เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 19:29



กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 19:29

มีหลังไมค์มายาวเหยียด

ขอตอบในเรือนเพราะอาจจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ


ขอรบกวนช่วยเหลือหน่อยครับ

อยากทราบว่าตำแหน่ง
-กรรมการศาลฎีกา
-อัยการมณฑลราชบุรี
-อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลราชบุรี
-อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลอุดร
-อธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ
-อธิบดีกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ
-ผู้ช่วยอธิบดีกรมพลำพังค์
-เสนาธิการกองพลที่ ๑
-รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๕,๖,๗,๘
-ผู้บังคับการเรือรบหลวงเจนทะเล,หาญทะเล,ลิ่วทะเล
คือใครใน พ.ศ. 2475 ครับ

กับ
-นายพันโท พระสิทธิศรสงคราม (สิทธิ์ ปถะคามิน)
-นายพันโท พระพิทักษ์อาพาธพล (อ่วม ปานสมุท)
-นายพันโท พระธนมัยพิบูลย์ (ผิว วรรณบูรณ์)
-นายพันตรี หลวงไกรรณชิต (มงคล บุณยะกลัมพ)
-นายพันตรี หลวงโหมชิงชัย (เวก สู่ไชย)
ดำรงตำแหน่งใดในปี 2475 ครับ


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 19:44

๑  นายพันโท พระสิทธิศรสงคราม (สิทธิ์ ปถะคามิน)
๒  นายพันโท พระพิทักษ์อาพาธพล (อ่วม ปานสมุท)
๓  นายพันโท พระธนมัยพิบูลย์ (ผิว วรรณบูรณ์)
๔  นายพันตรี หลวงไกรรณชิต (มงคล บุณยะกลัมพ)
๕  นายพันตรี หลวงโหมชิงชัย (เวก สู่ไชย)
ดำรงตำแหน่งใดในปี 2475 ครับ

๑ และ ๒  ข้อมูลไม่ปรากฎค่ะ

อ้างอิง  พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ  ศักราช ๒๔๗๔

๓.      หน้า ๙๔๐      หลวง   (ผิว  วรรณบูรณ)   นายพันโท  หัวหน้าแผนกที่ ๑  กรมปลัดบัญชี  กระทรวงกลาโหม

๔.      หน้่า ๘๒๐        ยศ และ ชื่อตรงกัน       นายร้อยเอก   ปลัดกองพันที่ ๓   กรมทหารราบที่ ๖

๕.      หน้่า ๑๔๓๔      ยศและชื่อตรงกัน         นายร้อยโท    ประจำกรมเสนาธิการทหารบก


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 ม.ค. 11, 19:56
ผู้มีกุศลจิตฝากบอกมาว่าเกิดการผิดพลาดทางเทคนิคในการถามคำถาม
เพราะดันไปถามยศและบรรดาศักดิ์ในปี 2475 ทั้งที่เอกสารอ้างอิงจัดทำขึ้นในปี 2474 :-[
จึงต้องถามด้วยยศและบรรดาศักดิ์เดิม

๑  นายพันโท พระสิทธิศรสงคราม (สิทธิ์ ปถะคามิน).......นายพันโท หลวงวิจารณ์พยุหพล
๒  นายพันโท พระพิทักษ์อาพาธพล (อ่วม ปานสมุท)......นายพันโท หลวงอาพาธพลพิทักษ์


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 20:01

ศาลฎีกา      (อ้างอิง หน้า ๕๓๑ - ๕๓๒)


อธิบดี         ม.อ.ท.  พระยาเทพวิทูรพหุลศรุตาบดี

กรรมการ

ม.อ.ต.  พระยาศรีสังกร

ม.อ.ต.  พระยาหริศจันทร์สุวิท

ม.อ.ต.  พระยาพรหมทัตศรีพิลาส

ม.อ.ต.  พระยาวิชัยราชสุมนตร์

ม.อ.ต.  พระยานลราชสุวัจน์

ม.อ.ต.  พระยาวิกรมรัตนสุภาษ

ม.ต.อ.  พระยามนธาตุราชศรีพิจิตร


นาย เอม.เอฟ.บัสซาด

พระยามนูศรีธรรมประสาท

นาย อาร์. ซี. กียอง

นายเรมอนด์  บี. สตีเวนส์



ผู้ช่วยกรรมการ                       อ.ต. หลวงประเสริฐมนูกิจ

จ่าศาล                                 อ.ต. พระบรรหารนรเหตุ

รองจ่าศาล                             ร.อ.อ.  หลวงเทพบัญชา
  
                                         ร.อ.อ.  หลวงวิเศษนรกานต์

นายเวร                                ร.อ.ท.  ขุนดำรัสระบิน

                                         ร.อ.ท.  ขุนศรีสมบูรณ์
    




กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 20:14

ไม่เป็นไรมิได้ค่ะท่านผู้เจริญ       

หนังสือรวบรวมข้อมูลในปี ๒๔๗๔ ทั้งปี   ออกมาในต้นปีของปี ๒๔๗๕   หลังจากนั้นบรรดาศักดิ์ก็หมดไปทั้งประเทศ


ผู้มีกุศลจิตฝากบอกมาว่าเกิดการผิดพลาดทางเทคนิคในการถามคำถาม
เพราะดันไปถามยศและบรรดาศักดิ์ในปี 2475 ทั้งที่เอกสารอ้างอิงจัดทำขึ้นในปี 2474 อายจัง
จึงต้องถามด้วยยศและบรรดาศักดิ์เดิม

๑  นายพันโท พระสิทธิศรสงคราม (สิทธิ์ ปถะคามิน).......นายพันโท หลวงวิจารณ์พยุหพล
๒  นายพันโท พระพิทักษ์อาพาธพล (อ่วม ปานสมุท)......นายพันโท หลวงอาพาธพลพิทักษ์




๑.  นามสกุลในหนังสือเล่มนี้  เขียน  ปะถะคามิน   นายพันโท  หัวหน้านายทหารฝ่านเสนาธิการกองทัพที่ ๑

๒.  ไม่ปรากฎนามค่ะ


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 20:23


ขอพักไปปั่นกระทู้  อิเหนา  ของ ภาษิต  จิตรภาษา  ที่นับถือก่อนนะคะ  พอกระทู้เตาะแตะ  ก็จะกลับมาอย่างแน่นอน

เข้าใจว่าน่าจะพอตอบได้

เรียนตามตรงว่า นามบรรดาศักดิ์อื่น ๆ  ที่อยู่ข้าง ๆ นามที่ถามมาก็ไพเราะเป็นที่สุด  อยากจะ แถม ให้  แต่คงไม่ได้คะแนนอยู่ดี

ธุระของคุณอาร์ต  ก็คือ ธุระของดิฉันอยู่ดี (เพราะมีอ้างอิงอยู่ทางซ้ายมือแล้ว  ถ้าไม่มี...เรื่องนี้ยาว)

ยินดีที่มีโอกาศได้รับใช้ค่ะ


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 22:06


-อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลราชบุรี



ศาลมณฑลราชบุรี       (อ้างอิงเดิม  หน้า ๕๔๘)

อธิบดีผู้พิพากษา                                      อ.อ. พระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์

ผู้พิพากษา

ร.อ.อ   หลวงสรรพนิตินิพัทธ์

ร.อ.อ.  หลวงพิทักษ์มนูศาสตร์

ร.อ.อ. หลวงวิบูลบัณพิตยกิจ

ร.อ.อ.  สุย  ปริกสุวรรณ

ร.อ.ต.  ขุนสุทธิระบิน


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 22:18

-อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลอุดร(อ้างอิงเดิม  หน้า ๕๔๕)


อธิบดีผู้พิพากษา                    อ.อ.  พระชัยปัญญา

ผู้พิพากษา

ร.อ.อ.  พระอาคุปต์สรคม

ร.อ.อ.  หลวงวรนิติปรีชา


จ่าศาล
นายจวน   เจียรณัย



กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 22:24


-อธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ (อ้างอิงเดิม  หน้า ๖๘๙)


อธิบดี                                       ม.อ.ต.  หม่อมเจ้านิกรเทวัญ   เทวกุล

ผู้ช่วยอธิบดี                                 อ.ท.  หลวงวิจิตรวาทการ



กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 22:35


อธิบดีกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ   (อ้างอิงเดิม  หน้า ๔๒๕ - ๔๒๖)


กองบัญชาการ
อธิบดี                                           เสนาบดีบัญชาการ

เสนาบดีในขณะนั้น คือ  ม.อ.อ. พระวรวงค์เธอ  พระองค์เจ้าธานีนิวัติ


คำถามต้องการข้อมูลเพียงอธิบดีเท่านั้น  ใช่หรือไม่คะ

ผู้ช่วยอธิบดี    คือ                               อ.อ. พระยาผดุงวิทยาเสริม

(ถ้าเว้นไม่ตอบ  ก็คงไม่สมควร)

ปลัดกรมบัญชาการ  คือ                        อ.ต. หลวงสำเร็จวรรณกิจ

 



กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 22:58

-ผู้ช่วยอธิบดีกรมพลำพังค์
-เสนาธิการกองพลที่ ๑
-รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๕,๖,๗,๘


เป็นคำถามที่ตื่นตัวมากค่ะ  กรมพลำพังค์นี่ตอนเด็ก ๆ อยากไปอยู่มากเพราะเข้าใจว่าจะได้อยู่คนเดียว


เสนาธิการกองพลที่ ๑รักษาพระองค์                      พ.ท. พระนรินทร์สงคราม       
ที่ตั้งประจำ  จังหวัดพระนคร


รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๕
ที่ตั้งประจำ  จังหวัดนครราชสีมา  (หน้า ๗๒๙)

ผบ   คือ                                                    พ.อ. พระสิทธิเรืองเดชพล
ปลัด                                                         พ.ท. พระวรราชนุรักษ์

ไม่มีความรู้แน่ชัดว่าปลัด คือ Deputy Commander หรือ Assistant Commander     โปรดตรวจสอบ
ถ้าหาคู่มือเล่มสีเขียวอ่อน  จะตรวจให้นะคะ


กรมทหารราบที่ ๖
ที่ตั้งประจำ  นครราชสีมา
ปลัด                                                          พ.ท. พระนเรนทรรักษา



กรมทหารราบที่ ๗
ที่ตั้งประจำ  จังหวัดนครสวรรค์

ปลัด                                                           พ.ท. พระประชาฤทธิ์ลือชัย



กรมทหารราบที่ ๘
ที่ตั้งประจำ  จังหวัดเชียงใหม่                                พ.ท. พระชนะทุกทิศ



กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 23:03

-ผู้บังคับการเรือรบหลวงเจนทะเล,หาญทะเล,ลิ่วทะเล

 หนังสือเล่มนี้  ไม่มีข้อมูลที่ถามมาค่ะ  ขอแสดงความเสียใจด้วย


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 ม.ค. 11, 23:04
พะ-ลำ-พัง

ทั้งกรมมีอยู่คนเดียว คงจะเหงาแย่ :(

ไม่มีความรู้แน่ชัดว่าปลัด คือ Deputy Commander หรือ Assistant Commander     โปรดตรวจสอบ

Deputy Commander (รองผู้บัญชาการ)
Assistant Commander (ผู้ช่วยผู้บัญชาการ)


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 23:08

เวลาไปทำงานจริง ๆ   เราก็เหมือนอยู่ตามลำพังนั่นล่ะค่ะ

พระโยคีขี่รุ้งก็สอนไว้แล้วนาคุณอาร์ต๔๗


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 30 ม.ค. 11, 23:15
คุณวันดีตอบได้ฉะฉาน
ตรงตามคำถาม แม้จะได้ไม่ครบ
แต่มีความมานะพยายามที่จะหาคำตอบ
ผมให้ 20 คะแนน ;D

วันไหนสงสัยเกิดคำถามขึ้นอีก
จะรบกวนคุณวันดีอีกครั้ง
(คงไม่นานเกินรอ)


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 30 ม.ค. 11, 23:22
Gosh, Art!   You scare me.  

นึกได้ว่า  รองผู้บัญชาการกรม คือ  Chief Administrative Officer

นวนิยายแปลเรื่องทหารที่ขายดีมากที่สุดเล่มหนึ่ง  แปลว่าหัวหน้าฝ่ายบริหาร  ซึ่งว่าไปแล้วทั้งเล่มผิดคำเดียว

ถ้าจะแปลกรมต่าง ๆ ของทหาร  ต้องดูทุกคำค่ะ  ศัพท์ไม่เหมือนกัน

เคยทำงานแปลมาบ้าง


ตัวใครตัวมันนะคะ  คุณอาร์ต๔๗     แล้วไปเจอกันที่จันทบุรีก็ได้


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 31 ม.ค. 11, 06:35
กรมหารราบที่ ๖  ๗  และ ๘  ไม่ทราบว่าจ้นฉบับหนังสือที่คุณวันดีอ้างถึงนั้น  จะมีข้อผิดพลาดหรือเปล่าครับ

กรมทหารราบที่ ๕  จังหวัดนครราชสีมา  ข้อยี้ถูกต้องครับ
กรมทหารราบที่ ๖  จังหวัดนครราชสีมา  ข้อนี้น่าจะเป็นจังหวัดนครสวรรค์
กรมทหารราบที่ ๗  จังหวัดนครสวรรค์  ข้อนี้น่าจะเป็นจังหวัดพิษณุโลก
กรมทหารราบที่ ๘  จังหวัดเชียงใหม่  ข้อนี้ถูกต้องแล้วครับ


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 31 ม.ค. 11, 07:59
ขอบพระคุณ คุณวีมีค่ะที่กรุณาติง  และแก้ไข


หนังสือเล่มนี้หนา เกือบ ๑๗๐๐ หน้า  และข้อมูลส่วนใหญ่เป็น อักรานุกรมขุนนาง  อักขรานุกรมสมณศักดิ์

ข้อมูลเรื่องพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่านหน้าละเอียดยิบ   มาจากหนังสือที่เรียกกันว่าประชาสงเคราะห์

ความเป็นไปได้ที่จะมีข้อผิดพลาด มีค่ะ

เนื่องจากเป็นเอกสารที่โดนทำลายก่อนแจก  ที่แจกไปแล้วก็รีบทำลายกัน  ไม่มีผู้เก็บรักษาหรือใช้งาน  หาได้ยาก


กลับไปอ่านข้อมูลเรื่อง  กองพลที่ ๓ ใหม่  มีหน่วยอยู่ใต้การบังคับบัญชา คือ
กรมทหารราบที่ ๕  ที่ตั้งประจำ  จังหวัดนครราชสีมา
กรมทหารราบที่ ๖  ____________________
กรมหทารปืนใหญ่ที่ ๓ __________________
กองเสนารักษ์ที่ ๓ _____________________

กองพลที่ ๔   ที่ตั้งประจำ  จังหวัดนครสวรรค์   หน่วยใต้บังคับบัญชา คือ
กรมทหารราบที่ ๗  _______________
กรมทหารราบที่ ๘     ที่ตั้งประจำ เชียงใหม่
กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔ ที่ตั้งประจำ จังหวัดนครสวรรค์
กองเสนารักษ์ ที่ ๔     ___________________



คุณ อาร์ต๔๗  มีความอดทนในการตรวจสอบเอกสารอยู่แล้ว  และโดยสามัญสำนึกคงไม่ใช้แหล่งอ้างอิงฉบับเดียวเป็นแน่

ความสนใจของคุณวีมีเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง  เพราะแก้ไขและแนะนำ



กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 08:24

-ผู้ช่วยอธิบดีกรมพลำพังค์
-เสนาธิการกองพลที่ ๑
-รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๕,๖,๗,๘


เป็นคำถามที่ตื่นตัวมากค่ะ  กรมพลำพังค์นี่ตอนเด็ก ๆ อยากไปอยู่มากเพราะเข้าใจว่าจะได้อยู่คนเดียว

หาความหมายของ พลัมภัง มาเสริมคุณวันดี

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอรรถาธิบายคำว่า พลัมภัง ประทานแก่พระยาอินทรมนตรี มีความตอนหนึ่งว่า “อันว่า กลาโหม มหาดไทย และพลัมภัง ทั้ง ๓ คำนี้ มิใช่ภาษาไทย คงเป็นคำมาแต่ภาษาสันสกฤตหรือมคธ (ฝรั่งเรียกว่าภาษา “บาลี”) ได้ลองค้นดูในหนังสือพจนานุกรมภาษาอังกฤษของอาจารย์ซิลเดอร์...แต่คำพลัมภังมีเพียงเค้าเงื่อนในพจนานุกรมเป็น ๒ ศัพท์ คือว่า

 “พลัม” แปลว่า Strength, Power, Force ล้วนหมายความว่า กำลัง อย่าง ๑ อีกนัยหนึ่งแปลว่า “ทหารบก” Army หรือ “กองทัพ” Troop และพจนานุกรมมีอีกคำหนึ่งว่า “อัมโภ” Ambho แปลว่า “ก้อนกรวด” Pebble ถ้าเอาสองคำนี้เข้าสนธิกันเป็น “พลัมโภ” ดูใกล้กับคำพลัมภัง ประหลาดอยู่ที่ตามกฎหมายทำเนียบศักดินา มีกรมพลัมภังอยู่ในกระทรวงมหาดไทย และในกระทรวงกลาโหม เจ้ากรมพลังภังมหาดไทยเป็นที่พระยาจ่าแสนบดี และเจ้ากรมพลัมภังกลาโหมเป็นที่พระยาเสาวราชภักดี ฉันได้เคยสืบถามพวกข้าราชการชั้นเก่าในกระทรวงมหาดไทยว่ากรมพลัมภังแต่เดิมนั้นมีหน้าที่อย่างไรเขาบอกว่ากรมพลัมภังนั้นกล่าวกันมาว่า แต่โบราณเป็นเจ้าหน้าที่สำหรับคุมปืนใหญ่ ถ้าเช่นนั้นชื่อกรมพลัมภังก็อาจจะมาแต่คำ “พลัมโภ” ที่ในพจนานุกรมแปลคำ“อัมโภ” ว่า “ก้อนกรวด” อาจหมายถึงวัตถุที่ใช้เป็นกระสุนของปืนใหญ่ชั้นเดิมก็เป็นได้...”

คุณพ่วง สุวรรณรัฐ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเคยรับราชการที่กรมพลัมภัง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ ได้บันทึกไว้ว่า “กรมพลำพังหรือพลำภังค์ หรือพลัมภังค์ นั้น อยู่ในกรมมหาดไทย ซึ่งเปรียบเสมือน หนึ่งเป็นกรมกำลังพลรวมกับกรมเสนาธิการของกระทรวงกลาโหมนั่นเอง เพราะงานทุกอย่างของกระทรวงนั้น กรมมหาดไทยเป็นผู้ปฏิบัติจัดทำ โดยมีกองพลำพังเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรง งานของกองพลำพังจึงเป็นหัวใจของงานมหาดไทย หรือเป็นกองงานทำหน้าที่สมุหนายกในสมัยโบราณคู่กับตำแหน่งสมุหกลาโหมนั่นเอง...สมัยนั้น หัวหน้ากองพลำพัง ซึ่งเดิมเรียกว่าเจ้ากรม คือคุณพระอรรถนิพนธ์ปรีชา (ฮวด คันธะยุกตะ)

ใน พ.ศ.๒๕๐๕ กองพลัมภัง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมการปกครอง

http://www.komchadluek.net/detail/20100716/66736/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%87.html

 ;D


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 31 ม.ค. 11, 08:28
ตามที่คุณวันดีกรุณาแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมมานั้น  แสดงว่าในการปรับยุบกระทรวงทหารเรือรวมเข้ากับกระทรวงกลาโหมในปี พ.ศ. ๒๔๗๓  คงจะมีการปรับอัตรากำลังกองทัพบกใหม่  จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งกรมทหารไปจากฏครงสร้างเดิมที่จัดไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๖  ซึ่งโครงสร้างเดิมนั้น
กองพลที่ ๑ ประกอบด้วย
กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
กรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์
กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์
กรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
กองทหารพาหนะที่ ๑
กองทหารสื่อสารที่ ๑

ส่วนกองพลที่ ๒ - ๑๐  โครงสร้างอัตรากำลังก็จัดเช่นเดียวกับกองพลที่ ๑  แต่เปลี่ยนเลขนามกรมไปตามนามกองพล  เช่น กรมทหารราบที่ ๑ ร.อ. ก็เปลี่ยนเป็นกรมทหารราบที่ ๒  กรมทหารราบที่ ๑๑  ก็เปลี่ยนเป็นกรมทหารราบที่ ๑๒  กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ ก็เปลี่ยนเป็นกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒  เป็นดังนี้เรื่อยไปจนถึงกองพลที่ ๑๐  ที่ประกอบด้วยกรมทหารราบที่ ๑๐ และ ๒๐  กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐  ฯลฯ


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 ม.ค. 11, 08:31


-อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลราชบุรี



ศาลมณฑลราชบุรี       (อ้างอิงเดิม  หน้า ๕๔๘)

อธิบดีผู้พิพากษา                                      อ.อ. พระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์

ผู้พิพากษา

ร.อ.อ   หลวงสรรพนิตินิพัทธ์

ร.อ.อ.  หลวงพิทักษ์มนูศาสตร์

ร.อ.อ. หลวงวิบูลบัณพิตยกิจ


หลวงวิบูลบัณฑิตยกิจ ค่ะ


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 31 ม.ค. 11, 08:42

คุณ อาร์ต๔๗  มีความอดทนในการตรวจสอบเอกสารอยู่แล้ว  และโดยสามัญสำนึกคงไม่ใช้แหล่งอ้างอิงฉบับเดียวเป็นแน่


ผมก็หาไปเรื่อยเปื่อยล่ะครับ ครบบ้างขาดบ้างตามวิสัยกองเอกสารของสยามประเทศ
ที่ไม่เคยจะมีพอให้ค้นคว้าเท่าไร (ที่มันมักจะขาดมากกว่าครบ)

เรื่องกองทหารในสมัยนั้น (หลังการยุบหน่วยทหารเนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำและการรวมตัวระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงทหารเรือ)
โครงสร้างกองทัพบก จัดแบบกึ่งกองทัพผสม แบ่งออกเป็น 2 กองทัพ คือกองทัพที่ 1 และกองทัพที่ 2
มีแม่ทัพเป็นผู้บัญชาการสูงสุดขึ้นตรงเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ในแต่ละกองทัพ แม่ทัพจะมีกรมทหารม้า 1 กรม (2 กองพัน) กรมทหารช่าง 1 กรม (ทหารช่าง 1กองพัน ทหารสื่อสาร 1 กองพัน) ขึ้นตรง
และมี 2 กองพล โดยมีผู้บัญชาการกองพลเป็นผู้บังคับบัญชา
แต่ละกองพลจะมีทหารราบ 2 กรม (ทหารราบทั้งหมดมี 8 กรม แต่ละกรมมี 2 กองพัน
เว้นแต่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็ก รอ. กับกรมทหารราบที่ 2 รอ. ที่มีกรมละ 3 กองพัน) และกรมทหารปืนใหญ่ 1 กรม (2 กองพัน)

กองทัพที่ 1 (กรุงเทพฯ)                             -นายพลตรี พระยาพิชัยสงคราม (แก๊ป สรโยธิน)
กรมทหารม้าที่ 1 (กรุงเทพฯ)                        -นายพันเอก พระประยุทธอริยั่น (เชื้อ มโหตตระ)
กรมทหารช่างที่ 1 (กรุงเทพฯ)                       -นายพันเอก พระยารามรณรงค์ (หยิ่ว ชินะโชติ)

กองพลที่ 1 รอ. (กรุงเทพฯ)                         -นายพลตรี พระยาเสนาสงคราม (ม.ร.ว. อี๋ นพวงศ์)
กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็ก รอ. (กรุงเทพฯ)        -จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
กรมทหารราบที่ 2 รอ. (กรุงเทพฯ)                   -นายพันเอก พระยามหาณรงค์เรืองเดช (แปลก จุลกัณห์)
กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รอ. (กรุงเทพฯ)               -นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
กองพลที่ 2 (ปราจีนบุรี)                              -นายพลตรี หม่อมเจ้าทองทีฆายุ ทองใหญ่
กรมทหารราบที่ 3 (ฉะเชิงเทรา)                      -นายพันโท พระจตุรงค์วิชัย (เติม วงศ์ไทย)
กรมทหารราบที่ 4 (ราชบุรี)                           - นายพันเอก พระยาพิสัยสิทธิสงคราม (แช่ม พรโสภณ)
กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 (ราชบุรี)                       -นายพันเอก พระยาสรกิจพิศาล (ดำริ อมาตยกุล)

กองทัพที่ 2 (อยุธยา)                                 -นายพลโท พระยาสีหราชฤทธิไกร (ม.ล. ชวย ฉัตรกุล)
กรมทหารม้าที่ 2 (สระบุรี)                             -นายพันเอก พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ทองคำ ไทยไชโย)
กรมทหารช่างที่ 2 (อยุธยา)                           -นายพันเอก พระสกลไกรนุชิต (วาศ ทรรพนันทน์)

กองพลที่ 3 รอ. (นครราชสีมา)                        -นายพลตรี พระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
กรมทหารราบที่ 5 (นครราชสีมา)                      -นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุประภาส)
กรมทหารราบที่ 6 (นครราชสีมา)                      -นายพันเอก พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ (แปลก นิลกุล)
กรมทหารปืนใหญ่ที่ 3 (นครราชสีมา)                  -นายพันเอก พระยาศรีสรศักดิ์ (ทองอยู่ ตุทานนท์)
กองพลที่ 4 (นครสวรรค์)                               -นายพลตรี พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (ม.ล. เล็ก สนิทวงศ์)
กรมทหารราบที่ 7 (นครสวรรค์)                         -นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์เสนา (โต๊ะ ภมรพล)
กรมทหารราบที่ 8 (เชียงใหม่)                           -นายพันเอก พระยาดัสกรปลาศ (ถม ฤกษ์บุตร)
กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 (นครสวรรค์)                     -นายพันเอก พระยาวิเศษสิงหนาท (หร่าย รัตนกสิกร)


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 31 ม.ค. 11, 08:46
ขอบพระคุณคุณเทาชมพูค่ะ

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูสหายร่วมใจเดินทางเดียวกัน
ถ้าได้อยู่กรมนี้  ต้องตามหาคุณเพ็ญชมพูไปอยู่ด้วยกันแน่นอน

วันหน้าอยากคุยกับคุณวีมีเรื่องกองทัพเรืออีก  และขอรับฟังความคิดเห็น



ตอนนี้ต้องไปเฝ้า กระทู้ดุเดือด ก่อนค่ะ


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 03 ก.พ. 11, 20:51
เรียนคุณวันดีที่รักและเคารพยิ่ง

กระผมมีความสงสัยมากมายหลายประการนัก
จึงเรียนถามมาในวันนี้ หวังว่าคุณวันดีจะยินยอมช่วยเหลือครับ ;D

-นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) เคยทราบว่าเป็นเสนาธิการกองทัพที่ 1 จริงหรือไม่ครับ
(เพราะเห็นว่า นายพันโท หลวงวิจารณ์พยุหพล (สิทธิ์ ปะถะคามิน) เป็นหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการกองทัพที่ 1 ไม่รู้ว่าตำแหน่งเดียวกันหรือไม่)
-อยากทราบว่ากรมพระคลังข้างที่ในสมัยนั้น แบ่งส่วนราชการอย่างไรบ้าง และมีใครเป็นผู้บังคับบัญชาในแต่ละกอง
-ขอทราบถึงผู้ที่ดำรงตำแหน่งเหล่านี้
1. ปลัดกรมทหารช่างที่ 2
2. ปลัดกรมทหารราบที่ 1,2,3,4
3. ปลัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1,3,4
-ขอทราบว่าท่านเหล่านี้ดำรงตำแหน่งใดด้วยครับ
1. อำมาตย์เอก พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก)
2. อำมาตย์เอก พระยาโภชากร (ตี๋ มิลินทสูต)
3. อำมาตย์เอก พระยาราชวรัยยการ (บู่ กันตะบุตร์)
4. อำมาตย์เอก พระยาอนุวัติวนรักษ์ (หว้า สุทธิสุวรรณ)
5. อำมาตย์เอก พระยาพนานุจร (เป็ง สาครบุตร)
6. อำมาตย์เอก พระยาอรรถกฤตนิรุตต์ (ชม เพ็ญชาติ)

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับที่คอยช่วยเหลือ


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 03 ก.พ. 11, 21:45

เห็นแต่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติค่ะ  หน้า ๔๘๓ - ๕๒๔

ถ้าใช่จะทำโครงมาให้ดูค่ะ   ขอเป็นวันอาทิตย์  เพราะวันเสาร์จะไปเก็บเอกสารตกหล่นที่คุณสะอาดไปมาเมื่อวานซืน


1. ปลัดกรมทหารช่างที่ 2
    ผู้บังคับการ                             พ.อ. พระยามหาณรงค์เรืองเดช
    ปลัด                                     พ.ท. พระบำราศอรินทร์พ่าย


2. ปลัดกรมทหารราบที่ 1,2,3,4
    ปลัด ร. ๑                               พ.ท. พระรามณรงค์
    ปลัด ร. ๒                               พ.ท. พระบำราศอรินทร์พ่าย
    ปลัด ร. ๓                               พ.ท. พ.ท. พระไกรสรสิทธิสราวุธ
    ปลัด ร. ๔                               พ.ท. พระสุรยุทธโยธาหาญ




3. ปลัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1,3,4
    ปลัดกรมทหารปืนใหญ่ ๑               พ.ท. พระกำแหงมหิมา
    ปลัด __________  ๒               พ.ท. พระพิไชยแผลงศร
    ปลัด __________  ๓               พ.ท. พระอินทร์สรศัลย์
    ปลัด __________  ๔               พ.ท. พระอินทรวิชัย




-ขอทราบว่าท่านเหล่านี้ดำรงตำแหน่งใดด้วยครับ
1. อำมาตย์เอก พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก)
    เลขานุการสภาเผยแพร่พาณิชย์   เชข่นุกาีกระทรวงพาณิขย์
    บ้านหลังโรงจำจำฮั่วเสง   ถนนบ้านหม้อ   พระนคร

2. อำมาตย์เอก พระยาโภชากร (ตี๋ มิลินทสูต)
    ผู้อำนวยการ  แผนกการนา  กรมตรวจกสิกรรม  กระทรวงพาญิชย์

3. อำมาตย์เอก พระยาราชวรัยยการ (บู่ กันตะบุตร์)
    อัยการมณฑลราชบุรี   น.บ.ส.

4. อำมาตย์เอก พระยาอนุวัติวนรักษ์ (หว้า สุทธิสุวรรณ)
    ราชทินนามในหนังสือเขียนว่า  อนุวัตนวนรักษ์ ค่ะ
    ป่าไม้ประจำภาคนครสวรรค์

5. อำมาตย์เอก พระยาพนานุจร (เป็ง สาครบุตร)
    นามของท่านในหนังสือ  เขียนว่า เปง  ค่ะ
    ป่าไม้ประจำภาคเชียงใหม่

6. อำมาตย์เอก พระยาอรรถกฤตนิรุตต์ (ชม เพ็ญชาติ)
    ไม่มีราชทินนามนี้ในปีนี้ค่ะ



((มีราชทินนาม พจนปรีชา  อยู่กระทรวงวังค่ะ    อ่านแล้วก็สดชื่น))


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: samun007 ที่ 03 ก.พ. 11, 23:40
เรียนคุณวันดีที่รักและเคารพยิ่ง

กระผมมีความสงสัยมากมายหลายประการนัก
จึงเรียนถามมาในวันนี้ หวังว่าคุณวันดีจะยินยอมช่วยเหลือครับ ;D

-นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) เคยทราบว่าเป็นเสนาธิการกองทัพที่ 1 จริงหรือไม่ครับ


ขออนุญาตตอบแทนครับ

ถ้าจำไม่ผิด ท่านเจ้าคุณ "กำลังจะเป็น" ครับ แต่พวกคณะราษฏรชิงลงมือเสียก่อน ท่านก็เลยโดนแขวนไปหนึ่งรอบ

รอบต่อมา หลังจากที่ท่านเปลี่ยนจากตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา "กำลัง" จะไปรับตำแหน่งทางทหารอีกครั้ง  ก็เข้าแบบเดิมคือ "โดนสอย" เสียก่อนจะได้รับตำแหน่งครับ


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 06 ก.พ. 11, 21:44
คุณวันดี
ผมมารบกวนอีกแล้ว ครั้งนี้ขอคุณพระ

1. นายพันโท พระวิภัติภูมิประเทศ (ฮะ หุตานุกรม)
2. นายพันโท พระดำรงฤทธิไกร (บรรยง ตุลวรรธนะ)
3. นายนาวาโท พระเจนพิชาจักร (เปลื้อง สุภางคะนันทน์)
4. นายนาวาโท พระสาครยุทธวิไชย (สาคร สิทธิศิริ)
5. อำมาตย์โท พระวิวิธสารา (ถมยา เตาลยานนท์)
6. อำมาตย์โท พระบวรเสน่หา (นพวงศ์ บุรณศิริ)
7. อำมาตย์โท พระสนิทวงศ์อนุวรรต (หม่อมราชวงศ์พร้อมใจ สนิทวงศ์)
8. อำมาตย์โท พระชำนาญตรวจกิจ (ชิต ชิตศิริ)
9. อำมาตย์โท พระศรีพลพัทธ์ (อรุณ บุญหลง)
10. อำมาตย์โท พระปวโรฬารวิทยา (ป๋อ เชิดชื่น)


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 06 ก.พ. 11, 23:43
1. นายพันโท พระวิภัติภูมิประเทศ (ฮะ หุตานุกรม)
    ข้อมูลไม่ปรากฎค่ะ

2. นายพันโท พระดำรงฤทธิไกร (บรรยง ตุลวรรธนะ)
    ผู้บังคับกองพันที่ ๓   กรมทหารราบที่ ๗


3. นายนาวาโท พระเจนพิชาจักร (เปลื้อง สุภางคะนันทน์)
    ราชทินนามในหนังสือเล่มนี้ สะกด  เจนพิชชาจักร  ค่ะ
    ผู้ช่วยผู้บังคับการกองโรงงานการจักร  กรมอู่หลวง 

4. นายนาวาโท พระสาครยุทธวิไชย (สาคร สิทธิศิริ)
    สังกัดกรมเสนาธิการทหารเรือ

5. อำมาตย์โท พระวิวิธสารา (ถมยา เตาลยานนท์)
    สมุหบัญชีชั้น ๑   แผนกการเดินรถ  กรมรถไฟหลวง

6. อำมาตย์โท พระบวรเสน่หา (นพวงศ์ บุรณศิริ)
    เจ้่ากรมบัญชาการต่างประเทศ   กระทรวงการต่างประเทศ   

7. อำมาตย์โท พระสนิทวงศ์อนุวรรต (หม่อมราชวงศ์พร้อมใจ สนิทวงศ์)
    เจ้ากองการต้มกลั่นสุรา  กรมสรรพสามิต

8. อำมาตย์โท พระชำนาญตรวจกิจ (ชิต ชิตศิริ)
    สารวัตรเอก   กองตรวจกรมศุลกากร

9. อำมาตย์โท พระศรีพลพัทธ์ (อรุณ บุญหลง)
    ปลัดกรมบัญชีกลาง        กระทรวงพระคลัง

10. อำมาตย์โท พระปวโรฬารวิทยา (ป๋อ เชิดชื่น)
      นามสกุลเดิม  ใน เอกสารฉบับนี้ เขียนว่า  เชิดชื่อ ค่ะ
      อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย   จังหวัดพระนครกลาง




กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ก.พ. 11, 12:11
คุณพระอีกครั้ง

1. นายพันโท พระภักดีศรีสงคราม (แจ้ง สิงหเสนี)
2. นายพันโท พระวิชิตชาญณรงค์ (ห้อย ณ บางช้าง)
3. นายพันโท พระเวชชศาสตรวโรสถ (พริ้ง สิถิติรัต)
4. นายพันโท พระวิเศษโยธาภิบาล (ปาน สุนทรจันทร)
5. นายพันโท พระอาทรธุราวุธ (หม่อมหลวงอภิรุม ชุมสาย)
6. อำมาตย์เอก พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร)
7. อำมาตย์เอก พระประกาศกลศิลป (พิณ บูรณยุกติ)
8. อำมาตย์โท พระชลเขตอำรุง (ตู้ อิงคุทานนท์)
9. อำมาตย์ตรี พระวิบูลย์ธนกิจ (เชื้อ มัฏฐานนท์)
10. อำมาตย์ตรี พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.พ. 11, 13:22


1. นายพันโท พระภักดีศรีสงคราม (แจ้ง สิงหเสนี)
    ปลัดมณฑลทหารบกที่ ๓  (นครราชสีมา)   

2. นายพันโท พระวิชิตชาญณรงค์ (ห้อย ณ บางช้าง)
    ปลัดมณฑลทหารบกที่ ๒(ปราจีณ) และ ที่ ๖(ราชบุรี)

3. นายพันโท พระเวชชศาสตรวโรสถ (พริ้ง สิถิติรัต)
    ผู้บังคับกองเสนารักษ์ที่ ๒   พระนคร

4. นายพันโท พระวิเศษโยธาภิบาล (ปาน สุนทรจันทร)
    ประจำกรมจเรทหารบก

5. นายพันโท พระอาทรธุราวุธ (หม่อมหลวงอภิรุม ชุมสาย)
    ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะวิชาเคมีกีมช่างแสงทหารบก

6. อำมาตย์เอก พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร)
    หัวหน้าแผนกอายุศศ่สตร์  คณะแพทศสตร์  จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    กรรมการผู้แทนกระทรวงธรรมการในสภาการแพทย์
    บ้นหลังโรงพยาบาลกลาง พระนคร

7. อำมาตย์เอก พระประกาศกลศิลป (พิณ บูรณยุกติ)
    ราชทินนามในเอกสารฉบับนี้  สะกดว่า  ประกาศกลศิลป์ ค่ะ

     
8. อำมาตย์โท พระชลเขตอำรุง (ตู้ อิงคุทานนท์)

9. อำมาตย์ตรี พระวิบูลย์ธนกิจ (เชื้อ มัฏฐานนท์)

10. อำมาตย์ตรี พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)



กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 07 ก.พ. 11, 15:22
7. อำมาตย์เอก พระประกาศกลศิลป (พิณ บูรณยุกติ)
    ราชทินนามในเอกสารฉบับนี้  สะกดว่า  ประกาศกลศิลป์ ค่ะ
    นายช่างบำรุงทางแขวงหาดใหญ่  กรมรถไฟหลวง

     
8. อำมาตย์โท พระชลเขตอำรุง (ตู้ อิงคุทานนท์)
    ราชทินนาม ในเอกสาร สะกด  ชบเขตต์อำรุงค่ะ
    เจ้าพนักงานจัดซื้อที่ดินสร้างการชลประทาน


9. อำมาตย์ตรี พระวิบูลย์ธนกิจ (เชื้อ มัฏฐานนท์)
    ราชทินนาม  เอกสารสะกด  วิบูลธนกิจ
    ผู้ตรวจการฝิ่น  มณฑลพายัพ

10. อำมาตย์ตรี พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร)
      สารวัตรใหญ่สหกรณ์   กระทรวงพาณิชย์


รับประทาน คุณท่านจะสำรวจอะไรหรือเจ้าคะ 


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 07 ก.พ. 11, 15:28
หามิได้ขอรับคุณวันดี
ผมเพียงอยากรู้อยากเห็นเป็นประมาณเท่านั้นล่ะครับ มิมีสิ่งใดมากเกินไปกว่านี้ด้วยความสัตย์จริง

และผมจะถามต่อเลยว่า
1. มณฑลทหารบกของไทยนั้นมีกี่แห่ง และใครดำรงตำแหน่งปลัดมณฑลทหารบกในขณะนั้นบ้าง
2. คณาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีท่านใดบ้างครับ (ทุกคณะ)


กระทู้: ข้อมูลข้าราชการ ๒๔๗๔
เริ่มกระทู้โดย: Wandee ที่ 08 ก.พ. 11, 07:07

๑.     ๖ แห่ง
        พ.อ. พิชัยชาญณรงค์
        พ.ท. พิชิตชาญณรงค์
        พ.ท. พระภักดีศรีสงคราม
        พ.ท. พระศรีราชสงคราม
        พ.ท. พระวิธานสรเดช
        พ.ท. พระวิชิตชาญณรงค์

๒.     แหล่งข้อมูลอื่นน่าจะสมบูรณ์กว่าค่ะ