เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: ธสาคร ที่ 19 เม.ย. 16, 03:21



กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 19 เม.ย. 16, 03:21
ผมท่องเว็บไซต์ชนชาติเพื่อนบ้านช่วงสงกรานต์  เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมใกล้ตัว  เลยอยากรู้ว่าดอกไม้เหล่านี้  มีในประเทศไทยหรือไม่  มีชื่อไทยว่าอย่างไร (เอาพันธุ์ใกล้เคียงก็ยังดี)

เริ่มต้นที่ หมอกโก่สร้อย ของไทใหญ่
ผมคัดข้อความมาจากเฟซบุ๊กไทใหญ่  ดังนี้ครับ

"หมอกโก่สร้อย สีขาวๆบวกเขียวอ่อน ดอกกลมๆ  เวลาเขาไปเด็ดกันมีการเต้นรำ เอาก๋องก้นยาว(คงหมายถึงกลองก้นยาว...ธสาคร)ไปตี เอารถฉีดน้ำไปฉีดให้เย็นกันทั่วหน้า"

"วันนี้พี่น้องชาวไตในเมืองขอน (ชื่อจีนคือเมืองหมังซื่อ มณฑลยุนนาน) ได้พากันไปเก็บดอกไม้ซึ่งเป็นประเพณี  เพื่อนำไปบูชาพระในวัดและในบ้าน  ดอกไม้ชนิดนี้เรียกว่า หมอกโก่สร้อย บานอยู่ในป่า  มีกลิ่นหอมฟุ้งไปไกล  จะบานในช่วงวันสงกรานต์เท่านั้น  และประเพณีนี้จะเก็บแต่หมอกโก่สร้อยเท่านั้น"

"ดอกสีเขียวอ่อนออกเหลืองๆ กลิ่นหอม เอามาประดับแจกันในวิหาร และประดับรางน้ำสรงพระ"


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 19 เม.ย. 16, 03:24
หมอกโก่สร้อย


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 19 เม.ย. 16, 03:30
ดอกส้อ ของไทลื้อ
ผมคัดข้อความมาจากเฟซบุ๊กไทลื้อ  ดังนี้ครับ

"เตรียมทำขนมเพื่อทำบุญใหญ่ในวันพญาวัน พรุ่งนี้  ขนมที่พลาดไม่ได้สำหรับชาวไทลื้อคือ ขนมดอกส้อ ขนมมงคลรับปีใหม่
ต้นส้อ เป็นไม้ยืนต้น เชื่อว่าเป็นไม้มงคล  ชาวไทลื้อ นิยมนำไม้ส้อ มาแกะเป็นพระพุทธรูป จารอักขระคำอุทิศถวายไว้กับวัด นอกจากนี้ยังนำมาทำของใช้ในบ้านเรือน เช่น ไหข้าว กล่องข้าว"


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 19 เม.ย. 16, 03:48
ดอกอะไรไม่รู้ ของพม่า
ในรูปดูเหมือนจะเป็นดอกไม้พลาสติก  แต่น่าจะมีเค้ามาจากดอกไม้ที่มีอยู่จริง


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 19 เม.ย. 16, 03:51
.


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 เม.ย. 16, 07:51
ผมท่องเว็บไซต์ชนชาติเพื่อนบ้านช่วงสงกรานต์  เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมใกล้ตัว  เลยอยากรู้ว่าดอกไม้เหล่านี้  มีในประเทศไทยหรือไม่  มีชื่อไทยว่าอย่างไร (เอาพันธุ์ใกล้เคียงก็ยังดี)

เริ่มต้นที่ หมอกโก่สร้อย ของไทใหญ่

หมอกโก่สร้อย น่าจะถอดเป็นภาษาไทยกลางว่า ดอกก่อสร้อย


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 19 เม.ย. 16, 08:12
ดอกอะไรไม่รู้ ของพม่า
ในรูปดูเหมือนจะเป็นดอกไม้พลาสติก  แต่น่าจะมีเค้ามาจากดอกไม้ที่มีอยู่จริง

นางแบบกับผ้านุ่งสวยจนทำเอาเกือบจะลืมดูดอกไม้ไปเลยค่ะ ;D


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 เม.ย. 16, 09:32
เพลง ปอยซอนน้ำ (งานสาดน้ำ)

http://www.youtube.com/watch?v=jKQbkW6ITOw#ws (http://www.youtube.com/watch?v=jKQbkW6ITOw#ws)

ดูสิ - ดอกก่อสร้อย หอมไปทั่วทั้งภูเขา
ฟังสิ - นกดุเหว่า ร้องเสียงกังวาน
ปอยซอนน้ำ ไตเฮา จวนจะมาถึง

ดูสิ - บ่าวสาวพากันนุ่งเสื้อผ้าไต ชุดใหม่
ฟังสิ - เสียงกลองฆ้อง ดังไปทั่วเมือง
ปอยซอนน้ำ ไตเฮา มาถึงแล้ว

รดเถอะ  รดเถอะ  รดให้เปียกทุกคน
รดเถอะ  รดเถอะ  รดให้เปียกทั้งตัว

ขอให้ พี่น้องไตเฮา ทุกผู้ทุกคน อยู่ดีกินหวาน
ขอให้ พี่น้องไตเฮา ทุกบ้านทุกเรือน ขึ้นใหญ่ใหม่สูง (เจริญก้าวหน้า)


คำแปลโดย คุณนายช่างปลูกเรือน (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/04/K7763008/K7763008.html#18)


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 เม.ย. 16, 12:13
ดอกส้อ ของไทลื้อ

น่าจะเรียกว่า ดอกซ้อ Gmelina arborea

ภาพจาก frynn.com (http://frynn.com/ซ้อ/)


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 เม.ย. 16, 12:22
ดอกอะไรไม่รู้ ของพม่า
ในรูปดูเหมือนจะเป็นดอกไม้พลาสติก  แต่น่าจะมีเค้ามาจากดอกไม้ที่มีอยู่จริง


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6496.0;attach=61159;image)

ใน บล็อกของพี่โบเดีย (http://www.oknation.net/blog/borderline/2012/04/28/entry-1) บอกว่าคือ ดอกกระเต้าปาน เป็นดอกไม้ต้อนรับสงกรานต์ของพม่าส่งกลิ่นหอมไปทั่วประเทศ ดูไปแล้วน่าจะเป็น ดอกประดู่  (http://frynn.com/ประดู่บ้าน/)Pterocarpus indicus


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 20 เม.ย. 16, 01:52
ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู
- คลิปเพลงสงกรานต์ของไทใหญ่  ทำนองไพเราะ ภาพประกอบเปี่ยมสีสันแห่งประเพณี
- ตามไปดูรายละเอียดของ ส้อ/ซ้อ ใน frynn แล้ว  ปรากฏว่าไม่คล้ายต้นไม้ใดๆที่ผมเคยรู้จักเลย  ชื่อเรียกในแต่ละจังหวัดก็แตกต่างกันลิบลับ
- ดอกไม้สงกรานต์ของพม่า  เป็นประดู่จริงๆ  เพียงแต่ของเขามีขนาดช่อดอกใหญ่กว่าประดู่ที่เห็นดาษดื่นในกรุงเทพฯ  และดอกน่าจะติดกับขั้วเหนียวแน่นกว่าด้วย  ไม่งั้นคงไม่สามารถนำมาใช้งานใดๆได้  ดอกประดู่กรุงเทพฯบอบบางมาก  แค่2วันก็ร่วงหมดต้นแล้ว  คงเด็ดมาใช้งานอะไรไม่ได้
ยังมีประดู่พันธุ์พื้นเมืองของไทยอีกชนิดหนึ่ง  ช่อดอกใหญ่  ติดดอกนานกว่า  แต่ดอกไม่ค่อยดก  สีก็ไม่สด  และทรงต้นก็ต่างจากพันธุ์พม่าที่แสดงไว้ในบล็อก"พี่โบเดีย"


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 16, 09:13
ยังมีประดู่พันธุ์พื้นเมืองของไทยอีกชนิดหนึ่ง  ช่อดอกใหญ่  ติดดอกนานกว่า  แต่ดอกไม่ค่อยดก  สีก็ไม่สด  และทรงต้นก็ต่างจากพันธุ์พม่าที่แสดงไว้ในบล็อก"พี่โบเดีย"
ประดู่มี ๒ ชนิดคือ ประดู่บ้าน (http://frynn.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/) Pterocarpus indicus  และ ประดู่ป่า  (http://frynn.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2/) Pterocarpus macrocarpus ชนิดหลังคงเป็นที่คุณธสาครพูดถึง ช่อดอกมีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน แต่จะไม่มีค่อยมีดอก ออกดอกไม่ดก หรือออกประปราย

ใน บล็อกของพี่โบเดีย (http://www.oknation.net/blog/borderline/2012/04/28/entry-1) บอกว่าคือ ดอกกระเต้าปาน
ไปค้นดูอีกทีได้ความว่าชื่อในภาษาพม่าคือ  “บะเด้าปาน”  (http://www.royalparkrajapruek.org/main/group3_detail.php?id=56) บะเด้าตรงกับชื่อภาษาอังกฤษว่า Padauk ก็คือ ประดู่นั่นเอง ส่วน ปาน อาจจะมาจากบ้านหรือเปล่า (มาจากมโนล้วน ๆ ไม่ควรใช้อ้างอิง  ;D)


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 16, 09:26
ดอกไม้สงกรานต์ของแต่ละถิ่นมักจะเป็นดอกไม้ที่มีมากในถิ่นนั้นและบานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ของพม่าคือ ดอกประดู่  ส่วนในไทยเห็นจะเป็น ดอกคูน

มีข้อสังเกตคือ ดอกไม้สงกรานต์ มักจะเป็นดอกไม้ประจำชาติด้วย ดังเช่น ประดู่เป็นดอกไม้ประชาติของพม่า และ คูน (ในนาม ราชพฤกษ์) เป็นดอกไม้ประจำชาติของไทย

คูนดอกสีเหลือง สมัยก่อนชื่อว่า ชัยพฤกษ์ แล้วกลายเป็นราชพฤกษ์

ส่วนราชพฤกษ์ ดอกสีชมพู กลายเป็น ชัยพฤกษ์

ลองอ่านความสับสนของทั้งสองชื่อนี้ดู

มีมาฝากอีกค่ะ  แต่ยังสับสนว่า ชื่อ อะไรกันแน่  ความสับสนปรากฎดังนี้ค่ะ

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/06/K4467537/K4467537.html (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/06/K4467537/K4467537.html)


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 เม.ย. 16, 09:46
เมื่อลมแล้งพัดผ่านดอกบานแย้ม
สีเหลืองแจ่มห้อยพราวราวเสกสรรค์
"ราชพฤกษ์"ดอกงามนามสำคัญ
อีกชื่อนั้น"คูน"อย่างไรไม่ลืมเลือน


ดอกคูนบานรับสงกรานต์สองข้างทางถนนเข้าเมืองปากช่อง   ;D


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 เม.ย. 17, 22:07
ดอกคูนบานสองข้างทางวิถี
สวัสดีวันสงกรานต์กันอีกหน
ปีใหม่ไทยชุ่มชื่นรื่นกมล
สุขเปี่ยมล้นเพื่อนเพื่อนชาวเรือนไทย

https://youtu.be/zeMhQ35lxAM

สุขสันต์วันสงกรานต์ ๒๕๖๐
 ;D


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 14 เม.ย. 17, 00:08
แนวการ์ตูนจากพม่า


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 14 เม.ย. 17, 01:02
.


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 14 เม.ย. 17, 01:07
Happy Thin Gyan แด่..ชาวเรือนไทย

(มั่วคำตาม caption ในรูปครับ  ไม่ทราบเหมือนกันว่า Thin Gyan แปลว่าอะไร  แต่คงแปลว่า สงกรานต์ นี่แหละครับ)


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 เม.ย. 17, 17:29
ไม่ทราบเหมือนกันว่า Thin Gyan แปลว่าอะไร  แต่คงแปลว่า สงกรานต์ นี่แหละครับ

Thingyan พม่าออกเสียงว่า ตะจาน เป็นคำเดียวกับ สงกรานต์ ซึ่งมาจากสันสกฤตว่า สงฺกฺรานฺติ सङ्क्रान्ति  พจนานุกรมสันสกฤต-อังกฤษ (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=sankranti&trans=Translate&direction=AU) ให้ความหมายว่า passage of the sun or a planet from one sign or position in the heavens into another


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 14 เม.ย. 17, 20:06
คห 11

ประดู่มี ๒ ชนิดคือ ประดู่บ้าน Pterocarpus indicus  และ ประดู่ป่า Pterocarpus macrocarpus ชนิดหลังคงเป็นที่คุณธสาครพูดถึง ช่อดอกมีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน แต่จะไม่มีค่อยมีดอก ออกดอกไม่ดก หรือออกประปราย


ต้นไม่ซีกโลกเหนือ มักผลัดใบ
ช่วง ตค ถึง ธค ในเขตเมืองหนาว
ช่วง มค ถึง มีค ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย

เมื่อแตกใบใหม่ ตาดอกจะเบ่งบานตามมาติดๆ เผลอๆ ผลิดอกก่อนผลิใบด้วยซ้ำ
เช่น ดอกคูณบางต้น มีแต่ดอก ไม่มีใบ
บางต้นใบและดอกสมน้ำสมเนื้อ

สำหรับต้นประดู่ ใน กทม ที่เห็น เขาเรียกประดู่กิ่งอ่อน เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบดก ดอกสีเข้ม ย้ำๆๆ เป็นไม้เนื้ออ่อน

ส่วนประดู่ป่านั้น ทันทีที่ใบร่วงหมด ใบใหม่จะแตกทันที ยังไม่ทันผลิใบดี กลีบดอกสีเหลืองร่วงกราวบนดิน
บานเร็ว บานไม่นาน อยู่ไม่ทน พรึ่บพรั่บพร้อมเพรียง (สัญญลักษณ์ของลูกประดู่)
ไม้ป่า เช่น ประดู่ ดอกมาตามนัดทุกปี ไม่มีเบี้ยว ย้ำๆๆ เป็นไม้เนื้อแข็ง

ประดู่ มีหลายพันธุ์ ของพม่า เป็นพวกประดู่เลือด ประดู่ส้ม เหมือนไทยแหละ
แต่ปริมาณน้ำฝนมากกว่าบ้านเฮา


ท่านทราบไหม วันที่ 13 เมย เป็นสงกรานต์ของเนปาลด้วย
ส่งหลานชายไปเรียนเมืองแขกดาร์จีลิง เปิดตารางเรียนเขาดู
อ้าว หยุดเหมือนกันเลยนี่ เพราะย่านนั้นนักเรียนเนปาลข้ามเขตมาเรียนแยะ




กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 14 เม.ย. 17, 20:23
จากดาร์จีลิง ลงหิมาลายา จับรถไฟไป Upper Assam
เป็นเมืองแขกที่วัฒนธรรมออกมาทางไทย ทางพม่า
สงกรานต์มีสรงน้ำพระเหมือนบ้านเรา

แขกไม่กินหมู แต่ตลาดอ้สสัมหมูเพียบ และมีประชากรต้นหมาก มากที่สุดในโลก


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 15 เม.ย. 17, 02:11
จากดาร์จีลิง ลงหิมาลายา จับรถไฟไป Upper Assam
เป็นเมืองแขกที่วัฒนธรรมออกมาทางไทย ทางพม่า
สงกรานต์มีสรงน้ำพระเหมือนบ้านเรา
แขกไม่กินหมู แต่ตลาดอัสสัมหมูเพียบ และมีประชากรต้นหมาก มากที่สุดในโลก
เพราะแถบนั้นไม่ใช่แขก  แต่เป็นคนไทครับ


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 15 เม.ย. 17, 02:26
ที่นี่ยังเปลี่ยนศักราชวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ อยู่เลย

คุณ heha มีรูปเพิ่มเติมไหมครับ?  เล่าเหมือนเคยไปเห็นมา


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 15 เม.ย. 17, 07:10
สงกรานต์ของไทคำตี้  แคว้นอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 15 เม.ย. 17, 07:52
โน้ตบุคนี้มีรูปไม่มาก  จากเมืองหลวงอัสสัม Guwahati
นั่งรถต่อไปแคว้น  Meghalaya (เมืองหลวงคือ Shillong)
คนแถบนี้หน้าตาคล้ายคนไทย ไม่ห่มส่าหรี
นิยมเคี้ยวหมาก แต่ปูนสีขาว ไม่ใช่สีส้มแดง


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 15 เม.ย. 17, 17:18
คห 22

ที่นี่ยังเปลี่ยนศักราชวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ อยู่เลย
คุณ heha มีรูปเพิ่มเติมไหมครับ?  เล่าเหมือนเคยไปเห็นมา

ละแวกนี้ไปจนช่ำชอง ทะลุปรุโปร่งไปหมด
เคยจะทิ้งตั๋วขากลับจากกัลกัตตา แล้วใช้วิธีลัดเลาะเข้า Imphal รัฐมณีปุระ กลับเมืองไทยทางบก
แต่คำนวณดูเวลาที่มี ต้องเร่งรีบหมดสนุก เลยล้มแผน

แผ่นดินอินเดียที่ติดพม่านี้ มีฝนตกชุกที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ที่สูงอากาศเย็น ปลูกไม้เมืองหนาวงามแต้

น้ำตกย่านนี้ใหญ่ยังกับไนแองกาล่า กล้วยเครือหนึ่งยาวกว่าหนึ่งเมตร
หาซื้อเครื่องเทศ ได้ใบกระวานแห้ง เขาฟันมาทั้งกิ่ง
จกให้กำมือหนึ่ง พอใช้ไปห้าปี ได้ในราคา 20 รูปี (11 บาทเท่านั้น)
ใบกระวานใช้ปรุงสตูลิ้นหมู ลิ้นวัว ข้าวหมกก็ได้





กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 15 เม.ย. 17, 17:38
เรียนถามคุณเพ็ญ

Balika ใน คห 24 ไม่ทราบว่าถอดเป็นภาษาไทยได้จังได๋


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 เม.ย. 17, 07:27
BALIKA HINDI VIDYALAYA SECONDARY SCHOOL  คือ โรงเรียนมัธยมสตรีฮินดีวิทยาลัย

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6496.0;attach=64235;image)

BALIKA  (बालिका (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=बालिका&trans=Translate&direction=AU)) แปลว่า เด็กผู้หญิง คู่กับ BALAKA (बालक (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=बालक&trans=Translate&direction=AU)) เด็กผู้ชาย ไทยเราไม่ได้รับคำศัพท์นี้มาใช้ ถ้าจะถอดเป็นไทยคงต้องเขียนตามรูปศัพท์ บาลิกา = เด็กหญิง  บาลกะ (บา-ละ-กะ) = เด็กชาย


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 16 เม.ย. 17, 10:15
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ดูในกูเกิล คำที่คล้าย Balika มีแต่ชื่อสกุล ผาลิกา


ส่วนชื่อแคว้น  Meghalaya  คำว่า megha=เมฆา


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 เม.ย. 17, 10:21
มีอีกคำหนึ่งซึ่งแปลอย่างเดียวกัน และไทยเรานำมาใช้คือ

DARAKA (दारक (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=daraka&trans=Translate&direction=AU)) แปลว่า เด็กชาย เราเอามาใช้เขียนว่า ทารก ในความหมายว่าเด็กแบเบาะ และ DARIKA (दारिका (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=दारिका&trans=Translate&direction=AU)) แปลว่า เด็กหญิง เราเขียนว่า ทาริกา มีความหมายเช่นเดียวกันกับศัพท์เดิม

ส่วนชื่อแคว้น  Meghalaya  คำว่า megha=เมฆา

แค้วน Maghalaya (मेघालय) =  แคว้นเมฆาลัย  ;D


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 16 เม.ย. 17, 11:28
สันสกฤตอีกคำหนึ่งที่แผ่ไปยังสุมาตรา

ป้ายนี้หน้าห้องสุขาที่ปาเล็มบัง
เข้าใจว่าไทยรับคำ wanita เป็น วนิดา  แผลง ต เป็น ด


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 เม.ย. 17, 11:42
เข้าใจว่าไทยรับคำ wanita เป็น วนิดา  แผลง ต เป็น ด

VANITA (वनिता (http://spokensanskrit.de/index.php?script=HK&beginning=0+&tinput=वनिता&trans=Translate&direction=AU)) = ผู้หญิง


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 เม.ย. 17, 11:55
จากดาร์จีลิง ลงหิมาลายา จับรถไฟไป Upper Assam
เป็นเมืองแขกที่วัฒนธรรมออกมาทางไทย ทางพม่า
สงกรานต์มีสรงน้ำพระเหมือนบ้านเรา
แขกไม่กินหมู แต่ตลาดอัสสัมหมูเพียบ และมีประชากรต้นหมาก มากที่สุดในโลก

เพราะแถบนั้นไม่ใช่แขก  แต่เป็นคนไทครับ

อาจารย์บรรจบ พันธุ์เมธาเล่าไว้ในกาเลหม่านไตว่าแถบคนตระกูลไทแถบอัสสัมนี่นามสกุลสยามหรือมีคำว่าสยามประกอบเกือบทุกคนเลยครับ

คุณ heha สามารถอ่านรายละเอียดเรื่องนี้ได้ใน หนังสือความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ  (http://www.openbase.in.th/files/tbpj027.pdf) บทที่ ๑ ร่องรอยของ 'สยาม' ในปัจจุบัน หน้า ๑ - ๖


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 17 เม.ย. 17, 15:17
ขอบคุณคุณเพ็ญมาก

ครั้งหนึ่งเคยบุกไปไร่ชาที่อัสสัม เกือบถึงอรุณาจัลประเทศ (อรุณา=อรุณ) อยู่แล้ว
กลับมาบ้าน คุณพ่อถามว่าขึ้นไปถึง McMahon Line รึเปล่า
คนที่ดูสารคดีบ่อยๆ จะเข้าใจว่าการเมืองระหว่างประเทศปิดกั้นวัฒนธรรมย่านนี้
ทั้งๆ ที่ที่จริงแล้วชนเผ่าในประเทศย่านนี้มีวัฒนธรรมคล้ายกันมาก

อินเดียกับจีนไม่ยอมเปิดประตูให้กัน จาก Tinsukia รัฐอัสสัม หากด่านเปิด
ข้ามพม่านิดเดียวก็ถึงต้าหลี่ (ตาลีฟู) อาณาจักน่านเจ้าแต่โบราณ
ชนเผ่าในลี่เจียง เต้นรำคล้ายพม่า
ชนเผ่าในเชียงรุ้ง สาดน้ำคล้ายไทยลาว

สั่งซื้อกาเลหม่านไตไปแล้ว เล่มไม่ถึงร้อยบาท  และจองตั๋วล่วงหน้านานแล้ว
จะไปเชียงรายเพื่อข้ามไปเชียงตุงเข้าพรรษา
ได้ยินว่าคนเชียงตุง คุยกับคนเหนือไทยรู้เรื่อง




กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 18 เม.ย. 17, 14:57
คลิปข่าว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรป่าศักดิ์สิทธิ์มาบฟลาง เมืองชิลลอง
รัฐเมฆาลัย  พ.ย. 2016

https://www.youtube.com/watch?v=Tq_P9duAUXM


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 18 เม.ย. 17, 19:13
ขอบพระคุณสำหรับคลิปนี้ น่าเสียดายที่เห็นคลิปทีหลัง
ถ้าเห็นก่อนจะได้เดินตามรอยพระองค์ท่านไปยังหมู่บ้านเล็กหมู่บ้านน้อย
อ้สสัมย่านนี้ ฟ้าสวย น้ำใส อากาศดี
เหมาะเหลือเกินสำหรับนักเดินทางที่ชอบธรรมชาติแบบไม่ได้ปรุงแต่ง

น้ำตกเชอราปุนจิ


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 เม.ย. 17, 22:04
ภาษาไทยังคงมีใช้อยู่ในอัสสัม อย่างน้อยก็มี ๓ ภาษาที่ยังใช้ในชีวิตประจำวันคือ ภาษาไทคำตี่ ภาษาไทพาเก ภาษาไทไอตอน สำหรับภาษาไทคำยางมีเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นที่พูดได้ ส่วนพวกไทอาหมและไทตุรุงปัจจุบันหันไปพูดภาษาอัสสัมแล้ว

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6496.0;attach=64221;image)

คุณ heha สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภาษาไทเหล่านี้ได้ในบทความวิชาการเรื่อง ภาษาไทในรัฐอัสสัม อินเดีย (http://digi.library.tu.ac.th/journal/0018/26_2_jan_jun_2551/04PAGE39_PAGE59.pdf) ของคุณวิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๒ มกราคม - มิถุนายน ๒๕๕๑


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: ธสาคร ที่ 19 เม.ย. 17, 03:21
ดอกประดู่ของพม่า  พวงใหญ่มาก
เห็นภาพแล้วความหอมลอยมาเตะจมูกเลย


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: heha ที่ 19 เม.ย. 17, 08:00
ดอกประดู่ของพม่า  พวงใหญ่มาก
เห็นภาพแล้วความหอมลอยมาเตะจมูกเลย

ดอกประดู่มีกลิ่นอ่อนมาก เบาบาง ในรูปคงเป็นการถ่ายแบบเสียมากกว่า
ประดู่บนเกาะสิงคโปร์อายุ 100-200 ปี ตั้งแต่ยุคอังกฤษปลูกไว้นั้น
กลิ่นอ่อนเหมือนไทย แต่มีความสูงสง่า แผ่กิ่งก้านงดงาม
หน่วยดูแลต้นไม้ของเขาตัดแต่งต้นไม้อย่างถนุถนอม เล็งแล้วเล็งอีก
ไม่ฟันฉับๆ แบบบ้านเรา เน้นฟอร์มสวย ดูดี

หลายปีก่อน เคยไปขอกล้าไม้จากศูนย์เพาะชำ อย่างละ 20-30 ต้น
เป็นไม้ทนแล้ง เช่น ประดู่ ตะแบก มะขามป้อม นนทรี ปีบ
กลัวต้นไม้อดน้ำ จับลงดินแบบสะเปะสะปะ สะดวกตรงไหนขุดตรงนั้น
มีปีบอย่างเดียวที่หอม มีมะขามป้อมต้นหนึ่งใกล้ระเบียงชั้นสอง
ปีนีเก็บได้หลายกะละมัง แช่อิ่มไม่สำเร็จ ยังเต็มฟรีซเซอร์อยู่เลย

ขอบคุณลิ้งค์ที่คุณเพ็ญแนบให้ อ่านเพลิน หามานาน
มีเพื่ื่อนเวียดนามบอกว่า ชนกลุ่มน้อยในเวียดนามพูดไทยได้นะ
พอไปดู ปรากฎว่าเป็นไทดำรำพัน พูดลาว แต่คนไทยก็ฟังรู้เรื่อง
พื้นที่แถบเดียนเบียนฟูนั้น เคยเป็นของลาว รบไปรบมาเวียดนามยึดไป
ชาวบ้านตกค้าง พูดลาวมาจนทุกวันนี้


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 เม.ย. 24, 14:35
ขนมที่พลาดไม่ได้สำหรับชาวไทลื้อคือ ขนมดอกส้อ ขนมมงคลรับปีใหม่

ถือได้ว่า ดอกซ้อ (Gmelina arborea) เป็นดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ของไทลื้อ

https://youtu.be/TAIuHmvQZ4Y


กระทู้: ดอกไม้ประจำวันสงกรานต์ ของไทใหญ่ ไทลื้อ พม่า
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 เม.ย. 24, 14:35
สวัสดีปีใหม่ ๑๓๘๖ * จากชาวไทลื้อ สืบสองปันนา

* ชาวไทนอกประเทศไทยล้วนใช้ จุลศักราช จ.ศ. ๑๓๘๖ + ๑๑๘๑ = พ.ศ. ๒๕๖๗

https://youtu.be/r8-rqAEnHSg