เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 08:39



กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 08:39
เรื่องสิบสามห้างนี้เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจมาก สมาชิกท่านใดสนใจ กรุณาตั้งเป็นกระทู้ใหม่ได้เลยครับ เพราะเรื่องน่าจะยาวมากและออกนอกหัวข้อกระทู้ไปไกลเกินไปครับ

คงถึงเวลาที่ คุณม้า หรือ คุณหนุ่ม จะตั้งกระทู้ "สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย" ได้แล้ว  ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 09:40
แยกให้เรียบร้อยแล้วค่ะ     ในเมื่อเป็นความเห็นของคุณเพ็ญชมพู  คุณก็เลยได้เป็นเจ้าของกระทู้


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 09:54
ทำความรู้จัก "สิบสามห้าง" ที่จีน กันก่อน  ;D

การค้าต่างประเทศในสมัยราชวงศ์ชิงถูกผูกขาดโดย 公行 (จีนกลางอ่าน กงหัง แต่ฝรั่งเรียก cohong เพี้ยนจากสำเนียงกวางตุ้งว่า ก๊งห่อง) ที่รู้จักกันในนาม สิบสามห้างแห่งกวางเจา (广州十三行 จีนกลางอ่าน กว่างโจวสือซันหัง) หัง (行) นี้คนไทยเรียก ห้าง (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน/แต้จิ๋ว แบบเพี้ยนๆหน่อย) กง (公) แปลว่า รวม กงหังแปลตามตัวอักษรก็คือ ห้างหลายๆห้างมารวมกัน รูปแบบของกงหังนี้เป็นการรวมตัวกันหลวมๆ เพื่ออำนาจต่อรอง ไม่ใช่เอาเงินมาลงขันกันแต่อย่างใด หนังสือไทยบางเล่มแปลไว้ว่าเป็นสมาคมการค้าก็มี ความสำคัญของสิบสามห้างแห่งกวางเจา (มีชื่อเป็นทางการว่า  外洋行 จีนกลางว่า ไว่หยังหัง) ก็คือ เป็นกงหังที่ได้สิทธิ์ผูกขาดการค้าต่างประเทศ (โดยเฉพาะชาติตะวันตก) ในกวางตุ้ง และในยุคสมัยนั้นราชสำนักจีนใช้นโยบายเปิดเมืองท่าเดียวให้ฝรั่งที่กวางตุ้งนี่แหละครับ เรือต่างชาติเข้าไปค้า จะต้องค้าขายผ่านสิบสามห้างนี้เท่านั้น ห้ามค้าขายกับคนอื่นเด็ดขาด เท่ากับว่าสิบสามห้างนี้รับผลประโยชน์มหาศาลจากการค้าต่างประเทศเต็มๆ ดังนั้นสิบสามห้างนี้จึงยิ่งใหญ่ร่ำรวยมาก

Wiki อังกฤษบอกว่า thirteen factories เป็น "ย่านที่อยู่อาศัยของฝรั่งในกวางตุ้ง" ในขณะที่ wiki จีน บอกว่าสือซานหัง คือ "ห้างจีนสิบสามห้างที่ได้สิทธิ์ขาดในการติดต่อการค้าระหว่างจีนกับชาติตะวันตก" โดยนัยยะนี้ wiki ฝรั่งดูเหมือนจะเรียกสือซานหังนี้ว่า cohong ในขณะที่ใน wiki จีน กงหังหรือ cohong นี้ก็คืออันเดียวกับสือซานหัง

ที่ตลกก็คือ wiki ฝรั่งลิสต์รายชื่อ thirteen factories เป็นรายชื่อของสือซันหังใน wiki จีน โดยแถมชื่อฝรั่งให้เรียบร้อย โดยหลายๆชื่อผูกกับชื่อประเทศตะวันตก โดยเอาชื่อเจ้าของห้างในสือซานหังมาระบุไว้ว่าแต่ละ factory ดำเนินการโดยพ่อค้าจีนตามชื่อนั้น

โดยความเข้าใจของผม ทั้งสอง wiki อาจจะไม่ผิดทั้งคู่ แต่ต่างฝ่ายต่างมองจากมุมของตัวเอง

ในระบบการค้าชาติตะวันตกในจีนในยุคนั้นจีนบังคับให้ต่างชาติค้าที่กวางตุ้งเท่านั้น และตั้งกติกามากมาย โดยรวมๆ คือห้ามต่างชาติยุ่งเกี่ยวกับคนจีน(ทั่วไป)โดยตรง ต้องติดต่อผ่านพ่อค้าผู้ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีนเท่านั้น ซึ่งสมาคมพ่อค้าที่ได้รับอนุญาตนี้เรียกว่ากงหัง (cohong) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าสือซานหัง (สิบสามห้าง) ผมเดาเอาว่าแต่ละชาติสร้างความสัมพันธ์กับพ่อค้าแต่ละห้าง หลายห้างได้เป็นตัวแทนการค้าของบางชาติ จนเรียกได้ว่าแทบเป็นตัวแทนของชาตินั้นไปเลย

ชาติตะวันตกที่มาค้าขายในกวางตุ้งได้รับอนุญาตให้อยู่ในพื้นที่หนึ่ง ตรงนอกกำแพงเมืองทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกวางเจา ในพื้นที่นี้ฝรั่งมาสร้างตึกที่เรียกว่าเป็น thirteen factories สภาพโดยทั่วไปคือแต่ละตึกเป็นตึก 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นโกดังสินค้า ชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย ดังนั้นเจ้าของตึกใน thirteen factories ผมว่าต้องเป็นฝรั่งครับ

เราคนไทยในฐานะคนดู ถ้ามองสิบสามห้างเป็นตึก ก็ต้องว่าเป็นตึกของฝรั่ง แต่ถ้ามองว่าสิบสามห้างคือบริษัท (หัง) เห็นจะต้องว่าเป็นของคนจีนครับ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ส.ค. 14, 10:36
จะเรียกได้ว่าเป็นที่ตั้งของสำนักงานการค้าของห้างฝรั่งก็ได้ครับ ซึ่งรวมตัวกันอยู่ในย่านนี้ (ปัจจุบันไม่มีแล้ว กลายเป็นสวนสาธารณะและชื่อถนนเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึง) จำนวนห้างร้านของยุโรปมีทั้งสิ้น ๑๓ ห้างร้านดังนี้ ไล่จากภาพซ้ายไปขวา
๑. ห้างเดนมาร์ก
๒. ห้างสเปญ
๓. ห้างฝรั่งเศส
๔. ห้าง Mingqua
๕. ห้างอเมริกัน
๖. ห้าง Paoushun
๗. ห้าง Imerial
๘. ห้างสวีเดน
๙. ห้าง Old English
๑๐. ห้าง Chowchow (Miscellaneous)
๑๑. ห้าง New English
๑๒. ห้างดัชท์
๑๓. ห้างกรีก

ด้านหน้าของห้างจะมีสวนตั้งอยู่สองสวน คือ ด้านซ้ายเป็นพื้นที่สวนของอเมริกา และพื้นที่ขวามือเป็นพื้นที่สวนของอังกฤษ และปักธงชาติของแต่ละประเทศ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 11:42
สิบสามห้างคือตรงที่เขียนในแผนที่ว่า Old Factories ครับ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6029.0;attach=49984;image)

แผนที่ขยายอยู่ในรูปนี้ (ในแผนที่นี้ทิศเหนือชี้ไปทางขวานะครับ อย่าลืมหมุนก่อน ม่ายงั้นงง)

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/3a/Plan_of_Canton_Factories.jpg/1024px-Plan_of_Canton_Factories.jpg)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 11:48
ก่อนที่จะดำเนินเรื่องต่อไปต้องขอความกรุณาท่านเจ้าเรือนช่วยยกความคิดเห็นตั้งแต่ ๑๗๓-๑๘๐ จากกระทู้ นิราศกวางตุ้งกับเส้นทางเดินเรือสายประวัติศาสตร์จากไทยสู่จีน (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6029.0) มาต่อจากความคิดเห็นนี้ด้วย  ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:05
อาคารสิบสามห้าง ของกวางตุ้ง เคยอ่านพบว่า ผ่านมรสุมไฟไหม้ใหญ่ หลายครั้งด้วยนะครับคุณม้า

ขตฝรั่งที่เรียกว่า thirteen factories เคยไหม้วอดหมดราวปี 1850 เศษ (จำไม่ได้แน่ คงต้องไปหาดูครับว่าปีไหน) เลยย้ายข้ามไปอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำ ก่อนที่จะย้ายไป Shamin (หรือ Shameen) ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ใกล้ๆกับ  thirteen factories ครับ

แผนที่ปี 1860 ที่ผมเคยลงไว้ว่ามีระบุตำแหน่งกงกวนสยามไว้ จะระบุตำแหน่ง thirteen factories ไว้เป็น old factories ครับ

แผนที่ปี 1860 นี้ผมคิดว่าเป็นแผนที่ที่ดีมากๆ ครับ มีฉบับความละเอียดสูง (11,952 × 7,536 จุด) อยู่ใน wiki ด้วย http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Canton1860.jpg (http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Canton1860.jpg)

ในแผนที่นี้ระบุตำแหน่งสำคัญๆ ไว้อีกหลายจุด เช่นจวนของจงตก จวนของหมูอี๋ ที่ออกว่าราชการของจงตก ฯลฯ



กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:07
ภาพวาดสีน้ำมัน Ca. 1800 วาดไว้ให้เห็นสถานีการค้าสิบสามห้าง ที่ตั้งอยู่หน้าเมืองกวางตุ้ง

ภาพขยายใหญ่ http://ocw.mit.edu/ans7870/21f/21f.027/rise_fall_canton_04/gallery_places/pages/cwC_1800c_E79708_Panorama.htm (http://ocw.mit.edu/ans7870/21f/21f.027/rise_fall_canton_04/gallery_places/pages/cwC_1800c_E79708_Panorama.htm)



กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:09
เมื่อไฟไหม้ครั้งใหญ่ผ่านพ้นไปแล้ว สิบสามห้างก็กลับพัฒนาในที่ตั้งเดิม คือหน้าเมืองกวางตุ้ง มีการตั้งโบสถ์คริสต์ มีการวางแปลนก่อสร้าง มีสวน มีท่าเรือสวยงาม

จนเมื่อเกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ในคศ. 1856 สิบสามห้างก็เกิดไฟไหม้ใหญ่เป็นครั้งทีสอง จนทำให้การณ์นี้ต้องย้ายไปยังเกาะ Honam



กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:10
ตามข้อมูลในแผนที่ คศ. 1858 มีการตั้งสิบสามห้างขึ้นมาใหม่ บนเกาะ Honam

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6029.0;attach=50023;image)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:12
ภาพลายเส้นบรรยากาศสิบสามห้างบนเกาะ คศ. 1883 มองจากในเมืองไปยังเกาะ
[/size]

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6029.0;attach=50025;image)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:13
สองรูปข้างบนของคุณ Siamese คือ Shameen ไม่ใช่ Honam ครับ

หลังไฟไหม้ที่ Thirteen Factories ฝรั่งย้ายโกดังข้ามไปอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำ ที่ฝรั่งเรียก Honam มาจาก 河南 กว่างตุ้งอ่านว่าโห่หน่าม แปลว่าฝั่งใต้ของแม่น้ำครับ พื้นที่ Honam นี้ถ้าจะเรียกว่าเป็นเกาะก็ไม่ถือว่าผิด เพราะล้อมรอบโดยแม่น้ำสาขาของแม่น้ำจูเจียง แต่ต้องเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่มาก พื้นที่ร่วม 100 ตร.กม. (ฝั่งธนบุรีของเราที่มีพื้นที่น้อยกว่า 10 ตร.กม.)

หลังจากอยู่ที่ Honam ไม่นาน ก็ย้ายไปอยู่ที่ Shameen ครับ (Old factories ไหม้ 1856 ในขณะที่แผนที่ปี 1860 ฝรั่งย้ายไป Shameen แล้ว) เดิม Shameen เป็นสันดอนทรายในแม่น้ำจูเจียง Shameen หรือ Shamin มาจากภาษาจีน 沙面 กว้างตุ้งอ่านว่า ซาหมี่น ครับ)



กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:14
ดิฉันยกค.ห.มาใส่ในกระทู้ใหม่โดยตรงไม่ได้ค่ะ     เลยต้องใช้วิธีนี้   คือคลิกที่ "อ้างถึง" 
ต่อไปคุณเพ็ญชมพูคงทำเองได้


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:20
ต้องขออภัยคุณเทาชมพูที่ทำให้ต้องลำบาก ด้วยความเข้าใจผิดว่าสามารถยกความคิดเห็นจากระทู้โน้นมาลงกระทู้นี้ได้โดยตรง อย่างไรก็ดีตัวหนังสือที่ยกมาดูจะเล็กไปหน่อย หากขยายขนาด size=10pt ก็จะอ่านง่ายขึ้น

เพิ่มเติมภาพที่ตกหล่นไป น่ากลัว ม า ก ก ก...  :o

ภาพวาดสีน้ำมัน ค.ศ. 1825 เกิดไฟไหม้ใหญ่ที่สิบสามห้าง หน้าเมืองกวางตุ้ง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6029.0;attach=50021;image)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:31
ภาพถ่ายทางอากาศ คศ. 1933 ถ่ายบริเวณย่านการค้าของต่างชาติ เมืองกวางตุ้ง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6029.0;attach=49993;image)

ขอเชิญคุณม้าและคุณหนุ่มถกกันต่อ  ;)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 12:49
ต้องขออภัยคุณเทาชมพูที่ทำให้ต้องลำบาก ด้วยความเข้าใจผิดว่าสามารถยกความคิดเห็นจากระทู้โน้นมาลงกระทู้นี้ได้โดยตรง อย่างไรก็ดีตัวหนังสือที่ยกมาดูจะเล็กไปหน่อย หากขยายขนาด size=10pt ก็จะอ่านง่ายขึ้น

ขยายแล้ว...ว...ว...ว..


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 05 ส.ค. 14, 12:59
ภาพถ่ายทางอากาศ คศ. 1933 ถ่ายบริเวณย่านการค้าของต่างชาติ เมืองกวางตุ้ง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6029.0;attach=49993;image)

ขอเชิญคุณม้าและคุณหนุ่มถกกันต่อ  ;)

ย่านนี้คือ Shameen ครับ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 05 ส.ค. 14, 14:37
จากรอยอิน

ถนนสิบสามห้าง (๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) 
 
 
ถนนสิบสามห้าง

          ถนนสิบสามห้างอยู่ที่บางลำพูด้านวัดบวรนิเวศวิหาร แต่เดิมเป็นคลองเรียกว่า คลองสิบสามห้าง

          ที่มาของชื่อสิบสามห้างนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล ได้ทรงฟังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเล่าประทานว่า

          แต่ก่อนนี้เมืองไทยมีการติดต่อค้าขายกับชาติต่าง ๆ ในเอเชีย มีอินเดีย และจีน เป็นต้น โดยใช้เรือใบขนส่งสินค้านานาชนิด เช่น ข้าว ไม้ แร่ ฯลฯ. เมื่อไปถึงเมืองจีนต้องไปหยุดที่เมืองตังเกี๋ย ที่แม่น้ำตรงปากทางเข้าเมืองนั้นและเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองค้าขาย ก็มีห้างอยู่ ๑๓ ห้าง เรือชาวต่างประเทศที่ไปค้าขาย จะต้องไปจอดที่สิบสามห้างนี้ก่อน ก็คล้าย ๆ กับด่านศุลกากรสำหรับเก็บภาษีและดูแลให้ทำการค้าขาย

          ด้วยเหตุที่พ่อค้าที่เคยนำเรือไปจอดแวะค้าขายที่ตังเกี๋ยคุ้นเคยว่า ด่านแรกที่เรือไปจอดเพื่อติดต่อเรื่องการค้าซึ่งเป็นด่านศุลกากรนั้น เรียกว่า สิบสามห้าง จึงนำชื่อนี้มาใช้เรียกสถานที่ในเมืองไทย บริเวณที่เรือสินค้าเข้ามาจอดเพื่อติดต่อการค้าว่า สิบสามห้าง ด้วย

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

 


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 14:51
คุณหนุ่มเดินทางล่วงหน้าไปเมืองไทยแล้ว  ;D

ขออนุญาตยังอยู่ที่เมืองจีน ถามคุณม้าว่า ย่าน Shameen นี้เป็นย่านการค้าหรือย่านกงสุลและที่อยู่อาศัยของฝรั่ง หรือเป็นทั้งสองอย่าง  ???

เขตต่างชาติที่สำคัญอีกเขตหนึ่งคือตรงที่เขียนไว้ว่า Shamin จีนถูกบังคับให้ยกให้อังกฤษและฝรั่งเศสในปี 1859 ปลายสงครามฝิ่นครั้งที่ 2

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/10/Shameen_Canton.jpg/1024px-Shameen_Canton.jpg)

พื้นที่นี้เข้าใจว่าเป็นสถานกงสุลและที่อยู่อาศัยของชาติตะวันตกทั้งหลายครับ ไม่ใช่ย่านการค้า

หลังจากอยู่ที่ Honam ไม่นาน ก็ย้ายไปอยู่ที่ Shameen ครับ (Old factories ไหม้ 1856 ในขณะที่แผนที่ปี 1860 ฝรั่งย้ายไป Shameen แล้ว) เดิม Shameen เป็นสันดอนทรายในแม่น้ำจูเจียง Shameen หรือ Shamin มาจากภาษาจีน 沙面 กว้างตุ้งอ่านว่า ซาหมี่น ครับ)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 14:58
                  แต่ก่อนนี้เมืองไทยมีการติดต่อค้าขายกับชาติต่าง ๆ ในเอเชีย มีอินเดีย และจีน เป็นต้น โดยใช้เรือใบขนส่งสินค้านานาชนิด เช่น ข้าว ไม้ แร่ ฯลฯ. เมื่อไปถึงเมืองจีนต้องไปหยุดที่เมืองตังเกี๋ย ที่แม่น้ำตรงปากทางเข้าเมืองนั้นและเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองค้าขาย ก็มีห้างอยู่ ๑๓ ห้าง เรือชาวต่างประเทศที่ไปค้าขาย จะต้องไปจอดที่สิบสามห้างนี้ก่อน ก็คล้าย ๆ กับด่านศุลกากรสำหรับเก็บภาษีและดูแลให้ทำการค้าขาย

น่าจะหมายถึง เมืองกวางตุ้ง (กวางโจวหรือกวางเจา) มากกว่า   ;)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 05 ส.ค. 14, 15:21

ขออนุญาตยังอยู่ที่เมืองจีน ถามคุณม้าว่า ย่าน Shameen นี้เป็นย่านการค้าหรือย่านกงสุลและที่อยู่อาศัยของฝรั่ง หรือเป็นทั้งสองอย่าง


มาพิจารณาใหม่ ต้องเรียกว่าเป็นทั้งสองอย่างครับ ในแผนที่ขยาย Shameen จาก wiki รายชื่อห้างที่ปรากฏบนเกาะเป็นห้างยุคใหม่หลังยุคสิบสามห้างแล้วครับ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 15:31
ในแผนที่ขยาย Shameen จาก wiki รายชื่อห้างที่ปรากฏบนเกาะเป็นห้างยุคใหม่หลังยุคสิบสามห้างแล้วครับ

แผนที่ Shameen ขยายใหญ่ ประมาณ ค.ศ. ๑๙๒๐-๑๙๒๙  ;D

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/10/Shameen_Canton.jpg (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/10/Shameen_Canton.jpg)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 15:57
ปัจจุบันที่กวางเจามีชื่อถนนสิบสามห้าง (สือซันหัง) เป็นที่ตั้งของตลาดสิบสามห้าง (สือซันหัง) ค้าปลีกและส่งเสื้อผ้า โดยเป็นตึกแถวยาวทั้งหมด ๑๓ อาคาร  ตลาดสือซันหัง มีจุดเริ่มต้นจากถนนสือซันหัง เป็นจุดศูนย์กลาง ล้อมรอบไปด้วยถนนกู่อี่เจีย ถนนสือซันหังโต่วหลานเจีย  ถนนเหอผิงตงลู่  ตลาดสือซันหังเป็นพื้นที่รวมและกระจายสินค้าประเภทเสื้อผ้าที่มีขนาดใหญ่และครบครันของนครกวางเจามาเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันมีปริมาณการขนส่งสินค้าและจัดส่งในแต่ละวันมากกว่า ๑,๐๐๐ ตัน และปริมาณผู้ค้าส่ง ค้าปลีก รวมทั้งสิ้นกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน/วัน จัดส่งและกระจายไปทั่วประเทศจีนในแถบทุกพื้นที่ และส่งออกไปยังต่างประเทศอาทิ ประเทศรัสเซีย ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

ในสมัยราชวงศ์ชิง จนถึงสมัยจักรพรรดิคังซี ตลาดสือซันหังได้เป็นสถานที่ค้าส่งสินค้า และจัดจำหน่ายสินค้าที่นำเข้ามาจากจากประเทศ แต่ยังไม่ได้มีการบริหารจัดการอย่างเป็นมืออาชีพนัก คงจัดจำหน่ายเฉพาะสินค้าที่ต้องการจะส่งออกไปยังต่างประเทศทั้งที่ผลิตในกวางเจา และปักกิ่ง และจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อมีการเปิดใช้ท่าเรือชายฝั่งในสมัยราชวงศ์ชิงและพัฒนาขึ้นเป็นตลาดค้าส่งนับแต่นั้นมา  

ปัจจุบันตลาดสือซันหังมีสิ่งปลูกสร้าง อาคารสำนักงาน ร้านค้าขนาดใหญ่ โดยสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญในบริเวณดังกล่าวได้แก่ อาคารนิวส์ไชน่า ซึ่งเริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙  และเปิดดำเนินการตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. ๒๕๔๑ โดยเป็นที่ตั้งสำนักงานประสานงานหรือสำนักงานผู้แทนทางการค้าของกิจการเสื้อผ้าในประเทศจีนจำนวนมาก และยังเป็นที่ตั้งสำนักงานผู้แทนของกิจการแบรนด์หรือการลงทุนจากต่างประเทศประเภทเสื้อผ้าอาทิ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวันและสำนักงานของประเทศอื่น ๆ

ข้อมูลจาก http://www.chineselawclinic.moc.go.th/info/info_detail.php?idcont=30&idcontsub=585 (http://www.chineselawclinic.moc.go.th/info/info_detail.php?idcont=30&idcontsub=585)

ต้องถามคุณม้าว่า ตลาดสิบสามห้างที่ว่านี้อยู่ในเขต Shameen เดิมหรือเปล่า  ???


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ส.ค. 14, 16:26
นั่งยานเวลากลับไปสมัยกรุงธนบุรีที่ส่งทูตไปเมืองจีนโดยขึ้นบกที่กวางเจา มีของขวัญจากพระเจ้ากรุงธนทรงฝากให้นายห้าง ๔ คนของกลุ่มสิบสามห้าง

คุณม้าให้รายละเอียดได้มากทีเดียว

ดังนั้นสิบสามห้างนี้จึงยิ่งใหญ่ร่ำรวยมาก โดยเฉพาะนายห้าง 4 คนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของสิบสามห้างคือ พันจื้อเสียง (潘致祥), หลูกวานเหิง (盧觀恒), อู่ปิ่งเจี้ยน (伍秉鉴) และเยี่ยซ่างหลิน (葉上林)

เหมือนจะเข้าเค้า แต่เปล่าครับ นายห้าง 4 คนนี้ไม่ใช่นายห้างที่ได้รับ “ของขวัญ” จากคณะจิ้มก้องจากสยาม เพราะทั้ง 4 คนนี้ยิ่งใหญ่หลังจากขบวนราชทูตไปถึงสัก 20 ปีเห็นจะได้ นายห้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคที่คณะทูตจากสยามไปถึงเมื่อ พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) คือ พันเจิ้นเฉิง (潘振承) พ่อของพันจื้อเสียง พันเจิ้นเฉิงผู้นี้คือผู้นำสำคัญของสิบสามห้างที่ยื่นฎีกาต่อจักรพรรดิ์เฉียนหลง เสนอจัดระเบียบการค้าต่างชาติในปี ค.ศ. 1761 (พ.ศ. 2304) แต่นายห้าง 4 ห้างจะมีพันเจิ้นเฉิง อยู่ด้วยหรือไม่ ข้อนี้ยังน่าสงสัยอยู่

ข้อมูลสำคัญที่ชี้ตัวนายห้าง 4 ห้าง อยู่ในหนังสือจิ้มก้องและกำไร ของคุณสารสิน วีระผล ซึ่งผมว่าเป็นคู่มือสำคัญเล่มหนึ่งของคนที่สนใจเรื่องความสัมพันธ์สยาม-จีน (มีฉบับ pdf ให้ download ได้ฟรีในเว็บมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ แต่ฉบับ pdf จะไม่มีส่วนรายการอ้างอิง, บรรณานุกรม และรายการคำศัพท์ ซึ่งผมเห็นว่ามีความสำคัญสำหรับใช้ค้นคว้าต่อไป) หนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลว่าฏีกาของ พันเจิ้นเฉิงในปี 1761 นั้นนอกจากเรื่องให้ไว่หยังหัง (คือกงหังสิบสามห้าง) ดูแลการค้ากับชาติตะวันตกแล้ว ยังมีเรื่องให้การค้าบรรณาการจากสยามอยู่ในความรับผิดชอบ (หรือจะเรียกว่าได้สิทธิ์ผูกขาดก็น่าจะได้) ของกงหังที่ชื่อ เปิ่นเจี่ยงหัง (本港行) ด้วย

(ตรงนี้ผมขอแวะข้างทางเรื่องชื่อหน่อยครับ คุณสารสินเขียนคำอ่านไว้ว่า เปิ่นเจี่ยงหัง แต่กำกับตัวจีนเป็น 本港行 ซึ่งควรจะอ่านว่า เปิ่นกั่งหัง ในเว็บ baidu ของจีนก็เขียนว่า 本港行 เหมือนกัน ผมไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น แต่มีตัวอักษรจีนอีกตัวหนึ่งซึ่งไม่ค่อยได้ใช้กันคือ 塂 ซึ่งตัวนี้จะอ่านว่าเจี่ยงครับ ดังนั้นชื่อที่ถูกต้องของกงหังนี้อาจจะเป็น 本塂行 และผมจะขอเรียกชื่อกงหังนี้ตามอย่างคุณสารสินว่าเปิ่นเจี่ยงหังนะครับ)

เปิ่นเจี่ยงหังเข้ามารับผิดชอบการค้าสยามในปี 1761 และล้มละลายในช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 ดังนั้นพอจะอนุมานได้ว่าในระหว่างช่วงเวลานี้ เปิ่นเจี่ยงหังเป็นผู้ดูแลการค้ากับสยามมาโดยตลอด ดังนั้นขบวนจิ้มก้องของไทยในคราวนั้นน่าจะอยู่ภายใต้การอำนวยการของเปิ่นเจี่ยงหัง น่าเสียดายว่าไม่สามารถหาหลักฐานได้ว่า ในปี ค.ศ. 1781 ที่ขบวนจิ้มก้องจากสยามไปถึง นายห้างทั้ง 4 ห้างที่น่าจะเป็นนายห้างที่อยู่ในสมาคมเปิ่นเจี่ยงหังนั้นเป็นใครบ้าง แต่หากย้อนไปถึงหลักฐานในปี 1771 ในปีนั้น เปิ่นเจี่ยงหางประกอบด้วยห้าง 3 ห้าง มีรายชื่อห้าง และเจ้าของดังต่อไปนี้
- หยูซุ่นหัง (如顺行) นายห้างชื่อ หลิวเหอซิน (刘和新)
- อี๋ซุ่นหัง (怡顺行) นายห้างชื่อ ซินสือตวน (辛时端)
- วั่นจวี้หัง (萬聚行) นายห้างชื่อ เติ้งจังเจี๋ย (邓彰杰)

มีความเป็นไปได้สูงว่า นายห้าง 3 ห้างนี้ ถ้ายังมีชีวิตต่อมาอีกสัก 10 ปี น่าจะอยู่ในกลุ่มนายห้าง 4 ห้างที่ได้รับของขวัญจากขบวนจิ้มก้องจากไทยครับ

ซตพ.

ปล. เรื่องสิบสามห้างนี้เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจมาก สมาชิกท่านใดสนใจ กรุณาตั้งเป็นกระทู้ใหม่ได้เลยครับ เพราะเรื่องน่าจะยาวมากและออกนอกหัวข้อกระทู้ไปไกลเกินไปครับ

คุณม้าพอจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับนายห้างคนอื่น ๆ และชื่อห้างที่รับผิดชอบฝรั่งชาติต่าง ๆ ไหม   ???


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ส.ค. 14, 09:26
เรื่องของสิบสามห้างเมืองจีนคงต้องฝากคุณม้าให้ช่วยอธิบายรายละเอียดต่อ

สิบสามห้างจากเมืองจีน มาเป็นชื่อถนนสิบสามห้างที่เมืองไทยได้อย่างไร มีอยู่ ๒ คำตอบที่น่าเชื่อถือ

๑. หนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีตอนหนึ่งกล่าวถึง "สิบสามห้าง" ดังนี้

"...ด้านตะวันตกพ้นตกพ้นคลองคูวัดออกไปมีตึกก่ออิฐถือปูนชั้นล่าง ขัดแตะถือปูนชั้นบนแถวหนึ่ง เรียกว่า สิบสามห้าง คำว่า สิบสามห้าง นั้น ได้ยินว่าไม่ได้หมายเอาจำนวนส่วนแห่งตึกนั้นที่ทำเป็นมุขยื่นออกมา (แต่) หมายเอาตึกชนิดนี้อันมีในเมืองจีนแห่งใดแห่งหนึ่ง (ซึ่ง) มีจำนวนเท่านั้น ดังมีรูปในกรอบกระจกติดฝา อันส่งเข้ามาขายดื่นในครั้งนั้น...”

ตึกสิบสามห้างนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถนนผ่านหน้าตึกจึงเรียกกว่าถนนสิบสามห้าง ต่อมาปลาย ๆ รัชกาลที่ ๕ ได้รื้อลงสร้างขึ้นใหม่

ตามตำนานวัดบวรฯ ว่าเดิมข้างวัดมีคลองคูจึงน่าจะเข้าใจว่า ต่อมาคลองคูนี้คงจะถมเป็นถนน โดยคงต้นไม้ริมคลองเอาไว้ ถนนสิบสามห้างจึงกลายเป็นถนนกว้าง มีต้นไม้อยู่กลางถนน กลายเป็นเกาะกลางถนนทุกวันนี้ เมื่อมีรถราง รางรถเลี้ยวโค้งขวาตัดหัวถนนไปตามถนนข้างกำแพงวัดที่เคยเป็นคลองคูดังกล่าว

ข้อมูลจาก บทความเรื่อง ถนนสิบสามห้าง "ศรีสำราญ" (http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=524172&chapter=91) โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์

๒. หนังสือ "กรุงเทพเมื่อ ๗๐ ปีก่อน" เขียนโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เขียนถึงที่มาของชื่อถนนสิบสามห้างไว้ว่า

"...ที่เรียกว่าถนนสิบสามห้างนั้น จะมีห้าง ๑๓ ห้างหรือไม่ไม่ทราบ แต่เคยพบในหนังสือฝรั่งกล่าวถึงเมืองกวางตุ้ง ว่ามีแหล่งการค้าหนึ่งมีห้างอยู่ ๑๓ ห้าง ซึ่งภาษาฝรั่งเรียวกว่า Guild (กิลด์) แปลว่าเป็นสมาคมการค้าที่ทำการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้ยินว่าที่ถนนสิบสามห้างของเรานี้ เดิมมีตึกรูปร่างเหมือน Guild ในกวางตุ้งที่มี ๑๓ ห้อง ก็เลยเรียกชื่อถนนว่าถนนสิบสามห้าง ตึกเก่านั้นคงรื้อเสียนานแล้ว แต่ชื่อสิบสามห้างยังคงอยู่จนบัดนี้..."

ข้อมูลจาก  ท้องถิ่นบางลำพู (http://www.thaischool.in.th/_files_school/10106996/data/10106996_1_20120308-164037.pdf)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ส.ค. 14, 09:40
ดังมีรูปในกรอบกระจกติดฝา อันส่งเข้ามาขายดื่นในครั้งนั้น

รูปตึกแถวที่ถนนสิบสามห้างในเมืองจีน ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  อาจจะมีลักษณะเหมือนรูปนี้ เป็นรูปวาดถนนสิบสามห้าง เมื่อ ค.ศ. ๑๘๔๐ (พ.ศ. ๒๓๘๓) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔   ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ส.ค. 14, 09:47
ถนนสิบสามห้างที่กวางเจาในปัจจุบัน  ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ส.ค. 14, 10:15
ถนนสิบสามห้างที่บางลำพู  ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ส.ค. 14, 10:36
สิบสามห้างของดั้งเดิม พอจะมีเค้าตึกแถวนี้ได้บ้างไหมหนอ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ส.ค. 14, 13:36
อาจจะเป็นตึกลักษณะนี้ก็เป็นไปได้นะครับ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ส.ค. 14, 13:39
หรือจะออกแนวมีระเบียง อย่างอาคารไม้สองฝั่งตามภาพ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ส.ค. 14, 13:40
^
ตึกแถวถนนไหนคะ คุณหนุ่มสยาม
ทั้ง 2 รูปค่ะ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ส.ค. 14, 13:44
ทั้ง ๒ ภาพเป็นกลุ่มตึกแถวบริเวณถนนเจริญกรุงทั้งคู่เลยครับ  ;)

มาดูข้อมูลไหม้กันดีกว่า จดหมายเหตุของพระยาทิพโกษา (สอน) กล่าว่า วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๒ เวลาเกือบบ่ายโมง ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่โรงทำขนมจีน ถนนสิบสามห้าง เวลานั้นลมพัดจัด น้ำในคลองบางลำภูก็แห้ง เพลิงลุกลามข้ามกำแพงพระนครไหม้เลียบกำแพง และริมคลองบางลำพูไปถึงสะพานข้ามคลอง แล้วไหม้ข้ามคลองไปข้างวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ไหม้บ้านช้อนหอยทัพพี วัดสังเวชวิศยาราม บ้านบุหลังวัด แล้วไหม้เฉียงตลอดลงไปตกแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนทางริมกำแพงพระนครเพลิงไหม้เลียบริมกำแพง และริมคลองบางลำพูไปจนถึงหน้าวัดสังเวชฯ จึงหยุด..."

และในสารบาญชีสำรวจใน พ.ศ. ๒๔๒๖ มี "บ้านหมู่หลังตึกขนมจีนริมวัดบวรนิเวศ" แล้วบ้าน และโรงงาน ทำขนมจีนอยู่ตรงไหน ? ไฟไหม้อย่างไรกัน ?


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 06 ส.ค. 14, 14:02
ถ้านำข้อมูลเรื่องไฟไหม้มาประกอบแผนที่จะพบลักษณะความสัมพันธ์ว่า ไฟไหม้แถวสิบสามห้าง ข้ามกำแพงเมือง ลามไปซ้าย-ขวา ท้ายวังกรมหมื่นมเหศวรฯ แล้วไฟลามไปทางตะวันตกไปทางวัดสังเวช


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ส.ค. 14, 16:07
หรือจะออกแนวมีระเบียง อย่างอาคารไม้สองฝั่งตามภาพ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6044.0;attach=50061;image)

ตึกแถวถนนสิบสามห้างน่าจะเป็นแบบมีระเบียงเหมือนที่เมืองจีน  ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ส.ค. 14, 15:55
ร่องรอยของตึกแถวดั้งเดิมในรัชกาลที่ ๔ ที่ถนนสิบสามห้าง พอจะหาได้จากภาพเขียน ตามข้อมูลเหล่านี้

๑.
เคยอ่านพบในเวปหนึ่งว่ามีภาพเขียนของตึกสิบสามห้างที่ก่อสร้างจริงที่บางลำพูเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่วัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดสมุทรสงคราม ลักษณะเป็นอาคารตึกสองชั้นมีระเบียงชั้นบนยื่นออกมา  

๒. ในหนังสือ "กังไสลายคราม" (http://wholesale.se-ed.com/Quotation/Products/Detail.aspx?No=9789747352375) มีกล่าวถึง "ลายตึกสิบสามห้าง" ซึ่งอาจพอเห็นลักษณะของตึกแถวที่ถนนสิบสามห้างครั้งกระโน้นได้

ภาพเหล่านี้กำลังรอการเปิดเผยจากท่านผู้เข้ามาอ่านกระทู้ซึ่งเคยเห็นภาพเขียนเหล่านี้

รอคอยด้วยความหวัง  ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ส.ค. 14, 19:40
ลักษณะร้านค้า ของเมืองจีน ก็คล้ายภาพเรือนแถวใน คห.๓๐


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ส.ค. 14, 19:50
อาคารไม้แบบนี้ก็สวย


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ส.ค. 14, 19:54
(ซ้าย) ห้างซีโฮ แถวตลาดน้อย เทียบกับ ร้านค้าแบบจีนอย่างกวางตุ้ง


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ส.ค. 14, 11:04
บรรยากาศประมาณว่า หน้าตึกมีคลองวัดบวรนิเวศผ่าน (ถมหมดแล้ว) พอขึ้นเรือก็เป็นแนวถนนและตามด้วยตึกสิบสามห้าง คล้ายๆ บรรกาศภาพที่นำเสนอนี้


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 08 ส.ค. 14, 12:33
สิบสามห้างไทยสร้างขึ้นในช่วงเวลาไหนครับ ทำธุรกิจอะไร เป็นห้างค้าปลีก หรือเป็นห้างการค้า แล้วมีห้างอะไรอยู่บ้างครับ

คำถามบรรทัดเดียวเลยครับ แฮ่ๆ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 08 ส.ค. 14, 12:35
เรื่องสิบสามห้างจีน ผมเริ่มจับต้นชนปลายได้บ้างแล้ว แต่ขอเวลาหาข้อมูลเพิ่มเติมยาวๆๆๆๆ หน่อยนะครับ


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ส.ค. 14, 15:11
สิบสามห้างไทยสร้างขึ้นในช่วงเวลาไหนครับ ทำธุรกิจอะไร เป็นห้างค้าปลีก หรือเป็นห้างการค้า แล้วมีห้างอะไรอยู่บ้างครับ

คำถามบรรทัดเดียวเลยครับ แฮ่ๆ

คำถามเกี่ยวกับ "สิบสามห้างไทย" มีบรรทัดเดียวแต่มีหลายข้อ  ;)

๑. ตึกแถวสิบสามห้างสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงเวลาใด


จาก บทความของ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6044.msg135483#msg135483) บอกว่าตึกแถวสิบสามห้างสร้างขึ้นขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๔  ขอเสริมว่าน่าจะโดยพ่อค้าชาวจีน ส่วนจะเป็นจีนในหรือจีนนอก (จากกวางตุ้ง) ขอเชิญอภิปราย

๒. ทำธุรกิจอะไร ขายปลีก หรือเป็นห้างการค้า

เดาว่าน่าจะเป็นธุรกิจค้าปลีก ไม่น่าจะเป็นห้างเหมือนที่เมืองจีน เพราะคำว่า "สิบสามห้าง" มาจากรูปแบบของอาคารมิใช่รูปแบบของธุรกิจการค้า

ข้อมูลจาก  ท้องถิ่นบางลำพู (http://www.thaischool.in.th/_files_school/10106996/data/10106996_1_20120308-164037.pdf) บอกว่า ในสมัยรัชกาลที่๕ ขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องประดับสตรี จะถูกต้องหรือไม่ขอเชิญอภิปรายเช่นกัน

๓. มีชื่อห้างอะไรบ้าง

ถ้าเป็นร้านคนจีน ก็คงมีชื่อติดอยู่ที่หน้าร้านอย่างที่เห็นในปัจจุบัน  คุณหนุ่มพอจะทราบบ้างไหม  ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ส.ค. 14, 16:00
ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับคำถามของคุณม้า เป็นภาพถนนสิบสามห้าง ถ่ายจากเครื่องบิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่เห็นเป็นอาคาร ๒ หลังอยุ่บนเกาะกลางถนนคือ หลุมหลบภัย ปัจจุบันเป็น ห้องน้ำสาธารณะ  ;D

ภาพจาก เว็บมูลนิธิเล็ก-ประไพ  วิริยะพันธุ์ (http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=190)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ส.ค. 14, 09:01
ข้อมูลแผนที่สำรวจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ และพิมพ์ที่กรมแผนที่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ให้ข้อมูลเรื่องถนนและลักษณะอาคารดังนี้

กลุ่มสีแดงคือ อาคารประเภทก่ออิฐถือปูน

กลุ่มสีดำ คือ อาคารประเภทไม้

ถนนมีสองฝั่งคลอง คือ ถนนสิบสามห้าง กับ ถนนบวรนิเวศ

คลองตรงกลางเรียกว่า คลองวัดบวรนิเวศ ซึ่งเป็นคลองเดียวกับคลองวัดชนะสงคราม


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ส.ค. 14, 13:38
สิบสามห้างไทยสร้างขึ้นในช่วงเวลาไหนครับ ทำธุรกิจอะไร เป็นห้างค้าปลีก หรือเป็นห้างการค้า แล้วมีห้างอะไรอยู่บ้างครับ

คำถามบรรทัดเดียวเลยครับ แฮ่ๆ

คำถามเกี่ยวกับ "สิบสามห้างไทย" มีบรรทัดเดียวแต่มีหลายข้อ  ;)

๑. ตึกแถวสิบสามห้างสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงเวลาใด


จาก บทความของ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6044.msg135483#msg135483) บอกว่าตึกแถวสิบสามห้างสร้างขึ้นขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๔  ขอเสริมว่าน่าจะโดยพ่อค้าชาวจีน ส่วนจะเป็นจีนในหรือจีนนอก (จากกวางตุ้ง) ขอเชิญอภิปราย

๒. ทำธุรกิจอะไร ขายปลีก หรือเป็นห้างการค้า

เดาว่าน่าจะเป็นธุรกิจค้าปลีก ไม่น่าจะเป็นห้างเหมือนที่เมืองจีน เพราะคำว่า "สิบสามห้าง" มาจากรูปแบบของอาคารมิใช่รูปแบบของธุรกิจการค้า

ข้อมูลจาก  ท้องถิ่นบางลำพู (http://www.thaischool.in.th/_files_school/10106996/data/10106996_1_20120308-164037.pdf) บอกว่า ในสมัยรัชกาลที่๕ ขายเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องประดับสตรี จะถูกต้องหรือไม่ขอเชิญอภิปรายเช่นกัน

๓. มีชื่อห้างอะไรบ้าง

ถ้าเป็นร้านคนจีน ก็คงมีชื่อติดอยู่ที่หน้าร้านอย่างที่เห็นในปัจจุบัน  คุณหนุ่มพอจะทราบบ้างไหม  ;D

เท่าที่ทราบเบื้องต้นนั้นการที่เรากล่าวว่า สิบสามห้างเป็นห้องแถวการค้าของชาวจีน นั้นคงจะกล่าวเพียงส่วนที่มีการรื้อห้องแถวเดิมและสร้างใหม่เป็นห้องแถวเพื่อการค้าครับ เพราะในเอกสารการทำมาหากินสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วง ๒๔๒๔ - ๒๔๒๖ ไม่มีถนนสิบสามห้างในสารระบบ และไม่มีห้องแถวเพื่อการค้าเสื้อผ้า และไม่มีห้องแถวการค้าแบบอู้ฟู่เลยครับ มีแต่ข้าราชการมาเช่าอาศัยอยู่เท่านั้น


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ส.ค. 14, 09:11
ในเอกสารการทำมาหากินสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วง ๒๔๒๔ - ๒๔๒๖ ไม่มีถนนสิบสามห้างในสารระบบ และไม่มีห้องแถวเพื่อการค้าเสื้อผ้า และไม่มีห้องแถวการค้าแบบอู้ฟู่เลยครับ มีแต่ข้าราชการมาเช่าอาศัยอยู่เท่านั้น

คุณหนุ่มลองพิจารณาข้อมูลใน จดหมายเหตุของพระยาทิพโกษา (สอน) อีกที

มาดูข้อมูลไหม้กันดีกว่า จดหมายเหตุของพระยาทิพโกษา (สอน) กล่าว่า วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๒ เวลาเกือบบ่ายโมง ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่โรงทำขนมจีน ถนนสิบสามห้าง เวลานั้นลมพัดจัด น้ำในคลองบางลำภูก็แห้ง เพลิงลุกลามข้ามกำแพงพระนครไหม้เลียบกำแพง และริมคลองบางลำพูไปถึงสะพานข้ามคลอง แล้วไหม้ข้ามคลองไปข้างวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ไหม้บ้านช้อนหอยทัพพี วัดสังเวชวิศยาราม บ้านบุหลังวัด แล้วไหม้เฉียงตลอดลงไปตกแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนทางริมกำแพงพระนครเพลิงไหม้เลียบริมกำแพง และริมคลองบางลำพูไปจนถึงหน้าวัดสังเวชฯ จึงหยุด..."

ถนนสิบสามห้างมีมาอย่างน้อยก่อน พ.ศ. ๒๔๑๒ และการค้าในห้องแถวบนถนนสิบสามห้างขณะนั้นเท่าที่ทราบจากจดหมายเหตุดังกล่าวก็คือทำขนมจีนเพื่อขาย 

ขออนุญาตตั้งข้อสังเกตว่า ห้องแถวที่อยู่ริมถนนเหมาะที่จะทำการค้ามากกว่าเป็นที่อยู่อาศัยอย่างเดียว ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ส.ค. 14, 09:59
แกะรอยถนนเก่าสืบได้ชื่อถนนรอบวัดบวรนิเวศได้ดังนี้

ถนนเฟืองนคร เริ่มต้นจากมุมวัดบวรนิเวศด้านทิศใต้

ถนนขวาง ปัจจุบันเป็นถนนตานี หรือ ถนนบ้านแขก

ถนนรอบกรุง เป็นถนนขนานกำแพงเมือง ปัจจุบันคือ ถนนพระสุเมรุ

คลองวัดตองปุ ขุดลัดเชื่อมคลองรอบกรุงและคลองโอ่งอ่าง ผ่านวัดชนะสงคราม เรื่อยมายังวัดบวรนิเวศ โดยคลองที่ผ่านหน้าวัดบวรนิเวศ กลายเป็น "คลองวัดบวร"

คลองวัดบวร มีถนนเลียบขนาน ๒ ฝั้่ง ฝั่งหนึ่งเรียกว่า ถนนวัดบวรนิเวศ ฝั่งหนึ่งเรียก ถนนสิบสามห้าง


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ส.ค. 14, 10:05
ไปหยิมเอกสารจดหมายเหตุเกี่ยวกับป้อมรอบพระนคร ที่เขียนไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ป้อมยุคลธร เป็นป้อมปืนที่อยู่เยื้ยงกับถนนสิบสามห้าง ใกล้ที่สุดเลยขอนำมาให้ชมกัน

จะเห็นว่ามีคลองวัดบวรนิเวศ มีสะพาน มีเรือนแถวยาว (ตรงสิบสามห้างในปัจจุบัน)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ส.ค. 14, 10:17
ใส่ชื่อในเรือน ตามแนวถนนสิบสามห้าง


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ส.ค. 14, 10:21
กลุ่มตึกแถวระบุว่าเป็นแนวถนนสิบสามห้าง ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๗ ในวันบรมราชาภิเษก ทรงเสด็จเลียบพระนครมาวัดบวรนิเวศวิหาร


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ส.ค. 14, 16:15
คลองวัดบวรนิเวศก่อนจะถูกถมเป็นเกาะกลางถนน  ;D


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ส.ค. 14, 15:53
สำรวจไปไกลถึงวัดโพธิ์ พบภาพจิตรกรรมฝาผนัง "ฝรั่งสิบสามห้าง" ดูในภาพมีตึก ๒ ชั้น สีเทา คงเกี่ยวเนื่องกับ "ตึกสิบสามห้าง" ที่เมืองจีนกระมัง  ???

ป.ล. ยังรอเรื่อง "สิบสามห้างจีน" ของคุณม้าอยู่  ;D

เรื่องสิบสามห้างจีน ผมเริ่มจับต้นชนปลายได้บ้างแล้ว แต่ขอเวลาหาข้อมูลเพิ่มเติมยาวๆๆๆๆ หน่อยนะครับ

ภาพจาก เว็บธรรมจักร  (http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19426)


กระทู้: สิบสามห้าง ย่านการค้าประวัติศาสตร์ จากจีนสู่ไทย
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 ส.ค. 14, 16:03
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคลองวัดบวรนิเวศ หน้าสิบสามห้างว่า ถูกขุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘