เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: longhorn ที่ 20 ก.ย. 05, 22:28



กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: longhorn ที่ 20 ก.ย. 05, 22:28
 คือว่าอาจารย์เค้าเอามาสอนแต่เผอิญไม่มีในหนังสือเรียนน่ะครับ จดไม่ทันเพราะอาจารย์เค้าพูดเอาไม่ใช่เขียนให้จด วานรบกวนทีนะครับ จะนำไปอ่านสอบ


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: longhorn ที่ 20 ก.ย. 05, 22:37
 ช่วยหน่อยนะครับอีก5วันก็จะสอบแล้ว ยังไม่ได้อ่านวิชานี้เลย


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 21 ก.ย. 05, 07:26
 คร่าวๆ นะครับ เพราะไม่มีตำราใกล้ตัว อิอิ

อิสานปุระ มีกล่าวถึงในบันทึกการเดินทางของพระถังซำจั๋ง กับ พระอิ้จิง ครับ กล่าวว่าอยู่ทางตะวันออกของทวารวดี อายุก็ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๓ ครับ

ซึ่งบันทึกจีนอีกสายหนึ่ง ก็เรียกอาณาจักรนี้ว่า "เจินล่า" หรือ แบบไทยๆ คือ "เจนละ" นั่นแหละครับ

เข้าใจว่า คงเรียกกันตาม ราชธานี สมัยนั้นเมืองอะไรเป็นราชธานี ก็เรียกเอาเมืองนั้นเป็นชื่ออาณาจักร จีนก็จดไว้ แล้วเสียงก็เพี้ยนๆ ไปตามสำเนียงจีน

สรุปว่า ทั้ง "อิสานปุระ" และ "เจนละ" ก็คืออาณาจักรเขมรโบราณ "สมัยก่อนเมืองพระนคร" ครับ

รูปแบบศิลปะก็เรียกกันว่าเป็นแบบสมโบร์ไพรกุก

นั่นแหละครับ  ไปหาหนังสือประมาณนี้อ่านได้ หรือไม่ก็ไปค้นใน google ด้วยภาษาอังกฤษว่า Isanapura นะครับ อย่าไปดูเว็บไทย เพราะข้อมูลไม่ค่อยมีอะไร ถ้าอ่านภาษาฝรั่งเศสได้ก็ดูเว็บฝรั่งเศสดีที่สุด เพราะเรื่องพวกนี้ ฝรั่งเศสศึกษาไว้เยอะครับ

จวนตัวแบบนี้ ไปหาหนังสือที่ห้องสมุดดีที่สุด ภาษาไทยก็ประมาณ อาณาจักรเจนละ ก็พอได้ครับ

ขอให้ทำคะแนนได้ดีๆ นะครับ

 http://www.khmerstudies.org/events/preabstracts.htm  
เป็นบทคัดย่องานสัมมนาเกี่ยวกับ อารยธรรมก่อนเมืองพระนคร

Study on an ancient city, ISANAPURA
IchitaShimoda and Chhum Meng Hong

This report presents the outline of the research result in 2002-2003 by Sambor Prei Kuk Conservation Project that are joint project between Ministry of Culture and Fine Arts and Waseda University.

ISANAPURA is an archaeological site that is identified as ancient capital of Chenla in 7th century.

This capital is surrounded by square shape of moats and embankment in 2 by 2km. Although this geometrical shape of capital has been found by the aerial survey in the beginning of last century, no researcher carried out a reconnaissance survey up to now. This survey is not finished completely according to the parts of deep forest. But we found many ruins of brick tower and traces of civil work. Some of them constitute the complex temple by multiple towers and moat. Besides, one ancient road is confirmed from the west side of the capital and it is conjectured that would be connected intermittently to Angkor monuments. This reports described about these new archeological findings and capital structure that was emerged by this survey in advance of the archeological excavation survey hereafter.


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: longhorn ที่ 22 ก.ย. 05, 17:04
 อ่าๆจะไม่ทันแล้วครับ ถ้าได้ละเอียดกว่านี้จะดีมากๆเลยครับ

ปล.ขอบคุณมากครับ


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 24 ก.ย. 05, 01:41
 Indeed thanks to Khun Hotacunus.......for such a nice help. Your contribution makes me to know more about this ancient city as well.

However, only thing that’s bothering me now is....... what is happening to Thai education system? .....

I have seen a lot of Thai students, from pre-university until post-university, asking help about their works with the expectation of getting whole or full story   !!

Why cannot Thai students find this information by themselves? Is it hard to use Google search? Is it hard to go and ask the lecturer for his/her suggested books? .......

Particularly when they are involving with their own assignment or examination.......It is his own task to find the information themselves, isn't it ?.......... Yet, if they ask just for the idea of how to find more information from us.....it is OK !!.....BUT HE/SHE SHOULD NOT EXPECT ALL INFORMATION OR THE WHOLE STORY FROM US ....... It shows no responsibility for his/her study.......  Again it would be OK if they want to know something in addition to their school task, or to improve their knowledge regardless their school assignment or scored-works………for this case, I would help them as much as I can…….

Personally, khun Hotacunus, you did a good job....because not only that you gave him brief information, you also gave him the way how to find more information......... On the other hand, Khun Longhorn, you should help yourself…..

Sorry indeed, if my opinion will hurt someone……however, this is what the fact that we need to think about……I used to be teacher/lecturer before….I did, until now, do want my students to learn to do something by their own…….. Help can be asked for….but in case no where can go….. I always tell my students….don’t expect full answer when you ask the question, since you will learn nothing from the full coverage……but do expect the way how to pull more information…..this is you will learn !!

Lastly, I am not in Thailand now……it is obvious seen that there are too much different between Thai students and the students in this country….

Regards
Andreas


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 25 ก.ย. 05, 22:11
 Khun Andreas  makes several interesting points. While I understand the panic of  khun Longhorn,  I also understands that khun Andreas prefers a student to help himself first before he is entitled to seek help. Let me share my college experience with you.  

First of all, I am trying to figure out if  khun Andreas is Thai. Being a Thai or farang does make some difference in, for example,  attitudes toward classroom behaviors. While it is ok for Thai students to borrow lecture notes or just  look at their friends’ homework,  it is absolutely NOT ok to do that in  classrooms in America, let alone copy. I admire the values that have been passed on  to American kids, especially honesty. Even if  a student cannot do well on  the exam, s/he  will not cheat or copy  neighbor’s work although an opportunity may open up. I see honesty as a stereotype of American students. I am not saying that all American students do not cheat, nor do I make guarantee  they will not. I just mean typical American students  I have seen.

Unlike American kids that earn money after  high school and are quite responsible, for example skipping class for no reason, Thai kids need not make a living as their parents provide every thing. They play too much in school and start to worry  one mth prior to the final exam. So whatever they can think of  that can help them overcome the exam, they just simply take it regardless of conscience.

I guess the Thai people sympathize those who admit guilt and want to render help without considering if a person deserves it.   That’s why  khun Hotacunus  did a good giving help.

ps. Pls do not ask me if Martin Luther King's dissertation was a mirror image of somebody's else work. In college we students were required  to pronounce the word loud..Plagiarism.


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 25 ก.ย. 05, 23:04
 น้อง longhorn เวลาจะถามคำถาม  ต้องตามแบบมีเทคนิคบ้างค่ะ
-อย่าถามตรงประเด็นเปะๆ เพราะเว็บนี้คงไม่เสริมให้นักเรียนได้อะไรง่ายๆโดยไม่ต้องออกแรง ถามให้ใกล้เคียงจุดที่เราต้องการจะรู้ และผู้ตอบจะได้ไม่รู้สึกผิด ที่มีส่วนช่วยเราตอบ นอกนั้นหาเสริมเอาเอง
-วางแผนเนิ่นๆ อย่ารอให้ถึงเวลาสอบ แล้วกำลังใจจะเสีย
   นึกถึงบางครั้งเราอยากถามสิ่งที่อาจกลายเป็นคำถามโง่ เรายังต้องทบทวนคำถามเราว่าทำอย่างไรจึงจะดูโง่น้อยที่สุด สมัยดิฉันเป็นนักเรียนปี 1 ทำงานสัปดาห์ละ 20 ชม. ลงทะเบียน 6 วิชา เฉพาะวิชา Humanity มีหนังสือนอกเวลาที่ต้องอ่าน 6 เล่ม เช่น Oedipus the King, Romeo & Julias, the Animal Farm, และอย่างอื่นอีก 3 เล่ม ทุกอาทิตย์การบ้านวิชานี้คือเขียน essay 1,000 คำ  เช่น critical essay, argumentative essay  ถามว่าอ่านจบไหม บางทีก็อ่านไม่จบหรอกค่ะ แต่อาศัยว่าวางแผนล่วงหน้า
   ดิฉันรู้จักกับอาจารย์สอนวรรณคดีอังกฤษที่เกษียณอายุแล้ว ถ้าถามเขาตรงๆ ก็คงไม่มีใครบอกหรอก แต่ดิฉันต้องเลียบเคียงถาม เช่น climax ของเรื่องนี้อยู่ตรงไหน หรือบางครั้งก็ยอมรับตรงๆว่าจะไม่อ่าน Romeo หรอก ยอมเสี่ยงเอา เพราะในบรรดา 6 เล่ม เรื่องนี้น่าจะยากที่สุดสำหรับคนที่เคยอ่าน Old testament และยังหวาดผวากับอังกฤษโบราณ  ฝังใจว่าอะไรก็ตามที่อายุเกิน 200 ปี ดิฉันจะไม่อ่าน
คำตอบที่ได้รับ คือ โรมีโอ เป็นเรื่องที่ไม่น่าพลาดอย่างยิ่ง “Why don’t you go line by line with me” ทั้งๆที่ใจอยากให้ได้เรื่องย่อที่สุด แต่ก็ยอมนั่งอ่านกับอาจารย์จนจบ

ประเด็นที่อยากบอกน้องคือ น้องอาจต้องหาเพื่อนเรียนบ้าง เพื่อให้ช่วยเหลือกันได้ยามฉุกเฉินค่ะ


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 27 ก.ย. 05, 01:18
 ขอบคุณครับ คุณ Andreas

อืม.... ก็คงขึ้นอยู่กับระบบการศึกษา เนื้อหาวิชา และความสนใจส่วนบุคคล มั้งครับ

ระบบการศึกษาของไทย ผมเองก็ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้เป็นยังไงบ้าง แต่สมัยผมก็สอน แล้วให้ท่องแหลก อิอิ จะว่าได้ผลหรือเปล่า ผมว่าขึ้นอยู่กับวิชาด้วยครับ

คณิตศาสตร์ แน่นอนว่าต้อง "ท่องจำ" สูตรคูณ สูตรความสัมพันธ์ต่างๆ ให้ขึ้นใจ ไม่งั้นทำข้อสอบไม่ทัน ถ้าอ่อนสูตรคูณ ยิ่งเรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้นจะยิ่งลำบาก

แต่พวกวิชาประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา พวกศีลธรรม ท่องยังไงผมก็จำไม่ได้ครับ อิอิ ก็ท่องให้สอบผ่าน สอบแล้วก็ลืม ส่วนตัวนะครับ ผมว่าระบบท่องจำ ไม่ได้ช่วยให้ผมจำได้เลย อิอิ แต่ที่ผมจำได้ เข้าใจก็เพราะว่า "ต้องมีความสนใจ" ครับ

ผมว่าสังคมไทย ไม่ได้ให้ความสำคัญในการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ และโบราณคดีอย่างจริงเหมือน อารยประเทศอื่นๆ พวกเอกสารโบราณก็ไม่ค่อยมีนักวิชาการศึกษาวิจัยกันให้ปรุโปร่งกันเท่าไหร่ (ได้ยินว่า คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นต้นคิดนำเอา มหากาพย์ ท้าวฮุ่ง มาชำระตีพิมพ์ใหม่ แค่ได้ยินก็ดีใจแล้วครับ เห็นว่าจะขาย 28 กันยานี้แล้ว)

บทความทางวิชาการด้านนี้ก็มีน้อยมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับสังคมศาสตร์ด้านอื่นๆ การตรวจสอบความถูกต้องก็ไม่ค่อยทำกัน รุ่นเก่าว่าไงก็ว่าตามกันมาเป็นร้อยปี รุ่นใหม่บางคนออกมาบอกไม่ใช่ แต่ภาครัฐก็เฉยๆ ไม่ได้รู้ร้อนรู้หนาวอะไร ตำราว่ามาไง ก็ว่างั้นต่อ เดี๋ยวค่อยแก้ถ้าไม่ลืม แต่ก็เห็นลืมทุกที อิอิ

เอาเป็นว่าระบบการศึกษาของไทย เราเน้นพวกวิชาเรียนแล้วหาเงินได้เยอะ เช่น หมอ วิศวะ แล้วก็พวกวิชาเศรษฐศาสตร์

หมวดสังคม ภาษาไทย ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ไม่ได้รับความนิยม เพราะจบมาถ้าทำงานตรงสาขาก็เงินน้อย

ก็เลยกำลังจะเป็นสังคมไม่มีรากอยู่มั้งครับ อิอิ รากเริ่มเน่า ! :(

คือไม่ได้หมายความว่า ทุกคนต้องหันมาเรียน มาสนใจวิชาประวัติศาสตร์ และโบราณคดีนะครับ เพราะความสนใจนั้นบังคับกันไม่ได้ อยู่ๆ ให้ผมไปเรียนหมอก็ไม่ไปหรอก เพราะแค่เห็นมีดผ่าตัดกรีดลงไปบนเนื้อก็รับไม่ได้แล้ว อิอิ

แต่ผมหมายความว่า คนที่เกี่ยวข้อง คือ นักวิชาการ ครู อาจารย์ และนักการศึกษาของภาครัฐ ที่ทำงานอยู่ในแวดวงนี้ ต้องผลิตผลงานวิชาการออกมาสู่สาธารณะกันบ้างอ่ะครับ ซึ่งประเทศไทยเรายังมีบทความที่วิจัยความรู้ใหม่ๆ ในงานด้านนี้น้อยอยู่มากครับ

ส่วนเรื่องการตั้งคำถามของผู้เข้ามาตั้งกระทู้นั้น ผมมองว่าก็อาจเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในเรื่องนั่นๆ ก็ได้ครับ คือ ถ้าถามไม่มาก ก็อาจไม่ได้สนใจเรื่องที่ถามเท่าไหร ก็ถามมาตอบไปครับ

แต่ถ้าถาม โดยแสดงความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับเรื่องที่ถามมาด้วย อย่างนี้ก็แสดงว่า ผู้ถามมีความสนใจเรื่องนั่นๆ อยู่ และอยากรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ อย่างนี้ ก็ออกความเห็นมา ผมก็ออกความเห็นไปครับ


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 27 ก.ย. 05, 02:22
 Thank you so much Khun Nuchan for your kind contribution, also for your valuable perspective....

Yes, you are right. I am Thai. The reason why I could not type in Thai is because my office computer doesn’t support Thai front. Therefore I have to use English instead. However, if it is possible, I do want to use Thai Language.

First of all, I did not mean to blame Khun Longhorn specifically….since I have been talking about the education system. In this case, not only students should know how to get more formation wisely or seek for help wisely, but lecturer or teacher should give them guideline to get more information also.

I definitely agree to all of your suggestions given to Khun Longhorn about how to construct the questions, also how to prepare for examination including having studied partners. These suggestions are practically able to help Khun Longhorn to obtain good academic results.  

Also as I said to Khun Hotacunus that he did a good job giving both information and references to Khun Longhorn. This has shown that Khun Hotacunus has the “Teacher Attitude”….This, I can say, is an example of a modern teacher.

Again, I would like to address how weak of Thai Education System. I don’t know what has been going on in the classroom where Khun Longhorn studies this subject.  Personally I think, the lecturer should at least give the reference to students in case they want to learn more. I am pretty sure that Khun Nuchan must have experience in American University or other places. In my academic experiences, lectures provide significant major references to class right before the lecture is began. Lecturer in modern university acts only to address the principle idea plus some major details; however, the rest must be gathered by students themselves. Therefore I have been forced to learn more by myself. Yet, if I have some question regarding each topic, the open discussion could be possibly proposed to lecturer. Anyway, as far as I know….there are some lectures that refuse to give references or allow having open discussion. This is what I have said “The failure of Teaching”

Let me emphasize more why I have said that Thai education system is weak. It has been obviously seen that Thai students respect their teacher too much, or somehow change into fear. Never had I said that respect is bad, however, it should not prevent the interaction between students and teacher. What would happen if teacher allow students approaching whenever the questions has raise? What would happen if student feel free to hand up among the classroom and introduce the questions? What would happen if the lecture hour is not just one-way communication from teacher but using two-way communication between students and teacher? What would happen if both students and teacher realize and perfectly understand their role? ……………….anyway, there are ton of questions need to be asked and need to have answer……    

Please accept my apology that I have to refer to Khun Longhorn again because, an example of educational failures has been stated via this case. This reflects an old-fashioned of educational system, describing that the child center has not been implemented.  

I have been writing this paragraph as to address some points that I think all of us should concern regardless who you are. I believe that if we can improve our educational system, we can help expedite the national development.

Regards
Andreas


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 27 ก.ย. 05, 03:29
 Also thank you to Khun Hotacunus for your kind contribution.

I miss your response because I started typing my message at 1.15 PM. I have opened the home page since then, also did some work……..so I have finished it at about 3.20 PM. Then I copied my long message and posted into this page…….  Once the page was updated, I have seen your reply……

Refer to your perspectives; I totally agree that it depends on educational system, subjects and personal attitude.

Speaking of history, it is so sad that this subject has been left behind in our society. It seems like most of people don’t think about the importance of our history.
However in my perspective, history is very important since it reflects the root of our nation. History tells us who we are, somehow tells us what we should do in order not to repeat making mistakes like in the past. Even though I am scientist, I do realize that I should learn more about our history. Although I cannot make history becomes alive in our society, I am glad that at least I can pass along our history to my next generations.

Actually I don’t want to mention this following idea which is slightly associated with political issue. Yet, I have to.

It was because of history why we still have problem in 3 southern provinces, wasn’t it? It was because Thai people don’t know about the history, wasn’t it? Therefore, some people took the chance to write the new history…..for the purpose of convincing people to do whatever they want people to do…….  (I know that there are lots of reasons why we have problems in these 3 provinces, yet, I am sure that history is considered as one.)

Since history can bring good thing to our society, it also can bring bad thing to us too…… Now some people use history as a weapon to destroy us, why don’t we build the shield to prevent the attack? This shield is easily be made and of course it will be powerful….. This shield is the understanding of history….if the history is well understood, I think we can bring back the harmony and glory of Thailand again.  

I would like to address finally that we are losing our country‘s strengths, because our root is weak….. Whenever history cannot reflect our root, our glory and our harmony……..it is time that we are losing ourselves….

Regards


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 27 ก.ย. 05, 15:13
 ถึงคุณ Andreas…ระบบการเรียนการสอนของไทยคงไม่เลวร้ายนักหรอกค่ะ น่าจะเป็นที่ตัวบุคคลมากกว่า เพราะว่าเพื่อนในห้องนี้หลายๆท่านที่เมล์คุยกัน  แต่ละท่านมีภูมิรู้ดีมาก ซึ่งดิฉันทึ่งในความใฝ่รู้และความเป็นนักอ่านที่ช่วยแบ่งปันความรู้และสร้างสังคมวิชาการให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนหนึ่งที่ดิฉันคิดว่ามีส่วนในการหล่อหลอมบุคคลเหล่านี้ก็คือสถาบันการศึกษานั่นเอง

ดิฉันเองจำหน้าเพื่อนหรือชื่อเสียงเรียงนามเพื่อนปี 1 ไม่ได้แล้ว ครั้งหนึ่งจำได้แค่ว่านัดกันไปสยาม แต่เข้าไปเซ็นชื่อแล้วคลานเรียงกันออกมาหลังห้องในวิชาของ รศ. สุพัตรา สุภาพ ที่เลคเชอร์ในห้องท้องพระโรงใหญ่ มีนักเรียนเป็นร้อยคน นิสัยเช็คชื่อเสร็จแล้วหนีที่ไม่น่าเอาอย่าง คงไม่มีนักเรียนที่ประเทศอื่นใช้กัน

การศึกษาที่ต่างประเทศอาจต่างกับประเทศไทย ที่ฝ่ายแรกเน้นหนักทางอธิบาย ไม่มีการวงกลม (multiple choices) ทุกๆอย่างแสดงออกผ่านการเขียน essay ทั้งหมด  ครั้งหนึ่งดิฉันเข้าไปสอบวิชาอารยธรรมตะวันตก ซึ่งอนุญาตให้เปิดหนังสือและสมุดโน้ตได้ (You can use all means except look at your neighbor)แต่ก็ทำข้อสอบไม่ได้อยู่ดีเพราะว่าไม่ได้ซื้อหนังสือนอกเวลาเล่มหนึ่ง ดิฉันต้องออกมาโทรศัพท์ให้พี่สาวไปที่ห้องสมุด เข้าไปเสริ์ชคำว่า “Alexander the Great plague” หรือ “ancient plague” และยืมหนังสือมาส่งให้ดิฉันหน้าห้องสอบโดยด่วน วันนั้นพี่สาวพึ่งกลับจากโรงพยาบาลเพราะใบพัดแครกถั่วแมคคาเดเมีย ในห้องแลบตกใส่หัวแม่เท้า เย็บหลายเข็ม พี่ก็ยังอุตส่าห์เขยกไปห้องสมุดให้

อีกครั้งหนึ่งข้อสอบให้ compare and contrast คดีวอเตอร์เกท และอิหร่าน คอนทรา ดิฉันคิดว่านักเรียนทั้งห้องก็คงไม่มีใครทำได้ ดิฉันต้องออกมาโทรศัพท์ถามอาจารย์ท่านหนึ่งที่เป็นเพื่อน จึงกลับเข้าไปเขียน essay ได้ ดังนั้นดิฉันคิดว่าการมีเพื่อนเรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก และตัวเราเองก็สำคัญ อย่ายอมแพ้ค่ะ


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 05, 16:11
 มานั่งฟังค่ะ
สะดุดใจกับคำถามของคุณ Longhorn ที่ว่า
"อาจารย์เค้าเอามาสอนแต่เผอิญไม่มีในหนังสือเรียนน่ะครับ
จดไม่ทันเพราะอาจารย์เค้าพูดเอา ไม่ใช่เขียนให้จด"

อ้าปากค้างไปเลย  สมัยนี้เขาเรียนกันสบายยังงี้เชียวหรือ  อาจารย์เขียนให้จด?
เจ้าของกระทู้เรียนชั้นไหน ดิฉันไม่ทราบ  แต่น่าจะไม่ต่ำว่า ม.ปลาย
ม.ปลาย ครั้งที่ดิฉันเรียน ร.ร. ที่อาจารย์นิรันดร์เคยสอน   ไม่เคยมีอาจารย์คนไหนเขียนให้จดเลย
ท่านเข้ามาในห้อง แล้วก็พูด พูด พูด
เราก็จด จด จด  
จดหมดทุกคำไม่ทันก็จดแบบย่อ   แล้วค่อยกลับไปทบทวนเอาที่บ้าน ยืมเพื่อนดู ว่าตกหล่นตรงไหนบ้าง
ผลพลอยได้อีกอย่างก็คือจดเลกเชอร์ได้เร็วมาก  เพราะผ่านการจดแบบ non-stop มาตั้งแต่มัธยม

มันช่วยได้เยอะมากเลยละค่ะ ตอนไปไหนมาไหนเห็นเรื่องอะไรน่าสนใจ  หรือสัมภาษณ์ใคร  อยากจะบอกเป็นเกร็ดความรู้ให้คุณ Longhorn ลองเริ่มทำดูบ้าง จะช่วยเรื่องเก็บวิชาความรู้ได้ดี
เพราะจากที่อ่าน เข้าใจว่าคุณจดไม่ได้เลย ถ้าอาจารย์ไม่เขียนให้จด


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.ย. 05, 16:40
 ถ้าเอาคุณ longhorn เป็นกรณีศึกษา
นักวิชาการ ข้างบนนี้ และท่านอื่นๆที่เข้ามาอ่าน จะวิเคราะห์ว่าอะไร

1) คุณ longhorn ต้องมาขอความช่วยเหลืออิสานปุระ เพราะจดไม่ทัน
วิธีแก้   ฝึกนักเรียนให้จดเลกเชอร์เป็น

หรือ
2) คุณ longhorn ไม่สนใจประวัติศาสตร์  เลยไม่จด  (หรือไม่พยายามจด)
วิธีแก้   ทำยังไงก็ได้ให้นักเรียนเห็นความสำคัญของวิชานี้

หรือ
3) คุณ longhorn ไม่คิดจะค้นคว้าในห้องสมุด หรือใช้ กูเกิ้ล
วิธีแก้    บอกวิธี search ให้  เพราะการค้นคว้าเองจะทำให้เรียนรู้ได้มากกว่า อย่างน้อยก็เอาวิธีค้นไปประยุกต์กับการเรียนวิชาอื่นๆได้

คุณ longhorn บอกว่ามีเวลาอีก 5 วันเท่านั้น ก็แสดงว่าก่อนหน้านี้ไม่ได้เตรียมตัว  ก็คงกะดูรวดเดียวหนเดียวแล้วเอาไปสอบ
แสดงว่า
วิชานี้คงไม่ใช่วิชาสำคัญ เมื่อเทียบกับวิชาอื่นๆที่ต้องใช้เวลามากกว่านี้ เพื่อให้ได้เกรดโดยรวมดีกว่านี้
วิธีแก้    คงต้องแก้ที่หลักสูตร  ขนาดคนวางหลักสูตรยังไม่เห็นความสำคัญ  เด็กนักเรียนจะเห็นได้ยังไง


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 27 ก.ย. 05, 23:22
 Dear Khun Nuchan
Again, Thank you for your response. At first I did not mean to prolong the discussion this far. I just want to make some interesting points using Khun Longhorn as a case study. Finally it ends up with a valuable discussion demonstrated multiple perspectives. Hopefully it would not be annoying you and all the readers.

Anyway, I understand that not only I should focus onto education system but I must think about personal attitude & behavior also. I realize that not all of components in education system are weak. Only some components go bad, the rest is still good. Since I had experienced in Thai education system when I studied my undergraduate degree including the first postgraduate degree, thus I dare not to say that everything is bad. Actually I am quite optimistic ……(555555) …..

The reasons I don’t want to talk about personal attitude & behavior because I avoid refer to Khun Longhorn. Meanwhile I have to respect his desperate. As well as I do not want to hurt anybody feeling, therefore, talking about the system itself might give me a better opportunity to make my personal ideas.  Hopefully Khun Nuchan will understand me.

To be honest, I did have a great time in my previous study in Thailand. However in the same time I have been forced to follow the bad system’s components as well. Most of my lecturers always say that this present educational system, although we are in globalization, is not as good as in the past when they were studying. Personally I have no idea what was happening in the past regarding our educational system. But I am sure that it must be better, since I have seen lots of senior people who are still having incredible knowledge, for example His Excellency Prame Tinlasulanon,   Prof. Dr. Nithi ……ect….

Anyway, I have to wrap my writing up now……just want to tell Khun Nuchan that I totally agree to your ideas about the combination of personal attitude and institute which have the most influence to the great outcome. Also having friends when you are studying is important…..

Regards
Andreas


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 27 ก.ย. 05, 23:47
 Dear Khun เทาชมพู

It is my pleasure to see you here in this topic. Indeed thank to your contribution and principal analysis.

Actually I have started to talk this long since I saw Khun Longhorn question. It obviously reflected lots of things.

Refer to your questions, may I have my opinion onto the third question.
I think, searching is very important. Basically it requires no skills, except English Skill if “Google” has been using.

For example if I use “ISANAPURA” as the key word, I have found lots of website providing the information, as

“Chenla (called by Chinese or "Kambuja" by Khmer) was a more direct ancestor of the Khmer Empire. Its history first appear in the Chinese Chronicles as a Funan's vassal state who gained its independence from Funan around the year 550 A.D.  Within the next 60 years, Chenla succeeded to conquer its predecessor the Funan, and gradually absorbed its people as well as inherited the Indian cultures.
The first capital of Chenla, named Isanapura, was established around 613 A.D. at Sambor Prei Kuk in Kompong Thom province of modern Cambodia.
Later on Chenla was divided into northern and southern states, of which the Chinese Chronicles refers to as "Chenla of the Land" and "Chenla of the Sea", respectively.  The center of the northern Chenla was at the Champassak province of today southern Laos, whereas that of the Southern Chenla occupied the former Funan's territory along the Mekong Delta and the coast. In 715, both Chenla states were further broken up into several smaller states.
During the 8th century, another naval state emerged into a strong "Java Empire" across the sea.  Dispute among the historians about the center of this Java Empire still has not been resolved, as it  could be either the Java Island of today Indonenesia or the Malay Peninsula.  Java vigorously expanded its territory and sailed to invade and finally conquered the weak Chenla states.
Ironically, the fate of Chenla and the invasion of Java Empire planted the actual seed for the establishment of the Angkor Empire.” (http://www.cambodia-travel.com/khmer/chenla.htm)
Or, here another information
1,500 Years Ago in Southeast Asia
The Chenla people, also called the Kambuja (or Cambodian in the modern form of the word), from the mountains of Laos invade and overthrow the Phnom empire around 550 AD. The Cambodians are united into the first Khmer kingdom by king Jayavarman I, 657-695, with his capital at Isanapura. Their expansion is stopped after 700 AD by an invasion from Java.

The Hindu Mons people, ethnically related to the Khmer, establish the kingdom of Dvaravati in northern Thailand around 450 AD. Dvaravati becomes part of the Khmer empire by 700 AD.

Many Thai tribes migrate from the area around southern China and Vietnam west across the Mekong River. A number of minor kingdoms, under Khmer domination, are founded by 600 AD. One branch settles in Burma and becomes known as the Shans. The Lao people settle the mountainous region now called Laos. The area of modern Thailand is settled by the Siam people (Shan and Siam come from the same root word). (From: http://www.edunetconnect.com/TimeMachine/southeastasia-1500.php)
As I have quoted above, you can see there is plenty of ways to go on and search more information after finish reading them. The most important is ‘one’ need to have time to read and focus……

For the 1st and 2nd question, Khun Nuchan and Khun Hotacunus should be the right person to give further discussion. Hopefully they will have time…..

Regards
Andreas

PS. I personally hate taking note kharb….I prefer making short notes, just the main topic….then I go and find books or website to read more kharb…..


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 ก.ย. 05, 08:00
 ดิฉันคิดว่าสาเหตุหนึ่งที่นักเรียน(หรือแม้แต่นิสิตนักศึกษาไทย) ไม่ชอบใช้ google ค้นข้อมูล
เพราะข้อมูลที่ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งพวกเขาอ่านยาก  เว้นแต่พวกที่เรียนมาทางด้านภาษา หรือสนใจภาษาโดยตรงแล้ว   จะพบว่าภาษาอังกฤษเป็นยาหม้อใหญ่
อย่างข้อมูลข้างบนนี้  นักเรียนกี่คนที่ไม่รู้ศัพท์ประวัติศาสตร์มาก่อน จะเข้าใจได้ทันทีว่า Chenla คือ เจนละ  ไม่ใช่อะไรก็ไม่รู้  ชื่อ "เชนลา"

ที่พูดมานี่ไม่ใช่แก้ตัวให้ว่า เมื่อภาษาอังกฤษอ่านยากจะตายก็มาขอข้อมูลจากคนไทยด้วยกันให้เล่าให้ฟังหน่อย ง่ายกว่า
แต่จะบอกว่ามันเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเรียนไทยไม่อยากใช้ google เท่านั้นน่ะค่ะ
วิธีแก้   ฝึกภาษาให้คล่อง  โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพราะมันจำเป็น  ไม่ว่าเรียนสายวิทย์หรือสายอาชีพก็ตาม


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 28 ก.ย. 05, 20:06
 หลายๆคนเก่งภาษาอังกฤษมาแต่อ้อนแต่ออก บางคนไขว่คว้าเกือบตายกว่าจะได้มา ดิฉันอยู่ในประเภทหลัง จึงเห็นใจน้องคนนั้นมาก

มาตรฐานการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเราแตกต่างกันมาก โรงเรียนมัธยมประจำตำบล สอนได้ไม่แกร่งเท่าโรงเรียนประจำจังหวัด และโรงเรียนจังหวัดก็อ่อนกว่าโรงเรียนกลางกรุงแถว ถ. อังรีดูนังต์
ถ้าเรายึดหลักแสตนดาร์ดไดเซชันของร้านอาหารฟาสต์ฟูด ที่รสชาติของแฮมเบอร์เกอร์ของร้านในซีกโลกเหนือต้องเหมือนกับร้านอื่นทั่วโลก และนำมาใช้กับการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษบ้านเราก็จะดี  เช่น เมื่อจบหลักสูตร
ชั้น ม. 3  นักเรียนต้องรู้ศัพท์อย่างน้อย  700 คำ ต่อไปนี้ และรู้จักรูปประโยคต่อไปนี้....  
ชั้น ม. 6  นักเรียนต้องรู้ศัพท์อย่างน้อย 1,00 คำ ต่อไปนี้ และรู้จักรูปประโยคต่อไปนี้....  
น่าจะช่วยยกระดับการสอนภาษาอังกฤษ (minimum requirement) และบีบช่องว่างให้แคบลงได้ ถ้าต้องการรู้เหนือกว่านั้นก็สุดแต่จะไขว่คว้า
********
ดิฉันเคยส่งรายการคำศัพท์ที่นักเรียนมัธยมอเมริกันต้องเรียน ประมาณ 1,000 คำ ไปให้อาจารย์ที่สอนวรรณคดีช่วยลดจำนวนลงว่าศัพท์คำไหนบ้างที่ควรรู้ ท่านก็ลดจำนวนลงมาให้ และบอกว่ายังสามารถลดลงได้อีกถ้าต้องการให้ลดมากกว่านี้ ศัพท์สูงๆจะพบใน national newspapers เช่น นิวยอร์คไทมส์ วอชิงตันโพสต์ เป็นต้น ส่วนศัพท์พื้นๆลงมา ก็พบในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

มีครั้งหนึ่งดิฉันใช้ศัพท์คำว่า  exude เพื่อจะอธิบายว่าแก๊สรั่วที่เมืองโบปาล อาจารย์ที่สอน (ก็ท่านนี้แหละที่บังคับให้นักเรียนพูดตาม 3 ครั้งว่า Plagiarism, Plagiarism, Plagiarism นักเรียนมองหน้ากันแล้วขำ) ถามแบบเอาเรื่องเอาราวว่าแปลว่าอะไร  ดิฉันตอบว่าแปลว่ารั่ว ooze อาจารย์ตอบว่า “แล้วทำไมถึงไม่ใช้ ooze ไปใช้ละตินทำไม” อ้าวดิฉันจะไปทราบได้อย่างไรว่าคำไหน big word ที่ต้องหลีกเลี่ยง เปิดพจนานุกรมไทย-อังกฤษ พบคำว่า exude ก็หยิบมาใช้เลย
   ตอนนี้ทราบแล้วค่ะ พออ่านมากขึ้น เห็นมากขึ้นก็จะทราบไปเอง อยากรู้อังกฤษต้องฝึกค่ะ


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: ถาวภักดิ์ ที่ 29 ก.ย. 05, 15:01
 กระทู้นี้แตกสาขาได้หลายกิ่ง

จึงขออนุญาตเลี้ยวไปหาหัวข้อโปรด  ดูจากข้อมูลที่คุณAndreas นำมาลงเป็นตัวอย่างแล้ว ก็ขัดหูขัดตากับทฤษฎีเก่าที่ได้รับอิทธิพลจากยุคเซเดส

จึงขอบอกเล่าไว้(อีกแล้ว)ว่า ทฤษฎีดังกล่าวยังมีความไม่ลงตัวอยู่มาก  เช่นการที่บอกว่าเผ่าไทค่อยๆเคลื่อนตัวลงจากเทือกเขาอัลไต มาตั้งราชอาณาจักรที่น่านเจ้า แล้วจึงเคลื่อนลงใต้ต่อลงมา เป็นทาส เป็นอาณานิคมของเขมรโบราณอยู่หลายศตวรรษ  แล้วจึงค่อยมีราชอาณาจักรอิสระในภูมิภาคเป็นครั้งแรก เพียงแค่ 700 กว่าปีนี่เอง

นักโบราณคดีทั้งจีนทั้งไทย พยายามหาหลักฐานมายืนยันเรื่อง ถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขาอัลไต กับอาณาจักรน่านเจ้าเป็นของไท ยังไม่ได้

น่าสงสัยในความบริสุทธิ์ใจของเซเดส ในการสร้างทฤษฎีที่เอื้อประโยชน์ต่อฝรั่งเศสในยุคล่าอาณานิคม  เพราะเซเดสเป็นนักการเมือง  เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

แม้แต่ศรีวิชัย ก็ยังแสดงความเป็นเซเดสจ๋า เรียกเป็นชวา ทั้งที่ปัจจุบันก็ชัดเจนขึ้นมากว่า ศูนย์กลางของศรีวิชัยควรอยู่ในเขตประเทศไทย

ขอจุดประกายให้ท่านที่สนใจใฝ่ศึกษาความเป็นมาตามความเป็นจริงของชนชาติไทไว้สั้นๆเท่านี้  หวังว่าก่อนตายจะได้เห็นหลักฐานที่แน่นหนา พร้อมการยอมรับอย่างกว้างขวางระดับโลก ในประวัติศาสตร์ของชนชาติไท-ลาว ที่สามารถลำดับย้อนหลังไปได้หลายพันปี


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: ju ที่ 29 ก.ย. 05, 21:01
 ตกลงว่า  น้องเขาคงจะสอบไปแล้วมั้งคะ

ความจริงอิศานปุระ มีข้อมูลเซิร์ทภาษาไทยเยอะแยะมากมายใน กรูเกิล   ขอให้แตกคำพูดออกไป เช่น เจนละ  ขอมโบราณ  อาณาจักรเจนละ   ประวัติขอม  หยิบเอาคำสงสัยคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอีศานปุระ  แล้วค้นหาในกรูเกิล   คิดว่าน่าจะเกินพอสำหรับการสอบในระดับของน้องเขา   ไม่ต้องถึงกับภาษาอังกฤษก็ได้  


การใช้กรูเกิล  บางทีง่ายแสนง่าย  แต่ก็ไม่ได้ข้อความครบถ้วน อย่างที่เราอยากจะได้   หอสมุด  น่าจะเป็นทางออกที่ดี   ในสมัยเรียนจุชอบเข้าหอสมุด  มันมีเสน่ห์ในการค้นหาความรู้  แม้ว่ามันจะไม่สะดวกสบายเหมือนใช้คอมฯ ก็ตาม

เดี๋ยวนี้  นักเรียน  นักศึกษา  ทำอะไรง่ายๆ ไปหมด  ก๊อปในเนตมาตัดต่อ เพิ่มเติม (หรือทั้งดุ้น)  เสร็จแล้วก็ส่งอาจารย์  

เชื่อแน่ว่า สมัยก่อน สมาชิกของที่นี่  คงต้องนั่งอ่าน  นั่งทำความเข้าใจก่อนจะทำรายงานเป็นแน่

บางที  ...  ไอที ก็เป็นดาบสองคม  ถ้าคนไม่รู้จักใช้  และหวังพึ่งมันอยู่ตลอดเวลา  จนไม่พัฒนาตัวเอง


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 29 ก.ย. 05, 22:00
 จริงของคุณ Ju ค่ะ สมัยนี้ นักเรียนบางทีเสริ์ชเป็นแต่ในเน็ท ถ้า periodicals บางอันที่ไม่ปรากฎบนเน็ท เขาจะใช้แมนนวลเสริ์ช  เป็นไหม?

ถ้ากลับไปยุคที่ต้องเอาแคตาลอกที่รวบรวมรายชื่ออาร์ติเกิล ที่ปรากฎใน periodicals มาไล่เรียงดู จะรู้ว่ามันสิ้นเวลาเป็นกอง แต่เป็นการฝึกทักษะการใช้ห้องสมุดที่ดีเยี่ยม

ไม่ทราบว่าสมัยนี้ มีการสอนการใช้ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยไหมคะ


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 05 ต.ค. 05, 23:03
 To Khun Nuchan, regarding No. 16

I have read this statement “หลายๆคนเก่งภาษาอังกฤษมาแต่อ้อนแต่ออก บางคนไขว่คว้าเกือบตายกว่าจะได้มา ดิฉันอยู่ในประเภทหลัง จึงเห็นใจน้องคนนั้นมาก”…….

Actually I am also in the second group. I grew up in the Far East of Thailand and attended in provincial school. Comparing my school with school in Bangkok or Christian school, standard of teaching English is much different. However I have tried so hard to learn and use English as much as I can. Because I realized that English is important and it acts like a door opened to another world.  It doesn’t mean that I don’t care about whom cannot command English, but I think everybody can improve their language abilities if he/she has put head and soul onto.

Your idea of standardization is perfect. I totally agree with that. However, it would be time consuming. Since there are multifactor involved in the evolution and standardization,  I am sure that Ministry of Education had tried so hard to reform the English teaching standard without reaching the successful step. In rural area in Thailand, a lot of English Teachers are still having hard time teaching English for some reasons. In addition, an Old Fashion English Teaching Style is too much focused onto Grammatical Application. It brings up boring condition into classroom, also prevents the expression of speaking English among students. Modern English Teaching which focuses on natural English expression via all skills must be intensively applied throughout the country.  

I remember that when I graduated from high school, I even could not speak English or listen to native English speaker’s speaking at all. After all, I started to learn English again…..this time I pretended that I was a kid. I started from pronouncing English Alphabet, speaking simple sentences like what kids did. I stared to copy the accent of my American Teacher. Then I moved onto more difficult sentences………  meanwhile I studied grammar as well, as just to check whether my English expression is right or wrong.  I had been practicing this way until I was offered lots of job which required English abilities. Finally before I came here in States, I had worked part-time as English-Thai interpreter, anyway; while my official job was environmental scientist.

For all of my respect reader, I do not mean to show off myself or else………but I do want to share my experience to those who have been thinking that there is no way to improve their English abilities….. or those who have been giving up to learn more English.


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 05 ต.ค. 05, 23:52
 To Khun ถาวภักดิ์ , regarding No 17


Regarding the conflict of “History”……pointing out where we are from…..is still under the discussion. Personally I have been staying in touch with this topic by accident. Since one of my friend who is genetic scientist is trying so hard to answer where we are from……He is using genetic information to investigate whether the immigration southward is right or wrong.

The idea is to use genetic code called “micro satellite” in human DNA throughout the area of Northern Provinces, NANJAO Kingdom and reach to Southern China. The hypothesis has arisen as “If Thai people are originally migrated from China, we might have seen the identical micro-satellite among native people in those area motioned. Anyway, the study is still under the construction. Thus I don’t know yet what is going to be……….

At lease I would like to say that in the near future we can strongly identify our root of glory…………


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 06 ต.ค. 05, 00:07
 ตอบคุณถาวภักดีครับ

เรื่องของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ นี้ ผมว่า "ท่านตกเป็นจำเลยสังคม" ของพวกต่อต้านฝรั่งไปแล้ว เพราะถ้าได้มีโอกาสอ่านงานของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ อย่างจริงๆ จังๆ แล้วจะเห็นว่าท่านวิเคราะห์หลักฐานอย่างเป็นเหตุเป็นผล "ตามแต่หลักฐานที่มีในสมัยท่านจะอำนวย" ดังนั้น จะกล่าวหาว่าท่านทำไปเพราะอิทธิพลทางการเมืองก็ไม่ถูกต้องนักนะครับ

คือท่านว่าตามหลักฐาน หลักฐานที่ว่าคืออะไร ก็คือพวกสิ่งก่อสร้าง และจารึกต่างๆ ที่พบในประเทศไทยนั่นแหละครับ เพราะส่วนใหญ่แล้วจารึกที่มีอายุอยู่ในรุ่นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ จะเป็นจารึกภาษามอญโบราณ กับเขมรโบราณทั้งสิ้น และหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ ก็ล้วนแต่เป็นจารึกเขมร ดังนั้นจารึกภาษาไทยจริงๆ แล้วก็มีมาแค่ ๗๐๐ ปีเท่านั้นนะครับ ผมเห็นว่าท่าน ศ. ยอร์ช เซเดส์ ก็สันนิษฐานตามหลักฐานที่ปรากฏ

ด้านนั้นหลักฐานมันชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ที่นี่ ต้องเคยยอมรับในอำนาจเขมรมาก่อน

หลักฐานมันมีแค่นี้ แต่นักวิชาการท่านก็มีสิทธิตั้งข้อสมมุติฐาน ท่านตั้งสมมุติฐานว่า สุโขทัยแต่เดิมมา "น่าจะ" เป็นประเทศราชของเขมรมาก่อน เพราะว่า ตำนานก็มีเล่าไว้ว่าพระร่วงต้องส่งสวยน้ำ นี่คือ "ข้อสันนิษฐาน" นะครับ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง

ที่ผิดคือ "ผู้รับข่าวสาร" คือ สักว่าแต่รับ แล้ว "เชื่อเป็นตุเป็นตะ" ไม่พิจารณา ที่ร้ายคือ "คนที่รับไปสอนเด็ก" ไม่บอกว่าเป็นเพียงแนวคิด แต่กลับยึดเป็นตำรา แตะต้องไม่ได้ ท่องจำไปซะ

นี่คือโชคร้ายของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ ครับ ทำคุณ บูชาโทษ พวกที่หมั่นไส้นักวิชาการฝรั่ง (ซึ่งค้นคว้าเรื่องประเทศไทย มากกว่าคนไทยเอง หรือว่าใช้คำว่า "อิฉจา" ดี อิอิ) ก็ถือโอกาสโจมตี ศ.ยอร์ช เซเดส์ โดยไม่คำนึงว่า สิ่งที่ท่านคิดนั้น "เป็นแนวคิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้" ถ้ามีคนเก่งและกล้าที่จะเสนอ เท่าที่ผ่านมา ก็มีบ้างที่กล้าที่จะเสนอความคิดแบบใหม่ แต่ท่านเหล่านั้นก็อดไม่ได้ที่ "แขวะ" ศ.ยอร์ช เซเดส์ อยู่ร่ำไป สงสัยจังว่าทำไม ???? ความอิจฉา หรือเปล่า อิอิ

ส่วนเรื่องทฤษฏีคนไทยมาจากอัลไต ไม่ใช่ของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ นะครับ เป็นของ หมอด็อด ที่ได้เคยศึกษาตระกูลภาษาในแถบจีนตอนใต้ แล้วพบว่าคล้ายกับภาษาไทยมา เลยคิดมากไปหน่อยว่า คนกลุ่มนี้เดิมน่าจะมาจากแถบอัลไต หนีจีนมา ว่างั้น

"ก็เป็นข้อสมมุติฐาน" แต่บังเอิญพวกนักวิชาการไทยหัวใส ยุคเผด็จการคลั่งชาติ เห็นว่าทฤษฏีนี้เหมาะสมในการ "ปลุกปล้ำ" (อิอิ) ให้คนไทยเป็น "ชาตินิยม (ขี้นก)" ก็เลยนำมาขยายความกันเป็นตุเป็นตะ จนมี "นิทาน" ชื่อ "หลักไทย" ออกมาสู่สายตาประชาชน ยึดถือกันเป็นตำราหลายปี

ส่วนเรื่องอัลไต กับ น่านเจ้า ปัจจุบันถือว่า "จบ" ไปแล้วครับ เพราะว่า นักวิชาการจีนหลายท่าน ศึกษาทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม สรุปว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคนไตเลย เป็นคนคนละกลุ่มกัน

แล้วทำไมเรื่อง อัลไต มันฝังใจกันจัง ????
ก็เป็นเพราะว่าระบบการศึกษาไทยที่ไร้ประสิทธิภาพ คนทำเนื้อหาที่ไม่มีความเป็นนักวิชาการดี ยังคงมีการสอนทฤษฏีอัลไตกันอยู่ แต่บอกว่าเป็นทฤษฏีเก่า ก็แค่นั่น ถ้าให้ถูกคือ บอกนักเรียนไปเลยว่า ครั้งหนึ่งมีการสันนิษฐานที่ผิดไปจากความจริงว่า คนไทย มาจากอัลไต และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเผด็จการทหาร เพื่อส่งเสริมความเป็นชาตินิยม ตามก้นฝรั่งยุโรป อย่าง ญี่ปุ่น ฮิตเลอร์ และมุโสลินี นี่แหละครับ ไม่มีสอนกัน นักเรียนไทยจึงฝังหัวกับ "อัลไต ทฤษฏีเก่า" ก็แค่นั่น อย่างนี้เรียกว่า "ไม่กล้าแตะ"

ส่วนเรื่องศรีวิชัย ขอตอบตามความเห็นนี้ครับ

--- แม้แต่ศรีวิชัย ก็ยังแสดงความเป็นเซเดสจ๋า เรียกเป็นชวา ทั้งที่ปัจจุบันก็ชัดเจนขึ้นมากว่า ศูนย์กลางของศรีวิชัยควรอยู่ในเขตประเทศไทย ---

ถ้าได้ศึกษางานของ ศ.ยอร์ช เซเดส์ อย่างละเอียดแล้วจะพบว่า สาเหตุที่ทำให้ท่านคิดเช่นนั้นก็เพราะว่า หลักฐานทางโบราณคดี หลายๆ ประการ เช่น โบราณวัตถุ โบราณสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศิลาจารึกที่พบมากมาย กับทำเลที่ตั้งที่ใกล้กับช่องแคบมะละกา ท่านจึง "ฟันธง" ว่าอยู่ที่บาเล็งบังครับ ไม่ใช่ชวา

แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ ต้นราชวงศ์ของศรีวิชัยอาจมาจากชวา เพราะว่า มีพุทธสถานที่ใหญ่โตมาก เกินกว่าเมืองเล็กๆ จะสร้างได้ เมืองที่สร้างสิ่งก่อสร้างแบบนั้นได้ก็ต้องมีอำนาจมากในระดับภูมิภาคครับ

ส่วนในประเทศไทยนั้น มีนักวิชาการไทยหลายๆ ท่านพยายามชี้ว่าศรีวิชัย อยู่ที่ไชยา แต่หลักฐานที่นำมาสนับสนุนค่อนข้างอ่อนมากครับ ที่อ่อนคือ
๑. ศิลาจารึก ที่น่าจะเกี่ยวกับศรีวิชัย มีพบเพียงหลักเดียว แต่ในขณะที่สุมาตรา และชวา มีพบมากมาย

๒. ทำเลที่ตั้ง มาอยู่ทางอ่าวไทย ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงในการควบคุมการค้าทางทะเลตรงช่องแคบมะละกา

ถ้าเช่นนั้น ไชยา จะอยู่ในฐานะอะไร ? ผมมองว่าน่าจะเป็นประเทศราชหรือของศรีวิชัยครับ ทั้งนี้รวมไปถึงตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ด้วยเช่นกัน

นี่เป็นการมองโดยอิงจากหลักฐาน ไปหาผลนะครับ ไม่ใช่ ตั้งผล แล้วไปหยิบหลักฐานมาสนับสนุน

เรื่องศรีวิชัยนี้ยังเปิดกว้างครับ ถ้ามีหลักฐานใหม่ๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

ส่วนความเห็นสุดท้ายที่ว่า
--- ขอจุดประกายให้ท่านที่สนใจใฝ่ศึกษาความเป็นมาตามความเป็นจริงของชนชาติไทไว้สั้นๆเท่านี้ หวังว่าก่อนตายจะได้เห็นหลักฐานที่แน่นหนา พร้อมการยอมรับอย่างกว้างขวางระดับโลก ในประวัติศาสตร์ของชนชาติไท-ลาว ที่สามารถลำดับย้อนหลังไปได้หลายพันปี ---

ผมก็ของหวังด้วยอีกคนครับ อิอิ ตอนนี้นักวิชาการบ้านเราก็ทำการศึกษากันเยอะพอสมควรแล้วหละครับ แต่ปัญหาคือ "ขาดการนำองค์ความรู้เหล่านั้น มารวมกัน" แล้วก็ "ขาดการนำเสนอข้อมูล ที่ง่ายต่อสาธารณะ" บ้านเราขาดอยู่ ๒ อย่างนี้แหละครับ แล้ว ผมก็คิดก็คงขาดต่อไปอีกนาน อิอิ


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 06 ต.ค. 05, 00:55
 To Khun Ju and Khun Nuchan, regarding No. 18-19

Thank you, Khun Ju for your response Also khun Nuchan.

The point that I cannot use Google search in Thai because I cannot type Thai……..kharb.
Although sometime I used my labtop to perform some search using Thai word…..There were only few of information shown up. And most of the time when I clicked that link…..it ended up at page error    

I strongly agree that library is the most useful tool to do searching…….Yet it is time consuming as well. Personally I love to use electronic resources since it is easy….(I am a bit lazy)

In my field, we basically rely on Google search at first…….then go to the real text resources….(Google search always give us the idea of where we have to go next).

Most of the time I use “journal search database” ………………. And to be honest to Khun Nuchan, I am not good at periodical search or manual search at all.

In my previous university in Thailand, there is only one library used periodical search….. Every time I went to this place I had to bring my friend to help me out………. Nowadays I always use electronic search since my work place has electronic library……my manual search skill even goes worst.  

By the way, searching for information is obviously easy comparing with re-organizing these obtained data. In order to re-organize or to re-write the report from multiple data, it definitely requires writing skill including conceptual skills. From my experience, I spent 2-3 days searching for the information needed…….but I spent 2-3 months to re-organize these information. Every time I have to do literature review in Thai, I end up thinking of my Thai language teachers in high school. I usually think that if my Thai language teachers read my review, I would be hit badly (555555555) …..Again every time I have to do literature review in English, it was even worst….. I spent more time and frequently think of my English writing teachers…….I am sure that they will hit me hard too when they read my writing…(555555555)

Finally, I usually think that If I could go back to the past….I would have learnt more and followed the recommend of my teachers regarding the writing skill.

Regards
Andreas


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 06 ต.ค. 05, 18:10
 มีคำแนะนำบางประการให้คุณ Andreas เพื่อให้การเขียน essay ไม่เป็นของยากมาก เมื่อคุณฝึกเขียนไปเรื่อยๆ อาจจะเปลี่ยนใจว่า พอได้ อาร์ติเกิลครบ ก็เท่ากับว่าเปเปอร์เสร็จไปแล้ว 80%

********
ปัญหาของนักเรียนไทย เวลาเขียนภาษาอังกฤษจะนึกถึงการเขียนภาษาไทยมาก  ซึ่งไม่เหมือนกันทีเดียว ตอนเขียน essay  เราต้องเขียน outline  เปรียบกับการสร้างบ้านที่เราตีผัง   outline เหมือนแผนที่ที่ผู้เขียนจะเดินตามไปสู่ตอนจบ  มีขั้นตอนดังนี้

1. ใน outline เราต้องจัดขบวนให้ดี ว่าไอเดียอะไรจะมาก่อน มาหลัง เรียกว่า “organizing the paper”
2. ตอนต้นเรื่องจะมี opening paragraph ที่เรียกว่าอินโทร ในอินโทร พยายามหาที่วาง thesis sentence ตอนต้นของเรื่อง
3. ต่อจากนั้นคือการลำดับเรื่องราว (เหมือนแปลนบ้านที่ต้องแบ่งเป็นห้องๆ เครื่องนอนย่อมไม่ปนกับเครื่องครัว)ดังนั้นไอเดียของแต่ละท่อนอย่าเอามาปนกัน เปเปอร์จะ messy and unorganized ทั้งนี้แต่ละท่อนจะเชื่อมด้วย transition เพื่อให้ราบรื่น)


กระทู้: ขอประวัติของอาณาจักอิสานปุระ(อีสานปุระ)หน่อยครับ
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 06 ต.ค. 05, 18:16
 คุณ Andreas ลองอ่านอินโทรสองย่อหน้าข้างล่างนะคะ ส่วนที่ขีดเส้นใต้คือ thesis sentence. ถ้า thesis sentence สร้างได้เหมาะสม (สอดคล้องกับเรื่อง)   และวางถูกที่ ผู้อ่านอาจจะเดาได้ทันทีว่า the rest of the paper เกี่ยวกับเรื่องอะไร

เมื่ออ่านจบท่อนที่ 2  หากยังเดาท่อนที่ 3 ไม่ออก ก็เป็นไปได้ 2 อย่าง คือ thesis sentence ไม่ดี หรือคนอ่านอ่านไม่แตกค่ะ

“It was seven o’clock Sunday morning. I reached for the phone on my bed-side table, pulled it down to my lap, and dialed Jess’s number. I was not going to feel better until I had righted things between  Jess and me.

Sometimes being dropped by a close friend can be even more painful than by a lover.  While the storms, uncertainties and  instability of a romance can prepare one in some measures for their dissolutions, a broken friendship can feel like a sudden, complete rejection.”

I was dropped by a close friend in a way that shook my confidence. It happened when I was a freshman in college…..


หมายเหตุ: เส้นไม่ยอมขีด While the storms..... ประโยคนี้คือ thesis sentence
I hope it helps.