เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 23
  พิมพ์  
อ่าน: 165070 ภาพพระราชพงศาวดาร สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 08:08

ความเห็นคุณอาร์ทเข้าทีมาก

ส่วนเรื่องชื่อ จีนจันตุ แปลว่า อะไรนั้น
ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นประเด็นที่สำคัญนัก  
เอาล่ะ   จีน หมายถึง คนจีน หรือคนที่มีเชื้อสายจีน
แต่ จันตุ แปลว่าอะไร  ผมไม่ทราบ และไม่ทราบว่าเป็นคำภาษาอะไร
เขมร? บาลี? สันสกฤต? จาม? ญวน?  
และถึงจะแปลได้   ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไขข้อข้องใจ
เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตนี้ได้


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 08:27

ผมขอย้อนกลับไปที่ประเด็นภาพพระราชพงศาวดาร
ตอนสมเด็จพระนเรศวรเสด็จลงเรือพระที่นั่ง
ไล่ตีสำเภาพระยาจีนจันตุที่ปากน้ำเจ้าพระยาอีกประเด็นหนึ่ง
ที่ผมยังสงสัยอยู่  คือ  ประเด็น "โล้สำเภา"

ซึ่งคุณNAVARAT.C ได้เขียนไว้ในความเห็นที่ ๖๘ ของกระทู้ว่า

อันที่จริง ความไม่สมจริงในภาพเขียนก็มีอยู่ อย่างเช่นพงศาวดารว่า พระยาจีนจันตุเร่งให้โล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำ

“โล้”เป็นศัพท์เรียกการยืนแจวเรือ ไม่ใช่นั่งพายเรือ คนสมัยก่อนยืนแจวเรือเก่งมาก เผลอๆแจวด้วยเท้าอย่างกับพวกไทยใหญ่ในทะเลสาบอินเลสมัยผมเด็กๆยังพอทันเห็นในแม่น้ำเจ้าพระยา  แต่จะโล้อย่างไรก็ช่างเถอะ ในภาพ ผมไม่ยักเห็นไม้พายหรือแจวสักอันในเรือสำเภาจีนเลย

และในความเห็นที่ ๗๓. ว่า


นั่นเป็นกิริยาที่ "โล้" เรือละ

แต่คุณคิดว่า สามเกลอนี่จะโล้เรือ ลากสำเภาไหวหรือครับ

อ้างถึง
การโล้สำเภา ในกรณีนี้สำเภาเป็นสำเภาเดินทะเล ออกไปถึงเขมรได้ ไปถึงกวางตุ้งได้ จึงเป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่ คงยากที่จะใช้พาย ๆ จึงต้องใช้เรือโยงนำร่องออกไป (เหตุการณ์เกิดช่วงปากอ่าวก็เป็นไปได้) เมื่อเรือกินลมบกแล้ว พัดเรือออกทะเลได้

(ดูภาพประกอบที่ความเห็นนั้น)

ผมคิดว่ากิริยาโล้ที่ใช้กับสำเภานั้น  ไม่ใช่การยืนพายอย่างที่คุณNAVARAT.C
แต่เป็นอย่างไรนั้น  ผมกำลังหาอยู่  ท่านใดมีความเห็นเป็นอื่นเสนอไหมครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 13:40

เชิญชม มีทั้งเรือโล้และเรือสำเภา
เรือสำเภาในภาพ จะเห็นว่าขนาดก็ไม่ได้ใหญ่โตนัก แต่เป็นเรือที่วิ่งทำมาหากินในทะเลเปิดทั้งนั้น

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 13:50

เรือโล้นี้ ดูเหมือนเขาจะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เรือสำปั้น (Sampan)
ดูเฉพาะตอนต้นๆเรื่องก็เห็นกิริยา โล้เรือ ชัดเจน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 14:53

ขอบคุณคุณ NAVARAT.C  ที่เอาภาพเคลื่อนไหวที่เอามาให้ชมนะครับ
แต่ลักษณะในภาพเคลื่อนไหวที่คุณนำมาแสดงนั้น 
แถวบ้านผมเขาเรียกว่า แจวเรือ 
ตกลง คำกริยา โล้เรือ กับ แจวเรือ เหมือนกันหรือครับ ฮืม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:31

ที่คุณเห็นแถวบ้านคุณ เป็นเรือแจว ที่เขาแจวเรือกันอย่างนี้มั้ง




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:33

โล้เรือ กับ แจวเรือ ไม่เหมือนกัน

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

เรือโล้
น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสำหรับยืนโล้ไป ใช้ตามชายฝั่งทะเล.
โล้
ก. แล่นไปตามคลื่น (สำหรับเรือสําเภา) (พจน. ๒๔๙๓), ทําให้เรือ เคลื่อนที่โดยอาการโยกแจวให้ปัดนํ้าไปมา. น. เรียกเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้ายตัด มีแจวอยู่ท้ายเรือสําหรับยืนโล้ไป ไม่มีหางเสือ ใช้ตามชายฝั่ง ทะเล ว่า เรือโล้.
แจว
น. เครื่องมือสำหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ลักษณะคล้ายพาย แต่ด้ามยาวเรียว มีที่มือจับเรียกว่า หมวกแจว ใช้หูแจวคล้องเข้ากับหลักแจว. ก. เอาแจวพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน; (ปาก) รีบหนีไป เช่น แจวอ้าว.
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:35

ข้อมูลเรื่องการ "โล้เรือ" จากหนังสืออักขราภิธานศรับท์
อาจารย์ทัด ทำ  หมอบลัดเล  อำนวยการพิมพ์
หน้าที่  ๖๑๔  คอลัมน์ ขวา

คัดลอกตามต้นฉบับ  
(อยากสแกนแต่เครื่องสแกนไม่ว่างครับ)

โล้,  คือเอาไม้ใส่เข้าที่ท้ายเรือสำป้านแล้วคนหลายคน
    ช่วยกันผลักกะเดือกไป.
    โล้ชิงช้า, คือขึ้นโหนชิงช้าทำให้มันโยนไปมา, เหมือน
        พราหมณ์โล้ชิงช้านั้น.
    โล้เรือ, เหมือนกับพวกจีนโล้เรือสำป้านถอนสมอ.
    โล้เล้......
    โล้สำป้าน, คือเอาไม้ใส่ที่ท้ายเรือสำป้านแล้วกะเดือกไป
     อย่างหนึ่งเขาถีบชิงช้าก็ว่าโล้ไป.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:38

อย่าลืมอีกโล้หนึ่ง

จิงโจ้โล้สำเภา



จิงโจ้เอย   มาโล้สำเภา หมาไนไล่เห่า จิงโจ้ตกน้ำ หมาไนไล่ซ้ำ, จิงโจ้ดำหนี
ได้กล้วยสองหวี, ทำขวัญจิงโจ้
เคยไปดูของจริง    ดูเหมือนจะเคยเขียนบทความไว้แล้วด้วยค่ะ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:42

เอ้า เอาให้ชัดๆไปขอรับ นี่เป็นกิริยาแจวเรือ ไม่น่าเชื่อว่าฝรั่งเมืองเวนิสแจวเรือได้เหมือนคนอุษาคเนย์มาก

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:42

^ ไม่ลืมหรอกครับ   โล้อย่างนั้น  
ยังนึกไม่ออกว่า  พระยาจีนจันตุจะโล้สำเภา
รอดพ้นกองเรือของสมเด็จพระนเรศวรไปได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:50

แก้สงสัย

เรือสำเภาติดแจว คนไทยเองก็คุ้นอยู่แล้วครับ
ที่เห็นโผล่มาครึ่งตัว คนคงไม่ได้นั่งพายอย่างเรือทาสสมัยโรมัน
แต่ยืนแจว เพราะถนัดกว่า ออกแรงน้อยกว่า


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:51

ก็ถ้าพวกพระยาจีนจันตุ  โล้ สำเภาอย่างที่คุณว่ามา
คนโล้ไม่ถูกยิงตายหมดหรือ  
และการโล้อย่างที่คุณว่า สำเภาจะไปได้เร็วขนาดไหน  
ในเมื่อแม่น้ำก็ไม่ได้มีคลื่นมากอย่างในทะเล

นี่เรากำลังกล่าวถึงสำเภา  ไม่ใช่เรือเล็กหาปลาของชาวบ้าน
การโล้ย่อมผิดกัน  
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 15:54

สงสัยครับคุณหลวงเล็ก

๑.โล้,  คือเอาไม้ใส่เข้าที่ท้ายเรือสำป้านแล้วคนหลายคนช่วยกันผลักกะเดือกไป.
   แบบนี้เหมือนถ่อเรือหรือไม่ เพราะมีอาการผลักกะเดือกไป หรือว่า ไม้แกว่งไปมาในน้ำ ทำกิริยาแกว่งอย่างครีบปลา

๒. โล้ นอกจากโล้เรือ โล้ชิงช้าแล้ว...พอรู้จัก "มะพร้าวขี้โล้" ไหมครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

๓. เป็นไปได้ไหมว่า เราติดการพูด "โล้สำเภา" เช่น บรรพบุรุษชาวจีน โล้สำเภาจากกวางตุ้งเข้ามากรุงเทพ ในขณะที่อาจจะนั่งเรือเฟอร์รี่มาก็ได้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 27 เม.ย. 11, 16:06

.ในพระราชพงศาวดารนั้นว่า

....สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า  ก็เสด็จยกทัพเรือ
ตามพระยาจีนจันตุลงไปในเพลากลางคืนนั้น
แล้วตรัสให้เรือประตูเรือกัน  และเรือท้าวพระยา
ทั้งหลายเข้าล้อมสำเภาพระยาจีนจันตุ  
และได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ

พระยาจีนจันตุก็ให้โล้สำเภาไปกลางน้ำ
รบต้านทานรอลงไป  

....

พระยาจีนจันตุรบพุ่งป้องกันเป็นสามารถ
พลทหารข้าหลวงจะปีนขึ้นสำเภามิได้
พระยาจีนจันตุก็ให้เร่งโล้สำเภาออกไปพ้นปากน้ำตกลึก

เสียดายไม่รู้ว่า  สำเภาพระยาจีนจันตุใหญ่สูงขนาดไหน
ถ้าโล้อย่างคุณNAVARAT.C  ว่า  จะไปได้เร็วเพียงใด

อ้อ  เรือที่มีใบ  ไม่ได้หมายว่าจะเป็นเรือสำเภาไปทั้งหมดนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 23
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 19 คำสั่ง