เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: บ้านบางหลวง ที่ 12 เม.ย. 12, 17:07



กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: บ้านบางหลวง ที่ 12 เม.ย. 12, 17:07
คือผมได้ทราบมาว่าเกรินบันไดนาคที่ใช้อัญเชิญพระโกศพระศพขึ้นราชรถนั้นพึ่งคิดค้นในสมัยราชกาลที่1โดยสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลงพิทักษ์มนตรี เเล้วก่อนหน้านี้เค้าใช้อะไรเชิญพระโกศขึ้นราชรถอ่ะครับ  ???


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 เม.ย. 12, 20:24
ภาพเกรินบันไดนาค โดย คุณ SunnyMan (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=339149)


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 12 เม.ย. 12, 20:43
รอยอินท่านให้ความหมายของคำว่า "เกริน" ไว้ดังนี้

เกริน [เกฺริน] น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่ ๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน.
 
เกรินบันไดนาค คือ อุปกรณ์ที่ใช้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นหรือลง ราชรถ และพระเมรุมาศแทนการใช้นั่งร้านไม้ต่อยกสูงแบบสมัยโบราณ ซึ่งใช้กำลังคนยกขึ้นลง และมีความยากลำบากและไม่สะดวก
 
(http://www.princessbejaratana.com/images/content/knowledge03/04.jpg)

เกรินมีลักษณะเป็นรางเลื่อนขึ้นลงด้วยกว้านหมุน โดยมีแท่นที่วางพระโกศเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายขึ้นหรือลง ลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ขอบฐานแกะสลักลายปิดทองประดับกระจก ท้ายเกริน เป็นพื้นลดระดับลงมา ซึ่งเป็นที่สำหรับเจ้าพนักงานภูษามาลาขึ้น นั่งประคอง พระโกศพระบรมศพ มีลักษณะคล้ายท้ายสำเภา ด้านข้างบุผ้าตาดทอง

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/837/2837/images/Royal_Chariot/digital/IMG_013.jpg)

มีราวทั้ง ๒ ข้างตกแต่งเป็นรูปพญานาค จึงเรียกว่า เกรินบันไดนาค

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/837/2837/images/Royal_Chariot/067.jpg)

คิดค้นโดย สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (จุ้ย) พระโอรสในสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์กับเจ้าขรัวเงิน

ใช้ครั้งแรกในงานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๕๕

ข้อมูลจาก http://www.princessbejaratana.com/th/knowledge03.php

 ;D


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 เม.ย. 12, 21:05
รอยอินท่านให้ความหมายของคำว่า "เกริน" ไว้ดังนี้
เกริน [เกฺริน] น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่ ๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน.
เกรินบันไดนาค คือ อุปกรณ์ที่ใช้อัญเชิญพระโกศพระบรมศพขึ้นหรือลง ราชรถ และพระเมรุมาศ...


ในอีกมุมหนึ่ง เกริน อาจจะเป็นคำไทยแท้ๆแต่โบราณที่ใช้เรียกบันได

ในภาษาเหนือเรียกบันไดว่า เกิ๋น 

 


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 เม.ย. 12, 22:14
การประดิษฐ์เกรินบันไดนาค เคยอ่านว่า ได้ดัดแปลงมาจากเครื่องกว้านของเรือสำเภา ซึ่งเครื่องกว้านเรือนี้สามารถผ่อนแรงได้มากขึ้นอยู่กับรัศมีของเครื่อกว้านซึ่งเป็นเครื่องผ่อนแรง

และสำหรับการการต่อนั่งร้านสำหรับยกขึ้นที่สูง จะให้การต่อเป็นทางลาดดังภาพ และจะเชิดไปถึงตัวพระมหาพิไชยราชรถ ตัวอย่างพบได้อีกคือ การทำทางลาดจากพื้นยกข้ามกำแพงวัดเลยเข้าไปในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแล้วลากพระไปตามนั่งร้าน
ภาพที่แทรกประกอบให้ดูด้านล่างก็เป็นตัวอย่างเดียวกัน


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 12 เม.ย. 12, 22:23
การประดิษฐ์เกรินบันไดนาค เคยอ่านว่า ได้ดัดแปลงมาจากเครื่องกว้านของเรือสำเภา ซึ่งเครื่องกว้านเรือนี้สามารถผ่อนแรงได้มากขึ้นอยู่กับรัศมีของเครื่อกว้านซึ่งเป็นเครื่องผ่อนแรง

และสำหรับการการต่อนั่งร้านสำหรับยกขึ้นที่สูง จะให้การต่อเป็นทางลาดดังภาพ และจะเชิดไปถึงตัวพระมหาพิไชยราชรถ ตัวอย่างพบได้อีกคือ การทำทางลาดจากพื้นยกข้ามกำแพงวัดเลยเข้าไปในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแล้วลากพระไปตามนั่งร้าน
ภาพที่แทรกประกอบให้ดูด้านล่างก็เป็นตัวอย่างเดียวกัน


งานเจ้าคุณอภัยภูเบศร์ที่เมืองปราจีนบุรีกระมั้ง

ออกขุน
 ;D


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 เม.ย. 12, 22:24
มาตอบคำถามนี้

อ้างถึง
ก่อนหน้านี้เค้าใช้อะไรเชิญพระโกศขึ้นราชรถอ่ะครับ

เมื่อยังไม่ได้ประดิษฐ์เกรินขึ้นมาใช้ ก็ต้องให้คนยก อัญเชิญขึ้นไปตามลาดบันไดสิครับ ลำบากหน่อย แต่ท่านก็สามารถเอาขึ้นไปได้แน่

พระโกศคงต้องได้รับการขันชะเนาะอย่างดีมิให้ส่วนใดส่วนหนึ่งขยับเขยื้อนได้ หลังจากนั้นก็ใช้พนักงานที่แข็งแรงหน่อย เข้าหิ้วประคองสี่ทิศ ค่อยๆเคลื่อนตัวขึ้นลาดบันไดไปทีละขั้น ช้าๆครับ


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 เม.ย. 12, 22:29
ขอเพิ่มครับ

ลาดบันไดของผม กับ นั่งร้านของคุณหนุ่มสยาม มีความหมายเดียวกันครับ


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 เม.ย. 12, 15:08
การประดิษฐ์เกรินบันไดนาค เคยอ่านว่า ได้ดัดแปลงมาจากเครื่องกว้านของเรือสำเภา ซึ่งเครื่องกว้านเรือนี้สามารถผ่อนแรงได้มากขึ้นอยู่กับรัศมีของเครื่อกว้านซึ่งเป็นเครื่องผ่อนแรง

และสำหรับการการต่อนั่งร้านสำหรับยกขึ้นที่สูง จะให้การต่อเป็นทางลาดดังภาพ และจะเชิดไปถึงตัวพระมหาพิไชยราชรถ ตัวอย่างพบได้อีกคือ การทำทางลาดจากพื้นยกข้ามกำแพงวัดเลยเข้าไปในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแล้วลากพระไปตามนั่งร้าน
ภาพที่แทรกประกอบให้ดูด้านล่างก็เป็นตัวอย่างเดียวกัน


งานเจ้าคุณอภัยภูเบศร์ที่เมืองปราจีนบุรีกระมั้ง

ออกขุน
 ;D

พนายอาร์ตนี้แม่นยำนัก   ชะรอยว่าจะถูกเกณฑ์ไปสร้างร้านไม้ในคราวกระนั้นด้วย ;D

เพิ่มเติมอีกนิด  คำว่าเกรินนี้  ในช่วงแรกๆ ที่มีลิฟท์ในประเทศสยาม  คนไทยพยายามหาคำไทยมาใช้เรียกแทนอยู่สองสามคำ
หนึ่งในจำนวนนั้น คือ คำว่า เกริน นี่ด้วยคำหนึ่ง  แต่จำไม่ได้แล้วว่าอ่านเจอในจากเอกสารอะไร ;D


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 เม.ย. 12, 17:44
การประดิษฐ์เกรินบันไดนาค เคยอ่านว่า ได้ดัดแปลงมาจากเครื่องกว้านของเรือสำเภา ซึ่งเครื่องกว้านเรือนี้สามารถผ่อนแรงได้มากขึ้นอยู่กับรัศมีของเครื่อกว้านซึ่งเป็นเครื่องผ่อนแรง

และสำหรับการการต่อนั่งร้านสำหรับยกขึ้นที่สูง จะให้การต่อเป็นทางลาดดังภาพ และจะเชิดไปถึงตัวพระมหาพิไชยราชรถ ตัวอย่างพบได้อีกคือ การทำทางลาดจากพื้นยกข้ามกำแพงวัดเลยเข้าไปในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแล้วลากพระไปตามนั่งร้าน
ภาพที่แทรกประกอบให้ดูด้านล่างก็เป็นตัวอย่างเดียวกัน


งานเจ้าคุณอภัยภูเบศร์ที่เมืองปราจีนบุรีกระมั้ง

ออกขุน
 ;D

พนายอาร์ตนี้แม่นยำนัก   ชะรอยว่าจะถูกเกณฑ์ไปสร้างร้านไม้ในคราวกระนั้นด้วย ;D

เพิ่มเติมอีกนิด  คำว่าเกรินนี้  ในช่วงแรกๆ ที่มีลิฟท์ในประเทศสยาม  คนไทยพยายามหาคำไทยมาใช้เรียกแทนอยู่สองสามคำ
หนึ่งในจำนวนนั้น คือ คำว่า เกริน นี่ด้วยคำหนึ่ง  แต่จำไม่ได้แล้วว่าอ่านเจอในจากเอกสารอะไร ;D
ส่งเกี่ยว้องเกี่ยวกับลิฟท์ ที่ ๑.พระที่นั่งวิมานเมฆ ๒. พระที่นั่งเวหาส์จำรูญ ๓. พระที่นั่งอัมพรสถาน ท่านลองหาดู  :P


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 เม.ย. 12, 11:52
คัดจากหนังสือสยามประเภท เล่ม ๔ เรื่องเกรินบันไดนาค

"...เกรินบันไดนาคนี้จ้าวฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี ท่านเปนผู้ต้นคิดทำขึ้นก่อน เปนต้นเหตุเกรินมีขึ้นในกรุงเทพฯ แต่ครั้งกรุงเก่าหรือในแผ่นดินต้น ก็ใช้ไม้ล้มลุกยกพระโกษฐ์..."


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: บ้านบางหลวง ที่ 17 เม.ย. 12, 17:44
บัดนี้ผมกระจ่างเเจ้งทุกสิ่งอย่างเเล้วขอรับ ขอขอบพระคุณท่านผู้รู้ทุกท่านจริงๆ เเต่มีอีกอย่างนึงที่สงสัยอ่ะครับว่า ครั้งสุดท้ายที่ใช้ราชรถน้อยครับทั้ง3องค์อ่ะครับเมื่อไรอ่ะครับ เเล้วทำไมเดี๋ยวนี้เค้าถึงใช้ราชรถน้อยเเค่องค์เดียวเเล้วอ่ะครับ :)


กระทู้: ข้อสงสัยในงานพระเมรุ???
เริ่มกระทู้โดย: บ้านบางหลวง ที่ 19 เม.ย. 12, 11:20
เเละผมก็ยังมีข้อในงานพระศพอีก ขอความกรุณาท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยตอบหน่อยได้ไหมครับ
 ;Dข้อสงสัยที่อยากจะเรียนถามดังนี้ครับ

1 ในวันสรงน้ำพระศพ หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้น
พระที่นั่งพิมานรัตยาแล้ว ครู่ต่อมาได้ยินเสียงเพลงมหาชัยและเสียงประโคม
นี่คือช่วงขณะที่เริ่มสรงน้ำพระศพใช่ไหมครับ

2 อ้างอิงจากหนังสือของ นพ. สุด แสงวิเชียร คราวเมื่อชันสูตรพระบรมศพ
ล้นเกล้ารัชกาลที่แปด มีความตอนหนึ่งประมาณว่า
"หลังเปิดพระบรมโกศแล้วเห็นพระบรมศพยังมีสีพระพักตร์สดอยู่ นึกว่าฟอร์มาลีนเขาดี
แต่ต่อมาเมื่อพิจารณาใกล้ๆ จึงพบว่า สีที่ดูสดนั้นแท้จริงคือขี้ผึ้งที่เคลือบไว้"
จึงสงสัยว่า ปัจจุบันยังคงธรรมเนียมการยาขี้ผึ้งบนพระพักตร์และทวารต่างๆอยู่หรือไม่

3 พระสุพรรณแผ่นจำหลักปริมณฑลฉลองพระพักตร์ที่เชิญไว้บนพานข้าง
พระแท่นที่ประดิษฐานพระศพ ได้มีการนำแผ่นทองนั้นปิดพระพักตร์จริงๆ
ขณะสรงน้ำพระศพหรือไม่ หรือเพียงแค่เชิญไว้ตามโบราณราชประเพณี

4 ในขณะที่ถ่ายทอดสด ผู้บรรยากล่าวหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประทับพระราชอาสน์ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทว่า ทรงพระกรุณาฯ
ให้ข้าราชการผู้ใหญ่ขึ้นสรงน้ำพระศพ แต่เหมือนจำได้ว่าตามธรรมเนียมนั้น
หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสรงพระอุระพระศพแล้วถือเป็นที่สุด
คนอื่นจะมาสรงน้ำตามหลังไม่ได้ นัยว่าไปสรงน้ำทับอันเป็นการไม่บังควร
สรุปว่าวันนั้นลำดับการสรงน้ำเป็นเช่นไรครับ

5 เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนต่างๆแล้ว ตามหมายกำหนดการ "เจ้าพนักงานเชิญ
พระศพลงพระโกศ ตำรวจหลวงเชิญไปประดิษฐานบนพระแท่นแว่นฟ้าทอง"

คือสงสัยวิธีการยกพระโกศขึ้นพระแท่นแว่นฟ้า เพราะคะเนดูน่าจะหนักมาก
ไหนจะน้ำหนักของพระศพ พระโกศ พระลองทองใหญ่
เช่นนี้แล้วตำรวจหลวงใช้วิธีไหนเชิญพระโกศขึ้นพระแท่นแว่นฟ้าทอง
เพราะพอโทรทัศน์ตัดภาพมาก็เห็นตั้งแต่งพระลองทองใหญ่เสร็จแล้ว