เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: gaoth ที่ 17 ต.ค. 13, 18:53



กระทู้: คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: gaoth ที่ 17 ต.ค. 13, 18:53
คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้แทนกันได้ไหมค่ะ 
ถ้าได้คำว่า ทีเดียว สามารถใช้แทนคำว่า มาก ได้ในกรณีใดบ้าง หรือว่าได้ทั้งหมด
ตัวอย่างด้านล่างนี้
1 ดวงตะวันในช่วงก่อนลับฟ้า ยังคงส่องแสงจ้ามาก
2 เขาเป็นคนที่มีความนึกคิดเชื่องช้ามาก แต่ทว่าคิดได้รอบคอบมาก   
3 ตามธรรมดาเขาจะไม่ชอบพูดมาก   
4 เขารู้สึกอ่อนเพลืย  แต่ก็ชื่นใจทีเดียว
5 เขาสูญเสียพ่อแม่ตั้งแต่ยังเด็กมาก

 ขอบคุณค่ะ


กระทู้: คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ต.ค. 13, 21:04
ไม่รู้จะอธิบายยังไง   ลองแปลเป็นภาษาอังกฤษดีกว่า  เผื่อคุณจะนึกออก
มาก = very   ทีเดียว = surely   

ถ้าอยากรู้ว่าใช้ ทีเดียว แทน มาก ได้ไหม ลองเขียน 2 แบบไปเลย แล้วถามตัวเองว่ามันขัดๆหรือเปล่า  ถ้าขัดๆแปลว่าใช้ไม่ได้ค่ะ
 1 ดวงตะวันในช่วงก่อนลับฟ้า ยังคงส่องแสงจ้ามาก
ดวงตะวันในช่วงก่อนลับฟ้า ยังคงส่องแสงจ้าทีเดียว
2 เขาเป็นคนที่มีความนึกคิดเชื่องช้ามาก แต่ทว่าคิดได้รอบคอบมาก   
เขาเป็นคนที่มีความนึกคิดเชื่องช้าทีเดียว แต่ทว่าคิดได้รอบคอบทีเดียว

3 ตามธรรมดาเขาจะไม่ชอบพูดมาก
 ตามธรรมดาเขาจะไม่ชอบพูดทีเดียว 

4 เขารู้สึกอ่อนเพลืย  แต่ก็ชื่นใจมาก
เขารู้สึกอ่อนเพลืย  แต่ก็ชื่นใจทีเดียว

5 เขาสูญเสียพ่อแม่ตั้งแต่ยังเด็กมาก
เขาสูญเสียพ่อแม่ตั้งแต่ยังเด็กทีเดียว


กระทู้: คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ต.ค. 13, 10:34
นึกได้เพิ่มเติม
คำว่า "ทีเดียว"  เมื่อกลายเป็นภาษาพูด  รวบมาเป็นคำเดียวว่า "เทียว"   แต่คำนี้เป็นภาษาเก่า ต่อมากลายเป็น "เชียว" และเดี๋ยวนี้ออกเสียงว่า "เชีย"
ดังนั้น ประโยคอะไรที่ลงท้ายว่า "เชีย" นั่นแหละ "ทีเดียว" ไม่ใช่ "มาก"

คุณเจ้าของกระทู้หายจ้อยไปเลย


กระทู้: คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ต.ค. 13, 09:01
เก่ากว่านั้นก็เป็น "เจียว"  ;)

ตาแสนกลมแต่คมนักเจียวเจ้า          ท่อนนี้ไม่ต้องแปลมาก   เจียว ก็คือ เทียว หรือเชียว   หรือภาษาวัยรุ่นใช้ว่า เชีย


กระทู้: คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: gaoth ที่ 22 ต.ค. 13, 20:41
ก่อนอื่นขอบคุณมากสำหรับคำอธิบายที่ละเอียดและชัดเจน ทำให้ได้ความรู้มากมายจากในเว็บนี้มากค่ะ    :)
ไม่ทราบว่าในภาษาไทยนั้นคำที่แสดงความหมายจำนวนมาก โดยลำดับจากมากไปหาน้อย คือ  เป็นพิเศษ  ที่สุด มากเกินไป มาก  มากกว่า ค่อนข้างจะ  น้อย เล็กน้อย แบบนี้ถูกไหมค่ะ


กระทู้: คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ต.ค. 13, 21:01
ไม่ถูกค่ะ  มันผิดตั้งแต่หาคำมาเรียงแล้วค่ะ
คำทั้งหมดที่คุณยกมา    กำหนดกันที่ความคิดเห็น  เป็นอัตนัย ไม่ใช่ปรนัย   พูดง่ายๆคือชั่งตวงวัดไม่ได้   จึงเรียงไม่ได้ค่ะ
ถ้าเรียงก็ต้องเรียงได้เฉพาะบางคำที่ต่างกันมากๆเท่านั้น   จนมองเห็นความแตกต่างเท่านั้น 
คือ มากที่สุด   มาก  ค่อนข้างมาก   น้อย
แบบนี้เรียงได้ค่ะ

แต่คำที่คุณยกมา  มันไม่สามารถจะเรียงได้  เพราะเป็นคำคนละกลุ่ม คนละความหมายกันก็ว่าได้ 
ใครจะบอกได้ว่า เป็นพิเศษ กับ ที่สุด อะไรแสดงความ"มาก" กว่ากัน   มันขึ้นกับความรู้สึกคนพูด  เพราะ "ของพิเศษ" กับ"ที่สุด" อาจจะมีความหมายเท่ากันสำหรับคนหนึ่ง แต่ไม่เท่ากันสำหรับอีกคน

เมื่อเพื่อนมาบอกคุณว่า
คุณชายรณพีร์ชอบกินกาแฟเป็นพิเศษ แต่คุณชายปวรรุจชอบกินกาแฟที่สุด     แสดงว่าคนหลังชอบกาแฟมากกว่าคนแรกงั้นหรือ  หรือคนแรกชอบกินกาแฟมากกว่าคนหลัง   เอาอะไรมาวัดได้
แต่ถ้าบอกว่า คุณชายรณพีร์ชอบกินกาแฟมาก  แต่กินของหวานๆน้อย   อย่างนี้เห็นชัดว่าระหว่างกาแฟกับขนม คุณชายเขาชอบอะไรมากกว่ากัน


กระทู้: คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: gaoth ที่ 22 ต.ค. 13, 21:37
พอดีว่าตอนนี้กำลังศึกษาเรื่องคำกริยาวิเศษณ์บอกจำนวน เอามาจากคำศํพท์ภาษาจีนจากพจนานุกรมจีนไทย ( เป็นพิเศษ  ที่สุด มากเกินไป มาก  มากกว่า ค่อนข้างจะ  น้อย เล็กน้อย ) แล้วแบบนี้ในภาษาคำที่ใช้แสดงความหมายบอกจำนวน คือมากที่สุด   มาก  ค่อนข้างมาก   น้อย เท่านี้แค่นี้หรือเปล่าค่ะ


กระทู้: คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ต.ค. 13, 21:41
ก็มีคำว่า ปานกลาง อีกคำค่ะ
คำอื่นๆคุณเพ็ญชมพูอาจจะคิดออกค่ะ

การเอาหลักภาษาของประเทศหนึ่งมาใช้กับอีกประเทศหนึ่ง ต้องระวังความแตกต่างด้วยนะคะ แม้เป็นหัวข้อเดียวกันก็ตาม


กระทู้: คำว่า "มาก" กับคำว่า "ทีเดียว" ใช้ต่างกันอย่างไร
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ต.ค. 13, 22:03
เรียงจากมากไปน้อย  ตามนี้
มากที่สุด  มาก  ค่อนข้างมาก ปานกลาง  ค่อนข้างน้อย  น้อย