เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: luanglek ที่ 26 ก.ค. 10, 22:07



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 ก.ค. 10, 22:07
หนังสืองานศพเป็นสิ่งตีพิมพ์ชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าควรแก่การเก็บสะสมเพื่อศึกษา
โดยเฉพาะหนังสืองานศพของบุคคลสำคัญ  ย่อมเป็นเอกสารที่ขาดเสียไม่ได้
ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติและผลงานของบุคคลนั้นๆ  

นอกจากนี้   เรื่องที่เจ้าภาพนำมาจัดพิมพ์เป็นหนังสืองานศพนั้น
ก็มีประโยชน์ในด้านต่างๆ แก่ผู้อ่านด้วย

ฉะนั้น  ผมจึงอยากขอความรู้จากทุกท่านที่สัญจรในเรือนไทยได้ช่วยกันบอกหน่อยว่า
ในงานพระบรมศพ พระศพ และศพของบุคคลดังต่อไปนี้  
พิมพ์หนังสืออะไรแจกเป็นที่ระลึกบ้าง  

๑.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาอานันทมหิดล  พระอัฐมรามาธิบดินทร

๔.สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

๕.สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

๖.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

๗.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

๘.พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช

๙.พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

๑๐.เจ้าจอมมารดาอ่อน  ในรัชกาลที่ ๕


๑๑.เจ้าพระยารามราฆพ  (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)

๑๒.เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม)

๑๓.เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)

๑๔.พระยามโนปกรณ์นิติธาดา  (ก้อน  หุตะสิงห์)

๑๕.พลตรี  หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช

๑๖.พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

๑๗.พระยาปดิพัทธภูบาล  (คอยูเหล  ณ  ระนอง)

๑๘.พระยาสุริยานุวัตร (เกิด  บุนนาค)

๑๙.ท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดี

๒๐.ท่านผู้หญิงกลีบ  มหิธร


๒๑.หมอบรัดเล

๒๒.นายมาลัย  ชูพินิจ

๒๓.นายสด  กูรมะโรหิต

๒๔.พลโท  อัมพร   ศรีไชยันต์

๒๕.หม่อมสนิท  กฤดากร

๒๖.นายนราภิบาล  (ศิลป์  เทศะแพทย์)

๒๗.เสวกโท  หลวงมหาสิทธิโวหาร  (สอ  เสถบุตร)

๒๘.นายภาวาส  บุนนาค

๒๙.ร้อยเอก  ขุนทวยหาญพิทักษ์  (เหล็ง  ศรีจันทร์)

๓๐.คุณหญิงมณี สิริวรสาร


เอาเท่านี้ก่อน   หวังว่าจะไม่ยากเกินไปนะครับ ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ก.ค. 10, 22:16
จะเข้ามาทักทายคุณหลวงว่าหายไปพักใหญ่   กำลังจะไปตามอยู่พอดี 
พอเห็นการบ้านที่คุณหลวงมอบให้   ก็ขอถอยออกไปจากที่นี่
เชิญคุณวันดี คุณเพ็ญชมพูและท่านอื่นๆดีกว่าค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ค. 10, 08:54
ที่จริง   ผมไม่ได้ไปไหนหรอกครับ   เพียงแต่ช่วงนี้มีงานยุ่ง
จึงได้แต่เข้ามาอ่านบ้างเท่านั้น

กระทู้นี้  จะว่ายากก็ยาก   จะว่าง่ายก็ง่าย
วิธีการที่ง่ายสำหรับจะค้นคือ  ไปเข้าเว็บไซต์หอสมุดใหญ่ๆ แล้วค้นหาก็จะพบ :D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 27 ก.ค. 10, 09:17
หนังสืองานศพเป็นสิ่งตีพิมพ์ชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าควรแก่การเก็บสะสมเพื่อศึกษา
โดยเฉพาะหนังสืองานศพของบุคคลสำคัญ  ย่อมเป็นเอกสารที่ขาดเสียไม่ได้
ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติและผลงานของบุคคลนั้นๆ  

นอกจากนี้   เรื่องที่เจ้าภาพนำมาจัดพิมพ์เป็นหนังสืองานศพนั้น
ก็มีประโยชน์ในด้านต่างๆ แก่ผู้อ่านด้วย

ฉะนั้น  ผมจึงอยากขอความรู้จากทุกท่านที่สัญจรในเรือนไทยได้ช่วยกันบอกหน่อยว่า
ในงานพระบรมศพ พระศพ และศพของบุคคลดังต่อไปนี้  
พิมพ์หนังสืออะไรแจกเป็นที่ระลึกบ้าง  

๑๒.เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม)


ของเจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม) เข้าใจว่ามีหลายเล่ม แต่ที่มีเก็บไว้ เล่มเดียวนี้ครับ

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/04/K7807738/K7807738-62.jpg)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/04/K7807738/K7807738-65.jpg)

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/04/K7807738/K7807738-61.jpg)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ค. 10, 09:23
ดีครับ  คุณ CVT   เล่มนี้ผมก็มี  แต่สภาพไม่ดีเท่าของคุณ   
จำได้ว่า  ลูกหลานสุขุมได้เอามาพิมพ์เป็นหนังสืองานศพอีกครั้งด้วย ปกสีแดงๆ

งานศพเจ้าพระยายมราช  ยังมีหนังสือเล่มอื่นอีกครับ  อย่างน้อย ๒ เล่ม


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 27 ก.ค. 10, 09:35
ขอร่วมด้วยครับคุณหลวง.บังเอิญเพิ่งได้เล่มนี้มาครับ............



ลำดับที่๓.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาอานันทมหิดล  พระอัฐมรามาธิบดินทร




ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์พระราชทานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง
เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 27 ก.ค. 10, 16:13
หนังสืองานศพเจ้าพระยายมราชที่เคยเห็นอีกเล่ม  ปกสีดำมีรูกคนปั้นหม้อพร้อตัวหนังสือเป็นสีเงิน  ดูเหมือนเล่มนั้นจะเป็นอัตชีวะประวัติของท่านเจ้าคุณ  ที่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลภาภพฤฒิยากร เขยคนหนึ่งของท่านเจ้าคุณเป็นผู้เรียบเรียง

หนังสืองานศพเจ้าพระยารามราฆพ  เท่าที่จำได้  ทายาทของท่านพิมพ์เล่มหนึ่ง  ปกสีเทาๆดำๆ มีชีวะประวัติของท่านกับพระราชนิพนธ์เรื่อง  ขอมดำดิน 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ค. 10, 20:33
ลองดูสักเล่ม
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร คือโคลงทวาทศมาส (สำนวนพระเยาวราช ขุนพรหมมนตรี ขุนศรีกระวีราช ขุนสารประเสริฐ เกลากลอน พร้อมทั้งคำอธิบายและข้อวินิจฉัยของนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: yanang ที่ 27 ก.ค. 10, 21:25
เดี๋ยวขอกลับไปดูของที่มีอยู่ก่อนนะคะ ว่าเข้าข่ายลำดับใดบ้าง  ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: tony_hui ที่ 27 ก.ค. 10, 21:37
(http://www.tarad.com/_tarad/_templates/b/_modules/view_image2.php?shopurl=su-usedbook&picname=http://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_20050415124624_b.jpg)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: tony_hui ที่ 27 ก.ค. 10, 21:47
(http://www.tarad.com/_tarad/_templates/b/_modules/view_image2.php?shopurl=su-usedbook&picname=http://www.su-usedbook.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2010043052840_b.jpg)
(http://www.tarad.com/_tarad/_templates/b/_modules/view_image2.php?shopurl=su-usedbook&picname=http://www.su-usedbook.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2010043052855_b.jpg)
(http://www.tarad.com/_tarad/_templates/b/_modules/view_image2.php?shopurl=su-usedbook&picname=http://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2009031142059_b.jpg)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: tony_hui ที่ 27 ก.ค. 10, 21:50
(http://www.su-usedbook.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2006092763154_b.jpg)
ขอตอบเกินโจทย์นิดนะครับ
(http://www.su-usedbook.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_20060915210251_b.jpg)
(http://www.su-usedbook.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_20060914231745_b.jpg)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: tony_hui ที่ 27 ก.ค. 10, 21:55
(http://www.su-usedbook.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_20041031163748_b.JPG)
(http://www.tarad.com/_tarad/_templates/b/_modules/view_image2.php?shopurl=su-usedbook&picname=http://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_20070611221043_b.jpg)
(http://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2006120764009_b.jpg)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: tony_hui ที่ 27 ก.ค. 10, 21:58
(http://www.su-usedbook.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_20071212225343_b.jpg)
หนังสือที่ระลึก คุณหญิงมณี สิริวรสาร พ.ศ.2542 ปกอ่อน กระดาษอาร์ต ภายในประกอบด้วย ภาพส่วนพระองค์,ส่วนตัว ของคุณหญิงและครอบครัว และเรื่องราวที่ผ่านมา ดังคำที่ว่า "Life is Like a Dream"...
รอท่านอื่นมาต่อครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: tony_hui ที่ 27 ก.ค. 10, 22:02
อิอิ แถมอีกเล่มครับ
(http://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2009120424742_b.jpg)
(http://www.tarad.com/_tarad/_templates/b/_modules/view_image2.php?shopurl=su-usedbook&picname=http://su-usedbook.tarad.com/shop/s/su-usedbook/img-lib/spd_2009120433532_b.jpg)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ก.ค. 10, 22:05
๒๒.   มาลัย   ชูพินิจ

เป็นหนังสือกว้าง ๙ นิ้ว  สูง ๑๑ นิ้ว  ปกสีขาว  มีชื่อ  มาลัย  ชุพินิจอยู่ด้านล่างซ้าย

มีชื่อนักประพันธ์หลายสิบท่านเป็นตัวอักษรเล็กๆกระจายอยู่ทั่ว

ปกรองที่สองมีรูปคุณมาลัย  ๒๔๔๙ - ๒๕๐๖

มีข้อความว่า             แม้นไม่เหลือมาลัยในปถพี
                            ก็ยังมีมาลัยคล้องใจคน



ขออนุญาตเล่าสิ่งที่น่าอ่าน  เพราะคงจะหาอ่านยากสักหน่อย

มนัส จรรยงค์  เขียนเรื่อง "ชีวิตคืออะไร"

     คุณมาลัย  ชูพินิจ  เกิดที่จังหวัดกำแพงเพชร  บิดาเป็นพ่อค้าซุง  ภายหลังไปเป็นกำนัน

เรียนหนังสือที่สวนกุหลาบ  แต่ไปเรียนภาษาอังกฤษกลางคืนที่เทพศิรินทร์      ออกมาเป็นครูที่โรงเรียนวัดสระเกศ

แล้วไปเป็นทหารเสนารักษ์


     เมื่อโรงพิมพ์ประชามิตรโดนค้น  คุณมาลัยหายหน้าไปสองสามวัน เพื่อไปวิ่งเต้นช่วยเหลือคุณกุหลาบ  สายประดิษฐ์

เพราะเคยคุ้นเคบกับท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม  เป็นเพื่อนบ้านในแพร่งสรรพศาสตร์

มนัส จรรยงค์เล่าต่อไปว่า  ได้ไปเยี่ยมคุณกุหลาบ  ที่ ส.น. พระราชวัง  เห็นคุณกุหลาบกำลังร้องไห้อยู่       ไม่ใช่ร้องเพราะทนความลำบากตรากตรำไม่ไหว

หรือไม่อาจทนทานต่อความขมขื่นในที่คุมขังไม่ไหว             คุณกุหลาบร้องไห้เพราะคุณสมพล(เดี๋ยวนี้เป็นบรรณาธิการหมัดๆมวยๆ)ซึ่งทำงานในโรงพิมพ์

อุตส่าห์เอาลูกเงาะไปเยี่ยมด้วยความรักใคร่นับถือ  แต่ตำรวจไม่อนุญาตให้เอาเงาะเข้าไปในกรงขัง  เกรงจะมีของร้ายซุกซ่อนอยู่เป็นต้นว่าเอกสารหรือยาพิษ

     เมื่อผมไปถึงก็พูดกับคุณกุหลาบ  พูดได้ ๓ คำก็ถูกห้าม

"จะพูดกับผู้ต้องขังไม่ได้   ถ้าจะพูดก็ต้องพูดดังๆให้ตำรวจได้ยินด้วย"

ผมก็เลยพูดดังๆพอที่ทุคนในห้องโถงจะได้ยินด้วย

"คุณกุหลาบครับ  คุณมาลัยสั่งให้มาบอกว่าไม่ต้องตกใจ   คุณมาลัยไปพบกับท่านผู้หญิงละเอียดมาแล้ว    

ท่านรับปากว่าจะช่วย  แต่ขอให้ทนเอาอีกสองสามวัน ........."


เรื่องนี้อ่านแล้วสดชื่นมาก  เงาะสมัยนั้นก็ไม่ใช่ของแพง  คุณกุหลาบก็คงซึ้งน้ำใจคนในโรงพิมพ์   คุณมนัสก็ซึ้งน้ำใจคุณมาลัย

คุณมาลัยก็คงนึกขอบคุณท่านผู้หญิงที่รักษาความเสมอต้นเสมอปลาย      ตำรวจก็คงฟาดเงาะไป


ขอเรียนคุณหลวงเล็กที่นับถือว่า  ดิฉันไม่มีหนังสืออนุสรณ์มากนักค่ะ   มีของนักประพันธ์ไม่กี่ท่าน  สหายมาทิ้งไว้ให้ทั้งนั้น

และไม่ทราบเลยว่ามีกี่เล่ม   แต่ถ้าเป็นหนังสือหายากก็พอจะมีสมบัติอยู่บ้าง   จะวิ่งไปหาตามโกดังของเพื่อนฝูงก็คงไม่ลำบากอะไรนัก

ปัญหาอยู่ที่ว่า  ไม่มีที่เก็บแล้วค่ะ  ล้นบ้าน









กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ก.ค. 10, 23:42
๒๑.   หมอบรัดเล


เรียนคุณหลวงเล็กที่นับถือ

       ขออนุญาตเรียนว่าเราน่าจะช่วยกันให้ข้อมูลใหม่ ( ที่จริงเก่า) เรื่อง บรัดเลกัน  โดยมีอ้างอิงให้ครบถ้วน

หลังจากที่เราจะช่วยกันเล่าเรื่องมิชชันนารีอีกหลายคนที่เรารู้จักเพียงชื่อ  ไม่มีประวัติโดยสมบูรณ์   ไม่มีบันทึกการทำงาน

บรัดเลรักเมืองไทย   พูดถึงเจ้านายของเราด้วยความเคารพ    ช่วยเหลือคนไทยจากการเจ็บป่วยไว้มากมาย    หวังเมืองไทยเป็นเรือนตาย

เรื่องโอบาเรต์นั้นก็ยังไม่ชัด        เรื่องฟ้องร้องกันแล้วบรัดเลปิดโรงพิมพ์ก็เป็นเรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว  ไม่มีเรื่องโอบาเรต์บรัดเลก็

จะปิดโรงพิมพ์อยู่ดีเพราะขาดทุนมากมาหลายเดือน      ครูสมิทนั้น(ท่านสั่งว่าให้เรียกว่าครูเพราะท่านไม่ได้เป็นหมอ)นับถือบรัดเลมานาน  พูดถึงโดย

ความเคารพนับถือ           ท่านไม่ได้โกรธเคืองกันเหมือนที่ลอกต่อๆกันมาสักหน่อย เฮิ้ว(ขอประทานโทษ  หาวค่ะ)


เกิดเมื่อวันที่  ๑๘ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๓๔๗
ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓  มิถุนายน  พ.ศ.​๒๔๑๖


       หนังสือที่หายากที่สุดชุดหนึ่งในประเทศไทย  คือ สามก๊กครูสมิท(ดูได้จากคู่มือสามก๊กของสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ   และ งานของคุณลาวัณย์  โชตามะระ  เมื่อเล่าถึงบิดาเธอ)

ครูสมิทเขียนว่า

สามก๊ก

ตั้งแต่เล่ม ๙๕ จบ  ๗๓ สมุดไท

หนังสือพิมพ์สำหรับให้ไว้เปนสิ่งของแจกรฤก

ในงานพิธีบรรจุศพของหมอปรัดเลผู้ล่วงลับ

พิมพ์ขึ้น ๑๐๐ ฉบับ

บางกอก  สยาม

ที่โรงพิมพ์ครูสมิท

ณะ ตำบล บางคอแหลม

จุลศักราช ๑๒๓๕


หนังสือเล่มนี้  ผู้ครอบครองเล่าว่าตามหาอุตลุดตลุมบอน  เพราะมีการ "กั๊ก" ไว้  และขึ้นราคาสูงกว่าเล่มอื่นๆ

ไว้วันหน้าจะรวบรวมประวัติการพิมพ์มาเล่าใหม่นะคะ  


ท่านสมาชิกปัจจุบันในเรือนไทย ๔ ท่าน เคยเห็นรูปถ่ายหนังสือเล่มนี้มาแล้ว  ดิฉันขอประทานโทษ  ไม่มีรูปถ่ายค่ะ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ก.ค. 10, 23:59

ขอขอบคุณคุณโทนี่ฮุยที่แสดงพลัง

ดังนั้นจึงขอปักป้ายว่า   "เตรียมตัวไว้   คุณหลวงจะปลอมตัวไปปล้น"




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 ก.ค. 10, 00:08


สำหรับคุณ  Overhaul      http://www.archive.org/search.php?query=China%20Repository   เรื่องราวของกิสลับ

จากกลุ่มนักอ่านหนังสือเก่าด้วยไมตรี

อ่านแล้วก็ลงมาคุยกันนะคะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: overhaul ที่ 28 ก.ค. 10, 00:20
เห็นแล้วคันมือขอแสดงบ้างครับคุณหลวง


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: overhaul ที่ 28 ก.ค. 10, 00:35
สวัสดีครับคุณวันดี
ถ้าจำไม่ผิดสำนักพิมพ์white lotus เคย reprint แล้ว
ส่วนฉบับจริงเคยแต่ลูบๆ คลำๆ เพราะราคาไม่พอเพียง  ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 ก.ค. 10, 00:58
เยี่ยมเลยค่ะ  คุณ Overhaul  หนังสือที่นำมา



       ไปที่ลิ้งค์นะคะ  อ่านไปเลย  จะพบว่าอีตากิสลับนี่ต่อมาไปทำงานให้รัฐบาลอังกฤษ

ไปอ่านประวัติมา   เพื่อนร่วมสถาบันเล่าว่าแกเกิดเห็นพระฉายาเข้าเลยกลายเป็นมิชชันนารีไป

แกบ่นเมืองไทยไว้มาก   น่าแจกหมากแจกแว่นให้เหลือเกิน   อยากเห็นพจนานุกรมไทยที่เมียแกกับแกทำจัง

มีคำวิจารณ์ว่า  imperfect     ดิฉันอ่านสยามเรบพอสิทตอรีอยู่กลับไปกลับมา   สนุกมาก

ทราบเลยว่าตัวเองยังไม่รู้อะไรอีกเยอะ

     ตาแฮรี ปาร์ก  นินทากิสลับว่าพูดได้หลายภาษา  แต่ไม่ใช่ภาษาของผู้ดีมีการศึกษา    ตอนเด็กๆ ตา แฮรีต้องอ่านหนังสือให้กิสลับฟังทุกวันวันละชั่วโมง

กิสลับฝากแฮรีให้เป็นล่าม   แต่แฮรีก็สอบล่ามภาษาจีนได้เมื่ออายุยังไม่ ๑๖    ชีวิตต้องสู้สาหัสเลยค่ะแฮรี่ ปาร์ก   



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 ก.ค. 10, 01:08
หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ  พลเอก พลเรือเอก  เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ  พึ่งบุญ)

ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์  วัดเทพศิรินทราวาส

วันอังคารที่ ๒๖  ธันวาคม  พุทธศักราช ๒๕๑๐

เล่มสีเทาดำ  มีตราเทพทรงกระบองอยู่ซ้ายบนของปกหน้า

มีเรื่องขอมดำดิน


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 ก.ค. 10, 01:15
หนังสือรับพระราชทานเพลิงศพ    นายสด  กูมะโรหิต   ณ เมรุวัดธาตุทอง

วันอังคารที่ ๒๓  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๒๑

เล่มสีเขียว

มีภาพร่างคุณสดสีขาว  มีลายเซ็นคุณสดอยู่ล่างขวา


ส่วนหนึ่งของชีวิตจริงของท่านอยู่ในนวนิยาย "เมื่อหิมะละลาย"


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 28 ก.ค. 10, 06:32
หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ  พลเอก พลเรือเอก  เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ  พึ่งบุญ)

ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์  วัดเทพศิรินทราวาส

วันอังคารที่ ๒๖  ธันวาคม  พุทธศักราช ๒๕๑๐

เล่มสีเทาดำ  มีตราเทพทรงกระบองอยู่ซ้ายบนของปกหน้า

มีเรื่องขอมดำดิน


ขออนุญาตเรียนชี้แจงว่า ตราเทพทรงกระบองอยู่ซ้ายบนของปกหน้า  ที่ถูกเป็นดทพยดาเชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี  ที่เป็นเทพยดาเพราะท่านเจ้าคุณรามฯ เป็นพระราชวงศ์  และเป็นผู้เชิญพระแสงขรรค์ไชยศรีในงานพระราชพธีบรมราชาภิเษหเฉลิมพระราชมณเธียรรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๕๓  หรือเมื่อเกือบๆ ๑๐๐ ปีครับ  ตรานี้พระราชทานเป็นตราในผืนธงประจำตัวนายกองดสือป่าของท่านเจ้าคุณราม 

ภาพนายกุมภการที่ปกหน้าหนังสืองานศพเจ้าพระยายมราช  และภาพเทวดาเชิญมาลาที่ปกหน้าหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุดรทราธิบดี  ก็มาจากตราในผืนธงที่พระราชทานแก่เจ้าพระยายมราชและเจ้าพระยาพระเสด็จสเรนทราธิบดี (ม.ร.เปีย  มาลากุล)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 ก.ค. 10, 08:01

ขอบพระคุณค่ะ  ดูไม่ออก  ตาต่ำไปหน่อย  พระขรรค์เขียนไม่ชัดเลยค่ะ


       ว่าจะไปสัมภาษณ์ผู้เคยวิ่งเล่น treasure hunt   ในห้องรับแขกสักหน่อยว่าห้องสมุดมีอะไรบ้าง

คุณพี่ผู้นี้ปัจจุบันท่านอายุ ๘๐ กว่าแล้วค่ะ  เป็นหลานอาของคุณหญิงประจวบ   สมองยังเป็นเลิศ


       คุณพี่เล่าว่า ญาติ ๆ และตัวท่านได้รับบัตรเชิญให้ขึ้นไปที่ตัวตึกใหญ่ในตอนสายๆ   แล้วคุณอาบอกว่ามาเล่นหาสมบัติกัน

อยู่ในห้องนี้ล่ะนะ        เด็กๆก็หากันใหญ่ไม่เจอ   คิดออกเมื่อคุณอาท่านบอกว่า  อยู่ในที่ที่เปิดเผยไม่ลึกลับอะไร

ก็เลยไปกราบท่านให้ลุกจากเก้าอี้   มีสายสร้อยข้อมือประดับพลอยวางไว้ใต้เบาะ

       เล่นแบบฝรั่งเลย 

       


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 ก.ค. 10, 08:06
เรียน  ทุกท่านที่เมตตาเข้ามาตอบกระทู้นี้

ในฐานะที่เป็นผู้ตั้งกระทู้นี้   รู้สึกปลาบปลื้มปรีดาเป็นยิ่งนัก
เมื่อได้เข้ามาเห็นสมาชิกเรือนไทยหลายท่านได้เข้ามาแย่งกันตอบกระทู้

แต่แรกที่คิดจะตั้งกระทู้นี้   สหายท่านหนึ่งซึ่งชอบสะสมนวนิยายปี 2460-2470
ร้องเตือนว่า   บ้า  เดี๋ยวคุณก็ต้องตอบกระทู้เองหรอก   ถามยากขนาดนั้น

เห็นอย่างนี้แล้ว   ไม่รู้ว่าสหายท่านนั้นจะยังคิดอย่างนั้นอยู่หรือเปล่า
 ;)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 ก.ค. 10, 08:17
ขอร่วมด้วยครับคุณหลวง.บังเอิญเพิ่งได้เล่มนี้มาครับ............

ลำดับที่๓.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาอานันทมหิดล  พระอัฐมรามาธิบดินทร

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์พระราชทานในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง
เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

ขอบคุณ คุณศรีสยาม แต่ผมอยากรู้ต่อไปอีกว่า  
ทำไมจึงในหลวงทรงเลือกพิมพ์หนังสือพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรเล่มนี้

หนังสืองานศพ พระยาศรีวิสารวาจา  มีหลายเล่ม   เล่มปกสีทองๆ นี้ก็เล่มหนึ่ง



หนังสืองานศพเจ้าพระยารามราฆพ  ผมเคยเห็นอยู่ ๓ เล่ม คือ
หนังสือเรื่องขอมดำดิน ๑  บทละครเรื่องกลแตก ๑  และหนังสือประวัติของเจ้าคุณ ๑ เล่มหลังนี้พิมพ์โดยกองทัพเรือ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 28 ก.ค. 10, 08:22
       เมื่อเช้าเข้่านอนตีสี่กว่า  นั่งอ่านบทความของ "แสงทอง"  อยู่  พูดถึง "จิตรา"  และ บาทนขา

ดอนฟูโทรมาบอกว่าเดี๋ยวนี้หนังสือแพง   หนังสือแปลรุ่นนั้นที่พวกเราเก็บกันเล่มละ ๑๐๐ บาท

เดี๋ยวนี้ ๓๐๐๐ บาทแล้ว

      
        อื้อฮือ   มีอยู่เหมือนกันแต่ไม่มาก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 28 ก.ค. 10, 10:00
ขอบคุณ คุณศรีสยาม แต่ผมอยากรู้ต่อไปอีกว่า 
ทำไมจึงในหลวงทรงเลือกพิมพ์หนังสือพระประวัติสมเด็จพระนเรศวรเล่มนี้

ขอตอบคำถามนี้ด้วยคำนำของหนังสือ............

ภาพสุดท้ายเป็นปกหนังสือที่หลงอยู่ในหนังสือที่ได้มา


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 ก.ค. 10, 10:07
นี่แหละครับ  ที่ผมต้องการ  และหมายให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย   ขอบคุณคุณศรีสยามมากครับ ;)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 ก.ค. 10, 10:30
ระหว่างที่รอท่านอื่น  มาตอบต่อไป

ขอคั่นด้วยข้อมูลเรื่องหนังสือในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สักเล็กน้อย

แจ้งความ

      ด้วยในงานพระบรมศพสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น

๑  พระพิมลธรรม  วัดระฆังโฆสิตาราม  ได้พิมพ์หนังสือทุก์กนิบาตชาดก สามวรรค  ภาคต้น  ถวายในงานพระบรมศพ  จำนวน  ๘๐๐  เล่ม

๒  หม่อมเจ้าพร้อม  ในพระเจ้าบรมวงษ์เธอ  กรมหมื่นภูมินทรภักดี  ได้เรียบเรียงหนังสือปัยจกนิบาตชาดก  แลพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายในงานพระบรมศพ  จำนวน  ๒,๐๐๐  เล่ม

๓  หลวงดำรงธรรมสาร  (เจ้าของโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ  อยู่บางขุนพรหม) ได้พิมพ์หนังสือนวโกวาท  ทูลเกล้าฯ ถวายในงานพระบรมศพ  จำนวน  ๑๐,๐๐๐  เล่ม

๔  พระศิริไอสวรรย์  ได้พิมพ์หนังสือพระภิกษุปาฏิโมกข์อักษรขอม  ทูลเกล้าฯ ถวายในงานพระบรมศพ  จำนวน  ๕๐๐  เล่ม

๕  นายเล็ก   เจ้าของโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร  ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือต้นบัญญัติ  จำนวน  ๑,๐๐๐  เล่ม

๖  นายแห   เจ้าของโรงพิมพ์ไทย  ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือมหาวงษ์ เล่มหนึ่ง  จำนวน  ๕๐ เล่ม  กับได้พิมพ์ปฏิทินรายวันขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวาย ในงานพระบรมศพ  จำนวน  ๑๐๐  เล่ม

๗  พระจันทกันโต  เมืองนครเขื่อนขันธ์  ถวายหนังสือพระพุทธคุณ  ธรรมคุณ  สังฆคุณ  ทำวัตรเช้าค่ำ  พิมพ์อักษรรามัญ  จำนวน  ๑๐๐  เล่ม  และพระวินัยปิฎก  พิมพ์อักษรรามัญ  ๕  จบ  จำนวน  ๔๐  เล่ม

๘  ผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัน  ได้พิมพ์หนังสืออัสสัมชันดรุณศึกษา  ทูลเกล้าฯ ถวายในงานพระบรมศพ  จำนวน  ๒๐๐  เล่ม

๙  หมอยอช แมกฟาแลนด์  ได้เรียบเรียงตำราแพทย์แสดงด้วยกาฬโรค  พิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวายในงานพระบรมศพ  จำนวน  ๓,๐๐๐  เล่ม 

     ได้นำตัวอย่างหนังสือเหล่านี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแลกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว    มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ว่า    ทรงอนุโมทนาต่อการกุศลแลความจงรักภักดีของบรรดาผู้ที่ได้เรียบเรียงแลทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือในครั้งนี้   แลหนังสือนั้นจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งไปตามที่อันจะเกิดประโยชน์แก่การที่ได้รับหนังสือนั้นตามสมควรแก่เจตนาของผู้ที่ได้รับถวายทั่วกัน


แจ้งความมา ณ  วันที่   ๓   เมษายน   รัตนโกสินทรศก   ๑๓๐
ดำรงราชานุภาพ
พนักงานสังเคด

รกบ.เล่ม ๒๘  หน้า ๖๗-๖๙


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: overhaul ที่ 28 ก.ค. 10, 23:40
เอาล่ะครับเพิ่งเจอในตู้ (ลืมไปเลยว่ามี) 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: overhaul ที่ 28 ก.ค. 10, 23:52


     ตาแฮรี ปาร์ก  นินทากิสลับว่าพูดได้หลายภาษา  แต่ไม่ใช่ภาษาของผู้ดีมีการศึกษา    ตอนเด็กๆ ตา แฮรีต้องอ่านหนังสือให้กิสลับฟังทุกวันวันละชั่วโมง

กิสลับฝากแฮรีให้เป็นล่าม   แต่แฮรีก็สอบล่ามภาษาจีนได้เมื่ออายุยังไม่ ๑๖    ชีวิตต้องสู้สาหัสเลยค่ะแฮรี่ ปาร์ก   



คุณวันดีครับ พฤติกรรมของแฮรี ปาร์ก เด็ดๆ ต้องดูตอนเป็นข้าหลวงกวางตุ้งครับ
ส่วนนายกิสลับต้องอ่านเวอร์ชั่นที่แนะนำ เพราะเวอร์ชั่นที่หลายสิบปีก่อนมีผู้แปลไว้มักเกี่ยวกับกิจมิชชันนารี


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 29 ก.ค. 10, 00:41

ขอบคุณค่ะคุณ Overhaul

รู้จักแต่ครูสมิท  จากสยามไสมยค่ะที่คุณอ้วนพิมพ์ใหม่    แล้วค่อยๆอ่านบางกอกเรคอดเตอร์เล่มสีเทา

ยังหาหลักฐานที่ว่าครูสมิทโดนห้ามพิมพ์วรรณคดีไทยไม่ได้     ตามไปหลายที่แล้วค่ะ

เจออะไรที่ไม่ทราบอีกมาก

ตามรายชื่อหนังสือที่ครูสมิทพิมพ์ค่ะ   ของบรัดเลมีแต่พงศาวดารจีนไม่มีปกมีแต่เก้าอี้ตั้งอยู่ตัวหนึ่ง   และหนังสือกฎหมายไทเล่มแรกๆ

มีพงศาวดารจีนค่ะ   อ่านประหยัดดี  กลับมาอ่านได้เรื่อย ๆ   

ดีใจที่มีคนมาโพสมากมาย   เจ้าของกระทู้ปลื้ม   วัน ๆ ท่านก็ปัดฝุ่นเลื่อนตั้งหนังสือไปมา

กรุณาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเถอะค่ะ     พวกเราจะได้ขยายวงกันต่อไป   ผิดนักคุยกันเรื่องสามเกลอ หรือ ขุนช้างขุนแผนก็ยังไหว

ดิฉันยังไม่เข้าใจอีกมาก  ว่าตีเหล็กกันหลายครั้งเหล็กไม่เปราะฤา       ออกหลวงโจมจัตุรงค์คงไม่ยอมตีดาบหลายครั้งเป็นแน่


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 ก.ค. 10, 08:43
อ้า...ขอบคุณคุณฮอลที่กรุณาค้นกรุหนังสือเอามาแสดงกัน

หนังสืองานพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ยังมีเล่มอื่นอีก
แต่เล่มนี้ก็ดี   ผู้ศึกษาด้านศิลปะสนใจหากันนัก  
จำได้ว่ามีการนำมาพิมพ์ใหม่ครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีมาแล้ว

หนังสืองานศพของยาขอบ ผมเคยเห็นแต่ "ยาขอบอนุสรณ์" เล่มเดียว
เห็นว่าคนชอบหนังสืองานศพนักเขียนตามหากันมาก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 ก.ค. 10, 09:21
ในปี ๒๔๙๓  มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ ๘  และพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์หลายพระองค์  ณ พระเมรุท้องสนามหลวง 

ในการนี้   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมขุนชัยนาทนเรนทร  (ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาพระอิสริยยศเป็น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาชัยนาทนเรนทร)  ในครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์   ได้โปรดให้กรมศิลปากรรับภาระในการเลือกและการพิมพ์หนังสือสำหรับทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแจกในงานพระบรมศพและพระศพทุกงาน

โดยกรมศิลปากรได้เลือกพิมพ์หนังสือสำหรับงานพระบรมศพและพระศพดังต่อไปนี้

๑  งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล   (พระราชพิธีจัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม  -  ๔ เมษายน ๒๔๙๓ ) พิมพ์หนังสือ เรื่อง  พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 

๒  งานพระศพจอมพล  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์  กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  (พระราชพิธีจัดขึ้น  ระหว่างวันที่ ๑๐ -  ๑๗ เมษายน  ๒๔๙๓) พิมพ์หนังสือ เรื่อง  พระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า  และพระราชกระแสเรื่องจัดการทหารมณฑลกรุงเทพฯ  ในรัชกาลที่ ๕

๓  งานพระศพพลเอก  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  (พระราชพิธีจัดขึ้น  ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๒ เมษายน  ๒๔๙๓) พิมพ์หนังสือ เรื่อง พระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง  ซึ่งพระยาอนุมานราชธน (ยง  เสฐียรโกเศศ) เรียบเรียง

๔  งานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์  (พระราชพิธีจัดขึ้น  ระหว่างวันที่  ๒๓ - ๒๔ เมษายน  ๒๔๙๓) พิมพ์หนังสือ เรื่อง ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔  ภาคปกิณณกะ

๕  งานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย  (พระราชพิธีจัดขึ้น  ระหว่างวันที่  ๒๓ - ๒๔ เมษายน  ๒๔๙๓) พิมพ์หนังสือ เรื่อง  ตำราแบบธรรมเนียมในราชสำนักครั้งกรุงศรีอยุธยา  กับพระวิจารณ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 29 ก.ค. 10, 15:44
หนังสืองานพระศพของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี  ยังมีอีกเล่มหนึ่ง
ซึ่งในหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน  คือ

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่  ๕  ภาคที่ ๓    เป็นหนังสือที่หายากมาก  เข้าใจว่าพิมพ์ไม่มากนัก

ทุกวันนี้ หนังสือเล่มนี้ ยังไม่เคยมีการพิมพ์ซ้ำเลย   ถ้าใครมี  ฝากเอารูปมาลงให้ดูหน่อยนะครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ค. 10, 17:48
ตาลาย นับไม่ทัน
ตอนนี้คุณหลวงเล็กได้คำตอบมากี่ข้อแล้วคะ   เผื่อดิฉันจะไปหาคำตอบจากข้อที่เหลือมาให้บ้างสักข้อสองข้อ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 30 ก.ค. 10, 20:55
ผมมีหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิง หม่อมเจ้าหญิงพงศ์พิศมัย  เกษมสันต์ พระชนม์ 109 ปี เชื้อพระวงศ์ที่มีพระชันษายืนที่สุดในราชวงศ์จักรี ซึ่งถึงชีพิตักษัยเมื่อปลายปี 2551 ครับ...


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 30 ก.ค. 10, 22:17
ลองไปหาดูที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ชั้นใต้ดิน มุมหนังสือเก่านะครับ จะมีร้านขายเฉพาะหนังสืองานศพ ตั้งแต่สมัยก่อน จนถึงปัจจุบัน ผมมีหนังสืองานพระราชทานเพลิง พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน เกี่ยวกับประวัติกรุงศรีอยุธยา เล่ม 2 ซื้อจากรถขายของเก่าหลังโรงพยาบาลกลาง เล่มละ 10 บาท ไปตามหาเล่ม 1 ได้ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าวครับ เล่มละ 450 บาท  ลองหาดูนะครับ หรือมาหลังโรงพยาบาลกลางก็ได้ครับ ช่วงบ่ายวันเสาร์จะมี คนเอาหนังสือเก่าๆ มาเลหลังขายอยู่ครับ ราคาไม่ค่อยแพงเท่าในห้างครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: overhaul ที่ 30 ก.ค. 10, 23:16
เอาล่ะครับท่านสมาชิก ขอเปิดกรุ(ตู้ที่รกมานาน)ตอบสนองคุณหลวงและคอเดียวกันต่อ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 31 ก.ค. 10, 00:12
       ในฐานะภารโรงกระทู้นี้  มาต้อนรับมิตรสหายทั้งปวงค่ะ


โฮ!  คุณ overhaul        เจ๋ง   เข้าใจว่าผู้บริหารใหม่ของสำนักอรุณอัมรินทร์  มีหนังสือหายากระดับนี้อีก ๑ เล่ม


คุณ ritti081     รวบรวมสมบัติเรื่องหนังสืองานพระศพ  มาลงสักตั้งเถอะค่ะ   มีประโยชน์แน่นอน
ตั้งเรื่องใหม่เลยนะคะ   จะได้ไม่ปนกับกระทู้หนังสือเก่าหายากของคุณหลวงเล็ก     ท่านยังมีคำถามเตรียมไว้อีดอย่างน้อยสองรอบ


คุณ  natadol   คะ     ร้านแถวเซ็นทรัลยังอยู่หรือคะ  นึกว่าไปยูเนียน มอลกันหมดแล้ว
พวกเราก็เดินคลองถมกันแทบทุกคน   บางคนก็มีนายหน้า   บางคนไปนัดเจอสามล้อแดง   


กระแสแรงอยู่แถวร้านที่เจ้่าของชื่อเหมือนน้ำอัดลมชนิดหนึ่งค่ะ     ขอสงวนนามเพราะว่าจะแย่งกับเขาเหมือนกัน

ไว้งานหนังสือนัดเจอกัน  แล้วเดินเรียงเดี่ยว บุกทีละร้าน....          ให้คุณหลวงเล็กนำหน้า อิอิ

พลังนักอ่านค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ก.ค. 10, 08:21
เชิญคุณฤทธิ ตั้งกระทู้ใหม่นะคะ     
ถ้าจะรวมหนังสืองานพระศพ และงานศพ (คือของสามัญชน) ที่มีเนื้อหาน่าสนใจ   ดิฉันก็จะไปลุยตู้หนังสือเก่าที่ไม่ได้จัดมานานแล้ว     สแกนมาให้ดูเหมือนกันว่ามีอะไรบ้าง
ขอเอาเป็ดมาขันประชันบรรดาพญาไก่ในกระทู้นี้สักครั้ง

ดิฉันไม่ใช่นักสะสมหนังสือเก่า   แต่มีหนังสืองานศพอยู่จำนวนหนึ่ง เพราะหลายปีก่อน เขียนนิยายอิงประวัติศาสตร์ ทยอยกันมา ๔ เรื่อง ต้องพึ่งข้อมูลจากหนังสือเก่า     
ใช้วิธีเดินไปที่ร้านหนังสือเก่า  บอกว่าขอให้คุณช่วยรวบรวมหนังสือที่เกี่ยวกับ....แล้วบอกหัวข้อเขาไป   แล้วดิฉันจะกลับมาเอานะคะ   
พอไปซื้อของเสร็จเดินกลับมา  เขาก็รวบรวมไว้ให้เป็นตั้ง   เราก็เปิดดูว่ามีหัวข้อเรื่องอะไรบ้าง  พอจะเข้ากับเนื้อหาที่กำลังเขียนได้ไหม    แล้วเลือกมาตามนั้น    ไม่ได้ดูด้วยซ้ำไปว่าเป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพของใคร  เอาเนื้อหาเป็นหลัก
พอเขียนเสร็จก็เก็บหนังสือไว้ไม่ได้แตะต้องอีก   เห็นจะต้องปัดฝุ่นหยิบออกมาเสียทีละค่ะ   
เข้าใจว่าบรรดาจอมยุทธทั้งหลายในกระทู้นี้  น่าจะมีหนังสือพวกนี้กันหมดแล้ว   ก็คงไม่ใช่ของหายากกระไรนัก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: bert631 ที่ 01 ส.ค. 10, 22:58
ผมมีไฟล์(word)หนังสืองานศพ อยู่หลายสิบเล่ม
ก็อยากจะแบ่งกันอ่าน แต่ผมโพสไม่เป็น
ส่งเป็นแต่เมลืถ้าใครสนใจ ส่งเมล์มาแล้วกันครับ
จะถ้าไปแบ่งกันต่อ
ลองดูตัวอย่างเรื่องที่ผมมีครับ
ถ้าใครสนใจลองโพสเมล์มานะครับ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๗
เรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส
ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา
ตอนแผ่นดินพระเจ้าเสือแลแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ
ภาค ๔

 พิมพ์ในงารศพ
คุณหญิงผลากรนุรักษ  (สงวน เกาไศยนันท์)
เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙

พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ส.ค. 10, 00:35

       ขอต้อนรับคุณ bert631  ด้วยความยินดีค่ะ    มาเป็นเพื่อนกัน

พวกเรามีอะไรก็แบ่ง  แลกเปลี่ยนข้อมูล  หรือไปหาข้อมูลมาให้ค่ะเท่าที่คิดออกค่ะ


       คุณหลวงเล็กท่านเป็นคนโบราณ  ทักทายเพื่อน ๆ แบบ ทักสามคำค่ะ

คือ "สามสิบคำถามยากไปไหม"   และเนื่องจากท่านอยู่แผนกไทยโบราณท่านก็ไม่ฟังคำตอบของดิฉันที่อึก ๆ อัก ๆ ว่า  ยากจ้ะคุณลุง

ท่านถามต่อไปตามธรรมเนียมที่ได้อบรมมาว่า "นี่แน่ะ   ลองอีก ๕๐ คำถามนะ"     อ้าวคุณหลวงท่าน  ฟังพนักงานชาวที่อย่างอิฉันมั่งเถอะ

ท่านยิงคำถามสุดท้ายว่า  "แล้วจะส่งมาอีก ๑๐๐ คำถาม"          ว่าแล้วท่านก็เชิดเข้าฉากไป      สั่งดิฉันว่าเฝ้ากระทู้ไว้  มีอะไรให้เรือเร็วไปตามแผน

(ซึ่งน่าจะเป็นกาญจนบุรีกระมัง  เพราะขุนแผนอยู่แถวนั้น)


       เรียนคุณ Overhaul    ขออนุญาตตามกันกลางวงนะคะ

เพิ่งไปอ่านประวัติ เซอร์ ยอห์น บาวริ่งมา       โอโฮ   ท่านเป็นนักภาษาศาสตร์แท้จริงเลยนะคะ

เรียนจริง ๆ  ไม่กี่ภาษา   แต่ด้วยความสนใจพูดได้ ๖ ภาษา  อ่านออกอีกสองสามภาษา

ท่านได้อิทธิพลจากปู่ค่ะ  คือรักความยุติธรรมอย่างมาก   ท่านแปลกวีโบราณได้เป็นที่นิยมอย่างมาก

ได้พบปะเจอบุคคลสำคัญทั่วโลก    บิดาของท่านภูมิใจที่สุดคือลูกชายได้พบกับ เชอร์วอลเธอร์ สก้อต

ดิฉันอยากอ่านหนังสือที่ท่านเขียนจังเลย   นั่งหน้างออยู่นี่   อยากทราบค่ะว่าครั้งแรกที่ท่านมาสยามนั้น  ลูกทีมของท่านมีใครบ้าง

เพื่อน ๆ ไปขายหนังสือทั้งเสาร์ และ อาทิตย์ค่ะ   พรุ่งนี้จะไปที่รามคำแหงกัน


       ที่อุกอาจกล้าหาญมาแทรกข้อความไว้เพราะกลุ่มนักอ่านนั้นมีสมาชิกน้อย    ยังรวมพลังไม่ได้   และขออนุญาตคุณหลวงแล้วตอนท่านเผลอ
















กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: overhaul ที่ 02 ส.ค. 10, 01:40
 :D สวัสดีครับคุณวันดี (ณ กลางวงคนคอเดียวกัน)
หลายวันมานี้ผมตื่นเต้นอยู่หลายเรื่อง เช่น คุณหลวงเปิดกระทู้นี้ ,เจอหนังสือหลายเล่มที่ตามอยู่นาน (หลังจากออมทรัพย์ได้ แต่ไร้ดอกเบี้ย) ฯลฯ ทำให้การอ่านลดๆไปบ้าง
เรามาคุยเรื่องเซอร์จอห์น เบาริ่ง ดีกว่า ท่านมีทักษะทางภาษาดี ตอนมาสยามในหลวงรัชกาลที่ 4 ยังทรงพระราชทานดิกชันนารีให้เล่มหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นสัพะ พะจะนะ ฯ ทรงพระประสงค์ให้เข้าใจภาษาไทยบ้าง และเพื่อผลทางทัศนะ หลังจากกลับออกไปแล้วก็ไปสัมพันธไมตรีอีกหลายที่ แต่ก็ไม่ลืมแต่งหนังสือเรื่องเมืองไทยที่ไปพบไปเห็นมา คือเรื่อง THE KINGDOM AND PEOPLE OF SIAM 2เล่มชุด
ผมเข้าใจว่าอย่างนี้ สมัยนั้นในคณะทูตเกือบทุกคณะจะมีทีมงานอยู่2-4คน ทำหน้าที่ลับๆ เกี่ยวกับการสำรวจภูมิประเทศ วัดร่องน้ำ สังเกตพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ในประเทศที่ไปเยือน แล้วข้อมูลเหล่านี้ก็ส่งกลับไปที่กระทรวงต่างประเทศของตน และสมาคมทางวิชาการ เช่น สมาคมภูมิศาสตร์(ในอังกฤษเป็นที่ยอมรับกันมาก) พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งบ่อยครั้งที่องค์กรเหล่านี้ออกเงินทุนให้สำรวจ หรือสนับสนุนคณะทูตแล้วขอผลประโยชน์ต่อไป ตอนนี้ผมก็กำลังตามอ่านข้อมูลของหมอจอร์ช ฟินเลย์ซัน ที่มากับคลอเฟิดอยู่ เพราะเข้ามากับทูตอย่างลับๆ แล้วชอบปลีกวิเวกไปปากน้ำ ไปนอกกำแพง(นอกคลองรอบกรุง)บ่อยๆ แล้วพอกลับไปก็ไปเวียดนามต่อ ครั้นถึงengland ก็พิมพ์หนังสือเล่มหนา
คุยเรื่องผมซะเพลิน เอาเป็นว่าท่านเบาริ่งดูประวัติแล้วน่าจะสบาย แต่... ตอนถึงแก่กรรมไม่สบายแน่ คุณวันดีทราบมั้ย :)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: overhaul ที่ 02 ส.ค. 10, 02:01
ลืมตอบคุณวันดีครับ ลูกทีมทีมาสยามด้วยกัน เด่นๆก็มี
1.แฮรี่ ปาร์ก เป็นอุปทูต
2.จอห์น ซี. เบาริ่ง ลูกชายท่านเซอร์ฯ ปกติอยู่ฮ่องกง ชอบไปๆมาๆมาเก๊า เอ้หมึง เซียงไฮ้ เพราะเป็นพ่อค้าทั้งเอกชน และหลวง จนสามารถเซ็งลี้กับนายแฮรี่ ปาร์ก มาสยามในตำแหน่งตรีทูต
3.นักศึกษารัฐศาสตร์สองนาย(จำชื่อไม่ได้) อ้างว่ามาช่วยงานคณะทูต แต่นี่แหละทีมงานเก็บข้อมูลสยาม
4.กัปตัน ทหารบก และทหารเรือที่มากับเรือคณะทูตคือ เรือrattler กับgrecian จำนวนหนึ่ง
5.เจ้าหน้าที่คุมเครื่องบรรณาการ
6.ช่างengraving ทำงานทั้งเปิดเผย และประสานกับทีมเก็บข้อมูล
ฯลฯ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ส.ค. 10, 08:33
อิอิ...อ่านเพลินเลยค่ะ  คุณ overhaul

เบาริ่งตอนจวนจะเท่งทึงเป็นอย่างไรหรือคะ  ยังอ่านไปไม่ถึง

วันนี้จะตลุยอ่าน   ไปหยุดน้อยใจตอนฝรั่งเก็บหลักฐานดีเหลือเกิน  เรื่องของน้องเมียที่เป็นทหารเรือ  ปฎิบัติราชการดี

จนมีจดหมายชมเชยจากแม่ทัพเรือ  แล้วหนังสือชมเชยนี่เก็บไว้ในประวัติแม่ทัพเรือด้วย   อ่านมาถึงตอนนี้ก็ถอนใจเฮือก

การเก็บหลักฐานนี่คนไทยเราอ่อนด้อยไปหน่อย  แหะ ๆ   บางทีก็ไม่หน่อย  คือขาดพรืดไปเลย

กระทู้เรื่องหนังสืองานศพที่คุณหลวงเล็กตั้งขึ้นมีความสำคัญมาก   เรื่องนี้ดิฉันเห็นด้วยค่ะ  เพราะท่านถามเป็นชุดที่เชื่อมโยงกัน เป็นหนังสือหายาก

ใจหนึ่งก็ตุ๋ม ๆ ต้อม ๆ  เกรงจะเห็นรายชื่อชุดที่สอง    แบบกลัว ๆ  แต่ก็ยังอยากเห็น

ยอมรับแต่โดยดีเพราะไม่มีหนังสือค่ะ    


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ส.ค. 10, 09:00
ช่างวาดรุปนี่มีความสำคัญมากต่อทีมงาน

ก.ศ.ร. กุหลาบ   ออกชื่อไว้หลายคน  ล้วนอยู่ในคุกทั้งสิ้น(ค่าจ้างคงไม่สูง)      คนที่ลอกรูปใช้กระดาษแก้วลอก

แล้วเอาไปทำแบบพิมพ์

อ่านเรื่องทีมโบราณคดีในอียิปต์    นักวาดรูปถือเป็นสมาชิกคนสำคัญของทีม  เพราะเป็นการเก็บรายละเอียดที่นำมาพิจารณาทีหลัง

วันหน้าเรามาคุยกันเรื่องอียิปต์ไหมคะ    เมื่อ ๖ เดือนที่แล้ว มีการค้นพบ ปิรามิดคู่ที่เป็นของอาลักษณ์คนสำคัญและบุตรชาย

มีภาพฝาผนังที่สียังสดกระจ่าง


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 ส.ค. 10, 09:05
เปิดดูความคืบหน้ากระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพในเช้าวันทำงานแล้วตื่นเต้นดีใจ
ที่เจ้าเรือนก็ดี และสมาชิกเรือนไทยก็ดี  มาช่วยกันเพิ่มเติมความรู้กัน

ถ้ากระทู้นี้จะมีความดีความชอบบ้าง  ความดีประการหนึ่งนั้นคงได้แก่  
กระทู้นี้คงจะเป็นยากระตุ้นอย่างอ่อนๆ  ให้ท่านที่รักการอ่านและเก็บสะสมหนังสือทั้งเก่าและใหม่
ได้รื้อ รุ กรุหนังสือในความครอบครองของทุกท่านออกมาผึ่งอากาศ
และจะเป็นโอกาสอันดี  ที่ท่านจะได้กระชับพื้นที่และขอคืนพื้นที่สำหรับเก็บหนังสือเล่มอื่นๆ ต่อไป


มีเกลอรักนักอ่านหลายท่าน   เป็นผู้ชอบซื้อหนังสือ  เห็นราคาถูกและเล่มที่ต้องการเป็นต้องซื้อเก็บ
ด้วยเหตุผลว่า  ชิงซื้อไว้ก่อน  เวลาจะใช้  จะได้ไม่ต้องไปหาซื้อ   แต่พอซื้อมาแล้ว  ก็วางไว้เต็มกรุ
แต่ไม่เคยหยิบมาอ่านสักที  บางคนซื้อไว้มากจนตัวเองก็ไม่รู้ว่า  หนังสือเล่มนั้นมีแล้ว  พอไปเจอใหม่ก็ซื้ออีก
จนบางทีคนขายหนังสือต้องท้วงว่า  นี่ๆ  ลื้อเพิ่งซื้อเล่มนี้ไปเมื่อสองเดือนก่อนนะ  
คนซื้อบอกทันควันว่า  รู้แล้วๆ  แต่นี่อั๊วะต้องการเก็บไว้อีกเล่ม  เผื่อหาย  
นักอ่านที่ดีเขาต้องมีหนังสืออย่างละ ๒ เล่ม  หรือถ้าจะให้ดี  ต้องมี ๓ เล่ม
คนขายอยากได้เงินก็เลยขายให้แบบงงๆ   พลางคิดว่า  แล้วบ้านลื้อมันจะมีที่เก็บหนังสือหรือเนี่ย


สหายมือฉมังหนังสือแปลท่านหนึ่ง   บอกว่า   นี่คุณทำให้ฉันต้องรื้อจัดโกดังหนังสือครั้งใหญ่นะ  เหนื่อยชะมัด
ผมก็บอกเขาไปว่า   โถ  สหายเอ๋ย    ผมน่ะรื้อจัดห้องเก็บหนังสือทุกๆ ๒ เดือนนะ   จัดทุกครั้งกินเวลา  ๒ อาทิตย์
แถมเสียเวลาจัดรื้อหลายวัน  เพราะต้องทำงานไปด้วย  และเวลาจัดก็มักจะเสียเวลาอ่านหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ไปด้วย
(เอ๊ย  เล่มนี้ยังไม่ได้อ่าน   เล่มนั้นกำลังหาเมื่อเดือนก่อน  เพิ่งเจอ    อ้า เล่มตรงนั้นน่าสนใจ  เอามาอ่านอีกทีซิ)

ก็ถ้าอ่านกระทู้นี้แล้ว  เกิดความตั้งใจที่จะรื้อกรุหนังสือของท่าน  
ก็ให้ถือเสียว่า  ท่านกำลังจะได้สำรวจสมบัติอันมีค่าของท่านแล้ว
ก่อนที่มันจะกลายเป็นอาหารชั้นดีของปลวก หนอนหนังสือ และแมลงอื่นๆ   ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 09:37
ไปเปิดตู้ จามเสียห้าหกที กว่าจะหากรุหนังสือเก่าเจอ    เล่มนี้คุณหลวงเล็กคงมีแล้ว


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 ส.ค. 10, 09:54
ขอบคุณคุณเทาชมพูครับ  เล่มนี้  ผมมีเหมือนกันครับ
พระราชนิพนธ์พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ภาษาบาลี
ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๔
เป็นหนังสือหาอ่านยากอีกเล่ม
จำได้ว่า  มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ  เคยพิมพ์ซ้ำครั้งหนึ่ง 


หลายวันก่อน  ผมนั่งนึกอยู่ว่า  เคยเห็นประกาศรัชกาลที่ ๔
เรื่องสัญญาบัตรขุนนาง  ในหนังสือเล่มไหนหนอ  นึกเท่าไรก็นึกไม่ออก
ในประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ก็ไม่มี  ในพระบรมราชาธิบายรัชกาลที่ ๔ ก็ไม่มี
เพิ่งเจอเมื่อวันก่อน  ในหนังสืองานศพนางวิมานวัชรี 
เรื่องประชุมพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๔  (ที่ตกสำรวจ)


การค้นรื้อกรุหนังสือ  ควรมีผ้าปิดจมูกด้วยครับ  ไม่เช่นนั้นก็จามแย่ครับ :)
แนะนำด้วยความเป็นห่วงสุขภาพครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 ส.ค. 10, 10:10
คุณ overhaul กรุณาเอาหนังสือในกรุมาให้ชม ๒ เล่ม

เล่มแรก  พระธรรมเทศนาในการบำเพญกุศลถวายฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเดจพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ของประชาชนทั่วพระราชอาณาจักร  วันที่ ๑๒  พฤศจิกายน  ร,ศ, ๑๒๙  เล่มนี้หายาก   (แต่ผมมีเหมือนกัน)

เล่มสอง  ตำรากงเต๊ก แลตำรากบินของพระสงฆ์อานัมนิกาย พิมพ์ในโอกาสบำเพ็ญพระราชกุศพพระบรมศพรัชกาลที่ ๖ ครบศตมาหะ (หรือศตมวาร) (เล่มนี้ผมก็มี)  ขอให้สังเกตว่า  หุ้มแพร  พระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะศิริ) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร  ในครั้งนั้นได้พิมพ์หนังสือฉลองพระเดชพระคุณรัชกาลที่ ๖ หลายเล่ม   
ไม่ทราบว่า  คุณ overhaul พอจะมีหนังสืองานศพของพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะศิริ) หรือประวัติของท่านบ้างไหม ครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 ส.ค. 10, 10:34
ผมมีไฟล์(word)หนังสืองานศพ อยู่หลายสิบเล่ม
ก็อยากจะแบ่งกันอ่าน แต่ผมโพสไม่เป็น
ส่งเป็นแต่เมลืถ้าใครสนใจ ส่งเมล์มาแล้วกันครับ
จะถ้าไปแบ่งกันต่อ
ลองดูตัวอย่างเรื่องที่ผมมีครับ
ถ้าใครสนใจลองโพสเมล์มานะครับ

ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๗
เรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส
ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา
ตอนแผ่นดินพระเจ้าเสือแลแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ
ภาค ๔

 พิมพ์ในงารศพ
คุณหญิงผลากรนุรักษ  (สงวน เกาไศยนันท์)
เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙

พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร


หนังสือชุดประชุมพงศาวดารนี้เป็นหนังสืองานศพชุดสำคัญที่หายาก  โดยเฉพาะฉบับพิมพ์ครั้งแรก  ทราบว่า   ประชุมพงศาวดารฉบับพิมพ์ครั้งแรก ครบชุด ราคาขึ้นหลักแสนแล้ว  ผมมีเล็กน้อยๆ บางเล่ม  (แค่เล่มเดียว  ราคาก็หลายร้อย เป็นพันก็มี) 

นอกจากจะอ่านเนื้อเรื่องพงศาวดารในแต่ละเล่ม  (ทั้งหมด ๘๒ ภาค  ถ้าจำไม่ผิด) แล้ว  ที่น่าสนใจคือประวัติผู้วายชนม์  หาอ่านยาก   โชคดี  ที่เดี๋ยวนี้มีคนใจดีเอามาใส่ไว้วีกิซอร์ซ   พอหาอ่านกันได้ง่ายหน่อย   แต่รสชาติก็ไม่เท่าอ่านจากต้นฉบับแท้ๆ

ในชุดประชุมพงศาวดารเรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส รู้สึกจะแบ่งพิมพ์ออกเป็น ๕ - ๖ เล่ม เป็นการแปลเอกสารฝรั่งเศสที่หอพระสมุดวชิรญาณได้สั่งซื้อเข้ามาเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยเฉพาะเลย   ในชุดนี้  ผมมี ๓ เล่ม  ซึ่งเจ้าของเดิมเขาเย็บเข้าเป็น ๑ เล่มใหญ่ปกแข็ง  ไว้ว่างๆ จะเอารูปมาลงให้ดู


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 10:54
ไหนๆก็จามไปแล้ว  เอาหนังสือมาให้ดูอีกเล่ม
เรื่อง "ตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์" น่าจะพิมพ์หลายครั้ง หลายวาระ  หาไม่ยากสำหรับนักสะสม
ดิฉันซื้อเล่มนี้เพราะชอบว่าภาพประกอบยังชัดเจนดี  แม้ว่าปกคร่ำคร่า ต้องหยิบจับอย่างทะนุถนอม     
ข้างในมีภาพเจ้าพระยาบางท่านที่ไม่เคยเห็นที่อื่นเลย เช่นเจ้าพระยาพิชัยญาติ(ดั่น บุนนาค)ในวัยค่อนข้างหนุ่ม     เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต(แย้ม ณ นคร)   เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) ฯลฯ
ซื้อมาในยุคก่อนมีอินเทอร์เน็ต   ค้นข้อมูลต้องหาทางหนังสืออย่างเดียว   
แต่จะคว่ำหนังสือสแกนรูปให้ดู  ก็ยังใจไม่ถึง  ต้องหาทางก่อนค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ส.ค. 10, 13:22

หนังสือชุดหนึ่งราคาขึ้นหลักแสน   อิอิ

หนังสืองานศพบางชุด ราคาเกินครึ่งล้าน  ก็มี

เคยนั่งในที่เกิดเหตุที่แลกหนังสือสุดหายากยอดนิยม  เห็นการเปลี่ยนมือ(เขาไม่รู้จะไล่สาวน้อยได้อย่างไร เพราะไปก่อนแล้วนั่งเก้าอี้ด้านในสุด)

ผู้คนค่อยๆทยอยเข้ามาทีละคน   ทีละคน  จนเต็มห้อง   อาจารย์ญี่ปุ่นก็มา  มหาเศรษฐีเล่นรถเก่าก็มา    อาจารย์มหาวิทยาลัยที่แสนงอนก็มา

ดร.ที่แสนสุภาพก็มา ..........ขอหัวเราะหน่อย......

หนังสือระดับนี้ขายหน้างานค่ะ  คือคนที่ซื้อติดต่อลูกค้าทางโทรศัพท์ระหว่างรื้อกองหนังสือ  และจ่ายเงินสดทันทีครึ่งหนึ่งก่อน

ดิฉันตามไปดูของเหลือๆในกล่องพิเศษ   แหมเป็นบุญตัวจริง ๆ

ขายกันไปได้  แผ่นละสองพันบาท      ซื้อแล้วเก็บเข้าตู้หลุยส์  อ่านก็ไม่อ่าน...


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 ส.ค. 10, 14:07
หนังสือเรื่อง "ตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระสมมตอมรพันธ์ ทรงรวบรวมและทรงเรียบเรียง  เคยพิมพ์มาแล้วอย่างน้อย  ๕ ครั้ง

ครั้งแรก  เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) พิมพ์แจกเนื่องในโอกาสทำบุญอายุครบเท่าไร?  ๗๐ ปี?  จำไม่ได้  เมื่อปี ๒๔๖๑   ฉบับครั้งแรกนี้   จำได้จะไม่มีรูปภาพ พิมพ์ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ  ๑๗๙ หน้า

ครั้งที่ ๒ น่าจะเป็นฉบับที่คุณเทาชมพูนำมาแสดงนี้  เป็นฉบับปรับปรุงแก้ไข ใส่รูปภาพ และเพิ่มเนื้อหา โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ ให้เป็นปัจจุบัน (ในขณะนั้น)  เคยไปเจอที่ร้านหนังสือขาประจำ แต่หลุดเป็นแผ่นๆ  คนขายพยายามตื้อให้ซื้อให้ได้   แต่เห็นสภาพแล้ว   ซ่อมไม่ไหว  เลยไม่เอา  ฉบับนี้  มี ประมาณ  ๒๐๐ หน้า 

ครั้งที่ ๓  โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี พิมพ์เมื่อ ๒๕๑๒  แจกในงานศพหม่อมหลวงชูชาติ  กำภู   อันนี้เข้าใจว่า น่าจะมีการแก้ไขและเพิ่มเติมด้วย   มีประมาณ  ๑๖๐ หน้า  ฉบับนี้เห็นบ่อย

ครั้งที่ ๔  มีสำนักพิมพ์อะไรสำนักหนึ่งเอามาพิมพ์  ปกอ่อนสีน้ำเงิน 

ครั้งที่  ๕  คณะกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุ พระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พิมพ์เนื่องในโอกาสการพระราชพิธีสมมงคลเมื่อปี ๒๕๔๕  ปกแข็งสีน้ำเงิน แข็งแรงดี หนาประมาณ  ๔๐๐ หน้า    ปัจจุบันน่าจะราคา ๓๐๐ บาทเศษ  ถ้าแพงหน่อยก็น่าจะราวๆ ๕๐๐ บาท 
 :o


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 ส.ค. 10, 14:20
ตั้งแต่ตั้งกระทู้มา เราได้หนังสืองานศพบุคคลตามโจทย์แล้ว ดังนี้
(ที่ใส่ดอกจัน หมายถึง พบหนังสืองานศพแล้ว)

***๑.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

***๒.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

***๓.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาอานันทมหิดล  พระอัฐมรามาธิบดินทร

๔.สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

***๕.สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

***๖.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

***๗.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

๘.พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช

***๙.พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

๑๐.เจ้าจอมมารดาอ่อน  ในรัชกาลที่ ๕


***๑๑.เจ้าพระยารามราฆพ  (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)

***๑๒.เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม)

๑๓.เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)

๑๔.พระยามโนปกรณ์นิติธาดา  (ก้อน  หุตะสิงห์)

๑๕.พลตรี  หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช

***๑๖.พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

๑๗.พระยาปดิพัทธภูบาล  (คอยูเหล  ณ  ระนอง)

๑๘.พระยาสุริยานุวัตร (เกิด  บุนนาค)

***๑๙.ท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดี

***๒๐.ท่านผู้หญิงกลีบ  มหิธร


๒๑.หมอบรัดเล

***๒๒.นายมาลัย  ชูพินิจ

***๒๓.นายสด  กูรมะโรหิต

๒๔.พลโท  อัมพร   ศรีไชยันต์

๒๕.หม่อมสนิท  กฤดากร

๒๖.นายนราภิบาล  (ศิลป์  เทศะแพทย์)

๒๗.เสวกโท  หลวงมหาสิทธิโวหาร  (สอ  เสถบุตร)

๒๘.นายภาวาส  บุนนาค

***๒๙.ร้อยเอก  ขุนทวยหาญพิทักษ์  (เหล็ง  ศรีจันทร์)

***๓๐.คุณหญิงมณี สิริวรสาร


เหลืออีกไม่มาก   ถ้าใครมีภาพหนังสือที่ได้เอ่ยชื่อไปแล้ว แต่ยังไม่ภาพแสดงนำมาแสดงได้นะครับ   ไม่เกี่ยงสภาพ   

ถ้าใครมีหนังสืองานศพตามโจทย์ที่ต่างออกไปจากที่ได้แสดงและอ้างชื่อไปแล้ว  ก็เชิญนำเสนอได้นะครับ   ถือว่าเป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่านทั่วไป

ส่วนใครมีหนังสืองานศพที่แม้จะไม่ตรงตามโจทย์ข้างต้น  แต่ต้องการนำเสนอข้อมูล  ก็เชิญลงได้อีกเช่นกัน  เพื่อความคึกคักของกระทู้

อนึ่ง  ท่านที่จะมาเพิ่มเติมกระทู้ต่อไป  ถ้าหนังสืองานศพที่ท่านครอบครองนั้น มีข้อมูลอะไรที่สำคัญ  เช่น ปีที่พิมพ์ โอกาสที่พิมพ์  จำนวนหน้า  ข้อความสำคัญในคำนำ  เป็นต้น  อยากให้ช่วยลงเอาไว้ด้วย  เพื่อคนอ่านคนอื่นจะได้ใช้ประโยชน์ต่อไป


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 14:39
หนังสือเรื่อง "ตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์" ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระสมมตอมรพันธ์ ทรงรวบรวมและทรงเรียบเรียง  เคยพิมพ์มาแล้วอย่างน้อย  ๕ ครั้ง


ครั้งที่ ๒ น่าจะเป็นฉบับที่คุณเทาชมพูนำมาแสดงนี้  เป็นฉบับปรับปรุงแก้ไข ใส่รูปภาพ และเพิ่มเนื้อหา โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ ให้เป็นปัจจุบัน (ในขณะนั้น)  เคยไปเจอที่ร้านหนังสือขาประจำ แต่หลุดเป็นแผ่นๆ  คนขายพยายามตื้อให้ซื้อให้ได้   แต่เห็นสภาพแล้ว   ซ่อมไม่ไหว  เลยไม่เอา  ฉบับนี้  มี ประมาณ  ๒๐๐ หน้า 


เล่มที่มีอยู่ในมือ  พิมพ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๗๔  (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๑ ปี)   โดย มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยามุขมนตรี  (อวบ  เปาโรหิตย์) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านน้อย เปาโรหิตย์ ผู้มารดา    หนา ๑๙๙ หน้า

มีพระนิพนธ์คำนำของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เล่าถึงความเป็นมาของหนังสือ ที่กรมพระสมมติฯ ทรงรวบรวมขึ้นจากจดหมายเหตุ     เล่มนี้สมเด็จฯทรงมาปรับปรุงรายชื่อเจ้าพระยาที่ยังขาดอยู่ในการพิมพ์ครั้งแรก ให้สมบูรณ์

ส่วนประวัติท่านน้อย   เป็นธิดาหลวงจิตร์จำนงวาณิช(เส็ง  ตัณฑเสน)กับท่านฉ้าย   สมรสกับขุนศรีธรรมราช (สมบุญ เปาโรหิตย์) มีบุตรชายหญิงที่ยังมีชีวิตอยู่ในพ.ศ. ๒๔๗๔  คือคุณหญิงชุ่ม ภรรยาพระยาธรรมศาสตร์นาถประนัย (จุ้ย สุวรรณทัต)   เจ้าพระยามุขมนตรี  และหม่อมชุ่ม ดิศกุล ณ อยุธยา


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 ส.ค. 10, 14:46
ขอบคุณครับ   คุณเทาชมพู   ที่กรุณาเพิ่มเติมข้อมูล
เจ้าคุณมุขมนตรี  ท่านคงจะรักเคารพมารดามาก 
เลยพิมพ์หนังสืองานศพแจกในงานศพมารดาหลายเล่ม  ผมมีเล่มอื่น  แต่เดี๋ยวไปค้นที่บ้านก่อน

เจ้าคุณอวบ  ท่านเป็นคนที่หาหนังสือมาเข้าหอพระสมุดวชิรญาณมากคนหนึ่ง
ตอนงานศพของเจ้าคุณ   ทายาทของท่านพิมพ์หนังสือประชุมศิลาจารึกสุโขทัยแจก   เล่มใหญ่เสียด้วย
ท่านผู้อ่านคนใดมีโปรดเอื้อเฟื้อภาพด้วย


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ส.ค. 10, 15:18

อาจจะมีคน "ช่วยงาน" กระมังคะคุณหลวง

รายการเหล่านี้  ดิฉันจะพิมพ์แล้วไปแปะไว้ที่หน้าบ้านและหน้าร้านพี่เต่า    พี่เต่ามีโกดังเก็บหนังสืออนุสรณ์อยู่หลังบ้าน

มีอยู่น่าจะสองหมื่นกว่าเล่มกระมัง   ใครก็อยากเห็น  แต่พี่เต่ายังไม่เปิดโกดังเลย  นี่ก็หลายปีแล้วนะเต่านะ

สมัยหนึ่งเต่าได้หนังสือวัดเกาะมาเป็นรถ            ดิฉันก็ไปขนมาบ้าง  เผลอไปเล่าไว้ในพันทิป  แต่ไม่ได้เอ่ยชื่อหรือสถานที่ตั้งเลย

อิอิ  พูดแล้วขำ

คนไปหาถึงบ้าน  ขอซื้อหนังสือ  เต่าบอกว่าผมไม่ขายหนังสือที่บ้านขอรับ

อาจารย์มหาวิทยาลัยมีมือเก๋าพาไปที่ร้าน       ตาเต่ายังไม่ได้ลงหนังสือเลย    ฮ่ะ ๆๆ

ตาเต่า(ชื่อเรียกในหมู่นักกิจกรรม)สรรเสริญดิฉันอยุ่หลายวัน     นี่เขาเรียกว่าไม่เห็นน้ำตัดกระบอก(หรืออะไรทำนองนั้น)

บ้านคุณหลวงคงมีหนังสือมหาศาล      อ่า...ระวังบ้านเอียงนะคะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 ส.ค. 10, 15:33
เป็นไปได้คุณวันดี  เพราะเจ้าคุณมุขมนตรีเป็นคนกว้างขวาง
มีเครือข่ายสังคมมาก   (อาจจะรวมไปถึงสามล้อแดงที่วิ่งแถวคลองถมด้วย)
เมื่อท่านทำงานศพมารดาจึงมีผู้มาช่วยงานกันมาก
เล่าอย่างนี้  ทำให้นึกถึงสมัยอยุธยา  ออกญาพระกระลาโหมจัดงานศพมารดา
มีขุนนางมาช่วยงานมืดฟ้ามัวดิน   จากนั้น  ออกญาก็คงมั่นใจในขุมกำลัง
เลยจัดการ... (เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป) 


ผมมีหนังสือไม่มากหรอกครับ  ที่มีก็ไม่เด็ดดวงเท่าไร   
แต่มีพอที่คุยกับสหายบางคนทุกคืนได้ 
แถมสหายคนนั้นยังบ่นอีกว่า   หาหนังสือมาคุยด้วยไม่ทัน

ฝากบอกคุณเต่าด้วยนะครับ   ถ้าวาสนาต้องกัน  คงได้ไปเยี่ยมที่ท้องพระคลังนั้นบ้าง

 ;)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 15:41
มีอีกเล่มที่ค่อนข้างใหม่ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑  นี้เอง เลยหยิบจับได้อย่างมั่นใจ ไม่ต้องระมัดระวังทุกอิริยาบถ
หน้าปกเป็นกระดาษมันสีขาว มีตราสกุลเพ็ญกุล  และชื่อผู้ล่วงลับเป็นตัวทอง  แต่ชื่อหนังสืออยู่ปกใน
รอยป้ายเหมือนพู่กันป้าย  ไม่ใช่ตำหนิหนังสือ  ดิฉันป้ายทับชื่อและที่ทำงานของตัวเองด้วยโปรแกรมเพ้นท์ค่ะ

เป็นหนังสือพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ภาคที่ ๕    และเรื่อง ชานพระศรี  ของ เจ้าพระยมหินทรศักดิธำรง(เพ็ง เพ็ญกุล)  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.อ.หลวงอำนาจณรงค์ราญ (ไพฑูรย์ เพ็ญกุล) บุตรชายของท่าน

หนังสือนี้ใช้ประโยชน์ได้มากหน่อย  เคยเก็บความไปเขียนบทความให้เรือนไทยมาแล้วค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 02 ส.ค. 10, 15:56
อ้างถึง
มีอีกเล่มที่ค่อนข้างใหม่ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑  นี้เอง

ตกใจครับ   คุณเทาบอกว่า  หนังสือค่อนข้างใหม่  พิมพ์เมื่อ ๒๔๓๑ 
ถ้าเป็นนักสะสมหนังสือ  เห็นข้อความนี้   
ต้องเข้าใจว่า  คุณเทาต้องมีหนังสือสมัย ร.๓ - ร.๔ แน่ๆ

เล่มนี้ดีมากครับ  น่าอ่าน  ไม่รู้คุณวันดีมีหรือเปล่า
จะได้ถามว่าประโยคสำคัญในหนังสือเล่มนี้ซะหน่อย



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ส.ค. 10, 16:10
ขอโทษที ผิดไป ๑๐๐ ปีเองค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 02 ส.ค. 10, 16:19

ไม่มีค่ะคุณหลวง  น่าเสียดายนัก



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: overhaul ที่ 03 ส.ค. 10, 00:42
เล่มต่อไปนี้อุบไว้นานแล้ว แต่มันคันมือครับ ไม่เอามาแสดงก็เห็นอยู่แค่คนเดียว :D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 08:26
ทราบแล้วช่วยขยาย

การค้นพบครั้งสำคัญสำหรับวงการหนังสือ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/08/K4607692/K4607692.html

ก่อนหน้านี้หนังสืองานศพที่เก่าที่สุดที่พบในขณะนี้คือ หนังสืองานพระศพของ "พระนางเรือล่ม" พิมพ์ขึ้นในปี 2423(จุลศักราช 1242) เป็นหนังสือแจกในงานพระเมรุพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ เนื้อหาเป็น หนังสือรวมบทสวดมนต์ พระสูตร และพระปริตรต่างๆ พิมพ์จำนวน 10,000 เล่ม เพื่อพระราชทานพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร


แต่นี่คือหนังสือที่เพิ่งถูกค้นพบครับ

หนังสือแจกงานพระเมรุ รัชกาลที่ 4 ปี 2411(จุลศักราช 1230) โรงพิมพ์ครูสมิท เรืองพระอะไภยมะณี (เขียนสมัยเก่า) พิมพ์จำนวน เพียง 120 เล่ม พิมพ์ก่อนหนังสืองานพระศพของ "พระนางเรือล่ม"ถึง 12 ปี

จึงขอบันทึกไว้ ณ ที่นี้เพื่อเป็นหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าในภายหน้าครับ

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/08/K4607692/K4607692-0.jpg)

จากคุณ : boranbook  - [ 9 ส.ค. 49 09:45:13 ]


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 03 ส.ค. 10, 09:26
ท่านที่มีปัญหา.........ทำใจไม่ได้ในการสแกนหนังสือที่เก่า-จนกรอบ...............ขอแนะนำให้ใส่หนังสือในปกรายงานใสหรือแฟ้มพลาสติคใสก่อน............ค่อยนำวางบนสแกนเนอร์


จะแนะให้คว่ำสแกนเนอร์ทับหนังสือก็เกรงใจ...เพราะยังไม่เคยลอง



รู้แต่ว่าใครก็ตามที่รักหนังสือเก่า...ย่อมทนเห็นชิ้นส่วนหลุดร่วงไม่ได้....
เห็นทีไรใจมันจะขาดรอนรอน ;D ;) ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 ส.ค. 10, 09:38
        หนังสือพระอภัยมณีชุดนี้   เป็นชุดปกสวย  คือการทำปกเกิดขึ้นภายหลัง  มี ๖ เล่มเรียงกัน



       ครูสมิทไม่ใช่คนทำปก         เข้าใจว่าเจ้าของโรงพิมพ์ที่เป็นผู้เก็บชุดปกสวยทั้งหมดเป็นคนทำปก

เพราะการทำปกนั้นราคาสูงกว่าราคาหนังสือหลายสิบเท่า      คนออกแบบปกตามคำอธิบายและมีหลักฐานคือ  "จีนจู" ซึ่งเกิดในประเทศไทย

เรื่องราวของจีนจูนั้น  นักอ่านทราบและเห็นหลักฐาน  แต่อาการทรัพย์จางได้ควบคุมสถานการ์ณไว้

โรคนี้  วงการนักสะสมและนักอ่านเรียกกันว่า "ซางจั๊บ"    แต่ดิฉันไม่นิยมใช้คำผวน  ถือว่าไม่สุภาพ  จึงไม่ใช้  รับฟังได้ไม่ตื่นเต้นตกใจ  แต่ตนเองไม่ใช้


       จีนจูได้ทำปกหนังสือวงศ์ตระกูลของตนอย่างสุดสวยงาม  เล่มสีน้ำเงินเข้มมันปลาบ  มีเส้นขอบแข็งขวางปกเป็นระยะ  มีรูปถ่ายชาวจีนสูงอายุและภรรยาอยู่บนปก


       คนที่ปล่อยหนังสือชุดพระอภัยมณีนี้ได้กำไรไปประมาณ  ๖ เท่าครึ่ง

วงการนักอ่านตื่นเต้นพอควรเพราะมีข่าวมาว่ามีความต้องการพระอภัยมณีรวมเล่มเล่มสามกับเล่มสี่

เพื่อตรวจสอบพระอภัยมณีตอนมังคลาแตกทัพ     ในเวลานั้นคุณเต่ามีอยู่และยกให้สหายนิสัยดีคนหนึ่งไป

การตรวจสอบและติดตามเป็นไปอย่างอุตลุดตลุมบอน    ดร. ที่เปิดร้านอยู่ใกล้ร้่านป้าจินดาในซอยโรงปูนเป็นผู้ทราบประวัติความเป็นมาของพระอภัยมณีเล่มสามกับเล่มสี่

อธิบายได้ว่าใครพิมพ์ก่อนหลัง    ถือเป็นแหล่งข่าวที่แม่นยำและใจกว้างไม่หวงข้อมูล

วงการนักสะสมสั่นสะท้านเพราะอยากได้กันไปปล่อยต่อ  อิอิ เพื่อกำไร


       เมื่ออ่านลิ้งค์ที่คุณเพ็ญชมพูให้  ก็จะทราบเรื่องตามสมควร


       ไม่ทราบว่าคุณ overhaul  ที่นับถือ  ได้อ่าน โพส ทูเดย์  ฉบับวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๙,  วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๙  และ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๐  

สามฉบับที่ลงเรื่องหนังสือปกสวยหรือไม่



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 09:59
ท่านที่มีปัญหา.........ทำใจไม่ได้ในการสแกนหนังสือที่เก่า-จนกรอบ...............ขอแนะนำให้ใส่หนังสือในปกรายงานใสหรือแฟ้มพลาสติคใสก่อน............ค่อยนำวางบนสแกนเนอร์


ปัญหาเป็นอย่างนี้ค่ะ  คืออยากสแกนรูปเจ้าพระยาทั้งหลายมาให้ดู  แต่ไม่อาจคว่ำหนังสือได้   กลัวกระดาษหลุดจากสันปกค่ะ
ถ้าวางหน้าเดียวลงบนสแกนเนอร์    ใกล้ๆขอบซ้ายของรูปก็จะหายไป


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 10:21
ไม่ทราบว่าคุณ overhaul  ที่นับถือ  ได้อ่าน โพส ทูเดย์  ฉบับวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๙,  วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๙  และ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๐  

สามฉบับที่ลงเรื่องหนังสือปกสวยหรือไม่

บทความ หนังสือปกสวยและหายาก ในposttoday
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5026747/K5026747.html

โพสต์ ทูเดย์ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๐ 

(http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5026747/K5026747-4.jpg)




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 ส.ค. 10, 10:38
เรื่องนี้ เคยได้ทราบจากนักข่าวสายชานกรุงว่า
เมื่อบทความนี้ตีพิมพ์  นักเลงหนังสือเก่าตามล่าหัวคนเขียนกันแทบพลิกแผ่นดิน

ส่วนคนเขียนตัวจริง  ได้แต่หัวเราะงอหายอยู่บนคฤหาสน์ขนาด  ๔ ไร่เศษ
ที่สามารถทำให้วงการหนังสือเก่าวุ่นวายเป็นจุลาจลไปทั้งเมือง

สายข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อยังบอกอีกว่า   รออีกหน่อย 
คนเขียนคนเดิมจะปล่อยของอีก   
ผมได้ฟังก็นึกอนุโมทนาแก่คนเขียนบทความนั้นจริงๆ ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 10:58
http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K5026747/K5026747.html#7

ความคิดเห็นที่ 7   

ได้ข่าวว่า ยักษ์ใหญ่ในวงการตามหาตัว เบิ้ม บางพลีกันแล้ว
เด็กมันช่างพูดช่างรายงานซะด้วย
อิอิ

จากคุณ : แสนอักษร  - [ 8 ม.ค. 50 20:50:49 ]

 ;D ;D




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 ส.ค. 10, 11:22

     ขอบพระคุณ คุณเพ็ญชมพู  ผู้ยิ่งใหญ่ในหัวใจของวันดี   และ คุณหลวงเล็กผู้เป็นระเบียบในการอ้างอิงข้อมูล


       ไม่อยากรบกวนเนื้อที่ในกระทู้หนังสืองานศพ   เกินไป

กำลังค้นเรื่อง ซีจำปุก อยู่      พยายามจะหาข้อมูลของการเข้ามาในสยาม  ได้ไม่มาก

เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้ว    ก็จะมีโอกาสได้พบกับท่านผู้อาวุโสผู้ถือหนังสือในดวงใจของ คุณเพ็ญชมพู  คุณหลวงเล็ก และนักอ่านจำนวนมาก

กว่าจะได้เห็นหนังสือสักเล่มหนึ่ง   ก็ต้องทำตัวให้สมกับความไว้วางใจของผู้ใหญ่


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 03 ส.ค. 10, 11:52
เห็นกระทู้คึกคักแต่เช้า   เนื่องด้วยหนังสือพระอภัยมณีที่คุณฮอลเอามาลง
คิดว่าประเด็นหนังสือพระอภัยมณีดังกล่าว  คงจะมีเท่านี้


สมาชิกท่านใดมีหนังสืองานศพเล่มอื่นมาเสนอ  เชิญได้นะครับ


อ้อ  อย่าลืมโจทย์ข้อที่เหลือด้วยนะครับ :)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 03 ส.ค. 10, 14:20


ปัญหาเป็นอย่างนี้ค่ะ  คืออยากสแกนรูปเจ้าพระยาทั้งหลายมาให้ดู  แต่ไม่อาจคว่ำหนังสือได้   กลัวกระดาษหลุดจากสันปกค่ะ
ถ้าวางหน้าเดียวลงบนสแกนเนอร์    ใกล้ๆขอบซ้ายของรูปก็จะหายไป
[/quote]


คงต้องใช้วิธีที่ปลอดภัยที่สุดละครับ

ก็อปปี้ด้วยกล้องถ่ายรูป....แล้วปรับแต่งคอนทราสเพิ่มเติม
ยอมเสียคุณภาพบ้างดีกว่าเสียหนังสือครับ

 :)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 14:37
ขอโชว์อีกเล่มหนึ่งค่ะ  เล่มนี้ใหม่ (คราวนี้ตรวจทานพ.ศ. 5 หน )
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. วิจิตรโฉม กิติยากร  เมื่อวันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2534
ข้างในรวมรวมบทความปาฐกถาที่อ่านไม่เจอในที่อื่น คือ
-บรมราชาภิเษก  
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
-ธรรมเนียมใส่โกศมาจากไหน    
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
-"สยาม" หมายความว่ากระไร
ม.ร.ว.สุมนชาติ  สวัสดิกุล
-สยาม
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
-โกศ
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระ(ยา) นริศรานุวัดติวงศ์
-วิจารณ์เห่ช้าลูกหลวง
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(ป.ล.ในหนังสือพิมพ์อย่างนี้ค่ะ)
-คติความเชื่อเกี่ยวกับเรือนไทยสมัยเก่า
พระยาอนุมานราชธน

ม.ร.ว.วิจิตรโฉม กิติยากร เป็นธิดาของม.จ.สฤษดิเดช และหม่อมเนื่อง ชยางกูร   สมรสกับม.จ.ขจรจบกิตติคุณ  กิติยากร   มีบุตรธิดาคือ
๑ ม.ร.ว.เกียรติคุณ   (สมรสครั้งแรกกับอาภัสรา หงสกุล)
๒  ม.ร.ว. สฤษดิคุณ
๓  ม.ร.ว. (ท่านผู้หญิง)สุจิตคุณ  สมรสกับคุณอาสา สารสิน

ขอบอกว่าตอนสาวๆ คุณหญิงวิจิตรโฉมท่านงามสมชื่อจริงๆ      ท่านเป็นศิษย์เก่าร.ร.เซนต์โยเซฟ และไปศึกษาต่อที่ปีนัง

ป.ล. ขอบคุณค่ะคุณศรีสยาม  ดิฉันถ่ายรูปเอาดีกว่า ปลอดภัยกว่าสแกนจริงด้วย


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 03 ส.ค. 10, 16:35
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงพงษ์พิศมัย  เกษมสันต์ ครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ron199x ที่ 03 ส.ค. 10, 16:42
ขอโชว์อีกเล่มหนึ่งค่ะ  เล่มนี้ใหม่ (คราวนี้ตรวจทานพ.ศ. 5 หน )
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. วิจิตรโฉม กิติยากร  เมื่อวันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2534
ข้างในรวมรวมบทความปาฐกถาที่อ่านไม่เจอในที่อื่น คือ
-บรมราชาภิเษก  
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
-ธรรมเนียมใส่โกศมาจากไหน    
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
-"สยาม" หมายความว่ากระไร
ม.ร.ว.สุมนชาติ  สวัสดิกุล
-สยาม
พระนิพนธ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
-โกศ
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระ(ยา) นริศรานุวัดติวงศ์
-วิจารณ์เห่ช้าลูกหลวง
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
(ป.ล.ในหนังสือพิมพ์อย่างนี้ค่ะ)
-คติความเชื่อเกี่ยวกับเรือนไทยสมัยเก่า
พระยาอนุมานราชธน

ม.ร.ว.วิจิตรโฉม กิติยากร เป็นธิดาของม.จ.สฤษดิเดช และหม่อมเนื่อง ชยางกูร   สมรสกับม.จ.ขจรจบกิตติคุณ  กิติยากร   มีบุตรธิดาคือ
๑ ม.ร.ว.เกียรติคุณ   (สมรสครั้งแรกกับอาภัสรา หงสกุล)
๒  ม.ร.ว. สฤษดิคุณ
๓  ม.ร.ว. (ท่านผู้หญิง)สุจิตคุณ  สมรสกับคุณอาสา สารสิน

ขอบอกว่าตอนสาวๆ คุณหญิงวิจิตรโฉมท่านงามสมชื่อจริงๆ      ท่านเป็นศิษย์เก่าร.ร.เซนต์โยเซฟ และไปศึกษาต่อที่ปีนัง

ป.ล. ขอบคุณค่ะคุณศรีสยาม  ดิฉันถ่ายรูปเอาดีกว่า ปลอดภัยกว่าสแกนจริงด้วย

(http://img442.imageshack.us/img442/6599/40170907.jpg)

ผมลองไปปรับภาพให้ชัดขึ้นดูครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 ส.ค. 10, 16:52
ขอบคุณมากค่ะ เห็นภาพชัดขึ้นจริงๆ
ตอนนี้ยังไม่คุ้นกับ ACDSee เวอร์ชั่นใหม่ในเครื่อง  เลยยังปรับแสงไม่ถูก  เห็
นจะต้องไปลอง faststone ที่คุณม้าแนะนำมา เผื่อจะง่ายขึ้น


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ส.ค. 10, 08:59

๑๐.เจ้าจอมมารดาอ่อน  ในรัชกาลที่ ๕
งานศพเจ้าจอมมารดาอ่อน  พิมพ์หนังสือตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
และจำได้ว่าเคยเห็นว่ามีหนังสือที่พิมพ์แจกเล่มอื่นอีกเล่มด้วย   แต่ผมจำชื่อไม่ได้
(ดูรูปหนังสือด้านล่าง  ขออภัยที่ไม่มีปก  ที่เห็นเป็นปกใน)

๑๓.เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)
งานศพเจ้าคุณภาสกรวงศ์   พิมพ์หนังสือ คำกลอนของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)
ผมไม่มีฉบับตอนงานศพเจ้าคุณ  แต่มีฉบับที่เอามาพิมพ์ใหม่ในงานศพเจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ ๕
ในเล่มได้ระบุไว้ว่า  หนังสือคำกลอนของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค) พิมพ์ครั้งแรก  พ.ศ. ๒๔๖๕
ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)

และพิมพ์ครั้งที่ ๒  ๑,๐๐๐ เล่ม  ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมพิศว์ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔
ในหนังสืองานศพเล่มนี้  มีที่น่าสนใจนอกจากบทประพันธ์ของเจ้าคุณภาสกรวงศ์  และประวัติเจ้าจอมพิศว์
คือ คำไว้อาลัยของบุคคลต่างๆ  ที่เด็ดสุดก็คือ  คำไว้อาลัยของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร  ที่เล่าเรื่องต้มขาหมูแฮมทำให้ล่มจม 
เรื่องนี้  คุณวันดีคงเล่าได้โดยไม่ต้องเปิดเอกสาร ;D









กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ส.ค. 10, 09:15
คุณ overhaul กรุณาเอาหนังสือในกรุมาให้ชม ๒ เล่ม
........
เล่มสอง  ตำรากงเต๊ก แลตำรากฐินของพระสงฆ์อานัมนิกาย พิมพ์ในโอกาสบำเพ็ญพระราชกุศพพระบรมศพรัชกาลที่ ๖ ครบศตมาหะ (หรือศตมวาร) (เล่มนี้ผมก็มี)  ขอให้สังเกตว่า  หุ้มแพร  พระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะศิริ) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร  ในครั้งนั้นได้พิมพ์หนังสือฉลองพระเดชพระคุณรัชกาลที่ ๖ หลายเล่ม  
ไม่ทราบว่า  คุณ overhaul พอจะมีหนังสืองานศพของพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะศิริ) หรือประวัติของท่านบ้างไหม ครับ

ไปค้นหนังสืองานศพที่กรุส่วนตัว    ได้หนังสืองานศพพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะสิริ) มา

มีประวัติของพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะสิริ)เล่าไว้  ดังนี้

พระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะสิริ)
เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ เดือนยี่ ปีจอ จ.ศ. ๑๒๓๖  (๑ ก.พ. ๒๔๑๗)
ที่บ้านตำบลวัดทองนพคุณ  จังหวัดธนบุรี
เป็นบุตรนายซุ่นเฮง  กับนางลี้
คุณพระกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่เป็นทารก  คือ  พออายุได้ ๔ เดือน  บิดาถึงแก่กรรม
จากนั้นอีก ๑๐ เดือนต่อมา  มารดาถึงแก่กรรม  
คุณยายปิ่น  จึงแย้มปิ่น จึงได้เอาไปเลี้ยงดูจนโต

เมื่อคุณพระโตพอที่จะเรียนหนังสือ  ได้ไปเข้าเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส
ในสมัยที่ขุนอนุกิจวิธูร (น้อย  จุลวิธูร) เป็นอาจารย์ใหญ่
และได้เรียนหนังสือจีนจนพออ่านออกเขียนได้
จากนั้น  คุณพระก็ออกมาช่วยคุณยายค้าขาย   โดยหัดทำการค้าขายร่วมกับน้าชาย (ลูกชายคุณยายปิ่น)
ครั้นอายุครบบวช คุณพระได้อุปสมบทที่วัดจักรวรรดิราชาวาส  นาน ๑ พรรษา
เมื่อลาสิกขาแล้ว  ก็ได้แต่งงานกับนางสาวหยิน  จุลวิธูร






กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ส.ค. 10, 09:30
นางสาวหยิน  จุลวิธูร  มีโรงพิมพ์ตั้งอยู่ที่ตำบลถนนตรีเพ็ชร  
เมื่อนายเล็ก   สมิตะสิริ  ได้มาแต่งงานอยู่กินด้วยกันแล้ว
ก็ได้เข้ามาทำอาชีพการพิมพ์หนังสือร่วมกัน  และขยายกิจการใหญ่โตมากขึ้น
จนต้องย้ายไปตั้งโรงพิมพ์ใหม่ที่ตำบลวัดเกาะ  อำเภอสัมพันธวงศ์
จากนั้นก็ได้ย้ายโรงพิมพ์มาอยู่ที่ตึกแถวถนนเจริญกรุง  ข้างวังบูรพาภิรมย์ เมื่อ ๒๔๔๓  และได้ขนานนามโรงพิมพ์ว่า  "โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร"

(ถ้าไปเจอหนังสือที่พิมพ์โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรก่อน ๒๔๔๓ ขึ้นไป  อย่าเพิ่งนึกว่าปลอม  อาจจะเป็นหนังสือที่เข้าปกใส่ชื่อโรงพิมพ์ทีหลังก็ได้)

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๙  ได้ย้ายโรงพิมพ์มาตั้งที่ถนนราชบพิธ  กิจการก็เจริญมาโดยลำดับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 ส.ค. 10, 09:37
       ขาหมูแฮม  ที่มาถึงเมืองไทย และมีขายตามร้านใหญ่ ๆ ในกรุงเทพสมัยนั้น   เป็นขาหลังทั้งขาของหมูใหญ่

หมักเกลือและดินประสิว(เพื่อให้เนื้อแดง)    ทาไขมันเพื่อรักษาเนื้อ    ห่อกระดาษสีขาว   แล้วห่อด้วยอะไรอีกก็ไม่ทราบชัด

ใส่ถุงผ้าดิบ  หุ้มแกลบ          มีรสเค็มจัด   ต้องมากำจัดความเค็มด้วยประการต่างๆ


     ท่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรวงศ์   มีฝีมือทำกับข้าวขนมชั้นเลิศ  เพราะ เจ้าคุณภาสท่านกินเก่ง  และต้องเลี้ยงฝรั่งมังค่าเสมอ

จึงพลิกผันดัดแปลงอาหารได้      ธิดาก็คงเข้าใจงานครัวและหยิบจับรวมทั้งสั่งการได้แคล่วคล่อง    คนที่ไม่เคยเห็นแล้วจะสั่งบ่าวทำอะไรนั้น

ไม่ตลอดรอดฝั่งไปได้         บ่าวและคนในครัวถ้าไม่เคยทำก็อีกนั่นแหละ   เกะกะขัดขวาง และ เสียของ
  
     เจ้าจอมพิศว์เป็นลูกมือพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในเรื่องการต้มแฮมให้หายเค็ม       เจ้านายไปเยี่ยมท่านก็ได้เสวยเพราะเจ้าจอมท่านป็น

ผู้ที่ร่าเริง  คุยกับเด็กๆกว่าได้สนุกสนาน        และท่านก็มีเครื่องปรุงคือสุราหวานหลายประเภท     ท่านก็เอ่ยว่าทำทีล่มจมนั่นแล  เพราะต้องต้มขาหมูชิ้นใหญ่

ด้วยสุราหลายขวด  ตามเวลาอันเหมาะสม    

     หมูแฮมนั้นมีการทำโดยกุ้กจีน  และแหม่มทั้งหลายอยู่บ้าง     หม่อมศรีพรหมาได้เขียนตำราไว้น่าอ่านมากเป็นศิลปอันประเสริฐ

สงสัยอยู่เหมือนกันในขั้นตอนที่นำหมูแฮมไปฝังดิน         ผู้ใหญ่(ที่จริงแก่มาก)ที่ทำกับข้าวให้ทูตขรตรีเศียรกินก็ยืนยันว่า  ใช้วิธีฝังดินไว้เหมือนกัน



     กุ้กจีนนั้นก็สืบเชื้อสายกุ้กมาจากเมืองจีนโดยประมาณ   ทำแฮมก็เป็นแฮมยูนนานไป  เนื้อแข็ง กลิ่นพิเศษคือตุ ๆ    มานึ่งกับอาหารอย่างอื่นหรือผัดผักก็อร่อยเหาะ

ที่จริงคงเหาะไม่ได้เพราะคุณหญิงวาด(รู้จักนับญาติได้ เพราะอยู่กลุ่มสามเกลอ)คงเฆี่ยนด้วยไม้ก้านธูปเป็นแน่


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ส.ค. 10, 09:48
นายเล็ก  สมิตะสิริ  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  
ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร  
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว
นายเล็กฯ ก็ได้รับราชการ  ในหน้าที่ผู้พิมพ์หนังสือพระราชนิพนธ์ต่างๆ ของพระองค์

ปี ๒๔๖๒  นายเล็กได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็น ขุนโสภณอักษรกิจ  มียศมหาดเล็กเป็น รองหุ้มแพร
ปี ๒๔๖๓  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  หลวง  ในราชทินนามเดิม
ปี ๒๔๖๖  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  พระ  ในราชทินนามเดิม  
ปี ๒๔๖๗  ได้รับพระราชทานยศมหาดเล็กเลื่อนชั้นเป็น  หุ้มแพร
ในสมัยรัชกาลที่ ๗  ปี ๒๔๖๙  ได้รับพระราชทานยศเป็น  รองเสวกเอก  
ย้ายมาสังกัดกระทรวงวัง  (เดิมอยู่ในสังกัดกรมมหาดเล็ก)
และได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก


นอกจากนี้  ในสมัยรัชกาลที่ ๖ คุณพระได้รับพระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม และเสมาทองคำลงยาด้วย
กับได้รับพระราชทานนามสกุลว่า  สมิตะสิริ

พระโสภณอักษรกิจ  ได้ดำเนินกิจการโรงพิมพ์มาอย่างดี
เป็นที่ยกย่องกันว่า ในเวลานั้น  เป็นที่ทราบทั่วไปว่า
กระบวนฝีมือการพิมพ์หนังสือ  ไม่มีโรงพิมพ์ไหนจะทำได้
ประณีตดีเกินกว่าโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรของคุณพระโสภณฯ
ถ้าจะมีเสมอกันอีกโรงพิมพ์หนึ่ง ก็คือโรงพิมพ์ไทยของขุนโสภิตอักษรการ  
ทั้งสองแห่งนี้นับได้ว่าฝีมือการพิมพ์เป็นเยี่ยมในกาลนั้น
เจ้าของโรงพิมพ์ทั้งสอง  จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เข้าคู่กันดังกล่าว

(อ้าว  คุณวันดีเอาเกร็ดเรื่องขาหมูแฮมมาเสนอแล้ว)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ส.ค. 10, 10:02
คุณพระโสภณอักษรกิจ  แห่งโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
มีบุตรธิดากับนางโสภณอักษรกิจ  (หยิน  สมิตะสิริ) รวม ๗ คน
เป็น หญิง ๔ คน และชาย ๓ คน  นอกจากนี้ยังมีบุตรกับภรรยาอื่นอีก ๑๖ คน

ปี ๒๔๙๐ คุณพระป่วยด้วยโรคอุจจาระพิการ มีอาการไข้
พอรักษาอาการทุเลา  โรคเบาหวานที่ประจำตัวอยู่ก็กำเริบ
ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น  ประกอบด้วยคุณพระอายุมากถึง ๗๓ ปีแล้ว
ร่างกายคุณพระจึงได้ทรุดและทรงมาโดยตลอด 

๑๑ มีนาคม  ๒๔๙๑  คุณพระโสภณอักษรกิจ  (เล็ก  สมิตะสิริ) ถึงแก่กรรม 

ส่วนกิจการของโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร  ได้ดำเนินต่อมาอีกระยะเวลาหนึ่ง
แล้วก็ยุติกิจการไป   คงเหลือแต่ชื่อโรงพิมพ์ให้นักสะสมหนังสือเก่ารู้จักกันเท่านั้น


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 ส.ค. 10, 10:07
       โสภณพิพรรฒธนากร  นั้นพิมพ์หนังสือฝีมือดี    เจ้านายโปรดปรานไว้วางพระทัย เพราะทำทันพระประสงค์

เจ้านายนั้นเมื่อต้องพระประสงค์อันใด    ข้าราชบริพารก็รีบรุดปฎิบัติงาน         งานอื่น ๆ ก็ยกลงจากแท่นพิมพ์ไปก่อน


สมัยวิ่งเก็บพงศาสดารจีนนั้นเมื่อ "สาย"  ติดต่อมา  ก็จะเก้กถามไปว่าฉบับไหน       ที่จริงก็มีแต่โสภณพิพรรฒธนากรเท่านั้น

ถามไปทำไมก็ไม่ทราบ       ตัวพิมพ์สะอาดตา    มีกรอบลายดอกไม้  ตัวพิมพ์สลับสีแดงงามตา    รูปก็ชัด


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 04 ส.ค. 10, 10:24


       นักสะสมหนังสือนั้น  สนใจประวัติโรงพิมพ์กันมาก     ไต่ถามกันไปมา  แต่ต้องอ้างแหล่งข้อมูลให้แม่น ๆ

จะมามั่วว่ารู้เรื่องเองนั้น   ไม่เป็นที่นิยม       บางทีก็จะไม่ต้องรับผิดถ้าข้อมูลเกิดผิดพลาดทางรายละเอียด

รู้ข้อมูลเรื่องใด  มาจากใคร  ที่ไหน  เมื่อใด    ต้องแจ้ง  และให้การประเมินแหล่งข่าวด้วย


       นักหาหนังสือนั้นถ้าออกถามรายละเอียดของหนังสือ  ว่าพิมพ์ครั้งแรกที่ไหน  ปีอะไร   แสดงว่าถือหนังสืออยู่ในมือแล้ว

ขออภัยค่ะคุณหลวงที่ถลาเข้าซอยไปหน่อย


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ส.ค. 10, 11:09
เรื่องโรงพิมพ์  คงเป็นข้อมูลที่นักเล่นแสวงหากันมาก

แต่ก็แปลกที่ไม่ค่อยมีใครเขียนอย่างละเอียดๆ 
จะหาข้อมูลกันที  ก็ต้องควานจากหนังสืองานศพนี่แหละ

หลังโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรเลิกกิจการไป
โรงพิมพ์พระจันทร์ก็ขึ้นมาพอแทนๆ กันอยู่
เพราะได้พิมพ์หนังสืองานศพหลายเล่ม
ซึ่งยุคนั้นหนังสืองานศพเป็นหนังสือปกขาว
ผิดกับสมัยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรที่เป็นปกกระดาษสี
แถมตัวหนังสือก็เปลี่ยนไป

ถ้าคุยเรื่องนี้โดยเฉพาะ  เห็นทีต้องตั้งกระทู้ใหม่
แต่ตอนนี้ไม่มีข้อมูล   คงต้องวานคุณวันดีไปตามนักสะสมหนังสือเก่ามือฉมัง
มาเข้าเรือนเพื่อสอนวิทยายุทธให้เสียแล้ว ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ส.ค. 10, 13:24
มาดูหนังสืองานศพเล่มอื่นบ้าง

เล่มนี้  ดูหน้าปกไม่น่าสนใจอะไร  และไม่บ่งบอกเนื้อเรื่องภายในเล่ม
อย่างนี้  นักอ่านหนังสืองานศพต้องเปิดอ่านเท่านั้น   ยอมเสียเวลาเปิดอ่าน
มิฉะนั้นจะพลาดหนังสือดีไป  (เพราะความขี้เกียจเปิดอ่านนี่แหละ)

เล่มนี้เป็นหนังสืองานศพพระยาราชเสนา  (สิริ  เทพหัสดิน  ณ อยุธยา)
เจ้าคุณราชเสนานับเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งมวล
บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไม  ผมจะปล่อยให้ท่านสงสัยไปก่อน ยังไม่เฉลย

หนังสืองานศพเล่มนี้  มีบทความน่าสนใจที่เป็นผลงานของเจ้าคุณราชเสนาหลายเรื่อง
ซึ่งเจ้าคุณเคยส่งไปลงพิมพ์ในวารสารศิลปากร  ได้แก่

บทความ เรื่อง ปราสาทหินสร้างด้วยอะไร ลงในศิลปากร ปี ๓ ฉบับ ๖ มีนาคม ๒๕๐๓

บทความ เรื่อง ข้าวสารดำ และ งิ้วดำ  ลงในศิลปากร ปี ๔ ฉบับ ๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓

บทความ เรื่อง ความรู้เก่า  ลงในศิลปากร ปี ๔  ฉบับ ๔ - ๕ - ๖   ๒๔๙๓ - ๒๔๙๔
ตอนที่ ๑ ตลับเก็บตัวผึ้งประหลาด  (มหัศจรรย์มาก)
ตอนที่ ๒ ผีโขมด 
ตอนที่ ๓ ผีโป่งค่าง

บทความ เรื่อง ปลาบึกและประเพณีการจับปลาชนิดนี้  ลงในศิลปากร ปี ๒ ฉบับ ๑ ๒๔๙๑

บทความเรื่อง ชีวิตของชาวโพนช้างอาชีพ  ลงในศิลปากร  ปี ๒ ฉบับ ๕  ๒๔๙๒
เรื่องนี้น่าอ่านมาก  สำหรับคนที่ชอบเรื่องช้าง  เพราะท่านให้รายละเอียดเกี่ยวกับการจับช้าง
ภาษาเฉพาะของชาวโพนช้าง  และอุปกรณ์ที่ให้ในการจับช้าง 
มีบางส่วนหาอ่านไม่ได้จากหนังสือเล่มอื่น



งานค้นคว้ารวบรวมของเจ้าคุณ เรื่อง พจนานุกรมฉบับเพิ่มเติม  ที่เจ้าคุณได้เก็บและอธิบายคำ
ที่พจนานุกรม ๒๔๙๓ อธิบายไม่ละเอียด  ไม่ชัดเจน  หรือไม่ได้เก็บคำอธิบายบางอย่าง 
และเก็บกับอธิบายคำบางคำที่ไม่มีในพจนานุกรมฉบับนั้นด้วย



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ส.ค. 10, 13:36
เล่มต่อมา  เป็นหนังสืองานศพคุณแม่น้อม  สงขลานครินทร์  (น้อม  ตะละภัฏ)
ซึ่งเป็นภรรยาของหลวงสงขลานครินทร์ (หลี  ตะละภัฏ)
(พระพี่เลี้ยงและเจ้ากรมของสมเด็จพระบรมราชชนก)

ดูแค่ปกก็ไม่เห็นว่า  มีอะไรน่าสนใจ 
ต้องเปิดอ่านดู  จึงได้รู้ว่า  เจ้าภาพได้พิมพ์ตำราแม่ครัวหัวป่าก์
ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรวงศ์  ไว้ในเล่มด้วย
ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ ดีเด็ดอย่างไร   
ท่านผู้เป็นคอหนังสือเก่าคงทราบดี  แม้ว่าจะมีการพิมพ์หลายครั้ง
แต่ก็ยังมีคนต้องการอยู่มาก   


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 04 ส.ค. 10, 14:35
รบกวน คุณหลวงเล็ก เล่าประัวติคร่าวๆของ คุณแม่น้อม  สงขลานครินทร์ หน่อยได้มั้ยครับ...


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 04 ส.ค. 10, 15:34
ไม่มีปัญหาครับ   โปรดตั้งหู เอ๊ย ตั้งใจฟังครับ

คุณน้อม  สงขลานครินทร์  เกิดในราชสกุลเทพหัสดิน ณ อยุธยา 
บิดาชื่อ หม่อมหลวงเนตร   มารดาชื่อ นางทองย้อย
หม่อมหลวงเนตร เป็นบุตรคนที่ ๒๑ ของ หม่อมราชวงศ์ช้าง
(พระยาราชภักดีศรีรัตนราชสมบัติบดีอไภยพิริยพาหุ)
หม่อมราชวงศ์ช้าง เป็นบุตรในหม่อมเจ้าฉิม
หม่อมเจ้าฉิมเป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์

หม่อมราชวงศ์ช้างได้ถวายตัวรับราชการในสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ
ครั้นสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎได้เสด็จเสวยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ ๔
หม่อมราชวงศ์ช้างจึงได้เป็นข้าหลวงเดิม  และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น
พระยาราชภักดีฯ จางวางกรมพระคลังมหาสมบัติ

นางน้อม เกิดที่ตำบลถนนวรจักร  พระนคร เมื่อวันที่ ๓ พ.ย. ๒๔๓๑
เมื่อเยาว์  ตายายพานางน้อมไปอยู่กับเจ้าจอมหม่อมหลวงถนอม ในรัชกาลที่ ๕
ที่ในพระบรมมหาราชวัง  โดยได้เรียนรู้วิถีชีวิตในวังหลวงหลายปี
เป็นที่คุ้นเคยของเจ้านายทั่วไป  ต่อมาได้ไปเรียนที่โรงเรียนวังหลัง

นางน้อม แต่งงานกับหลวงสงขลานครินทร์  (หลี ตะละภัฏ)  ซึ่งก่อนหน้านั้น
เจ้ากรมหลีได้เป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมาร  ครั้นสมเด็จพระบรมฯ พระองค์นั้นสิ้นพระชนม์  จึงได้
รับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช 
และเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช  ได้ทรงกรมเป็นกรมขุนสงขลานครินทร์
ท่านหลีก็ได้เป็นเจ้ากรมในเจ้านายพระองค์นั้น

เจ้ากรมหลีเดิมมีภรรยาอยู่ก่อนแล้ว  ต่อมาภรรยาเดิมถึงแก่กรรม
ท่านหลีเป็นหม้ายอยุ่นาน ๘ปี  กว่าจะได้แต่งงานใหม่กับนางน้อม
นางน้อมมีบุตรธิดากับเจ้ากรมหลี ๖ คน

เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกสิ้นพระชนม์  เจ้ากรมหลีได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
จากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเลี้ยงดูเรื่อยมา   พอเจ้ากรมหลีถึงแก่กรรม
นางน้อมก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณต่อมาตลอดจนรัชกาลปัจจุบัน

นางน้อมเป็นสุขภาพดี  มีจิตใจใฝ่ในกุศลมาก 
นางน้อมถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน  ๒๕๓๓
อายุได้ ๑๐๑ ปี ๕ เดือน ๑๕ วัน


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 08:36
๘.พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช

หนังสืองานพระศพพระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช
เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๔๙๗ 
พิมพ์เรื่องราชาธิราช  ซึ่งเหมาะแก่พระศพเจ้านายพระองค์นี้
เพราะราชสกุลกฤดากรเกี่ยวข้องกับสกุลคชเสนีซึ่งเป็นเชื้อสายชาวมอญ

เรื่องราชาธิราชนั้นพิมพ์หลายครั้ง  หาอ่านไม่ยาก
แต่รายละเอียดพระประวัติพระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช
ในหนังสือเล่มนี้  หาอ่านจากหนังสืออื่นได้ยาก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 08:51
พระประวัติพลเอก พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช
(อย่างสังเขป)

ประสูติ เมื่อ วันอังคาร แรมสิบห้าค่ำ เดือนสี่ ปีฉลู จ,ศ, ๑๒๓๙
ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน ๒๔๒๑

เป็นพระโอรสพระองค์ที่ ๒ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์
และหม่อมสุภาพ กฤดากร

ปี ๒๔๒๖  เสด็จตามพระบิดาออกไปที่ประเทศอังกฤษ  
เนื่องด้วยพระบิดาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้อัครราชทูตสยามประจำกรุงลอนดอน

ปี ๒๔๒๙ เสด็จกลับมาเมืองไทย  ทรงศึกษาหนังสือกับครูมอแรนต์
ซึ่งได้จ้างมาสอนหนังสือเป็นครูพิเศษ  และภายหลังครูมอแรนต์ผู้นี้
ได้เป็นผู้ถวายพระอักษรสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

ปี ๒๔๓๑  เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ

ปี ๒๔๓๒  ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนประถมวอร์เร็นฮิล เมืองอีสเบอร์น

ปี ๒๔๓๖  ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนแฮร์โรว์

๑๒  สิงหาคม  ๒๔๓๙  ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารปืนใหญ่กับช่างของประเทศอังกฤษ

ปี ๒๔๔๑  ทรงสำเร็จวิชาจากโรงเรียนนายร้อยทหารปืนใหญ่  
แล้วเสด็จไปทรงศึกษาการทำอาวุธของบริษัทอาร์มสตรอง  
ที่โรงงานอาวุธ เมืองนิวคาเซล

๘  มีนาคม  ๒๔๔๑  ได้รับพระราชทานยศนายทหารบกสยาม เป็น นายร้อยตรี

๖  สิงหาคม  ๒๔๔๒  เสด็จไปทรงศึกษาวิชาที่กรมทหารช่างของอังกฤษ  
ณ เมืองแซตท่ำ  เป็นเวลานาน ๑ ปี

ปี ๒๔๔๓ เสด็จกลับเมืองไทย



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 09:06
ในช่วงที่พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดชเสด็จกลับเมืองไทยนั้น  
เป็นเวลาที่จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช  
ทรงดำเนินการปรับปรุงและจัดระเบียบทหารบกให้เป็นอย่างอารยประเทศพอดี
พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดชจึงได้ทรงร่วมช่วยเหลือเสด็จในกรมพระองค์นั้น
ในการจัดการครั้งนั้นด้วย

๑  พฤศจิกายน  ๒๔๔๓  ทรงเข้ารับตำแหน่งนายเวรรายงานกรมเสนาธิการทหารบก
(ในขณะนั้น จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช  
ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบก) ทรงดำรงตำแหน่งนี้ได้ประมาณ ๓ เดือน

๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๓ (๒๔๔๔) ทรงเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ ๒  กองทหารปืนใหญ่

๑ เมษายน  ๒๔๔๔  ทรงเป็นปลัดกองทหารปืนใหญ่  

๒๗ เมษายน  ๒๔๔๔  ทรงได้รับพระราชทานยศ เลื่อนเป็น  นายร้อยโท

๑ พฤษภาคม  ๒๔๔๔  ทรงรับตำแหน่งสารวัตรปืนใหญ่ (ในระหว่างนี้  
ได้เสด็จไปราชการตรวจรับปืนเล็กยาว (ปืน ร.ศ.) ณ ประเทศญี่ปุ่น  
กับพลเอก  เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้าน (กลาง)  สนิทวงศ์))

๒๐  พฤษภาคม  ๒๔๔๔  ทรงได้รับพระราชทานยศ เลื่อนเป็น นายพันตรี



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 13:17
ปี  ๒๔๔๖  เริ่มใช้ข้อบังคับลักษณะเกณฑ์ทหารขึ้นในมณฑลนครราชสีมาเป็นแห่งแรก 
เพื่อทดลองก่อนจะมรการตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารอย่างเป็นทางการ 
และจัดการตั้งกองทหารเป็นเหล่าต่างๆ ที่มณฑลนั้น 

๘  พฤษภาคม  ๒๔๔๖  พระวรวงศ์เธอ พระองค์บวรเดช ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น
ผู้รั้งผู้บัญชาการทหารบกมณฑลนครราชสีมา

๑๕ พฤษภาคม  ๒๔๔๖  ทรงได้รับพระราชทานยศ เลื่อนเป็น  นายพันโท

๗ สิงหาคม  ๒๔๔๖  ได้ทรงตำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกมณฑลนครราชสีมา

๒๓ เมษายน  ๒๔๔๗  ทรงได้รับพระราชทานยศ เลื่อนเป็น  นายพันเอก

๒๑ กันยายน  ๒๔๔๙  ทรงได้รับพระราชทานยศ เลื่อนเป็น  นายพลตรี

๑ ธันวาคม  ๒๔๕๐  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงใหญ่ฝ่ายไทยออกไปทำการปักปันเขตแดนกับฝรั่งเศส
ทรงปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นพอพระทัยของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น  และเป็นที่ชื่นชมพอใจของฝ่ายฝรั่งเศสด้วย

๑ เมษายน  ๒๔๕๑  ในระยะดังกล่าวมีการปรับปรุงกิจการทหารปืนใหญ่  และได้ตั้งเป็นกรมจเรการปืนใหญ่ทหารบกขึ้น
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์บวรเดช ทรงดำรงตำแหน่งจเรการปืนใหญ่ทหารบก

๓๐ กรกฎาคม  ๒๔๕๑  ได้เสด็จออกไปตรวจการปืนใหญ่ทหารบก ณ ประเทศยุโรป

ปี ๒๔๕๒  พระวรวงศ์เธอ พระองค์บวรเดช ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการกระทรวงการต่างประเทศ
ในตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และโปรตุเกส  เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม  ๒๔๕๒
(พระวรวงศ์เธอ พระองค์จรูญศักดิ์กฤดากร อัครราชทูตพิเศษเดิม  ซึ่งเป็นพระเชษฐา  เสด็จกลับเข้ามารับราชการในสยาม)

ในระหว่างที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์บวรเดช เสด็จออกไปทรงปฏิบัติหน้าที่อัครราชทูตนั้น 
ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอภิบาลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา 
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมจขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย  และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษด้วย

ปี  ๒๔๕๕  พระวรวงศ์เธอ พระองค์จรูญศักดิ์กฤดากร ได้เสด็จกลับไปรับราชการในตำแหน่งอัครราชทูตพิเศษตามเดิม
โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์บวรเดช  เสด็จกลับเข้ามารับราชการทหารบก

๒ กรกฎาคม  ๒๔๕๕  โปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมแสงสรรพาวุธ  และผู้รั้งจเรการปืนใหญ่ทหารบก



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 13:40
๑ พฤษภาคม ๒๔๕๖  โปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่ง
แม่ทัพกองทัพน้อยทหารบที่ ๑   และคงเป็นผู้รั้งจเรการปืนใหญ่ทหารบกด้วย

๒๙  พฤษภาคม  ๒๔๕๖  ทรงได้รับพระราชทานยศ เลื่อนเป็น  นายพลโท

ปลายปี  ๒๔๕๖  จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช 
สิ้นพระชนม์  โปรดเกล้าฯ ให้จอมพล  เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (ม.ร.ว.อรุณ ฉัตรกุล)
เป็นเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม

๑  สิงหาคม  ๒๔๕๗  โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์บวรเดช
ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม  และเป็นจเรการปืนใหญ่ทหารบก

๑๖ กรกฎาคม  ๒๔๕๘  พระวรวงศ์เธอ พระองค์บวรเดช ได้ทรงจัดการ
ตั้งโรงเรียนปืนใหญ่ทหารบกขึ้น   และได้รับตำแหน่งผู้รั้งผู้อำนวยการ
โรงเรียนปืนใหญ่ทหารบกอีกตำแหน่งหนึ่ง

๑ มกราคม ๒๔๕๘ (๒๔๕๙) โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารนอกกองไปรับราชการ
ในตำแหน่งอุปราชภาคพายัพและสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ   ในระหว่างที่ทรงดำรง
ตำแหน่งนี้  ได้ทรงบำรุงกิจการกสิกรรมของมณฑลนั้น  และได้ทรงร้องขอให้อุปนายก
สภากาชาดไทย  (จอมพล  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ)
ให้ทรงร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์  ในการออกทุนเท่าๆ กันกับมูลนิธิดังกล่าว
ปราบพยาธิปากขอ  (เป็นครั้งแรกที่มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์  เข้ามามีกิจกรรมในสยาม)

๑  สิงหาคม  ๒๔๖๕  กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งอุปราชภาคพายัพ
และสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ   เป็นนายทหารกองหนุน
สังกัดกรมจเรการทหารปืนใหญ่   เพื่อทรงประกอบอาชีพส่วนพระองค์



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 13:57
๘  มกราคม ๒๔๖๘  ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้กลับเข้ารับราชการ
ในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม 
(ในช่วงนั้น พลเอก  เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม  ณ นคร)
เป็นเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม)

๕  สิงหาคม  ๒๔๖๙  โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช
เป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาธิการทหารบก  (จอมพล  สมเด็จเจ้าฟ้า
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ทรงเป็นเสนาธิการทหารบก ได้รับโปรดเกล้าฯ
ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม ในครั้งนั้น)

๑๕  มีนาคม  ๒๔๖๙  (๒๔๗๐)  โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นเสนาธิการทหารบก 

๗  เมษายน  ๒๔๗๐  ทรงได้รับพระราชทานยศ เลื่อนเป็น  นายพลเอก

๑  เมษายน  ๒๔๗๑  จอมพล  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต 
ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
โปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช  ทรงดำรงตำแหน่ง
ผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม

๒๕  ตุลาคม  ๒๔๗๑  โปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่ง
เป็นเสนาบดีกระทรวงกระลาโหม  โดยในระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งนี้
ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีหน้าที่พิเศษ ในตำแหน่งที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
อันมีศักดิ์รามาธิบดี  และเป็นผู้ตรวจการใหญ่พิเศษประจำสภากรรมการกลางฯ
ตั้งแต่งานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ ๒


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 14:23
๘  พฤศจิกายน  ๒๔๗๒  ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏ  สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช


มิถุนายน  ๒๔๗๔  กราบบังทูลลาออกจากราชการ  เนื่องจากทรงมีเรื่องขัดแย้งกันในสภาเสนาบดี
เกี่ยวกับการที่ทรงขอเลื่อนเงินเดือนนายทหารบก  ต้นปี ๒๔๗๔

หลังจากนั้นพระประวัติเป็นอย่างไร  ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยช่วงหลังคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครอง
คงทราบดี  จึงไม่ขอเล่าให้ซ้ำ

ในช่วงเวลาก่อนสิ้นพระชนม์  พลเอก พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช ได้ทรงตั้งโรงงานพิมพ์ลายผ้า
ที่ตำบลหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  และได้เสด็จไปประทับที่หัวหินนั้นเป็นประจำเพื่อทรงดำเนินงาน
โรงงานพิมพ์ลายผ้าด้วยพระองค์เอง 

๑๖ พฤศจิกายน  ๒๔๙๖  ทรงประชวรด้วยโรคพระหทัยโดยปัจจุบัน 
สิ้นพระชนม์ เวลา  ๒๓ น. เศษ  พระชนมายุ ได้ ๗๕ พรรษา  ๗ เดือน  ๑๕ วัน
ชายาคือ เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่  เจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่  และหม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร
ได้เชิญพระศพพลเอก พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช
มาบำเพ็ญกุศลตามพระเกียรติยศมาตั้งที่วังถนนนเรศร์
และได้พระราชทานเพลิงพระศพ  ที่พระเมรุ  วัดเทพศิรินทราวาส 



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 14:50
เล่าพระประวัติพลเอก พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช เสียยาว

ต่อไปมาดูหนังสืองานศพเล่มเล็กๆ กันบ้าง

หนังสืองานฌาปนกิจหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
วันที่ ๒๖ กันยายน  ๒๕๐๘


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 15:03
หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์  มีความสำคัญอย่างไร

หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์  เป็นธิดาในหม่อมเจ้าสวาท  สนิทวงษ์
กับหม่อมเขียน  สนิทวงษ์ ณ อยุธยา  มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๑ คน
คือ  หม่อมราชวงศ์ เลิศวิไลยลักษณ์   สนิทวงษ์  ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปก่อน

หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์  เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พ.ค. ๒๔๓๖

เมื่อโตขึ้นอายุได้ ๗ ขวบ  หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์  ได้เข้าไปอยู่วังหลวง
กับเจ้าจอมมารดา  หม่อมราชวงศ์เกษร  ในรัชกาลที่ ๕  ซึ่งเป็นพี่ร่วมบิดาเดียวกัน
โดยอยู่ในความดูแลของหม่อมเจ้ากระจ่าง และหม่อมเจ้าชมนาด  สนิทวงษ์
ซึ่งเป็นอาและเป็นพระอภิบาลพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์  และ
พระเจ้าลูกยาเธอ  พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์  

ต่อมาเมื่อพระเจ้าลูกยาเธอ ทั้งสองพระองค์สิ้นพระชนม์
และเจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์เกษร  ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว
บรรดาผู้ที่เป็นพระญาติในพระเจ้าลูกยาเธอและเจ้าจอมมารดานั้น
จึงได้ย้ายมาอยู่ในสำนักของพระวิมาดาเธอ   กรมพระสุทธาสินีนาฎ




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 05 ส.ค. 10, 15:14
หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์  ได้เริ่มเรียนหนังสือไทยเบื้องต้น
กับคุณแมว  พนักงานฝ่ายใน ในรัชกาลที่๕ 

ต่อมา  พระวิมาดาได้ทรงตั้งโรงเรียนเด็กขึ้นที่ตำหนักเจ้าจอมมารดา 
หม่อมราชวงศ์เกษร  ซึ่งว่างอยู่ในเวลานั้น  และทรงจ้างครูมาสอน ๓ คน
คือ  หม่อมราชวงศ์เปล่ง  ทินกร ๑   ครูแวว ๑  คุณอ่อง (คุณหญิงวิทยาปรีชามาตย์)
กับโปรดให้เจ้าจอมสมบูรณ์ ในรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้ควบคุมดูแลนักเรียนทั้งหมด


นักเรียนชั้นใหญ่ มี หม่อมเจ้าพันธุ์สิหิงค์  ทองใหญ่     หม่อมเจ้าชนม์เจริญ  ชมภูนุท
หม่อมราชวงศ์เป้า   หม่อมราชวงศ์สดับ  ลดาวัลย์   หม่อมราชวงศ์กระบุง  ลดาวัลย์
หม่อมราชวงศ์จินต์  ลดาวัลย์   หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์   
หม่อมราชวงศ์ประพันธ์   ศิริวงศ์   หม่อมราชวงศ์ฉายฉาน  ศิริวงศ์ 
และคุณนวม  คลี่สุวรรณ

นักเรียนชั้นเล็ก มี  หม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล  หม่อมเจ้าพัฒนายุ  ดิศกุล
หม่อมเจ้าดวงแก้ว  จักรพันธ์  หม่อมหลวงสละ  ศิริวงศ์  และคุณพร้อง

นักเรียนโรงเรียนนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  ต้องการสิ่งใดก็เบิกกับเจ้าจอมสมบูรณ์


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ส.ค. 10, 15:34
ขอพักเรื่องประวัติหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์  ไว้ชั่วคราว

มาดูหนังสืองานศพเล่มอื่นก่อน

๔.สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

หนังสือที่พิมพ์เนื่องในงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
มีหนังสือราชินยานุสสาวรีย์ เล่ม ๑ และราชินยานุสสาวรีย์ เล่ม๒   จัดทำโดยคณะบรรณาธิการหนังสือดุสิตสมิต

โดยหนังสือราชินยานุสสาวรีย์ เล่ม ๑ พิมพ์ในโอกาสปัญญาสมวารพระบรมศพ
และราชินยานุสสาวรีย์ เล่ม ๒ พิมพ์ในโอกาสสตมวารพระบรมศพ 
ส่วนหนังสือที่พิมพ์ในโอกาสพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพนั้น 
จำได้ว่ามี หนังสือราชสกุลวงศ์  ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขทัยธรรมราชา โปรดให้พิมพ์

๑๗.พระยาประดิพัทธภูบาล  (คอยูเหล  ณ  ระนอง)

หนังสืองานศพเจ้าคุณประดิพัทธฯ ในโอกาสสตมวารศพ
พิมพ์หนังสือ  เรื่องของเจ้าคุณประดิพัทธฯ
เป็นหนังสือเล่มบางๆ  ที่น่าอ่านมาก
เพราะเป็นข้อเขียนของท่านเจ้าคุณเล่าไว้เมื่อได้มีโอกาสตามเสด็จเจ้านายหลายพระองค์
มีเรื่องที่น่าสนใจ เช่น  ประวัติการได้จานทองมาใช้ในพระราชสำนัก
รัชกาลที่ ๕ ทรงสัญญากับแม่เล็กว่าจะไม่เที่ยวกลางคืน
รัชกาลที่ ๖ เมื่อยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ เสด็จประพาสญี่ปุ่น
ซาเรวิทซ์ไม่โปรดพระวิสูตรประดับด้วยดอกมะลิ เป็นต้น
และมีเรื่องกำเนิดของสนามแข่งม้าในประเทศไทย ที่เจ้าคุณเรียบเรียงเองด้วย
ซึ่งหาอ่านได้ยาก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ส.ค. 10, 15:39
เล่มต่อไปเป็นหนังสืองานศพพระพี่เลี้ยงหวน  หงสกุล
ถ้าใครเคยอ่านพระนิพนธ์สมเจพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
คงจะจำชื่อพระพี่เลี้ยงหวนได้  หนังสืองานศพเล่มนี้หนาหลายหน้า
มีเรื่องน่าอ่านหลายแห่ง  ซึ่งคงจะได้นำมาถ่ายทอดเป็นบางตอนในโอกาสต่อไป


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 06 ส.ค. 10, 15:42
สุดท้าย  ผมมีภาพถ่ายบุคคลจากหนังสืองานศพ จำนวน ๒ ภาพ
มาให้ทายกันว่า  บุคคลทั้งสอง คือใคร?



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 06 ส.ค. 10, 15:43
    
     อ่านที่ไหนมาก็จำไม่ได้แล้วค่ะ  ว่า เจ้าชายฟิลิปป์ ก็ไม่โปรดเครืื่องดอกไม้สดเพราะไม่คุ้นกับกลิ่นหอมแรงของดอกไม้


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ส.ค. 10, 16:15
ถ้าใครเคยอ่านพระนิพนธ์สมเจพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
คงจะจำชื่อพระพี่เลี้ยงหวนได้ 

โรงเรียนสตรีวิทยา บ้านอาหวน

คราวนี้แม่ถูกส่งเข้าโรงเรียนสตรีวิทยา เพื่อให้อยู่ใกล้โรงเรียนผู้ใหญ่ทางสวนสี่ฤดูส่งแม่ไปอยู่บ้านอาหวน หงสกุล ซึ่งแม่เรียกว่าอาหวน บ้านนี้อยู่ใกล้วัดชนะสงคราม อาหวนนี้เคยเป็นพระพี่เลี้ยงรุ่นเล็กของทูลหม่อมฯ และเวลานั้นเป็นข้าหลวงของทูลหม่อมหญิงฯ อาหวนแต่งงานแล้วและระหว่างที่แม่อยู่นั่นลูกคนแรกของอาหวนเกิดและได้รับชื่อว่ามหิดล อาหวนเป็นแม่ของหะรินด้วย (ปัจจุบัน พล.อ.อ.หะริน หงสกุล เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร) ทุกวันแม่เดินไปโรงเรียนสตรีวิทยากับเพื่อนบ้านคนหนึ่งซึ่งอายุมากว่าและเป็นญาติกับอาหวน ตอนกลางวันเพื่อนบ้านคนนี้จะแบ่งอาหารปิ่นโตให้กินด้วย แม่อยู่บ้านอาหวนปีกว่า

จาก แม่เล่าให้ฟัง พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 ;D





กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 06 ส.ค. 10, 17:44
อ่านเรื่องของพระพี่เลี้ยงหวน  อนุภาณสิศยานุสรรค์ แล้ว  ชวนให้ระลึกถึงหลวงอนุภาณสิศยานุสรรค์ (เรื่อ หงสกุล) สามีของท่านซึ่งเป็นนักเรียนอังกฤษรุ่นเดียวกับพระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ  อิศรเสนา) อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 

เมื่อแรกตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน เจ่าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น  เทพหัสดิน ณ อยุธยา) กราบบังคมทูลเสนอชื่อ ม.ล.ทิศ  เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  แต่ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชดำริว่า ยุยังน้อยอยู่เกีงว่าจะเป็นเพื่อนกับนักเรียน  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ พระยาโอวาทวรกิจ (เหม  ผลพันธิน) มาเป็นอาจารย์ใหญ่แทน  เมื่อพระยาโอวาทวรกิจถูกเรียกตัวกลับกระทรวงธรรมการ  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ ก็กราบบังคมทูลขอให้หลวงอนุภาณฯ มาเป็นแจรย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงแทน  ก็มีพระราชกระแสว่า ขอให้คนในคือ พระยาบริหารราชมานพ (ศร  ศรเกตุ) ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองลงทำการในหน้าที่ครูใหญ่ไปก่อน  กระทรวงธรรมการก็เลย้ายหลวงอนุภาณฯ ไปเป็นธรรมการมณฑลพายัพ  เมื่อย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่หลวงอนุภาณฯ ได้ไปริเริ่มจัดโรงเรียนสตรียุพราชวิทยาลัยขึ้นที่เชียงใหม่  โดยมอบหมายให้ครูจำรัส  หงสกุล ผู้เป็นน้องสาว  เป็นครูใหญ่  เริ่มเปิดโรงเรียนสอนกันมาได้ไม่นาน  หลวงอนุภาณฯ ก็ป่วยเป็นไข้มาลาเรีย  และถึงแก่กรรมที่เชียงใหม่ด้วยวัยเพียง ๓๐ เศษ  ทางราชการได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพที่สุสานช้างคลาน  เสร็จการพระราชทานเพลิงศพแล้ว  ทายาทได้รวบรวมเงินทำบุญจัดสร้างโรงเรียนอนุภาณสิศยานุสรรค์ไว้ป็นเกียรติแด่ท่านผู้วายชนม์ที่สุสานช้างคลานนั้น  ต่อมาทางราชการได้จัดโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเชียงใหม่  และได้ย้ายไปเปิดสอนที่วัดศรีดอนไชย  ภายหลังโรงเรียนนี้แปรสภาพเป็นโรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย  ส่วนโรงเรียนสตรียุพราชวิทยาลัยก็ได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพในปัจจุบัน 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 08:40
ขอบคุณคุณเพ็ญฯ ที่อุตสาหะไปหาเนื้อความในพระนิพนธ์จาก แม่เล่าให้ฟัง
พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ในตอนที่กล่าวถึงพระพี่เลี้ยงหวน อนุภาณศิสยานุสรรค์  มาลงไว้ ;D

ขอบคุณคุณวีมีที่เอาเรื่องของหลวงอนุภาณสิศยานุสรรค์ (เรื่อ หงสกุล)
สามีของพระพี่เลี้ยงหวน อนุภาณศิสยานุสรรค์  มาลงให้ได้อ่าน
และได้ข้อมูลที่น่าสนใจ 
(แต่สงสัยว่า คุณวีมีจะรีบพิมพ์มากเลยพิมพ์ตกหล่นพลาดไปหลายแห่ง) ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 10:02
มาต่อประวัติของหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์

เมื่อหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  อายุครบ ๑๑ ขวบ 
รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้โกนจุก
ในพระราชพิธีเสด็จขึ้นเรือนต้นที่พระราชวังดุสิต 
พร้อมกับหม่อมราชวงศ์จินต์  ลดาวัลย์  และคุณแส  บุนนาค
(ต่อมาได้เป็นเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๕)
หม่อมราชวงศ์ทั้ง ๒ คน ได้ไปแต่งตัวที่สวนบัวนกกระสา 
แล้วขึ้นเสลี่ยงแห่ออกไปยังเรือนต้น 
ส่วนคุณแสนั้นไปแต่งตัวที่เรือนต้นทีเดียว

ในครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการลงขัน (ทำขวัญ) อย่างโบราณ
มีบายศรีรัดคอด้วยสายสร้อยเพชรเป็นพิเศษ

ผู้ที่ได้เข้าพิธีโกนจุกครั้งนั้น ได้รับพระราชทานเงินทำขวัญจากการลงขัน
ถึงคนละ ๓๐ ชั่งเศษ  เงินจำนวนดังกล่าวของหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา  ทรงตั้งเป็นทุนหาดอกผลประทานให้ท่าน
และยังทรงดูแลการใช้จ่ายเงินนั้นอย่างถี่ถ้วน   เงินดังกล่าวได้เป็นทุนเลี้ยงตัว
ของหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์ ต่อมาจนวายชนม์


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 10:12
ปี ๒๔๔๖  รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนการเลี้ยงไหมทำไหมขึ้น
ที่บริเวณหลังพระบรมมหาราชวังชั้นนอก  มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน  สาลักษณ์)
เป็นผู้ควบคุมการตั้งโรงเรียนนั้น   และได้ว่าจ้างครูสตรีญี่ปุ่นมาสอน  ๒ คน
มีการสอนหนังสือไทยและอังกฤษในโรงเรียนนั้น  รวมทั้งสอนการทำบัญชีด้วย
ครูคนไทยมีหลวงอนุสิทธิ์ ฯ (ไม่ทราบราชทินนามเต็มและชื่อเดิม) เป็นต้น

หม่อมราชวงศ์จำรัสศรีได้เข้าเรียนที่นี่ด้วยจนกระทั่งโรงเรียนดังกล่าวเลิกสอน
ท่านจึงได้ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนราชินี


ปี ๒๔๔๗ รัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งให้พระวิมาดาเธอฯ  ทรงตั้งวงมโหรีปี่พาทย์ขึ้น
เพราะทรงเห็นว่าพระวิมาดาฯ ทรงมีเด็กในพระอุปถัมภ์มาก
หม่อมราชวงศ์จำรัสศรีจึงต้องออกจากโรงเรียนมาเรียนมโหรี
โดยมี พระยาเสนาะดุริยางค์  ครูเหลือ  ครูชื่น เป็นครูผู้สอนมโหรี

หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  ได้รับเลือกให้เล่นซอด้วง  เพราะเล่นได้ดีเป็นพิเศษ
และได้เป็นหลักในการเล่นซอของเด็กได้มาเรียนมโหรีครั้งนั้น


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ส.ค. 10, 10:42
(แต่สงสัยว่า คุณวีมีจะรีบพิมพ์มากเลยพิมพ์ตกหล่นพลาดไปหลายแห่ง) ;D
คอมพ์ของคุณ V_Mee อาจมีฟ้อนท์เล็กมาก  มองไม่ถนัด หรือไม่คุณวีก็ใช้สองนิ้วจิ้ม  ผิดพลาดได้ง่าย   ดิฉันเคยเข้าไปช่วยพิมพ์แก้ให้หลายครั้งแล้ว

คราวนี้ยกมาพิมพ์ใหม่ให้ในค.ห.นี้

อ่านเรื่องของพระพี่เลี้ยงหวน  อนุภาณศิสยานุสรรค์  แล้ว  ชวนให้ระลึกถึงหลวงอนุภาณศิสยานุสรรค์ (เรื่อ หงสกุล) สามีของท่านซึ่งเป็นนักเรียนอังกฤษรุ่นเดียวกับพระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ  อิศรเสนา) อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย 

เมื่อแรกตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน เจ่าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น  เทพหัสดิน ณ อยุธยา) กราบบังคมทูลเสนอชื่อ ม.ล.ทศทิศ  เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  แต่ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชดำริว่า อายุยังน้อยอยู่เกรงว่าจะเป็นเพื่อนกับนักเรียน  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ พระยาโอวาทวรกิจ (เหม  ผลพันธิน) มาเป็นอาจารย์ใหญ่แทน  เมื่อพระยาโอวาทวรกิจถูกเรียกตัวกลับกระทรวงธรรมการ  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ ก็กราบบังคมทูลขอให้หลวงอนุภาณฯ มาเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงแทน  ก็มีพระราชกระแสว่า ขอให้คนในคือ พระยาบริหารราชมานพ (ศร  ศรเกตุ) ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปกครองลงทำการในหน้าที่ครูใหญ่ไปก่อน  กระทรวงธรรมการก็เลย้ายหลวงอนุภาณฯ ไปเป็นธรรมการมณฑลพายัพ  เมื่อย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่หลวงอนุภาณฯ ได้ไปริเริ่มจัดโรงเรียนสตรียุพราชวิทยาลัยขึ้นที่เชียงใหม่  โดยมอบหมายให้ครูจำรัส  หงสกุล ผู้เป็นน้องสาว  เป็นครูใหญ่  เริ่มเปิดโรงเรียนสอนกันมาได้ไม่นาน  หลวงอนุภาณฯ ก็ป่วยเป็นไข้มาลาเรีย  และถึงแก่กรรมที่เชียงใหม่ด้วยวัยเพียง ๓๐ เศษ  ทางราชการได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพที่สุสานช้างคลาน  เสร็จการพระราชทานเพลิงศพแล้ว  ทายาทได้รวบรวมเงินทำบุญจัดสร้างโรงเรียนอนุภาณศิสยานุสรรค์ไว้ป็นเกียรติแด่ท่านผู้วายชนม์ที่สุสานช้างคลานนั้น  ต่อมาทางราชการได้จัดโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเชียงใหม่  และได้ย้ายไปเปิดสอนที่วัดศรีดอนไชย  ภายหลังโรงเรียนนี้แปรสภาพเป็นโรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย  ส่วนโรงเรียนสตรียุพราชวิทยาลัยก็ได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพในปัจจุบัน 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 10:50

คอมพ์ของคุณ V_Mee อาจมีฟ้อนท์เล็กมาก  มองไม่ถนัด หรือไม่คุณวีก็ใช้สองนิ้วจิ้ม  ผิดพลาดได้ง่าย   ดิฉันเคยเข้าไปช่วยพิมพ์แก้ให้หลายครั้งแล้ว


ถ้าอย่างนั้น ก็ควรเข้าไปปรับขนาดตัวอักษรในคอมพ์ให้ใหญ่ขึ้น  โดยเข้าไปที่ View คลิกเลือก ที่ Text Size  แล้วเลือกขนาดอักษรที่  Medium  หรือ Larger  หรือ Largest  ตัวอักษรข้อความบนจอก็จะใหญ่ขึ้นมองได้ถนัดตา  ไม่ต้องเพ่งมากด้วย ;)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 09 ส.ค. 10, 11:27
อยากทราบว่า พระพี่เลี้ยงหวน มีบุตร-ธิดา รวมกี่คนครับ.........


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 12:56
อยากทราบว่า พระพี่เลี้ยงหวน มีบุตร-ธิดา รวมกี่คนครับ.........

พระพี่เลี้ยงหวนกับหลวงอนุภาณศิสยานุสรรค์ (เรื่อ หงสกุล)
มีบุตรธิดาจำนวน ๓ คน  คือ

๑.ศาสตราจารย์  พลอากาศจัตวา มหิดล  หงสกุล

๒.นางหรรษา  บัณฑิตย์

๓.พลอากาศเอก หะริน  หงสกุล

พระพี่เลี้ยงหวนกับหลวงอนุภาณศิสยานุสรรค์ (เรื่อ หงสกุล) แต่งงานอยู่กันได้ ๕ ปี
หลวงอนุภาณศิสยานุสรรค์ ก็ถึงแก่กรรมด้วยไข้มาลาเรีย
ทำให้พระพี่เลี้ยงหวนต้องรับภาระดูแลบุตรธิดาเพียงคนเดียวนับแต่นั้น
พระพี่เลี้ยงหวนเป็นหม้ายมา ๗๔ ปีเศษ  ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ ๑๐๔ ปี  ๓ เดือน ๑๙ วัน
มีชีวิตยืนยาวผ่านมาถึง ๕ แผ่นดิน  

ในหนังสืองานศพท่านมีบันทึกที่ท่านได้จดไว้ในสมุด  ซึ่งลูกๆ ได้นำมาพิมพ์ไว้
ในบันทึกนั้นมีเรื่องเกี่ยวกับเจ้านายสมัยรัชกาลที่ ๕ - ๖  
เรื่องขุนสุระสงคราม ต้นสกุลสุรนันทน์ ซึ่งเป็นสกุลเดิมของพระพี่เลี้ยงหวน
จดหมายของพระพี่เลี้ยงหวนที่เขียนถึงลูกชาย พลอากาศเอก หะริน  หงสกุล
ไว้ถ้ามีโอกาสจะได้นำมาตั้งกระทู้เล่าสู่กันฟังต่อไป :)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 13:32
ต่อประวัติของหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์

ฝีมือการเล่นซอด้วงของหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
มีที่ควรเล่าไว้เป็นหลักฐาน คือ
ในคราวที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จกลับจากการเสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี ๒๔๕๐
รัชกาลที่ ๕  ได้ทรงนำนกคีรีบูนสีเหลืองอ่อนตัวหนึ่งกลับมาด้วย
โดยทรงเลี้ยงนกนั้นไว้ในกรงตั้งไว้บนพระที่นั่ง


อยู่มาวันหนึ่ง นกคีรีบูนที่ทรงเลี้ยงไว้เกิดหยุดร้องไปเสียเฉยๆ
รัชกาลที่ ๕ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
นำซอด้วงไปสีเป็นเพลงเดี่ยวเชิดนอกให้นกคีรีบูนร้องตาม
และปรากฏว่านกคีรีบูนก็ร้องตามเสียงซอเป็นที่พอพระราชหฤทัย
จึงได้พระราชทานตุ้มหูประพาฬ (คอรันแดง) ๑ คู่ แก่หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี 

หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  รักและชอบวิชาสีซอนี้มาก
และได้เล่นซอต่อเนื่องมาตลอด
จนกระทั่งบ้านของท่านที่ถนนพระอาทิตย์ถูกระเบิดในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒
ทำให้ซอและบ้านของท่านไหม้มอดไปด้วยกัน 
หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  จึงได้เลิกเล่นซอนับแต่นั้น


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 13:48
วงมโหรีที่รัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งให้พระวิมาดาฯ ทรงจัดการตั้งขึ้นนั้น
รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องต่างๆ ทั้งบทมโหรี ๓ ชั้น
และบทละคร ๒ ชั้น ด้วย   ทั้งยังได้ทรงเล่นละครคนแก่
ซึ่งมีพวกละครที่มีชื่อเสียงมาก่อนร่วมแสดงด้วย
ตัวละครที่เล่นในคราวนั้นได้แก่  หม่อมเพื่อน ตัวละครสมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์  หม่อมบาง ตัวละครเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ เป็นต้น

เรื่องที่นำมาเล่นละครในครั้งนั้น ได้แก่บทละครสังข์ทอง คาวี และเงาะป่า
เรื่องสังข์ทอง เล่นตอนหาปลา  โดยโปรดให้มีระบำปลาด้วย
หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าฝูงปลาสีน้ำเงิน
คู่กับหม่อมราชวงศ์ประพันธ์ ศิริวงษ์  หัวหน้าฝูงปลาสีชมพู
ผู้เล่นระบำปลามีทั้งหมด ๒๐ คู่ 

รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงออกแบบเครื่องแต่งตัวและบทแสดงด้วยพระองค์เอง
และได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ
ทรงเป็นผู้สอนระบำนั้น

การแสดงระบำปลา  เริ่มด้วยพิณพาทย์บรรเลงเพลงโล้
ปลาออกมาเดินโล้เลื่อนลอยคล้ายว่ายน้ำ  แล้วแปรกระบวน
ตามที่ฝึกกันไว้  พอหมดกระบวนก็เข้าโรง
ทิ้งพัดหางปลาที่ถืออยู่สองมือในโรง
แล้วถือปลากระดาษแข็งออกมาคนละ ๒ ตัว
วิ่งมาทิ้งปลานั้นที่ตรงหน้าพระสังข์เมื่อพิณพาทย์ทำเพลงรัว
แล้วเข้าโรง  เป็นการสนุกสนานน่าชมมาก
(หม่อมเจ้าพูนพิศมัยทรงว่าไว้อย่างนี้)



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 14:09
นอกจากนี้ หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์ ยังได้รับ
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้เข้าเดินแต้มแทนพระองค์
ในการเล่นชิงนางคราวงานปีใหม่  โดยถือธงประจำพระองค์
เมื่อทรงเป็นพระบัณแถลงเขย  ๖ คนของท้าวสามล

ปี ๒๔๔๘ พระวิมาดาเธอฯ ได้ทรงนำ หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
พร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์สดับ  ลดาวัลย์   คุณจอน  และคุณช้อง  
ขึ้นถวายตัวเป็นข้าราชการฝ่ายใน  

คุณท้าววรจันทร์  ได้นำเฝ้าฯ ที่พระเฉลียงด้านตะวันตกของพระที่นั่งอมรพิมานมณี
ในครั้งนั้น  รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานขันล้างหน้าเงิน  พานรองคนละ ๑ สำรับ
กับเงินเหรียญบาทห่อผ้าขาว คนละ ๑๐ ชั่ง    

ในคราวรัชกาลที่ ๕ เสด็จสวรรคต  หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
กับหม่มราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ได้สนองพระเดชพระคุณครั้งสุดท้าย
ด้วยการเป็นลูกคู่นางร้องไห้ประจำยามประโคมที่พระบรมศพ

จากนั้น  หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี ก็คงอยู่ในพระอุปถัมภ์
ของสมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา  และได้ถวายงานหลายอย่าง
เช่นเป็นช่างพระเกศา  แต่งพระองค์ เย็บฉลองพระองค์
และทำเครื่องเสวย  มีตำแหน่งเป็น ต้นตำหนัก

เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว
ท่านได้ทูลลาพระวิมาดาเธอฯ มาอยู่กับอา คือ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อธิราช

ต่อมาเมื่ออาสิ้นพระชนม์แล้ว  
หม่อมราชวงศ์จำรัสศรี  สนิทวงษ์
จึงได้รวบรวมเงินสร้างบ้านอยู่กับหลานๆ ที่ถนนพระอาทิตย์ตลอดอายุ
ท่านถึงแก่กรรมเมื่อ ๑๒  มิ.ย. ๒๕๐๘  ด้วยโรคมะเร็งปอด

ประวัติหม่อมราชวงศ์จำรัสศรี สนิทวงษ์ จบ.




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 15:46
๒๘.นายภาวาส  บุนนาค

งานพระราชทานเพลิงศพนายภาวาส  บุนนาค
มีหนังสืองานศพ ๒ เล่ม คือ

เล่มแรก หนังสือภาพ เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕

เป็นหนังสือภาพถ่ายฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ ๕
ในคราวเสด็จประพาสต้น เมื่อ ร.ศ. ๑๒๕
มีภาพถ่ายที่หาดูยากหลายภาพ
ทราบว่าในวงการหนังสือเก่าซื้อขายราคาสูงมาก
เพราะเป็นหนังสือดี ไม่เคยพิมพ์มาก่อน
รูปเล่มแข็งแรง  จัดพิมพ์ดี  น่าเก็บ และหายาก
เพราะมีน้อย


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 15:49
ภาพจากหนังสือเสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 15:53
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ หมื่นปฎิพทธภูวนาถ (ช้าง) อำแดงพลับ ภรรยา
และลูกๆ แห่งบ้านบางอ้ายเอี้ยง 

นายช้างเป็นคนสำคัญที่ทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงประทับพระราชหฤทัยในอัธยาศัย
ในคราวเสด็จประพาสต้นคราวแรก  (เนื้อเรื่องคงทราบกันดีจากหนังสือพระนิพนธ์
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสด็จประพาสต้น)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 15:57
หนังสืองานศพนายภาวาส บุนนาค เล่มต่อมา ชื่อ คิดถึงกันมั่งนะ
ปกสีส้ม  พิมพ์แจกภายหลังงานพระราชทานเพลิงศพแล้วหลายปี
เป็นหนังสือที่รวบรวมงานเขียนและผลงานของนายภาวาส ไว้มากที่สุด


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 09 ส.ค. 10, 15:58
ผลงานด้านศิลปะของนายภาวาส ซึ่งไม่ค่อยมีคนทราบ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ส.ค. 10, 15:44
หนังสืองานศพนาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์ ร.น. (เลื่อน  ศราภัยวานิช)

นาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์  เป็นใคร?
ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลังเปลี่ยนการปกครอง ๒๔๗๕
ย่อมน่าจะรู้จักเจ้าคุณท่านนี้เป็นอย่างดี 
เพราะท่านมีประวัติการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่โชกโชนและโลดโผนมาก
ในหนังสืองานศพท่านมีคำไว้อาลัยของนักหนังสือพิมพ์หลายคนเขียนให้
กับบทความข่าวเนื่องในการเสียชีวิตของเจ้าคุณจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ

ประวัติของนาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์  โดยย่อมีดังนี้

นาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์ เป็นบุตรนายโซว  เทียนโป๊  และนางกี๋ 
เกิดเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์  ๒๔๓๒  ที่จังหวัดนครสวรรค์

สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรตามหลักสูตรชั้น ๕ โรงเรียนอัสสัมชัญ

อุปสมบทที่วัดอรุณราชวราราม

ได้ประกาศนียบัตร จาก School of Journalism   ออสเตรเลีย

ปี ๒๔๗๐ ไปศึกษาดูงานพลาธิการทหารเรือที่ยุโรปเป็นเวลา  ๑ ปี ๔ เดือน

ชีวิตการรับราชการทหาร
๒๔๕๒  เกณฑ์ทหาร
๒๔๕๔ เป็นเลขานุการและล่ามของพลเรือตรี ยอน  ชไนเลอร์  ที่ปรึกษาราชการทหารเรือ
๒๔๕๖ เป็นเลขานุการของจอมพลเรือ  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช  จเรทหารทั่วไป
ตั้งแต่ปี ๒๔๕๘  เป็นนายเวรวิเศากระทรวงทหารเรือ (เลขานุการเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ)
๒๔๖๔ รั้งตำแหน่งเสมียนตรากระทรวงทหารเรือ  และในปีเดียวกันได้เป็นเลขานุการสภาบัญชาการกระทรวงทหารเรือ
๒๔๖๕  เป็นเลขานุการสภาธุระการทหาร
๒๔๗๔ เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม
๒๔๗๕ เป็นเจ้ากรมเสมียนตรากระทรวงกลาโหม

ออกจากราชการเป็นนายทหารรับบำนาญ ตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๕



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 10 ส.ค. 10, 15:57
การรับและเลื่อนยศ

๑ พ.ย. ๒๔๕๑  เป็น ว่าที่นายเรือตรี
๑๔ พ.ค. ๒๔๕๒ เป็น นายเรือตรี
๗ พ.ค. ๒๔๕๕ เป็น นายเรือโท
๒๔ มี.ค. ๒๔๕๗ เป็น นายเรือเอก
๑๐ พ.ค. ๒๔๖๑ เป็น นายนาวาตรี
๒๙ มี.ค. ๒๔๖๓ เป็น นายนาวาโท
๑๑ เม.ย. ๒๔๖๖ เป็น นายนาวาเอก

การรับและเลื่อนบรรดาศักดิ์

๒๖ พ.ค. ๒๔๖๐ เป็น หลวงวิเศษสรนิต
๒๔ มี.ค. ๒๔๖๔ เป็น พระนเรนทรบดินทร์
๑ เม.ย. ๒๔๗๒ เป็น พระยาศราภัยพิพัฒน์

งานอื่นๆ

๒๔๙๐ เป็น ส.ส.จังหวัดธนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์  และปีเดียวกันได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
๒๔๙๔ เป็น ส.ว.
๒๕๐๓ เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ

งานพิเศษ

๒๔๗๖ เป็น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ (ภาษาอังกฤษ)
๒๔๙๔ เป็นกรรมการอบรมนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศ
๒๔๙๗ เป้นกรรมการปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนนายเรือ
๒๕๐๕ เป็นกรรมการมูลนิธิวิชาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

สุดท้าย เอาเอกสารแสดงให้เห็นบทบาททางการเมืองของเจ้าคุณศราภัยฯ
ถ้าสนใจราละเอียดคงต้องไปอ่านจากหนังสืองานเขียนของท่าน



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 ส.ค. 10, 14:33
หนังสือศพมหาอำมาตย์ตรี  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ  เศวตศิลา)
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๐



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 ส.ค. 10, 14:48
หนังสืองานศพเจ้าคุณวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา)
เล่มไม่หนา  แต่มีข้อมูลน่าสนใจหลายส่วน

มหาอำมาตย์ตรี  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ  เศวตศิลา)
เป็นบุตรของนายเฮนรี  อาลาบาสเตอร์  และนางเพิ่ม  อาลาบาสเตอร์

เกิดเมื่อ ๒๒ มิ.ย. ๒๔๒๒ ที่บ้านพักใกล้พระบรมมหาราชวัง

เริ่มศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและงกฤษ ที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ท่านสอบไล่ได้ประโยค ๒ (จบหลักสูตรสูงสุด) วิชาหนังสือไทย ได้คะแนนสูงเป็นที่ ๑
เมื่อ ๑๗ เม.ย. ๒๔๓๗

จากนั้นไปศึกษาวิชาแผนที่ และสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ เมื่อ ๒๔๓๙

ได้ไปศึกษาวิชาป่าไม้ที่เดระกูน  อินเดีย  สำเร็จเมื่อ ๒๔๔๕

อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศ เมื่อ ๒๔๕๐

ออกไปศึกษาต่อวิชาพฤกษศาสตร์ ที่คิว (KEW) อังกฤษ เพิ่มเติม โดยทุนทรัพย์ตนเอง  สำเร็จ เมื่อ ๒๔๕๗
ได้เป็นสมาชิกในลินเนียนโซไซเอตี้  ประเทศอังกฤษ ๒๔๕๗

ประวัติการได้รับยศและบรรดาศักดิ์
๒๔๔๘ เป็นหลวงวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๕๔ เป็นรองอำมาตย์เอก
๒๔๕๕ เป็นพระวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๕๖ เป็นอำมาตย์ตรี
๒๔๕๙ เป็นอำมาตย์โท
๒๔๖๐ เป็นอำมาตย์เอก และเป็นพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๖๓ เป็นมหาอำมาตย์ตรี


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 ส.ค. 10, 15:03
ชีวิตการทำงาน

๑ ธ.ค. ๒๔๓๗ เป็นนักเรียนกรมแผนที่ กรมแผนที่ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑๖ มี.ค. ๒๔๔๓ ย้ายมารับราชการกระทรวงมหาดไทย
๒๔๔๔ - ๒๔๔๕ ไปศึกษาวิชาป่าไม้ที่เดระกูน  อินเดีย  
๑ เม.ย. ๒๔๔๖ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ จังหวัดนครสวรรค์
จากนั้น ย้ายไปเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้นครลำปาง  แพร่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลำพูน
และกลับมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ที่ลำพูนอีกเมื่อ ๒๔๕๒

ออกไปศึกษาต่อวิชาพฤกษศาสตร์ ที่คิว (KEW) อังกฤษ กลับมาเมื่อ ๒๔๕๗
ได้เป็นปลัดกรมป่าไม้  ย้ายไปประจำที่จังหวัดกันตัง
ไปจัดตั้งกองป่าไม้ มณฑลภูเก็ต  นครศรีธรรมราช และปัตตานี

๒๔๕๙ ย้ายจากกันตังไปสงขลา
๒๔๖๐ ย้ายมากรุงเทพฯ
๒๔๖๕ เป็นผู้บำรุงป่าไม้ตอนใต้  
๒๔๗๐ ย้ายจากกรุงเทพฯ กลับไปที่สงขลา
๒๓ มิ.ย. ๒๔๗๗ อายุ ๕๕ ปี  ออกรับพระราชทานบำนาญ

เจ้าคุณวันพฤกษ์ฯ มีพี่น้องร่วมท้อง ๑ คน
คือมหาอำมาตย์ตรี  พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย  เศวตศิลา)
ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ๓๐ ธ.ค. ๒๔๗๔

เจ้าคุณวันพฤกษ์มีบุตรธิดากับคุณหญิงวันพฤกษ์พิจารณ์ (ขลิบ บุนนาค)
และกับภรรยาอื่นๆ รวม ๑๕ คน  มีพลอากาศเอก สิทธิ  เศวตศิลา องคมนตรี
และนางสมจิตต์  อาสนจินดา  ภรรยาของ ส.อาสนจินดา เป็นต้น


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 ส.ค. 10, 15:33
ในหนังสือของเจ้าคุณวันพฤกษ์น มีเรื่องที่ลูกๆ เขียนเกี่ยวกับประวัติของท่านไว้ด้วย
ซึ่งจดเอาตามที่ท่านเคยเล่าให้ลูกฟัง
ตอนหนึ่ง ว่า  เมื่อนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ บิดาถึงแก่กรรม นั้น
เจ้าคุณวันพฤกษ์ อายุได้ ๕ ขวบ  และเจ้าคุณอินทราธิบดี อายุได้ ๒ ขวบเศษ
นางเพิ่มมารดาได้พาทั้งสองคนไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
เพราะนางเพิ่มมีตำแหน่งเป็พระนมในพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ พระองค์หนึ่ง
ทำให้ทั้งสองคนได้มีโอกาสคุ้นเคยกับเจ้านาย

ชีวิตหลังจากนายเฮนรีถึงแก่กรรมแล้ว  ค่อนข้างลำบากมาก
เพราะนายเฮนรีไม่ได้ทิ้งมรดกอันใดไว้ให้ลูกชายทั้งสองเลย
แถมต่อมา  มารดาก็ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด
พี่น้องทั้งสองต้องอาศัยอยู่กับคนอื่น  เพื่อเล่าเรียนหนังสือ
โดยพยายามหาทุนเรียนด้วยตนเอง  บางครั้งไม่มีเงินต้องหยุดเรียนไปหาเงิน
โดยขายดินสอหิน และให้เพื่อนนักเรียนเชื่อดินสอหินไปใช้ก่อนแล้วคิดดอกเบี้ยจ่ายภายหลัง
จนพอมีเงินกลับมาเรียนต่อได้จนจบ

ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ยังมีประวัตินายเฮนรี  อาลาบาสเตอร์
ซึ่งเป็นต้นตระกูลเศวตศิลาด้วย
นายอาลาบาสเตอร์ เป็นบุคคลสำคัญสำหรับเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕
เมื่อถึงแก่กรรม รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสุสานพระราชทานเป็นเกียรติ
ที่สุสานโปรแตสแตนท์ ถนนตก  (ดูภาพด้านล่าง)

นายอาลาบาสเตอร์ เคยแต่งหนังสือ The Wheel of the Law พิมพ์ที่ลอนดอน
เป็นที่เลื่องลือมาก  และนักวิชาการได้ใช้อ้างอิงต่อมามากมาย

เดิมนายอาลาบาสเตอร์ รับราชการเป็นล่ามอยู่ที่สถานทูตอังกฤษ ในจีน  ระหว่าง ปี ๒๓๙๙ - ๒๔๐๐
ต่อมาได้เข้ามาเป็นนักเรียนล่าม ประจำสถานกงสุลอังกฤษในไทย  เมื่อ ๒๔๐๑
และเลื่อนระดับขึ้นเป็นล่าม  ได้รับเงินเดือนสูงสุด ๕๐๐ ปอนด์ ต่อเดือน
รวมเวลารับราชการัฐบาลอังกฤษ  ๑๕ ปี ๙ เดือน

จากนั้นรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดเกล้าให้นายอาลาบาสเตอร์ เข้ารับราชการไทย จนถึงแก่กรรม
ผลงานที่นายอาลาบาสเตอร์ ได้ทำไว้ขณะที่รับราชการฝ่ายไทยนั้นมีมาก 
หากมีโอกาสคงจะได้เล่าอีก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 11 ส.ค. 10, 15:37
มีหนังสืองานศพอีก ๒ เล่มที่ขอเอารูปให้ดูก่อน
คราวหน้าจะมาเล่ารายละเอียด


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 10, 15:42
ติดตามด้วยความสนใจ
บ้านในค.ห. 132 สวยมากทุกหลัง    เป็นบ้านในจังหวัดอื่นๆที่ไม่ใช่กรุงเทพหรือเปล่าคะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ส.ค. 10, 15:49
คุณหลวงที่นับถือและหวั่นหวาด


๑.      อาลาบาสเตอร์ เขียน หรือ แปล  The Wheel of the Law      
        เมื่อคริสตี้ประเทศไทย เปิดแสดง ในปี ๒๕๔๓    ได้ไปดู
        ประเมินราคาไว้ที่  สี่พัน - หกพันบาท    ขายจริงไปในราคาเท่าไรก็ลืมไปแล้วค่ะ

        ขอเปลี่ยนคำถามเป็นว่า พระ ประชาชีพบริบาลคือใคร  เพราะท่านเป็นเจ้าของหนังสือเล่มที่คริสตี้นำมาประมูล


        (ไปเจอคำตอบแล้วค่ะ ว่า The Wheel of the Law  แบ่งเป็น ๓ ภาค
        ภาคแรก is a revised and enlarged edition of the Modern Buddhist

        ภาคที่สอง แปลมา

        ภาคที่สาม  รวบรวมมา

        อาลาบาสเตอร์เขียนไว้ว่า  "My translation is free or literal, according to my judgment.")
    
๒.     พี่ชายต่างมารดาสามคนของพระยาวรรณพฤกษ์พิจารณ์  ชื่ออะไรบ้าง

๓.     มีประวัติคุณหญิง  Palacia  บ้างไหมคะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 11 ส.ค. 10, 16:48
สวัสดีค่ะทุก ๆ ท่านที่เคารพ

สมาชิกใหม่ที่แอบอ่านมาหลายปี เพิ่งจะสมัครสมาชิกเป็นวันนี้เองค่ะ (ไม่เก่ง Comp เอามาก ๆ)

สนใจหนังสืองานศพเป็นอย่างยิ่งค่ะ เห็นหน้าปกแล้ว อยากได้อ่านข้างในมาก ๆ ค่ะ 
ทำอย่างไรถึงจะได้อ่านคะ หนังสือเหล่านี้ มีแต่จะสูญหายนะคะ  เราจะรักษาต้นฉบับอย่างไรดีคะ

กระทู้ต่าง ๆ ในเรือนไทย มีสาระดีมากค่ะ ขอให้อาจารย์เทาชมพู รักษาคุณภาพนี้ไว้ดี ๆ นะ คะ

ด้วยความนับถือค่ะ
"ร่วมฤดี"


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 11 ส.ค. 10, 17:00

       สวัสดี   และขอต้อนรับ  คุณร่วมฤดีสู่ เรือนไทยค่ะ

ชิงต้อนรับแทนคุณหลวงเล็กเจ้าของกระทู้ไปก่อนเพราะท่านคงกำลังค้นเอกสารเพื่อตอบคำถามของดิฉันแน่ ๆ

โปรดแวะมาเป็นกำลังใจและคุยกันบ้างนะคะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 11 ส.ค. 10, 17:01
รบกวนเรียนถามคุณหบวงเล็ก  หนังสือเล่มบนในความเห็นที่ ๑๓๒ ใช่เล่มที่เลาสประวัติสกุลอภัยวงศ์และปกมนตรีหรือไม่ครับ  จำได้ว่าเคยมีผู้ใหญ่ในสกุลปกมนตรีท่านให้มา ๑ เล่ม  แต่ตอนนี้หาไม่เจอ  พอจำเนื้อหาได้บ้างเป็นหนังสือที่มีค่าน่าวนใจมากๆ ครับ  สมาชิกเรือนไทยคงอยากติดตามอ่านกันเป็นแน่


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ส.ค. 10, 17:06
ดิฉันมีหนังสืองานศพอยู่จำนวนหนึ่ง ไม่มากนัก   หาจากร้านหนังสือเก่าเวลามีงานหนังสือที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ค่ะ  คุณร่วมฤดีเคยไปเดินดูไหมคะ
ส่วนแหล่งอื่นนั้นต้องถามคุณวันดี  เธอสะสมหนังสือไว้มาก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ส.ค. 10, 17:30

       บทละคอนนอกเรื่องสังข์ทอง

พระเจ้าวรวงศเธอ  พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ
ทรงพิมพ์อุทิศถวายสนองพระคุณ
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ  เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
กรมหลวงสงขลานครินทร
ในงานพระเมรุท้องสนามหลวง
ปีมะเส็ง  พ.ศ. ๒๔๗๒

โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

หนังสือปกสีชมพูอ่อน(ปัจจุบันกลายเป็นขาวหม่นเพราะความเก่า)  มีตรามังกรเล่นแก้ว  หนังสือหนา ๒๖๙ หน้า


หน้า (๑) - (๖)   เล่าเรื่องสังข์ทองในปัญญาสชาดก

มเหสีฝ่ายขวาของท้าวพรหมทัตแห่งพรหมนครชื่อจันทา         มเหสีฝ่ายซ้ายชื่อจำปาทอง(เพราะฝันว่าพระอินทร์เอาดอกจำปามาให้)

นางรจนาในเรื่องนี้ ชื่อ คันธา

นายกราชบัณฑิตยสภาเล่าว่า  นิทานสังข์ทองมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา             พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ทรงตัด

เรื่องสังข์ทองตอนปลายมาทรงพระราชนิพนธ์ใหม่  ตั้งแต่พระสังข์หนีนางพันธุรัต

ยังมีบทละคอนตอนต้นอีกตอนหนึ่ง  ไม่ทราบผู้แต่ง  เริ่มจากกำเนิดพระสังข์ จนถึงถ่วงพระสังข์ และนางพันธุรัตนำไปเลี้ยง   เป็นสำนวนสมัยรัตนโกสินทร




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ส.ค. 10, 18:15

เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี(ท้วม  บุนนาค)

ฉบับ นาย ณัฐวุฒิ  สุทธิสงคราม
เรียบเรียง
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชท่าเพลิงศพ
นาย  เทอด  บุนนาค

ณ เมรุวัดธาตุทอง  พระโขนง  กรุงเทพมหานคร

วันที่ ๑๖  สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๒๒


       หนังสือชุดนี้มี ๓ เล่ม      มีคุณค่ามหาศาลต่อนักอ่าน

ปกสีขาว    มีลายเซ็น  เทอด  บุนนาค  สีเงิน  อยู่มุมล่างขวา

       

เกิดเมื่อ  วันที่ ๘  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๔๕  ที่บ้านเจ้ากรมท่า  ธนบุรี เจ้าคุณปู่
ตาย      วันที่ ๒๘  มิถุนายน  ๒๕๒๒

บิดา        พระยาธรรมสารเนตวิชิตภักดี(ถึก   บุนนาค)
มารดา     คุณหญิงธรรมสารเนต(อบ  บุนนาค)   

เจ้าจอมเอี่ยม พี่สาวของมารดารับเข้าไปเลี้ยงในวังสวนดุสิตตั้งแต่เด็ก

คุณเทอดเรียนหนังสือที่อัสสัมชัญจนอายุ ๑๘  ไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส        ในระหว่างที่อยู่เมืองกัง
ได้เป็นนักเรียนส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่ ๒ ปี

เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว  ได้กลับมาอยู่กับเจ้าจอมเอี่ยมที่สวนนอก  สามเสน   รับราชการเป็นผู้พิพากษา


ภรรยา             นางสาวศรี  สิงหเสนี  ธิดาพระยานครราชเสนี  (สหัด  สิงหเสนี)

ธิดา                 พัฒศรี   บุนนาค
บุตร                 ภานุวงศ์  บุนนาค


     หนังสือชุดนี้  จัดวางไว้ในตู้กระจกประตูเลื่อนด้านขวามือของโต้ะทำงาน     คุ้นตาจนลืมไปแล้วว่าเป็นหนังสืออนุสรณ์  เรียกว่า หนังสือคุณเทอด

บางทีก็เรียกหนังสือคุณท้วม   

     เป็นหนังสือสำคัญที่สุดชุดหนึ่งเท่าที่ดิฉันเคยพบมา   เพราะประกอบด้วยพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จำนวนกว่าพันฉบับ  ถึงเจ้าคุณกรมท่า  ว่าด้วยเรื่องราชการแผ่นดิน 

     ดิฉันอ่านหนังสือเล่มนี้หลายครั้ง     อ่านด้วยความสนุกก่อน   อ่านจนจำบางตอนได้แม่นยำ   
ปีนี้ก็นำมาอ่านอีกสามครั้งแล้วเพราะตรวจสอบข้อมูลเรื่องสำคัญอื่นๆ      ถ้าไม่เคยพบเห็นหนังสือเล่มนี้  ก็คงต่อความกับเอกสารสำคัญอื่นๆไม่ได้
ในใจนั้นระลึกบุญคุณของ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี และคุณเทอด  และครอบครัวของท่านตลอดมา

จะขอย่อความเท่าที่สังเกตต่อไป   


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ส.ค. 10, 22:08

ธิดา                 พัฒศรี   บุนนาค
  

ขอออกนอกเรื่องหน่อยนะคะ
ตื่นเต้นที่พบชื่อพัฒศรี บุนนาค     ย้อนหลังไปเมื่อดิฉันยังเป็นนักเรียนมัธยม   นางแบบไทยเป็นสาวงามจากเวทีประกวด หรือไม่ก็ดาราหนังและทีวี
แต่จู่ๆก็มีนางแบบสวย เปรี้ยว เฉี่ยว เท่   คนหนึ่งมาปรากฏตัวขึ้น   เธอชื่อพัฒศรี บุนนาค   
เป็นผู้หญิงไทยที่ดูอินเตอร์มากๆ   ตัวเล็ก เพรียว  ผิวสีเข้ม   สะดุดตาเหมือนไม่ใช่คนไทย      เวลาโพสท่า หรือเดินเหิน ในเสื้อผ้าแต่ละชุด เหมือนเดินออกมาจากห้องเสื้อของปารีส
เธอเดินแบบอยู่พักหนึ่ง แต่อาชีพนางแบบยุคนั้นเป็นสมัครเล่นเสียมากกว่าอาชีพ     หลังจากนั้นเธอก็หายไป   เข้าใจว่าคงไปมีครอบครัว
มาเห็นอีกทีเมื่อหลายสิบปีต่อมา  ก็ยังเท่และเก๋ไม่น้อยกว่าตอนสาวๆ   จนบัดนี้ยังไม่เห็นนางแบบคนไหนเหมือนเธอเลยสักคน

ไม่รู้ว่าคุณวันดีจำได้หรือเปล่าคะ?


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ส.ค. 10, 22:24
ได้เลือกที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยังทราบกันน้อย   เรื่องพระปรีชากลการนั้นถือเป็นเรื่องที่ได้นำมาสนทนากันแล้วในเรือนไทยนี้ จึงมิได้นำมาลงอีก




พระราชหัตถเลขา  ฉบับที่ ๘๑  เล่ม ๑  หน้า ๑๒๒ - ๑๒๓

"ถึงท่านกรมท่า

       ด้วยจดหมายคุณสุรวงศ์ว่าด้วยการที่จะคิดกันคนออกไปเมืองเขมร    ฉันได้พูดกับเธอคราวหนึ่งแล้ว   แต่ยังหาได้ปรึกษากันเป็นการตกลงไม่      

บัดนี้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของคนบ้าง  ผู้ซึ่งรู้เห็นมาบอกเล่าบ้างว่าคราวนี้คนซึ่งเป็นลครบ้าง   เป็นภรรยามีค่าตัว ๗ - ๘ ชั่งหนีไปเมืองเขมรถึง ๑๓ - ๑๔ คน  

เป็นความเดือดร้อนนักเหมือนกับมาขโมยเงินเหมือนกัน       ฉันเห็นว่าการที่ลูกเจ้ากรมขุนวรจักรไปนั้น   จะว่าขึ้นก็เป็นที่อับอาย  

หรือคนที่ไม่มีค่าตัวเขามาเกลี้ยกล่อมสมัครไป  หรือใช้หนี้สินให้แล้วพาไปก็ตามทีเถิด   แต่คนที่มีค่าตัวมาลักไปอย่างนี้เป็นขโมยชัด ๆ        

ถ้าจะนิ่งเสียไม่ว่ากล่าวหรือจัดการอย่างไรเลย   ก็เห็นเป็นไม่เอาธุระแก่คนทั้งปวงเลย       การที่คุณสุรวงศ์ว่ามานั้นเป็นการดีอยู่หลายอย่าง

ควรจะคิดให้ตลอดจะจัดการอย่างไร"

(อ่านโครงกระดูกในตู้ ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมทย์  เรื่องหม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด)



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ส.ค. 10, 22:34

แหะ ๆ....เธอเขียนตาได้เส้นโตมาก  ผิวเนียนและคลำ้จัด    รวบผมทำมวยขมวดเล็กๆที่ต้นคอ     และเป็นนางแบบของห้องเสื้อหรู ๆ ค่ะ

ขณะนั้นข้าราชการไทยเริ่มรับราชการที่เงินเดือน ๙๐๐  นะคะ

เธอมาปลูกบ้านไทยอยู่แถวหมู่บ้านเสรีรามคำแหงหมู่หนึ่งค่ะ

สมัยก่อนไม่ทราบความแตกต่างของฐานะบุคคล  แต่เธองามเด่น 



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ส.ค. 10, 22:55
ฉบับที่ ๑๐๐   เล่ม ๑ หน้า ๑๓๕

   สนทนาเรื่องเจ้านายหลานของเจ้าลิชเตนสเตน  ชื่อเฮนรี่    กับเจ้าชายอันเฟรด  ลูกเจ้ามอนเตนนุโอ  เป็นหลานแอมเปอเรอะออศเตรียเก่า

ยศสูงกว่าเจ้าคนก่อน    ทรงทอดพระเนตร อาลแมนแฟกโคธา  ได้ความมา



(โปรดดู  http://en.wikipedia.org/wiki/Almanach_de_Gotha  พอเป็นน้ำจิ้มนะคะ)



โอ้   ทรงอัลมาแนคด้วย


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ส.ค. 10, 23:07

เรื่องภาษีปลาทูยาวเหยียด ๒ ฉบับ   เรื่องข้าวแพง  หลายฉบับ


ฉบับที่  ๑๖๕  หน้า ๑๗๘


       เรื่องหม่อมเจ้ากันในกรมหมื่นเสนีเทพ  ไปเมืองนนทบุรี  มีผู้ร้ายลักของ

เวลานี้จับตัวผู้ร้ายได้แล้ว  จะขึ้นไปว่าความที่เมืองนนท     ในหลวงไม่ให้ไปเพราะเป็นฤดูไข้ช้าง   ท่านชายต้องรับการนอนประจำ

โรงช้างอยู่ในวัง   คดีความให้นำมาชำระในกรุงเทพ   ท่านชายจะไม่ต้องเป็นกังวลกับคดีความของตน

จะได้ทันรักษาช้่างพอไม่เป็นอันตราย



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 12 ส.ค. 10, 23:32
ฉบับที่ ๑๗๖  เล่ม ๑  หน้า ๑๘๙


       เรื่องกงซุลเยอรมันมีหนังสือมาทูลว่า บ้านที่อยู่ไม่สมควรจะอยู่ได้   จะขอที่ นายนุชอาหารบริรักษ์

ท่านกรมท่าเคยขอพระราชทานว่าจะทำโรงภาษี





เรื่องข้าว  ข้าวแพง   ฝนแล้ง  ราษฏรไม่มีข้าวจะกิน   เรื่องข้าว



ฉบับที่ ๒๔๒  หน้า  ๒๓๙

เรื่อง ฝรั่งหรือชาติอะไรไม่ทราบ   ชื่อ ซาเลเรนีเกาวี(จดหมายจากไวซกงซุลเมืองร่างกุ้ง)   ขอจดทะเบียนเปเต๊นเครื่องจักรใช้แกลบต่างฟืน
ไม่โปรด


เรื่องน้ำมันปิโตรเลียม  เรื่องข้าว  ....


       นี่เพิ่งเล่ม ๑ นะคะ       ยังมีอีก ๒ เล่ม


หนังสือชุดนี้   เข้าใจว่าไม่มีการพิมพ์อีกเลย     

พระราชหัตถเลขานั้นมีปรากฏในเล่มอื่นๆบ้าง




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ส.ค. 10, 09:50
ฉบับที่ ๒๘๘   เล่ม ๒  หน้า ๒๗๙

(คดีพระปรีชากลการ)  อาลบาสะเตอแปลตกเรื่อง คำปรึกษาของเคาน์ซิล



ฉบับที่ ๒๘๙  เล่ม ๒  หน้า ๒๘๐ - ๒๘๑
(คดีพระปรีชากลการ)
ตอบคำฟ้อง(ของนอกซ์)



ฉบับที่ ๒๙๐   เล่ม ๒  หน้า ๒๘๒

กงสุลอเมริกันขอเรือลงไปรับ(อดีต)ประธานาธิบดีแกรนต์   เมื่อคอเวอเนอสิงคโปร์เข้ามา  มาเป็นราชการ  การนับรองเป็นราชการ  เรือรบเข้ามาไม่ถึง
ครั้งนี้เปรซิเด้นต์แกรนต์มาเป็นการไปรเวต  มาด้วยเรือเมล์  ขึ้นมาถึงกรุงเทพ

พระราชหัตถเลขาอีกหลายฉบับ เป็นรายละเอียดของการต้อนรับเปรซิเด้นต์   จัดที่พัก  จัดให้ไปเที่ยวกรุงเก่า



ฉบับที่ ๓๐๕   เล่มสอง  หน้า ๒๙๗

ทรงตรวจจดหมายนำพระยาภาษกรวงษ(ไปอังกฤษ)
คำแปลของ apology  ผิดความเกินไปกว่าสำนวนขอโทษ  ภาษาอังกฤษเขาไม่ใช้
ถ้าจะใช้ excuse  จะไปเถียงกันขึ้น
ถ้ามีผู้แปลตรวจสอบที่เมืองนอกจะเสียที
ให้เรียกอาลบาสเตอไปไล่เลียงดู


พระราชหัตถเลขาอีกหลายสิบฉบับเป็นรายละเอียดเรื่องพระปรีชากลการ บิดาและญาติ เรื่องยี่สุ่นภรรยาพระปรีชากลการลงไปอาศัยอยู่บ้างกงซุลอังกฤษจริง


ฉบับที่ ๓๗๑   เล่ม ๒  หน้า ๓๕๘
หม่อมเจ้าปฤษฏางค์ทูลขอเงิน ๖๐ ปอนด์ ขอซื้อเครื่องมือเคมิสตรีไว้ฝึกหัดเวลากลางคืน  ด้วยเวลากลางวันต้องอยู่ในออฟฟิซไม่มีเวลาเรียน


ฉบับที่ ๓๗๒
เจ้าคุณกรมท่าวานอาลบาสเตอสั่งทุ่นเหล็กเข้ามา  อาลบาสเตอกราบทูลว่าคิดจะเหมาให้บอเนียวไปวางให้แต่บอเนียวบอกว่าไม่สามารถเพราะเป็นฤดูคลื่นลม
จะพ่วงทุ่นลากไปไม่ไหว   จะใส่เรือไฟไปเรือเล็กบรรทุกไม่ได้

พระราชหัตถเลขาอีกหลายฉบับแสดงความไว้วางใจอาลบาสเตอร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


               ๑๕
ฉบับลงวัน ๖ ฯ  ๑ คำ่  ปีเถาะเอกศก  ศักราช ๑๒๔๑
เรื่องอีแฟนนีกับบุตรภรรยาพระปรีชากลการ
เรื่องการริบราชบาทว์บุตรภรรยามาเป็นสรอฟหลวง   จะบาดหูฝรั่งแรงนัก
(สรอฟ คือ slave/ วันดี)


ฉบับที่ ๔๕๑ หน้า ๔๑๗
เรื่องเรือรบาทที่เจ้าคุณกรมท่ากราบทูลว่าสมเด็จเจ้าพระยาขอเรือรบาทไปใช้ในราชการเมืองตวันตก
ทรัพย์สินเงินทองใดที่ฉ้อไปจะได้คืนก็แต่เรือลำนี้ลำเดียว    ที่จะเอาไปใช้ในราชการทางเมืองตะวันตกเป็นราชการแผ่นดิน  ได้เหมือนกัน



หนังสือเล่ม ๒ นี้ เริ่มตั้งแต่หน้า ๒๗๑ ถึง หน้า ๖๑๖    ล้วนเป็นเรื่องน่ารู้
(สหายนักอ่านล้วนอ่านมาอย่างจำใส่ใจทั้งสิ้น  เมื่อสนทนากันเรื่องพระปรีชากลการก็จะอ้างอิงถึงรายละเอียดต่าง ๆมาเถียงกันเป็นที่สำราญ)



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ส.ค. 10, 16:22
เล่ม ๓  พระราชหัตถเลขา ฉบับที่ ๗๒๒ - ๑๐๖๖


ฉบับที่ ๗๓๘   หน้า ๖๓๐
เรื่องป้อมปากน้ำ
มีพระราชดำริกับเจ้าคุณกรมท่า ว่าให้หม่อมเจ้าปฤษฏางค์ออกไปเรียนตำราใช้ตอปิโด  และจัดซื้อตอปิโดเข้ามารักษาปากน้ำ
กว่าหม่อมเจ้าปฤษฏางค์จะกลับก็คงเป็นเวลาช้านาน  ให้ใช้กัปตันริชลิวฝึกหัดคนเรือเวสาตรี โดยคิดกับพระองค์สายสนิทวงศ์




ฉบับที่ ๗๙๖  หน้า ๖๘๗   และมีพระราชหัถเลขาตามมาอีกสองสาม ฉบับ
เรื่องบารอนสติลเฟรด คิดเงินค่าถ่ายรูป ๓๗๙๕๖ เหรียญ




ฉบับที่ ๘๓๗  หน้า ๗๒๖
เรื่องการต้อนรับดุ้คออฟแมคเลนเบิก
(มีรายละเอียดอยู่ในสยามไสมยของครูสมิท/วันดี)



ฉบับที่ ๘๔๑   หน้่า ๗๒๘
ทรงพระเกษมสำราญอยู่บางปะอิน    ทรงเล่าประทานว่า ได้เสด็จไปดูจับช้างอยู่สองวัน
โขลงที่ต้อนมานี้เชื่อง    ในครั้งนี้มีการนำช้างที่จับไว้แล้ว ๕ ปีออกกับโขลง  ก็พาคนเข้าโขลงไป




ฉบับที่ ๘๖๑  หน้า ๗๔๕
ทรงปูนบำเหน็จหม่อมเจ้าปฤษฏางค์เลื่อนเป็นพระองค์เจ้าเพราะรับราชการได้ผลดี




ฉบับที่ ๘๗๒  หน้า ๗๕๓
หมอบรัดเลรับพระราชทานเงินเดือน ๒๐๐ เหรียญ




     ได้ย่อความมาตามปัญญาของนักอ่านหนังสือเก่าที่เห็นข้อมูลที่แปลก  ขอเชิญท่านที่สนใจค้นคว้าต่อตามความสามารถ
และในวันหน้าเราอาจมาสนทนากันต่อได้ถ้ามีผู้สนใจ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ส.ค. 10, 16:56

หนังสือฉลองพระคุณในงานพระราชทานเพลิงศพ  พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์(ม.ร.ว. เฉลิมลาภ  ทวีวงศ์)
ประเพณีในราชสำนักบางเรื่อง
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์  ๒๕๑๔

หนังสือเล่มสีดำ    ที่ปก มีตราประจำตระกูลที่ซ้ายมือบน  และลายเซ็นของท่านล่างขวา


บิดา                 หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ  ทวีวงศ์
                      โอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าทวีทวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์

มารดา              หม่อมเฉื่อย(สกุลเดิม  จารุจินดา)

วดปก               วันที่ ๗ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๔๔
ถึงแก่อสัญกรรม   วันที่ ๒๗  ตุลาคม   ๒๕๑๓

สถานที่เกิด         วังกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์  ตำบลแพร่งภูธร

นามเดิม             ม.ร.ว. ภิรมย์เฉลิมลาภ

พี่น้อง                ม.ร.ว. ทิพยลาภ
                       ท่านเจ้าของประวัติ
                       ม.ร.ว. ภัทรา  สิงหเสนี
                       ม.ร.ว.  ดิลกลาภ  ทวีวงศ์

ภรรยา               ม.ร.ว. ทิพยวดี   ชยางกูร  ธิดาหม่อมเจ้า สฤษดิเดช  และหม่อมเนื่อง  ชยางกูร
                       หลังจาก ม.ร.ว.ทิพยวดี  ถึงแก่กรรม  ได้สมรสกับ ม.ร.ว. พรพรรณ  ชยางกูร

ธิดา                  หม่อมหลวง ถวัลยวดี   สมรสกับนายพูลผล  เตวิทย์    ธิดาคือ นันทวดี   บุตรคือ ณพาวุธ

                       หม่อมหลวง นราวดี  สมรสกับนายสันชัย  ธิดา ๒ คนคือ  จุฑาพร  กับ หนึ่งนุช




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ส.ค. 10, 17:19
การศึกษา

โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
จบเคมบริดจ์

รับราชการในกระทรวงมหาดไทย  เริ่มจากตำแหน่งเลขานุการมณฑลภูเก็ต  เป็นข้าหลวงหลายจังหวัด
เป็นข้าหลวงพระตะบอง   อธิบดีมหาดไทย  อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์   เลขาธิการพระราชวัง  ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นองค์มนตรี


ขออภัยที่ได้ย่อประวัติการศึกษาและการทำงานของท่าน  เพราะอยากจะเล่าชีวิตในวัยเด็กของท่านในตำหนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ 
และได้เป็นมหาดเล็กรับใช้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยุ่หัว





กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ส.ค. 10, 18:25


       เมื่อต้นรัชกาลที่ ๖   สมเด็จพระพันปีเสด็จอยุธยาและพักอยู่เป็นเวลานาน      บิดาของท่านองคมนตรีเป็นข้าราชการกรมสรรพากรอยุธยา

ได้นำตัวท่านมาถวายสมเด็จพระพันปี  และนำ ม.ร.ว.วิไลยถวายสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์



       หม่อมเจ้าหญิงผ่องผัสมณี  จักรพันธ์ เล่าประทานว่า  เดิมท่านพ่อของพี่เหลิม  ไม่ได้คิดจะนำพี่เหลิมมาถวายสมเด็จพระพันปี 

แต่เผอิญพี่เหลิมไปในงาน  สมเด็จฯทอดพระเนตรเห็นจึงรับสั่งว่า "ขอฉันเถอะนะลูกคนนี้"       ท่านพ่อนิ่งไม่กราบทูลว่าอย่างใด

เพราะรักมากไม่อยากให้จากไปอยู่ไกล  ครั้นกลับมาวังจึงปรึกษากันในระหว่างพระญาติ  ซึ่งลงความเห็นกันว่า  ไม่ถวายไม่ได้  เดี๋ยวจะถูกกริ้วว่าอวดดี

สมเด็จพระพันปีทรงพระกรุณามาก  ทรงเลี้ยงรวมกับหม่อมเจ้าหลายองค์   ให้ขึ้นไปรับประทานอาหารหน้าพระพักตร์ด้วยเช่นเดียวกับเจ้านายบางองค์

รับสั่งเรียกพระองค์เองกับพี่เหลิมว่า "ย่า" ทุกครั้งไป




     หม่อมทวีวงศ์ ฯ ชื่อ ภิรมย์เฉลิมลาภ   เป็นที่รู้จักในวังว่าชื่อภิรมย์  ถูกส่งตัวไปเข้าโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นนักเรียนนอนค้าง  เสาร์อาทิตย์จึงกลับ 

ถ้าอาทิตย์ไหนไม่กลับ  อาทิตย์หน้าจะส่งคนไปรับเพราะสมเด็จทรงเป็นห่วง



      เป็นเด็กเรียบร้อย  ช่างเอาใจผู้ใหญ่      คุณท้าววรคณานันท์(เจ้าจอมม.ร.ว. ปั้ม  มาลากุล)ผู้สำเร็จราชการฝ่ายในรักคุณชายมากเพราะให้เธอทำอะไรก็ทำได้ดังใจ

แม้นแต่ปอกลูกตาลอ่อนไม่ให้มีรอยมีดและไม่ให้แตก   คุณท้าวทำนายว่าเด็กคนนี้ต่อไปจะได้สายสะพายแดง




ม.จ. พูนพิสมัย  ดิศกุล   เล่าประทาน

     เวลาอยู่ในวังพญาไทนั้น  คุณปั้มรักมาก  ใช้ให้นวดอย่างเด็กผู้หญิง  เพราะช่างประจบและเรียบร้อยอย่างเด็กผู้หญิง    เวลาสมเด็จพระพันปีเสวย

ต้องขึ้นเฝ้าพร้อมกับเด็กรุ่นเดียวกัน มี ม.จ.ศุภสวัสดิ์(ชิ้น)  ม.จ.วิสิษฐ์ฯ สวัสดิวัฒน์ และ ม.จ.มุรธาภิเศก(จิ๋ว  โสณกุล)

เวลาจะขึ้นไปนั้นกลัวด้วย  เบื่อด้วย   เพราะท่านทรงซักต่างๆทุกวัน  เช่นไปโรงเรียนเรียนอะไรบ้าง   ใครเป็นครู  ครูดีหรือไม่ดี   ดีอย่างไรไม่ดีอย่างไร

ชื่ออะไร   เขาเป็นลูกใคร  อายุเท่าไรฯ  เป็นต้น          บางทีก็ทูลตอบไม่ถูก  ท่านก็ทรงติเตียนว่าโง่  ไม่รู้จักถามใคร

วันหนึ่งท่านตรัสถามเด็ก ๆ อยากกินอะไรกันบ้าง?   ทุกคนทูลตอบว่าอยากกินข้างคลุกกะปิ         ท่านก็โปรดให้ทำขึ้นมาให้กินต่อพระพักตร์   

คนหนึ่งกิน ๓ ชาม  คนหนึ่งกิน ๑ ชาม  ม.ร.ว.เฉลิมลาภกิน ๒ ชาม           อิ่มกันแล้วท่านจึงทรงวิจารณ์ว่า  คนที่ ๑ นั้นเป็นคนจะกละจะกลาม       

คนที่ ๒ กินด้วยแกล้งทำต่อพระพักตร์  แล้วจะลงไปกินต่อข้่างล่างเพราะไม่อิ่มจริง          แต่เฉลิมลาถเป็นคนสุจริต   อยากกินก็กินให้เต็มอิ่มจริง ๆ   

จึงทรงมีพระราชดำรัสว่า  เด็กคนนี้ดี



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ส.ค. 10, 19:37

บันทึกของ ม.จ.อุปลีสาน  ชุมพล

       
      พอโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหยุดวันเสาร์อาทิตย์   นักเรียนอื่น ๆ กลับบ้าน  มีแต่นักเรียนหลวงเท่านั้นที่ค้างที่โรงเรียน

ส่วนหม่อมทวีและข้าพเจ้ามักไปเฝ้าสมเด็จพระพันปีที่พญาไทแล้วจึงกลับบ้านหรือไปค้างที่โรงเรียนอย่างนักเรียนหลวงอื่น ๆ

ข้าพเจ้าเองมักจะค้างที่พญาไทคืนหนึ่งเสมอ  แต่ไม่ได้ค้างที่ห้องคุณปุย(คุณท้าวสมศักดิ์)เหมือนแต่ก่อน  เพราะทูนหม่อมติ๋วและทูนหม่อมฟ้าน้อย(พระปกเกล้า ฯ)

ก็เสด็จกลับไปศึกษาต่อแล้ว    ที่ต้องอยู่ห้องคุณปุยก็เพื่ออยู่ใกล้ทูนหม่อมฟ้าน้อยเท่านั้น


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 13 ส.ค. 10, 23:23

ขุนตำรวจเอก พระมหาเทพกษัตรสมุห(เนื่อง  สาคริก)  เขียน


     "ระหว่่างต้นปี ๒๔๖๓  นายจ่ายวด(ปรานี  ไกรฤกษ์) กับข้าพเจ้า  ทำหน้าที่เป็นเสมียนประจำออฟฟิศทนายความของท่านราม ณ กรุงเทพ 

อยู่ด้วยกันที่พระราชวังพญาไท  ทุกโอกาสที่เสด็จลงดุสิตธานีจะต้องอยู่คอยเฝ้ารับใช้     วันหนึ่งคุณจ่ายวดซื้อมอเตอร์ไซด์ยี่ห้ออินเดียนสีแดงมาใหม่คันหนึ่ง   

เป็นธรรมดาที่มักจะใช้เวลาง่วนอยู่กับรถตามลักษณะของคนที่กำลังหนุ่ม

     ณ บริเวณถนนหน้าเรือนพักของมหาดเล็กรับใช้  ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับบ้านสองชั้นที่คุณเฉลิมลาภพักอยู่ชั้นบนพอดีนั้น   ตอนเย็นใกล้เวลาที่ท่านรามจะเสด็จลงดุสิตธานี

ข้าพเจ้าก็แต่งตัวนุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน   สวมเสื้อนอกขาวเดินลงมาจากเรือนพัก   เห็นคุณจ่ายวดกำลังง่วนอยู่กับรถมอเตอร์ไซด์   จนกะดูว่าพอจะติดเครื่องให้รถวิ่งได้

ก็หันมาชวนช้าพเจ้าให้ขึ้นนั่งเกาะท้ายเพื่อไปลองวิ่งดู    พอข้าพเจ้านึกได้ตอนที่จะขึ้นนั่ง  ก็พูดกับคุณจ่าบวดว่า  เผื่อเสด็จลงมาในตอนนี้แล้วไม่เห็นเราทั้งสองคน

น่าจะพลอยกันถูกกริ้วเป็นแน่   คุณจ่ายวดก็ว่า  เออ! จริงซิ   ถ้าเช่นนั้นเนื่องอยู่คอยรับหน้าท่านจะดีกว่า  อย่าไปเลย

     ยังมิทันจะสิ้นเสียงเรื่องการต่อรองกัน   ก็พอได้ยินเสียงคุณเฉลิมลาภตะโกนเสียงดังลงมาจากชั้นบนว่า  จะไปไหนกัน  ขอไปด้วยคน  รอด้วย ๆ  แล้วก็รีบ

วิ่งตึง ๆ ลงบันไดมาโดยไม่รอคำตอบ  ถึงพื้นชั้นล่างแล้วก็วิ่งตรงมากระโดดขึ้นนั่งท้ายรถมอเตอร์ไซด์ทันที         สมัยนั้นรถมอเตอร์ไซด์ยังไม่มีสต้าตเตอร์   

ข้าพเจ้าเห็นเขานั่งกันเรียบร้อยดีแล้วก็ช่วยเข็นท้ายให้เครื่องติดวิ่งออกประตูหายไป   แล้วข้าพเจ้าก็ไปคอยเฝ้ารับใช้ท่านราม ณ กรุงเทพ อยู่ตามหน้าที่


     เวลาผ่านไปไม่ถึง ๒ ชั่วโมง  นายพยอม อักษรมัต  ก็มาขอเฝ้ากราบบังคมทูลว่า  นายจ่ายวดขี่มอเตอร์ไซด์พาม.ร.ว. เฉลิมลาภ

ไปชนกับรถยนต์หลวงแดงพญาเข้าที่ถนนราชวิถีตอนข้ามทางรถไฟไปจากพระราชวังพญาไทประมาณ ๔ เส้น   นายจ่ายวดกะโหลกศีรษะแตกสลบ   

ส่วนหม่อมราชวงษ์เฉลิมลาภกระดูกไหปลาร้าหักเป็นลมอยู่"


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ส.ค. 10, 00:09
สวัสดีค่ะทุก ๆ ท่านที่เคารพ

คุณวันดีกรุณาเอาเรื่องดี ๆ มาเล่าให้ได้อ่าน น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

อาจารย์เทาชมพูคะ ดิฉันไปงานศูนย์สิริกิตทุกปี ๆ ละ 2 ครั้ง และก็นิยมดูแต่หนังสือเก่า โดยเฉพาะหนังสืองานศพนี่แหละค่ะ เพราะมีเรื่องที่หาไม่ได้จากหนังสือทั่วไปเยอะมาก อุดหนุนมาบางเล่ม ไม่มากนัก เงินไม่ค่อยจะมีค่ะ เพราะเขาจะขายค่อนข้างแพงนะคะ

จึงฝันว่า สักวัน คงมีคนเห็นค่าหนังสือเหล่านี้  หาทางจัดทำห้องสมุดเก็บเฉพาะหนังสืองานศพ เพราะเรื่องราวที่ติดมากับประวัติผู้จากไป มักให้ภาพและเหตุการณ์ที่คนรุ่นหลังไม่เคยรู้มาก่อน หลายเรื่องก็เป็นหลักฐานประวัติืศาสตร์ที่ดีมาก

ดังนั้น จะติดตามอ่านเงียบ ๆ อย่าไม่ลดละเชียวค่ะ ขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาแบ่งปันนะคะ

"ร่วมฤดี"


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 01:36
       ไปบ่นกับสหายทั้งปวงว่า ไม่มีหนังสืออนุสรณ์  สู้คุณหลวงเล็กไม่ได้  อายฟ้าดิน

โดนเพื่อน ดุ มาว่า  ได้ไปหมดแล้วไง  มาบ่นทำไม

อ้าวซือตี๋ทั้งหลายพูดออกมาได้อย่างไร    ให้มาแต่ประวัตินักประพันธ์เก่า ๆ ทั้งนั้น

ที่จริงก็อ่านผ่านมาบ้าง  จำเรื่องราวที่แปลกประหลาดสนุกสนานได้  แต่ไม่คิดว่าเป็นหนังสืออนุสรณ์เนื่องจากส่วนมากปกขาว  และมีตรามังกร

ห้องสมุดที่นั่งทำงานอยู่นี้คับแคบแอบอุดอู้ค่ะ  

กำลังจะรื้อลงมาบางส่วนเพื่อหาหนังสือที่มีข้อมูลสำคัญไว้ต่อสู้กับคุณหลวงเล็ก

แหล่งข่าวแจ้งมาว่าคุณหลวงคิดจะถามเรื่องพระยาคนสำคัญ ๕๐ คน

อึ้ก!(สะอึกค่ะ)  



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 02:07
เรียนคุณ โทนี่ฮุย

       ท้องขึ้นบ้างหรือไม่

คุณหลวงเล็กบ่นถึงคุณทุกวัน    ท่านสั่งดิฉันว่าท่านจะไปจตุจักรพรุ่งนี้ไปคุยกับร้านเฮียเต่า

ท่านบ่นว่าท่านจะบุกไปหาคุณด้วยทั้งๆที่ท่านก็ไม่ทราบว่าคุณอยู่ที่ไหน  ดิฉันเรียนท่านไปแล้วว่าคุณอยู่ ราบ 11

คุณก็ลองบุกไปหาท่านบ้างซิ  แล้วท่านจะรู้สึก



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 09:23

       หนังสืออนุสรณ์ของ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์นั้น  นอกจากจะมี พระราชวงศ์  ท่านผู้ใหญ่  และผู้เคยร่วมงาน เขียนไว้อาลัยแล้ว

ยังมีบทความที่มีประโยชน์น่าอ่านเป็นความรู้

       งานของท่านองคมนตรีเองมีเรื่อง

พระราชพิธีประจำปีในรัชกาลปัจจุบัน
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา

พระนิพนธ์ ของ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร
ฉากลายรดน้ำในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท


งานเขียนของ ม.ร.ว. แสงสูรย์  ลดาวัลย์
พระพุทธปฎิมากรฉลองพระองค์
ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ของไทย
พระราชพิธีบรมราชาภิเศกครั้งกรุงรัตนโกสินทร์


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 09:39
ม.ล. ปิ่น  มาลากุล  เขียนถึง หม่อมทวีวงศ์ ฯ


       "หม่อมทวีวงศ์ ฯ เฝ้าแหนรับใช้ทุกอย่างขณะที่ยังไม่เสด็จลง  หรือเมื่อเสด็จขึ้นแล้วก็ได้อยู่เฝ้ารับใช้เหมือนเป็นผู้ช่วยมหาดเล็กห้องบรรทม

เมื่อเสด็จลงกีฬาก็เล่นด้วย  โดยเฉพาะ Rounder  หม่อมทวีวงศ์ได้เป็นผู้วิ่งแทนพระองค์บ่อย ๆ   เมื่อเสด็จประพาสโดยขบวนเรือกรรเชียง

เรามักจะเห็นหม่อมทวีวงศ์นั่งอยู่ที่หัวเรือเรือพระที่นั่ง


        หม่อมทวีวงศ์  มีร่างค่อนข้างเล็ก  จึงมักต้องแสดงละครในบทของเด็กหรือสตรี  ทั้งละครพูด ละครพูดสลับรำ  และละครรำ

เช่นบทของแม่เฉลิมในเรื่องหาโล่ห์   บทของเอเลนในเรื่องวิวาห์พระสมุทร   บทของนางสุวรรณเกษาตัวปลอมในเรื่องพระเกียรติรถ 

และพระภรตกุมาร  ในเรื่องศกุนตลา  แต่ที่ข้าพเจ้าชอบเป็นพิเศษก็คือเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๖  ทรงแสดงเป็น John Smith

ในเรื่องล่ามดี  และหม่อมทวีวงศ์  แสดงเป็นลูกสาวที่ชื่อ Betty Smith"


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 09:52
ท่านผู้หญิง มณีรัตน  บุนนาค  เขียนถึงคุณอา


       "สมเด็จ ฯ ทรงพระกรุณารับสั่งเรียก คุณอาว่า 'พี่เหลิม'  ในบางครั้ง  โปรดให้ตามเสด็จไปหัวหินทุกปี

เคยรับสั่งชม คุณอา เหมือน การี่ คูเปอร์ดาราตุ๊กตาทองสมัยก่อน    ซึ่ง คุณอา ก็ภูมิใจนักหนา 

เอ่ยให้พวกเราฟังอยู่เสมอ ๆ จนต้องล้อว่า "ทรงหมายว่าการี่คูเปอร์ตอนแก่กระมัง"


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ส.ค. 10, 10:08
สวัสดีค่ะ คุณ Wandee และ คุณ Luanglek

ดิฉันได้อ่านเรื่องของพระยาทรงสุรเดช มีตอนหนึ่ง อ้างอิงจากหนังสือ 55 ปี ชีวิตของข้าพเจ้า เข้าใจว่า เป็นหนังสือของ พลโท ประยูร ภมรมนตรี

ดิฉันเคยอ่านสมัยเด็ก ๆ จากห้องสมุดที่สวนลุมพินี หลังจากนั้น หาซื้อไม่ได้เลย (เคยเห็นวางขายที่งานสัปดาห์หนังสือ แต่วันนั้น ไม่มีเงินเหลือ จึงไม่ได้ซื้อแล้วห็หาไม่ได้อีก)

ปรากฏว่า หนังสือดังกล่าว ได้รับรางวัลอะไรสักอย่างหนึ่ง แล้วถูกถอดถอนในภายหลัง ไม่ทราบสาเหตุคืออะไรคะ

หนังสืออีกเล่มที่ดีมาก และลงทุนซื้อมาเก็บไว้ในราคาค่อนข้างแพง แต่ก็คุ้มค่า คือ หนังสือ ประวัติท่านชิ้น ม.จ.ศุภสวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์

ไม่ทราบมีใครเคยอ่านบ้างไหมคะ มีอะไร ๆ ที่คนรุ่นหลังไม่รู้เกี่ยวกับเสรีไทยมากมาย

อยากได้ผู้รู้มาช่วยกันวิเคราะห์วิจารณ์ให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจประวัติศาสตร์ให้ตรงค่ะ

ด้วยความนับถือนะคะ

"ร่วมฤดี"
 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 10:48
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์  จิตราภา  (นวรัตน) ยะสวัสดิ์


หม่อมราชวงศ์ จิตราภา (นวรัตน)  ยะสวัสดิ์  เป็นธิดาสุดท้องของ มหาเสวกตรี หม่อมเจ้าปราณีเนาวบุตร  กับหม่อมผาด

เกิด               วันที่ ๖ พฤษภาคม  ๒๔๗๔  ณ วังนวรัตน  ตำบลเทเวศน์  กรุงเทพมหานคร
ถึงแก่กรรม       วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓

สามี               พลโท วิฑูรย์  ยะสวัสดิ์

บุตร               นายสุรเดช




       หนังสืออนุสรณ์เล่มนี้  เป็นหนังสือหายากเล่มหนึ่ง       เมื่อเริ่มศึกษาเรื่อง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ก็ได้ตำราปืนใหญ่มา รวมทั้งเอกสารทางการ

และประวัติศาสตร์ต่าง ๆ  ทั้งประวัตินาย นอกซ์ และ ร้อยเอกอิมเป(รายนี้ประวัติลึกลับ ไปได้มาจากเอกสารของบริติข อินเดียหรืออะไรทำนองนั้น)     ได้คิดผิดไปว่ามีหนังสือพอแล้ว

เมื่อต้องการอ่าน พระนิพนธ์ ของ กรมสถิตย์ธำรงศักดิ์  ก็ต้องไปขอยืมเอกสารของเพื่อนมาถ่ายเอกสาร  ตั้งใจว่าถ้าไม่มีการทวงถามอย่างเป็นทางการโดยปิดอากรแสตมป์มา

ก็คงจะทนุถนอมหนังสือเล่มนี้ไว้  เพราะมีประโยชน์มากเกินกว่าที่คิด


     เล่มสีน้ำเงิน  มีชื่อคุณหญิงอยู่ตอนล่างของปก เป็นสีเงิน


       นอกจากพระนิพนธ์ของกรมสถิตย์ธำรงศักดิ์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ทั้งปวงไม่น่าพลาด  ยังมีเรื่องเรือประเภทต่างๆ ในหน้า ๓๘ คือเรือบริก  เรือบาร์ก  และ สกูเนอร์  

เวลาอ่านแล้วไม่รู้จักก็รำคาญตัวเองอยู่เหมือนกัน

       มีผังราชสกุล และพระราชประวัติสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒ บทความ  มี "เลาะวัง" ๑  

บทความเรื่องพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ของ ถนอม  นพวรรณ ซึ่งมีรายละเอียดเรื่องป้อมน่าอ่านมาก  

มีบทความเรื่องการทรงผนวช  ซึ่งน่าใช้อ้างอิงมาก


       มีคำถามว่า

หกพระยาในตอนนี้คือใครบ้าง

"ราวดึกสงัดปัจฉิมราตรี                                        ก็รีบพาชนนีขนิษฐน้อย
หกพระยาข้าทูลละอองบาท                                    บวรนารถเคยได้ใช้สอย
ล้วนซื่อตรงจงรักไม่เลื่อนลอย                                  ได้ติดต้อยตามเตือนเพื่อนชีวิต"


ในจำนวนหกพระยา   เป็นสี่พระตำรวจ หรือสองพระตำรวจ            กรุณาแต่นามเท่านั้นพอ  เรื่องประวัติพอไปหาดาบหน้าได้



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 11:17
ขอบคุณ คุณร่วมฤดีค่ะ  


     เคยเตือนสหายทั้งปวงไม่ให้ใช้หนังสือของพลโทประยูร ภมรมนตรีเพราะถูกฟ้องว่าข้อมูลคลาดเคลื่อนให้เก็บออกจากตลาดค่ะ

ร้านหนังสือหรือโรงพิมพ์ที่ถือหนังสืออยู่ก็ฉีกปกเดิมออกใส่ปกใหม่สีขาว  วางขายแต่ไม่ทั่วไปนัก

คราวหน้าถ้าเห็นก็ซื้อเถอะค่ะ   อ่านสนุกมากแต่จะนำข้อมูลมาใช้คงไม่ได้


       ร้่านน้ำชาที่โรงแรมเอราวัณดั้งเดิมที่เข้่าออกทางร้านค้าเล็กๆหมู่นั้น  เป็นที่ๆ พลโทประยูรนั่งพักผ่อนประจำก่อนที่ท่านจะประสบอุบัติเหตุ

สมัยทึ่คุณเทาชมพูยังอยู่ชั้นน่าจะประถมหรือมัธยมต้นที่โรงเรียนแถว ๆ นั้น    

เค้กเนยที่นี่อร่อยมาก  และกาน้ำชาชุบเงินหนา  เครื่องไม้เครื่องมือก็เป็นเงินทั้งสิ้น  หัวหน้าบ๋อย นับถือความสามารถของ ด.ญ. วันดี

ในการกินขนม  สั่งแซนวิชแปลก ๆ   และเรียกน้ำร้อนมาเติมกาชาหลายครั้ง    

ถ้ารู้จักกับคุณเทาชมพูมาก่อน  คงเอาขนมไปส่งที่หน้าโรงเรียนทั้งๆที่คุณเทาชมพูไม่ใช่นักเรียนประจำ

ถ้าพูดถึงอาหารการกินแล้ว  สามารถเลี้ยวออกทะเลไปไกลค่ะ


     คุณหลวงวันนี้หายตัวไปจตุจักรค่ะ   เดี๋ยวดิฉันจะโทรไปตาม ตามร้านในเส้นทาง    

ท่านสูงอายุค่ะ  ไม่ชอบใช้มือถือ   ท่านหิ้วถุงผ้าหนาๆไว้ใส่หนังสือ  แล้วยังมีถุงผ้าพับไว่ในถุงผ้านั้นอีก ๑ หรือ ๒ ใบไว้ใส่หนังสือที่เจอ


       เรื่องท่านชิ้นนั้น  มีผู้เขียนละเอียดไว้หลายแห่งแล้ว


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 13:27
ถึงไม่ได้อยู่ร.ร.เดิมมาหลายสิบปีแล้ว   ทุกวันนี้    ก็ยังนัดกินบัตเตอร์เค้กกันได้นะคะ คุณวันดี   ;D

ถ้าดญ.วันดีเอาเค้กเนยมาส่งให้ดญ.เทาชมพูที่รั้วร.ร. จะได้รับฟรุ้ทเค้กฝีมือคุณแม่ของดญ.เทาชมพูตอบแทน 1 อันใหญ่
ฟรุ้ทเค้กของแม่ พิมพ์เหมือนพิมพ์เยลลี่รุ่นเก่าที่มีกลีบโค้งกลมรอบด้าน  แต่เป็นพิมพ์เค้กขนาดใหญ่เท่าเค้กวันเกิดสมัยนี้   ในเนื้อเค้กมีเชอรี่เชื่อม  และลูกเกต  ไม่มีไอซิ่ง ทำไว้แจกเพื่อนฝูง ไม่ได้ขาย
มีอะไรอย่างหนึ่งที่คุณแม่ใส่ลงในเค้กให้หอมหวาน  เป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้ม ในกระป๋องเล็กๆ หยดลงในแป้งผสมสองสามหยด     มันจะหอมเหมือนใส่บรั่นดี แต่ว่าไม่ใช่บรั่นดี    บ้านเราไม่กินเหล้ากัน  ดิฉันไม่รู้ว่าเรียกอะไรจนบัดนี้

คุณแม่เป็นลูกค้าประจำของร้านเสรีวัฒน์ที่สะพานหัน  ซื้อแป้งซอฟตาซิ้ลค์ เชอรี่เชื่อม ลูกเกต ผงฟูรอยัล เนยและนมตราแหม่มทูนหัว ที่นั่นเป็นประจำค่ะ
เมื่อไม่มีคุณแม่แล้ว  ดิฉันก็ไม่เคยได้กินฟรุ้ทเค้กอย่างนี้เลย นับแต่นั้นมา


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 14:31


เสรีวัฒน์ที่มีเนยถังทอง  แป้งสาลี และเครื่องมือทำขนมขาย 

มีหนังสือทำขนมเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ   มีขนมอย่างหนึ่งชื่อผีเสื้อ   อ่านแล้วน่าสนุกค่ะ

คือทำคัพเค้กธรรมดา  ตัดยอดที่สูงออก  แบ่งเป็นสองส่วน(ปีกผีเสื้อ)แล้วใส่กลับลงไปในคัพเค้กอันเดิม  ฟังดูง่ายมาก อิอิ

กุลสตรีไทยสมัยก่อนทำกับข้าวขนม ตัดเสื้อผ้า  ถักนิต  ปักผ้า ไปสะพานหัน  บางลำภู และสหกรณ์  อ้อ! ที่ประตูน้ำมีร้านขายเครื่องกระป๋องเรียกว่าร้านใต้ดิน

โชคดีที่แม่สนับสนุนให้อ่านหนังสือค่ะ   ถ้าเรียกหาตัวต้องขาน  แล้วไปปรากฎตัวให้เห็น

จะโดนถามว่า  ทำอะไรอยู่

อ่านหนังสือจ้ะ  ด.ญ.วันดีตอบเสียงใส

แม่ก็จะบอกว่า  ไปได้ (คือไม่ต้องช่วยงานนานาประการนับไม่ถ้วน)   การอ่านหนังสือเป็นการป้องกันตัวของดิฉันค่ะ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ส.ค. 10, 14:41
หยุดหลายวัน  ไม่ได้เล่นเน็ตเลย  เลยไม่ทราบความคืบหน้าของกระทู้เลย
มาดูวันนี้ เห็นกระทู้คืบหน้าไปหลายความเห็นก็ชื่นใจ   แถมได้คุณร่วมฤดีมาติดตามกระทู้ด้วย

วันนี้  ไปจ่ายกับข้าวแถวตลาด อ.ต.ก.  ก่อนไปจ่ายกับข้าว
นึกขึ้นได้ว่า  น่าจะหาคู่มือทำกับข้าวด้วย   แล้วก็วกเข้าตลาดจตุจักรสักหน่อย
ได้คู่มือทำกับข้าวมาเยอะเลย   ไว้วันจันทร์คงจะได้เอามาให้ดูกัน
(ไม่ต้องถามเรื่องกับข้าวนะครับ  ไม่ได้ซื้อเลย)

หนังสืองานศพ  ถ้าสนใจจะหาอ่าน  สามารถไปหาอ่านตามหอสมุดต่างๆ ได้  
กระทู้นี้  พยายามเลือกหนังสืองานศพที่น่าสนใจ  
มานำเสนอ   เก่าหรือใหม่  ไม่เกี่ยงเลย   ส่วนวิธีการเก็บนั้น  ไม่ยากครับ  ขอให้หาหนังสืองานศพให้ได้ก่อน
จากนั้นวิธีการเก็บจะตามมา   ของผมเก็บหลายวิธีมาก  ดีที่สุดและประหยัดมาก  คือใส่ถุงซิปล็อก  
 ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 14:51


วันนี้  ไปจ่ายกับข้าวแถวตลาด อ.ต.ก.  ก่อนไปจ่ายกับข้าว
นึกขึ้นได้ว่า  น่าจะหาคู่มือทำกับข้าวด้วย   แล้วก็วกเข้าตลาดจตุจักรสักหน่อย
ได้คู่มือทำกับข้าวมาเยอะเลย   ไว้วันจันทร์คงจะได้เอามาให้ดูกัน
(ไม่ต้องถามเรื่องกับข้าวนะครับ  ไม่ได้ซื้อเลย)


คู่มือทำกับข้าว จากหนังสือเก่าใช่ไหมคะ?


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 15:07
ลำดับสกุลสุจริตกุล

ราชินีกุล รัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗

ราชนิกุล รัชกาลที่ ๘ และ รัชกาลปัจจุบัน



ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ

มหาเสวกเอก พระยาอุดมราชภักดี(โถ  สุจริตกุล)



วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๒


บิดา                  เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(ปลื้ม  สุจริตกุล)

มารดา               ท่านแพ

เกิด                  ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๕

                       ที่บ้านด่าน  ปากคลองด่าน   ธนบุรี


       ในเวลานั้น บิดามีศักดิ์เป็น นายหัสบำเรอ  หุ้มแพรวิเศษคุณปู่  พระยาราชภักดี(โค  สุจริตกุล)  

และคุณหญิงรักและตื่นหลานชายมาก  รับเป็นผู้อุปการะอบรมเลี้ยงดูเองอย่างใกล้ชิด

เจ้าคุณราชภักดี และ คุณหญิง  จงรักภักดี ต่อสมเด็จพระบรมราชินีนารถ พระพันปีหลวง และสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าอยู่มาก

เมื่อสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าประสูติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช     ได้ส่งมารดาของพระยาอุดมราชภักดีให้เข้าไปฉลองพระเดชพระคุณเป็นพระนมอยู่ที่พระตำหนัก

ภายหลังจึงเรียกท่านแพว่าพระนมแพ


เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนวัดปากน้ำใกล้บ้าน

ต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ


ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ มกุฎราชกุมาร

โปรดเกล้า ฯ  ให้พระยาอุดมราชภักดีเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนปฐมมหาธาตุ  วัดมหาธาตุ

เมื่อโรงเรียนในพระราชวังสราญรมย์ได้จัดตั้งขึ้น  พระยาอุดมก็ย้ายมาเรียนที่นี่


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 15:35


       เมื่อพระยาอุดม ฯ เติบโตขึ้น  และมีความรู้พอสมควร   สมเด็จพระบรม ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณใน

ตำแหน่งมหาดเล็กห้องพระบรรทม

เมื่อเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๔๕๓   ได้รับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กห้องบรรทม

แล้วเลื่อนเป็นหัวหน้ามหาดเล็ก

ได้เป็นรองอธิบดีชาวที่  และอธิบดีชาวที่มาตลอดรัชกาล


ในพวกโขนสมัครเล่นด้วยกันต้องยกย่องว่าพระยาอุดม ฯ เป็นตัวยักษ์ที่เก่งที่สุด(ไม่รวมบุคคลที่เคยมีอาชีพทางฟ้อนรำมาแต่เดิม)


ภรรยา                           น.ส. เชิด  ไกรฤกษ์   บุตรีพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ(นพ) และคุณหญิงช้อย

บุตรธิดา                         ๘ คน

                                   คุณเตียบ (ชาย)
                                   คุณภิงการ (ชาย)
                                   คุณเจียด(ชาย
                                   คุณกุณฑี
                                   ชาย  ไม่มีชื่อ  ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก
                                   คุณกรัณฑ์
                                   คุณถวิกา
                                   คุณผะอบทิพย์


หนังสือ ต้นสกุลสุจริตกุล นั้น      เป็นหนังสือที่มีประโยชน์  สมควรหามาประดับตู้หนังสือ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 14 ส.ค. 10, 16:06
เรื่องนายจ่ายวดเสียชีวิตเพราะรถจักรยานยนต์ชนกับรถแดงพญานั้น  ท่านหม่อมหลวงปิ่นเคยเล่าให้ฟังว่า  วันนั้นไปด้วยกัน ๔ คน  จ่ายวดเป็นผู้ขับขี่มีหม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ (ตอนนั้นนั้นล้นเกล้าฯ ทรงตัดคำว่า ภิรมย์ ออกจากชื่อแล้ว) เป็นคนซ้อน  อีกคันหม่อมเจ้าดุลภากร  วรวรรณ เป็นผู้บับขี่  หม่อมหลวงปื่น เป็นคนซ้อน  ปรากฏว่าวันนั้นประสบอุบัติเหตุหมดทั้งสี่คน  แต่นายจ่ายวดอาการหนักกว่าคนอื่น  เมื่อนายจ่ายวดเสียชีวิต  ล้นเกล้าฯ โปรดให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานที่ดุสิตธานี  พระรามราชมุนี (ล้นเกล้าฯ) เจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตยได้แสดงพระธรรมเสฯศราทธพรตในงานนี้ด้วย  พระธรรมเทศนานั้นมีผู้เคยนำไปถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทอดพระเนตร  ซึ่งมีรับสั่งว่า พระธรรมเทศนานั้นทรงได้เหมือนกับพระภิกษุผู้เป็นปราชญ์ทางพระศาสนาเลยทีเดียว

ภายหลังจากนายจ่ายวดเสียชีวิตแล้ว  ล้นเกล้าฯ ถึงกับมีรับสั่งขอซื้อมอเตอร์ไซค์ของคุณมหาดเล็กเสียทุกคน  ทรงเกรงว่าจะต้องมีผู้เสียชีวิตเพราะรถมอเตอร์ไซค์กันอีก  คุณพระอดิศัยสวามิภักดิ์เคยเล่าให้ฟังว่า ท่านได้เคยกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานรถมอเตอร์ไซค์ไว้ใช้บ้าง  ผลคือโดนกริ้วเสียยกใหญ่  แถมมีรับสั่งต่อท้ายว่า "อยากจะตายหรือ?"  คุณพระเลยต้องกราบลงแทบพระบาทแล้วรีบถอยจากที่เฝ้าโดยเร็ว

เรื่องบุตรธิดาของพระยาอุดมราชภักดี เจ้าของบ้านมนังคศิลา ที่ต้องย้ำเรื่องพระยาอุดมราชภักดีเป็นเจ้าของบ้านนั้น  เพราะมีหนังสือบางเล่มไประบุว่าบ้านนั้นเป็นของพระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์  แล้วผู้อ่านรุ่นใหม่ๆ ก็ไปเชื่อตามนั้น  ออกนอกเรื่องไปเสียไกล  โปรดสังเกตว่า บุตรธิดาเจ้าคุณอุดมฯ นั้นมีนามเป็นภาชนะในตระกูล "โถ" ทั้งหมด  เพราะท่านเจ้าคุณท่านมีนามว่า "โถ"


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ส.ค. 10, 17:32
หนังสืออนุสรณ์  ในงานพระราชทานเพลิงศพ

พลโท บุศรินทร์  ภักดีกุล  ม.ว.ม,  ป.ช., ท.จ.

ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์

วัดเทพศิรินทราวาส   กรุงเทพมหานคร

วันเสาร์ที่ ๑๖  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๒



        ตามคำประกาศของคุณหลวงเล็ก ว่าจะนำเสนอหนังสืออนุสรณ์ที่ดี มีประโยชน์  ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก  เนื่องจากท่านเห็นหนังสือระดับเลิศมามาก

หนังสือเล่มนี้  มีเรื่องน่าอ่านหลายจุด   โดยเฉพาะประวัติในวัยเด็กของพลโทบุศรินทร์ และเรื่องราวของ คุณ เอลีซาเบท(จอนสัน) 

มารดาของ พลโท บุศรินทร์ ผู้มีความเป็นมาที่น่าสนใจ น่าศึกษา



ใครที่ไม่ได้อ่านหนังสืออนุสรณ์เล่มนี้  ก็จะพลาดความเข้าใจในเรื่องเก่าของบ้านเราไปเรื่องหนึ่งหรืออีกหลายเรื่องอาจเป็นได้ 



สหายของดิฉันได้เมตตาส่งเอกสารมาให้หลายปีแล้ว    ดิฉันเองอ่านแล้วก็จำอะไรได้หลายอย่าง  คิดอะไรได้อีกไม่น้อย       

พลพรรคต่างจำเรื่องราวได้คนละตอนสองตอน  เมื่อคุยกันก็ออกรสเป็นที่ยิ่ง   

ขอเรียนว่า หนังสืออนุสรณ์เล่มนี้ยิ่งใหญ่มากในเรื่องชีวิตความเป็นมา   ชาติสกุล  ผลงานของท่านผู้วายชนม์  และชีวิตของท่านในวัยเด็ก

     
       เรื่องคำถามนั้น  คุณหลวงเล็ก   จะเป็นผู้ที่มาตอบเองเพราะมีหนังสืออ้างอิงมหาศาล



       ความผิดพลาดใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการคัดลอกย่อความที่ไม่สมบูรณ์    ดิฉันกราบขออภัยต่อทายาทและญาติของท่านผู้วายชนม์ด้วย

ความตั้งใจเพียงประการเดียวคือ เผยแพร่ หนังสืออนุสรณ์เล่มนี้ให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสอ่านหนังสือที่มีคุณค่ามากที่สุดเล่มหนึ่งในหลายแง่มุม



      จงสดับเทอญ  ท่านผู้เจริญ




                ประวัติ

เกิด                          วันที่ ๒๕​ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๔๙

ที่เกิด                         บ้านบางขุนพรหม      กรุงเทพมหานคร

บิดา                          พลตรีพระยาภักดีภูธร(ชื่น  ภักดีกุล)

มารดา                       เอลีซาเบท (จอนสัน)

พี่น้อง                        ร้อยเอก หลวงชิตวีร์วสุนทรา

                               ด.ช. เมรุสวัง  (ถึงแก่กรรม)

                               ท่านเจ้าของประวัติ

                               ร้อยโท  เอกรินทร์

ภริยา                         ผูกพันธุ์  เทพหัสดิน ณ อยุธยา  ธิดาพลเอกพระยาเทพหัสดิน กับ  ไปล่  ดีมาณพ

บุตรธิดา                      บุศรพันธุ์   สมรสกับ ศ.นพ.เมระนี  เทียนประสิทธิ์       มีบุตร ๒ คน
                                ธีรพันธ์  กับ ธีรพงษ์

                                ผ.ศ. ศศันทร์พิญ    สมรสกับ ชัยพันธ์  ศรจิตติ   มี ธิดา ๑ คนคือ
                                ธนศร

                                ศรินทรเทพ  สมรสกับรักเกียรติ  กาญจนสกุล  มีบุตร ๓ คน
                                สตรัฐ   
                                ปฐวี
                                ชีวิน

                                พันเอก(พิเศษ) เกตุเทพสวัสดิ์  สมรสกับ ศิริกาญจน์  กาญจนพันธ์   มีบุตรธิดา ๒ คน
                                เทพฤทธิ์
                                ทิพยรัตน์

                                ผ.ศ. ไทพีศรีนิวัติ  ภักดีกุล

                                ทัศน์พาชื่น  สมรสกับ ร.ศ. ดร. ชวลิต  นิตยะ      มีบุตรธิดา ๒ คน
                                น.ส. อานิต้า       
                                ภราดร



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ส.ค. 10, 19:07
ยินดีมากค่ะ ที่จะได้รับฟังเรื่องนี้
ทัศน์พาชื่น เป็นเพื่อนนักเรียนเก่าร่วมรุ่นของดิฉันเอง เห็นกันมาตั้งแต่ ป. ๑    ส่วนพี่ไทพีศรีนิวัติ(สะกดชื่ออย่างระมัดระวัง)เป็นรุ่นพี่ จบมัธยมแล้วเข้าเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ตอนเด็กๆ   ก็สะดุดตาว่าทำไมเขาเหมือนลูกครึ่งกันทั้งพี่น้อง  ผมสีน้ำตาลอ่อน เช่นเดียวกับสีดวงตา ผิวก็ขาวมาก   แต่ก็ท่าทางเป็นไทยๆอย่างคนอื่นๆนี่เอง     ที่จำได้อีกอย่างคือพี่สาวของทัศน์พาชื่น ชื่ออลังการมาก  และแปลกไม่ซ้ำใครเลยในโรงเรียน
ตามนิสัยคนชอบภาษาไทยมาแต่เด็กก็ได้แต่สงสัยว่าทำไมเธอชื่อไทพี - ไม่ยักชื่อ เทพี  ซึ่งคำหลังคุ้นหูกว่า 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 02:57
บันทึกพิเศษของราชองค์รักษ์พระราชอาค้นตุกะ


       ในระหว่างที่พลโท บุศรินทร์  ภักดีกุลได้รับราชการเป็นราชองครักษ์เวร  และราชองค์รักษ์พิเศษของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เป็นเวลาร่วม ๒๐ ปีนั้น   ได้มีการรับรองราชอาคันตุกะของพระองค์ท่านหลายครั้งหลายหน      ท่านได้บันทึกไว้ว่า

ครั้งที่ ๑          ประจำพระองค์พระเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา

ครั้งที่ ๒          ประจำองค์มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรลาว

ครั้งที่ ๓          ประจำตัวประธานาธิบดีโงดินเดียมแห่งประเทศญวณ

ครั้งที่ ๔          ประจำพระองค์เจ้ามหาชีวิตแห่งประเทศลาว ในการเสด็จผ่านประเทศไทยไปยังเรือไปรักษาพระองค์ที่ประเทศฝรั่งเศส

ครั้งที่ ๕          ราชองค์รักษ์ประจำพระองค์เจ้ามหาชีวิตแห่งประเทศลาว   รับเสด็จจากเมืองสิงคโปร์กลับเวียงจันทน์

ครั้งที่ ๖          ประจำองค์พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านในการเสด็จผ่านประเทศไทย เป็นเวลา ๕ - ๖ ชั่วโมง  ในระหว่างที่ล้นเกล้า ฯ ทั้ง ๒ พระองค์ประทับอยู่หัวหิน


ครั้งที่ ๗         ประจำพระองค์พระเจ้าโบดวง และพระราชินีฟาบิโอล่า แห่งประเทศเบลเยี่ยม



       ในระหว่างการปฎิบัติหน้าที่โดยใกล้ชิดกับองค์พระประมุข  และประมุขของประเทศเหล่านั้น   มีการสนทนาระหว่างท่านกับ พลโทบุศรินทร์

ระหว่างพลโทบุศรินทร์กับองครักษ์ของเขาบ้าง   บางทีก็ระหว่างผู้ตามเสด็จ  หรือผู้ติดตามมาในขบวน   จึงมีเรื่องราวต่าง ๆ มากพอใช้

เป็นที่ปลื้มใจบ้าง   ประหลาดใจบ้าง  และสะดุดใจบ้าง    ทั้งนี้พลโทบุศรินทร์ได้กราบบังคมทูลทุกเรื่อง  






กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 03:27

       การรับรองพระเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา



       (คุณหลวงเล็กมีความทรงจำที่มหัศจรรย์     ได้กำชับดิฉันว่าอย่าลืมเรื่องตามเสด็จองค์สีหนุนะ

สำคัญเธอย้ำ        ดิฉันนั้นรักตอนตามเสด็จพระเจ้าโบดวงมาก  เพราะได้อ่านที่ท่านหญิงวิภาวดีนิพนธ์มานานแล้ว

จึงอยากจะไปคัดลอกเรื่องเกร็ดต่าง ๆ มากกว่า        คุณหลวงเล็กได้ถามดิฉันเป็นหลายครั้งว่าจำเรื่องนี้เรื่องนั้นได้หรือไม่

ได้ตอบไปว่าถ้าเป็นเรื่องที่สนุก  และมีประโยชน์ จะไม่ค่อยลืม)



พล.โทบุศรินทร์บันทึกไว้ว่า  มิได้ใส่วันเดือนปีเพราะประวัติศาสตร์ย่อมลงไว้แล้วว่าใครมาเมื่อใด       

ท่านขอเล่าเรื่องเกร็ดหรือเบ็ดเตล็ดในฐานะของราชองค์รักษ์ที่ได้พบเห็น




       เมื่อเสร็จพิธีรับรอง ณ ท่าอากาศยานแล้ว  ก็ได้เสด็จขึ้นรถยนต์ไปขึ้นรถไฟพระที่นั่ง           เมื่อมาได้สักหน่อยองครักษ์ของท่านมาปรึกษาว่า

จะทำอย่างไรดี  เพราะพระเจ้านโรดมเพิ่งจะมีคำสั่งให้ขัดกระบี่ได้       แต่ก่อนโน้นกองทัพเขมรไม่มีการใช้กระบี่เลย  แต่มาเมืองไทยครั้งนี้ท่านก็ให้ทหารเขมรมีกระบี่ 

แต่พวกเขาไม่มีพู่กระบี่จะทำอย่างไร

     พล.โทบุศรินทร์ถามว่าเรามีพู่ ๓ แบบ คือของกองทัพบก  กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ  จะเอาแบบไหน     เขาบอกว่าเอาของทหารเหมือน ๆ กัน

ท่านราชองครักษ์ก็ให้นายทหารประจำตัวไปซื้อมาให้ ๔ หรือ ๕ อัน  ออกสตังค์ไปเองด้วย



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 03:54
       ก่อนมาเมืองไทยครั้งแรก   พระเจ้านโรดมสีหนุได้แต่งเพลงกุหลาบเชียงใหม่  หรือกุหลาบเวียงเหนืออะไรสักอย่าง

หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยก็ลงข่าวกันเกรียวกราวว่า  ท่านจะมาหาสาวเชียงใหม่ไปเป็นมเหสี  ท่านเลยเลื่อนการมาเยือนออกไปก่อน



เมื่อวันที่ไปงานเลี้ยงที่สถานทูตกัมพูชานั้นได้มีรับสั่งเรื่องดนตรีกัน     กำหนดให้ทรงดนตรีร่วมกันที่พระที่นั่งอัมพร     พระเจ้านโรดมไม่ได้นำแซกโซโฟนของท่านมาด้วย    

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานให้ยืมแซกโซโฟน    คืนนั้นองค์นโรดมเล่นเพลงพระราชนิพนธ์ไปไม่กี่เพลงแล้วขอเป็นผู้ร้องเพลงแทน  

ให้วงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำเพลงประกอบ   เล่นกันจนสองยาม  อีกสองวันก็เสด็จกลับ   ข้าราชบริพารไปเก็บของ   ปรากฏว่าทางพระเจ้านโรดมได้เก็บแซกโซโฟนไปด้วย

ด้วยความเข้าใจผิด           พล.โทบุศรินทร์บันทึกว่าสุรเสียงของพระเจ้านโรดมใช้ได้ทีเดียวเมื่อร้องเพลง

(ดิฉันเคยรับฟังการพูดของสีหนุบ่อยไป   สมัยที่ข่าวต่างประเทศเรียกองค์ท่านว่า  "เจ้าชายปรอด"     แต่ไม่บังอาจไปวิจารณ์ได้ว่าเสียงท่านแหลมและรัวมาก)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 04:28
การรับรององค์มกุฏราชกุมาร  แห่งราชอาณาจักรลาว


       ฝ่ายลาวนั้นชมว่าอาหารที่ถวายอร่อยมากทุกอย่าง  แต่ควรเริ่มด้วยอาหารไทยมีข้าว ผักน้ำพริกปลาทู  จะดีกว่า

ท่านราชองค์รักษ์จึงติดต่อไปยังห้องเครื่องของล้นเกล้าให้จัดอาหารไทยเป็นหลัก    ที่โปรดปรานกันมากคือน้ำพริก

ผักจิ้มชอบกันทั้งผักต้มและผักสด



       วันที่มีหมายกำหนดการไปเฝ้าพระสังฆราชนั้น   มีรายการให้ไปสถานที่อื่น ๆ  แล้วแถมให้ไปสภากาชาดไทย  เสวยพระสุธารสแล้วจึง

จะไปเฝ้าพระสังฆราช   กรมวังผู้ใหญ่ก็อยากให้อยู่นานหน่อย  แล้วออกจากสภากาชาดไปเลย       แต่ต้องมาเถียงกับพลโทบุศรินทร์

เพราะพระราชอาคันตุกะมีพระประสงค์จะไปเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นทรงนุ่งผ้าขาวใส่ฉลองพระองค์คอปิดขาวไปเฝ้า     

เรื่องนี้พลโบุศรินทร์เขียนไว้ว่าต้องตัดสินใจเองให้เป็นไปตามความประสงค์ของราชอาคันตุกะ      ตามพระบรมราชโองการของล้นเกล้า ฯ


       ก่อนเสด็จกลับ  ได้มีการขอไปเฝ้าญาติผู้ใหญ่ คือพระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารีที่พระที่นั่งบรมพิมาน


       วันที่ไปจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนั้น  นิสิตคึกคะนองเมื่อเห็นผู้ติดตามขบวนมาถึง คือ ท้าวกระต่าย  ก็ร้องตะโกนต้อนรับว่า ท้าวกระแตมาแล้ว

เรื่องนี้ได้ยินกันถนัดมาก   จึงต้องบอกอธิการบดีให้เตือนหน่อยเพราะไม่เป็นเรื่องสมควรที่ไปล้อเลียนเขา  ซึ่งขณะนั้นก็เป็นรัฐมนตรีผู้ใหญ่ในขบวนเสด็จด้วย



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 10:54
ประธานาธิบดีโงดินเดียมมาเยือน(พ.ศ. ๒๕๐๐)

การรักษาความปลอดภัยเข้มงวด




โดยเสด็จสมเด็จพระเจ้ากรุงลาว จากหนองคายสู่ปาดังเบซาร์

การเดินทางโดยเครื่องบินนาน ๆ ไม่เหมาะกับพระอนามัย  พระชนม์มายุล่วง ๗๐ พรรษา  ประชวรด้วยโรคไขข้ออักเสบ จำต้องมีทานพระกร




รับเสด็จจากสิงคโปร์กลับเวียงจันทน์

ชาวไทยชื่นชมเจ้าหญิงฉวีวรรณพระธิดา  โปรดอาหารและผลไม้ไทย




รับเสด็จพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน
ทรงเป็นทหารอากาศ   ทรงขับเครื่องบินพระที่นั่ง กังหันไอพ่น ๒ เครื่องยนต์เอง   สมัยนั้นสายการบินต่างๆ ใช้เครื่องบิน ๔ เครื่องยนต์
ทรงพักอยู่เพียง ๕ - ๖ ชั่วโมง


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 12:11
การรับเสด็จพระเจ้าโบดวง  และพระราชินีฟาบิโอล่า  แห่งประเทศเบลเยี่ยม

      
      เจ้าหน้าที่โทรทัศน์เบลเยี่ยมแผนกภาษาฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมได้มาขอสัมภาษณ์พลโทบุศรินทร์เป็นภาษาฝรั่งเศส

ว่ารู้จักประทศเบลเยี่ยมดีเพียงใด  และรู้จักพระเจ้าแผ่นดินของเขาหรือเปล่า         ท่านได้บอกไปว่าไปอยู่ตั้งแต่อายุ ๑๖  เรียนโรงเรียนนายร้อยแผนกโปลีเทคนิค

จบวิศวกรปืนใหญ่  สอบได้ที่ ๑   รู้จักประเทศเขาดีกว่ารู้จักประเทศไทยด้วยซ้ำ


     ท่านราชองครักษ์ได้อยุ่ในครอบครัวของเจ้าพระยาอภัยราชา  ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ต้องระมัดระวังมาก

เมื่ออยู่โรงเรียนนายร้อยซึ่งมีทุกชนชั้นก็ได้พยายามประพฤติตัวให้เป็นผู้ดีตามขนบประเพณีของเขา


     ผู้สัมภาษณ์สนใจว่ายังมีเพื่อนอยู่ไหม   ท่านยังมีเพื่อนสุภาพสตรีเป็นเคาท์เตสบารอนเนสในตระกูลโบราณอยู่ในเบลเยี่ยมอีกมาก  เขาจดรายนามไป

พลโทบุศรินทร์ได้คุยต่อไปว่าเมื่อสมเด็จพระราชบิดาของพระเจ้าโบดวงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งสวีเดนนั้น   เมื่อเสด็จมาถึงเบลเยี่ยม

ก่อนที่ขบวนรถม้าพระที่นั่งจะเข้าพระราชวังนั้น  พวกนักเรียนนายร้อยที่ไปรับเสด็จได้แตกแถวไปปลดม้ารถพระที่นั่ง  แล้วช่วยกันลากเข็นรถพระที่นั่ง

เข้าไปในพระราชวังเลย     ท่านทราบดีทั้งๆที่ไม่ได้ไปรับเสด็จด้วย  เพราะรุ่นพี่เล่าให้ฟัง       เขารู้สึกประหลาดใจมากเพราะผู้สัมภาษณ์อายุ ๔๐

หรือกว่านั้นนิดหน่อย  ตอนนั้นก็คงอายุ ๙ หรือ ๑๐ ขวบเท่านั้น       เมื่อจบสัมภาษณ์ภาษาฝรั่งเศสแล้ว  แผนกเฟลมมิชได้ถามนิดหน่อยว่าจำภาษาของเขาได้ไหม  

ได้ตอบเป็นภาษาของเขาว่าการสั่งการในกรมกองต้องสั่งได้อยู่แล้วเพราะเคยประจำการ  แต่ที่ถนัดคือ  การสั่งเหล้าเบียร์ตามร้านอาหารที่พูดแต่ภาษานี้เท่านั้น




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 12:32
ท่านผู้บันทึกมีความภาคภูมิใจที่ได้รับเลือกให้ปฎิบัติการฉลองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์แห่งประเทศที่เคยอยู่ดุจเป็นประเทศพี่น้อง


     พระเจ้าโบดวงสนพระทัยการจัดดอกไม้เป็นหางนกยูงรำแพน สีธงชาติประเทศเบลเยี่ยมที่จัดไว้ตรงข้ามกับทางขึ้นด้านบน

ได้ตรัสถามพลโทบุศรินทร์ว่าพูดภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศส     ได้กราบทูลว่าพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยสำเนียงเบลเยี่ยม        ได้ทรงถามว่าเคยไปอยู่เบลเยี่ยมมาหรือ

ได้กราบทูลว่าได้ไปเป็นนักเรียนนายร้อยจนจบ  และกราบทูลไปว่าเมื่อมีพระประสูติการนั้น  ได้หยุดเรียนตั้ง ๓ วัน           ทรงพระสรวลด้วยความพอพระทัยมาก

ในระหว่างที่ประทับอยู่ในเมืองไทย  ได้รับสั่งเป็นภาษาฝรั่งเศส     ท่านราชองค์รักษ์ได้กราบทูลเป็นภาษาของท่านและบางทีก็ใช้สะแลงของคนเบลเบี่ยมไปบ้าง

ทำให้พอพระทัยเป็นอันมาก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 13:26

       รถกระบวนก็มีสาวๆแต่งกายด้วยเสื้อผ้าหลากสีมีขันใส่ดอกไม้โปรยเข้ามาในรถ   องค์รักษ์ของเบลเยี่ยมก็โบกไม้โบกมือ

ท่านราชองค์รักษ์นั่งอยู่ทางขวาสุดก็โผล่หน้าไปพูดว่า ขอบคุณนะคะ   ได้ยินเสียงเซ็งแซ่ว่า

"อุ๊ยตาย  พูดภาษาไทยชัดจัง"


       มีการจัดทัศนาจรหลายแห่ง  เสด็จไปทอดพระเนตรการใช้ช้างที่ราชอาคันตุกะทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยมาก


       วันหนึ่งได้ไปเยี่ยมบ้านคุณไกรศรี  นิมมานเหมิทร์ ผู้มีบ้านโบราณและวัตถุโบราณมาก   เจ้าของบ้านได้ถวายพระพุทธรูปโบราณอายุพันปีและมีราคาเรือนล้าน

ได้เสด็จมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   พระราชินีฟาบิโอล่าตามเสด็จมาด้านหลัง   ท่านราชองค์รักษ์ก็เดินตามมาด้านหลังอีกทีหนึ่ง   

พระราชินีได้ซักถามเรื่องการทำร่มว่าไปเอากระดาษมาจากไหน   พลโทบุศรินทร์ก็ไปถามบรรดาผู้ที่มาแสดงและกราบทูลเป็นภาษาฝรั่งเศสไป

เด็กนักเรียนและครูที่มารับเสด็จก็พูดกันว่า  ใครนะที่เป็นองค์รักษ์พระราชินีพูดไทยเก่ง     ต่อมาคุณครูใหญ่คนหนึ่งได้มีโอกาสมาคุย

ว่าพอจะจำชื่อได้ในเอกสารราชการเพราะไม่มีใครชื่ออย่างนี้  และขอถามต่อไปว่าท่านเป็นลูกครึ่งใช่หรือไม่        ท่านตอบว่าใช่แต่ครึ่งไทยเต็มตัว

เป็นข้า ฯของล้นเกล้า


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 14:13

     ที่ลำพูนมีการถวายกล้วยไม้ดอกงาม ๆ ทั้งนั้น   สุภาพสตรีคนหนึ่งวิ่งอ้อมมาถามข้าพเจ้าว่าที่เชียงใหม่ถวายดอกอะไร   ตอบไปว่ามีฟ้ามุ่ยและอื่นๆ มีช้างแดงบ้าง

ในพริบตาเดียวร้านต่างๆก็ถวายช้างแดงช่อยาวเป็นศอกกัน  ฟ้ามุ่ยก็เก็บลงจากที่แสดง




       ขอเล่ากลับไปที่การมาเยือนของพระเจ้าแผ่นดินเขมร  ราชเลขา  รัฐมนตรีต่างประเทศ  และผู้ใหญ่ในคณะของท่าน มาปรารภว่า ทางเขมรมีพจนานุกรมน้อย

อยากได้หลายประเภท เช่นพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศส - ไทย   ไทย-ฝรั่งเศส    อังกฤษ - ไทย    ไทย-อังกฤษ        ผู้คงแก่เรียนท่านหนึ่งอยากได้ปทานุกรมบาลี - สยาม

อภิธานของนักปราชญ์ไทย        พลโทบุศรินทร์ก็ขอรายชื่อแล้วสั่งร้านนิพนธ์ซึ่งเป็นร้านของเพื่อนมาให้  ก่อนวันเดินทางกลับก็ได้หนังสือมาครบเป็นราคา สามพันกว่าบาท

ถวายองค์นโรดม  เจ้านายบางพระองค์ และบุคคลที่ต้องการ     บอกว่าเป็นของพระราชทาน    และได้เรียนหม่อมทวีวงศ์ราชเลขาฯว่าเขาต้องการอย่างนี้

และได้จัดการแบบกระทันหันให้


       ในวันรุ่งขึ้นเมื่อเข้าเฝ้าถวายบังคมลา   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคงประหลาดพระทัยว่าแต่ละคนขอบพระหฤทัยที่รับพระราชทานหนังสือต่าง ๆ ที่มีค่ามากมาย

เลยทรงอึ้งนิดหน่อย   หม่อมทวีวงศ์จึงกราบบังคมทูลว่า บุศรินทร์จัดถวายโดยบอกไปว่าเป็นของพระราชทาน

ภายหลังได้รับทราบว่าในหลวงรับสั่งว่า เขาทำถูกแล้ว  ให้หม่อมทวีวงศ์จ่ายค่าหนังสือให้        พลโทบุศรินทร์รู้สึกปิติยินดีเพราะได้กระทำไปไม่เป็นระเบียบแบบแผนของราชการ

คือต้องเสนอไปว่าจะจัดการได้หรือไม่  จะไปเอางบประมาณมาจากไหน          เมื่อเจ้านโรดมถึงพนมเปญแล้วและได้รับหนังสือหนักหลายกิโลกรัม 

ได้มีจดหมายตอบรับมาถึงข้าพเจ้าและขอขอบพระเดชพระคุณในหลวงที่ทรงพระกรุณาพระราชทาน  ซึ่งข้าพเจ้าก็ส่งจดหมายต่อให้สมุหราชองครักษ์ไปตามระเบียบ

ที่กระทำดั่งนี้เพราะได้รับพระบรมราชโองการผ่านสมุหราชองค์รักษ์ตั้งแต่แรกว่า  ฝ่ายเขาจะต้องการอะไรทำอะไร  ขอให้จัดการตามความประสงค์ได้


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 22:33
เรื่องการศึกษาและชีวิตในราชการของพลโทบุศรินทร์  ภักดีกุล    ขอข้ามไปเพราะมีเรื่องมารดาของท่าน คือ คุณ Elizabeth Johnson ที่สมควรนำมาเล่า


ประวัติบรรพบุรุษทางรัสเซียได้มาจากการถอดเทปการบอกเล่าของ ร.อ.หลวงชิตวีร์สุนทรา  พี่ชายของพลโทบุศรินทร์


อลิซาเบธ  เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๗๕     นับแบบไทยคือวันที่   ๔ พฤศจิกายน    ถึงแก่กรรมเมื่อในเดือนสิงหาคม  ๑๙๐๘  อายุ ๓๓ ปี

มารดาชืื่อ หลุยส์  จอนสัน-เมซาวิช    ได้สมรสใหม่เมื่อสามีเสียชีวิตเมื่ออายุ ๔๕

คุณอลิซาเบธ มีพี่น้อง ๓ คน

คนโตชื่ออันนา  สมรสกับนายแพทย์สกุล บิสตรอฟ  มีลูกสองคน
คือ เฮเลน(เรียกกันว่าลูลู่)

คนต่อมาคิอนิคโคไล หรือ โคล่า  แต่งงานกับคน 'เชค' มีลูกชื่อ วาลาดีเมีย

คนที่สองคืออลิซาเบธ

คนที่สาม เป็นชายชื่อนิโคลัส

ครอบครัวคุณอลิซาเบธถือศาสนา ออร์โทด็อกซ์  แต่เธอถือศาสนา ลูเธอเรียน  

มาดามหลุยซ์สอนเปียนโนในราชสำนักพระเจ้าซาร์ให้กับแกรนด์ดุีคทุกคน    อลิซาเบธจึงสนิทสนมกับฝ่ายในของราชสำนักรัสเซีย


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 22:57
ในหนังสืออนุสรณ์เล่มหนา  เล่าไว้ว่า



       ในรัชกาลที่ ๕ นั้น   พระพุทธเจ้าหลวงได้ส่งบรรดาเจ้าฟ้าต่างๆไปศึกษาต่างประเทศหลายองค์

พระมงกุฎเกล้าไปอังกฤษ  กรมพระนครสวรรค์ไปเยอรมัน ฯลฯ   ทูลกระหม่อมจักรพงศ์ได้ไปเป็นประดุจพระโอรสของซาร์

แห่งรุสเซีย     ในการเช่นนี้  ท่านมักจะส่งบุคคลที่เรียนดี ๆไปเป็นเพื่อนนักเรียนที่แข่งขันกัน   ให้มีองค์รักษ์ประจำตัวไปด้วย

คุณชื่น ภักดีกุล(พลตรีพระยาภักดีภูธร)สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย ได้ที่ ๑ ในทุกวิชาที่เรียน  และยังได้ลาไปบวชเสียหนึ่งพรรษา

ก่อนโดยไม่ยอมออกเป็นนายทหาร      จนลาสิกขาบทกลับมาเรียนในชั้นสูงสุดจึงสอบออกได้เรียบร้อย  ได้เป็นร้อยตรีประจำกรมทหารราบที่ ๑

มหาดเล็กรักษาพระองค์       


       ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ให้ไปเฝ้าที่พระที่นั่งองค์หนึ่งในบริเวณพระที่นั่งอนันตสมาคม   

มีพระราชดำรัสเรื่องทูลกระหม่อมทั้งสามพระองค์ที่จะต้องเสด็จต่างประเทศ   ท่านเลือกให้ไปอยู่กับทูลกระหม่อมเล็กที่รุสเซีย

โปรดเกล้าพระราชทานยศให้เป็นร้อยโทและเป็นหลวงสุรยุทธโยธาหาญ        มีเพื่อนเรียนคือนายพุ่มไปด้วยอีกคน



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 15 ส.ค. 10, 23:41

     ซาร์แห่งรุสเซียในสมัยนั้นมีบุคคลิกเป็นคนธรรมดา  ไม่ใช่จะยิ่งใหญ่อะไรหรือแสดงพระอาการยิ่งใหญ่ทั้งหลายก็หาไม่

คุณหลวงสุรยุทธ ฯ เล่าให้บุตรฟังว่า        ทุก ๆ คืนจะเสด็จไปตามระเบียงพระราชวัง  และจะไปดับไฟจุดที่อร่ามนั้นให้เหลือไว้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น  

นับว่าพระองค์ทรงประหยัดและอยากให้มีการใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้



       อีกเรื่องหนึ่งที่แสดงให้เห็นการถวายความใหญ่ยิ่งให้พระเจ้าซาร์ในสมัยนั้นก็คือ         วันหนึ่งคุณหลวงตามเสด็จทูลกระหม่อมจักรพงษ์ไปในรถม้า

รถได้ไปชนคนเข้าที่กลางถนนโดยบังเอิญ    ตำรวจรีบมาถามว่าเป็นรถใคร ฯลฯ   เมื่อทราบว่าเป็นรถทูลกระหม่อม ฯ เท่านั้นก็จับคนที่ถูกชนไปโรงพัก    

คุณหลวงพยายามบอกว่าชายผู้นั้นเจ็บและไม่ผิด   แต่ตำรวจหาว่าไปขวางทางรถยุพราชแห่งรัสเซีย



       วันหนึ่งเจ้านายไทยดูเหมือนจะเป็นทูลกระหม่อมอัษฏางค์เสด็จไปเยี่ยมทูลกระหม่อมเล็กที่รุสเซีย        

วันนั้นรถทรงมีธงหรือเครื่องหมายอะไรก็จำไม่ได้  แสดงว่าเป็นรถระดับยุพราชของพระเจ้าซาร์       บังเอิญจะต้องข้ามทางรถไฟแห่งหนึ่ง  

เจ้าหน้าที่รถไฟได้รีบไปยกธงแดงให้รถไฟหยุดเสียก่อน  เพื่อรถพระที่นั่งได้ผ่านไป



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ส.ค. 10, 01:03
       
       อลิซาเบ็ธ  หรือ ลิลี่   ชอบอ่านหนังสือทางศาสนา   หนังสือที่คุณชิตวีห์เก็บได้ที่บ้านเป็นหนังสือภาษาฝรั่งเศส

มีการขีดเส้นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนา       ชอบแต่งตัวและเล่นละคร    อันนาชอบดนตรี

คุณหลวงมียศร้อยเอกเรียกเป็นบารอน(หลวง)

 

      การแต่งงานจัดขึ้นในออสเตรียโดยเข้าโบสถ์  แต่งแล้วกลับรุสเซีย   คุณหลวงได้ตามทูลกระหม่อมกลับเมืองไทยครั้งหนึ่งโดยทิ้ง

ภรรยาไว้ชั่วคราว

     
       คุณชิตวีร์เกิดที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก      จำได้แม่นว่า บ้านเลขที่ ๙ ถนนทรัวดิสกายา  เพราะต้องเขียนสถานที่เกิดเมื่ออยู่โรงเรียนนายร้อย

ทูลกระหม่อมทรงชื่นชมแต่เกรงว่าจะไม่เป็นพุทธ  จึงประทานพระแก้วหน้าตักกว้างประมาณ ๓ นิ้ว  นัยว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน

ไปให้ทรงสักการะบูชา   คุณบุศรินทร์เล่าว่าพระพุทธรูปองค์นี้ยังอยู่บนที่บูชาในห้องนอนคุณบุศรินทร์


       ปีต่อมาก็เกิดคุณเมรุสวัง   และเดินทางกลับสยามเมื่อลูกคนที่สองอายุไม่กี่เดือนและลูกคนที่สามอยู่ในท้อง

ได้ไปเช่าบ้านสองชั้นเป็นบ้านไม้ค่อนข้างใหญ่อยู่หน้าวังบางขุนพรหม


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ส.ค. 10, 01:23

       เมื่อทูลกระหม่อมเล็กสำเร็จเป็นนายทหารแล้ว   ได้รับคำสั่งให้เข้าประจำที่กรมทหารม้าฮูซซาร์

ในระหว่างนั้นก็มีการขี่ม้ากันตามถนนหนทางในเมือง  เป็นการปกติตามวิสัยของนักขี่ม้าทั้งหลาย     แต่วันหนึ่งทูลกระหม่อม ฯ ทรงม้าผ่านโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

ซึ่งหม่อมคัธรินเป็นพยาบาลอยู่ด้วย   จะเป็นด้วยการที่ชอบพอกันมาก่อนหรือจะโดยบังเอิญก็ไม่มีใครเล่าให้ฟังด้วย   เพียงแต่ฟังมาว่าทูลกระหม่อม ฯ

ตกม้าที่หน้าโรงพยาบาลนั้น   แต่พระอาการก็ไม่สาหัสอะไร   ต่อมาก็เลยได้แต่งงานกับหม่อมคัธริน



การแต่งงานครั้งนี้ไม่สามารถทำได้เพราะเกี่ยวกับศาสนาโอธอด๊อกซ์ของรุสเซีย        คุณหลวงกับคุณลิลี่และญาติจึงได้ช่วยจัดการให้เดินทางไปแต่งงานกันที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล  ตุรกี




(เรียนท่านที่ผ่านมาอ่าน    ได้พยายามคัดลอกความตามลำดับจากหนังสืออนุสรณ์ทั้งสองเล่มสลับกัน 

เปลี่ยนเพียงสรรพนามต่าง ๆ ให้เป็นบุคคลที่สามหรือชื่อและตำแหน่งของท่านผู้บันทึกเท่านั้น   รูปต่างๆนั้นจขกทจะนำมาลงในเวลาอันสมควร)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 16 ส.ค. 10, 08:14


วันนี้  ไปจ่ายกับข้าวแถวตลาด อ.ต.ก.  ก่อนไปจ่ายกับข้าว
นึกขึ้นได้ว่า  น่าจะหาคู่มือทำกับข้าวด้วย   แล้วก็วกเข้าตลาดจตุจักรสักหน่อย
ได้คู่มือทำกับข้าวมาเยอะเลย   ไว้วันจันทร์คงจะได้เอามาให้ดูกัน
(ไม่ต้องถามเรื่องกับข้าวนะครับ  ไม่ได้ซื้อเลย)


คู่มือทำกับข้าว จากหนังสือเก่าใช่ไหมคะ?

ถูกต้องครับ  แต่ดูไปดูมา คู่มือทำกับข้าวที่ได้มานี่ ไม่เห็นมีเรื่องทำกับข้าวสักเล่ม ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ส.ค. 10, 08:44
       ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ให้ไปเฝ้าที่พระที่นั่งองค์หนึ่งในบริเวณพระที่นั่งอนันตสมาคม   

มีพระราชดำรัสเรื่องทูลกระหม่อมทั้งสามพระองค์ที่จะต้องเสด็จต่างประเทศ   ท่านเลือกให้ไปอยู่กับทูลกระหม่อมเล็กที่รุสเซีย

โปรดเกล้าพระราชทานยศให้เป็นร้อยโทและเป็นหลวงสุรยุทธโยธาหาญ        มีเพื่อนเรียนคือนายพุ่มไปด้วยอีกคน

ชีวิตเหมือนฝัน : นายพุ่มสกี้ พระสหายสนิทสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ผู้จากเมืองไทยไปกว่า 33 ปี
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/07/K5595620/K5595620.html

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/07/K5595620/K5595620-57.jpg)

 ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ส.ค. 10, 09:02
       เมื่อทูลกระหม่อมเสด็จกลับกรุงเทพ   จึงให้ลิลี่กับหม่อมคัธรินพักอยู่ที่สิงคโปร์

ให้ลิลี่เป็นพี่เลี้ยงอยู่จนกว่าจะได้จัดที่พักให้เรียบร้อย  จึงจะให้เข้ามายังกรุงเทพ


       ทูลกระหม่อมประทับที่วังปารุสกวัน      ได้จัดให้หม่อมคัธรินพักที่วังท่าเตียนและคุณหลวงได้เช่าบ้านที่บางขุนพรหม

ทุกเย็นมีการนั่งรถม้าเที่ยวให้ฝรั่งกินอากาศ          คุณปู่ขับรถม้าให้คุณย่านั่งคู่ไปตามถนนราชดำเนินตลอดสายจนถึงพระบรมรูป

ได้เวลาก็พาลิลี่กลับไปรับหม่อมคัธรินไปบ้าง     แหม่มเหมือนกันไม่มีใครรู้     และพาไปเฝ้าทูลกระหม่อมที่วังปารุสกก์

เป็นเช่นนี้หลายเพลา  จนข่าวทราบถึงพระเนตรพระกรรณของพระพุทธเจ้าหลวง   ทรงกริ้วมากและทรงกริ้วคุณหลวงที่ให้เป็นพระพี่เลี้ยงแล้วไปแต่งงานกับผู้หญิงรุสเซีย

พลอยให้ทูลกระหม่อมแต่งไปด้วย          ทูลกระหม่อมก็กราบทูลเป็นใจความสำคัญว่า   การที่ผู้หญิงฝรั่งยอมแต่งงานด้วยเพราะเขาเห็นว่าเราคนไทย

ไม่ใช่คนป่าเถื่อนหรือไร้วัฒนธรรมทำนองนี้



      


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 16 ส.ค. 10, 09:25

ขอบคุณค่ะคุณเพ็ญสำหรับรูป   ใจดีเสมอ



       พลโทบุศรินทร์เขียนว่าทูลกระหม่อมโดนตัดเงินปี  จึงต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในวัง

คุณหลวงจึงทูลว่ามีที่อยู่เรียบร้อยแล้ว  ขออยู่ตามลำพังเพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลือง  จะเข้าเฝ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้นจากที่เคยเฝ้าทุกค่ำเช้า

เรื่องนี้เกิดก่อนพระองค์หนูเกิดด้วยซำ้   ฉะนั้นการที่ 'เกิดวังปารุสก์'  ของท่านกล่าวความโดยรวมว่า   ในระยะที่ทูลกระหม่อมโดนตัดเงิน

และตกทุกข์ได้ยากนั้น   มีคนทรยศหรือเอาใจออกห่างอะไรทำนองนั้น    จึงสันนิษฐานว่า  หม่อมคัธรินคงไม่ได้เล่าให้ท่านหนูทราบ

เรื่องความเป็นไประหว่างตัวหม่อมกับลิลี่เมื่อก่อนท่านหนูเกิด        ทูลกระหม่อมยังให้ความเมตตาปรานีต่อบิดาของพลโทบุศรินทร์

ตลอดชีวิตของพระองค์   เช่นเมื่อขอยืมเงินซื้อบ้านที่ราชดำเนินก็ได้และรับสั่งว่าประทานให้ไม่ต้องเอาเงินคืน       

ในภายหลังเมื่อซื้อที่ที่พญาไทก็ได้ขอยืมเงินท่านอีกเหมือนกัน   แต่ครั้งนี้มีเงินเดือนพอลืมหน้าอ้าปากแล้วก็ส่งคืนทุกเดือนจนหมด



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 16 ส.ค. 10, 16:27
ถูกต้องครับ  แต่ดูไปดูมา คู่มือทำกับข้าวที่ได้มานี่ ไม่เห็นมีเรื่องทำกับข้าวสักเล่ม ;D
[/quote]

ขอเรียนแนะนำ ๑ เล่มครับ  เป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงฉายชื่น  กำภู  เล่มขนาด ๘ หน้ายก  ปกสีแดงๆ  ในเล่มนี้มีตำรากับข้าวตำหรับท่านหญิงเป้า  รวมทั้งขนมต่างๆ ด้วยครับ  ลองทำบางรายการแล้วอร่อยดีครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ส.ค. 10, 00:17
       พระยาภักดีภูธร(นิล)  บิดาของพระยาภักดีภูธร(ชื่น)  เป็นองครักษ์ผู้ใหญ่ในรัชกาลที่ ๔  ทางวังหน้า

มีพระราชนิพนธ์พูดถึงไว้ ว่า ......เข้าวังไม่เป็นเวลาพระยาภักดีภูธร       ในรัชกาลนี้  เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชนำหญิงสาวสวย

๒ คนมาถวาย   คนหนึ่งได้เป็นเจ้าจอมมารดา  เกิดสกุลสังขทัต   อีกคนหนึ่งชื่อผิว  ตกมาเป็นภรรยาพระยาภักดีภูธร(นิล)

เมื่อผิวได้ให้กำเนิดชื่น   ผมหยิกแบบปักษ์ใต้อยู่คนเดียวในหมู่พี่น้อง   พี่ ๆ ต่างมารดาได้รับมรดกและแยกย้ายกันไป

ชื่นไม่ได้รับมรดกเลย



       บ้านของพระยาภักดีภูธร(นิล)เดิมอยู่ใกล้ ๆ กับสนามหลวงตรงที่เป็นกระทรวงยุติธรรม   เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๐ นำ้ท่วมกรุงครั้งใหญ่

เจ้าคุณต้องเข้าวังด้วยเรือจ้างเพราะน้ำท่วมสนามหลวง    เขาเวนคืนที่นั่นทำเป็นคุกลหุโทษแล้วย้ายคุกไปเรือนจำคลองเปรม  

ท่านย้ายไปบ้านหลังวัดศิริอำมาตย์  ริมคลองเล็ก ๆ หลังโรงแรมรัตนโกสินทร์


       พระองค์หนูเกิดที่วังปารุสก์ ฯ หลังจากนี้หม่อมคัธรินก็เข้าเฝ้าสมเด็จพระพันปีตลอด  เพราะสมเด็จพระพันปีโปรดพระองค์จุล


    
       เมื่อก่อนที่หม่อมคัธรินจะได้เข้าเฝ้านั้น  ทั้งหม่อมและลิลี่ได้พยายามฝึกการหมอบกราบ และการแต่งกายแบบไทย

นุ่งโจงกระเบนใส่เสื้อแขนยาวมีลูกไม้         ลิลี่เป็นเพื่อนและพี่เลี้ยงตลอดมา  นับว่าเป็นเพื่อนสนิทกันมาก    เพราะได้มาช่วยทำคลอดที่บ้านราชดำเนินทั้งๆที่ท้องแก่

แต่พอเฝ้าแหนได้แล้ว  ก็ตีจากไปเลย  ทำให้ลิลี่ต้องเสียใจและได้เขียนจดหมายเป็นภาษารัสเซียให้พี่สาวคือบีสตอฟที่เมืองนอกเป็นอันมาก   ฉะนั้นเมื่อล้มเจ็บไม่สบายยังเสียใจ

และน้อยใจหนักหนา


       ลิลี่ป่วยมากเพราะมีลูกติด ๆ กัน  ร่างกายไม่แข็งแรง    และตามมาด้วยไทฟอยด์              หมอบอกว่าถ้าอยู่เมืองไทยจะไม่มีโอกาสรอดเลย  ถ้าหากอยู่เมืองนอก

โอกาสรอดก็จะเป็น ๕๐/๕๐   พระยาภักดีภูธรขออนุญาตตามไปส่งถึงสิงคโปร์  แต่ไม่ได้รับอนุญาต  

       เวลาไปเรือต้องไปเข้าทางคลองซูเอซ  ไปคอนแสตนติโนเปิลแล้วจึงเข้าโอเดสซ่า

       ระหว่างเดินทางถึงปอร์ตเซด  ทางเลนินกราดก็ได้รับโทรเลขจะเป็นของหมอหรือกัปตันเรือมาให้พี่สาวคืออันนามาดูใจเป็นครั้งสุดท้าย

       เรื่องนี้อันนากับลูลู่เล่าให้ฟัง        เมื่อเรือเทียบแล้ว  อันนาก็ขึ้นไปพบ  เมื่อเห็นหน้าพี่สาวแล้วแล้วลิลีก็จากไป


       ร่างของอลิซาเบ็ธนำขึ้นจากเรือไปยังเลนินกราดและได้ทำพิธีฝังที่นั่น


       
       ซาร์พระราชทานรถบรรทุกหีบศพ  มีตรามงกุฎและเทียมม้าขาว   มีผู้ใหญ่เดินตามกระบวนอย่างมีเกียรติยิ่ง






กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ส.ค. 10, 00:31


เมื่อร้อยเอก หลวงชิตวีร์วสุนทรา  ได้ติดตามหาญาติ คือคุณยายและคุณป้านั้น

ทั้งสามคนได้หลบหนีพวกบอลเชวิคมาที่อังกฤษ  ได้พักอยู่ที่พระราชวังเคนซิงตัน พาเลซโดยทางเจ้าหญิงอังกฤษเอื้อเฟื้อให้อยู่

เนื่องด้วยมาดาม Louise (Kreisler) Johnson - Missievitsch เป็นที่คุ้นเคยมาจากราชสำนักรุสเซีย

ต่อมาได้ย้ายไปมีบ้านที่นอกลอนดอน  ที่เวบริดจ์


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ส.ค. 10, 09:15
เรื่องนายจ่ายวดเสียชีวิตเพราะรถจักรยานยนต์ชนกับรถแดงพญานั้น  ท่านหม่อมหลวงปิ่นเคยเล่าให้ฟังว่า  วันนั้นไปด้วยกัน ๔ คน  จ่ายวดเป็นผู้ขับขี่มีหม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ (ตอนนั้นนั้นล้นเกล้าฯ ทรงตัดคำว่า ภิรมย์ ออกจากชื่อแล้ว) เป็นคนซ้อน  อีกคันหม่อมเจ้าดุลภากร  วรวรรณ เป็นผู้บับขี่  หม่อมหลวงปื่น เป็นคนซ้อน  ปรากฏว่าวันนั้นประสบอุบัติเหตุหมดทั้งสี่คน  แต่นายจ่ายวดอาการหนักกว่าคนอื่น  เมื่อนายจ่ายวดเสียชีวิต  ล้นเกล้าฯ โปรดให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานที่ดุสิตธานี  พระรามราชมุนี (ล้นเกล้าฯ) เจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตยได้แสดงพระธรรมเทศนาศราทธพรตในงานนี้ด้วย  พระธรรมเทศนานั้นมีผู้เคยนำไปถวายสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทอดพระเนตร  ซึ่งมีรับสั่งว่า พระธรรมเทศนานั้นทรงได้เหมือนกับพระภิกษุผู้เป็นปราชญ์ทางพระศาสนาเลยทีเดียว

ภายหลังจากนายจ่ายวดเสียชีวิตแล้ว  ล้นเกล้าฯ ถึงกับมีรับสั่งขอซื้อมอเตอร์ไซค์ของคุณมหาดเล็กเสียทุกคน  ทรงเกรงว่าจะต้องมีผู้เสียชีวิตเพราะรถมอเตอร์ไซค์กันอีก  คุณพระอดิศัยสวามิภักดิ์เคยเล่าให้ฟังว่า ท่านได้เคยกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานรถมอเตอร์ไซค์ไว้ใช้บ้าง  ผลคือโดนกริ้วเสียยกใหญ่  แถมมีรับสั่งต่อท้ายว่า "อยากจะตายหรือ?"  คุณพระเลยต้องกราบลงแทบพระบาทแล้วรีบถอยจากที่เฝ้าโดยเร็ว
 

หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๙
ปกสีม่วง มีลายเซ็น ปิ่น  มาลากุล สีทอง บนปก
ในเล่มพิมพ์อัตชีวประวัติของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล 
ซึ่งท่านแต่งแล้วลงพิมพ์เป็นตอนๆ ในมานวสาร 
(มานวสารเป็นวารสารที่ดีมาก มีข้อมูลเกี่ยวกับสมัยรัชกาลที่ ๖ แน่นเอี้ยด
เพราะผู้ที่เคยเป็นข้าราชบริพารในรัชกาลที่ ๖ ได้เขียนเรื่องต่างๆ มาลงเอง
ปัจจุบัน  ตามร้านหนังสือเก่า ตั้งราคาขาย เล่มละ  ๑๐๐ บาท เป็นขั้นต่ำ
และไม่ได้มีทุกร้านด้วย  จำได้ที่ร้านคุณแม่คนหนึ่งเขามีหลายเล่ม)

มีข้อความเล่าอ้างถึงเรื่องนี้ว่า

เดือนธันวาคม ๒๔๖๒  นายจ่ายวดขี่รถจักรยานยนต์ยี่ห้อ Indian จะไปบ้านที่ถนนราชวิถี 
โดยมีหม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ  ทวีวงศ์  เกาะท้ายไปด้วย
เมื่อทั้งสองคนมาถึงข้างสวนจิตรลดา  รถจักรยานยนต์นั้นส่ายมากทำให้หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ กระเด็นตกรถไป
ส่วนรถกับนายจ่ายวดวิ่งเข้าพุ่งชนรถโกดังของหลวงที่หยุดอยู่ข้างทางเพื่อจุดตะเยงเพราะเป็นเวลาใกล้ค่ำ

นายจ่ายวดบาดเจ็บหนัก และเสียชีวิตในอีก ๓ วันต่อมา 
ส่วนหม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ บาดเจ็บถึงเส้นประสาทพิการ
ต้องไปรักษาตัวที่อังกฤษ  และเมื่อหายแล้วก็ได้อยู่ศึกษาต่อที่นั่นจนจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

(ในราชกิจจาฯ เล่ม ๓๖ หน้า ๓๐๑๔   ลงข่าวตายของนายจ่ายวด (ปาณี  ไกรฤกษ์) ว่า
จ่า นายจ่ายวด  (ปาณี  ไกรฤกษ์ )  กรมมหาดเล็ก  อายุ ๒๒ ปี ป่วยบาดแผลและพิษกำเริบ  ถึงแก่กรรมวันที่ ๒๗ ธันวาคม  พระพุทธศักราช ๒๔๖๒)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ส.ค. 10, 10:31
เหตุการณ์ดังกล่าว  ทำให้มหาดเล็กรับใช้เหลืออยู่ ๓ คน
จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งนายชัด  กัลยาณมิตร  บุตรเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย  กัลยาณมิตร)
เป็นมหาดเล็กรับใช้  และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกริ้วมาก

ท่านหม่อมหลวงเล่าต่อไปอีกว่า

ท่านมาคิดถึงตัวท่านเอง  ที่ก่อนที่นายจ่ายวดจะประสบอุบัติเหตุไม่กี่วัน  
หม่อมเจ้าดุลภากร  วรวรรณ ได้ทรงขับรถจักรยานยนต์เอ็กเซลเซีย  
รับหม่อมหลวงปิ่นนั่งที่รถพ่วงข้าง  
มีพลตำรวจตรี  หลวงศิลปประสิทธิ์  (บิดาของคุณหญิงเต็มศิริ  บุณยสิงห์)
ขี่รถเดี่ยวๆ อีกคันคู่เคียงคุยไปด้วยกันตามถนนพญาไท  
ขณะนั้นรถไฟสายมักกะสันแล่นมาตามรางโผล่ออกมาจากพุ่มไม้และไม่มีเหล็กกั้นทาง

หม่อมเจ้าดุลภากร  เร่งเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์พ่วงข้างเต็มที่ตัดหน้ารถไฟข้ามทางไปได้
ส่วนพลตำรวจตรี หลวงศิลปประสิทธิ์  (ตาบ) ม้วนตัวลงยอมล้มอยู่กลางถนน  
ต่างฝ่ายต่างนึกว่า อีกฝ่ายหนึ่งคงจะแย่แล้ว  โชคดีที่ทั้ง ๓ คนปลอดภัย  
ถ้าเกิดหม่อมเจ้าดุลภากรเกิดพยายามหยุดรถและพลตำรวจตรี หลวงศิลปประสิทธิ์พยายามเร่งเครื่องข้ามทางไปตัดหน้ารถไฟ
ก็คงจะไม่รอดทั้ง ๓ คน  และอาจจะเป็นเหตุให้รัชกาลที่ ๖ ทรงกริ้วมาก
จนเป็นเหตุให้นายจ่ายวดเลิกขี่รถจักรยานยนต์ก่อนจะเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวก็ได้

หลังจากนั้นมา  หม่อมเจ้าดุลภากรอยู่ในพวกมหาดเล็กที่ถูกกริ้ว  
ทำให้ต้องทรงเปลี่ยนไปใช้รถยนต์แทน  โดยทรงได้รถมาทีละคัน  จนมีมากถึง ๕ คัน
รายละเอียดเรื่องรถของหม่อมเจ้าดุลภากรนั้นก็น่าสนุก  แต่ไม่ขอเล่าต่อ
ให้ท่านไปหาอ่านในหนังสืองานศพดังกล่าวเถิด

รูปด้านล่างนี้เป็นพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๖ ทรงฉายร่วมกับมหาดเล็ก

แถวยืน  ซ้ายไปขวา  หม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล   หม่อมเจ้าดิศศานุวัตร  ดิศกุล   นายหยิบ  ณ นคร
นายจ่ายวด (ปาณี  ไกรฤกษ์)  หม่อมเจ้าหัชชากร  วรวรรณ   นายประสาท  สุขุม

แถวนั่ง  หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์  (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ  ทวีวงศ์)  พระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ส.ค. 10, 10:42
ลิลี่ป่วยมากเพราะมีลูกติด ๆ กัน  ร่างกายไม่แข็งแรง    และตามมาด้วยไทฟอยด์   หมอบอกว่าถ้าอยู่เมืองไทยจะไม่มีโอกาสรอดเลย  ถ้าหากอยู่เมืองนอก
โอกาสรอดก็จะเป็น ๕๐/๕๐   พระยาภักดีภูธรขออนุญาตตามไปส่งถึงสิงคโปร์  แต่ไม่ได้รับอนุญาต  
เวลาไปเรือต้องไปเข้าทางคลองซูเอซ  ไปคอนแสตนติโนเปิลแล้วจึงเข้าโอเดสซ่า
ระหว่างเดินทางถึงปอร์ตเซด  ทางเลนินกราดก็ได้รับโทรเลขจะเป็นของหมอหรือกัปตันเรือมาให้พี่สาวคืออันนามาดูใจเป็นครั้งสุดท้าย
เรื่องนี้อันนากับลูลู่เล่าให้ฟัง   เมื่อเรือเทียบแล้ว  อันนาก็ขึ้นไปพบ  เมื่อเห็นหน้าพี่สาวแล้วแล้วลิลีก็จากไป
ร่างของอลิซาเบ็ธนำขึ้นจากเรือไปยังเลนินกราดและได้ทำพิธีฝังที่นั่น

ซาร์พระราชทานรถบรรทุกหีบศพ  มีตรามงกุฎและเทียมม้าขาว   มีผู้ใหญ่เดินตามกระบวนอย่างมีเกียรติยศ

เอาภาพรถบรรทุกหีบศพมีตรามงกุฎและเทียมม้าขาว   ที่บรรทุกหีบศพลิลี่ มาให้ทัศนากัน
ภาพนี้อยู่ในหนังสืองานศพพลโท บุศรินทร์  ภักดีกุล เล่มบางที่รูปท่านผู้วายชนม์บนปก
และแถมด้วยภาพเตียงนอนของลิลี่ที่บ่งบอกฐานะของเธอได้เป็นอย่างดีว่า  
ลิลี่ไม่ใช่เชื้อสามัญชนรัสเชียทั่วๆไป  แต่คงจะเป็นราชินิกุลหรือราชนิกุลสายใดสายหนึ่งกับราชวงศ์โรมานอฟแห่งรัสเซียเป็นแน่


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ส.ค. 10, 11:49
หนังสืออนุสรณ์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลนั้น  เป็นชุดใหญ่  จำได้ว่ามีสิบสามหรือสิบสี่เล่ม


สหายโกศลเจ้าของร้านหนังสือเก่าที่โด่งดังที่สุดในช่วงสามปีนี้ให้มา  

ทีแรกเลือกไว้สองสามเล่ม   โกศลหัวเราะแล้วขู่ว่าอีกหน่อยต้องการใช้แน่นอนจะหาไม่ครบ

อ่านแล้วก็ทราบเองว่าท่านเป็นคนที่ลูกน้องเคารพปานใด  และความจริงใจนั้นแสดงออก

ท่านผู้หญิงงามเด่นทุกประการ  เลิศด้วยความรู้ความสามารถ



ยังได้หนังสือของท่านผู้หญิงมาไม่ครบค่ะ   ครบเมื่อใดจะคัดลอกมาฝาก

เรื่องประวัติที่สำคัญนั้น  อ่านเพลินเพราะเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีชื่อเสียง  ลูกไม่อยู่  หลาน ๆก็ยังอยู่

เมื่อคัดลอกมา   ได้ระมัดระวังไม่เติมอะไรจนนิดเดียวตามที่กลุ่มนักแปลสั่งกันมาเป็นเด็ดขาด  เล่าตามที่เข้าใจเท่านั้นค่ะ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 17 ส.ค. 10, 15:43
มาเฉลยภาพบ้านสวย  ๒ หลังจากหนังสืองานศพที่หย่อนไว้เมื่อหลายวันก่อน (ดูภาพด้านล่างประกอบ)

ภาพดังกล่าวมาจากปกหนังสืองานศพนางวนิดา  แก่นอบเชย
(งานศพเมื่อ ๒๓ พ.ย. ๒๕๔๕)

นางวนิดา  แก่นอบเชย  ผู้วายชนม์ เป็นธิดาคนโตของพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์)
กับหม่อมหลวงอาภา  อภัยวงศ์วรเศรษฐ (สกุลเดิม กุญชร)

พระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์) เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม  อภัยวงศ์)กับคุณหญิงสอิ้ง 
หม่อมหลวงอาภา  อภัยวงศ์วรเศรษฐ (สกุลเดิม กุญชร) เป็นธิดาของเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์  (หม่อมราชวงศ์หลาน  กุญชร)

บ้านในภาพหลังบน  เป็นบ้านของพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์)ที่ถนนสาทร อันเป็นสถานที่เกิดของผู้วายชนม์

ส่วนตึกหลังล่างคือ ตึกยุโรปที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม  อภัยวงศ์) สร้างขึ้น  ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลอภัยภูเบศร

อย่างที่ทราบกันว่า  ตระกูลอภัยวงศ์และกุญชร  เป็นตระกูลที่มั่งคั่งในสมัยหนึ่ง   
แต่ต่อมาเกิดเหตุผันผวน(อันเนื่องมาจากอะไรก็ตามแต่)  ทำให้ความมั่งคั่งนั้นค่อยหายไป
แม้แต่ที่บ้านของพระอภัยวงศ์วรเศรษฐ (ช่วง  อภัยวงศ์) ก็เช่นกัน
ในหนังสือนี้  มีภาพความมั่งคั่งมั่งมีของบ้านถนนสาทรหลังนี้ให้ดูภาพหนึ่ง 
เป็นภาพโต๊ะจัดเลี้ยงที่บ้านหลังนี้  ซึ่งแต่ก่อนมีการจัดเลี้ยงบ่อยมาก
ช้อนเงินช้อนทอง แก้วน้ำ และภาชนะที่ใช้จัดเลี้ยงนั้น เป็นลวดลาย  สั่งทำจากฝรั่งเศส 
เขียนน้ำทองบ้าง ฉาบทอง มีตราสกุลอภัยวงศ์  (หนังสือท่านว่าไว้อย่างนั้น)

อีกภาพหนึ่งที่ควรดู  คือภาพงานศพเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม  อภัยวงศ์)
ที่หาดูได้ยาก   แค่วิธีการเชิญโกศศพลงจากชั้นบนของตึกก็ตื่นตาแล้ว




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 17 ส.ค. 10, 19:59
อยากทราบประวัติของคุณวนิดา  แก่นอบเชย สมาชิกสกุล อภัยวงศ์ ผู้วายชนม์ ไม่ทราบว่ามีหรือไม่ครับ...ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ส.ค. 10, 23:13


       ร้อยเอก หลวงชิตวีร์วสุนทรา  เขียนจดหมายเมื่อวันที่ ๑๖​ สิงหาคม  ๒๕๓๐  ถึงน้องชายทั้งสองว่า

เรื่องที่คุณนริศรา จักรพงษ์  ติดต่อมาเพื่องานวิจัยนั้น   คุณหลวงได้นำจดหมาย ๑๖ ​ฉบับกับโปสการ์ดอีก ๘ ใบให้คนแก่รัสเซียที่นี่แปลออกมาเป็นภาษาสวีเดน

เพื่อจะได้รู้ว่าทูลกระหม่อมเขียนถึงอลิซาเบธในระหว่างปี ๑๙๐๑ - ๑๙๐๕  เรื่องอะไรกัน



     ผู้แปลแจ้งว่าเป็นภาษากวีหรือคนชั้นสูงซึ่งมีนัยซึ่งแกไม่รู้ว่าจะหาคำอะไรในภาษาสวีเดนมาเทียบได้  ทุกฉบับไม่มีรอยขีดฆ่าอักษร

และลายมือที่เขียนเร็วมาก  



ในฉบับที่พูดถึงของขวัญเป็นรูปดอก 'ลิลลี่' นั้นไม่ทราบว่าเมื่อใด  และจะเป็นเข็มกลัดหรือจำพวกลูกไข่ที่ให้กันตอนอีสเตอร์  ที่เดี๋ยวนี้ราคาสูงลิบ

ให้สอบถามว่าเดี๋ยวนี้อยู่ที่ใคร  ไม่ใช่อยากได้คืน  หากจะทราบเท่านั้นและให้เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงแม่เท่านั้น





(คุณหลวงโปรดลงภาพจดหมายที่แปลเป็นภาษาไทยโดยคุณสมพร 

๑.   ดวงตราไปรษณียากร ๑๙๐๒  เขียนที่พระราชวังฤดูหนาว

๒.  ฉบับที่เขียนจากสถานเอดอัครราชทูตสยาม

๓.  ฉบับวันที่ ๒๕ มิถุนายน  ๑๙๐๓)



    


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 17 ส.ค. 10, 23:34

     เรื่องนั่งร้านชั่วคราวเพื่อนำโกศลงมาจากชั้นสองของตัวตึกนั้น  แปลกตา


นายโหมด  อมาตยกุล  เล่าไว้ว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเมื่อยังทรงผนวชได้เสด็จไปเยี่ยมบิดาบุญธรรม

ผู้เป็นพระพี่เลี้ยงที่บ้านเมื่อบิดาบุญธรรมป่วย   ทางบ้านทำตามขนบคือสร้างบันไดใหม่ขึ้นไปถึงห้องนอน


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ส.ค. 10, 09:01


       ร้อยเอก หลวงชิตวีร์วสุนทรา  เขียนจดหมายเมื่อวันที่ ๑๖​ สิงหาคม  ๒๕๓๐  ถึงน้องชายทั้งสองว่า
เรื่องที่คุณนริศรา จักรพงษ์  ติดต่อมาเพื่องานวิจัยนั้น   คุณหลวงได้นำจดหมาย ๑๖ ​ฉบับกับโปสการ์ดอีก ๘ ใบให้คนแก่รัสเซียที่นี่แปลออกมาเป็นภาษาสวีเดน
เพื่อจะได้รู้ว่าทูลกระหม่อมเขียนถึงอลิซาเบธในระหว่างปี ๑๙๐๑ - ๑๙๐๕  เรื่องอะไรกัน

     ผู้แปลแจ้งว่าเป็นภาษากวีหรือคนชั้นสูงซึ่งมีนัยซึ่งแกไม่รู้ว่าจะหาคำอะไรในภาษาสวีเดนมาเทียบได้  ทุกฉบับไม่มีรอยขีดฆ่าอักษร
และลายมือที่เขียนเร็วมาก  

ในฉบับที่พูดถึงของขวัญเป็นรูปดอก 'ลิลลี่' นั้นไม่ทราบว่าเมื่อใด  และจะเป็นเข็มกลัดหรือจำพวกลูกไข่ที่ให้กันตอนอีสเตอร์  ที่เดี๋ยวนี้ราคาสูงลิบ
ให้สอบถามว่าเดี๋ยวนี้อยู่ที่ใคร  ไม่ใช่อยากได้คืน  หากจะทราบเท่านั้นและให้เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงแม่เท่านั้น


(คุณหลวงโปรดลงภาพจดหมายที่แปลเป็นภาษาไทยโดยคุณสมพร 
๑.   ดวงตราไปรษณียากร ๑๙๐๒  เขียนที่พระราชวังฤดูหนาว
๒.  ฉบับที่เขียนจากสถานเอดอัครราชทูตสยาม
๓.  ฉบับวันที่ ๒๕ มิถุนายน  ๑๙๐๓
)

    

จัดให้ตามความประสงค์โดยพลัน   ;)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ส.ค. 10, 09:08
ต่อเนื่องครับ :)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ส.ค. 10, 13:37
หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงอนินทิตา  อาขุบุตร
๑ ตุลาคม  ๒๕๐๗

คุณหญิงอนินทิตา  อาขุบุตร 
เป็นธิดา คนที ๒ ของเสวกโท  พระยานาวีเสถียรวราสา  (ยืน  นาวีเสถียร) กับคุณหญิงแดง  นาวีเสถียร  มีพี่น้องร่วมท้องมารดา  ๗ คน (ไม่นับรวมคุณหญิง)

เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ ก.ค. ๒๔๔๘  กลางคืน  ที่ตำบลท่าโรงยาเก่า   จังหวัดพระนคร

คูณหญิงอนินทิตา  อาขุบุตร  เดิม ชื่อ เสงี่ยม 
วัยเยาว์เรียนหนังสือที่บ้านกับครู คือ นายเปลี่ยนและนายนาก น้าชาย

ต่อมาบิดาได้นำไปฝากตัวเป็นศิษย์เรียนรำละครกับพระนมทัต  พึ่งบุญ ณ อยุธยา

จากนั้นได้เข้าไปอยุ่ในวัง  และได้ไปฝึกรำละครกับคุณท้าวศรีสุนทรนาฏ  (หม่อมแก้ว   พนมวัน ณ อยุธยา  )ครูใหย่ละครฝ่ายหญิง (ท่านผู้นี้ ประวัติของท่านก็สนุกยิ่งนัก)

๒๔๕๗  รัชกาลที่ ๖ มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งละครหลวงฝ่ายหญิงขึ้นในราชสำนัก  และทรงพระกรุณาให้บรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่นำธิดาของตนมาถวายตัวเข้าอยุ่ในสังกัดละครหลวงดังกล่าว 

พระยานาวีเสถียรวราสา  จึงได้นำนางสาวเสงี่ยมไปเฝ้าฯ ถวายตัวอยู่ในละครหลวง  คุณเสงี่ยมได้รับเงินเดือนพระราชทาน  เดือนละ ๖ บาท  ๘ บาท ๑๕ บาท มาโดยลำดับ

๒๔๖๗  รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนนางสาวเสงี่ยมเป็นที่นางพระกำนัล  และได้รับพระราชทานชื่อใหม่ จาก  เสงี่ยม เป็น อนินทิตา

คุณอนินทิตาได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนกระทั่งสิ้นรัชกาลที่ ๖


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ส.ค. 10, 15:36
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๖ แล้ว คุณอนินทิตาได้รับราชการต่อมาเป็นพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 

พร้อมกันนั้น ยังได้รับพระราชทานเงินเลี้ยงชีพ  ตามที่มีรายชื่ออยู่ในพระราชพินัยกรรมรัชกาลที่ ๖  เดือนละ  ๑๒๐  บาท  ตลอดมาจนกระทั่งออกจากวังไปทำการสมรสกับ  พล.ต.ต.เนื่อง  อาขุบุตร เมื่อวันที่  ๓ พ.ค. ๒๔๗๔ จึงได้งดจ่ายเงินดังกล่าว

คุณอนินทิตาทำการสมรสกับพล.ต.ต.เนื่อง  อาขุบุตร โดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประกอบพิธีสมรสประทานที่วังวรดิศ   

คุณหยิงอนินทิตา  มีบุตรคนแรก ชื่อ อานนท์ อันเป็นชื่อที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพประทานและยังได้ประทานเหรียญกาไหล่ทองพระรูปเสด็จในกรมแก่บุตรชายของคุณหญิงด้วย   โดยได้โปรดให้หม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ทรงนำเหรียญดังกล่าวมาประทานและรับบสั่งว่า  " เสด็จพ่อประทานให้แก่ลูกคนโปรดของท่าน "

คุณหญิงอนินทิตา  มีบุตรธิดาด้วยพล.ต.ต.เนื่อง  อาขุบุตร จำนวน ๗ คน  คือ
๑ อานนท์  อาขุบุตร   
๒ อนุ  อาขุบุตร
๓ รัตนา  อาขุบุตร
๔ ประภาพร  ธนะรัชต์ (สมรสกับนายทองดุลย์ ธนะรัชต์)
๕ เกษมสุข  พยัคฆนิธิ (สมรสกับร.ต.อ. กำพล พยัคฆนิธิ)
๖ เกียรติศักดิ์  อาขุบุตร
๗ เอกสิทธิ์ อาขุบุตร


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 18 ส.ค. 10, 15:56
คุณหญิงอนินทิตา  เป็นคนที่ชอบการฟ้อนรำ เล่นละคร  และการเล่นดนตรีไทย

พระนางเจ้าสุวัทนาได้รับสั่งประทานเกี่ยวกับการแสดงละครของคุณหญิงอนินทิตาว่า
ปี ๒๔๕๘  คุณหญิงเล่นเป็นพระลักษณม์ แสดงถวายที่สวนจิตรลดา
ต่อมาแสดงเป็นสังคามาระตา  ในละครเรื่องอิเหนา   แสดงเป็นนางอนุสุยา ในละครเรื่องศกุนตลา  
ปี ๒๔๖๗ แสดงเป็นนางกำนัน ในละครเรื่องพระร่วง ในครั้งนั้น รัชกาลที่ ๖ ทรงแสดงเป็นนายมั่น ปืนยาวด้วย  ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ต่อมา แสดงเป็นพระไชยเชษฐ์ ในละครเรื่องคาวี
ก่อนที่รัชกาลที่ ๖ จะสวรรคต  คุณหญิงได้เล่นเป็นท้าวดาหา ในละครเรื่องอิเหนา ที่สวนจิตรลดา เพื่อเก็บเงินบำรุงกองเสือป่า

คุณหญิงอนินทิตา ยังมีความสามารถด้านดนตรีไทย  สามารถเล่นซอด้วง ซออู้ และจระเข้  โดยเฉพาะจระเข้ คุณหญิงได้ต่อเพลงเดี่ยวลาวแพนและเพลงอื่นๆ  จากหลวงว่องจเข้รับ (โต  กมลวาทิน)  และเล่นได้ชำนาญกว่าเครื่องดนตรีอื่น

ปี ๒๔๘๗  พล.ต.ต.เนื่อง สามีของคุณหญิงต้องไปประจำการที่จังหวัดเพชรบูรณ์  คุณหญิงได้ตามสามีไปด้วย  ที่เพชรบูรณ์  คุณหญิงได้รวบรวมชวนเชิญข้าราชการแสดงละครเรื่องพระราชมนู หาเงินรายได้เข้าบำรุงสโมสรข้าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์  โดยคุณหญิงได้เป็นคนสอนการรำละครให้นักแสดงทั้งหญิงและชายเอง  ปรากฏว่าการแสดงละครครั้งนั้นได้เงินเข้าสโมสรหลายพันบาท   สืบเนื่องจากการแสดงละครดังกล่าว  คุณหญิงยังได้นัดข้าราชการบางท่านมาเล่นดนตรีเป็นวงที่บ้านในวันเสาร์หรืออาทิตย์ด้วย

ต่อมาเมื่อสามีของคุณหญิงย้ายมารับราชการที่ลพบุรีและฉะเชิงเทรา ตามลำดับ  คุณหญิงก็ยังได้แสดงละครและเล่นดนตรีได้ดีโดยไม่ลืมวิชาเลย แม้จะทิ้งไปเป็นเวลานานๆ ก็ตาม


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ส.ค. 10, 10:05
ย้อนกลับไปก่อนสมัย ๒๔๗๕ 

คุณหญิงอนินทิตา  เมื่อยังเป็นนางสาวเสงี่ยม  นาวีเสถียร  ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวนาง
แสดงท่ารำต่างๆ เพื่อถ่ายรูปลงพิมพ์ในหนังสือตำราฟ้อนรำของหอพระสมุดวชิรญาณ
เนื้อเรื่องละเอียดมีตามที่หม่อมเจ้าพูนพิศมัย  ดิศกุล ได้ทรงนิพนธ์ไว้ดังนี้

ในปี ๒๔๖๖  ช่วงเดือนธันวาคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
ในการพระเมรุครั้งนี้ มีงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชย  เป็นงานที่ ๒

รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หอพระสมุดวชิรญาณเลือกพิมพ์หนังสือ
สำหรับพระราชทานแจกในงานพระเมรุสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นั้นตามประเพณี
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสภานายกหอพระสมุดในกาลนั้น
มีพระดำริว่า ควรจะพิมพ์หนังสือตำราฟ้อนรำสำหรับพระราชทานแจกในงานพระเมรุนั้น
ด้วยว่าพระศพสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชย
ทรงเอาพระทัยใส่ในการฟ้อนรำไทย 

แต่ตำราฟ้อนรำที่หอพระสมุดมีอยู่นั้น  เป็นสมุดไทยรูปเขียน  สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสงสัยว่า
ถ้านำท่ารำในสมุดไทยนั้นมาให้คนทำท่ารำจริงแล้วจะทำได้หรือไม่   
พระองค์จึงมีรับสั่งให้พระยานัฏกานุรักษ์  (ทองดี  สุวรรณภารต)
จัดการคัดเลือกหาตัวละครตัวพระตัวนางมาแสดงท่ารำเพื่อเป็นแบบถ่ายรูปลงในหนังสือนั้น
ครั้งนั้น พระยานัฏกานุรักษ์  ได้เลือกตัวพระคือนายวง  กาญจนวัต
และตัวนาง คือนางสาวเสงี่ยม  นาวีเสถียร  เป็นผู้แสดงท่ารำต่างๆตามตำราฟ้อนรำ


เมื่อคัดเลือกตัวพระตัวนางได้ตามต้องการแล้ว  พระยานัฏกานุรักษ์  ก็ได้พาทั้งสองคน
มาแต่งตัวถ่ายรูปแสดงท่ารำต่างๆ ที่วังวรดิศหลายครั้ง  อันเป็นเหตุให้นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร
ได้รู้จักคุ้นเคยกับบรรดาเจ้านายวังวรดิศ

ภาพนางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร  แสดงท่ารำในตำราฟ้อนรำครั้งนั้น
เจ้าภาพงานศพคุณหญิงอนินทิตา  อาขุบุตร  ได้นำมาพิมพ์ในหนังสืองานศพด้วย
แต่ถ้าใครประสงค์จะดูจากหนังสือตำราฟ้อนรำ  ก็สามารถดูได้จากหนังสือ ละครฟ้อนรำ
พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
ที่สำนักพิมพ์มติชนพิมพ์ครั้งล่าสุด เมื่อ ๒๕๔๖  ซึ่งยังพอหาซื้อได้อยู่
หรือถ้าใครมีความพยายามแก่กล้า  ใคร่หาหนังสือ ตำราฟ้อนรำ ครั้งงานพระเมรุ
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชย
เมื่อปี ๒๔๖๖ มาดูก็ไม่ว่ากัน 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ส.ค. 10, 10:07
ภาพแสดงท่ารำ  มีทั้งที่แต่งหน้าขาว และไม่แต่งหน้าขาว


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ส.ค. 10, 11:09
ขอคั่นประวัติคุณหญิงอนินทิตา  อาขุบุตร  ด้วยหนังสืองานศพธรรมดาๆ สักเล่ม
เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ  ไม่ให้ดูเคร่งขรึมเกินไป

หนังสืองานศพนายโอสถ  โกศิน  เมื่อ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๐
๑ ในชุดหนังสืองานศพของท่าน คือ นิทานคำกลอนเรื่องสรรพลี้หวน
วรรณกรรมเรื่องนี้ เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นปักษ์ใต้
แต่งเป็นคำผวนแทรกตลอดเรื่อง  (ไม่สามารถยกตัวอย่างให้ดูได้
เนื่องจากเกรงว่าจะโดนข้อหาว่าทำลายความมั่นคงทางศีลธรรม)

ในสรรพลี้หวนฉบับนี้ มีทั้งฉบับสำนวนภาษาปักษ์ใต้ และฉบับสำนวนภาษาไทยภาคกลาง
ซึ่งผิดแผกกว่ากันอยู่บ้างลางแห่ง  แต่เนื้อความนิทานโดยรวมเหมือนกัน
อ่านแล้วอารมณ์ดีดังที่ผู้แต่งเดิม คือ ขุนพรหมโลก ได้บอกไว้ว่า

สรรพลี้หวนควรอ่านตามบ้านร้าง   
หนำหรือห้างคลองทะเลนอกเคหา
จะดีร้ายปลายคำเป็นธรรมดา      
บอกภาษานิทานอ่านอย่าแปล
เหมือนแบบเก่าเอาชื่อถือเป็นหลัก   
ถึงที่รักก็ให้เฉยอย่าเผยแผ่
ให้อภัยบ่าวสาวหนุ่มเฒ่าแก่      
ผึ่งขึ้นแลหยิบอ่านสำราญเอย
 
สรรพลี้หวนควรอ่านตามบ้านพัก   
หลังงานหนักเหน็ดเหนื่อยเมื่อยสมอง
เป็นเรื่องสนุกทุกท่านเชิญอ่านลอง   
บทร้อยกรองกลเม็ดเด็ดนักแล
นั่งคนเดียวในรถ-เรือเพื่อโดยสาร   
อย่าพึงอ่านคนจะว่าท่านบ้าแน่
ค่อยค่อยอ่านค่อยค่อยคิดค่อยค่อยแปล   
แล้วพึงแผ่ส่วนกุศลนักแต่งเอย
          ขุนพรหมโลก

สรรพลี้หวนนั้น  พิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ๑ ม.ค. ๒๕๑๖
ครั้งที่ ๒ เมื่อ ต.ค. ๒๕๒๐ เป็นการพิมพ์แจกในการอบรมสัมมนาสมุห์บัญชีเขต ๘-๙
ณ จ.นครศรีธรรมราช
ต่อมา มีคนพิมพ์ด้วยพิมพ์ดีดแจกจ่ายกันอีกหลายครั้ง
และเมื่อไม่นานมานี้มีการนำมาพิมพ์เป็นเล่มจำหน่าย
กับมีให้อ่านได้ในเว็บไซต์ด้วย  ทำให้อ่านกันได้แพร่หลาย
ฉบับที่นำมาแสดงนี้พิมพ์เป็นครั้งล่าสุด


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 19 ส.ค. 10, 11:29
รบกวนคุณหลวงตรวจสอบชื่อบิดาคุณหญิงอนินทิตาด้วยครับ  น่าจะเป็นพระยานาวีวราสาหรือเปล่าครับ?



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ส.ค. 10, 12:49
รบกวนคุณหลวงตรวจสอบชื่อบิดาคุณหญิงอนินทิตาด้วยครับ  น่าจะเป็นพระยานาวีวราสาหรือเปล่าครับ?


ครับ ที่ถูกคือ พระยานาวีวราสา (ยืน  นาวีเสถียร)  ขออภัยที่พิมพ์เพลินไป
ไม่ทราบว่า  คุณวีมีพอจะทราบไหมว่า พระยานาวีวราสา ได้เป็นพระยาเม่อไร และเดิกตายปีใด


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ส.ค. 10, 15:20
รีบพิมพ์ไปหน่อย  เลยสะกดผิดบางคำ
ขอแก้ไขดังนี้

รบกวนคุณหลวงตรวจสอบชื่อบิดาคุณหญิงอนินทิตาด้วยครับ  น่าจะเป็นพระยานาวีวราสาหรือเปล่าครับ?


ครับ ที่ถูกคือ พระยานาวีวราสา (ยืน  นาวีเสถียร)  ขออภัยที่พิมพ์เพลินไป
ไม่ทราบว่า  คุณวีมีพอจะทราบไหมว่า พระยานาวีวราสา ได้เป็นพระยาเมื่อไร และเกิดตายปีพ.ศ.ใด


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 19 ส.ค. 10, 15:58
มาเล่าประวัติคุณหญิงอนินทิตา  อาขุบุตร  ต่อ

คุณหญิงอนินทิตา  อาขุบุตร  เป็นนางเอกภาพยนตร์ไทยคนแรก

ว่ากันตามเรื่องโดยสังเขปว่า  นาย เฮนรี  เอ. แมคเกรย์  เดินทางมาจากฮอลลิวูด  สหรัฐอเมริกา เมื่อ ๒๔๖๖
เพื่อมาถ่ายทำภาพยนตร์ เรื่องนางสาวสุวรรณ (The Gold of Siam) โดยเนื้อเรื่องภาพยนตร์เรื่องนี้ว่ากันว่า
เป็นพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖  โดpทั้งนี้นายแมคเกรย์ เป็นผู้ลงทุน (จริงๆ ทางการสยามได้ออกทุนให้มากกว่า)
และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์นี้ด้วยหมายจะใช้ภาพยนตร์นี้เป็นสื่อให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักเมืองไทยมากขึ้นและถูกต้อง

รัชกาลที่ ๖ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นายแมคเกรย์ ใช้สถานที่ต่างๆ ในพระราชวังบางปะอิน พระบรมมหาราชวัง
และสถานที่อื่นๆ ในประเทศสยาม ในการถ่ายทำภาพยนตร์  ส่วนตัวแสดงนั้น  ก็เลือกจากตัวละครในกรมมหรสพหลวง
ครั้งนั้นได้พระเอก คือ หลวงรามภรตศาสตร์   ผุ้เล่นบทพ่อ คือ หลวงยงเยี่ยงครู   นายกล้องแก้ว ตัวโกงของเรื่อง คือ
หลวงภรตกรรมโกศล  ยังขาดแต่นางเอกที่ยังไม่ได้ตัวผู้เหมาะสม

คุณลาวัณย์  โชตามระ ได้เล่าไว้ในหนังสือ รัดเกล้า ว่า
ครั้งนั้น  หลวงภรตกรรมโกศล  ได้มาตามนางสาวเสงี่ยมให้ไปคัดเลือกตัวนางเอกด้วยตนเอง
แต่นางสาวเสงี่ยมพยายามปฏิเสธ  แต่คุณหลวงก็พูดขะยั้นขะยอจนทำให้นางสาวเสงี่ยมใจอ่อนยอมไปคัดเลือกกับเขาด้วย
โดยแต่งตัวผลัดผ้านุ่งใหม่ ถักผมเปีย  ไม่ได้อาบน้ำแต่งหน้าตาอะไรเป็นพิเศษ 

ปรากฏว่า  นางสาวเสงี่ยมได้รับคัดเลือกจากนายแม็คเกรย์ให้สวมบทนางสาวสุวรรณ 

การถ่ายทำภาพยนตร์เริ่มต้นก็ออกวุ่นวาย เพราะคนไทยมามุงดูการถ่ายทำกันมาก 
ด้วยเป็นของแปลกเมื่อแรกมีในสยาม  รายละเอียดต่างๆ นั้น 
อยากจะให้ไปหาหนังสือของคุณลาวัณย์มาอ่านจะได้อรรถรสกว่าฟังผมเล่า
(เดี๋ยวผิดพลาดไป  จะต้องมีผู้เข้ายกมือขอทักท้วงให้แก้ไขตรวจสอบอีกวุ่นวาย เปล่าๆ )

แต่แน่นอนว่าหนังสือรัดเกล่าของคุณลาวัณย์ บัดนี้ก็หายากนัก 
อาจจะต้องพึ่งพานักเล่นหนังสือเก่าบางท่านแถวนี้ช่วยสงเคราะห์บ้าง

ว่าแล้วก็ทัศนารูปนางสาวสุวรรณ  นางเอกภาพยนตร์คนแรกของไทย
และภาพที่คุณหญิงอนินทิตาแสดงละครในโอกาสต่างๆ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 19 ส.ค. 10, 20:58
ประวัติตระกูล ๓ ตระกูล

พิมพ์ในการฌาปนกิจ  ท่านฟุ้ง  ฤทธาคนี

โรงพิมพ์ของทหารอากาศ

ณ เมรุวัดมกุฎกบัตริยาราม

วันที่ ๒๙ มกราคม  ๒๕๐๒




       สังฆราชด่อนเกิดที่อยุธยา  ลำนำ้บางพระครู  ตำบลบ้านพระนอน  เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์มาตั้งแต่กรุงเก่า

ในแผ่นดินธนบุรีได้เป็นพระสังฆราช    ถูกถอดบันดาศักดิ์และให้ศึกจากสมณะเพศพร้อมกับสมเด็จพระวันรัต 

เมื่อให้เหตุผลต่อพระเจ้ากรุงธนว่า สมมุติสงฆ์ไม่ควรวันทนาการกราบไหว้คฤหัสถ์    โดนสักเป็นเลขวัดหงส์ไว้ล้างฐานและถากหญ้า

นายด่อนก็มีภรรยาและบุตรชื่อนายเล็ก



       ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ได้รับราชการสอนหนังสือเจ้านายที่กรมพระอาลักษณ์     นายเล็กผู้บุตร

ได้มาร่วมเรียนหนังสือในชั้นที่บิดาสอนด้วย   เมื่อมีวิชาความรู้ติดตัวแล้ว  บิดาได้นำไปถวายตัวต่อพระพุทธเลิศหล้าเมื่อยังเป็นต่างกรมอยู่

ต่อมานายเล็กได้เป็นพระยาพิทักษ์สาลีเกษตรวังหน้า    ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสนามควาย  ตำบลคลองบางลำภู  ที่สะพานมหาดไทยอุทิศ

มีบุตรชื่อนายทองอยู่



       นายทองอยู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก  ได้ฝึกหัดเป็นพระราม  และเตรียมตัวบวช



       นายทองอยู่ได้จัดการบ้านเรือนดาดผ้าเพื่อจัดงาน  เสร็จเป็นเวลา ๕ ทุ่มเศษ    จึงชวนบ่าวไพร่ลงอาบน้ำที่ท่าหน้าบ้าน

ทันใดนั้นจระเข้ก็มาคาบนายทองอยู่ไป         บ่าวไพร่ที่อยู่ด้วยก็โวยวายไปเรียนท่านเจ้าคุณ       พระยาพืทักษ์ก็นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

ดำรัสสั่งให้ปิดคลองบางลำภู  และให้นำความมากราบทูลได้ทุกเวลา


       ขณะเมื่อถูกจระเข้คาบไป   นายทองอยู่ได้จับขี้หมามันบิดและบีบแน่น  คิดถึงแต่การบวชและภาวนาพระอรหังเป็นที่พึ่ง      จระเข้ว่ายทู่ตามน้ำแต่ไม่จมตัวลง

พอไปถึงหน้าวัดบางลำภูก็วางเหยื่อลงที่ชายเลน   พอขยับจะหนีมันก็เข้ามาคาบไว้อีก    จึงทำนิ่งไม่กระดุกกระดิก  มันก็วางไว้ดั่งก่อน  แล้วมันถอยห่างออกไปวาเศษ

ก็เสือกตัวถีบขึ้นตลิ่งได้  ประมาณ ๖ ทุ่มเศษ           ต้องเดินเปลือยกายแต่หน้าวัดบางลำภูมาถึงบ้าน          สาวใช้ที่กำลังไปปิดประตูนอกชานตกใจวุ๊ยว๊าย  ร้องว่า

ปีศาจพ่อทองอยู่มายืนนิ่งอยู่นี่เจ้าข้า

       บิดาได้ชำระเนื้อตัวเอาผ้าขาวพันแผลไว้  แล้วไปกราบทูล

       ดำรัสให้แพทย์หลวงออกไปรักษา

       หมอทำแปลใส่น้ำมันและผูกผ้าไว้เรียบร้อย      พอ ๙ ทุ่มก็พูดได้เล็กน้อย   พอเช้าก็เล่าเรื่องจรเข้คาบไปได้          พระยาพิทักษ์ต้องเข้าไปกราบทูลอาการเสมอ

หลังจากหนึ่งเดือนแล้ว  กราบบังคมทูลลาอุปสมบทอีก     ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามให้ใหม่ ชื่อ สมบูรณ์  พระราชทานเงิน ๔ ชั่งช่วยบวช    ผ้า ๔ สำรับ

ให้เอาไว้ใช้เมื่อสึกมา      ต่อมารับราชการได้เป็นหลวงกระยาหารผู้ช่วยพระยาพิทักษ์สาลี










 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 19 ส.ค. 10, 22:54
     
     หลวงกระยาหารมีบุตรสองคน  คือ  นายทองอิน  กับนายทองเพ็ง

บุตรของนายทองอินที่มีชื่อเสียงคือ นายแจ้ง  เป็นหมื่นพิทักษ์นิกร  สมุหบัญชีกรมทหารรักษาพระองค์ ปืนปลายหอกซ้าย  กับ

ทองห่อหรือฮ้อ ปลัดกรมรักษาพระองค์ ปืนปลายหอกขวา  ต่อมาได้เป็นหมื่นอนุรักษราชา  เลื่อนเป็นขุนสุดกระบวนรบ  ขุนเร่งเร้าพล และ ขุนอาจนิกร

ปลัดกรมทหารรักษาพระองค์ ปืนปลายหอกขวา  เมื่อปลดจากราชการแล้ว ได้ตั้งวงพิณพาทย์เครื่องใหญ่โดยหัดลูกหลานและบ่าวไพร่ได้เต็มวง


ขุนอาจนิกรมี บุตร ๙ คน

ที่สมควรเอ่ยชื่อมี  พันโทพระเริงสงคราม(เฟื่อง)

และ นายฟุ้ง



       นายเฟื่องอยากเป็นข้าพระองค์เจ้าจิตรเจริญ  จึงพานายฟุ้งไปถวายตัวด้วยเพราะนายฟุ้งชำนาญดนตรีไทย   ตีฆ้องเก่ง

นายฟุ้งได้รับราชการเป็น เซอร์เวย์ อินทะเนียร์ อยู่กรมสุขาภิบาล  เป็นโยธามณฑลปราจีณบุรี   ข้าหลวงโยธามณฑลภูเก็ต  ข้าหลวงโยธามณฑลนครราชสีมา


บทประพันธ์   เขียนไว้มากทั้งกาพย์ โคลง กลอน  ลิลิตสกุณชาดก   ลิลิตรามเกียรติตอนนางลอย


ท่านฟุ้งมีบุตรและธิดารวม ๑๕ คน

ที่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คือ

พลตรี หลวงยอดอาวุธ(ฟ้อน)

จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ



ตระกูลที่สืบมาจาก สังฆราชด่อน มี ๓ ตระกูลคือ

ตระกูล ฤทธาคนี   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชทานนายร้อย แฉล้ม  ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

ตระกูล สาลีเล็ก   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชทานขุนราชพรหมา  แพทย์พระโอสถต้น

ตระกูล พิทักษ์สาลี  นายฟุ้งคิดขึ้น




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 ส.ค. 10, 07:37

ข้อราชการในกรมมหาดเล็ก

พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ

พระยาเทเวศรวงศืวิวัฒน์(ม.ล. วราห์  กุญชร)

ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาศ

๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐



หนังสือข้อราชการนั้น พิมพ์ขึ้นใช้ในปี ๒๔๔๐  ที่โรงพิมพ์ศุภมิตรบำรุง
(หนังสือเล่มเล็ก  ปกแข็งสีเทา  หนา ๕๔๔ หน้า  เขียนว่า ร.ศ. ๑๑๖

พระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒนเป็นผู้เรียบเรียง(ม.ร.ว.หลาน กุญชร)

นายจ่าเรศนั้น คือ พระยาสุรนันทนนิวัฒน์กุล(กริ่ม  สุรนันท์)

หลวงสารประเสริฐ เดิมชื่อพุฒ  สกุลเสนารักษ์     ต่อมาได้เป็นพระนิมิตรอักษร
(กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร  นิพนธ์ เมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๐)


ประวัติ

     เป็นบุตรเจ้าพระยาเทเวศรวงศวิวัฒน(ม.ร.ว. หลาน  กุญชร)
     มารดาชื่อเผื่อน   เป็นเชื้อสายสกุล ณ บางช้าง

พี่น้องร่วมมารดา

ม.ล. จรูญ

ม.ล. เจริญ

ม.ล. หญืง อึ่งอ่าง

ม.ล. จุลเพชรดา

สถานที่เกิด     วังบ้านหม้อ  เลขที่ ๑๒๘ ถนนอัษฎางค์   เดิมเป็นวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร

       พระยาเทเศวร ฯ  ได้เฝ้าแหนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบ่อย ๆ   ด้วยโปรดเสด็จไปสำราญพระราชหฤทัยที่วังบ้านหม้อบ่อย ๆ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ รับสั่งเรียกพระยาเทเวศน์ว่า "ไอ้อู๊ด"


       ท่านบิดาได้พาพระยาเทเวศรไปตามที่ต่าง ๆ ได้รับความรู้เกี่ยวกับราชการ  ตั้งแต่เล็ก ๆ   ไม่สามารถจะบังคับตนเองไม่ให้หลับได้

ท่านบิดาได้อธิบายว่า  หลับก็ไม่เป็นไร  ตื่นขึ้นมาก็จะได้ยินอะไร ๆ ที่ต้องรู้ไว้   สถานที่ ๆ พระยาเทเวศรได้ไปนอนหลับฟังท่านผู้ใหญ่คุยกันมากที่สุด คือ วังพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นปราบปรปักษ์

เพราะท่านผู้ใหญ่คุยกันถึงตีหนึ่งตีสอง   เมื่อเป็นเด็กเล็กมากนั้น  ได้ไปนอนหลับที่วังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาปราบปรปักษ์  พระบิดาของเสด็จในกรมหมื่นปราบ ฯ มาก่อนแล้ว



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 ส.ค. 10, 08:18

พระยาเทเวศร ฯ  กล่าวกับพี่ ๆ น้อง ๆ ว่า  ตนเองไม่ค่อยฉลาด  ไม่ช่างจำ

ถ้าช่างจำก็คงมีประวัติศาสตร์ไทยไว้เล่าหลายเล่มเกวียน



ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ

ท่านเล่าว่าไม่เคยกลัวม้า  สกุลของท่านได้ราชการในกรมอัศวราชสืบเนื่องกันเรื่อยมา


พระยาเทเวศร ฯ ได้รับราชการอย่างจริงจังใน พ.ศ. ๒๔๓๖ อายุ ๑๗​ ปี

ในปี ๒๔๔๒  ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงฤทธิ์นายเวร


       ในระหว่างนั้นมีการก่อสร้างพระราชวังดุสิต  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จตรวจตราการก่อสร้างเกือบทุกวัน

มีเหตุการณ์ที่ควรกล่าวด้วยเป็นเครื่องแสดงพระมหากรุณาธิคุณอันมีต่อพระยาเทเวศวร ฯ       ในตอนนั้นพระยาเทเวศวรทำหน้าที่สารถี

ในระยะนั้นกรมม้าได้ม้าเทศงามคู่หนึ่งเข้ามาจากสิงคโปร์      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ​โปรดม้าคู่นี้มาก ทรงใช้เป็นม้าเทียมรถพระที่นั่ง

แต่ม้านั้นมีขวัญที่สีข้างซ้าย   เรียกตามตำราม้าว่า "แร้งกระพือปีก" ถือเป็นลักษณะไม่ดี  ไม่ควรใช้เทียมรถพระที่นั่ง  ทางกรมม้าได้กราบบังคมทูลแล้ว

แต่มีรับสั่งกับพระยาเทเวศวรสารถีว่า 'ไม่เป็นไร'   วันหนึ่งเวลาเย็นเสด็จกลับจากวัดเบญจมบพิตรซึ่งกำลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง   รถพระที่นั่ง

เลียบคลองเปรมประชากรไปตามถนนซึ่งยังไม่เรียบร้อย    มีรั้วลวดหนามกั้นริมคลองเป็นตอน ๆ            มาถึงทางเลี้ยวแห่งหนึ่ง 

รถแขกบันทุกหญ้าสวนมาอย่างกระทันหัน   ม้าเทียมรถพระที่นั่งตื่นหันไปครูดกับลวดหนาม  ตกใจมากพารถพระที่นั่งออกวิ่ง   

สารถีจะใช้วิธีบังคับอย่างไรไม่สำเร็จ   พระยาเทเวศร ฯ จึงหันมากราบทูลว่า   ไม่สามารถจะบังคับม้าให้ลดฝีเท้าลงได้   จะต้องทำให้หยุดโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ รับสั่งว่า "จะทำอย่างไรก็ตามใจเอ็ง"


พระยาเทเวศร ฯ จึงตัดสินใจชักม้าให้ลงไปในคลองตื้นตอนหนึ่ง   รถพระที่นั่งลงไปนอนตะแคง   ล้อติดบนถนนข้างหนึ่ง  ลงไปในคลองข้างหนึ่ง

ด้วยเดชะพระบารมีไม่มีผู้ใดบาดเจ็บ   พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมาที่ตามเสด็จไปด้วยก็มิได้ตกพระทัยมากมายอะไร


เจ้าพระยาเทเวศรซึ่งเป็นจางวางมหาดเล็กบังคับราชการกรมมหาดเล็กรีบเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท   พอทอดพระเนตรเห็นเจ้าพระยาเทเวศร  มีพระราชดำรัสว่า  "เทเวศรไอ้อู้ดขับรถลงคลอง"

เจ้าพระยาเทเวศรกราบทูลว่า "ทำความผิดเช่นนี้  เป็นความผิดถึงประหารชีวิต"

รับสั่งว่า "ไอ้อุ้ดมันไม่ได้ทำ  ม้ามันทำ"


(นักอ่านหนังสือเมื่อสนทนากันถึงเรื่องนี้ก็กล่าวเสมอว่าเรื่อง "ไอ้อู้ดไม่ได้ทำ"  ใช่ไหม  แล้วหัวเราะกันอย่างรื่นเริงด้วยความชื่นชมพระมหากรุณาธิคุณ

 คนที่มีหนังสือเล่มสีเทาสดชื่นที่สุด)
           
 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: djkob ที่ 20 ส.ค. 10, 11:38
ขอคารวะต่อท่านทั้งหลาย ทุกท่านล้วนแต่เป็นนักประวัติศาสตร์กันทั้งนั้น
สนุกมากค่ะ  อ่านแล้วนั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่อยู่คนเดียว  นับเป็นวาสนาที่ได้อ่าน แม้จะไ่ม่มีวาสนาได้เห็นหนังสือที่ท่านนำมาเล่าให้ฟัง 

ขอบคุณมากค่ะ รออ่านต่อนะคะ

ด้วยความเคารพค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 ส.ค. 10, 12:53

หนังสืออนุสรณ์ที่เอ่ยมาส่วนมาก    ไม่ใช่เรื่องหายากหรือมีราคาสูงแต่อย่างใดค่ะ

พยายามเลือกเล่มที่สนุก  มีความรู้  หรือความที่ไม่มีคนได้อ่านมากนัก  และแน่นอนที่สุดมีประวัติท่านผู้วายชนม์ที่เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์

หนังสือตำราม้านั้น  คุณ djkob   คงไม่ทราบว่า "สูญ" ไปจากประเทศของเรานานปีมาแล้ว        ตำราช้างยังพอเหลืออยู่หลายเล่ม   ได้อ่านมาบ้าง

ตำราพิไชยสงครามยังมีอยู่หลายฉบับ     


ขอบคุณที่แวะมาคุยด้วยค่ะ   ยังมีสมบัติพอจะยึดพื้นที่ไปได้อีกพักใหญ่ ๆ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 ส.ค. 10, 14:24

จินดามณี  และ พระพุทธศาสนากับโลก

หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ

พลตรี หม่อมสนิทวงศ์เสนี ป.ม., ท.จ.ว.

ณ เมรุวัดมงกุฎกษัตริยาราม

วันที่ ๙  เมษายน  ๒๕๐๓



ชื่อเดิม         ม.ร.ว. ตัน  สนิทวงศ์

เกิด            วันที่ ๒๖ สิงหาคม  ๒๔๑๔  ณ เมืองกลันตัน  สหพันธรับมลายู

บิดา           พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าสาย สนิทวงศ์

มารดา         หม่อมแจ่ม

การศึกษา      จบโรงเรียนนายร้อยทหารบก
                  ศึกษาวิชาการทหาร ณ ประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอแลนด์
                  สำเร็จการศึกษาในสาขาพลาธิการทหารบก

สมรส           นางแผ้ว  สนิทวงศ์เสนี

บุตรธิดา        ม.ล. แต้ว  สนิทวงศ์

                  ม.ล. หญิง นวลผ่อง  เสนาณรงค์

                  ร.ต.ท. ม.ล. เติม  สนิทวงศ์  สมรสกับ น.ส. โสภี  โชติกะพุกกะนะ

                  ม.ล. ตวง  สนิทวงศ์  สมรสกับ ม.จ. หญิง รังสินพดล  ยุคล

ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ ด้วยโรคปอดชื้น





คำไว้อาลัย

สมเด็จพระวันรัต   พระเทพกิตติมุนี     พลเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ   นาวาเอก พระเรี่ยมวิรัชชพากย์

พระศิลปศัตราคม   พันเอก สงบ  บุณยเกศานนท์     พลอากาศเอก ทวี  จุลละทรัพย์   พลอากาศโทหะริน  หงสกุล

นาวาอากาศโท มานะ  สังขวิจิตร   พันเอก สนอง  ถมังรักษ์สัตว์  พันโท สมพงศ์  พิศาลสารกิจ

และ  ม.ร.ว. คึกฤทธิ  ปราโมช



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 ส.ค. 10, 14:44
จินดามณี   กรมหลวงวงษาธิราชสนิท  พระอัยกาของหม่อมสนิทวงศ์ ฯ  ทรงนิพนธ์ขึ้นสำหรับนักเรียนนักศึกษาได้เล่าเรียน

ท่านผู้หญิงหม่อมแผ้ว  เขียนไว้ว่าท่านเองก็ได้เรียนหนังสือจินดามณีนี้    จนแต่ฉบังและโคลงได้บ้าง   และแต่งบทละคอน

ให้กรมศิลปากรได้แสดงมาหลายเรื่อง



ขอคัดลอกที่  ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมช เขียนไว้



      "คุณพี่ตัน  มีความเมตตากรุณาเสมอต้นเสมอปลายกับผู้ที่เป็นน้องคือตัวผมเอง           ที่เรียกว่าเสมอต้นเสมอปลายนั้น

คือเมื่อผมยังเป็นเด็กเยาว์วัยอยู่   คุณพี่ตันก็ให้ความเมตตาปรานีอย่างที่พึงให้กับเด็ก         ต่อมาเมื่อเด็กนั้นเติบโตขึ้นมา

และถึงแม้เด็กอย่างผมจะมิได้ถอดแบบอย่างความประพฤติอันดีของคุณพี่ตันมาใส่ตัวไว้   คุณพี่ตันก็ยังมีความเมตตากรุณา

โดยสมแก่วัยของผม  กล่าวคือนับถือยกย่องให้เป็นผู้ใหญ่   ยอมเคารพในความคิดเห็นของเด็กที่เติบโตแล้ว   มิได้ถือว่าเมื่อ

รู้จักมาตั้งแต่เด็กก็จะต้องเป็นเด็กเสมอไป    การปฎิบัติเช่นนี้เรียกว่าเสมอต้นเสมอปลายโดยแท้        คือปรับความเมตตากรุณาที่

มีต่อผู้อื่นให้สมกับวัยและฐานะของผู้อื่นที่ย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้นั้นตลอด       และเห็นจะเป็นความเสมอต้นเสมอปลายนี้เอง  

คุณพี่ตันจึงเป็นที่เคารพของญาติและเป็นที่รักของคนที่ได้พบปะหรือเป็นมิตรตลอดชีวิต  ไม่ปรากฎว่ามีผู้ใดเป็นศัตรู"



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 ส.ค. 10, 15:30


       "ในที่นี้ผมเรียกคุณพี่ตันว่าพี่  แต่อาจมีผู้สงสัยว่านับกันทางไหน  จึงขออธิบายไว้ด้วย   เพื่อประโยชน์ของคนหนุ่มสาวที่

อาจยังไม่ได้คิดในเรื่องนี้โดยละเอียด    ผมสังเกตว่าในระยะนี้มักมีหม่อมราชวงศ์หนุ่ม ๆ สาว ๆซึ่งส่วนมากเป็นหม่อมราชวงษ์ชั้นที่สี่

หรือหม่อมราชวงศ์ในรัชกาลที่ ๔  มาเรียกผมว่าพี่อยู่บ่อย ๆ      โดยถือว่าเป็นหม่อมราชวงศ์แล้วก็คงเป็นชั้นเดียวกันและเมื่อแก่กว่าก็ต้องเป็นพี่

นอกจากหม่อมราชวงศ์แล้วยังมีหม่อมเจ้าบางพระองค์( รัชกาลที่ ๔ อีกเหมือนกัน )     โปรดเรียกผมว่า "หลานชาย" 

เพราะทรงถือว่าเมื่อผมไม่ใช่ลูก  แต่เป็นหม่อมราชวงศ์เท่าลูกก็คงเป็นหลาน    คติเช่นนี้ผิด         ที่ผมเรียกคุณพี่ตันว่าพี่  เพราะคุณพี่ตัน

กับผมเป็นหม่อมราชวงษ์ชั้น ๒ ด้วยกัน       มีปู่เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้วยกัน      จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน

หม่อมราชวงษ์ขั้น ๒ นั้นถ้าจะนับญาติกับเจ้่านายเยี่ยงสามัญชน ( ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ควรนับ )  ก็มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับหม่อมเจ้าในรัชกาลที่ ๓ หรือที่ ๔

และถ้านับญาติกับหม่อมราชวงศ์รัชกาลที่ ๓ และที่ ๔ ( ซึ่งควรนับอย่างยิ่ง )  ก็มีศักดิ์เป็นอาว์ของท่านเหล่านั้น



เมื่อสี่สิบปีที่แล้ว  หม่อมราชวงศ์รัชกาลที่ ๒ มีเหลืออยู่มาก   แต่ในปัจจุบันนั้นอัตคัตเกือบจะหาดูไม่ได้         เมื่อสิ้นคุณพี่ตันไปเสียอีกคน

คนที่ยังเหลืออยู่ที่มีผมรวมอยู่ด้วย  ก็ต้องใจหายเป็นธรรมดา    เพราะนอกจากจะเสียดายอาลัยคุณพี่ตันเป็นอย่างยิ่งแล้ว   

ก็ยังรู้สึกว่าความตายไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้นั้น  ใกล้ตัวเข้ามาอีกนิดหน่อย



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 20 ส.ค. 10, 15:47
 

       เมื่ออิเหนาเกิดนั้นเทวดามาให้กฤช  แล้วจารึกชื่อไว้ด้วย       ชื่อเต็มของอิเหนาคือ


ชื่อหยังหยังหนึ่งหรัดอินตะรา                               อุดากันส่าหรีปาตี

อิเหนาเองหยังกะตาหรา                                    เมาะตาริยะกัดดังสุรสีห์

ดาหยังอริราชไพรี                                           เอากะหนะกะหรีกุเรปัน


คุณพี่ตันก็เกิดคล้ายอิเหนา  เพราะเมื่อเกิดก็ได้กฤช             เมื่อคุณพี่ตันเกิดนั้น  เสด็จพ่อเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ (Governor General)

อยู่ที่รัฐกลันตันในมลายู  ด้วยเวลานั้นกลันตันยังขึ้นอยู่กับไทย   เพราะเหตุว่าคุณพี่ตันเกิดที่เมืองกลันตัน   

คุณพี่ตันจึงได้นามว่า หม่อมราชวงศ์กลันตัน  สนิทวงศ์   ซึ่งชื่อนี้มีน้อยคนจะทราบ        แต่ชาวเมืองกลันตัน

ในสมัยนั้นเขาเรียกคุณพี่ตันด้วยนามมลายูว่า  " ตวนกู โวะ"      และเมื่อเกิดก็นำกฤชมาให้ไว้ตามประเพณี  จึงขอแทรกไว้ที่นี้กลัวจะสูญ"




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Diwali ที่ 21 ส.ค. 10, 00:36
ขอเข้ามาลงชื่อ ว่าตามอ่านอยู่ครับ

ในส่วนตัวผม แม้จะใคร่แต่ก็มิได้ มีหนังสืออนุสรณ์ฯ ใดๆ อยู่ในมือเลย

จึ่งได้อาศรัยอ่านนะที่นี้

ต้องขอบพระคุณ คุณครูทุกๆท่านที่เมตตา นำมารวบรวม เรียบเรียง ให้วิทยาทาน
สาระ ความรู้นี้ ท่านผู้วายชนม์ ท่านผู้ประพันธ์ ท่านผู้เรียบเรียง ย่อมได้กุศลอย่างถึงที่สุดแน่นอนครับ
สาธุ

--/\--


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 01:47
    คุณ Diwali  คะ        เป็นกำลังใจอย่างยิ่งค่ะ    เพราะตั้งใจคัดเลือกหนังสือ  และมาเป็นเพื่อนคุณหลวงเล็ก

ที่เก็บหนังสืออนุสรณ์ไว้ก็เป็นเรื่องของนักประพันธ์เก่าเป็นส่วนมาก     เมื่อคุณหลวงเธอติดราชการและฝากให้เฝ้ากระทู้ไว้

ก็ควานไปตามชั้นหนังสือประวัติศาสตร์   ได้มาพออ่านสบาย ๆ



ประวัติของสกุลแมคฟาร์แลนด์ในสยาม

พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม(ยอร์ช  บี. แมคฟาร์แลนด์)

ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาศ

วันที่ ๑๑ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๙๓

หนังสือสีขาว  ตัวอักษรดำ  หนาเพียง ๒๓ หน้า

พิมพ์ที่ โรงพิมพ์เสรีวานิช   สามยอด  พระนคร


       เรื่องนี้คุณพระอาจวิทยาคม  ได้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษมาครั้งหนึ่งใน พ.ศ. ๒๔๗๙  แต่ไม่แพร่หลายเท่าไร

นอกจากจะแสดงชีวะประวัติของคุณพระแล้ว  ยังให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์  เช่น การตั้งโรงสวดที่บ้านแหลม  จังหวัดเพ็ชรบุรี   การทำปทานุกรมอังกฤษ - ไทย

การใช้เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย   การตั้งโรงเรียนแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช  และอื่น ๆ


       (กลุ่มนักอ่านหนังสือเก่ากำลังรวบรวมเรื่องมิชชันนารีที่แรกเข้ามาสู่สยาม  ด้วยเราพยายามค้นจาก สยามเรบพอสิทติรี  ไชนีสเรบพอสิทตอรี่    เอกสารต้นฉบับ

และจดหมายของมิชชันนารีที่เขียนกลับไปยังหน่วยงานของตน    เมื่อค้นพบเรื่องก็นำมาย่อย และสนทนาถึงสภาพของสยามในเวลานั้น  คงต้องขอเวลาอีกสักพัก

เพราะพวกเราก็มีงานอ่านหนังสือที่ต้องทำอยู่ประจำแล้ว)


       ขอคัดลอกเรื่องของคุณพระอาจวิทยาคมด้วยความเคารพ   ข้อมูลที่แปลกออกไปจากหนังสือรุ่นหลังก็จะขอหยิบยกขึ้นมาเอ่ย  

คุณพระกับภรรยาเดินทางโดยเรือใบชื่อ มอรี่ จากนิวยอร์คมาสู่สิงคโปร์ในปี ๑๘๖๐   ผ่านคาบสมุทรด้วยความกล้าหาญและเชื่อมั่นในอันที่จะ

อุทิศชีวิตของตนมำงานให้แก่สยาม   จากสิงคโปร์ก็ลงเรือไฟไทยชื่อจระเข้ (Alligator)  ใช้เวลาอีก ๖ วันเข้ามากรุงเทพ


       คณะมิชชันนารีตอนนั้นแยกเป็น ๒ แห่ง  แบบติสแอสโซซิเอชั่นซื้อที่ดินหลังสถานทูตโปรตุเกศเป็นที่ พำนัก  มีนายและนาง เจ.เอช. แชนด์เลอร์  

และครูสมิธและภรรยา  มีเรบเวอเรนด์และนางโรเบิร์ต  เทลฟอร์ดเป็นเจ้าสำนัก        อีกคณะมีนายแพทย์ แดน บีช บรัดเลย์และภรรยา สองคนอยู่กันที่คลองบางหลวง

ต่อไปก็เป็นเรื่องงานของมิชชันนารีในจังหวัดเพ็ชรบุรีที่มีผู้เคยเขียนถึงอยู่หลายราย


       งานที่สหายนักอ่านในกลุ่มติดตามคือการทำปทานุกรมและพิมพ์หนังสือ  

คุณพระลงมือพิมพ์หนังสือของท่านเองออกจำหน่ายในปี ๑๘๖๕ หรือปี พ.ศ.  ๒๔๐๘   ปทานุกรมมีศัพท์ ๗๕๐๐ คำ  พิมพ์ ๔๐๐ เล่ม   สหายของดิฉันถืออยู่

ต้นปี ๑๘๘๐/พ.ศ. ๒๔๒๓  พิมพ์ครั้งที่สอง

การพิมพ์ครั้งที่ ๓ คือปี ๑๘๙๐/๒๔๓๓  แก้ไขปรับปรุง  มีคำประมาณ ๙๐๐ คำ
    


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 06:15


ขอแก้ไขข้อมูลว่าผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยใน ๑๘๖๐  คือบิดามารดาของคุณพระค่ะ

เร็บเวอเรนด์ เอส. เจ. แมคฟาร์แลนด์  ผู้ดำเนินงานในเพ็ชรบุรีอยู่ ๑๗ ปี


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 07:18


ตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช

พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยารัษฏานุประดิษฐ์(สินธุ์  เทพหัสดิน  ณ อยุธยา)ต จ ว, ต ช, ตม, ร จ พ,

ปีมะเมีย  พ.ศ. ๒๔๗๓

โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร



ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๗๒ หน้า ๓๖๐๙ - ๓๖๑๐

บิดา          พระยาไชยสุรินทร์(เจียม  เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
เกืด          วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๑๘
ถึงแก่กรรม  ๒๕​ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๗๒
รับราชการเมื่อพ.ศ. ๒๔๓๓
เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่า   ตรัง  สมุทรสงคราม  นครศรีธรรมราช


เจ้าพระยาธรรมศักดิมนตรี  น้องชาย   เรียบเรียงประวัติ
เรียนหนังสือที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  สอบไล่ได้จบวิชาของโรงเรียน คือประโยคที่ ๒   ได้เรียนภาษาอังกฤษเล็กน้อย

เมื่ออยู่สตูล ได้พยายามเรียนภาษามลายูจนมีความรู้ ได้ประโยชน์ในราชการ

พระยารัษฏานุประดิษฐ์ เป็นนักเลงโดยกำเนิด  คำนักเลงในที่นี้หมายความตามที่ควรว่า มีใจเป็นนักเลงอย่างนักกีฬา

ใครเล่นอะไร  น้อยอย่างที่ท่านจะไม่เล่นด้วย  เล่นว่าวที่ตัวโตกว่าตัวเอง  ปีนหลังคาถนัดมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะเล่นว่าว

เก็บดวงตราไปรษณีย์ ฯ  เลี้ยงปลากัน  ปลาเข็ม  ปลาเงินปลาทอง  เตะตะกร้อ  ตีกระบี่กระบอง  แทงบิลเลียด  ดีดจะเข้ได้เก่งพอใช้

เมื่อเป็นหนุ่มคะนองได้เป็นนักเลงผู้หญิงกับเขาหน่อย  เมื่อเป็นผู้ใหญ่บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญแล้วจนตราบวายชนม์ได้เป็นนักเลงอารามิกอย่างน่านับถือ



กรุณาสัตว์  รักเด็ก  สงสารผู้ตกยาก   แจกเสื้อผ้าและเงินให้นักโทษที่พ้นโทษเดินทางกลับบ้านแถมให้โอวาท

ด้วยพระอุปการแห่งสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งอุปราชมณฑลปักษ์ใต้  พระยารัษฏา ฯ

ได้จัดการสถาปนาและยกช่อฟ้าใบระกาวัดบรมธาตุแห่งจังหวัดนครศรีธรรมราช



       สำหรับตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชว่าต้นสกุลมาจากเมืองรามนคร   ที่เรียกกันว่ารามราชนครนี้เป็นแต่โวหาร

พวกพราหมณณโหรดาจารย์เมืองพัทลุงว่าต้นสกุลสืบมาแต่เมืองพาราณสี   สอบได้ความว่าเป็นจังหวัดอันเดียวกันนั้นเอง

วังอันเป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครพาราณสี  ยังเรียกว่ารามนครอยู่จนทุกวันนี้



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 ส.ค. 10, 08:20
คุณ Wandee เล่าไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้ว่า  กลุ่มนักอ่านหนังสือเก่ากำลังรวบรวมเรื่องมิชชันนารีที่แรกเข้ามาสู่สยามนั้น

ขอเรียนเสนอแนะให้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งพิมพ์ตอนปลายรัชกาลที่ ๖  ผมจำชื่อหนังสือไม่ได้แต่เคยสำเนาจาก "ห้องวิจิตรวาทการ" ในหอสมุดแห่งชาติส่งไปให้เพื่อนที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  ซึ่งกำลังรวบรวมประวัติความเป็นมาและบทบาทของมิชชันนารีในเมืองไทย  หนังสือเล่มนั้นเป็นภาษาอังกฤษจำชื่อเรื่องไม่ได้   จำได้แต่ว่าเป็นการรวบรวมผลงานของมิชชันนารีในรอบ ๑๐๐ ปีที่เข้ามาเมืองไทยนับแต่รัชกาลที่ ๓ - ๖  เป็นผลงานของหมอแมคฟาร์แลนด์


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 12:14

ขอบคุณค่ะ  คุณวีมีืีที่เคารพ


          จะต้องอ่านให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ  เอกสารภาษาอังกฤษที่มีอยู่ตามองค์การและมหาวิทยาลัยใหญ่ๆทั่วโลก

เวลานี้เข้าถึงได้แล้ว  บันทึกที่มิชชันนารีเก็บเอง หรือรายงานที่เขียนกลับไปที่สำนักงานใหญ่ก็เปิดได้แล้ว

อ่านแล้วก็ได้ความรู้ละเอียดขึ้น        มิชชันนารีบางคนพอเข้ามาจากปากน้ำ เห็นสยามเข้าก็ประกาศว่าจะทำให้เป็นแผ่นดินของพระเจ้าให้ได้

ว่าแล้วก็เปิดหีบยาและบทสอนศาสนาออกแจกคนจีน       แล้วก็เขียนรายงานกลับไปที่ต้นสังกัดด้วยความภาคภูมิใจ     


       


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 13:44

ประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒

หม่อมเจ้าปิยภักดีนารถพิมพ์แจกในงานปลงศพสนองคุณหม่อมบาง  หม่อมมารดา

ปีมโรงอัฐศก  พ.ศ. ๒๔๕๙

พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย  ณ สพานยศเส


         หม่อมเจ้าปิยภักดีนารถเป็นกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ  เลือกหนังสือส่งมาให้สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ เลือกหลายเล่ม

ประสงค์จะพิมพ์เป็น ๒ เล่มอุทิศส่วนกุศลถวายสนองพระเดชพระคุณ พระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมหมื่นวิศนุนารถนิภาธร พระบิดา เล่ม ๑

อีกเล่ม ๑ อุทิศกุศลสนองคุณหม่อมบาง  หม่อมมารดา

       หนังสือที่พิมพ์ในเล่มนี้คือ

๑.   หนังสือทำวัตร  อาราธนากรรมฐาน  วิปัสนาภาวนาแลคาถากรวดน้ำ  ทั้งอรรถแลแปล        ต้นฉบับเป็นตัวทอง  เขียนในรัชกาลที่ ๑

      หม่อมเจ้าปิยภักดีนารถมีแต่ตอนปลาย  ค้นตอนต้นสมุดเล่มเดียวกันนั้นได้ในหอพระสมุด

๒.   เรื่องธรรมยุทธอุปมา  นายทองราชบัณฑิตย์แต่งถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ฉบับอาลักษณ์ชุบทานเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕

๓.   ตำราสร้างพระพุทธรูป   แต่งในรัชกาลที่ ๓  บอกชื่อช่างฝีมือดี

๔.   นิพพานสูตรคำฉันท์  หนังสือเก่า  ไม่ทราบชื่อผู้แต่งและปีแต่ง  สำนวนเก่าและแต่งดี


       หม่อมบางเกิดในตระกูลคฤหบดี ปี ๒๓๗๗         
ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.​๒๔๕๘

บ้านเดิมอยู่ใกล้ถนนบำรุงเมือง        มีหม่อมเจ้า ๔ พระองค์ คือ

หม่อมเจ้าหญิงใหญ่  สิ้นชีพตั้งแต่เยาว์

หม่อมเจ้าหญิงยุพี

หม่อมเจ้าชายปิยภักดีนารถ  เกิดปีมเสง พ.ศ.​๒๔๐๐  รับราชการในกระทรวงพระคลังมาหลายตำแหน่ง

หม่อมเจ้าหญิงวงแข



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 14:45
เรื่องช่างมีชื่อนั้น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติพงษ์  มีลายพระหัตถ์ ลงวันที่

วันที่ ๖ มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๕๗  กราบทูล กรมพระดำรงราชานุภาพ    อธิบายว่า


       คำไหว้ครูนี้เห็นจะแต่งในรัชกาลที่ ๓  ถูกต้องตามที่หม่อมเจ้าปิยภักดีว่า          ด้วยช่างที่ออกชื่อไว้นั้น

เป็นช่างในรัชกาลที่ ๓ หลายคน      ที่ออกชื่อเหล่านั้นคงเป็นรุ่นใหญ่  ซึ่งเป็นคนหลักแหลมมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ฤาที่ ๒ แล้ว

สมควรยกย่องได้ทั้งสิ้น        ช่างฝีมือดีในรัชกาลที่ ๓ ยังมีอีกมาก      แต่คงเป็นรุ่นเดียวกับผู้ไหว้   จัดว่าเป็นเพื่อนช่างรุ่นเดียวกันแล้ว  ไหว้ไม่ได้จึงไม่มีชื่อ


๑.  เพชวกรรม

       ในรัชกาลที่ ๑ ได้ยินฤาชื่อคนหนึ่ง  เขียนห้องพระวิทูร  ในพระอุโบสถวัดอรุณ  ซึ่งไฟไหม้เสียแล้ว

ฝีมือดีสมควรยกย่องเป็นครูได้   ทราบว่าชื่อ สีเปีย   ชรอยเมื่อเด็ก ๆ คงไว้เปีย        ในคำไหว้ครูไม่มีชื่อเดิม      คงเป็นคนชั้นผู้ใหญ่มาก

ล่วงไปนานแล้ว   จนไม่รู้จักชื่อเดิม


๒.   ขุนเทพ      คนนี้ยุ่งนักหนา          เทพที่มีฝีมือได้ยินมาถึง ๓ คนคือ

      (๑)   เทพยนต์  เจ้ากรมช่างหุ่นที่ปั้นยักษ์ยืนหน้าหอพระธาตุมณเฑียร  กับหน้าโขนหน้าหุ่นเป็นอันมาก
             ฝีมือซึ่งเหลืออยู่ทำในรัชกาลที่ ๒ ทั้งสิ้น

      (๒)   หลวงเทพ  ฝีมือดีอย่างยิ่ง  ปั้นทั้งพระทั้งลิงและยักษ์  ปรากฎอยู่ที่ประตูพระระเบียงวิหารยอดวัดพระเชตุพน
             คือยักษ์ดีบุก ๒ คู่   และหน้าโขนตกอยู่ตามบ้านบ้าง  มักเป็นหน้าขนาดเล็กสำหรับสวมผู้หญิงเสียมาก  
             กาลก่อนนั้นลครผู้หญิงมีแต่ลครหลวง          มีชื่อเสียงมาตลอดรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓

      (๓)  หลวงเทพอีกคนหนึ่ง  มีชื่อเสียงกว้างขวางเป็นที่รู้จักดี

๓.    กัลมา   ได้ยินชื่อ  เป็นพ่อปลัดกรับ  ฝีมือปั้นหน้่ายักษ์ลำ่ ๆ
       แต่ไม่ได้ชื่อ สน       คงมาทีหลังกัลมาสน

๔.    พระยาชำนิรจนา  มีชื่อเสียงเลื่องฤา         พระยาชำนิรจนา มีหลายคน    ปั้นพระแต่ไม่ดียิ่งยวด  คงชำนาญการก่อสร้าง

๕     หลวงวิจิตรเจษฏา    ฟุตโน้ตว่าชื่อทองอยู่        ช่างเรียกกันว่าครูทองอยู่ คู่แข่งของคงแป๊ะ   เขียนประชันกันร่ำไป

๖.    ตามี  ได้ยินเรียกกันว่าตามีบ้านปุ  เขียนห้องภูริทัตในพระอุโบสถวัดอรุณ    ฝีมือดีแต่ไม่เอก

(ย่อความจากหน้า ๑๙ - ๒๓)



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 17:29

       บุรฉัตรรานุสรณ์   เล่มสีเทา  ตราประจำพระองค์และตัวอักษรสีเขียว  หนา ๒๓๑ หน้า


งานพระราชทานเพลิงศพ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร (ป.จ.)

ณ พระเมรุ  วัดเทพศิรินทราวาส

วันเสาร์ที่  ๑๘ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๒๔


       พระประวัติ

พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร  เป็นพระโอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๕  พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร  กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

และ  พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประภาวสิทธินฤมล (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์) พระมารดา

ประสูติ  เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๘


ทรงมีเจ้าพี่ เจ้าน้องร่วมพระบิดาเดียวกัน คือ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง มยุรฉัตร

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง  ยังไม่มีพระนาม สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร

หม่อมเจ้าหญิง ฉัตรสุดา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลฉัตร

หม่อมเจ้าหญิงกาญจนศักดิ์

หม่อมเจ้าหญิง ภัทรลดา

หม่อมเจ้าชายสุรฉัตร

หม่อมเจ้าหญิงเฟื่องฉัตร

หม่อมเจ้าหญิง หิรัญฉัตร

หม่อมเจ้าชายทิพยฉัตร

หม่อมเจ้าชาย พิบุลฉัตร


ทรงรับการศึกษาเบื้องแรก  ที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์

เมื่อพระชนม์ชันษา ๘ ขวบ  ได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ บอร์มัธ  จบปริญญาเกียรตินิยมอันดับ ๒ จากออกซฟอร์ด


ทรงสมรสกับ หม่อมงามจิตต์ สารสาส  บุตรี พลโทพระสารสาสพลขันธ์​(ลอง  สุนทานนท์) และนางสาสาสพลขันธ์ (สวัสดิ์ อัศวานนท์)



งานที่ทรงไว้ด้วยนามปากกา "เปรมชายา"

บทละครเรื่องพระลอ  ๒๔๘๐  เรื่องแปล

คำโคลง  "Siamese Idyll"   ปี ๒๔๘๘

ร้อยแก้ว  "The Passing Hours"  ๒๔๘๘

เรื่องผจญภัย, รักใคร่, "พระอภัยมณี" (เรื่องแปล) ๒๔๙๖

เรื่องการท่องเที่ยว "World Tour"  ๒๔๙๖

เรื่องรักใคร่ผจญภัย "ขุนช้างขุนแผน" (เรื่องแปล) ๒๔๙๘

เรื่องการท่องเที่ยว  "Scandinavian Journey"  ๒๔๙๘

เรื่องการท่องเที่ยวประเทศบราซิล ๒๕๐๔

เรื่องการท่องเที่ยวประเทศไต้หวัน

คำโคลง "The Song Gran Moon" ๒๕๑๐

เรื่องวรรณกรรมไทยเบื้องต้น (ร้อยแก้ว)

คำโคลง "A Fragile Thing" ๒๕๒๒



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 17:37

        สุนทรภู่ไปยุโรป

        ปาฐกถา  ทรงแสดงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เดือนมกราคม ๒๕๒๓


        โปรดรอสักครู่   นักอ่านต้องอ่านอีกหลายรอบค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 21 ส.ค. 10, 20:54
อ้างถึง
คุณ Wandee เล่าไว้ในความเห็นก่อนหน้านี้ว่า  กลุ่มนักอ่านหนังสือเก่ากำลังรวบรวมเรื่องมิชชันนารีที่แรกเข้ามาสู่สยาม

ดิฉันมีหนังสือเรื่อง "Siam Was Our Home" ของ Mary Bulkley Stanton ฉบับที่แปลเป็นไทย โดยกลุ่มศิษย์เก่าวัฒนารุ่น 100 ใช้ชื่อว่า "สยามคือบ้านของเรา" เป็นชีวะประวัติของ Edna Bruner Bulkley ซึ่งเป็น Missionary ของคณะ Presbyterian ที่เดินทางมาทำงานประเทศไทย โดยสอนหนังสือที่ โรงเรียนสตรีวังหลัง ร่วมกับ แหม่ม Cole

ต้องขออภัยเจ้าของกระทู้ที่เล่มนี้ไม่ใช่หนังสืองานศพ แต่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ค้นคว้าเรื่องของมิชชั่นนารีในเมืองไทย และหนังสือนี้ให้ภาพประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ได้อย่างน่าประทับใจมากค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 22:21

ขอบคุณมากเลยค่ะ    คุณ ร่วมฤดี     อยากคุยเรื่องอะไรก็เชิญนะคะ  ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสืองานศพ  จะใหม่หรือเก่าก็ขอน้อมรับฟัง

โปรดนึกว่าเราปูเสื่อไว้ผืนเบ้อเริ่ม  แล้วมาญาติมิตร..เอ้ย! คุยกัน



       คุณหลวงเล็กท่านมีหนังสืออ้างอิงมากมายมหาศาล   ดิฉันเองก็อ่านไปทั่วเพราะมีเพื่อนเป็นนักอ่านทั้งนั้น

หนังสือมีเก่าโบราณบ้าง   กลางเก่ากลางใหม่บ้าง  แต่ก็คัดลอกที่เป็นข้อมูลใหม่  หรือหาอ่านยากซักหน่อย  หรือไม่มีผู้เขียนถึงนานแล้ว

เรื่องหนังสือเก่านี่ไม่ใช่ว่าจะนับอายุ ๑๐๐ ปีขึ้นไปนะคะ   เนื่องจากการพิมพ์พึ่งเริ่มขึ้นในปลายรัชกาลที่ ๓  หรือจริงๆก็รัชกาลที่ ๔   

ท่านผู้อาวุโสในวงการก็ตกลงกันว่า นับกันที่หนังสือที่พิมพ์ภายในระยะเวลา ๕๐ ปี เมื่อแรกมีการพิมพ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งคิดคร่าว ๆ แล้วก็เป็นเวลาในรัชกาล

ที่ ๓  รัชกาลที่ ๔  และ เกือบทั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

       สมัยก่อนเอกสารโบราณเช่น บางกอกรีเคอเดอร์ และสยามไสมย ไม่มีการพิมพ์ใหม่         สมัยนี้มีแล้ว  นักอ่านก็สุขใจหาใดปาน(เหมือนเพลงโปรดในนวนิยายเรื่องเศรษฐีอนาถา)

Public Record Office  ของประเทศอังกฤษเราก็เข้าถึงได้่ค่ะ   ได้ข้อมูลแปลก ๆ มาเหมือนกัน   ยังไม่มีการนำมาเขียนบทความในเมืองไทย

     วันหน้าเราจะคุยกันเรื่องวรรณคดีที่เป็นที่นิยมเช่น ขุนช้างขุนแผน  หรือสังข์ทอง   ขอชวนมาแจมกัน

     ขอตีตั๋วไว้ก่อน  อิอิ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 21 ส.ค. 10, 23:16

       ปาฐกถา  ทรงแสดงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เดือนมกราคม ๒๕๓๒ (หน้า ๑๓๕ - ๑๔๕) ถอดเทป โดย คุณอัมพร  สโมสร


ย่อความ

       ชื่อของสุนทรภู่  เกียรติศักดิ์ของท่านไปถึงหลายประเทศในยุโรปแล้ว  และบางเมืองในอเมริกาด้วย        ราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษก็รู้จักท่านแล้ว

ในประเทศเดนมาร์กได้แปลพระอภัยมณีแล้ว    ทั่วสหภาพโซเวียตก็พอจะรู้จักสุนทรภู่และพระอภัยมณีของท่าน  เพราะโรงพิมพ์ของรัฐได้พิมพ์ออกมาเป็นภาษารัสเซีย


       สำคัญอย่างไรที่เราจะให้โลกรู้จักสุนทรภู่และวรรณกรรมของไทย    ข้าพเจ้าเห็นว่าสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะถ้าเราดูประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย

โดยเฉพาะประเทศใหญ่ ๆ อย่าง อิหร่าน       โลกจะลืมไม่ได้ว่าประเทศอิหร่านได้ให้จินตกวีที่สำคัญของชาติอิหร่านไว้กับโลก  คือโอมาร์คยาม

วรรณคดีจีนก็ได้แปลออกเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา    ญี่ปุ่นก็ส่งวรรณคดีญี่ปุ่นไปต่างประเทศ    อินเดียก็มีจินตกวีหลายท่านได้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ข้าพเจ้าเห็นว่าวรรณกรรมชิ้นเอกของเราไม่แพ้วรรณกรรมของชาติใด  ถึงอาจจะมีน้อยกว่าเขา   แต่ในประเทศเอเชีย  เราไม่แพ้ประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านของเรา


       วรรณกรรมของไทยมีงานชิ้นเอกหลายเรื่องที่ควรเป็นที่รู้จักทั่วไป   แต่เราขาดผู้แปลที่สามารถจริง ๆ    เราต้องยอมรับ  หาได้ยากจริง ๆ

ไม่ใช่ว่าดูถูกคนไทยด้วยกัน  เรามีแต่คนที่มีความสามารถ  แต่ท่านไม่มีเวลา       

ศาตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลไว้เยอะ    ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมชก็เคยแปล


ข้าพเจ้าได้แปล  และดัดแปลงเรื่องพระอภัยมณี  พิมพ์มาได้ ๒๕ ปีแล้ว  แปลเป็นภาษาอังกฤษ   แปลเป็นภาษาเดนมาร์ค  ภาษารัสเซียแล้ว 

กำลังจะแปลเป็นภาษาโปแลนด์    ต่อไปจะแปลเป็นภาษารัสเซีย   ที่ประเทศเยอรมันกำลังพิจารณาว่าจะแปลอย่างไร


       การแปลนี้ขอให้จำว่าไม่ใช่ของง่าย   ข้าพเจ้าเคยแปลนิราศเมืองแกลงได้ครบถ้วน   สุนทรภู่แต่งไว้เมื่ออายุยังไม่ถึง ๒๑   ผู้แปลจะต้อง

เอาตัวของผู้แปลสวมไปในวืญญาณของท่านจินตกวีให้ได้   ความรู้สึกเหมือนกัน   และจะต้องศึกษาว่าสิ่งแวดล้อม  ของที่แปล   เรื่องที่แต่งไว้

ถูกต้องตามแบบฉบับเดิมหรือไม่


       ราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษได้เชิญข้าพเจ้าให้ไปบรรยาย  ซึ่งเขาไม่ค่อยเชิญใคร  ยิ่งชาวเอเชียเขาไม่ค่อยอยากเชิญ

พอข้าพเจ้าเลือกวรรณคดีไทย   และจะอ่านขุนช้างขุนแผนมีบทอัศจรรย์    เขาตกใจมาก  บอกว่า "แหม   ราชบัณฑิตของเรา

แก่แล้วเดี๋ยวจะช๊อค ถ้าอ่าน"   แล้วไปดูหน้าปกเลยช๊อคใหญ่   ข้าพเจ้่าเลยบอกว่างั้นจะไม่อ่านตรงบทอัศจรรย์   อ่านตอนอื่น   เขาก็ชอบ





กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ส.ค. 10, 11:03

จดหมายเหตุเรื่องทัพเชียงตุง

พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร

โปรดให้พิมพ์เปนครั้งแรก

เปนของแจกในงานศพ

พลเรือตรี พระยานาวาพยุหรักษ์

(ม.ว พิณ  สนิทวงศ์  ณ กรุงเทพ)

ปีมโรง  พ.ศ. ๒๔๕๙

หนังสือปกแข็งสีเลือดหมู   ตราหอพระสมุด และต้วอักษรสีทอง  หนา ๑๖๒  หน้า

โรงพิมพ์ไทย  ถนนรองเมือง

สังเกตว่า ม.ว  คงจะเป็นคำย่อของ ม.ร.ว. ในเวลานั้น เพราะเขียนไว้ที่ใบรองปก  และ เนื้อเรื่องด้านในอีกสองสามแห่ง


       เคยอ่านประวัติพระยาสีหศักดิ์สนิทวงศ์(ม.ร.ว. ถัด  ชุมสาย)  จำ ม.ร.ว. พิณ  สนิทวงศ์ ญาติของท่านได้ดี ว่าโตมาด้วยกัน และชวนกันซนมากทีเดียว

การที่มีตัวตั้ง หรือ เป้าหมาย target นั้น   ทำให้เข้าใจเหตุการณ์และจำบุคคลในสมัยของท่านได้ เพราะคุณถัดเขียนหนังสือสนุกมาก เปี่ยมสาระ เล่าเรื่องสำคัญ ๆ ทั้งสิ้น

       ได้กลับมาสนใจเรื่องสงครามเชียงตุงใหม่เมื่อไม่นานมานี้เอง     เพราะฮะรีปัก ที่เข้ามากับเซอร์จอนเบาริ่งสนใจเรื่องนี้อยู่  ได้ไต่ถามข้าราชการไทยว่าสรุปแล้วเกิดอะไรขึ้น

แสดงว่าข้าราชการของอังกฤษนั้นทีความสนใจในการเมืองของสยามมาโดยตลอด


       สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ นิพนธ์ไว้ว่า  เรื่องสงครามเชียงตุงเป็นเรื่องสำคัญในพระราชพงษาวดาร  ผู้ที่รู้เรื่องจริงมีน้อย

มักพูดกันไปข้างติเตียน  พากันเข้าใจว่าความเสื่อมเสียอยู่ในกรมหลวงวงษา       


บัญชีเกณฑ์ทัพ หน้า ๑๒ - ๑๗  นั้นละเอียด   น่าศึกษาต่อมาก




กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ส.ค. 10, 11:51
ก้าวแรกของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย

ขจร   สุขพานิช

พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ  หลวงบุณยมานพพาณิชย์ "แสงทอง"

ณ เมรุวัดมกุฏกบัตริยาราม

วันที่ ๑  ธันวาคม  ๒๕๐๘


     หนังสือพิมพ์ของไทยเมื่อต้นรัชกาลที่ ๔ นั้น มี ๖ ฉบับ   หมอบรัดเลย์มีส่วนจัดออกหนังสือถึง ๕ ฉบับ

อาจารย์ขจรชมครูสมิทว่าภาษาดีกว่าบรัดเลย์


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ส.ค. 10, 16:53
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์​(จาด)

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ

พลโท  พระยากลาโหมราชเสนา(เล็ก  ปาณิกบุตร)
ณ  สุสานหลวง  วัดเทพศิรินทราวาส

วันที่ ๒  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๐๒



       พระราชพงศาวดารฉบับนี้  เป็นเรื่องที่หาอ่านได้ทั่วไป  ไม่ต้องทุกข์ยากลำบากกาย

แต่ประวัติท่านเจ้าคุณน่าสนใจอยู่ที่ เจ้าคุณปู่  ต้นสกุลปาณิกบุตร  คือพระยามหาเทพ(ทองปาน)

เดิมเป็นจมื่นราชามาตย์   ที่มีผู้แต่งเพลงยาวค่อนแคะว่า

"มิเสียทีที่เขามีวาสนา  แต่เห็น ๆ ที่ได้เป็นขุนนางมา    ไม่เหมือนราชามาตย์ในชาตินี้"

(มีก.ศ.ร. กระซิบ เรื่อง ธิดาของท่านอีกสองคน  ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหน   เมื่อมีเวลาก็จะได้เรียบเรียงมาฝาก/วันดี)




พระยากลาโหมราชเสนา  เป็นบุตรของ พันโท พระพิทักษ์ยุทธภัณฑ์(เทศ) และ นางพิทักษ์ยุทธภัณฑ์(ปริก)

เกิดที่บ้านริมวัดดุสิตาราม  ธนบุรี 

วดปก                ๒๘​ เมษายน  ๒๔๒๒

พี่น้องร่วมบิดามารดา   ๖​ คน

หม่อมละม้าย  เกษมศรี  ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ

ละมุน  ถึงแก่กรรมเมื่อเยาว์

หม่อมเล็ก(ละม่อม) สุขสวัสดิ์   ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงอดิศรอุดมเดช

นายแป๊ะ

พระนมจำเริญ  เกษมศรี   ในหม่อมเจ้าสมบัติบริบูรณ์  เกษมศรี   พระนมในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลวงศรีอายัติ(พลอย)  ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม


เจ้าคุณปู่ของพระยากลาโหมราชเสนา  มีธิดาคือ ท่านน้อย  สมรสกับ นายศัลวิไชย(ทองคำ)มหาดเล็กในรัชกาลที่ ๓

ท่านน้อยเป็น น้อง  ของพระพิทักษ์ยุทธภัณฑ์  จึงเป็น อา ของเจ้่าคุณกลาโหม

ท่านน้อยเป็นมีธิดา คือเจ้าจอมมารดาสังวาลในรัชกาลที่ ๔

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ

พระองค์เจ้าชาย  เจริญรุ่งรังษี  สิ้นพระชนม์แต่เยาว์

พระเจ้าบรมวงษ์เธอ  พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร

       เจ้านายทั้งสามพระองค์คุ้นเคยกับเจ้าคุณกลาโหม  และ นับเป็นญาติ


พระยากลาโหมราชเสนา สมรสกับ  คุณหญิงกลาโหมราชเสนา(มิ) บุตรีพระจักรพรรดิพงษ์ กับ คุณแข

ไม่มีบุตรธิดา


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด เจ้าคุณ   สมเด็จพระพันปีก็โปรดปรานทั้งสามีและภรรยา

เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนเป็นพระยา   สมเด็จพระพันปีดำรัสแก่พระบ่ทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

"ใจลูกกับใจแมาทำไมจึงตรงกัน   แม่คิดว่าจะขอให้พระสุรเดชรณชิตเป็นพระยา  ลูกก็มาตั้งให้เสียก่อน"


     พระยากลาโหมราชเสนา ได้ยืนชิงช้าในพ.ศ. ๒๔๗๑    พิธีแห่หรูหราใหญ่โตมาก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ส.ค. 10, 17:08

คำประพันธ์บางเรื่อง  ของ  พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม   กาญจนชีวะ  เปรียญ)

ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ  นาวาอากาศตรี  หลวงอัมพรไพศาล(กฤษณ์  บูรณะสัมฤทธิ์)

ณ เมรุวัดโสมนัสวิหาร

วันที่ ๑๙  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๐๔

ผู้จัดพิมพ์คือ  ท่านผู้หญิง ยสวดี  อัมพรไพศาล ภรรยา

หนังสือหนา ๑๖๑ หน้า     น่าอ่าน



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ส.ค. 10, 17:36


คำให้การของชาวกรุงเก่า  แปลจากฉบับหลวงที่ได้มาจากเมืองพม่า  ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒
(เล่ม ๑ นั้นพิมพ์ประมาณ  ๒๔๕๘    เป็นหนังสือหายาก  ใคร ๆก็อยากได้ /วันดี)

นายพันเอก พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์  พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ

คุณหญิงเสนีณรงค์ฤทธิ์​(ทองย้อย  สนิทวงศ์ ณ กรุงเทพ) จ.จ.

เมื่อปีฉลู  ๒๔๖๘

เล่มสีม่วง    ตราหอพระสมุด และตัวอักษรสีทอง    ปกแข็งกระดาษเลียนแบบผ้า  มีกรอบกดลึกเป็นลายฝรั่ง    หนังสือหนา ๒๗๐ หน้า



คุณหญิงเป็นธิดาของมหาเสวกโท  พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธ์(น้อย ศิลปี)

เกิดวันพุธ เดือน ๔ ปีเถาะ  พ.ศ. ๒๔๓๔

สมรสเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๕๒

สมเด็จพระยุพราชเสด็จพระราชดำเนินไปรดน้ำพระราชทาน

ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม  ๒๔๖๗      อายุ ๓๔ ปี




สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  นิพนธ์ไว้ว่า

       หนังสือเล่มนี้   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงวงศาธิราชสนิท  พระไปยกาของพระยาเสนีณรงค์ฤทธิ

ทรงจัดการแปลเรียบเรียงเป็นปฐม       นับว่าสกุลสนิทวงศ์ได้มีส่วนสร้างหนังสือเรื่องนี้มาแต่ก่อน   สมควรที่

สมาชิกในสกุลจะพิมพ์ให้เผยแพร่รักษาไว้อย่าให้สูญ

กรรมการหอพระสมุด ฯ มีประสงค์ที่จะชำระพิมพ์ใหม่   แต่ยังมีผู้ใดรับพิมพ์ด้วยอยู่ในหมู่หนังสือเล่มใหญ่

ท่านกับพระยาโบราณราชธานินทร์ จึงได้ช่วยกันตรวจชำระ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 ส.ค. 10, 00:20

       ประชุมเรื่องพระราม  ภาคหนึ่ง

เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป   รวบรวม


อำมาตย์ตรี  หลวงวัยวุฒิปรีชา
(หม่อมหลวงไววิวัฒน์  กุญชร)

พิมพ์เป็นที่ระลึก         ในงานพระราชทานเพลิงศพ

มหาอำมาย์ตรี  พระยาวรุณฤทธีศรีสมุทปราการ(แช่ม  โรจนประดิษฐ์)

ณ วัดมงกุฏกษัตริย์

วันที่ ๘​​  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๗๔




มหาอำมาตย์ตรี  พระยาวรุณฤทธีศรีสมุทปราการ(แช่ม  โรจน์ประดิษฐ์)

เกิด                   วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ปีมะเมีย  พ.ศ. ๒๔๑๓

สถานที่เกิด           ตำบลป้อมเพ็ชร   จังหวัดพระนครศรีอยุธา

ถึงแก่กรรม           วันที่ ๑๓ กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๗๓

บิดา                   หลวงสุนทรภักดี

มารดา                เลี่ยม

ภรรยา                คุณหญิงปริก

บุตร                   เขื้อ (นางวัยวุฒิปรีชา)
     
                         ชิ้น

                         ช่วง


เรียนหนังสือที่โรงเรียนสำนักวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ     จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อุปสมบทอยู่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ๒ พรรษา

เริ่มรับราชการในรัชกาลที่ ๕       เป็นเจ้าพนักงานจ่ายเลข ๔ ตำบล  รักษาพระราชวังบางปะอิน

เลื่อนเป็นขุนวิจิตรสุรการ       หลวงบริรักษ์ภูเบนทร์       พระบริรักษ์ภูเบนทร์


       เรื่องนี้อาจจะต้องตั้งกระทู้ใหม่ และเมื่ออาจารย์อีกหลายท่านว่างกิจการกิจกรรมและกิจอันควรทำทั้งปวง แวะมาแนะนำ

คุณหลวงเล็กเปรยว่าเรื่องยากนะ

ดิฉันถามทันทีว่าแล้วดิฉันจะอ่านได้ไหม

คุณหลวงหัวเราะเสียงสูง ....อ่านน่ะคงได้  แต่จะรุ้เรื่องหรือเปล่า  อ่ะ ๆ ๆ

อิ อิ อิ  ดิฉัน ยินดีที่จะรับฟัง......คุณหลวงว่างเมื่อไรกรุณาเริ่มได้

    แค่มณโฑทรีดื่มโลหิตฤาษีที่ท้าวราพณ์หลอกว่าเป็นยาพิษน่ะหรือ .....คอยฟังคนมาเล่าน่าจะดีกว่า


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 23 ส.ค. 10, 08:22
สงสัยจริง ๆ ค่ะ คำให้การชาวกรุงเก่านี้ เป็นเรื่องจริง หรือ เรื่องแต่งกันแน่คะ
ไม่น่าเขื่อว่าาจะมีการบันทึกไว้เป็นอย่างดีค่ะ

เอามะม่วงน้ำปลาหวานมาทานบนเสื่อที่คุณวันดีปูรอไว้ค่ะ
ใครจะมา Jam เชิบกันคนละหนุบ คนละหนับได้เลยนะคะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 ส.ค. 10, 08:43

วิทยาศาตร์ปัจจุบันสอนว่า อย่าทรมานหรือบีบบังคับ ผู้ให้สัมภาษณ์  เพราะข้อมูลจะเป็นเท็จ


ถึงจะใช้ศาสตร์การหลอกถาม  ผู้ให้สัมภาษณ์ ก็จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มลดข้อมูลอยู่แล้ว เพราะกำลังสนทนาอยู่กับศัตรู


มะม่วงน้ำปลาหวานนั้นเช้าไปหน่อย  แต่วันดียินดีเป็นที่ยิ่ง   วงอื่นยังไม่เห็นยกสำรับ
ขอบคุณค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 23 ส.ค. 10, 10:20
เรียน คุณWandee คุณหญิงเสนีณรงค์ฤทธิ์ (ทองย้อย) ท่านนี้ ใช่ภริยาของพระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์(หม่อมหลวงเล็ก) บิดาของท่านผู้หญิงอภิรดี  ยิ่งเจริญ ซึ่งเกิดจากท่านผู้หญิงโพยม  เสนีณรงค์ฤทธิ์ หรือไม่ครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ส.ค. 10, 11:13
สงสัยจริง ๆ ค่ะ คำให้การชาวกรุงเก่านี้ เป็นเรื่องจริง หรือ เรื่องแต่งกันแน่คะ
ไม่น่าเขื่อว่าาจะมีการบันทึกไว้เป็นอย่างดีค่ะ

เอามะม่วงน้ำปลาหวานมาทานบนเสื่อที่คุณวันดีปูรอไว้ค่ะ
ใครจะมา Jam เชิบกันคนละหนุบ คนละหนับได้เลยนะคะ

คำให้การชาวกรุงเก่า  เป็นหนังสือที่ไทยแปลมาจากภาษามอญพม่าอีกที
คำให้การนี้  พวกพม่ารามัญคงจดบันทึกจากปากคำของเชลยชาวกรุงเก่าที่ถูกกวาดต้อนไปในคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒
ด้วยหมายจะให้เป็นบันทึกความรู้เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาสำหรับชาวพม่ารามัญต่อไปภายหน้า
วิธีการจดบันทึกอย่างนี้  ทางสยามก็มีเหมือนกัน   เช่นว่า  มีชาวต่างชาติต่างภาษาเข้ามาสยาม
เราก็เชิญตัวชาวต่างชาติต่างภาษานั้นมาสอบถามเอาข้อมูลเกี่ยวกับบ้านเมืองที่เขาเดินทางจากมาและบ้านเมืองที่เดินทางผ่าน
ในสมัยก่อน  ยามเกิดศึกสงคราม ณ ดินแดนที่ห่างไกลจากพระนครมาก 
บรรดาเจ้าเมืองชายขอบขันธเสมาต้องจัดการลาดตระเวนตรวจดูผู้ที่เข้าออกด่านแดน
หากพบชาวเมืองที่เกิดสงครามอพยพหลบหนีภัยสงครามเข้ามา 
ก็จัดการหาล่ามมาสอบถามเหตุการณ์ความเป็นไปของบ้านเองที่มีสงครามนั้น
มีคำให้การนายจาด เรื่องเหตุการณ์ในเมืองพม่าเมื่อพระเจ้ามินดงทิวงคต และคำให้การชาวญวนเมื่อครั้งเกิดสงครามอานัมสยามยุทธ เป็นต้น

นี่เป็นการสืบหาข้อมูลสมัยก่อนที่สยามยังไม่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็ว
วิธีการเช่นนี้ใช้มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕  เช่นเมื่อครั้งศึกฮ่อก่อการจลาจลที่หัวเมืองเหนือและหัวเมืองลาวเป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีคำให้การที่จดเอาจากปากคำของผู้สูงอายุที่เคยเห็นและรู้เรื่องราวที่ล่วงสมัยมาแล้ว
และหาคนรู้ได้ยาก  เช่นคำให้การของคำให้การเถ้าสาเรื่องหนังราชสีห์
คำให้การขุนโขลน เรื่องพระพุทธบาท เป็นต้น

คำให้การเหล่านี้  ยังมีที่จดจากพวกที่เดินเรือหรือเดินทางมาจากต่างแดนด้วย
เช่นคำให้การจีนกั๊กเรื่องเมืองบาหลี คำให้การของพราหมณ์อัจจุตะนันนำ เป็นต้น

คำให้การเหล่านี้  น่าเชื่อถือเพียงไรนั้น  ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
ได้แก่  ตัวผู้ให้การ  ตัวผู้จดบันทึก  ตัวผู้เป็นล่าม เป็นต้น



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ส.ค. 10, 11:23
กรณีคำให้การชาวกรุงเก่านั้น  แม้จะจดจากปากคำคนไทย
แต่น่าจะเป็นปากคำชาวบ้าน  พระภิกษุ หรือข้าราชการชั้นผู้น้อย หลายคน
มาประสมประมวลกันเป็นคำให้การ  แต่ละคนที่ให้ปากคำแก่ชาวพม่ารามัญนั้น
จะมีความรู้ดีเพียงใดนั้น  ก็ทราบได้ยาก  ในระดับชาวบ้านอาจจะรู้แต่เรื่องที่เขาเล่ามา
และตำนาน เป็นส่วนมาก  ส่วนข้อเท็จจริงอาจจะไม่ทราบหรือทราบมาเลาๆ
ข้อมูลที่ได้กับข้อเท็จจริงอาจจะเปลี่ยนแปรไป ในชั้นที่ ๑ นี้

ต่อมา คนจดและล่ามแปลภาษา  ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเมืองไทยดีพอ  
แต่ก็พยายามเก็บใจความคำบอกเล่าให้มากที่สุด  
แน่นอน ว่า การถ่ายถอดเสียงคำไทยบางคำอาจจะเพี้ยนไป  มีทั้งมากและน้อย
(ในกรณีที่ไทยจดจากปากคำคนต่างชาติภาษาก็อาจจะมีที่บกพร่องได้เช่นกัน)
ข้อมูลบางอย่างอาจจะแปลและจดบันทึกผิด  ข้อมูลก็จะยิ่งคลาดเคลื่อนไปอีกชั้น ๑

ต่อมา การแปลคำให้การที่ชาวพม่ารามัญจดบันทึกไว้ให้กลับมาเป็นภาษาไทย (ที่ต่างยุดสมัยกับผู้ให้การไว้)
ย่อมต้องมีความคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย
เว้นแต่จะพอหาข้อมูลที่สอบเทียบได้ก็อาจแปลและเรียบเรียงคำให้การนั้นได้ถูกต้องตามที่ผู้ให้การในชั้นแรกเล่าไว้

ในสมัยที่มีการแปลและพิมพ์คำให้การชาวกรุงเก่านั้น  
คนไทยกำลังแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยากันมาก  
ไม่ว่าจะเป็นเอกสารไทยและต่างชาติ  
ผู้ใหญ่ได้พยายามรวบรวม  แปล พิมพ์เผยแพร่ออกมาเพื่อเพิ่มความรู้เกี่ยวกับอยุธยาในขณะนั้น

คำให้การชาวกรุงเก่า  อาจจะมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่น่าเชื่อถือ
เมื่อเทียบก็บข้อมูลที่ค้นหาได้ในสมัยต่อมา   แต่นั่นก็ไม่ได้ความว่า
คำให้การชาวกรุงเก่าจะใช้ไม่ได้เลย  
เพราะเอกสารชิ้นนั้น  ก็ถือว่าเป็นเอกสารที่จดบันทึกความรู้คนไทยสมัยกรุงเก่าเอาไว้มาก
ทั้งข้อเท็จจริง ตำนาน ประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ
แต่จะใช้งานข้อมูลเหล่านั้น  ก็ควรต้องพินิจพิจารณาเปรียบและตรวจสอบข้อมูลให้รอบคอบด้วย
ว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงใด


ขอบคุณคุณร่วมฤดีที่เอาเสื่อสาดมาลาดปูและเอามะม่วงน้ำปลาหวานมารอบริการ
แก่ผู้ที่มารอคุณวันดีสาธยายธรรม   ป่านนี้คุณวันดีคงจะเคี้ยวมะม่วงเสียจนเข็ดฟันแล้วกระมัง
 ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ส.ค. 10, 11:27

นอกจากนี้ ยังมีคำให้การที่จดเอาจากปากคำของผู้สูงอายุที่เคยเห็นและรู้เรื่องราวที่ล่วงสมัยมาแล้ว
และหาคนรู้ได้ยาก  เช่นคำให้การของคำให้การเถ้าสาเรื่องหนังราชสีห์
คำให้การขุนโขลน เรื่องพระพุทธบาท เป็นต้น


คำให้การเฒ่าสา เรื่องหนังราชสีห์
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=27-04-2007&group=2&gblog=57

คำให้การจีนกั๊กเรื่องเมืองบาหลี
http://www.reurnthai.com/wiki/คำให้การจีนกั๊กเรื่องเมืองบาหลี (http://www.reurnthai.com/wiki/คำให้การจีนกั๊กเรื่องเมืองบาหลี)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 23 ส.ค. 10, 14:56
มาตามอ่านอีกรอบค่ะ ขอบพระคุณคุณหลวงเล็กค่ะที่ให้หลักพิจารณาคำให้การของชาวกรุงเ่ก่า

ดิฉันอ่านเจอคนพม่าที่มาอยู่เมืองไทย ติติงคนไทยว่า ชอบเอา"ตำนาน" มาเป็น "ประวัติศาสตร์" โดยไม่พิสูจน์ความน่าเชื่อถือให้ชัดเจน หนังสือของท่านคือ "โยเดียกับราชวงศ์สยาม" ค่ะ

อ่านแล้ว ทำให้สงสัยว่าประวัติศาสตร์ที่เราเรียนกัน มีส่วนจริงเพียงใด

เราอ่านหนังสือหลาย ๆ เล่ม เหมือนสะสมตัว Jigsaw ทีละชิ้นค่ะ

การบันทึกข้อมูลในหนังสืองานศพที่คุณ Wandee และคุณ Luanglek กำลังทำ จะทำให้โลก Cyber มีข้อมูลเก็บไว้

บางทีวันข้างหน้า มีคนจะต่อ Jigsaw กดถาม อากู๋(Google) แป๊ปเดียวได้ Jigsaw มากองโต

ดังนั้น ช่วย ๆ กันใส่ข้อมูลลงไปเถอะค่ะ มีประโยชน์มากมายจริง ๆค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 ส.ค. 10, 16:15

คุณเพ็ญชมพูที่รัก

       ไม่อยากจะพูดเพราะซำ้ซากตรากตำจำระทมว่าทั้ง เฒ่าสา  และ จีนกัั๊ก  มีอยู่ใน สยามประเภทแล้วค่ะ

ยังไม่ได้ค้นว่าเล่มไหนแน่   แต่คงเป็นเล่มต้น ๆ  ไม่เกินเล่ม ๔         ไม่มีใครให้ความดีต่อผู้บันทึกเลย

นักประวัติศาวตร์ชื่อดัง ๓ คน  ใช้งานของ ก.ศ.ร.  แต่ทิ้งชื่อท่านไป

คนหนึ่งเขียนหนังสือไว้หลายสิบเล่ม   ใช้วลีว่า   "เล่ากันมาว่า..."

อีกคนหนึ่งลอกทั้งเล่ม

อีกคนหนึ่งลอกประปราย

ประชาชนทั้งหลายที่มีประวัติครอบครัวเกรียงไกร  เล่าไปถึง คุณเทียดของคุณเทัยด ว่าเป็นพราหมณ์รามราชกันเป็นแถว

ดิฉันสามารถพูดได้ว่า  ถ้าท่านเหล่านี้ไม่ได้ลอกงานของ ก.ศ.ร. มา      ก.ศ.ร.ก็คงจะลอกงานของท่านเป็นแม่นมั่น

ที่ ก.ศ.ร. แต่งเติมและแก้ไขข้อมูลนั้นมีอยู่ เพราะใช้ตำราหลายเล่ม   ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเองบารมีแก่กล้า  บางครั้งก็รีบทำงาน ฟังผิดฟังไม่ถูก

หลายเรื่องที่ก.ศ.ร เล่าก็น่าสยดสยองอยู่เหมือนกัน      ดิฉันอ่านแล้วก็หัวร่อแล้วไปรายงานพรรคพวกว่า ก.ศ.ร. เพี้ยน เขียนออกมาได้ตำรานี้ใคร ๆ

ก็ทราบกันว่า พระเกศาของเจ้านายเมื่อเข้าเกศากัณฑ์แบ่งเป็นเท่าไรปอย          นานมาก็ไปเจอตำราโบราณเล่าเหมือนที่ก.ศ.ร.เล่าไว้

เลยไม่แน่ใจว่า  ใครลอกใครกันแน่

         เจ้านายของเราพระองค์หนึ่ง  เมื่อทรงบทประกาศเขียนโดยสมาขิกคณะเปลี่ยนแปลงการปกครองคนหนึ่ง    ได้ตรัสว่า  เขียนเหมือนอีตาสตาลินเสียจริง

ไม่เช่นนั้นสตาลินก็คงลอกของที่ท่านผู้นั้นไปแน่แท้


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ส.ค. 10, 16:15
มาตามอ่านอีกรอบค่ะ ขอบพระคุณคุณหลวงเล็กค่ะที่ให้หลักพิจารณาคำให้การของชาวกรุงเ่ก่า

ดิฉันอ่านเจอคนพม่าที่มาอยู่เมืองไทย ติติงคนไทยว่า ชอบเอา"ตำนาน" มาเป็น "ประวัติศาสตร์" โดยไม่พิสูจน์ความน่าเชื่อถือให้ชัดเจน หนังสือของท่านคือ "โยเดียกับราชวงศ์สยาม" ค่ะ

อ่านแล้ว ทำให้สงสัยว่าประวัติศาสตร์ที่เราเรียนกัน มีส่วนจริงเพียงใด


ตำนานมีทั่วทุกมุมโลก  ตำนานลางเรื่องก็มีที่มาจากเรื่องจริง  
แต่เพราะการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะและการจดเป็นลายลักษณ์อักษรหลายๆ ทอด
จึงทำให้เรื่องจริงถูกเสริม เพิ่ม แปลง และแปรเนื้อหาไป  

ถ้าจะไม่เอาตำนานมาศึกษาเลย  เราก็ขาดเอกสารที่บันทึกความเชื่อของคนสมัยก่อน
ในบางท้องถิ่นมีแต่ตำนาน  ไม่มีงานเขียนประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานวิชาการ
ถ้าจะไม่เอาตำนานเลย  ท้องถิ่นนั้นก็จะไม่มีประวัติศาสตร์ที่มาให้ศึกษาย้อนกลับไปได้

คนพม่าก็เชื่อตำนานพอๆ กับคนไทย  
การจะพิสูจน์ตำนานว่าจริงหรือแต่งขึ้นมาลอยๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
เพราะถ้าเป็นตำนานเก่ามากๆ มีหลายสำนวนที่เก่าพอๆ กัน  
หลักฐานที่ตรวจสอบได้ยิ่งหายากหรือหาไม่ได้

ประวัติศาสตร์ที่เราเรียนมา  นั่นคือพื้นฐานในการเรียนรู้และค้นคว้าต่อในระดับที่สูง ลึก กว้างขึ้นไปหลังจากนั้น
จะไปโทษว่าตำราหรือครูอาจารย์ สอนไม่ดีคงไม่ได้ทั้งหมด  เพราะเราไม่ขวนขวายที่จะศึกษาค้นคว้าต่อเอง
มัวแต่คิดว่าห้องเรียนจะเป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ทั้งหมด   ความรู้ของเราจะงอกเงยได้อย่างไรกัน

การบันทึกข้อมูลในหนังสืองานศพที่คุณ Wandee และคุณ Luanglek กำลังทำ จะทำให้โลก Cyber มีข้อมูลเก็บไว้
บางทีวันข้างหน้า มีคนจะต่อ Jigsaw กดถาม อากู๋(Google) แป๊ปเดียวได้ Jigsaw มากองโต
ดังนั้น ช่วย ๆ กันใส่ข้อมูลลงไปเถอะค่ะ มีประโยชน์มากมายจริง ๆค่ะ


สิ่งที่ผมได้เขียนลงไปก็ดี  คุณวันดีเขียนลงก็ดี
เป็นเพียงบางส่วนของหนังสือเล่มที่เอาเสนอ
รายละเอียดทั้งหมดต้องไปหาหนังสือมาอ่าน
(ไม่ได้หมายความว่าต้องหาซื้อมาเป็นเจ้าของทั้งหมด)

วัตถุประสงค์ของกระทู้นี้คือ ปรารถนาให้คนที่ได้อ่านกระทู้
เกิดแรงกระตุ้นความสนใจให้ท่านทั้งหลายเห็นความสำคัญของหนังสืองานศพ
(บางท่านเรียกให้เพราะหนังสืออนุสรณ์ผู้วายชนม์)
และได้ต่อยอดไปศึกษาค้นคว้าต่อ

ส่วนที่จะให้กระทู้นี้เป็นแหล่งข้อมูลเยี่ยงอากู๋เกิลนั้น
เห็นว่า  คงจะเป็นไปได้เพียง ๑๐ ใน ๑๐๐๐ ส่วนเท่านั้น
อากู๋เกิลเป็นเพียงเครื่องมือในการเสาะหาความรู้ชนิดหนึ่ง
อย่าเพิ่งไปฝากผีฝากไข้ว่า โลกไซเบอร์จะเป็นดั่งแก้วจินดามณีเลย
พระท่านว่า  อัตตาหิ  อัตตโน นาโถ  -  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนะโยม








กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ส.ค. 10, 16:33
นิทานเทียบสุภาษิต
พระสุวรรณรัศมี (ทองคำ  สีหอุไร)
แต่งเมื่อเป็นพระ  พระยาสีหราชฤทธิไกร

พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
พระสุวรรณรัศมี
เมื่อปีมะโรง  พ.ศ. ๒๔๗๑
พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ประวัติพระสุวรรณรัศมี (อย่างย่อ)

เกิดเมื่อ วันจันทร์ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน๑๒ ปีขาลตรีณิศก จ.ศ. ๑๒๐๔
เป็นบุตรนายทองดี  นายทองดีเป็นบุตรขุนคชสิทธิ์ฯ นาค/บุนนาค กรมคชบาลในรัชกาลที่ ๓ มีนิวาสสถานที่แพหน้าวัดมหาธาตุ

ขุนคชสิทธิ์ฯ มีบุตร ๔ คน เป็นชาย ๒ หญิง ๒  ชายชื่อนายทองดี กับนายทองสุข  หญิงชื่อนางสะ กับนางแพ

นายทองดีรับราชการเป็นที่หมื่นจ่าดับไฟ กรมพระนครบาล

นายทองสุขรับราชการเป็นสารวัตรมหาดเล็กในพระราชวังบวร
นายทองสุขมีบุตร ๑ คน ชื่อนายหรุ่น รับราชการในกองนาหลวง คลองมหาสวัสดิ์

นางสะ มีธิดา ๑ คน ชื่อ โต เป็นภรรยาพระยาราไชฯ บ้านลาว ถนนเจริญกรุง

นางแพ ได้รับราชการเป็นหม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ มีหม่อมเจ้า ๑ พระองค์ (ต่อเป็นพระองค์เจ้า) คือ พระประพันธวงศ์เธอ  พระองค์เจ้ามงคลเลิศ  ประทับ ณ วังเชิงสะพานช้างคลองตลาด  (คือวังพระประพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ส.ค. 10, 16:56
หลายท่านอาจจะสงสัย  เมื่อไรจะเข้าประวัติพระสุวรรณรัศมี
เดี่ญวก่อน ที่ชักตระกูลสีหอุไรมาเล่า
เผื่อว่า จะมีคนสนใจเอาไปศึกษาและอ้างอิงต่อบ้าง

นายทองดี  มีบุตรกับนางเมือง ๙ คน  แต่ถึงแต่กรรมตั้งแต่ยังเด็ก เสีย ๘ คน
คงเหลือแต่นายทองคำคนเดียวที่เติบโตมา

นายทองคำอายุได้ ๘ ปี นายทองดีบิดาถึงแก่กรรม  
หม่อมแพ ผู้เป็นอาว์ ให้คนไปรับมาอยู่ที่วังพร้อมกับมารดา

นายทองคำอายุ ๑๓ ปี ทำพิธีตัดจุกเปีย  แล้วบวชเป็นสามเณรในวันนั้น
และได้อยู่ในสำนักพระครูวิสุทธิสมโพธิ (เที่ยง) (ต่อมาเป็นพระมงคลมุนี)
วัดพระเชตุพน  เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม หนังสือไทยขอม ตลอดจนวิชาการต่างๆ
มีวิชาช่างเขียน และช่างอังกฤษ เป็นต้น

ต่อมาลาสิกขาแล้ว ไปเรียนกระบี่กระบอง มวยปล้ำ

ปีวอกโทศก ๑๒๒๒  เป็นมหาดเล้กขอเฝ้าในกรมสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (เมื่อยังทรงดำรงพระยศเป็นพระนางเจ้า) ได้รับเบี้ยหวัด ๖ บาท

ปีกุนเบญจศก ๑๒๒๕ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระเชตุพน  บวชอยู่นาน ๑ พรรษา
เมื่อลาสิกขาแล้ว ได้เป็นปลัดเวรและนายเวรมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพินิตประชานาถ (รัชกาลที่ ๕)  

ปีมะเส็ง ยังสัมฤทธิศก ๑๒๓๐ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ จ่าผลาญอริพิษ ในกรมพระตำรวจใหญ่ขวา  ศักดินา ๖๐๐  และได้เป็นนนายด้านทำพระพุทธรัตนสถาน  มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลฯ เป็นแม่กอง  ในครั้งครั้งเมื่อทำเสร็จแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกระจกผนังด้านในออก  แล้วสะปูนผนังเขียนประวัติพระพุทธบุยรัตน์เป็นการรีบเร่งเพื่อให้ทันกับการทรงพระผนวช

ในปีเดียวกัน เกิดเพลิงไหม้ที่ตำหนักพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรี พระอัครราชเทวี จ่าผลาญอริพิษ ได้ไปช่วยดับเพลิง  จนได้รับรางวัลความชอบเป็นตราภัทราภรณ์


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ส.ค. 10, 17:17
ปีระกา เบญจศก ๑๒๓๕  ได้เลื่อนเป็นที่จมื่นไชยาภรร์  ปลัดกรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย ศักดินา ๘๐๐   กับได้รับโรดเกล้าฯ ให้ไปทำเขื่อนเพชรฐานเหนือพระพุทธรัตนสถาน นาว ๒๒ ห้อง  หลังคาตัด  เพื่อเป็นที่พักพระเถระเมื่อมาร่วมพิธีทรงผนวชพระ

จากนั้นได้เป็นข้าหลวงออกไปสักข้อมือคนจีนที่เมืองชลบุรี เมืองพนัสนิคม
ต่อจากนั้นได้เป็นข้าหลวงกำกับโรงเตาสุรากรุงเทพฯ ได้รับผลประโยชน์เดือนละ ๘๐ บาท

ปีฉลูนพศก  ๑๒๓๙ ได้เลื่อนเป็นที่ พระพรหมบริรักษ์ เจ้ากรมพระตำรวจสนมทหารขวา  ศักดินา ๑๖๐๐   ในคราวนั้นได้ขึ้นไปชำระความผุ้ร้ายปล้น ๕ ตำบลที่เมืองสุพรรบุรีและได้ว่าราชการที่เมืองนั้นด้วย เพราะเจ้าเมืองถึงแก่กรรม  และได้นำกรมการเมืองสุพรรณบุรีไปเข้าเฝ้าฯ ในคราวเสด็จฯ ไปพระแท่นดงรัง แขวงเมืองราชบุรี

ในครั้งนั้น ได้รับพระบรมราชโองการให้ไปตามจับตัวผู้ร้ายตองซู่ ๔ คนที่ฆ่าหมื่นอาจ บ้านจระเข้สามพันตาย  (ความว่าได้รีบจัดการสืบหาผู้ร้ายทันทีแต่ทราบว่าผู้ร้ายหนีพ้นเขตเมืองสุพรรณบุรีไปแล้วหลายวัน)  จึงได้จับพวกตองซู่ที่เที่ยวซุ่มซ่อนลักซื้อขายโคกระบือไม่มีตั๋วฎีกา  แล้วล่องลงมาพระนคร    เมื่อมาถึงไม่นานได้เป็นผู้ชำระความมรดกตกค้างและคดีมโรสาเร่ต่างๆ  ต่อมาได้รับพระราชทานโต๊ะทอง กาทอง เป็นเกียรติยศ  กับได้เป็นข้าหลวงขึ้นไปชำระความผู้ร้ายยิงกันตายที่เมืองนครลำปาง ซึ่งโจทก์จำเลยเป็นคนในร่มธงอังกฤษ  ชำระคดีในเมืองนครเชียงใหม่อีก ๒ คดีตามที่เจ้าราชวงศ์กล่าวโทษบุตรข้าหลวงใหญ่เมืองนครเชียงใหม่  (คดีนี้ยาวนัก  ท่านเล่าไว้ละเอียดยิบหลายหน้า ขอตัดบทงดไม่เล่า) สรุปว่าเมื่อเสร็จการคราวนั้น  ได้กลับลงมากรุงเทพฯ

ประวัติพระสุวรรณรัศมียังมีอีกยาว  นี่เพิ่งเล่าไป ๑ ใน ๓ เท่านั้น 
ผู้ใดมีกำลังใจดี ไม่ย่นย่อ  ขอให้ทนรออ่านต่อไป
ท่านผู้ใดเห็นจะคอยท่าไม่ได้นาน  โปรดไปอ่านกระทู้ข้างเคียงก่อนเป็นการฆ่าเวลา


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 23 ส.ค. 10, 17:26
       อาสามาช่วยคุณหลวงเล็กเพราะเห็นท่านสูงอายุแล้ว  จะเป็นลมไปเมื่อไรก็เมื่อนั้น

เรียนแล้ว ว่าดิฉันไม่มีหนังสืออนุสรณ์  ไม่ได้เก็บ  ไม่ได้เป็นนักสะสม  แต่เป็นนักอ่านระดับขุนนางยักษ์ตัวหนึ่ง

คุณหลวงนี่ท่านเป็นตำรวจเก่า   ซักซะจริง    เคยเห็นหนังสือเล่มนี้ไหม      ไม่เคยเห็นรึ   แว่บๆก็ไม่เคยหรือ

เรื่องข้างในพอจะจำได้บ้างหรือไม่    แล้วคุณรู้เรื่องนี้ได้อย่างไร   ใช้เล่มไหน  ปกสีอะไร

ที่ปั่นมาให้นี่เก็บจากตู้ประวัติศาสตร์เท่านั้นนะคะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 24 ส.ค. 10, 12:14

คุณ Ritti 018   คะ


        หนังสืออนุสรณ์ของภรรยา  ไม่ได้ประวัติของสามีไว้เลยค่ะ

หนังสือที่คุณหลวงเล็กนั่งเฝ้าเป็นปู่โสม   และดิฉันมีกระจัดกระจาย  ถ้าคุณสังเกต  จะเป็นหนังสือสำคัญ  ที่สามารถใช้อ้างอิง

หรือค้นต่อได้    หรือให้ส่วนเชื่อมต่อของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ที่หายไป   


บางครั้งเรื่องในเล่มก็สำคัญมากต่ะ   เพราะบารมีของลูกหลาน  ไม่เกี่ยวว่าหนังสือสวย เล่มหนาหรือไม่


       ความสำคัญอยู่ที่การค้นคว้าต่อของท่านผู้สนใจเอง  เพราะความต้องการข้อมุลของบุคคลย่อมแตกต่าง

ดิฉันนั้นอ่านประสมความมานาน  ยังมีสิ่งที่ไม่รู้อีกมาก     


สหายบางคนสนใจพจนานุกรมหรือหนังสือไวยากรณ์โบราณ   ดิฉันก็รับฟังไปเรื่อย ๆ  รู้แต่ชื่อเรียกว่าพอแว่วน่ะค่ะ

ดิฉันสนใจเรื่องมิชชันนารีเพราะเท่าที่อ่าน  ข้อมูลยังน้อยมาก      คิดถึงพี่สมบัติ  พลายน้อย(ท่านนับดิฉันเป็นน้อง)ที่ท่านมีวิริยะ ค้นคว้ามาเขียนให้

เป็นแนวทางที่พวกเราจะวิ่งต่อไป


อ่านแต่เอกสารต้นรัชกาลที่ ๔ มา            ตอนนี้ต้องมาอ่านเอกสารรัชกาลที่ ๒ แล้วค่ะ

เพราะอีตาเจมส์โลว์เคยเขียนเรื่องกฎหมายไทยไว้ละเอียด    ตายแน่วันดี

คุณ Ritti  คงไม่ว่าดิฉัน เลี้ยวลงซอยออกทะเลนะคะ

ตั้งใจจะคอยคุณหลวงเล็กกลับมาก่อน  เพื่อไม่ให้กระทู้ท่านค้างเต่อ     



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 ส.ค. 10, 14:27
มาต่อประวัติพระสุวรรณรัศมี  หรือพระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร)

ความเดิม  (กรุณาย้อนกลับไปอ่านในความเห็นล่าสุดในกระทู้นี้ของผม)

เมื่อเสร็จกิจที่หัวเมืองเหนือแล้ว  พระพรหมบริรักษ์ได้รับรับสั่งให้เดินทางกลับมากรุงเทพฯ

ครั้นมาถึงกรุงเทพฯ ได้รับพระมหากรุณา โปรดเกล้าฯ ซื้อที่บ้านเมืองนนท์พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์พร้อมหนังสือพระราชทานกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น  

จากนั้น ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายด้านทำพระเมรุทรงยอดปรางค์สำหรับการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ณ ท้องสนามหลวง  ได้รับพระราชทานที่ชาและครอบแก้วมีรูปสัตว์ทองคำภายในเป็นรางวัล

ต่อจากนั้น  โปรดเกล้าฯ ให้ทำโรงเอ็กซหิบิชั่นที่ท้องสนามหลวง เนื่องในการฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี  มีการขุดสระขังจระเข้ใหญ่ให้คนดู และมีการต่อสายโทรศัพท์จากสนามหลวงไปที่ปากน้ำสมุทรปราการ  ให้ชาวมอญทดลองร้องทะแยส่งเสียงไปตามสาย  แล้วให้ชาวมอญปลายสายโทรศัพท์ที่ปากน้ำร้องทะแยตอบกลับมา ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ชาวมอญผู้ทดลองโทรศัพท์ครั้งนั้น

เมื่อสิ้นการฉลองพระนครแล้ว ได้เกิดศึกปราบฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ  ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงจัดเจ้าพนักงานรับส่งหนังสือบอกราชการกองทัพ ตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปยังหนองคาย และจากหนองคายไปทุ่งเชียงคำ แต่การส่งข่าวครั้งนั้นกินเวลาไปกลับของหนังสือ ๓๐ วัน คือ ๑๑ วันบอกไป ๑๑วันตอบมา  ๘ วันเขียนตอบ   แต่การศึกครั้งนั้นก็เป็นอันระงับไป เพราะแม่ทัพ พระยาราชวรานุกูล (เวก บุณยรัตพันธุ์) ถูกลูกปืนที่หน้าแข้งบาดเจ็บ จึงได้ล่องกลับมาพระนคร

ปีจออัฐศก  ๑๒๔๘  โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระพิเรนทรเทพบดีศรีสมุห  เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย  ศักดินา ๒๐๐๐  กับได้รับหน้าที่ทำพระเมรุพระเจ้าลูกเธอ ณ วัดราชบพิธ  แต่การยังไม่แล้วเสร็จ  โปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงใหญ่ขึ้นรักษาราชการเมืองนครราชสีมา ในเวลาจวนจะตั้งการพระราชพิธีลงสรงสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  ครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ถอดพระยาโคราช (อิ่ม) ออกจากราชการ  ขึ้นไปรักษาราชการที่เมืองนครราชสีมา เป็นเวลานาน ๕ ปีเศษ  ในระหว่างนั้นได้จัดการทำบุญกุศลกับชาวเมืองหลายประการ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 ส.ค. 10, 14:41
หลังจากรั้งราชการที่เมืองนครราชสีมาได้นาน ๕ ปีแล้ว  จึงได้ทำใบบอกราชการมากราบบังคมทูลขอพระราชทานทรงพระมหากรุณาแต่งตั้งข้าราชการผู้อื่นขึ้นไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ไปรั้งราชการต่อ 

ครั้งนั้นได้โปรดเกล้า ฯ พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์  เสด็จขึ้นไปรั้งราชการแทน  และต่อได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาประสิทธิ์ศัลการ (สอาด  สิงหเสนี) เป็นข้าหลวงรั้งราชการสืบต่อจากเสด็จในกรม  เมื่อเสด็จในกรมเสด็จกลับกรุงเทพฯ พระพิเรนทรเทพจึงได้เดินทางกลับลงมาด้วย 

เมื่อกลับมาแล้วได้ไปเฝ้าฯ ที่เกาะสีชัง  และได้ถือโอกาสกราบบังคมทูลลากลับบ้าน  ด้วยว่านางเสงี่ยม  ภรรยา  มีอาการป่วยไข้หนัก  เมื่อกลับบ้านแล้ว พยาบาลภรรยาสุดความสามารถแล้ว  นางเสงี่ยม ภรรยา อายุได้  ๕๐ ปีถึงแก่กรรม ได้รับพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพภรรยาแก่ท่าน

ครั้นต่อมาได้รับรับสั่งให้สร้างตึกดินดิบอย่างตึกโคราช  ที่เกาะสีชัง  แต่ยังไม่ได้ทำ เกิดเหตุบาดหมางระหว่างสยามกับฝรั่งเศส  จึงได้ระงับการก่อสร้างไป

๒๐ เม.ย. ๑๑๒  โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระยามหามนตรี  ศรีองครักษสมุห  เจ้ากรมพระตำรวจในขวา  ศักดินา  ๒๐๐๐  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ว่าที่จางวางในกรมนั้นด้วย



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 ส.ค. 10, 15:05
เมื่อคราวเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน  โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกโรงทิมดาบเพื่อใช้ประชุมข้าราชการสำหรับเตรียมการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๒๕ ปี  รัชฎาภิเษก  และได้ร่วมจัดการพระราชพิธีรัชฎาภิเษกครั้งนั้นด้วย

เดือน ๑๒ ปีเดียวกันนั้น ได้รับพระราชทานพานทองและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

๒๖  ก.ย. ๑๑๓  โปรดเกล้าฯให้เป็นที่พระยาอนุชิตชาญไชย   จางวางกรมพระตำรวจขวา  ศักดินา ๓๐๐๐ และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรี และองคมนตรีที่ปรึกษาราชการด้วย  ต่อมาได้เป็นกรรมการศาลที่ ๑  ทำหน้าที่ชำระตัดสินความค้างในศาลนครบาล

ถัดจากนั้นได้เป็นกรรมการศาลฎีกา  และได้รับพระราชทานเหรียณและเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายอย่าง

ปี ๑๑๙  ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่พระยาสีหราชฤทธิไกร  อภัยพิริยปรากรมพาหุ  เจ้ากรมอาสาใหญ่ซ้าย  ศักดินา ๑๐๐๐๐ และยังเป็นกรรมการศาลฎีกาอยู่

ปี ๑๒๑  ได้เป็นมรรคนายกวัดพระเชตุพน

ปี ๑๒๒  ทำหนังสือขอพระราชทานกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานหยุดพักราชการเพื่อรักษาตัวด้วยโรคภัยเบียดเบียนมาก  พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พักราชการได้ โดยมีผู้อื่นรั้งราชการแทน

๑ เม.ย. ๑๒๓  ได้เฝ้าฯ ที่พระราชวังสวนดุสิต กราบบังคมทูลขอพักราชการเป็นการถาวร หลังจากรับราชการมานาน ๔๐ ปีเศษ  ทรงพระกรุณษโปรดเกล้าฯ ให้ออกจากราชการ  และได้พระราชทานเบี้ยเลี้ยงชีพเดือนละ ๓๘๐ บาท   ท่านได้เอาเงินนั้นทำบุญกุศลต่างๆ โดยจัดให้มีประชุมธรรมสากัจฉาที่บ้านเดือน ๔ ครั้ง  (วันขึ้น ๒ ค่ำ แรม ๒ ค่ำ ขึ้น ๑๐ ค่ำ แรม ๑๐ ค่ำ)

ปี ๑๒๖  เดินทางขึ้นไปร่วมงานพระราชพิธีเฉลิมสิริราชสมบัติที่กรุงเก่า  (พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก)   การครั้งนั้น  ท่านได้แต่งกาพย์เล่าเหตุการรืที่ได้ไปในการครั้งนั้นด้วย  (ยาวนัก ไว้เพลาอื่นคงจะได้นำมาถ่ายทอดสู่กันอ่าน)



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 ส.ค. 10, 15:27
พระยาสีหราชฤทธิไกร  มีบุตร ๑๑ คน เป็น ชาย ๗ คน หญิง ๔ คน บุตรนั้นถึงแก่กรรมไป ๖ คน คงเหลือเติบโตมา  ๕ คน  เป็นชาย ๔ คน หญิง ๑ คน  บุตรที่เหลือนั้น รับราชการ ๒ คน บวชเป็นภิกษุ ๑ รูป  (พระภิกษุบุญ  ๑  นางเทียม ๑  ขุนเทพวิหาร  สวาสดิ์ ๑  หลวงประกอบธนากร สวัสดิ์ ๑  และนายอ่อน ๑)


วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๑๒๙  เวลา ๒ ยาม ๔๕ นาที  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต   ทันทีที่ได้ทราบข่าวสวรรคต  เจ้าคุณสีหราชเป็นลมหมดสติ

เมื่อใกล้การพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระยาสีหราชฯ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลลาบวชเป็นสามเณรเพื่อฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บวชได้

ในวันที่  ๑๖  มีนาคม ๒๔๕๓  เชิญเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังราชเจ้า ทรงกระทำการบรรพชาให้

เวลา ๗ ทุ่มเศษวันนั้น  พระยาอัพภันตริกามาตย์ ส่งคนมาตามไปถวายพระเพลิงพระบรมศพที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง   เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว ความอิ่มเอิบในบุญกุศลที่ได้ทำถวายฉลองพระเดชพระคุณ  ทำให้ไม่รู้สึกหิวอาหาร  และนอนไม่หลับนาน ๓ วัน

อีก ๗ เดือนต่อมา  ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังราชเจ้าทรงเป็นอุปัชฌาย์ให้  ครั้งนั้น  ได้แต่งนิราสออกบวชไว้เป็นอนุสรรณืในการบวชครั้งนั้นด้วย  (ยาวหลายคำกลอน และมีคนไม่เคยอ่านโดยมาก  แต่เห็นว่าเอามาลงก็จะเยิ่นเย้อเสียเนื้อที่นัก  เห็นใจผู้อ่าน  จึงไม่เอามาลงให้อ่าน)

๑ มกราคม ๒๔๖๖  ได้รับสัญญาบัตรและพัดยศเป็นที่พระสุวรรณรัศมี  พระราชาคณะยก

พ.ย. ๒๔๗๐ เริ่มป่วยด้วยอาการท้องร่วงเรื้อรัง

๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐  ๗ นาฬิกา หลังเที่ยง ๔๕ นาที  มรณภาพด้วยอาการสงบ  อายุ ๘๗ ปี  พรรษา ๑๗ 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 26 ส.ค. 10, 15:42
ประวัติพระสุวรรณรัศมีหรือพระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร) ที่ยกเอามาแสดงนี้
เป็นตัวอย่างของขุนนางผู้มีความจงรักภักดี  แม้ว่าจะไม่ได้รับราชการจนถึงที่สุดแห่งชีวิต
แต่ก็ยังได้สนองพระเดชพระคุณด้วยการบวชถวายเป็นพระราชกุศลพระบรมศพ
เรื่องอย่างนี้ ทำให้นึกถึงสุนทรภู่ได้บวชเมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒  
แม้หลายคนจะว่า สุนทรภู่บวชหนีราชภัย  
ด้วยได้เคยทำเหตุไม่ต้องพระราชอัธยาศัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครั้งยังเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ  กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
แต่จากงานเขียนของสุนทรภู่ที่แต่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ แสดงให้เห็นว่า
สุนทรภู่ยังจงรักภักดีรัชกาลที่ ๓   
ฉะนั้นการที่ท่านออกบวชน่าจะเป็นเพราะเหตุผลอื่น  เช่น
ท่านเห็นว่า ความเติบโตในหน้าที่ราชการที่ท่านเคยทำในสมัยรัชกาลที่ ๒
คงจะหมดไปเมื่อผลัดแผ่นดิน   แม้รัชกาลที่ ๓ จะโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการต่อไป
ท่านก็คงไม่มีประสงค์จะทำราชการต่อไป  
ด้วยพระราชนิยมและพระราชกิจในรัชกาลใหม่ไม่เหมือนกับรัชกาลก่อน
ท่านจึงเบนทางชีวิตไปอยู่ฝ่ายวัด เป็นต้น


นอกจากนี้  ยังทำให้คิดต่อไปว่า เอ  ยังมีข้าราชการในรัชกาลอื่น คนใดบ้าง
ที่ได้บวชอุทิศกุศลถวายพระเจ้าแผ่นดินที่เขาจงรักภักดีและเคยรับใช้ใกล้ชิดพระยุคลบาท ???



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ส.ค. 10, 07:45

หนังสือเทศนาวิศาขบูชา

ในฉัฎฐรัชชกาล

พิมพ์แจกในการพระราชทานเพลิงศพ

พระนมทัด  พึ่งบุญ  ณ กรุงเทพ

เมรุวัดเทพศิรินทราวาศ

พระพุทธศักราช ๒๔๖๓

โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

หนังสือปกแข็งสีส้มปนนำ้ตาล   มีกรอบลายฝรั่ง   มีรูปพระโคสุรภียืนอยู่บนแท่นสูงระหว่างเสาแบบอินเดีย

กรอบลายฝรั่ง  รูปและตัวอักษรสีทอง

ในรองในก็เป็นรูปเดียวกับหน้าปก   แต่ด้านหลังเป็นสีม่วง

หนังสือหนา ๘๔ หน้า

ปกรองในที่สอง  เป็นความเดียวกับปกแข็งและรองในแรก

มีรูปวัวไม่ทรงเครื่อง  เขียนไว้ว่า พระสุรภี

คำนำ ๓ หน้าเขียนโดย กรม วชิรญาณวโรรส   ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๖๒

เป็นความที่ไม่เคยรวบรวมมาก่อน

"สมเดจบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงอุดหนุนการทำวิศาขบูชา  เพื่อปลูกความรู้สึกถึงสมเดจพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ในใจของพุทธศาสนิก
 
ด้วยประการต่าง ๆ  ตั้งแต่ยังไม่ได้เสดจเถลิงถวัลยราชสมบัติมาจนบัดนี้    ในครั้งนั้น  ถึงวันวิศาขบูชา  เสดจมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหารนี้ตลอด

ราตรี ๒ รุ่ง  เพื่อทรงทำพุทธบูชา   ทรงสดับพระธรรมเทศนา   ทรงเลี้ยงพระสงฆ์ตลอดจนคฤหัสถ์ด้วยน้ำร้อนน้ำปานะแลเภสัชต่าง ๆ ในกลางคืน   

แลทรงเลี้ยงพระสงฆ์ด้วยอาหารเบาในเวลาเช้า   ครั้นเสดจเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว   ยังโปรดเกล้า ฯให้จัดการเลี้ยงทั้งสองอย่างดังที่เคยมา    บางปีก็ได้เสดจ

พระราชดำเนินมาทรงธรรมด้วย"


เทศนาในวันวิศาขบุรณมี พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยพระอมราลิขิต(อยู่) วัดเทพศิรินทราวาสถวาย  ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เทศนาในวันวิศาขบุรณมี พ.ศ. ๒๔๕๗  โดยพระธรรมไตรโลกาจารย์(เจริญ)ถวาย  ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เทศนาในวันวิศาขบุรมี พ.ศ. ๒๔๕๘  โดยพระเทพโมลี(จันทร์) วัดบรมนิวาสถวาย  ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๒๔๕๙  โดยพระเนกขัมมุนี(เสน) วัดบุรณศริมาตยา เทศนาถวาย ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม   

๒๔๖๐  โดยพระราชกวี(แจ่ม) วัดมกุฎกบัตริยาราม  เทศนาถวาย  ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๒๔๖๒   โดยพระญาณวราภรณ์ (ม.ร.ว. ชื้น) วัดบวรนิเวศวิหาร  เทศนาถวาย  ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

๒๔๖๒   พระราชสุธี (เซ่ง) วัดราชาธิวาศ  เทศนาถวายที่วัดราชาธิวาศ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ส.ค. 10, 08:00
ประชุมพงษาวดาร  ภาคที่ ๑

สมเด็จพระนางเจ้า  สว่างวัฒนา  สมเด็จพระมาตุจฉา

มีรับสั่งให้กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณรวบรวมพิมพ์

เมื่อทรงบำเพ็ญพระกุศล  ในงานศพหม่อมเจ้าดนัยวรนุช ท.จ.

พ.ศ. ๒๔๕๗

พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย   ณ สพานยศเส

กรุงเทพ ฯ

ปกแข็งสีส้มอ่อนปนน้ำตาล  หนา ๔๓๒ หน้า

(จำได้ว่าคุณหลวงเล็กรำพันว่าหนังสือจากโรงพิมพ์ไทยหาอ่านได้ยาก  จึงเลือกมาฝาก)


คำนำ ๑๑ หน้า โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๗      

น่าอ่านมากที่สุดเพราะทรงอธิบายเรื่องพงศาวดารต่างๆว่ามีใครทำบ้าง   รายชื่อต่างๆนี้  ขออาราธนาคุณหลวงเล็กให้รายละเอียดเมื่อมีเวลาว่าง



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ส.ค. 10, 09:47

หนังสือ  งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์พิเศษ  สุขพานิช

ปกอ่อน  มีรูปท่านภาพสีอยู่เต็มหน้า   

หนังสือหนา ๒๑๔  หน้า

มีบทความดี ๆ  มาก เช่นเรื่อง มรณกรรมของนายอินเสน  ที่เคยพิมพ์ในสังคมศาสตร์ประทัศน์ ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๒(๒๕๑๑)

บทสัมภาษณ์ ที่ ชูเกียรติ  อุทกะพันธ์  เขียนลง วิทยาสารเมื่อ วันที่ ๑๕  สิงหาคม - ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๔(น่าอ่านมาก)




ประวัติของท่านมีอยู่ทั่วไปหาได้ไม่ยาก จึงไม่จำเป็นต้องนำมาลงในที่นี้


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ส.ค. 10, 10:30
ลิลิตพระฤา

งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงนฤยุติสัณหภาท(ชาย  นาควิเชตร์)

เมื่อวันที่ ๒๖  มีนาคม  ๒๕๐๑




ลิลิตพระฤา   หลวงศรีมโหสถแต่ง จุลศักราช ๑๒๑๘

เป็นปู่ของท่านผู้วายชนม์


แต่งขึ้นในรัชกาลที่ ๔
(ชื่อเดิม มหากลัด)


คำโคลงรามเกียรติ์ ประพันธ์ขึ้นเมื่อเป็น พระราชครูพิเชต  ปรากฏหลักบานในศิลาจารึกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ส.ค. 10, 10:45

นารีเรื่องนาม

กระทรวงมหาดไทย  พิมพ์ชำร่วยในงานพระราชทานเพลิงศพ
คุณหญิงวิบูลลักสม์  ชุณหะวัณ
ณ เมรุวัดพระศรีมหาธาตุ

๑๗ เมษายน  ๒๔๙๘

ท้าวเทพกษัตรีย์(จันทร์)
นางนพมาศ
นางแคธิน  ดูคลาศ
ท่านโม้(ท้าวสุรนารี)
นางอมร
พระราชินีวิกตอเรีย
นางคะเวลล์ และ นาง เพติต์
นางวิสาขา
พระมัทรี
นางญันน์ด๊าร์ค  หรือ สาวออลิอังส์
โลกะมาตา
เจ้าหญิง มเดอะ  ลัมบัลล์
นางสาวฟลอเรนซ์  ไนติงเกล
พระแม่จันทน์เทวี

ปกอ่อน สีขาวดำ   ๙๐ หน้า
ไม่มีประวัติท่านผู้วายชนม์

ผู้เขียนคำรำลึกคือ  พระยารามราชภักดี  กระทรวงมหาดไทย  ๑๗ เมษายน ๒๔๙๘


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ส.ค. 10, 13:36
น่าอ่านมากที่สุดเพราะทรงอธิบายเรื่องพงศาวดารต่างๆว่ามีใครทำบ้าง   รายชื่อต่างๆนี้  ขออาราธนาคุณหลวงเล็กให้รายละเอียดเมื่อมีเวลาว่าง

ถ้าไม่รับอาราธนาเห็นจะเสื่อมศรัทธาแก่กันได้ 
แต่ครั้นจะรับก็ขอใช้เวลาสักหน่อย  ช่วงนี้งานเยอะ
ถ้ามีผู้อ่านคนใดจะใจดีอารีอารอบจะปาดหน้าตอบไปก่อนก็ยินดีนัก
โปรดทำเถิดอย่าได้เกรงใจ :)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ส.ค. 10, 14:07
ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ

พระสุทธิสารวินิจฉัย

ณ เมรุวัดธาตุทอง  กรุงเทพมหานคร

วันเสาร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑


คุรพระสุทธิสารวินิจฉัย(มะลิ  บุนนาค)  เป็นบุตรของนายราชจินดา(อรุณ บุนนาค) และ ม.ล.หญิงแฉล้ม  อิศรางกูร ณ อยุธยา

วดปก                                      วันเสาร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม  ๒๔๓๙

สถานที่เกิด                                 เลขที่ ๒๕๑ ถนนกรุงเกษม  ตำบลหัวลำโพง  อำเภอปทุมวัน  พระนคร

พี่น้อง             นางจรูญ  สิทธิพยากรณ์

                    ท่านเจ้าของประวัติ

                    ขุนสิทธิเศรษฐกรรม(สิทธิ  บุนนาค)

                    หลวงจรัสคุรุกรรม(จรัส  บุนนาค)

มีผังเครือญาติแนบมา ๕ แผ่น

ภรรยา             ผ่องศรี  เวภาระ  ธิดาของขุนหลวงพระยาไกรสีห์(เปล่ง  เวภาระ)  กับคุณหญิงทองคำ

บุตรธิดา

นายจิรายุ  บุนนาค

นางลาลีวัณย์   บุนนาค

นายมารุต  บุนนาค



       คุณพระสุทธิสารวินิจฉัยมีพรสวรรค์  สอบกฎหมายได้เมื่ออายุ ๑๗  แต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑  กระทรวงยุติธรรมจึงไม่ส่งไปเรียนต่อในประเทศอังกฤษ

ท่านได้สั่งหนังสือเข้ามาอ่านมากมายตามคำแนะนำของเจ้าคุณมโนปกรณ์ ฯ     สั่งมากจนเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร(คนชาติอังกฤษ) ไม่ยอมเซ็นอนุญาต

ให้ยกเว้นภาษี    คุณพระต้องอวดดี(สมัยนี้คงเรียกว่าเบ่ง)โดยบอกว่า ท่านเป็นผู้พิพากษาศาลอาญา    

ได้ลาออกจากราชการเมื่ออายุ ๒๘ เพราะสุขภาพไม่สมบูรณ์
 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ส.ค. 10, 15:11
นับตั้งแต่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา   ความประสงค์ของเจ้าของกระทู้คือ
ค้นหาหนังสืองานศพของบุคคลสำคัญ ตามที่ได้ตั้งเป็นโจทย์ไว้ ๓๐ ข้อ
แต่ต่อมาบานปลายไปเป็นการนำเสนอหนังสืองานศพที่น่าสนใจ
ตามที่สมาชิกคนใดจะมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หนังสืองานศพในกรุสมบัติ
โดยตั้งเกณฑ์ว่า ถ้ามีรูปด้วยก็จะดีมาก  แต่ถ้าไม่มีรูปเราก็ขอให้เล่าเรื่องที่น่าสนใจในหนังสือนั้น
เผื่อว่า วันหน้าใครที่ได้อ่านแล้วได้ไปเจอหนังสือที่เคยนี้และจำได้ว่า
กระทู้นี้แนะนำไว้  ก็จะได้รีบคว้ามาเป็นสมบัติทันที  (ทั้งนี้ พึงพิจารณาราคากับงบประมารด้วย)


เดี๋ยวนี้ หนังสืองานศพที่มีสาระดีๆ น่าเก็บมีมาก  ต้องรู้จักเลือกเก็บ
ที่สำคัญต้องรู้แหล่งที่จะหาซื้อด้วย   หรือถ้าไม่ซื้อก็ควรรู้ว่า
จะไปหาอ่านได้จากไหนบ้าง


มีนักเก็บหนังสือหลายคน  เก็บหนังสืองานศพไว้หลายเล่ม
แต่บอกไม่ได้ว่าหนังสือเล่มนั้นมันมีสาระน่าสนใจอย่างไร
(แต่บอกได้ว่า   ใครเป็นให้หนังสือนี้มา   
โถ จะเล่าทำไม   หาประโยชน์แก่คนอื่นมิได้เลย)
น่าเสียดาย นัก   





กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ส.ค. 10, 15:16
พระราชหัตถเลขา  และ  หนังสือกราบบังคมทูล ของ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

แต่ยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระมนตรีพจนกิจ และ พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์   ร.ศ. ๑๑๓ - ๑๑๘


พิมพ์ในการพระราชทานเพลิงศพ

ท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดี ท.จ.

ณ  เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์

วัดเทพศิรินทราวาส

วันที่ ๑๒  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๐๔


(สำหรับประวัติของท่านผู้หญิงเสงี่ยมนั้น  จะนำลงในกระทู้  คนห้าแผ่นดิน ต่อไป  ซึ่งเป็นเรื่องราวของ ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา  มาลากุล)



คำกราบบังคมทูลพระราชหัตถเลขาเป็นเวลา ๕ ปีกว่า     มีเรื่องราวมากมายที่แสดงถึงสติปัญญาอันรอบคอบ ของพระมนตรีพจนกิจ ผู้ต่อมาเป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์




จดหมายที่ประทับใจมากลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน  ร.ศ. ๑๑๖

ขอเดชะ  ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ฯ

       ข้าพระพุทธเจ้า  ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส  กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ  

ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

       ด้วยข้าพระพุทธเจ้ามีความคับแค้นขัดสนอันแลเหลียวหาผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นที่พึ่งมิได้    นอกจากที่จะกราบบังคมทูลขอ

พระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่ง          คือข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่มารับราชการอยู่ ณ ประเทศนี้   ได้ส่งเงินเข้ามาเลี้ยง

บุตรภริยาครอบครัวปีละ ๒๐ ชั่งทุกปี         มาเมื่อปีที่แล้วมานี้     ข้าพระพุทธเจ้าถูกเกณฑ์ให้รับราชการตำแหน่งอุปทูต

อันมีหน้าที่ต้องโอบอ้อมอารีเลี้ยงดูผู้คน   และใช้สอยเพื่อรักษาเกียรติยศและตำแหน่งราชการที่ดำรงอยู่นั้น  มากกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับราชการ

ตั้งแต่รับหน้าที่มาจนสิ้นคราวสมัย  ก็ยับเยินหมดตัว     หาพอที่จะส่งเข้ามาเลี้ยงบุตรภริยาครอบครัวได้ไม่         ข้าพระพุทธเจ้าจำเป็น

ต้องขอพระบารมีปกเกล้า ฯ ชุบเลี้ยงแก่บุตรภริยาสัก ๒ ปี  คือชั่วปี ๑๑๖ และปี ๑๑๗ เท่านั้น         พอข้าพระพุทธเจ้าจะได้รับ

พระราชทานรวบรวมทุนใช้เนื้อที่ขาดมาในระหว่างเวลาที่ได้ขาดทุนไปนั้น          ให้มีกำลังสนองพระเดชพระคุณต่อไปในภายหน้าได้

พระราชอาชญาไม่พ้นเกล้า ฯ  ซึ่งรบกวนให้ขุ่นเคืองใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในครั้งนี้

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

วิสุทธสุริยศักดิ์



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ส.ค. 10, 15:32

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  ได้เรียก ท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดี

มารับเงินไป ๒๕​ ชั่ง  และ



"อนึ่ง  ฉันมีปรารถนาที่จะให้พระยาวิสุทธมีหนังสือบอกข่าวลูกตรงถึงฉันเอง  ไม่เป็นทางราชการ   เป็นส่วนเฉพาะตัว

ที่ควรพูดจากันได้เป็นฉันกันเอง   จะเป็นที่พอใจมาก



ขอฝากลูกทั้ง ๒ จงมาก   ขอได้เมตตาช่วยว่าตักเตือนในสิ่งที่ผิด  อย่าให้เป็นไปได้   แลแนะนำในสิ่งที่ชอบที่ควร

ขออย่าให้เป็นการเผิน ๆ  แลเป็นอย่างทางราชการ        ขอให้ว่ากล่าวประหนึ่งว่าเป็นลูกเป็นหลาน

อย่าได้มีความเกรงใจเลย         ถึงแม้นว่าเวลานี้จะไม่เป็นที่พอใจของลูก   นานไปเมื่อรู้สึกดีชั่วตลอดแล้ว

ก็คงคิดถึงคุณในการที่ได้รับคำแนะนำโดยความรักนี้เป็นแน่   ไม่ต้องสงสัย     เว้นเสียว่าจะเป็นคนชั่วนั่นแหละ

ก็เป็นการที่จะต้องสูญอยู่เอง


                                      (พระปรมาภิไธย)   เสาวภาผ่องศรี"



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 27 ส.ค. 10, 16:04

หนังสือกราบบังคมทูลลงวันที่ ๓ ธันวาคม  ร.ศ. ๑๑๖

เรื่องการเลือกเด็กนักเรียนที่จะถวายเป็นเพื่อนนักเรียนทูลกระหม่อมเล็กนั้น  ได้เลือกมาแล้ว ๑๐ คน

(หน้า ๑๘๒ -  ๑๘๕)

น่าสนุกมาก เพราะต่อมารับราชการเป็นข้าราชการระดับสูงทั้งสิ้น


นายเต็น   นายใจ  อายุมากเกินไป  เข้าชั้นเดียวกับทูลกระหม่อมไม่ได้

นายโห้  ฉลาดดี  มักอาย  ไม่ค่อยพูด  ไม่โปรด   ได้ข่าวว่าใจน้อย

สายหยุด  ฉลาดดี  แต่ได้เล่าเรียนทางนี้เป็นหลักฐานอยู่แล้ว     ผู้เลือกทุกคนเห็นตรงกันว่าไม่ใคร่เต็มใจ   เห็นว่ากิริยาที่พูดมีดัดจริต

สมิท   กิริยาหง่อยหงิมเงื่องไป

ติน      ฉลาดดีในการเล่าเรียน  แต่ภาษาไทยลืม  พูดไม่ได้   เป็นเด็กเล็กเกินไป

ชิน     ไปข้างทางชอบซึมเหมือนกัน

เตี้ยม  อยู่มานาน  เตรียมจะเข้า มิลิเตอรี่ คอลเลช  เจ้าตัวก็เป็นห่วงอยู่

มานิตย์  เพิ่งมาใหม่  การเล่าเรียนยังไม่เป็นหลักฐานแน่นหนา


นายพุ่ม  บุตรนายซุ้ย   ไม่ใช่บุตรผุ้มีตระกูล   แต่เกิดมาเป็นช้างเผือก   กิริยาวาจาเป้นที่ชอบของคนทั้งหลาย
ฉลาดในการเล่าเรียน  อายุ ๑๕ ปี      ทูลกระหม่อมโปรด

(นักอ่านดีใจหัวใจพองโต   ได้ข้อมูลว่า บิดา พุ่มชื่อ ซุ้ย)


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ส.ค. 10, 16:45
ช่วงนี้  ผมไม่มีเวลาเล่าเรื่องหนังสืองานศพที่ครอบครองอยู่
เพราะงานชุกมาก   จึงขออนุญาตลงตัวเล่าไว้ให้ดูไปพลางๆ ก่อน
ถ้าท่านทั้งหลายสนใจจะให้เล่าเรื่องในเล่มใดให้ฟัง   
ขอให้เล่าสู่กันฟังหน้าไมค์ได้นะครับ ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ส.ค. 10, 16:49
.


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 ก.ย. 10, 16:44
มีผู้ที่ติดตามอ่านกระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพได้ติดต่อมาหลังไมค์ว่า

คุณหลวงเจ้าขา   พักนี้คุณหลวงไม่เห็นเอาหนังสืองานศพมาเล่าลงในกระทู้เพิ่มเติมเลย
คนอ่านเขาคิดถึงคุณหลวงนะ    เอารูปมาลงให้ดูบ้างก็ได้   


ช่วงที่ผ่านมา  คุณหลวงมีกิจการงานมาก   เพราะใกล้จะหมดปีงบประมาณ
ต้องปั่นงานบนโต๊ะและงานเกี่ยวพันทั้งหลายให้เสร็จทันเวลา
ไหนจะต้องออกเดินสายไปหาหนังสืองานศพดีๆ มานำเสนอ
เลยไม่มีเวลามาอัพกระทู้   


แต่วันนี้ฤกษ์ดี   จะเอาหนังสืองานศพ  ๒ เล่มมาลงให้ดูพอแก้อาการกระษัยที่ผู้อ่านได้บ้าง
หนังสืองานศพสองเล่มนี้  ไม่มีอะไรเป็นสลักสำคัญมาก   เพียงแต่เก็บเอาไว้นานแล้ว
จึงอยากเอามาลงให้ดู  เผื่อจะมีผู้สนใจออกตามล่าบ้าง

เชิญทัศนารูปหนังสืองานศพทั้งสองเล่ม  พร้อมภาพผู้วายชนม์

เริ่มที่เล่มแรก


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 22 ก.ย. 10, 16:45
เล่มที่สอง ;D


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 22 ก.ย. 10, 21:28
เรียน คุณluanglek ที่เคารพ ผมกระหายเป็นอย่างมากที่อยากจะให้คุณเล่าประวัติ ของ นางศรีบุรินทร์(คุณเยื้อน  รัตนไชย)...คุณท้าวศรีสัจจา(สังวาลย์  บุณยรัตพันธุ์) และคุณท้าวโสภานิเวศน์(ศิริพงษ์  กัมปนานนท์) ให้ฟังด้วยครับ ถ้าหากว่ายาวไปเอาแค่วันเดือนปีเกิด ครอบครัว หน้าทีการงาน พอสังเขปก้ได้ครับ โดยเฉพาะคุณท้าว 2 ท่านนี้ ยิ่งกระหายใคร่รู้เป็นอย่างมากครับ..............ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 22 ก.ย. 10, 21:48

พรุ่งนี้คุณหลวงเล็กคงจะพอว่างแล้วค่ะ

ปิดงบประมาณหลายหน่วยงานได้แล้ว

ท่านน่าจะไล่ล้างไล่ต่อกระทู้ตามล่าหนังสืองานศพก่อนกระมัง

ที่จริงดิฉันก็จองคิวท่านไว้แล้ว  แต่มีหน่วยงานเกี่ยวข้องมาขอยืมตัวไป

คุณหลวงท่านก็ใจอ่อนเพราะท่านจะไปแลกหนังสือกันให้ครึกครื้น

 


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.ย. 10, 09:27
เรียน คุณluanglek ที่เคารพ ผมกระหายเป็นอย่างมากที่อยากจะให้คุณเล่าประวัติ ของ นางศรีบุรินทร์(คุณเยื้อน  รัตนไชย)...คุณท้าวศรีสัจจา(สังวาลย์  บุณยรัตพันธุ์) และคุณท้าวโสภานิเวศน์(ศิริพงษ์  กัมปนานนท์) ให้ฟังด้วยครับ ถ้าหากว่ายาวไปเอาแค่วันเดือนปีเกิด ครอบครัว หน้าทีการงาน พอสังเขปก้ได้ครับ โดยเฉพาะคุณท้าว 2 ท่านนี้ ยิ่งกระหายใคร่รู้เป็นอย่างมากครับ..............ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ

วันนี้  ผมมาแก้อาการกระหายรู้ของคุณฤทธิ์  เชิญเข้าสู่การบำบัดรักษา ณ บัดนี้

ประวัติท้าวโสภานิเวศน์  (ศิริพงศ์  กัมปนานนท์)
นามเดิม  " ดำเนิน "  ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ศิริพงศ์"
บิดาชื่อ หลวงนฤมิตรสารานุกร (เนตร  กัมปนานนท์)
มารดาชื่อ นางหนู  กัมปนานนท์ (สกุลเดิม  ณ  นคร)

เกิดวันที่ ๒๗ กันยายน  ๒๔๔๕
เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนวังหลัง
แล้วมาเรียนต่อที่โรงเรียนราชินีจนจบหลักสูตร

ม.จ.พิจิตรจิราภา เทวกุล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี
ทรงนำคุณท้าวขึ้นเฝ้าฯ ถวายตัวแด่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระพันวัสสาฯ โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่เสมียน
ควบคุมดูแลถือบัญชีรักษาสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์
ที่อยู่ในพระตำหนักของสมเด็จพระพันวัสสาฯ ในพระบรมมหาราชวัง

ต่อมารับราชการตำแหน่งเสมียน กรมโขลน กระทรวงวัง เมื่อปี ๒๔๖๘ (ขึ้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๗)
เมื่อกระทรวงวังเป็นสำนักพระราชวังหลัง ๒๔๗๕  คุณท้าวยังคงรับราชการต่อมา
ปี ๒๔๙๓  ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เป็น ท้าวโสภานิเวศน์  ตำแหน่งท้าวนางควบคุมดูแลอันเตปุริกราชนารี
ในพระราชนิเวศน์ที่ประทับฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง

คุณท้าวถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๓  อายุได้ ๙๘ ปี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จฯ แทนพระองค์ไป
พระราชทานเพลิงศพคุณท้าว เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๔๕  ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
วัดเทพศิรินทราวาส

หนังสืองานศพแจก หนังสือ น้ำไหลนิ่ง ของพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา  สุภัทโท)
แต่นำมาประกอบเล่มใส่ปกใหม่และเพิ่มประวัติคุณท้าวและคำนำ






กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.ย. 10, 09:56
ประวัติท้าวศรีสัจจา   (สังวาลย์  บุณยรัตพันธุ์)

เกิด เมื่อ ๑ มีนาคม ๒๔๓๘
บิดาชื่อ นายจ่าง  บุณยรัตพันธุ์
มารดาชื่อ นางวร  บุณยรัตพันธุ์

มีพี่น้องท้องเดียวกัน ๘ คน ดังนี้
นางสาวระวิง ,นางวรรณ  บุนนาค, ท้าวศรีสัจจา,
นายจำนงราชกิจ (จรัญ), พันตรี นายแพทย์เจริญ,
นางสาวระวีวรรณ, หลวงดิฐการภักดี (จรูญ) และคุณหญิงไสววงศ์  ทองเจือ

เจ้าพระยาธรรมาธิราช บุญรอด ต้นสกุลบุณยรัตพันธุ์  มีบุตร  ๓ คน
คือ  เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย) พระอนุชิตชาญชัย (ขุนทอง) และพระอนุชิตพิทักษ์ (บัว)
พระยาอนุชิตพิทักษ์ (บัว) ถูกเจ้าอนุวงศ์จับประหาร เมื่อครั้งไปสักเลขลาวเป็นไพร่หลวง

พระยาอนุชิตพิทักษ์ (บัว) มีบุตร ๑ คน คือ หลวงเสนีย์พิทักษ์ (ไม่ทราบนามเดิม)
หลวงเสนีย์พิทักษ์รับราชการฝ่ายมหาดไทย  ได้สมรสกับท่านผอบ ชูโต ราชินิกูล

ต่อมาหลวงเสนีย์ถึงแก่กรรม ท่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรวงศ์ ซึ่งเป็นหลานป้าของท่านผอบ
ได้ชวนท่านผอบกับเด็กชายจ่าง ซึ่งเป็นบุตรคนเล็กของท่านผอบ จากบ้านสวนคลองด่านหน้าวัดนางชี
มาพักอาศัยอยู่ใกล้เรือนท่านผู้หญิงเปลี่ยนใกล้วัดประยุรวงศ์

เด็กชายจ่างโตขึ้น  ได้รับราชการในกระทรวงธรรมการ
สมรสกับนางสาววร  หลานสาวของจอมมารดาเหี้ยง  ในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งนางสาววร เป็นสตรีที่ได้เข้ามาอบรมวิชากุลสตรีกับท่านผู้หญิงเปลี่ยน

นายจ่างกับนางวรอยู่กินที่บ้านใกล้เรือนเจ้าคุณภาสกรวงศ์ประมาณ ๑๐ ปีเศษ
มีบุตรด้วยกัน ๕ คน  จึงได้ย้ายมาปลูกเรือนที่บ้านสวนคลองด่านหน้าวัดนางชี ภูมิลำเนาเดิมของสกุลบุณยรัตพันธุ์
แต่ก็ยังได้ไปมาหาสู่ที่บ้านเจ้าคุณภาสกรวงศ์เสมอ

นายจ่างได้ย้ายไปทำงานที่แบงก์สยามกัมมาจล  และสนิทกับบุตรธิดาของเจ้าคุณภาสกรวงศ์ทุกคนโดยเฉพาะนายเพ่ง และเจ้าจอมพิศว์  

เจ้าจอมพิศว์เคยขอให้นางวร ศิษย์เก่าท่านผู้หญิงเปลี่ยน ซึ่งมีฝีมือในการเรือนมาก
ช่วยทำผลงานเข้าไปถวายในวังบ่อยๆ



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 23 ก.ย. 10, 13:38
   ขอขอบคุึณ คุณ luanglek มากนะครับที่กรุณา สละเวลามาเเบ่งปันความรู้ ได้อ่านแล้วก็รู้สึกดับกระหายไปได้มากทีเดียวเชียวครับ ยังรอประวัตินางศรีบุรินทร์ อีกหนึ่งท่านนะครับ 555

   ผมมีข้อสังเกตเรื่องนึง คือ ผมอาจจะจำผิดคลาดเคลื่อนไปหรือไม่ว่า คุณท้าวโสภานิเวศน์ นี้ ท่านไมไ่ด้้สิ้นขณะอายุ 98 ปี แต่ท่านสิ้นมานานแล้วซักประมาณปี 2532-2533 แต่เพิ่งนำศพท่านมาพระราชทานเพลิง หรือว่าผมจำผิดครับ....แต่ถ้าคุณluanglek ยืนยันมาจากในหนังสือจริงๆดังที่ว่ามา ข้อสงสัยผมก็ตกเป็นอันพับไป...ขอขอบคุณอีกครั้ง


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 23 ก.ย. 10, 14:35
      ผมมีข้อสังเกตเรื่องนึง คือ ผมอาจจะจำผิดคลาดเคลื่อนไปหรือไม่ว่า คุณท้าวโสภานิเวศน์ นี้ ท่านไมไ่ด้้สิ้นขณะอายุ 98 ปี แต่ท่านสิ้นมานานแล้วซักประมาณปี 2532-2533 แต่เพิ่งนำศพท่านมาพระราชทานเพลิง หรือว่าผมจำผิดครับ....แต่ถ้าคุณluanglek ยืนยันมาจากในหนังสือจริงๆดังที่ว่ามา ข้อสงสัยผมก็ตกเป็นอันพับไป...ขอขอบคุณอีกครั้ง

เชิญดูหมายงานศพคุณท้าวโสภานิเวศน์  ชัดเจนแจ่มแจ้ง


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 25 ก.ย. 10, 11:30
ขอขอบคุณ คุณluanglek เป็นอย่างสูงที่กรุณาลงหมายรับสั่งยืนยัน ตกลงว่าข้อสงสัยผมตกเป็นอันพับไป


มีเรื่องรบกวนคุณ luanglek อีกหนึ่งเรื่องครับ ไม่ทราบว่าคุณluanglek มีหนังสืองานศพของ หม่อมอุบะ  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ภรรยาของเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์(หม่อมราชวงศ์สท้าน  สนิทวงศ์) และเป็นมารดาของท่านผู้หญิงสารภี  มิ่งเมืิอง หรือไม่ครับ จำได้ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ เสด็จฯในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อปี 2547 แต่ไม่ทันได้ฟังเรื่องประวัติของท่าน ผมตามหาประวัติของหม่อมอุบะมานานมากเเล้วครับ ยังไม่มีผู้ใดให้ความกระจ่างได้ คงต้องรบกวน คุณ luanglek อีกสักครั้ง........


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ย. 10, 11:25
ประวัติท้าวศรีสัจจา (สังวาลย์  บุณยรัตพันธุ์) ต่อ

ครั้งก่อนได้เล่าเรื่องบรรพบุรุษของคุณท้าวไปแล้ว
แต่ยังไม่ได้เล่าเรื่องราวของคุณท้าวเลย  คราวนี้จะมาเล่าต่อ

ธรรมเนียมนิยมอย่างหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕  คือ
ผู้ดีมีสกุลมักจะส่งลูกสาวเข้าไปเรียนรู้วิชการต่างๆ ในวัง
และรับราชการฝ่ายใน   โดยอาศัยอยู่ตามตำหนักเจ้านายฝ่ายใน

เด็กหญิงระวิง  ธิดาคนโตของนายจ่างและนางวร  เข้าเรียนที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลังของแหม่มโคล
และได้รับการอบรมเรื่องวิชาการเรือนของมารดาจนมีความรู้เป็นอย่างดี 
คุณพระจันทร์   ชูโต  พระพี่เลี้ยงในสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ เห็นว่าธิดาคนโตของนายจ่างและนางวร
เป็นเด็กมีความรู้การเรือนดี  จึงเอ่ยปากขอมาเป็นข้าหลวงในตำหนักสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
ขณะนั้น นางสาวระวิง อายุได้ ๑๕ ปีแล้ว   โดยให้เหตุผลว่า   เด็กคนนี้ มีวิชาช่างดี  ทูลกระหม่อมต้องพระประสงค์อยู่

แต่นายจ่างไม่เต็มใจให้ธิดาคนโตไปอยู่ในวัง  และอ้างว่า ธิดาคนโตและธิดาคนรองนั้น
เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงช่วยครอบครัวดูแลผลประโยชน์ไร่นาที่ทำอยู่ตั้งแต่ย้ายมาอยู่หน้าวัดนางชี
แต่ยินดีจะให้เด็กหญิงสังวาลย์ ธิดาคนที่ ๓ ไปแทน  คุณพระจันทร์ จึงได้พาเด็กหญิงสังวาลย์
มาเฝ้าถวายตัวเป็นข้าหลวงสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์  กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร
ตั้งแต่อายุได้ ๘ ปี

เด็กหญิงสังวาลย์ เมื่อได้เป็นข้าหลวงในสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นแล้ว 
ก็ได้รับพระราชทานเสื้อผ้าใหม่ และถุงเท้ารองเท้า ๑ สำรับ
และถูกส่งไปเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนแหม่มโคล  โรงเรียนกับพี่สาว

ระหว่างที่เด็กหญิงสังวาลย์  เป็นนักเรียนประจำอยู่นั้น ได้ตีสนิทแม่ค้าขายขนมที่พายเรือผ่านหน้าโรงเรียนทุกวัน
ให้ส่งข่าวไปเตือนมารดาว่า เมื่อถึงวันเสาร์ให้มารับกลับไปบ้านด้วย   แม่ค้าใจดีก็ยอมสื่อข่าวให้ด้วยสงสาร

เมื่อเรียนได้มีความรู้ตามสมควรก็ได้เข้าไปประจำที่ตำหนักสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
เพื่อฝึกมารยาทและวิชาการเรือนอื่นๆ เพิ่มเติม

เด็กหญิงสังวาลย์ เป็นเด็กที่เรียนรู้ได้เร็ว สั่งสอนง่าย  ฉลาด และขยันหมั่นเพียรดี
จึงเป็นที่พอพระทัยของทูลกระหม่อม  และโปรดให้ตามเสด็จไปในที่ต่างๆ เสมอ
จนกระทั่งได้ทำหน้าที่ช่วยแต่งพระองค์  และรับผิดชอบรักษากุญแจตู้เซฟเก็บเครื่องประดับมีค่าของพระองค์
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ดูแลอบรมเด็กหญิงที่เข้ามาเป็นข้าหลวงรุ่นน้องด้วย


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ย. 10, 11:39
นางสาวสังวาลย์รับใช้ทูลกระหม่อมวไลยอลงกรณ์เป็นเวลานาน  ๓๔ ปี
จากวัยเด็กจนถึงวัยกลางคน  จนกระทั่งได้ตามเสด็จเจ้านายพระองค์นั้น
เสด็จไปทรงรักษาพระองค์ที่ยุโรปเมื่อ ปี ๒๔๘๐ แล้ว
นางสาวสังวาลย์ก็ได้กราบทูลลามาอยู่บ้านเพื่อดูแลบิดามารดาที่ชรา
พอถึงปี ๒๔๘๑ ทูลกระหม่อมวไลยอลงกรณ์สิ้นพระชนม์แล้ว
นางสาวสังวาลย์ก็ได้ออกมาอยู่บ้านระยะหนึ่ง  ขณะนั้นอายุได้ ๔๒ ปี

ในระหว่างปี ๒๔๘๑ - ๒๔๘๘  นางสาวสังวาลย์ได้อยู่บ้านพร้อมบิดามารดาพี่น้อง
และได้ทำกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ เพื่อแก้เหงายามว่างงาน  มีเล่นไพ่  และออกไปพบเพื่อนฝูงบ้าง
บางครั้งก็ไปเฝ้าเจ้านายที่คุ้นเคย  หรือไม่ก็มีแขกไปมาหาสู่ท่านเองไม่ขาด

ในช่วงสงคราม ๒๔๘๓ - ๒๔๘๘  ก็ยังแขกไปมาหาสู่นางสาวสังวาลย์ที่บ้านไปไม่ขาด
ด้วยว่าบ้านท่านอยู่เข้าไปในคลองฝั่งธน  ไม่ถูกระเบิดอย่างฝั่งพระนครหรือสถานที่สำคัญฝั่งธน
บ้านสวนของนายจ่างต่อมาได้กลายเป็นที่อพยพลี้ภัยระเบิดของชาวพระนครมากมาย
กลายเป็นสถานที่คึกคักมาก ข้าวปลาอาหารก็ไม่ขาดแคลนแม้ในยามสงคราม


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 27 ก.ย. 10, 11:50
ปี ๒๔๘๘ รัชกาลที่ ๘ เสด็จฯ นิวัติประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระพี่นางเธอ และสมเด็จพระบรมราชชนนี
นางสาวสังวาลย์ ได้เข้าเฝ้าฯ เจ้านายทุกพระองค์  ด้วยเป็นผู้คุ้นเคยของเจ้านายมาแต่กาลก่อน
สมเด็จพระบรมราชชนนี โปรดให้นางสาวสังวาลย์  เป็นผู้เตรียมสิ่งของใช้สำหรับการเสด็จน ไปทรงเยือนสหรัฐอเมริกาในปี ๒๔๘๙ ด้วย
ท่านจึงได้เป็นข้าหลวงเรือนนอกอยู่ระยะหนึ่ง



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 30 ก.ย. 10, 13:53
เรียนคุณluanglek และผู้ชมทุกท่าน ท่านใดมีหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้ัหญิงจรวย  สุรณรงค์ หรือประวัติของท่านผู้หญิง ผมมีความยินดีที่จะเชื้อเชิญท่านนำข้อมูลมาลงให้ผมและผู้ชมท่านอื่นๆได้รับทราบด้วยครับ..................ตามหาประวัติท่านมานานแล้วพอๆกับประวัติของหม่อมอุบะ  สนิทวงศ์ ณ อยุธยาน่ะครับ...............


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 06 ต.ค. 10, 22:29

เรียนคุณหลวงเล็กและท่านที่ที่เล่นหนังสือเก่า

        ใครมี "เปลี่ยนนามสกุลกับชื่อแซ่" บ้าง   พระราชนิพนธ์ร้อยแก้ว

พิมพ์ครั้งแรก ๒๔๗๐

งานพระราชเพลิงศพ  ขุนประวิตรเวชชาชีพ

ใครมีกรุณาขยายความเล็กน้อย       ขอบคุณค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 07 ต.ค. 10, 08:44
ผมไม่มีหนังสือเล่มที่ว่า  และลองค้นดูแล้วที่หอสมุดท่าวาสุกรีมี ๑ เล่ม ดังนี้

อ้างถึง
เรื่องเปรียบนามสกุลกับชื่อแซ่
โดย มงกุฎเกล้าเจ้าอยุ่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2463-2468, กรมศิลปากร
พระนคร : โรงพิมพ์ไทยพิทยา, 2490  
รายละเอียด:  (9), 20 หน้า
 
หมายเหตุ:  ที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนประวิตรเวชชาชีพ
ต้นฉบับจากกรมศิลปากร
มีรูปและชีวประวัติผู้ตาย
  
หอสมุดแห่งชาติ ห้อง 313   929.4 ม612รป    On shelf  
 

ค้นแล้วมีข้อมูล  แต่ตัวเล่มจะคงอยู่หรือไม่รับประกัน  เพราะอะไรก็รู้ๆ กันอยู่

ถ้าจะอ่านเฉพาะเรื่อง  ไม่เอาประวัติท่านขุน  
ก็ไปคว้าหนังสือ ปกิณกคดี  ของ รัชกาลที่ ๖
มาอ่านก็ได้  (เปลี่ยนนามสกุลกับชื่อแซ่)  
พิมพ์หลายสำนักพิมพ์ และหลายครั้ง  หาได้ทั่วไปตามท้องตลาด

ส่วนคุณฤทธิ์  ผมไม่มีหนังสืองานศพท่านผู้หญิงจรวย  โชติกเสถียร
แต่รู้ว่า  ท่านผู้หญิงจรวยเป็นโชติกเสถียรที่สมรสกับโชติกเสถียรด้วยกัน
ทำไมไม่หาหนังสืองานศพคุณหญิงลัย  เทพาธิบดี (ลัย  บุนนาค) มาอ่านเล่นดูก่อนล่ะครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ต.ค. 10, 17:58

คุณหญิงขลิบ  วันพฤกษ์พิจารณ์(ขลิบ  เศวตศิลา)


หนังสืออนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพ
ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส  กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๑๐  มกราคม  ๒๕๓๖


เป็นบุตรของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธื์(เทศ  บุนนาค)   มารดาชื่อ คล้อย  วัชโรบล

เจ้าคุณพ่อมีภรรยาหลายคน  มีบุตรทั้งหมด ๖๒ คน

พี่น้องร่วมท้องของคุณหญิงขลิบ

บุตรอันดับที่ ๔๒    คลุ้ย  บุนนาค  เป็นหลวงสมานนันทพรรคในรัชกาลที่ ๖

บุตรอันดับที่ ๔๙  ชื่อคลาย  บุนนาค  เป็นหลวงวิสูตรอัศดรในรัชกาลที่ ๖

ธิดาอันดับ ๕๔  ชื่อเคลื่อน  บุนนาค

ธิดาอันดับ ๕๙  ชื่อขลิบ  บุนนาค

   
       เมื่อเด็กได้เข้าไปอยู่ในวังหลวงกับเจ้าจอมมารดาิ่ินผู้เป็นพี่สาวต่างมารดา  บุตรท่านผู้หญิงอู่

ได้รับการฝึกอบรมทางด้านการฝีมือจากในวัง

ได้สมรสกับพระยาวันพฤกษ์พิจารย์(ทองคำ  เศวตศิลา)ข้าราชการป่าไม้เมื่ออายุ ๑๙ ปี

มีบุตรธิดา ๓ คน คือ

๑.   พล.อ.อ. สิทธิ  เศวตศิลา    สมรสกับคุณหญิง ธิดา  (ศรียาภัย)

๒.  นางสมจิตต์  สกลคณารักษ์     สมรสกับ พ.ต.อ. โกไสย  สกลคณารักษ์

๓. ร.ต. สนั่น  เศวตศิลา    สมรสกับ นางชดช้อย (สมุทรวนิชย์)

มีหลาน ๑๓ คน และ เหลน ๑๔ คน   



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 14 ต.ค. 10, 18:48
ขอปาดคุณwandee หน่อยนะครับ...นามสกุลเดิมของ ท่านผู้หญิงธิดา(ศรียาภัย)เศวตศิลา ภริยาของพล.อ.อ.สิทธิ เป็นนามเดียวกันกับชื่อโรงเรียนประจำจังหวัด
ชุมพรที่ผมเคยเรียนเลยครับ

"โรงเรียนศรียาภัย" โรงเรียนประจำจังหวัดชายของจ.ชุมพร ที่เก่าแก่เป็นอันดับต้นๆของภาคใต้ รองจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช โรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา...


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ต.ค. 10, 19:40

ถือว่าท่านผู้รู้จักมาเยือนพร้อมกับมาลัยดอกไม้หอมเลยค่ะ

ยิ่งมีข้อมูลเกี่ยวข้อง  ถ้าเป็นเพียงดอกการเวกเพียงหนึ่งดอกก็หอมไกล

ดอกไม้ไทยล้วนมีกลิ่นหอมจรุงใจทั้งสิ้น

ยิ่งเป็นข้อมูลที่นำมาจากหนังสือ  หรือเป็นความรู้เดิม  เล่าสู่กันฟัง

ก็เหมือนมณฑาทิพย์     

คุณ ฤทธิ์081   มีเรื่องสกุลศรียาภัยมาเล่าต่อไหมคะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ต.ค. 10, 21:59


บันทึกไว้ว่า  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐  เมื่ออายุ ๘๘ ปี

คุณหญิงขลิบจึงย้ายไปอยู่กับบุตรี นางสมจิตต์  สกลคณารักษ์


เท่าที่ดูจากรูปถ่าย  บุตรธิดาเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีเลิศ

เมื่อมาถ่ายรูปกลุ่มซึ่งถือเป็นโอกาสพิเศษก็แต่งตัวงามหยดย้อยเหมือนตุ๊กตาแหม่ม

คือหวีผมโป่งด้านหน้า  ติดริบบิ้นอันโตกลางเรือนผม  มีดอกไม้ประดิษฐ์ห้อยด้านซ้าย  ปล่อยผมบานกระจายเลยไหล่

ชุดฝรั่งกระโปรงบาน  แขนสั้น  ใส่ถุงเท้าหนา  ใส่รองเท้าหรูมีโบว์อันไม่เล็ก   

คุณหญิงขลิบดูแล้วอายุยังไม่ห้่าขวบดี  ดูท่านคุ้นเคยกับการแต่งแหม่มดี

ชุดอยู่บ้านของท่านและพี่น้องก็เป็นเสื้อคอกลมแขนยาว  คอกลม  รอบคอปลายแขนและชายเสื้อ
ติดแถบลูกไม้เป็นชั้น ๆ    นุ่งโจง   ดูเหมือนจะห้อยเสมากันทุกคน


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: ritti018 ที่ 14 ต.ค. 10, 22:10
   ก่อนอื่นขอกล่าวถึง โรงเรียนศรียาภัย อันเป็นสถานศึกษาของผมก่อนนะครับ ว่าทำไมถึงชื่อโรงเรียนศรียาภัย เนื่องจากได้รับการบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างอาคารเรียนจาก คุณชื่น  ศรียาภัย คหปตานีชาวไชยา ซึ่งเป็นธิดาคนโตของ พระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณที่มีต่อโรงเรียน จึงนำเอานามสกุลของท่านมาเป็นชื่อโรงเรียน นามว่า โรงเรียนศรียาภัย ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้มีอายุ 113 ปี เป็นโรงเรียนประจำจังหวัีดชุมพรแบบสหศึกษา มีนักเรียนกว่าสามพันคน...

นามสกุล "ศรียาภัย" เป็นนามสกุลพระราชทาน ที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานให้กับพระยาวจีสัตยารักษ์ (ฃำ)  ผู้กำกับถือน้ำ  กระทรวงมหาดไทย  บิดาคือพระศรีสรราชสงรามรามภักดี (ปาน)  ปู่คือพระอภัยณรงค์สงคราม (แพ)


ประวัติของพระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) มีดังนี้


   พระยาวจีสัตยารักษ์  เดิมชื่อ ขำ  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน 11 แรม 12  ค่ำ  ปีมะโรง  พ.ศ. 2387  ตรงกับรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  นายขำมีบุตร 5 คน  คือ คุณชื่น  ศรียาภัย  พระยาประชุมพลขันธ์(ขัน  ศรียาภัย)  นายจวน  นายเขต  และนางเฉลิม
  
    นายขำ  ศรียาภัย  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4  ได้ฝึกหัดราชการอยู่ในสำนักของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  สมุหพระกลาโหมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญหลายด้าน  เช่น  การค้าขาย  การจับ  และฝึกหัดช้าง  และยังมีความสามารถในการพูดภาษาจีน  ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชานุชิต  ผู้ช่วยราชการเมืองไชยา  ในรัชกาลที่ 4
  
    ในสมัยรัชกาลที่ 5  ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีราชสงคราม  ปลัดเมืองไชยาและดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา  10 ปี  มีความชอบจากการไปปราบจลาจลชาวจีนที่เมืองภูเก็ต  จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทิพยาภรณ์ช้างเผือก  ขั้นที่ 5

พ.ศ. 2422  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตภักดี  ผู้ว่าราชการเมืองไชยา  ทำความดีความชอบจนได้รับ

พ.ศ. 2422  ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑล  พระยาวิชิตภักดีได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  พระ      ยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ์  จางวางเมืองไชยา

พ.ศ. 2449  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวจีสัตยารักษ์

    เนื่องจากพระยาวจีสัตยารักษ์  เป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับหัวเมืองชายทะเลปักษ์ได้  พระยาวจีสัตยารักษ์จึงได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์นำเสด็จ  และเมื่อมีทางรถไฟสายใต้ได้เป็นผู้นำตรวจทางรถไฟสายใต้เป็นครั้งแรก  ตั้งแต่มณฑลปัตตานี  ถึงเมืองเพชรบุรี  นอกจากนี้ยังได้สร้างคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์อีกมากมาย
  
     พระยาวจีสัตยารักษ์ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน  เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2457  รวมอายุได้  70 ปี  ปัจจุบันมีสถูปซึ่งบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลานในตระกูลศรียาภัย ณ เมืองไชยา(เก่า)  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ต.ค. 10, 22:15
พล.อ.อ. สิทธิ  เศวตศิลา   เขียนถึงคุณแม่ไว้   เมื่อ วันที่ ๒๕​  พ.ย. ๒๕๓๕

ขอย่อความเล่าว่า    


ท่านองคมนตรีเป็นบุตรคนโตแต่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิด เพราะคุณยายที่อยู่บ้านเดียวกันเอาไปนอนด้วย

เมื่อท่านเจ้าคุณย้ายไปสงขลาเป็นผู้บำรุงป่าไม้  ท่านองคมนตรีไปอยู่กับเพื่อนรุ่นน้องของท่านเจ้าคุณคือ

พระยาพิพิธไอศูรย์(ม.ล. ยินดี  อิสนเสนา)เพื่อเรียนหนังสือที่เซ็นต์คาเบรียลตั้งแต่อายุประมาณ ๙ ขวบ

ท่านองคมนตรีเรียกเจ้าคุณพิพิธว่า "คุณพ่ออาว์"

ท่านซักเสื้อใส่เอง  คุณแม่ส่งเงินให้เรียนทุกเดือน          พอเรียนไปได้ ๔ ปีโดยมี่ไม่มีผู้ปกครองใกล้ชิด  

ก็เริ่มคบเพื่อนหนีการเรียน  จนถูกคุณครูทำโทษ   คุณแม่ทราบเรื่องจึงพาตัวกลับสงขลา  

ไปเรียนต่อที่มหาวชิราวุธสงขลา  ก็กลับเรียนดีและสอบได้คะแนนดีเรื่อยมา



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ต.ค. 10, 22:21


ประเสริฐค่ะ คุณฤทธิ์081         จังหวะเหมาะ

เรื่องคุณหญิงท่านมีไม่มาก  ดิฉันตั้งใจจะเล่าเรื่องที่ท่านองคมนตรีเล่าเรื่องฝากแหวนไว้ให้แม่

ไม่ค่อยจะมีเรื่องยืด

คุณฤทธิ์กับดิฉันไปเปิดวงช่วยกันได้แล้วค่ะ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ต.ค. 10, 22:32

       หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง    ท่านเจ้าคุณถูกปลดเกษียณตั้งแต่อายุ ๕๕

พ.ศ. ๒๔๗๗  ย้ายครอบครัวมาอยู่กรุงเทพที่บ้านข้างวัดชนะสงคราม       ครอบครัวใหญ่มาก

เพราะท่านเจ้าคุณมีภรรยาหลายคนและบุตรทั้งหมด ๑๕​คน


       ท่านองคมนตรีได้เรียนที่โรงเรียนวัดราชบพิธ ๑ ปี  แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจนจบ

มัธยมแปด  แล้วสอบเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยได้คะแนนเป็นอันดับ ๑  ของ

แผนกวิทยาศาสตร์ทั้งหมด     พอเรียนสำเร็จปี ๒  สอบชิงทุนของกองทัพอากาศไปเรียนต่อที่  MIT  สหรัฐอเมริกา



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ต.ค. 10, 23:28

คัดจากหนังสืออนุสรณ์


       "ผมได้จากคุณแม่ไปเรียนที่อเมริกาได้สักปีเศษก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง        ผมได้สมัคร

เข้าเป็นเสรีไทยในขบวนการใต้ดินเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น        ก่อนที่ผมจะกระโดดร่มลงที่เชียงใหม่

เพื่อปฏิบัติการที่ได้รับบอมหมายมานั้น  ผมตระหนักถึงอันตรายรอบด้าน  จึงได้ฝากแหวนทอง MIT

ไว้กับคุณหลวงดิษฐการภักดี  ซึ่งมาเยี่ยมพวกเราที่ศรีลังกา  และบอกกับคุณหลวงดิษฐการภักดีว่า

ถ้าผมเป็นอะไรไป   ให้ฝากแหวนไปให้คุณแม่ของผมด้วย"



กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 14 ต.ค. 10, 23:39


       "คุณแม่มักจะเล่าให้ลูกหลานฟังซ้ำ ๆ  ว่า  ก่อนผมจะเกิด   ได้ฝันว่าไปเดินเที่ยวเล่นบนภูเขา 

พอเดินลงมา  มีเด็กผมจุก  แต่งตัวคล้ายลูกเจ้านายโบราณมาคอยเดินตาม   จะหนีไปทางไหนก็คอยเดินตาม

จนลูกหลานอดขัดคอไม่ได้"


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Taramuch ที่ 13 ธ.ค. 17, 03:22
หนังสืองานศพเป็นสิ่งตีพิมพ์ชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าควรแก่การเก็บสะสมเพื่อศึกษา
โดยเฉพาะหนังสืองานศพของบุคคลสำคัญ  ย่อมเป็นเอกสารที่ขาดเสียไม่ได้
ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติและผลงานของบุคคลนั้นๆ  

นอกจากนี้   เรื่องที่เจ้าภาพนำมาจัดพิมพ์เป็นหนังสืองานศพนั้น
ก็มีประโยชน์ในด้านต่างๆ แก่ผู้อ่านด้วย

ฉะนั้น  ผมจึงอยากขอความรู้จากทุกท่านที่สัญจรในเรือนไทยได้ช่วยกันบอกหน่อยว่า
ในงานพระบรมศพ พระศพ และศพของบุคคลดังต่อไปนี้  
พิมพ์หนังสืออะไรแจกเป็นที่ระลึกบ้าง  

๑.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๒.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมาอานันทมหิดล  พระอัฐมรามาธิบดินทร

๔.สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

๕.สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

๖.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

๗.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

๘.พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าบวรเดช

๙.พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

๑๐.เจ้าจอมมารดาอ่อน  ในรัชกาลที่ ๕


๑๑.เจ้าพระยารามราฆพ  (ม.ล.เฟื้อ  พึ่งบุญ)

๑๒.เจ้าพระยายมราช (ปั้น  สุขุม)

๑๓.เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)

๑๔.พระยามโนปกรณ์นิติธาดา  (ก้อน  หุตะสิงห์)

๑๕.พลตรี  หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช

๑๖.พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

๑๗.พระยาปดิพัทธภูบาล  (คอยูเหล  ณ  ระนอง)

๑๘.พระยาสุริยานุวัตร (เกิด  บุนนาค)

๑๙.ท่านผู้หญิงเสงี่ยม  พระเสด็จสุเรนทราธิบดี

๒๐.ท่านผู้หญิงกลีบ  มหิธร


๒๑.หมอบรัดเล

๒๒.นายมาลัย  ชูพินิจ

๒๓.นายสด  กูรมะโรหิต

๒๔.พลโท  อัมพร   ศรีไชยันต์

๒๕.หม่อมสนิท  กฤดากร

๒๖.นายนราภิบาล  (ศิลป์  เทศะแพทย์)

๒๗.เสวกโท  หลวงมหาสิทธิโวหาร  (สอ  เสถบุตร)

๒๘.นายภาวาส  บุนนาค

๒๙.ร้อยเอก  ขุนทวยหาญพิทักษ์  (เหล็ง  ศรีจันทร์)

๓๐.คุณหญิงมณี สิริวรสาร


เอาเท่านี้ก่อน   หวังว่าจะไม่ยากเกินไปนะครับ ;D

ผมมีหนังสือลำดับที่ 4ครับ


กระทู้: ตามล่าหาหนังสืองานศพ
เริ่มกระทู้โดย: Taramuch ที่ 13 ธ.ค. 17, 03:25
หนังสือ ที่ระลึก พระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี พ.ศ.2463 ที่คุณหลวงตามหาครับ ลำดับที่ 4
หนังสือเล่มนี้ มีจำนวน 382 หน้าครับ ผมเคยเปิดอ่านบางส่วนแล้วถ่ายรูปเก็บไว้อ่าน ไม่กล้าเปิดอ่านบ่อยๆ กลัวจะขาด แต่โดยรวมยังสมบูรณ์ครับ