เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 81829 น้ำท่วม ๒๕๕๔
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 11 ต.ค. 11, 20:00

14. ใช้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำให้เป็นประโยชน์
วัสดุส่วนใหญ่จะกลัวน้ำ หรือไม่สามารถที่จะสู้กับน้ำได้ แต่พลาสติกเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำ ดังนั้นอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นพลาสติก น่าจะต้องมีการเตรียมการเอาไว้ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นถังน้ำพลาสติก ท่อพลาสติก กระดานพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าหรือแผ่นพลาสติก ที่เราจะเอาไว้ใช้หุ้มอุปกรณ์หรือส่วนต่างๆของบ้านเรา ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ฯลฯ แม้กระทั่งการหุ้มป้องกันตัวเรา หรืออวัยวะบางส่วนของตัวเราครับ
     ขอให้หาซื้อผ้าหรือกระดานพลาสติกเก็บเอาไว้ใกล้มือเรา ยามฉุกเฉิน พลาสติกจะเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์มากจนคาดไม่ถึงได้ครับ และที่สาคัญอีกอย่างก็คือ “ห่วงยาง” ครับ

15. เตรียมอาหาร น้ำดื่ม และยาให้พร้อม
     เพราะยามน้าท่วมแล้ว เราอาจจะต้องติดอยู่ในบ้านของเราก็ได้ สิ่งที่จำเป็นในการดารงชีพของเราก็คือ “อาหาร” ที่ต้องเตรียมเอาไว้ ทั้งอาหารที่ต้องมีการปรุงด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า (หรือกาซ) กับอาหารที่สามารถกินได้เลย โดยไม่ต้องมีการปรุง และต้องเตรียมเรื่อง “น้าดื่ม” เอาไว้ด้วย เตรียมให้เพียงพอสาหรับทุกคนประมาณ 3 วันครับ
    ยาเป็นสิ่งสาคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่เราต้องเตรียมเอาไว้ (ในที่ที่ปลอดภัย) ยาหลักๆก็คือ ยาแก้ปวด ยากแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ยาล้างแผล ยาแก้แพ้ ยากันแมลงและยาของโรคประจาตัวของทุกคน
     มีผู้หวังดีแนะนาบอกต่อว่า อย่าสะสม “สุรา” เอาไว้ตอนน้าท่วม เพราะน้ำท่วมนานๆ อาจจะมีคนกลุ้มใจ แล้วใช้สุราแก้ความกลุ้มใจ จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยมากขึ้น ส่วนเหล่าขวดสุราที่เก็บสะสมเอาไว้ ไม่ต้องขนไปไกลก็ได้ เพราะขวดสุราเหล่านั้น เขาสามารถแช่น้ำได้ ไม่มีปัญหาประการใด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 11 ต.ค. 11, 20:04

16. บ้านชั้นเดียว ต้องตรวจสอบหลังคาด้วย
สาหรับบ้าน 2 ชั้น หลังคาบ้านจะมีผลมากยามเมื่อฝนตกหนักๆ ซึ่งเราน่าจะต้องดูแลกันไปพอสมควรแล้วในเวลาที่เพิ่งผ่านมา แต่ในกรณีน้ำท่วมนั้นหลังคาไม่ค่อยมีผลมากเท่าไร เพราะน้ำท่วมจากข้างล่างขึ้นไป หากท่วมถึงหลังคาชั้นสอง เราก็น่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่นก่อนหน้านั้นแล้ว
แต่กรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียว น้ำอาจจะท่วมชั้นล่างของบ้านอย่างรวดเร็ว หลังคาหรือส่วนของหลังคาจึงเป็นพื้นที่หลบภัยได้ชั่วคราวพื้นที่หนึ่ง เราจึงต้องตรวจสอบทางหนีทีไล่ของเรา กรณีที่เราต้องขึ้นไปหนีภัยบนหลังคา ซึ่งเราอาจจะขึ้นไปทางฝ้าเพดานของเรา (กรุณาอย่าลืมตัดวงจรไฟฟ้าที่บ้านทั้งหมด ก่อนจะขึ้นไปบนฝ้าเพดานสู่หลังคานะครับ)

17. ระวังโจร ระวังมาร ระวังผู้ชั่วร้าย
เป็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าสลดใจที่สังคมน่าอยู่และเห็นอกเห็นใจของเมืองไทยเรา ได้ถูกลัทธิวัตถุนิยมเข้าครอบงำไปหลายส่วนแล้ว ดังนั้นเราจึงได้ข่าวเนืองๆว่า มีผู้ชั่วร้ายที่อยากได้ประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก เข้ามารังแกจี้ปล้นประชาชนที่กาลังลำบากทุกข์เข็ญ
ยามน้ำท่วม เจ้าหน้าที่ตำรวจกาลังยุ่งกับภารกิจอย่างอื่น เหล่าคนชั่วก็จะออกอาละวาดรังแกผู้ที่กำลังเดือดร้อน มีการขโมย จี้ปล้น ฉกชิงวิ่งราว ให้เราได้ทราบอยู่เป็นประจำ และมีความเป็นไปได้ว่าหนึ่งในอนาคตนั้นอาจจะเป็นตัวเราและบ้านของเรา
ดังนั้น การเตรียมการป้องกันโจร จึงเป็นอีกประการหนึ่งที่เราต้องเตรียมการ อย่าเก็บของมีค่าเอาไว้ในบ้านของเรา เอาไปฝากที่อื่นก่อนดีกว่า เงินทองไม่จาเป็นที่ต้องพกมากมาย และคอยเฝ้าสังเกตบุคคลที่น่าสงสัย การส่งเสียงดังๆในบางครั้ง จะเป็นอาวุธป้องกันตัวเราได้

8. เพื่อนบ้าน ต้องร่วมด้วยช่วยกัน
ในกรณีนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องของการต่อสู้ป้องกันโจรประการเดียว แต่หมายถึงในทุกๆกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เรา “ขอความช่วยเหลือ” จากเพื่อนบ้าน แต่หมายถึงการที่ “เราจะช่วยเหลือเพื่อนบ้าน” ด้วย รวมๆกันก็หมายถึง “การสร้างชุมชนเข้มแข็ง” เพราะความรักที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เสมอยามที่คนเรามีความลำบากร่วมกัน
อย่าต่อสู้หรือป้องกันภัยทั้งหลายคนเดียว ต้องสื่อสารกัน ต้องจับมือกัน และวางแนวทางการป้องกัน การต่อสู้ที่เป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น แล้วเราจะมีโอกาส หากตอนนี้เหล่าเพื่อนบ้านยังไม่มีการเคลื่อนไหวร่วมกัน เราก็อาจจะเป็นแกนตัวเล็กๆที่จะเป็นผู้เริ่มต้นได้ครับ อย่าอาย อย่ากลัวใครเขาหมั่นไส้ครับ หากเราเป็นคนดี มีจิตใจดี ทุกคนจะเข้าใจครับ

19. เตรียมทางหนีทีไล่เพื่อออกจากบ้าน
ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า การป้องกันน้ำท่วมก็เหมือนการป้องกันเมืองจากการโจมตีของข้าศึก ซึ่งเราอาจจะป้องกันเอาไว้ได้หรือป้องกันไม่ไหวก็ได้ หากถึงที่สุดแล้ว เราไม่มีทางต่อสู้ได้แน่ๆ พ่ายแพ้แล้ว การเตรียม “ทางหนี” เป็นเรื่องที่จาเป็น หากเราเตรียมทางหนีเอาไว้แต่แรก เราก็สามารถหนีได้ หนีทัน เกิดความเสียหายน้อยลง
ทางหนีจากกรณีน้าท่วมบ้าน อย่าคิดเพียงทางหนีออกจากบ้าน แต่ต้องคิดให้จบว่าหนีออกไปแล้ว จะหนีด้วยอะไร มีเรือหรือห่วงยางหรือไม่ มีเชือกสาวตัวเองหรือไม่ จะพกอะไรติดตัวไปบ้าง (ที่สามารถพกพาแบกหามไปได้) และจะมุ่งหน้าไปทางทิศใด มุ่งหน้าไปไหน และจะไปหยุดที่ใด พักที่ใด กับใคร ทุกอย่างต้องคิดเป็นกระบวนการ และคิดให้จบวงจรไว้แต่แรกครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 11 ต.ค. 11, 20:05

20. ตั้งจิตให้มั่น ตอนนี้ “สติ” สาคัญที่สุด
อย่าเสียเวลากับการเกรี้ยวโกรธ อย่าเพิ่งด่าอะไรใคร อย่าโทษฟ้าดิน ยังมีเวลาและโอกาสอีกมากมายที่จะทำเช่นนั้น เวลานี้เป็นเวลาที่เราต้องตั้งสติ และคิด และเตรียมการอย่างเป็นระบบ เราต้องรับรู้ข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์จากคนที่เชื่อถือได้ (ระวังคำพูดนักการเมืองนิดนะครับ) ต้องฟังวิทยุ หรือแม้แต่ติดตามทางอินเตอร์เน็ต (เช่น http://www.thaiflood.com/ หรือ http://flood.gistda.or.th/ เป็นต้น)
ค่อยๆ กลับไปอ่านตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 19 แล้วอาจจะเพิ่มข้ออื่นๆที่เราคิดออกเข้าไปอีกได้ เมื่ออ่านแล้วก็ตรวจสอบ และลงมือทำทันทีครับ .... ตอนนี้ “สติ” สาคัญที่สุดครับ

บ ท ตา ม
บทความนี้ถูกเขียนขึ้นเท่าที่ผู้เขียนมีข้อมูลและความรู้ มิใช่เป็นบทความที่สมบูรณ์ที่สุดแต่ ต้องการเขียนขึ้นในฐานะของคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการเป็นประโยชน์กับผู้อื่นในสภาวะวิกฤติของบ้านเมืองบ้าง โดยหวังว่าอาจจะ “ลดความทุกข์” ให้สังคมได้ส่วนหนึ่ง แม้เป็นส่วนเล็กน้อยก็ตาม
บทความนี้ “ไม่มีลิขสิทธิ์” ครับ ผู้ใดต้องการนำไปเผยแพร่ ณ ที่ใดก็สามารถทำได้ โดยไม่จาเป็นต้องขออนุญาตหรืออ้างอิงแหล่งที่มาหรือชื่อผู้เขียนก็ได้ กรุณาอย่าเกรงใจ
นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สถ. ๓๔๔ ว.
ตุลาคม ๒๕๕๔
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 09:37

ขอบคุณท่านผู้เขียนบทความและท่านผู้นำมาเผยแพร่ค่ะ...เป็นประโยชน์มากค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 10:04

เล่าสู่กันฟังค่ะ... ยิงฟันยิ้ม
ในวิกฤติมีโอกาสเสมอ...

อาชีพเสริมช่วงน้ำท่วม 2554  
อาชีพมาแรงที่น่าจับตามอง คือ
1. อาชีพจับสัตว์ เช่นงูเห่า งูสิงห์ งูเหลือม...
2. อาชีพขนส่ง ทางรถ ทางเรือ ช่วงน้ำท่วม สร้างรายได้ให้กับผู้ที่มีรถ-เรือ บริการ สมมุติว่าเที่ยวละ 20 บาทต่อคน ก็ตกประมาณ 1,000- 6,000 บาทต่อวัน ขึ้นอยู่กับทำเลและจำนวนผู้โดยสาร
3. อาชีพขายอาหาร ขายของ น้ำดื่ม ระหว่างน้ำท่วม ขายอาหารประเภทส่งถึงที่ ถึงบ้าน และจุดที่มีผู้ไปพักหนีน้ำ เช่นวัด โรงเรียน ภูเขา ที่สูง
4. อาชีพขายทราย เพื่อเอามาเสริมคันดินกั้นน้ำ รวมถึงวัสดุก่อสร้างทุกชนิด
5. อาชีพขายเสื้อชูชีพ ขายเรือ....

อาชีพเสริมหลังน้ำลด หลังน้ำแห้ง
1. อาชีพซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า หลังน้ำท่วม ได้ซ่อมบำรุงครั้งใหญ่แน่ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องเสียง เตารีด หม้อหุงข้าว คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้านานาชนิด ซ่อมกันเป็นอันมาก
2. อาชีพขายอาหาร กับข้าว เนื่องจาก ภัยน้ำท่วม ได้พัดอุปกรณ์ประกอบอาหาร ผักที่ปลูก สัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงไว้กิน ไปหมด
3. อาชีพขายเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่นอนหมอนมุ้ง
4. อาชีพรับจ้างทำความสะอาด เก็บกวาด ล้างทำความสะอาดหลังน้ำลด ภายในบ้านและนอกบ้าน
5. อาชีพวัสดุก่อสร้าง  ต้องมีการซ่อมหลังคา ฝ้าเพดาน พื้น สี ผนัง และอื่นๆ อีกมากมาย
6. อาชีพขายฟอร์นิเจอร์ ตู้เสื้อผ้าตู้โชว์ โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา...ต้องซื้อตัวใหม่มาทดแทนของเก่า ทีเสียหายเพราะน้ำ
7. อาชีพบำบัดจิตใจ จิตแพทย์ หมอดู พระ...
8. อาชีพรับซื้อทราย เนื่องจากทรายที่เอามาทำกำแพงกั้นน้ำ จำเป็นต้องรื้อออกมา และขายไปในราคาถูก
9. อาชีพ ขายยา รักษาโรค โดยเฉพาะ โรคเกี่ยวกับน้ำ กัดเท้า โรคหวัด
10. อาชีพ ขายน้ำดื่ม  
11. อาชีพขายพันธุ์พืชเพาะปลูก
12. อาชีพขายข้าว เนื่องจากข้าวโดยน้ำท่วมเสียหาย ไม่มีแม้แต่จะกิน ต้องซื้อ และหาพันธ์พืชมาเพาะปลูก
13. อาชีพร้านซักรีด ทำความสะอาดเสื้อผ้า หลังน้ำลด
14. อาชีพซ่อมรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ รถเครื่อง รถจันยานยนต์ และเครื่องยนต์ต่างๆ
15. อาชีพนักสืบ ค้นหาของหาย หาสัตว์เลี้ยง หาคน ที่พลัดหลงกันไปในช่วงน้ำท่วม
16. อาชีพสร้างบ้านป้องกันน้ำท่วม บ้านลอยน้ำได้ ปีหน้าจะได้ไม่ถูกน้ำท่วมอีก
17. อาชีพช่างไฟฟ้า ภายในบ้าน

ใครคิดอาชีพอะไรได้อีกบ้างคะ... ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 13:43

ได้ fw mail มาค่ะ

วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลมากกว่ากระสอบทราย

น้ำท่วมเชียงใหม่ปีนี้ บ้านผมก็หนีไม่พ้นอีกเช่นเคย เพราะอยู่ในโซนหมายเลข 1 ที่น้ำจะต้องท่วมก่อนโซนอื่น ๆ ยังโชคดีที่ อบต.ปรับปรุงถนนหน้าหมู่บ้านให้มีความสูงมากขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี ดังนั้นถึงแม้ระดับน้ำจากแม่น้ำปิงจะสูงเกินค่าวิกฤติ คือ 3.70 เมตร น้ำก็ยังไม่ล้นตลิ่งข้ามถนนเข้าไปท่วมหมู่บ้าน แต่ในที่สุดก็ไม่รอด เพราะปีนี้น้ำขึ้นสูงสุดถึง 4.94 เมตร สรุปว่าน้ำเริ่มเข้าท่วมถนนภายในหมู่บ้านตั้งแต่ตอนบ่ายวันพุธที่ 28 กันยายน 2554 และหยุดท่วมในเช้าวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554

ถึงน้ำจะท่วมถนนภายในหมู่บ้านสูงถึง 60 ซม. จนไม่สามารถใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้า-ออกได้ตามปกติ แต่จากประสบการณ์ที่ต้องผจญกับน้ำท่วมในหมู่บ้านนี้มาหลายครั้ง ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่จะป้องกันไม่ให้น้ำจากถนนภายในหมู่บ้าน ไหลเข้าไปท่วมในบริเวณบ้านอย่างได้ผล ขอนำมาบันทึกไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ในวันนี้ครับ

เตรียมการก่อน

ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1) บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้น มา ( 2) กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

(1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน

(2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ

(3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่าไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว

(4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

น้ำมาแล้ว

เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้ว ในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้ามาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสียหายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 13:44

ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 13:45

เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 13:46

ขณะ ที่ถนนด้านนอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 13:47

ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 13:48

บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 13:49

อีกภาพหนึ่ง

หวังว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไป ได้บ้างตามสมควรครับ.


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 17:26

อันนี้ก็ดีนะคะ...เข้าไปอ่านดู.. ยิงฟันยิ้ม

การเตรียมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินก่อนน้ำท่วม
http://www.thailandexhibition.com/forum/index.php/topic,1447.msg2101/topicseen.html#msg2101

ส้วมฉุกเฉิน สามแบบ
http://www.thaiware.com/news/news_detail?id=973

วิธีการวางกระสอบทรายกันน้ำท่วมที่ถูกต้อง-อันนี้ใช้กระสอบทรายเยอะไป ไม่เหมาะเพราะตอนนี้หายากมากกกก
http://www.thailandexhibition.com/forum/index.php/topic,1443.msg2094/topicseen.html#msg2094

วิธีป้องกันน้ำไหลเข้าบ้านเรือน
http://www.thailandexhibition.com/forum/index.php/topic,1444.msg2095/topicseen.html#msg2095

ทำรองเท้ากันฉี่หนู
http://www.thailandexhibition.com/forum/index.php/topic,1442.msg2093/topicseen.html#msg2093

ข้อแนะนำเรื่องไฟฟ้าเวลาน้ำท่วม-อันนี้ดีต่อชีวิตจริงๆ
http://www.thailandexhibition.com/forum/index.php/topic,1453.new.html#new

ขอให้ชาวเรือนไทยทุกท่านรอดปลอดภัยจากน้ำท่วมคราวนี้กันทุกคนนะคะ...สู้สู้ ค่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 17:42

เอามาฝากครับ

น่าสนใจนะคะ  ในสถานการณ์เช่นนี้

 

http://www.pantip.com/cafe/food/topic/D11174191/D11174191.html




วิธีหุงข้าวสวยให้เก็บไว้ได้หลายวันโดยไม่บูด





ตอนนี้พื้นที่น้ำท่วมเยอะมาก
บางที่ท่วมจนไม่สามารถจะทำอาหารได้ หรือไม่มีอุปกรณ์เพราะน้ำพาไปหมด

ของที่บริจาคช่วยน้ำท่วมที่เราเห็นเยอะคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือข้าวสาร ซึ่งต้องทำให้สุกก่อนทาน
หรือจะเป็นอาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องอย่าง ปลากระป๋องซึ่งทานอย่างเดียวก็ไม่อิ่มท้อง

ข้าวสวยบรรจุกระป๋อง ก็มีราคาแพงและน้อย

ที่บ้านเรา เวลาหุงข้าวสวย จะใส่น้ำส้มสายชูลงไปด้วย
ข้าวสาร 3 กระป๋อง ใช้น้ำส้มสายชูประมาณ 1 ช้อนชา ซึ่งจริงๆก็กะเอาค่ะไม่ได้ตวง

ข้าวสวยที่หุงโดยการเติมน้ำส้มสายชูลงไป สามารถอยู่ได้โดยไม่บูดหลายวัน

เราเคยหุงแล้วตักมาทาน แล้วปิดฝาทิ้งไว้ ลืมไป 4 วัน มาเปิดหม้อดูอีกที ก็ไม่บูดค่ะ ไม่แฉะด้วย

เราทดลองหุงแล้วตักมาทาน แล้วปล่อยทิ้งไว้คาหม้อ 4-5 วัน มาไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งแล้วค่ะ เพื่อพิสูจน์ว่ามันจะไม่บูดจริงๆ โดยเปิดฝาดูทุกวัน
ข้าวที่หุงทิ้งไว้ 4-5วัน เราก็เอามาทานจริงๆ ไม่มีกลิ่นบูด ไม่แฉะ

เราเลยคิดว่า อยากให้หุงข้าวด้วยการเติมน้ำส้มสายชูดังกล่าว
แล้วบรรจุถุงแกง อาจจะรัดด้วยหนังยางหรือซีลด้วยเครื่องซีลถุง
เอาไปบริจาคให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซึ่งไม่สามารถประกอบอาหารได้

ทานข้าวสวยกับปลากระป๋อง อร่อยและอิ่มท้องกว่าทานปลากระป๋องอย่างเดียวค่ะ

ส่วนตัวเราเอง ตอนนี้ทยอยหุงข้าวแล้ว pack ใส่ถุงพลาสติกเก็บไว้เป็นเสบียงแล้วค่ะ
เพราะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำจะเข้าท่วมในอีก2-3วัน เก็บของเตรียมพร้อมเรียบร้อย
เอกสารสำคัญ ยา อาหาร ของจำเป็นในการดำรงชีวิต พร้อมลุย ไม่ต้องรอถุงยังชีพ

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 22:49

ขอให้กำลังใจแก่ผู้คนที่ได้รับความทุกข์และผลกระทบจากน้ำท่วมครับ

เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ คงจะช่วยกระตุ้นให้ท่านทั้งหลายได้นึกย้อนกลับถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ และอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในภายภาคหน้า ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่หลายๆท่านคงทราบดีอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องทางธรรมชาติปกติ   

วิชาการนี้เรียกว่า Geomorphology ว่าด้วยเรื่องของสภาพภูมิประเทศและกระบวนการทางธรรมชาติที่ไปทำให้เกิดสภาพเช่นนั้น

ภูมิประเทศที่เราเห็นทั้งหลายนั้นเกือบทั้งหมดเกิดมาจากผลของการผุพัง (Weathering) การกัดกร่อน (Erosion) การทับถมของดินและหิน (Deposition) ที่เกิดบนพื้นผิวโลกทั้งบนดิน ใต้แอ่งน้ำและท้องทะเลมหาสมุทร และพลังงานต่างๆที่ยังสะสมอยู่ภายในโลกที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน และรอยเลื่อนต่างๆ อันเป็นผลทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ
 
ตัวการที่ทำให้เกิดภูมิประเทศต่างๆและผลดังกล่าวนี้ ได้แก่ ลม น้ำ น้ำทะเล น้ำแข็ง และพลังงานในรูปแบบต่างๆของโลกที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อเนื่องตลอดมาตั้งแต่โลกกำเนิดมา (เช่น การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ภูเขาไฟ ฯลฯ)

ความจริงพื้นฐานก็คือ พื้นผิวของผิวโลกในส่วนที่สูงจะถูกทำให้ต่ำลง ในขณะที่พื้นผิวบริเวณที่ต่ำจะเป็นแ่อ่งรับตะกอนสะสมให้สูงขึ้น จนในสุดท้าย ทั้งพื้นที่สูงและพื้นที่ต่ำปรับลงมาอยู่ในระดับเดียวกัน (ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นได้เลยในโลก เพราะพลังงานภายในโลกได้ทำให้ผิวโลกมีการยกตัวและทรุดตัวตลอดเวลา)

จะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องของน้ำจืดที่ใหลอยู่บนผิวโลกเหนือพื้นดิน (Fluvial) และกระบวนการทำลายและการสร้างของมันเท่านั้นครับ

ตัดตอนอย่างสั้นๆ - น้ำฝนที่ตกลงมาในป่าเขาซึ่งเป็นพื้นที่สูง บางส่วนจะถูกดูดซึมลงใต้ดิน ส่วนที่ถูกดูดซึมไม่ทันก็จะไหลอยู่บนผิวดินลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า พร้อมอุ้มเอาดินทรายลงมาด้วย ดินทรายที่ถูกน้ำอุ้มนำพาลงมาด้วยนี้ก็เหมือนกระดาษทราย ขัดถูกัดกร่อนก้อนหินและเม็ดดินทรายอื่นๆ เมื่อน้ำอุ้มดินทรายไว้มาก ก็ขุ่นข้น ทำให้เนื้อของมวลน้ำนั้นมีมวลแน่นขึ้น ก็สามารถจะอุ้มดินทรายได้ก้อนใหญ่ขึ้น การกัดเซาะของน้ำในพื้นที่ลาดลันสูงนี้เป็นลักษณะในทางลึก บริเวณต้นห้วยหรือต้นลำน้ำต่างๆจึงมีลักษณะเป็นร่องลึก
น้ำที่ซึบซับลงดินนั้น หากมีมากเกินระดับหนึ่ง ก็จะทำให้ความสามารถในการยึดตัวของเม็ดดินลดลง เหมือกับเราเอาน้ำเทลงดิน หากไม่มากนัก ดินนั้นเราก็จะสามารถปั้นได้ แต่หากมากจนเกินไปก็จะกลายเป็นโคลน และมากไปมากๆก็จะกลายเป็นเลนเละๆ เป็นจุดเริ่มของดินโคลนถล่ม

ตัดตอนลงมาสู่ที่ราบ - การกัดกร่อนในทางลึกลดลงไปแต่ไปเพิ่มการกัดกร่อนในทางราบ ทางน้ำหรือแม่น้ำในพื้นที่ราบจึงคดโค้งและแกว่งตัวไปมา เมื่อน้ำมากเกินกว่าความสามารถของร่องน้ำจะนำพาลงไปสู่ที่ต่ำกว่าได้ทัน น้ำก็จะท่วมล้นฝั่ง แผ่ออกไปด้านข้าง เกิดเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง (Floodplain)

เริ่มเข้าประเด็นที่อยากจะเล่าตั้งแต่จุดนี้ไป ครับ

เมื่อน้ำล้นร่องน้ำไหลออกไปทางด้านข้าง ก็จะทำให้เกิดภูมิประเทศที่สำคัญอยู่ 3 ลักษณะ คือ อันแรก สันคันคลองตามธรรมชาติ (Natural levee) อันที่สอง ร่องแยกบนสันคันคลองนี้ (Cleavage) จนขยายกลายคลองธรรมชาติ (Channel) เชื่อมกับทางน้ำหลัก และอันที่สาม พื้นที่น้ำท่วม (Swamp)

สันคันคลองตามธรรมชาตินั้นปรากฎให้เห็นทั้งสองฝั่งตลอดแนวแม่น้ำตามธรรมชาติที่ไหลอยู่ในพื้นที่ราบ เกิดจากตะกอนดินทรายที่แม่น้ำพัดพามา เมื่อน้ำในแม่น้ำมากและไหลแรง มวลน้ำจะมีความสามารถในการอุ้มเม็ดดินทรายได้มากและก้อนใหญ่ (น้ำหนักมาก) เมื่อความเร็วของน้ำลดลงตะกอนดินทรายที่ก้อนใหญ่หรือมีน้ำหนักมากก็จะตกลงเป็นตะกอน สันคันคลองตามธรรมชาติก็เกิดจากกระบวนการนี้ คือ ในร่องน้ำ น้ำไหลแรง พอเอ่อล้นตลิ่ง ความเร็วของการไหลลดลง ตะกอนก็ตก
ดังนั้น สันคันคลองธรรมชาติจึงเป็นพื้นที่สูง เนื่องจากมีตะกอนดินทรายมาทับถมพอกพูนทุกครั้งที่มีน้ำเอ่อล้นตลิ่ง

ร่องแยกบนสันคันคลองที่กลายเป็นคลองเชื่อมกับแม่น้ำ ร่องนี้คือร่องระบายน้ำจากแม่น้ำเมื่อน้ำเอ่อไหลท่วมสันคันคลอง น้ำจะเซาะทำให้เกิดเป็นทางน้ำไหลเป็นร่องที่ขยายกว้างขึ้นเรื่อบๆเพื่อนาพาน้ำลงสู่ที่ต่ำด้านหลังของสันคันคลอง ร่องน้ำนี้อาจจะมีสันคันคลองธรรมชาติได้แต่ไม่เด่นชัด

พื้นที่น้ำท่วม คือพื้นที่รับน้ำทีเอ่อล้นตลิ่ง เป็นที่ลุ่มมาก ชุมชื้นหรือชื้นแฉะมากกว่าพื้นที่ทั่วไป มีลำรางตามธรรมชาติอยู่มาก พื้นดินเป็นดินเนื้อละเอียดและอ่อน พื้นที่นี้อยู่ระดับต่ำกว่าสันคันคลองธรรมชาติ และในหลายกรณี ระดับอาจจะต่ำกว่าระดับท้องแม่น้ำก็ได้

คนโบราณเขาเลือกตั้งบ้านเรือนถิ่นฐานอยู่บริเวณที่เป็นสันคันคลองตามธรรมชาติ บ้านเรือนเป็นแบบพื้นสูงให้น้ำที่เอ่อล้นรอดใต้ถุนไปได้ ปลูกไม้ยืนต้นในบริเวณนี้ ช่องต่อระหว่างสันคันคลองนี้กับพื้นที่น้ำท่วมก็ทำไร่ทำสวน พอลงไปในบริเวณพื้นที่น้ำท่วมก็ทำนา ไม่ปลูกบ้านอาศัย มีแต่เขียงนาเพื่อพักชั่วคราว

ปัจจุบัน เราไปปลูกบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมในที่ใช้ทำนา แถมยังปลูกบ้านติดพื้นดินอีก ไปพัฒนาเป็นพื้นที่นาให้เป็นสนามกอล์ฟและโรงงานอุตสาหกรรม เอาพื้นที่บนสันคันคลองไปทำถนน เอาร่องน้ำที่ธรรมชาติใช้ระบายน้ำเอ่อล้นกลับทิศทางเป็นทางระบายน้ำออกจากที่ต่ำ รวมทั้งขุดดินฝังท่อระบายน้ำโดยกำหนดระยะลึกจากผิวดินแทนที่จะกำหนดระยะลึกใ้ห้เสมอหรือลาดเอียงไปสู่ระดับน้ำในแม่น้ำ กลับทิศกันหมดเลย

การขยายเมืองขยายพื้นที่ชุมชนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราทำย้อนธรรมชาติได้ตราบใดที่เราเข้าใจลักษณะของมัน และไม่ไปฝืนธรรมชาติมากจนเกินไป ทั้งหมดจะต้องพัฒนาไปบนหลักการของ Living in harmony with nature ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการสรรสร้างธรรมชาติรอบตัวให้สวยงามและดูเป็นธรรมชาติ แต่เป็นเรื่องของการอยู่อย่างเข้าใจในกระบวนการทางธรรมชาติ และเมื่อเราหลีกไม่พ้นที่จะต้องอยู่ในสภาพนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องคำนึงถึง 4 เรื่อง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือรัฐ) คือ
   เรื่องแรก คือ การจัดการล่วงหน้าเพื่อจะบรรเทาภัยและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น (Mitigation) เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติที่ต้องเกิดเป็นปกติ ห้ามมันมิได้
   เรื่องที่สอง คือ การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะอยู่ร่วมกับมันหรือแก้ไขมันเมื่อมันเกิดเรื่องขึ้นมา (Preparedness) อันนี้เป็นเรื่องของพวกอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ
   เรื่องที่สาม คือ ความพร้อมที่จะผจญกับมันในทั้นทีเมื่อเกิดเหตุ (Response) อันนี้เป็นเรื่องทางใจ คือ พร้อมสู้และกระโจนเข้าแก้ไขทั้งส่วนยุคคลและส่วนรวม
ซึ่งหมายโดยเฉพาะถึงการทำให้ตนเองและผู้อื่นมีชีวิตอยู่ ไม่ตายหรือเจ็บไปตั้งแต่แรก และอยู่รอดตลอดช่วงของเหตุการณ์ 
   และเรื่องที่สี่ คือ การกู้ภัย การกู้ความเสียหาย และการเยียวยาหลังจากการเกิดเหตุ (Salvation and Remedy)

ภาพของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คงเห็นด้วยกันว่า เกือบทั้งหมด รัฐไปเตรียมการอยู่ในเรื่องที่สี่     


     
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 18 คำสั่ง