เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 15:56



กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 15:56
สิบนิ้วลูกหนอเอย ลูกจะยอประนม
จะยกขึ้นตั้งบังคม เหนือเกศาเอย
จะขอนบไหว้ครูบา  ทหารกล้าทั่วทิศา
ต่อกรกับเหล่าอริราช  ร่วมปราบศึกฮ่อเทอญ


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 16:10
กระทู้นี้ตั้งขึ้นเพื่อให้ท่านที่สนใจในประวัติศาสตร์เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น เข้ามาพูดคุยเรื่อง “ฮ่อ” กันในหลายมุมมอง

เรื่องฮ่อนั้นโดยส่วนมากจะนึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกทัพขึ้นไปปราบฮ่อ ซึ่งกินเวลาการรบเป็นเวลายาวนานและเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่นำพาไปสู่วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒  

กำเนิดฮ่อ

เดิมทีนั้นชาวสยาม รู้จักพวกฮ่อในลักษณะว่าเป็นชนชาติหนึ่ง จนเมื่อปราบฮ่อเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) จับตัวฮ่อลงมายังกรุงเทพฯ มีเสียงกระซิบนินทากันว่า พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร)จับเจ๊กส่งลงมาลวงว่าเป็นฮ่อ เพราะผู้นินทานั้นหารู้ความจริงไม่ ว่าฮ่อมันก็เจ๊กนั่นเอง เป็นแต่พวกไทยฝ่ายเหนือ ไม่เรียกว่า เจ๊ก แต่เรียกฮ่อกันมาแต่โบราณ ในหนังสือพระราชพงศาวดาร กล่าวถึงเรื่องจีนตีเมืองพม่าเมื่อตอนก่อนศึกอะแซหวุ่นกี้ ก็เรียกว่า ฮ่อ ตามคำไทยข้างฝ่ายเหนือ

ซึ่งฝ่ายเหนือใช้คำนี้อาจหมายความว่าพวกมองโกลที่ได้เป็นใหญ่ในเมืองจีน ครั้งราชวงศ์หยวน หรือมิฉะนั้นจะหมายถึงพวกแมนจูที่ได้เป็นใหญ่เมื่อครั้งราชวงศ์ชิง เรียกให้ผิดกับจีน ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ในชั้นหลังมา พวกชาวล้านช้างและล้านนาในมณฑลพายัพ เรียกบรรดาเจ๊กที่ลงมาทางบกฝ่ายเหนือว่า “ฮ่อ” ตามอย่างโบราณ แต่เรียกพวกเจ๊กที่ขึ้นไปจากกรุงเทพฯว่า “จีน” หรือ “เจ๊ก” ตามคำชาวกรุงเทพ ซึ่งทำให้คนกรุงเทพฯ เข้าใจว่าฮ่อเป็นชนชาติหนึ่ง


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 16:16

สำหรับฮ่อ ในความหมายของไตลื้อ หมายถึงชาวจีนที่อาศัยอยู่ในยูนนาน ซึ่งชาวจีนในยูนนานที่เรียกว่าฮ่อนั้นมีจำนวนเล็กน้อย ส่วนมากทำการค้ายและเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองซึ่งรัฐบาลจีนจัดส่งมา ซึ่งจากจดหมายของ Garnier ทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ถึง Due Decazes รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ (ค.ศ. 1875) ได้กล่าวถึงพวกฮ่อว่า “พวกฮ่อซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพวกฮ่อนี้ (Ho-nhi) ได้ยึดครองดินแดนแถภูเขาอันตั้งอยู่ระหว่างยูนนานและตั่งเกี๋ยพร้อมกับชนชาติป่าเถื่อนอื่นๆ”


คนยูนนานไม่ได้เรียกตนเองว่า “ฮ่อ”

“ฮ่อ” เป็นคำไทยที่ใช้เรียกชาวยูนนานซึ่งเป็นจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยทางภาคเหนือ ในทางเหนือเรียกจีนที่เดินบกเข้ามาในประเทศไทยว่า ฮ่อ ทั้งหมดมิได้กำหนดเฉพาะชาวยูนนาน

เจีย แยนจอง (ยรรยง จิระนคร, 2538) ได้เคยตั้งคำถามว่าเหตุใดเราจึงเรียกชาวยูนนานว่า “ฮ่อ” ทั้งๆ ที่ชาวจีนยูนนานไม่ได้เรียกตัวเองว่า “ฮ่อ” นิยามคำว่า “ฮ่อ” เป็นคำนิยามที่ไทยลื้อ ไทโยน และชาวหลวงพระบาง ชาวเชียงตุงใช้เรียกผู้ปกครองชาวจีนยูนนานในสมัยโบราณเป็น “เจ้าว่องฮ่อ” เรียกคนจีนในยูนนานเป็น “ฮ่อ”


ตำนานสิงหนวัติของเชียงใหม่กล่าวถึง “กษัตริย์ฮ่อเทวกาล” วรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่งของหลวงพระบางกล่าวถึง “เจ้าว่องฮ่อ” ไว้หลายครั้ง

คำว่า “ฮ่อ” มาจากคำจีนยูนนานที่เรียกแม่น้ำว่า “ห้อ” เพราะจดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์สุย และรางวงศ์ถัง พ.ศ. ๑๑๒๔-๑๔๕๐ (ค.ศ.581-907) เรียกชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่กลุ่มแม่น้ำแส (ทะเลสาบเอ๋อไห่ปัจจุบัน) เป็น “ห้อ” ดังนั้นความเป็นมาของคำว่า “ฮ่อ” จึงมาต่อเนื่องแต่โบราณว่ากลุ่มชนที่อยู่ริมแม่น้ำแสในยูนนาน คือ พวกฮ่อ (กลุ่มชนริมแม่น้ำ) และต่อมากลายเป็นชาวจีนยูนนานไปตั้งถิ่นฐานที่ใดก็ได้เรียกขานว่าเป็น “ฮ่อ” เช่นเดียวกับกลุ่มที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือของไทย

ส่วนในนิยามของไทลื้อสิบสิงปันนาและไทเขินเชียงตุง หมายถึงจีนทั่วไป คือจะเรียกประเทศจีนว่า เมืองฮ่อ เรียกคนจีนว่า “ฮ่อ” อักขระวิธีการสะกดของอักษรลื้อหรืออักษรล้านนาจะเขียนว่า “ห้อ”สำหรับภาษาพูดและเขียนที่กลุ่มจีนฮ่อใช้อยู่เป็นภาษาจีนที่ใกล้เคียงกับภาษาจีนกลาง ดังนั้น ชาวจีนยูนนานจะเข้าใจภาษาจีนกลางได้ง่ายกว่าชาวจีนกลุ่มอื่นๆ

อีกส่วนหนึ่งเป็นความเข้าใจของชาวจีนฮ่อเองว่า “ฮ่อ” มาจากคำพูดติดปากของคนจีนยูนนานในช่วงแรกที่อพยพเข้ามาอยู่ในไทยซึ่งพูดภาษาไทยไม่ได้ และเมื่อคนเมืองหรือคนไทยพูดด้วยหรือถามอะไรมักจะตอบว่า “ฮ่อๆ ฮ่อๆ” ดังนั้นจึงเรียกคนจีนยูนนานว่า “ฮ่อ”
อาจสรุปได้ว่า ในทัศนะของผู้ที่ไม่ใช่ชาวจีนฮ่อ “ฮ่อ” คือ ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในไทยภาคเหนือโดยทางบก และเมื่อมณฑลที่อยู่ใกล้ไทยมากที่สุดคือยูนนาน ดังนั้นชาวจีนส่วนใหญ่จึงมาจากยูนนาน และเนื่องจากในอดีตมณฑลนี้ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จีนฮ่อที่เข้ามาในไทย ส่วนใหญ่จึงเป็นมุสลิม คนไทยจึงเรียกคนจีนกลุ่มนี้ว่า “ฮ่อ”

ภาพภูมิศาสตร์บริเวณมณฑลยูนนาน บริเวณทะเลสาบเอ๋อไห่ เมืองต้าลี่ บริเวณที่กลุ่มฮ่ออาศัย


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 16:22
ฮ่อที่เข้ารบกันสยาม

สำหรับฮ่อที่เข้ารบกันสยามนั้น มีประวัติว่าเป็นชาวจีนที่เข้าพวกร่วมอุดมการณ์เข้าต่อต้านอำนาจจากราชวงศ์ชิง ซึ่งกินเวลาทำสงครามกว่า ๒๐ ปี ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลังสิ้นสุดสงครามฝิ่น ในรัชสมัยจักรพรรดิ์เสียนเฟิง ทำให้รัฐบาลต้องชำระค่าปฏิกรณ์สงคราม และภาวะเงินคงคลังขาดแคลน ทำให้ต้องรีดภาษีจากประชาชน สังคมวุ่นวายไร้ความสงบสุข จึงได้มีประชาชนเริ่มต่อต้านอำนาจรัฐซึ่งได้กลายเป็น “กบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว” เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔  (ค.ศ. 1851) นำโดย “หงซิ่วฉวน” ซึ่งเป็นคนจีนเชื้อสายจีนแคะ อาศัยอยู่บริเวณมณฑลกวางตุ้ง และได้มีผู้คนเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาได้บุกยึดเมืองนานกิงได้สำเร็จ


ใน พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. 1853) และสถาปนาอาณาจักรไท่ผิงเทียนกั๋ว และยกตนขึ้นเป็นองค์จักรพรรดิ์ขึ้นเองด้วย ภายหลังรัฐบาลชิงได้ขอร้องให้อังกฤษเข้าปราบปราม จนสลายตัวเมื่อพ.ศ. ๒๔๐๖ (ค.ศ. 1863)

ภาพหงซิ่วฉวน


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 16:31
เมื่อฝ่ายกบฏไท่ผิงเทียนกั๋วได้สลายลงแล้ว แต่บรรดาเหล่านักรบและผู้คนที่เข้าร่วมก็กระจัดกระจายหนีการไล่ล่าลงมายังแถวลุ่นแม่น้ำแดง ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของมณฑลยูนนานและกวางสี ซึ่งมีหัวหน้าชื่อ “ง่ออาจง” นำพรรคพวกอพยพมาอยู่บริเวณเมืองฮานอย ซึ่งตั้งอยู่อ่าวตังเกี๋ย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ (ค.ศ. 1865) ซึ่งนำพาผู้คนประมาณ ๔,๐๐๐ คน จนพวกญวนเกรงว่าพวกฮ่อจะก่อการกำเริบ จึงได้ขอกำลังจากเมืองจีนเมือง ฮุนหนำ นำทหาร ๑๐,๐๐๐ คนมาเข้าตีพวกฮ่อจนง่ออาจงตายในสนามรบ พรรคพวกที่เหลือก็พากันหนีตายและหนีไปตั้งหลักแหล่งที่เมืองซันเทียน อันเป็นเมืองของพวกแม้ว ตั้งอิสระอยู่บนภูเขาที่ชายแดนจีนต่อกับแดนสิบสองจุไทย เมื่อตั้งมั่นที่เมืองซันเทียนแล้วก็พากันยกย่องน้องชายง่ออาจง ที่ชื่อ “ปวงนันซี” และซ่องสุมรี้พลไว้

ครั้นถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. 1866) ปวงนันซีก็นำทัพฮ่อเข้ายกตีเมืองเลากายในแดนญวน และต่อสู้กับทหารจีนและญวนจนชนะได้เมืองเลากายได้ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. 1867)

แผนที่ตั้งเมืองเลากาย (Lao-Cai) และระวางแผนที่ในสมัยใกล้เคียงกัน  จะเห็นพื้นที่พระราชอาณาจักรสยามและดินแดนประเทศราช และดินแดนโตคิน (เวียดนามเหนือ) และ ชนเผ่าอิสระ (พื้นที่สีเขียว ลุ่มแม่น้ำแดง) ซึ่งบริเวณสีเขียวนี้คลอบคลุมดินแดนสิบสองจุไทย


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 ก.พ. 11, 22:03
สมัยผมอยู่มหาวิทยาลัย เพื่อนคนหนึ่งเป็นมุสลิม  ตอนนั้นเรากินก๋วยเตี๋ยวแขก(ก๋วยเตี๋ยวแกง)กัน ซึ่งเขาบอกว่าเป็นอาหารที่จีนทำขึ้นก่อนไม่ใช่แขก ทางเหนือมีข้าวซอยก็มาจากคนจีนพวกนี้ด้วย แต่เป็นจีนมุสลิมคนไทยเรียกว่าพวกจีนฮ่อ ผมก็เลยจำได้จนบัดนี้ เมื่อเห็นกระทู้ของคุณหนุ่มสยามเข้า จึงได้ไปหาข้อมูลมาเพิ่มเติม ดังนี้ครับ
ที่มาhttp://muslimthai.ning.com/profile/Chingching

อาจสรุปได้ว่า ในทัศนะของผู้ที่ไม่ใช่ชาวจีนฮ่อ “ฮ่อ” คือ ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในไทยภาคเหนือโดยทางบก และเมื่อมณฑลที่อยู่ใกล้ไทยมากที่สุดคือยูนนาน ดังนั้นชาวจีนส่วนใหญ่จึงมาจากยูนนาน และเนื่องจากในอดีตมณฑลนี้ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จีนฮ่อที่เข้ามาในไทย ส่วนใหญ่จึงเป็นมุสลิม คนไทยจึงเรียกคนจีนกลุ่มนี้ว่า “ฮ่อ”

เมื่อกล่าวคำว่า “มุสลิม” เรามักจะคิดว่าเป็นแขก หรือคนที่มาจากเชื้อสายมาเลเซีย ปากีสถาน อินเดีย และเมื่อพบบุคคลที่เป็นจีนมุสลิมก็มักจะเกิดคำถามว่า เป็นคนจีนแล้วทำไมเป็นมุสลิม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วจีนมุสลิมในประเทศจีนมีมากกว่าคนไทยทั้งประเทศ “สถิติจีนมุสลิมแผ่นดินใหญ่ ปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) มีจำนวน 115,000,000 คน จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 960,000,000 คน”

ประเทศจีนถือได้ว่าเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่มีคนมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งแรกของศาสนาอิสลามที่กระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ปรากฏว่าจำนวนมุสลิมในจีนมากถึง 50 ล้านคน จึงทำให้ศาสนาอิสลามกลายเป็นศาสนาที่ใหญ่ศาสนาหนึ่งในประเทศจีน และทางรัฐบาลยอมรับว่า บรรดามุสลิมคือผู้นับถือศาสนาอันเป็นชนส่วนน้อยที่มากที่สุดของประเทศจีน ซึ่งมีทั้งหมด 56 ชนชาติ 55 ชนกลุ่มน้อย คือมุสลิมที่มีชื่อ “หุย” พวกมองโกลซึ่งมีชื่อว่า “เหมิง” (meng) พวกทิเบตที่มีชื่อว่า “จ้าง” (zhang) และพวกแมนจูเรียที่มีชื่อว่า “หมั่น” (manzu) ในปัจจุบันจีนมุสลิมอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นภายในมณฑลต่างๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คือ หูเป่ย ซีนเกียง ส่วนทางยูนนาน เราพบว่ามุสลิมอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในมณฑลยูนนาน เสฉวน และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ชาวมุสลิมอาศัยอยู่แถบหนิงเช่ย ในอันเว่ย โดยเป็นแหล่งที่มีมุสลิมอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุด

เนื่องจากการขยายอาณาจักรของจีนจึงทำให้จีนประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติและเพื่อทราบถึงความแตกต่างในเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เดิม ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว สำหรับ “ฮ่อ” คือคำที่ใช้เรียกชาวจีนมุสลิมโดยทั่วไป เป็นไปไปได้ว่า “ฮ่อ” มาจากคำว่า “หุย” ซึ่งเป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกผู้ที่เป็นมุสลิมตั้งแต่แรกเริ่ม


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ก.พ. 11, 22:26
ขอบคุณครับ อ.NAVARAT.C ที่แนะเตือนเรื่องก๋วยเตี๋ยวแขก ที่แปลงลงมาเป็นข้าวซอย ซึ่งผมก็ชอบทานเช่นกัน

เรื่องมุสลิมก็มีพูดไว้เล็กน้อย ซึ่งอยู่ในตอนต่อไปแต่ไม่ได้ลงลึกมาก แต่ก็พอจะทราบว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้ มีการก่อกบฏของชาวมุสลิมในยูนนาน และพวกฮ่อมุสลิมก็ได้ลงมาร่วมรบด้วย แต่อยู่ในชั้นหลัง

ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่า ควรจะแทรกภาพความเป็นอยู่ของเชื้อชาติเผ่าพันธุ์บริเวณมณฑลยูนนาน ได้ดังนี้

พื้นที่สีส้ม คือ กลุ่มชน Tibeto-burman

พื้นที่เขี้ยวขี้ม้า คือ กลุ่มชนฮั่น ซึ่งทำสัญลักษณ์ไว้ ๒ แบบคือ วงกลม = Chinese , สามเหลี่ยม = Chinese Muslim

พื้นที่สีเขียวใบไม้  คือ Mon-Khmer

พื้นที่สีแดงคือ Miao-Yao

พื้นที่สีเหลือง คือ Tai


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 08:52
เมืองเลากายสำคัญอย่างไร

เมืองเลากายเป็นดินแดนทางเหนือของเวียดนาม เป็นดินแดนแห่งหุบเขาและมีแม่น้ำแดงไหลผ่าน เมืองเลากายเป็นเส้นทางเดินเรือสินค้า ขนเกลือจากแม่น้ำแดง, ขนฝิ่นจากยูนนาน, ข้าวสาร ขึ้นล่องระหว่างอ่าวตังเกี๋ยและยูนนาน เมืองนี้จึงเป็นจุดแวะพักสินค้าซึ่งมีการต่อสู้รบในแย่งชิงเมืองนี้มาโดยตลอด ปัจจุบันเป็นพรมแดนการค้าที่สำคัญระหว่างประเทศจีนและเวียดนาม

ดังนั้นกลุ่มของจีนฮ่อที่หนีทัพลงมา ต่างก็ต้องการเข้ายึดเมืองนี้เพื่อเป็นแหล่งควบคุมเส้นทางการเดินเรือ ซึ่งหมายถึงเงินทองและความมั่งคั่งนั้นเอง

ภาพการทำเกลือ
เป็นสินค้าสำคัญมากในดินแดนแถบนี้ ในยูนนานมีบ่อเกลือถึง ๕๐ บ่อ ในภาพเป็นการทำเกลือสินเธาว์ในมณฑลยูนนาน


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 08:57
กำเนิดฮ่อธงดำและฮ่อธงเหลือง

เมื่อเข้ายึดเมืองเลากายได้แล้วปวงนันซีก็เกิดขัดแย้งกับนายทัพสำคัญ “ลิวตายัน” จนเกิดการรบกันเอง เมื่อ ปวงนันซีก็แยกพารี้พลไปตั้งมั่นที่เมืองฮายางในดินแดนสิบสองจุไทย และใช้สัญลักษณ์ ธงเลือง

ส่วนลิวตายันก็ยังคงตั้งอยู่ในเมืองเลากาย โดยใช้สัญลักษณ์ ธงดำ และตั้งมั่นที่เมืองเลากายเหมือนเดิม อยู่มาพวกญวนได้เข้าเกลี้ยกล่อมยอมให้พวกฮ่อปกครองเมืองเลากายและขึ้นตรงต่อญวน

นี่คือกองทหารของฮ่อธงดำ


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 09:04
พวกฮ่อเริ่มปล้นสะดมภ์

ปวงนันซี ได้อพยพและปล้นสะดมภ์บ้านเมืองในดินแดนสิบสองจุไทยและเมืองพวน หากใครขัดขืนก็จะฆ่าเสีย และริบทรัพย์สมบัติลูกหลานบ่าวไพร่เป็นเชลย หากใครมีทรัพย์ก็ยอมให้ไถ่ถอนตัวได้ ที่ไม่มีทรัพย์ก็แปลงเป็นเชลยเอาไว้ใช้งานจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๑๖ (ค.ศ. 1873) กองทัพฮ่อจะบุกเข้าตีเมืองพวน

ท้าวขันตีเจ้าเมืองเชียงขวางอันเป็นเมืองหลวงในดินแดนพวนได้ขอกำลังไปที่ญวนให้ส่งกองทัพมาช่วย แต่ท้ายสุดก็พ่ายแพ้แก่กองทัพฮ่อ จึงถูกยึดเมืองเชียงขวางไว้ได้และปราบปรามแดนพวนไว้ในอำนาจทั้งหมด และจึงลงมาตั้งค่ายใหญ่อยู่ที่ทุ่งเชียงคำ อันเป็นต้นทางที่จะลงมาทางหัวเมืองริมน้ำโขง และจะไปดีเมืองหลวงพระบางต่อไป

จะขอหยิบยกแผนที่ประกอบ เพื่อจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เลยวาดแผนที่ขึ้นมาถึงเมืองและสถานที่ประกอบ จะได้เห็นภาพคร่าวๆ ว่าลักษณะการรุกคืบเข้ามาของกองทัพฮ่อ จากเมืองเลากาย เข้ามาสิบสองจุไทย และมาตั้งฐานทัพที่ทุ่งเชียงคำ ครับ  ;D


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 09:13
ภาพเจ้าขันติ (เจ้าเมืองเชียงขวาง) พร้อมขุนนาง ยืนถ่ายภาพจากหนังสือ Exploring and Surveying of Siam


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 08 ก.พ. 11, 09:38
บนที่ราบสูงเชียงขวาง (จากหนังสือ "บันทึกการสำรวจและบุกเบิกในแดนสยาม" ของนายร้อยเอก พระวิภาคภูวดล)

เชียงขวาง เป็นจุดหมายหลักสำหรับการเดินทางบุกเบิกของเรา ตามข่าวที่ได้ยินนั้นว่าไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย การจัดเตรียมเพื่อป้องกันภัย
อันตรายจึงเรียกได้ว่าลำบากมา เราต้องเตรียมการสำหรับเดินทางถึง 25 พัก โดยไม่มีโอกาสที่จะพบผู้คนเลย นอกจากโจรฮ่อซึ่งแน่นอน
ว่าจะพยายามมารบกวนเราเท่านั้น

...........................

เลยนั้นไปอีกไกลแลเห็นบางสิ่งคล้ายเต๊นท์พอเข้าใกล้อีกหน่อย ก็ออกจะดูเหมือนฝูงปศุสัตว์ อาจเป็นด้วยเราอยากให้เป็นอย่างนั้นก็ได้
แต่พอใช้กล้องส่องทางไกลจึงได้เห็นว่า ที่แท้แล้วเป็นไหหินขนาดยักษ์ บางใบตั้งอยู่ บางใบก็ตะแคง บ้างก็แตกเป็นเศษเล็กเศษน้อย
รอบๆ นั้นมีร่องรอยว่าดินถูกขุด เราขุดดินได้ไหใบหนึ่งพบร่องรอยเผาผ่านกับลูกระพรวนทำด้วยเหล็กขึ้นสนิม ภาชนะเหล่านี้ คงมิได้
ถูกหาบหามมาจากที่อื่น แต่คงสร้างขึ้นที่ตรงนี้เองมาแต่แรก ชาวบ้านเชื่อกันว่าเทวดาสร้างไว้ใส่น้ำกิน

เมื่อเริ่มเดินต่อไป เราผ่านหุบเขาแคบๆ หลายแห่ง ซึ่งเคยเป็นแหล่งปลูกข้าวอันอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสองฟากชันลิ่วขึ้นไปอีก 3,000 ฟุต
ทางด้านใต้มีป่าไม้ปกคลุมแน่นทึบ หุบเขาบางหุบสามารถปรับปรุงเป็นแหล่งปลูกข้าวได้อย่างดี และอาจทำนาได้ถึงปีละ 3 หน การชักน้ำเข้านา
ไม่ต้องออกแรงมากเท่าใดเลย

เราพบกับกลุ่มผู้นำแคว้นเชียงขวาง ทุกคนแต่งกายดี นำข้าวมาให้เป็นของขวัญ เขาพาเราเดินฝ่าทุ่งนาที่ไขน้ำเข้าเต็มเตรียมหว่าน ดูเหมือน
บุกน้ำไปมากว่าเดินถนน

ไหนเล่าคือเมืองใหญ่ ที่มีรายงานว่ามีกำลังป้องกันถึง 4,000 คน พอเลี้ยวรอบเชิงเนินเราก็แลโล่งไปเห็น สูงขึ้นไปอีก 2 ไมล์ ทื่ปลายเนิน
อันเป็นป่าทึบ เห็นยอดแหลมของพระเจดีย์โผล่ขึ้นมายอดหนึ่ง นั่นแหละที่เขาบอกเราว่า คือเมืองเชียงขวาง

เมืองนั้นตกอยู่ในอำนาจของพวกฮ่อ ชาวบ้านต่างพากันรู้สึกว่านายใหม่กลุ่มนี้รีดนาทาเร้นอย่างรุนแรงมาก ที่มั่นของพวกโจรซึ่งอยู่ที่ทุ่งเชียงคำ
ห่างออกไปชั่วเดิน 3 วัน เพิ่งจะถูกไฟไหม้ด้วยอุบัติเหตุ และพวกชาวบ้านก็ถูกกวาดต้อนไปใช้แรงงานซ่อมแซม เชียงขวางอยู่สูงกว่าระดับ
น้ำทะเลปานกลาง 3,770 ฟุต ตั้งอยู่บนยอดเขาชื่อภูเขียว ชาวบ้านที่แก่ที่สุดเล่าว่า สมัยก่อนโน้นมีหมู่บ้านพักสร้างด้วยไม้อยู่หมู่หนึ่งในทุ่งข้าม
ลำนาเหนือไปอีกฟากหนึ่ง มีซากตึกดินมีสภาพเกือบสมบูรณ์อยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อครั้งเจ้าอนุถูกจับและพาตัวกลับไปบางกอก

ธรรมเนียมชาวสยาม เมื่อสร้างวัดหรือเจดีย์ใดๆ จะมีผู้อุทิศเงินและเครื่องเพชรพลอยบรรจุไว้ใต้ฐานพระพุทธรูป หรือในพระอุระ หรือมิฉะนั้น
ก็ฝังไว้ในพื้นวัดตรงแนวสายตาของพระพุทธรูปนั้น เมื่อพวกฮ่อเข้ามารุกราน พวกชาวบ้านก็ถูกบังคับให้ขุดทรัพย์สินขึ้นจากที่เหล่านี้
โดยที่พวกโจรถือดาบคอยคุมอยู่ตลอดเวลา

แม้เจดีย์บนเนินเขาซึ่งนับว่างามที่สุดในถิ่นนี้ก็มิได้รอดพ้น เมื่อมองจากที่ไกลจะเห็นว่ายังสมบูรณ์แต่พอเข้าใกล้ก็เห็นรอยแตกทั้ง 3 ด้าน
ตั้งแต่เกือบยอดคอระฆังมาจนถึงฐาน โชคยังดีที่ยอดแหลมสูงถึง 60 ฟุต นั้นยังอยู่ดีไม่หักลงมา ว่ากันว่าพวกฮ่อได้ทองหนักถึง 700 รูปี
จากเจดีย์นี้ เศษโถที่บรรจุของพุทธบูชายังหล่นประจานกระจายอยู่ทั่วไป เห็นได้ว่ารูปทรงงดงามมาก

ชาวเมืองพวน นับว่ามีวัฒนธรรมสูง แต่ความประณีตเชิงรสนิยมย่อมไม่อาจต่อต้านกับคนป่าเถื่อนได้ ที่จริงชาวพื้นเมืองเดิมเป็นพวกขมุ
และดินแดนแถบนี้เคยมีชื่อว่า เมืองข่าปทุม ดูเหมือนว่าจะเคยถูกพม่าเข้ามารุกรานในสมัยรัชกาลพระเจ้าราช (หนู) ครองกรุงหงสาวดี (พะโค)

ประวัติเชียงขวางไม่มีผู้ใดรู้มากนัก ชนพื้นเมืองเดิมถึงจะไม่มีอำนาจมาก ก็ดูจะขยันขันแข็งพอดู แต่ปัจจุบันประชากรก็เป็นชาวลาวจาก
หลวงพระบางนั่นเอง ใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนอย่างเดียวกัน

ชาวสยามและชาวลาวเป็นชนเผ่าเดียวกัน ใช้ภาษาเดียวกัน ลักษณะรูปร่างหน้าตาก็เป็นแบบเดียวกัน ถ้าเอามายืนรวมกลุ่มกันเข้าแล้ว ก็แยกไม่
ออกเลยว่าไหนเป็นชาวสยามและไหนเป็นชาวลาว



กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 13:42
ขอบคุณครับคุณ Art47 ช่วยบรรยายที่ราบสูงเชียงขวางให้ได้อรรถรส

เมื่อมีการกล่าวถึงดินแดนสิบสองจุไทย จึงได้ขอขยายดินแดนนี้ให้ฟังอย่างคร่าวๆดังนี้

สิบสองจุไทย

เป็นดินแดนที่กลุ่มเชื้อสายไทย อพยพลงมาตั้งหลักแหล่งบริเวณลุ่มน้ำแดง เป็นการรวมของชนเผ่าไทย ๑๒ เมืองเข้าไว้ด้วยกัน เรียก สิบสองผู้ไทย ก็เรียกกัน กลุ่มชนเผ่าไทยที่อาศัยคือ ผู้ไทยดำ และผู้ไทยขาว

ผู้ไทยดำ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ ๘ เมือง คือ เมืองแถง (เดียนเบียนฟู), เมืองตุ่ง, เมืองม่วย, เมืองลา, เมืองโม่, เมืองหวัด, เมืองชาง และเมืองคาย กินข้าวเหนียวเป็นหลักและนุ่งสวมเสื้อด้วยพื้นสีดำ จึงเรียกตามสีเสื้อว่า “ผู้ไทยดำ”

ผู้ไทยขาว ต้นกำเนิดเป็นจีนแซ่ฟอ อพยพมาจากเมืองสินเจา ใกล้เมืองกวางตุ้งและได้อพยพลงมาอยู่กับพวกไทยดำ ที่เมืองไล, เมืองเจียน, เมืองมุน และเมืองบาง รวม ๔ เมือง และนุ่งผ้าพื้นสีขาวเป็นหลัก จึงเรียกตามสีเสื้อว่า “ผู้ไทยขาว”

เมื่อคนไทยได้อพยพมายังดินแดนประเทศไทยมากขึ้น ดินแดนเหล่านี้ก็ขาดความอุ่นหนาฝาคั่ง และได้แยกออกเป็น ๓ ภาคคือ
ภาค ๑ ติดต่อกับจีน เรียกว่า “สิบสองจุไทย”
ภาค ๒ ติดต่อกับญวน เรียกว่า “พวน”
ภาค ๓ ติดต่อกับพม่า เรียกว่า “สิบสองปันนา”


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 13:44
ในสมัยที่อาณาจักรล้านช้างมีอำนาจมาก ก็ได้บ้านเมืองพวกไทยทั้ง ๓ ภาคมาไว้ในอำนาจกรุงศรีสัตนาคนหุต ครั้นพม่ามีอำนาจขึ้น ก็แย่งชิงดินแดนสิบสองปันนาเป็นของพม่า และเมื่อพวกแมนจูได้มีอำนาจขึ้นก็เข้ามาปกครองดินแดนสิบสองปันนาและสิบสองจุไทยให้ขึ้นกับจีน

ต่อมาเมื่อพวกญวนมีอำนาจขึ้น ก็มาเอาดินแดนพวนไปเป็นเมืองขึ้น เพราะเป็นเมืองน้อยๆอันห่างไกลกรุงศรีสัตนาคนหุต พวกท้าวขุนที่ครองเมืองเห็นว่าสู้ไม่ไหวก็ “ทู้” คือ ยอมอยู่ในอำนาจพอให้พ้นภัย ดังนั้นเมืองในดินแดนสิบสองจุไทยและเมืองพวน จึงมันถูกเรียกว่า “เมืองสองฝ่ายฟ้า” เว้นแต่เมืองที่อยู่ชิดเมืองหลวงพระบาง ซึ่งจะถูกตั้งท้าวพระยาไปเป็นตำแหน่งหัวพันปกครอง เดิมมี ๕ เมือง แล้วเพิ่มขึ้นอีกเมืองหนึ่ง จึงเรียกว่า “เมืองหัวพันห้าทั้งหก” ซึ่งขึ้นตรงกับล้านช้างอย่างหนาแน่น

ต่อมากรุงศรีสัตนาคนหุตเกิดแยกเป็น ๒ อาณาเขต  เจ้านครหลวงพระบางเป็นใหญ่ทางเขตฝ่ายเหนือ เจ้านครเวียงจันทน์เป็นใหญ่ในเขตใต้ เมืองสิบสองจุไทยอยู่ใกล้หลวงพระบางก็ขึ้นต่อหลวงพระบาง ส่วนเมืองพวนอยู่ใกล้มาทางเวียงจันทน์ก็ขึ้นต่อเจ้าเวียงจันทน์สืบมา จนเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ฝ่ายองเชียงสือได้ราชสมบัติญวนก็ขยายอำนาจเข้าปกครองเมืองพวนและสิบสองจุไทย และกำเริบต่อเข้ามายังเวียงจันทน์ จนถึงได้สนับสนุนเจ้าอนุในการกบฎในรัชกาลที่ ๓

จนเมื่ออานัมสยามยุทธ ไทยรบกับญวนขึ้น กองทัพพระราชวรินทรได้ตีค่ายญวนที่เชียงขวางแตกและได้แต่งนายทัพไปเกลี้ยกล่อมให้เมืองพวนยอมสวามิภักดิ์ตั้งแต่นี้เป็นต้นมา จนมีเหตุคราวฮ่อนี้เอง
ส่วนดินแดนเมืองหัวพันห้าทั้งหก เจ้าพระยาธรรมา ก็แต่งคนไปเกลี้ยกล่อม จึงได้เข้ามาสวามิภักดิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 14:00
อังกฤษ – ฝรั่งเศส และการยึดครองดินแดน

ผลกำไรจากการค้าในมณฑลยูนนาน เป็นตัวแปรที่ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศส สนในเข้าค้าขายในแถบนี้ ทั้งสองชาติพยายามสร้างผลกำไรจากการค้าใบชา, เกลือ, ฝิ่นและฝ้าย และพยายามที่จะติดต่อการค้าโดยตรงกับยูนนาน
อังกฤษเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางมาบริเวณนี้  และมีความพยายามสร้างให้ยูนนานเป็นศูนย์กลางค้าย่อย ซึ่งดูได้จากการเข้ามาสำรวจก่อสร้างเส้นทางและทางรถไฟเชื่อมพม่า-อินเดีย-ยูนนาน

พ.ศ. ๒๔๐๗ (ค.ศ. 1864) พ่อค้าอังกฤษประมาณ ๕๘ คนร่วมกันยื่นต่อรัฐบาลอังกฤษเพื่อขอทำการค้าในยูนนาน และในปีต่อมามีการขอสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองเชียงรุ่ง-ย่างกุ้ง จนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. 1867) รัฐบาลอังกฤษอนุมัติการสำรวจเส้นทางรถไฟซึ่งจะขึ้นไปยูนนาน

พ.ศ. ๒๔๑๗ (ค.ศ. 1874) อังกฤษได้ขอเสนอขอเข้าไปทำการค้าที่ยูนนานและข้าหลวงจีนได้อนุญาตตามคำขอ ดังนั้นชาวอังกฤษ ๑๕๓ คนเริ่มเข้ามายังยูนนาน และกงสุลอังกฤษได้ให้นาย Margary เป็นล่ามและทูตเข้ามาต้อนรับชาวอังกฤษคณะดังกล่าว การเข้ามาของชาวอังกฤษทำให้ชาวยูนนานหวาดกลัวและระแวงบ้าง ต่อมานาย Margary ถูกฆ่าตายในยูนนานทำให้อังกฤษนำจุดนี้เข้าทำการปรักปรำจีนว่าเป็นการกระทำของข้าราชการมณฑลยูนนาน ถือเป็นเหตุให้บีบคั้นจีนให้เปิดเมืองทำการค้า จนท้ายที่สุดมีการลงนามในสัญญาเปิดเมืองการค้า ๕ เมืองคือ ฉงชิ้ง, อี๋ชัง, อวุนโจว, อูอู๋และ เป๋ยไฮ่

ในทำนองเดียวกัน ฝรั่งเศส ได้เข้ามาขยายอาณานิคมทางเวียดนามและกัพพูชา และต้องการผูกการค้าในยูนนานเช่นเดียวกับอังกฤษ จึงได้มีการเริ่มสำรวจเส้นทางมุ่งสู่ยูนนานเช่นเดียวกันโดยการ์นิเอร์ เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๙ (ค.ศ. 1866) ได้เข้าทำการสำรวจลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งคิดว่าหากควบคุมแม่น้ำโขงได้ก็สามารถยึดเข้ายูนนานได้

พ.ศ. ๒๔๑๐ (ค.ศ. 1867) ฝรั่งเศสเช้ายืดปากแม่น้ำโขงโดยควบคุมเขมรได้สำเร็จ แต่การณ์นั้นพบว่าแม่น้ำโขงไม่สามารถใช้เป็นเส้นทางการค้าได้ และหากเข้าไปยูนนาน ต้องเข้าไปทางแม่น้ำแดง บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ดังนั้นฝรั่งเศสจึงได้พยายามเข้ายึดครองตังเกี๋ย และขยายอำนาจออกไปถึงลาวและดินแดนลุ่มน้ำโขงตอนบนทั้งหมด โดยต้องการที่จะครอบครองเมืองต่างๆสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง และมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและคุณค่าของผลิตผลไว้อย่างละเอียด โดยนักสำรวจที่ขึ้นชื่อ “มิสเตอร์ เอ. ปาวี”


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ก.พ. 11, 14:39
กบฏพันเธย์ “ตู้เหวินซิ่ว”  

พ.ศ. ๒๓๙๖ (ค.ศ. 1853) ยูนนานเกิดกบฏพวกมุสลิม ซึ่งต้องการสร้างอาณาจักรทางใต้สันติสุข – ผิงหนานกั๋ว ( P’ing Nan Kuo ) เกิดจากกรณีชาวจีนได้ฆ่าชาวหุยและชาวจีนมุสลิม ซึ่งเป็นคนมุสลิมในยูนนาน ทำให้เกิดความไม่พอใจ จึงได้มีแกนนำชื่อ ตู้เหวินซิ้ว รวมตัวกันเป็นกบฏเพื่อต่อต้านอำนาจการกดขี่จากอำนาจแมนจู จึงได้เข้ายึดเมืองต้าหลี่ นอกจากนี้ชนกลุ่มน้อยอย่างเผ่าไป๋ อาหนี หยีและไตก็ได้เข้าร่วมก่อการกบฏในครั้งนี้ด้วย แต่ในที่สุดก็ถูกรัฐบาลแมนจูเข้ากวาดล้างได้หมดใน พ.ศ. ๒๔๑๖ (ค.ศ. 1873) อันเป็นปีเดียวกับพวกฮ่อได้เริ่มทำการปล้นสะดมภ์ลงมาในแถบเมืองเลากาย
บรรดาพวกชาวมุสลิมก็ต่างพากันหนีตายลงมายังเมืองมัณฑเลย์ –ลาว-ไทย ตามแต่เส้นทางที่หนีลงมา


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 09:30
การศึกฮ่อ ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๘

เมื่อลิวตายัน (ฮ่อธงดำ) และปวงนันซี (ฮ่อธงเหลือง) ได้เกิดเป็นอริกันแล้ว ปวงนันซี ก็ทำตัวเยี่ยงโจร ไล่ปล้นสดมภ์และปล้นเมืองในดินแดนสิบสองจุไทยและเมืองพวน
ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖ (ค.ศ. 1873) ท้าวขันตีเจ้าเมืองเชียงขวางได้ขอกำลังฝ่ายญวน เข้าร่วมต้านทัพฮ่อที่ตีเมืองพวน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ไป ทำให้ฮ่อได้เมืองเชียงขวาง และได้ตั้งมั้นกองทัพไว้ที่ทุ่งเชียงคำ

ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ (ค.ศ. 1874) อันเป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลที่ ๕ ฮ่อเตรียมทัพจากทุ่งเชียงคำ
-   จะยกมาทางเมืองเวียนจันทน์ มาตีเมืองหนองคาย ทัพ ๑
-   จะมาทางเมืองหัวพันห้าทั้งหก มาตีเมืองหลวงพระบาง ทัพ ๑

ข่าวนี้ได้ทราบจากท้าวขุนเมืองพวนที่หนีภัยสงครามมาอยู่ที่หนองคาย จึงบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ พร้อมกับใบบอกเจ้านครหลวงพระบาง


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 09:36
ในเวลาเดียวกัน พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) กำลังทำการสักเลขที่มณฑลอุบล จึงได้โปรดเกล้าฯให้เกณฑ์กำลังมณฑลอุดร – มณฑลร้อยเอ็ด – มณฑลอุบล รวมขึ้นเป็นกองทัพ ๑

พระยานครราชสีมา (เมฆ) เกณฑ์กำลังนครราชสีมาเป็นกองทัพอีก ๑

พระยาพิไชย (ดิศ) เกณฑ์กำลังมณฑลพิษณุโลกเป็นกองทัพ ๑ เพื่อขึ้นไปป้องกันเมืองหลวงพระบาง
เหตุการณ์ที่กรุงเทพฯ

พระยาภูธราภัย (สมุหนายก) เกณฑ์พลเข้ากองทัพ ๑ ยกทัพขึ้นไปร่วมปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง ออกเดินทางเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ไปตั้งประชุมพลที่เมืองพิไชย

เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เป็นแม่ทัพ ๑ ยกไปทางเมืองหนองคาย ออกเดินทางโดยทางเรือ เมือวันพุธ เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๑๘ (ค.ศ. 1875) เสด็จส่งกองทัพที่ท่าราชวรดิษฐ์ กองทัพขึ้นไปรวมพลที่สระบุรี ตำบลหาดพระยา แล้วจึงยกทัพไปยังนครราชสีมาทางดงพระยาไฟ


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 09:38
เหตุการณ์ที่หนองคาย

พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) ได้นำทัพยกไปถึงเมืองหนองคาย พวกฝ่ายฮ่อก็ได้ยกทัพลงมายังเมืองเวียงจันทน์เช่นกัน ฮ่อตั้งค่ายอยู่ที่วัดจันทน์ ในเมือง ๑ แห่ง, ที่บ้านสีฐาน ๑ แห่ง, ที่บ้านโพนทานาเลา ๑ แห่ง แล้วข้ามฟากมาตีเมืองปากเหือง แตกเมือง ๑ พระยามหาอำมาตย์กับพระยานครราชสีมา (เมฆ) พระพรหมภักดี (กาจ สิงห์เสนี) ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา ได้เข้ารบพุ่งกับพวกฮ่อ ต่อสู้กันอยู่ ๑ วัน ทัพฮ่อก็แตกหนีไปหมดและจับตัวได้เป็นอันมาก
(เมืองปากเหือง คือเมืองอยู่ตรงข้ามเมืองเชียงคาน ปากแม่น้ำเหือง)


เหตุการณ์ทัพจากกรุงเทพฯ

หลังจากมีชัยต่อทัพฮ่อแล้วทางกรุงเทพฯ ก็มีใบบอกให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ที่กำลังอยู่ที่เมืองผไทยสงฆ์
ฝ่ายกองทัพพระยาพิไชย (ดิศ) ซึ่งได้ยกกองทัพไปหลวงพระบางล่วงหน้า เมื่อไปถึงพบว่าทัพฮ่อมาตั้งค่ายที่เมืองเวียงกัด ในแขวงหัวพันห้าทั้งหก และรีบยกพลไปจากเมืองหลวงพระบางไปพบทัพฮ่อและเข้ารบกันในเดือน ๑๒ ปีกุน แต่กำลังของพระยาพิไชย (ดิศ) กำลังไม่พอ จึงได้ตั้งทัพรักษาที่มั่นไว้
เมื่อทัพของเจ้าพระยาภูธราภัยขึ้นไปถึงเมืองพิไชยทราบว่า กำลังมีการรบที่อยู่ จึงได้จัดกองทัพให้พระสุริยภักดี (เวก บุณยรัตพันธุ์) เจ้ากรมพระตำรวจรีบยกทัพหลวงพระบางเพื่อช่วยพระยาพิไชย
 
เจ้าพระยาภูธราภัยจึงได้สั่งให้ทัพของพระสุริยภักดี และทัพของพระยามหาอำมาตย์ ตามตีฮ่อไปจนถึงทุ่งเชียงคำ พวกฮ่อก็พากันอพยบหนีไปจากเมืองพวน เป็นอันเสร็จศึกปราบฮ่อ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ซึ่งกองทัพของเจ้าพระยาภูธราภัย ตั้งมั่นที่เมืองปากลาย จนมีใบบอกให้กลับมา


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 09 ก.พ. 11, 11:08
ผมได้ข้อมูลเกี่ยวกับปืน Gatling เพิ่มเติมมา จะไปขยายความในกระทู้เดิมก็จะไปขัดกับเรื่องเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ที่กำลังดำเนินเรื่องอย่างต่อเนื่อง

ผมจะรอลงในกระทู้นี้นะครับ



กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 11:36
ผมได้ข้อมูลเกี่ยวกับปืน Gatling เพิ่มเติมมา จะไปขยายความในกระทู้เดิมก็จะไปขัดกับเรื่องเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ที่กำลังดำเนินเรื่องอย่างต่อเนื่อง

ผมจะรอลงในกระทู้นี้นะครับ



ขอรับ ลุงไก่ เรื่องปืน Gatling ก็เป็นยุทธโปกรณ์หนึ่งซึ่งทางกองทัพได้จัดซื้อไว้ เป็นปืนที่มีพลานุภาพมากในสมัยนั้น


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ก.พ. 11, 14:42
นำการจัดกระบวนทัพและอาวุธ ยกมาบางส่วนจากนิราศหนองคาย

นิราศหนองคาย

๏ ครั้นวันอาทิตย์ขึ้นหนึ่งค่ำเดือนอ้าย      พระสุริยฉายส่องฟ้าขึ้นฝ่าฝืน
ยกกระบัตรจัดทวนกระบวนปืน      ต่างก็ยืนคอยอยู่ทุกหมู่กอง
ทัพหน้าแล้วก็มาถึงทัพขันธ์      เข้ารวมกันประดังอยู่ทั้งสอง
ปีกขวาปีกซ้ายก็จัดไว้ถัดรอง      ตามทำนองพยุหบาตรเยื้องยาตรา
ล้วนทหารถือปืนยืนสะพรั่ง      ถือโล่ห์ดั้งหลาวแหลนดูแน่นหนา
ปืนปื่นพื้นนกสับอันดับมา                      รวมทั้งห้ากองทัพพร้อมสรรพกัน
ล้วนสวมเสื้อเขียวแดงแสงระยับ      พร้อมเสร็จสรรพพหลพลขันธ์
เหล่าตัวนายขี่ช้างพลายตัวสำคัญ      ล้วนแต่กั้นสัปทนทุกคนไป
ธงสำหรับนายทัพทั้งหลายนั้น      ต่างสีสันแลเป็นทิวปลิวไสว
บ้างสีเขียวแดงเหลืองเรืองประไพ      บางคนใช้ต่างสีมีสำคัญ
แล้วถึงกองทัพใหญ่วิไลเหลือ      ล้วนสวมเสื้อดีดีต่างสีสัน

ยกกระบัตรจัดทัพอันดับกัน      ถึงธงไทยใหญ่สนั่นแดงประทาน
แล้วถึงหม่อมราชวงศ์กระจ่าง      ขี่ม้าสะบัดย่างนำทหาร
ดูท่วงทีเจนจัดหัดชำนาญ                      ล้วนถือขวานฝรั่งทั้งกระบวน
แล้วถึงปืนปะเหรี่ยมล้อเทียมลาก      คนกระชากล้อหันไปผันผวน
อยู่เรียงรายข้างทางห่างพอควร      แต่แล้วล้วนปืนใหญ่ไสวตา
แล้วถึงกองขุนสิทธิ์ติดกระชั้น      มีซายันคองกระบองคล่องหนักหนา
ทหารแถวสองข้างหนทางมา      ล้วนถืออาวุธสิ้นดูภิญโญ
แล้วถึงกอโปราลภมดูคมขำ      ขี่มานำทหารประมาณโหล
คุมปืนแคทะริงกันสนั่นโต้      มีเดโชยิ่งกว่าปืนอื่นทั้งปวง

แล้วก็ถึงธงทหารสะอ้านแท้      ถัดก็แตรขลุ่ยกลองล้วนของหลวง
ยกกระบัตรจัดงามตามกระทรวง      เดินทักท้วงเตรียมตรวจทุกหมวดกอง
แล้วถึงทหารอย่างยุโรปครบทหาร      งามตระการเสื้อสีไม่มีสอง
ทั้งข้างแขนพู่บ่าระย้าทอง      ล้วนแต่ของใหม่ใหม่ได้ประทาน
ทั้งตัวนายขี่ม้าอาชาชาติ                      ดูองอาจสมกายนายทหาร
ประดุจดังยังพยัคฆ์จักทะยาน      ศัตรูพานพ้องพบรบระอา
ช้างน้ำมันกอโปราลเกศขี่คอ      พลายสัดอท่วงทีดีหนักหนา
สวมเสื้อยศอย่างทหารประทานมา      ดูสง่าท่วงทีเห็นดีควร
เหล่าทหารเดินข้างช้างเป็นแถว      แต่ล้วนแล้วถือปืนยืนอยู่ถ้วน
และขุนหมื่นดาบตะพายรายกระบวน      ตามจำนวนริ้วทัพอันดับมา
กระบวนช้างตั้งเชือกเป็นเทือกแถว      ถัดมาแล้วช้างเขนคเชนทร์กล้า
อีกช้างทรงองค์พระปฏิมา      แล้วถึงช้างเจ้าพระยากระโจมแดง
เหล่าผู้คนคั่งคับอันดับมา                      ขุนบำรุงโยธาตัวเข้มแข็ง
คุมขุนหมื่นเหล่าพวกเสื้อหมวกแดง      คอยเดินแซงสองข้างหนทางมา
สี่เท้าช้างเจ้าคุณคือขุนรักษ์      ขุนอินทรภักดีเนื่องอยู่เบื้องขวา
ขุนนราจุมพลคนปัญญา                      กับขุนราชเมธาอยู่ซ้ายมือ
พวกขุนหมื่นทนายเรียงรายเดิน      ล้วนแต่เชิญสมรสเครื่องยศถือ
ใส่เสื้อดำริ้วเข้มดูเต็มลือ                      ล้วนขุนหมื่นมีชื่อทุกตัวนาย
หลวงพิชัยเสนาสง่าเหลือ                      สอดสวมเสื้อแดงสีมณีฉาย
เข็มกลัดคาดสายกระบี่มีตะพาย      ขี่คอพลายประชญมารชาญศักดา
กรกุมขอข้อขึงดูผึ่งผาย                      แล้วยักย้ายท่วงทีดีหนักหนา
ว่าที่แอดดิกงยงศักดา                      เผ็นผู้รักษาแม่ทัพรบไพรี
แล้วถึงช้างคุณบุตรแอดดิกง      สวมเสื้อส่งสดแสงดูแดงสี
ขี่ช้างพลายโพยมกระโจมมี      ดูท่วงทีผุดผาดสะอาดตา

แล้วถึงทหารหัดใหม่สไนเด้อร์      ไม่เซอะเซ่อท่วงทีดีหนักหนา
เดินในทางสองข้างมรคา                      จ้างมาเป็นนายไม่ร้ายรอง
แล้วถึงคุณพลอยกับคุณนิล      ดูเฉิดฉินท่วงทีดีทั้งสอง
ใส่เสื้อดำสักหลาดปักคาดทอง      ดูเรืองรองรจนาโอฬาฬาร
แล้วถึงช้างคุณขาวกับคุณพิน      ล้วนขี่คอทั้งสิ้นดูอาจหาญ
มือจับขอยอเยื้องเปรื่องชำนาญ      ล้วนเป็นหลานแม่ทัพกำกับพล
แล้วถึงกองปลัดทัพดูขับขัน      พร้อมด้วยพันพวกเหล่าชาวพหล
ล้วนแต่ถือเครื่องรบครบทุกคน      เสื้อสวมตนต่างต่างสำอางตา
แล้วถึงกองยกกระบัตรช่างจัดสรร      ทหารอย่างวาลันเตียซ้ายขวา
ล้วนถือเครื่องอาวุธยุทธนา      ทั้งปืนผาครบเครื่องกระบวนพล
หลวงภักดีขี่คอพลายจักรกรด      ถือขอจดตั้งใจไม่ฉงน
ตั้งขอขึงผึ่งผายหมายประจญ      เหล่าพหลเดินทางข้างสัตว์โต
ถึงกองจเรทัพอันดับมา                      ทหารหน้าท่วงทีเห็นดีโข
สวมเสื้อดำเฉิดฉินดูภิญโญ      ล้วนใส่หมวกกะโล่ผ้าขาวคลุม
ตัวขุนสกลสารบาญจเรทัพ      ขี่คอพลายประดับแก้วโกสุม
ดูผายผึ่งขึงข้อมือขอกุม                      ก็ควบคุมเหล่าพหลพลฉกรรจ์

ถึงกองซีเกร็ตตอรี่ที่เสมียน      สำหรับเขียนหนังสือมือขยัน
ใส่เสื้อริ้วทองสวยหมดด้วยกัน      ดูเฉิดฉันแลพิศสนิทเนียน
ขุนวิสูตร์เสนีขุนศรีกระดาลพล      ทั้งสองคนขวาซ้ายนายเสมียน
ตามยกกระบัตรจัดพลไม่วนเวียน      ด้วยว่าเขียนฉลากไว้ปักไม้ราย
แล้วถึงท่านขุนอินทรวิเชียรชาติ      ขุนพรหมราชปัญญาโยธาหลาย
ยังขุนศรภักดีมีอีกนาย                      ขุนสัจจวาทีรายอยู่รวมกัน
ล้วนแต่คุมทหารกองด้านใน      ขุนหมื่นไพร่ยกกระบัตรช่างจัดสรร
เหล่าพหลล้นหลามมาครามครัน      ล้วนถือมั่นอาวุธยุทธนา
กองหลังถัดหลวงจัตุรงค์นั้น      ขี่คอพลายกุมภัณฑ์คเชนทร์กล้า
ดูท่วงทีองอาจประหลาดตา      คุมโยธากองหลังตั้งกระบวน
ขุนนราฤทธิไกรผู้ใจอาจ                      ขี่คอพลายสีประหลาดงามผาดผวน
รูปขำคมสมทหารชำนาญทวน      เห็นสมควรท่วงทีมีศักดา
ขุนพิชัยชาญยุทธ์ก็สุดใจ                      ขี่คอพลายประลัยดูแกล้วกล้า
สมควรเป็นกองหลังตั้งปีกกา      อยู่เบื้องขวาเบื้องซ้ายเรียงรายกัน
ท่านหลวงทรงศักดาก็กล้าหลาย      ขี่ช้างพลายทองแดงเข้มแข็งขัน
คุมทหารด้านนอกหอกทั้งนั้น      ถือปืนสั้นใหญ่น้อยหลายร้อยคน
ซึ่งขุนสัตยากรผ่อนลำเลียง      กองเสบียงคุมกระบวนล้วนพหล
ทั้งโคต่างช้างมีพร้อมรี้พล      สำหรับขนจัดจบครบกระบวน
ดูนายกองนายทัพอันดับมา      พรรณนาจัดสรรไม่ผันผวน
บ้างถือหอกพู่ขาวถือง้าวทวน      ถือง้าวญวนถือตรีกระบี่ยาว  ฯ

ภาพการจัดกระบวนทัพอย่างโบราณ ม้ากั้นสัปทน และกองทหาร และขบวนช้างกั้นสัปทนและกองทหาร


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 ก.พ. 11, 15:06
เห็นกระทู้นิ่งกันไป   ไม่ทราบว่าจบเรื่องสงครามปราบฮ่อหรือยังคะ   

ยังอยากรู้เรื่องจีนฮ่อ   โดยเฉพาะเรื่องขุนส่า  รู้พอเลาๆ ว่าเป็นจีนฮ่อ แต่ยังไม่มีเวลาไปค้นหารายละเอียดว่าเป็นอะไรมาแต่ไหน
ใครจะเล่าให้ฟังในกระทู้นี้  ขอขอบคุณล่วงหน้า


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 15:25
เห็นกระทู้นิ่งกันไป   ไม่ทราบว่าจบเรื่องสงครามปราบฮ่อหรือยังคะ   

ยังอยากรู้เรื่องจีนฮ่อ   โดยเฉพาะเรื่องขุนส่า  รู้พอเลาๆ ว่าเป็นจีนฮ่อ แต่ยังไม่มีเวลาไปค้นหารายละเอียดว่าเป็นอะไรมาแต่ไหน
ใครจะเล่าให้ฟังในกระทู้นี้  ขอขอบคุณล่วงหน้า

ยังครับผม ยังเขียนร่างอยู่ ตอนที่ ๒ และ ๓ เรียบร้อยแล้ว กำลังแต่งภาพ ครับผม 

สำหรับขุนส่า เป็นนักค้ายาเสพติดระดับโลกเลยนิครับ


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 15:35
ในนิราศหนองคาย มีอาวุธของไทยและอาวุธต่างประเทศ เข้ามาใช้ในราชการ อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งยกตัวอย่าง

สันนิษฐานว่า เริ่มมีใช้ในกองทัพบกไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยพระราเมศวร (พ.ศ. 1931 - พ.ศ. 1938) คราวยกทัพไปล้อมนครเชียงใหม่ ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า “ฝ่ายเจ้าหน้าที่ยิงปืนใหญ่ออกมา กำแพงพังกว้าง 5 วา” คำอธิบายของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่า “สมเด็จพระราเมศวรตีเมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ ปรากฏว่า ใช้ปืนใหญ่ยิงกำแพงเมืองเชียงใหม่ ข้าพเจ้าสอบหนังสือเอนไซโคลบิเดีย บริตนิคะ ได้ความว่า “ปืนใหญ่พึ่งมีใช้ในยุโรป เมื่อ ค.ศ.1375 ตรงกับปีเถาะ จ.ศ.737 (พ.ศ.1918) ก่อนตีเมืองเชียงใหม่คราวนี้ 9 ปี” เรื่องนี้พอที่จะอวดเกียรติภูมิของไทยว่า เรามีฝีมือสร้างปืนใหญ่ได้รุ่นราวคราวเดียวกับฝรั่งแสดงให้เห็นประจักร ซึ่งวัฒนธรรมทางอาวุธของไทยเราอย่างยอดเยี่ยม ปืนใหญ่ของกองทัพบกไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเรียกตามชนิดและขนาดของมัน เช่น ปืนบะเหรี่ยม ปืนจ่ารงค์ ปืนมนทก ปืนนกกลับ ปืนจินดา ปืนหามแล่น และปืนตระแบงแก้ว ปืนเหล่านี้เป็นปืนใหญ่วิถีกระสุนตรงคล้ายปืนใหญ่ทหารราบสมัยใหม่ กระสุนทำด้วยโลหะบ้างและไม้บ้าง เป็นลูกกลมขนาดต่าง ๆ เวลายิงยัดดินดำเข้าไปทางปากกระบอกก่อน แล้วยัดหมอนและบรรจุกระสุนตามเข้าไป ใช้ไม้กระทุ้งให้แน่นสนิท เมื่อเล็งวิถีกระสุนแล้วก็จุดชนวน ยิงไปยังจุดหมาย แม้ว่าอำนาจปืนในสมัยนี้ไม่สู้จะร้ายแรงนัก แต่ถึงกระนั้นก็ยังสำแดงพิษสงน่าสะพึงกลัว การรบชั้นประจันบาน ปืนใหญ่คงใช้ยิงไม่ได้เพราะไม่อาจบรรจุกระสุนดินดำได้ทันท่วงที การยิงแต่ละนัดต้องเลือกยิงให้เหมาะและเล็งว่าจะต้องถูกจุดหมายจริง ๆ ปืนใหญ่ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมีรูปร่างและลักษณะดังนี้ คือ

ปืนบะเหรียม หรือบะเรียม เป็นปืนใหญ่ทหารราบ ท้ายปืนมีรูปมน ปากกระบอก เรียวและแคบ
ปืนจ่ารงค์ เป็นปืนใหญ่ทหารราบ ใช้ลาก
ปืนมนทก เป็นปืนใหญ่ทหารราบ ใช้ลาก
ปืนนกลับ เป็นปืนใหญ่ทหารราบ มีขาหยั่ง 2 ขา คล้ายขานกกระยาง บางแห่งจึงเรียกว่า ปืนขานกกระยาง
ปืนจินดา เป็นปืนทหารราบ ปัจจุบันนี้ใช้เป็นปืนยิงในพิธีตรุษ

ที่มา http://www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_od_gun_thai.htm
 
ภาพปืนขานกกระยาง


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 15:41
ปืนแก้ทลิ่ง มีแบบขาหยั่ง และแบบใส่ล้อเกวียน ได้เข้าร่วมการปราบฮ่อในครั้ง พ.ศ. ๒๔๑๘ ด้วย เป็นปืนอัตโนมัต หมุนด้วยมือ เพื่อยิงกระสุน


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 15:50
ลักษณะการแต่งกายของทหาร ยศจ่านายสิบ - นายสิบ - พลทหารแต่งครึ่งยศ ถือปืนชไนเดอร์ ยุค พ.ศ. ๒๔๑๕


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 15:57
อาวุธโบราณก็นำเข้าร่วมด้วย เช่น หอก ง้าว และ ตรี

ภาพตรี


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 18:50
ปืนกล "Gatling" ครับ เป็นผลงานประดิษฐ์โดยนาย Richard Jordan Gatling ครับ เป็นต้นแบบให้ปืนกลหลายลำกล้องยุคนี้ด้วย ส่วนกระสุนยังใช้การอัดหัวกระสุนพร้อมดินปืนและแก็ปลงไปในปลอกแล้วเอาหมอนอุดไว้ จากนั้นก็นำกระสุนมาบรรจุลงแมกกาซีนอีกที เวลาจะยิงก็นำแมกกาซีนมาใส่ตรงช่องใส่ทางด้านบนของปืน ตอนยิงก็ต้องใช้มือหมุนข้อเหวี่ยง (อยู่ทางด้านซ้ายของรูป) ปืนถึงจะเริ่มยิงครับ (ดูวิธีการทำงานจาก http://science.howstuffworks.com/machine-gun.htm/printable)


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 10 ก.พ. 11, 19:57
เอาปืนหามแล่นมาช่วยงานครับ


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ก.พ. 11, 20:08
^
^
 ปืนหามแล่นนี้ เวลาใช้งานจริง คงโดนถีบเจ็บไม่น้อย  ;D


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 11, 08:40
ศึกฮ่อ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. 1883)

เมื่อพวกฮ่อธงเหลืองแตกหนีทัพแล้วไปจากเมืองพวนและเมืองหัวพันทั้งห้าหก กลับไปตั้งรวมกันที่เมืองซันเทียน ซึ่งได้เคยอาศัยมาแต่ก่อน แล้วเที่ยวปล้นสดมภ์เมืองน้อยตามชายแดนจีน แดนญวน จีนกับญวนจึงนัดกันให้กองทัพออกไปปราบฮ่อธงเหลือง คราวนี้พากันระดมตีเมืองซันเทียนและฆ่าปวงนันซี ผู้เป็นหัวหน้าฮ่อธงเหลืองตายในที่รบ

พวกฮ่อที่หลบหนีได้ไม่มีคนสำคัญเป็นหัวหน้า ก็แยกกันออกไปหลายพวกหลายเหล่า ต่างพวกต่างใช้ธงสีอันหนึ่งเป็นเครื่องหมายของตน จึงเกิดพวกฮ่อธงแดงและสือื่นๆอีกต่อไป เมื่อฮ่อแยกออกเป็นหลายพวกเช่นนี้ ต่างพวกย่อมมีกำลังอ่อนและแข็งต่างกัน เป็นเหตุให้ประพฤติหาเลี้ยงชีพโดยวิธีต่างกัน
๑.   บางพวกที่มีกำลังมาก ก็ใช้กำลังเที่ยวเบียดเบียนผู้อื่นเอาไว้ในอำนาจอย่างที่เคยกระทำ
๒.   พวกที่กำลังน้อยก็เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างเป็นกำลังรบพุ่งให้ผู้อื่น
๓.   บางพวกก็อ่อนน้อมเข้ากับเจ้าเมือง ขอตั้งภูมิลำเนาประกอบการหาเลี้ยงชีพอย่างชาวเมือง
การที่ฮ่อกระจัดกระจายเป็นดังนี้ทำให้ท้าวขุนเจ้าเมืองใหญ่น้อยในแดนสิบสองจุไทยและแดนพวน ต่างก็พากันจ้างฮ่อเข้าเกลี้ยกล่อมเลี้ยงไว้ หากมีอริวิวาทต่อกันก็ให้พวกฮ่อไปปล้นสะดมภ์พวกที่เป็นศัตรู ประกอบกับพวกญวนก็ไม่มารบพุ่งในดินแดนแถบนี้แล้ว


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 11, 08:48
ฝ่ายหลวงพระบางหลัง พ.ศ. ๒๔๑๘

เมืองหลวงพระบางหลังจากเสร็จศึกฮ่อแล้ว บัดนี้ผ่านมาเป็นเวลา ๙ ปี ก็มิได้จัดการปกครองเมืองพวนและเมืองหัวพันห้าทั้งหกให้มั่นคงขึ้น เคยเป็นอยู่แต่ก่อนอย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้น จึงมีฮ่อธงเหลืองพวก ๑ ตัวนายชื่อ อาจึง และ ไกวซึง ๑ คุมกำลังมาตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งเชียงคำในแขวงเมืองพวนประมาณ ๘ ปี

ครั้นถึงพ.ศ. ๒๔๒๖ (ค.ศ. 1883) ฮ่อพวกนี้ยกกองทัพไปตีเมืองเมืองในแดนหัวพันห้าทั้งหก ซึ่งขึ้นอยู่กับหลวงพระบาง เจ้านครหลวงพระบางบอกลงมายังกรุงเทพฯ จึงโปรดฯให้เกณฑ์กำลังมณฑลพิษณุโลกเข้ากองทัพ ให้พระยาพิไชย (มิ่ง) กับพระยาศุโขไทย (ครุธ) คุมขึ้นไปช่วยเมืองหลวงพระบางก่อน


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 11, 08:50
แล้วให้พระยาราชวรานุกูล (เวก บุณยรัตพันธ์) ซึ่งเคยคุมกองพัพไปปราบฮ่อเมื่อยังเป็นพระสุริยภักดี ตามขึ้นไปเป็นแม่ทัพใหญ่ปราบฮ่อที่ยกไปทางเมืองหลวงพระบาง

แล้วโปรดฯ ให้เกณฑ์ทัพใหญ่เตรียมไว้อีกทัพ ๑ เผื่อมีกองทัพฮ่อยกลงมาหัวเมืองริมน้ำโขงเหมือนอย่างคราวก่อน จึงโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระบำราบปรปักษ์ ซึ่งได้ทรงบัญชาการมหาดไทยต่อเจ้าพระยาภูธราภัยเสด็จไปเป็นจอมพล
โปรดฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ซึ่งทรงบังคับการกรมทหารมหาเล็กและกรมแผนที่ โดยเสด็จไปอำนวยการทำแผนที่พระราชอาณาเขตข้างฝ่ายเหนือด้วย
ต่อมาได้ข่าวแน่นอนว่าฮ่อมีกำลังไม่มากนัก และยกไปแต่ทางเมืองหลวงพระบางทางเดียว จึงโปรดฯให้เลิกกองทัพใหญ่ที่ได้ตระเตรียมเสีย เป็นแต่ให้พระวิภาคภูวดล (แมกคาธี) คุมพนักงานขึ้นไปทำแผนที่ตามที่ได้ทรงพระราชดำริห์ไว้


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 11, 08:51
ภาพพระยาราชวรานุกูล (เวก บุณยรัตพันธ์)


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 11, 08:54
ฮ่อรู้ตัว

เมื่อกองทัพไทยยกขึ้นไปถึงหลวงพระบาง พวกฮ่อทราบความก็พากันถอยหนีจากเมืองหัวพันห้าทั้งหก กลับไปตั้งค่ายใหญ่ที่ทุ่งเชียงคำ
พระยาราชวรานุกูล, พระยาพิไชย, และพระยาศุโขทัย ยกกองกำลังติดตามไปถึงทุ่งเชียงคำ เข้าล้อมค่ายไว้ แต่ฮ่อคราวนี้ตั้งมาช้านานจยปลูกกอไผ่บัง แทนระเนียดล้อมรอบ ปืนใหญ่ที่ไทยเตรียมมีกำลังไม่พอจะยิงล้างกอไผ่ได้ กองทัพไทยยกเข้าตีค่ายหลายครั้งก็เข้าไม่ได้ ด้วยพวกฮ่ออาศัยกอไผ่กำบังยิงปืนกราดอกมา

ครั้งหนึ่งพระยาราชวรานุกูลยกเข้าตีค่ายเอง ได้ถูกปืนข้าศึกที่ขาเจ็บป่วยแต่ยังบัญชาการศึกได้ จึงสั่งให้ล้อมค่ายฮ่อไว้ ในระหว่างที่รักษาบาดแผล ฝ่ายฮ่อถูกล้อมในค่ายก็ขัดสนเสบียงอาหาร เห็นว่าจะรบไม่ไหว นายทัพฮ่อจึงออกมาว่ากับพระยาราชวรานุกูลว่าจะยอมทู้ จะขอกระทำสัตย์เป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงเทพต่อไป ขออย่าให้ไทยทำอันตราย

ฝ่ายพระยาราชวรานุกูลกล่าวว่าให้ฮ่อส่งเครื่องสาตราวุธบรรดามีมาให้เสียก่อน แล้วให้ตัวออกมาหาจะไม่ทำอันตราย แต่พวกฮ่อไม่ไว้ใจ เกรงว่าไทยจะฆ่าฟันเสีย จีงไม่ออกมา

กองทัพล้อมค่ายฮ่ออยู่ ๒ เดือน ผู้คนเกิดป่วยเจ็บด้วยขัดสนเสบียงอาหารส่งไม่ทัน พระยาราชวรานุกูลต้องเลิกทัพกลับมาเมืองหนองคาย เป็นการสิ้นเรื่องปราบฮ่อครั้งที่ ๒

ภาพลายเส้นภาพวาดกองทัพฮ่อในค่าย


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 11, 09:15
สำหรับเมืองซันเทียน มีเพื่อนผม คุณอุ้ย (พันทิป) หลังไมค์มาบอกว่ามีประวัติของสองพี่น้องธงเหลืองและธงดำได้ดังนี้

"ผมลองไปค้นประวัติของ หวู่หลิงหยุน และหวู่หยาจง หัวหน้าแก๊งค์ฮ่อธงดำรุ่นแรกๆดูครับ ปรากฎว่าเจอว่า

ระหว่างปี 1865-68 นั้น พอหวู่หลิวหยุนถูกทางการชิงฆ่าตาย หวู่หยาจง น้องร่วมสาบานก็พาพรรคพวกหนีตายไปตั้งฐานทัพบนเขา ซานไท่ ครับ และกลุ่มฮ่อก็อาศัยบนเขานั้นอยู่หลายปีจนล่าถอยเข้าไปในแคว้นสิบสองจุไทและเมืองลาวกายในภายหลัง

เป็นไปได้ไหมครับว่า เขาซานไท่ จะคือเมืองซันเทียน

แต่ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า เขาซานไท่นี้อยู่ตรงไหนหน่ะครับ

ชื่อภาษาจีนของเขาลูกนี้คือ 三台山 ครับ"

นี่ครับแผนที่เขาซานไท่ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเชียงรุ่ง ตามเวปนี้ครับ http://www.panoramio.com/photo/21608437


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 11 ก.พ. 11, 14:52
ที่มาของชื่อ "ห้อ" หรือ "ฮ่อ" นั้นยังคลุมเครืออยู่มาก

สมมติฐานที่ว่ามาจากคำเรียกชนเผ่าที่อยู่ริมแม่น้ำแสนั้น ยังน่าสงสัยว่าชนกลุ่มนี้กลายเป็นตัวแทนของจีนยูนนานในสายตาของชาติที่อยู่ใต้ลงมาได้อย่างไร

สมมติฐานที่ว่ามาจากจีนยูนนานที่ชอบพูด ฮ่อๆๆๆ นั้นยิ่งน่าสงสัยเข้าไปอีก ผมไม่ทราบว่าสำเนียงจีนยูนนานเป็นอย่างไร แต่หากใกล้เคียงกับจีนกลางจริง ก็ไม่น่าจะพูด ฮ่อๆๆๆ ซึ่งเป็นสำเนียงอย่างจีนแต้จิ๋วครับ

ยังมีบางกระแสที่ว่า ห้อ อาจจะมาจากชื่อชนเป่า หุย ซึ่งเป็นมุสลิมอีก

แต่กระทู้นี้ที่พันทิพ มีข้อสังเกตของคุณหลี่เสียนหลอ ซึ่งเข้าเค้าอยู่มากครับ หาก ห้อ มากจาก หอ และ หอ มาจาก หัว เพราะสามารถตอบข้อข้องใจได้ทั้งหมดว่าคำนี้เป็นคำที่คนทางล้านนาและพื้นที่แวดล้อมเรียกคนจีนว่า ห้อ ทั้งหมด

ที่มาของฮ่อนั้นชัดเจนว่าเป็นกองกำลังที่แตกมาจากการล่มสลายของกบฏไท่ผิง ทางสยามดูเหมือนจะไม่รู้ที่มาที่ไปของพวกนี้ชัดเจนนัก น่าสงสัยว่ากองกำลังของพวกฮ่อธงเหลืองธงดำที่เข้ามาก่อกวนนั้นเป็นทัพใหญ่หรือเป็นเพียงบางส่วน(ส่วนน้อย)ของพวกธงดำธงเหลือง ข้อมูลทางจีนอาจจะไขข้อข้องใจนี้ได้ รอมีเวลาสักหน่อยผมจะลองค้นดูครับ

แต่เท่าที่เห็นคร่าวๆ ทางจีนเรียกพวกนี้ว่า เฮยฉีจวิน หวางฉีจวิน (ทัพธงดำ ทัพธงเหลือง) ซึ่งไม่ให้คำตอบอะไรกับเรื่องคำว่า ฮ่อ อยู่ดีครับ


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.พ. 11, 15:20
ใช่ครับ เข้าเค้ามาก จึงนำมาให้อ่านกันครับ

"ในปัจจุบัน ชาวไตลือ/傣族 (คนลื้อเรียกตัวเองว่า ลือ มิใช่ลื้อ)

เรียกชาว ฮั่น/汉族 ว่า ฮ๋อ(หอ)ไม่ได้ออกเสียงว่า ห้อ ครับ

ผมยังรู้สึกว่า น่าจะมาจากคำว่า ฮั๋ว(หัว)/华 ซึ่งเป็นคำดั่งเดิมที่คน ไต เรียกชาวจีน...หลี่ เสียนหลอ (พันทิป)"



จากหนังสือของพระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาธี) บรรยายไว้เรื่องฮ่อ


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 12 ก.พ. 11, 11:36
คนจีนแต้จิ๋วจะเรียกคนจีนด้วยกันว่า ตึ่งนั้ง จีนกลางว่า ถังเหริน 唐人 คือชาวถัง

"ถัง" ตัวนี้ตัวเดียวกับราชวงศ์ถังครับ นัยว่าเป็นชาวราชวงศ์ถัง ซึ่งคงใช้กันมานานแล้ว และน่าสังเกตว่าเหตุที่ใช้อยู่ได้อย่างนี้น่าจะเป็นเพราะคนแต้จิ๋วนั้นอยู่ไกลจากศูนย์กลางอำนาจ (ซึ่งเปลี่ยนราชวงศ์ไปอีกหลายรอบแล้ว)

ยังมีอีกคำหนึ่งที่คนแต้จิ๋วใช้เรียกคนจีน คำนี้เป็นคำอย่างที่เรียกว่า "ภาษาหนังสือ" นัยว่าเป็นคำที่ใช้ตามจีนในศูนย์กลางอำนาจว่า หั่วยิ้ง จีนกลางจะว่า ฮว๋าเหริน 华人 ซึ่งอาจแปลได้ว่า "ผู้เจริญ" ครับ

สำหรับคนไทย จะคุ้นกับคำว่า หัวเฉียว (เป็นการเขียนอย่างการออกเสียงในสำเนียงจีนกลาง แต่ความจริงจะออกเสียงว่า ฮว๋าเฉียว ถ้าเป็นแต้จิ๋วจะว่า หั่วเคี้ยว) 华侨 คำว่า เฉียว นี้แปลว่าผู้ย้ายถิ่นฐาน รวมความแล้วหัวเฉียวก็คือคนจีนที่อพยพไปอยู่ในประเทศอื่น หรือที่เราเรียกกันว่าจีนโพ้นทะเลครับ


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 13 ก.พ. 11, 01:19
สนใจเรื่องนี้มากค่ะ มาลงชื่อเข้าเรียนเป็นกิจลักษณะ
สมัครเป็นศิษย์ท่าน Siamese ด้วยคนนะคะ



กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:16
ศึกฮ่อ ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. 1885)

เป็นศึกฮ่อที่เกี่ยวเนื่องกับศึกฮ่อเมื่อพระยาราชวรานุกูลถูกอาวุธข้าศึก และกองทัพได้ล้อมค่ายฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ และในขณะนั้นได้รับใบบอกเมืองหลวงพระบางว่า มีทัพฮ่อยกมาย่ำยีเมืองหัวพันห้าทั้งหก
ที่ในกรุงเทพฯ ไม่ทราบว่าจะเป็นฮ่อพวกเดียวกับที่ทุ่งเชียงคำหรือพวกต่างกัน ทรงพระราชดำริว่า กองทัพพระยาราชวรานุกูลคงทำการไม่สำเร็จ ด้วยเป็นแต่เกณฑ์พลเรือนไปรบตามแบบโบราณ ในเวลานั้นกรมทหารที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่มีหลายกรม จัดการฝึกทหารแบบยุโรป ควรใช้ไปปราบฮ่อให้คุ้นเคยกรศึกบ้าง
จัดทัพ
๑.   ทัพตะวันออก โปรดฯให้ นายพันเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ผู้บังคับการกรมทหารรักษาพระราชวัง เป็นแม่ทัพ ยกไปแขวงเมืองพวน
๒.   ทัพตะวันตก โปรดฯ ให้ นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสงชูโต) ผู้บังคับการกรมทหารหน้า (ราบที่ ๔) เป็นแม่ทัพ ยกไปแขวงเมืองหัวพันห้าทั้งหก
๓.   ให้ยกกองทัพขึ้นไปปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. 1885) พร้อมกันทั้ง ๒ ทัพ

ทัพตะวันออกไปแขวงเมืองพวน
ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ วันจันทร์ เดือน ๑๑ แรม ๓ ค่ำปีระกา ไปตั้งรวมพลที่เมืองพิษณุโลก (ขณะนั้นได้ข่าวว่า กองทัพพระยาราชวรานุกูลยกทัพมาตั้งมั่นที่หนองคายแล้ว)
ทัพของนายพันเอก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม จัดกระบวนทัพได้ดังนี้
๑.   ทัพหน้า : พระอมรวิไสยสรเดช (โต บุนนาค) (ต่อมาเป็นเจ้าพระยาสุรวงศวัฒนศักดิ), เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต, ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล ณ กรุงเทพ
๒.   ทัพหลวง : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม
๓.   ทัพหลัง : พระราชวรินทร (ต่อมาเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์)
ยกกองทัพออกจากเมืองพิษณุโลก วันเสาร์ เดือนอ้าย แรม ๕ ค่ำ ไปทางเมืองหล่มสัก เมืองเลย เมืองแก่นท้าว ๒๑ วันถึงหนองคาย เมื่อเดือนยี่ ขึ้น ๑๒ ค่ำ


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:22
การรบที่ทุ่งเชียงคำ

เมื่อถึงหนองคายแล้ว ทรงจัดให้กองทัพพระอมรวิไสยสรเดช (โต บุนนาค) ซึ่งเป็นทัพหน้า ยกไปตีค่ายฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ และตามด้วยทัพหนุน โดยพระราชวรินทร ซึ่งการเดินทางจากหนองคาย – ทุ่งเชียงคำ ใช้เวลาเดินทาง ๓๕ วัน ครั้งนั้นกำลังพาหนะและเสบียงอาหารในมณฑลอุดรร่อยหรอฝืดเคือง ต้องรวบรวมเป็นการลำบาก จึงทำให้การเดินทางล่าช้า

เมื่อเดินทางไปทุ่งเชียงคำ พวกฮ่อรู้ตัวก่อนแล้วจึงเผาค่ายทิ้ง กองทัพไทยไปถึงแล้วจะตั้งค่ายที่ทุ่งเชียงคำก็ไม่มีเสบียงอาหาร จึงได้กลับไปตั้งอยู่เมืองเชียงขวาง และให้สืบเสาะว่าพวกฮ่อไปตั้งค่ายอยู่แถวไหน และได้ความว่าฮ่อหนีไปจากทุ่งเชียงคำ ไปอาศัยพวกแม้ว พวกเย้า ที่ปลายแดนญวน ซึ่งระยะเดินทาง ๖ วัน (ซึ่งเป็นเหตุกาณณ์ที่มีฝรั่งเศสมีข้อพิพาทรบกับจีนที่อ่าวตังเกี๋ย พวกฮ่อเข้าไปรับจ้างจีนรบกับฝรั่งเศส)

นายทัพทั้ง ๒ ปรึกษากันว่าหากจะไล่ตามคงไม่ทัน จึงได้จัดการตั้งบ้านเมืองเกลี้ยกล่อมพวกพลเมืองที่แตกฉานไปอยู่ตามป่าเขา ให้กลับคืนภูมิลำเนา และได้พาหัวหน้าพวกข่า เข้ามาสวามิภักดิ์อีกด้วย แล้วจึงยกทัพกลับหนองคาย
สรุปว่ากองทัพตะวันออกโดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม มิได้มีโอกาศพุ่งรับกับพวกฮ่อ จึงโปรดเกล้าฯให้กองทัพกลับมากรุงเทพฯ และเสด็จมาถึงเมื่อเดือน ๖ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๓๐  

วันอาทิตย์  แรม  ๙  ค่ำ เดือน  ๑๑  ปีระกา  จ.ศ.๑๒๔๗   ตรงกับ   วันที่  ๑  พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๒๘     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานธงชัยอันวิเศษสำคัญให้แก่กองทัพ 


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:24
ทัพตะวันตกไปหัวเมืองหัวพันห้าทั้งหก

ทัพตะวันตก โปรดฯ ให้ นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสงชูโต) ผู้บังคับการกรมทหารหน้า (ราบที่ ๔) เป็นแม่ทัพ ยกไปแขวงเมืองหัวพันห้าทั้งหก

ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ วันอังคาร เดือน ๑๑ แรม ๑๑ ค่ำปีระกา ไปตั้งรวมพลที่เมืองพิไชย และโปรดให้พระยาศรีสิงหเทพ (อ่วม) ขึ้นไปเป็นพนักงานจัดพาหนะส่งกองทัพ จึงปรึกษาการจัดการเดินทัพขึ้นไปเมืองหลวงพระบางเป็น ๓ ทาง
๑.   ทางที่ ๑ ทัพใหญ่ : เมืองพิไชย – เมืองฝาง ๓ วัน – เมืองท่าแฝกเขตน่าน ๔ วัน – เมืองน่าน ๖ วัน – ตำบลนาดินดำ ๖ วัน – บ้านนาแล ๖ วัน ถึงหลวงพระบาง
๒.   ทางที่ ๒ เมื่อทัพใหญ่ถึงน่าน แต่งให้พระพลสงคราม เมืองสวรรคโลก กับ นายทหารกองทหารปืนใหญ่ คุมปืนใหญ่และกระสุนดินดำ แยกไปท่านุ่น ริมแม่น้ำโขง จัดลงบรรทุกเรือไปยังหลวงพระบาง
๓.   ทางที่ ๓ เครื่องใช้สำหรับกองทัพ : ให้พระศรีพิไชยสงคราม (ปลัดซ้ายกรมการเมืองพิไชย) กับนายทหารกรุงเทพ ให้คุมไปทางเมืองน้ำปาด – ตำบลปากลาย – ลงเรือข้ามแม่โขง ส่งไปเมืองหลวงพระบาง
พาหนะและเสบียงอยุ่ที่เมืองพิไชยได้ ๒๐ วัน ยังไม่พร้อม ช้างที่จะใช้ในกองทัพ ๑๐๘ ช้าง โคต่าง ๓๑๐ โค ม้า ๑๑ ตัวเท่านั้น  จึงต้องรอคอยให้พาหนะพร้อมแล้วจึงยกกองทัพออกจากเมืองพิไชย วันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘

ครั้นถึงวันพุธ เดือนยี่ แรม ๑ ค่ำปีระกา ถึงตำบลสบสมุนใกล้เมืองน่านประมาณ ๑๐๐ เส้น แม่ทัพจึงสั่งให้ตั้งพักจัดกองทัพที่จะเดินเข้าเมืองน่าน เจ้าเมืองน่าน(เจ้าอนันตรฤทธิเดช) แต่งให้พระยาวังซ้าย และเจ้านายบุตรหลานแสนท้าวพระยา คุมช้างพลายสูง ๕ ศอกผูกจำลองเขียนทองออกมารับ ๓ ช้างกับดอกไม้ธูปเทียนพานหนึ่ง แต่แม่ทัพบอกว่าจะขอพักที่แห่งนี้คืนหนึ่ง วันรุ่งจึงขอเข้าเมืองเนื่องจากทัพเหนื่อยล้ามาก

รุ่งขึ้นเจ้านครน่านจึงได้จัดกระบวนช้าง ๓ ช้างออกมารับในเวลา ๓ โมงเศษ แม่ทัพและนายกองพร้อมกระบวนทัพแห่กันเข้าเมืองน่าน และจัดที่พักให้ตรงประตูกำแพงเวียงด้านตะวันออก บ่าย ๓ โมงเจ้านครน่านและบุตรหลานจัดพระศิลานิล องค์หนึ่ง ข้าวสารเป็นข้าวเจ้า ๔ ขัน หมากพลู ๒ ขัน แม่ทัพจึงได้จัดของแปลกปลาดแก่เมืองน่านหลายสิ่ง ซึ่งจัดขึ้นไปแต่กรุงเทพให้ต่างตอบแทนเป็นการสมควร สรุปแล้วกองทัพเดิน ๑๗ วัน หยุดพักเมืองฝางและท่าแฝก ๔ วัน
อนึ่งพระยาสิงหเทพ (ข้าหลวง) อัญเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาสุราภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๑ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเจ้าเมืองน่านอีกด้วย กำหนดวันพระราชทาน วันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๕ ค่ำ เวลาเช้า ๕ โมงเศษ
ทั้งนี้เจ้าเมืองน่านได้จัดส่งช้าง เพื่อเข้ากระบวนทัพอีก ๑๐๐ ช้างอีกด้วย แม่ทัพจึงได้เปลี่ยนช้างหัวเมืองชั้นในที่ได้บรรทุกกระสุนดินดำเสบียงอาหารมาในกองทัพ ๕๘ ช้าง มอบให้พระพิไชยชุมพล มหาดไทยเมืองพิไชยคุมกลับไปยังเมืองพิไชย เพื่อจะได้บรรทุกเสบียงข้าวจากเมืองพิไชย ขึ้นมาส่งยังฉางเมืองท่าแฝก ซึ่งพระยาสวรรคโลกได้มาตั้งฉางพักเสบียงไว้
สำหรับที่น่านจะมารับลำเลียงส่งต่อไปถึงปากเงย และเมืองหลวงพระบาง


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:26
ภาพกราฟฟิค การยกทัพตะวันออก - ทัพตะวันตก


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:28
ออกจากน่าน – ไชยบุรี – น้ำฮุง – ท่าเดื่อ

ครั้นวันจันทร์ เดือนยี่ แรม ๑๓ ค่ำ ปีระกา เวลาเช้า ๒ โมงเศษ แม่ทัพนำทัพออกจากเมืองน่าน เดินทางข้ามห้วยและเทือกเขา ๑๐ วัน ถึงเมืองไชยบุรี เจ้าราชภาคิไนยเมืองหลวงพระบางออกมาคอยรับกองทัพและจ่ายเสบียงที่จะเดินทางต่อไป และเดินทางไปเมืองน้ำฮุง และถึงท่าเดื่อ บ่าย ๓ โมงพักริมน้ำโขงคืนหนึ่ง

ท่าเดื่อ – น่าน(น้อย) – ลัดเลาะริมน้ำโขง – ท่าเลื่อน – ลงเรือบรรทุกของแม่น้ำโขง ไปเมืองหลวงพระบาง
ครั้นออกจากท่าเลื่อนแล้ว กองทัพเดินเท้า ผ่านที่นา พบเจ้าราชวงศ์ (ภายหลังเป็นเจ้าสักรินทรฯ เจ้านครหลวงพระบาง) กับเจ้าราชสัมพันธวงศ คุมปี่พาทย์ฆ้องกลอง กับดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะมาคอยอยู่ แจ้งว่าเจ้านครหลวงพระบางแต่งให้มารับกองทัพเข้าไปยังหลวงพระบาง แล้วนำกองทัพไปพำนักที่บ้านเชียงแมนริมน้ำโขงฝั่งตะวันตก

ภาพกองทัพยกจากเมืองน่านไปเมืองหลวงพระบาง


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:30
กำลังจัดการจะเดินกองทัพยกจากเมืองพิชัย


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:32
รูปแม่น้ำหน้าเมืองพิชัย


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:36
เข้าเมืองหลวงพระบาง

วันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๒ ค่ำปีระกา เวลา ๓ โมงเศษ เจ้านครหลวงพระบาง แต่งให้เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ พร้อมด้วยพระยาศุโขทัยผู้แทนข้าหลวง จัดเรือเก่งลำหนึ่ง กับเรือบรรทุกไพร่พล ข้ามไปยังเมืองหลวงพระบาง รวม ๔๐ ลำ มีปี่พาทย์ฆ้องกลองเป็นกระบวนมารับกองทัพข้ามแม่น้ำโขง ไปถึงฝั่งตะวันออก แล้วแม่ทัพให้ทหารกรุงเทพฯ และทหารหัวเมืองเดินเป็นกระบวนทัพเข้าเมืองหลวงพระบาง สองข้างทางมีราษฎรชายหญิงมาดูเนืองแน่นตอลดไปถึงที่พำนัก ซึ่งตั้งใกล้ลำน้ำคาน
ฝ่ายตะวันออกของหลวงพระบาง เมื่อแม่ทัพนายกองถึงที่พำนักเรียบร้อยแล้ว เจ้านครหลวงพระบางพร้อมด้วยเจ้านายบุตรหลานมาเยียนตามประเพณี แม่ทัพให้จัดทหารเป็นกองเกียรติยศรับ ๒๔ คน ทหารแตรเดี่ยว ๒ คน ครั้นรุ่งขึ้นแม่ทัพและนายทัพนายกองก็พร้อมกันไปหาเจ้านครหลวงพระบางและได้ไปเยียนตอบตามประเพณี

สภาพตลาดภายในเมืองหลวงพระบาง


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:48
เจ้ามหินทรเทพนิภาธร  (เจ้าอุ่นคำ)  เจ้านครหลวงพระบาง  (อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง)  พ.ศ.๒๔๑๕ - ๒๔๓๑   


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.พ. 11, 11:58
ตลาดหลวงพระบาง


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.พ. 11, 12:11
ขยายภาพจาก # ๔๙

King Ounkam
 
ภาพจาก Paul Boudet and André Masson, Iconographie historique de l'Indochine française, 1931

http://pavie.culture.fr/mediatheque.php?rubrique_id=51#media272

 ;D


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 13 ก.พ. 11, 18:54
ข้อมูลดีเยี่ยม
รูปภาพสวยงาม ;D

ไม่รู้จะแทรกลงตรงไหนดี
อาจจะหาใบบอกกองทัพมาลงให้ครับ


กระทู้: Re: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NokLekLek ที่ 19 ก.พ. 11, 10:09
มาแล้วตามคำเชิญ และลงชื่อเข้าเยี่ยมชมเจ้าค่ะ
เนื้อหาและรูปประกอบยอดเยี่ยมมากๆเลย ;)


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ก.พ. 13, 12:27
กระทู้ดูเหมือนจะยังไม่จบ แต่มาต่อกับกระทู้ ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?ได้พอดิบพอดี
 
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5545.0


กระทู้: เรื่องจีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ
เริ่มกระทู้โดย: นโม ตสฺส ที่ 25 พ.ค. 19, 19:00
ที่มาของชื่อ ฮ่อ โดย ยรรยง จิระนคร (เจียแยนจอง 謝遠章)

"...ที่มาของชื่อ “จีนฮ่อ”

คนไทลื้อสิบสองพันนาเรียกคนจีนว่า “ฮ่อ” เรียกประเทศจีนว่า “เมืองฮ่อ” คนไทยก็มักจะเรียกชาวยูนนานว่า“ฮ่อ” หรือ “จีนฮ่อ” คนลาวก็เรียกชาวยูนนานว่า “ฮ่อ” เหมือนกันคนรุ่นหลังของกลุ่มคาราวานม้าชาวมุสลิมยูนนานที่ตกค้างตั้งหลักแหล่งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ก็ถูกเรียกว่า “ฮ่อมุสลิม”

คำว่า “ฮ่อ” มาจากไหน มีนิยามว่าอะไร เป็นประเด็นที่มีการสันนิษฐานคาดเดาต่างๆ นานา บางคนว่า คำว่า “ฮ่อ”อาจจะเป็นเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า “หู” (胡)ที่ชาวจีนเรียกชาวต่างเชื้อชาติในภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ บ้างก็ว่า อาจจะมาจากคำว่า “ฮว๋า” (華) ซึ่งเป็นคำโบราณที่เรียกชาวจีนหรือชาวฮั่น แต่การคาดเดาดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน จากการศึกษาของผู้เขียน คำว่า “ฮ่อ”

เดิมทีเป็นชื่อที่ชาวจีนในอดีตใช้มาเรียกชนเผ่า “ซีเอ่อเหอหมาน(西洱河蠻)” (ชาวเหอ=ชาวแม่น้ำป่าเถื่อนในแม่น้ำซีเอ่อ) หนังสือโบราณชื่อ “หมานซู” (蠻書 - หนังสือว่าด้วยเผ่าป่าเถื่อน) ที่บัณฑิตชื่อ ฝานจ๊อะ(樊綽) สมัยราชวงศ์ถังเรียบเรียงเมื่อประมาณปี ค.ศ.864 ระบุว่า “เหอหมาน (河蠻 - ชาวแม่น้ำป่าเถื่อน) เดิมเป็นชาวเหอ (หรือชาวแม่น้ำ) ใน (แม่น้ำ) ซีเอ่อ(西洱) ปัจจุบันเรียกว่าชาวเหอ (ชาวแม่น้ำ)” คำว่า “เหอ” (河) เป็นการออกเสียงตามสำเนียงมาตรฐานจีนปักกิ่ง แต่สำเนียงจีนยูนนานออกเสียงว่า “ห่อ” ภาษาเขียนไทลื้อสะกดว่า “ห้อ” ทางเมืองไทยเลยออกเสียงว่า “ฮ่อ”

“แม่น้ำซีเอ่อ” ในหนังสือ “หมานซู” ก็คือทะเลสาบเอ่อห่าย(洱海)หรือทะเลสาบ “หนองแส” ที่เราได้ค้นคว้าวิเคราะห์มาแล้ว สาเหตุที่ถูกเรียกว่าแม่น้ำ เพราะทะเลสาบเอ่อห่ายหรือหนองแสมีลักษณะยาวรี โดยมีความยาวจากเหนือถึงใต้ 40 กิโลเมตร ความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก 4-8 เมตรประจวบกับด้านเหนือและด้านใต้ของทะเลสาบเชื่อมโยงกับลำคลอง เลยถูกเรียกว่าแม่น้ำ

“ชาวฮ่อ” หรือชาวแม่น้ำแถบทะเลสาบเอ่อห่ายหรือหนองแส เป็นบรรพชนแขนงหนึ่งของชนเผ่าไป๋ในยูนนาน เผ่าไป๋(白族)และเผ่าหยี(彝族)ได้ร่วมกันสถาปนาอาณาจักรน่านจ้าว(南詔)เมื่อปี ค.ศ.649 สมัยราชวงศ์ถัง ต่อมาเผ่าไป๋ยังได้ก่อตั้งอาณาจักรต้าหลี่(大理國)ช่วงค.ศ.937-1253 เมืองหลวงของอาณาจักรน่านจ้าวและอาณาจักรต้าหลี่ก็ตั้งอยู่ในเมืองแสริมทะเลสาบหนองแสนั่นเอง ทำเลของเมืองแสสมัยโบราณที่จีนเรียกว่าเมือง “เซอะหยี(楪榆)” นั้นก็คือเมืองต้าหลี่ปัจจุบัน แต่เอกสารไทลื้อและไทล้านนาต่างก็เรียกเมืองต้าหลี่ว่าเมืองแสเช่นเดิมอาณาจักรเชียงรุ่งอยู่แถบตะเข็บชายแดนของยูนนาน ไทลื้อในอดีตรู้แต่ว่าเมืองแสหรือเมืองต้าหลี่เป็นถิ่นฐานของชาวฮ่อ เลยทำให้เข้าใจว่า ฮ่อเป็นกลุ่มชนปกครองยูนนาน ซึ่งต่อมายังได้ขยายความหมายถึงชนชาติฮั่นและชาวจีน ถึงแม้ว่าระบอบการปกครองของจีน ได้ผ่านวิวัฒนาการแปรเปลี่ยน

จากราชวงศ์ซ่ง (ชนชาติฮั่น) เป็นราชวงศ์หยวนชาวมองโกล ราชวงศ์หมิงชาวฮั่น ราชวงศ์ชิงชาวแมนจู จนกระทั่งถึงสมัยการปกครองของก๊กมินตั๋ง แต่ไทลื้อก็ยังเรียกกลุ่มชนปกครองประเทศจีนว่า “ฮ่อ” เช่นเอกสารโบราณของสิบสองพันนาจะเขียนว่า “เจ้าว้องฮ่อ” หรือ “เจ้าว้องฮ่อลุ่มฟ้า” เรียกประเทศจีนว่า “เมืองฮ่อ” เรียกเรียนหนังสือจีนว่า “เรียนหนังสือฮ่อ”

ส่วนกรณีที่คนไทยและคนลาวเรียกชาวยูนนานว่า “ฮ่อ” หรือ “จีนฮ่อ” นั้น ก็มาจากเหตุการณ์ที่เดิมที ไทลื้อเรียกกลุ่มผู้ปกครองยูนนานว่า “ฮ่อ” นั่นเอง..."

อ้างอิง ปกิณกะการค้นคว้าเรื่องไท-ไทย