียวครับ
เท่าที่ทราบไม่ได้เป็นศิษย์ของชูมันน์เลยนะ ตอนเขาไปอาศัยกับชูมันน์นั้นเขาเป้นนักเปียโนและนักแต่งเพลงที่เริ่มมีชื่อแล้ว

และสมัยนั้นผมว่าพวกอัจฉริยะพวกนี้ไม่ได้อิทธิพลจากอาจารย์ตัวเองเท่าไหร่ เพราะเมื่อไหร่ที่ถูกครอบงำโดยอาจารย์พวกนี้มักจะไม่ดัง เพราะมีอาจารย์ดังอยู่แล้ว
แต่อิทธิพลมักจะมาจากอัจฉริยะอีกคนหนึ่ง

อ้อ ท่านม้าคลั่งครับ งานศิลป์ที่ยิ่งใหญ่มักลึกล้ำสุดหยั่งคาด ฟังวันนี้ กับฟังพรุ่งนี้ กับฟังอีก 10 ปีข้างหน้า จะได้โสตรสต่างกัน
โดยส่วนตัวผมถึงยังไม่กล้าให้คะแนนไงครับ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 มี.ค. 06, 15:45
 ผมคงใช้สำนวนที่อ่อนเชิงไปหน่อย เลยทำให้คุณปะกานีนี่โต้แย้งอย่างนั้น ขอบคุณที่มาร่วมวง มีอะไรบกพร่องก็ชี้แนะด้วยนะครับ
ยกโทษให้ผมก่อน แล้วจะขอแก้ตัวดังนี้ครับ

"เกณฑ์เฉลี่ยผลงานที่ดีถึงดีเลิศ สูงมาก"
เป็นการเทียบกับตัว Brahms เองครับ เช่นเขาสร้างงานมา 121 opus (นับเฉพาะที่เผยแพร่ก่อนตาย)  มีงั้นๆ อยู่ ไม่ถึงสิบชิ้น ซึ่งน่าพิศวงมากนะครับ
ไม่ได้หมายความว่า ทั้งประวัติศาสตร์แล้ว  Brahms จะเหนือกว่าคนนั้นคนนี้นะครับ ทั้งหมดนี้ยังไม่เกี่ยวกับรสนิยมครับ นั่นจะว่ากันตอนที่เครื่องร้อนดีใหมครับ
ที่ผมเขียน จึงมิได้ "นำงานของคีตกวียุคก่อนมาเปรียบกับงานของคีตกวียุคหลัง"  อย่างที่คุณเทพไวโอลินสรุปเลย

ใหนๆ ก็ใหนๆ แล้ว ขอเสริมคุณปะกานีนี่นิดเดียวครับ
ลูกสาวโยฮัน ฉเตราส์ ขอลายเซนต์คุณลุงบี (ย่ออย่างนี้ละกัน) แกก็คว้ากระดาษเปล่ามาแผ่น เขียนโน๊ตท่อนที่แสนงดงามของพ่อของเธอ จำไม่ได้แล้วว่ากี่ตัว แต่มีรูปอยู่ หาเจอแล้วจะอวดนะครับ
แล้วก็ลงชื่อไว้ว่า "อนิจจา มิใช่โดยโยฮันเนสส์"
อันนี้เป็นมุขครับ คือเพื่อนซี้ทั้งสองใช้ชื่อเดียวกัน ต่างกันตรงราชาเพลงวอลส์เป็นโยฮัน ซึ่งเป็นลำดับชื่อที่เหนือกว่าโยฮันเนสส์ (แปลว่าโยฮันน้อย เพราะพ่อของ Brahms ก็ชื่อโยฮันเหมือนกัน มันเป็นชื่อโหลน่ะครับ)

ทั้งคู่นับถือกันมาก แต่รูปแบบชีวิตต่างกันเป็นคนละโลก คนหนึ่งเป็นไฮโซ อีกคนเป็นโลโซ คนหนึ่งเฉิดฉายในโลกดนตรี อีกคน มีผู้มาพบ ดันบอกว่า Brahms ไม่อยู่
ในยุคนั้น เพลงวอลส์ถูกตีค่าไว้ต้อยต่ำ เป็นแค่ความไพเราะฉาบฉวย มีศักดิ์ศรีไม่เท่าพวกเพลงมโหฬารพันลึก
ลุงบีแกอยากจะยกย่องเพื่อน แกก็เลยแต่งเพลงเดี่ยวเปียนโนสำหรับสี่มือเป็นวอลส์สิบหกบท (opus 39) ยกชั้นของแบกะดินขึ้นห้างหรูซะเลย
จากนั้นอีกหลายปี ก็แต่งอีกชุด คราวนี้หนักขึ้นไปอีก เป็นเพลงร้องขนาดใหญ่ สิบแปดบท (opus 52) แล้วก็แปลงให้เล่นด้วยเปียนโนสี่มือ แล้วทั้งหมดก็ถูกแปลงเป็นเปียนโนสองมือ แปลงเป็นไวโอลินเดี่ยว เป็นเครื่องดนตรีคู่ เป็นเพลงบันเลง ฯลฯ สารพัดสารพัน โดยหลายๆคน รวมทั้งตัวลุงบีเอง
เพื่อจะบอกพวกหัวสูงว่า รู้จักของดีซะบ้าง มันอยู่ในของพื้นๆนี่แหละ ไม่ต้องแสวงหาก็คงจะเจอ

ส่วนคุณม้าไม่ปกติ
ผมอยากได้หูอย่างคุณจังเลย ฟังออกขนาดนี้ พูดอะไรออกมาก็ต้องรับไว้ก่อนละครับ
ในความเห็นของผม ชูมันน์แต่งเพลงโดยเน้นการสั่นไหวของอารมณ์ ใช้พื้นผิวที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้ดื่มด่ำ เหมือนดูยูงรำแพน เน้นรายละเอียดมากกว่าโครงสร้าง
เป็นคนละศาสนากับลุงบี รายนี้ลงทุนกับฐานรากอย่างเต็มที่ เปรียบเหมือนภูเขาน้ำแข็ง มีส่วนที่มองไม่เห็นถึงเก้าส่วน ว่าไปแล้วก็สิ้นเปลีองไม่ใช่เล่น
นักเปียนโนคนหนึ่งบอกผมว่าไม่ชอบเล่น Brahms เล่นแล้วปวดเอว เพราะต้องใช้กระดูกสันหลังมาก ผมเห็น Sviatoslav Richter เล่น opus 116 no.5 แล้วก็ประหลาดใจ
เป็นเปียนโน Character Pieces ชิ้นเล็กๆ ยาวแค่ห้านาที แต่แกทำท่าอย่างกับกำลังเก็บกู้ระเบิด
นี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้คนทั่วไปไม่ปลื้มลุงบี

ข้างบนนี้ เป็นแก้คำผิดนะครับ คราวนี้มาว่าที่เรื่องราวต่อ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: paganini ที่ 28 มี.ค. 06, 18:28
 อืม จากที่อ่านมาคุณ Pipat ถือว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้คนหนึ่งเลยนะ
ผมเองก็ต้องยอมรับว่าไม่อินกับบราห์มส์ขนาดคุณ แต่งานของ เขาที่ผมชอบก็มี Violin Concerto, Double Concerto for violin and cello, Tragic and Academic Overture, Variation on a theme of Haydn แล้วก็ Hungarian Dance ทั้งหลาย.
อ้อ ขาดไม่ได้คือ Violin sonata ทั้ง 3 บท ที่โดยเทคนิคแล้วเล่นไม่ยากครับ โน๊ตง่ายๆ แต่เล่นออกมาให้เพราะนี่ยากมากเพราะผมเคยฟังบางคนเล่นแล้วผมเลิกฟังเลย จนวันนึงได้ฟัง Isaac Stern เล่น โหย โดนเลยครับ เลยต้องมาศึกษาใหม่และพบว่างานชิ้นนี้มีอะไรดีๆอยู่
ส่วน symphony ของบราห์มส์ ผมพูดตรงๆว่าหลับครับ อิอิอิ
มันแล้วแต่รสนิยมอ่ะ คือเหมือนกับว่าคุณต้องการจะเสพรสดนตรีในด้านใด
ถ้าคุณต้องการดนตรีที่ทำนองหวาน สละสลวย บราห์มส์ก็ไม่เหมาะ แต่ถ้าคุณมีความรู้ทางดนตรีและมีประสบการณ์การฟังมาแล้ว งานของบราห์มส์มีเสน่ห์น่าติดตามในเชิงความคิดสร้างสรรค์ ความซับซ้อน

ผมสงสัยว่าเรื่องบราห์มส์กับสเตร้าส์ ของผมกับคุณคงเป็นเรื่องเดียวกันแต่ฟังมาคนละทางเลยเพี้ยนต่างกันไป และของคุณคงใกล้ความจริงมากกว่า

ปล. สงสารคุณ เครีซี่ฮอร์ส จริงๆที่ชื่อท่านถูกแปลเป็นไทยได้พิลึกกึกกือโดยหลายๆท่าน อิอิอิ  อย่าซีเรียสนะท่าน


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 มี.ค. 06, 18:39
 มีทั้งคนรักและเกลียด Brahms
Carl Friedberg (1872-1955) หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Juilliard School สมัยที่ยังหนุ่ม ปี 1893 เคยเล่นคอนเสิต all Brahms Programm  ประกอบด้วย op 2,35,76,79,118 และ waltze อีกหลายชิ้น ไมม่ต้องสงสัย ลุงบีย่อมจะปลื้มมาก พาไอ้หนุ่มไปเลี้ยงข้าวเย็น แล้วคุยต่อถึงตีสาม จึงบอกว่า คุณเล่นได้เยี่ยม หนุ่มน้อยแต่อย่าทำอย่างนี้อีก ไม่มีใครเขาชอบฉัน ฉันยังไม่ดัง ทีหลังก้อ เล่นของคนอื่นมากๆ เล่นของฉันครั้งละเพลงก็พอ
Pierre Monteux (1875–1964) ออกเสียงว่า มอนเธ่อ คอนดัคเตอร์ที่น่ารักที่สุดในวงการ วงลอนดอน ซิมโฟนี่ เสนอสัญญา 25 ปีให้เขา ตอนที่เขาอายุ80 กว่า
เป็นอีกคนที่เข้าขั้นบ้า เขาเล่าว่า อยู่ที่ใหน ก็ต้องหารูปหรือเรื่องที่เกี่ยวกับลุงบีมาประดับ เขาอวดว่า ตอนอายุสิบเก้า เคยไปเล่นสตริงควอร์เตทให้เจ้าตัวฟังที่เวียนนา อารามตื่นเต้น ไม่กล้าสนทนากับท่านผู้เฒ่า แต่แกสัญญาว่า ตายไป ได้พบบราห์มสอีกละก้อ จะขอโทษ ที่ไม่สามารถเล่นผลงานให้งดงามได้ดั่งที่ควรจะเป็น

ลองมาฝั่งเกลียดบ้าง ฝั่งนี้ผมยกให้  George Bernard Shaw (1856–1950) เขียนไว้ราวๆ 1893
"The real Brahms is nothing more than a sentimental voluptuary... He is the most wanton of composers... Only his wantonness is not vicious; it is that of a great baby... rather tiresomely addicted to dressing himself up as Handel or Beethoven and making a prolonged and intolerable noise.
“There are some experiences in life which should not be demanded twice from any man, and one of them is listening to the Brahms Requiem.”
"Brahms is just like Tennyson, an extraordinary musician, with the brains of a third rate village policeman."
นี่ก็อีกคน Pyotr Ilyich Tchaikovsky "I have played over the music of that scoundrel Brahms. What a giftless bastard!"(1886)
และอีกคนก็คือ Hugo Wolf  (1860–1903) พวกนี้สังกัดฝั่งที่ยกย่อง Wagner/List  และไม่เคยละโอกาสที่จะกัดลุงบี เสมอ แต่ตัวอย่างข้างบนก็น่าจะเพียงพอ
ผมชอบสำนวนเจ๊ชอว์เป็นที่สุด เธอเป็นอัจฉริยะอันดับหนึ่งของความปากจัดโดยแท้

แล้วบราห์มสล่ะ ชอบ/ไม่ชอบใคร


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 มี.ค. 06, 19:10
 ชื่อนั้นสำคัญไฉน
สำคัญสิครับ
เครซี่ ฮอร์ส นี่วีระบุรุษในดวงใจเชียวนะครับ (Tashunca-Uitco 1849?–1877) บุคคลเดียวที่สั่งสอนกองทัพสหรัฐกลางดินแดนสหรัฐ ลองสอบชื่อนี้ใน Wikipedia แล้วจะรู้ว่า Web นี้เชื่อถือไม่ได้เพียงใด
ม้าไม่ปกติแปลว่าม้าวิเศษครับ
แต่อย่าเปลี่ยนเรื่องดีกว่า เดี๋ยวกู่ไม่กลับ

ส่วนคุณปะกานีนี่ นับว่ายอด ขนาดไม่ใช่แฟน ยังวิจารณ์ขาดถึงเพียงนี้ คุณชอบใคร โปรดบอก ผมจะได้ไม่แตะ ฮิ ฮิ
โซนาตาทั้งสามชิ้นที่ว่า เป็นงานปลายชีวิต แต่งให้เพื่อนรักคือ Joseph Joachim (1831-1907) นักไวโอลินที่ดีที่สุดต่อจาก Paganini
แนะนำให้หา Milstein / Horowitz หรือ Szigeti / Petri มาฟัง
โดยเฉพาะคู่แรก ไม่น่าเชื่อว่า จะทิ้งมรดกดนตรีไว้แค่เพลงนี้ (opus 108) เพลงเดียว ทั้งๆที่เป็นเพื่อนร่วมตายกันมาแต่หนุ่ม
ผมสารภาพว่า นอกจากคู่ M/H แล้ว ผมยังไม่เคยได้ฟังอะไรที่เหนือกว่าครับ อ้อ เกือบลืม คู่ของพ่อลูก Berman ก็ไม่เลว
ในความเห็นของผม ที่ฟังมานั้น ภาคไวโอลินมักจะโดดเด่นเกินสมดุลย์ เพลงของลุงแกนี่แปลกครับ ทุกส่วนสำคัญเท่ากันหมด แม้กระทั่งตอนที่ไม่มีโน้ต
ลองสังเกตงานเดี่ยวเปียนโนสิครับ มือขวาและมือซ้าย งานหนักพอกัน ในโซนาตาชุดนี้ยิ่งยากเข้าไปอีก
ต้องสมมติว่าลุงบราห์มสแกเล่นเปียนโน เพื่อเป็นแท่นให้เพื่อนแกถูกเชิดชู และเพื่อนแกก็ไม่ยอมส่งเสียงไวโอลินชนิดที่บดบังเปียนโน มันเป็นเพลงแห่งสัมพันธ์ภาพนะครับ ผมว่า

คลาร่าชอบท่อนเริ่มของชิ้นแรกเป็นอย่างยิ่ง(op. 78) มันหวานลึกเสียจริงๆ
ส่วนซิมโฟนี่ เรื่องยาวครับ ตอนนี้ขอไปฟัง opus 78 ก่อน
เอ....นี่ถือว่าเครื่องร้อนหรือยังครับ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: paganini ที่ 29 มี.ค. 06, 00:55
 แหม ผมชอบนักดนตรีคนไหน คุณ pipat  ยิ่งต้องแตะเพราะจะได้คุยกันมันส์ไปเลย แลกเปลี่ยนทัศนคติมิใช่ฟาดฟันกันทางวาจา  ฟาดฟันกันได้แต่เพื่อมิตรภาพ เพื่อลับภูมิปัญญาให้แหลมคม
นานๆจะเจอคนที่มีความรู้ทางดนตรีคลาสสิคเหนือกว่าผมเช่นคุณ pipat ครับ (เอ๊ะ ผมว่าผมขี้โม้ไปป่าวเนี่ย อิอิอิ)

ครับ Beethoven, Brahms และอีกหลายๆคนพวกนี้เขาเป็นนักเปียโนโดยจิตวิญญาณ เวลาแต่งไวโอลินโซนาตาเลยอดที่จะขอเล่นเปียโนให้เด่นไม่น้อยไปกว่าไวโอลิน
ต่างกับสมัยบาร้อกถึงยุคคลาสสิคที่ไวโอลินเป็นพระเอก harpsichords หรือ piano เป็นตัวประกอบ

สงสัยคุณ pipat คงเล่น piano แน่เลย วันหลังเรามาเล่น Duo กันดีกว่าครับเดี๋ยวผมจะไปศึกษา Violin Sonata ของ Brahms มาก่อน

แต่คงอีกหลายเดือนนะครับ อิอิอิ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: B ที่ 29 มี.ค. 06, 06:10
 ขอบคุณค่ะ แล้วจะแจ้งไปนะคะ

ตอนนี้ขอมานั่งฟังเรื่องของ Brahms ด้วยคนค่ะ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 29 มี.ค. 06, 10:13
 เคยได้ยินมาว่า brahms แต่ง symphony อันแรกตอนอายุ 40 เพราะไม่กล้าแต่งต่อจาก beethoven น่ะครับ ก็คุณพี่แต่ง Symphony #9 ทิ้งท้ายไว้ซะขนาดนั้น ใครไม่มั่นใจในฝีมือตัวเองจริงๆคงไม่กล้าแต่งต่อ ตอนที่ brahms แต่ง symphony #1 ออกมายังมีคนเรียกงานชิ้นนี้ว่า beethoven's tenth เลยครับ



ในยุค brahms นี่วงการศิลปะเข้าสู่ยุค romantic แล้วครับ การแสดงออกอารมณ์จากภาพวาด กลอน ดนตรี นี่กำลัง in trend นักดนตรีส่วนมากเช่น wagner, listz, schumann, chopin ก็มาแนวนี้หมด แตมีคนบอกว่า่ brahms ไม่ใช่น่ะครับ ยังยึดกับยุค enlightenment อยู่ที่เน้นความคิดความเข้าใจความลึกซึ้งมากกว่าอารมณ์



แต่จากที่ผมฟังเอง งานบางชิ้นของ brahms ก็มีอารมณ์ปนเยอะเหมือนกัน แต่จะค่อนไปทางมืดมนหดหู่เครียดๆซะมาก ประมาณว่ามันลึกซึ้งต้องคิดเยอะจนเครียดน่ะครับ เช่นท่อนแรกของ Symphony #4  ผมไม่เคยฟังเพลงอะไรแล้วเครียดแบบนี้มาก่อนเลย ตอนไปดูคอนเสิร์ตเพลงนี้ จบท่อนนี้ท่อนเดียว conductor ต้องพักปาดเหงื่อก่อนเลยน่ะครับ



ผมไม่เถียงนะครับว่า brahms เก่ง แต่ความเก่งของเขาเป็นแบบลึกซึ้งเข้าถึงยาก ไม่เหมือน beethoven หรือ mozart หรือ bach ที่ฟังเพลงเขาแล้วรู้สึกทันทีว่าเก่ง


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 29 มี.ค. 06, 10:41
 คุณ pipat ท่าจะชอบ brahms ที่สุดนะครับ เพราะปกติแล้วพอพูดถึงพี่บี จะต้องนึกถึง 3 บีคือ บาค บีโธเฟน แล้วก็บีเทิลส์...เอ้ยบราห์มส์    แต่คุณ pipat ท่าจะจองไว้ให้ brahms คนเดียวเลย  

ส่วนตัวผมเองผมชอบเพลงแนว classical มากกว่า romantic อยู่แล้ว (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ชอบเพลง romantic นะครับ แต่บางทีอารมณ์มันรุนแรงเกินไป) ก็นิยม brahms พอสมควร แต่ผมเป็นคนร่าเริงโดยธรรมชาติ เลยบางทีรับความเครียดจาก brahms ไม่ไหว ผมก็เลยชอบ mozart กับ beethoven มากกว่า เพลงของ brahms ที่ผมชอบฟังเลยจะเป็นแนวที่เขาแต่งเพื่อตลาดซะมาก พวก hungarian dances lullaby ประมาณนั้นน่ะครับ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 29 มี.ค. 06, 14:18
 ยินดีต้อนรับครับ คุณช็อคเล็ตร้อน แม้ผมจะเป็นคอกาแฟก็ตาม แต่ความหลากหลายคือความอุดมสมบูรณ์ จริงใหมครับ

ขอบคุณที่มาร่วมวง ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับคีตกวีท่านอื่นมากนัก ชอบแต่ฟัง บังเอิญอ่านเกี่ยวกับลุงบีคนที่สามมากหน่อย แต่ก็ไม่ถือว่ามากมายอะไร เพราะไม่ได้จริงจังเหมือนอาชึพโดยตรง

จะขอแทรกเรื่องบีที่สองที่สัมพันธ์กับบีที่สามสักเล็กน้อย เพราะมีหลายท่านเอ่ยถึงอย่างน่าสนใจ

หลังกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ลิลิตยวนพ่ายสำเร็จลง ก็ไม่มีใครกล้าใช้คำประพันธ์ชนิดนี้ออกมาประชัน
เป็นความอับจนทางปัญญ เหมือนกับที่ยุโรปต้องเผชิญ หลังซิมโฟนี่เบอร์ 9 ของบีโธเฟ่นแต่งสำเร็จ

คนส่วนมากออ้างเหตุร้อยแปดเพื่อเลิกแต่งซิมโฟนี่ นี่เป็นวิกฤติการณ์ทางอารยะธรรมเชียวนะครับ เพราะมันลามต่อไปอีกว่า พวกงานเก่าๆ ก็หมดสมัยไปด้วย อย่าไปขุดออกมาใช้เลย
เหมือนเราบอกกันทุกวันนี้ว่ายอดของคำประพันธ์ต้องนี่เลย กลอนเปล่า ใครไม่แต่งกลอนเปล่าเป็นเชยระเบิด เพราะมัน อย่างโน้นอย่างนี้ อู้อี้ อู้อี้ กูตีกูลู จุด จุด จุด......ไม่เดิ้น ไม่เข้าถึงจิตวิญญาณอิสระของเสรีชนที่บูชาปัจเจกภาพเป็นประทีบส่องทาง ฯลฯ ฯลฯ
อย่าไปสนใจของที่ตายแล้ว พวกฉันท์ พวกร่าย พวกกลบท.......

อีทีนี้ก็ยุ่งสิครับท่าน พอเลิกใช้ มันก็สูญเลย เสียมากกว่าได้

บราห์มสเกิดมาในบรรยากาศอย่างนี้ละครับ เขาเกิดหลังปู่บีสิ้นได้ 6 ปี อิทธิพลยังคุกรุ่นอยู่ แต่ตอนแตกเนื้อหนุ่มอีกสิบสี่สิบห้าปีต่อมา มันเป็นยุคหลังบีโธเฟ่นเสียแล้ว ดนตรียุโรปกำลังปรับตัวอย่างโกลาหล พวกหัวเก่ากำลังถดถอย พวกสมัยใหม่เจี๊ยบกำลังครองโลก

เปียนโนโซนาตา ซึ่งเป็นรูปแบบสูงสุดของการเป็นนายแห่งเปียนโน (ไฮเด้น 60 กว่าบท มทสาร์ต 20 กว่า ชูเบิร์ต เกือบ 20 และบีโธเฟ่น 32 ที่ต้องบอกเป็นตัวเลขกลมๆ เพราะบัญชีผลงานของท่านเหล่านี้ไม่สมบูรณ์ ยกเว้นปู่บี ที่แกมีหัวการค้าสูง เก็บข้อมูลชัดเจน) มาถึงสมัยของเมนโดลโซนห์ ชูมาน แบริโอ้ วากเนอร์ นี่ 0 ชิ้นครับ คือไม่แต่งเลย หรือไม่ก็แต่งแต่ไม่เผยแพร่ โชแปง ซึ่งแต่งแต่เพลงเปียนโน มี 3 ชิ้น  List ซึ่งวางตนเองเป็นเทพแห่งเปียนโน มี 2 ชิ้น

นี่แค่งานเดี่ยวเปียนโนนะครับ พอมาถึงซิมโฟนี่ ยิ่งหนักเข้าไปอีก หากจะเปรียบด้วยวรรณกรรม ก็ระดับมหากาพย์ คือทุนทางปัญญามีเท่าไหร่ ต้องใช้หมด เผลอๆ ต้องไปกู้มาใช้แต่งซิมโฟนี่

เมนโดลโซห์น เลี่ยงไปแต่งด้วยเนื้อหาที่เบาลง ซับซ้อนน้อยลง ชูมันแต่งไว้สี่เบอร์กว่าๆ แต่ก็ยังไม่พอใจ พยายามแก้ ตกแต่ง ตัดต่อ จนตาย
ที่สำคัญ แก่นของมันก็ยังมิใช่ซิมโฟนี่ครับ จะออกแนวพรรณาความโดยขาดหลักการทางปรัชญาและหลักการแห่งชีวิต
เพราะว่าความสนใจของคนกำลังแกว่ง มีของใหม่ให้ลองมาก แล้วก็คุณปู่บี แกจบบัญชีไว้ชนิดคนที่จะมาเปิดบัญชีทำต่อ ได้แต่ส่ายหัวครับ สู้ไม่ได้ ไม่เห็นทางเลย

ดังนั้น การที่ลุงบี หาญกล้ามาทำซิมโฟนี่ในยุคนั้น ก็คงเหมือนนีล อาร์มสตรองกล้าไปดวงจันทร์ โดยหวังพึ่งสไลด์รูลมังครับ
แต่แกก็ทำสำเร็จ ด้วยมาตรฐานเดียวกับบีโธเฟ่น (มาตรฐานนะครับ ไม่ใช่คุณภาพ เดี๋ยวโดนคุณปะกานีนี่อัดเอาอีก แหะ แหะ)
มีคนมาแซวว่า มันเหมือนของบีโธเฟ่นนะ ว่าไม้
แกบอกว่า any donky can see that.............

งานชิ้นนี้เริ่มต้นตอนอายุยี่สิบนิดหน่อย มาเสร็จตอนสี่สิบกลางๆ คือใช้เวลายี่สิบสี่ปีครับ ความจริงแกไม่ต้องแต่งก็ได้นะครับ งานชิ้นนี้เป็นผลงานลำดับที่ (opus) 68 แปลว่ามีอีก 67 เบอร์อยู่ก่อนหน้า รวมทั้งฮังกาเรี่ยนแดนส์อันลือเลื่อง ทำให้ลุงบีเป็นยอดนักแต่งเพลงของยุโรปไปแล้วเรียบร้อย
งานชิ้นนี้ ทำให้เกิดตามมาอีกสามเบอร์ ซึ่งยอดขึ้นเป็นลำดับ แต่ที่สำคัญคือ มันเปิดทางให้อีกสองสามชั่วคนต่อมา กล้าเล่นกับงานหนักแบบซิมโฟนี่นะครับ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 29 มี.ค. 06, 15:38
 ผิดบรรลัยวายวอดเลยท่าน ขอรับประทานโทษอย่างสูง
ขอแก้  ยวนพ่ายเป็น ตะเลงพ่าย ครับ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 29 มี.ค. 06, 17:27
 ในช่วงยุคโรแมนติคนี่การยึดติดตามแบบแผนนี่ out ไปแล้วน่ะครับ เขามองกันว่าจะแต่งเพลงทั้งทีทำไมต้องยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ มี 3 ท่อนๆช้าอยู่กลางขนาบด้วยท่อนเร็ว ช่วงแรกเป็น introduction ตามด้วย exposition ของธีม จบด้วย coda จะแต่งอะไรก็แต่งไปเลย sonata form เลยไม่เป็นที่นิยม เนื้อหาของเพลงก็เหมือนกัน ทำไมต้องแต่งแต่เรื่องที่ยิ่งใหญ่อลังการ เป็นปรัชญาหรือมีข้อคิด แต่งเรื่องธรรมดาสามัญไม่ได้หรือ เห็นผู้หญิงปั่นด้ายก็เอามาแต่งเพลงก็ได้ นั่งเรือไปเที่ยวก็เป็นเพลงได้



เมนเดลส์ซอห์นที่ไม่มี piano sonata เลย (จริงๆมีนะครับ แต่ไม่ดังเท่านั้นเอง) แต่มี song without words อยู่เป็นร้อยได้ อาจจะไม่มีอะไรลึกซึ้งมาก เพราะเมนเดลส์ซอห์นไปเที่ยวไหนประทับใจอะไรก็แต่งไว้ เป็นเหมือนบันทึกการเดินทาง โชแปงนี่มี prelude 24 nocturne 20+ etude valse polonaise etc etc ลิทซ์เองก็มีเพลงเปียโนดีๆเยอะ แม้ผมจะรู้สึกว่ามัน emotional extravaganza ไปหน่อยแต่ก็คิดว่าเพราะ (เป็นบางช่วง)



แต่ถ้าพรรณาโวหารมากขนาด tone poem นี่ผมก็ไม่ไหวเหมือนกันนะครับ งานที่เขาว่าดีหลายๆชิ้นของ richard strauss (คนละคนกับ Johan Strauss the Waltz King นะครับ) พวก Also Sprach Zarathustra, Don Juan, Don Quixote พวกนี้ผมฟังแล้วมึน ดูเหมือนว่ามันไม่เป็นเพลง อาจจะต้องไปอ่านนิยายก่อนแล้วมาฟังอีกที    งานพวกนี้ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีบ้าง (เช่นที่กล่าวมาแล้ว หรือ Midsummer Night's Dream ของ Mendelssohn) รูปภาพบ้าง (เช่น La Mer ของ Debussy, Pictures at an Exhibition ของ Ravel) บางทีถ้าไม่เคยอ่านหรือดูมาก่อนอาจไม่รู้เรื่อง บางทีถ้าอ่าน title ของเพลงก็พอช่วยได้บ้าง เขาี้เรียกงานประเภทนี้ว่าเป็น program music ครับ ส่วน Brahms นั้นเชื่อใน absolute music คือสาระของงานดนตรีหาได้จากดนตรีเอง ไม่ต้องหาอ่านหาดูจากที่อื่นมาก่อน ความซับซ้อนของงานก็เลยเยอะกว่า



ดนตรีคลาสสิกจริงๆเข้าใจลึกซึ้งยากมั้งครับ ส่วนมากคนจะนิยมฟังแต่ช่วงเด่นๆ น้อยนักที่จะฟัง sonata หรือ concerto แบบครบทั้งสามสี่ท่อนโดยเข้าใจว่าขาดท่อนใดท่อนหนึ่งไปไม่ได้ อย่าง moonlight sonata ของ beethoven ที่โด่งดังผมมั่นใจว่าส่วนมาก 80% เลยเอ้า รู้จักท่อนแรกท่อนเดียว ตัวผมเองรู้ว่ามี 3 ท่อนก็ยังไม่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละท่อนเหมือนกันครับ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 29 มี.ค. 06, 17:56
 นั่งฟังอย่างเดียวเพลินดีแท้ๆ    


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 29 มี.ค. 06, 19:51
 "รับความเครียดจาก brahms ไม่ไหว "
"ท่อนแรกของ Symphony #4 ผมไม่เคยฟังเพลงอะไรแล้วเครียดแบบนี้มาก่อนเลย"
ผมรู้สึกว่าเวปนี้ มีสมาชิกที่โสตสัมผัสพิเศษหลายท่านจริงๆ พูดในสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลย ตรงประเด็นยังกับล็อคเป้าไว้

Sir Donald Tovey (1875–1940) ปรมาจารย์การวิเคราะห์เพลงแกชอบเบอร์ 4 นี้มาก อยู่ในคีย์ eไมเนอร์ (ท่านปะกานินี่จะอธิบายได้ดีกว่าผม โน๊ตสักตัวยังอ่านไม่ออกเลยครับ อย่าว่าแต่จะเคาะคีย์ให้เป๋นดนตรี) ซึ่งแปลกจากปกติ
แกอธิบายง่ายๆ ว่า ใครก็ตามที่เป็นคนปกติ ฟังตอนแรกของท่อนเริ่มต้นนี้ น่าจะรู้ว่า เพลงกำลังจะกล่าวถึงความโศกาอาดูรอย่างลึกซึ้ง...................

แต่เดี๋ยวก่อน ผมว่าอีตา Tovey นี่แหละ ต้นเหตุของความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบราห์มส
เรื่องลึก เรื่องยาก เรื่องดูดดื่มอะไรพวกนี้ มันมาจากการตีความล้วนๆ
ลุงบีแกไม่ใช่พวก Sarasate หรือไชค็อฟสกี้ ที่สร้างเมโลดี้สุดสะเทือนใจ ฟังๆ ไปน้ำตาหยดเผาะ เผาะ เหมือนฟังละครเรื่องสายเปล ตอนที่ผู้พิพากษา(ลูกชาย) สั่งประหารชีวิตแม่บังเกิดเกล้า(โดยไม่รู้ชาติกำเนิด -นอกเรื่องไปหน่อยครับ กลอนพาไป)
แต่ลุงแกเป็นพวกชนชั้นต่ำเขยิบฐานะเป็นชนชั้นกลาง พวกนี้ไม่ใช้วัฒนธรรมฟูมฟาย แต่เป็นพวกเก็บกดมากกว่า

เอาอย่างนี้ครับ ฟังอีกคนซิว่า วิเคราะห์งานของบราห์มสว่าไง  Claudio Arrau (1903–1991.) นักเปียนโนที่เล่นโน๊ตได้สะอาดที่สุดที่หูสั่วๆ ของผมเคยได้ยิน แกบอกว่าท่อนช้าในโซนาต้าเบอร์ 3 (op.5) ของลุงแกนี่ ไพราะที่สุดต่อจากท่อนเพลงรักใน Tristram and Isolde ของ Wagner เลยทีเดียว แถมยังหยอดด้วยว่า เป็นเปียนโนที่ sexy มาก
ตรงนี้ละครับ ที่อยากจะตอบคุณช็อคร้อนว่า ลุงบราห์มสแกทำเรื่องเครียดไม่เป็นครับ แต่ความเครียดน่าจะมาจากคอนดัคเตอร์ที่คิดว่าลุงแกเครียดมากกว่า
เอางี้นะครับ ลองหาเบอร์ 4 ที่กำกับโดย Victor de Sabata (1892–1967) เมื่อปี 1939 มาฟังดู http://www.cduniverse.com/search/xx/music/pid/1033777/a/Victor+De+Sabata+-+Brahms:+Symphony+no+4%3B++Wagner,+et+al.htm
อย่าดูถูกว่าเป็นการบันทึกเสียงเมื่อพ.ศ. 2482 นะครับ ในความเห็นอันไร้เดียงสาของผม มันคือบราห์มสจากแผ่นเสียงที่ดีที่สุดตลอดกาล

วิคตอร์เป็นอิตาเลี่ยน ซึ่งโดยพื้นฐานจะแพรวพรายในการสำแดงออก ยังบวกกับที่แกเชี่ยวชาญในโอเปร่า สองอย่างนี้รวมกัน ย่อมผลิตของวิเศษได้ง่ายๆ ผมขออธิบายแบบคนไม่รู้ดนตรีนะครับ ว่าแกกำกับเพลงไปตามกำลังลมหายใจของมนุษย์ เพลงของแกจึงไม่เครียด เพราะไม่ต้องกลั้นใจรอท่อนอร่อย หรือยืดลมหายใจเพื่อรองรับบางวลี (ไม่รู้จะว่าผมบวมรึเป่า)
คือธรรมดาเวลาเราลากคันชักไวโอลิน หรือเป่าแตร มันจะไปตามใจปราถนา แต่คนเรามีขีดจำกัดในการหายใจ คอนดัคเตอร์ดาดๆ จะเน้นจังหวะ ลากอารมณ์ หรือกระแทกกระทั้น จนโครงสร้างของเพลงเสียดุลย์ ดังสุด ช้าสุด เร็วสุด พวกนี้แหละครับ
ดุลย์ในงานของบราห์มสคืออะไร
อันนี้ต้องยืมคำของ Dietrich Fischer-Dieskau ออกเสียงว่า ฟิชเช่อร์-ดิสเกาว(1925-) นักร้องเสียงสวรรค์คนสุดท้าย แกบอกว่า จะเข้าถึงสุนทรีย์ภาพของบราห์มส คุณต้องทำผ่านเพลงร้อง
ผมก็เลยถึงบางอ้อ ว่า ที่คนส่วนมากเบื่อบราห์มส น่าจะเป็นเพราะเพลงไปอยู่ในมือซาตาน(เปรียบเทียบให้เห็นภาพน่ะครับ)

ฟังเรื่องนินทานี้หน่อย เมื่อสักห้าหกปีก่อน วงเอเชี่ยน ยูธ มีคิวมาเล่นที่เมืองไทย คอนดัคเตอร์ก็เป็นคนไทย แกให้สัมภษษว่า เสียดายที่ต้องเปลี่ยนจากซิมโฟนี่ของไชค็อฟสกี มาเป็นบราห์มส เบอร์ 4 แต่ก็ยังโชคดี เพราะเพลงไม่ยากกกกกกกกกกก
ผมงี้ร้องจ๊าาาาากกกกกก เลยครับท่าน
นี่คงเป็นการประกาศเป็นครั้งแรกในโลก ว่าเพลงนี้ไม่ยาก
ตอนแต่งเพลงนี้ ลุงแกรู้อยู่แล้วว่าเป็นเพลงปราบเซียน แกก็เลยเรียบเรียงเป็นเปียนโนสี่มือ เล่นให้เพื่อนวงในของแกตรวจสอบเสียก่อน ทุกคนสั่นหัวครับ คนที่สั่นหัวนี่ ล้วนแต่เป็นชื่อในตำนานทั้งนั้น บางคนขอปรับเปลี่ยนบางส่วน คุณลุงแกก็สั่นหัวลูกเดียวบ้าง บอกว่าโน แล้วแกก็ไปแอบเตี๊ยมกับวงบ้านนอกเล็กๆไว้ เพื่อลองเล่นก่อน เลยกลายเป็นความผิดใจกันนิดหน่อย เพราะคอนดัคเตอร์ที่จะได้เล่นรอบปฐมทัศน์โลก ดันถูกเจ้าของเพลงตัดหน้า
แต่แล้ว เพลงนี้ก็รอดมาถึงทุกวันนี้

ผมมีหลักฐานมาเสนอด้วยนะครับ ว่าเพลงนี้ ของแท้ต้องไม่เครียดครับ เพราะการแสดงแบบเต็มยศครั้งแรกนั้น พอจบท่อนแรก คนดูก็ไม่ยอมฟังท่อนสองครับ ยึนขึ้นปรบมือทั้งโรงแสดง นาน กว่าจะยอมให้เล่นท่อนสอง และปรบมือทุกท่อนครับ
มีครั้งหนึ่งลุงแกไปแอบฟังอยู่ในที่นั่ง box office คนดูรู้เข้า ตบมือไม่เลิก จนลุงแกต้องลุกขึ้นโค้งรับ นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ชาวเวียนนาเห็นแกในที่สาธารณะ

เพลงอย่างนี้ไม่น่าจะเครียดนะครับ

ส่วนท่านหัวหน้าม้าผยอง ฟังอยากเดียว จะถูกแช่งให้ฟังเพลงแม่นยิ่งขึ้นนะครับ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 29 มี.ค. 06, 22:54
 ต้องแก้คำผิดอีก 2 แห่งครับ
อ็อกสฟอร์ด แก้เป็น เคมบริตจ์
เรื่องลายเซ็นต์ให้ลูกสาว Strauss jr. มีคนให้ข้อมูลว่า เด็กสาวขอให้เขียนบนพัด เพื่อเอาไว้คลี่อวดกัน
ผมเห็นที่เขาพิมพ์ตัวหนังสือ เขา crop ไว้ จึงเข้าใจว่าเป็นกระดาษธรรมดา

มือสมัครเล่นก็อย่างนี้ละครับ เขียนผิดมากกว่าถูก
มีที่สะกดผิดอยู่ประปราย ก็โปรดอดทนอ่านนะครับ
นึกว่าสนทนากันเล่น
ดีกว่าอยู่ปล่าว ปล่าว


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 30 มี.ค. 06, 12:01
 เครียดที่ผมว่าผมหมายถึง dark, brooding น่ะครับ ไม่ได้เป็นแบบเศร้าสร้อย ดนตรีอีกชิ้นที่ให้ความรู้สึกแบบนี้ก็คือ Rachmaninov 2nd Piano Concerto ขึ้นต้นมาก็หดหู่แล้ว

แต่ก็เข้าใจว่าอารมณ์เพลงก็อยู่ที่คอนดัคเตอร์ตีความ ไว้ผมจะลองหาเวอร์ชั่นที่คุณ pipat ว่าๆสดใสมาฟังละกันครับ เวอร์ชั่นที่ผมมีคือของ Kleiber conducting Wiener Philhamoniker

แต่หดหู่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ดีนะครับ ตอนผมไปดูคอนเสิร์ตที่ว่าคอนดัคเตอร์ต้องหยุดปาดเหงื่อนั่น ก็มีคนปรบมือโห่ร้องตั้งแต่จบท่อนแรกเลย ส่วนตัวผมเองผมยังจำช่วงแรกของท่อนแรกได้ขึ้นใจเลย นึกตอนไหนก็นึกออก (ปกติแล้วผมจำไม่ค่อยได้หรอก ต้องเล่นขึ้นมาก่อนถึงจะจำได้)


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 30 มี.ค. 06, 20:28
 Rach II แต่งโดยคนที่เพิ่งบำบัดทางจิตมาหมาดๆ สิ่งที่บรรจุไว้นี่ ย่อมไม่ปกติอยุjแล้ว แต่เป็นหนึ่งในของดีที่สุดเชียวแหละครับ มันอาจจะเป็นข้อเตือนใจที่ดีว่า บางครั้ง เราก็น่าจะบ้าสุดๆ ดูบ้าง
Kleiber แผ่นนี้ผมก็มี แต่แผ่นเสียงดีกว่า CD หลายร้อยเท่า เสียงจากแผ่นปลาสติคเคลือบมีเนียมนี่แห้งแร้งไร้น้ำใจ เพราะไม่ทิ้งเยื่อไยให้หูเลย อาจจะเป็นเพราะเครื่องของผมมันถูกๆ แต่ฟังจาก turntable ชุดเด็กๆที่ผมมี เสียงก็น่าพอใจมากแล้วครับ
ผมดันไปชอบ Kleiber คนพ่อ (Erich ไม่ใช่ Carlos) เล่น Beethoven นี่ ไม่ต้องหาใครมาเทียบเลยครับ ยังกับฝูงม้าป่าทรงพลัง ควบตระบึงผ่านท้องทุ่ง จะดูทีละตัวก็หลง จะดูรวมทั้งฝูงก็อัศจรรย์ใจ
แต่ Kleiber ลูกนี่ก็เยี่ยมนะครับ เสียดายที่ไม่ค่อยอัดแผ่น และเสียดายยิ่งขึ้นไปอีก ที่กลับไปอยู่กับพ่อเสียแล้ว หมดกัน คอนดัคเตอร์ที่ไม่ใช่นักแสดง และเป็นของจริง
เขาไม่เหมาะกับงานของลุงบีนัก ยกเว้นเบอร์ 2 เพราะแกเป็นกลุ่ม "คิดมาก" จะเล่นบราห์มสให้ดีนี่ ห้ามคิดครับ ต้องทำเหมือนที่สมเด็จฯ นริศ ตรัสว่า กินเข้าไปแล้วแตกออกมาเป็นเหื่อ คือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งที่ตัวเองกำลังทำ

แนว "สดใส" ที่คุณ HotChoc ชอบ มีแผ่นนี้แผ่นเดียว ฝีมือคอนดัคเตอร์อมตะ Stokowski เล่นสด น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตกระมัง แกเกิด 1882 เล่นเมื่อ 1974 อายุใกล้ร้อยแล้วครับ อีกแป๊บเดียว
แต่อายุไม่มีความหมาย แกเล่นเหมือนเพิ่งตกหลุมรักสาวสวยมาหยกๆ (และคงมานั่งฟังตรงแถวหน้าด้วย -แหะ แหะ เปรียบเทียบนะครับ)
74.14 นาทีในแผ่นนี้ ไม่มีสักวินาที ที่ทำให้ผิดหวัง
ผมไม่รู้วิธีส่งไฟล์เสียง หาไม่จะอภินันทนาการเสียให้เข็ด เพราะลองหาในเนทแล้ว ไม่เจอ แปลว่าหมด
เอารหัสไปก็ได้ครับ Stokowski. BBC Radio Classics BBCRD9107
นี่เป็นคำวิจารณ์ http://www.gramophone.co.uk/gramofilereview.asp?reviewID=9503009&mediaID=5051

แกเล่นอร่อยจนคนดูลืมตัว จบท่อนแรก ปรบมือกันกราว
แต่แล้วก็ได้สติ ผีผู้ดีเข้าสิง พากันหยุดเสียงปรบมืออันมีค่า เปลี่ยนไปนั่งนิ่งเป็นซอมบี้ ผมไม่รู้ว่าธรรมเนียมท่อนไม้ฟังเพลงนี่ใครเป็นคนสอน แต่มันแย่จริงๆ มทสาร์ตหรือบีโธเฟ่นนี่ อยากให้คนดูมีส่วนร่วใตลอดเวลา แม้กระทั่งตอนสตราวินสกี้เสนอ Le Sacre du printemps ในปี 1913 คอนดัคโดย Pierre Monteux ให้กับ Théâtre des Champs-Élysées in
ลือกันว่าเล่นไปสักพักคนดูก็ทะเลาะกันว่านี่มันของดีหรือของเลว สุดท้ายก็เหมือนแฟนคาราบาวครับ ตีกันหน้าเวทีนั่นแหละ มันเป็นบ้าไม๊ล่ะท่าน

ผมไม่เห็นด้วยเลย กับการทำศิลปะให้กลายเป็นพิธีกรรม ทีพิธีกรรมที่เป็นศิลปะ อย่างโขน ก็ดันมีคนทำจนกลายเป็นตลกคาเฟ่ไปเสียนี่
ขอโทษที นอกเรื่องมากไปหน่อยครับ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 31 มี.ค. 06, 11:36
 คราวนี้ มาทำความรู้จักลุงบีเสียที
Johannes Brahms (May 7, 1833 – April 3, 1897)
เป็นคนฮัมบวร์ก เกิดในสลัม (น่าจะเรียกอย่างนั้นได้) ในครอบครัวที่ค่อนข้างแปลก พ่ออ่อนกว่าแม่ถึง 17 ปี แม่มาจากตระกูลผู้ดี แต่ก็ตกต่ำเป็นปลายแถวมานานพอดู นินทากันว่ายอมแต่งกับเด็กหนุ่มกว่า เพราะเป็นทางเดียวที่จะขายออก ค่าที่ตัวเองไม่สวยเลย แถมขาเป๋ไปข้างหนึ่ง เห็นใหมครับ โรคสนใจชีวิตชาวบ้านนี่เป็นมาแต่ใหนแต่ไรเชียว

พ่อของบราห์มส Johann Jakob Brahms เป็นนักดนตรีต๊อกต๋อย มาจากต่างเมือง เล่นดนตรีได้หลายอย่าง ในที่สุดก็เป็นมือเบสประจำวงของเมือง มีลูกสามคน คนกลางเป็นลูกสาว น้องสุดท้องโตขึ้นเป็นนักเปียนโน แต่ไม่มีชื่อ ทั้งคู่ตายก่อนพี่คนโต

ลุงบี เขียนถึงตัวเองว่า
I have had no experiences that I could communicate.
I have attended no schools or institutions for musical culture.
I have embarked on no travels for purposes of study.
I have received no instruction from eminent masters.
I am the incumbent of no public offices,
and I hold no official positions (จาก Jeffrey Dane)

เขายืนยันว่าวัยเด็ก มีความสุขดี และรักแม่มาก เมื่อแม่ตาย เขาสร้างงานดีที่สุดสองชิ้นเป็นอนุสรณ์  ชิ้นแรกเป็นเพลงร้องประกอบวงขนาดใหญ่ ระดับ Requiem แต่บราห์มสทำสิ่งพิเศษไว้หลายอย่างในงานนี้ อันแสดงถึงความคิดทางศาสนาของเขาอย่างเด่นชัด (เราจะข้ามไปก่อน เพลงนี้เพลงเดียวทำให้บราห์มสตั้งตัวได้ และถูกยกย่องคู่กับของ Verdi ดังนั้น ควรพิจารณาต่างหากดีใหมครับ)
เพลงนี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของเครื่องหมายการค้ายี่ห้อ บราห์มส = ลูงส่ง ล้ำลึก ซึ่งผมเห็นว่าจริง แต่ก็ไม่จริงทั้งหมด ประเด็นนี้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกได้สองใบเลยล่ะ (หรือคนเดียว แต่ทำเอก แล้วต่อด้วย post doc.ก็ได้)
เพราะในงานรำลึกถึงแม่อีกชิ้น ที่เล็กกว่ามากๆ คือเป็นแค่วงสามชีวิตที่ผสมผสานเครื่องดนตรีอย่างแปลก Horn tri op.40 ประกอบด้วย piano violin และ French horn มีคนทำปริญญาเอกเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว (ถ้ามีเวลา เราค่อยมาถกกันถึงงานชิ้นนี้นะครับ บอกแต่ว่า ถ้าเลือกได้เพลงเดียว ผมจะเลือกเพลงนี้ ถ้าเลือกได้ท่อนเดียว จะเลือก op.60 ท่อน3))

บราห์มสเป็น Prodigy คือเด็กอัจฉริยะ เขาแต่งโซนาตาตั้งแต่สิบขวบกว่า งานที่เก่าที่สุด ที่เขายอมให้รอดชีวิตมาได้ (ปกติแกเป็นจอมทำลายล้างครับ เขาว่าแกฉีกทิ้งถึงสองโหล กว่าจะยอมให้ไวโอลินโซนาตาที่คุณปะกานีนี่อ้างถึง รอดมาสามชิ้น) เป็นScherzo (สแก๊ตโซ่) ขนาดมหึมา in E-flat minor ยาว 9 นาทีกว่า ฟรันส์ ลิสต์ เห็นโน๊ตเข้าก็เล่นเลย และชมว่ามีอนาคต บราห์มสแต่งตอนอายุ 18 ครับ
อายุ 14 ก็เริ่มเล่นเปียนโนในบาร์ท่าเรือแล้ว กลางวันทำงานร้านซ่อมเปียนโน ระหว่างเล่นก็อ่านหนังสือไปด้วย (แยกกายออกจากจิตกระมัง)
เพื่อนร่วมสมัยบันทึกถึงบราห์มสตอนหนุ่มน้อยว่า ฝีมือไม่แพ้พวกโปลิช ซึ่งเป็นคำยกย่องอย่างพิเศษสำหรับชนชาติงุ่มง่ามอย่างเยอรมัน
ในยุคนั้น เปียนโนถูกปกครองโดยศิลปินจากโปแลนด์ คงไม่ต้องบอกว่าโชแปงเป็นชาวอะไรนะครับ

ลองอ่านจดหมายถึงครูเปียนโนคนแรก Otto Friedrich Willibald Cossel (ลงชื่อเต็มให้เป็นเกียรติครับ) ตอนนั้นอายุ 9 ขวบ
January 1, 1842
Beloved Teacher!
Once again a year has passed, and I am reminded how far you have brought me in music in the year gone by. How many thanks do I owe you for that! True, I must also consider that at times I did not follow your wishes, in that I did not practice as I should have. I promise you, however, in this year to comply with your wishes with diligence and attentiveness. While wishing you much happiness for the new year, I remain
Your obedient student,
J. Brahms
Happy New Year, all!

หลังจากเรียนอยู่สองปี บางคนก็บอกว่านานกว่านั้น ครูก็หมดภูมิ เจ้าหนูย้ายไปเรียนกับครูอีกคน  คราวนี้เรียนของยาก คือการประพันธ์และการประสานเสียงเครื่องดนตรี
เรรียนฟรีครับ ไม่มีเงินจ่าย (พักแป๊นะครับ หิวข้าว)


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 31 มี.ค. 06, 12:54
 แก้คำผิด (อีกแล้ว)
Mendelssohn มี 3 sonatasครับ
op.6  Sonata no.1 in E major
op.105  Sonata no.2 in G minor
op.106  Sonata no.3 in B-flat major


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 31 มี.ค. 06, 13:49
 คุณมนุษย์ปักกิ่งเชิญมาร่วมวงหน่อยครับ อยากฟังหลากหลายความเห็นให้ครึกครื้นกันหน่อยครับ

ผมรับเป็นโปรโมเตอร์อย่างเดียวครับ ฮิฮิ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 31 มี.ค. 06, 14:32
 อ้าว กลายเป็นค่ายมวยไปแล้ว หัวหน้า
ผมขอเป็นคนพากษ์ก้อแล้วกัน

ถือโอกาสขอบคุณคุณมนุษย์โบราณด้วยครับ ได้เพลงดีๆจากความอนุเคราะห์ เพียบ
คนอะไร ฟังเพลงหมดโลกเชียวหรือ
เสียดาย Mahler - Sinopoli downloadไม่สำเร็จ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร

Sinopoli กำกับ German Requiem ที่ว่ามาข้างบนได้เหลือเชื่อ
สมเป็นอิตาเลี่ยนจริงๆ เสียดายที่กลับไปรับใช้พระเจ้าซะแล้ว กำลังซ้อมอยู่ดีๆ ไปเลยครับ โรคหัวใจ

นึกถึงแกแล้ว ก็อยากทำเรื่อง บราห์มสโดยคนเยอรมัน อิตาเลี่ยน ฝรั่งเศส และรัสเซียดู
ถ้าไม่แก่ตายเสียก่อน


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 31 มี.ค. 06, 15:31
 ครูคนที่สองนี่ ถือเป็นสิ่งที่พระเป็นเจ้าประทานมาให้ลุงบีโดยแท้
Eduard Marxsen  (1806-1887) เป็นครูมีชื่อของเมือง เพราะสืบสกุลดนตรีมาจากมทสาร์ต (เรียนกับลูกศิษย์มทสาร์ต) และชูเบิร์ต(เป็นศิษย์เพื่อนสนิทชูเบิร์ต) และเป็นครูของ Cossel ด้วย
คลาร่าบันทึกไว้ตอนพบกับบราห์มสใหม่ๆ ว่า มาร์กเซ่นทำได้ดีมากกับเด็กหนุ่มคนนี้ ลุงบีก็คงซาบซึ้งกับบุญคุญที่ได้รับ ในปี 1881 เขาอุทิส  Piano Concerto No.2 op.83 ให้ครูผู้เฒ่า
มันเป็นยังไงหรือครับงานชิ้นนี้
มันมี 4 ท่อน(แทนที่จะเป็น 3) มันมีท่อนช้าที่ถูกแซวว่าจะเป็นเชลโล่โซนาต้าซะละมากกว่า มันมีท่อนสะแก๊ตโว่ที่บราห์มสบอกว่าชิ้นเล็กๆ แต่นักเปียนโนต่างก็หวาดกลัวกันเป็นที่สุด และเป็นคอนแชร์โตชิ้นหนึ่งในชีวิต ใครไม่เล่น ก็เหมือนศูนย์หน้าที่ไม่เคยยิงประตูได้เลย
มีหลายคนยกให้เป็นที่หนึ่ง แต่เพื่อไม่ให้ท่านผู้มีเกียรติหมั่นใส้ ผมให้เป็นหนึ่งในสองของเปียนโนคอนแชร์โต้ที่ดีที่สุดก้อแล้วกัน
(ใครหาชิ้นที่ทัดเทียมกันได้ เชิญเสนอมาเลยนะครับ ของรางวัลเป็นรถเก๋ง.... เอ๊ย ไม่ใช่ เป็น CD สั่งตัด the greatest piano concertos on earth 1 แผ่น)
เอ นี่ผมจะทำผิดกฏหมายเลือกตั้งใหมนี่
บราห์มสเรียน(ฟรี) กับครูผู้นี้ 2-3 ปี ก็เริ่มหากินได้ เรียบเรียงเสียงประสานให้วงดนตรีที่พ่อเป็นสมาชิก และเล่นคอนเสิร์ตเล็กๆ รวมทั้งเป็นนักเปียนโนประจำบาร์ อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอีตัว
เขาเล่าว่า ๆไม่รู้รอดมาจากแรงกระตุ้นสมัยนั้นได้อย่างไร คิดดูเถอะ เด็กหนุ่มหน้าตาดี กำลังแตกเนื้อหนุ่มเปรี๊ยะๆ นั่งบนตักโสเภณีครึ่งโหล กึ่งเปลือย ถูกกอดรัดฟัดเหวี่ยงเหมือนตุ๊กตา
ยังรอดมาเป็นบีคนที่สามได้
ตอน Mendelssohn ตาย ปี 1847 ครูคนนี้บอกไว้ล่วงหน้าว่า นี่แหละคนที่จะมาแทน และตอนเริ่มเรียนใหม่ๆ มีพ่อค้าหัวใส ขอซื้อเด็กน้อยคนนี้(อายุ 12) จะเอาไปแสดงเป็นของแปลกที่สหรัฐ (แบบเดียวกับแฝด เอ็ง/ช้าง หรือ อิน/จัน) ก็ครูคนนี้แหละ ที่ห้ามไว้


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 31 มี.ค. 06, 15:41

รูปแรกของบราห์มส อายุ 14 เป็นลายเส้น


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 31 มี.ค. 06, 15:42
 รูปที่สอง มีตังค์ถ่ายรูปแระ อายุประมาณเดียวกัน 14 - 15


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 31 มี.ค. 06, 15:47

รูป


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 31 มี.ค. 06, 17:40
 คุณ pipat วิธีย่อรูปที่เหมาะสมคือใช้ Photoshop และ สั่ง resize ให้ได้ขนาดตามต้องการ (ประมาณรูปแรกถือว่าใช้ได้ครับ) ถ้าภาพแนวนอนกว้างสัก 500-700 จุดกำลังเหมาะ ถ้าเป็นแนวตั้งก็ให้สูงสัก 300-450 จุดก็กำลังดีครับ

ทำเสร็จแล้วเลือก save for web ปรับขนาด output โดยการปรับที่ quality ถ้าทำแล้วภาพที่คุณภาพพอรับได้ยังใหญ่เกินไปก็ต้องกลับไป resize ให้เล็กลงอีกสักหน่อยก่อน

ชนิดของภาพ jpg จะเหมาะกับภาพทั่วไป แต่ถ้าเป็นภาพแนว graphic สีน้อยๆเส้นคมๆ(อย่างพวกการ์ตูน) บันทึกเป็น gif จะคุณภาพดีกว่าและ file เล็กกว่าครับ ถ้าไม่แน่ใจก็ลองปรับดูจนพอใจแล้วค่อยบันทึกครับ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 เม.ย. 06, 09:57

ขอบคุณครับ คราวนี้ทำเป็นและ


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: Peking Man ที่ 01 เม.ย. 06, 13:27
 โอ...มีเสียงเรียกร้องให้เข้ามาร่วมวง

ต้องขอออกตัวว่าผมชอบฟังดนตรี ไม่ว่าดนตรีประเภทใดก็ได้ครับ คลาสสิค พ็อพ แจซ บลูซ์ ไทย จีน ญี่ปุ่น แขก ฝรั่ง แต่ว่าผมไม่รู้หลักในการ appreciate อะไรเท่าใดนัก ผมชอบฟังไปเรื่อย ๆ ดังนั้นเกี่ยวกับ Aesthetics ผมต้องขอยกธงขาวครับ  

เห็นคุณ  pipat กล่าวถึงว่า Rach no. 2 เป็นชิ้นงานที่ผลิตตอนที่ Rach แกพึ่งออกจาก รพ. อ่านแล้วก็คิดถามตัวเองว่า เอ...ที่ผมชอบงานชิ้นนี้มากเป็นพิเศษ เป็นไปได้หรือเปล่าที่ผมก็มีสิทธิ์จะผิดปกติ???

โดยส่วนตัวแล้วไม่ค่อยได้ฟังผลงานของ Brahms แล้วก็ไม่ค่อยมีเพื่อนที่ฟังเท่าไหร่ด้วย แต่ก็มีเพื่อนคนสิงค์โปร์อยู่คนหนึ่งที่ยกย่อง Brahms ว่าเป็นงานคีตกวีสุดยอดท่านหนึ่งทางด้านการประพันธ์ ซิมโฟนี่ แต่เนื่องด้วยหูผมคงไม่ถึง ประกอบกับผมยังฟังดนตรีจีนโบราณบ่อยกว่าดนตรีฝรั่ง ผมเลยไม่ค่อยได้ฟังงานของคุณลุงบี ของ คุณ  pipat เท่าไหร่ แต่อ่านอย่างนี้แล้ว เดี๋ยวผมจะลองไปหามาฟังบ้าง

แล้วนี่ผมมีของฝากเป็นดนตรีคลาสสิคจีน เป็นการบรรเลง กู่ฉิน โหลดเอาจากที่นี่

 http://www.megaupload.com/cn/?d=9WMXJNRH

ฟังแล้วช่วย comment ด้วยแล้วกันนะครับผมอยากรู้ว่าคนที่เขาไม่คุ้นเคยกับ paradigm ของดนตรีจีนฟังแล้วจะรู้สึกอย่างไร


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 เม.ย. 06, 16:49

ผมจำไม่ได้แน่ว่าซิมโฟนี่เบอร์ 1 ของรัคโดนสับว่ายังไง  เห็นอ้างไว้ใน answers.com ว่า a depiction of the seven plagues of Egypt, written for a conservatory in hell. เคยอ่านเจอมันโหดกว่านี้อีก ......จริงอยู่มันไม่ใช่งานเลอเลิศอะไรนัก แต่มันก็ไม่ได้เลวขนาดนั้น
และถ้าเป็นนักแต่งเพลงคนอื่น (ยกเว้น Bizet) ก็อาจยักไหล่ ก้มหน้าก้มตาทำงานเอาชนะคำวิจารย์ต่อไป
เจอละครับ Cesar Cui : “If there were a conservatory in Hell, if one of its gifted students were given the assignment of writing a program symphony on the Seven Plagues of Egypt, if he were to write a symphony just like Mr. Rachmaninoff’s, he would have carried out his task brilliantly and given acute delight to the inhabitants of Hell.”(www.columbiaorchestra.org/programnotes-051003.shtml - 21k)

แต่ดูหน้าพี่รัคสิครับ แกคงเป็นยักษ์ตนที่แบกโลกอยู่ แกสติแตกเลยครับ ผมเคยอ่านเจอตอนเด็กๆ ในหนังสือวีรธรรมที่พิมพ์การ์ตูนเชื่อหรือไม่ของลิปเล่ย์ว่า
นักแต่งเพลงแก้ปัญหาโรคจิตด้วยการสกดจิต นึกสงสารจริงๆ แต่ไม่ได้ค้นข้อมูลไว้มาก คือ....แกไม่ใช่คนโปรดสุดน่ะครับ
มหาชนชอบ Rach II อาจจะเป็นเพราะมันมีท่อนที่เพราะมากๆแทรกอยู่ในโครงสร้าง แต่ผมให้ A ครับ เป็นหนึ่งในสิบกว่าของเปียนโนคอนแชร์โตที่ดีที่สุด ถ้าเป็น Rach III นี่สิครับเจ๋งจริง ผมให้เป็นหนึ่งใยห้า หรืออาจจะเกินนั้นนิดหน่อย (ผมว่าของผมเองนะครับ ใครไม่เห็นด้วยก็อย่าว่ากันนะครับ นึกว่ามาลับสมองเล่นๆ) เบอร์สามนี่ ไม่ใช่งานสำหรับคนปกติครับ ควรเป็นอัจฉริยะปีศาจจึงจะทำให้มันเชื่องได้
ยิ่งท่อนขึ้นต้นนะครับคุณพี่ มันต้องการสมาธิที่เหนือมนุษย์ เพราะผิดไปแล้วทั้งเพลงก็หายนะเลย แก้ไม่ได้ ถ้าฟังที่แกเล่นเองละก้อ มันเหมือนไม่มีอะไรเลย จะเทียบให้เห็นภาพก็ต้องบอกว่า เหมือนบ๋อยในภัตตาคารใหญ่ ถือถาดอาหารเต็มสองมือเดินลงบันไดที่มีคนยืนอยู่เต็ม โดยไม่ทำของหก ไม่กระทบถูกใคร และไม่ลดความเร็วด้วย แถมยังผิวปากอย่างสะบายใจซะอีก
Rach วาง III ไว้เหนือ II ครับ แกเห็นพ้องต้องกันกับผม ฮิ ฮิ... เพลงนี้ A+ ขอรับ
Rach ได้รับการยกย่อง 3 ด้าน คือยอดนักแต่งเพลง ยอดนักเปียนโน และยอดคอนดัคเตอร์ (Bernstein เหทา 5 เลยครับ เพิ่มครู และนักวิจารณ์เข้าไปด้วย)
ผมมีแผ่นที่แกเล่นเองอยู่มากพอควร สมคำล่ำลือครับ เล่นโซนาตากับไครส์เลอร์ ไม่มีใครสู้ได้ เล่นกันง่าย เหมือนแต่งเอง

เพลงจีนที่ให้ไว้ มีคนเข้าคิวโหลดเต็ม ต้องรอ แต่พี่ปักกิ่งครับ ป่าป๊าผม เป็นมือซอในวงศาลเจ้าแถวบ้าน เสียดายแกไม่ได้ถ่ายทอดอะไรให้ผมเลย แต่เสียงตามสายนี่ สมัยเด็กๆได้ยินตลอดเวลาครับ
ผมยังนึกเกลียดตัวเองว่า เสียชาติเกิด เพลงจีนก็ไม่รู้ เพลงไทยก็ไม่รู้ ทำมาดัดจริตเล่าเรื่องบราห์มส
ผมจะพยายามหัดลูกผมให้ดีกว่าพ่อมันให้ได้


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 เม.ย. 06, 21:38
 ขอขยายความเรื่อง Bizet หน่อย เขาเป็นคนโปรดของลุงบี แกชม Carmen ยี่สิบกว่ารอบ ไม่บ้าเลยนะครับ แถมสรรเสริญไว้ว่า ไม่ว่าจะไกลสุดหล้าฟ้าเขียวเพียงใด ขอให้รู้ จะตามไปกอดด้วยความลุ่มหลง

Bizet ถูกชาวปารีส สังหารอย่างเลือดเย็น เพียงเพราะสร้างผลงานที่รสนิยมของพวกนั้น ยังไปไม่ถึง Carmen เปิดแสดง March 3, 1875 อีกสามเดือนต่อมา June,3 Bizet ก็ตรอมใจตาย เพราะการแสดงไม่ได้รับการสนใจเลย ทั้งๆที่เขาทุ่มทั้งชีวิตลงไป และเขารู้ตัวดี ว่าตัวเองเก่งแค่ใหน


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 02 เม.ย. 06, 13:57
 คุณ Peking Man ไม่ต้องกังวลนะครับ ตอน Rach แต่ง #2 นั่นเขาหายแล้ว ที่ป่วยก็เป็นโรคหวาดผวา จับปากกาแต่งเพลงไม่ได้เพราะไปอ่านคำวิจารณ์ตามที่คุณ pipat ยกมาแหล่ะครับ ได้รับการรักษาโดยการสะกดจิตให้มีกำลังใจ Rach #2 นี่ก็ใช้ประสบการณ์ตอนป่วยมาแต่งครับ เริ่มต้นอึมครึมเหมือนตอนหดหู่ แต่ตอนจบสดใสด้วยความเบิกบานใจตอนหายป่วย

Rach #3 นั่นเจ๋งจริงครับ Rach #1 ก็ไม่ได้แย่ แค่ตอนแสดงครั้งแรกคนเดี่ยวเปียนโนเมาอยู่เท่านั้นเอง

Top 5 Piano concerto ที่ผมชอบนะครับ (ไม่เรียงด้วยนะครับ) Beethoven #5, Mozart #26, Rach #3, Tchaikovsky #1 อีกอันขอผ่านแหะๆ คิดไม่ออกครับ จะซ้ำ Beethoven #4 ก็กระไรอยู่


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 02 เม.ย. 06, 20:52
 อย่าไปกลบเกลื่อนเลยครับคุณชอคร้อน คุณปักกิ่งนี่ไม่ใช่ผิดปกติอย่างธรรมดา ดูที่แกแจกเพลงสิครับ อย่างนี้เรียกว่าโหดยังเบาไปนะ ผมว่า

บีโธเฟ่นต้องไม่เห็นด้วยกับคุณแน่ๆ ขานั้น ถ้ามทสาร์ต ต้องเบอร์ 20 เท่านั้น

ยังเลือกชิ้นที่ 5 ไม่ได้ ไม่เป็นไรครับ ผมช่วย

ไปที่นี่ เลือกฟังได้สามสิบกว่า CD
 http://www.hyperion-records.co.uk/MP3Audio/67296-07.m3u



ส่วนนี่ เผื่อยังเลือกไม่ได้

Lev Abeliovich -Piano Concerto (1978-1980)

Jean Absil -Concerto for Piano and Orchestra No. 1, Op. 30 (1938) /No. 2, Op. 131 (1967) /No. 3, Op. 162 (1973)

Isaac Alb?niz -Concierto fant?stico in A minor, op. 78 (1887)

Eugen d'Albert -Piano Concerto No. 1 in B minor, op. 2 (1883-4) /No. 2 in E, op. 12 (1892)

Charles-Valentin Alkan -Concerto da Camera in A minor, op. 10 no. 1 (1828) /Concerto da Camera in C-sharp minor, op. 10 no. 2 (1828)

Anton Arensky -Piano Concerto in F minor, op. 2 (1883)

Malcolm Arnold -Concerto for Phyllis and Cyril, op. 104, for two pianos (3 hands; one pianist plays with both hands, the other with only one hand)

Kurt Atterberg -Piano Concerto in B Flat Minor, Op. 37 (1927-35)

Lera Auerbach -Piano Concerto No. 1 - River of Loss, Dialogue with Time, Wind of Oblivion (Sikorski)

Milton Babbitt -Piano Concerto (1985)

Mily Balakirev -Piano Concerto No. 1 in F sharp minor, Op. 1 (1855) /No. 2 in E flat, Op. posth. (completed Sergei Lyapunov, 1911)

Samuel Barber -Piano Concerto, op. 38 (1962)

Bela Bartok -Piano Concerto No. 1 in A, Sz. 83 (1929) / No. 2 in G, Sz. 95 (1931) /No. 3 in E, Sz. 119 (1945)

Amy Beach -Piano Concerto in C-sharp minor, op. 45 (1899)

Ludwig van Beethoven -Piano Concerto No. 1 in C, op. 15 (1798) / No. 2 in B-flat, op. 19 (1795) / No. 3 in C minor, op. 37 (1800) /No. 4 in G, op. 58 (1805-6) /No. 5 in E-flat, op. 73 (1809), the Emperor

Piano Concerto in D, op. 61a (1806), Beethoven's own arrangement of the Violin Concerto

Piano Concerto in E-flat, WoO 4 (1784), written in adolescence

Richard Rodney Bennett -Piano Concerto (1968)

William Sterndale Bennett -Piano Concerto No. 3 in C minor, Op. 9 (1833) /No. 4 in F minor, op. 19 (total of  5 no.1,2,5 lost)

Luciano Berio -Concerto for Two Pianos and Orchestra (1973)

Points on a Curve to Find - Piano Concerto (1973-4)

Lennox Berkeley -Piano Concerto in B-flat, op. 29 (1947) /Concerto for Two Pianos and Orchestra, op. 30 (1948)

Franz Berwald -Piano Concerto in D (1855)

Arthur Bliss -Piano Concerto in B-flat (1939)

Ernest Bloch -Concerto symphonique in B minor (1947-8)

Sergei Bortkiewicz -Piano Concerto No. 1 in B-flat, op. 16 (1913?) /No. 2 in E-flat, Op. 28, for left hand alone, written for Paul Wittgenstein /No. 3 in C minor, Per Aspera ad Astra, op. 32 (1927?)

Johannes Brahms -Piano Concerto No. 1 in D minor, op. 15 (1859) /No. 2 in B-flat, op. 83 (1881)

Benjamin Britten -Piano Concerto in D, op. 13 (1938, revised 1945)

Max Bruch -Concerto in A-flat minor for two pianos, op. 88a (arranged from the Concerto in E minor for clarinet and viola, op. 88)

Ignaz Br?ll -Piano Concerto No. 1 in F, op. 10 (1860-1) /No. 2 in C, op. 24 (1868)

Alan Bush -Piano Concerto, op. 18, with baritone and male choir in last movement (1938)

Ferruccio Busoni -Piano Concerto in D, op. 17, for piano and string orchestra (1878) /Piano Concerto in C, op. 39 (1902-4), with male chorus

John Cage -Piano Concerto (1950-51)

Elliott Carter -Piano Concerto (1965)

Alexis de Castillon -Piano Concerto in D major, op. 12

Carlos Ch?vez -Piano Concerto (1938-40, revised 1969)

Frederic Chopin -Piano Concerto No. 1 in E minor, op. 11 (1830) /No. 2 in F minor, op. 21 (1829-1830)

Muzio Clementi -Piano Concerto in C major (ca. 1790)

Aaron Copland -Piano Concerto (1926)

John Corigliano -Piano Concerto (1968)

Henry Cowell -Piano Concerto (1929)

Carl Czerny -Piano Concerto in F, op. 28 /Piano Concerto in C for four hands, op. 153 /Piano Concerto in A minor, op. 214 /3 unpublished concertos, mentioned in Mandyczewski /Piano Concertino in C, op. 78 /Piano Concertino in C, op. 210

Peter Maxwell Davies -Concerto for Piano and Orchestra (1997)

Frederick Delius -Piano Concerto in C minor (1897-1906)

Peter Dickinson (composer) -Piano Concerto (1984)

Erns Dohnanyi -Piano Concerto No. 1 in E minor, op. 5 (1897-8) /No. 2 in B minor, op. 42 (1946-7)

Felix Draeseke -Piano Concerto in E-flat, op. 36 (1885-6)

Alexander Dreyschock -Piano Concerto in D minor, op. 137

Antonin Dvorak -Piano Concerto in G minor, op. 33 (1876)

Ross Edwards -Piano Concerto in A (1982) ([1])

Edward Elgar -Piano Concerto (incomplete, completed by Robert Walker) (begun 1913, sketches continue until 1934)

Einar Englund -Piano Concerto No. 1 (1955) /No. 2 (1974) ([2])

Samuel Feinberg -Piano Concerto No. 1,op. 20 (1931) /No. 2 (1945)

Howard Ferguson -Piano Concerto in D (1951)

John Field -Piano Concerto No. 1 in E-flat, H. 27 (1799) /No. 2 in A-flat, H. 31 (1811) / No. 3 in E-flat, H. 32 (1811) /No. 4 in E-flat, H. 28 (1814, revised 1819) /No. 5 in C, H. 39 (1817), l'Incedie par l'Orage /No. 6 in C, H. 49 (1819, revised 1820) /No. 7 in C minor, H. 58 (1822, revised 1822-32)

Lukas Foss -Piano Concerto No. 1 (1939-43) /No. 2 (1951)

Jean Fran?aix -Concertino in G major (1932) /Concerto pour piano et orchestre (1936)

Cesar Franck -Piano Concerto No. 2 in B minor, op. 11 (juvenilia, 1835) opus 2 1834 Varia1tions brillantes sur l'air "Pr้ aux clercs" pour orchestre (aussi en version pou piano solo

Robert Fuchs -Piano Concerto in B-flat minor, op. 27 (1879-80)

Wilhelm Furtwangler -Symphonic Piano Concerto in B minor (1936-7)

Roberto Gerhard -Piano Concerto (1951)

George Gershwin -Piano Concerto in F (1925)

Alberto Ginastera -Piano Concerto No. 1, op. 28 (1961) / No. 2 (1972)

Philip Glass -Piano Concerto No. 1 Tirol (2000) / No. 2 After Lewis and Clark (2004)

Alexander Glazunov -Piano Concerto No. 1 in F minor, op. 92 (1911) /No. 2 in B, op. 100

Benjamin Godard -Piano Concerto No. 1 in A minor, op. 31 (1879) / No. 2 in G minor, op. 148 (1899)

Alexander Goedicke -Piano Concerto, op. 11 (1900)

Hermann Goetz -Piano Concerto in E-flat (1861) /Piano Concerto in B-flat, op. 18 (1867)

Edvard Grieg -Piano Concerto in A minor, op. 16 (1868)

Ferde Grof -Concerto for Piano and Orchestra in D (1958)

Reynaldo Hahn -Piano Concerto in E (1930)

Howard Hanson -Piano Concerto in G, op. 36 (1948)

Hamilton Harty -Piano Concerto in B minor (1922)

Joseph Haydn -Concerto in C, Hob. XVIII/1 (1756) /Concerto in F, Hob. XVIII/3 (c. 1765) /Concerto in G, Hob. XVIII/4 (before 1782) /Concerto in C, Hob. XVIII/5 (before 1763) /Concerto in F, Hob. XVIII/7 (before 1766) /Concerto in G, Hob. XVIII/9 (before 1767) /Concerto in C, Hob. XVIII/10 (c. 1760)

Concerto in D, Hob. XVIII/11 (before 1782) - this is the one usually known as the Haydn concerto /Concerto in C, Hob. XVIII/12

Adolf von Henselt -Piano Concerto in F minor, Op. 16 (1839-47)

Hans Werner Henze -Piano Concerto No. 1 (1950) /No. 2 (1967)

Henri Herz -Piano Concerto No. 1 in A, op. 34 (1828) / No. 2 in C minor, op. 74 (1834) /No. 3 in D minor, op. 87 (1835)/ No. 4 in E, op. 131 (1843) /No. 5 in F minor, op. 180 (1854) /No. 6 in A, op. 192 (1858), with chorus /No. 7 in B minor, op. 207 (1864) / No. 8 in A-flat, op. 218 (1873)

Paul Hindemith -Piano Concerto (1945)

Alun Hoddinott -Concerto for Piano, Winds and Percussion, op. 19 (1961) /No. 2, op. 21 (1960) /No. 3, op. 44 (1966)

Joseph Holbrooke -Piano Concerto No. 1, op. 52 The Song of Gwyn ap Nudd (1906-8) /No. 2, op. 100 L'Orient

Arthur Honegger -Concertino (1924)

Johann Nepomuk Hummel -Piano Concerto in A, s4 / WoO. 24 (1790s) /Piano Concerto in A, s5 / WoO. 24a (1790s) /Piano Concerto in C, op. 34a (1811) /Concertino in G, Op. 73 /Piano Concerto in A minor, op. 85 (1821) /Piano Concerto in B minor, op. 89 (1819) /Piano Concerto in E, op. 110, Les Adieux (1826) /Piano Concerto in A-flat, op. 113 (1830) /Piano Concerto in F, op. posth. 1 (1839)

Henry Holden Huss -Piano Concerto in B, op. 10

John Ireland -Piano Concerto in E-flat (1930)

Charles Ives -Emerson Concerto, reconstructed by David G. Porter from Ives' drafts of the Emerson Overture for Piano and Orchestra

Andr? Jolivet -Piano Concerto (1950)

Dmitri Borisovich Kabalevsky -Piano Concerto No. 1 in A minor, op. 9 (1928) /No. 2 in G minor, op. 23 (1935) /No. 3 in D, op. 50 'Youth Concerto' (1952) /No. 4 in C, op. 99 'Prague' (1975) [3]

Nigel Keay -Diffractions for Piano and Orchestra (1987)

Aram Khachaturian -Concert-Rhapsody in D flat (1967) /Piano Concerto in D-flat (1936) /Tikhon Khrennikov /Piano Concerto No.1 in F, op. 1, 1933 /No.2 in C, op. 21, 1972 /No.3 in C, op. 28, 1983/84

Friedrich Kiel -Piano Concerto in B-flat, op. 30 (1864)

Erich Wolfgang Korngold -Piano Concerto in C-sharp for the left hand, op. 17, (1923, commissioned by Paul Wittgenstein)

Ernst Krenek -Piano Concerto No. 1 in F-sharp, op. 18 (1923) /No. 2, op. 81 (1937) /No. 3, op. 107 (1946) /No. 4 (1950) /Concerto for Two Pianos (1951)

Friedrich Kuhlau -Piano Concerto in C, op. 7 (1810)

Theodor Kullak -Piano Concerto in C minor, op. 55 (1850)

Edouard Lalo -Piano Concerto in F (1889)

Constant Lambert -Concerto for piano and nine players (1931)

Kenneth Leighton -Piano Concerto No. 1, op. 11 (1951) /No. 2, op. 37 (1960) /No. 3, op. 57 (1969)

Lowell Liebermann -Piano Concerto No. 1, op. 12 (1983) /No. 2, op. 36 (1992)

Gy?rgy Ligeti -Piano Concerto (1988)

Franz Liszt -Piano Concerto No. 1 in E-flat, S. 124 (1835) /No. 2 in A, S. 125 (1839) /Piano Concerto in E flat, op. posth., S. 125a

Henry Charles Litolff -Concerto Symphonique No. 1 in D minor, now lost -Concerto Symphonique No. 2 in B minor, op. 22 -Concerto Symphonique No. 3 in E-flat, op. 45 (1846) -Concerto Symphonique No. 4 in D minor, op. 102

Conceto Symphonique No. 5 in C minor, op. 123 (1870)

Witold Lutosawski -Piano Concerto (1987)

Sergei Lyapunov -Piano Concerto No. 1 in E-flat minor, op. 4 (1886) / No. 2 in E, op. 38 (1909)

John McCabe -Piano Concerto No. 1, op. 43 (1966) /No. 2 /Piano Concetino (1968) /No. 3, Dialogues (1976)

Edward Alexander MacDowell -Piano Concerto No. 1 in A minor, op. 15 (1882) /No. 2 in D minor, op. 23 (1885)

Alexander Campbell Mackenzie -Scottish Concerto in G major, op. 55 (1897)

Frank Martin -Piano Concerto No. 1 in F minor (1934) /No. 2 (1968-69)

Bohuslav Martin? -Piano Concerto No. 1 (1925) /Concertino for piano left hand and chamber orchestra, op. 173 (1926) /No. 2 (1934) /Concertino (1938) /Concerto for Two Pianos (1943) /No. 3 (1948) /No. 4 (1956, Incantations) /No. 5 (1957, Fantasia concertante) (see [4])

Giuseppe Martucci -Piano Concerto in D minor op. 40 /Piano Concerto in B-flat minor op. 66 (1884-5)

Joseph Marx -Romantisches Klavierkonzert in E

Jules Massenet -Piano Concerto in E flat

Nikolai Karlovich Medtner -Piano Concerto No. 1 in C minor, op. 33 (1914-18) /No. 2 in C minor, op. 50 (1920-27) /No. 3 in E minor, op. 60 (1940-43)

Felix Mendelssohn -Piano Concerto in A minor (1822) -Concerto in E for two pianos (1823) -Concerto in A flat for two pianos (1824) /Piano Concerto No. 1 in G minor, op. 25 (1831) /No. 2 in D minor, op. 40 (1837)

Darius Milhaud -Piano Concerto No. 1, op. 127 (1933) /No. 2, op. 225 (1941) /Concerto for 2 (or 3) Pianos, op. 228 (1941) /No. 3, op. 270 (1946) /No. 4, op. 295 (1949)

Concertino d'automne, for 2 pianos & 8 instruments, op. 309 (1951) /5, op. 346 (1955)

Ignaz Moscheles Piano Concerto No. 1 in F, op. 45 (1818) /No. 2 in E-flat, op. 56 /No. 3 in G minor, op. 58 /No. 4 in E, op. 64 (1823) /No. 5 in C, op. 87 (1826-31) /No. 6 in B-flat, op. 90 Fantastique (1834) /No. 7 in C minor, op. 93 Path?tique (1835) /No. 8 in D, Pastorale, op. 96 (1838) - the orchestral parts for this concerto have been lost

Moritz Moszkowski -Piano Concerto in E minor, Op. 59

Wolfgang Amadeus Mozart (Nos. 1-4  arrangements of sonata movements by other composers.)

Piano Concerto No. 1 in F, K. 37 (1767) /No. 2 in B-flat, K. 39 (1767) /No. 3 in D, K. 40 (1767) /No. 4 in G, K. 41 (1767) /No. 5 in D, K. 175 (1773) /No. 6 in B-flat, K. 238 (1776) /Concerto for Three Pianos in F, K. 242 (1776) /No. 8 in C, K. 246 (1776) /No. 9 in E-flat, K. 271 (1777), the Jeunehomme /Concerto for Two Pianos in E-flat, K. 365 (1779) /No. 11 in F, K. 413 (1783) /No. 12 in A, K. 414 (1782) /No. 13 in C, K. 415 (1783) / No. 14 in E-flat, K. 449 (1784) /No. 15 in B-flat, K. 450 (1784) /No. 16 in D, K. 451 (1784) / No. 17 in G, K. 453 (1784) / No. 18 in B-flat, K. 456 (1784) / No. 19 in F, K. 459 (1784) / No. 20 in D minor, K. 466 (1785) /No. 21 in C, K. 467 (1785) /No. 22 in E-flat, K. 482 (1785) /No. 23 in A, K. 488 (1786) /No. 24 in C minor, K. 491 (1786) / No. 25 in C, K. 503 (1786) /No. 26 in D, K. 537 (1788), the Coronation / No. 27 in B-flat, K. 595 (1791)

Dominic Muldowney -Piano Concerto (1982)

Dieter Nowka -Piano Concerto No. 1 for the left hand op. 71 (1963) /No.2 (1972)

Leo Ornstein -Piano Concerto (1925)

Ignacy Paderewski -Piano Concerto in A minor, op. 17 (1888)

Giovanni Paisiello -Concerto for Piano and Orchestra, No 1 in C major /No 2 in F major /No 3 in A major /No 4 in G minor /No 5 in D major /No 6 in B flat major /No 7 in A major /No 8 in C major

Selim Palmgren -Piano Concerto No. 1 in G major, op. 13 (1903) /No. 2, op.33 'The River' (1913) /No. 3, op.41 'Metamorphoses' (1915) /No. 4, op.85 'April' (1926) /No. 5 in A major, op.99 (1941)

Andrzej Panufnik -Piano Concerto (1964, recomposed 1972)

Hubert Parry -Piano Concerto in F-sharp

Vincent Persichetti -Concertino, op. 16 (1941) /Piano Concerto, op. 90 (1962)

Hans Pfitzner -Piano Concerto in E flat, Op. 31 (1922)

Gabriel Piern? -Piano Concerto in C minor, op. 12 (1886)

Walter Piston -Concertino (1937) -Concerto for Two Pianos and Orchestra (1964)

Ildebrando Pizzetti -Canti Della Stagione Alta (Concerto) (1930)

Manuel Ponce -Piano Concerto (1912)

Francis Poulenc -Concerto for Two Pianos (1932) /Piano Concerto (1949)

Andr? Previn -Piano Concerto (1986)

Sergei Prokofiev -Piano Concerto No. 1 in D-flat, op. 10 (1912) /No. 2 in G minor, Op. 16 (1913, rewritten 1923) /No. 3 in C, Op. 26 (1917-21), his best known /No. 4 in B-flat, op. 53 (1931), for the left hand (written for Paul Wittgenstein) /No. 5 in G, op. 55 (1932)

Piano Concerto No. 6 (1953, incomplete), for two pianos and strings

Sergei Rachmaninoff -Piano Concerto No. 1 in F-sharp minor, op. 1 (1891) /No. 2 in C minor, op. 18 (1901) /No. 3 in D minor, op. 30 (1909) /No. 4 in G minor, op. 40 (1926)

Joachim Raff -Piano Concerto in C minor, op. 185 (1873)

Einojuhani Rautavaara -Piano Concerto No. 1, op. 45 (1969) /No. 2 (1989) /No. 3 'Gift of Dreams' (1998), written for pianist Vladimir Ashkenazy

Maurice Ravel -Piano Concerto in G (1931) /Piano Concerto in D for the Left Hand (1931, written for Paul Wittgenstein)

Alan Rawsthorne -Piano Concerto No. 1 (1943) / No. 2 (1951) /Concerto for Two Pianos and Orchestra (1968)

Max Reger -Piano Concerto in F minor, op. 114 (1910)

Carl Reinecke -Piano Concerto No. 1 in F-sharp minor, op. 72 (1860) /No. 2 in E minor, op. 120 (1872) /No. 3 in C, op. 144 (1877) /No. 4 in B minor, op. 254 (1901)

Ottorino Respighi -Piano Concerto in A minor, P. 40 (1902) /Concerto in Modo Misolidio, P. 145 (1925)

Josef Rheinberger -Piano Concerto in A-flat, op. 94 (1876)

Nikolai Rimsky-Korsakov -Piano Concerto in C-sharp minor, op. 30 (1882)

Joaquin Rodrigo -Concerto Heroic (1942)

Ned Rorem -Piano Concerto No. 2 (1950) /No.4 for the left hand (1993) /Piano Concerto in Six Movements (1969)

Albert Roussel -Concerto in C, op. 36 (1927)

Edmund Rubbra -Sinfonia Concertante, op. 38 (1936, revised 1943)

Piano Concerto in G, op. 85 (1956)

Anton Rubinstein -Piano Concerto (1847), 1 movement only -Piano Concerto in C (1849), revised as Octet in D, Op. 9 (1856) /Piano Concerto No. 1 in E minor, op. 25 (1850) /No. 2 in F, op. 35 (1851) /No. 3 in G, op. 45 (1853-4) /No. 4 in D minor, op. 70 (1864) /No. 5 in E-flat, op. 94 (1874)

P. Peter Sacco -Piano Concerto No. 1 (1964)

Camille Saint-Sa?ns -Piano Concerto No. 1 in D, op. 17 (1858) /No. 2 in G minor, op. 22 (1868) /No. 3 in E-flat, op. 29 (1869) /No. 4 in C minor, op. 44 (1873) /No. 5 in F, op. 103 (1895), the Egyptian

Antonio Salieri -Piano Concerto in C /Piano Concerto in B Flat

Emil von Sauer -Piano Concerto No. 1 in E minor

Franz Xaver Scharwenka -Piano Concerto No. 1 in B-flat minor, op. 32 (1877) /No. 2 in C minor, op. 56 (1880) /No. 3 in C sharp minor, op. 80 (1898) /No. 4 in F minor, op. 82

Franz Schmidt -Concertante Variationen ?ber ein Thema von Beethoven (1923) /No. 2 in E-flat for the Left Hand (1934)

Arnold Schoenberg /Piano Concerto (1942)

William Schuman -Piano Concerto (1930, rev. 1942)

Clara Schumann -Piano Concerto in A minor, op.7 (1832-3)

Robert Schumann -Piano Concerto in A minor, op. 54 (1845)

Alexander Scriabin -Piano Concerto in F-sharp minor, op. 20 (1897)

Roger Sessions -Piano Concerto (1956)

Giovanni Sgambati -Piano Concerto in G minor, Op. 15 (1885)

Dmitri Shostakovich -Piano Concerto No. 1 in C minor, op. 35 (1933), also includes a part for solo trumpet /No. 2 in F, op. 102 (1957)

Christian Sinding -Piano Concerto in D-flat, op. 6 (1887-89, revised 1901)

Charles Stanford -Piano Concerto No. 1 in G, op. 59 /No. 2 in C minor, op. 126 /No. 3, op. 171 (1919) [5]

Bernhard Stavenhagen -Piano Concerto in B minor, op. 4 (1894)

Wilhelm Stenhammar -Piano Concerto No. 1 in B-flat minor, op. 1 (1893) /No. 2 in D minor, op. 23 (1905-07)

Zygmunt Stojowski -Piano Concerto No. 1 in F-sharp minor, op. 3 (1890) /No. 2 in A-flat, op. 32 (1909-10)

Igor Stravinsky -Concerto for Piano and Wind Instruments (1923-4)

Boris Tchaikovsky -Piano Concerto in C Minor, 1971

Pyotr Ilyich Tchaikovsky -Piano Concerto No. 1 in B-flat minor, op. 23 (1874) /No. 2 in G, op. 44 (1880) /No. 3 in E-flat, op. 75 (1893)

Michael Tippett -Piano Concerto (1955)

Donald Francis Tovey -Piano Concerto in A, op. 15 (1903)

Geirr Tveitt -Piano Concerto No. 1 in F, op. 1 (1927) /No. 2 /No. 3 /No. 4 'Aurora Borealis', op. 130 (1947) /No. 5, op. 156 (1954)

Viktor Ullmann -Klavierkonzert, Op.25 (1939)

Ralph Vaughan Williams -Piano Concerto (1933 - also exists in a version for two pianos and orchestra of 1946)

Jos? Vianna da Motta -Piano Concerto in A (1886-7)

Heitor Villa-Lobos -Piano Concerto No. 1 (1945) /No. 2 (1948) /No. 3 (1952-57)

Piano Concerto No. 4 (1952) /No. 5 (1954)

William Walton -Sinfonia Concertante (1928, revised 1944)

Carl Maria von Weber -Piano Concerto No. 1 in C, J. 98 (1810) /No. 2 in E-flat, J. 155 (1815)

Charles Marie Widor -Piano Concerto No. 1 in F minor, op. 39 (1880) /No. 2 in C, op. 77 (1905)

Haydn Wood -Piano Concerto in D minor (1909)

Iannis Xenakis -Erikhthon (Concerto for piano and orchestra) (1974)

Richard Yardumian -Passacaglia, Recitative and Fugue, a concerto for piano and orchestra (premiered 1958, Rudolf Firku?n?, Philadelphia Orchestra, conducted by Eugene Ormandy.)

Efrem Zimbalist -Piano Concerto in E flat


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: Peking Man ที่ 03 เม.ย. 06, 17:33
 ฮาฮา ขอบคุณครับคุณ pipat ผมชอบอยู่แล้วครับความไม่ธรรมดา เพราะการที่จะต้องเหมือนคนอื่น ๆ เยอะ ๆ มันน่าเบื่อครับ

สำหรับการโพสต์อย่างมหาโหดอย่างนั้น ผมกำลังให้ทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจไงครับ หรือว่าท่านไม่ชอบ? เอ...แต่ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าในนั้นมี ลุงบี ของท่านหรือเปล่า??? หรือว่านั่นจะเป็นสาเหตุที่ท่านกล่าวว่าการโพสต์ของข้าพเจ้านั้นโหดเอ่ย?


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 03 เม.ย. 06, 18:31
 คนที่รวบรวม CD ชุดนี้

น่าจะต้องทำการบ้านเพิ่มอีกหน่อย ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือปล่าว รู้สึกว่าจะหนักไปทางค่าย EMI และมีมือเทพยดาน้อยไปหน่อย สู้ที่ฟิลิปส์ทำคราวที่แล้วไม่ได้เลย แต่ก็มีของดีอยู่พอสมควรครับ

แหะๆ ได้ของฟรีแล้วยังบ่นอีก

มีลุงบีอยู่นิดหน่อยครับ แต่งานใหญ่ไม่มีเลย ยกเว้น CD13 Brahms Sonata n.3  Solomon

มีสองแผ่นที่ขอบังคับว่าต้องฟัง

CD17 BACH Arturo Benedetti-Michelangeli

CD 31 Schumann Caraval  Musorgskij Quadri di un'esposizione Moiseiwitsch

และหาคนนี้ให้เจอ Walter Gieseking

มีหลายแผ่น เป็นเยอรมันนอกคอก เล่นเพลงฝรั่งเศสดีกว่าคนฝรั่งเศส


กระทู้: Brahms Experience CD ของคุณ B
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 23 ต.ค. 12, 14:23
อ่านแล้วคุ้มค่าจริงๆ ครับ แม้ว่าเวลาจะผ่านมาแล้วถึง 6 ปีแต่ก็ยังทันสมัย (ก็เล่นคุยเรื่องคนในสมัยศตวรรษที่ 19 นี่ครับ)

ที่มาเปิดอ่านเพราะหาคำว่า เด็กอัจฉริยะ เพราะเมื่อคืนนี้ไปเจอเด็กคนหนึ่งจึงอยากเอามาแบ่งปันครับ

http://www.youtube.com/watch?v=e3oNVmSaMsE&feature=youtube_gdata_player