เรือนไทย

General Category => ทันกระแส => ข้อความที่เริ่มโดย: han_bing ที่ 31 พ.ค. 12, 10:28



กระทู้: อันเนื่องมาแต่ "บ่วง" - ชีวิตเก่าๆของไทยในละคร
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 31 พ.ค. 12, 10:28
เรียนสมาชิกเรือนไทยทุกท่าน

ข้าพเจ้าไม่เคยดูเรื่อง "บ่วง" ที่่ฉายทางช่อง  ๓ ในปี ๒๕๕๕ มาก่อน แต่เพื่อนของข้าพเจ้าทั้งในไทย ในจีน เรื่อยไปกระทั่งในยุโรป ล้วนติดกันงอมแงม ล่าสุด เพื่อนสนิทที่อยู่อีกเมืองหนึ่งโทรศัพท์มาคุยเรื่องนี้ข้าพเจ้าเลยลองไปหา ผลคือ สนุกดี และแอบทึ่งเกี่ยวกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่ละครเรื่องนี้เก็บไว้

อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าไม่ใช่คนเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ไทยมากนัก มีข้อสงสัยอยากเรียนถามสมาชิกชาวเรือนไทยดังนี้

๑. การแต่งกายของชาวเหนือ ในอดีตมีลักษณะอย่างไร

๒. อาถรรพ์การเล่นคุณไสยนี้ โดยเฉพาะการทำให้หลงมนต์เสน่ห์ เรียกว่าอะไร

ข้อสองนี้ข้าพเจ้าเคยอ่านหนังสือ รู้สึกว่าจะพบในวรรณกรรมไทยเก่าๆหลายเรื่อง แต่นึกไม่ออก

๓. "ผี" ในแนวคิดแบบพุทธศาสนา คือ วิญญาณที่ออกจากร่าง แต่พวกที่ไม่ได้ไปไหน เพราะจิตยังยึดติดอยู่กับที่ เช่นนี้เรียกว่า "เปรต" ใช่หรือไหม ข้าพเจ้าเหมือนเคยอ่านมาก่อน แค่จำได้ไม่ถนัด

อยากทราบจริงๆในแนวคิดของสังคมไทย "ผี" กับ "เปรต" ที่อยู่ในเปรตภูมิ คือแบบเดียวกันหรือไม่

๔. บทบาทพราหมณ์ในสังคมไทย นอกรับราชการในพระราชพิธีต่างๆ รวมไปถึงพิธีของประชาชนที่จัดขึ้นในบางกรณี พราหมณ์มีบทบาทอื่นหรือไม่ ข้าพเจ้าเองอยากทราบเฉย

๕. ผู้แต่งใช่อาจารย์ "ศรีฟ้า ลดาวัลย์" ใช่หรือไม่ ข้าพเจ้าลองค้นประวัติของท่านในอินเตอร์เน็ตดู แต่ www.wikipedia.org เขียนไว้น้อยเหลือเกิน ท่านใดทราบประวัติละเอียด เมตตาเล่าสู่กันฟังบ้าง

ขอบพระคุณทุกท่าน ณ ที่นี้

สวัสดี


กระทู้: อันเนื่องมาแต่ "บ่วง" - ชีวิตเก่าๆของไทยในละคร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 12, 12:03
ขอตอบบางข้อ

๑ การแต่งกายของสตรีล้านนา   ขึ้นกับว่าเป็นเจ้านายหรือชาวบ้าน  โปรดดูตามรูป
http://www.chiangmai-thailand.net/karn-tang-kay/karn-tang-kay_lanna.html


กระทู้: อันเนื่องมาแต่ "บ่วง" - ชีวิตเก่าๆของไทยในละคร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 12, 12:07
ผู้เขียนเรื่อง"บ่วง" คือม.ล.ศรีฟ้า ลดาวัลย์ ศิลปินแห่งชาติ ถูกต้องแล้ว
ในวิกิพีเดียก็ลงประวัติไว้มากพอสมควร      ไม่ทราบว่าคุณหาญบิงต้องการรายละเอียดเรื่องอะไรอีกบ้าง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2_%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93


กระทู้: อันเนื่องมาแต่ "บ่วง" - ชีวิตเก่าๆของไทยในละคร
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 31 พ.ค. 12, 15:41
อ้างถึง
๓. "ผี" ในแนวคิดแบบพุทธศาสนา คือ วิญญาณที่ออกจากร่าง แต่พวกที่ไม่ได้ไปไหน เพราะจิตยังยึดติดอยู่กับที่ เช่นนี้เรียกว่า "เปรต" ใช่หรือไหม ข้าพเจ้าเหมือนเคยอ่านมาก่อน แค่จำได้ไม่ถนัด

อยากทราบจริงๆในแนวคิดของสังคมไทย "ผี" กับ "เปรต" ที่อยู่ในเปรตภูมิ คือแบบเดียวกันหรือไม่

ตอบตามที่ "สัญญา" ยังพอมีอยู่

          สังคมสุวรรณภูมินับถือเคารพ "ผี" หรือ "เจ้า" ซึ่งมีความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่
(มีอำนาจเหนือธรรมชาติ) มาแต่โบราณกาลก่อนที่ศาสนาพุทธจะเผยแผ่มาถึง

          ในทางพุทธศาสนาแล้ว ไม่มีคำว่า ผี

          จิต(หรือวิญญาณ) ซึ่งสืบต่อเนื่องเมื่อดับ-ตาย ในภูมินี้แล้วก็จะไปเกิดต่อใหม่
ในภูมิเดิมหรือภูมิอื่น"ทันที" แล้วแต่วิบากกรรมนำไป อาจได้เกิดเป็นคน สัตว์ เทวดา เปรต ฯ

          ผี(นอกพุทธศาสนา ที่น่ากลัว) อาจจะเข้าได้กับ เปรต หรืออสุรกายในพุทธศาสนา

          มีการพูดถึงคำว่า "อทิสมานกาย" ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ จิต(วิญญาณ)
แต่ที่ใช้กัน
          มักจะใช้ในความหมายว่าเป็น "ดวงวิญญาณ" (ที่ออกจากร่าง)

         คำ อทิสมานกาย นี้ ค้นหาในพระไตรปิฎก และพจนานุกรมพุทธศาสวน์ ไม่ปรากฏว่ามี


กระทู้: อันเนื่องมาแต่ "บ่วง" - ชีวิตเก่าๆของไทยในละคร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 พ.ค. 12, 18:30
มาสนับสนุนคุณ SILA ค่ะ
ผี น่าจะเป็นคำไทย   มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ในศิลาจารึกหลักที่ ๑
เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัย...มีพระขพุง  ผีเทวดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในทุกเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี
จะเห็นได้ว่าคำว่าผีในสังคมสุโขทัย เทียบได้กับคำว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยนี้  ไม่ได้แปลว่าผีที่หลอกหลอนคน

ในพุทธศาสนาและพราหมณ์มีคำว่า ปีศาจ  royin เก็บคำนี้ไว้ แปลว่าผี  อย่างในความหมายปัจจุบัน    ปีศาจในศาสนาพราหมณ์และฮินดูเป็นภูติหรืออมนุษย์ประเภทหนึ่ง    ขึ้นตรงกับพระศิวะ  พระองค์จึงทรงมีฉายาหนึ่งว่า ปีศาจบดี แปลว่านายของปีศาจ

เปรต เป็นสัตว์นรกประเภทหนึ่ง ต้นกำเนิดมาจากอินเดีย อยู่ในภูมิที่เรียกว่า เปรตภูมิ   ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย
พจนานุกรมของราชบัณฑิตฯ ให้คำอธิบายว่า
เปรต, เปรต-   [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง   สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก   เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง   เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส   คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้โชค   ลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือในทํานอง    เช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).


กระทู้: อันเนื่องมาแต่ "บ่วง" - ชีวิตเก่าๆของไทยในละคร
เริ่มกระทู้โดย: han_bing ที่ 31 พ.ค. 12, 21:15
อยากทราบเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับท่านนะครับ คือ อ่านงานท่านมาแต่เด็กแล้ว



กระทู้: อันเนื่องมาแต่ "บ่วง" - ชีวิตเก่าๆของไทยในละคร
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 31 พ.ค. 12, 21:41


๔. บทบาทพราหมณ์ในสังคมไทย นอกรับราชการในพระราชพิธีต่างๆ รวมไปถึงพิธีของประชาชนที่จัดขึ้นในบางกรณี พราหมณ์มีบทบาทอื่นหรือไม่ ข้าพเจ้าเองอยากทราบเฉย


นอกจากพราหมณ์จะหน้าที่ในราชสำนัก ยังทำหน้าที่เป็นอาจารย์ด้านศิลปศาสตร์ สอนอาวุธ โหราศาสาตร์คำนวณวันดี วันร้ายต่าง ๆ การขี่ช้าง ชี่ม้า ส่วนชาวบ้านก็โกนจุก ทำขวัญ ขึ้นศาลพระภูมิเจ้าที่ ไล่สิ่งไม่ดีออกไป ทำขวัญ ปลุกเสกและทำคุณไสย์


กระทู้: อันเนื่องมาแต่ "บ่วง" - ชีวิตเก่าๆของไทยในละคร
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 07 มิ.ย. 12, 14:14
ตอบ ข้อ ๒ ครับ

เรียกว่า "เสน่ห์ยาแฝด" ครับ ในงานเขียนของ คุณชายคึกฤทธิ์จะเรียกว่า "หงส์ร่อน มังกรรำ" แต่วิธีการทำจะต่างจากในหนังเรื่องบ่วงครับ
ถ้าอ่านวรรณคดี "ขุนแผน" จะเจอเรื่องของ ฝังรูปฝังรอย เพิ่มเติมด้วยครับ