เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: โรสา ที่ 08 ธ.ค. 00, 07:00



กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: โรสา ที่ 08 ธ.ค. 00, 07:00
อ่าน(และชื่นชม)กระทู้ที่ ๑๘๔ ทำให้บังเอิญนึกถึงข้อสงสัยที่เก็บมานานว่า เพลงเถากับเพลงตับต่างกันอย่างไร


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: ทิด ที่ 05 ธ.ค. 00, 14:43
ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของเพลงไทยคือการที่บางเพลงจะมีการแต่งไว้ในอัตราจังหวะที่แตกต่างกัน อัตราจังหวะที่ว่าของเพลงไทยนี้โดยหลักๆ แล้วจะประกอบด้วย อัตราจังหวะ ๓ ชั้น ๒ ชั้น และชั้นเดียว ถ้าพูดกันแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือชั้นเดียวจะเร็วที่สุด และ ๓ ชั้นจะช้าที่สุด แต่ถ้าจะถามว่าแล้วเร็วช้าต่างกันแค่ไหน ก็คงต้องขยายความแบบง่ายๆ เหมือนเดิมว่า โดยปกติเพลงไทยแต่เดิมจะถูกแต่งขึ้นในอัตราสองชั้นครับ เป็นอัตราจังหวะความเร็วปานกลาง เพลงสามชั้นนั้นทำโดยการขยายจังหวะ และทำนองเพลงขึ้นเป็น ๒ เท่าจากโครงเพลงในอัตราสองชั้น ยกตัวอย่างเช่นสมมุติว่า เพลง ก. ในอัตราสองชั้นมีความยาว ๔ บรรทัด เมื่อขายเป็นสามชั้น เพลง ก. ก็จะมีความยาว ๘ บรรทัด ในทางตรงกันข้ามถ้าทำการ "ตัด" ทำนองลงครึ่งหนึ่งจากโครงเพลงสองชั้นเดิมก็จะกลายเป็นเพลงในอัตราชั้นเดียวครับ ยกตัวอย่างเดิม เพลง ก. ๒ ชั้นความยาว ๔ บรรทัด เมื่อตัดลงเป็นชั้นเดียวก็จะเหลือเพียงสองบรรทัด แต่กฏที่ว่านี้ไม่ตายตัวเสียทีเดียวนะครับยังมีข้อพิจารณาปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ที่บอกมาเป็นเพียงภาพคร่าวๆ ที่อธิบายความแตกต่างของเพลงในอัตราจังหวะต่างกันเท่านั้น โม้มานานดูเหมือนจะไม่ได้ตอบคำถามแต่จริงๆ แล้ว การที่แต่งขยายเพลง ๒ ชั้นเพลงใดเพลงหนึ่งขึ้นเป็นอัตราสามชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว สำหรับใช้บรรเลงต่อเนื่องกันแล้ว เพลงที่ประกอบด้วยท่วงทำนองจังหวะทั้งสามอัตรานี่แหละครับที่เรียกว่า "เพลงเถา"

ยกตัวอย่างเพลงเถา เช่น สุดสงวน เถา ประกอบด้วย เพลง สุดสงวน ๓ ชั้น - ๒ ชั้น - ชั้นเดียว ฯลฯ

ส่วนเพลงตับนั้นจะเป็นการนำเอาเพลงหลายๆ เพลง (โดยมากจะเป็นเพลง ๒ ชั้น) มาบรรเลงต่อกัน ถ้ามีเนื้อร้องต่อเนื่องกันก็จะเรียกว่า "ตับเรื่อง" เพลงตับอีกประเภทหนึ่งคือการนำเอาเพลงที่อาจจะเนื้อร้องไม่ต่อเนื่องกัน แต่ท่วงทำนองสำเนียงใกล้เคียงกันมารวมบรรเลงต่อกัน เรียกว่า "ตับเพลง" ครับ

ยกตัวอย่าง เพลงตับ เช่น ตับวิวาห์พระสมุทร ประกอบด้วยเพลง ๓ เพลงคือ คลื่นกระทบฝั่ง  (๒ ชั้น ) แขกบังใบ (๒ ชั้น ) แขกสาหร่าย (๒ ชั้น ) เป็นต้น


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 05 ธ.ค. 00, 17:22
คุณโรสา
เอ้อระเหยลอยมา ลอยมาแต่กระทู้ล่างลงไป
ได้ยินถามแถลงแจ้งเหตุ โอ้แม่ซ้อสมะเขือเทศ น้องจะช้าอยู่ไย....
อย่ามัวแต่ฟังอยู่นอกวง เชิญหนาแม่เชิญมาลง  ร่วมเล่นเพลงพวงเอ๋ยก็มาลัย...


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: แม่บัว ที่ 06 ธ.ค. 00, 00:03
ตอนเรียนชั้นประถมและมัธยม ที่โรงเรียนอิฉันสอนวิชาขับร้องเพลงไทยเดิม เวลาเรียนต้องนั่งพับเพียบหลังตรง จำแม่น คือ ลาวเจริญศรี และ เขมรโยกไทร  เอ๊ย เขมรไทรโยค

เชิญคุณหลวงนิลกลับกระทู้ 184 เจ้าค่ะ


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 06 ธ.ค. 00, 02:17
ขอบคุณคุณทิดมากค่ะ  ดีใจที่มาคุยเรื่องดนตรีไทยกันอีกครั้งหลังจากในกระทู้ที่ห้องสมุด(น่าจะไปตามคุณระนาดเอกมาคุยด้วย ดีมั้ยคะ)  
นานมาแล้วที่ฟังดนตรีไทย  จำได้คลับคล้ายคลับคลา  แต่ส่วนมากจำไม่ค่อยได้ แฮ่ๆๆ  ขอถามคุณทิดหน่อยนะคะ  ไม่ทราบว่าในเพลงเถา
โดยเฉพาะสามชั้นนี่  จะมีจังหวะเดียวกัน คือความเร็วสมำ่เสมอเท่ากันตลอดทั้งสามชั้นมั้ยคะ  จำได้ว่าเคยเล่น ไม่ทราบเพลงประเภทไหน  
แต่จังหวะมันจะกระชั้นขึ้นเรื่อยๆ  จนเร็วระทึกตอนจบน่ะค่ะ  ดิฉันเป็นประเภทเล่นเพลงร็อคมาก่อน  พอเล่นเพลงกรัชั้นพวกนี้ก็ชอบมากเลยค่ะ  
แต่จำไม่ได้ซักอย่างแล้วค่ะ  แย่จังเลย :-(  ช่วยทวนความจำให้หน่อยด้วยนะคะ


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: โบว์สีชมพู ที่ 06 ธ.ค. 00, 17:04
รู้สึกว่าหลายท่านในweb นี้ มีความรู้เยอะจังค่ะ อ่านแล้วทึ่งมากค่ะ
ลองตามไปอ่านกระทู้ที่ 184 แล้ว ก็ยิ่งรู้สึกสนุกตามไปด้วยค่ะ  แต่ร่วมแต่งเพลงด้วยไม่ได้ เพราะความสามารถไม่ถึงค่ะ


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: รัตนพันธุ์ ที่ 06 ธ.ค. 00, 20:55
เพลงเถาจะเร็วขึ้นเรื่อยๆค่ะ จาก๓ชั้น (ช้ามาก น่านอนสไตล์เช่นจังหวะของเพลง เขมรไทรโยค) มา๒ชั้น (ฟังกำลังสบาย เช่นจังหวะของเพลงลาวดวงเดือน) มาชั้นเดียว (มันค่ะ จังหวะของเพลงจำพวก ค้างคาวกินกล้วย, พม่ากลองยาว เป็นต้น) พอถึงลูกหมดก็ใส่กันสุดๆเลย ก็จบเพลงแล้วนี่คะ
ส่วนเพลงตับจะเป็นการนำเพลงหลายๆเพลงที่มีอัตราจังหวะเท่าๆกันมาบรรเลงต่อกัน มี๒ชนิดคือตับเรื่อง และตับเพลงค่ะ


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 07 ธ.ค. 00, 02:47
อ้อ ใช่แล้วค่ะ "ลูกหมด"  ขอบคุณมากค่ะ คุณรัตนพันธ์

ปกติเพลงเถาสามชั้นนี่  จะลงท้ายด้วยลูกหมดเสมอไปรึเปล่าคะ

ดิฉันเคยเล่นแต่ซอมานานแล้ว  ไม่ได้จับไปจนลืมหมดแล้วค่ะ  พูดแล้วก็ละอายครูมากค่ะ

แล้วอยากถามเรื่องโน้ตดนตรีไทยด้วยค่ะ  อย่างซออู้ ซอด้วงนี่  จะใช้โน้ต 0 1 2 3 4 บนล่าง  รวม 10 โน้ต  ถ้าจำไม่ผิดนะคะ  แล้วเครื่องดนตรีอย่างอื่นนี่ใช้โน้ตแบบนี้ด้วยรึเปล่าคะ  หรือเป็นแต่เครื่องสาย  เพราะดูเหมือนว่า ระนาด จะใช้โน้ตคนละอย่าง  ขอบคุณด้วยค่ะ


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: Tid ที่ 07 ธ.ค. 00, 07:25
I copied this message from www.thaikids.com. The authors if these messages are the well-known Thai musician. Kru Tak is nick name of Acharn Chanok Sagarik. And Nong is nickname of Acharn Ananda Nark-Kong (CU)



By the way, I've seen K. Kaew (DS) of SOAS around here, he knows better than me. If P' Kaew see this topic please explain us about the topic na krub.

...................



เท่าที่ทราบดูเหมือนจะมี ๕ แบบคือ

             ๑ โน้ตตัวเลขแบบ 0 1 2 3 4 (บรรทัดบน-ล่าง)

             ๒ โน้ตตัวเลขแบบ 9 ตัว (1 2 3 4 5 6 7 8 9)

             ๓ โน้ตตัวอักษร (ด ร ม ฟ ซ ล ท)

             ๔ โน้ตตัวเลข (0 1 2 3 4 5 6) อันนี้ใช้กับขิม

             ๕ โน้ตตัวเลขเจ็ดตัว (1 2 3 4 5 6 7)

             อาจจะมีมากกว่านี้ ใครทราบช่วยเพิ่มด้วยครับ



             จากคุณ: ครูตั๊ก- [Saturday, April 29, 2000# 10:25]

.............................................................................................

โน้ตที่น่าสนใจนอกไปจากที่ครูตั๊กพูดึงนี่ ยังมีอีกนะครับ แต่ต้องคุยกันยาว ในที่นี้จะขอยกขึ้นมาก่อน 2 ญัตติ คือโน้ตร้องและโน้ตเครื่องทำจังหวะ



             1. โน้ตพิเศษของพวกนักร้อง ที่ชอบเขียนโน้ตแทนเสียงเอื้อนว่า เอ๋ย เงย หือ อือ เออ เฮอ น่ะครับ เป็นโน้ตรู้สึกว่านิยมใช้กันมากเป็นการส่วนตัวของคนร้อง

             แต่ไม่ได้ค่อยมีโอกาสพิมพ์เผยแพร่เหมือนโน้ตระบบอื่น หรือหยิบขึ้นมาสนทนากเียงกันเช่นโน้ตแบบอื่น

             ทั้งๆที่วิชาการขับร้องนี่ก็เป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้เรื่องดนตรีด้านอื่นๆเช่นกัน และเนื่องด้วย คงเป็นการยุ่งยากที่จะจัดทำโน้ตทางร้องออกมาเผยแพร่ ยุ่งยากทั้งการบันทึก

             การวางระบบจัดพิมพ์ การอ่านออกเสียงออกความและออกอารมณ์ ก็เลยเงียบซะ พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ประมาณนี้



             ศิลปะทางการขับร้องนี่สำคัญนะครับ จะทำไงึงจะสร้างหลักฐานเรื่องเพลงร้องได้อย่างจริงจังกันซะทีล่ะครับ เอาให้มันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งกว่าแค่พิมพ์เนื้อร้อง

             คำร้องที่ลอกมาจากบทวรรณคดี ตรงกันมั่ง เพี้ยนกันมั่ง และมักจะจบอยู่แค่การลงคำร้องตามแบบแผนกวีนิพนธ์เท่านั้น ไม่ลงรายละเอียดว่าตรงไหนเสียงสูงเสียงต่ำ

             ตรงไหนเอื้อนไม่เอื้อน ตรงไหนเสียงยาวเสียงสั้น ตรงไหนเป็นสำเนียงอะไร ตรงไหนตรงกับโน้ตตัวอะไรในเพลง ฯลฯ

             จะหาความรู้และหลักฐานบันทึกเรื่องร้องนี่ยากเหลือเกิน ้าไปเทียบกับโน้ตประเภทอื่นที่ผลิตกันมาเยอะแยะ มีทุกระบบที่ครูตั๊กว่ามา

             ที่นิยมมากที่สุดตอนนี้เห็นจะเป็นโน้ตตัวอักษร ด ร ม ฟ ซึ่งหาได้ง่ายดาย และเข้าใจไม่ยากนัก ้ารู้จักใช้สติปัญญาในการหัดเรียนเขียนอ่าน

             แต่ของโน้ตร้องที่ดูเหมือนจะอาภัพกว่าเขาเพื่อน เท่าที่เห็นก็เป็นการหาทางเขียนกันเอง เข้าใจกันเองในพวกนักร้องหรือคนที่พอรู้เรื่องร้องนั้นบ้าง

             แต่้าไม่ได้ฝึกมาทางนี้โดยตรงหรือไม่รู้เพลงที่เขาเขียนโน้ตทางร้องนี่มาก่อน ก็อ่านลำบากเหมือนกัน เพราะไม่ใช่โน้ตระดับเสียงหรือโน้ตหน่วยทำนองอย่าง 5

             ข้อที่กล่าวึง



             (ตัวอย่าง)

             เพลงแขกบรเทศ สามชั้น

             นี่ ฮือ กระ-ไร -- ตก เฮอ ใจ -- เออ เฮ้อเออเอ่อ เออ หือ เงอ เฮ้อ เอ่อ เออยย ฮึ- ไป เปล่า-เปล่า



             โน้ตพวกนี้นักร้อง-นักขับเสภา-นักพากย์ เขานิยมใช้กันมาก เขียนแทรกลงไประหว่างช่องไฟของคำกลอน บางทีก็เขียนรวมกันไปเลยทั้งทางร้อง ทางเอื้อน และคำร้อง

             โดยไม่เน้นเรื่องเส้นกันห้องที่ระยะเท่ากันเป๊ะๆอย่างเครื่องดนตรี เป็นโน้ตเอื้อนที่ช่วยให้การขับร้องตรงหลักการขึ้นมากกว่า

             บางคนก็เก่งชนิดไม่ได้ใส่ใจกับการอ่านโน้ตร้องให้ยุ่งยากรำคาญ เพราะนักร้องทั่วไปเขาจะจำทำนองร้องไว้ในสมองมากกว่า บางคนก็ดูแค่เนื้อร้อง เพลงน่ะ

             จำได้แล้วหละ ปิดสมุดโน้ตก็ยังร้องกันได้สบายใจ มีโน้ตเข้ามาช่วยตรงรายละเอียดบางอย่างเท่านั้น อะไรทำนองนี้

             ส่วนระดับเสียงและจังหวะของโน้ตร้องอย่างไรที่สมบูรณ์แบบ

             เป็นเรื่องที่ท่านผู้เกี่ยวข้องคงต้องหาทางออกกันซะทีว่าจะใช้ระบบใดที่สามารเขียน-บันทึกและอ่านให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

             หรือน่าจะมีสัญญลักษณ์อะไรขึ้นมาใช้สำหรับโน้ตร้อง

             อันที่จริง จะว่าไม่มีโน้ตร้องที่พอจะใช้งานได้ซะเลยก็ไมู่ก เพราะเคยเห็นโน้ตทางร้องที่ท่านอาจารย์สงัด ภูเขาทอง สมัยเมื่อสอนอยู่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จฯ

             เขียนทางร้องเป็นลักษณะโน้ตอักษรไทย ด ร ม ฟ แทนเอื้อน และสามารบรรจุอยู่ในช่องไฟแปดห้องต่อบรรทัด

             แต่ต้องอาศัยการเขียนด้วยลายมือแบ่งช่วงการร้องแบบกะความน่าจะเป็นเอา และที่รู้สึกเหนื่อยแทน ทั้งคนเขียนและคนอ่านคือการใช้เส้นโค้งโยงระยะการเอื้อน

             มีทั้งเส้นโค้งเล็กๆสั้นๆ และโค้งใหญ่ๆยาวๆ (หมายึง้าเอื้อนแบบกระทบเสียงรึสบัดก็สั้นหน่อย แต่้าเอื้อนยาว ลากเสียงยาว หรือประโยคการร้องช่วงนั้นยาว

             ก็ใช้เส้นโค้งยาวมาคร่อมช่วงโน้ต) ส่วนการเอื้อนว่าตรงไหนจะเป็น เออ เอิง เอย เฮอ เงอ อะไรนี่ ปล่อยให้เป็นกรรมของคนร้องที่จะต้องไปรับผิดชอบต่อเอาเอง

             น่าสังเกตว่า เท่าที่อาจารย์สงัดได้เผยแพร่ออกมา แม้จะเป็นเรื่องที่ก่อคุณูปการมหาศาลให้แก่วงการดนตรีไทยในระดับหนึ่ง

             แต่ก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจหรือผ่านการยอมรับในวงกว้างมากนัก แต่้านึกดูอีกที ก็ยังดูเข้าท่ากว่าไม่เขียนอะไรไว้เสียเลย หรือสักแต่ว่าเขียน แต่เอามาอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง

             งานของอาจารย์สงัดตรงนี้คล้ายกับระบบการบันทึกของครูจันทนา พิจิตรคุรุการ ซึ่งลงโน้ตทำนองลงไปในสมุดบันทึกขับร้องส่วนตัวของท่าน

             เขียนเป็นโน้ตเก้าตัวอย่างทางซอ แต่ก็ไม่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเอื้อนมากนัก นอกจากกรณีนี้ก็มีอยู่ในงานของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลงด้วยเช่นกัน

             แต่แพร่หลายน้อยกว่าของอาจารย์สงัดและครูจันทนา





             ้าจะเอารายละเอียดเรื่องโน้ตร้อง ระหว่างที่ยังหาทางออกอะไรไม่ได้ ก็คิดว่าโน้ตสากลยังเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุดอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงระดับเสียงสูงต่ำ

             การแสดงช่องไฟ การแสดงระยะี่ห่างกว้างแคบของโน้ต และเสียงผ่านต่างๆที่ใช้เป็นลูกประดับประดาในโน้ตเพลง

             อันนี้ที่จริง้าศึกษาจากกรณีดนตรีตะวันตกในยุคแรกๆที่มีการเขียนโน้ตใช้กัน

             ก่อนที่จะปริวรรตมาเป็นโน้ตบันทัดห้าเส้นอย่างที่เป็นมรดกตกทอดมาจนึงเราลูกหลานทุกวันนี้ โน้ตฝรั่งในระยะแรกเป็นโน้ตเพลงขับร้องครับ

             ตั้งแต่กรีกเรื่อยมาจนึงบาทหลวงฝรั่งยุคกลาง มีการปรับปรุงแก้ไขสืบเนื่องมาอย่างไม่หยุดยั้ง และมาลงตัวแวโบส์หลวงพ่ออิตาลีเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้

             จากนั้นจึงพัฒนาการไปสู่โน้ตสำหรับทางเครื่องดนตรี กลายมาเป็นวิชาการเขียนโน้ตที่ละเอียดละออในที่สุด และก้าวไปสู่การเขียนโน้ตอย่างก้าวหน้าไปเรื่อง

             เป็นรูปกราฟฟิคบ้าง เป็นสัญญลักษณ์แปลกๆออกไปบ้าง ตามยุคสมัยการสร้างสรรค์แห่งเสียงดนตรีและเพลงร้องของฝรั่งเขา



             ญัตติแรก ว่าด้วยโน้ตทางร้อง เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวที่อาจจะไม่ต้องใจผู้รู้ทั้งหลายในไทยคิดนี้ก็ได้ แต่ก็อยากให้ช่วยกันอภิปรายต่อด้วยครับ



             ญัตติที่สอง ว่าด้วยโน้ตเครื่องทำจังหวะ (ไม่ใช่เครื่องกำกับจังหวะ)

             ไม่ทราบว่าใครมีความเห็นอย่างไร ต่อกระบวนการและวิธีการบันทึก การเขียน การอ่าน การสร้างสัญญลักษณ์ของเครื่องทำจังหวะทั้งหลายที่ใช้อยู่ในวงการดนตรีไทย

             ทั้ง ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ โหม่ง ฆ้อง 3 ใบ หุ่ย 7 ใบ เหม่งบัวลอย ตะโพนไทย ตะโพนมอญ เปิงมาง กลองสองหน้า กลองแขก กลองมลายู ทับ โทน รำมะนามโหรี

             รำมะนาลำตัด กลองทัด กลองยาว กลองตุ๊ก กลองจีน กลองมะริกัน ฯลฯ



             บรรดาเครื่องทำจังหวะที่เห็นและเป็นอยู่ อยากจะามท่านผู้รู้ว่า ในโลกแห่งการบันทึกโน้ตดนตรีไทยที่เรามีลมหายใจเข้าออกกันอยู่นี้

             เราใช้กระบวนการที่ค่อนข้างจะฉาบฉวยเกินไปหรือเปล่า ทั้งการสมมติชื่อเรียก การสมมติอักษรย่อแทนเสียง (ซึ่งมักทำให้งงกันอยู่บ่อยๆ) การสร้าง form & pattern

             ของการจดบันทึกโน้ตจังหวะ หรือบางทีก็เขียนคำอ่านเต็มๆยัดลงไปในพื้นที่ห้องโน้ตไทยมาตรฐานซะเลย



             แต่ในทางปฏิบัติจริง การทำจังหวะนั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก มีทั้งข้อบังคับ ข้อยกเว้น ข้อผ่อนผัน และข้อละเมิด

             ซึ่งก็ควรที่จะสังคายนาเรื่องโน้ตเครื่องทำจังหวะทั้งหลายแหล่นี่กันอย่างจริงจังซะทีด้วยเหมือนกัน จะเอาอย่างไร จะเขียนแบบไหน

             จะบันทึกอย่างไรให้มันสมบูรณ์แบบตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด อ่านกลับมาเป็นโน้ตจังหวะได้จริงๆ และสามารสื่อความงามของดนตรีไทยได้อย่างแท้จริงในที่สุด



             หรือว่าไหนๆก็สมมติกันมาจนึงป่านนี้แล้ว

             สมมติกันต่อไปดีไหม



             ญัตติที่สาม ว่าด้วยโน้ตเพลงของเครื่องดนตรีที่มีการประสานเสียง / ขั้นคู่/ คอร์ด ในตนเอง

             เอ.... เอาไว้งวดหน้าดีกว่า เมื่อยมือแล้ว จบแค่นี้แหละ



             จากคุณ: หน่อง- [Saturday, April 29, 2000# 14:02]


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 07 ธ.ค. 00, 07:57
โน้ตบนล่างนี่จะใช้กับเครื่องสีที่มี๒สายคือบนหมายถึงสายนอก
ล่างหมายถึงสายใน
ส่วนโน้ตขิมเเบบที่๔  (0123456) จะเขียนเเยก๓ช่องตามลักษณะขิม
ส่วนแบบอื่นจะเขียนบนบรรทัดเดียว

ที่ว่า >ปกติเพลงเถาสามชั้นนี่ จะลงท้ายด้วยลูกหมดเสมอไปรึเปล่าคะ
ส่วนใหญ่จะใช่เเต่ไม่เสมอไป  อาจออกเพลงอื่นต่อ  ออกเดี่ยว หรือ ทอด
เพลงชั้นเดียว ลงเฉยๆ ก็มี


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: โบว์สีชมพู ที่ 07 ธ.ค. 00, 09:32
เคยได้ยินคําว่า เพลงตับครั้งแรก ตอนอ่าน เรื่องแต่ปางก่อนค่ะ ที่มีการพูดถึงเพลง ตับนางซิน
อยากเล่นดนตรีไทยเหมือนกัน แต่ไม่ได้เรียนมา ที่บ้านมีขิม แต่เล่นไม่เป็นค่ะ


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 07 ธ.ค. 00, 10:00
ขอบคุณคุณทิดเป็นอย่างมากเชียวค่ะ  ที่อุตส่าห์หามาแปะให้  เรื่องร้องนี่ไม่ไหวค่ะ  ไม่เคยลองเลย (กลัวไปทำเค้าวงแตก)  เลยยิ่งไม่ทราบใหญ่

เรื่องโน้ตนี่  ดูเหมือนระบบที่มีเจ็ดโน้ต เจ็ดเสียงนี่  คงจะได้เค้ามาจากทางตะวันตกมังคะ  แต่เครื่องสองสาย  คือซออู้และซอด้วง  เล่นได้แค่สายละห้าเสียง  เพราะใช้นิ้วจับอยู่สี่นิ้ว กับเสียงสายเปล่าอีกหนึ่งเสียง  (ถ้าเรามานิ้วเยอะกว่านี้ จะเล่นโน้ตได้มากกว่านี้มั้ยเนี่ย)  อย่างขิม ระนาด รู้สึกจะเทียบกับโน้ตสากลได้ใช่มั้ยคะ  

ที่น่าทึ่งที่สุดก็คือ  เวลาคนเอาเครื่องมาประสมกันเป็นวงนี่  เค้าคิดโน้ตต่างระบบ ให้มาใช้กับเครื่องดนตรีต่างชนิดกันได้อย่างไร  อย่างเวลาจะแต่งเพลงทีนึง คนแต่งทำนอง หรือ composer นี่ต้องคิดเป็นโน้ตทั้งระบบที่มีจำนวนเสียงพื้นฐานต่างกัน (เจ็ดเสียงกับห้าเสียง)  นี่ไม่ทราบใช้วิธีอย่างไรไม่ให้งงนะคะ


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: แมงกาชอน ที่ 07 ธ.ค. 00, 10:42
แบบนี้สงสัยต้องตาม" p' Kaew "  ของคุณทิดมาตอบซะแล้วมังคะ

เอ้า !! ครูแก้วเจ้าขามาตอบหน่อยเจ้าค่า


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: Stardust ที่ 07 ธ.ค. 00, 12:16
ง่ายๆนะตรับ
เพลงเถาเป็นเพลงที่มีอัตราจังหวะครบทั้ง 3 แบบ กล่าวคือ มีทั้ง สามชั้น สองชั้นและขั้นเดียว ส่วนลูกหมดจะมีหรือไม่ก็ได้ครับ แต่ถ้ามีจะสมบูรณ์กว่า เช่น เขมรพวงเถา โสมส่งแสงเถา
ส่วนเพลงตับนั้นจะเป็นเพลงหลายๆเพลงมาต่อกันแล้วแต่งเนื้อร้องให้เข้ากันได้เลยเรียกรวมว่าเป็นเพลงตับ เช่น ตับวิวาพระสมุทร ตับลาวเจริญศรี ตับนกเป็นต้น


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: Stardust ที่ 07 ธ.ค. 00, 12:21
อีกนิดนะครับ
เพลงเถาบางเพลงนั้นแต่งขึ้นมาโดยแต่งเพิ่มจากเพลง สองชั้นของเดิม โคยถ้าแต่ง สามชั้นก็จะเรียกว่า"ขยาย"และชั้นเดียวเรียกว่า "ตัด" เช่น เพลงโสมส่องแสงเถา ครูมนตรี ตราโมตได้แต่งขึ้นจากเพลง"ลาวดวงเดือน"โดยขยายเป็นสามชั้นและตัดลงเป็นชั้นเดียวเป็นต้น...


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: ดาหาชาดา ที่ 07 ธ.ค. 00, 13:45
เขามีระบบการเทียบเสียงจากเครื่องดนตรีที่มีเสียงแน่นอนที่สุด เคยเล่นซออู้อยู่ในวงมโหรีของโรงเรียน  ตอนแรกก็หัดตั้งเสียงซอให้เทียบกับเสียงขลุ่ยก่อนค่ะ สายสองสายซออู้ถ้าสีสายเปล่าจะต้องได้เสียง โด่  ซ้อล   ระบบที่เรียนเป็นระบบเจ็ดเสียงแบบดนตรีสากลค่ะ  

เครื่องดนตรีแต่ล่ะชนิดก็จะมีคีย์โน้ตของตัวเองที่จะใช้ตั้งเสียงเมื่อเริ่มต้นให้เสียงของเครื่องดนตรีต่างชนิดไปทางเดียวกันทั้งหมดน่ะค่ะ ถ้าจับคีย์โน้ตตัวนี้ได้แล้วก็สามารถเล่นเข้าขากันได้ทั้งวงค่ะ...

เพลงไทยจะฟังแล้วเพราะ(บวกมันตอนลูกหมด) ที่สุดต้องนั่งกลางวงค่ะ ได้ยินเสียงต่าง ๆครบวงเครื่องสายส่วนมากจะใช้อุปกรณ์บอกจังหวะอย่างฉิ่งฉับกรับโทนรำมะนา พอถึงจังหวะเร่งทั้งหมดให้เสียงที่สนุกสนานเหลือเกิน...

ตอนนั้นที่เรียนอาจารย์มนตรี ตราโมทท่านยังไม่เสียชีวิต แต่แก่มากแล้วเป็นปูชนียบุคคลของวงการดนตรีไทยเลย ครั้งหนึ่งเพื่อนคุณพ่อซึ่งรู้จักมักคุ้นกับท่านพาท่านมาที่บ้าน  โอ้โฮดีใจแทบตายแน่ะค่ะที่ได้พบกับท่าน แต่ไม่ได้คุยอะไรเพราะฝีมือซออู้นั้นเลวร้ายเกินกว่าจะไปบอกอาจารย์ท่านว่าเล่นดนตรีไทยอยู่...


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 07 ธ.ค. 00, 14:02
สวัสดีค่ะ  คุณดาหาฯ

ดีใจจังที่แวะมาค่ะ   ดิฉันก็อู้มาเหมือนกันค่ะ แหะๆ แต่ลืมเกลี้ยง  น่าอิจฉาคุณจัง   ที่สงสัยก็เพราะซอทั้งสองอย่างนี่  ถ้าสมมตินะคะ  ว่าเรามีหกนิ้ว
นอกเหนือไปจากหัวแม่มือ  แล้วจะขึ้นสายให้ได้โน้ต บนเจ็ด ล่างเจ็ด ก็คงจะได้นะคะ   คงไม่ว่ากันว่าคิดอะไรพิเรณทร์ๆนะคะ   อิิอิอิ

ที่ต่างเครื่องต่างมีฐานโน้ตคนระบบ เป็น ห้าเสียงเจ็ดเสียง หรือเก้าเสียงนี่  เป็นไปได้ไหมคะว่า  
เพราะเรารับเครื่องดนตรีต่างชาติต่างภาษาเอามาประสมกัน


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: ดาหาชาดา ที่ 07 ธ.ค. 00, 17:17
คิดว่าสมัยก่อนเวลาหัดเล่นเพลงใหม่ ๆเขาไม่มีโน้ตค่ะ   เรียกกันว่า ต่อเพลง คือครูทำเสียงทำนองให้ฟังแล้วนักเรียนก็จับเอาและดีดสีตีเป่าไปตามเสียงที่ครูบอกน่ะค่ะ คือใช้จำเอาเคยเห็นโน้ตเพลงไทยเดิมหลายลักษณะเหลือเกินมีทั้งโน้ตเจ็ดตัวแบบฝาหรั่ง  โน้ตแบบที่คุณหน่องอธิบายไว้ แต่คิดว่าเป็นแบบที่ค่อนข้างใหม่ ที่ปรับเอาของต่างประเทศเข้ามาใช้

 ถามครูที่สอนมาว่าสมัยก่อนโน้นทำกันอย่างไร- (ท่านชื่อเจ้าโสภา ณ.เชียงใหม่ค่ะ เข้าใจว่าเป็นนักเรียนรุ่นเล็กในวงของเจ้าดารารัศมีริเริ่มขึ้น แต่ไม่ทราบว่าท่านทันเจ้าดาราหรือเปล่า)- ท่านบอกว่าแต่ก่อนก็ต่อเพลงแบบใช้จำเอา แต่ไม่ทราบว่าที่อื่นทำกันอย่างไรนะคะ...


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 07 ธ.ค. 00, 22:35
รู้สึกคุณพวงร้อยจะเข้าใจผิดไปบ้างนะครับ
ซอเล่นโดยปรกติสายละ๕เสียงก็จริง
(จริงๆเเล้วสายในเล่น๔เสียงสายนอกเล่น๕เสียง  แต่ไม่๗ํากัดเเค่นั้น นอกจากนั้นยังมีการ รูดมือลง เพิ่มเสียงอีก)
แต่ระบบเสียงเป็นเจ็ดเสียงครับ
ที่ว่าระบบ๕เสียงหรือ๗เสียงคือระหว่างเสียงที่เท่ากัน( เช่น โด ตํ่ากับ โดสูง ความถี่เป็นเท่าตัว) จะซอยเป็นกี่เสียง
ซึ่งเครื่องดนตรีไทย วงปีพาทย์  วงมโหรี ส่วนใหญ่จะเป็น๗เสียงทั้งนั้น
เครื่อง๕เสียงจะยกตัวอย่างได้เช่นโปงลาง


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 07 ธ.ค. 00, 23:57
ขอบคุณมากค่ะ  ที่ช่วยอธิบายเพิ่มขึ้น  คุณ ภูมิคะ  ดิฉันก็ไม่ทราบว่าลืมไปหรือเป็นเพราะเคยเล่นไม่มาก  เลยยังไม่ได้ใช้วิธีรูดสายก็ไม่แน่ใจค่ะ  
เคยเล่นตอน ม ปลาย แล้วก็ทิ้งไปเลย  เสียดายเหมือนกันค่ะ

เคยเห็นเครื่องสายของจีน  เค้าก็ไม่มีโจ้ต  ใช้ต่อเพลงด้วยความจำเหมือนกันนะคะ  แล้วไม่ทราบว่าใครเอามาจากใคร  ทั้งซออู้
ซอด้วงนี่ของจีนเค้าก็มีที่หน้าตาเหมือนกันเลย  แต่ไม่เคยเข้าไปดูใกล้ๆ  เพื่อนฝรั่งก็บอกว่า  เวลาฟังวงเครื่องสายนี่  ฟังไม่ออกเลยว่า  
แตกต่างจากดนตรีของจีนอย่างไร


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 08 ธ.ค. 00, 00:45
ผมมีความรู้สึกว่าว่า ดนตรีในภูมิภาคหนึ่งๆ มีลักษณะร่วมกันและเลื่อนไหลถ่ายเทกันไปมาได้ เส้นพรมแดนทางรัฐศาสตร์ใช้ไม่ค่อยได้กับดนตรีครับ ยกเว้นกรณีดนตรีพื้นเมืองที่มีลักษณะเฉพาะแท้ๆ เป็นของพื้นถิ่น แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นของชาติอยู่ดี เพราะชาติหนึ่งอาจมีหลายพื้นถิ่น
ของไทยเราเองยิ่งชัด ครูแต่ก่อนท่านสนุกกับการเล่นเพลงสำเนียงต่างๆ คือรับเอาเพลงเขมร เพลงจีน เพลงลาว เพลงแขก กระทั่งเพลงฝรั่ง มาแต่งปรุงใหม่ และชาติเหล่านั้นก็รับเพลงไทยไปบ้างเหมือนกัน พวกละครโยเดียที่พม่าต้อนไปจากอยุธยาไปทำความบันเทิงแก่พม่ามาก ทางเขมรก็เคยรับเพลงดนตรีไทย ไทยรับเขมรถ่ายทอดกันไปมานัวเนีย
โธ่ คุณพวงร้อยครับ ฝากไปถามเพื่อนฝรั่งของคุณดูสิว่า เวลาเขาฟังดนตรีคลาสสิกยุโรปนั้น เขาแยกได้ไหมว่าเพลงไหนมีลักษณะเฉพาะของอิตาเลียน เยอรมัน ออสเตรียน ฯลฯ อะไรคือความเป็นอิตาเลียนหรือปรัสเซียน? ยกเว้นบางเพลงที่ครูเพลงฝรั่งท่านก็นึกสนุกจะหยิบลักษณะเฉพาะพื้นถิ่นมาเล่น ทำนองเดียวกับเพลงสำเนียงต่างๆ ของเราเหมือนกัน เช่น ฮังกาเรียนแรฟโซดีส์ ความเป็นดนตรีคลาสสิกฝรั่งที่ไพเราะ ก้าวล่วงพ้นเกินไปกว่าเส้นเขตแดนทางการเมืองครับ ทำให้เพลงนั้นๆ กลายเป็นมรดกร่วมของดนตรีคลาสสิกสายตะวันตกไป  
ถ้าว่าทางประวัติเครื่องดนตรี เราก็รับถ่ายทอดกันไปมาเหมือนกัน ซอสองสายที่จีนเรียกเอ้อร์หู เราก็มี ยิ่งขิม จะเข้ ยิ่งเห็นขัดว่าเรารับมาจากทางจีน แต่จีนรับขิมมาจากไหนรู้ไหมครับ ขิม เดิมแท้ๆ ก็ไม่ใช่ของจีนแต่เป็นของเปอร์เซียครับ โธ่ ก็วิธีที่มนุษย์ทำเสียงให้เกิดเป็นดนตรีมันก็มีหลักการง่ายๆ ซ้ำๆ กันอยู่ไม่กี่อย่าง ดีด สี ตี เป่า ก็เท่านั้น


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: โรสา ที่ 08 ธ.ค. 00, 02:33
ได้ยินมาว่าซอสามสายของไทยรับทอดมาจากเปอร์เซียเหมือนกัน ดัดแปลงมาจากรีแบบซึ่งฝรั่งตะวันตกก็นำไปดัดแปลงเป็นไวโอลบรรพบุรุษของไวโอลิน วิโอลา เชลโล
ไม่ทราบว่าจีนรับซอไปจากเปอร์เซียด้วยหรือเปล่า


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: แมงกาชอน ที่ 08 ธ.ค. 00, 07:53
ไปเก็บมาฝากจากดนตรีไทยดอทคอมค่ะ

 ซอสามสาย

โดย ไพศาล อินทวงศ์

ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่งของไทยเรา มีชื่อตามลักษณะรูปร่าง คือ มี 3 สาย เหมือนกับเครื่องดนตรีของ
จีนที่เรียกว่า สานเสียน (Sanhsien) และเครื่องดนตรีของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ซามิเส็น (Shamisen) แต่ทั้งสานเสียนของจีน
และซามิเส็นของญี่ปุ้น เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด สานเสียนของจีน กะโหลกเป็นรูปสี่เหลี่ยมลบมุมจนเกือบเป็นรูปไข่ ขึ้นหน้า
ด้วยหนังงูเหลือม และดีดด้วยนิ้วมือ ส่วนซามิเส็น ของญี่ปุ่น รูปกะโหลกเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยม ด้านข้างโค้งเล็กน้อยทั้งสี่ด้าน ขึ้น
หน้าด้วยไม้ และดีดด้วยไม้ดีดรูปร่างคล้ายๆขวาน แต่เครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้ ก็มีสามสายเช่นเดียวกับซอสามสายเช่นเเดียวกัน

ซอสามสายมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
เครื่องอุ้มเสียงให้เกิดกังวานทำด้วยกะลามะพร้าวตัดขวางลูก ให้เหลือพูทั้งสามไว้ด้านหลัง เรียกว่า “กะโหลก”กะลาสำหรับทำกะโหลก ซอสามสายนี้ จะต้องมีรูปร่างงดงามมีพูทั้งสามนูนขึ้นมาคล้ายลักษณะหัวช้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
ทรงพระราชทาน “ตราภูมิคุ้มห้าม” ให้กับเจ้าของสวนมะพร้าวพันธุ์นี้ ไม่ต้องเสียภาษีอากรทำให้บรรดาเจ้าของสวนมะพร้าว ทั้งหลายมีกำลังใจที่จะทำนุบำรุงมะพร้าวพันธุ์พิเศษนี้ เพื่อไว้ทำซอสามสายได้ต่อๆมาไม่ให้สูญพันธุ์ กะโหลกตรงที่ตัดออกนั้น ต้องขึงหน้าด้วยหนังลูกวัว หรือ หนังแพะ แต่ที่นิยมและมีคุณภาพเสียงดี หนังแพะจะได้คุณภาพที่ดีกว่า ดังปรากฎตามจดหมายเหตุ
พ.ศ. 2357 ในรัชกาลที่ 2 เป็นหนังสือของเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม ถึงพระยานครศรีธรรมราช ฉบับหนึ่งแจ้งว่า
“ต้องพระราช ประสงค์หนังแพะที่ดีสำหรับจะทำซอ และกลองแขกเป็นอันมาก จัดหาหนังแพะที่กรุงเทพมหานครได้ดีไม่ จึงเกณท์มาให้เมืองนครจัดซื้อหนังแพะ ที่ดีส่งเข้าไป … จะเป็นราคาผืนละเท่าใด ให้บอกเข้าไปให้แจ้ง จะได้พระราชทานเงินราคาให้ “ คันซอสามสายที่เรียกว่า ทวนนั้น มีลักษณะกลม ตอนกลางค่อนข้างเล็ก ตอนบนและตอนล่างค่อยๆโตขึ้นทีละน้อย ปักเสียบกะโหลกตั้งขึ้นไป ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ทวนกลางหุ้มด้วยโลหะทำลวดลายสวยงาม เช่นถมหรือลงยา ทวนล่างต่อจากกะโหลกลงไป ใหญ่และค่อยๆเรียวเล็กลงไป กลึงเป็นปล้องๆอย่างงดงาม ต่อปลายด้วยโลหะแหลม สำหรับปักพื้นมิให้เลื่อนในเวลาสี ทวนบนเจาะรูสำหรับสอดลูกบิดเป็น 3 อัน ตรงท่อนล่างเจาะรูร้อยเส้นใหม 3 เส้นสั้นๆ สำหรับต่อสายซอ เรียกว่า “หนวดพราหมณ์” สายซอจะต่อกับหนวดพราหมณ์ จึงผ่านหน้าซอ แล้วร้อยเข้าไปในรูทวนตอนบน สอดเข้าผูกพันกับลูกบิดสายละอัน สายที่มีเสียงสูงเรียกว่า “สายเอก” สายรองลงมาเรียกว่า “สายกลาง” และสายที่มีเสียงต่ำเรียกว่า “สายทุ้ม” การเทียบเสียงให้เทียบเสียงห่างกันเป็นคู่สี่ทั้งสามสาย ( ซอล เร ลา ) ตรงกลางคันทวนมีเส้นใหม
หรือเอ็น พันสายทั้งสามรัดติดกับทวนหลายๆรอบ เรียกว่า “รัดอก” ตอนกลางหน้าซอค่อนขึ้นมาข้างบนมีไม้ทำเป็นรูปสะพาน
หนุนสายไม่ให้ติดกับหน้าซอ เรียกว่า “หย่อง” ด้านซ้ายของหน้าซอติด “ถ่วงหน้า” ซึ่งทำด้วยโลหะ มีน้ำหนักสมดุลกับหน้าซอ เพื่อเป็นเครื่องสำหรับลดความสั่นสะเทือนของหน้าซอทำให้เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น ถ่วงหน้านี้อาจประดับลวดลายฝังเพชรพลอย
ให้งดงามก็ได้ คันชักซอสามสายทำเป็นรูปโค้ง ขึงด้วยหางม้าประมาณ 300 เส้น ตอนปลายของคันชักทำให้โค้งอ่อนปลับออกไป เพื่อให้จับได้สะดวก ไม้ที่ทำคันชักซอที่นิยมกันมากคือ ไม้แก้วที่มีลวดลายงดงาม คันชักซอสามสายนี้ มิได้สอดเข้าไปในระหว่างสาย
เหมือนซอด้วง ซออู้ เวลาจะสีจับเอาคันชักมีสีทาบบนสายซอ ประสงค์จะสีสายใหนก็ทาบบนสายนั้น ก่อนจะสีต้องเอา ยางสนถูให้หางม้ามีความฝืดเสียก่อน เพราะซอสามสายมิได้ติดยางสนไว้เหมือนซอด้วงหรือซออู้
          ซอสามสายนี้ มีผู้สร้างขึ้นมาอีกขนาดหนึ่งเป็นซอขนาดเล็กกว่าทั้งตัวซอและคันทวน มีความยาวประมาณ 1 เมตรเท่านี้น เข้าใจว่า จะสร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับนักดนตรีหญิง เรียกซอคันนี้ว่า “ซอหลิบ” มีเสียงสูงกว่า ซอธรรมดา


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 08 ธ.ค. 00, 13:07
เห็นด้วยกัลคุณนิลกังขาค่ะว่า  มันเป็นศิลปะร่วม  แต่ที่ยกขึ้นมาก็ในแง่ที่ว่ายังไงๆก็ยังมีรสแบบตะวันออกไงคะ  
เพื่อฝรั่งที่ว่าอย่างนั้นก็ไม่ได้พูดในทางลบ  เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตเองว่าหูของเค้ายังแยกไม่ออก  ที่เอามาเล่าก็เพราะว่า  
เคยได้ยินคนไทยเราต่อว่าเรื่องแอนนา  ทั้งละครบรอดเวย์ทั้งในหนังว่า  ดนตรีไทยออกมาเหมือนของจีน  ดิฉันก็คิดว่า  
เค้าคงไม่ได้เจตนาจะบิดเบือนอะไร  เพียงแต่เค้าไม่ชินเลยแยกไม่ออกเท่านั้นเอง   แต่เราใกล้ชิดกับมันมาก  ก็ฟังออก  
แยกแยะรายละเอียดเล็กๆน้อยๆออก  มันเป็นเพียง perspective ที่ต่างกันเท่านั้นเองน่ะค่ะ

เคยอ่านมาว่า  ดร อุทิศ นาคสวัสดิ์ เคยกล่าวว่า  แคนอีสานบ้านเรานี่ เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก  ใครเคยได้ยินมาบ้างคะ  ดิฉันก็คิดว่า  
เครื่องดนตรีอย่างแรก  น่าจะเป็นไปได้ว่าจะเป็นเครื่องเป่าหรือเครื่องตี  อย่างการเคาะไม้  หรือเป่าใบไม้นี่  ทำได้ง่ายกว่าที่อื่นๆ  

ตอนเป็นเด็ก เคยเอากล่องกระดาษเปล่ามาเจาะรูออกหน่อย  แล้วรัดหนังสติ๊ก  มาเล่นเป็นพิณเป็นซึงน่ะค่ะ  คิดว่าคนเราสมัยก่อนก็คงเป็นอย่างนั้น  
ที่ชอบเสียงดนตรี  คว้าอะไรใกล้ตัวได้ก็เอามาเคาะ เสียดสีตีเป่า  สร้างความบันเทิงได้เหมือนกันนะคะ
ขอบคุณ คุณ แมงกาชอนมาค่ะ  ที่อุตส่าห์คะะดมาฝาก


กระทู้: เพลงเถากับเพลงตับ
เริ่มกระทู้โดย: แก้ว ที่ 08 ธ.ค. 00, 19:23
ที่คุณพวงร้อยเขียนไว้ในวันทีี่๑๗ธ.ค.ตอน๙.๐๐เรื่องระบบเจ็ดเสียงที่คิดว่าเอามาจากฝรั่งนั้น ขออนุญาตอธิบายว่า ดนตรีคลาสิคของฝรั่งนั้นเค้ามี๑๒เสียงนะครับคือ
C C# D D# E F F# G G# A A# B
แต่ละเสียงที่ว่านี้มีระยะห่างเท่าๆกันหมดโดยทฤษฎี
แต่ของไทยเราน่ะมีแค่เจ็ด แต่ละเสียงก็ห่างเท่าๆกันเหมือนกัน (มีคนคิดทฤษฎีเสียงของไทยขึ้นมาใหม่เหมือนกัน แต่ผมยังไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ คือ not convinced yetน่ะครับ) ระบบเสียงแบบเจ็ดเสียงเท่านี้ เป็นระบบที่ใช้กันทั่วไปในเอเชียอาคเนย์ครับ ของฝรั่งไม่มี!

เรื่องเพลงในละครบรอดเวย์The King and Iนั้น พอจะเข้าใจได้เพราะเป็นproductionเก่า ฝรั่งสมัยก่อนไม่เคยแคร์ความเป็นauthenticอยู่แล้ว เค้าแค่จะสื่อเนื้อเรื่องเท่านั้น คนแต่งเพลงคงจะเห็นว่าทำนองดนตรีแบบจีนๆจะสื่อความเป็นตะวันออกได้มากกว่า หรือไม่ก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเสียงของดนตรีไทยมากพอ การศึกษาดนตรีไทยในสมัยก่อนก็ไม่สามารถเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้ฝรั่งเห็นความไพเราะได้ เดี๋ยวนี้เอามาเล่นใหม่ก็ใช้เพลงเดิมเป็นการเคารพภูมิปัญญา(อันเล็กน้อย)ของคนแต่งเพลง แต่หนังล่าสุดAnna and the Kingนี่ไม่น่าให้อภัยเลย ยุคสมัยนี้มีนักแต่งเพลงมากมายที่มีความรู้เรื่องดนตรีไทย ทั้งในอเมริกาเองและในยุโรป แต่ก็ยังปล่อยให้โขนไทยเต้นไปกับเพลงจีนอยู่ได้ อย่างว่าแหละ จะไปเอาอะไรมากมายกับหนังฮอลลิวู๊ด!