เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: srisiam ที่ 11 ก.ย. 10, 22:16



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 11 ก.ย. 10, 22:16
คุณหนูหัวหน้าแก๊งค์หนีไปนอนแหล๋ว....

เสริม......ภาพสวยๆ..ผลงานของCarlo Allegri  อยู่ในบล็อคนี้ครับ...
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=haiku&month=08-07-2010&group=20&gblog=3



และถ้ายังไม่เครียด....ลองคิดดูว่าแม่น้ำสะโตงที่ท่านมุ้ยเพิ่งไปถ่ายภาพมาเมื่อ2-3 ปีนี้...กว้างสัก 5 เท่าของสะโตงที่สมเด็จพระนเรศวรฯทรงพระแสงปืนต้นได้ไหม??


เช่นกัน....สภาพถนนเจริญกรุงเมื่อ 120 ปีที่แล้วอาจมีตรอกส่วนบุคคลหรือถนนแยกอีกหนึ่งเส้นก็ได้?แต่ถูกสร้างเป็นอาคารไปหมด
ถ้างั้นลองดูว่าแบบนี้เป็นไปได้ไหม?.....เพราะตรงดาวแดงสองดวงนั้นคือมุมเดียวกันของรั้ว...อย่าไม่น่าต้องสงสัย????

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 ก.ย. 10, 22:22
ทำกราฟฟิคสวยมากเลยครับ คุณ srisiam  ;)

เรื่อง Siam Free Press จะหันหน้าเข้าซอย คงไม่ได้ เพราะว่าดูจากถนนหน้าอาคารนั้นเป็นถนนสายใหญ่ และมีเสาไฟฟ้าขนาดใหญ่ (คงไม่ไปปักให้ซอยเล็กขนานนั้นครับ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 11 ก.ย. 10, 22:36
ขอบพระคุณครับ......


นี่คือ.....ชอยต้องสงสัย/หรือถนนส่วนบุคคลที่ถูกเปลี่ยนไป..???(ยังดื้ออยู่อีก)...ซึ่งไม่น่าจะเป็นเจริญกรุงหรือสุรวงศ์...น่าคิดนะครับ
เพราะมีแต่ต้นไม้ครึ้ม..ไม่มีตึกแถวเลย......
น่าคิด.......ผิดถูกอีกเรื่อง?

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ก.ย. 10, 22:57
หลอนอีกแล้วเรา ไม่น่าเปิดดูจนกระทั่งดึกเลย  :-\

รูปถนนสายเล็กที่ผู้ไม่ยอมเป็นประธานแก๊งค์ลูกน้ำ ซูมมาให้ดู  ลักษณะเหมือนเป็นถนนสายเล็กหรือซอยที่ตัดผ่านบ้านคนอยู่อาศัย  ไม่ใช่ถนนใหญ่ที่มีห้องแถวพาณิชย์  
บ้านสมัยโน้นปลูกต้นไม้หน้าบ้านทั้งนั้น  ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้กินได้ อย่างมะม่วง  
ถนนสายเล็กเส้นนี้น่าจะสำคัญ  เทศบาลลาดถนนเสียเรียบทีเดียว  น่าจะเป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนสำคัญสองสายก็เป็นได้   ไม่น่าจะเป็นถนนหรือซอยตัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 11 ก.ย. 10, 23:07
ข้อสรุปของผมเป็นอย่างนี้ครับ

1-บ้านสองหลังนี้ ผมเอามาจากหนังสือเล่มเดียวกัน ถ่ายรูปในปลายรัชกาลที่6 จะเป็นหลังเดียวกันไม่ได้เพราะบรรยายภาพว่าเป็นที่ทำการคนละบริษัทกัน  British Dispensaryหนึ่ง และSiam Free Pressอีกหนึ่ง

2-คุณร่วมฤดีค้นมาได้ว่าBritish Dispensaryอยู่ที่แยกปลายถนนสุรวงศ์ชนกับถนนเจริญกรุง ในหนังสือของผมบอกว่าอยู่บนถนนเจริญกรุง แสดงว่าบริษัทนี้หันหน้าออกเจริญกรุง และด้านข้างอยู่สุรวงศ์ และถนนสุรวงศ์พ.ศ.นั้นก็คงมีต้นไม้เยอะอย่างนั้นเอง ตึกแถวมาที่หลัง

3-แต่เราช่วยกันพิสูจน์แล้วว่าจุดที่ถ่าย ไม่ได้อยู่หน้าBritish Dispensary แต่อยู่หน้าSiam Free Press  ดังนั้นSiam Free Pressจึงต้องหันหน้าออกเจริญกรุงด้วย วิวหน้าบริษัทจึงจะเป็นดังภาพ ซึ่งด้านข้างก็ติดถนนหรือซอยด้วย แต่อาจจะไม่ใช่ หรือใช่สุรวงศ์ก้ได้ ขึ้นอยู่กับสถานีพักพลตระเวนบางรักเดิมว่าอยู่ตรงไหนของเจริญกรุง ทว่าอย่าลืม  อัสสัมชัญที่อยู่ตรงนั้นก็เรียกอัสสัมชัญบางรักเหมือนกันนะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 12 ก.ย. 10, 02:25
เอาจิ๊กซอล์มาต่อให้อีกตัวครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 10, 06:11


ข้อความโดย: natadol 

อ้างถึง
เอาจิ๊กซอล์มาต่อให้อีกตัวครับ


ขออนุญาตลอกมาลงไว้เลย

ตามคำบอกเล่า (บันทึกไว้เป็นข้อเขียน) ของ 'เสถียร-โกเศศ' เมื่อถนนสุรวงศ์สร้างใหม่ ๆ นั้น ปากถนนด้านเจริญกรุงสร้างเป็นเรือนตึก 2 ชั้น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ฟากละ 3 หลัง แต่ละหลังมีรั้วโปร่งทำด้วยไม้กั้นเป็นสัดส่วยของบริเวณบ้าน

หลังแรกทางขวามือ เป็นห้างจำหน่ายยาฝรั่งยาฝรั่งตรางู ของ นายแพทย์โธมัส เฮาเวิร์ด (Dr. Thomas Howard Hays) ซึ่งเป็นหมอสอนศาสนาชาวเอมริกัน ที่มาสอนที่ศิริราชพยาบาลยุคแรก และย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางรัก (ต่อมาเปลี่ยนโรงพยาบาล 'เลิดสิน' อยู่บนถนนสีลม)

หมอเฮส์เป็นผู้ให้กำเนิด 'ห้างขายยาอังกฤษตรางู' ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมือหลายครั้งจนถึงตระกูล 'ว่องวานิช' ในปัจจุบันหมอเฮส์ผู้นี้ได้ร่วมกับภรรยาซึ่งเป็นมิชชั่นนารีชาวอเมริกัน เช่นเดียวกันคือ เจนนี เนียลสัน (Jenny Neilson) ก่อตั้งห้องสมุด 'เนียลสัน เฮส์' ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสุรวงศ์มาจนถึงทุกวันนี้ (จะได้กล่าวถึงต่อไป)

บ้านหลังที่สองเคยเป็นที่อยู่ของ 'หมอปัวส์' (Poix) ชาวฝรั่งเศส ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอัศวินอำนวยเวช บ้านหลังนี้ต่อมาเป็นภัตตาคารอาหารอิตาเลียน ชื่อ 'ทรอกาเดโร' ดำเนินงานโดยสุภาพสตรีชาวอิตาเลียนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ขณะนั้นชื่อ มาดามสตาโร (Madame Staro) ซึ่งได้พัฒนาภัตตาคารมาเป็น 'โรงแรมทรอกาเดโร' ในเวลาต่อมา

บ้านหลังที่สามถัดมา เป็นที่อยู่ของ หมอยอน คาริงตัน (John Carrington) ซึ่งเป็นหมอมิชชั่นนารีอเมริกันเช่นเดียวกับหมอเฮส์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 10, 06:51
หมายถึงแบบนี้ถูกไหม

1.หลังแรกทางขวามือ เป็นห้างจำหน่ายยาฝรั่งยาฝรั่งตรางู ของ นายแพทย์โธมัส เฮาเวิร์ด (Dr. Thomas Howard Hays) ซึ่งเป็นหมอสอนศาสนาชาวเอมริกัน ที่มาสอนที่ศิริราชพยาบาลยุคแรก และย้ายมาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางรัก (ต่อมาเปลี่ยนโรงพยาบาล 'เลิดสิน' อยู่บนถนนสีลม)

หมอเฮส์เป็นผู้ให้กำเนิด 'ห้างขายยาอังกฤษตรางู' ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมือหลายครั้งจนถึงตระกูล 'ว่องวานิช' ในปัจจุบันหมอเฮส์ผู้นี้ได้ร่วมกับภรรยาซึ่งเป็นมิชชั่นนารีชาวอเมริกัน เช่นเดียวกันคือ เจนนี เนียลสัน (Jenny Neilson) ก่อตั้งห้องสมุด 'เนียลสัน เฮส์' ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสุรวงศ์มาจนถึงทุกวันนี้ (จะได้กล่าวถึงต่อไป)

2.บ้านหลังที่สองเคยเป็นที่อยู่ของ 'หมอปัวส์' (Poix) ชาวฝรั่งเศส ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอัศวินอำนวยเวช บ้านหลังนี้ต่อมาเป็นภัตตาคารอาหารอิตาเลียน ชื่อ 'ทรอกาเดโร' ดำเนินงานโดยสุภาพสตรีชาวอิตาเลียนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ขณะนั้นชื่อ มาดามสตาโร (Madame Staro) ซึ่งได้พัฒนาภัตตาคารมาเป็น 'โรงแรมทรอกาเดโร' ในเวลาต่อมา

3.บ้านหลังที่สามถัดมา เป็นที่อยู่ของ หมอยอน คาริงตัน (John Carrington) ซึ่งเป็นหมอมิชชั่นนารีอเมริกันเช่นเดียวกับหมอเฮส์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 10, 06:53
ภาพโรงแรม'ทรอกาเดโร' ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 12 ก.ย. 10, 07:17
ภาพอนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียนในความเห็นที่ ๗๕๗ นั้น  ตั้งอยู่ที่หน้าสถานทูตอังกฤษเดิมที่บางรัก
เมื่อสถานทูจอังกฤษย้ายไปอยู่ที่เพลินจิตซึ่งเป็นที่ดินของนายเลิด  การย้ายสถานทูตอังกฤษนี้น่าจะเป็นการแลกที่ดินกับนายเลิด (พระยาภักดีนรเสรษฐ) เจ้าของปาร์กนายเลิด  เพราะเมื่อสถานทูตอังกฤษย้ายไปนั้น  ที่ตั้งเดิมที่ติดกับโรงภาษีได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเลิด  แล้วกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เป็นเสนาบดีได้ตกลงซื้อที่ดินแปลงนี้จากนายเลิดเพื่อขยายพื้นที่ของโรงภาษีออกไป  โดยตกลงซื้อแล้วเรียบร้อยแล้วจึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต  ซึ่งการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต  เมื่อมีพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้นได้มีพระราชวินิจฉัยว่า การที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติดำเนินการไปก่อนได้รับพระบรมราชานุญาตนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชนิยม  เพราะกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเคยตำหนิเสนาบดีเจ้ากระทรวงอื่นที่สั่งจ่ายเงินโดยไม่ขออนุญาตกระทรวงพระคลังฯ ก่อน  แต่กระทรวงพระคลังฯ กลับมาทำเช่นที่ตำหนิกระทรวงอื่นๆ  ถึงแม้ว้าจะเกรงว่าความจะรั่วไหลแล้วจะทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น  ก็ทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า ข้าราชการในกรมราชเลขาธิการนั้นล้วนเป็นผู้มีหูมีตาแต่ไม่มีปาก  หากผู้ใดไม่รักษาความลับทางราชการก็จะถูกลงโทษไล่ออกและถอดจากยศบรรดาศักดิ์กันเลยทีเดียว

อนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียนนั้นมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบนั่ง  และแบบยืน  ชาวอังกฤษในกรุงเทพฯ ได้สั่งพระบรมรูปแบบนั่งเข้ามาประดิษฐานที่หน้าสถานทูตในกรุงเทพฯ  แล้วได้กราบบังคมทูลเชิญล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จไปทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้  มีเอกสารจดหมายเหตุบันทึกไว้เป็นเรื่องราวยืดยาว  เพราะทรงเกรงจะกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสยามกับนานาประเทศ  สุดท้ายเมื่อเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศถวายความเห็นว่า ไม่น่าจะมีผลอะไรจึงทรงรับเชิญเสด็จไปในงานนี้

เมื่อชาวอังกฤษในกรุงเทพฯ สั่งอนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียเข้ามา  ชาวอังกฤษในเชียงใหม่และมณฑลพายัพ  ก็สั่งอนุสาวรีย์แบบยืนเข้ามาประดิษฐานที่หน้าสถานกงสุลเชียงใหม่บ้าง  แต่เมื่ออาทิตย์อัสดงในแผ่นดินอังกฤษ  อิทธิพลของอังกฤษในภูมิภาคต่างเริ่มเสื่อมถอยลง  อังกฤษได้ขายสถานกงสุลที่เชียงใหม่ให้เอกชนไทย  มีการเปลี่ยนมือกันหลายทอด  แล้วอนุสาวรีย์ควีนวิคตอเรียผู้ยิ่งใหญ่ก็ถูกย้ายจากหน้าสถานกงสุลอังกฤษไปไว้ที่มุมหนึ่งใน "สุสานบ้านเด่น" หรือป่าช้าคริสเตียนใกล้สโมสรยิมคานา 



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 10, 08:11
แปลจากหนังสือTwentieth Century Impressions of Siam เขียนโดย Arnold Wright และ Oliver T. Breakspear

ห้างขายยา(British Dispensary)นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ20ปีมาแล้ว(นับจากปี1908หรือพ.ศ.2451 ก็คือประมาณปีพ.ศ.2431)โดยDr. Gowan อายุรแพทย์ในพระเจ้าอยู่หัว ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาจากนั้นได้ตกเป็นของDr. T. Hayward Hays หัวหน้าหน่วยแพทย์ของราชนาวีสยาม และแพทย์ประจำกรมรถไฟ ซึ่งหลังจากเข้าครอบครองได้ไม่นานก็ขยายไปเปิดสาขาอีกหนึ่งสาขาในย่านที่เหมาะสม(ไม่บอกว่าที่ไหน)ของกรุงเทพ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน(ที่เขียน)ยังรุ่งเรืองดีอยู่ ในปี1906(2449) Dr. Haysได้ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ Mr. Macbethซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมงานกันมาตั้งแต่ปี1898 (2441) และมีผู้ช่วยชื่อMr. Davies เภสัชกรปริญญาซึ่งมีประสพการณ์หลายปีทั้งในอังกฤษและแผ่นดินใหญ่(ยุโรป)


ถนนสุริวงศ์ตัดปีอะไรครับ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 10, 08:29
จิ๊กซอร์มาอีกตัวนึง


ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เมื่อพระยาสีหราชเดโชชัย ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ได้ขอพระบรมราชานุญาตตัดถนนทางฝั่งพระนครขนานกับถนนสีลม ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานชื่อว่า ถนนสุรวงศ์ และถนนเดโช ตามชื่อของท่านนั้น บุตรหลานของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้มาตั้งเคหสถาน ณ ถนนสายนี้ ตั้งแต่บริเวณมุมถนนสุรวงศ์ตัดกับถนนเจริญกรุง เป็น บ้านของพระยาประภากรวงศ์ (ว่อง บุนนาค) กับท่านเรียบ (ซึ่งต่อมาได้สร้างโรงแรมทรอคาเดโรขึ้นในบริเวณนั้น) ถัดลงมาเป็นที่ดินของ พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) กับคุณหญิงนุ่ม พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) เจ้าจอมเลียม พระอดิศักดิ์อภิรัตน์ (เต็มสุริยวงศ์ บุนนาค) ถัดไปทางถนนเดโช เป็นบ้านของศาสตรา-จารย์นายแพทย์เติม บุนนาค ศาสตราจารย์ติดต่อ บุนนาค คุณเดียร์ บุนนาค ภรรยาพระโชติศิลปคุณ (โชติ โชติก-เสถียร) และหม่อมดำริห์ บุนนาค ในหม่อมเจ้าสิทธิยากร วรวรรณ เป็นต้น

อย่างที่ผมสันนิฐาน บ้านเหล่านี้เจ้าของต้องเป็นคนไทย ปลูกหลายๆหลังเหมือนๆกัน อาจอยู่เองด้วยให้เช่าด้วย ให้บ้านเช่าอยู่ด้านหน้าที่ติดถนน เพราะทำเลงามจะได้ราคาดีๆ บ้านที่ตนอยู่อาศัยอยู่ในที่รองๆลงไป (ที่เห็นเหมือนกับยังเป็นสวนนั่น)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 12 ก.ย. 10, 09:13


ข้อความโดย: natadol 

อ้างถึง
เอาจิ๊กซอล์มาต่อให้อีกตัวครับ


ขออนุญาตลอกมาลงไว้เลย

ตามคำบอกเล่า (บันทึกไว้เป็นข้อเขียน) ของ 'เสถียร-โกเศศ' เมื่อถนนสุรวงศ์สร้างใหม่ ๆ นั้น ปากถนนด้านเจริญกรุงสร้างเป็นเรือนตึก 2 ชั้น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ฟากละ 3 หลัง แต่ละหลังมีรั้วโปร่งทำด้วยไม้กั้นเป็นสัดส่วยของบริเวณบ้าน





คุณหลานnatdolหายไปนาน...มาที่เดียวเป็นเรื่องเลย....เยี่ยมมาก...เหมาะกับตำแหน่งเลขาฯแก็งค์ที่สุด...อาจารย์เทาชมพูเมตตาอนุมัติด่วนด้วยครับ...



ฟากละสามหลัง...ก็ต้องรวมเป็นหกหลังใช่ไหมครับ.....
 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 12 ก.ย. 10, 09:33
สวัสดีตอนเช้าค่ะทุก ๆ ท่านที่เคารพ

กราบขอบพระคุณที่เกาะติด กัดไม่ปล่อย จนออกมาได้ชัดเจนขนาดนี้ว่า หัวมุมถนนสุรวงศ์ หน้าตาเป็นเช่นไรในสมัยแรก ๆ

พวกเราทำงาานกันตั้งแต่ ค.ค.ห.ที่ 728 มาถึง 793 คุ้มค่ามากค่ะ แฟ้มบุคคลขอปรบมือให้ดัง ๆ

ก่อนหน้านี้ ดิฉันเคยอ่านหนังสือของพระยาอนุมานราชธนทั้งหมดที่กล่าวถึงบริเวณนี้ แต่ก็นึกภาพไม่ออก

ภาพเหล่านี้ จะช่วยให้คนที่ได้อ่านหนังสือรุ่นหลัง ๆ เข้าใจอย่างง่ายดาย

ไม่ทราบมีใครเคยไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เจริญกรุง 43 หรือยังคะ

อาจารย์วราภรณ์ สุรวดี เจ้าของบ้านยกให้ก.ท.ม. ทำเป็นพิพิธภัณฑ์

ท่านเจ้าของบ้านผู้นี้ และ อีกท่านหนึ่งคือ อ.ส.ศิวลักษณ์ เป็นผู้ที่มีถิ่นฐานในละแวกนั้น

ทั้ง 2 ท่านยังมีชีวิตอยู่ และ เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ คุ้นเคยกับพระยาอนุมานราชธน

หากได้ท่านมาช่วยยืนยันข้อมูลที่เราสรุปอีกแรงหนึ่งจะดีไม่น้อยค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 12 ก.ย. 10, 09:44
เอามาให้ปวดหัวอีกภาพค่ะ เชื่อว่าทุกท่าน เคยเห็นบ้านหลังนี้แน่นอน บ้านใครคะ และใครมีประวัติท่านเจ้าของบ้านเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 10, 09:49
อันนี้ไม่ปวดหัวครับ เอามาฝากเฉยๆ

ห้องสมุด Neilson Hays ตั้งอยู่ในพื้นที่ 1 ไร่เศษ ริมถนนสุรวงศ์ เป็นห้องสมุดที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจไม่น้อย ก่อตั้งขึ้นในสมัยหมอบรัดเลย์ หมอสมิธ ราวปี พ.ศ.2411(ค.ศ.1869) โดยภรรยาของหมอทั้งสอง ทำเป็นบาร์ซ่าร์ เพื่อหาเงินมาซื้อหนังสือเพิ่มเติมแล้วแลกกันอ่านและตั้งเป็น "TheBangkok Ladies Library Association" โดยไม่หวังผลกำไร

จากนั้นห้องสมุดก็ร่อนเร่ไปอาศัยสถานที่ต่างๆ อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมามีแหม่มชาวเดนมาร์ก ชื่อ Jennie Neilson Hays มาเป็นกรรมการอยู่ 25 ปี จนเสียชีวิตในปี พ.ศ.2464(ค.ศ.1921) สามีของเธอ คือ หมอ T.Heyward Hays จึงได้สร้างตึก หลังนี้ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ภรรยา

ตึกห้องสมุดเนลสัน เฮย์ หลังนี้เป็นตึกชั้นเดียว มีรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบยุโรปโบราณ ประกอบด้วยหลังคาโค้งทรงกลม(Dome) หัวเสาทุกต้นสลักสวยงาม ใต้ตัวตึกเป็นบ่อน้ำ เพื่อให้ความเย็นภายในอาคาร เป็นผลงาน สถาปัตยกรรม ของตามานโญ สถาปนิก ในราชสำนักสยาม (๒๔๔๓-๒๔๖๘) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ อาทิ บ้านบรรทมสินธุ์ ของเจ้าพระยา อนิรุทธเทวา (ปัจจุบันคือ บ้านพิษณุโลก)

ปัจจุบันห้องสมุดมีหนังสือให้บริการกว่า 2 หมื่นเล่ม เป็นหนังสือภาษาอังกฤษทั้งหมด ทั้งเก่าและใหม่ ให้บริหารสำหรับสมาชิกไม่จำกัด ชาติ ภาษา อายุ และหนังสือส่วนใหญ่ เน้นไปทางหนังสือสำหรับอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน และนอกจากจะให้บริการทางด้านหนังสือแล้ว ห้องสมุดแห่งนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ และจัดขึ้นเป็นประจำ เช่น การพบปะพูดคุยกับนักเขียนชื่อดัง ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ รวมทั้งมีการจัดแสดงผลงานทางนิทรรศการ และจำหน่ายผลงานศิลปะของศิลปินนานาชาติด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 12 ก.ย. 10, 09:49
ภาพนี้ บรรยายภาพว่า  ตลาดน้ำบางกอกน้อย  พอเห็นเก๋งจีนริมน้ำ ก็คิดถึงอาจารย์ Navarat ค่ะ

นี่เป็นการบ้านที่ทำไม่เสร็จ และ หาคนตรวจการบ้านไม่ได้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 10, 09:54
^
ดูแล้วไม่น่าจะใช่นะครับ ตัวศาลาอยู่ลึกเกินไป ที่สำคัญ เสาก็ไม่เหมือนกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 10, 16:55
อ้างถึง
เอามาให้ปวดหัวอีกภาพค่ะ เชื่อว่าทุกท่าน เคยเห็นบ้านหลังนี้แน่นอน บ้านใครคะ และใครมีประวัติท่านเจ้าของบ้านเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

จัดให้ครับ

จากหนังสือ 174 มรดกสถาปัตยกรรมไทยในสยาม
ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 12 ก.ย. 10, 18:06
อ้างอิงจากหนังสือฟื้นความหลังของเสถียรโกเศฐร์ ครับตรงข้ามถนนอีกด้านหนึ่ง เคยเป็นที่ตั้งห้างโก้ของยุคนั้นคือ ห้าง 'แบดแมน' อยู่พักหนึ่ง หลังจากย้ายมาจากถนนราชดำเนินเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา (ซึ่งต่อมาเป็นกรมโฆษณาการ และกรมประชาสัมพันธ์จนรื้อไป) ติดๆ กันนั้นเป็นร้านขายยาฝรั่งเศส (French Pharmacy)ถัดต่อไปเป็นบ้านครูแตรชาวเยอรมันชื่อ ไฟต์ (Fiet) ครูไฟต์มีบุตรชาย 2 คน คนหนึ่งชื่อ ปีเตอร์ ไฟต์ ภายหลังได้รับราชการในราชสำนักเป็นหัวหน้าวงดุริยางค์ เปลี่ยนชื่อเป็นไทยว่า นายปิติ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า 'วาทยากร'

ถัดไป ติดๆ กับพื้นที่ที่โรงแรม 'มโนห์รา' ในปัจจุบัน เคยเป็น สโมสรอังกฤษ ต่อมาย้ายมาติดอยู่กับห้องสมุด เนียลสัน เฮส์ ในปัจจุบันซึ่งอยู่ตรงข้ามฟากถนนไปไกลจากที่เดิม ตรงพื้นที่ที่เป็นโรงแรมมโนห์ราในขณะนี้สมัยแรกสร้างถนนสุรวงศ์ เคยเป็นบ้านพักของ 'หมอสมิท' (มัลคอล์ม สมิท-Dr. Malcolm Smith) ซึ่งเคยเป็นแพทย์ประจำสำนักของสมเด้จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีสมเด็จพระศรีพัชรินทรบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่5 ซึ่งได้นำประสบการณ์ของการแพทย์ในราชสำนักไทยไปแต่งเป็นหนังสือเรื่อง 'แพทย์ในราชสำนักแห่งสยาม' (A Physician at the Court of Siam)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 12 ก.ย. 10, 18:16
ต่อครับ    เยื้องบ้านหมอมัลคอล์มตรงข้ามฟากถนนเคยเป็นสโมสรเยอรมัน ซึ่งเป็นที่รวมของชาวเยอรมันในกรุงเพทฯ มาสังสรรค์พักผ่อนหย่อนใจและดื่มเบียร์กัน ชาวเยอรมันเหล่านี้มีการละเล่นสนุกระหว่างกันชนิดหนึ่ง ชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า 'เล่นสะบ้า' ทุกวันจะมีเสียงครืนๆ ของลูกสะบ้ากระทบพื้นไม้ดังสนั่นไปทั่วบริเวณ ต่อมาเมื่อมีการเล่นโบว์ลิ่งในเมืองไทย ท่าน 'เสถียรโกเศศ' จึงได้ข้อสรุปว่า 'สะบ้า' ของชาวเยอรมันครั้งโน้น ก็คือโบว์ลิ่งนั่นเอง  รบกวน ท่านลุงsrisiam ช่วยทำเป็น แปลนหมู่บ้าน ให้ด้วยครับทำไม่เป็น...


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 10, 18:48
ภาพประกอบให้คุณณัฐดล


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 10, 19:37
ฝากให้คุณ natadol  และอาจารย์ NAVARAT.C ครับ United Club สวยงามมาก มีข้อมูลว่า ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง ตัดกับถนนสี่พระยา ตามแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่แนบมา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 10, 19:47
มาดูภาพถ่ายทางอากาศดุบ้าง ว่า United club อยุ่ตรงพื้นที่สี่เหลี่ยม เส้นเหลืองคือ ถนนสี่พระยา เส้นสีน้ำเงินคือถนนเจริญกรุง
ถ้าเทียบกับปัจจุบันก็อยู่ช่วงอยุ่รถเมล์ 93


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 12 ก.ย. 10, 20:14
อาจารย์ Navarat C เจ้าขา รูปเก๋งจีนกับตลาดคลองบางกอกน้อย ไม่ใช่ที่เดียวกับที่คุณแจ๊กกี้ไปหรอกค่ะ
อันนั้นหนูหาไม่เจอค่ะ ยกธงขาวไปแล้ว

แต่รูปนี้ บอกให้รู้ว่า เส้นทางเที่ยวตลาดน้ำ มีเก๋งจีนรายทางได้หลายแห่งแน่ ๆ
โดยเฉพาะหากแล่นเรือเข้าทางคลองบางหลวง(คลองบางกอกใหญ่) ไปวัดราชโอรส วัดไทร
ต้องผ่านประตูน้ำภาษีเจริญ แถบนี้คนจีนอยู่กันหนาแน่นมาก เรือคงจะได้ผ่านที่ใดที่หนึ่งจนถ่ายรูปไว้ได้

รูปร่างเก๋งจีนที่คุณแจ๊กกี้นั่งเรือผ่าน ดูเป็นแบบเรียบ ๆ ธรรมดา ผิดกับที่วัดราชโอรส และวัดแจ้ง
2 วัดหลังนั้น เป็นวัดพระเจ้าแผ่นดินสร้าง แบบหลังคาจึงสวยงามกว่ามาก

ก่อนจะลืม กราบขอบพระคุณข้อมูลบ้านอับดุลราฮิมนะคะ บ้านนี้ เห็นตั้งแต่ยังเด็ก โดยไม่รู้ข้อมูลเจ้าของเลย
วันนี้ อาจารย์ได้เอาข้อมูลและรูปสวย ๆ ภายในบ้านมาให้ได้ดู ดีใจอย่างบอกไม่ถูกจริง ๆ ค่ะ
ชอบแบบบ้านนี้ เพราะดูน่าอยู่สบาย เข้าใจว่า จะได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นอาคารอนุรักษ์ของกรมศิลปากรด้วยใช่ไหมคะ

สำหรับสโมสรต่างชาติในแถบสีพระยา สีลม สุริวงศ์ ดิฉันเคยเข้าไปแค่ 2 แห่ง คือ สโมสรอังกฤษ และ สโมสรสีลม

ไม่เคยทราบเรืองสโมสรอื่นนอกไปจากนี้ อันนี้ก็ความรู้ใหม่อีกแล้ว กราบขอบพระคุณค่ะ

อาจารย์เทาชมพูขา จะทำอย่างไรจึงจะเก็บกระทู้นี้ไว้ดูเล่นพร้อมภาพสวย ๆ ได้ค่ะ

ทำเป็นแต่Copy ตัวหนังสือ ไม่สามารถ Copy ไปคู่กับภาพได้ค่ะ ทำไม่เป็น(อีกแล้ว)ค่ะ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 10, 20:27
อ้างถึง
จะทำอย่างไรจึงจะเก็บกระทู้นี้ไว้ดูเล่นพร้อมภาพสวย ๆ ได้ค่ะ
ทำเป็นแต่Copy ตัวหนังสือ ไม่สามารถ Copy ไปคู่กับภาพได้ค่ะ ทำไม่เป็น(อีกแล้ว)ค่ะ

ดิฉันใช้ Internet Explorer
File->save as...
มองลงไปข้างล่างที่มีคำว่า save as type
เลือก webpage complete  
เซฟไปทีละหน้า จะได้ทั้งภาพและตัวหนังสือเหมือนบนจอค่ะ  

ลองดูนะคะ

ตอนนี้ได้แต่ตามอ่าน ด้วยความเพลิดเพลินค่ะ  


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 12 ก.ย. 10, 20:29
อีกวิธีนึงครับ


สั่งให้print

พอมันขึ้นหน้าต่างมา แทนที่จะสั่งให้มันดำเนินการพิมพ์ ในหน้าต่างมันจะมีให้เลือกเครื่องพิมพ์ หรือเลือกPDF หรือMicrosoft Document  ลองเลือกอันใดอันหนึ่งแล้วจึงสั่งprint

แต่เครื่องมันจะไม่พิมพ์หรอกครับ มันจะsaveเป็นfile อักษรและภาพให้เรา  เราเพียงแต่ตั้งชื่อfileเท่านั้น

แต่ช่วงที่มันแปลงfile อาจรอนานหน่อยนะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 10, 20:39
^
เป็นความรู้ใหม่ ขอบคุณค่ะ เคย  save as เป็นอย่างเดียว
ไม่ยักกะรู้ว่ามีวิธีหลอก printer ให้เซฟให้เราฟรีๆ โดยไม่ต้องพิมพ์ด้วย
 :)
รูป # 182  บ้านแต่ละหลัง น่าอนุรักษ์เอาไว้ทั้งนั้นเลย 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 12 ก.ย. 10, 21:24
มาดูภาพนี้กันครับ ระบุว่า ไฟไหม้ที่หัวลำโพง กรุงเทพฯ กลุ่มตึกนี้ควรอยู่ตรงไหน และแนวป่าขวามือควรอยู่ตรงไหนครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 10, 22:39
เคยลงภาพนี้ในกระทู้เก่า ชื่อ ภาพเมืองไทยในอดีต (๒)   แต่ก็ยังหาคำตอบไม่ได้อยู่ดี ว่าไหม้ตรงไหน
มาเกาะขอบจอมอนิเตอร์อย่างเดียว  รอท่านจอมยุทธทั้งหลายมาเฉลยกันอีกครั้ง

ขอแนะนำกระทู้เก่า

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1442.msg24184;topicseen#msg24184

และ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1476.0


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 12 ก.ย. 10, 23:01
รับทราบครับ...คุณหลานNatadol...ลุงขอเวลานิด....ใกล้ความจริงเข้ามาทุกทีแล้ว
ข้อมูลคุณหลานมีประโยชน์ในการวิเคราห์(วิเคราะห์+เดา)มาก...


ใครนอนหลับแล้วขอให้ฝันหวาน....ใครยังไม่หลับ...ก็ได้ดูภาพนี้ก่อน
เป็นภาพที่คุณหนูนักช้อนลูกน้ำผู้เก่งกาจเคยโพสไว้แล้ว....แต่ภาพนี้ค่อนข้างสมบูรณ์กว่า


 ;D

ถนนที่เราคิดว่าเป็นถนนเจริญกรุง...ทำไมแคบนิดเดียว????  ตรงที่คนสวมหมวกยืนริมฝั่งนี้แทบไม่ถึง 3 เมตรจากรั้วบ้าน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 12 ก.ย. 10, 23:05
หากมองในมุมของคนทำงานตำแหน่งสูงอย่างผม ก็ต้องตีวงให้แคบเข้าไป มีมุมมองใด้ 3มุมครับ จากตึก 7 ชั้นที่ถนนเจริญกรุง และตึกของนายเลิดที่ตลาดน้อยครับ และอีกตึกห้างทองโต๊ะกัง(เก่า)แต่หากจะฟันธงต้องเป็นตึกนายเลิดที่ตลาดน้อยครับ แต่สงสัยว่าป่าอยู่ตรงไหน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ย. 10, 23:11
ตอบ # 811
1   ถ้าคิดว่าถนนด้านซ้ายคือถนนเจริญกรุง   บ้านนี้ก็สร้างประหลาดหน่อย คือหันหน้าเข้าถนนเล็กแต่หันข้างให้ถนนใหญ่
2   กำแพงมุมบ้านไม่โค้งอย่างในรูปก่อนๆ  แสดงว่าเป็นบ้านคนละหลัง
3   มีบ้านหลังคาเหมือนกันอยู่ข้างหลังบ้านนี้    บ้านแบบนี้น่าจะมีมากกว่า 2 หลัง

คำอวยพรให้หลับฝันหวาน เห็นจะต้องมอบให้คุณร่วมฤดีคนเดียว    ส่วนของดิฉัน   ช้าเกินไปเสียแล้ว  เพราะท่านทั้งหลายขยันโพสต์รูปดักเอาไว้ก่อนนอนกันเหลือเกิน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 12 ก.ย. 10, 23:17
กราบขออภัยครับ...ไม่ได้เจตนา..คิดว่าอาจารย์หลับแล้ว..คิกคิกคิก

 ;) ;D


อิจฉาคนทำงานตำแหน่งสูงอย่างคุณหลานnatadolแท้หนอ....ช่างได้เปรียบเรื่องมุมมองจริงๆ...............




 :)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 13 ก.ย. 10, 00:51
แปลจากหนังสือTwentieth Century Impressions of Siam เขียนโดย Arnold Wright และ Oliver T. Breakspear

ห้างขายยา(British Dispensary)นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ20ปีมาแล้ว(นับจากปี1908หรือพ.ศ.2451 ก็คือประมาณปีพ.ศ.2431)โดยDr. Gowan อายุรแพทย์ในพระเจ้าอยู่หัว ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาจากนั้นได้ตกเป็นของDr. T. Hayward Hays หัวหน้าหน่วยแพทย์ของราชนาวีสยาม และแพทย์ประจำกรมรถไฟ ซึ่งหลังจากเข้าครอบครองได้ไม่นานก็ขยายไปเปิดสาขาอีกหนึ่งสาขาในย่านที่เหมาะสม(ไม่บอกว่าที่ไหน)ของกรุงเทพ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน(ที่เขียน)ยังรุ่งเรืองดีอยู่ color]





จึงน่าเป็นไปได้ว่าภาพ #811 คงเป็นภาพที่ถ่ายช่วงการเปิดสาขาของ British Dispensary ที่ใหม่ในกรุงเทพฯ.....

ที่ไหนเอ่ย...?

 :o :(


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 06:44
บ้านสองรูปนี้ คงเป็นหลังเดียวกันแต่สร้างคนละสมัย

ภาพบน สร้างสมัยรัชกาลที่5 สังเกตุที่ยังใช้ธงช้างเป็นธงชาติอยู่ ถนนสุริวงศ์จึงยังแคบเหมือนซอย

ภาพล่าง ถ่ายจากตึกฝั่งตรงข้ามที่ระดับความสูงเท่ากัน แต่ตำแหน่งเยื้องกันนิดหน่อย แต่เวลาห่างกันนับสิบๆปี เป็นสมัยปลายรัชกาลที่6 บ้านข้างเคียงของบ้านทางขวามือแทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

ส่วนถนนสุรวงศ์ขยายออกไป มีการปาดมุมถนน ท่อระบายน้ำใหม่ และบ้านก็ทำรั้วใหม่ ปาดมุมโค้งตามถนนด้วย
ส่วนสาขาที่ว่าขยายออกไป อาจจะเป็นที่ห้างขายยาอังกฤษตรางูปัจจุบัน ที่ความจริงก็ไม่ห่างกันเท่าไหร่ แต่น่าจะเน้นที่การขายยา ในขณะที่ห้างเดิมขายสินค้าหลากหลายขึ้น คล้ายDepartment Store

ผมเดาว่าอย่างนี้นะครับ
โชคดีเมื่อคืนปิดคอมไปก่อนอย่างฉิวเฉียด เลยได้หลับได้นอนเต็มตา ตื่นมาเช้าสบายหน่อย มีกะจิตกะใจส่งการบ้านต่อ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 ก.ย. 10, 08:16
ผมไม่ได้เข้ามาดูกระทู้ ๒ วันเนื่องจากเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์
พอได้อ่านเช้าวันจันทร์ ก็ดีใจและขอขอบคุณท่านทั้งหลาย
ที่อุตสาหะอย่างยิ่งยวดพยายามแกะรอยที่มาของภาพโปสต์การ์ดที่ผมเอามาลงไว้
จนได้ข้อมูลชัดเจน  ประหนึ่งช่างชักภาพนั้นมาบอกกล่าวเอง  น่าอัศจรรย์จริงๆ


เอาไว้จะหาภาพเก่าๆ มาท้าทายให้ค้นอีกนะครับ ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 08:33
เอารูปมาให้คุณร่วมฤดีอีก

สถานีรถไฟหัวลำโพงหลังเก่าสมัยรัชกาลที่5 ที่เคยเอารูปภายนอกมาลงให้ทายกันไปแล้วนั้น

บัดนี้เจอรูปถ่ายภายในสมัยต้นรัชกาลที่6  ซึ่งดูโครงหลังคาแล้ว ไม่ใช่ทั้งหลังในรูปนี้ และหลังใหม่ที่หลังคาโค้ง


ยุ่งเลย

ผมเดาว่า อาคารในภาพบนเป็นส่วนโถงผู้โดยสาร ที่มีอาคารชานชลาต่อออกไปในด้านซ้ายมือของภาพ เป็นอาคารหลังคาจั่วดังภาพล่าง
ผู้ถ่ายภาพยืนอยู่ชั้นบนของอาคารผู้โดยสาร เล็งกล้องไปข้างล่างซึ่งเห็นอยู่ไม่กี่ชานชลา จึงต้องสร้างใหม่เมื่อกิจการขยายตัวเร็วเกินคาด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 08:50
อันนี้เอามาถามครับ

อยากทราบว่าอยู่ที่ไหน ปัจจุบันยังอยู่หรือรื้อไปแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 08:59
ผมเอาประเด็นเรื่องแสงแดด มาประกอบการพิจารณาครับว่า ดูจากแสงแดดที่เสาไฟฟ้ามุมถนนแล้ว ดูจากการทอดของเงา ทำให้เห็นว่า ห้างนี้หันหน้าออกไปทางถนนเจริญกรุงครับ เนื่องจากแสงแดดในประเทศ จะตรงศรีษะและอ้อมทางใต้เมื่อย่างเข้าหน้าหนาว ดังนั้นการวางตัวของแนวแสง จะเป็นแบบภาพที่แสดงไว้

และด้านถนนสุริวงศ์ จะมุ่งหน้าทางตะวันออกเสมอ จะได้แดดเช้า และแสงจะค่อยๆอ้อมตัวตึกไป แทบจะไม่โดนแสงเหมือนอย่างหน้าร้าน ซึ่งหันหน้าไปทางตะวันตก (ฝั่งแม่น้ำ) ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 10:00
โอ้ว....ตรวจสอบกระทั่งเงาแดด   ขั้นเทพจริงๆ   คุณณัฐดล
ที่ปรึกษาแก๊งค์ลูกน้ำ หาตำแหน่งไม่ถูกแล้ว   แต่ละคนเหมาะจะเป็นประธานแก๊งค์ได้ทั้งนั้น

Royal Survey Department คือกรมแผนที่ทหาร
เห็นแต่ตึกนี้      ส่วนหลังที่คุณนวรัตนเอารูปมาลงน่ากลัวจะรื้อไป(อีก)แล้ว ละมัง

(http://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/15062531.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 10:19
เรียน อาจารย์เทาชมพู

อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่ากรมแผนที่ทหารในปัจจุบันจะเป็นสถานที่ตั้งเดียวกันครับผม เพราะว่า กองสำรวจและรังวัด ก่อตั้งสมัยรัชกาลที่ ๕
เดิมตั้งอยู่ในกำแพงรั้วพระบรมมหาราชวัง และย้ายออกมาอยู่กับสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ (ที่วังวินเซอร์ หรือวังที่สระปทุม) และมีการสร้างอาคารที่บางปะอิน เพื่อ
ดำเนินการออกโฉนดที่ดินในท้องถิ่นอยุธยา (เกิดเป็นโฉนดที่ดินฉบับ ๑ ของประเทศครับ)
ต่อมาก็ย้ายไปยังสังกัดของทหาร และไปใช้อาคารเรียนของนักเรียนนายร้อย อย่างในปัจจุบันครับ ซึ่งภาพที่แนบเป็นภาพเดียวกันกับของอาจารย์ครับ
เป็นโรงเรียนสำหรับนายร้อย ครับ

ลำดับสำนักงานที่ตั้ง

พ.ศ. ๒๔๒๖ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียน แผนที่ขึ้น ในพระบรมมหาราชวังอยู่ในบังคับ บัญชา ของสมเด็จกรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อผลิต นักแผนที่ได้บ้างแล้ว จึงโปรดเกล้าให้จัดตั้งกรมแผนที่ขึ้น เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๘ มีพระวิภาคภูวดล (เจมส์ แมคคาธี) เป็นเจ้ากรมคนแรก คงสังกัดอยู่ในกรมทหารมหาดเล็ก รักษาพระองค์

พ.ศ. ๒๓๒๕ กรมแผนที่ได้ย้ายไปสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ มีสำนักงานตั้งอยู่ที่วังสระปทุม ที่ซึ่งเป็น กรีฑาสถานแห่งชาติใน ปัจจุบัน และได้ขยายกิจการกรมแผนที่ทหารไปในมณฑลต่าง ๆ

เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ กรมแผนที่ได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงกลาโหมแล้ว ย้ายสำนักงาน มาอยู่บริเวณปากคลองตลาด

กลางปี พ.ศ. ๒๔๗๔ จึงย้ายมาอยู่เชิงสะพานช้างโรงสี ข้างกระทรวงกลาโหม

พ.ศ. ๒๔๙๓ จึงได้มีการ เสนอทำแผนที่ จากรูปถ่ายทางอากาศให้รัฐบาลพิจารณาอีกครั้ง หนึ่ง รัฐบาลได้ตกลงรับหลักการ เนื่องจาก กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานทางด้านพัฒนามีความต้องการแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ ทั่วประเทศ รวมทั้ง กิจการทหารด้วย ดังนั้นองค์การทำแผนที่จากรูปถ่างทางอากาศจึงได้กำเนิดขึ้น มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ ตึกหน้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต่อมาได้ย้ายไปที่อาคารสร้างใหม่ ถนนราชดำเนินนอก ติดกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า องค์การนี้ ได้ดำเนินงานมาถึง พ.ศ. ๒๔๙๔ จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น กรมสังกัดสำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม และต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้ถูกยุบมาเข้ากับ กรมแผนที่ทหาร กรมแผนที่ทหารบก


ตั้งมาแล้วหลายที่ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 10:27
อ้าว
มิน่า หน้าตาไม่เหมือนกันเลย

น่าจะรู้ล่วงหน้า  ว่าโจทย์กระทู้นี้ ไม่มีเสียละที่จะชั้นเดียว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 10:58
เห็นความงามของตึกเรียนทหารเก่า แล้วอาจารย์เทาชมพู ลองมองไปทางขวามือสักนิด เห็นสิ่งก่อสร้าง แหลมๆ คาดว่าเป็นอะไรหรือครับ ถ้าดูจากทิศแล้วมองไปก็จะถัดจากอาคารไปก็เป็น พื้นที่วังสราญรมย์ - สวนหย่อม - ถนนหน้าวัง - พระบรมมหาราชวัง (ตรงพระที่นั่งบรมพิมาน)

แต่ดูแล้วไม่เหมือนพระที่นั่งบรมพิมานเลย ? ใครทราบบอกด้วยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 11:13
ถ้ายังทายข้างบนไม่ได้ ก็ลองทายที่ง่ายๆดู

ที่ไหนครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 11:21
จากตรงนี้ครับ ผมระบุได้ดังนี้
1. เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ กรมแผนที่ได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงกลาโหมแล้ว ย้ายสำนักงาน มาอยู่บริเวณปากคลองตลาด
2. รูปร่างการก่อสร้าง ทรงจั่วนิยมสร้างบ้านไม้แบบนี้ในสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ - รัชกาลที่ ๖
3. เมื่อดูจากแผนที่สมัยเก่า ระบุว่า มี Royal Survey Department อยู่ปากคลองตลาดจริง ช่วงวัดเลียบเสียด้วย
4. หนังสือ Twentheith Century Impression of Siam ตีพิมพ์สมัยรัชกาลที่ ๖ ก่อนที่จะย้ายไปสังกัดกระทรวงกลาโหม จึงเหลือตัวเลือกที่ใกล้เคียงที่สุดคือ ในข้อ 1.

ตอบ อยู่ใต้ปากคลองตลาด ครับผม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 11:40
นี่ครับ จับแผนที่ได้อีกระวาง ยืนยันครับ ปากคลองตลาด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 ก.ย. 10, 11:42
ตอบในความเห็นที่ ๘๒๕  ว่า  คือ พระราชวังสราญรมย์
เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศอยู่หลายปี
ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ตรงถนนศรีอยุธยา  


ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างบูรณะเพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 13 ก.ย. 10, 11:52
เห็นความงามของตึกเรียนทหารเก่า แล้วอาจารย์เทาชมพู ลองมองไปทางขวามือสักนิด เห็นสิ่งก่อสร้าง แหลมๆ คาดว่าเป็นอะไรหรือครับ ถ้าดูจากทิศแล้วมองไปก็จะถัดจากอาคารไปก็เป็น พื้นที่วังสราญรมย์ - สวนหย่อม - ถนนหน้าวัง - พระบรมมหาราชวัง (ตรงพระที่นั่งบรมพิมาน)

แต่ดูแล้วไม่เหมือนพระที่นั่งบรมพิมานเลย ? ใครทราบบอกด้วยครับ

ยอดแหลมนั้น  ไม่ใช่พระที่จักรีมหาปราสาทเป็นแน่  เพราะพระที่จักรีฯ มองจากถนนกัลยาณไมตรีไม่เห็น
เพราะอยู่ถัดลึกไปทางใต้กว่าวัดพระแก้ว  ยิ่งพระที่นั่งสุทไสวรรย์ยิ่งไม่น่าจะใช่
อาคารยอดแหลมสูงใหญ่ที่อยู่ในระยะที่มองจากอาคารกรมแผนที่ทหาร  แล้วเห็นได้ถนัด
และอยู่ไม่ใต้ไปกว่าพระอุโบสถวัดพระแก้ว
น่าจะเป็นปราสาทพระเทพบิดร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 11:54
พระราชวังสราญรมย์ ถูกต้อง

หลอกคนกรุงรัตนโกสินทร์ไม่สำเร็จ คุณหลวงเล็กเก่งมากครับ
ผมคนบ้านนอก ผ่านเข้าไปเห็นในเมืองเขาทำอะไรกันแล้ว ได้แต่ตื่นตาตื่นใจในทัศนียภาพหลายอย่างที่ไม่เคยเห็น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 12:04
แต่ ตรงนี้ แนวเล็งกล้อง จะต้องเห็นถึงยอดพระที่นั่งจักรีครับ

ดูเส้นสีแดงในภาพกูเกิลข้างล่างนะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 12:08
ตึกที่อยู่หน้าพระที่นั่งจักรีในภาพของคุณหนุ่มสยาม คือพระที่นั่งบรมพิมาน
ซึ่งในสมัยรัชกาลที่5 ต่างกับสมัยที่เราเห็นในรัชกาลปัจจุบันไงครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 12:17

ข้อความโดย: siamese
อ้างถึง
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ กรมแผนที่ได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงกลาโหมแล้ว ย้ายสำนักงาน มาอยู่บริเวณปากคลองตลาด


คุณหนุ่มสยามก็เก่งเหลือเกิน ค้นมาจนได้ ข้อมูลที่ว่าเป็นข้อมูลที่ผมไม่เคยทราบ

ขอแก้ผังบริเวณในภาพของคุณนิดเดียวครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 12:25
ขอบคุณครับ อาจารย์ NAVARAT.C  สำหรับภาพวังสราญรมย์ และขอเสริมด้วยภาพถ่ายหน้าวัง (เมื่อ ม.ค.2553) ครับ


ขอบคุณ คุณluanglek และอ.NAVARAT.C แวะเข้ามาตอบเรื่องพระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งมุมมองนี้ เป็นการผสานภาพเบลอของสองสิ่ง คือ ยอดพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท + อาคารพระที่นั่งบริมพิมาน เข้าด้วยกัน เลยออกมาอย่างที่นำมาถามครับ  ;D ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 12:30
ขอถามภาพนี้ละกันครับ เราเห็นกันบ่อยและคุ้นตากัน ถนนแห่งหนึ่งในบางกอก รู้ไหมว่าควรอยู่มุมไหนของพระนคร?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 12:44
ขออภัยรูปนี้ที่ผมบอกว่าง่าย
ความจริงไม่ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านไปเห็นล่าสุด

ถ้ามีใครเอามาทาย ไม่ต้องหลอกว่าเป็นภาพเก่า ผมก็คงงงเป็นไก่ตาแตกเหมือนกัน
บังเอิญว่าผ่านไปเมื่อวาน เลยกดเอามาให้ดูกันสำหรับท่านทั้งหลายที่ไม่ค่อยได้เข้าไปแถวนั้นน่ะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 12:50
#835
ที่เดียวกันรึเปล่าคะ?

(http://allknowledges.tripod.com/image/gateandwall.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 13:15
# 836
รอแก๊งค์ลูกน้ำลูกเดียวค่ะ 
ป.ล. รูปสีซีเปีย ทำได้เนียนมากค่ะ  ว่างๆจะลองทำดูบ้าง  เอาคืนท่านๆจอมยุทธ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 14:09
ขอถามภาพนี้ละกันครับ เราเห็นกันบ่อยและคุ้นตากัน ถนนแห่งหนึ่งในบางกอก รู้ไหมว่าควรอยู่มุมไหนของพระนคร?

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14425;image)

มีภาพหนึ่งอยู่ในหนังสือ Bangkok in 1892 ของ Messr. Lucien Fournereau ชาวฝรั่งเศส บรรยายว่าเป็น ประตูวัดสระเกศ

(http://xchange.teenee.com/up01/post-109675-1268637496.jpg)

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 14:26
(http://allknowledges.tripod.com/image/citygage2.jpg)

http://allknowledges.tripod.com/pastfort.html
บอกว่าเป็น ถนนมหาไชย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 14:40
ประตูพฤฒิบาศ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 14:45
อาจารย์เทาชมพูครับ ชายหน้าภาพ อยากถามอาจารย์ครับ  ;D ;D ;D

ประตูวัดสระเกศ x
ประตูพฤฒิบาศ x


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 14:54
ภาพในหนังสือของ Messr. Lucien Fournereau เป็นคนละภาพกับของคุณไซอามีส วาดมาจากภาพถ่าย

(http://xchange.teenee.com/up01/post-109675-1268637496.jpg)

(http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2010/03/31-03-53-450x318.jpg)

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศบรรยายว่า

ประตูพฤฒิบาศ และป้อมมหากาฬ มองเห็นยอดภูเขาทองอยู่ลิบ ๆ  รูปเก่าเกือบร้อยปีมาแล้ว บริเวณขวามือปัจจุบันคือหัวมุมลานเจษฎาบดินทร์ ด้านหน้าเป็นถนนราชดำเนิน

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 15:01
อาจารย์เทาชมพูครับ ชายหน้าภาพ อยากถามอาจารย์ครับ  ;D ;D ;D

ประตูวัดสระเกศ x
ประตูพฤฒิบาศ x

ประตูเมืองค่ะ
ตรงหน้าวัดบวรนิเวศ บางลำพู
(รอดมั้ยเนี่ย)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 15:07
อาจารย์เทาชมพูครับ ชายหน้าภาพ อยากถามอาจารย์ครับ  ;D ;D ;D

ประตูวัดสระเกศ x
ประตูพฤฒิบาศ x

ประตูเมืองค่ะ
ตรงหน้าวัดบวรนิเวศ บางลำพู xx
(รอดมั้ยเนี่ย)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 15:20
ไม่รอด   :'(

ใครรู้บ้างว่าถนนมหาไชยมีประตูอะไร?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 15:25
ประตูสำราญราษฎร์

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 15:27
ประตูค่ะ ไม่ใช่ป้อม
มีประตูมหาไชยด้วยหรือ
ถ้าเป็นป้อม จะชื่อป้อมมหากาฬ หรือสามยอด อยู่บนถนนมหาไชย  ก็แปลกอยู่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 15:40
# ๘๔๗ แก้ไขใหม่จากชื่อป้อมเป็นชื่อประตูแล้ว

ประตูสำราญราษฏร์ หรือ ประตูผี

(http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K9594809/K9594809-3.jpg)

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 15:42
หนึ่งในนี้แหละ

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/881/16881/images/story07/bkk_03.jpg)


คุณเพ็นโนทำดิฉันเริ่มสับสนระหว่างประตูกับป้อม    ฝากคุณ siamese กรุณาอธิบายให้ฟังด้วยนะคะ

ชื่อป้อมที่อยู่บนกำแพงเมือง
ตำแหน่งในปัจจุบัน
 
1.ป้อมพระสุเมธุ อยู่ถนนพระอาทิตย์ตรงสวนสันติไชยปราการในปัจจุบัน สถาพสมบูรณ์
2.ป้อมมหาปราบ อยู่ตรงหน้าวันบวรนิเวศในปัจจุบันยังเหลือซากของกระแพงเมืองและประตูเมืองอยู่บางส่วนตรงข้ามวัด
3.ป้อมยุคนธร อยู่ตรงแยกวันชาติฝั่งเชิงสะพาน ตรงนี้ที่มีขายธงชาติขาย
4.ป้อมมหากาฬ อยู่ตรงสะพานผ่านฟ้า ถนนราชดำเนิน สภาพสมบูรณ์
5.ป้อมหมู่ทะลวง ตรงข้ามสวนรมมณีนาถหัวมุมถนนหลวง (กำแพงเมืองช่วงนี้รื้อในปี 2440 เพื่อนำไปอิฐสร้างทางรถไฟสายอยุธยาไปบ้านผาชีและแก่งคอย) ป้อมนี้ชาวบ้านจะเรียกว่า"ประตูผี" เพราะช่วงนึงอหิวาตกโรคระบาดขนศพออกไปเผาที่วัดผ่านประตูนี้
6.ป้อมเสือทะยาน อยู่แยกเจริญกรุงตัดกับถนนมหาไชย อยู่ฝั่งเชิงสะพานดำรงสถิตย์ ป้อมนี้ชาวบ้านเรียกว่า”ประตูสามยอด” เพราะเมื่อตอนตัดถนนเจริญกรุงแคบมากเลยแก้จาก 1 ประตู เป็น 3 ประตู โดยแต่ละประตูจะมียอดสูง
7.ป้อมมหาไชย ตอนนี้เป็นที่ตั้งของอาคารทนุไทยหัวมุมถนนเยาวราชตัดถนนมหาไชย ตรงข้ามกับห้างเมอรี่คิงส์วังบูรพา
8.ป้อมจักรเพชร อยู่ตรงเชิงสะพานพุทธยอดฟ้า ตรงที่เป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1
9.ป้อมผีเสื้อ อยู่ตรงปากคลองตลาด
10.ป้อมมหาฤกษ์ อยู่ในโรงเรียนราชินีล่าง
11.ป้อมมหายักษ์ บริเวณท่าเตียนตรงอาคารกรมการค้าภายในเก่า
12.ป้อมพระจันทร์ อยู่ตรงทางเข้าท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในธรรมศาสตร์ยังมีแนวกำแพงเมืองอยู่
13.ป้อมพระอาทิตย์ อยู่ใต้เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า เป็นต้นถนนพระอาทิตย์
14.ป้อมอิสินธร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสมาคมพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ถนนพระอาทิตย์

จากโอเคเนชั่น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 15:56
เห็นอาจารย์เทาชมพูแปะภาพป้อมทั่วกรุงเทพ ตั้งป้อมแข็งขัน เลยถามสมาชิกช้อนลูกน้อ ต่อเลยว่า  .. ประตูที่อยู่ในภาพเก่านั้น ...เข้าไปไหน... ;D ;D

ของเก่ายังไม่ทราบ ..ของใหม่มาทายอีก ยังไม่ปวดหัวนะครับ   ;D  ;D  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 16:02
เดี๋ยวก่อนค่ะ  มีการบ้านที่ท่านอาจารย์นวรัตนให้ไว้  หอบเอามาหน้านี้อีกครั้ง
นี่วังสราญรมย์หรือคะ?

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14427;image)

ส่วนป้อม & ประตูนั้น    เห็นข้างหน้ายังดูไม่ออกว่าประตูไหน   ใจคอจะถามโหดถึงหลังประตูแล้วหรือ?
ประธานแก๊งค์ลูกน้ำทั้ง ๓ ท่าน( แก๊งค์นี้ไม่มีตำแหน่งอื่น) หายไปไหนหมดไม่รู้ในวันจันทร์   สงสัยจะไปทำงานกันหมด  ค่ำๆคงทยอยกันขึ้นเรือนมาตอบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 13 ก.ย. 10, 16:04
สวัสดีค่ะทุกท่านที่เคารพ นักช้อนลูกน้ำป่วยเป็นหวัดอย่างแรงเสียแล้ว

อ่านกระทู้ไม่ทันเลย มีของดี ข้อมูลใหม่ ๆ มาให้ดูและอ่านกันแทบรับไม่ทัน

ขอกลับไปอ่านก่อนนะคะ

กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพู และ อาจารย์ Navarat C เรื่องวิธีCopy File ค่ะ
มีปัญหานิดหน่อยคือ ดิฉันใช้ Chrome ไม่ใช่  Explorer แต่พอได้เค้าลางวิธีทำบ้างแล้ว
ขอบคุณค่ะ

คุณLuanglek ขา เอารูปยาก ๆ ทั้งนั้นเลย ทายแล้วอย่าลืมแวะมาเฉลยบ้างนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 13 ก.ย. 10, 16:10
อ้างถึง
5.ป้อมหมู่ทะลวง ตรงข้ามสวนรมมณีนาถหัวมุมถนนหลวง (กำแพงเมืองช่วงนี้รื้อในปี 2440 เพื่อนำไปอิฐสร้างทางรถไฟสายอยุธยาไปบ้านผาชีและแก่งคอย) ป้อมนี้ชาวบ้านจะเรียกว่า"ประตูผี" เพราะช่วงนึงอหิวาตกโรคระบาดขนศพออกไปเผาที่วัดผ่านประตูนี้

อาจารย์เทาชมพูขา อ่านปั๊ป สงสัยปุ๊ปเชียวค่ะ อิฐสร้างกำแพง กับ อิฐสร้างทางรถไฟสายอยุธยาไปบ้านภาชี มันอิฐชนิดเดียวกัน ใช้แทนกันได้หรือ แถวแก่งคอยนั่น มีอิฐให้ระเบิดใช้อยู่ข้าง ๆ ทางรถไฟ ไฉนจึงต้องมารื้อกำแพงเมืองไปด้วยคะ

ข้อมูลนี้ ขัดแย้งกับความเป็นจริงมากค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 16:17
เดี๋ยวก่อนค่ะ  มีการบ้านที่ท่านอาจารย์นวรัตนให้ไว้  หอบเอามาหน้านี้อีกครั้ง
นี่วังสราญรมย์หรือคะ?

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14427;image)

ส่วนป้อม & ประตูนั้น    เห็นข้างหน้ายังดูไม่ออกว่าประตูไหน   ใจคอจะถามโหดถึงหลังประตูแล้วหรือ?
ประธานแก๊งค์ลูกน้ำทั้ง ๓ ท่าน( แก๊งค์นี้ไม่มีตำแหน่งอื่น) หายไปไหนหมดไม่รู้ในวันจันทร์   สงสัยจะไปทำงานกันหมด  ค่ำๆคงทยอยกันขึ้นเรือนมาตอบ

ใช่ครับ อาจารย์เทาชมพู รูปนั้นเป็นการบูรณะวังสราญรมย์ครับ ด้านหน้าประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และทาสีใหม่ครับ

อย่าลืมถนนอะไร / ประตูอะไร / ประตูไปไหน / หลังประตูเป็นอะไร  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 16:20
ผ่านประตูผีก็เข้าวัดสระเกศ

ขออภัยที่ทำให้คุณเทาชมพูงง

แก้ตัวด้วยถนนมหาไชยในรัชกาลที่ ๕ ก่อนมีรถราง

 :D





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 16:23
เรื่องรื้อกำแพงไปสร้างทาง  ไม่มีความรู้เรื่องรายละเอียดเลยค่ะว่าเขาทำกันได้อย่างไร     ต้องขอผู้รู้ทางนี้มาตอบ

แต่เคยอ่านพบว่าสมัยธนบุรีก็ขนอิฐจากอยุธยามาใช้กันมาก    
เมื่อครั้งสร้างทางรถไฟไปนครปฐม  เห็นว่าทลายโบราณสถานตามรายทางลงไปมาก เพื่อเอาอิฐมาใช้ในการสร้างทาง

เป็นหวัด ต้องพักผ่อนมากๆ  ดื่มน้ำเยอะๆ  เล่นเน็ตน้อยๆ (เข้าเรือนไทยที่เดียว)
หายหวัดคราวนี้แล้ว    ไปฉีดวัคซีนกันไข้หวัดใหญ่เสียนะคะ    ได้ข่าวว่าหวัดที่ระบาดตอนนี้ แรงมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 13 ก.ย. 10, 16:31
ประตู ไม่ใช่ป้อม ป้อมไม่ใช่ประตู อูยยย.... อ่านแล้วไข้ขึ้นจริง ๆ ค่ะ

เอาจากความจำของคนที่เป็นหลานอดีตนักโทษการเมืองนะคะ
คุก ที่เป็นสวนสาธารณะไปแล้ว เคยเป็นที่ขังนักโทษการเมืองอยู่ระยะหนึ่ง
ภาษาชาวบ้านเรียกคุกนี้ว่า คุกประตูผี เพราะให้เยี่ยมได้ทางด้านนั้น

ปู่บอกว่า นักโทษคนไหน กลายเป็นผี เขาก็ขนออกมาทางนี้เหมือนกัน

ประตูผี เมื่อแรก ๆ ก็เป็นที่ขนศพไปทิ้งลานวัดสระเกศ นอกกำแพงเมือง
สมัยแรก ๆ คนไทยยังไม่เผาผีกันนะคะ เอาทั้งตัวไปทิ้งให้แร้งกากิน
ยังหาหนังสือประวัติ ปอเต็กตึ้ง ไม่พบค่ะ ไปซุกไว้ไหนก็ไม่ทราบ
เพราะยืนยันแน่ชัดว่า คนจีนเห็นแล้วอุดจาดตา จึงอาสาเก็บศพไปเผาหรือฝังให้
เพื่ออนามัยแก่เมืองหลวงของไทยเอง จึงเป็นต้นกำเนิดมูลนิธิเพื่อสาธารณะกุศล

กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูที่เตือนเรื่องสุขภาพค่ะ
เป็นความจริงค่ะ หวัดที่ระบาดตอนนี้แรงมาก ขนาดฉีดยาแล้วยังเอาไม่อยู่
ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพด้วยการเชื่อฟังอาจารย์เทาชมพู ที่บอกว่า ใ
ห้เล่น Net ทีเดียว คือ เรือนไทย.......อิอิอิ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 16:42
หายไข้ไวๆนะครับ คุณ Ruamrudee

นี่ครับ บางภาพของการจัดการศพของชาวสยาม ที่หนังสือฝรั่งได้วาดไว้ บรรดาชาวสยามที่เสียชีวิต จะเผา หรือไม่ก็ปล่อยให้นกแร้งมาจิกกิน เนื่องด้วยไม่มีเงินทองที่จะจัดการกับบรรดาศพ จึงปล่อยทิ้งไว้ในลานวัด ซึ่งก็คือ วัดสระเกศ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 16:44
สมัยแรก ๆ คนไทยยังไม่เผาผีกันนะคะ เอาทั้งตัวไปทิ้งให้แร้งกากิน

รูปชนกลางอากาศกับคุณ siamese เลย

(http://www.blogth.com/uploads/h/heritage/6325.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 17:08
วังสราญรมย์ในอดีต

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/f/f6/พระราชวังสราญรมย์.jpg)

ว่าแต่..ประตูปริศนาของคุณ siamese    คือประตูผี สำราญราษฎร์ใช่ไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 17:22
เป็นประตูเดียวกับรูปนี้

ในเอกสารเก่าบอกว่า พระนครเมื่อแรกสร้าง มีกำแพงพระนคร และคูพระนครยาว 175 เส้นเศษ (7 กิโลเมตรเศษ) มีเนื้อที่ในกำแพงพระนคร  2,163  ไร่  กำแพงสูงประมาณ 7 ศอก (3.60 เมตร) หนาประมาณ 5 ศอก (2.70 เมตร)  มีประตู  63  ประตู  เป็นประตูใหญ่  กว้างประมาณ  8  ศอก (4.20 เมตร) สูงประมาณ  5  ศอก (2.70  เมตร)  สูงประมาณ  4  ศอกคืบ (2.40  เมตร)  47  ประตู มีป้อม  14  ป้อม   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 17:34
ก็กลับไปรูปเดิมน่ะแหละค่ะ :-\

(http://allknowledges.tripod.com/image/citygage2.jpg)

อีกนานกว่าจะถึงเวลานอน  ยังมีเวลาฉีดวัคซีนกันหลอน
ขอตอบว่าประตูผี (ตามคุณเพ็ญชมพูและคุณร่วมฤดี)

ยังไงก็ไม่ใช่ประตูข้างล่างนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 18:15
ระหว่างที่คุณหนุ่มสยามหายไป
ถือว่าผมชวนคุยก็แล้วกัน

ผมคิดว่าประตูผีที่เขาเอาศพออกน่าจะอยู่ใกล้กับวัดสระเกศที่สุด สมัยก่อนทั้งเจ้านายและราษฎรทั่วไปจะไปเผากันที่นั่น แต่เจ้านายจะมีเมรุปูนดูดีหน่อย เมื่อดูภาพถ่ายแรกๆในสมัยรัชกาลที่4 ประตูเมืองที่อยู่ใกล้ภูเขาทองที่สุด(เพราะตั้งกล้องบนนั้น)ก็อยู่หน้าวัดเทพธิดาราม เป็นประตูใหญ่ทีเดียว

โปรดสังเกตุ หลังคาจะไม่เหมือนรูปที่มาทาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 18:23
ประตูเมืองสมัยรัชกาลที่1มีตั้ง110ประตู คงไม่ได้ตั้งชื่อเพราะๆคล้องจองกันเหมือนประตูพระบรมมหาราชวังกระมัง ชาวบ้านก็คงตั้งชื่อเรียกกันไปตามสะดวก เพราะเรารู้จักชื่อกันไม่กี่ประตู ที่ดังๆก็ประตูผี ประตูสามยอด ประตูสำราญราษฎร์ บนนถนนมหาไชยเอง ในช่วงวัดราชนัดดา มีอีก2ประตูเล็กๆ ที่เห็น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 18:26
ซึ่งปัจจุบัน เหลืออยู่ช่องเดียว มีสภาพเช่นนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 18:33
นี่เป็นอีกรูปหนึ่ง มีการบรรยายว่าที่เห็นลิบๆคือประตูสำราญราษฎร์หรือประตูผี

ผมขยายดูยังไงก็ไม่เห็นสิ่งที่ว่าเห็นลิบๆ เห็นแต่ป้อม ไม่เห็นประตู เลยไม่ทราบว่าประตูที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร
ผมเอาประตูที่ยังไม่ได้รับการเฉลยชื่อ คิดว่าเป็นประตูเดียวกันเพราะยอดเหมือนกัน แต่ถ่ายในสมัยยังไม่มีรถรางมาให้ดูด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 13 ก.ย. 10, 18:47
ขอตอบเรื่องยอดแหลมๆ ที่เห็นในภาพกรมแผนที่ทหารครับ 
ขอตอบว่าน่าจะเป็นยอดพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทในสวนศิวาลัยครับ  เนื่องจากในเวลานั้นยังมิได้สร้างพระที่นั่งบรมพิมาน  จึงน่าจะมองเห็นยอดพระมหาปราสาทซึ่งอยู่ลึกเข้าไปได้ชัดเจน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 18:58
คุณวีมีเข้ามาตอบแล้ว  ใครจะช่วยตอบคุณวีมีบ้างคะ

ถ้าวันนี้ดิฉันตาลาย ตอบผิดตั้งแต่เช้าจนค่ำก็ขออภัยด้วย  เพราะเจอหมัดจากคุณ siamese เข้าไป รัวคำถามแต่ไม่ยิงคำตอบ เลยไม่รู้ว่าประตูไหนเป็นป้อมไหน

ที่คุณนวรัตนบอกว่า
อ้างถึง
ผมขยายดูยังไงก็ไม่เห็นสิ่งที่ว่าเห็นลิบๆ เห็นแต่ป้อม ไม่เห็นประตู เลยไม่ทราบว่าประตูที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร
เข้าใจว่าคำบรรยายคงหมายถึงประตูตามที่ดิฉันวงกลมสีแดงเอาไว้     แต่ถ้ามันเรียกว่าป้อม ไม่เรียกว่าประตู ก็แปลว่ามึนไปแล้ว  ไม่ต้องรับฟังนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 19:04
อ้าวเจอแล้ว

รูปถนนหน้าวัดราชนัดดาสมัยต้นรัชกาลที่5 ก่อนจะมีรถราง ทรงตัดถนนใหม่รอบแนวกำแพงพระนครดังภาพ มีบรรยายว่าที่เห็นข้างหน้าคือประตูสำราญราษฎร์ หรือประตูผี

ซึ่งผมซูมให้ดูยอดประตูทรงแหลมที่เหมือนกันให้ชมชัดๆเท่าที่จะทำได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 19:08
ในที่สุด ก็ได้คำตอบ
ประตูผี หรือสำราญราษฎร์
โล่งใจ...


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 19:14


อ้างถึง
ผมขยายดูยังไงก็ไม่เห็นสิ่งที่ว่าเห็นลิบๆ เห็นแต่ป้อม ไม่เห็นประตู เลยไม่ทราบว่าประตูที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

อ้างถึง
เข้าใจว่าคำบรรยายคงหมายถึงประตูตามที่ดิฉันวงกลมสีแดงเอาไว้     แต่ถ้ามันเรียกว่าป้อม ไม่เรียกว่าประตู ก็แปลว่ามึนไปแล้ว  ไม่ต้องรับฟังนะคะ


ก่อนนอน กรุณาทานยาแก้มึนก่อนครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 19:21


อ้างถึง
ผมขยายดูยังไงก็ไม่เห็นสิ่งที่ว่าเห็นลิบๆ เห็นแต่ป้อม ไม่เห็นประตู เลยไม่ทราบว่าประตูที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

อ้างถึง
เข้าใจว่าคำบรรยายคงหมายถึงประตูตามที่ดิฉันวงกลมสีแดงเอาไว้     แต่ถ้ามันเรียกว่าป้อม ไม่เรียกว่าประตู ก็แปลว่ามึนไปแล้ว  ไม่ต้องรับฟังนะคะ


ก่อนนอน กรุณาทานยาแก้มึนก่อนครับ


สรุปว่าคุณนวรัตนเห็นป้อม ไม่เห็นประตู
ส่วนดิฉันเห็นประตู ไม่เห็นป้อม

ตกลงแบ่งยากันแฟร์ๆ คนละครึ่งนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 19:30
หลงประเด็นไปประตูสำราญราฎร์กันใหญ่แล้ว กลับมาที่ประตูเดิมครับ เอาภาพชัดๆให้ชมกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 19:36
ครับไม่หลงประเด็นครับ แต่ช้าหน่อยตามธรรมเนียมคนตอบ กว่าจะค้นสารพัดหนังสือจนเจอ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 19:40
ว่าแต่เขา เราเป็นเอง อิอิ ....เห็นเขาคุยประตูผี เอามาฝากด้วย นี่คือประตูผี เป็นภาพที่ถ่ายไว้เมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ ตัวประตูเป็นทรงหอรบ ซึ่งได้แปลงรูปแบบในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 19:48
โหว...ยกนิ้วให้อาจารย์ NAVARAT.C ครับ ยันหนังสือมาเลย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 19:53
เทียบกับปัจจุบัน

แนวกำแพงเมืองได้ถูกรื้อทิ้งและขยายเป็นผิวถนน ดังนี้ประตูสะพานหัน ปัจจุบันอยู่กลางถนนครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 20:08
หลังประตู เดินผ่านร้านค้าไม่เท่าไร เพราะต้นไม้ใหญ่ขึ้นครึ้ม และเข้าไปถึงสะพานหันได้เลยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 20:12
ขอคารวะ   เยี่ยมจริงๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 20:16
อ้างถึง
ขอตอบเรื่องยอดแหลมๆ ที่เห็นในภาพกรมแผนที่ทหารครับ 
ขอตอบว่าน่าจะเป็นยอดพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทในสวนศิวาลัยครับ  เนื่องจากในเวลานั้นยังมิได้สร้างพระที่นั่งบรมพิมาน  จึงน่าจะมองเห็นยอดพระมหาปราสาทซึ่งอยู่ลึกเข้าไปได้ชัดเจน

   

พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทอยู่นอกแนวกล้องมากครับ และมีตึกต่างๆบังมากมาย คงไม่ใช่หรอกครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 13 ก.ย. 10, 20:38
สงสัยสะพานหันเข้าสำเพ็งคงจะไม่ได้สพานสวยงามตามรูปที่คุณหนุ่มสยามเอามาให้ดูนะครับ

สะพานหันยุคก่อนทุบประตูเมืองตรงนี้เป็นสะพานสร้างด้วยเหล็กแบบง่ายๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ย. 10, 20:43
อ้างถึง
5.ป้อมหมู่ทะลวง ตรงข้ามสวนรมมณีนาถหัวมุมถนนหลวง (กำแพงเมืองช่วงนี้รื้อในปี 2440 เพื่อนำไปอิฐสร้างทางรถไฟสายอยุธยาไปบ้านผาชีและแก่งคอย) ป้อมนี้ชาวบ้านจะเรียกว่า"ประตูผี" เพราะช่วงนึงอหิวาตกโรคระบาดขนศพออกไปเผาที่วัดผ่านประตูนี้

อาจารย์เทาชมพูขา อ่านปั๊ป สงสัยปุ๊ปเชียวค่ะ อิฐสร้างกำแพง กับ อิฐสร้างทางรถไฟสายอยุธยาไปบ้านภาชี มันอิฐชนิดเดียวกัน ใช้แทนกันได้หรือ แถวแก่งคอยนั่น มีอิฐให้ระเบิดใช้อยู่ข้าง ๆ ทางรถไฟ ไฉนจึงต้องมารื้อกำแพงเมืองไปด้วยคะ

ข้อมูลนี้ ขัดแย้งกับความเป็นจริงมากค่ะ

นี่ครับคุณ Ruamrudee ภาพนี้เป็นการวางเส้นทางรถไฟเมื่อสมัยก่อน จะเห็นว่าพื้นราง ต้องบดอัดและถม ยกระดับราง ดังนั้นอาจจะใช้อิฐที่รื้อจากป้อมและกำแพงมาคลุกกับดินบดอัดเพื่อวางรางรถไฟ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 20:47
ประวัติสะพานหัน

สะพานหันสะพานข้ามคลองโอ่งอ่างปลายถนนสำเพ็ง ชื่อสะพานมาจากลักษณะสะพานเมื่อแรกสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คือเป็นสะพานไม้แผ่นเดียวทอดข้ามคลองปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ อีกปลายวางพาดกับฝั่งตรงข้ามโดยไม่ตอกตรึง สามารถจับหันเพื่อเปิดทางให้เรือผ่านและหันปิดสำหรับคนสัญจรข้าม คนทั่วไปเรียกสะพานแบบนี้ว่า "สะพานหัน" มีใช้อยู่ทั่วไปทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด
สำหรับที่อื่นๆนั้น เมื่อลักษณะสะพานเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย ชื่อสะพานจึงเปลี่ยนไปด้วย แต่สะพานที่ยังคงเดิมจนบัดนี้เหลืออยู่เพียงสะพานเดียว คือสะพานหันข้ามคลองโอ่งอ่าง แม้ว่าปัจจุบันจะหันไม่ได้เหมือนเดิม

สะพานหันได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะจากเดิมหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้เรียบเสมอกัน ใต้พื้นไม่มีล้อเหล็กแล่นบนราง สามารถแยกสะพานออกจากกันให้เรือผ่านได้ และอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างสะพานหันใหม่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสะพานอื่นๆในกรุงเทพฯ ทั้งอดีตและปัจจุบัน เพราะทรงนำแบบมาจากสะพานริอัลโตที่เมืองเวนิช และสะพานเวคคิโอที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี คือเป็นสะพานไม้รูปโค้งกว้างกว่าปกติ เพราะ 2 ฟากสะพานมีห้องแถวเล็กๆ สำหรับให้เช่าขายของ ฟากละ ๗ หรือ ๘ ห้อง ตรงกลางเป็นทางเดินกว้างประมาณ ๑.๕ เมตร ปัจจุบันสะพานหันเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเช่นเดียวกับสะพานทั่วๆไป แต่ชื่อสะพานยังคงเหลือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงลักษณะสะพานเมื่อแรกสร้าง

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sanamluang&month=08-2007&date=21&group=3&gblog=29


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ย. 10, 22:14
ฝากรูปวัดไว้ให้ทายกันเล่นๆ  พรุ่งนี้มาฟังคำตอบค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 14 ก.ย. 10, 00:28
เช้าห้องเรียนยามดึก
รีบทายก่อน.............
กลัวถูกรีไทร์ครับ...................

 ;D

วัดพิชยญาติการามวรวิหาร ตั้งอยู่ไม่ไกลพิชัยจากสะพานพระพุทธยอดฟ้า
ฝั่งธนบุรี เดิมเป็นวัดร้าง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุญนาค)
หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ แล้วน้อมเกล้าฯ
ถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระราชทานนามว่า
วัดพระยาญาติการาม แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดพิชัยญาติ
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 14 ก.ย. 10, 01:28
มาช่วยท่านลุงsrisiamยืนยันอีกคนครับ ภาพมุมใกล้เดียงครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 07:17
รูปที่เอามาถามแต่ละภาพ สุดปัญญาที่จะค้นหาจากสมองว่าเป็นภาพจากที่ใด หรือทำไม หรืออย่างไร ต้องค้นหาตำรา หรือที่อ้างอิงมาให้เจอ จึงจะตอบได้ ฉะนั้นท่านที่ไม่ได้ทำงานทำการเกี่ยวข้องโดยตรง หรือสะสมหนังสือที่มีภาพโบราณไว้ข้างตัว ก็อย่าได้โทษตัวเองถ้าจะตอบไม่ได้ ดูแล้วก็ผ่านๆไปสนุกๆก็แล้วกัน

ที่ว่ามายืดยาวก็เพราะจะเอาภาพนี้มาถาม เหตุว่ามีความใกล้เคียงกับรูปที่ท่านอาจารย์เทาชมพูให้การบ้านไว้ ท่านที่ไม่มีหนังสือที่เป็นที่มาของรูป หรือเกิดแถวนั้นโตแถวนั้น ช้อนลูกน้ำอยู่แถวนั้น ก็คงจะไม่มีทางเดาถูก และจะได้ไม่ว่าผมที่เอารูปโหดๆมาทาย


เอ้า…ที่หนายครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 07:31
วัดพิชัยญาติ

ภาพจะเห็นบางส่วนของสะพานหกอยู่ด้านหน้า

ส่วนภาพของอาจารย์เทาชมพู เอามาเติมความเข้มหน่อยก็จะเห็นเจดีย์คู่ชัดเจนขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.ย. 10, 08:11

คุณLuanglek ขา เอารูปยาก ๆ ทั้งนั้นเลย ทายแล้วอย่าลืมแวะมาเฉลยบ้างนะคะ

เขาตอบถูกหมดแล้วครับ  ถ้าผมไม่มาปฏิเสธคำตอบ  ก็เป็นอันว่าเขาตอบถูกล่ะครับ  ;D

วันนี้  มีภาพง่ายๆ ๑ ภาพหมู่ มาให้หากันหน่อยว่า  สถานที่นี้คือที่ใดในกรุงเทพฯ
เป็นเหตุการณ์อะไร  และเกิดขึ้นในวันเดือนปีใด ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 08:24
รูปที่เอามาถามแต่ละภาพ สุดปัญญาที่จะค้นหาจากสมองว่าเป็นภาพจากที่ใด หรือทำไม หรืออย่างไร ต้องค้นหาตำรา หรือที่อ้างอิงมาให้เจอ จึงจะตอบได้ ฉะนั้นท่านที่ไม่ได้ทำงานทำการเกี่ยวข้องโดยตรง หรือสะสมหนังสือที่มีภาพโบราณไว้ข้างตัว ก็อย่าได้โทษตัวเองถ้าจะตอบไม่ได้ ดูแล้วก็ผ่านๆไปสนุกๆก็แล้วกัน

ที่ว่ามายืดยาวก็เพราะจะเอาภาพนี้มาถาม เหตุว่ามีความใกล้เคียงกับรูปที่ท่านอาจารย์เทาชมพูให้การบ้านไว้ ท่านที่ไม่มีหนังสือที่เป็นที่มาของรูป หรือเกิดแถวนั้นโตแถวนั้น ช้อนลูกน้ำอยู่แถวนั้น ก็คงจะไม่มีทางเดาถูก และจะได้ไม่ว่าผมที่เอารูปโหดๆมาทาย

จะแก้ตัวยังไงก็ตาม  ก็ขอต่อว่าทุกท่านที่เอารูปโหดๆมาทายอยู่ดีละค่ะ 
ล่าสุดเช้านี้   ก็คุณหลวงเล็ก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 08:42
ภาพ890 ของคุณหลวงเล็ก คือ วันเสด็จไปที่ท่าวาสุกรี ทรงประกอบพิธีพระราชทานเรือ "เวชพาหน์" 19 ม.ค.2498


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 08:44
ของคุณหลวงเล็กโหดกว่า

ใน๑ภาพหมู่ของคุณหลวงเล็ก พระเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์คนละแบบด้วย อื้อฮือ

สองเหตุการณ์นะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 08:53
อาจารย์ Navarat สังเกตุได้ละเอียดมาก ๆ ขอแสดงความนับถือ แต่ดิฉันเข้าใจว่า คุณหลวงเล็ก เอามาประกอบ ให้เราได้ปะติดปะต่อเรืองราวเท่านั้น คงไม่ใช่วันเดียวกันทั้งหมด

จาก 2 รูปแรก แปลว่า ต้องเป็นเรือที่ใช้เกี่ยวข้องกับการพยาบาล มีองค์สถานายิกากาชาดไทยเสด็จด้วย

ดิฉันสงสัยว่า ในรูปสุดท้ายชวาสุด จะเห็นชายในชุดโจงกระเบน อยากทราบว่า

นั่นคือ พระองค์เจ้าจุมภฏพงศ์บริพัตรใช่หรือไม่
ทรงเสด็จไปในฐานะอะไรในวันนั้นคะ่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.ย. 10, 08:59
รูปที่เอามาถามแต่ละภาพ สุดปัญญาที่จะค้นหาจากสมองว่าเป็นภาพจากที่ใด หรือทำไม หรืออย่างไร ต้องค้นหาตำรา หรือที่อ้างอิงมาให้เจอ จึงจะตอบได้ ฉะนั้นท่านที่ไม่ได้ทำงานทำการเกี่ยวข้องโดยตรง หรือสะสมหนังสือที่มีภาพโบราณไว้ข้างตัว ก็อย่าได้โทษตัวเองถ้าจะตอบไม่ได้ ดูแล้วก็ผ่านๆไปสนุกๆก็แล้วกัน

ที่ว่ามายืดยาวก็เพราะจะเอาภาพนี้มาถาม เหตุว่ามีความใกล้เคียงกับรูปที่ท่านอาจารย์เทาชมพูให้การบ้านไว้ ท่านที่ไม่มีหนังสือที่เป็นที่มาของรูป หรือเกิดแถวนั้นโตแถวนั้น ช้อนลูกน้ำอยู่แถวนั้น ก็คงจะไม่มีทางเดาถูก และจะได้ไม่ว่าผมที่เอารูปโหดๆมาทาย

จะแก้ตัวยังไงก็ตาม  ก็ขอต่อว่าทุกท่านที่เอารูปโหดๆมาทายอยู่ดีละค่ะ  
ล่าสุดเช้านี้   ก็คุณหลวงเล็ก

ขนาดเอาภาพยากๆ มาให้ทายกัน  ก็ยังแย่งกันค้นแย่งกันโพสต์ตอบประหนึ่งว่าเป็นของง่าย
อย่างภาพโปสต์การ์ดถนนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ  มีรถรางแล่นอยู่ไกลๆ  
ไม่มีอะไรโดดเด่นในภาพ (และผมก็ไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน)
ท่านทั้งหลายก็ยังหาจนเจอว่า  คือ ที่ไหนในกรุงเทพฯ เมื่ออดีต  
นี่ไม่ใช่ชมรมช้อนลูกน้ำแล้วล่ะครับ
อย่างนี้ต้องยกระดับเป็นชมรมคนชอบย่อยหินได้แล้ว

อย่าว่าแต่บอกว่าภาพที่ไหนในกรุงเทพฯ เลย
ข้อมูลประกอบ ประวัติของสถานที่  วันเวลาที่ถ่ายภาพก็อาจระบุได้
อย่างนี้ถึงโหดหินอย่างไร   ผมก็เห็นว่าทุกคนพยายามอย่างยิ่งยวด
(ก็ขนาดแก้ปริศนาภาพไม่ตก ยังนอนไม่หลับ  
ลุกขึ้นเช้ามาหรือกลางดึกมาค้นตอบต่อจนได้  โอ้โฮ :o)


นั่นไง  เอาแล้ว   ไหนว่าโหด  ตอบกันเป็นฉากๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 09:08
อ้างถึง
นี่ครับคุณ Ruamrudee ภาพนี้เป็นการวางเส้นทางรถไฟเมื่อสมัยก่อน จะเห็นว่าพื้นราง ต้องบดอัดและถม ยกระดับราง ดังนั้นอาจจะใช้อิฐที่รื้อจากป้อมและกำแพงมาคลุกกับดินบดอัดเพื่อวางรางรถไฟ

รื้อกำแพง เพื่อเอาเศษอิฐหักไปบดอัด ทำพื้นราง ??????

ดินและอิฐหินข้างทางหาง่ายกว่าจะต้องขนไปเป็นทางไกล ๆ จากกรุงเทพไปบ้านภาชีนะคะ ไม่น่าจะคุ้มค่าค่ะ

จริงอยู่หลังเสียกรุงครั้งที่ 2 เมื่อแรกสร้างกรุงเทพ ต้องไปรื้ออิฐเก่าที่พระนครศรีอยุธยาลงมาใช้ก่อสร้าง

นั่นเป็นการเอาอิฐแดง ๆ เป็นก้อน ๆ ลงมาก่อสร้างกำแพงหรืออาคาร ไม่ต้องเสียเวลาปั้นและเผา

อันนี้คุ้มค่าว่ารื้อไปบดทิ้งถมที่เป้นพื้นรางนะคะ เป็นข้อสังเกตุเท่านั้นค่ะ ไม่ทราบว่า ถูกผิดประการใด


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 09:12
ภาพปริศนาของคุณหลวงเล็ก

http://www.redcross.or.th/aboutus/health.php

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 14 ก.ย. 10, 09:13
โยนไม้ต่อให้คุณหนูร่วฤดี-หัวหน้าแก๊งค์....ด้วยภาพเรือเวชพาหน์ที่ทรงเจิมชื่อและพระราชทานให้สภากาชาดไทย..
ยังไม่ทราบวดป.
รบกวนหาต่อด้วยครับ.......


หายป่วยไวดีจัง..ยินดีด้วยครับ

 :)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 09:16
รูปในค.ห. 888 (เลขสวยเสียด้วย) มีคำบรรยายใต้ภาพว่า
Siamesen bei-einem tempel .....
ไม่ได้เรียนเยอรมัน  แต่เดาว่าเป็นชื่อวัด
ตาลาย ดูครั้งแรกนึกว่าเป็นวัดพิชัยญาติ   แต่มาดูอีกที  ไม่เห็นมีเจดีย์
มีแต่โบสถ์หรือวิหาร ลักษณะเหมือนก่อสร้างสมัยรัชกาลที่ ๓   ประดับกระเบื้อง ไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์
สรุปแล้วก็ดูไม่ออกตามเคยค่ะ

คุณหลวงเล็กละก็    การที่เข้ามาทายกันแทบเป็นแทบตายเนี่ย ไม่เรียกว่าโหด(หิน) หรือคะ

เพิ่มเติม
คุณเพ็ญชมพู เจ๋งมากค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 09:27
อ้างถึง
ยังไม่ทราบวดป.

ลุง Srisiam จ๋า ตอบไปแล้วค่ะ ที่ 892 มีวันเดือนปีครบค่ะ

หนูยังไม่หายป่วยค่ะ ยังหายใจทางปาก(เหมือนลูกน้ำ)ค่ะ เดี๋ยวก็ต้องนอนเพราะฤทธิ์ยาแล้ว

ขอให้เซีนยทั้งหลาย สู้ ๆ ๆ ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.ย. 10, 09:30
รูปในค.ห. 888 (เลขสวยเสียด้วย) มีคำบรรยายใต้ภาพว่า
Siamesen bei-einem tempel .....
ไม่ได้เรียนเยอรมัน  แต่เดาว่าเป็นชื่อวัด

ตาลาย ดูครั้งแรกนึกว่าเป็นวัดพิชัยญาติ   แต่มาดูอีกที  ไม่เห็นมีเจดีย์
มีแต่โบสถ์หรือวิหาร ลักษณะเหมือนก่อสร้างสมัยรัชกาลที่ ๓   ประดับกระเบื้อง ไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์
สรุปแล้วก็ดูไม่ออกตามเคยค่ะ

คุณหลวงเล็กละก็    การที่เข้ามาทายกันแทบเป็นแทบตายเนี่ย ไม่เรียกว่าโหด(หิน) หรือคะ

เพิ่มเติม
คุณเพ็ญชมพู เจ๋งมากค่ะ

Siamesen, bei-einem Tempel in  der  Naehe  von Bangkok  landend.
คำบรรยายภาพภาษาเยอรมันนั้น  ไม่ได้บอกชื่อวัดในภาพ  
พอมีความรู้ภาษาเยอรมันอยู่บ้าง  จะแปลแต่เกรงว่าจะแปลผิดเพราะเรื้อมานาน
แต่ยืนยันว่าไม่ใช่ชื่วัดแน่นอนครับ

ง่ายไปก็ไม่สนุกสิครับ   อย่างนี้ดี  ได้ความรู้ด้วย  


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 09:38
ที่เข้าไปแก้ค.ห.คุณหลวง ไม่ได้แก้ข้อเขียนของคุณหลวงนะคะ รีบบอกไว้ก่อน
แต่ดิฉันตาลายเห็นชื่อคุณเพ็ญชมพูเป็นคุณร่วมฤดี  พอคุณหลวง quote มา   เลยต้องไล่ตามแก้   กันคนอ่านงง

เห็นจะไม่มีอะไรดีไปกว่าถอยไปนั่งหลังเวที   แล้วไล่ตามเก็บกระทู้ที่ตัวเองทิ้งค้างไว้สองสามกระทู้
ส่วนกระทู้นี้  หลีกทางให้จอมยุทธภาพเก่า แสดงฝีมือกันไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 09:40
อ้างถึง
รื้อกำแพง เพื่อเอาเศษอิฐหักไปบดอัด ทำพื้นราง

ดินและอิฐหินข้างทางหาง่ายกว่าจะต้องขนไปเป็นทางไกล ๆ จากกรุงเทพไปบ้านภาชีนะคะ ไม่น่าจะคุ้มค่าค่ะ

คุณร่วมฤดีครับ

ข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครเถียงได้ก็คือ หินมีกำลังรับแรงบดอัดได้ดีกว่าอิฐหักแน่นอน
แต่..สมัยโน้น การย่อยหินมาเป็นจำนวนมากๆยังทำด้วยแรงคน ไม่ง่าย (ในอินเดียสมัยนี้ยังทำเหมืองหินโดยใช้กรรมกรล้วนๆ เหมือนกรรมกรทาสอยู่เลย ไม่กี่ปีมานี้ผมไปมาเห็นกับตา) การรืออิฐจากกำแพง เอาอิฐหักไปใช้ง่ายกว่ามาก

แต่ก็คงเอาไปใช้ช่วงที่ทำแนวรางออกจากกรุงเทพแหละครับ อิฐที่ริ้อจากกำแพงไปก็คงจะไม่มีมากเท่าไหร่ อย่่างมากที่สุดพอถึงแถวดอนเมืองก็น่าจะหมดแล้ว เส้นทางต่อจากนั้นคงต้องเอาหินจากสระบุรี ใส่เรือล่องมา แล้วขนจากเรือใส่รถเทียมช้าง ลากเอามาทำรางต่ออีกที



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 09:44
เอาภาพหมู ๆ มาให้ช่วยกันเคี้ยว

วัดอะไร

 ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 10:00
พระสมุทรเจดีย์ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 10:03
พระสมุทรเจดีย์รูปนี้ต่างหาก

 ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 10:06
เอาภาพหมู ๆ มาให้ช่วยกันเคี้ยว

วัดอะไร

 ;)

หมูป่าที่คุณเพ็ญชมพูนำมาเสิฟ    หนังเหนียวเคี้ยวยากค่ะ   คุณร่วมฤดี 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 10:09
วัดนี้รึเปล่าคะ

(http://mw2.google.com/mw-panoramio/photos/medium/30915370.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.ย. 10, 10:10
ตอบภาพของคุณเพ็ญฯ  อย่างฉะฉานว่า

"วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 10:13
แป่ววววววว ตกม้าตายตามระเบียบ

คุณหลวงเล็กคงตอบถูกแน่ ๆ สังสัยอยู่เหมือนกันว่า น้ำตรงหน้าวัดทำไมเรียบจัง คงไม่ใช่แม่น้ำ
หากเป็นวัดปทุม ก็เป็นไปได้มาก เพราะนั่นคือ สระบัว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 10:16
คุณหลวงเล็กได้บะหมี่หมูสับไปเป็นรางวัล   ;D

ภาพนี้ถ่ายเมื่อปีน้ำท่วม ๒๔๘๕ น้ำหน้าวัดเลยมากไปนิด



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 10:29
หมูป่าบาร์บิคิวจานนี้ คุณหลวงเล็กได้ไป

(http://www.meridiandowntown.com/sitebuildercontent/sitebuilderpictures/barbeque.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 14:06
สงสัยคณะพรรคจะชวนกันไปกินหมูปิ้งกันหมด ไม่ยอมมาล้อมวงย่อยหินกันอย่างเคย
สงสัยต้องใบ้ซะหน่อยพองาม

ในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น ท่านไม่ยอมให้ฝรั่งมังค่ามาตั้งบ้านเรือนในพระนคร ให้ไปอยู่กันที่นอกๆเมืองริมแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปทางใต้ซึ่งมีชุมชนใหญ่ อุดมด้วยอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่ง  สาวๆก็สวยด้วยจนฝรั่งติดใจ แต่งงานอยู่กินกับหญิงชาวบ้านเป็นฝั่งเป็นฝากันไปหลายคู่ ฝรั่งเล่นกล้องคนหนึ่งมาเยี่ยมชุมชนนี้ ก็เลยเอากล้องไปถ่ายรูปวัดที่อยู่แถวนั้น แต่ไม่ทราบว่าวัดอะไร คนพาไปคงบอกหลายทีแต่ฝรั่งไม่มีทางออกเสียงเช่นนั้นได้ ก็เลยบันทึกในภาษาตัวเองเพียงว่า เป็นวัดแห่งหนึ่ง อยู่ไม่ไกลจากบางกอก

ครั้นหลายสิบปีต่อมารูปนี้ได้ถูกนำกลับมาที่เมืองไทย บรรดาเซียนานุเซียนล้อมวงดูภาพแล้วก็พากันส่ายหน้า ออกไปหาหมูปิ้งกินกันจะสนุกกว่า เลยบันทึกบรรยายรูปภาพนั้นเช่นเดียวกับที่ฝรั่งเขียน นักค้นคว้าหารูปเก่าครั้งกรุงสยามไปพิมพ์หนังสือก็เอารูปไปลงตามนั้น

ต่อมามีกระทาชายท่านหนึ่ง แต่เยาว์คงช้อนลูกน้ำแถวนั้นไปเลี้ยงปลากัด เห็นรูปในหนังสือนั้นเข้าก็รำพึงว่า ชื่อหมูๆแค่นี้ทำไมถึงไม่รู้  จึงลงทุนเขียนจดหมายไปบอกคนทำหนังสือรวบรวมภาพเก่าผู้มีชื่อเสียงโด่งดังนั้นว่า ภาพดังกล่าว คือวัด……………อยู่ที่……….. ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็อยู่ในกทม.นี้เอง

เอาละครับ ท่านได้ร่องรอยที่ผมใบ้ให้แล้ว เชิญละจากวงหมูปิ้ง มาย่อยหินต่อกันหน่อยยย คุณหนุ่มสยามอยู่หนายยย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 14:23
หินที่คุณนวรัตนส่งมากำนัลดังโป๊กใหญ่ในรูปข้างล่างนี้   ขนาดย่อยแล้ว  ก็ไม่วายแข็งกว่าอิฐหินถมทางรถไฟอยู่ดีละค่ะ  ::)

ถอดรหัสออกมาได้ว่าชุมชนที่ว่านั้นคือมอญ   ท่านบอกว่าอยู่ทางใต้ น่าจะเป็นมอญพระประแดง
ส่วนภาษาเยอรมัน bei-einem tempel ที่คุณหลวงยืนยันว่าไม่ใช่ชื่อวัด  คุณหลวงก็ยังไม่กลับจากกินหมูปิ้ง  เลยยังไม่รู้ว่าเป็นชื่ออะไร
 
เอาเถอะ   ถอยตามประสาคนช้อนลูกน้ำไม่เก่ง     
ถ้าประธานแก๊งค์ลูกน้ำทั้ง ๓ ท่าน  หรือคุณเพ็ญ หรือคุณหลวง จะปาดหน้าไปก่อน  คุณหนุ่มสยามก็คงใจดี ไม่ว่ากัน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14467;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 14:49
พึ่งตื่นนอนจากฤทธิ์ยาค่ะ อาจารย์Navarat หาของยาก ๆ มาอีกแล้ว
แต่บังเอิญย้ายบ้านจากซอยร่วมฤดี มาเป็นคนบ้านนอกค่ะ
ปัจจุบัน อยู่สมุทรปราการค่ะ และชอบข้ามสะพานวงแหวนไปเที่ยวฝั่งพระประแดง
พอเห็นรูปที่อาจารย์ใบ้ไว้ เลยขอเดาแบบกึ่งมั่นใจว่า

วัดไพชยนต์พลเสพย์ค่ะ เดี๋ยวขอเวลาไปล้างหน้าแปรงฟัน แล้วจะมาตัดต่อรูปเปรียบเทียบให้ดูค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 14:57
^
เห็นแมะ หมูนิดเดียว

ของพรรค์นี้เขาเรียกหมูใคร หมูมัน

ไอ้ที่เราคิดว่ายาก บางคนบอกแสนจะง่าย
ไอ้ที่เราบอกว่าง่าย หลายคนบอกว่าโครตยาก

นี่ขนาดเพิ่งตื่นมา ยังไม่สร่างไข้นะเนี่ย

บาบีคิวหมูทางโน้น ยังมีพอเสริพคุณร่วมฤดีมั้ยคร้าบบบ

(ใบ้ทีไร เสร็จพวกนักช้อนลูกน้ำทุกที)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 15:06
จุดสังเกตุสิ่งแรกคือ ลายบนหน้าบัน(หรือหน้าจั่วก็ไม่รู้ เรียกไม่ถูกอ่ะค่ะ) ดังที่ลากเส้นสีฟ้าไว้
และ มีกำแพงรายรอบ อันนี้ก็จำได้ติดตา
สิ่งสำคัญคือ รูปปรางค์ตรงกลางที่ทำวงรีไว้
ทำให้นึกถึงปรางค์ประตูวัดทันทีที่เห็น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 15:11
ให้ดูอีกรูป จะได้เห็นชัด ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 15:13
วัดไพชยนต์พลเสพราชวรวิหาร

ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ริมคลองลัดหลวง ตำบลบางพึ่ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

๓. ประวัติความเป็นมา
ประวัติของวัดนี้มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระ ราชพงศาวดารัชกาลที่ ๒ สมเด็จกรมพระยา ดำรงทรงพระนิพนธ์กล่าวถึงวัดนี้ว่า
"ในคราวเมื่อสร้างป้อมเมืองสมุทรปราการนั้น ทรงพระ ราชดำริว่าป้อมที่ได้สร้างขึ้นที่เมืองนคร เขื่อนขันธ์แต่ก่อน ยังคงค้างอยู่ไม่สำเร็จบริบูรณ์ จึงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิ พลเสพเป็นแม่กองทำการสร้างเมืองนครเขื่อน ขันธ์ที่ยังค้างอยู่ ได้สร้างป้อมขึ้นอีกป้อม หนึ่ง ชื่อ ป้อมเพชรหึง และให้ขุดคลองลัดหลังเมือง นครเขื่อนขันธ์คลองหนึ่ง มาทะลุออกคลองตาลาว คลองลัดที่ขุดใหม่นี้เมื่อขุดนั้น กว้าง ๖ วา ลึก ๕ ศอกยาว ๕๐ เส้น กรมหมื่นศักดิพล เสพ ทรงสร้างวัดขึ้นในคลองที่ขุดใหม่วัด หนึ่ง พระราชทานนามว่า "วัดไพชยนต์พลเสพ " พระยาเพชรพิไชย (เกษ) ซึ่งเป็น นายงานสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ สร้างวัดขึ้นอีก วัดหนึ่งตรงข้ามวัดไพชยนต์ฯ ชื่อ วัดโปรดเกศ เชษฐาราม ยังเป็นอารามหลวงอยู่จนทุกวันนี้ ทั้ง ๒ วัด

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานเกี่ยว กับการตั้งชื่อวัดนี้ว่า ในรัชกาลที่ ๒ เห็นจะเรียกว่า "วัดกรมศักดิ์" หรือ "วัดปากลัด" พอถึงรัชกาลที่ ๓ คนทั้งหลายก็คงจะเรียกว่า "วัดวัง หน้า" การที่ในพระราชพงศาวดาอ้างว่า นาม "วัดไพชยนต์พลเสพ" นั้น พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย คงจะไม่ได้เป็นผู้ พระราชทานนามนี้ไว้ตั้งแต่แรกสร้าง กรม พระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงพระวินิจฉัยจาก เค้าเงื่อนใน "สารน์สมเด็จ" ว่าผู้ที่พระ ราชทานนามว่า "วัดไพชยนต์พลเสพ" คือ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 15:14
๔. ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

มรดกทางวัฒนธรรมที่ปรากฏ คือ
๑. บุษบกยอดปรางค์ นี้ กรมพระราชวังบวรในรัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ มีเรื่องปรากฎว่า เมื่อกรมพระ ราชวังบวรฯ พระองค์นั้นสวรรคตแล้วการพิทักษ์ รักษาในวังหน้าก็หละหลวมถึงผู้ร้ายขึ้นลัก เครื่องบูชาในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบาท สมเด็จพระพุทยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดฯ ให้ อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาไว้ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ปรากฏในจด หมายเหตุครั้งรัชกาลที่ ๓ ว่าตั้งไว้บน ฐานชุกชีทางด้านใต้) แต่บุษบกยอดปรางค์นั้น ยังตั้งอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์จน สิ้นรัชกาลที่ ๑ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ ได้เชิญพระพุทธสิหิงค์ไปไว้วังหน้า ( จะเอาไปไว้ที่ไหนไม่ปรากฏ) แล้วตั้ง พระที่นั่งเศวตฉัตรในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แทนบุษบกนั้น ถึงรัชกาลที่ ๓ กรมพระราช วังบวรมหาศักดิพลเสพ จึงโปรดฯให้เอายอด ปรางค์นั้นไปตั้งเป็นที่ประดิษฐานพระประธานที่ใน พระอุโบสถวัดไพชยนต์พลเสพ ซึ่งเป็นวัดที่พระ องค์ได้ทรงสร้างขึ้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 14 ก.ย. 10, 15:18
อ้างถึง
ยังไม่ทราบวดป.

ลุง Srisiam จ๋า ตอบไปแล้วค่ะ ที่ 892 มีวันเดือนปีครบค่ะ

หนูยังไม่หายป่วยค่ะ ยังหายใจทางปาก(เหมือนลูกน้ำ)ค่ะ เดี๋ยวก็ต้องนอนเพราะฤทธิ์ยาแล้ว

ขอให้เซีนยทั้งหลาย สู้ ๆ ๆ ๆ


มัวแต่ยุ่งอยู่....ได้คำตอบแล้วโพสช้า...ลืมรีเฟรชอีกตะหาก..อิอิอิ


ท่านประธานตัวจริงเยี่ยมมาก...จำได้กระทั่งลวดลายบนหน้าบันโบสถ์...ขอชื่นชม...นี่ขนาดเพิ่งฟื้นจากฤทธ์ยานะเนี่ย..

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 15:25
หิน ท่ามันจะย่อยง่ายไปซะแล้ว

ไปหาเหล็กมาให้ถลุงดีกว่า


คุณร่วมฤดีเก่งมากครับ  ถ้าผมไม่อ่านเอาจากหนังสือของคุณเอนก นาวิกมูล ก็ยังไม่รู้คำตอบเลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 15:30
อาจารย์ Navarat เอาหินมาทุ่มใส่เท้าหนูพอดี ไม่ได้มีความสามารถอะไร แต่บังเอิ้ญ บังเอิญ.....จริง ๆ ค่ะ

เนื่องจากอ่านหนังสือศิลปะวัฒนะธรรมเมื่อต้นปี พูดถึงวัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งอยู่ติด ๆ กัน มีคลองในรูปนั่นแหละ คั่นกลาง

ขับรถไปดูจิตรกรรมฝาผนัง เพราะชอบดูภาพสมัย ร.4 ที่วาดแบบฝรั่ง สถานที่ในภาพเหมือนเมืองฝรั่ง ได้ถ่ายรูปภาพพวกน้ันไว้(แต่ตอนนี้หาไม่เจอค่ะ)

ดิฉันสงสัยมาก ว่า ภาพวาดเหล่านั้น คือที่ไหน ประเทศอะไรในโลก ไม่ต้องห่วงนะคะ ไม่บังอาจเอามาทายที่นี่หรอกค่ะ มันยบากเกินไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 14 ก.ย. 10, 15:42
หินก้อนต่อไป  เชิญรุมย่อยนะบัดนี้ ;D

คำถามมีว่า  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ  ณ วัดใด ในกรุงเทพฯ
ถ้าใครจะบอกวันเดือนปีและเวลาด้วยก็ไม่ว่านะครับ  จะยินดีมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 15:44
ไม่ได้เอาภาพนี้มาทายนะคะ ไปค้นเจอFile ที่ถ่ายรูปไว้
(ฝีมือตากล้องค่อนข้างแย่นะคะ กรุณาอดทนดูหน่อยนะคะ)

นี่เป็นภาพ 1 ในหลายภาพภายในวิหารวัดโปรดเกศฯ เ้ป็นวัดที่สร้างคู่กันกับวัดไพชยนต์
ภาพวาดศิลปะสมัยร.4 เป็นรูปเหมือนจะเป็นป้อมปากแม่น้ำเจ้าพระยาค่ะ มีเกาะกลางน้ำด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 15:57
ตอบ 924 คุณหลวงเล็กคะ ตรวจการบ้านด้วยค่ะ
อ้างถึง
วันที่ 24 ตุลาคม 2529 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดราชาธิวาส 24 October 1986.


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 16:08
พิธีหลวง เจ้าฟ้าเสด็จ สังเกตุได้ว่า
1. ฉัตรที่พระประธาน มี 9 ชั้นวัดหลวงชั้นเอกแน่ๆ
2. พระสงฆ์ ครองผ้าแบบธรรมยุติ วัดนี้ เป็นวัดธรรมยุตินิกาย
3. มีพัดยศวางไว้ตรงหน้าทุกรูป เป็นพระราชาคณะ
จะต้องเป็นพิธีใหญ่ประจำปี ไม่มีอะไรเกิน กฐิณหลวง มีวัดที่จะเสด็จ 16 วัดเท่านั้น
ไม่ใช่วัดบวรแน่ ๆ พระประธานคนละองค์กัน
ค่อย ๆ หาภาพไป ก็เจอข่าวนี้พอดีค่ะ
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 16:17
คุณร่วมฤดีหาได้เก่งสมเป็นหัวหน้าแก๊ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 16:21
ภาพจากหนังสือของคุณเอนก นาวิกมูล  

ที่ไหน

 ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 16:39
รูปคุณเพ็ญชมพู มีคลองแล่นขนานกับทางรถไฟ มีวัดด้านหลัง จะเห็นใกล้ชิดขนาดนี้ได้ ในกรุงเทพ มีที่เดียวค่ะ คือ คลองบางกอกน้อย แต่ไม่รู้ว่า กำลังทำอะไรกันนะคะ แข่งเรือก็ใช่ที่ เพราะดูไม่เป็นระเบียบ

เอาภาพมาทายกันบ้าง ถนนอะไรคะ???? (ในกรุงเทพ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 17:12
กระทู้วิ่งเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ
ทำเอาดิฉันผู้วิ่งออกไปซื้อหมูสะเต๊ะมามอบเป็นรางวัลให้คุณร่วมฤดี แทบจะกวดตามไม่ทัน

(http://www.muangthai.com/board/MGalleryItem.php?id=3709)

เดี๋ยวจะไปหาหมูหินมาให้อีกหลายๆจาน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 17:14
เปิดเข้ามาอีกที เจอเหล็กทุ่มใส่กบาลเลย


ใบ้หน่อยครับใบ้หน่อย ใบ้มากๆก็ได้ครับ ในรูปไม่เห็นอะไรเลยมีแต่หลังคาบ้านแพรมๆมา2-3หลัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ย. 10, 18:17
ตอบครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ย. 10, 18:51
รูปคุณเพ็ญชมพู มีคลองแล่นขนานกับทางรถไฟ มีวัดด้านหลัง จะเห็นใกล้ชิดขนาดนี้ได้ ในกรุงเทพ มีที่เดียวค่ะ คือ คลองบางกอกน้อย แต่ไม่รู้ว่า กำลังทำอะไรกันนะคะ แข่งเรือก็ใช่ที่ เพราะดูไม่เป็นระเบียบ

เอาภาพมาทายกันบ้าง ถนนอะไรคะ???? (ในกรุงเทพ)

บรรยากาศเหมือนอยุ่ริมน้ำเลยนะครับ ใบ้นิดได้ไหมครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 19:13
คุณ Siamese น่าจะคว้าหมูปิ้งไปคราวนี้   ต้องตากฝนไปหามาให้อีก

ภาพปริศนาของคุณร่วมฤดี
๑   ถนนสะอาดเรียบ กว้างขวาง   สภาพแวดล้อมเงียบเชียบ คนน้อยมากดูโหรงเหรง  ลักษณะเหมือนชานเมือง
๒    น่าจะเป็นถนนตัดใหม่    ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพ   ไม่มีคลองให้เห็น  
๓   สภาพแวดล้อมเหมือนป่า มีต้นไม้ใหญ่เรียงราย  สุดถนนเป็นกำแพงยาว  ไม่มีตึกแถวอย่างถนนรุ่นเก่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ และ ๕ จึงเดาว่าตัดในรัชกาลที่ ๖ หรือ ๗
๔     มีสามล้ออยู่ในภาพด้วย แสดงว่าถ่ายหลัง พ.ศ. 2476  
๕      ริมถนนเป็นบ้านหลังงามโอ่อ่า  ปลูกเป็นสัดส่วน  ด้านขวาก็แบบเดียวกัน  หลังคาบ้านมีรางน้ำด้วย  ต้นไม้ในบ้านก็ยังโตไม่มาก  แสดงว่าปลูกได้ไม่กี่ปี  บ้านก็คงเป็นบ้านรุ่นใหม่ในสมัยนั้น
๖     ประตูรั้วเป็นแบบประตูสวนดอกไม้ของอังกฤษ   ปลูกดอกไม้สะพรั่งริมรั้ว ก็แบบอังกฤษเหมือนกัน    
            จึงคิดว่าเป็นทำเลที่อยู่อาศัยระดับดี   ไม่ใช่เป็นอาคารสำนักงาน  หรือแหล่งค้าขาย  คนที่อยู่บ้านแบบนี้เห็นทีจะไม่ใช่ชาวบ้านธรรมดา ดูรั้วแล้วเหมือนฝรั่งเป็นเจ้าของ  หรือคนไทยระดับพระเอกนางเอกของดอกไม้สด    ไม่ใช่พระเอกนางเอกของไม้ เมืองเดิม
๗    มีอะไรวางอยู่เป็นระยะริมถนน  ดูไม่ออกว่าเป็นเก้าอี้หรือว่ากระถางไม้สี่เหลี่ยมล้อมต้นไม้   แต่ก็ดูเก๋ทันสมัย ไม่เห็นที่ถนนอื่น
๘       อาจเป็นที่คุณร่วมฤดีเคยไปช้อนลูกน้ำมาก่อน    
          เดาว่าถนนวิทยุระยะแรกตัด  หรือไม่ก็ถนนคอนแวนต์  หรือแถวสีลม หรือถนนปั้น     เหวี่ยงแหระยะกว้างหน่อยค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 21:28
อาจารย์เทาชมพู เป็นผู้ที่มีความสังเกตุและความละเอียดในการวิเคราะห์รูปที่เก่งอย่างหาตัวจับยาก

ใครที่ถามหาคำใบ้ โปรดกลับไปอ่านที่ อ.เทาชมพูพูดไว้ที่ข้อ 6 และ โปรดกลับไปดูด้วยว่า
วันนี้ ดิฉันตอบอะไรผิดพลาดไปด้วยความใจเร็ว ด่วนคิดว่า อะไร ๆ ที่เห็น จะต้องเกี่ยวพันกับสุมทรปราการถิ่นใหม่
แล้วคำตอบที่ถูกต้องในข้อนั้น คืออะไร ตรงนั้นแหละ เกี่ยวพันกับรูปนี้

ใบ้ได้แค่นี้แหละค่ะ ยอมรับว่ายากจริง ๆ เพราะตัวเองเห็นรูปแล้ว ยังไม่เชื่อสายตา
บอกก่อนนะคะว่า ไม่ด้เอามาจากเวป อย่าเสียเวลาไปหา นี่เป็นภาพจากหนังสือค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 14 ก.ย. 10, 21:40
ก่อนจะลืมนะคะ ต้องกราบอาจารย์เทาชมพูงามๆ สัก 3 ที สำหรับหมูสะเต๊ะ
เสียดายที่ยังทานไม่ได้ค่ะ จนกว่าจะเลิกหายใจทางปาก สลับด้วยเสียง เห่า อุ้ย..ไม่ใช่ค่ะ เสียงไอค่ะ

ขอเอามาแจกทุกท่านที่กำลัง "ย่อยหิน" ในคืนนี้นะคะ ขอให้ทุกท่านมีความสุข สนุกสนานกับการทายภาพต่อไปค่ะ
ต้องลาไปนิทราตามอำนาจยาเสียแล้ว พรุ่งนี้จะมาดูว่าใครจะตอบถูกบ้าง

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 21:44
เมื่อกี้ใจเร็วด่วนได้ไปตอบกระทู้  แล้วนึกได้เลยลบไป   ไม่ช่วยบอกใบ้ดีกว่า เดี๋ยวพาท่านจอมยุทธเข้ารกเข้าพง
ทานยาเข้าไปแล้วขอให้หลับให้สบายนะคะ ได้ฟื้นจากหวัดเร็วๆ
คืนนี้ดิฉันก็คงหลับสบายเหมือนกันค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 21:47
แล้วเธอก็ไปนอน....ฝันดี

ปล่อยให้ชายไม่ใส่เสื้อในภาพนั้นมาหลอนคณะพรรคช้อนลูกน้ำต่อไป


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 21:58
คุณร่วมฤดีก็คงจะตอบว่า..ทีฮูทีอิทค่ะ ท่านอาจารย์  ;D

ขอตั้งข้อสังเกตอีกอย่างว่า พื้นผิวถนน เหมือนมี ๒ แบบบนถนนสายเดียวกัน   ตรงกลางเป็นพื้นเรียบสีอ่อน   สองข้างเป็นสีคล้ำและดูไม่เรียบ
ไม่เคยเห็นถนนแบบนี้  นอกจากว่าเป็นดิน  ยังไม่ได้ลาดยาง  ตรงกลางเป็นอะไรไม่ทราบ  ดูจะเรียบกว่าสองข้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 14 ก.ย. 10, 22:26
ช่วงนี้มีอาหารมาล่อด้วย............กระทู้นี้คงหอมอร่อย...........
แล้วจะฉลองครบโพสที่ 999 กันด้วยอะไรดีครับ...??


ยังไม่พบคำตอบภาพปริศนา........แต่พบแผนที่กรุงเทพฯที่มีเส้นทางรถรางฉบับนี้-เขาเชิญให้saveเก็บไว้.ไฟล์ค่อนช้างใหญ่
อยุ่ที่นี่ครับ.........


http://forum.thaidvd.net/lofiversion/index.php/t116067-3600.html
 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 22:36
อาหารเขาเอามาเซ่นน่ะครับ เห็น แต่กินไม่ด้าย

เอาแผนที่รถรางอีกแบบหนึ่งมาให้ด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 14 ก.ย. 10, 22:41
แนวถนน กันไว้กว้างขวางแต่ไม่มีเงินลาดยาง รถก็ไม่ค่อยจะมีวิ่งจนหญ้าขึ้นบนถนน(ลูกรัง?)แน่นทั้งสองด้าน
ปลูกต้นไม้ข้างทางซ้ายขวา กั้นรั้วอย่างดี เดี๋ยวนี้คงต้นใหญ่เบ่อเร่อเบ้อร่า

น่าจะเป็นเขตบ้านพักของข้าราชการ  เพราะรั้วบ้านแบบเดียวกัน ปลูกไม้เลื้อยพันธุ์เดียวกัน แต่ทำไมบ้านไม่เหมือนกัน

ถ้าไม่อยู่ปากลัด ก็อยู่ในป้อมพระจุลถัดออกไป

เอิ๊ก นอนดีกว่า ชายไม่ใส่เสื้อจะมาหลอนก็ไม่กลัว ชินซะแล้วหมู่นี้ ถูกหลอนมันซะทุกคืนสิน่า
ทีฮูทีอิทครับทีฮูทีอิท



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ย. 10, 22:52
บ้านพักข้าราชการหรูหรายังงี้เชียว   เห็นแต่เรือนชั้นเดียวใต้ถุนสูง   รั้วกระถินชะอมไปตามเรื่อง

รั้วบ้านเหล่านี้ทั้งซ้ายและขวา บอกบ่งฐานะไม่ธรรมดา   ลองสังเกตเสารั้วซีคะ  ดิฉันว่าเป็นปูน  ไม่ใช่เสาไม้
ประตูรั้วทาสีขาวด้วยนะ   หายาก    ปกติอย่าว่าแต่ทาสีประตูรั้วเลย  ต่อให้บ้านไม้ทั้งหลัง ชาวบ้านก็ไม่ทาสี

เหมือนกันทั้งถนน ปานประหนึ่งหมู่บ้านกฤษดานครแห่งอดีตกาล  
หรือจะเป็นบ้านทำนองเดียวกับหมู่บ้านฝรั่งหนองคาย   ในยุคนี้

ชายไม่ใส่เสื้อ นุ่งกางเกงขาก๊วย...ไม่หาบไม้คาน  ไม่สวมกุยเล้ย  ไม่มีจอบเสียม  ไม่มีอุปกรณ์แสดงอาชีพให้เห็น
แต่เขาอยู่แถวนี้ เขาทำมาหากินอะไรหนอ?

ไม่ได้การ...เริ่มติดเชื้อหลอนแล้ว  ต้องรีบกินยาไล่ตามหลังคุณร่วมฤดี  แล้วเข้านอน  พรุ่งนี้ค่อยมาติดตามผล

กระทู้นี้ครบ 999 เมื่อไร น่าจะฉลองกระทู้ยาวสุดใน 10 ปี ของเรือนไทย
และหลอนที่สุดด้วย
:-\


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 15 ก.ย. 10, 05:48
ตื่นเช้าขึ้นมาต่อ ก่อนที่จะต้องไปกิจกรรมแสนเซ็งทั้งวันในวันนี้ กลับมาเมื่อไหร่หวังว่าจะมีผู้ใดเฉลยภาพนี้ไปแล้วนะครับ

ที่ว่าเป็นบ้านข้าราชการแถวนั้น เพราะสังเกตุว่าบ้านมีลักษณะเหมือนๆกัน ผิดตรงส่วนต่อเติมนิดหน่อย แต่ประตูบ้านจะเห็นว่ามีขนาดพอคนเดินเท่านั้น ไม่กว้างพอที่จะเอารถยนต์เข้าบ้าน เพราะคงไม่มีหรือไม่จำเป็นต้องมี ทำให้หญ้าบนถนนแทบจะไม่ถูกรบกวนเลย

ส่วนที่บอกว่าบ้านหลวง ถ้าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หน่อย บ้านก็ใหญ่ขนาดนั้นได้
เพราะหากเป็นบ้านเอกชน ระดับนี้ต้องรวย มีเงินซื้อรถ ถึงจะยังไม่มี ผู้ที่ทำบ้านขายก็ต้องทำประตูให้ใหญ่พอที่รถจะเข้าบ้าน จะได้ไม่ต้องรื้อรั้วกันอีก

เอาหละ เดาต่อ ภาพนี้คงเป็นภาพที่คุณร่วมฤดีใบ้ให้ว่าอยู่โซนพระประแดง หรือสมุทรปราการ(น่าจะเป็นด้านโน้น ทางฝั่งอำเภอด้านนี้ผมไปช้อนลูกน้ำบ่อย ไม่เคยเห็นอะไรที่คล้ายๆนี้) หากเป็นบ้านหลวง ถ้าไม่ใช่บ้านพวกข้าราชการอำเภอต่างจังหวัดจริงๆ ที่ทางหาง่ายกว่าอำเภอชั้นใน ก็พวกบ้านนายทหารเรือที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า มีที่ทางกว้างขวางมากมาทำบ้านนายทหารขนาดนี้สบายมาก

ก็สุดปัญญาที่จะวิเคราะห์แล้ว ภาพไม่ได้แสดงเอกลักษณ์หรือสัญญลักษณ์อะไรให้ตีความได้มากกว่านี้ รอเจ้าของภาพตื่นมาอารมณ์ดีๆแล้วใบ้ต่ออีกสักหน่อย คงมีคณะพรรคหมูปิ้งคนใดคนหนึ่งเดาได้



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 10, 07:44
นั่งเคาะคีย์บอร์ดเล่น หาเอกลักษณ์ไม่เจอ เลยแต่งแต้มสีใส่เล่นสักหน่อย

1 เห็นแนวเสาไฟพาดบนไม้ ไม่ได้สูงมาก และไม่เหมือนเสาไฟที่ทำอย่างดี
2 สันหลังคาหน้าจั่ว ทำยอดแหลมสวยงามน่าดูชม
3 สุดภาพเป็นแนวรั้วยาว ?
4 ถามว่า "ถนนอะไร" เป็นถนนด้วย? ช่างภาพจัดวางกลางภาพเป็นถนน โดยใช้บ้านอยู่ด้านข้างไม่ใช่จุดโฟกัสของภาพ จงใจจะถ่ายภาพถนน ซึ่งไม่ใช่ถนนใหม่ เป็นถนนที่สร้างด้วยดินลูกรัง แล้วมีหญ้าขึ้นจนเหลือทางเดินเท่านั้น
5 ต้องเป็นถนนในช่วงสั้นๆ ไม่ยาวมาก
6 ฝรั่ง ? แบบนี้ก็สมควรอยู่แถว สีลม - สาทร - บางรัก - สี่พระยา
7 แล้วแถวสีลม - สาทร - บางรัก - สี่พระยา มีอะไรที่มีกำแพงรั้วยาวขนาดนั้น สถานทูต ? ที่ล้อมรั้วยาวๆได้


 :-\ :-\

“ใครที่ถามหาคำใบ้ โปรดกลับไปอ่านที่ อ.เทาชมพูพูดไว้ที่ข้อ 6 และ โปรดกลับไปดูด้วยว่าวันนี้ ดิฉันตอบอะไรผิดพลาดไปด้วยความใจเร็ว ด่วนคิดว่า อะไร ๆ ที่เห็น จะต้องเกี่ยวพันกับสุมทรปราการถิ่นใหม่

๖     ประตูรั้วเป็นแบบประตูสวนดอกไม้ของอังกฤษ   ปลูกดอกไม้สะพรั่งริมรั้ว ก็แบบอังกฤษเหมือนกัน    
            จึงคิดว่าเป็นทำเลที่อยู่อาศัยระดับดี   ไม่ใช่เป็นอาคารสำนักงาน  หรือแหล่งค้าขาย  คนที่อยู่บ้านแบบนี้เห็นทีจะไม่ใช่ชาวบ้านธรรมดา ดูรั้วแล้วเหมือนฝรั่งเป็นเจ้าของ  หรือคนไทยระดับพระเอกนางเอกของดอกไม้สด    ไม่ใช่พระเอกนางเอกของไม้ เมืองเดิม”

“วันนี้ ดิฉันตอบอะไรผิดพลาดไปด้วยความใจเร็ว ด่วนคิดว่า อะไร ๆ ที่เห็น จะต้องเกี่ยวพันกับสุมทรปราการถิ่นใหม่
แล้วคำตอบที่ถูกต้องในข้อนั้น คืออะไร ตรงนั้นแหละ เกี่ยวพันกับรูปนี้

ใบ้ได้แค่นี้แหละค่ะ ยอมรับว่ายากจริง ๆ เพราะตัวเองเห็นรูปแล้ว ยังไม่เชื่อสายตา”

เอาภาพมาทายกันบ้าง ถนนอะไรคะ?  (ในกรุงเทพ)

โจทย์ปัญหานี้แซบ ดีครับ  ;D  แน่นอนครับอาจารย์ NAVARAT.C เธอบอกว่าอยู่ในกรุงเทพฯ อย่าเพิ่งออกปากอ่าวครับอาจารย์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 15 ก.ย. 10, 08:17
อ้างถึง
รั้วบ้านเหล่านี้ทั้งซ้ายและขวา บอกบ่งฐานะไม่ธรรมดา   ลองสังเกตเสารั้วซีคะ  ดิฉันว่าเป็นปูน  ไม่ใช่เสาไม้
ประตูรั้วทาสีขาวด้วยนะ   หายาก    ปกติอย่าว่าแต่ทาสีประตูรั้วเลย  ต่อให้บ้านไม้ทั้งหลัง ชาวบ้านก็ไม่ทาสี
เหมือนกันทั้งถนน ปานประหนึ่งหมู่บ้านกฤษดานครแห่งอดีตกาล 
หรือจะเป็นบ้านทำนองเดียวกับหมู่บ้านฝรั่งหนองคาย   ในยุคนี้

นี่แหละค่ะ อาจารย์เทาชมพูที่ดิฉันนับถือเป็นที่สุด แม้จะยังทายไม่ได้ แต่ความละเอียดที่ให้ตรงนี้ ดีมาก ๆ

อาจารย์ Navarat ขา แผนที่รถรางของอาจารย์ บอกให้หนูรู้ว่า ตรงนั้น "ต่อมา" มีรถรางวิ่งกับเขาด้วยค่ะ
จึงไม่ใช่พระประแดงแน่ ๆ

เนื่องจาก คนทายเองยังรู้สึกว่ารูปนี้ยากไป ดังนั้น จะเฉลยวันนี้ 10.00 am นะคะ ใครอยากชิงแชมป์ ก็ต้องตอบให้ได้ก่อน 10 โมงวันนี้ค่ะ

ภาพนี้ จะให้ความรู้ใหม่แก่พวกเรา หลังจากไปเกาะติดกัดไม่ปล่อย British Dispensary VS Siam Free Press มาแล้ว   


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 10, 08:42
อย่า...อย่า อาหารภาพจานนี้อร่อยมาก   คนทายต้องใจเย็นๆ   จะรวบรัดให้เอามาเสิฟตอน ๑๐ โมงก็ไม่คุ้มที่คุณเชฟร่วมฤดีอุตสาหะปรุงมาให้
เจ้าของภาพโปรดอย่าเพ่อเฉลยนะคะ       
เอาอย่างนี้ เพื่อให้สาสมกับฝีมือของจอมยุทธทั้งหลาย    ขอให้ท่านๆค่อยๆทายไปเรื่อยๆ   ถ้าผิดคุณร่วมฤดีก็บอกว่าผิด ถ้าถูกก็บอกว่าถูก ไปทีละข้อ   แล้วจะค่อยๆนึกออกได้เองค่ะ

ป.ล. ดีใจจัง ทำคนมึนตึ้บได้ 
ขอขอบคุณคุณร่วมฤดี  ขอให้หายหวัดเร็วๆนะคะ  จะได้มีแรงหาภาพยากกว่านี้มาให้อีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ย. 10, 08:43
กระทู้ไปเร็ว ไฮไลต์ของภาพปริศนาตอนนี้คงอยู่ที่บ้านหลังคาแดง รั้วเขียว ประตูเหลือง อยู่

ขอย้อนไปภาพปริศนาพายเรือในคลองนิดนึง

รูปคุณเพ็ญชมพู มีคลองแล่นขนานกับทางรถไฟ มีวัดด้านหลัง จะเห็นใกล้ชิดขนาดนี้ได้ ในกรุงเทพ มีที่เดียวค่ะ คือ คลองบางกอกน้อย แต่ไม่รู้ว่า กำลังทำอะไรกันนะคะ แข่งเรือก็ใช่ที่ เพราะดูไม่เป็นระเบียบ

คุณเอนก นาวิกมูล ให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นขบวนแห่กฐิน

คำตอบของคุณไซอามีสก็ให้รายละเอียดถูกต้อง

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 10, 09:01
ที่ว่าเป็นบ้านข้าราชการแถวนั้น เพราะสังเกตุว่าบ้านมีลักษณะเหมือนๆกัน ผิดตรงส่วนต่อเติมนิดหน่อย แต่ประตูบ้านจะเห็นว่ามีขนาดพอคนเดินเท่านั้น ไม่กว้างพอที่จะเอารถยนต์เข้าบ้าน เพราะคงไม่มีหรือไม่จำเป็นต้องมี ทำให้หญ้าบนถนนแทบจะไม่ถูกรบกวนเลย

ส่วนที่บอกว่าบ้านหลวง ถ้าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หน่อย บ้านก็ใหญ่ขนาดนั้นได้
เพราะหากเป็นบ้านเอกชน ระดับนี้ต้องรวย มีเงินซื้อรถ ถึงจะยังไม่มี ผู้ที่ทำบ้านขายก็ต้องทำประตูให้ใหญ่พอที่รถจะเข้าบ้าน จะได้ไม่ต้องรื้อรั้วกันอีก
บ้านระดับนี้ จะว่าเจ้าของไม่มีรถยนต์ใช้  คงเป็นไปไม่ได้     แต่มีความเป็นไปได้หลายอย่าง
๑  ประตูรั้วที่เห็นไม่ใช่ประตูใหญ่ แต่เป็นประตูด้านข้างของบ้าน  สำหรับคนเดินเข้าออก  ส่วนประตูใหญ่รถเข้าได้อยู่อีกทางหนึ่ง
หรือ
๒    เป็นบ้านที่ไม่ต้องทำที่เผื่อโรงรถ  จึงไม่ต้องมีประตูกว้างพอรถจะเข้าได้      รถยนต์ที่ใช้เก็บไว้อีกที่หนึ่ง ถึงเวลาก็มารับมาส่ง

ดูจากสภาพถนน เห็นทีจะมีรถและคนสัญจรเข้าออกน้อยมาก    เลยมีรอยสัญจรเฉพาะกลางถนน  สองข้างทางหญ้าขึ้นเต็ม     รถที่เข้าออกเห็นลิบๆ อาจเป็นสามล้อหรือรถลาก เข้ามาส่งคน
   ก็เป็นได้ว่าเป็นซอยด้านข้างที่ตัดเข้าไประหว่างที่อยู่อาศัยสองฟากฝั่ง   ส่วนถนนใหญ่อยู่ด้านนอกโน่น ตรงสุดภาพ
๓    เจ้าหนุ่มนุ่งขาก๊วยที่เดินฉุยฉายอยู่กลางภาพคงเป็นชาวบ้านแถวนี้ละค่ะ     แต่เห็นทีจะไม่ใช่เจ้าของบ้าน แต่งกายไม่รับกับบ้านเสียเลย เกือกก็ไม่สวม   จะว่าเป็นกุลีก็ไม่ใช่เพราะนุ่งกางเกงขาวที่เปื้อนง่าย กุลีนุ่งกางเกงย้อมดำ    พ่อหนุ่มคงทำงานอะไรที่ไม่ต้องคลุกดินทรายเปรอะเปื้อน   แต่ไม่ใช่งานโก้พอจะนุ่งกางเกงหรือผ้าม่วง
        แสดงว่าแถวนี้ต้องมีคนสองระดับฐานะอาศัยอยู่
๔   รูปนี้โฟกัสไปที่ถนน ไม่ใช่โฟกัสที่บ้าน  คนถ่ายรูปคงต้องการภาพถนนไปทำอะไรสักอย่าง เช่นเป็นหลักฐานเพื่อการขยายถนน หรือว่าเพื่อลาดยาง  เพราะถนนทำไว้กว้างมาก เมื่อเทียบกับประโยชน์ใช้สอยที่มีแต่บ้านอยู่อาศัย ไม่ใช่แหล่งการค้า
     แสดงว่าต้องเป็นแหล่งสำคัญ หลวงท่านเลยทำถนนเผื่อเนื้อที่ไว้แยะ ทั้งๆคนแถวนี้ใช้สอยนิดเดียว เฉพาะช่วงกลางถนนเท่านั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 10, 09:06
ขอเปลี่ยนตำแหน่งโบสถ์หลวงพ่อโบสถ์น้อยนะครับ คุณเพ็ญชมพู  ตำแหน่งหลวงพ่อโบสถ์น้อยอยู่ริมวัด แต่ก่อนเป็นโบสถ์ขนาดใหญ่ แต่ถูกลูกระเบิดลงทำให้ซ่อมโบสถ์เหลือนิดเดียวอย่างที่เห็น  ส่วนที่คุณเพ็ญชมพู ชี้พิกัดแรกเป็นเขามอ ก่อครอบวิหารพระพุทธบาทครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ย. 10, 09:08
รับทราบ

 :-[


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 15 ก.ย. 10, 09:18
อ้างถึง
๒    เป็นบ้านที่ไม่ต้องทำที่เผื่อโรงรถ  จึงไม่ต้องมีประตูกว้างพอรถจะเข้าได้      รถยนต์ที่ใช้เก็บไว้อีกที่หนึ่ง ถึงเวลาก็มารับมาส่ง

ถูกต้อง(อีกแล้ว) ค่ะ อาจารย์เทาชมพูขา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 10, 09:33
งั้นมาดูเรื่องประตูรั้ว (เล็ก) ซูมภาพเข้าไปดูปรากฎร่างชายนิรนาม ยืนอยู่หน้าประตูพอดี คาดว่าคงจะเป็นคนรับใช้ในบ้าน ออกมายืนดูการถ่ายภาพ บ้านนี้ต้องมีคนงานรับใช้แน่นอน

มาดูเรื่องการเดินของการเข้า-ออกประตูนี้กัน
1.จะเห็นว่าประตูมีลักษณะเปิดอยู่ แต่การเดินจากประตูไปสู่ถนนใหญ่ มีขอบทางวางขนานกับริมรั้วบ้านอยู่แล้ว จึงออกจากประตูแล้วเดินได้
2. หากยืนจากจุดถ่ายภาพ เข้าประตูเล็ก ไม่เห็นร่องรอยทางเดินของหญ้าที่ถนน ตรงกับประตู แสดงว่าใช้ทางนี้น้อย
3. ตามจุดประสีส้ม จะเห็นว่า การเดินจากประตูเล็ก เดินผ่านขอบทางรั้ว และเดินลัดสนามหญ้าสู่ถนน มีแนวหญ้าเตียนโล่ง ซึ่งใช้ทางนี้เดินเยอะกว่า
    เสมือนว่า ถนนใหญ่ด้านหน้ามีความสำคัญกว่า เดินจากถนนใหญ่เบี่ยงขวา แล้วเข้าประตู
4. เจ้าของบ้านคงไม่ใช้ประตูนี้แน่ คงจะมีประตูอื่นที่สำคัญกว่านี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 15 ก.ย. 10, 09:47
อ้างถึง
บ้านนี้ต้องมีคนงานรับใช้แน่นอน
น่าจะเป็นเช่นนั้นค่ะ บ้านออกใหญ่โตนะคะ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 10, 10:00
อีกอย่างที่มองเห็นระยะไกล

1. เสาสูงสีขาวน่าสงสัย ไม่ควรเป็นเสาไฟ ควรเป็นเสาธง
2. แนวรั้วขาวสุดสายตา ตรงศรชี้ เหมือนมีสิ่งก่อสร้างสูงกว่ารั้ว เหมือนทางเข้าอันสวยงาม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 15 ก.ย. 10, 10:20
มาเพิ่มเติมคำใบ้ดีกว่า ไหน ๆ อาจารย์เทาชมพูก็ห้ามปรามไม่ให้เฉลย ก็ขอให้แสงสว่างอีกนิด

ภาพนี้ ถ่ายประมาณ พ.ศ.2435 -2445 แน่นอน สมัย ร.5
ที่อาจารย์เทาชมพูว่า รั้วเป็นสีขาว เพราะสมัยนั้น ชาติที่เจริญแล้ว ถือตัวว่าเป็นผู้ดี เหมือนถือวรรณะ
จะใส่เสื้อชุดขาวทั้งตัวเป็นส่วนใหญ่ บ้านก็นิยมทาสีขาว รั้วจึงเป็นสีขาว...แปลว่า ...
ผู้อาศัยบ้านนี้ ต้องเป็นคนตะวันตก...แต่ไม่ใช่อังกฤษ!!!..
..ขนาดบ้านใหญ่โต ต้องมีคนรับใช้แน่นอน
และ หน้าที่ต้องสำคัญ จึงมีรถรับส่ง
มีบ้านหลังใหญ่กว่า Siam Free Press เสียอีก

แต่ทว่า...คนเหล่านี้ อยู่เมืองไทยกันแค่ 10 ปีเองค่ะ หลังจากนั้น ใครมาอยู่ต่อก็ไม่ทราบ
เขาถ่ายรูปนี้ พร้อมกับภาพภายในบ้านอีก 2 ภาพ และตั้งชื่อบ้านด้วย บอกชื่อถนนด้วย
ส่งกลับไปให้ญาติในต่างประเทศดูให้รู้ว่า มีความเป็นอยู่กันอย่างไร
ประเดี๋ยวจะ Scan ภาพภายในบ้านให้ได้ดูกันนะคะ จะได้เห็นหน้าตาเจ้าของ
อาจจะมีคนระลึกชาติได้ จำหน้าท่านเจ้าของบ้านได้ขึ้นมา...เป็นเรื่องแน่นอนเชียวค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 ก.ย. 10, 10:26
บอกใบ้ได้ครับ...........ขออนุญาตสั่งท่านหัวหน้าแก๊งค์ว่าห้ามเฉลยครับ.....เราโดนเคี้ยวหินมาหลายเพลา...
ลองเอาเพชรเม็ดนี้ไปเคี้ยวเล่นบ้างครับ...

 :D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 ก.ย. 10, 10:28
สี่พระยา
สุรวงศ์
บางรัก
แถวๆนี้แหละกระมังครับ......


 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 15 ก.ย. 10, 10:34
อ้างถึง
บอกใบ้ได้ครับ...........ขออนุญาตสั่งท่านหัวหน้าแก๊งค์ว่าห้ามเฉลยครับ.....เราโดนเคี้ยวหินมาหลายเพลา...
ลองเอาเพชรเม็ดนี้ไปเคี้ยวเล่นบ้างครับ...

น้อมรับคำสั่งเจ้าค่ะ คุณลุงหัวหน้าแก๊งค์ขา...แต่...ถนนที่คุณลุงเขียนมาทั้่งหมด ผิดเกลี้ยงเลยค่ะ
บอกแล้วว่านึกไม่ถึงจริง ๆ

มาดูรูปภายในบ้านกันดีกว่า ให้ดูหน้าตาเจ้าของบ้านด้วย ถือเป็นตัวช่วยให้ทายง่ายขึ้นนะคะ
เจ้าของบ้านในรูปข้างล่างนี้ เป็นคนละคนกัน แต่อยู่บ้านเดียวกัน คนละเวลากันค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 15 ก.ย. 10, 10:45
เพิ่มเติมอีกนิดนะคะ ฝรั่งที่นั่งอ่านหนังสือ มีภรรยายืนอยู่ด้วยนั้น อายุยืนยาวมาก
ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันในปี ......2503.... ด้วยค่ะ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 ก.ย. 10, 11:05
...

 :'(


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: djkob ที่ 15 ก.ย. 10, 11:59
แวะเข้ามาสวัสดีค่ะ  บอกให้ทราบว่าติดตามอยู่

กระทู้นี้ไปเร็วมากค่ะ ขนาดเปิดอ่านทุกวันยังแทบไม่ทันเลยค่ะ

ในฐานะเด็กน้อยด้วยศึกษา  ขออนุญาตติดตามทั้งคำใบ้อันชาญฉลาด

และคำใบ้อันสมบูรณ์อยู่ค่ะ  แต่อย่าให้คนอยากทราบขาดใจตายก่อนนะคะ

สำหรับของรางวัลของอาจารย์นั้น  ขอร่วมวงแจมด้วยคนนะคะ อือฮือ อย่อย5555555

ด้วยความเคารพ
ดีเจกบ :)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 10, 12:41
อ้างถึง
รั้วบ้านเหล่านี้ทั้งซ้ายและขวา บอกบ่งฐานะไม่ธรรมดา   ลองสังเกตเสารั้วซีคะ  ดิฉันว่าเป็นปูน  ไม่ใช่เสาไม้
ประตูรั้วทาสีขาวด้วยนะ   หายาก    ปกติอย่าว่าแต่ทาสีประตูรั้วเลย  ต่อให้บ้านไม้ทั้งหลัง ชาวบ้านก็ไม่ทาสี
เหมือนกันทั้งถนน ปานประหนึ่งหมู่บ้านกฤษดานครแห่งอดีตกาล 
หรือจะเป็นบ้านทำนองเดียวกับหมู่บ้านฝรั่งหนองคาย   ในยุคนี้

นี่แหละค่ะ อาจารย์เทาชมพูที่ดิฉันนับถือเป็นที่สุด แม้จะยังทายไม่ได้ แต่ความละเอียดที่ให้ตรงนี้ ดีมาก ๆ

อาจารย์ Navarat ขา แผนที่รถรางของอาจารย์ บอกให้หนูรู้ว่า ตรงนั้น "ต่อมา" มีรถรางวิ่งกับเขาด้วยค่ะจึงไม่ใช่พระประแดงแน่ ๆ

เนื่องจาก คนทายเองยังรู้สึกว่ารูปนี้ยากไป ดังนั้น จะเฉลยวันนี้ 10.00 am นะคะ ใครอยากชิงแชมป์ ก็ต้องตอบให้ได้ก่อน 10 โมงวันนี้ค่ะ

ภาพนี้ จะให้ความรู้ใหม่แก่พวกเรา หลังจากไปเกาะติดกัดไม่ปล่อย British Dispensary VS Siam Free Press มาแล้ว   


ดูจากแผนการเดินทางรถราง ถนนย่านที่พักชาวต่างชาติพักอาศัย มีถนนเจริญกรุง, ถนนสีลม, แยกศาลาแดง, ถนนพระราม 4, ถนนราชดำริ ดังนี้บ้านจะต้องอยู่แถวนี้
ถ้าบอกว่า ต่อมามีรถรางผ่าน แสดงว่าไม่ใช่ถนนเจริญกรุง ก็เหลือ สีลม, ราชดำริ, พระราม 4


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 15 ก.ย. 10, 12:54
ติดตามอ่านกระทู้ต่างๆ ของเรือนไทยมานานแล้วค่ะ ชื่นชมในผลงานของท่านเจ้าเรือนมากค่ะ
แต่กระทู้นี้ ติดตามแบบไม่กระพริบตาเลยค่ะ สุดยอดจริงๆ พลาดไม่ได้เลยสักวันค่ะ มีหลอนนิดๆ ด้วยนะคะ..อิอิ
ทึ่งและขอคารวะในความรู้ ความช่างสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล ความเป็นปราชญ์ และอารมณ์ขัน ของคณะช้อนลูกน้ำและคณะย่อยหินทุกท่านค่ะ

"ความคิดเห็นที่ 961 ใบ้ว่า ฝรั่งท่านนี้ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันในปี ..2503"
แสดงว่า อาจจะได้เฝ้าในคราที่เสด็จต่างประเทศ...ไม่ใช่เฝ้าในประเทศไทย
ปี 2503 ทรงเสด็จเยือนหลายประเทศเลยนะคะ
-อังกฤษ แต่ความคิดเห็นที่ 957 บอกใบ้ว่าไม่ใช่ อังกฤษ นะคะ
ก็เหลือ
-อิตาลี
-เบลเยี่ยม
-สเปน
-ฝรั่งเศส
-สหรัฐอเมริกา
เอ!!! หนูเข้ามายิ่งทำให้สับสนหรือเปล่าคะ... หุหุ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 10, 13:37
ถามคุณRuamrudee  บุคคลในภาพ (ชาย) เป็นชาวเบลเยี่ยม ใช่ไหมครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 15 ก.ย. 10, 15:48
เพิ่มเติมอีกนิดนะคะ ฝรั่งที่นั่งอ่านหนังสือ มีภรรยายืนอยู่ด้วยนั้น อายุยืนยาวมาก
ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันในปี ......2503.... ด้วยค่ะ



ผมพอทราบนิดหนึ่งว่า  คุณหญิงภริยาของพระยาประเสริฐสาตรธำรงหรือที่รู้จักกันในชื่อ หมออี.ไรเตอร์ ซึ่งแพทย์ประจำพระองค์รัชกาลที่ ๕
คุณหญิงประเสริฐสาตรธำรงท่านอายุยืนยาวทันได้เข้าเฝ้าฯ ในหลวงในคราวเสด็จฯ ไปทรงเยือนยุโรป เมื่อ ปี ๒๕๐๓
หมออี.ไรเตอร์ นี่ จำได้ว่า ชาติเบลเยี่ยม  เคยตามเสด็จรัชกาลที่ ๕ ไปยุโรปทั้ง ๒ ครั้ง

เสียดาย  จำชื่อจริงคุณหญิงไม่ได้   เดี๋ยวไปค้นกรุหนังสือก่อนนะครับ ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 10, 16:09
ขอต้อนรับทุกท่านที่มาร่วมวงในกระทู้นี้ค่ะ

คลับคล้ายคลับคลาว่ามีฝรั่งท่านหนึ่งได้เข้าเฝ้า  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและยุโรปในพ.ศ. 2503  
ท่านผู้นี้อายุยืนยาวมาก  อยู่มาถึง พ.ศ. 2515  จึงถึงแก่กรรม ในวัย 87 ปี

รั้วไม้ระแนงทาสีขาวปลูกดอกไม้  ถ้าไม่ใช่บ้านที่อังกฤษ ก็มีอีกประเทศหนึ่งค่ะ คล้ายคลึงกัน    


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 15 ก.ย. 10, 17:06
มาแล้วค่ะ แฟนานุแฟนของเรือนไทยที่เคารพ ไปหาหมอเอายามากินอีกแล้ว
ทั้งดมยา ทั้งฉีดยา โอ้ย ไม่หายเสียที สงสัยคนทายภาพแช่งไว้...

อ้างถึง
ถามคุณRuamrudee  บุคคลในภาพ (ชาย) เป็นชาวเบลเยี่ยม ใช่ไหมครับ

ใช่เจ้าค่ะ แต่เป็นใครไม่สำคัญ ...ไม่ใช่หมอไรเตอร์ด้วยแหละ ไม่ได้ถามบุคคลนะคะ อย่าหลงประเด็น
ถามว่าถนนอะไร???.....เจ้าค่ะ

และที่พากันนึกชื่อถนนมานั้น ไม่ถูกเลยสักรายเดียวค่ะ นี่แหละค่ะ ที่บอกว่ายากมาก เห็นใจจริง ๆ

แปลกแท้ ๆ ไม่ค่อยมีใครใส่ใจว่า ดิฉันทายอะไรไว้ผิดเมื่อวานนี้

ใบ้่เยอะมากแล้ว เดี๋ยวลุง Srisiam หัวหน้าแก๊งค์ยึดลูกน้ำไปหมด เพราะขัดคำสั่งเจ้านาย

ขออวยพรให้ทายถูกไว ๆ นะคะ คำสาปแช่งจะได้หมดฤทธิ์ จะได้ใช้จมูกหายใจแทนปากเสียทีค่ะ

หากหายไปนาน แปลว่า โดนยากดไว้กับเตียงนะเจ้าคะ รอพรุ่งนี้มาต่อค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 10, 17:14
อ้าว ผิดคน  ทายว่าเป็นชาวอเมริกัน
นึกว่าเป็นคู่นี้
(http://farm5.static.flickr.com/4069/4564875539_83bc2d77db_z.jpg)
 
ต้องกลับมาแกะรอยใหม่
ยังไงก็ไม่ยอมให้คุณร่วมฤดีเฉลยเอง  นักช้อนลูกน้ำต้องโหดให้สมกับนักย่อยหินทั้งหลาย

ถ้าไอมาก  ชงชาอุ่นๆ ใส่น้ำผึ้ง   แล้วบีบมะนาวลงไปนะคะ ดื่มแทนน้ำเปล่า ช่วยให้ชุ่มคอหายไอเร็วขึ้นค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 10, 17:17
เมื่อวานนี้ คุณร่วมฤดีทายภาพวัดผิด   ตีความวัดปทุมเป็นวัดพระสมุทรเจดีย์
แสดงว่าบ้านรั้วดอกไม้ อยู่ใกล้ๆวัดปทุมงั้นหรือคะ
ถนนพระราม 1  หรือว่าถนนเพลินจิต?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 15 ก.ย. 10, 19:23
ใช่ครับ อาจารย์เทาชมพู  
1. ดูเน้นเรื่องคำตอบที่ผิดไป ซึ่งตอบวัดปทุมฯ ผิดไปเป็นพระสมุทรเจดีย์
2. ต้องเป็นถนนที่เปลี่ยนหน้าไปอย่างมาก ซึ่งได้อ่านย้อนไป ระบุว่า "ไม่น่าเชื่อ"
3. คุณร่วมฤดีบอกว่า มีเส้นทางรถรางวิ่งผ่าน ด้วย ซึ่งเหลือตัวเลือก ราชดำริ - พระราม 1 ซึ่งราชดำริตอบแล้ว คงเหลือ พระราม 1
4. เป็นสถานที่ชาวต่างประเทศพักอาศัย แสดงว่า เจ้าของที่ดิน ต้องรวยมาก ปลูกบ้านให้ฝรั่งอยู่
5. ภาพนี้ ถ่ายประมาณ พ.ศ.2435 -2445 ถ้าแถววัดปทุม ถือว่ายังป่ารกมาก คงไม่เลยไปถึงเพลินจิตแน่นอน เพราะสะพานเฉลิมโลก (ประตูน้ำ) สร้างเมื่อ พ.ศ.2451
 :D :D



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 ก.ย. 10, 19:33
มาช่วยบอกใบ้แทนท่านหัวหน้าแก๊งค์ลูกน้ำ.....


ภาพแรก...ชายไม่สวมเสื้อเดินบนถนน.....ได้ภาพจากหนังสือที่ระลึก......ในหนังสือมีเอ่ยถึงนามสกุลเศวตศิลาและกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ......ไทยจำกัด?และพ.ศ. ๒๔..๔(ไม่ชัดเจน)

สแกนภาพนี้จากหนังสือดังกล่าวเมื่อ 22.44.48 น. วันที่14 ก.ย. 53 นี่คือสาเหตุที่ท่านหัวหน้าแก๊งค์ไม่หายหวัดซะที....เครื่องสแกนยี่ห้อแคนนอน
อีกสองภาพสแกนเมื่อ 15 กย. 53 ตอนสายๆ



หากหาในเวปคงพบยากหน่อย...ภาพปริศนาคงอยู่ในหนังสือหายากเล่มหนึ่งในบ้านของคุณหนูนักช้อนลูกน้ำ(ทั่วราชอาณาจักร)
ท่านหนุ่มสยาม-อ.เนาวรัตนและท่านอื่นๆ....คงเหนื่อยหน่อยนะครับ...งานนี้...

จริงๆแล้วเจ้าของภาพใบ้ไว้แล้วว่า...
คนอาศัยในบ้านคนหนึ่งเป็นชาวเบลเยี่ยม...แปลว่าคนอื่นอาจไม่ใช่??  วาระคนละ 10 ปี.......อาจเป็นบริษัทที่มีบ้านพักให้พนักงานผู้ใหญ่หมุนเวียนมารับตำแหน่ง

หรือหากเป็นเบลเยี่ยมทุกคน...ก็อาจเป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่ฑูต?


หวังว่คงช่วยให้งงกว่าเดิม


คุณwandee คงได้ค้นหนังสือในกรุสนุกละคราวนี้...อิอิอิอิ

 ;D ;)




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 15 ก.ย. 10, 19:44
ถนนในภาพปริศนา....ในสมัยนั้นอาจไม่ใช่ถนนหลักนะครับ...อาจเป็นถนนคู่ขนานกัน...เช่นอังรีดูนังต์คู่ขนานกับพญาไท


 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 10, 19:45
คนนี้หรือเปล่าเนี่ย?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 ก.ย. 10, 20:23
ถามเองแล้วก็ตอบเองว่าไม่น่าใช่  ท่านคงไม่อยู่มาจนพ.ศ. 2503 แน่ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Agonath ที่ 16 ก.ย. 10, 00:50
เข้ามาอ่าน  หลังจากที่ไม่ได้เยี่ยมชมมานานนะครับ  ขอแจมด้วยคน ถ้าเกี่ยวข้องกับชาวเบลเยี่ยม  ขอตอบว่า 2 ถนนนะครับ ถนนวรจักรและถนนจักรวรรดิ เพราะมี แยกเอสเอบี โดยได้ชื่อมาจากบริษัทเอสเอบีของฝรั่งชาติเบลเยียม  ( ฝรั่งที่เห็นนั้นใบ้ว่าเป็นชาวเบลเยี่ยม ) พอจะเข้าเค้าบ้างหรือเปล่าครับ พรุ่งนี้มาดูคำตอบนะครับผม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 10, 07:08
คุณร่วมฤดี หายไข้ไวๆนะครับ

อยากเห็นสิ่งนี้ชัดๆ จังเลยครับว่ามันคืออะไร ช่วยสแกนงามๆ ให้ชมได้ไหมเอ่ย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 07:21
คุณ Siamese คะ ตรงที่วงไว้หนูก็ไม่รู้อ่ะค่ะว่าคืออะไร

แหม รอหัวหน้าแก๊งค์ย่อยหินมาตอบ ก็ไม่เห็นมา หรือจะติดหวัดไปอีกคนกระมัง

จะเฉลยแล้วนะคะ ลุง Srisiam ตื่นหรือยังคะลุง...........ลุงเก่งมาก ๆ ที่อ่านด้านหลังรูปได้ด้วย โห..ไร้เทียมทาน

อาจารย์ Navarat และ อาจารย์เทาชมพูด้วยค่ะ เชิญขึ้นมาดื่มกาแฟแกล้มปาท่องโก๋ด่วนเจ้าค่ะ

มีคนตอบถูกแล้ว 2 ท่าน จะยังไม่บอกชื่อนะคะ แต่จะพิมพ์คำบรรยายภาพให้ดูเดี๋ยวนี้แหละค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 07:28
คำเฉลย : ขอพิมพ์ตามคำบรรยายภาพก่อนนะคะ แล้วค่อยมาว่ากันในรายละเอียด(มีหลายชั้น)

“บ้านพักที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสระประทุม(ปัจจุบัน คือ บำรุงเมือง)”

ที่มาของภาพ จากหนังสือชื่อ ;

Au Siam: Journal de Vayage de M. et Mme. E’mile Jottrand หนังสือนี้ต่อมาได้รับการแปลโดย Walter E.J.Tips, (Bangkok: White Lotus).

อย่าตกใจนะคะ หนูไม่มีเล่มที่ว่านี้หรอกค่ะ ซ้ำร้าย อ่านภาษาต่างด้าวไม่ออกด้วย แต่เขาอ้างอย่างนี้ ในหนังสือภาษาไทย ชื่อ
 "พระบิดาแห่งกฏหมายบไทย" เรียบเรียงโดย นิกร ทัสสโรค่ะ

เป็นไงค่ะ คำเฉลย อ่านแล้วงงไหมคะ หนูละก้องงเป็นไก่ตาแตกเชียว ทำให้ต้องไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มว่า
1.ทำไมเขาเรียกชื่อถนนเช่นนั้น
2. บ้านในรูปน่าจะอยู่ช่วงไหนของถนน

พอจะได้เค้าบ้างก็เฉพาะข้อ 1 แต่ข้อ 2 จนปัญญาจริง ๆ จึงแบกเอามาให้แก๊งค์ย่อยหินช่วยกันหาต่อ เหมือน หาบ้าน 2 หลังบนถนนเจริญกรุงนั่นละค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 07:33
อธิบายเพิ่ม (จากการค้นคว้าเอาเอง คิดเดาเอง)

หลังจาก ร.4 ตัดถนนบำรุงเมืองในปี พ.ศ.2407 แล้ว ได้มีการปลูกห้องแถวเต็มไปตลอดแนวถนน
(ดังนั้น บ้านในภาพ ไม่ได้อยู่บนถนนบำรุงเมืองแน่นอน ไม่มีที่จะแทรกได้เลย)

ถนนบำรุงเมือง เริ่มจากเชิงสะพานช้างโรงสี ไปสุดที่สะพาน ยศเส ริมคลองผดุงกรุงเกษม(แค่นี้เท่านั้น)

ต่อมาได้มีการตัดถนนต่อจากสะพานยศเสไปทางสระประทุม เมื่อแรกสร้าง เรียกกันว่า ถนนสระประทุมบ้าง ถนนปทุมวันบ้าง หรือ เรียกผิดเป็นบำรุงเมืองก็มี

นี่คือสาเหตุที่เจ้าของภาพซึ่งเป็นฝรั่งเข้าใจผิดว่า ถนนสระประทุม คือ บำรุงเมือง แท้จริงแล้ว ชื่อในเวลานั้น คือ ถนนปทุมวัน

เนื่องจากถนนนี้ เป็นเส้นทางเดินทัพกลับจากศึกเขมรของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่ 1) ต่อมา รัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนชื่อถนนปทุมวัน เป็น ถนนพระราม 1 และเรียกสะพานยศเสว่า สะพานกษัตริย์ศึกเพื่อเฉลิมพระเกียรติ์รัชกาลที่ 1

ดังนั้น ใครที่ตอบว่า ถนนพระราม1 ............ไปรับรางวัลจากอาจารย์เทาชมพูได้เลยค่ะ เก่งมาก ๆ


ขอแสดงความนับถืออย่างสูงๆๆๆๆๆๆๆๆๆ กับคุณ Siamese ที่สังเกตุได้แม้แต่หญ้าบนถนนว่า คงไม่มีรถวิ่งเท่าไร หญ้าจึงยาว

เพราะ.....เมื่อแรกสร้าง ทรงต้องการขยายเมืองออกไปทางตะวันออก และ สร้างบ้านพักที่ปรึกษาชาวต่างประเทศไว้นอกคูเมือง(คลองผดุงกรุงเกษม) ในเมื่อเป็นถนนใหม่ จึงตัดให้กว้างกว่าบำรุงเมือง เป็นถนนดินบดแน่น เตรียมพร้อมจะให้รถวิ่ง แต่กลับไม่มีใครใช้ เพราะรถยนต์ในสมัยที่ถนนในภาพสร้างเสร็จ มีไม่กี่คัน คนยังเดินทางกันด้วยคลองเป็นส่วนใหญ่

จึงได้เห็นถนนเงียบ ๆ มีหญ้าขึ้น และ...555...ไม่มีโรงรถหรอกค่ะ...มีแต่รถม้า รถลาก ดังในรูปเท่านั้น
และ คงจะวิ่งมาแถวนี้ ตามคำสั่งให้มารับส่งฝรั่งเท่านั้น เพราะไม่มีใครตั้งบ้านเรือนมาทางนี้ นอกจากวังเจ้านายเท่านั้น

สยามในเวลานั้น คนที่มีรถยนต์ขับคนแรก คือ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งทรงถวายรถคันแรกนั้นให้เป็นรถพระที่นั่งของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 07:36
พวกเราคงจำได้ว่า สมัยรัชกาลที่ 5 เรามีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส และ มีปัญหาเรืองสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

ทำให้รัฐบาลไทยต้องจ้างนักกฏหมายมือดีจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษา และชาวเบลเยี่ยม ตั้งแต่ พระยาอภัยราชา (Gustave Rolin-Jaequemyns) เป็นต้นมา ล้วนฝีมือดีและทำงานได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้เป็นที่โปรดปราณมาก จึงได้พระราชทานที่พักชั้นดี อากาศดีๆ ให้ และยังทรงห่วงไปถึงอนามัยของชาวต่างชาติเหล่านี้ โดยเฉพาะน้ำดื่มที่ต้องสะอาด เพราะปรากฏว่า แต่ละท่าน มาได้ไม่นานก็สุขภาพไม่ดี ลาออกและเสียชีวิตในที่สุด บางรายก็ถูกครอบครัวขอร้องให้ลาออกเพือรักษาสุขภาพ(และชีวิต)

เข้าใจว่า บ้านเหล่านี้ น่าจะมีหลายหลัง และชาวต่างชาติไม่น่าจะมีเฉพาะเบลเยี่ยมเท่านั้น อาจจะมี ดร.โตกิจิ มาซาโอะ รวมอยู่ด้วย และ หมอไรเตอร์ก็เข้ามาในช่วงนี้เช่นกัน

สิ่งที่พวกเราไม่รู้กันก็คือ บ้านในภาพ อยู่ช่วงไหนของถนนพระราม 1 ดิฉันเดาว่า น่าจะไม่ไกลจากสะพานกษัตริย์ศึกเท่าไรนัก(นึกแล้วสงสารรถลากรถม้าเวลาวิ่งขึ้นสะพานกษัตริย์ศึกจริง ๆ)

ใครพอจะค้นหลักฐานเพิ่มเติมได้ ขอเรียนเชิญให้มาแบ่งปันความรู้ด้วยค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 07:41
จากรูปที่มีฝรั่งนั่งอ่านหนังสือ มีภรรยายืนอยู่ด้วยนั้น ภาพนั้น คือ Mr. E’mile Jottrand

ช๊อตตรองท์ เกิดเมื่อ พ.ศ.2409 ต่อมาเมื่ออายุได้ 32 ปี เจ้าพระยาอภัยราชาและ มร.เกิกปาตริก(ที่ปรึกษาชาวเบลเยี่ยมอีกท่านหนึ่ง) ติดต่อให้มารับราชการเป็นที่ปรึกษากฏหมายในประเทศไทย

ช๊อตตรองท์และภริยา ออกเดินทางจากประเทศเบลเยี่ยมไปโดยสารเรือซักเซนที่ท่าเรือเมืองเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2441 โดยได้รับค่าเดินทางจำนวน 120 ปอนด์ เมือมาถึงกรุงเทพฯแล้ว ได้เข้าพักในบ้านหลังที่ชื่อ วิลล่าซูซาน (VillaSuzanre) ซึ่งเป็นบ้านที่ปิแอร์ ออตส์ (Pierre Orts)ัพกอาศัยอยู่ก่อน{คนนี้ก็เป็นที่ปรึกษาอีกท่านที่เจ้าพระยาอภัยราชาชวนมาช่วยกันทำงานก่อนช๊อตตรองท์จะมา}

 ช๊อตตรองท์เริ่มทำงานครั้งแรกที่ศาลโปริสภา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2441 ต่อมาวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2441 ก็ได้ร่วมทำงานกับขุนหลวงพระยาไกรศรี (เปล่ง เวภาระ) ที่ศาลพระราชอาญา ครั้นถึงปี พ.ศ.2442 ก็ได้ย้ายไปทำงานที่ศาลคดีต่างประเทศและที่ศาลอุทธรณ์

วันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2444 เสด็จในกรมหลวงราชบุรี ทรงมีคำสั่งให้ช็อตตรองท์ไปพิจารณาคดีสำคัญที่เกิดขึ้นในเขตอนาจศาลมณฑลนครราชสีมา

ช๊อตตรองท์และภริยาบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทยในสมัยนั้นไว้มากมายหลายเรือง เป็นต้นว่า เรื่องภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พระมหากษัตริย์ ราชสำนัก ช้าราชการ ชาวต่างชาติในประเทศไทย และการพิจารณาคดี

สำนักพิมพ์ Plon-Nourrit ของฝรั่งเศส ได้นำบันทึกเหล่านั้นไปตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Au Siam: Journal de Vayage de M. et Mme. E’mile Jottrand หนังสือนี้ต่อมาได้รับการแปลโดย Walter E.J.Tips, (Bangkok: White Lotus).

ช๊อตตรองท์และภริยาออกเดินทางจากรุงเทพฯกลับไปประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2445 เวลา 2 นาฬิกา ท่านมีอายุยืนมาก เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศเบลเยียม ใน พ.ศ.2503 ช๊อตตรองท์ก็ได้รับเชิญให้ร่วมงานเลี้ยงที่ทางการเบลเยี่ยมจัดถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 10, 07:50
เพชร ยังเจียรนะไนไม่เสร็จ...เหมือนเฉลยแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง

ที่บอกว่าถนนบำรุงเมือง กับ ถนนปทุมวัน นั้นเชื่อมโยงกันครับ ดูจากการตัดถนนผ่านเมรุปูนวัดสระเกศฯ ยังคงเรียก"ถนนปทุมวัน"

ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อโปรดให้ตัดถนนสระปทุมต่อจากถนนบำรุงเมือง
ถนนนี้ผ่านไปในระหว่างกุฎีวัดสระเกศ กับบริเวณเมรุปูน
โปรดให้สร้างพลับพลา แลแก้ไขบริเวณเมรุ ให้เข้ากับถนน
ให้ทำสะพานแลถนนต่อจากถนนสระปทุม
เข้าไปถึงลานบรมบรรพตกด้วยสายหนึ่ง


แสดงว่าถนนปทุมวันผ่านระหว่างกุฏิ และเมรุปูน ก็เรียกกันแล้ว แต่ระยะหลังเรียกถนนบำรุงเมืองไปแล้ว ซึ่งความยาวของถนนปทุมวัน ยาวถึงวัดปทุมวนาราม (แนวสีน้ำเงิน)

ซึ่งคิดว่า บ้านพักชาวต่างชาติไม่ไกลถึงขนาดนั้น

ต่อมาสิ่งที่อยากทราบคือ บ้านพักอยู่ตำบลใด ซึ่งดูจากแนวรั้วยาวสีขาวหลังเป็นแนวต้นไม้ขนาดใหญ่และ สิ่งก่อสร้างน่าสงสัยที่วางไว้กลางถนน คืออะไรกันแน่ ชวนน่าสงสัยยิ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 08:13
ข้อมูลและแผนที่คุณ Siamese ดีมากค่ะ น่าคิดจริง ๆ ว่า บ้่านฝรั่งจะอยู่ช่วงไหน

เรียนเชิญท่านผู้มีเกียรติมาร่วมกันย่อยหิน ช้อนลูกน้ำ จนกว่าจะละลายภูเขาน้ำแข็งนี้ลงได้

อาจารย์เทาชมพูขา อาจารย์จะเลี้ยงอะไรคะ นี่ใกล้จะถึง ค.ค.ห.ที่ 999 เต็มทีแล้ว
 
มาดูกันว่า ใครจะPost ค.ค.ห.มาเข้าวินที่เลขสวย ๆ กันดีกว่า

วันนี้จะนั่งดูอย่างเดียว ไม่ Scan อะไรอีกแล้วค่ะ มีคนอ่านได้แม้แต่ยี่ห้อเครื่อง Scan และเวลาที่ Scan

จอมยุทธทั้งนั้นเลยที่นี่ น่าเกรงขามมาก ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 08:39
ตื่นแล้วจ้า............ตื่นตากับคำเฉลยที่ให้ความรู้มากมาย...
ขอบคุณท่านหัวหน้าแก๊งค์....(หายป่วยแล้วยังครับ)
ไงๆช่วยสแกนหลังภาพให้เห็นข้อความหน่อยดิ............


 ;) ;D

จำได้ว่าเคยพบในหนังสือศิลปวัฒนธรรม- วังของกรมหมื่นพิทยลาภฯที่หลงเหลืออยู่ในสภาพทรุดโทรมก็อยู่แถวนี้ด้วย.....


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 09:03
ต้องทำตามลุง Srisiam ขอร้องหน่อย เพราะท่านมากความสามารถเหลือเกิน อ่านหนังสือ ด้านหลังออกเสียด้วย
หนังสืออ้างอิงเหล่านี้ น่าจะเป็นแหล่งข้อมูลในการค้นหาตำแหน่งแห่งที่ของ Villa Suzanre ได้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 09:20
แถมให้อีกรูปสำหรับคนที่คิดถึงหมอไรเตอร์ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 09:34
ดูรูปรถยนต์สมัยนั้นสิคะ ไม่น่าจะมีกำลังข้ามสะพานกษัตริย์ศึกไหวนะคะ
อาจจะเป็นอย่างคุณ Siamese ว่าก็ได้ บ้านน่าจะอยู่บนถนนบำรุงเมืองจริง ๆ
ไม่น่าจะไกลข้ามคลองผดุงกรุงเกษมมา

สมัยหนูหัดขับรถเป็นใหม่ ๆ กลัวสะพานกษัตริย์ศึกนี้เป็นที่สุด
เลี้ยงเกียร์เลี้ยงคลัชจนขาสั่น ยังไม่วายทำรถไหลถอยหลังลงมาได้

เคยอ่านในหนังสือของขุนวิจิตรมาตรา เล่าเรื่องกรุงเทพสมัยก่อนว่า
เวลารถม้า รถเจ็กจะข้ามสะพานพุทธ ผู้โดยสารจะลงมาช่วยเข็ญรถให้ขึ้นสะพานอีกแรงหนึ่ง ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

และเมื่อหลายปีก่อน ดิฉันเคยพาฝรั่งนั่งรถไปด้วยกัน รถติดมากแถวถนนสาทรตอนเช้า
ปรากฏว่ารถเมล์เสีย แล้วผู้โดยสารชาวไทยใจดี ต่างพากันลงจากรถเมล์
มาช่วยคนขับรถเข็ญรถหลบไปข้างทาง แล้วกลับมายืนรอคันใหม่อย่างอดทน

ฝรั่งร้องว่า Amazing ๆ ๆ  ๆ ๆ หากเป็นบ้านเมืองเขา  ผู้โดยสารนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว
ยังจะฟ้องรถเมล์เรียกค่าเสียหายที่ไปทำงานไม่ทันได้ด้วย

เล่าสู่กันฟังค่ะ ประเทศไทยใจดี สยามเมืองยิ้ม วันนี้ จะมีเหลืออีกไหมไม่ทราบ
แต่ที่เรือนไทยนี่ มีนำ้ใจเต็มเปี่ยมนะคะทุกท่าน

เช่น อ.เทาชมพูไม่เคยลืมแนะนำให้ดื่มน้ำอุ่น ใส่น้ำผึ้งผสมมะนาว แก้หวัดเจ็บคอได้อย่างดี
กราบขอบพระคุณค่ะ
(....หาเรื่องลากยาว ๆ ให้ไปถึง 999....จะรอดูว่าใครเข้าวิน)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: djkob ที่ 16 ก.ย. 10, 10:28
ถ้ายาหมอแผนปัจจุบันทานแล้วไม่หายสักที

ขออนุญาตแนะนำท่านอาจารย์ร่วมฤดีให้ลองทาน ฟ้าทะลายโจรค่ะ  ขมหน่อยแต่ชะงัดดีนักแล
หวานเป็นลม ขมเป็นยา ค่ะ

ดูแลตัวเองด้วยนะคะ (เป็นห่วงค่ะ)

ตอนนี้หวัด 2009 ระบาดมาถึง 2010 แล้วค่ะ  ที่ออฟฟิต
เป็นหวัดกันกว่าครึ่งแล้วนะคะ หนึ่งในจำนวนนี้มี 2009 ถึง 2 คนด้วยกัน

ด้วยความเคารพรัก
ดีเจกบ  :-*


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 10, 10:34
ข้อมูลเพิ่มเติม

สะพานกษัตรย์ศึก ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๗ ครับ เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๑ สร้างข้ามทางรถไฟ แต่บังเอิญความยาวของสะพานกินระยะทางลาดไปชนสะพานยศเส (เป็นสะพานไม้) จึงทำการสร้างใหม่และผนวกเข้าเป็นเหมือนสะพานเดียวกัน แล้วพระราชทาน "สะพานกษัตริย์ศึก" เพื่อให้พ้องกับถนนพระราม ๑ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าพระราชทาน ระยะถนนตั้งแต่สะพานยศเส - วัดปทุมวนาราม

แสดงว่า ถนนปทุมวัน ช่วงตั้งแต่ประตุสำราญราษฎร์ (ประตูผี) เรื่อยมาจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม ที่สะพานยศเส มีชื่อเรียกกันในช่วงระยะสั้นๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 10, 10:51
นายยอดตรัง หรือ นายยอดทอง

เอมิล จอดตรองเดินทางไปทำงานที่สยามเมื่ออายุ 32  ปี ค.ศ. 1898 นับเป็นที่ปรึกษากฎหมายที่อายุน้อยที่สุดในคณะที่ปรึกษาชาวเบลเยียมในช่วงนั้น
   บ้านพักของปู่และย่าของเธอในสยามชื่อ วิลล่า ซูซาน อยู่ตรงถนนสระประทุมซึ่งเคยเป็นบ้านพักของที่ปรึกษากฎหมายเบลเยียมอีกคนหนึ่งที่ชื่อปิแอร์ โอตมาก่อน
   ย่าของเธอเป็นคนที่ชอบสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะแมว และชอบเก็บสะสมของทุกอย่าง ไม่ว่าจดหมาย บัตรเชิญ ภาพถ่าย ตั๋วรถรางไฟฟ้า บัตรอวยพร เมนูอาหาร แสตมป์และอื่นๆ
   หนังสือเก่าและอัลบั้มภาพที่เธอมีอยู่นี้  เธอได้รับมาจากพ่อและน้าสาวของเธอ เราสองคนเปิดดูภาพต่างๆ ในอัลบั้มด้วยความตื่นเต้น กระดาษอัลบั้มนั้นดูเก่าจนเป็นสีเหลือง กรอบแห้งตามกาลเวลา ภาพถ่ายขาว-ดำได้รับการติดอย่างปราณีตเรียบร้อย มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก หลายภาพเป็นภาพที่คุ้นตาเนื่องจากได้รับการเผยแพร่และอ้างอิงในหนังสือประวัติศาสตร์มาหลายเล่มแล้ว ในขณะที่หลายภาพเป็นภาพที่ต้องยอมรับว่าไม่เคยพบเห็นจากที่ใดมาก่อนเลย ของสะสมหลายชิ้นเป็นของที่น่าจะสูญหายไปจากประเทศไทยแล้ว (กระมั้ง) อาทิ ตั๋วรถรางไฟฟ้าในสยาม
   เกี่ยวกับตัวนาย Emile Jottrand  มาดาม Simone กล่าวว่าเธอมีความภูมิใจในตัวปู่ของเธอมาก
เมื่อถามว่าภูมิใจตรงไหน เธอตอบว่าภูมิใจที่ปู่ของเธอได้ไปทำงานในสยามและเป็นส่วนหนึ่งของคณะที่ปรึกษากฎหมายเบลเยียมสนองราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม
   คนเบลเยียมที่เธอรู้จักส่วนมาก ไม่ค่อยมีใครทราบเรื่องคณะที่ปรึกษากฎหมายเบลเยียมในสยามมากนัก ซึ่งเธอจะรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่จะได้เล่าเรื่องของปู่ของเธอให้เพื่อนๆ ฟัง
   เธอเล่าว่า ย่าของเธอเป็นคนชอบดนตรีและได้นำเอาเปียนโนไปสยามด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โกลาหลมาก เนื่องจากต้องขนเปียนโนดังกล่าวลงเรือ ขึ้นเรือหลายครั้งกว่าจะถึงสยาม ทำให้เมื่อถึงบ้านพักในสยาม
ปู่ของเธอต้องจ้างช่างดนตรีให้มาจูนเสียงกันใหม่ เธอเล่าว่า เปียนโนหลังนั้น นับเป็นหลังเดียวในสยามในขณะนั้นเลยทีเดียว
   เมื่อถามว่า หลังจากที่เอมิล จอตตรองกลับมาจากสยามแล้ว ได้ทำอะไรบ้าง เธอเล่าว่า…หลังจากกลับมาจากสยาม ปู่ของเธอได้ไปบริหารวิทยาลัยการค้าแห่งหนึ่งในเมือง Mons ใกล้เขตแดนฝรั่งเศส วิทยาลัยดังกล่าวมีชื่อว่า Institut Commerce Warocque ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็น Institut superieur de commerce du Hainaut ที่มีชื่อเสียง ปู่ของเธอได้เขียนบทความและข้อเขียนเกี่ยวกับสยามหลายชิ้น ที่มีชื่อมากที่สุดได้แก่บันทึกการเดินทางเรื่อง Au Siam :Journal de Voyage de M. et  Mme. Emile Jottrand  จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์  Plon  ในปี ค.ศ 1905 ซึ่งปรากฎว่าได้รับความนิยมจากผู้อ่านชาวเบลเยียมจนต้องจัดพพิมพ์เป็นครั้งที่ 2
เนื้อหาสาระเป็นจดหมายบันทึกการเดินทางรายวันของนาย Jottrand และภรรยา ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงจนวันสุดท้ายที่ทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในสยาม ซึ่งเป็นบันทึกที่ค่อนข้างละเอียดมาก (จดหมายฉบับแรกคือวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 1898 และฉบับสุดท้ายคือวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 1902) ผู้เขียนได้บันทึกเรื่องราวของชีวิตในสยามทั้งในด้านการงานและส่วนตัวแทบจะทุกๆเรื่อง อาทิ  ได้กล่าวถึง ความรู้สึกแรกที่ได้มาเห็นสยาม ราชสำนัก ข้าราชการ ชาวสยาม ชาวต่างชาติในสยาม  คนรับใช้ในบ้าน การพิจารณาคดี ภูมิประเทศและภูมิอากาศ วัฒนธรรม กษัตริย์ ฯลฯ ความละเอียดของบันทึกดังกล่าว ทำให้ Au Siam เป็นหนังสือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสยามที่สำคัญเล่มหนึ่งซึ่งต่อมาสำนักพิมพ์ White Lotus  โดย นาย Walter J. tips ได้จัดแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ ชื่อว่า  In Siam      นอกจากบันทึกการเดินทางดังกล่าวแล้วเขาได้เขียนบทความเรื่อง Europeens et Asiatiques และการปฎิวัตในสยามในวารสาร le Flambeau  รวมทั้งการให้สัมภาษณ์ลงหนังสือพิมพ์ Le Soir ในโอกาสการเสด็จเยือนเบลเยียมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในรัชกาลปัจจุบัน ในปี ค.ศ 1960 ด้วย
   ในปี ค.ศ 1909 ปู่และย่าของเธอได้เขียนเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวในอินโดจีนและญี่ปุ่น (Indo-Chine et Japon) จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Plon ปารีส เนื้อเรื่องเป็นการเล่าถึงการเดินทางทางเรือจากอิตาลี ท่องมหาสมุทร์ไปยังประเทศอินโดจีนที่ไกลโพ้นทะเล ในหลายบทได้เล่าถึงการแวะเยือนสยามไว้อย่างน่าประทับใจด้วย และเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่มีส่วนทำให้ปู่ของเธอมีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดาคณะที่ปรึกษากฎหมายเบลเยียมในสยาม จะยกเว้นก็อาจจะมีเพียงเมอร์ซิเออชาลส์ บูลส์ อดีตนายกเทศมนตรีกรุงบรัสเซลส์ที่เดินทางไปสยามและกลับมาเขียนเรื่อง สยามสเก๊ตซ์ (Croquis Siamois) จนมีชื่อเสียงโด่งดังในเบลเยียมเช่นเดียวกัน
เธอได้เล่าถึงประสบการณ์ที่น่าทรงจำเหตการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองคือ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบันเสด็จเยือนเบลเยียมในปี ค.ศ.1960 ปู่ของเธอได้รับเชิญให้ไปร่วมงานเลี้ยงต้อนรับที่ฝ่ายเบลเยียมจัดถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถด้วย เธอจำได้ดีว่าเธอเองเป็นคนขับรถไปส่งปู่กับน้าสาวที่พระราชวัง โดยตัวเธอนั่งรออยู่ในรถ
   นอกจากนั้น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าโบดวง แห่งเบลเยียมเสด็จเยือนประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1964 (4 กุมภาพันธ์ 1964) สมเด็จพระเจ้าโบดวงได้มีโทรเลขสั้นๆ *ถึงปู่ของเธอ เพื่อแจ้งว่าทั้งสองพระองค์ได้เสด็จมาถึงประเทศสยามหรือไทยซึ่งเป็นประเทศที่ Emile Jottrand ปู่ของเธอได้ทุ่มเทให้อย่างมากแล้ว ซึ่งปู่ของเธอก็ได้ตอบโทรเลขของพระเจ้าโบดวง ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1964 * ด้วยความปลาบปลื้มใจเป็นที่สุด
Emile Jottrand ยังได้ระบุในหนังสือตอบด้วยว่า ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่รู้ว่า หลังจากเวลาผ่านไป 60 ปี ชาวสยามยังคงตระหนักและระลึกถึงคุณงามความดีต่างๆ ที่นายกุสตาฟ โรแลง ยัคแมงส์ หรือเจ้าพระยาอภัยราชาและคณะที่ปรึกษากฎหมายชาวเบลเยียมได้สร้างไว้ให้กับสยาม
สำหรับในส่วนตัวของนาย Jottrand นี้ ได้กราบทูลพระเจ้าโบดวงอย่างตรงไปตรงมาว่า จากการที่ได้เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ หลายประเทศ ประเทศไทย (หรือสยาม) อยู่ในความประทับใจของตนเป็นอันดับแรก เหตุผลก็คือความมีมารยาทงดงามที่ไม่มีอะไรมาเทียบได้ของชนชาวสยาม ความรวดเร็วและง่ายดายในการเรียนรู้วิชาการต่างประเทศรวมทั้งการแสดงไมตรีจิตและน้ำใจต่อผู้อื่นในเรื่องต่างๆ แทบทุกเรื่องไม่ว่าดีหรือไม่ดี ชาวสยามจะมีวิธีการแสดงออกที่งดงามเสมอ*
   พูดถึงเรื่องชื่อของนาย Jottrand มีข้อสังเกตว่าฝ่ายสยามพยายามสะกดชื่อดังกล่าวเป็นภาษาไทยซึ่งก็มีผลทำให้นาย Jottrand  มีชื่อเป็นไทยหลายชื่อ ตั้งแต่ นายชวดตรอง นายยอดตรัง และแม้กระทั่งนายยอดทอง*
   จากการที่ครอบครัว Jottrand เกี่ยวข้องกับสยามมากเช่นนี้ ทำให้เราคาดว่าเธอคงจะได้รู้จักและเคยไปเที่ยวเมืองไทยหลายครั้งแล้ว แต่ผิดคาด เธอตอบว่าเธอยังไม่เคยไปเที่ยวประเทศไทยเลยแม้ สักครั้งเดียว

ที่มา http://forums.thaieurope.net/index.php?action=printpage;topic=313.0


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 10:55
อธิบายเพิ่ม (จากการค้นคว้าเอาเอง คิดเดาเอง)

หลังจาก ร.4 ตัดถนนบำรุงเมืองในปี พ.ศ.2407 แล้ว ได้มีการปลูกห้องแถวเต็มไปตลอดแนวถนน
(ดังนั้น บ้านในภาพ ไม่ได้อยู่บนถนนบำรุงเมืองแน่นอน ไม่มีที่จะแทรกได้เลย)

ถนนบำรุงเมือง เริ่มจากเชิงสะพานช้างโรงสี ไปสุดที่สะพาน ยศเส ริมคลองผดุงกรุงเกษม(แค่นี้เท่านั้น)

ต่อมาได้มีการตัดถนนต่อจากสะพานยศเสไปทางสระประทุม เมื่อแรกสร้าง เรียกกันว่า ถนนสระประทุมบ้าง ถนนปทุมวันบ้าง หรือ เรียกผิดเป็นบำรุงเมืองก็มี

นี่คือสาเหตุที่เจ้าของภาพซึ่งเป็นฝรั่งเข้าใจผิดว่า ถนนสระประทุม คือ บำรุงเมือง แท้จริงแล้ว ชื่อในเวลานั้น คือ ถนนปทุมวัน




911 ของท่านหนุ่มสยามไม่ขัดแย้งกันหรือครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 11:05
ความจริงได้เตรียมเรื่องนายยอดทองไว้เรียบร้อยแล้ว มาเจอของคุณไซอามีสเข้าพอดี ขอเสนอตอนต่อก็แล้วกัน   

ย้อนอดีตสยาม 2 ภาพและสิ่งของสะสมของมาดาม"ยอดทอง"
http://forums.thaieurope.net/index.php?topic=320.0

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 11:12
ภาพปริศนาของคุณร่วมฤดีจึงน่าอยู่ไม่ไกลจากคลองผดุงกรุงเกษมมากเกินไปกว่าแยกบรรทัดทอง..........
หากไกลกว่านี้ก็นับว่าเปลี่ยวมากๆ...?...(หากเรานับจากพระบรมหาราชวังออกมา)


 :)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 11:16
ขอคารวะความพยายามของทุกท่าน และหลักฐานที่ช่วยกันค้นคว้ามาให้ดู
เป็นเรื่องน่าทึ่งจริงๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 11:21
ต้องขอขอบพระคุณท่านประธานที่ปรึกษาฯผู้ริเริ่มกระทู้นี้....เมื่อหนึ่งเดือนที่แล้ว....

มาครบ ๙๙๙ วันหวยออกพอดี........ตัวใครต้วมันนะครับถ้าออกเลขนี้??

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 11:26
นับถอยหลัง.....๙........๘.........๗..........๖.......๕........


๙๙๙ อาจารย์เทาชมพูจองไว้แล้ว......

 ;D ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 11:32
 ;D
ได้เลขเด็ดจริง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 11:36
เลข ๑,๐๐๐ ก็สวยไม่หยอก

มาครบ ๙๙๙ วันหวยออกพอดี........ตัวใครต้วมันนะครับถ้าออกเลขนี้??

 ;D

ถ้าดูเลข ต้องดูให้รอบ

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ย. 10, 11:43
สนุก ได้สาระ แล้วยังแถมใบ้หวยด้วยนะคะ...


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 11:43
นึกว่าโดนปาดหน้าไปเสียแล้ว  
 

 :'(

อยากจะปลอบมาดามซีโมนว่าอย่าน้อยใจ    ประเทศไทยไม่ได้ลืมคุณงามความดีของคุณปู่ของเธอ   รวมทั้งที่ปรึกษาชาวต่างประเทศอื่นๆที่มาทำงานในสยาม ก่อคุณประโยชน์แก่ประเทศเราเหลือคณานับเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน    คนไทยก็ยังยกย่องสืบกันต่อมา
แต่ว่าการรำลึกถึงและยกย่อง อยู่ในแวดวงกฎหมายที่ท่านเหล่านั้นมีบทบาทสำคัญ   ไม่ได้ข้ามแดนไปถึงแวดวงอื่น   ซึ่งสื่อไทยเล่นกันมากกว่าในปัจจุบัน เช่นเรื่องการเมือง และวงการบันเทิง  ก็เลยดูเหมือนว่าไม่มีใครรู้จักท่านเหล่านั้นแล้ว

เชิญผู้สนใจเข้าไปอ่านได้ในลิ้งค์นี้ค่ะ
http://www.coj.go.th/museum/malao/botbat.htm

หมายเหตุ อยากจะเซฟหน้านี้เก็บไว้ในเรือนไทยจริงๆ  จะลอกลงมาในค.ห.นี้ ก็ยาวมาก  และต้องแทรกรูปลงต่างหากด้วย   ต้องถามคุณม้าว่าจะทำอย่างไรดี


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 11:46
จะพยายามทำสถิติค่ะ  ถ้าแก๊งค์ช้อนลูกน้ำและแก๊งค์ย่อยหิน ยังไม่หนีไปไหน

ถ้าหวยออกตามที่คุณศรีสยามและเพ็ญชมพูใบ้ให้   สัญญาว่าจะเปิดเรือนไทยฉลอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ย. 10, 12:47
รอลุ้นหวยอยู่ค่ะ เผื่อจะได้ร่วมฉลอง..อิอิ

ท่านนักย่อยหินและนักช้อนลูกน้ำที่เคารพคะ.....
ช่วยสรุปเอาบุญให้หน่อยนะคะว่า "ถนนสระประทุม" อยู่ตรงไหนในภาพนี้คะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 12:56
ภาพปริศนาของคุณร่วมฤดีจึงน่าอยู่ไม่ไกลจากคลองผดุงกรุงเกษมมากเกินไปกว่าแยกบรรทัดทอง..........
หากไกลกว่านี้ก็นับว่าเปลี่ยวมากๆ...?...(หากเรานับจากพระบรมหาราชวังออกมา)
 :)

ถนนในภาพปริศนาอยู่ชานเมือง    ดิฉันเชื่อว่าอยู่ที่ปทุมวัน ถัดจากสะพานกษัตริย์ศึกลงมา ใกล้ๆบรรทัดทอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 13:26
แล้วถ้าหากเป็นบ้านหกหลังเรียงกันนี้ละ..............?



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 13:38
ไม่น่าใช่   ถ้าเป็นเส้นนี้  บ้านอีกฟากหนึ่งอยู่ไหนล่ะคะ?
ลักษณะบ้านในรูปปริศนา เหมือนถนนแยกจากถนนใหญ่  เป็นรูปตัว T


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 10, 13:54
นั่งค้นหาอยู่ ในแผนที่ระวางฉบับ พ.ศ. ๒๔๓๙ ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านนี้มีแล้ว ไม่ทราบว่าตรงนี้หรือไม่ เป็นอาคารวางเรียงกัน ๘ ห้อง ขนาดพื้นที่ใหญ่พอดู มีซอยตรงกลาง ติดถนนสระปทุม (ต่อมาเรียกบำรุงเมือง) ด้านหน้าเป็นโรงเลี้ยงเด็กของพระอัครชายาเธอฯ

คือยังหาพิกัดที่ปลายภาพเป็นกำแพงขาวยาว ต้นไม้เยอะไม่ได้ในถนนนี้สักที ถ้าโรงเลี้ยงเด็กมีกำแพงก็ใช่เลย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 14:07
ไม่น่าใช่   ถ้าเป็นเส้นนี้  บ้านอีกฟากหนึ่งอยู่ไหนล่ะคะ?
ลักษณะบ้านในรูปปริศนา เหมือนถนนแยกจากถนนใหญ่  เป็นรูปตัว T

ที่สันนิษฐานเช่นนี้เพราะมีหวยล็อคของคุณหนูร่วมฤดีบ่งชี้อยู่.......และ
1- บ้านพักฝรั่งอยู่นอกคูเมือง....ก็ต้องอยู่ข้ามสะพานยศเสมาทางวัดช่างแสง
2- เสาไฟฟ้าในภาพต้นเล็ก....ไม่ใช่ถนนใหญ่แน่ๆ...น่าจะเป็นถนนสำหรับขับรถเล่นกินลมหลังบ้าน...ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ฝรั่งสมัยนั้นเรียกร้องจากทางการให้หาที่ให้(เช่นเดียวกันกับย่านบางรัก)
3- ประตูบ้านเล็กนิดเดียว...ย่อมต้องเป็นประตูหลังบ้าน
4- สุดถนนเป็นดงไม้ใหญ่.........ถนนสระประทุมไม่มีโค้งมากถึงขนาดจะเห็นต้นไม้อยู่กลางถนน
5- หากพื้นเขียวในภาพเป็นเพียงลานเอนกประสงค์ก็จะสอดคล้องกับสมมุติฐานดังกล่าว

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 14:12
ไล่ตามสองเทพไม่ทัน   ย้อนไปเอาแผนที่ดาวเทียมของคุณ :D:D  มาเทียบอีกครั้ง ว่าอยู่ตรงไหน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14522;image)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 10, 14:15
ช่วยแปะแผนที่ให้ จะได้ชัดๆครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 14:16
ฉนั้นตัว T  ของอาจารย์เทาชมพูย่อมน่าจะเป็นดังนี้....
ไงๆก็ยังยอมรับไม่ได้ว่าบ้านพักที่ปรึกษาราชการจะสร้างโดยหันหลังให้ถนนใหญ่...ถ้าหากถนนที่ชายสวมกางเกงไร้เสื้อเดินอยู่เป็นถนนสระประทุมจริง

 ;D


อนึ่งแผนที่นี้น่าจะ not to scale หรือสเกลอาจคลาดเคลื่อนนิดหน่อย

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 14:20
เรื่องแผนที่ ยังดูไม่ออก    แต่สะกิดใจว่าทำไมถนนสีฟ้า ใหญ่กว่าถนนสระปทุม   
เรื่องหันหน้าหันหลังให้ถนน    เชื่อว่าบ้านรั้วดอกไม้หันหน้าให้ถนนสายใหม่ค่ะ ไม่ใช่หันหลัง    
ประตูเล็กนั่นคือทางเข้าออกที่ไม่ต้องใช้รถยนต์แล่นผ่านเข้าไป   เพราะท่านที่ปรึกษาชาวฝรั่งมีรถหลวงมารับมาส่ง  ถึงเวลาก็จอดเทียบริมถนนตรงประตู


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 14:23
ถ้าวิลลาซูซานเป็น ๑ ใน ๘ หลังข้างล่าง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14524;image)

ปัจจุบันก็อยู่ริมถนนบำรุงเมือง ตรงข้ามตรอกโรงเลี้ยงเด็ก

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 14:33
เทพมาปักหมุดให้อีกหนึ่งท่านแล้ว  โปรดพิจารณา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 14:49
อยากจะยอมรับแนวคิดอาจารย์เพ็ญชมพู...แต่ติดขัดตรงที่ขัอมูลบอกว่าอยู่ถนนสระประทุมซึ่งไม่น่าจะเป็นบำรุงเมืองซึ่งอยู่ในเขตคูเมือง

ยังติดอยู่แค่นี้แหละครับ.....และฝั่งนั้นน่าจะแออัดกว่าอีกฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม..




 ;D :P


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ย. 10, 14:52
ดูกลุ่มบ้านต้องสงสัย สมมุติฐานแรกที่มี 6 หลังอยู่ริมถนนสระประทุมก่อนนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 14:58
ปักหมุดก็อาศัยสมมุติฐานจากคุณไซอามีสนี่แหละ

ป.ล.

สุขสันต์ในวันเกิด     พรใดเลิศเกิดดังคิด
แด่คุณไซอามีส       ด้วยดวงจิตคารวะ

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 15:06
อ้าว วันเกิดของคุณ siamese หรือนี่
งั้นขอเวลานอก หยุดมุงดูแผนที่ มาดูคลิปกันหน่อยนะคะ

http://www.youtube.com/watch?v=dePMU8R131s


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ย. 10, 15:07
รูปตัว T ของคุณ srisiam น่าจะอยู่ประมาณนี้ค่ะ ซึ่งปัจจุบันยังมีซอยออกมาที่ถนนใหญ่ตรงหัวตัว T ค่ะ

สุขสันต์วันเกิดคุณ siamese ด้วยค่ะ ขอให้พบแต่สิ่งดีๆ มีความสุขค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 15:19
สุขสันต์วันเกิดครับ..ท่านจอมยุทธฯ

จากผู้น้อย..กระบี่ไร้กระเทียมทาน.. ;D ;)



ขออภัยที่รีบไปหน่อย...และขอถอนคำพูดเรื่องแผนที่ not to scale  แมทช์กันเป๊ะกับภาพกูเกิ้ล

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 10, 15:25
ขอบพระคุณที่อวยพรวันคล้ายวันเกิดให้ครับผม  :)

อยากจะบอกว่า ถ้าอาคารกลุ่ม 6 หลังดังสมมุติฐานข้างต้นแล้ว จะตอบเรื่องรั้วขาว + ต้นไม้อย่างไร
เห็นบอกว่าเป็นของโรงเรียนเกษตร  ลองดูนะครับว่า ระยะทางไกลนะครับ จากอาคารศรีจุลทรัพย์ ไปสนามกีฬาแห่งชาติ
แนวรั้ว+ต้นไม้ในภาพปริศนา อยู่ใกล้นิดเดียวเองนะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ย. 10, 15:38
งั้นมาดูข้อสังเกตของคุณ siamese  ตามความคิดเห็นที่ 1008 นะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 15:41
คำตอบของท่านหนุ่มสยามอาจอยู่ตรงที่ว่า....โรงเรียนเกษตรกรรมสมัยนั้นมีขอบเขตถึงแยกถนนบรรทัดทองซึ่งไม่ไกลมากนักครับ...


 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 15:51
ดูง่ายขึ้นหน่อย....


 :)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ย. 10, 16:10
ระยะทางจากหัวตัว T สีชมพู ถึงบริเวณเส้นสีเขียว สนามศุภฯ ประมาณ 400 เมตรค่ะ พอไหวไหมคะ
ยกรูปปริศนามาให้ดูกันอีกทีค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 16 ก.ย. 10, 16:37
คือที่เสนอว่า ควรจะอยู่ติดกับสวนมะลิ (ที่ดินที่เป็นวงเวียนกลมๆด้านซ้ายมือ) เนื่องจาก
1. เห็นแนวการจัดสรรที่ดิน ซ้ายและขวา
2. เทียบกับแผนที่ พ.ศ. 2439 ด้วยกัน ตรงอาคารศรีจุลทรัพย์ยังไม่จัดสรรเป็นหลังๆ
3. แนวถนนที่เป็นสนามหญ้า กับแนวถนนหลักรั้วขาว (ไม่ตัดกันเป็นตัว T) จะตัดกันแบบเอียงซ้ายสูงกว่าขวา (ดูดีๆแนวรั้วจะเชิดขึ้น)
4. ทฤษฎีแสงอาทิตย์ ยังคงให้พลังอย่างต่อเนื่อง ภาพนี้ด้านขวามือเป็นทิศตะวันออก ควรถ่ายภาพช่วงก่อนเที่ยง ดูจากเงารถ และเงาคนเดิน
    ซึ่งพ้องแนวถนนที่ตั้งขวางตะวัน
5. หากมองทฤษฎีแสงอาทิตย์ของบ้านจัดสรรที่อาคารศรีจุลทรัพย์ จะเห็นว่า ถนนมุ่งหน้าตะวันออก เงาต้องทอดไปด้านข้าง อาจจะถ่ายตอนบ่ายแก่ๆ แต่แย้ง  กับแผนที่ระวางเดียวกัน ซึ่งไม่มีกลุ่มอาคารจัดสรรดังกล่าวตั้งอยู่
6. ท้ายถนนเหมือนมีถนนเชื่อมกัน แต่ในแผนที่มีเส้นเล็กๆขวางถนนไว้ เมื่อดูอย่างดีคือ แนวคลองวิ่งลอดไปออกคลองผดุงกรุงเกษม จึงเป็นเหตุผลให้ถนนนี้คนเดินกันน้อย เหลือทำให้หญ้าขึ้นคลุมถนน
7. พื้นที่สีเขียวอ่อนคือทุ่งนาโล่ง จะเห็นว่าพ.ศ. 2439 ยังมีที่ดินว่างๆอีกมาก ไม่ได้หนาแน่นมากเมื่อเทียบกับเจริญกรุง-สามเสน-สวนดุสิต ในเวลาเดียวกัน คือ
ความเจริญออกไปทางตะวันออกไกลยังมีน้อยกว่าทิศอื่นๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ย. 10, 16:47
ถ้าเป็นบ้าน 3 หลัง ตามที่ท่าน siamese ชี้เส้นสีน้ำเงินในภาพ
ถนนที่เห็นควรเป็นถนนหน้าบ้านนะคะ
แต่จากข้อสังเกตุที่ผ่านๆ มา สรุปกันว่าเป็นถนนหลังบ้านนะคะ

ถ้าขยับเส้นสีน้ำเงินมาอีกฝั่งหนึ่งที่มีบ้านเข้าแถวเรียงอยู่เหมือนกัน
แล้วถนนที่เห็นในรูปเป็นถนนหลังบ้านมีถนนโค้งๆ ตรงด้านบนด้วย
พอจะเข้าเค้าไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 17:03
สวัสดีตอนเย็น ค่ะ วันนี้ไม่ไหวจริง ๆ นอนตั้งแต่ 10 โมง ข้าวปลาก็กินไม่ลง ตื่นเต้นกับเลข 999 แค่ไหน ก็หมดแรงพอดี ไม่สามารถตามอ่านได้

ตื่นมาดูตอนเย็น อุ๊แม่เจ้า......ขอบพระคุณค่ะ ขอบพระคุณจริง ๆ ที่เข้่ามาช่วยกันค้นคว้าต่อขนาดนี้ ดีไม่ดี เราอาจจะได้เจอทายาทของคุณ ช๊อตตรองท์เข้าสักวันหนึ่ง แวะมาขอบคุณกับเรื่องนี้นะคะ

เอ...อาจารย์ Navarat C หัวหน้าแก๊งค์ย่อยหินหายไปไหน ท่านผู้นี้ มีความสามารถสูงมากในเรื่องเกี่ยวกับ สถาปัตย์กรรม น่าจะได้ช่วยกันย่อยต่ออีกแรงนะคะ

อาจารย์เทาชมพูขา วันนี้ฉลอง 999 ได้ตรงเผงเชียวนะคะ แหม นึกว่าหายไปไหนไม่แสดงตน ทีแท้ จ้องรอจังหวะตะครุบเลขสวยเงียบ ๆ นะเอง

จะฉลองอะไรวันนี้ ขอให้เว้น เครื่องดื่ม Alcohol นะคะ วันนี้วันพระค่ะ

พรุ่งนี้ต้องไปพบหมออีกแล้วค่ะ อาจจะไม่ได้มาเกาะติดสถานการณ์ หวัดที่ดิฉันเป็น ไม่ใช่ 2009 แต่เป็นเชื้อดื้อยาค่ะ ยาทีี่ได้ผล ก็เป็นยาที่ดิฉันแพ้อีก หมอเลยกลุ้มใจ

ฟ้าทะลายโจรกินหมดไป 1 ขวดแล้วค่ะ คุณdjkobเจ้าขา จำเป็นต้องกิน และดีจริง ๆ ค่ะ ยาฝรั่งนั้น ทำให้เบื่ออาหาร ท้องผูก ต้องอาศัยสมุนไพรค่ะ

จะอย่างไรก็ตาม ขอเตือนทุกท่านว่า ไข้หวัดหใญ่น่ากลัวมากนะคะ ที่ โรงพยาบาลคนแน่จนต้องยืน แต่ละคนจับไข้สูง และขอผ้าห่ม นั่งรอหมอกันทั้งนั้น

แล้วพบกันใหม่พรุ่งนี้ค่ะ สวัสดีค่ะทุกท่าน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 16 ก.ย. 10, 17:12
เกือบลืมค่ะ ขออวยพรวันเกิดคุณ Siamese ด้วยท่อนหนึ่งของเพลงดังนี้นะคะ

I wish you bluebirds in the spring
To give your heart a song to sing
I wish you health
And more than wealth
I wish you love



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 16 ก.ย. 10, 17:25
เอาใจช่วยให้คุณ Ruamrudee หายเร็วๆ นะคะ

ส่งการบ้าน ต่อจากที่ท่าน siamese ทำไว้น่ะค่ะ
ย้ายบ้านมาอีกฝั่งหนึ่ง ก็จะเป็นถนนหลังบ้าน มีทางโค้งๆ ด้วยค่ะ
แฮะ แฮะ พอจะเข้าเค้าบ้างไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ก.ย. 10, 19:13
ต้องยอมรับว่าแนวคิดของท่านหนุ่มสยามมีความเป็นไปได้สูงกว่ามาก...เพราะมีวัตถุพยานคือเงาแสงอาทิตย์ชี้ขาด
ที่สำคัญ...แนวต้นไม้สองฝั่ง-สอดคล้องกับทฤษฎีนี้ครับ....แต่ผมว่าภาพนี้น่าจะถ่ายช่วง09.00-10.30 มากกว่า...

ปัญหามีเพียงว่า..ในแผนที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่สุดถนน....แต่อาจเป็นแผนที่คนละสมัยกัน.....หากเป็นสมัยเดียวกัน/ทฤษฎีนี้จะถูกหักล้างด้วยอาคารฝั่งตรงข้ามที่ไม่ใช่ไม่ใหญ่...

 ;D


ส่วนปัญหานอกคูเมือง...อาจเป็นความคลาดเคลื่อนในการบันทึกรายละเอียด...
ต้องรอฟังความเห็นจากเจ้าของภาพอีกครั้งครับ...



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 16 ก.ย. 10, 20:48
ผมติดภารกิจวุ่นวายไม่ได้เข้ามาหลายเพลา พอเข้ามาก็ให้ทึ่งในความมานะพยายามของท่านทั้งหลาย แต่ขอประทานโทษที่จะให้ความเห็นตรงๆว่า หมู่บ้านในแบบที่เลือกมากับรูปไม่สอดคล้องกันในเรื่องขนาด(scale)ครับ

ดูระยะห่างจากบ้านถึงรั้วในรูปถ่าย(A) จะสั้นกว่าระยะความกว้างของถนน(B)ในระนาบเดียวกันมาก
แต่ในผัง ระยะห่างจากบ้านถึงรั้ว(A) กับระยะความกว้างของถนน(B) เกือบจะเท่ากัน

อนึ่งระยะต่างๆในแผนผังที่นำมาอ้างอิงนี้ค่อนข้างแม่น ดังนั้นตำแหน่งของรูปกับแผนผังจะเป็นสถานที่เดียวกันยาก



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 10, 21:17
ถ้างั้น ถนนที่ตั้งของวิลลาซูซาน จะต้องมีรูปร่างเป็นตัว T  ตามเส้นแดง คือความกว้างของถนน มีมากกว่าระยะทางจากบ้านถึงรั้ว
ขอให้ช่วยสำรวจผังเมืองอีกที  ว่าตรงไหนเข้าข่ายนี้บ้าง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 10, 05:30
^
เข้าใจถูกแล้วครับ

วันนี้ ต้องไปปฎิบัติภารกิจทั้งวันเช่นเดิม
ขออภัยที่ร่วมสนุกได้เพียงเท่านี้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 08:02
ดูจากแผนที่ เพื่อหาตำแหน่งบ้านที่คล้ายกันในถนนบำรุงเมือง - ถนนประทุมวัน ไม่มีที่ใดจะเหมือนตรงนี้ไม่มีอีกแล้ว นอกนั้นเลยข้ามคลองผดุงฯ ไปวังใหม่ ก็เป็นทุ่งนาโล่งเตียน ครับ  :'( :'(


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 10:47
พักผ่อนสมอง ละสายตาจากแผนที่

มานั่งรถรางชมเมืองกรุงกันดีกว่า

http://www.youtube.com/watch?v=KgEDmDP0TJ0&feature=player_embedded#!

คลิปนี้มีเสียงนาทีที่ ๐.๕๒ หลังจากนั้นบรรยายเป็นภาษาญีุ่ปุ่น

เหล่าบรรดาเซียนในเรือนไทยคงช่วยกันบรรยายเป็นภาษาไทยได้บ้างว่า รถรางผ่านสถานที่อะไรบ้าง

 ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 11:07
เอาละ ซื้อตั๋วแล้ว พร้อมเดินทางได้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 11:13
ขอฉากนี้ก่อนเลยครับ ห้างรัตนมาลา ปัจจุบันคือ The Old Siam Plaza


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 11:19
นั่งรถรางชมกรุงกับคุณเพ็ญชมพู เพลินๆ สะดุดตากับต้นไม้ค่ะปลูกอยู่ด้านนอกแนวรถราง
เลยเอามาเทียบกับภาพของคุณ Ruamrudee ดู อิอิ แบบว่ามันยังหลอนน่ะค่ะ
ถ้าเป็นแนวเตรียมสร้างรางรถรางจริง ถนนเส้นนี้ก็น่าจเป็นด้านหน้าบ้านนะคะ ไม่ใช่หลังบ้าน
ข้อสังเกตของคุณ siamese ตามความเห็นที่ 1027 น่าจะเข้าเค้าสุดๆ แล้วค่ะ
ติดอยู่นิดเดียว ตรงถนนโค้งและมีต้นไม้เนี่ยแหละค่ะ ยังหลอนอยู่ อิอิ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 11:21
พักผ่อนกันก่อน นะครับ อิอิ
 ;D ;D


มาก่อนขึ้นรถราง ต้องรู้จักต้นทางเสียก่อน ช่วงวินาทีแรก ขึ้นรถรางกันที่ไหน เห็นสถาปัตยกรรมเสาโรมัน คุ้นไหมเอ่ย?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 17 ก.ย. 10, 11:39
อ้างถึง
ส่วนปัญหานอกคูเมือง...อาจเป็นความคลาดเคลื่อนในการบันทึกรายละเอียด...
ต้องรอฟังความเห็นจากเจ้าของภาพอีกครั้งครับ...

ที่เชื่อว่าบ้านพักฝรั่งน่าจะอยู่นอกคูเมืองนั้น เป็นการคาดเดาเอาเองค่ะ อาจจะเป็นไปได้ที่อยู่ในถนนบำรุงเมืองจริง ๆ ดังที่ท่านทั้งหลายได้ค้นจากแผนที่เก่าจนพบตำแหน่งที่น่าเชื่อถือที่สุดแล้ว

แผนที่เก่าในยุคเดียวกันเท่านั้น ที่จะบอกได้ใกล้ความจริงที่สุด ไม่น่าเชื่อเลยว่า จอมยุทธในที่นี้ จะมีแผนที่ชัดเจนขนาดนี้
ค.ค.ห.1033-1034  แผนผังรูปที่ดินและตัวอาคารนั้น น่าจะใช่แล้วนะคะ

เสียดายที่เรื่องนี้ ไม่มีหนังสืออ้างอิงสนับสนุนการค้นคว้าอันนี้ได้ชัดเหมือนบ้านเช่าของสกุลบุนนาคที่หัวถนนสุริวงศ์

เอาละค่ะ ถึงเวลาไปนั่งรถรางเที่ยวแล้ว ตีตั๋วยืนลดครึ่งราคาไหมคะ อยากจะยืนตีระฆังรถรางอ่ะค่ะ ;) ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ก.ย. 10, 12:30
แน่ะ............หายป่วยรึยังคุณหนู....ซนอีกละซี
ยืนตีระฆัง..ระวังวูบตกรถรางหรอกนะ...จะบอกให้.....



ฝากหนู:D :D ดูแลคนเพิ่งฟื้นไข้ด้วย........อิอิอิอิ

 ;) ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 13:22
ได้รับตั๋วรถรางจากกระเป๋า (รถรางมีกระเป๋าหรือเปล่า ?) เอามาพิจารณา

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14544;image)

ใช่ตั๋วใบที่มาดามซีโมนสะสมไว้หรือเปล่า

มาดามซีโมนหลานสาวของมิสเตอร์ชวดตรังที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในเบลเยียม อัลบั้มที่เธอเก็บรักษาเอาไว้นั้นมีสิ่งหลายอย่างที่หายากและน่าดูมาก ทำให้เราสามารถจินตนาการถึงสภาพความเป็นอยู่ของสยามในยุคนั้นได้ดี ดังได้นำมาให้ดูกันพอหอมปากหอมคอ  ณ ที่นี้

บัตรเชิญงานเลี้ยง, ตั๋วรถราง, เมนูอาหาร, ตั๋วชมละคร, แสตมป์ภาษีอากรในรัชกาลที่ ๕, ตราของหน่วยงานต่าง ๆ, ข่าวหนังสือพิมพ์ตัด ฯลฯ


ย้อนอดีตสยาม 2 ภาพและสิ่งของสะสมของมาดาม"ยอดทอง"
http://forums.thaieurope.net/index.php?topic=320.0

มีข้อข้องใจอยู่ ๓ ข้อ

๑. บริษัทรถรางกรุงเทพ (Bangkok Tramways) ใครเป็นเจ้าของ

๒. ข้อความในตั๋วมีภาษาไทยแค่ "ราคา ๔ (หรือ ๘ ?) อัฐ" นอกนั้นเป็นภาษาอังกฤษ

คนไทยรับมาแล้วก็ไม่เข้าใจว่าัต้องเก็บเอาไว้ให้ตรวจ

ฤๅจะมีตั๋วอีกชุดสำหรับคนไทย

๓. เงิน ๔ หรือ ๘ อัฐ สมัยคุณ "ยอดทอง" (พ.ศ. ๒๔๔๑) ซื้อข้าวแกง (สมัยนั้นมีขายกันหรือเปล่า ?) ได้กี่จาน

 ???



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 13:52
เอามาให้คุณเพ็ญชมพู ดูตั๋วอีก สวยงามดีนะครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ก.ย. 10, 13:58
ได้รับตั๋วรถรางจากกระเป๋า (รถรางมีกระเป๋าหรือเปล่า ?) เอามาพิจารณา

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14544;image)

ใช่ตั๋วใบที่มาดามซีโมนสะสมไว้หรือเปล่า

มาดามซีโมนหลานสาวของมิสเตอร์ชวดตรังที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในเบลเยียม อัลบั้มที่เธอเก็บรักษาเอาไว้นั้นมีสิ่งหลายอย่างที่หายากและน่าดูมาก ทำให้เราสามารถจินตนาการถึงสภาพความเป็นอยู่ของสยามในยุคนั้นได้ดี ดังได้นำมาให้ดูกันพอหอมปากหอมคอ  ณ ที่นี้

บัตรเชิญงานเลี้ยง, ตั๋วรถราง, เมนูอาหาร, ตั๋วชมละคร, แสตมป์ภาษีอากรในรัชกาลที่ ๕, ตราของหน่วยงานต่าง ๆ, ข่าวหนังสือพิมพ์ตัด ฯลฯ


ย้อนอดีตสยาม 2 ภาพและสิ่งของสะสมของมาดาม"ยอดทอง"
http://forums.thaieurope.net/index.php?topic=320.0

มีข้อข้องใจอยู่ ๓ ข้อ

๑. บริษัทรถรางกรุงเทพ (Bangkok Tramways) ใครเป็นเจ้าของ

๒. ข้อความในตั๋วมีภาษาไทยแค่ "ราคา ๔ (หรือ ๘ ?) อัฐ" นอกนั้นเป็นภาษาอังกฤษ

คนไทยรับมาแล้วก็ไม่เข้าใจว่าัต้องเก็บเอาไว้ให้ตรวจ

ฤๅจะมีตั๋วอีกชุดสำหรับคนไทย

๓. เงิน ๔ หรือ ๘ อัฐ สมัยคุณ "ยอดทอง" (พ.ศ. ๒๔๔๑) ซื้อข้าวแกง (สมัยนั้นมีขายกันหรือเปล่า ?) ได้กี่จาน

 ???




ได้มาจาก พอล เลอมัง ในเวปไทยยุโรปดอทเนตที่อ.เพ็ญชมพูให้มา........
   นับย้อนไปร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เมืองไทยหรือสยามของเราเคยมีรถรางวิ่งในบางกอกมาแล้ว ชาวสยามรุ่นคุณปู่คุณย่าคุณทวด คงจะจำได้ โดยเฉพาะบริเวณสนามหลวง ท่าพระจันทร์ จะมีรถรางไฟฟ้าวิ่งผ่านไปมา เวลาวิ่งผ่านหน้าวัดพระแก้วคนขับจะสั่นกระดิ่งดังเก๊งๆ ๆ ให้คนที่เดินไปเดินมาหลีกทาง...เป็นความทรงจำที่น่าประทับใจจริงๆ รถรางในยุคนั้นทำให้สยามเป็นที่เลื่องลือในความเจริญก้าวหน้า และจัดเป็นประเทศหนึ่งในเอเซียที่มีความเจริญก้าวหน้าและความโด่ดเด่นมาก ประวัติความเป็นมาของรถรางในสยามนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าจะมีการค้นคว้า เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบ ในฐานะที่ผู้เขียนได้มีโอกาสมาใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในดินแดนที่เป็นต้นตำรับรถรางในยุโรป และมีความเกี่ยวดองกับกิจการรถรางของไทย จึงขอนำข้อมูลส่วนหนึ่งของประวัติรถรางไทยที่ได้รับจากผู้รู้ในเบลเยี่ยมท่านหนึ่งมาเสนอ ประกอบกับรถรางเบลเยี่ยมยังคงเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองของชาวเบลเยี่ยม การระลึกถึงกิจการรถรางไทยจึงให้สีสันและจินตนาการที่เป็นรูปธรรมดียิ่ง

   รถรางที่วิ่งกันในบางกอกในสมัยดังกล่าวนั้น ตามประวัติรถรางไทยจากหนังสือ The modern tram way เล่มที่ 18 ฉบับที่ 212 ปี ค.ศ. 1955 ได้ระบุว่าสยามมีรถรางไฟฟ้าวิ่งอยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1893 ซึ่งนับว่าเป็นประเทศแรกในเอเซียที่มีรถรางไฟฟ้า กิจการรถรางได้ดำเนินกิจการมาจนถึงปี ค.ศ. 1968 ก่อนที่จะถูกยกเลิกไป รวมเวลา 75 ปีทีเดียว
 
   ในช่วงปี 1912  กิจการรถรางในสยามอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท Siam Electricity and Cy บริษัทของเบลเยี่ยม ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลและดำเนินกิจการด้านไฟฟ้าด้วย กิจการของบริษัทเบลเยี่ยมดังกล่าวเจริญรุ่งเรืองและทำกำไรอย่างงดงาม ว่ากันว่าในบรรดาบริษัทเบลเยี่ยมในเครือที่อยู่ในประเทศต่างๆ บริษัทในสยามมีผลประกอบกิจการที่กำไรมากที่สุด อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 1930 เป็นต้นมา โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร ปี 1932 กิจการรถรางและไฟฟ้าเบลเยี่ยมก็ถูกกระแสชาตินิยมและการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะจากกิจการรถเมล์ ยังผลให้กิจการรถรางไฟฟ้าต้องสิ้นสุดลงในปี 1942 ซึ่งเป็นช่วงญี่ปุ่นยึดครอง ทั้งที่ระยะเวลาสัมปทานยังมีอยู่ถึง ปี 1949 กิจการรถรางไทยมาสิ้นสุดเมื่อปี 1968 โดยมีกิจการรถเมล์แทนที่


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 13:58
ส่งตั๋วภาษาไทยอีกแบบมาให้ดูค่ะ
คุณ Ruamrudee คะ ไม่ซนนะคะ เพิ่งฟื้นไข้กลับมานั่งข้างในซะดีๆ รถรางจะออกแล้ว...อิอิ !!!


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 14:07
...ดูด้านหลังตั๋วสิคะ มีโฆษณาด้วยนะคะ...


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 14:08
ขอวกกลับมาวิลลา ซูซาน กันสักหน่อย ได้พบบทความหนึ่งเรื่องการตัดถนน ขยายถนนให้กว้างออกไป (ถ้าในภาพนั้นถูกต้อง) ถนนที่ชายถอดเสื้อควรอยู่ถนนพลับพลาไชย และถนนรั้วขาวคือถนนประทุมวัน (บำรุงเมืองในปัจจุบัน) ซึ่งบอกว่าเป็นบ้านให้เช่า เจ้าของเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลธิฆัมพรฯ ซึ่งปลูกบ้านเช่า และมีฝรั่งเช่าอยุ่ด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 14:18
ว้าว!!!!ท่าน siamese เยี่ยมจริงๆ ค่ะ
คนอื่นเขาขึ้นรถรางไปเที่ยวกันหมดแล้ว...


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 14:50
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการรถรางมาพอสมควร

รถรางในยุคแรกที่สั่งเข้ามาในเมืองไทยนั้น เป็นรถรางชนิดลากจูงด้วยแรงม้า ผู้ที่ต้นคิดนำเข้ามา เป็นกลุ่มวิศวกรชาวเดนมาร์ก ประกอบด้วย นายจอห์น ลอฟตัส , นายอาร์ คิว เปลซีเดอ รีชเชอริว และนายเวสเตน โฮลส์ ได้ร่วมทุนการจัดตั้งบริษัทขึ้นมา เมื่อแรกเริ่มก่อนดำเนินการได้มีการสำรวจจำนวนผู้คนที่เดินทางทางไปมาตามย่านถนนสายสำคัญ ๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อจะดูว่าจะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ ผลปรากฏว่า ถนนเจริญกรุงเป็นย่านเศรษฐกิจที่เจริญอยู่ใจกลางเมืองและผู้คนสัญจรมากที่สุด และเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติ

ดังนั้น กลุ่มชาวเดนมาร์กกลุ่มนี้จึงทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งบริษัทและขอสัมปทานเดินรถรางต่อรัชกาลที่ ๕ หลังจากนั้นทางบริษัทได้เริ่มวางรางรถนับตั้งแต่หน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง แล้วอ้อมไปตามเส้นทางถนนเจริญกรุง จนถึงบางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน โดยทางบริษัทได้ทำพิธีเปิดให้รถรางวิ่งรับส่งผู้โดยสารเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๓๑ นับว่าเป็นรถรางคันแรกของเมืองไทยและในแถบภูมิภาคเอเชีย รถรางที่วิ่งในระยะแรกนั้นใช้แรงม้าลากจูง เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยใช้เทียมม้า ๖ ตัว แล้วลดลงมาเหลือ ๔ ตัว แต่ก็พบอุปสรรค เนื่องจากม้าแต่ละตัวไม่พร้อมใจกัน ทำให้ฉุดกระชากลากไปคนละทาง ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นเทียมม้าคู่ การประกอบกิจการในสมัยเริ่มแรกนั้น ต้องประสบปัญหานานานับประการ เนื่องจากสภาพการคมนาคมในกรุงเทพฯสมัยนั้นยังด้อยพัฒนา พื้นถนนส่วนใหญ่เป็นดินโคลนเป็นหลุมเป็นบ่อ และเต็มไปด้วยสะพานข้ามคลองที่สูงชันมากมาย จึงต้องสำรองม้าไว้ตามจุดต่าง ๆ และที่เชิงสะพาน สำหรับผลัดเปลี่ยนรางจูงเป็นระยะๆ นับเป็นอุปสรรคสำหรับการเดินทางของผู้คนสมัยนั้นมาก

รถรางคันแรกนี้วิ่งอยู่ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ต้องประสบปัญหาภาวะขาดทุน เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อย ทั้งที่ค่าโดยสารรถรางถูกกว่ารถโดยสารชนิดอื่น ๆ แต่คนส่วนใหญ่กลับนิยมรถลาก เพราะสามารถไปรับส่งถึงที่และสะดวกกว่า ดังนั้นผู้ประกอบการชุดนี้ จึงโอนกิจการให้กับบริษัทรถรางกรุงเทพฯ ทุนจำกัด ซึ่งเป็นของอังกฤษรับช่วงดำเนินการต่อไป แต่ก็ยังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักเช่นกัน จึงได้เลิกล้มกิจการไปเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๓๕

ต่อมาได้มีกลุ่มนักลงทุนชาวเดนมาร์กอีกกลุ่มหนึ่ง เข้ามารับช่วงสัมปทานดำเนินการต่อ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ทางบริษัทได้พัฒนาระบบการเดินรถรางใหม่ โดยเปลี่ยนจากแรงม้ามาเป็นพลังงานไฟฟ้าแทน เมื่อแรกที่นำรถรางไฟฟ้ามาแทนนั้น คนไทยและชาวต่างชาติพากันตื่นตระหนก ไม่มีใครกล้าขึ้นรถรางเพราะกลัวว่าไฟฟ้าจะดูด เพราะเห็นกระแสไฟฟ้าแลบอยู่บนเสากระโดงหลังคารถ พวกฝรั่งจึงต้องขึ้นรถรางให้ดูเป็นตัวอย่างหลายวัน คนไทยจึงยอมขึ้นใช้บริการ

บริษัทชาวเดนมาร์กกลุ่มนี้ได้ดำเนินกิจการรถราง โดยวิ่งในเส้นทางสายหลักเมืองและสายสามเสนมาโดยตลอด จนกระทั่งในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๔๔๔ จึงได้โอนสัมปทานการเดินรถทั้งสองสายดังกล่าวให้แก่บริษัทการไฟฟ้าสยาม ทุนจำกัด ทำการเดินรถให้บริการต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้มีกลุ่มคนไทยซึ่งประกอบไปด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์และเหล่าขุนนางในราชสำนักจำนวนหนึ่ง เข้าหุ้นร่วมกันจัดตั้งบริษัทรถรางขึ้นในกรุงเทพฯ ในนาม บริษัท รถรางไทย ทุนจำกัด หรือที่เรียกกันว่า "รถรางสายแดง" โดยที่ตัวรถทาสีแดงทั้งคันเป็นสัญลักษณ์ นับว่าเป็นบริษัทรถรางแห่งแรกที่ดำเนินกิจการโดยคนไทย

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๑ บริษัทการไฟฟ้าสยาม ทุนจำกัด ได้รวมกิจการกับ บริษัท รถรางไทย ทุนจำกัด หรือ รถรางสายสีแดง เป็นอันหนึ่ง ภายใต้การบริหารงานของ กลุ่มบริษัท การไฟฟ้าสยาม และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ไฟฟ้าไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๘๒ และในที่สุดสัมปทานการเดินรถรางของบริษัทไฟฟ้าไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๒ ทางรัฐบาลจึงได้รับเข้าดำเนินการเองต่อมาในนามของ บริษัท การไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด โดยสังกัดกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย นับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๓ เป็นต้นมา นอกจากนี้ ในต่างจังหวัดก็มีรถรางให้บริการรับส่งผู้โดยสารอยู่เพียงแห่งเดียวคือที่จังหวัดสระบุรี ชื่อว่า "บริษัทรถรางสายพระพุทธบาท" ซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ สืบมาจนเลิกไปในที่สุด

สำหรับรถรางในกรุงเทพฯนั้น ได้เปิดกิจการต่อมาจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ รถยนต์ในกรุงเทพฯเริ่มมากขึ้น บทบาทและความสำคัญของรถรางเริ่มน้อยลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีรถยนต์โดยสารรับจ้างซึ่งให้ความสะดวกรวดเร็วกว่าเข้ามาแทนที่ เช่น รถยนต์ แท็กซี่ และรถเมล์ขาวของบริษัทนายเลิศซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวกรุงมาเนิ่นนาน รถรางจึงถูกมองข้ามไปอย่างไม่ไยดี และในที่สุดต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ประกอบกับการจราจรในกรุงเทพฯเริ่มแออัดมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลจึงได้เริ่มทยอยเลิกล้มกิจการรถรางในแต่ละสาย จวบจนกระทั่ง เหลือวิ่งเพียงสายเดียวสุดท้ายคือ สายรอบเมือง

ในที่สุดก็ถึงจุดอวสานของรถรางไทยเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๑ รวมระยะเวลาที่รถรางโลดแล่นอยู่บนแผ่นดินสยามนับเป็นเวลานานถึง ๘๐ ปี คงเหลือเพียงตำนานเล่าขานในหน้าประวัติศาสตร์ยวดยานพาหนะของไทยเท่านั้น

http://www.thaitransport-photo.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1446&highlight=%C3%B6%C3%D2%A7&sid=83dc183ccb97901f36de5e8aa94d7dfa




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 14:58
เหลือง - แดง ในวงการรถราง

(http://i79.photobucket.com/albums/j127/leesaw2525/361936063619363435912.jpg)

ด้านซ้ายตั๋วรถรางสายสีแดง ดำเนินการโดยคนไทย - ด้านขวาตั๋วรถรางสายสีเหลือง ดำเนินการโดยชาวต่างชาติ

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 15:02
ตอบคุณเพ็ญชมพู เรื่องรถรางดังนี้

๑. รถรางในสยาม มีเป็นชาติแรกในเอเซีย
๒. นายจอห์น ลอทตัน + นายอาร์คิว เปลซี + นายเวสเตนโฮลล์ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอสัมปทานรถรางจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
๓. เปิดกิจการวันแรก ๕ พฤษภาคม ๒๔๓๐ โดยม้าลากรถราง จากศาลหลักเมือง - เจริญกรุง - บางคอแหลม
๔. กว่าจะเริ่มออกรับใช้ชาวสยามกันจริงๆ ก็เมื่อ ๒๒ กันยายน ๒๔๓๑
๕. ค่าโดยสารมี ๒ ระยะๆ ราคา ๒ ไพ (๖ สตางค์)
๖. พ.ศ. ๒๔๓๒ โอนกิจการให้กับชาวอังกฤษ จึงกำเนิด The Bankok Tramway Co., Ltd.
๗. พ.ศ. ๒๔๓๗ รถรางสายบางคอแหลม ก็ใช้ระบบไฟฟ้าขึ้นเป็นครั้งแรก
๘. พ.ศ. ๒๔๔๓ โอนกิจการให้ The Siam Electricity Co., Ltd.

จากเรื่องค่าตั๋วรถรางราคา ๒ ไพ ก็ลองใช้ตีนกา คำนวณหากันเองว่าเท่ากับ กี่อัฐ กี่เฟื้อง กี่ฬศ กันเองนะขอรับ
 ;D

มาเทียบอัตราจ้างรถลาก
ถ้า ๒๕ เส้น โดยสาร ๑ คนราคา ๔ อัฐ   ราคา ๒ คน ๖ อัฐ
ถ้า ๗๕ เส้น โดยสาร ๑ คนราคา ๖ อัฐ   ราคา ๒ คน ๘ อัฐ

มาเทียบอัตราปิดจดหมาย
ในกรุงเทพ ปิดแสตมป์ ๒ อัฐ
ทั่วประเทศ ปิดแสตมป์ ๔ อัฐ
โทรเลข ไม่เกิน ๑๐ คำ คิดราคา ๓๒ อัฐ
บุรุษไปรณีย์ รับเงินเดือนๆละ ๒๒ บาท


ภาพตั๋วที่ใช้กันในหลังพ.ศ. ๒๔๓๗ มีระบุว่า "รับรองไฟไม่ดูด" เนื่องจากจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า รถรางที่ใช้ไฟฟ้า จะไม่เกิดอันตรายแสดงว่า ในยุคนั้นชาวสยาม ก็ยังคงหวาดกลัวไม่น้อย




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 15:06
ส่งภาพรถรางที่มีม้าลากมาประกอบเรื่องค่ะ
เป็นภาพลายเส้นบริเวณถนนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5
เขียนโดยช่างฝรั่ง ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ L’Illustration ของฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2436 ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ก.ย. 10, 15:13
ฝากความกว้างถนนไว้รอเซียนnavarat................

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 15:32
ไปได้ภาพ "ป้ายรถราง แห่งสุดท้ายของกรุงเทพฯ"  มาค่ะ จากเวป http://janghuman.wordpress.com/2008/07/11/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%81/
เขาบรรยายใต้ภาพว่า
"ป้ายรถรางคือป้ายสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวตรงกลาง
ถ้าเป็นป้ายเดียวแบบนี้หมายถึงเป็นจุดรับส่งคน
ถ้ามีแบบนี้แต่สองป้าย หมายถึงเป็นบริเวณรอหลีก หรือเป็นจุดที่มีสองสายมาตัดผ่านกัน
ปัจจุบันยังคงตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป"

ใครทราบบ้างคะว่าภาพนี้เป็นบริเวณไหนในกรุงเทพฯ หนูจะได้ "ตามไปดู" ค่ะ
คงง่ายสำหรับท่านเซียนทั้งหลายนะคะ เพราะภาพใกล้เคียงปัจจุบัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 15:48
ภาพจากคลิปนาทีที่  ๐.๓๖

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/881/16881/images/story23/sign01.jpg)

สังเกตให้ดี

ป้ายสามเหลี่ยมมีดาวอยู่ ๓ ดวง

อยู่ที่ไหนล่ะนี่

และมันแตกต่างจากป้ายดาวดวงเดียวของคุณดีดีอย่างไรหนอ

 ???



 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 16:04
ป้ายดาวเดียวป้ายนี้น่าจะเป็นป้ายเดียวกับของคุณดีดี อยู่ที่ถนนเยาวราช ช่วงเวิ้งนครเขษม

(http://i305.photobucket.com/albums/nn220/fiat-lover/e9fcb790.jpg)

 ;)







กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 16:08
อีกรูปค่ะ จากหนังสือเมืองโบราณ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 16:22
ใครตาดีๆ แกะรอยอักษรให้ด้วยครับ

มัวแต่งงมหาแผนที่และประวัติ วิลลาฯ จนตาลาย 8)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 16:44
ตาไม่ค่อยดีเท่าไหร่หรอกค่ะ ใส่แว่นสายตาด้วย
คาดว่าน่าจะเป็นคำว่า "รถรางรอขึ้นลงที่นี่" นะคะ
แต่ที่เขียนด้วยสีเขียว คือตัวที่เดาเอาค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 17 ก.ย. 10, 16:55
ตาดีอย่างนี้.............ต้องขอชิงตัวเข้าแก๊งค์ช้อนลูกน้ำก่อนแล้ว......................

 ;D


คุณหนูร่วมฤดีหัวหน้าแก๊งค์อนุมัติไหม?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 17:18
ภาพรถรางยุคท้ายๆ ค่ะ บริเวณถนนพิษณุโลก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 17:22
ภาพข้างในรถรางค่ะ
รถรางคันนี้คุณสุทิน ตุลารักษ์ มอบให้การไฟฟ้านครหลวง เมื่อ 23 กพ. 2532
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ให้ประชาชนได้ชมกันค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 17:23
เอาพวงมาลัยมารอต้อนรับคุณ :D:D อยู่หน้าประตูที่ทำการแก๊งค์แล้วค่ะ  


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 17 ก.ย. 10, 17:29
โห! ขอบพระคุณค่ะสำหรับพวงมาลัย และการต้อนรับ...ยินดีสุดๆ เลยค่ะ ;D

และตรงนี้ ที่เราเห็นคนขับหมุนๆ ในคลิปของคุณเพ็ญชมพู ค่ะเป็นที่ควบคุมรถ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 20:53
เมื่อต้อนรับแล้ว พร้อมขึ้นรถรางกัน พนักงานสวมเกือกสีขาวอย่างดี ดูสุภาพเรียบร้อยในสมัยนั้นมาก เหยียบแตรที่พื้นไปด้วย เนื่องจากที่มือต้องหมุนคันโยก อีกมือเปิดหวูดตีระฆัง

เดี่ยวจะไปรับ อ.NAVARAT.C ที่ไหนดีหนอ เห็นเงียบไปหลายวัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ก.ย. 10, 21:15
ผมไปขึ้นศาลให้ทนายโจทก์กับทนายจำเลยซักถาม3วันซ้อน

ขอลาป่วยสักวันสองวัน พอให้สมองคืนสภาพแล้วค่อยกลับมาเล่นอะไรโหดๆนี่ต่อครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 21:18
เกรงว่าจะเหลือผู้โดยสารอยู่คนเดียวค่ะ
นั่งจนสุดทาง ๒ ระยะ     จ่ายค่าโดยสาร ๔ ไพ ครบถ้วน นะคะ

อ้าว ชนกันกลางอากาศกับคุณนวรัตน อีกแล้ว
คุณ siamese ช่วยแวะส่งท่านไปพักฟื้นก่อนดีไหม ไม่เก็บค่าโดยสาร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 17 ก.ย. 10, 21:28
อ้างถึง
ตาดีอย่างนี้.............ต้องขอชิงตัวเข้าแก๊งค์ช้อนลูกน้ำก่อนแล้ว......................
คุณหนูร่วมฤดีหัวหน้าแก๊งค์อนุมัติไหม?
รีบตะครับตัวคุณ :D:D มาเข้าแก๊งค์ทันควัน(แม้จะมาค่ำไปหน่อย) วันนี้ไปหาหมอมาอีกแล้ว หมอให้กินยาสงบสติอารมณ์ และสั่งให้นอนมาก ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน(อูยยยย...อดเล่นสนุกกันพอดี อดตีระฆังรถรางด้วยแหละ)

คุณ :D:D คะ มาประจำสถานีรบด่วนเลยเจ้าค่ะ อีกไม่กี่วัน หัวหน้าแก๊งค์ย่อยหินท่านตั้งสติได้ พวกเราจะงานหนักค่ะ

ตอนนี้ดิฉันขอพักรบ เป็นผู้อ่านผู้ดูไปก่อน เพราะข้อมูลแน่นหนามาก อ่านกันไม่หวาดไม่ไหวจริง ๆ

คุณ Siamese ถามเรื่องเสาโรมันที่ดูคุ้นตาตรงที่รถรางจอดรับผู้โดยสาร ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็นแถว ๆกรมแผนที่ทหารนั่นแหละค่ะ รถรางต้นสายอยู่ศาลหลักเมืองนี่คะ น่าจะเป็นตรงนั้นค่ะ

อาจารย์ Navarat C หลบไปตั้งสติ สงสัยจะแอบไปหาซื้อหนังสือเล่มใหม่มาปราบเซียนแน่ ๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 21:32
มาช่วยคุณ siamese นับค่าโดยสาร     สมาชิกใหม่ๆที่ขึ้นรถรางสายพิเศษ คงจ่ายเงินไม่ค่อยจะถูก
เดี่๋ยวรถรางสายล่าสุดนี้จะเจ๊งเสียเปล่าๆ 

800 เบี้ย            เป็น 1 เฟื้อง
50 เบี้ย             เป็น 1 โสฬส(สิบหก)  ,  
16 โสฬส            เป็น 1 เฟื้อง
2 โสฬส             เป็น 1 อัฐ(แปด)  
8 อัฐ              เป็น 1 เฟื้อง
2 อัฐ              เป็น 1 เสี้ยวหรือไพ  
4 อัฐ              เป็น 1 เฟื้อง
2 เสี้ยวหรือไพ         เป็น 1 ซีก    
2 เสี้ยวหรือไพ         เป็น 1 เฟื้อง
2 ซีก             เป็น 1 เฟื้อง    
8 เฟื้อง            เป็น 1 บาท
2 เฟื้อง            เป็น 1 สลึง    
4 สลึง              เป็น 1 บาท
1 มายนหรือมะยง       เป็น กึ่งบาท หรือ 2 สลึง
4 บาท             เป็น 1 ตำลึง
20 ตำลึง            เป็น 1 ชั่ง
80 ชั่ง            เป็น 1 หาบ

วัดคณิกาผลที่มาม่าซังชื่อยายแฟงสร้าง ได้บุญแค่สลึงเฟื้อง   ทั้งที่แกลงทุนสร้างไปหลายสิบหรือเป็นร้อยชั่ง  นับว่าน้อยมาก    บุญพอที่จะนั่งรถรางได้ไม่กี่เที่ยวเอง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 17 ก.ย. 10, 21:43
อ้างถึง
8 อัฐ              เป็น 1 เฟื้อง
2 อัฐ              เป็น 1 เสี้ยวหรือไพ 
4 อัฐ              เป็น 1 เฟื้อง

1 เฟื้อง = 8 อัฐ หรือ 4 อัฐกันแน่ค่ะอาจารย์เทาชมพูขา หนูจ่ายไม่ครบ เดี๋ยวเขาให้เหยียบขึ้นได้ขาข้างเดียว นะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 21:44
คุณ Ruamrudee ลองทายใหม่นะครับ จัดรูปมาเทียบให้ดู ไม่งั้นขึ้นรถไม่ถูกนะครับ  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 22:01
มีเงินบาท ขึ้นรถรางไม่ได้นะ หาสตางค์ทอนกันให้วุ่น เมื่อเทียบอัตราเงินไทยจาก อ.เทาชมพูแล้ว มาดูเหรียญกษาปณ์ของจริงสักหน่อย จะได้เตรียมขึ้นรถรางได้ถูก (สำหรับ อ.NAVARAT.C คงเครียดมาก พักผ่อนมากๆนะครับ)

ซีก     ๒ อันเฟื้อง = ใช้ ๑๖ ซีกเป็น ๑ บาท = ๖ สตางค์
เสี้ยว ๔ อันเฟื้อง = ใช้ ๓๒ เสี้ยวเป็น ๑ บาท = ๓ สตางค์
อัฐ    ๘ อันเฟื้อง = ใช้ ๖๔ อัฐ เป็น ๑ บาท = ๑.๕ สตางค์
โสฬศ ๑๖ อันเฟื้อง = ใช้ ๑๒๘ ฬศ เป็น ๑ บาท =  ๐.๗ สตางค์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 22:07
อ้างถึง
8 อัฐ              เป็น 1 เฟื้อง
2 อัฐ              เป็น 1 เสี้ยวหรือไพ 
4 อัฐ              เป็น 1 เฟื้อง

1 เฟื้อง = 8 อัฐ หรือ 4 อัฐกันแน่ค่ะอาจารย์เทาชมพูขา หนูจ่ายไม่ครบ เดี๋ยวเขาให้เหยียบขึ้นได้ขาข้างเดียว นะคะ

เอาละซี พนักงานเก็บค่าโดยสาร เก็บไม่ถูกเสียแล้ว  เดี๋ยวรถรางขาดทุนแย่เลย
ต้องถามสารถีว่าอัฐกะเฟื้องนี้มันเท่าไรกันแน่      เพราะไม่เคยใช้  ตอนเกิดมารู้จักแต่สตางค์ห้า สตางค์สิบ  และเหรียญสลึงค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ก.ย. 10, 22:12
อ.เทาชมพู และคุณ Ruamrudee ครับ 8 อัฐ เป็น 1 เฟื้อง ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 22:21
ขอบคุณค่ะ   อัฐ ออกแบบทำลวดลายประณีตมากค่ะ

ขอแวะออกนอกทางรถรางหน่อย
สมัยโน้น สำนวนว่า "มีอัฐ" แปลว่ามีเงิน  เหมือนคำว่า "ล่ำซำ"  ตอนดิฉันเด็กๆ  คำนี้แปลว่ารวย   สงสัยว่ามาจากชื่อสกุลล่ำซำซึ่งคงเป็นเศรษฐีขึ้นชื่อในยุคนั้น     ยังไม่เคยถามคุณม้าสักทีว่าคำนี้เป็นภาษาจีนกลางหรือจีนอะไร และแปลว่าอะไร

ดิฉันเคยทันขึ้นรถราง  จำได้ว่าแม่พาไปขึ้น บอกว่า "นั่งซะ อีกไม่นานเขาก็จะเลิกแล้ว"   
รถรางไม่ค่อยมีคนขึ้นแล้วค่ะตอนนั้น  นั่งสบายไม่แออัดยัดเยียด   มีเบาะปูบนที่นั่งด้วย   นั่งชมถนนไปเรื่อยๆ ไม่ร้อน  คงเป็นเพราะลมโกรกเข้าได้ทั้งสองทาง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 17 ก.ย. 10, 22:41
อาจารย์เทาชมพูคะ ตระกูลล่ำซำ เป็นจีนแคะค่ะ คำ ๆ นี้เป็นภาษาแคะแน่ ๆ แต่ยังไม่ทราบคำแปลค่ะ

เสาทรงโรมันของคุณ Siamese นั้น ยอมยกธงขาวดีกว่า ไม่เคยเห็นเสาเป็นชุด 3 ต้นแบบนี้มาก่อนค่ะ

ลุง Srisiam มาช่วยหนูด้วยยยยยยยย หนูไม่ว่างค่ะ จะไปนั่งรถรางเที่ยวววววววววว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 23:10
คุณสารถีมัวแต่นับอัฐกับเฟื้องอยู่  ไม่ทันเห็นหรอกว่าผู้โดยสารกำลังปิคนิค ฉลองรถรางเที่ยวแรกกัน
คุณร่วมฤดีหายไอหรือยังคะ  ถ้ายัง  ก็อย่าเพิ่งกินไก่ย่าง  ชิมแค่ส้มตำเฉยๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 ก.ย. 10, 23:17
ผ่านเส้นนี้หรือเปล่าคะ คุณสารถี

(http://img404.imageshack.us/img404/9797/tramturningcorondl7.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 18 ก.ย. 10, 01:37
ลุกขึ้นมากินยา เห็นไก่ย่างอ.เทาชมพู ดึกแล้ว คงไม่มีใครเห็น เลยคว้ามากิน 1 ชิ้นค่ะทำให้นึกออกว่า รถรางของคุณ Siamese เริ่มออกเดินท่างตรงเสาโรมัน คงไม่ใช่เสาหน้าอาคารเสียแล้ว สายหัวลำโพงแน่ ๆ เลย เริ่มที่สะพานเจริญสวัสดิ์
ดูรูปสะพานนะคะ .....กินไก่อิ่มแล้ว ไปนอนต่อนะคะ ราตรีสวัสดิ์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ก.ย. 10, 07:05
คนป่วยนอนดึกอีกแล้ว.............
เชื่อยากว่าจะไปนอนแล้ว......แอบกินส้มตำละมั๊ง.......ส้มตำอ.เทาชมพูน่ากินปานนั้น...ใครจะอดใจไหว...?

เอ้า.........เด๊กสายตาดีที่ใส่แว่นสายตาสั้น..(ทำโฟโตฉอปเก่งอีกตะหาก)....อ่านป้ายให้ลุงหน่อยเด้อ.... ;D





กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 10, 07:57
แก๊งค์ลูกน้ำ ลุกขึ้นมาช้อนลูกน้ำกันตอนดึกๆ กับตอนเช้าๆ ทั้งนั้นเลย
คืนนี้จะเอาเมนูใหม่มาฝาก

ขอถามคุณสารถีว่ารถรางสายไหนผ่านหน้าบริษัทขนส่ง    บริษัทอยู่ตรงไหนคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 10, 08:38
โหว..ขนาดลุกขึ้นมากินยา ยังบอกพิกัดได้แจ่มกระจ่างเลยครับคุณ Ruamrudee ...หายไวๆนะครับ

ในภาพนี้เราขึ้นรถกันที่เชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ ๓๖ ตรงหัวลำโพง และต่อมาก็เป็นฉากนี้ ควรเป็นที่ไหนดีครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 18 ก.ย. 10, 09:01
ดิฉันเคยทันขึ้นรถราง  จำได้ว่าแม่พาไปขึ้น บอกว่า "นั่งซะ อีกไม่นานเขาก็จะเลิกแล้ว"   
รถรางไม่ค่อยมีคนขึ้นแล้วค่ะตอนนั้น  นั่งสบายไม่แออัดยัดเยียด   มีเบาะปูบนที่นั่งด้วย   นั่งชมถนนไปเรื่อยๆ ไม่ร้อน  คงเป็นเพราะลมโกรกเข้าได้ทั้งสองทาง

เคยขึ้นรถรางไปโรงเรียน ประสบการณ์คนละอย่างกับคุณเทาชมพู นั่งไม่ใคร่สบาย ลุกขึ้นมาที ต้นขาต้องบวมแดงไม่หมดด้วยฤทธิ์ของตัวเรือดใต้ที่นั่ง

เป็นประสบการณ์ที่ไม่รู้ลืม

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 10, 09:23
แก๊งค์ลูกน้ำ ลุกขึ้นมาช้อนลูกน้ำกันตอนดึกๆ กับตอนเช้าๆ ทั้งนั้นเลย
คืนนี้จะเอาเมนูใหม่มาฝาก

ขอถามคุณสารถีว่ารถรางสายไหนผ่านหน้าบริษัทขนส่ง    บริษัทอยู่ตรงไหนคะ

รถรางสายนี้เรียกว่า "สายดุสิต" วิ่งวนรอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์เลยครับผม
สายดุสิต
สายนี้เริ่มจากหน้าบริษัทสยามอิเลคทริคใกล้ ๆ วัดเลียบวิ่งไปตามถนนจักรเพ็ชร แล้ววิ่งไปตามถนนพระสุเมรุเลียบกำแพงเมืองไปยังประตูไม้ ที่แยกบางลำพู แล้ววิ่งผ่านถนนพระอาทิตย์, ถ.ราชินี ผ่านไปยังอนุสาวรีย์สงครามโลกครั้งที่ 1 แถวกระทรวงยุติธรรมเก่า แล้ววิ่งไปตามถนนหน้าพระธาตุก่อนที่จะเลี้ยวขาวเข้าท่าพระจันทร์ที่ถนนท่าพระจันทร์ หลังจากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าถนนมหาราช ผ่านท่าราชวรดิษฐ์และท่าเตียน, ปากคลองตลาด, ถ.จักรเพ็ชร, กระทรวงศึกษาธิการ และข้ามคลองโอ่งอ่างตรงคูเมืองเก่าแล้วผ่านไปทางวัดบพิตรพิมุข วิ่งไปตามถนนจักรวรรดิ์ไปทางวัดตึก และวิ่งไปตามถนนวรจักรไปยังสะพานแม้นศรี (สะพานดำ)

จากนั้นรถรางวิ่งเข้าถนนจักรพรรดิพงศ์ไปนางเลิ้ง(ถนนนครสวรรค์) ก่อนเลี้ยวเข้าถนนพิษณุโลกไปถนนราชดำเนินนอกไปบรรจบกับสายสามเสนหน้าวัดเทวราชกุญชร สายนี้เปลี่ยนไปในปี ค.ศ.1926 โดยไม่ผ่านหน้าโรงเรียนสวนกุหลาบและเปลี่ยนจากสุดสายที่หน้าวัดเทวราชกุญชรไปเป็นที่สี่เสาเทเวศน์


สำหรับอาคารที่เป็นบริษัท ขนส่ง จำกัด ปัจจุบันเป็นอาคารอนุรักษ์ ตั้งอยู่ถนนมหาราช ตรงท่าช้างพอดิบพอดี ด้านหน้าก็เป็นกำแพงพระบรมมหาราชวัง เยื้ยงขวาก็เป็นท่าช้างและสโมสรนาวิกโยธิน ส่วนด้านหลังต่อไปกับอาคารยาวไปถึงท่าพระจันทร์ครับ ตอนนี้เป็นที่ตั้งธนาคาร นครหลวงไทย ซึ่งต่อไปธนาคารนี้จะไม่มีแล้วครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 10, 09:31

เคยขึ้นรถรางไปโรงเรียน ประสบการณ์คนละอย่างกับคุณเทาชมพู นั่งไม่ใคร่สบาย ลุกขึ้นมาที ต้นขาต้องบวมแดงไม่หมดด้วยฤทธิ์ของตัวเรือดใต้ที่นั่ง

เป็นประสบการณ์ที่ไม่รู้ลืม

 ;D

เลือดคุณเพ็ญชมพูคงน่ากินมากกว่า แน่ๆเลย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 10, 09:38

รถรางสายนี้เรียกว่า "สายดุสิต" วิ่งวนรอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์เลยครับผม


ขึ้นรถรางตามคำบรรยาย ไปด้วยความเพลิดเพลิน ขอบคุณมากค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: manit peuksakondh ที่ 18 ก.ย. 10, 10:15
เข้ามาติดตามอยู่ตลอดครับ ได้ความรู้ดีมาก รูปทั้งหมดผมพอเดาได้อยู่รูปเดียวคือ ประตูผี รถรางนี่ผมเกือบสร้างประวัติศาสตร์สยอง คือรถจอดอยู่ที่ประตูน้ำ ซึ่งเป็นที่เอียงชัน เพื่อนๆกับผมก็ขึ้นไปยืนตรงแถวๆที่คนขับยืนขับ แล้วเท้าใครก็ไม่ทราบไปเตะฟันเฟือง(เบรค)เข้ารถไหลลง เราก็ไม่รุ้ระบบเขา ทำอะไรไม่ถูกเลย โชคดีที่คนขับเขากระโดดขึ้นมาเบรคได้ทัน ครับผม รถรางชั้น 1นี่มีเบาะ นะครับ ถ้าชั้น 2 ไม่มีเบาะ ค่าโดยสารแพงกว่ากัน 1เท่าตัว กระมัง จำไม่ได้ว่าเท่าไร  สลึงนึงกระมังครับ
มานิต


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 18 ก.ย. 10, 10:49
ขออนุญาตถามคุณ Siamese หน่อยค่ะ ว่ารูปที่นำมาทายนั้น เล็งมุมกล้องตรงไหนคะ ถึงได้เห็นเรือ และ หัวสะพานแบบนี้คะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 18 ก.ย. 10, 10:54
อ้างถึง
พอสุดทางก็เปลี่ยนไปขับท้ายเอาเป็นหน้ารถ ยกลูกกรงไม้ ซึ่งขามากั้นชั้นที่ ๑ (มีเบาะยาวๆ หุ้มผ้าขาวรองนั่งพิเศษ ค่าตั๋วโดยสารแพงกว่าชั้นที่ ๒ เท่าตัว) ยกมาจากหน้ารถขามาซึ่งขาไปจะกลายเป็นท้ายรถ แล้วยกเบาะขาวดังกล่าวมาโยนโครมสองฟากม้านั่ง เพราะชั้นที่ ๑ นั้น ต้องอยู่ตอนหน้าคันรถ เท่านี้ท้ายก็กลายเป็นหน้า ขับกะเด๊งๆ ย้อนกลับไปได้

ขออาสาคนขับรถราง ทำหน้าที่นี้ค่ะ ขอให้ได้ขึ้นฟรี ตีระฆังไปตลอดทางจะได้ไหมคะ ไม่นั่งก็ได้ เดี๋ยวถูกตัวเรือดชั้น 1 กัดค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 10, 11:38
ขออนุญาตถามคุณ Siamese หน่อยค่ะ ว่ารูปที่นำมาทายนั้น เล็งมุมกล้องตรงไหนคะ ถึงได้เห็นเรือ และ หัวสะพานแบบนี้คะ


ดูจากภาพถ่ายทางอากาศแล้วพบว่า รถรางวิ่งซ้ายสะพาน (ถ้าหันหน้าเข้าตัวเมือง) วิ่งลงเลี้ยวไปที่ตึกเข้าถนนไปยังเยาวราช (ส้ม) และสายรองเมือง (น้ำเงิน) ดูจากคลิป รถรางเพิ่งจะแล่นข้ามสะพานลงมาแล้วก็จอด คงน่าจะประมาณนี้ครับ

ที่เห็นเหมือนเรือ คงไม่ใช่เรือใบโบราณเข้ามาหรอกครับผม เป็นเสา และหลังคา มองไปสถานีหัวลำโพงครับ ลองดูที่วงเหลืองสีดำๆ ก็ทิศเดียวกันครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 18 ก.ย. 10, 21:03
ภาพ hotel ที่คุณลุง srisiam ให้แกะตัวอักษร หนูพยายามแล้วนะคะ แต่ยังไม่สำเร็จค่ะ
ภาพมันเล็กมากขยายไม่ได้และเบลอด้วยค่ะ แต่  :-\ ถึงอย่างไรหนูก็จะพยายามต่อไป!!
เพราะ "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น" ???คุณลุงว่าจริงหรือเปล่าคะ  ???

คืนนี้ไม่มีใครเลี้ยง ไก่ย่าง ส้มตำ เลยค่ะ....ไปนั่งรถรางต่อดีกว่า....อิอิ...


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 10, 21:19
ขออาสาแกะรอยให้คุณศรีสยาม
ดิฉันอ่านว่าโรงแรม ง่วนเสง ค่ะ  ภาษาอังกฤษสะกดว่า NGUAN SENG   ตัว NG  มักใช้ในการถอดอักษร ง งู เป็นภาษาอังกฤษ
ถ้าให้ดีใครอ่านภาษาจีนตรงกลางออก  ช่วยอ่านด้วยอีกแรงก็จะชัดเจนขึ้น

ไก่ย่างส้มตำหมดเสียแล้ว ด้วยฝีมือลุงและหลานสาว ประธานแก๊งค์ลูกน้ำทั้งคู่  ย่องมาช้อนลูกน้ำตอนดึกกับตอนเช้า
เลยขอเสิฟลูกชิ้นปิ้งให้คุณ D : D:  แทน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 18 ก.ย. 10, 21:29
ขอบพระคุณอ.เทาชมพู มากค่ะ ลูกชิ้นน่าหม่ำมากๆ เลย เห็นแล้วน้ำลายไหลชักหิวขึ้นมาจริงๆ แล้วหละค่ะ
สงสัยต้องค้นตู้เย็นหาอะไรเพิ่มน้ำหนักซะหน่อยแล้ว..อิอิ

ป้ายที่คุณลุง srisiam ให้ช่วยแกะ เป็นป้ายสี่เหลี่ยมเล็กๆ สีดำ ที่ติดอยู่ถัดจากชื่อโรงแรมน่ะค่ะอาจารย์ขา
หนูว่าคุณลุงคงไม่ใจดีส่งหมูมาให้พวกเราเคี้ยวหรอกค่ะ.......อิอิ
ป้ายอันนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับรถรางนะคะ แต่คงไม่ใช่ป้ายจอดรถรางเฉยๆ เพราะตัวหนังสือเยอะมาก มีตั้ง 4 แถว
อยากรู้จัง.. เขียนว่าอะไรน้า....


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 10, 21:48
ป้ายที่คุณลุง srisiam ให้ช่วยแกะ เป็นป้ายสี่เหลี่ยมเล็กๆ สีดำ ที่ติดอยู่ถัดจากชื่อโรงแรมน่ะค่ะอาจารย์ขา
หนูว่าคุณลุงคงไม่ใจดีส่งหมูมาให้พวกเราเคี้ยวหรอกค่ะ.......อิอิ

ไม่น่าประมาทหมูหินเลยเรา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ก.ย. 10, 22:22
ใช่แล้ว...ป้ายนี้แหละ..............อยากรู้จริงๆ-เขียนว่าอะไร?


 ;D


ขอบพระคุณเจ้าภาพลูกชิ้นหมูแสนอร่อย....


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 18 ก.ย. 10, 22:30
แฮะ แฮะ จะพยายามค่ะ...จะพยายาม  :'(
ว่าแล้วก็ขอชิ่งไปหม่ำลูกชิ้นหมูก่อนนะคะ เดี๋ยวคุณลุง srisiam หม่ำคนเดียวหมดค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ก.ย. 10, 22:39
ระหว่างรอคนขับรถรางสายแปลกๆ....(ไม่รู้คนขับโดดรถหายไปไหน)

ผู้โดยสารถูกทิ้ง...?........กินส้มตำ-ไก่ย่าง-ลูกชิ้น...รอ...รอ...รอ......ยังไม่มา..?
ช่วยดูภาพนี้หน่อย...ทางรถไฟ...ที่ไหนในกรุงเทพฯ...หากไม่ไกลกันจะโดดไปขึ้นเล่นดูบ้างดีไหม?


 ;D ;)

ข่าวดี...ลูกชิ้นหมูหมดนานแล้ว...แข็งพิลึก...ไม่รู้ใช่หมูหินของอ.เทาฯรึเปล่า...5555


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 10, 22:41
ถ้าเคี้ยวหมูหินของคุณศรีสยามได้   จะเอาหมูกระทะเกาหลีมาเสิฟเป็นรางวัลค่ะ ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ก.ย. 10, 22:43
ช่วยดูภาพนี้หน่อย...ทางรถไฟ...ที่ไหนในกรุงเทพฯ...หากไม่ไกลกันจะโดดไปขึ้นเล่นดูบ้างดีไหม?

 ;D ;)


ภาพนี้ง่าย  พอสูสีกับวิลลาซูซานเลยเชียวนะคะ  :'(
ถ้าเป็นหมูหินก็หินแกรนิต  ใครจะเคี้ยวได้หนอ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ก.ย. 10, 23:01
แบ๊ะ....แบ๊ะ......บอกใบ้ให้โดยไม่ต้องขอ....


ภาพเบลอๆอย่างนี้...น่าจะเป็นคลิปภาพวีดิโอ.....เอามาย้อมสีให้สับสน...
หากเปิดคลิปเก่าๆดูเดี๋ยวก็พบ..........หินแกรนิต..?



 ;) :D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 18 ก.ย. 10, 23:39
ระหว่างรอคนขับรถรางสายแปลกๆ....(ไม่รู้คนขับโดดรถหายไปไหน)

ผู้โดยสารถูกทิ้ง...?........กินส้มตำ-ไก่ย่าง-ลูกชิ้น...รอ...รอ...รอ......ยังไม่มา..?
ช่วยดูภาพนี้หน่อย...ทางรถไฟ...ที่ไหนในกรุงเทพฯ...หากไม่ไกลกันจะโดดไปขึ้นเล่นดูบ้างดีไหม?


 ;D ;)

ข่าวดี...ลูกชิ้นหมูหมดนานแล้ว...แข็งพิลึก...ไม่รู้ใช่หมูหินของอ.เทาฯรึเปล่า...5555

ท่านเล่นพักไปไกล ถึงสถานี "บางจาก" เลยนะครับ  ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 19 ก.ย. 10, 03:14
อ้างถึง
ช่วยดูภาพนี้หน่อย...ทางรถไฟ...ที่ไหนในกรุงเทพฯ...หากไม่ไกลกันจะโดดไปขึ้นเล่นดูบ้างดีไหม?

ขนาดถูกยาบังคับให้นอน ยังทนกลิ่นหอม ๆ ของลูกชิ้นปิ้งไม่ไหว....แถวบางจากมีร้านลูกชิ้นอร่อย ๆ ค่ะ แต่จะต้องขับรถไปกินนะคะ นั่งรถไฟ สายปากน้ำของลุงศรีสยามไปไม่ได้ เขาเลิกวิ่งไปแล้ว....

VDO ชุดนั่งรถไฟ(รถราง)สายปากน้ำนี่ น่าดูน่าชมมาก ทุกวันนี้ เวลาจะเข้าออกเมือง หากรถติด ๆ จะหลบไปขับบนถนนสายทางรถไฟสายเก่านี่แหละค่ะ ไม่เห็นสวยสงบร่มรื่นเหมือนใน VDO เลย หนำซำ้คลองที่ติดกับรางรถไฟวันนี้ เน่าเหม็นมาก

รถไฟสายปากน้ำ หาอ่านได้ที่นี่ค่ะ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2641.0

แต่สิ่งที่น่าทึ่งคือ เส้นทางนี้ เป็นแนวเดียวกับทางด่วนในปัจจุบันที่วิ่งคร่อมบนทางรถไฟเก่านะคะ
และหากรัฐบาลเห็นการไกล ไม่ควรเลิก และ ควรจะสร้างให้เป็นสายสำคัญในการขนคนและ สินค้าจากเขตอุตสาหกรรมเข้าออกเมือง

ป้ายหมูหินของลุงSrisiam ปล่อยเป็นหน้าที่คุณ D:D: ต่อไปนะคะ (ใครจะไปอ่านออก...โห Blur ซะขนาดนั้น)

แล้วรถรางที่ออกจากสะพานตรงหัวลำโพง วิ่งผ่านตรงไหนก็ไม่ทราบนะคะคุณ Siamese เป็นซากพัง ๆ อยู่ข้างทางก่อนจะเข้าสู่ถนนเยาวราช

ซากแบบนั้นทำให้นึกถึงภาพที่ใครไม่ทราบเอามาถามว่า ไฟไหม้ที่ไหนแถวหัวลำโพง คงจะใกล้ๆ กัน
อาจจะวัดสามจีน หรืออะไรแถว ๆ นั้นค่ะ เดาได้เท่านี้แหละค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 10, 08:54
รถรางน่าจะวิ่งเข้าถนนกรุงเกษม ที่เพิ่งลงสะพานเจริญสวัสดิ์ ๓๖ เลี้ยวขวาเข้ามา ดูจากด้านซ้ายมือเป็นตึกแถว และด้านขวาเป็นกองไม้ ซึ่งขนานกับคลองผดุงกรุงเกษม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 19 ก.ย. 10, 10:44
หากเป็นสายหัวลำโพงที่วิ่งเรียบริมคลองผดุงกุรงเกษม ก็จะไม่ผ่านห้างรัตนมาลา และ ร้านหมอเหล็งนะซีคะคุณ Siamese

ดูแล้วน่าจะเป็นรถรางสายถนนตกที่วิ่งเข้าเยาวราช มีร้านทำฟันญี่ปุ่นให้เห็น มีอะไร ๆ ที่คล้ายจะเป็นสายนั้นมากกว่า

หรือจะมีการลงรถ ต่อรถสายใหม่ก็ไม่ทราบค่ะ เพราะมีช่วงที่ผ่านสี่กั๊กเสาชิงช้า ไปโผล่แถวหลักเมือง เห็นเงาเหมือนจะเป็นพระราชวังอยู่ข้างหน้า

ภาพที่เห็นซากนั้น มันเหมือนซากไฟไหม้ค่ะ หรือสมัยก่อน ฝั่งริมคลองผดุงเกษมจะมีเรือนแถวสร้างด้วยไม้แล้วถูกไฟไหม้คะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 10, 10:54
ภาพปริศนาของคุณ siamese ยากกว่าวิลลาซูซานของคุณร่วมฤดี   ดิฉันไม่อาจวิเคราะห์จากรายละเอียดในภาพได้   
นอกจากว่าจะหาภาพต้นฉบับ ที่มีตึกแถวด้านซ้ายและบ้านเดี่ยวหลังคาปั้นหยาที่โผล่ขึ้นมาหลังรถราง มาเทียบได้ว่าอยู่ตรงไหนของกรุงเทพ
กองไม้ทางขวามือ ลักษณะเหมือนการรื้ออาคารไม้หลายๆหลังริมถนน  เพื่อปลูกสร้างใหม่   ไม่ใช่ไฟไหม้ค่ะ เพราะมองเห็นไม้กระดานกองกันเป็นแนวยาวมีระเบียบ 
วิธีจะรู้คือต้องลุยในกูเกิ้ลหาภาพนี้พร้อมคำอธิบายให้ได้     ตอนนี้ยังลุยไม่เจอ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 19 ก.ย. 10, 11:20
จำได้ว่า มีใครเอารูปถ่ายทางอากาศมุมสูงเห็นสถานีหัวลำโพงและสะพานตรงนั้นด้วย

หากได้เห็นรูปนั้น ก็จะพอทราบได้ว่า ริมคลองผดุงกรุงเกษมจะหน้าตาเป็นเช่นไรค่ะ

อาจารย์เทาเจ้าขาาาา...วันนี้มีขนมอะไรกินละเจ้าคะ....


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 10, 11:31
ขอแรงช่วยหาถนนกรุงเกษมในอดีตด้วยค่ะ

หายไอหรือยังคะ  ถ้าหายแล้วก็เสิฟของว่างจานนี้

(http://learners.in.th/file/kaewta30/Image.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 10, 11:59
ภาพมุมสูงที่เห็นคลองผดุงกรุงเกษม แถวหน้าวัดเทพศิรินทร์ ยังคงเห็นกองไม้พวกนี้ได้ครับ

และสำหรับลำดับภาพเรื่องรถรางนั้น สังเกตุตามคุณร่วมฤดี แล้วพบว่า รถรางมีการตัดภาพ ถ่ายกันหลายสถานที่ครับ เดี๋ยวตัดภาพไปมา ไม่ต่อเนื่องครับ  ;D

ชอบทานข้าวเหนียวมะม่วงกับมะม่วงน้ำดอกไม้มากครับ ซึ่งหวานเย็นกว่า กินกับมะม่วงอกร่อง ซึ่งหวานแหลมเหมือนน้ำตาลทราย
แต่บางท่านก็ว่า กินกับอกร่อง วิเศษสุด แต่กินอกร่องจะมีเสี้ยนมะม่วง กินได้เป็นกิโลๆๆ เลยครับ..ใครหนอ ช่างคิดให้สองสิ่งนี้เกิดมาคู่กัน  ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 19 ก.ย. 10, 12:39
อูยยยย ข้าวเหนียวมะม่วง อร่อยมาก ๆ ค่ะ อาจารย์เทาเจ้าขา
คนไทยนี่เก่งมากนะเจ้าคะ จับคู่เก่งค่ะ ....จับคู่ของกินนะคะ ไม่ใช่มนุษย์ค่ะ
ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน แม้แต่ข้าวหมากก็ยังกินกับข้าวเหนียวตัด ไม่รู้คิดได้ไงคะ คนโบราณ

คุณ Siamese ขา ขอดูรูปมุมสูงอีกสักครั้งได้ไหมคะ หากมีกองไม้วางไว้ข้างทางรถรางก็ชัดเจนแน่นอนค่ะ

มีรูปมาให้ได้ดูกันว่า มีใครในภาพบ้าง ที่สงสัยคือ เด็กผู้ชายที่นั่งหลังสุดนั่น  เป็นใครคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 10, 13:05
ชอบข้าวเหนียวกับมะม่วงอกร่องค่ะ     คงเป็นเพราะความเคยชิน   พอมากินกับมะม่วงน้ำดอกไม้เลยรู้สึกว่ารสชาติเปลี่ยนไป  รสไม่หวานแหลมเท่ามะม่วงอกร่อง
เห็นด้วยกับคุณร่วมฤดีว่าใครหนอช่างคิดหาของคาวของหวานและผลไม้มาผสมกันได้ไร้เทียมทาน  ข้าวเหนียวก็กินแบบของคาว  กะทิก็ได้ทั้งใส่ของคาวของหวาน   เอามากินกับผลไม้อย่างมะม่วงสุก  แล้วเข้ากันที่สุดในโลก
อีกอย่างที่ชอบคือไอศกรีมกะทิใส่ข้าวเหนียว โรยหน้าด้วยถั่วและงา บางคนชอบลูกชิดก็ใส่ลงไปด้วย
บานาน่าสปลิทเอย   บัตเตอร์สก๊อตช์เอย   ช็อคโกแลตซันเดย์เอย ชิดซ้ายหมดค่ะ

ใครเคยกินไอติมกะทิจากพ่อค้าแม่ค้าพายเรือขายบ้าง   เอารูปมารำลึกความหลัง

(http://www.ladysquare.com/uploads/chava/2007-10-15_112205_IMG_6183_copy.jpg)

หม่ำเสร็จแล้ว  รวบรวมเรี่ยวแรง ไปหาถนนกรุงเกษมต่อกันนะคะ
เด็กผู้ชายในแถวหลัง ไม่ใช่ ม.จ.ปิยะรังสิต ท่านดูเป็นฝรั่งกว่านี้   ท่านชายหรือคุณชายไหนกันนะ ที่อยู่ในวังสระประทุม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 19 ก.ย. 10, 15:10
ดูจากภาพตึกแถวประกอบกับคำชี้แนะของคุณร่วมฤดีที่ว่ารถรางผ่านสี่กั๊กเชิงช้าไปโผล่ที่ศาลหลักเมืองแล้ว  เป็นไปได้ว่า บริเวณกองไม้ที่เห็นทางขวามือนั้นอาจจะเป็นบริเวณร้านค้าริมถนนเฟื่องนคร  อาทิ ร้านวิวิธภูษาคาร  ที่หันหลังหลังชนกับกระทรวงมหาดไทย หรือเดิมคือศาว่าการนครบาล  ที่โดนเวนคืนเพื่อสร้างอาคารของกระทรวงมหาดไทยเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๐๙ 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 10, 16:26
เคยได้ยินชื่อร้านวิวิธภูษาคาร  ไปหาในกูเกิ้ล พบว่าอยู่ปากทางเข้าแพร่งสรรพศาสตร์ เป็นร้านตัดเครื่องแบบเสือป่าร้านแรกในรัชกาลที่  6  มาจนถึงจัดทำเครื่องหมายของข้าราชการ อันเป็นที่รู้กันในหมู่ข้าราชการไทยว่าของแท้ต้องที่นี่
เว็บหนึ่งบอกว่าร้านเลิกกิจการไปเสียแล้ว   กลายเป็นร้านให้เช่าการ์ตูนแทน
คุณ V_Mee น่าจะมีเกร็ดมาเล่าได้อีกบ้าง

ไปเจอรูปรถรางอีกรูปเลยเอามาให้ดูค่ะ    ถ้าซ้ำกับในกระทู้ ลงมาแล้ว    ก็ขออำไพที่ตาลาย   จำไม่ไหวว่ามีรูปไหนบ้าง

รูปนี้บรรยายว่าเป็นรถรางสายหลักเมือง -บางคอแหลม  ตอนแล่นผ่านถนนเจริญกรุง   มุ่งตรงไปทางประตูสามยอด
ทางซ้ายมือของภาพเห็นธงรูปสามเหลี่ยมมีดาวอยู่ 3 ดวง เป็นเครื่องหมายบอกตำแหน่งที่จอดรถราง
ส่วนซุ้มประตูโค้ง มีผู้บอกว่าเป็นทางเข้าโรงหนังพัฒนากร  ต่อมาคือสิริราม่า

เรื่องหนังต้องยกให้คุณ SILA หายไปพักใหญ่แล้ว ไม่มาร่วมวงกินข้าวเหนียวมะม่วงกับพวกเรา


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 19 ก.ย. 10, 16:51
ท่านประธานได้เลขสวยอีกแล้ว......
 ;D



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 10, 18:22
ภาพเดินเข้ามาอีกนิด เป็นภาพมองตรงซุ้มประตูโรงหนังที่สวยงาม ค้นคว้าจากเวปไทยฟิล์มได้ความว่า

หนังเรื่อง "ดงกระเหรี่ยง" ของคณะจันทโรภาส หรือ พรานบูรพ์ นั้นไม่แน่ใจว่าเป็นหนังหรือละคร เพราะท่านทำทั้งหนังและละคร แต่มีป้ายบอกสองข้างว่าชมดนตรี จึงน่าจะเป็นละคร ตัวโรงพัฒนากรเดิมนี้เป็นโรงเครื่องไม้ มีฉลุลายสวยงามดังรูป แต่เมื่อสยามภาพยนตร์เลิกกิจการกลับไปเป็นของบริษัทพัฒนากร ก็ยังเป็นโรงไม้อยู่ ต่อเมื่อพัฒนากรเลิกกิจการ ไปรวมกับสหศีนิมา ท่านเจ้าของซึ่งเป็นราชสกุลกิตติยากรจึงดำเนินการเองเปลี่ยนชื่อเป็นวัฒนากร และต่อมารื้อโรงไม้ลง สร้างใหม่เป็นคอนกรีต น่าจะหลังสงครามใหม่ ๆ ก่อนจะเปลี่ยนมือผู้บริหาร และมาเปลี่ยนชื่อเป็นสิริรามา (ในยุคที่นิยมรามาต่อท้ายชื่อ ราวปี 2510)
ส่วนภาพที่ อ.เทาชมพู นำมาให้ตื่นตาตื่นใจ คือโรงพัฒนากรเช่นกัน ตึกสามชั้นที่เห็นขวามือคือโรงพยาบาลหรือแพทยสถานกว่องสิว ซึ่งปัจจุบันยังดำเนินการอยู่ และดูเหมือนจะดองกับศาลเจ้าซึ่งอยู่ติดกันถัดไป ตึกที่ทำการของสยามภาพยนตร์บริษัท คือตึกสองชั้นติดกับประตูซุ้ม ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ เพราะในราวปี 2471-2 ได้เกิดเพลิงไหม้ ใหญ่จากฟิล์มหนังยุคนั้นซึ่งเป็นวัสดุไวไฟ มีคนตายหลายคน แต่มีทารกรอดมาคนหนึ่ง จึงได้รับตั้งชื่อว่า กายสิทธิ์ คือคุณกายสิทธิ์ ตันติเวชกุล ซึ่งเป็นโชว์แมนหรือนักธุรกิจบันเทิงมีชื่ิอท่านหนึ่ง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 10, 18:41
ขอแยกซอยตามถนัด

"จันทโรภาส" เป็นชื่อคณะละครของคุณ "พรานบูรพ์" ค่ะ แสดงว่า "ดงกะเหรี่ยง" เป็นละครเวที แต่คงเล่นบนเวทีโรงหนังพัฒนากร
เสียดายไม่เจอรูปพัฒนากรที่เป็นโรงไม้  แต่เดาว่าคงจะมีเวทีที่ใช้เล่นละครก็ได้ ฉายหนังก็ได้   

ก่อนและช่วงสงครามโลก ละครเวทีเฟื่องฟู  ยิ่งช่วงสงคราม  หนังส่งเข้ามาไม่ได้ ความบันเทิงก็คือละครอย่างเดียว   จนหลังสงครามโลก หนังอเมริกันเข้ามาตีตลาด ละครจึงซบเซาลงไปจนหายไปในที่สุด

มีรูปคณะละครจันทโรภาสมาให้ดู   ดูจากการแต่งกายคงเป็นหลังสงครามโลกหลายปี

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/2/29/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%AA.jpg)

ชื่อ "พรานบูรพ์" แปลจากภาษาอังกฤษว่า Hunter of the East  จากกวีนิพนธ์เรื่อง รุไบยาต ของโอมาร์ คัยยัม
กรมพระนราธิปฯ ทรงกำหนดคำแปลคำนี้ว่า พรานบูรพ์   หมายถึงพระอาทิตย์


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 19 ก.ย. 10, 19:09
ความคิดเห็นที่๑๑๑๒
บ้านผมเรียกไอติมไข่
ถ้าใส่ข้าวเหนียวต้องเติมลูกจากด้วย
แต่ที่แถวๆบ้านหม้อ ยังมีหรือเปล่า


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 10, 22:02
ฝากชมบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๐๓ ครับ ครบ ๕๐ ปีพอดีเลย


http://www.youtube.com/watch?v=5Hpkh-PG2VE


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ก.ย. 10, 22:10
ความคิดเห็นที่๑๑๑๒
บ้านผมเรียกไอติมไข่
ถ้าใส่ข้าวเหนียวต้องเติมลูกจากด้วย
แต่ที่แถวๆบ้านหม้อ ยังมีหรือเปล่า

ไอติมไข่  เป็นยังไงคะ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 19 ก.ย. 10, 22:13
สวยงามดี
http://www.youtube.com/watch?v=aJGu923_W_4&feature=related


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 20 ก.ย. 10, 06:55
สอบถามจากเจ้าของร้านวิวิธภูคารรุ่นปัจจุบัน  ทราบว่า ร้านนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ตั้งอยู่ริมถนนเฟื่องนครช่วงระหว่างสี่กั๊กเสาชิงช้าไปถึงแยกวัดราชบพิธ  ด้านหลังชนกับศาลาว่าการนครบาล หรือกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน  ต่อมาราว พ.ศ. ๒๕๐๙  ทางราชการได้เวนคืนที่ดินด้านหลังกระทรวงมหาดไทยทั้งอถบเพื่อก่อสร้างอาคารราชการ  ร้านวิวิธภูษาคารเลยต้องย้ายมาเปิดใหม่ที่ริมประตูแพร่งสรรพศาสตร์  และยังคงเปิดดำเนินการอยู่  แต่ลดขนาดกิจการลงคงเหลือแต่การตัดเย็บเครื่องแบบให้โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นพื้น

ร้านวิวิธภูษคารนี้ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นร้านรับต้างตัดเครื่องแบบข้าราชการและเครื่องแบบเสือป่าชื่อดังของกรุงเทพฯ  นายลิขิตสารสนอง (ชัพน์  บุนนาค) เล่าไว้ว่า  เมื่อท่านสมัครเข้ารับการฝึกหัดเป็นลูกเสือแล้ว  วันหนึ่งคุณครูหลวงอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (ศร  ศรเกตุ - ต่อมาเป็นพระยาบริหารราชมานพ) ได้พาท่านผู้เล่าไปวัดตัวตัดเครื่องแบบลูกเสือที่ร้านวิวิธภูษคารนี้  แล้วคุณครูหลวงอภิรักษ์ฯ ได้ไปเฝ้าฯ ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน  เมื่อเสด็จลงล้นเกล้าฯ ทอดพระเนตรครื่องแบบที่นายชัพน์แต่งไปถวายทอดพระเนตร  แล้วมีพระราชดำรัสสั่งให้นายชัพน์กล่าวคำสาบาลของลูกเสือ  จบแล้วได้มรพระราชดำรัสตั้งให้นายชัพน์  บุนนาคเป็นบูกเสือคนแรกของประเทศไทย 

ร้านวิวิธภูษคารนี้ได้รับพระราชทานตราตั้งพิเศษ  เป็นรูปพระวชิราวุธประดิษฐานเหทิอแถบแพรสีน้ำเงินมีข้อความว่า "ได้รับพระบรมราชานุญาตพิเศษ"  มีพระมหามงกุฎอยู่เหนือ  ตรานี้ยังติดอยู่หน้าร้านวิวิธภูษาคารมาจนถึงบัดนี้  ส่วนร้านอื่นๆ นั้นได้รับพระราชทานตราตั้งเป็น พระครุฑพาห์สีทอง 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 20 ก.ย. 10, 08:26




ร้านวิวิธภูษคารนี้ได้รับพระราชทานตราตั้งพิเศษ  เป็นรูปพระวชิราวุธประดิษฐานเหทิอแถบแพรสีน้ำเงินมีข้อความว่า "ได้รับพระบรมราชานุญาตพิเศษ"  มีพระมหามงกุฎอยู่เหนือ  ตรานี้ยังติดอยู่หน้าร้านวิวิธภูษาคารมาจนถึงบัดนี้  ส่วนร้านอื่นๆ นั้นได้รับพระราชทานตราตั้งเป็น พระครุฑพาห์สีทอง 

คุณ V_Mee คงมีภาพถ่ายปัจจุบันของตราตั้งพิเศษนี้...ขอชมบ้างครับ...

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 10, 10:18
ช่วยดูภาพนี้หน่อย...ทางรถไฟ...ที่ไหนในกรุงเทพฯ...หากไม่ไกลกันจะโดดไปขึ้นเล่นดูบ้างดีไหม?

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14583;image)

 ;D ;)



http://www.youtube.com/watch?v=d_98jT7XmZw

ภาพของคุณศรีสยามอยู่นาทีทีี่ ๑.๔๓

คำเฉลยของคุณไซอามีส # ๑๑๐๓ อยู่นาทีที่ ๑.๕๐

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 10:36
แผนที่สถานีคลองบางจากค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 10:38
เปรียบเทียบกับปัจจุบัน เป็นสถานีบางจากค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 10:45
มีภาพมาเรียนถามบ้างนะคะ
ภาพนี้ถ่ายที่ไหนเอ่ย
สะพานที่เห็นในภาพคือสะพานอะไรคะ
หมูเกินไปหรือเปล่าค่ะ....


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 20 ก.ย. 10, 11:41
^^ ลอกมาได้ตามนี้ค่ะ
อ้างถึง
ภาพทางรถไฟปากน้ำ ช่วงที่ผ่านสามย่านในปัจจุบัน
จากภาพคือสะพานเฉลิมเดช 57
ขวามือของภาพไปถนนสี่พระยา
ซ้ายมือของภาพไปถนนพระราม 4
คลองนี้คือคลองหัวลำโพง
ทางรถไฟมุ่งหน้าไปสถานีศาลาแดง

ภาพจากหนังสือ คลองในกรุงเทพฯ : ความเป็นมาการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ในรอบ 200 ปี (พ.ศ.2325-2525) โดย ปิยนาถ บุนนาค ดวงพร นพคุณ และสุวัฒนา ธาดานิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 12:00
มีของหวานหลังอาหารเที่ยงมากำนัลคุณ Ruamrudee ค่ะ หายป่วยแล้วใช่ไหมคะ ดีใจจัง

ภาพที่ทาย เป็นภาพสะพานเฉลิมเดช 57 ช่วงสามย่านค่ะ ปัจจุบันเปลี่ยนไปจนไม่เหลือเค้าเลยนะคะ
มีเกร็ดเล็กๆ มาเล่าค่ะ.....
สะพานเฉลิมเดช 57 เป็นสะพานที่สร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ
เป็นสะพานในชุด "เฉลิม" ที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการครองราชสมบัติในรัชกาลของพระองค์
สะพานนี้สร้างเชื่อมถนนประทุมวันกับถนนหัวลำโพง ข้ามคลองหัวลำโพง
(ปัจจุบัน คือ ปลายถนนสี่พระยาต่อกับถนนพระรามสี่ ข้างวัดหัวลำโพง)
แต่ยังไม่ทันได้ทำพิธีเปิดสะพาน ก็ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน
ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 จึงเสด็จเปิดสะพานนี้ เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2453
เกือบครบ 100 ปีแล้วนะคะ...


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 14:08
นั่งรถรางแล้ว มาขึ้นเรือบิน รอบพระนคร กันนะคะ
24 บาท ต่อ 1 เที่ยว ขึ้นได้ครั้งละ 6 คน...


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 14:47
หนูเพิ่งทราบนะคะว่า เมื่อก่อนสนามม้าของราชกรีฑาสโมสร เป็นสนามบินแห่งแรกของไทยด้วย

"ในปี พ.ศ. 2454 มีชาวต่างประเทศนำเครื่องบินเข้ามาแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรกบริเวณสนามม้าสระปทุมหรือสนามม้าของราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน ต่อมาไม่นานได้มีการจัดตั้งแผนกการบินและสร้างสนามบินขึ้นเรียกว่า สนามบินสระปทุมวัน เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2456 ซึ่งนับเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย  
ต่อมาในปี 2457 กระทรวงกลาโหมเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความคับแคบ และมีน้ำท่วมขัง พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ จึงได้หาพื้นที่ตั้งสนามบินแห่งใหม่ ซึ่งได้เลือกพื้นที่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ บริเวณตำบลดอนเมือง ซึ่งเดิมพื้นที่นี้เรียกว่าดอนอีเหยี่ยว เพราะมีฝุงเหยี่ยวบินจับกลุ่มมารวมกันเป็นจำนวนมาก พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วม จัดสร้างสนามบินแห่งใหม่ขึ้น เรียกว่าสนามบินดอนเมือง
และในเดือนมีนาคม 2457 แผนกการบินก็ได้ย้ายจากสนามบินสระปทุมวันมายังสนามบินดอนเมือง
โดยสนามบินดอนเมืองในขณะนั้นมีสภาพเหมาะสมที่จะรองรับเครื่องบินขนาดเล็กและมีน้ำหนักน้อยเท่านั้น
พื้นทางวิ่งยังคงเป็นหญ้าปรับให้เรียบ และในวันที่ 8 มีนาคม 2547 เครื่องบินแบบนิเออปอรต์ (Nieuport) และเครื่องบินแบบเบรเกต์ (Breguet)  ที่ประเทศไทยซื้อมาใช้ในราชการได้บินมาลงที่สนามบินดอนเมืองเป็นปฐมฤกษ์"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 14:50
คงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากสำหรับสมัยนั้นเลยนะคะ เหล็ก บินได้...

"ต่อมาได้มีการพัฒนาสนามบินขึ้นมาเรื่อยๆ โดยในระยะแรกที่ย้ายสนามบินมาที่ดอนเมืองนั้นจะมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนไปเยี่ยมชมกิจการการบินอยู่เสมอ
ในปี 2467 Royal Dutch Airline (KLM) เป็นสายการบินพานิชย์สายแรกที่มาลงจอด ณ สนามบินดอนเมือง"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 10, 15:08
หนูเพิ่งทราบนะคะว่า เมื่อก่อนสนามม้าของราชกรีฑาสโมสร เป็นสนามบินแห่งแรกของไทยด้วย

"ในปี พ.ศ. 2454 มีชาวต่างประเทศนำเครื่องบินเข้ามาแสดงในประเทศไทยเป็นครั้งแรกบริเวณสนามม้าสระปทุมหรือสนามม้าของราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบัน ต่อมาไม่นานได้มีการจัดตั้งแผนกการบินและสร้างสนามบินขึ้นเรียกว่า สนามบินสระปทุมวัน ซึ่งนับเป็นสนามบินแห่งแรกของประเทศไทย  

แวะไปดูเครื่องบินกับคุณดีดี

รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

ในปลายเดือนมกราคม, พ.ศ. ๒๔๕๓, ได้มีเครื่องบินเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เปนครั้งแรก ผู้ที่จัดการนำเครื่องบินเข้ามาแสดงในนี้เปนบริษัทฝรั่งเศสชื่อ "บริษัทการบินแห่งปลายบุรพเทศ" ("Societe d' Aviation de L' Extreme Orient") และนักบินชื่อวันเด็นบอร์น (Van den Born). ได้ขออนุญาตเก็บเงินคนดูโดยปิดถนนสนามม้า, ปะทุมวัน, และใช้สนามม้าของราชกรีฑาสโมสรเปนสนามบิน. การบินมี ๕ วัน, คือวันที่ ๑, ที่ ๒, ที่ ๔, ที่ ๕, ที่ ๖ มีผู้รับให้รางวัลทุกวัน, และของกะลาโหมมีเปนประจำทุกวัน, เพราะเขารับฝึกหัดนายทหารของเราให้ใช้เครื่องบินด้วย. เครื่องที่นำเข้ามาครั้งแรกเปนเครื่องปีก ๒ ชั้น ไม่มีที่คนโดยสารขึ้น, ฉนั้นถ้าใครอยากจะโดยสารก็ต้องยืนเกาะไปข้างหลังคนขับ, ออกจะน่าเสียวใส้อยู่บ้าง. ได้มีคนไทยลองขึ้นกันหลายคน, เจ้านายมีกรมอดิศร, กรมกำแพงเพ็ชร์ และกรมสรรควิสัยนรบดี, พวกเหล่านี้กล่าวว่าไม่น่ากลัวกว่าขึ้นรถยนตร์, แต่ในเวลานั้นออกจะมีคนเห็นด้วยน้อยทีเดียว. ตามความจริงเครื่องบินในเวลานั้นก็ยังไม่ดีเท่าในเวลานี้จริง ๆ ด้วย, และยังมีข่าวตกหล่นและเกิดอุปัทวเหตุบ่อย ๆ นัก. เมื่อฉันยังอยู่ที่ยุโรปนั้น ได้มีผู้คิดสร้างเครื่องบินขึ้นบ้างแล้ว, แต่ฉันยังหาได้เคยเห็นใครขึ้นเครื่องบินแล่นในอากาศไม่, ฉนั้นฉันเองก็ออกจะตื่นมากอยู่ ในการที่ได้มีเครื่องบินเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ครั้งนั้น.

ตามจดหมายเหตุรายวันปรากฏว่า ฉันได้ไปดูการบินถึง ๔ วัน. วันที่ ๑ กุมภาพันธ์เปนวันแรกที่ไปดู. ฉนั้นอยู่ข้างจะตื่นมาก, แต่ก็ไม่ปรากฏว่านักบินได้แสดงอะไรผาดโผนยิ่งไปกว่าขึ้นจากสนามม้าแล่นไปรอบ ๆ แล้วก็กลับลง. วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ได้ไปดูอีกครั้ง ๑, และครั้งนี้เขาเชิญให้ไปดูเครื่องในที่ใกล้ วันที่ ๔ ได้ไปดูอีก, และเสด็จแม่กับเจ้านายฝ่ายในเสด็จไปทอดพระเนตร์ด้วย, แต่ประทับที่โรงเรียนตำรวจพระนครบาล, ไม่ใช่ที่ราชกรีฑาสโมสร. การบินในวันนี้ไม่ได้กระทำเต็มตามกำหนด, เพราะเขาว่าลมบนแรงนัก. วันที่ ๕ เขาได้บินจากราชกรีฑาสโมสรไปสวนดุสิต, ทิ้งหนังสือลงไปที่พระลานฉบับ ๑, แล้วบินกลับไปภายในเวลา ๘ นาที. ฉันได้ให้ถ้วยเงินเปนรางวัลถ้วยหนึ่ง.

จากหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ ๖

คุณนวรัตนได้เล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เยอะ
 
ใครขึ้นบินเป็นคนแรกของประเทศไทย
 http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8138478/K8138478.html


 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.ย. 10, 15:18
จะชวนกันขึ้นบินแล้วหรือครับ บินด้วยเครื่องบิน Junkers จากประเทศเยรมันเลยนะนี่ ต้องเตรียมเงินถึง ๑ ตำลึง ๔ บาทกันเลยหรือ ครั้งที่แล้วนับอัฐ นับเฟื้องกันยังไม่ค่อยคล่องกัน  ;D หวาดเสียวไม่น้อย นับดูแล้วสมาชิกก็ได้มากกว่า ๖ ท่านนะนี่ กล้านั่งกันไหม เลยฝากภาพเครื่องบินสมัย ๒๔๖๘ มาให้ชมกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 15:45
ตาม link ของคุณเพ็ญชมพู เข้าไปอ่านข้อเขียนของ อ.Navarat.C เรื่อง "ใครขึ้นบินเป็นคนแรกของประเทศไทย" เพลินไปเลยค่ะ
แต่หนูไม่เล่าหรอกนะคะว่าท่านใดที่ขึ้นบินเป็นคนแรกของไทย และขึ้นบินด้วยเหตุผลกลใด ใครอยากทราบต้องเข้าไปอ่านเองค่ะ...รับรองว่าอ่านสนุกได้สาระค่ะ......
ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู และ อ.Navarat.C สำหรับข้อเขียนดีๆ และการค้นคว้าสาระต่างๆ มาแบ่งปันกันนะคะ

เก็บรูปรันเวย์ สนามบินดอนเมืองสมัยนั้นมาให้ดู ด้วยความทึ่งค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.ย. 10, 15:59
กลับมาขึ้นรถรางต่อ

ในคลิปของญี่่ปุ่นเป็นรถรางสายนี้หรือเปล่า

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/881/16881/images/story25/tramway_samsen_route.gif)

รถรางสายสามเสน บนถนนเยาวราชซึ่งกำลังแล่นผ่านสี่แยกเฉลิมบุรี

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/881/16881/images/story25/tw03.jpg)


รถรางสายนี้แหละที่เคยขึ้นไปโรงเรียนตอนอยู่ชั้นประถม

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 16:14
ไหนว่า...ปลอดภัย......
ปลอดภัยจากไฟดูด แต่!!!..ตกราง...ค่ะ  อิอิ

ที่ไหน...เมือ่ไหร่  คะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 20 ก.ย. 10, 16:32
ลื่นไถล ไกลจากตัวรางมากเลยนะครับ แบบนี้ไงเขาถึงได้มีพระราชบัญญัติประกาศให้คนขับรถรางไปขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตสำหรับขับรถรางเท่านั้น
๑. ต้องไม่เป็นผู้ต้องโทษ คดีอาญาต่างๆ
๒. ต้องมีอายุเกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์
๓. ต้องต่ออายุบัตรทุก ๓๑ มีนาคมของทุกปี
๔. ค่าทำบัตร ๒ บาท
๕. ระหว่างทำการขับรถราง ต้องพกบัตรติดรูปไว้เสมอ หากไม่มีปรับ ๑๒ บาท
๖. หากผู้ที่ไม่ใช่คนขับรถราง ไปขับรถราง บริษัทรถรางจะถูกปรับ ๑๐๐ บาท
๗. และผู้ที่ขับไม่มีใบอนุญาต ถูกจำคุก ๑๐ วัน ปรับ ๕๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๘. คนขับๆด้วยความเร็ว และถูกตักเตือน ๓ ครั้ง / ปี ถูกไล่ออก

ประกาศเมื่อ ๓๐ กันยายน ร.ศ. ๑๓๐


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 20 ก.ย. 10, 16:51
หนูสงสัยว่า
-รถราง มีกระเป๋ารถ หรือเปล่าคะ
-ที่ใส่ตั๋วเป็นกระบอก แล้วฉีก เขย่าดังแก๊กๆ เหมือนรถเมล์สมัยนี้หรือเปล่าคะ
-เขาซื้อตั๋วกันอย่างไรคะ ตามระยะทางหรือราคาเดียวตลอดสาย
-แล้วมีนายตรวจ คอยขึ้นมาตรวจตั๋วหรือเปล่าคะ
???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 20 ก.ย. 10, 20:42
ไหนๆก็ขึ้นฟ้าแล้วต่อไปขอเชิญลงใต้น้ำครับ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงวิรุณ ที่เมืองโกเบครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 20 ก.ย. 10, 21:38
อะฮ้า....ลุงจูงมือป้าวิ่งไล่ขึ้นรถราง...........โดดไปรถไฟ.....ขึ้นเครื่องบิน.......นี่พาลงเรือดำน้ำ..........ตะกร้าหมากกระจายแล้วคุณหลานเอ๋ย....


เรือดำน้ำไทย...ทำไมอยู่โกเบ?..ขยายความหน่อยดิ...
ขอบคุณล่วงหน้าครับ....


 ;D :D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 20 ก.ย. 10, 22:42
ขอหลายเรื่องหน่อย

ก็ไอติมกระทิ ที่ตักออกมาเป็นก้อนๆ คล้ายไข่ไงครับ

รถรางสายสามเสน  คงเป็นสายเดียวกับ บางกระบือ-วิทยุ
รถรางนะ มีกระเป๋าแต่ไม่มีกระปี๋ มีกระเป๋าสะพาย มีกระบอกตั๋ว ไม่มีแตร แต่เหยียบกระดิ่งขอทาง

ปี ๐๓ เคยเห็นเรือดำน้ำสองลำ จอดอยู่หน้ากรมอู่ทหารเรือ ตรงข้ามท่าช้าง
แต่ไม่เหมือนในรูป แสดงว่ารวย มีหลายลำ

แปลก ขึ้นรถไฟที่วงเวียนใหญ่ไปแม่กลอง แถมนั่งเรือจากมหาชัยไปท่าฉลอม
โฆษณา ของแพนแอม ทำให้นึกถึงนักเรียนสมัยผม นิยมสะพายกระเป๋าสายการบิน




กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: natadol ที่ 20 ก.ย. 10, 22:54
เรือดำน้ำของไทยมีทั้งหมด 4 ลำ ครับเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ประกอบด้วย ร.ล.มัจฉาณุ ร.ล.วิรุณ, ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล สร้างที่อู่มิซซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นข้อปฏิบัติสำหรับนักดำในอดีต ต้องเป็นมีนิสัยปกติ ไม่เป็นคนชอบบ้วนถ่มน้ำลาย ไม่ผายลมบ่อย ๆ .. ก่อนดำให้ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ... เป็นคนว่องไว เช่นขณะผ่านขึ้นลงทางช่องสำหรับขึ้นลง ถ้าช้าจะปิดฝาทางขึ้นลงไม่ทัน น้ำอาจเข้า และถ้าน้ำเข้าห้องหม้อแบตเตอรี่จะเป็นอันตรายเกิดก๊าซคลอรีนเป็นพิษ และหม้อแบตเตอรี่นั้นก็เสียหาย ต้องให้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยรวดเร็วเสมอ... เป็นคนชำนาญทางในเรือศีรษะและเท้าไม่ชนโน่นกระทบนี่และเมื่อทำงานในขณะไฟดับ (ลิ้นต่าง ๆ ทำคนละชนิด) ... ห้ามทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดเปลวไฟ ประกายไฟ ภายในเรือ เพื่อปัองกันการระเบิดห้ามใช้รองเท้าส้นมีเหล็ก .. เมื่อเตรียมเรือเข้ารบห้ามอยู่บนดาดฟ้า ถ้าเผอิญลงไม่ทันให้เอามือปิดกล้องตาเรือเพื่อให้คนในเรือทราบและขึ้นมาช่วย... ขณะดำให้พูดกันค่อย ๆ พรรคกลินให้ใช้ภาษาใบ้... ขณะดำน้ำห้ามเคลื่อนที่ก่อนได้รับอนุญาตทั้งนี้เกี่ยวกับการแต่งทริมเรือ (การทรงตัว/ปรับระดับกองเรือ) ... เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือไม่มีหน้าที่ในแห่งนั้น ห้ามทำการโดยพลการ ห้ามจับต้องลิ้นก๊อกต่าง ๆ นอกจากผู้มีหน้าที่... ห้ามใช้โลหะเข้าใกล้ทางไฟฟ้าเพื่อกันการช๊อต... ห้ามทิ้งของไว้นอกที่กำหนด เช่น เสื้อผ้า, กระดาษ หรือบ้วนน้ำลาย ทั้งนี้เพื่อสุขภาพและความเรียบร้อย... ต้องนอนและรับประทานอาหารในที่ที่กำหนด  เคยอ่านพบใน ต่วยตูน  เรือที่คุณปูยำ(ชื่อน่าทานจัง) พบที่กรมอู่ ชื่อ สินสมุทร และพลายชุมพล ครับ ปลดระวางแล้วเตรียมรอคนรับซื้อเศษเหล็กมาเหมา เท่าที่จำได้น่าจะขายได้ประมาณ เจ็ดหมื่นกว่าบาทครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 20 ก.ย. 10, 22:55
ไหนว่า...ปลอดภัย......
ปลอดภัยจากไฟดูด แต่!!!..ตกราง...ค่ะ  อิอิ

ที่ไหน...เมือ่ไหร่  คะ

ดูจากลักษณะตึกที่ขวาภาพแล้ว  น่าจะเป็นตึกในกรมสรรพาวุธทหารบกที่ปัจจุบันก็ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ริมถนนทหาร  รถตกจากรางในภาพนี้จึงน่าจะเป็นที่ถนนที่มีรถรางวิ่งผ่านจากแยกเกียกกายไปสะพานแดง (ทันได้นั่งเมื่อยังเป็นเด็กน้อยครับ)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 20 ก.ย. 10, 23:02
ตราตั้งพระราชทานวิวิธภูษคารครับ
ตรานี้เป็นตราเก่าติดตั้งไว้ที่หน้าร้านแต่ครั้งยังอยู๋ที่หลังศาลาว่าการนครบาล  จนย้ายมาอยู่ที่ปากตรอกแพร่งสรรพศาสตร์  ต่อมาทรุดโทรมลงมาก  เจ้าของร้านเลยจำลองตราใหม่ในรูปแบบเดิมขึ้นไปติดที่หน้าร้าน  ส่วนตราเก่านี้ย้ายมาเก็บไว้ภายในร้านครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 21 ก.ย. 10, 08:13
^
^
^
ขอบคุณคุณnatadol และคุณ V_Mee ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมครับ

 :D
 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 09:26
เจอแล้วกระเป๋ารถราง

สะพายกระเป๋า แต่ยังไม่เห็นกระบอกตั๋ว

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 21 ก.ย. 10, 10:01
ขอบคุณสำหรับขนมนะคะคุณ:D:D สีสวยน่ารับประทานจริง ๆ

อ้างถึง
สะพานเฉลิมเดช 57 เป็นสะพานที่สร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ
เป็นสะพานในชุด "เฉลิม" ที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการครองราชสมบัติในรัชกาลของพระองค์
สะพานนี้สร้างเชื่อมถนนประทุมวันกับถนนหัวลำโพง ข้ามคลองหัวลำโพง
(ปัจจุบัน คือ ปลายถนนสี่พระยาต่อกับถนนพระรามสี่ ข้างวัดหัวลำโพง)

คุณ :D:D ค่ะ ถนนนี้น่าจะเป็นถนน พญาไท ไม่ใช่หรือคะ

ดิฉันยังไม่หายหลอนจากคำว่า ถนนปทุมวัน ถนนสระปทุม ถนนบำรุงเมืองค่ะ
พญาไทน่าจะเป็นถนนที่เชื่อมต่อกับสี่พระยาตรงแยกสามย่านนะคะ ไม่ใช่ปทุมวันค่ะ

ไหน ๆ ก็พูดถึงเครื่องบิน เลยเอารูป นักบินคนเก่งในใจดิฉันมาฝห้ได้ชมกันค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 21 ก.ย. 10, 10:10
พูดเรื่องรถราง เครื่องบิน เรือดำน้ำกันแล้ว ต่อไปคงเป็นยานอวกาศใช่ไหมค่ะ

อย่าเพิ่งไปไกลนะคะ ตอนนี้ดิฉันมีเรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับเรือเดินสมุทรและเป็นเรือโดยสารยอดนิยมในอดีต

ใครมีข้อมูล รูป หรือ ประวัติเกี่ยวกับเรือ ภาณุรังสี บ้างไหมคะ

เคยได้ยินผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง เคยอ่านพบในหนังสือเรื่อง Mai Pen Rai สนุกมาก
แต่ไม่เคยเห็นหน้าตาเรือค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 ก.ย. 10, 10:58
ขอบพระคุณ คุณ Ruamrudee ที่ช่วยแก้ไข ชื่อถนนให้ค่ะ
เลยขอส่งขนม เรไร จานนี้มากำนัลค่ะ เชิญทุกท่านด้วยนะคะ

สำหรับ เรือภาณุรังษี ทราบมานิดหน่อยว่ามีบทบาทสำคัญรับใช้ประเทศไทยมายาวนาน

จากบทความ เมื่อทรงพระเยาว์ http://www.bejaratana-suvadhana.org/menu_beja002.html
"ขณะนั้น เหตุการณ์ไม่สงบอันเนื่องจากการเมืองยังไม่ยุติลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาวรวงศ์ พิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา) กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพัน
วัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร สมเด็จ
พระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีรวมทั้งเจ้านายฝ่ายใน พร้อมกัน
เสด็จโดยเรือภาณุรังษีไปประทับ ณ ตำหนักเขาน้อยจังหวัดสงขลา"

และจาก บทความของคุณ รำเพย เทพศิริ http://www.econnews.org/old/epw0448.html
"เหตุการณ์หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ทำให้ท่านบิดาซึ่งมีตำแหน่งสำคัญทางทหารต้องพาโอรสทั้งสองไปรับหน้าที่ในยุโรป ส่วนหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งถือกำเนิดได้ไม่กี่เดือนนั้น 'ท่านย่า' หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร ทรงอพยพพร้อมครอบครัวหลบภัยการเมืองโดยเรือภาณุรังษี รอนแรมกลางทะเลไปเผชิญความยากลำบาก ณ จังหวัดสงขลา"

และได้มีส่วนในการอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับประเทศไทยด้วยค่ะ
จาก wikipedia เรื่อง งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
"วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จออกจากพระตำหนักคอมพ์ตันแห่งเวอร์จิเนียวอเตอร์ ประเทศอังกฤษ พร้อมกับอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสู่ท่าเรือเซาท์แทมป์ตัน.............
.....เรือวิลเฮ็มไร (Wilhelm Ruys) เป็นเรือของบริษัท Royal Rotterdam Lloyd ได้ไปถึงเกาะสิงคโปร์เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ กองทหารซอลสเบอรี (Salisbury) และกองทหารแบล็ควอทช์ (Black Watch) ซึ่งเป็นกรมทหารราบจากสก็อตแลนด์ของอังกฤษตั้งแถวกองเกียรติยศรับเสด็จฯ มีธงไชยเฉลิมพล ทางรัฐบาลไทยได้เช่าเรือ "ภาณุรังษี" จากบริษัท อีสต์เอเชียติกมารับเสด็จจากสิงคโปร์ไปยังเกาะสีชัง

ถึงเกาะสีชังวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ เจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประดิษฐานในกล่องหินอ่อน เปลี่ยนลงบรรจุในพระโกศทองคำ เสร็จแล้วอัญเชิญลงเรือรบหลวง "แม่กลอง" แห่งราชนาวีไทย แล่นสู่กรุงเทพมหานคร เทียบท่าราชวรดิฐ แล้วอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานบนพระที่นั่งราเชนทรยาน แห่เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง"


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 11:29
ลงเรือเสียแล้วหรือ ตามไม่ทัน กระทู้ยังวิ่งเร็วจี๋
มาชิมขนมเรไรแล้วนั่งเฝ้าอยู่บนท่าน้ำค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 ก.ย. 10, 11:48
พยายามหารูป เรือภาณุรังษี ค่ะ แต่ไปเจอรูปนี้เข้าเลยเอามาฝากกันค่ะ
แต่หนูสงสัยชื่ออาหารในเมนู ค่ะ "เกยย้งก๊กเซียงบี้"
ใครพอจะทราบบ้างคะว่า คืออะไร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 12:05
ทราบว่าคุณวันดีมีตำราอาหารใช้ก๊กเซียงบี๊เป็นส่วนประกอบอยู่หลายรายการ

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 15:22
แว่ว ๆ มาว่าคุณหมอซีวีทีก็มีคำตอบสำหรับ เกยย้งก๊กเซียงบี๊

 ;)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 16:14
แว่ว ๆ มาว่าคุณหมอซีวีทีก็มีคำตอบสำหรับ เกยย้งก๊กเซียงบี๊

 ;)

แว่ว ๆ มาว่าคุณเพ็ญชมพูก็มีคำตอบสำหรับ เกยย้งก๊กเซียงบี๊ เช่นกัน

 ;)

http://www.libraryhub.info/archives/5829


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 21 ก.ย. 10, 16:58
กลับไปอ่านเกี่ยวกับ เกยย้งก๊อกเซียงบี๊แล้ววิ่งไปถามคุณแม่ ๆ ก็ไม่รู้จักค่ะ
แต่แกะรอยจากภาษาจีนได้ความว่า
เกยย้ง เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง
หากออกสำเนียงจีนแต้จิ๋ว จะอ่านว่า โกย(ไก่) ย้ง(หยอง หรือ ฝอย)
ก๊อก = ชาติ ประเทศ(เช่นคำว่าก๊ก ใน สามก๊ก)
เซียง = กลิ่นหอมตลบอบอวล
บี๊ = เมล็ดพืช อาจจะเป็นข้าวชนิดหนึ่งก็ได้ แต่คงมีทรายปนมากจนต้องต้มล้างทิ้งหลายครั้ง

อาหารชนิดนี้ คงต้องจ้างกุ๊กจีนจากภัตตาคารดังในยุคนั้นมาทำ แต่เรื่องนี้บอกให้รู้ว่า ในอดีต ประเทศไทยนับถือจีนว่ายิ่งใหญ่ วัฒนธรรมการกินแบบจีน ถือว่า ชั้นสูง

ผิดกับปัจจุบัน ที่นิยมฝรั่ง ต่อมาก็หันมาฮิตกินอาหารญี่ปุ่น ตอนนี้ เริ่มกินกิมจิกันใหญ่โต เห็นเป็นสิ่งโก้เก๋

แต่อาจารย์เทาเจ้าขา หนูยังคงชอบกินไอศครีมกะทิมากกว่า Vanilla นะคะ โดยเฉพาะ ที่ทำด้วย น้ำมะพร้าวน้ำหอมแท้ ๆ ไม่ปนส่วนผสมอื่นที่ไม่ได้มากจากมะพร้าวน้ำหอมเลย อันนี้ หากินยากมาก และ อร่อยจริงๆ

ไหน ๆ ก็พากันนั่งรถรางแล้ว เชื่อว่าหลายคนที่เกิดทันได้นั่งรถราง โดยเฉพาะสายที่มาศาลาแดง คงจะจำไอศครีมกะทิทรงเครื่องเจ้าอร่อย และดังมากในสมัยนั้น ร้านอยู่ตรงหัวถนนสีลม แถวปากซอยศาลาแดงนี่แหละ

ไอศครีมใส่เครื่องเยอะแยะ  มีเส้นซ่าหริม ลอดช่อง เผือก มะพร้าวเผาหั่นฝอย ข้าวโพด ปั่นรวมลงไปในเนื้อไอศครีม
หวานมันชื่นใจ เวลาไปหาหมอฉีดยาร้องไห้จนคอแห้งแล้ว ปู่จะพามาปลอบด้วยไอศครีมคนละถ้วยค่ะ



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 17:13
มาเสิฟให้ทันใจค่ะ

(http://www.hiphutcafe.com/images/gallery/DSC01460.jpg)

ใครเคยกินไอศกรีมแท่งที่อาเฮียสะพายกระติกมาขายตามบ้านบ้างคะ

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/95/95/images/Icecream/IcecreamStick.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 17:18
รู้จ้กแต่ไอศรีมราชวงศ์  ร้านสีฟ้า   ได้กินหลังจากกินบะหมี่แล้ว    ไปถึงก็นั่งอยู่ในรถ ไม่ต้องลงในร้าน
ทางร้านเขาจะเอาถาดมาเกี่ยวกับขอบหน้าต่างรถแล้วยกบะหมี่มาให้ค่ะ  ตบท้ายด้วยไอศกรีม แล้วแต่จะสั่ง
ลืมรถรางและเรือรบไปสนิทแล้ว


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 ก.ย. 10, 17:22
หนูเคยกินค่ะ ที่อาเฮียสะพายกระติกแบบนี้แล้วก็ถือกระดิ่งแกว่งไปด้วย...
วันไหนโชคดีได้ "ไม้แดง" ได้กินฟรีอีกแท่งด้วยนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 17:34
กระติกแบบนี้ละ  คิดถึงมากค่ะ  ไม่มีอีกแล้วบรรยากาศแบบเดิม   :(
ของโปรดคือไอศกรีมใส่ขนมปังแบบนี้ แต่ชอบรสกาแฟ   อาแปะมีรถถีบมาขายหน้าประตูโรงเรียน

(http://farm4.static.flickr.com/3597/3346198801_8eb47c9c5a_o.jpg)

ชักออกนอกทางไปไกล  ย้อนเอารูปเก่ามาฝากดีกว่า  เขาบอกว่าสีลมโฆษณา อยู่ตรงไหนของสีลมก็ไม่ทราบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 21 ก.ย. 10, 21:10
มานั่งทานไอศครีมสีชมพูเย็นๆ วางบนขนมปังราดนมสดชุ่มๆ ที่ท่านอ.เทาชมพู จัดเตรียมไว้ให้สมาชิกในคืนนี้...ฮึ่ม! อร่อยจังค่ะ... ;D
ภาพนี้หนูเป็นได้แค่กองเชียร์ค่ะ.....มาคอยลุ้นว่าใครจะตอบได้เป็นท่านแรก.........สีลมโฆษณา อยู่ตรงไหนเอ่ย
ลายฉลุรอบๆ ร้านสวยมากนะคะ ป้ายร้านบอกไว้ว่า "สีลมโฆษณา โฆษณา และนำเข้าแมกกาซีน" ค่ะ ปัจจุบันจะเปลี่ยนไปขนาดไหนนะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 21 ก.ย. 10, 21:28
กลับไปอ่านเกี่ยวกับ เกยย้งก๊อกเซียงบี๊แล้ววิ่งไปถามคุณแม่ ๆ ก็ไม่รู้จักค่ะ
แต่แกะรอยจากภาษาจีนได้ความว่า
เกยย้ง เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง
หากออกสำเนียงจีนแต้จิ๋ว จะอ่านว่า โกย(ไก่) ย้ง(หยอง หรือ ฝอย)
ก๊อก = ชาติ ประเทศ(เช่นคำว่าก๊ก ใน สามก๊ก)
เซียง = กลิ่นหอมตลบอบอวล
บี๊ = เมล็ดพืช อาจจะเป็นข้าวชนิดหนึ่งก็ได้ แต่คงมีทรายปนมากจนต้องต้มล้างทิ้งหลายครั้ง

อาหารชนิดนี้ คงต้องจ้างกุ๊กจีนจากภัตตาคารดังในยุคนั้นมาทำ แต่เรื่องนี้บอกให้รู้ว่า ในอดีต ประเทศไทยนับถือจีนว่ายิ่งใหญ่ วัฒนธรรมการกินแบบจีน ถือว่า ชั้นสูง

แสดงว่าแม่ผมตอบถูก แต่ผมไม่เชื่อว่ารังนกเอาไปต้มกับข้าว
แม่บอกว่า ก๊กเซี่ยงบี้ คือข้าวที่ดีทีสุด
เกยย้งก๊กเซี่ยงบี้ คือ ข้าวอบโกยหยอง หรือข้าวอบไก่หยอง

แต่พอผมท้วงเรื่อง รังนกก๊กเซี่ยงบี้
แม่เลยชักไม่มั่นใจ
โทร.ไปถามป้า ป้าบอกว่าขอเดาว่าเป็นธัญพืชพวกลูกเดือย
แถมบอกว่าเวลาไปตลาดเก่าจะถามร้านค้าให้ว่าคืออะไร


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 21:44
ยกจากหน้าก่อนมาให้ดูกันอีกครั้งค่ะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=3462.0;attach=14606;image)

บอกได้จากเมนูนี้ ว่า เกยย้งก๊อกเซียงบี๊  จัดอยู่ในประเภทอาหารคาว  แต่รังนกก๊อกเซียงบี๊ เป็นของหวาน

ชื่อแรกน่าจะเป็นข้าวผัดไก่หยอง   เพราะดูจากจานอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน ยังไม่มีไก่เลยสักจาน
เนื้อสัตว์ในเมนูนี้มีสารพัดแทบครบทุกชนิด ไม่ซ้ำกัน    มีหมู หูฉลาม  นก  ปู  กุ้ง หอยนางรม  ความหลากหลายบ่งถึงบรรยากาศโอ่อ่าได้ดี
พอมาถึงของหวานมีไอศกรีมแบบฝรั่ง และผลไม้   แต่มีของหวานชื่อจีน นำหน้าด้วยคำว่ารังนกบวกเข้ามาด้วย   ข้าวต้มรังนกจะเป็นของหวานได้อย่างไร ยังสงสัย
เห็นจะต้องถามคุณวันดี คุณ V_Mee คุณหนุ่มสยาม และแก๊งค์ลูกน้ำ เสียอีกละมังคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 21 ก.ย. 10, 22:11
มันเป็นประเภทนี้หรือเปล่าครับ

(http://j.static.fsanook.com/category/2009/12/16/6/b/5989706_6.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 22:40
มีรังนกในของหวานนี้ด้วยหรือคะ?


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 21 ก.ย. 10, 22:47
มีรังนกในของหวานนี้ด้วยหรือคะ?

ในโต๊ะจีนที่ราคาแพงบางเจ้ามีรังนกด้วย หรือบางเจ้าก็เป็นเห็ดหูหนูขาวครับอาจารย์
ผมเลยพยายามเดาว่ารังนกก๊กเซียงบี้เป็นของหวานประเภทนี้ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ก.ย. 10, 23:12
แปลกที่ไม่ยักเรียกว่าแปะก๊วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 21 ก.ย. 10, 23:47
แปลกที่ไม่ยักเรียกว่าแปะก๊วย

รังนกก๊กเซียงบี๊ อาจจะมีแค่ข้าวเหนียวกับรังนกและน้ำเชื่อมครับ
หรือจะเป็นข้าวเหนียวเปียกรังนก ??? ผมก็คิดเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.ย. 10, 16:28
อาจจะข้าวเหนียวเปียกรังนกนะคะ  ถ้าเป็นของหวาน

วันนี้หายเงียบกันไปหมด กระทู้ลดความเร็วลงเกือบนิ่งสนิท  :(    เลยต้องเข้ามาขับเคลื่อนด้วยสาคูไส้หมู
เอาเคล็ดว่าร้านสีลมโฆษณา น่าจะหมูๆ  หาไม่ยากนักว่าอยู่ตรงไหนของสีลม  ดูโลเคชั่นแล้วว่าเป็นมุมถนน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 22 ก.ย. 10, 17:19
วันนี้เครื่องหนูติดไวรัสค่ะ  :'(
เลยต้องสแกนไวรัสซะหน่อย ไม่รู้จะหายหรือเปล่า :'( โฮ...โฮ...


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 ก.ย. 10, 19:13
อ.เทาชมพู เหมือนรูปร้านสีลม อยุ่ปากตรอกโอเรียนเต็ล ก่อนที่ห้างขายยาอังกฤษฯ จะปลูกเป็นตึกหรือเปล่าครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 22 ก.ย. 10, 22:34
ก๊กเซียงบี้ ฟังดูเป็นภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว แต่เป็นคำที่ไม่เคยได้ยินครับ

ถ้าจะแปลว่าข้าวหอมมีชื่อระดับชาติก็แปลได้อยู่ แต่เป็นการแปลชนิดพยายามแปลให้มีความหมายให้ได้ ซึ่งโดยส่วนตัวผมว่าไม่ได้ความหมายครับ เพราะถ้าจะพูดถึงข้าวหอมระดับชาติคงไม่มีคนจีนคนไหนแปลเป็นก๊กเซียงบี้แน่

ทีนี้เป็นชื่อสมุนไพรอะไรหรือไม่? ผมลองถามพ่อผม ซึ่งรู้จักยาสมุนไพรจีนอยู่พอสมควร ปรากฏว่าพ่อไม่เคยได้ยินสมุนไพร (หรืออะไรก็ตาม) ที่ชื่อคล้ายๆอย่างนี้ครับ

เป็นอันว่าสูญหมด ต้องกลับมาตั้งต้นกันใหม่

พิจารณาสูตรอาหาร เกยย้งก๊กเซียงบี้ รังนกก๊กเซียงบี้

เกยย้งนั้นไม่ต้องสงสัย เพี้ยนจากสำเนียงแต้จิ๋ว "โกยย้ง" แน่นอน แปลว่าไก่หยอง หรือไก่ฉีกเป็นฝอย ส่วนรังนกนั้นคนจีนนิยมกินเป็นยาบำรุง

น่าสนใจว่ารังนกนี้ คนจีนเชื่อว่าเป็นของเย็น กินมากอาจจะเย็นเกินไป มักจะใส่เกาลี้ (โสมเกาหลี) ซึ่งมีสมบัติ "ร้อน" ลงไปด้วยเพื่อแก้กัน

ตรงนี้แหละครับที่ผมว่าน่าสนใจ เพราะผมสงสัยว่า ก๊กเซียง ไม่ใฃ่คำภาษาจีนครับ แต่เป็นคำที่คนจีนเรียกทับศัพท์คำไทยคำหนึ่ง

นั่นคือ "โกฏเชียง" ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยตระกูลตังกุย ที่อาจจะถูกใช้ใส่แทนโสมครับ

ดังนั้นเกยย้งก๊กเซียงบี้ก็คือ ไก่ตุ๋นโสมฉบับไทยประยุกต์ ส่วนรังนกก๊กเซียงบี้ก็เป็นรังนกตุ๋นกับโสมฉบับไทยประยุกต์ครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 08:50
ข้อเสนอของคุณม้าฟังดูเข้าเค้า โกฏเชียง ---> ก๊กเซียง  แต่ยังติดอยู่ที่คำว่า บี๊ - เมล็ดพืช คืออะไร

ลองเอาเมนูอาหารที่มีก๊กเซียงบี๊ มาพิจารณา

เกาเหลาก๊อกเซียนบี๊

เครื่องปรุง  ก๊อกเซียนบี๊  เนื้อน่าอกไก่อ่อน  หมูแฮม  เกลือ  น้ำปลาขาว  ซุบผง  แป้งมัน

วิธีทำ  ต้มก๊อกเซียนบี๊ (หาซื้อได้ตามร้านจีนขายของแห้งตลาดเก่าหรือในตรอกเจ๊สัวเนียม   มีที่ต้มแล้วด้วย)

ซื้อแบบแห้งมา  แช่ในหม้อใส่น้ำให้ท่วม  ทิ้งไว้ ๒๕ นาที  ต้มไฟพอควรอย่าแรงนัก ให้เดือดอยู่สิบนาที  ยกลงเทน้ำทิ้ง ใส่น้ำใหม่  ทิ้งไว้อีก ๒๕ นาที  เอาขึ้นต้มอีกสิบนาที  แล้วถ่ายน้ำทิ้ง ทำอย่างนี้สัก ๘ - ๙ ครั้ง

ที่ทำดังนี้เพราะที่เม็ดมีทรายเกาะอยู่มากนัก  ถ้าเม็ดพองเต็มที่ทรายก็จะร่วงออกหมด

ท่านต้องระวังในเรื่องทรายให้หมดสักหน่อย ที่ดีที่สุดควรต้มวันนี้แล้วแช่น้ำไว้พรุ่งนี้ต้มอีก  พอเดือดเอาใช้จะดีมาก

เมื่อหมดทรายแล้วจงสงเอาแต่เม็ดใส่จานไว้ น้ำใส่กะทะตั้งไฟให้เดือดพล่าน  เอาก๊อกเซียนบี๊ลงลวกใส่เหล้าเสียวลงสักหนึ่งช้อนหวาน พอเดือดทั่วดีตักเนื้อก๊อกเซียนบี๊ไว้  น้ำเททิ้งไป

นี่เป็นวิธีต้มก๊อกเซียนบี๊แห้ง

ถ้าท่านได้อย่างที่เขาต้มแล้ว ก็ต้องเอามาลวกเหล้าเสียก่อนจึงจะใช้ได้

(ต่อจากนั้นก็เป็นวิธีทำเกาเหลา)

จาก ตำราปรุงอาหารจีน ของ โสภณพิพรรฒธนากร ๒๔๗๔  ราคา ๗๕ สตางค์ หน้า ๑๒

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/06/K5524407/K5524407.html#39


ในตำราอาหารข้างบนก็ระบุว่า "ก๊กเซียงบี๊" มีลักษณะเป็นเม็ด

 ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 09:02
ที่ทำดังนี้เพราะที่เม็ดมีทรายเกาะอยู่มากนัก  ถ้าเม็ดพองเต็มที่ทรายก็จะร่วงออกหมด

เมล็ดพืช ก็ต้องอยู่บนต้นของมัน   ไฉนเลยจะมีทรายเกาะแน่นได้   ???

อะไรที่ทรายเกาะแน่นต้องอยู่ในทราย  ก็เลยเข้าใจว่า เป็นหัวของพืชชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ริมทะเล  ทรายเกาะแน่นเสียจนเคาะไม่ออก ล้างไม่ได้ (หรือไม่นิยมล้างกัน เดี๋ยวเสื่อมคุณภาพ)  ขนาดตากแห้งแล้ว ทรายยังไม่ร่วงออกมา
เห็นกรรมวิธีต้ม    แล้วอ่อนใจว่าต้มอะไรกันสาหัสสากรรจ์  กินเวลาข้ามวันข้ามคืน   กว่าจะพองให้ทรายร่วงได้  
ยังงั้นเม็ดมันคงไม่เกลี้ยงๆอย่างเมล็ดพืช   น่าจะเป็นริ้วร่อง หรือเป็นรูเล็กๆ  ทรายถึงเข้าไปอัดแน่น   ถ้าเป็นเม็ดเกลี้ยงๆอย่างเมล็ดพืชโดยมาก  ล้างต้มหนเดียวทรายก็หลุดหมดแล้ว
ลักษณะเป็นเม็ดด้วย  ไม่ใช่เป็นหัวอย่างพืชในดิน

พืชประหลาดเสียแล้วค่ะคุณเพ็ญชมพู    ไม่ทราบว่าคุณเพ็ญเชี่ยวชาญเรื่องพืช นอกเหนือจากสัตว์ประหลาดหรือเปล่า  จะได้วานให้นำรูปมาลงให้หน่อย
อยากรู้จริงๆ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 10:10
ในพจนานุกรมไม่มีคำว่า โกฏเชียง  มีแต่ โกฐเชียง

โกฐเชียง น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุกชนิด Livisticum officinale  Koch. ในวงศ์ Umbelliferae.

โกฐ [โกด] น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐน้ำเต้า, ตํารายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. (ป. โกฏฺ?).

หน้าตาของโกฐเชียงคล้าย ๆ กับโสม

(http://www.chiangmaisquare.com/shop/c/chiangmaisquare/img-lib/spd_20051113201824_b.jpg)

ไม่ทราบว่ามีโกฐเชียงอัดเม็ดขายหรือไม่

 ???
 
 


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 ก.ย. 10, 11:14
ขออภัยที่เขียนผิดครับ โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง โกฐเชียง คัดสิบจบแล้วขอคุณครูเพ็ญชมพูโปรดอภัย

แต่เมื่อยังหาตัวเลือกอื่นไม่ได้ ผมจึงขอ defend สมมติฐาน ก๊กเซียง = โกฐเชียง ไปพลางๆก่อนนะครับ  ;D

คำว่า บี้ โดยทั่วไปแล้วแปลว่าธัญพืช แต่ผมคุ้นๆ เหมือนกับว่าเคยเห็นใช้เรียกอะไรที่มีลักษณะเป็นเมล็ดเล็กๆ ว่า บี้ ด้วยเหมือนกัน แต่นึกไม่ออกว่าเห็นจากอะไรนะครับ

แต่พวกโสมนี้ เคยเห็นเขาขายกันอย่างที่เป็นเศษโสม หั่นเป็นแผ่นเล็กๆ หรือแม้แต่ที่เล็กจนน่าจะเรียกได้ว่า เมล็ด เหมือนกัน

การเก็บรักษาของพวกนี้จะอยู่ในสภาพทำแห้ง เมื่อเป็นของที่ขึ้นอยู่กับดินทราย เมื่อทำแห้งแล้ว ย่อมมีดินทรายติดปนได้เป็นธรรมดา ยิ่งพวกเศษเมล็ดโสมนี่ยิ่งต้องติดมาเป็นสัดส่วนที่มากเป็นพิเศษแน่

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าเมื่อนำมาทำอาหารจึงอาจต้องมีการเอามาล้างเอาเม็ดทรายหรือเศษสกปรกออกบ้างครับ


ความจริงแล้ว วิธีที่จะรู้ได้แน่คือเดินไปถามร้านยาจีน แต่ไม่รู้จะไปถามที่ไหนเหมือนกันครับ คงต้องไปหาเอาแถวเยาวราชกระมัง


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 11:22
ถ้าไม่ใช่หัวพืช ก็อาจเป็นส่วนรากของพืช   อยู่ในดินปนทราย  
เป็นโสมจีน ไม่ใช่โสมเกาหลีหรือไงคะ
เมืองจีนที่มีทรายมากคงมีแต่เมืองจีนชายทะเล   พืชปริศนาเห็นจะไม่ได้มาจากปักกิ่ง  น่าจะมาจากจีนตอนใต้

ยังติดใจคำว่าเม็ดนี่แหละค่ะ   รากอัดเม็ด น่าจะทันสมัยไปหน่อยมั้ง

ถ้าคุณณัฐดลไปติดดาวเทียมแถวเยาวราช ฝากถามเถ้าแก่เจ้าของร้านยาหน่อย   หรือถ้าเดอะแก๊งค์ไปช้อนลูกน้ำแถวไหนที่ขายยาจีนโบราณ กรุณาถามให้ที ก่อนจะหลอนกันอีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 12:03
เว็บของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขให้ชื่อวิทยาศาสตร์ของ โกฐเชียง  ไว้อีกอย่างหนึ่งคือ Angelica sinensis (Oliv.) Diels ตรงชื่อสปีชีส์บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นพืชกำเนิดในเมืองจีน

http://www.dtam.moph.go.th/tcm/images/stories/danggui10.pdf

โกฐเชียง ก็มีชื่อจีนอยู่แล้วว่า ตังกุยเหว่ย ไฉนต้องเรียกชื่อทับศัพท์ภาษาไทยอีก

ข้อนี้น่าสงสัย

 ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 ก.ย. 10, 12:20
ถ้าเป็น โสม และโกฐเชียง แล้วต้องแช่น้ำ 25 นาที ต้องต้มอีก 10 นาที และเทน้ำทิ้งไป ทำอย่างนี้ตั้ง 8-9 ครั้ง
สรรพคุณน่าจะหมดไปกับน้ำที่ทิ้งไปนะคะ แล้วโสมส่วนใหญ่เราก็ไม่ได้เคี้ยวรวมไปกับอาหาร
แค่ล้างน้ำถ้ามีทรายมากก็สามารถใช้ผ้าขาวบางห่อไว้ และตุ๋นกับเนื้อสัตว์ได้เลย

แต่ ก๊กเซียงบี๊ น่าจะเป็นอะไรที่เคี้ยวรวมไปกับอาหารได้ และไม่เละ
เพราะผ่านการต้มถึง 8-9 ครั้ง ยังสามารถตักเอาแต่เนื้อก๊กเซียงบี๊  ไปทำเกาเหลาได้อีก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 23 ก.ย. 10, 13:11
หายหน้าไปหลายวัน เพราะทานไอศครีมอาจารย์เทาค่ะ ทำให้อาการไอ ดำรงคงอยู่อย่างเหนียวแน่น

เรื่องร้านสีลมโฆษณานั้น สังเกตุอาคารเป็นเรือนแถว สร้างด้วยไม้ น่าจะสมัยเดียวกับโรงพักพลตระเวณบางรัก
สมัยที่เรียนจบมาทำงานใหม่ ๆ แถวสีลม เรือนแถวแบบนี้ ยังหลงเหลือให้เห็นในสภาพทรุดโทรมมากก่อนจะถูกรื้อ
จะมีอยู่แถว ศาลาแดง แถว รอบ ๆ โรงพยาบาลเลิศสิน ต่อมาถูกไฟไหม้จนเกลี้ยงไปหมด

มีร้านขายของสารพัด ที่หัวมุมปากซอยศาลาแดง ชืื่อร้านสีลมสโตร์ หน้าตาก็คล้าย ๆ กัน แต่ยืนยันไม่ได้ว่าเป็นอันเดียวกันหรือไม่

มาว่ากันถึง ก๊กเซียงบี๊นะคะ ดิฉันเชื่อว่า จะเป็นพวกเมล็ดพืชมากกว่าสิ่งอื่น
และยิ่งบอกว่า แช่น้ำให้พอง ทรายจึงจะหลุด
 
ทำให้นึกถึงเมล็ดสำรอง ที่ต้องแช่ ล้างเอาทรายและเปลือกออก เยื้อข้างในใสคล้ายรังนก แต่เป็นสีน้ำตาล
 
แต่ก๊กเซียงบี๊ คงไม่มีทางใช่สำรองแน่ ๆ เพราะคนจีนเรียกสำรองว่า โพ่ง ตัว ไห้ แปลว่า พองเต็มมหาสมุทร เพราะไม่กี่เมล็ด ก็พองตัวจนเต็มหม้อต้มแล้ว

ยืนยันอีกอย่างว่า รังนกนั้น คนจีนมีวิธีกินสารพัด ทั้งเป็นยา เป็นอาหารคาว และ เป็นของหวาน
สมัยเด็ก ๆ จะกินรังนกต้องไปหาซื้อที่วงเวียน 22 กรกฏาคม สมัยก่อน เขาขายรังนกทั้งวงเวียน
ไม่ได้ขายบ้ายและแผ่นพลาสติคเช่นวันนี้

จะตอบโจทย์ข้อนี้ได้ ต้องทำการบ้าน และ ที่ ๆ จะตอบได้ จะมีตลาดเก่า(เหล่าตั๊กลัก) ตรอกมังกร(เล่งบ๋วยเอี๊ย)
หรือ ร้ายยาจีนแผนโบราณในเยาวราชเท่านั้น

จะต้องเลือกถามกับผู้สูงอายุด้วย คนจีนรุ่นใหม่ ฟังภาษาจีนไม่ออกกันแล้ว

สำหรับโสมนั้น ตัดไปได้เลย เพราะก่อนจะทำให้แห้ง เขาล้างจนหมดทรายแล้ว
และ การกินนั้น จะไม่เอาไปล้างน้ำทิ้งจนเสียคุณสมบัติของโสมอย่างที่ทำกับก๊กเซียงบี๊แน่นอน
บางอย่างหั่นแล้วชงน้ำเดือดดื่มแทนชาทีเดียว ของแพงๆ ต้องกินให้คุ้มค่าค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 13:13
ค่อยๆสืบกันไปอย่างนี้ น่าสนุก  ;D

พืชปริศนา ประมวลได้ว่า
๑  ลักษณะเป็นเม็ด ชื่อบอกให้รู้ว่ามาจากเมืองจีน
๒  ตากแห้ง   มีทรายจับอยู่แน่นเหนียวมาก   ต้องต้มกันแทบล้มประดาตาย ข้ามวันข้ามคืนได้ยิ่งดี  ทรายถึงจะออก
      (มันเป็นอะไรหนอ  ทรายถึงจับแน่นได้ขนาดนั้น)
๓  สรรพคุณอยู่ที่เนื้อของพืช  ไม่ได้อยู่ธาตุซึ่งละลายมากับน้ำต้ม
๔   เนื้อต้องแข็งและเหนียวมาก   ไม่งั้นต้มกันมโหฬารขนาดนี้   ถ้าเป็นตระกูลถั่ว หรือหัวมัน   น่าจะเละไม่เหลืออะไรแล้วตั้งแต่ต้ม ๒ ครั้งแรก  
      ต้มกันแทบล้มประดาตาย มันแค่พองตัวออกเท่านั้น   ถ้างั้นตอนไม่ได้ต้ม   น่าจะแข็งพอๆกับกรวด
๕    ชื่อภาษาไทยไม่มี   ก็แปลว่าไม่ได้อยู่ในตระกูลพืชไทยที่คนไทยรู้จัก   ไม่งั้นน่าจะแปลออกมาแล้ว    
๖     ไม่น่าจะเป็นโกฐเชียง ไม่งั้นคงระบุชื่อว่า ตังกุยเหว่ย



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 13:18
กว่าจะหายไอ น่ากลัวจะผอมเพราะกินอะไรไม่ได้
เอาบัวลอยน้ำขิงมาปลอบขวัญค่ะ    น้ำขิงจะช่วยให้ชุ่มคอ ไม่ไอแล้วละ 

(http://www.menu108.com/wp-content/uploads/2010/06/บัวลอยน้ำขิง.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 23 ก.ย. 10, 13:28
กราบขอบพระคุณค่ะ
บัวลอยน้ำขิงอร่อยและทำให้หายใจสะดวกขึ้นมากค่ะ
เพียงแต่เยอะมาก หลายลูก คงกินคนเดียวไม่หมด
 
ขอเอาไปแบ่งลุง SriSiam หัวหน้าแก๊งค์ช้อนลูกน้ำ
และท่านอาจารย์ Navarat ประธานแก๊งค์ย่อยหิน
จะได้แจกจ่ายสมาชิกกันได้ทั่วหน้านะคะ  :) :D ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.ย. 10, 14:04
เมนูอะไรกันครับ?

1. ต้องต้ม ๘-๙ ครั้ง ถ้าเป็นพวกข้าว คงเหลวเละไม่เป็นท่า ต้องเป็นเมล็ดอะไรสักอย่าง
2. ยิ่งต้ม ยิ่งพอง (การพองตัวแบบนี้ ต้องมีองค์ประกอบของแป้ง เป็นหลักแน่)
3. มีทรายจับอยู่มาก (ต้องมีเปลือก หรือ ผิวขรุขระ ทรายนั้นเป็นทรายอะไร ทรายทะเล หรือ ทรายเพาะปลูก)
4. คงไม่ใช่ข้าวเหนี่ยว / ข้าวหอม อย่างที่เราเข้าใจกัน เนื่องจากของแบบนี้ไม่ต้องต้มหลายวัน ไม่ต้องต้มขาย ทำเองได้
5. คงต้องหายาก เพราะนำมาเข้าองค์ประกอบกับอาหารจีนบางประเภทเท่านั้น


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 ก.ย. 10, 14:47
หนูลองดูในเมนูรายการอาหารปริศนา พบว่าตัวสะกดเขียนไม่เหมือนปัจจุบัน
เช่น แฮ่กึ๊น เขียนเป็น แห้กึ๊น ,ใบคน้า เขียนเป็น ใบขน้า .....
จึงเป็นไปได้ว่า กก๊เซียงบี๊ อาจจะมีการสะกดแบบอื่น ที่เสียงใกล้เคียงกัน
แล้วหนูก็ได้เจอ.......เมนู "ก๊กเซียมบี้" ค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 ก.ย. 10, 14:50
เลยตามไปดูที่ http://travel.mthai.com/view/39721.travel
มีข้อความของหม่อมอิ้ง(ปิ่นโตเถาเล็ก) เขียนไว้ว่าคุณชายเคยลิ้มลองสมัยหนุ่มๆ
ซึ่งคุณชายในที่นี้น่าจะหมายถึง คุณชายถนัดศรี นะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 14:55
ขอชูนิ้วโป้งให้ทั้งสองข้าง ว่ายอดเยี่ยมจริงๆ ไปหาคำตอบมาจนได้

เห็ดตากแห้งน่ะเอง  คงแข็งน่าดู ถึงต้มกันมโหฬาร
เอ...แต่ทำไมเป็นเม็ด  หรือว่าหมายถึงหั่นเป็นชิ้นเล็กๆมาก่อน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 15:06
ยังมีลึกล้ำกว่านั้นอีก

คุณลูกชายว่า ก๊กเซียมบี๊  แต่คุณพ่อว่า ก๊กเซียมอี้

ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ เล่าถึงสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗

http://rsampling.multiply.com/journal/item/33


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 15:11
เป็นไปได้ไหมว่า คนเขียนบทความจากการถอดเทป อาจฟังไม่ถนัด    บี๊เลยกลายเป็นอี๊ไป แล้วไปสะกดด้วยไม้โท เป็นอี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.ย. 10, 15:12
ได้คำตอบแล้วครับ สำหรับเมนูประหลาดนี้ เรียกว่า "มุกหยก" เพื่อนผมจากประเทศจีน ค้นหามาให้รับทราบกัน

ดูรูปกันก่อนนะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.ย. 10, 15:17
สิ่งที่เห็นนี้เรียกว่า "เก๋อเซียนมี่" ตามประวัติกล่าวว่า คนแซ่เก๋อ เป็นคนค้นพบแล้วนำไปถวายให้ฮ่องเต้ ซึ่งเกิดทานแล้วบำรุงกำลังดี เลยตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่คนที่พบ และเป็นเครื่องยาจีน อีกด้วย

เวลาปลูกต้องปลูกในท้องนาเท่านั้น อย่างที่เห็นชาวนาจะช้อนๆๆๆ ขึ้นมาขาย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.ย. 10, 15:20
เก๋อเซียมี่ อันที่จริงก็เป็นพืช เป็นตระกูลสาหร่ายครับ นำขึ้นมาปริมาณมากๆ จะนำมาตากแห้ง ซึ่งเป็นเหตุผลว่า มีทรายติดมาด้วย


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.ย. 10, 15:21
ตอนช้อนมาจากท้องนา จะเป็นแบบนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.ย. 10, 15:24
ต้องต้มหลายๆน้ำ ตามที่เขาบอก เพื่อไล่ทรายออกไป ยิ่งต้มนาน ยิ่งพอง
นี่เอง ทำให้ในตลาดก็มีขาย หากไม่ต้องการที่จะต้มเอง มีสีดำ สีใส ครับ
ขายปัจจุบัน 2 ขีด 150 บาท (เม็ดเล็กๆเท่าถั่วเขียว) สมัยก่อนคงแพงมาก


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 ก.ย. 10, 15:26
คงรับประทานกันอร่อยแล้วนะครับ สำหรับเมนูนี้


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 15:30
ในที่สุดก็ไขปริศนาออก   ขอบคุณคุณ siamese ที่ออนไลน์ไปหาถึงเมืองจีน  ช่วยเหลือให้หลายคนไม่หลอนกันคืนนี้
ดูวิธีการทำที่แสนจะเปลืองเวลา ข้ามวันข้ามคืน  (สงสัยมันจะเหนียว)   ต้องมีคนเห็นคุณค่าของเจ้าสาหร่ายนามาก   ถึงปรุงกันขึ้นโต๊ะเป็นของเสวย
เป็นของหวานกินไม่กี่นาทีก็หมดถ้วย
และ...เป็นเม็ดจริงๆด้วย  ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 15:31
จากข้าวเหนียว  ----> โกฐเชียง ----> เห็ด ----> สาหร่าย

เรื่องนี้ถ้าเป็นนิยายสืบสวนสอบสวนก็หักมุม ๓-๔ ชั้น

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 23 ก.ย. 10, 15:40
น่าทานมากเลยค่ะ อยากรู้จังรสชาติจะเป็นอย่างไร
อาจารย์เทาชมพู ลองยุ อาจารย์วันดี ซิคะ อนุรักษ์อาหารไทยชาววังนะคะ
ขีดละ 75 บาทเอง แต่เสียค่าต้มนานหน่อย...... ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 15:43
จะมีเมนูอื่นๆในหนังสือเก่าของคุณวันดีบ้างไหมนะ?
ถ้ามันเป็นสาหร่าย  รสคงจืดๆ
มาปรบมือให้นักสืบเรือนไทยค่ะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 15:44
สาหร่ายชนิดนี้ในเมืองไทยก็มีเรียกว่า สาหร่ายเห็ดลาบ - สาหร่ายไข่หิน Nostoc commune Voucher, Cyanophyta

http://en.wikipedia.org/wiki/Nostoc

http://opac.tistr.or.th/Multimedia/STJN/4901/4901-15.pdf

เอามาทำอาหารได้หลายชนิด

(http://www.tistr-foodprocess.net/image/image_home_2006/research_tistr/research15.gif)

http://www.tistr-foodprocess.net/research_tistr/research8.htm

หน้าตาคล้ายไข่ปลาคาเวียร์

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 15:55
อ้างถึง
หน้าตาคล้ายไข่ปลาคาเวียร์
กำลังนึกอยู่  จากรูป เขาวางบนอาหารยังกะไข่ปลาคาเวียร์   หรือจะเป็นคาเวียร์จีน?
ชื่อสาหร่ายไข่หิน นี่สมชื่อจริงๆ   ของเดิมไม่แข็งสาหัส ก็เหนียวสาหัส


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 ก.ย. 10, 16:14
สุดยอดครับคุณ siamese

ถูกต้องแน่นอน!

葛仙米 แต้จิ๋วว่า กัวะเซียงบี้ จีนกลางว่า เก๋อเซียนหมี่

ถามน้องกุ๊กดู เมืองไทยเลี้ยงกันเพียบ เรียกว่า สาหร่ายมุกหยก



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 16:21
ยกมาเสิฟทั่วกัน สลัดสาหร่ายมุกหยก

(http://i36.photobucket.com/albums/e36/aeandpop-2/Food/DairyHome_06-1.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 16:23
อีกเพียบ

(http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/uploadfile/71/jpg/สาหร่ายมุกหยก2.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ก.ย. 10, 16:26
ใครไปกิน  กรุณากลับมาบอกกันบ้างว่าอร่อยยังไง นะคะ

(http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/uploadfile/71/jpg/สาหร่ายมุกหยก5.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 23 ก.ย. 10, 16:43
ภาพรังนกก๊กเซียงบี้ครับ

ภาพจาก http://www.lasuperiear.com/yin_dtail.asp?pid=609


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 23 ก.ย. 10, 22:53
สุดยอดครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 24 ก.ย. 10, 09:48
ข้าผู้น้อยขอคาระวะคุณ Siamese ที่สามารถไขปริศนาก๊กเซียงบี๊ ได้แจ่มกระจ่างขนาดนี้

ขอยกย่องนับถือสมาชิกเรือนไทยทุกท่านที่สามารถช่วยกันวิเคราะห์จนได้ข้อมูลนี้มา
หน้ากระทู้นี้ จะเป็น Reference ในโลก Cyber ที่มีค่ามาก

ว่าแต่อาจารย์เทาเจ้าขา เรามาลงทุนนำเข้าสาหร่ายนี้ มาตีตลาดสาหร่ายเกลียวทองกันไหมคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ก.ย. 10, 09:57
มีทำขายเรียบร้อยแล้ว จำหน่ายที่ร้านใกล้โรงพยาบาลศิริราช, ศาลาสมุนไพร, ร้านกายและใจ, คลินิกบารมี และฟู้ดส์แลนด์ บรรจุกล่องละ ๒๐๐ กรัม ราคา ๑๕๐ บาท

(http://www.thaismefranchise.com/wp-content/uploads/2010/08/Algae_0.jpg)

http://www.thaismefranchise.com/?p=9367

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: Ruamrudee ที่ 24 ก.ย. 10, 10:04
ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพูมากค่ะ ดีใจมากที่รู้แหล่ง จะไปหาซื้อมาลองกินอาทิตย์นี้ค่ะ แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะคะ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ก.ย. 10, 11:50
เห็นหน้าตารังนกก๊กเซียงบี๊แล้ว อยากจะเห็นหน้าตาของเกยย้งก๊กเซียงบี๊บ้าง

จากพันทิป

http://www.pantip.com/cafe/library/topic/K9714642/K9714642.html#19

คุณอุปรากรจีนเขาว่า

เกยย้ง = 鸡茸  ก๊กเซียงบี๊ = 葛仙米

ทีนี้ถ้าแยกคำ  鸡 - ไก่   茸- เขากวางอ่อน

เขากวางอ่อน เป็นส่วนประกอบอยู่ใน เกยย้งก๊กเซียงบี๊ เป็นไปได้ฤๅไฉน

 ???


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 24 ก.ย. 10, 15:54
คุณอุปรากรจีนเขาเก่งจริงๆครับ

เกยย้ง เราเดากันมาตลอดว่าคือ โกยย้ง 鸡氄 หรือไก่หยอง (จีนกลางว่า จีหร่ง)

แต่คำที่ออกเสียงว่า ย้ง ยังมีอีกคำหนึ่งคือ 茸 ที่แปลว่าเขากวางอ่อน (จีนกลางว่า หรง) ดังที่คุณอุปรากรจีนตั้งข้อสังเกตไว้ครับ

เมื่อลองค้น Google ดู กลายเป็นว่า 鸡茸 เป็น "ชื่อ" ของอาหารฮกเกี้ยนชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ทำจากเขากวางอ่อนแล้ว ก็ยังไม่มีไก่อยู่ในส่วนผสมอีกต่างหาก!

เรื่องของเรื่องก็คือคำว่า 茸 นอกจากจะแปลว่าเขากวางอ่อนแล้ว ยังแปลว่า ฟู, นุ่ม ได้ด้วย

鸡茸 นี้มีส่วนประกอบคือหมูสับ และไข่ไก่ ผมเดาว่า 鸡 (ไก่) ที่อยู่ในชื่อ 鸡茸 นั้นมาจาก 鸡蛋 หรือไข่ไก่ นั่นเองครับ

ถ้าเข้าใจไม่ผิด เจ้า 鸡茸 นี้คือน้ำใสๆข้นๆ มีปุยไข่ไก่เป็นเส้นอยู่ในน้ำครับ

สรุปว่า 鸡茸葛仙米 โกยย้งกัวะเซียงบี้ เป็นชื่ออาหารที่หลอกลวงถึงสามชั้น ไม่มีไก่ ไม่มีเขากวางอ่อน ทั้งยังไม่มีข้าวหรือธัญพืชเลยครับ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 24 ก.ย. 10, 16:07
หาหน้าตาของ 鸡茸葛仙米 โกยย้งกัวะเซียงบี้ ไม่ได้ แต่เจอคลิปสาธิตการปรุง 鸡茸白木耳 โกยย้งแปะหมักยื่อ หรือโกยย้งเห็ดหูหนูขาว

เชิญชมที่นี่ครับ

http://v.ku6.com/show/_vu2FZ39hxZKK9v8.html


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ก.ย. 10, 19:05
กินกีอกเซียงบี๊ แล้วชมวิวพระนครงามๆ บ้านเมืองงามกันต่อไหม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: paputh ที่ 25 ก.ย. 10, 03:05
สมาชิกใหม่อยากเล่นด้วยครับ
ไปเจอภาพเก่าๆสมัยทำหนังสือครับ

ลองทายกันดูครับ

(http://img535.imageshack.us/img535/6013/mannaj.jpg)

(http://img201.imageshack.us/img201/2377/mants.jpg)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: paputh ที่ 25 ก.ย. 10, 03:17
ภาพชุดที่สอง
เป็นอาคารสถาปัตยกรรมแบบกอธิค คล้ายกันกับด้านบนครับ

(http://img831.imageshack.us/img831/2401/nyow13.jpg)

(http://img138.imageshack.us/img138/4463/nyow16.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 25 ก.ย. 10, 07:16
ลองทายเล่น
เทพศิรินทร์ ครับผม


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 ก.ย. 10, 08:55
ตึกแม้นฯ นั่นเอง

http://www.debsirinalumni.org/history.php?id_his=1&page=1&group=5

 ;D


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: paputh ที่ 25 ก.ย. 10, 13:47
สองรูปล่างไม่ใช่ตึกแม้นนะครับ



สองรูปบนคือ ตึกแม้นนฤมิตร และ ตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี โรงเรียนเทพศิรินทร์
เป็นคนละตึกกับในปัจจุบันครับ เนื่องจากได้รับความเสียหายจากช่วงสงครามโลกครั้งที่2
จึงได้รับการบูรณะและสร้างใหม่ ตึกนี้สร้างเสร็จเมื่อปี พศ.2445


สวนกุหลาบและเทพศิรินทร์เคยเป็นโรงเรียนเดียวมาก่อนในช่วงหนึ่ง ชื่อว่า "สวนกุหลาบอังกฤษเทพศิรินทร์"
เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่เข้าใจไม่ตรงกันของทั้งสองโรงเรียนเพราะทางฝั่งสวนกุหลาบฯก็เข้าใจว่า
ได้นำเงินที่จะสร้างตึกเรียนของเค้ามาสร้างตึกแม้นนฤมิตร เทพศิรินทร์ก็เข้าใจอย่างหนึ่ง

การที่มีประวัติศาสตร์ซ้อนทับกันในช่วงหนึ่ง ทำให้หลายๆเรื่องยังถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้
เพราะต่างฝ่ายต่างก็อ้างชื่อเพื่ออวดอ้างสรรพคุณของแต่ละฝ่าย ทั้งเรื่องของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงคนแรก
นายพุ่ม สาคร (พุ่มสกี้) นายกรัฐมนตรี ทวี บุนยเกตุ, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดังที่พี่ๆได้เคยค้นคว่าไว้ครับ

_____________________________________________________________________

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/07/K5595620/K5595620.html





ตึกแม้นนฤมิตร และ ตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี (พ.ศ.2445)
(http://img691.imageshack.us/img691/8099/mante.jpg)

ตึกแม้นศึกษาสถาน และ ตึกโชฎึกเลาหเศรษฐี (พ.ศ.2491)
(http://img801.imageshack.us/img801/8811/nmanta12.jpg)

(http://img809.imageshack.us/img809/5475/54722173.jpg)



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ก.ย. 10, 08:25
การที่มีประวัติศาสตร์ซ้อนทับกันในช่วงหนึ่ง ทำให้หลายๆเรื่องยังถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้
เพราะต่างฝ่ายต่างก็อ้างชื่อเพื่ออวดอ้างสรรพคุณของแต่ละฝ่าย ทั้งเรื่องของนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงคนแรก
นายพุ่ม สาคร (พุ่มสกี้) นายกรัฐมนตรี ทวี บุนยเกตุ, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดังที่พี่ๆได้เคยค้นคว่าไว้ครับ


นายพุ่มสกี้

อันนี้ของเทพศิรินทร์
http://www.numtan.com/nineboard/view.php?id=462
http://www.debsirin.or.th/forums/showthread.php?t=833

อันนี้ของสวนกุหลาบ
http://osknetwork.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1828&postdays=0&postorder=asc&start=30

นายทวี  บุณยเกต

การศึกษา

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (เรียนที่ตึกแม้นนฤมิตของเทพศิรินทร์)
โรงเรียนราชวิทยาลัย
คิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ
วิชากสิกรรม ที่มหาวิทยาลัยกรีนยอง ประเทศฝรั่งเศส

http://th.wikipedia.org/wiki/ทวี_บุณยเกตุ (http://th.wikipedia.org/wiki/ทวี_บุณยเกตุ)

หม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช

การศึกษา

เริ่มศึกษาที่โรงเรียนราชินี โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามลำดับ จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ โรงเรียนเทรนต์ (Trent College) ในเมืองนอตติงแฮมไชร์ ประเทศอังกฤษ และได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ที่วิทยาลัยวอร์สเตอร์ (Worcester College) ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ แล้วสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนระดับเกียรตินิยมอันดับสอง หลังจากนั้น ก็เข้าศึกษาต่อที่สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ในกรุงลอนดอน ได้คะแนนเป็นที่หนึ่ง ได้รับรางวัลเป็นเงิน ๓๐๐ กีนีย์จากสำนักกฎหมายอังกฤษ (เกียรติประวัติอันนี้ได้เล่าลือมาถึงเมืองไทย จนมีการเข้าใจว่าได้รับเงินรางวัลพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังเข้าใจอย่างนั้น) และทางโรงเรียนเทรนด์ได้ประกาศให้นักเรียนหยุดเรียนหนึ่งวัน เพื่อเป็นการระลึกถึงและได้เรียกวันนั้นว่า " วันเสนีย์ " (Seni Day) นับเป็นคนไทยคนแรกและเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ทำได้ เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้ศึกษาวิชากฎหมายไทยเพิ่มเติม จนกระทั่งได้รับเนติบัณฑิตไทย และเข้าฝึกงานที่ศาลฎีกาเป็นเวลา ๖ เดือน จึงได้เป็นผู้พิพากษา

http://th.wikipedia.org/wiki/หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช (http://th.wikipedia.org/wiki/หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช)

;D







กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 27 ก.ย. 10, 08:51
ตึกแม้นฯ นี้เป็นของโรงเรียนไหนกันแน่

พ.ศ. ๒๔๕๐  สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงมีหนังสือขอพระราชทานพื้นที่โรงเรียนสตรีสุนันทาลัย เพื่อทำการปรับปรุงเป็น "โรงเรียนราชินี" สวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัยจึงมีความจำเป็นต้องหาสถานที่เป็นโรงเรียนใหม่ จนสุดท้ายได้มารวมกับโรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นเพราะกำลังมีการสร้างตึกที่ชื่อว่า "ตึกแม้นนฤมิตร์" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้กรมศึกษาธิการในขณะนั้นเป็นผู้ทำสัญญาก่อสร้าง โดยระบุว่า เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จ จะให้ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนสวนกุหลาบ ตึกแม้นนฤมิตร์"

เข้าสู่จุดที่เป็นความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ที่ได้มีการบันทึกไว้ นั่นคือช่วงของการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์...

"สวนกุหลาบ" บันทึกไว้ว่า...

"...ต่อมาได้มีการเปลี่ยน นามโรงเรียนสวนกุหลาบเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์แทนโดยอ้างถึงคำสั่งของปลัดทูลฉลองของกระทรวงธรรมการ แต่ไม่ปรากฏเหตุผลในการเปลี่ยนแปลง..."

แต่ "เทพศิรินทร์" บันทึกเหตุการณ์จากหลักฐานจดหมายเหตุพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ลงวันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๐ มีข้อความเขียนว่า

"...รูปพรรณสันฐาน แลราคาที่จะว่าตกลงกันไว้ไม่เป็นติขัดขวางอันใด มีข้อน่าเสียดายอยู่นิดหน่อยที่เรียกชื่อว่า โรงเรียนสวนกุหลาบ เพราะโรงเรียนได้ตั้งแต่แรกที่ได้เกิดขึ้นในเมืองไทยแล้ว จะสูญเสียไปก็คราวนี้แหละ เพราะเหตุที่ไปตั้งอยู่ที่ตึกแม้นนฤมิตร์ซึ่งเงินของเราก็ได้ออกจริง ๆ แต่ของเราก็มั่งนี่จะทำอย่างไรให้ลองนึกดูที" จดหมายเหตุฉบับนี้แสดงพระราชประสงค์ของ องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าตึกเรียนนี้พระองค์ ได้บริจาคเงินแต่ก็เป็นเพียงบางส่วนจึงไม่ควรที่จะใช้นามว่าโรงเรียนสวนกุหลาบเหมือนโรงเรียนแรกเดิมจึงเป็นเหตุ ให้กรมศึกษาธิการส่งจดหมาย ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ร.ศ.๑๒๑ ถึงมิสเตอร์บรูโน นายช่างผู้รับเหมาก่อสร้างให้ เปลี่ยนนามที่หินแกะจากโรงเรียนสวนกุหลาบ เป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์..."

อย่างไรก็ดี โรงเรียนสวนกุหลาบที่ได้มารวมกับโรงเรียนเทพศิรินทร์ก็ได้ชื่อว่า "สวนกุหลาบอังกฤษเทพศิรินทร์" และในที่สุดก็เป็นสถานที่สุดท้ายสำหรับ "สวนกุหลาบฝ่ายอังกฤษ" เพราะการย้ายครั้งต่อมาคือการย้ายสวนกุหลาบฝ่ายไทยและอังกฤษมารวมกัน ณ "ตึกยาว" ซึ่งเช่าพื้นที่ของวัดราชบูรณะนั่นเอง

http://www.sk.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=273&Itemid=197



กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: paputh ที่ 27 ก.ย. 10, 12:11
ตึกยาวมาลย์อุทิศ และ ตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา โรงเรียนเทพศิรินทร์

เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2453 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์ซึ่งเป็นมรดก
ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี
ให้กระทรวงศึกษาธิการทำการจัดสร้างตึกขึ้นด้านตรงกันข้ามของตึกแม้นนฤมิตร
โดยตึกเรียนหลังนี้ยังคงศิลปะโกธิค ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์
อาคารเรียนหลังนี้สร้างเสร็จในปีถัดมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ทรงพระราชทานนามว่า "เยาวมาลย์อุทิศ"

ปี พ.ศ. 2474 ได้เปิดใช้อาคารเรียนอีกหลังหนึ่งคือ "ตึกปิยราชบพิตรปดิวรัดา"
ตึกนี้เกิดขึ้นจากที่นายพลเอกสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
ได้ทรงให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศพระกุศลถวาย แด่พระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์
พระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา พระมารดาของพระองค์
ตึกเรียนอยู่ติดกันกับตึกเยาวมาลย์อุทิศ โดยตึกหลังนี้ก็ยังคงไว้ซึ่งศิลปะโกธิค


________________________________________________________
http://www.debsirinalumni.org (http://www.debsirinalumni.org)
http://www.debsirin.ac.th (http://www.debsirin.ac.th)


เป็นที่น่าเสียดายที่การขยายตัวของการศึกษาในขณะนั้น
กอปรกับความเสียหายจากสงคราม
จึงทำให้ต้องทุบทิ้งและสร้างตึกสมัยใหม่ขึ้นแทน

หากดูจากการวางผังของทั้งโรงเรียนและวัดเทพศิรินทร์
มีโรงเรียนอยู่ทางทิศตะวันออก ถัดมาคือวัด และถัดมาด้านตะวันตกคือสุสานหลวง
เปรียบได้กับชีวิตมนุษย์ ที่เริ่มต้นปฐมวัย ถึงปัจฉิมวัยไปจบลงที่สุสาน

ไว้จะหารูปที่มีรายละเอียดของสถาปัตยกรรมมาให้ชมกันครับ ว่าน่าเสียดายแค่ไหน


ตึกเยาวมาลย์อุทิศ
(http://img163.imageshack.us/img163/2164/nyow2enlarge.jpg)

ภาพถ่ายทางอากาศ
(http://img84.imageshack.us/img84/2951/ov2489.jpg)
(http://img714.imageshack.us/img714/2483/ov24892.jpg)


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 27 ก.ย. 10, 22:28
ผมมีภาพกรุงเทพมาให้แกะรอยกันครับ ระบุว่าถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ ต้นรัชกาลที่ ๕ เป็นภาพโบสถ์ฝรั่ง มีกำแพงพระนครปรากฎด้วย ชวนสมาชิกลูกน้ำเข้ามามุงกัน


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: djkob ที่ 28 ก.ย. 10, 14:09
สวัสดีค่ะ 

แวะมาทักทาย  ยังคงอู้งานมาติดตามอยู่เสมอนะคะ ได้ความรู้อย่างมากทีเดียว

เวลาที่มีของอร่อยมาฝากก็พลอยอิ่มไปด้วยค่ะ และยังคงติดตามตอนต่อไป

ด้วยความเคารพค่ะ
ดีเจกบ


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 ก.ย. 23, 09:35
เมื่อ ๑๓ ปีก่อน มีปริศนาชื่ออาหารในงานเลี้ยงครั้งสำคัญ

ไปเจอรูปนี้เข้าเลยเอามาฝากกันค่ะ
แต่หนูสงสัยชื่ออาหารในเมนู ค่ะ "เกยย้งก๊กเซียงบี้"
ใครพอจะทราบบ้างคะว่า คืออะไร


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5922.0;attach=14606;image)

มีนักสืบเรือนไทยช่วยกันหาคำตอบหลายท่าน จากข้าวเหนียว  ----> โกฐเชียง ----> เห็ด จนท้ายที่สุด คุณหนุ่มสยาม ให้คำตอบว่าคือ สาหร่ายชนิดหนึ่ง

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5922.0;attach=14627;image)

ปีนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประกาศเมนูอาหาร "๑ จังหวัด ๑ เมนู" (http://www.culture.go.th/culture_th/download/procurement63/image0962.pdf) โดยมีคุณสมบัติขัอหนึ่งคือ เป็นเมนูอาหารใกล้สูญหาย หรือสูญหายแล้ว  "รสชาติ..ที่หายไป The Lost Taste" ทั้งหมด ๗๗ เมนู จาก ๗๗ จังหวัด

๑ ใน ๗๗ เมนู จากจังหวัดระยองคือ "ก๊กซิมบี้" ดร.รังสิมา กุลพัฒน์ (https://www.facebook.com/1107994457/posts/pfbid0zbWn8fPVGMusqNuWVm1sjtvyUcEcF7ZX9Yb4f53q4FTpP45mTEjjoFn7xWekRTZRl/?mibextid=cr9u03) นักวิจัยและอาจารย์ผู้สอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนาให้ข้อมูลว่า

"ก๊กซิมบี้ เป็นอาหารที่มีตำนานและชื่อเรียกที่หลากหลาย เช่นมีตำนานเล่าว่า คอซิมบี้มีโอกาสได้ไปรับประทานอาหารชนิดนี้ที่บ้านเจ้านายท่านหนึ่งที่พระนคร แล้วติดใจจึงมาเล่าให้แม่ครัวที่บ้านฟัง จึงเกิดเป็นเมนูอาหารชื่อก๊กซิมบี้ หรือพบว่า เป็นหนึ่งในเมนูอาหารในงานมงคลสมรสของเจ้าฟ้ามหิดลฯและนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฎ ณ บ้านศาลาแดง ชื่อเมนูว่า “เกยย้งก๊กเซียงบี๊ และรังนกก๊กเซียงบี๊” ทำให้เป็นข้อสังเกตได้ว่า ก๊กเซียงบี๊หรือ ก๊กซิมบี้เป็นได้ทั้งอาหารคาวและหวาน

จากการสืบค้น* พบว่า มีสาหร่ายชนิดหนึ่งชื่อว่า โค่เซียนหมี่ พบได้ตามท้องนามีลักษณะเป็นเม็ดกลมน้ำเงินเข้มแกมเขียว โดยจะทำการตากแห้งเพื่อเก็บรักษาได้นาน เมื่อแห้งแล้วมีลักษณะเม็ดเล็ก ๆ เรียว ๆ เหมือเมล็ดข้าวสาร หรือเห็ดหูหนูดำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Nostoc commune ทางภาคเหนือของไทยเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า ไข่หิน ดอกหิน หรือเห็ดลาบ ชาวจีนเรีกว่า Koxianmi (โค่เซียนมี่) ชาวยุโรปเรียกว่า Witches or Fairies Butter (เนยของแม่มดหรือเนยของนางฟ้า)"

*ส่วนหนึ่งอาจจะมาจาก เรือนไทย (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5922.msg72226#msg72226) หรือไม่หนอ ;D

วิทยาลัยชุมชนระนองได้ทำคลิปสาธิตวิธีทำ "ก๊กซิมบี้" แต่ดูเหมือนจะต่างจากเมนูต้นฉบับตรงเปลี่ยนจาก สาหร่าย Nostoc commune เป็น เห็ดหูหนู

https://www.youtube.com/watch?v=7Ytn47APKss


กระทู้: รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 3
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 04 ก.ย. 23, 11:35
ผมมีภาพกรุงเทพมาให้แกะรอยกันครับ ระบุว่าถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ ต้นรัชกาลที่ ๕ เป็นภาพโบสถ์ฝรั่ง มีกำแพงพระนครปรากฎด้วย ชวนสมาชิกลูกน้ำเข้ามามุงกัน

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5922.0;attach=14645;image)

ภาพปริศนาของคุณหนุ่มสยามมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในกระทู้ถัดไป โปรดติดตาม ;D

รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก 4
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5923.0