เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: ภูมิ ที่ 02 ก.พ. 06, 11:28



กระทู้: ขัดกระดุม กลัดกระดุม
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 02 ก.พ. 06, 11:28
 คำไหนถูกครับ
ที่พจนานุกรมออนไลน์ของราชบัณฑิดบอกว่าใช้  ขัด

แต่มันขัดกลับความรู้สึกเหลือเกิดถึงแม้ว่าเหตุผลที่ยกมาอ่านแล้วก็เห็นว่ามีเหตุผล

ค้นใน เน็ท กลับพบว่า กลัดกระดุมมีการใช้มากกว่ากันหลายสิบเท่า


กระทู้: ขัดกระดุม กลัดกระดุม
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 02 ก.พ. 06, 11:34
 ...เครื่องกลัดกับส่วนต่างๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกัน ทำเป็นรูปต่างๆ มักมีรังดุมสำหรับขัด...

ใช้กลัดก็ไม่น่าผิดค่ะ


กระทู้: ขัดกระดุม กลัดกระดุม
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 05 ก.พ. 06, 01:26
 เท่าที่อ่านจาก พจนานุกรม ดูเหมือนว่าใช้ได้แค่แบบเดียวนะครับ

ที่มาถามเพราะผมดันไปตอบคนญี่ปุ่นอย่างมั่นอกมั่นใจมากเลยว่าเป็น กลัด


กระทู้: ขัดกระดุม กลัดกระดุม
เริ่มกระทู้โดย: ศศิศ ที่ 06 ก.พ. 06, 00:10
 ตามความคิดเห็นของผมนะครับ ตามข้อมูลที่คุณภูมิให้มา ผมเห็นว่าอย่างนี้

คำว่า "กลัด" เช่น เอาเข็มหมุดกลัดผ้า ไม้กลัด จะเป็นลักษณะที่แทงลงไปแล้ว ทอดไประยะหนึ่งแล้วค่อยแทงขึ้นมาด้านเดียวกับด้านที่แทงเข้าไปตอนแรก.... เหมือน ๆ กับกลัดใบตองนั่นแหละ (แล้วจะอธิบายซะยาวทำไมเนี่ย 555 ) ฉะนั้น จึงเป็นสองปลาย ....

เมื่อลักษณะกระดุม จะเป็นการที่ ให้เม็ดกระดุมเข้าไปในรังดุมอย่างเดียว ไม่ได้ดันให้เม็ดกระดุมย้อนออกมาทางด้านเริ่ม .. จึงเป็นลักษณะของการ "ขัด" กระมังครับผม

จะเข้าใจผิดหรือถูกก็ไม่รู้เหมือนกันครับ....


กระทู้: ขัดกระดุม กลัดกระดุม
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 06 ก.พ. 06, 01:29
 "กลัด" และ "ขัด" เสียงจะใกล้กันมากครับ อาจมีกำเนิดเดียวกัน เวลาใช้ก็อาจสับสนกันได้ (หรือเปล่า?? อิอิ) แต่ว่า "กลัด" จะเป็นการใช้วัสดุแหลมทิ่มเข้าไปในวัตถุ เพื่อให้วัตถุนั้นยึดติดกัน เช่น กลัดใบตอง หรือ เข็มกลัด

ส่วน "ขัด" ไม่ได้ทิ่มแทงครับ แต่เป็นการเอาวัสดุมาเกาะเกี่ยวให้ยึดกันเฉยๆ เช่น ขัดแตะ (ขัดขา ขัดคอ ไม่เกี่ยวนะครับ อิอิ)

ดังนั้น ก็น่าจะเป็น "ขัดกระดุม" ครับที่ถูกต้อง

แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ค่อยชินกับคำนี้หรอกครับ เพราะใช้ "ติดกระดุม" อิอิ (ไม่รู้เหมือนกันว่าใช้มาตั้งแต่เมื่อไหร่)


กระทู้: ขัดกระดุม กลัดกระดุม
เริ่มกระทู้โดย: ศนิ ที่ 06 ก.พ. 06, 13:07
 ติดกระดุมใช้กับกระดุมแปะ(ไม่แน่ใจว่าสะกดอย่างนี้รึเปล่านะคะ) ที่มีสองด้านนำมาติดกันค่ะ ดิฉันก็ใช้คำนี้ค่ะ