เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ~|ตุ๊กตา|~ ที่ 24 เม.ย. 06, 19:12



กระทู้: สีไว้ทุกข์ สมัย ร.๕
เริ่มกระทู้โดย: ~|ตุ๊กตา|~ ที่ 24 เม.ย. 06, 19:12
 เอาเรื่องสีไว้ทุกข์ สมัย ร.๕ มาฝากคะเรื่องนี้  จากหนังสือสารคดี ของ หม่อมเจ้าหญิง พูนพิศมัย ดิศกุล

ดำ   ผู้ใหญ่หรือผู้ที่อายุมากกว่าผู้ตาย
ขาว  ผู้เยาว์หรือผู้ที่อายุน้อยกว่าผู้ตาย
ม่วงแก่หรือน้ำ้เงินแก่ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นญาติเกี่ยวดองกับผู้ตายแต่ประการใด

ฉะนั้นในงานศพ หรืองานเผา เราจะได้รู้ว่าใครเป็นอะไรกับใครผู้ที่แต่งตัวไปงานนั้นๆ จะต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับตัวเอง จึงจะแต่งสืได้ถูก ถ้าผู้ใคแต่งสีและอธิบายไม่ได้ มักจะถูกดูหมินว่าเป็นผู้ไม่มีความรู้ แม้แต่เรื่องเลือดเนื้อของตัวเอง


กระทู้: สีไว้ทุกข์ สมัย ร.๕
เริ่มกระทู้โดย: ~ ขนมปัง ~ ที่ 28 เม.ย. 06, 20:46
 ความรู้ใหม่ ขอบคุณค่ะ


กระทู้: สีไว้ทุกข์ สมัย ร.๕
เริ่มกระทู้โดย: วสวสฺต์ ที่ 28 เม.ย. 06, 23:51
 เพิ่มเติมอีกนิดนะครับ

อ่านเจอในเกิดที่วังปารุสก์ (ถ้าจำไม่ผิด)

สีขาว-ดำ นอกจากดูจากอายุแล้ว ยังดูที่ยศ ศักดิ์ ด้วยครับ

เช่น ทูลกระหม่อมจักรพงษ์ทิวงคต มีท่านชายฝ่ายหน้าทรงดำมา แล้วอ้างว่าเป็นพี่(คือมีอายุมากกว่า) ก็ไม่ได้ครับ ต้องทรงขาว


กระทู้: สีไว้ทุกข์ สมัย ร.๕
เริ่มกระทู้โดย: Rinda ที่ 29 เม.ย. 06, 11:17
 พระมหากษัตริย์ ถือว่าเป็นใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน จึงทรงดำเสมอ การแต่งขาวถือว่าเป็นการให้เกียรติผู้ตาย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จในงานถวายพระเพลิงพระราชธิดาองค์โตที่บางปะอิน
ก็ทรงแต่งขาว เป็นการยกย่องให้เกียรติ


กระทู้: สีไว้ทุกข์ สมัย ร.๕
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 พ.ค. 06, 11:50
 พระเจ้าลูกเธอที่มีงานถวายพระเพลิงที่บางปะอินคือพระองค์เจ้าหญิงศรีวิลัยลักษณ์ ฯ กรมขุนสุพรรณภาควดี   ประสูติแต่เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
แต่ไม่ใช่พระราชธิดาองค์โต    ทรงเป็นพระองค์ที่สองค่ะ
พระราชธิดาองค์โตคือพระองค์เจ้าหญิงผ่อง    ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาม.ร.ว.แข พึ่งบุญ
ทรงมีพระชนม์ยืนยาวถึง ๗๕ ปี  สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ ค่ะ


กระทู้: สีไว้ทุกข์ สมัย ร.๕
เริ่มกระทู้โดย: สะใภ้จ้าว ที่ 11 พ.ค. 06, 21:43
 งืมๆ มีสาระมากๆเลยครับ