เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: bunnaroth ที่ 20 ก.พ. 13, 19:13



กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 20 ก.พ. 13, 19:13
ผมเพิ่งอ่านบันทึก Surveying and exploring in siam ของพระวิภาคภูวดล เจมส์ แมคคาร์ธี เจ้ากรมแผนที่คนแรกที่เดินทางร่วมกับทัพปราบฮ่อด้วย เขาบันทึกรายละเอียดเหตุการณ์ได้ละเอียดมาก อย่างน่าตื่นเต้นเลยล่ะ
ปัญหาก็คือทัพปราบฮ่อครั้งสุดท้ายของเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ต้องแตกพ่ายทิ้งหลวงพระบางออกมา เจ้าอุปราชตาย เจ้าหลวงหนีมาอย่างฉุกละหุก หากยึดตามบันทึกของแมคคาร์ธี ฝรั่งเศสซึ่งตั้งใจจะเข้ามายึดดินแดนแถบนี้ต่างหากที่เป็นผู้ปราบฮ่อไป

ฉบับที่ผมอ่านเป็น สำนวนแปลของ ร.อ.หญิง สุมาลี  วีระวงศ์ (ยศในขณะนั้น) เป็นผู้แปล ลงตีพิมพ์ในวารสารแผนที่ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์เพราะหาโหลดในเน็ตตได้ง่าย ส่วนฉบับจริงก็มีอ่านฟรีในเน็ตครับ ตัดมาให้อ่านเฉพาะส่วนที่ต้องการแลกเปลี่ยน

ความเห็นของผมคือ ... รายงานที่เราท่านอ่านๆ กันว่าทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ์ไปปราบฮ่อได้ชัยกลับมาเชื่อได้แค่ไหน ? สำหรับตัวผมเองเชื่อลดลงเยอะเลยทีเดียวครับ

----------------------------------------------

๒๑.  การปล้นครั้งสุดท้ายของฮ่อ  และการยึดหลวงพระบาง

                    ฝ่ายสยามตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะปราบฮ่อให้ราบคาบสิ้นเชิงทุกแห่ง จึงได้จัดการให้พระนาสุรศักด์มนตรี  เป็นแม่ทัพใหญ่  มีอำนาจสั่งการได้ทั่งทั้งเขตแคว้นหลวงพระบางด้านหนึ่ง  และให้พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าชายประจักดิ์ ๑  คุมกองทัพเสด็จมาหลวงพระบางอีกด้านหนึ่ง  ในประวัติศาสตร์สยามไม่มีครั้งใดเป็นโอกาสสำหรับทำงานใหญ่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศได้เท่าครั้งนี้  และไม่มีครั้งไหนที่คนมีความสามารถรวมกันอยู่มากเท่าครั้งนี้

                    เจ้าชายประจักดิ์  ซึ่งเป็นพระเจ้าน้องนาเธอ  ทรงมีพระยาสีหราชเดโช  เป็นที่ปรึกษา  ท่านผู้นี้เคยไปเรียนที่ วูลิช (Woolwich)  และเคยเป็นนายทหารเหล่าสรรพาวุธของอังกฤษมาแล้ว  ท่านเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของตระกูลดีเลิศ  เป็นรองแต่พระราชวงศ์เท่านั้น  พระยา     สุรศักดิ์มนตรีซึ่งเป็นญาติ  ก็เป็นพระสหายที่พระเจ้าแผ่นดินทรงไว้วางใจอย่างยิ่งยวด  หากการศึกษาคราวนี้ล้มเหลวไปแม้แต่เล็กน้อย  ท่านแม่ทัพทั้งสองก็จะได้รับคำตำหนิโดยตรงทีเดียว

                    ในปีที่แล้วมาพระยาราช ฯ จำเป็นต้องเลิกปิดล้อมทุ่งเชียงคำหลังจาก ๓ เดือนและถอยทัพกลับมายังหนองคาย

                    เจ้าชายประจักดิ์  เสด็จไปยังหนองคาย  และผู้ช่วยของพระองค์ก็เดินทัพต่อไปถึงทุ่งเชียงคำ  แต่ก็ต้องผิดหวังที่เหยื่อหนีไปเสียแล้ว  อย่างไรก็ตามท่านก็สั่งเผาทำลายที่มั่นแห่งนั้นสียมิให้ใช้การได้อีกต่อไป

                    พระยาสุรศักดิ์  ตั้งทัพหลวงอยุ่ที่เมืองสอน  และพักทัพอยู่ ณ ที่นั่นจนตลอดฤดูฝนต้องประสบความลำบากยากเข็ญเป็นอันมาก  ต่อมาไม่นานฝ่ายฝรั่งเศสก็เริ่มมีบทบาท  ผู้มาแทนตัวดอกเตอร์ไนส์  คือ ม. ปาวี ชายอายุประมาณ ๓๕ ปี  ซึ่งเคยทำงานให้ปก่ราชการสยามอยู่คราวหนึ่ง  คือเป็นผู้สร้างเส้นทางโทรเลขจากบางกอกไปถึงพระตะบอง  เขาเคยเดินทางไปมาระหว่างสยามและกัมพูชาหลายครั้ง  และได้สร้างทางสายโทรเลขผ่านอานัมไปยังตังเกี๋ย

                    อังกฤษได้เซ็นสนธิสัญญากับสยาม  ตั้งสถานกงสุลขึ้นที่เชียงใหม่  ฝรั่งเศสก็ได้ทสัญญาสัมพันธ์มตรีกับสยามด้วย  และจะมีสถานกงสุลในหลวงพระบาง  ถึงแม้ว่าในบริเวณแคว้นที่กล่าวนั้นจะไม่มีประชากรในบังคับฝรั่งเศส  ไม่ว่าจะเป็นชาวตังเกี๋ย  อานัมหรือเขมร  อาศัยอยู่เลยแม้แต่คนเดียวก็ตาม  ม.ปาวี  จะได้ตำแหน่งเป็นรองกงสุลคนแรก (ทำหน้าที่กงสุล)

                    ในเมื่อข้าพเจ้าจะต้องเดินทางขึ้นเหนือไปรวมกองกับของพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นคนแน่ทีแรกก็คิดกันว่า  ข้าพเจ้าน่าจะได้เดินทางร่วมไปกับ ม. ปาวี  และกองต์  เดอ  แกการาดี (Count de Kergaradie)  ผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศส  ซึ่งแสนจะสุภาพ  อ่อนโยน  ก็ได้จัดการดังนั้นข้าพเจ้าได้เลือกเส้นทางสายผ่านเชียงใหม่  เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับการขนส่งเสบียงอาวุธให้แก่กองทัพที่หลวงพระบาง ม. ปาวี  ก็พอใจเส้นทางสายนี้เช่นกัน  แต่เพื่อมิให้ตนเองต้องเข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  ข้าพเจ้าจึงจัดการนิยามสัมพันธภาพระหว่างเราให้แจ่มแจ้ง  เป็นอันตกลงกันว่า  ข้าพเจ้ากับเขา  ต่างฝ่ายจะเดินทางโดยเรือพวงของตน  โดยใช้เรือกลไฟลำเดียวกันสำหรับลากจูง  เมื่อใดถึงจุดที่เรือกลไฟไปต่ออีกไม่ได้แล้วแยกทางกัน

                    พอเลยปากน้ำโพ  เรือลากจูงของเราก็เกยหาดทราย  ซ้ำกระแสน้ำซัดจนเรือแจวของข้าพเจ้าที่ผูกพ่วงไว้ชิดนั้นแทบจะคว่ำ  เมื่อติดตื้นเข้าเช่นนั้น  ข้าพเจ้าก็ได้ทำตามที่ได้ตกลงกันไว้  คือกว่าวคำอำลาต่อ ม. ปาวี  แล้วต่างฝ่ายต่างก็แยกไปตามทางของตัว

                    ม. ปาวี มีทีท่าสุภาพเสมอ  และได้พยายามทุกทางที่จะให้การเดินทางเป็นไปโดยความสะดวกสบาย  และสนุกสนานที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่การติดต่อสัมพันธ์กับเขาสืบไปย่อมไม่ก่อให้เกิดผลดีขึ้นเลยไม่ว่าจะด้านใดก็ตาม  ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อมาภายหลังแล้ว  ข้าพเจ้าก็ยิ่งรู้สึกดีใจที่เราได้แยกทางกันเสียแต่ตอนนั้น

                    ผู้ที่ร่วมทางไปหับข้าพเจ้า คือ คอลลินส์  และลุยส์ เดอ เปลซีส เดอ ริเชลิเออ ( Louis de Plessis de Richelieu)  เราเร่งรีบเดินทางไปถึงเชียงใหม่  แล้วต่อไปเขียงรายลงเรือไปหลวงพระบางต่อไปถึงเมืองเต็งในวันที่ ๑๖ ธันวาคม

                    พระยาสุรศักดิ์ ฯ ได้มาถึงก่อนหน้าเราไม่กี่วัน  และได้คุมตัวบุตรเจ้าไลซึ่งเดินทางมาต้อนรับ  เป็นนักโทษคุมขังอย่างใกล้ชิด  ข้าพเจ้าแน่ใจทีเดียวว่าจะเกิดเรื่อง  และปรารถนาจะคงพักอยู่กับพระยาสุรศักดิ์ ฯ ต่อไป  แต่ท่านผู้นี้ไม่ยินยอม  ข้าพเจ้าจึงเสนอขอไปเมืองไล  แต่ท่านก็แสดงความสงสัยว่าข้าพเจ้าจะไปทำอะไรที่นั่น ถ้าท่านยอมตกลงข้าพเจ้าก็คงจะได้ถือโอกาสขอให้ปล่อยตัวบุตรของเจ้าเสียแล้ว   เพราะเหตุการณ์ทุกอย่างหมุนเข้ามาหาจุดวิกฤต  และหากท่านไม่ระงับสียก็จะเกิดความวุ่นวายต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดท่านเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือเขตแคว้นแถบนี้ทั้งหมด  ตลอดไปถึงสิบสองปันนา  เดิมเจ้าเมืองไลอาศัยอยู่ฝั่งขวาของลำน้ำเตมาก่อน ด้วยอิทธิพลของฝ่ายจีน  ร่วมกับการถือโชคลางเกี่ยวกับหมูซึ่งว่ายข้ามน้ำไปตกลูกอีกฝ่ายหนึ่งเป็นนิจศีล  เขาจึงย้ายบ้านกลับไปอยู่ฝั่งขวาอีก

                    พระยมสุรศักดิ์ ฯ เชื่อเอาเป็นแน่ว่า  เจ้าไลจะต้องเดินทางมาเมืองเต็งเพื่อเห็นแก่ลูก ระหว่างนั้นท่านจึงหันไปจัดการกัยพวกหัวหน้าธงดำ  ชื่อ องบา  (Ong Ba) ซึ่งกลัวท่านเสียลานราวกับแมลงวันกลัวมุม จนพยายามขอเลื่อนกำหนดมาพบด้วยข้ออ้างต่าง ๆ เป็นต้นว่า  ครั้งแรกอ้างว่าจะจัดงานครบรอบวันเกิดของย่า  และอีกครั้งหนื่งว่าต้องอยู่ไหว้วิญญาณคนหนึ่ง

                    ข้าพเจ้าอยากเดินทางไปเมืองไล  เพื่อสำรวจเส้นเขตแดนสยามแต่คำสั่งที่ได้รัยมอบหมายให้ข้าพเจ้าอยู่ในบังคับบัญชาของพระยาสุรศักดิ์ ฯ ท่านผู้นี้สั่งให้ข้าพเจ้าเดินทางไปยังกองทัพน้อยที่สบเอ็ดสำรวจเขตแดนบริเวณหัวพันที้งห้าทั้งหก  แล้วกลับทางหนองคาย  เดอริเชลิเออ  ล้มเจ็บ  ต้องเรือล่องไปหลวงพระบางและกนองคายก่อน  แต่คอลลินส์ยังคงไปกับข้าพเจ้า  ระหว่างเดินทางไปเมืองเต็ง  และระหว่างอยู่ในเมืองเต็งข้าพเจ้ามีอาจุกเสียดอย่างแรง  ( เนื่องจากไส้พอง)  หลายครั้ง  ในที่สึดพอถึงเมืองยา(Muang Ya)  อาการยิ่งกำเริบจนหมดกำลัง  ซ้ำเริ่มจะมีไข้ขึ้น  กลางคืนได้ยินเสียงคนในหมู่บ้านสวดไล่ผีให้ออกจากตัวคนไข้กันอย่างโหยหวน  ข้าพเจ้ามีการหนักตั้งแต่วันที่ ๒๓  ธันวาคม  กว่าจะฟื้นตัวพอเดินทางไปไหน ๆ ได้ก็ตกเข้าวันที่ ๑๐ มกราคม  ข้าพเจ้าจึงได้เดินทางมายังหลวงพระบาง  เพื่อกลับสู่บางกอก

                    ในเวลาไล่เลี่ยกัน  ม. ปาวี ได้เดินทางมาถึงหลวงพระบาง  แล้ววกขึ้นไปตามลำน้ำอูแต่พอมาถึงปากน้ำเหนือ  ก็พบพวกลาวที่กำลังแตกหนีฮ่อ  ซึ่งบุตรคนโตของเจ้าไลไปขอกำลังมาแก้แค้นที่น้อง ๆ ถูกจับกุม ม.ปาวี จึงกลับไปหลวงพระบาง  ซึ่งพระยาสุรศักดิ์ ฯ ได้จัดการทำลายป้อมค่ายเครื่องป้องกันเสียโดยสิ้นเชิงแล้วก่อนจะเดินทัพไปพักอยู่ที่ปากลายพวกฮ่อบุกลุกลงมาตามแนวลำน้ำอู  จนถึงเมืองงอย  () ที่ตรงนั้นเป็นคอคอดกว้างสักไมล์หนึ่ง  มีเนินเขาเป็นผาหินปูนสูงชันลงมาจบขอบน้ำซึ่งลึกมากแต่กระแสน้ำไม่เชี่ยว  และเรือที่ล่องลงมาไม่มีทางที่จะไปต่อได้หากมีลมประทะด้านหัวเรือ  ฝ่ายที่จะคิดโจมตีทางนั้นไม่มีทางผ่านได้  แต่พวกฮ่อรู้ดีว่ากำลังสู้กับคนประเภทใด  พวกมันปืนเขาขึ้นไปยึดปืนที่ตั้งไว้ป้องกันตำแหน่งนั้นเอาไปทิ้งน้ำเสีย  แล้วรุกคืบหน้สมายังหลวงพระบางตั้งมั่นอยู่ที่วัดเชียงทอง  ()  ม.ปาวี และท่านผู้ตรวจการฝ่ายสยามเดินทางออกจากเมืองไปก้อรหน้านั้นแล้ว  เจ้าอุปราชก็ไปแล้วด้วยเช่นกัน  แต่ถูกเจ้าหลวงผู้มีพระประสงค์จะยอมตายในหลวงพระบางเรียกกลับมา  โอรสองค์หนึ่งของเจ้าหลวงได้นับสมัครทหารพม่าอาสา ๒๐ คน สำหรับเป็นทหารรักษาพระองค์เจ้าหลวง

                    พวกฮ่อได้กระทำการอันโหดร้ายทารุณ  ทั้งในบริเวณวัดที่พวกมันยึดเป็นที่พักอาศัยและทั่วไปในบริเวณตัวเมือง  เจ้าอุปราชถูกประหาร  และเจ้าหลวงผู้ชราถูกบรรดาโอรสและทหารรักษาพระองค์บังคับให้ลงเรือหนี  โอรสองค์หนึ่งถูกยิงตายต่อพระพักตร์  หลวงพระบางถูกปล้นและถูกเผาแต่พระพุทธปฏิมาทองคำมีชื่อในประวัติศาสตร์ว่าพระบาง ()  นั้น  ชาวลาวผู้ฉลาดคนหนึ่งได้นำไปซ่อนไว่  เจ้าหลวงผู้ชราล่องเรือมาพบ ม. ปาวีในระหว่างทาง  เลยพากันไปยังปากลาย  ต่อจากนั้น  เจ้าหลวงก็เสด็จต่อไปยังบางกอก

                    ฤดูแล้งปีถัดมา  ฝ่ายฝรั่งเศสจะปราบการจลาจลในตังเกี๋ยเป็นคราวสุดท้ายชวนให้ชาวสยามเข้าร่วมมือด้วย  อย่างไรก็ตาม  กองทัพฝ่ายสยามในบังคับบัญชาของพระยาสุรศักดิ์ ฯ ยังมิทันจะออกจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ฝ่ายฝรั่งเศสก็ได้เข้าโจมตีพวก ธงดำที่ลาวไก (Pra Bang)  ก่อนเดินทัพไปถึงเมืองไล  และเลยไปตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองเต็ง  โดยมิได้ถูกต่อต้านแต่ประการใด  เท่ากับว่าได้เข้ายึดครองอาณาเขตสิบสองจุไทไว้ในอำนาจอย่างเงียบ ๆ ระหว่างที่ ม. ปาวี ได้เดินทางไปตลอดสิบสองจุไท  เขสมีคนคุ้มกันชาวสยามผู้กล้าหาญ  ซึ่งได้ช่วยชีวิตเขาให้รอดพ้นจากอันตราย  เมื่อถูกพวกฮ่อล้อมโจมตีครั้งหนึ่งและในที่สุดก็ได้เข้าไปพำนักอยู่ร่วมกับกองทัพฝรั่งเศส


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 20 ก.พ. 13, 19:52
ตามลายแทงไปหาอ่านอยู่ครับ  8)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 20 ก.พ. 13, 20:01
บันทึกการสำรวจและบุกเบิกในดินแดนสยาม  (Surveying and exploring in siam)

http://resgat.net/explorings.html

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)




กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 20 ก.พ. 13, 20:11
เป็นกระทู้ที่น่าสนใจยิ่ง ขอรออ่านต่อครับ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 20 ก.พ. 13, 20:30
ผมจำได้ว่าหม่อมคึกฤทธิ์ท่านแทรกเกร็ดเรื่องการยกทัพไปปราบฮ่อ เขียนไว้ในขุนช้างขุนแผนฉบับเล่าใหม่ว่า การเดินทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีมีเพลงกราวไว้ร้องไม่ให้เหงา ท่านเขียนมา 3 วรรค
"พลทวนถือทวนถ้วนดอก พลหอกถือหอกสามสี พลช้างขี่ช้างหางชี้..."
ร้องเช่นนี้ไปตลอดทางเดินทัพ

สำหรับการแปลเวอร์ชั่นนี้ไม่ค่อยแม่นเท่าไหร่ครับ ตัวสะกดผิดถูกก็พลาดเยอะ / แต่แมคคาร์ธีเองก็พลาดเหมือนกัน เพราะไม่ใช่นักเก็บข้อมูลเป็นแค่นักทำแผนที่เขียนบันทึกตามคำบอกของคนนำทาง เช่น เขียนบอกว่านักสำรวจฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ล มูโอต์ ตายแถวพูสวง ทั้งๆ ที่เขาชื่อ อองรี มูโอต์  (Henri Mouhot) ไปหลวงพระบางรอบนี้จะถามหาพูสวงว่าอยู่แถวแม่น้ำคานสบกับโขงหรือเปล่า ถ้าไม่มีแสดงว่า บันทึกของแมคคาร์ธีก็มั่วไปตามคำบอกของคนทำทางเหมือนกัน


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 13, 20:31
มานั่งอยู่หลังห้องค่ะ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: ศานติ ที่ 20 ก.พ. 13, 22:51
"พลทวนถือทวนถ้วนดอก พลหอกถือหอกสามสี พลช้างขี่ช้างหางชี้..."

เสียดายที่ตอนฝึกรักษาดินแดนพวกผมไม่รู้ที่หม่อมคึกฤทธิ์อ้างไว้ เดินตามคันนาที่ลพบุรีคงสนุกขึ้น


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 ก.พ. 13, 06:40
ถาจะให้แน่จริงคงต้องหาฉบับภาษาอังกฤษมาอ่านอีกครั้ง  จำได้ว่าเคยอ่านฉบับภาษาอังกฤษ  แมคคาร์ธีเรียกใช้คำหลายคำตามคำเรียกของคนพื้นเมือง เช่น แม่น้ำโขงว่าแม่น้ำของ  เรียกพระยาว่า เพี้ย เป็นต้น
สำหรับฉบับแปลนี้ท่านผู้แปลใช้วิธีเก็บความจากภาษาอังกฤษ  เนื้อหาจึงถูกตัดทอนลงไปมากพอสมควร


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 21 ก.พ. 13, 08:28
Text.  http://archive.org/stream/surveyingandexp00mccagoog/surveyingandexp00mccagoog_djvu.txt  

เพื่อยืนยันว่าการแปลมีข้อผิดพลาดพอสมควร ขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ

CHAPTER XV. TRADITIONS OF LUANG PRABANG. // We visited the hill where stands the pagoda called Pra Chawn Si,
said to contain Gautama's bones.>> ๑๕ ธรรมเนียมเมืองหลวงพระบาง  เราไปเยี่ยมเจดีย์บนเนินเขา ชื่อ พระชอนศรี(Pra Chawn Si) ซึ่งถือว่าบรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า

>> ข้อเท็จจริงบนพูสี มีพระธาตุ จอมสี ไม่ใช่ ชอนศรี  ... ซึ่งจะว่าไปเป็นหลักเมือง/หรือแกนเมือง ของหลวงพระบางก็ว่าได้

ข้างล่างนี้เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษของตอนที่ตัดมาเป็นกระทู้ มีการตัดทอนคำแปลไปพอสมควรจริงๆ เช่นตอนเจ้าหลวงหนีฮ่อลงเรือเขาบอกว่ามีองครักษ์ทหารพม่าคุ้มกัน (ซึ่งเป็นรายละเอียดที่น่าสนใจ) แต่ฉบับแปลเขียนว่าองครักษ์เฉยๆ อย่างไรก็ตามโดยรวมของคำแปลก็ชัดเจนว่า หลังจากฮ่อยึดหลวงพระบาง ฝรั่งเศสตีโต้ปราบฮ่อธงดำและยึดสิบสองจุไทได้โดยปริยาย ในการนั้นเชิญทัพไทยร่วมด้วยแต่สยามก็ไม่ได้เข้าไปร่วม ผมอ่านเหตุการณ์ปราบฮ่อปีสุดท้าย 2429-2430 ก็มีการรบอยู่นะครับแต่เป็นเมืองอื่น (ต้องตรวจสอบอีกครั้งว่าพิกัดใดและสำคัญทางยุทธศาสตร์แค่ไหน) ทัพฮ่อที่รบตอนสุดท้ายยอมแพ้ไทย แต่เราก็ไม่รู้ว่า ทัพฮ่อใหญ่ถูกปราบเสียราบแล้วโดยฝรั่งเศสใช่หรือไม่ // เหมือนกับว่า เราเอาชนะฮ่อที่พ่ายศึกมาอีกทอด ขณะที่ผู้กำชัยชนะที่สุดเพราะคือฝรั่งเศส เพราะได้ทำสัญญาให้ความคุ้มครองกับเจ้าหลวงพระบาง ได้ตั้งสถานกงสุลทั้งๆที่ตอนนั้นไม่มีคนในบังคับฝรั่งเศสเลย และนำมาสู่การได้ดินแดนเพิ่มในที่สุด //


CHAPTER XXI.

THE LAST HAW EXPEDITION AND SACK OF LUANG PRABANG.

SlAM was determined on another effort to do away with the Haw, whose
power was branching out in all sorts of places. With this intention
one expedition was organized under P'ia Surasak Montri, and sent
to operate in the country under the jurisdiction of Luang Prabang,
and another, under Prince Prachak, was sent to Nawng Kai. Never
in the history of Siam were such opportunities given for accomplish-
ing great things for the benefit of the country, and never was the
exercise of tact and ability so called for as on this occasion.

Prince Prachak, a brother of the king, had with him P'ia Siharaj
Dejo, who had been at Woolwich, and was attached to the English
artillery. He was a scion of the best family in Siam below royalty.
P'ia Surasak, a cousin, was also fortunate in possessing the close
friendship and confidence of the king. If these expeditions failed in
the slightest details, it was to the leaders, and no one else, that blame
could be attached.

In the previous year P'ia Eaj had been obliged to raise the siege
of Tung Chieng Kam after three months, and to fall back on
Nawng Kai.

Prince Prachak went to Nawng Kai, and his active lieutenant
pushed on to Tung Chieng Kam, but he- was disappointed to find
that the birds had flown. He, however, burnt the stockade, and
placed it beyond all possibility of being again used.

Fia Surasak fixed his headquarters at Muang Sawn, where he
remained during the rainy season, and went through a considerable
amount of hardship. Later on the French were again on the move.
The place of Dr. Neiss was filled by M. Pa vie, a man about thirty-
five years of age, who had formerly been in the service of the Govern-
ment of Siam. It was he who had constructed the line of telegraph
from Bangkok to Fratabawng. He had made many journeys in the
regions between Siam and Cambodia, and had constructed the tele-
graph line through Anam to Tonkin.

England had made a treaty with Siam, and appointed a vice-
consulate at Chieng Mai. France made a similar treaty with respect
to Luang Prabang, though in the whole province there was not a
single resident French subject, Tonkinese, Anamite, or Cambodian.
M. Pavie was now proceeding to take up the duties of the first vice-
consul.

As I was to go north and join P'ia Surasak's column, it was
thought that I might with advantage accompany M. Pavie, and the
courteous French representative. Count de Kergaradie, arranged that
I should do so. I had elected to go by way of Chieng Mai, to avoid
interfering with the transport arrangements for the army at Luang
Prabang, and this route also suited M. Pavie. But in order not to
be involved in any complications that might arise in the future, I had
the nature of our connection thoroughly explained. He and I, it was
agreed, would travel together as far as his boat, and mine could be
towed by the same launch, and our companionship should cease
when we reached a point beyond which the launch could not go.

Above Paknam Po the launch towing us stuck on a sandbank,
and, being swung by the stream, nearly capsized my six-chao boat,
which was lashed close to it. The launch having grounded, we could
be towed no further, and I bade adieu to M. Pavie, each, according to
agreement, now going his own way.

M. Pavie was always courteous, and had done all he could to
make the journey pleasant ; but continued association with him could
have led to no good in any direction, and, considering subsequent
events, I am thankful that we separated.

I was accompanied by Collins and Louis du Plessis de Eichelieu,
and we hurried on to Chieng Mai, thence to Chieng Eai, by boat to
Luang Prabang, and thence to Muang Teng, which place we reached
on December 16.

P'ia Surasak had arrived a few days before, and had placed the
sons of Chao Lai, who had been sent down to receive him, in close
confinement. I felt sure there would be trouble, and wished to
remain with P'ia Surasak, but he objected to my presence. I then
proposed to go to Lai, but he wondered what I could find to do there.
Had he consented, I would have asked for the release of the sons of




had originally lived on the right bank of the Nam Te ; Ijutj influenced
by the Chinese and superstitious notions derived from the custom of
pigs which, when about to litter, awam across the river, he had trans-
ferred his home to the right bank.



P'ia Surasak was infatuated with the idea that the Chao.would come
to Teng on account of his sons, and at the same time he was making
overtures to the famous Black Flag leader called Ong Ba. The
feelings of this man towards him seemed very much like those of the
fly towards the spider, for he usually put off his coming with some
excuse, alleging at one time that he was keeping his grandmother's
birthday, at another, that he was detained by worshipping the spirit
of his other grandmother.

My idea had been that I should go to Muang Lai and survey along
the boundary of Siam, but my instructions were to place myself under
the orders of P'ia Surasak. His directions were that I should go to
Sep Et, meet a section of his army there, then follow the boundary
of Hua Pan Tang Ha Tang Hok, and eventually go to Nawng Kai.
De Eichelieu, who had been taken ill, left by boat for Luang Prabang
and Nawng Kai, but Collins accompanied me. On my way to Teng,
and at Teng, I was subject to severe attacks of colic ; but at Muang
Ya the attack was so prolonged that I was quite exhausted, and fever
came on. Night was made hideous by the howls of men of the
village exorcising the evil spirits from some victims of fever. I
fell ill on December 23, and it was not till January 10 that I was
able to move off again. I then went to Luang Prabang, and thence
to Bangkok.

M. Pavie had in due time reached Luang Prabang, and then
moved up the Nam U ; but when he had advanced as far as the mouth
of the Nam Nua, he met the Lao of Muang Teng in full flight from
the Haw, these marauders having been brought down by the eldest son
of Chao Lai, who intended with their help to avenge the arrest of his
brothers. M. Pavie returned to Luang Prabang, which P'ia Surasak,
who was now at Paklai, had denuded of such means of defence as it
had possessed. The Haw continued their advance down the Nam U
and reached M. Ngoi. There a narrow river-gorge, over a mile
long, is commanded by a hill, whose limestone cliffs rise perpen-
dicularly from the water. In the gorge the river is very deep, but the
current is imperceptible, and boats descending can make no pro-
gress against a head wind. No hostile band anticipating opposition
would attempt to force a passage, but the Haw evidently knew the
men they were dealing with. They ascended the hill, and, seizing
the excellent mountain howitzers, which had been provided for the
defence of the position, rolled them over the cliffs into the river.



THE SACK OF LUANG PRABANQ. 109

They then pushed on to Luang Prabang, and took up their quarters
at Wat Chieng Tawng. Before their arrival M. Pavie and the
Siamese commissioner had left. The Chao Uparaj had also left, but
was recalled by the chief, who was determined to die in Luang
Prabang. One of the chiefs sons enrolled some twenty Burmans as
a special bodyguard for his father.

The Haw now acted in accordance with their usual barbarity.
Beginning at the Wat, where they had chosen their quarters, they




VIEW OF LUANG PllABANQ FROM HILL ON RIGHT UANK OF THE ME KAWXG.'i

extended their murderous work throughout the town. The Chao
Uparaj was put to death, and the old chief was compelled by his sons
and Burman guard to go on board a boat, where one of his sons was
shot before his eyes. Luang Prabang was fired and looted ; but the
historic golden statue of Buddha, called "Pra Bang," had been
already secured by a wily old Lao, who had carried it off and buried
it. The old chief met M. Pavie lower down the river, and together
they went to Paklai, the chief going on to Bangkok.

During the next dry season the French made a final effort to
subdue the outlying province of Tonkin, and invited the Siamese to
co-operate with them. The Siamese army, under P*ia Surasak,
however, had not left the valley of the Me Nam when the French
attacked the Black Flags at Laokai, marched to Muang Lai, and then
established themselves at Muang Teng, where, meeting with no oppo-
sition, they quietly assumed jurisdiction over the Sibsawng Chu Tai.
Meanwhile M. Pavie, who had been provided with a Siamese escort,
to whose plucky behaviour on one occasion, when surrounded by the
Haw, he owed his life, had been travelling all through the Sibsawng
Chu Tai, and ultimately joined the French troops.



กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 21 ก.พ. 13, 10:10
เรื่องฝรั่งเศยื่นมือเข้ามาปราบฮ่อนั้น  น่าจะเป็นเพราะเป็นการตัดการรบกวนเมืองญวนของฝรั่งเศส  อีกประการฝรั่งเศสต้องการสิบสองจุไมยที่ติดกับพรมแกนจีนด้วย


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 21 ก.พ. 13, 15:29
โอ  :o ค้นต่อไปเรื่อยยิ่งสนุกครับ
มุมของ อ.ไกรฤกษ์ ศิลปวัฒนธรรม ส.ค.2555  บอกว่า

 การที่มณฑลลาวพวนเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับแคว้นตังเกี๋ยของญวน ทำให้ฝรั่งเศสหาเหตุที่จะเข้ามาครอบครองเมืองสิบสองจุไท และเมืองหัวพันห้าทั้ง หก ซึ่งฝรั่งเศสเหมารวมว่าเป็นพื้นที่ในอาณัติของญวน เป็นเหตุผลสำคัญที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีถูกส่งไปที่นั่น แต่ในประวัติศาสตร์ไทยมักจะเขียนแต่ว่าท่านไปปราบฮ่อเท่านั้น

http://haab.catholic.or.th/article/articleart1/art35/art35.html

ฮ่อมิใช่กองโจรธรรมดาที่ยกพวกเข้ามาปล้นสะดมหัวเมืองในเขตแดนลาวพวนและตังเกี๋ยเท่านั้น แต่ในช่วงที่ฮ่อเข้ามานี้ยังประจวบกับการที่กองทัพฝรั่งเศสกำลังทำสงครามตังเกี๋ย (Sino-French War 1884-85) อีกด้วย ทำให้เป้าหมายของพวกฮ่อ และการม าของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีก็ยังมีนัยยะอื่น นอกจากจับโจรกระจอกแล้ว กล่าวคือ

๑.ฮ่อมิใช่กองโจรที่หลบซ่อนตัวอยู่ตามป่าตามเขาเท่านั้น แต่พวกฮ่อธงดำ ยังตั้งตัวเป็นเจ้าพ่อเก็บค่าคุ้มครองจากเรือโดยสาร และเรือสินค้าที่ขึ้นล่องอยู่ในแม่น้ำแดง และแม่น้ำดำซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักจากจีนตอนใต้ ผ่านเขตตังเกี๋ยของญวนไป ออกอ่าวตังเกี๋ยและทะเลใหญ่ เมื่อฝรั่งเศสกำลังสำรวจแม่น้ำแกง เพื่อหาเส้นทางใหม่ไปสู่ตลาดการค้าในมณฑลยูนนานของจีน จึงต้องเผชิญหน้ากับอิทธิพลของฮ่อโดยตรง ฮ่อจึงเป็นศัตรูและ คู่อริสำคัญของฝรั่งเศสไม่น้อยไปกว่าราชสำนักจีนและญวนซึ่งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นในพื้นที่

๒. โจรจีนฮ่อมิใช่โจรกระจอกที่ไร้ประโยชน์เสมอไป เพราะมีหลักฐานว่า เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสส่งกองกำลังติดอาวุธเข้ามาจะตีกรุงฮานอยนั้น รัฐบาลญวนซึ่งรู้ตัวว่าจะสู้ไม่ได้ จึงได้เชื้อเชิญหัวหน้าพวกฮ่อธงดำ โดยเสนอผลประโยชน์ให้อย่างงามหากยกพลเข้ามาช่วยต่อต้านฝรั่งเศสที่เข้ามาประชิดฮานอย ความกล้าหาญของพวกฮ่อทำให้กองทัพฝรั่งเศสแตกกระเจิงไป และฟรานซิส การ์นิเอ วีรบุรุษและนักสำรวจผู้โด่งดังของฝรั่งเศสก็ถูกปลิดชีวิตที่นี่โดยพวกฮ่อนั่นเอง เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๑๘๗๓ จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าฮ่อธงดำมีบทบาทและวีรกรรมอยู่ไม่น้อยในการต่อสู้กับผู้คุกคามในนามของผู้พิทักษ์ประจำท้องถิ่น

๓. การที่ฝรั่งเศสทำสงครามตังเกี๋ยกับจีนจนเป็นฝ่ายชนะ และได้ครอบครองตังเกี๋ยซึ่งเป็นเมืองขึ้นของจีนมาก่อนนั้น ฝรั่งเศสยังมีโครงการมากกว่า ดินแดนตังเกี๋ย โดยคิดที่จะยึดครองดินแดนลาวพวนเพิ่มขึ้นอีก เพราะเป็นที่ทับซ้อนกับตังเกี๋ย ปัญหามีอยู่ว่า สยามอ้างการถือครองกรรมสิทธิ์เขตลาวพวนแต่ผู้เดียว ฝรั่งเศสจึงไม่มีทางเลือกที่จะต้องเอาชนะฐานอำนาจเก่าในบริเวณนี้ทั้งหมด นอกจากจีนแล้วก็ยังมีสยามกันท่าอีก ในทางลึกแล้วเป้าหมายต่อไปคือ การได้ครอบครองสิบสองจุไท และก็แย่งชิงไปได้จริงๆ โดยพลการ ใน พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕) ในปีเดียวกับที่ชนะสงครามตังเกี๋ยนั่นเอง

๔. การที่รัฐบาลฝรั่งเศสส่ง ม.ปาวี มาเป็นกงสุลประจำเมืองหลวงพระบางใน พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕) และตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าคณะสำรวจปาวี (Mission Pavie) ก็เพื่อจะเร่งสำรวจเส้นทางระหว่างตังเกี๋ยกับหลวงพระบาง และแสวงหาลู่ทางเพื่อเตรียมปฏิบัติการยึดแคว้นสิบสองจุไท ซึ่งขึ้นอยู่กับหลวงพระบาง จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าฝรั่งเศสมีเป้าหมายครอบครองพื้นที่ทับซ้อนเหนือมณฑลลาวพวนทั้งหมด ซึ่งก็หมายถึงดินแดนบนฝั่งซ้ายขอ งแม่น้ำโขง ดังนั้น สงครามตังเกี๋ยซึ่งบานปลายเข้ามาถึงมณฑลลาวพวน ก็ค่อยๆ ตกผลึกมาเป็นข้อพิพาทในวิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เมื่อฝรั่งเศสส่งเรือรบเข้ามากดดันสยามที่ปากน้ำเจ้าพระยาในอีก ๘ ปีต่อมา

๕. จากเหตุผลในข้อ ๔ ยังหมายความว่า เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกกองทัพขึ้นมาที่หลวงพระบางมิใช่แต่จะปราบฮ่ออย่างเดียว แต่ยังเป็นการแสดงออกโดยพฤตินัยว่า สยามเป็นเจ้าของดินแดนลาวพวนโดยชอบธรรม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจึงต้องจัดทัพขึ้นมาปกป้องคุ้มครองตามหน้าที่

.....

การที่ฝรั่งเศสเข้ายึดดินแดนสิบสองจุไทไว้โดยพลการในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ (ค.ศ. ๑๘๘๕) ได้กลายเป็นชนวนให้ฝรั่งเศสและสย ามถลำลึกลงสู่ก้นบึ้งของความขัดแย้ง และข้อพิพาทที่ยืดเยื้อต่อมาอีก ๘ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ (ค.ศ. ๑๘๙๓) หรือวิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 16:15
เอกสารฝ่ายไทย

ท่านแม่ทัพและมองซิเออร์ ปาวีได้หารือข้อราชการ ซึ่งท่านแม่ทัพแจ้งว่ามีความประสงค์อยากจะให้ทำแผนที่ในเขตสิบสองจุไทยตลอดหัวพันทั้งห้าทั้งหกเสียชั้นหนึ่งก่อนและให้ทำโดยเร็ว มองซิเออร์ ปาวีตอบว่า ส่วนหัวพันทั้งห้าทั้งหกที่ทหารไทยเข้าไปตั้งอยู่แล้วนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสมิได้ล่วงล้ำเข้าไป แต่เมืองสิบสองจุไทยนั้น ฝรั่งเศสได้เข้าไปตั้งอยู่แล้ว ครั้นจะขึ้นไปทำการ เกรงจะเป็นที่บาดหมางกันขึ้น ด้วยการแผนที่ฝ่ายฝรั่งเศสได้ทำไว้โดยเรียบร้อยพอที่จะตัดสินเขตแดนได้แล้ว เห็นว่าไม่ต้องทำอีก และว่า ข้าหลวงทั้งสองฝ่ายที่อยู่ในกองทัพของแต่ละฝ่ายก็ได้กลับไปแล้ว เห็นว่าเป็นการสิ้นคราวทำแผนที่แล้ว

ท่านแม่ทัพยืนยันว่า ". . . ส่วนสิบสองจุไทยนี้นับว่าเป็นพระราชอาณาเขต ตามที่มองซิเออร์ ปาวีได้กล่าวนั้นหาสมควรไม่ เพราะได้ตัดสินด้วยเขตแดนตกลงกันแล้วหรือ ซึ่งมองซิเออร์ ปาวีจะถือเป็นเขตส่วนฝรั่งเศสนั้นยังไม่ควรก่อน คำสั่งของเกาเวอนแมนต์สำหรับกองทัพยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง ข้าพเจ้าจะต้องทำตามเดิม . . ." ในที่สุด " . . . เมื่อจำเป็นแล้ว ก็จะรักษาการมิให้มัวหมองทั้ง ๒ ฝ่าย"

วันจันทร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย (๑๗ ธันวาคม ๒๔๓๑) มองซิเออร์ ปาวีได้มาหาท่านแม่ทัพ ได้สนทนากันด้วยเรื่องเมืองแถงเป็นพื้น แม่ทัพได้เล่าให้ฟังว่าจะจัดการเมืองแถงอย่างไร มองซิเออร์ ปาวีก็พูดจาขัดขวางต่างๆ ดูประหนึ่งว่าเมืองแถงเป็นของฝรั่งเศส ท่านแม่ทัพจึงต้องชี้แจงว่า เมืองแถงนี้เป็นพระราชอาณาเขตของไทยมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว . . . ผู้ไทยดำนั้นใช้แซ่อย่างจีน แต่อักษรที่ใช้เป็นอักษรสยาม แต่พวกลาวหัวพันทั้งห้าทั้งหกและเมืองพวน เป็นเมือง ๒ ฝ่ายฟ้าคือขึ้นกับลาวและญวน เมืองสิบสองจุไทย และสิบสองปันนา เรียกว่า ๓ ฝ่ายฟ้า ขึ้นอยู่กับลาว ญวน และจีน เมืองเหล่านี้เป็นเมืองในพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น และได้กล่าวถึงการปราบฮ่อครั้งที่ผ่านมาซึ่ง มองซิเออร์ ปาวีได้ทราบดีอยู่แล้ว ในตอนท้านท่านแม่ทัพได้กล่าวว่า ". . . ถ้าสิ่งใดควรจะยอมให้กับท่านได้โดยที่ข้าพเจ้าไม่ต้องได้รับความผิดแล้ว ข้าพเจ้าก็จะยอมให้เพื่อช่วยท่านทุกอย่าง"

มองซิเออร์ ปาวีซึ่งตระหนักดีไม่อาจโต้ตอบได้จึงไถลไปพูดเรื่องฮ่อว่าองบา องทั่งได้เข้าสวามิภักดิ์ฝรั่งเศสหมดแล้ว (องบาตายแล้วแต่มองซิเออร์ ปาวียังไม่เล่าให้แม่ทัพฟัง) ท่านแม่ทัพก็ชี้แจงว่าพวกฮ่อเหล่านี้ก็ให้หัวหน้ามาหาทหารไทย เพื่อขออ่อนน้อมด้วยเหมือนกัน และอธิบายวิธีที่จะดำเนินการต่อพวกฮ่อ มองซิเออร์ ปาวีว่าขอให้รอกอมอดอง (Commannder) มาจากเมืองลาก่อนแล้วจะได้พูดตกลงกัน และว่าไทยกับฝรั่งเศสต้องไปจัดราชการที่เมืองคำเกิดคำม่วน ท่านแม่ทัพตอบว่า ยังไม่ได้รับคำสั่งจากกรุงเทพฯ

วันรุ่งขึ้น มองซิเออร์ ปาวีมาพบท่านแม่ทัพอีกกล่าวว่า เมืองแถง เมืองสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหกเป็นเมืองขึ้นของญวนโดยแท้ บัดนี้ รัฐบาลได้มีคำสั่งให้มองซิเออร์ ปาวีมาจัดการรักษาเมืองเหล่านี้ ขอให้เยเนอราล (นายพล หมายถึงท่านแม่ทัพ) เห็นแก่ทางพระราชไมตรีทั้งสองฝ่ายให้ถอนทหารไทยออกจากเมืองเหล่านี้

ท่านแม่ทัพได้ชี้แจง และว่า ". . . การที่ท่านจะให้ข้าพเจ้าถอนทหารจากเมืองเหล่านี้นั้น ข้าพเจ้าทำไม่ได้ ถ้าขืนทำไปก็จะได้รับความผิด เพราะผิดจากคำสั่งของรัฐบาลของข้าพเจ้า มองซิเออร์ ปาวีว่าเรื่องการลงโทษรับรองไม่ให้รัฐบาลไทยลงโทษได้ ท่านแม่ทัพตอบว่า ถ้ายอมทำตามว่า ก็ต้องเป็นคนไม่รักชาติ ไม่สมกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระแสงอาญาสิทธิ์ให้เป็นแม่ทัพ . . . เมื่อท่านจะหักหาญเอาโดยอำนาจ ข้าพเจ้ายอมตายในเมืองแถงนี้ . . .

มองซิเออร์ ปาวีเจอไม้นี้เข้าก็เลยตอบว่า ไม่เป็นเช่นนั้น ท่านเยเนอราลต้องการอย่างไรขอให้บอกให้ทราบ ท่านแม่ทัพจึงว่า กองทัพสยามตั้งรักษาเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกอยู่แล้ว ส่วนเมืองสิบสองจุไทยนั้นกองทัพฝรั่งเศสก็ได้ตั้งอยู่ และเมืองแถงทหารไทยได้ตั้งรักษาการอยู่ก่อนแล้ว บัดนี้ ฝรั่งเศสได้ยกเข้ามาตั้งในค่ายเชียงแลด้วยกัน โดยเหตุนี้ ทหารไทยและทหารฝรั่งเศสรักษาความสงบอยู่ด้วยกันกว่ารัฐบาลจะตัดสินเขตแดนตกลงกัน ซึ่งมองซิเออร์ ปาวีก็รับรอง และได้ทำหนังสือไว้ต่อกัน

หนังสือสัญญา ๙ ข้อ ซึ่ง พระยาสุรศักดิ์มนตรี แม่ทัพฝ่ายสยาม กอมอดองเปนนากา มองซิเออร์ ปาวีแปรซิดองเดอลากอมิศยองฝรั่งเศส ได้ตกลงกันที่เมืองแถง ตกลงที่จะจัดการเมืองสิบสองจุไทย เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวนให้เป็นที่เรียบร้อยในระหว่างที่เกาเวอนแมนต์ทั้งสองฝ่ายยังมิได้ตกลงแบ่งเขตแดนกัน จะรักษาการไว้จนกว่าจะตกลงกัน สรุปได้ ดังนี้

๑. ฝ่ายฝรั่งเศสจะตั้งอยู่ในตำบลแขวงสิบสองจุไทย ฝ่ายทหารไทยจะตั้งอยู่ในเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวน
๒. เมืองแถงนั้น ทหารไทยและทหารฝรั่งเศสจะพร้อมกันตั้งรักษาการอยู่ในเมืองแถงทั้ง ๒ ฝ่าย จะรักษาการโดยสุภาพเรียบร้อย เมื่อฝ่ายใดจะมีการหรือจะใช้คนไปมาในตำบลที่อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ ก็ให้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบก่อน จะได้ช่วยการนั้นให้สำเร็จตามสมควร
๓. ฝ่ายเมืองไลนั้น ฝรั่งเศสได้ตั้งรักษาอยู่แล้ว บุตรท้าวไลก็เข้ายอมฝรั่งเศสแล้ว แต่คำสาม คำฮุย ท้าวม่วยยังอยู่ในกองทัพไทย ขอให้ฝรั่งเศสส่งไปหาบิดา แต่คนเมืองหลวงพระบางที่ฮ่อตีเอาไปนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสจะช่วยส่งคืนยังเมืองแถงยังกองทัพไทยที่ตั้งอยู่นั้น
๔. ฝ่ายเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวนนั้น กองทหารไทยได้ตั้งรักษาการอยู่หลายตำบล ฝ่ายฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงจะไม่ล่วงเข้าไปในตำบลนั้น
๕. พวกฮ่อยังตั้งอยู่หลายตำบลตามเขตญวน เขตสิบสองจุไทย เขตหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเขตพวนนั้น จะช่วยกันจัดการให้เป็นที่เรียบร้อยทั้งสองฝ่าย
๖. เจ้าพนักงานกองเซอรเวฝ่ายไทย จะได้ตรวจเซอรเวไปในที่ๆ ฝรั่งเศสตั้งอยู่ ฝ่ายฝรั่งเศสจะให้หนังสือนำให้ทำการไปโดยสะดวกและจะจัดทหารรักษาไปไม่ให้มีอันตรายเหมือนกับฝ่ายไทยได้จัดการรักษาการเซอรเวของฝรั่งเศสนั้น จะส่งจนถึงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกซึ่งกองทหารไทยตั้งอยู่
๗. ราษฎรในเมืองแถงซึ่งเที่ยวแตกอยู่ตามป่าดงหลายตำบลนั้น ฝ่ายไทยจะประกาศให้กลับภูมิลำเนาเดิม ตามความสมัครใจของราษฎร
๘. จะเรียกกรมการท้าขุนที่เป็นหัวหน้าที่มีอยู่ในเมืองแถงให้มาพร้อมกันทั้งสองฝ่าย พูดชี้แจงไม่ให้หวาดหวั่น
๙. หนังสือราชการฝ่ายฝรั่งเศสที่จะส่งไปยังเมืองหลวงพระบาง หรือฝ่ายเมืองหลวงพระบางจะส่งขึ้นมายังเมืองแถง ฝ่ายไทยจะช่วยเป็นธุระ รับหนังสือนั้นส่งไปมาให้โดยสะดวก
การกล่าวมาข้างต้นทั้ง ๙ ข้อ ได้พร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่ายเห็นตกลงกันได้เซ็นชื่อไว้ในท้ายหนังสือนี้ทั้ง ๒ ฝ่าย
เมืองแถง ณ วันเสาร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิศก ๑๒๕๐ (ตรงกับ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑)

เมื่อได้ทำสัญญาชั่วคราวกับฝรั่งเศส ปรับกำลังนายทัพนายกองที่ชำนาญเชิงอาวุธไปตั้งประจำด่านทางในที่สำคัญหลายตำบล และมั่นใจว่าได้จัดการเรื่องรักษาพระราชอาณาเขต และระงับเหตุที่พวกฮ่อก่อการกำเริบเรียบร้อยแล้ว ท่านแม่ทัพก็ได้เลื่อนกองทัพใหญ่กลับเมืองนครหลวงพระบางเพื่อจัดราชการอื่นต่อไป ได้เดินทางถึงเมื่อ วันศุกร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับ วันที่ ๔ มกราคม ๒๔๓๑


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 16:22
ทหารไทยสวนสนามเข้าเมืองหลวงพระบาง


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 16:28
จมื่นไวยวรนารถ หรือ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี นามเดิมของท่านคือ เจิม แสงชูโต แม่ทัพไทย


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 16:33
มองซิเออร์ ปาวี กับท่านแม่ทัพ นายทหารและข้าหลวงสยาม


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 16:41
พระยาสุโขทัย


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 16:51
ที่ทำการกงสุลฝรั่งเศสในหลวงพระบาง ที่ซึ่งมองซิเออร์ ปาวีพำนัก


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 16:52
มองซิเออร์ ปาวีกับข้าหลวงสยาม


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 17:00
เอารูปให้ดูเป็นชุดเพื่อสรุปความเห็นของผมตามหัวข้อกระทู้ว่า สยามส่งกองทัพไปปกป้องหลวงพระบางจากภัยฮ่อไว่ได้ ถือว่าภารกิจสำเร็จ ไม่ได้แพ้ แต่ก็ไม่ได้ชนะเด็ดขาด เพราะรากมันลึกมาก กระจายกำลังไปถึงเมืองญวนซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของฝรั่งเศสแล้ว

และชักใยให้โยงมาเสียดินแดนเมืองขึ้นเหล่านี้ให้ฝรั่งเศสทั้งหมดอีกด้วย


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 21 ก.พ. 13, 19:21
ขอบพระคุณ อาจารย์ NAVARAT.C ครับ / บทสรุปของเรื่องฮ่อคงออกแนวที่ว่าแหละครับและก็เป็นแนวเดียวกับที่อ.ไกรฤกษ์ให้ความเห็นด้วย ... ความน่ากระหายใคร่รู้ต่อไปก็คือ หลังจากฮ่อไล่ตีทหารไทยและเจ้าลาวออกจากหลวงพระบางแล้ว ปักหลักยึดเมืองอยู่นานแค่ไหน แต่ความเสียหายคงมากโขอยู่ เว็บไซต์นำเที่ยววัดเชียงทอง มักจะบอกว่าวัดเชียงทองเป็นวัดเดียวที่รอดพ้นจากเหตุฮ่อปล้นเมืองเพราะ ...

"ทัพฮ่อนั้นนำโดย คำฮูมลูกเจ้าเมืองไล ได้ยึดเอาวัดเชียงทองเป็นที่ตั้งค่าย เนื่องจากว่าคำฮูมนั้นเคยบวชเป็นจัว (เณร) อยู่ที่วัดนี้ จึงรู้จักเส้นทางในเมือง และชัยภูมิของแถบบ้านเชียงทองเป็นอย่างดี พวกโจรฮ่อเผาทำลายเมืองหลวงพระบางทั้งหมด ยกวันที่วัดเชียงทองแห่งเดียวเท่านั้นที่รอดพ้นจากการถูกเผาทำลายในศึกครั้งนั้น ชาวลาวว่าเป็นเพราะคำฮูมรู้สำนึกบุญคุณวัดเชียงทองสมัยที่มาบวชเรียนอยู่จึงเว้นไม่เผา แต่บางคนก็ว่ากองทัพฮ่อใช้วัดเชียงทองเป็นที่ตั้งค่ายจึงไม่ได้เผาทิ้ง" ที่มา http://www.ezytrip.com/LaoPDR/th/North/LuangPrabang/LuangPrabang/WatXiengThong/WatXiengThong.htm


พอได้อ่านบันทึกของแมคคาร์ธีไปถึงตอนที่เจอวัดที่ถูกฮ่อปล้นแถบทุ่งเชียงคำ เขาบรรยายซะเละเทะเลย นึกจินตนาการว่าวัดวาอารามในหลวงพระบางตอนนั้นคงแทบไม่เหลือ แมคคาร์ธีเขาว่าไว้แบบนี้ครับ(ป.ล.สำนวนแปลเดียวกับต้นกระทู้)


                เราอาจตามรอยการเดินทางของพวกนี้ได้จากเถ้าถ่านของหมู่บ้าน  และประจักษ์พยานที่พวกมันทิ้งไว้ในวัดและเจดีย์ต่าง ๆ  ซึ่งถูกขุดค้นหาทรัพย์สินที่อาจฝังไว้ด้วยความชำนาญอย่างยิ่ง  ในวัดหลายแห่งมีรอยขุดเฉพาะบริเวณที่น่าสงสัยเท่านั้น  ส่วนอื่น ๆ มิได้ถูกแตะต้องอเลย
                เราได้เห็นใบประกาศที่พวกหนีตายจากหมู่บ้านที่ถูกฮ่อปล้นนำมาให้  ประกาศนั้นเขียนด้วยภาษาลาว  แต่มีตราจีนรูปสี่เหลี่ยมประทับ  เนื้อความเรียกร้องให้ชาวบ้านออกมาอ่อนน้อมยอมอยู่ใต้อำนาจฮ่อและขู่เอาโทษตายแก่ผู้ที่ยอมเชื่อฟัง  ใครก็ตามที่หนีไปหลวงพระบางจะต้องถูกตามจับเอาตัวกลับมาก
                 ชาวบ้านที่น่าสงสาร  อาศัยอยู่ในป่าดง  เพาะปลูกตามที่ลาดเขาเหล่านี้  มีชีวิตที่ยากแค้นแสนเข็ญไหนจะถูกพวกโจรขู่ฆ่ารุกราน  ไหนจะต้องอดทนต่อการบังคับจากเจ้าขันตีผู้ครองเมือง  ซึ่งมีอำนาจเหนือตนอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
..........
                เมื่อเตรียมการระวังป้องกันอันตรายจากพวกฮ่อเรียบร้อยแล้ว  เราก็พากันไปตรวจดูวัดใกล้ ๆ  นั้นตัวอาคารดูน่าสนใจตั้งแต่ภายนอก  รูปแบบเหมือน ๆ กับที่เห็นทั่วไปในสยามแต่ดูประณีตและบอบบางกว่าประตูลงรักปิดทองแพรว  แต่ทั่วไปถูกทำลายยับเยิน  พระพุทธรูปองค์ใหญ่กลิ้งตะแคงข้างอยู่  ส่วนฐานถูกรื้อหาทรัพย์สินที่ซ่อนไว้  ในซากปรักหักพังนั้นมีรูปเคารพเล็ก ๆ ที่คนของเราต้องการมาก  วัดแทบทุกแห่งจะมีพระพุทธรูปท่าประทับนั่ง  บ้างก็สร้างด้วยอิฐปูนปิดทองทับหนา  บ้างก็เป็นทองแดง  หรือบ้างก็เป็นนาก  (ทองผสมทองแดง)  ที่เรียกว่าโคตมะเพชร (เข้าใจว่าหมายถึงขัดสมาธิเพชร - ผู้แปล)  นั้นนับว่าเก่าที่สุด  และกำหนดเรียกจากลักษณะของพระบาท  เป็นลักษณะสำคัญยิ่ง  แต่นอกนี้ยังมีลักษณะอื่น ๆ  อีกที่แสดงว่าพระพุทธรูปองค์ใดศักดิ์สิทธิ์กว่าองค์อื่น
                เจดีย์หลายองค์  ส่งยอดเรียวสูงไสวอย่างเชิญชวน  แต่เราไม่อาจออกห่างจากค่ายพักได้ไกลนัก  เพราะพวกฮ่ออาจจะแอบซ่อนอยู่หลังพุ่มไม้ใดก็ได้  วัดนั้นถูกทำลายพินาศสิ้น  คัมภีร์ใบลานกองเขละเป็นพะเนิน  ถ้าไม่มีคนดูแลโดยเร็วก็คงจะเสียหายไปทั้งหมด





กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 20:55
ลองอ่านเรื่องที่เขียนขึ้นโดยฝรั่งดู

พวกฮ่อคือพวกจีนที่ร่วมกับการกบฏไต้เผง (Taiping Rebellion) ที่มุ่งหมายจะให้จีนพ้นจากอำนาจของพวกแมนจู จนเกิดการรบพุ่งกันเป็นการใหญ่ พวกไต้เผงแพ้ต้องหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขาในมณฑลต่าง ๆ ของจีน ในมณฑล ยูนาน ฮกเกี้ยน กวางไส กวางตุ้ง เสฉวน และส่วนหนึ่งหนี่งมายังตังเกี๋ย ทางตั้งเกี๋ยจึงดำเนินการปราบปรามทำให้พวกฮ่อต้องหนีไปอยู่ที่เมืองซันเทียน ซึ่งตั้งอยู่ชายแดนสิบสองจุไท

ฮ่อธงสีแดงและธงลายแถบ

เริ่มต้นในปี 1872กองกำลังของพวกกบฏที่พ่ายหนีกองทัพจีนของราชวงศ์ชิงที่กลับมายึดครองยูนนานก็เริ่มแตกร่นข้ามชายแดนเข้าสู่ลาว ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรสยาม กองกำลังเหล่านี้ เด่นชัดภายใต้ 'ธงสีแดง' และ 'ธงลายแถบ' เคลื่อนลงใต้และเข้าครองภาคเหนือเกือบทั้งหมดของลาว. พวกฮ่อสีแดงเข้ายึดเบียนเดียนฟู(เมืองแถน)ในปี 1873 และฮ่อธงลายยึดครองพวนและทุ่งไหหินในปีเดียวกันนั้น

เพื่อตอบโต้การรุกรานของฮ่ออย่างจริงจัง ในปี1874 เจ้าอุ่นคำ เจ้านครหลวงพระบางและเหงียนตือดึก กษัตริย์ญวนได้ส่งกองทัพร่วมกันเพื่อขับไล่ผู้รุกราน แต่การจัดทัพขาดระบบที่ดี ทำให้แพ้พ่ายและเจ้าอึ้งแห่งพวนถูกฆ่าตาย พวกฮ่อเมื่อได้รับชัยชนะแล้ว ก็เคลื่อนทัพลงใต้จะไปยึดเวียงจันทน์ ในขณะที่เจ้าอุ่นคำส่งใบบอกเร่งด่วนลงมาสยาม ขอรับความช่วยเหลือพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งขณะนั้นคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การมาถึงของกองทัพสยาม ปฏิบัติการทางทหารครั้งที่หนึ่ง

ในต้นฤดูฝนปี 1875 กองกำลังสยามเดินทัพข้ามแม่น้ำโขงที่หนองคาย นับเป็นปฏิบัติการทางทหารครั้งแรกของทหารของไทยในสงครามปราบฮ่อ  โดยกำหนดเป้าที่จะเข้าตีฐานกำลังหลักเพื่อทำลายพวกฮ่อที่เชียงคำ. การปฏิบัติการนี้ถือว่าล้มเหลวในแง่ของการบรรลุวัตถุประสงค์หลัก เพราะพวกฮ่อหลีกเลี่ยงการต่อสู้และถอยทัพกลับเข้าไปในภูเขาของพวนและหัวพันทั้งห้า เมื่อสยามถอยทัพกลับเมื่อหลังจากนั้นปีหนึ่ง กลุ่มติดอาวุธของฮ่อก็โผล่ออกมาเพื่อก่อกวนและปล้นสะดมชาวบ้านมากบ้างน้อยบ้างตามใจชอบ

ปฏิบัติการทางทหารครั้งที่สองของสยามและบันทึกของเจมส์ แมคคาร์ธี

แปดปีต่อมาใน1883 เมื่อเผชิญหน้ากับภัยคุกคามครั้งใหม่ของฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง เจ้าอุ่นคำก็มีใบบอกมาทางกรุงเทพฯเพื่อขอความช่วยเหลืออีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าส่งกองทัพสยามประกอบด้วย ทหารเกณฑ์ชาวอีสานและภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ ผลของปฏิบัติการครั้งนี้ เจมส์แมคคาร์ธี นักรังวัดแผนที่ชาวอังกฤษร่วมอยู่ด้วย และบันทึกไว้ว่า 'บกพร่อง วางแผนอย่างไม่พอเพียง และไร้ความสำเร็จในท้ายที่สุด' การปฎิบัติการทางทหารปี1884-1885เป็นเอกสารที่ดีที่สุด ต้องขอบคุณแม็กคาร์ธีผู้บันทึกเรื่องนี้ไว้เป็นการส่วนตัว อธิบายความพยายาม ความทุกข์และความไร้สมรรถภาพในสงครามปราบฮ่อ ที่ทำให้เห็นภาพได้มากกว่าบันทึกอย่างเป็นทางการของสยาม

แมคคาร์ธีได้เริ่มงานสำรวจภูเขาตามแนวชายแดนระหว่างลาวและตังเกี๋ยในปี 1884 เมื่อเขานำคณะสำรวจไทยไปยังเมืองพวนและพรมแดนทางตอนใต้ของหัวพานทั้งห้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานทำแผนที่ราชอาณาจักรสยามตามที่เขาได้รับการว่าจ้างจากราชการไทย ระหว่างปฏิบัติงานครั้งนี้เขาต้องเดินทางอย่างกว้างขวางผ่านดินแดนที่มีการโจมตีของพวกฮ่อเป็นประจำ เขาบันทึกไว้ว่า 'ในขณะที่เราเดินทางไปเรื่อยๆนั้น ก็มีคนมาเล่าเรื่อฮ่อให้ฟังอยู่เรื่อยๆ เกี่ยวกับเรื่องที่มันปล้นฆ่า หรือจับเอาไปเป็นเชลย'

แมคคาร์ธีรู้สึกประทับใจกับความงามของธรรมชาติและความมั่งคั่งของภูมิภาค แต่ก็พบว่าชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ ' มีชีวิตที่น่าอนาถ ... ถูกรุมเร้าด้วยความหวาดกลัวที่จะโดนปล้นฆ่าโดยเหล่าโจร' เช่นในเวียงจันทน์สิบปีก่อน วัดทางพุทธศาสนาถูกปล้นและทำลายเพื่อค้นหาของมีค่า แมคคาร์ธีเขียนว่า 'วัดถูกทำลายอย่างคึกคะนอง และจารึกใบลานถูกนำมากองสุมกันไว้ ซึ่งถ้าไม่มีใครสนใจดูแล จะต้องสูญเสียไปตลอดกาล'

หลังจากนั้น แมคคาร์ธีจึงได้เดินทางไปยังหลวงพระบางที่จะให้คำปรึกษากับผู้บัญชาการทหารไทยและเจ้าอุ่นคำ ที่นั่นเขาได้ทราบว่าพวกฮ่อได้มาถึงเมืองยู่แล้ว และควรจะได้รับการต้านทานจากทหารภายใต้บังคับบัญชาของพระยาสุโขทัย. แต่กลายเป็นว่าแม่ทัพไทยคนนี้กลับป่วยหนักด้วยโรคมาลาเรีย ทัพไทยจึงได้ถอนตัวมาที่หลวงพระบาง เป็นผลให้ฮ่อสามารถที่จะเข้ายึดด่านและการเผาทำลายค่ายที่ทหารสยามทิ้งไว้โดยง่าย ฤดูฝนของเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมทำให้พิสูจน์ได้ว่ามาลาเรียคือศัตรูที่คร่าชีวิตทหารมากกว่าพวกฮ่ออันน่ากลัวนั้นมาก แมคคาร์ธีใช้คำว่า "ฝนเทลงอย่างต่อเนื่อง และความเจ็บป่วยเป็นผู้ชนะ " ดังนั้นทหารสยามที่ไปรบในลาวจึงยังคงปักหลักอยู่ที่หลวงพระบาง หรือไม่ก็ถอนตัวออกข้ามแม่น้ำโขงกลับไปหนองคาย แมคคาร์ธีเองจึงเดินทางไปกรุงเทพฯเพื่อถวายคำแนะนำพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อสถานการณ์และรอฤดูหนาวที่แผ่นดินจะแห้งขึ้น
 
แมคคาร์ธีได้รับคำสั่งให้กลับไปประเทศลาวอีกครั้งในช่วงปลายฤดูฝน. เขาออกจากกรุงเทพฯในเดือนพฤศจิกายน 1884 โดยเดินทางผ่านอุตรดิตถ์และน่าน ไปถึงหลวงพระบางเมื่อ 14 มกราคม 1885 ทันเวลาที่จะเป็นประจักษ์พยานของการประทุครั้งใหม่ ของสงครามที่สั้นแค่สามเดือน ก่อนที่จะจบด้วยความล้มเหลว

พวกฮ่อมีอาวุธปืนไรเฟิลยิงซ้ำที่ทันสมัยและกระสุนที่ผลิตในเบอร์มิงแฮม เชี่ยวชาญในการรบนอกรูปแบบ พวกเขาใช้กลยุทธ์ทำลายขวัญ เช่นสังหารเชลยอย่างทารุณ ใช้หลุมขวาก และการลอบโจมตีไม่ให้รู้ตัวในเวลากลางคืน  มีการใช้ไสยศาสตร์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย โหรที่ติดตามกองทัพสยามระบุว่า ตอนเช้าของ 22 กุมภาพันธ์ 1885 ในเวลา10:00 เป็นเวลาดีที่สุดที่จะเริ่มโจมตีศัตรู พอถึงเวลาดังกล่าวปืนถูกยิงไปนัดหนึ่ง และทหารก็เคลื่อนกำลังเข้าโจมตีฐานที่มั่นของพวกฮ่อ ซึ่งเป็นค่ายอย่างดีสร้างด้วยไม้ไผ่ มีความยาว400 กว้าง200เมตร มีหอสังเกตการณ์สูงประมาณ 12 เมตรอยู่ถึงเจ็ดหอ ทหารไทยและลาวรวมกันทั้งกองร้อยประมาณ 50 คน มีธงช้างเผือกของสยามนำ ก็เคลื่อนตัวเข้าไปหลังรั้วเหล็กชั่วคราวที่ทำไว้ห่างค่ายของฮ่อประมาณ100เมตร มีอาวุธปืนใหญ่อาร์มสตรอง2.5นิ้ว แต่ปืนเหล่านี้เห็นได้ชัดว่ามีกระสุนไปไม่พอเพียง แมคคาร์ธีสังเกตว่า การยิงส่วนใหญ่ดูเหมือนจะมาจากหอสังเกตการณ์ของฮ่อ และแม้ทหารไทยลาวจะแสดงความกล้าหาญที่ไม่ต่างกับความประมาทแบบไม่แยแสการบาดเจ็บ จากกระสุนที่ "มุ่งสังหาร"พวกเขา ในทางกลับกัน พวกฮ่อยังคงค่อนข้างที่จะไม่ระคายสักเท่าไหร่  เวลาสองนาฬิกาในช่วงบ่ายทหารไทยประสบความล้มเหลวยิ่งขึ้นเมื่อพระยาราช ผู้บังคับบัญชา ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากโดนกระสุนปืนใหญ่น้ำหนักประมาณสองปอนด์เข้าที่ขา ขณะที่ยืนกำบังเสาศาลเจ้าแบบจีนเพื่อสังเกตุการณ์ การโจมตีค่ายฮ่อในที่สุดก็ต้องถอยกลับฐาน


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 21:03
บันทึกฝ่ายไทย

พระวิภาคภูวดลขึ้นไปทำแผนที่

พระวิภาคภูวดล (นาย เยมซ์ แมคคาที) ขึ้นไปทำแผนที่เมืองพวนและทุ่งเชียงคำปลายเขตแดนเมืองหลวงพระบาง ทำแผนที่แล้ว (แต่น่าจะยังทำไปไม่ถึงเมืองพวนและทุ่งเชียงคำตามภารกิจ) กลับลงมาเมืองหลวงพระบางได้พบกับพระยาพิไชยถามถึงการดำเนินการต่อพวกฮ่อที่ตีและยึดเมืองยู พระยาพิไชยแจ้งว่าจะยกไพร่พลเมืองพิไชย ๕๐๐ คน ไปตีพวกฮ่อที่เมืองยูใน วันพฤหัสบดี แรม ๔ ค่ำ เดือน ๗ พระวิภาคภูวดลจึงมอบปืนสนัยเดอร์ให้ ๒๐ กระบอก พร้อมกระสุน ๒,๐๐๐ นัด พระวิภาคภูวดลว่า บัดนี้ ออกไปทำแผนที่เมืองพวนและทุ่งเชียงคำได้แล้ว

ส่วนกองทัพที่เจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก และเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เป็นแม่ทัพ ยกขึ้นไปจนยกกลับกรุงเทพฯ ไม่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา แต่การปราบฮ่อนี้ก็ได้ดำเนินต่อไปจน ๑๒ - ๑๓ ปี . . .

ลุ ปีระกา สัปตศก จุลศักราช ๑๒๔๗ พ.ศ.๒๔๒๘
ครั้น แรม ๔ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา จ.ศ.๑๒๔๗ ตรงกับวันจันทร์ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๘ ได้รับใบบอกจาก พระยาศุโขไทย, เจ้าอุปราชเมืองหลวงพระบาง และพระยาราชวรานุกูลกับพวกนายทัพนายกองทางทุ่งเชียงคำว่า ได้สู้รบกับกองทัพพวกฮ่อติดพันกันอยู่ แต่พวกฮ่อหาได้เลิกถอยไปไม่ กองทัพก็ขัดสนด้วยเสบียงอาหาร ไพร่พลก็บอบช้ำป่วยไข้ล้มตายลงมาก พระยาราชวรานุกูล (เวก บุญยรัตพันธุ์ เดิมเป็นที่ พระสุริยภักดี แม่ทัพหน้าของเจ้าพระยาภูธราภัย ครั้ง พ.ศ.๒๔๑๘) ต้องเลิกทัพมาจากทุ่งเชียงคำ
 
ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว จึงมีพระราชดำรัส สรุปความได้ว่า

. . . อ้ายฮ่อคุมกำลังขึ้นเป็นกองโจร ล่วงล้ำเบียดเบียนหัวเมืองลาวในพระราชอาณาเขต คั้งแต่ พ.ศ.๒๔๑๕ ทางกรุงเทพฯ จัดให้หัวเมืองทางเหนือคุมกำลังเข้ากองทัพเป็นหลายหมื่น ขึ้นไปช่วยเมืองลาวปราบปรามพวกโจรฮ่อ รบกันเป็นหลายปี เสียชีวิตพลเมือง และสิ้นพระราชทรัพย์เป็นอันมาก
ครั้น พ.ศ.๒๔๑๖ อ้ายฮ่อกลับตีเข้ามาถึงเมืองเวียงจันทน์ ทางกรุงเทพฯ ก็จัดกองทัพเสนาบดีขึ้นไปปราบ และจัดกิจการบ้านเมือง ก็หาเรียบร้อยไปได้ไม่ มาถึง ๑๒ - ๑๓ ปีแล้ว พระยาพิชัย และพระยาราชวรานุกูล ต่างก็อ้างเหตุขัดข้องลงมาเช่นนี้ ทำอย่างไรจึงจะราบคาบลงได้ ทั้งเวลานี้หัวเมืองญวนซึ่งมีเขตติดต่อกับเมืองลาวฝ่ายเหนือก็กำลังจลาจลปั่นป่วนด้วยฝรั่งเศสมารบกวน การปักปันเขตแดนทำแผนที่ก็ไม่สำเร็จลงได้ ทรงเห็นว่า กองทัพพระยาพิชัย ฝ่ายเหนือ และ กองทัพพระยาราชวรานุกูล ฝ่ายใต้ถ้าจะให้ทำการต่อไปก็คง ติดๆ ขัดๆ เสียเวลาเรื่อยไป ควรจะเรียกตัวมาลงโทษบ้าง ให้ตำรวจคุมเครื่องพันธนาการไปหาตัวให้กลับลงมา . .
.
ก็พอดีมีใบบอกของพระยาราชวรานุกูลลงมาว่า กองทัพพระยาพิชัย และพระยาราชวรานุกูล ตั้งล้อมค่ายพวกฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ ได้เข้าตีค่ายฮ่อเป็นหลายครั้ง ก็ตีไม่แตกเสบียงอาหารไม่พอเพียง ทหารได้รับความอดหยาก ขณะที่พระยาราชวรานุกูลอำนวยการรบเข้าตีนั้น พวกฮ่อได้ยิงปืนต้านทาน กระสุนถูกหน้าแข้งพระยาราชวรานุกูลกระดูกแตก ครั้น ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา จ.ศ.๑๒๔๗ ตรงกับวันพฤหัสบดี วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๘ พระยาราชวรานุกูล กับพระยาพิชัย จึงต้องเลิกทัพจากทุ่งเชียงคำ

เมื่อทรงทราบความตามใบบอกแล้ว การที่จะหาตัวพระยาราชวรานุกูลมาลงโทษจึงยุติ เป็นแต่เรียกกองทัพกลับมายังกรุงเทพฯ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 21:09
การรบครั้งนั้นอาจจะถือว่าแพ้ แต่สงครามกับฮ่อยังไม่จบ ยังมีต่ออีก


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 21:31
สงครามครั้งที่ ๒ จ.ศ.๑๒๔๗ พ.ศ.๒๔๒๘

ลุปีระกาสัปตศก จุลศักราช ๑๒๔๗ พ.ศ.๒๔๒๘ เมืองหลวงพระบางมีใบบอกลงมาว่า ได้เกิดมีพวกฮ่อธงเหลืองก่อการกำเริบ คุมสมัตรพรรคพวกเข้ามาตั้งอยู่ปลายเขตต์แดนพระราชอาณาจักร และยกกองทัพเข้ามาตีหัวเมืองต่างๆ ปลายเขตต์แดน เจ้าเมืองหลวงพระบางได้เกณฑ์เพี้ยพระยาลาวให้คุมพลขึ้นไปปราบปราม ๑,๔๐๐ คน ให้แบ่งเป็น ๒ กอง ยกแยกไปทางแม่น้ำอู และทางแม่น้ำเซือง . . . ฯลฯ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้กองทหารที่ได้รับการฝึกหัดตามแบบยุโรปขึ้นไปปราบฮ่อ โดยจัดเป็นสองกองทัพคือ กองทัพฝ่ายใต้ และกองทัพฝ่ายเหนือ

กองทัพฝ่ายเหนือ (ขวา) กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นแม่ทัพ
กองทัพฝ่ายใต้แม่ทัพฝ่ายใต้ เจ้าหมื่นไวยวรนารถ(ซ้าย)                                                         
นายพันตรี พระอมรวิไสยสรเดช (โต บุนนาค) ผู้บังคับกองปืนใหญ่ กับนายทหารปืนใหญ่อีกหลายคนเป็นทัพหน้า ยกไปปราบฮ่อในแคว้นเมืองพวน
ยกกำลังออกจากกรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๔๒๘ ใช้เวลาเดินทางสามเดือนถึงเมืองหนองคาย และได้ตั้งกองบัญชาการกองทัพอยู่ที่เมืองหนองคาย แล้วให้นายพันตรี พระอมรวิไสยสรเดช ยกทัพหน้าไปตีค่ายฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ

พวกฮ่อได้หนีไปในเขตญวน กองทัพไทยจึงรื้อค่ายฮ่อที่ทุ่งเชียงคำเสีย


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 21:45
วันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๒๙ กองทัพได้ยกมาถึงเมืองซ่อน

การเดินทางตั้งแต่เมืองงอยถึงเมืองซ่อน ทหารป่วยเป็นไข้มาตามทางกว่าค่อน ทั้งมาเลเรียและโรคระบบทางเดินอาหาร มีนายทหารเสียชีวิต ๒ นาย พลทหารหลายนาย กองร้อยหลวงดัสกรที่ยกไปเมืองสบแอดก็รายงานว่าทหารป่วยมาก ยาที่จัดมาจากเมืองพิชัยก็หมดลงแล้ว

กองร้อยของนายร้อยเอก หลวงดัษกรปลาศ และกำลังเมืองหลวงพระบางของเจ้าราชภาคิไนย ซึ่งยกขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้นวันจันทร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๒๙ ทัพไทยได้เข้าโจมตีค่ายฮ่อที่ตำบลบ้านใด แขวงเมืองสบแอดพร้อมกัน พวกฮ่อมีปืนใหญ่ กระสุนโตเท่าผลส้มเกลี้ยง นำออกมาตั้งยิงหน้าค่าย แต่ใส่ดินระเบิดมากเกินไป จนลำกล้องปืนระเบิดแตกทำลายลง พวกฮ่อก็เสียขวัญกลับเข้าค่าย กองทัพไทยจึงตามตีไล่รุกบุกบันกระชั้นชิดชักปีกกาโอบค่ายพวกฮ่อ ดังนี้

๑. นายร้อยโท ดวง ชูโต คุมทหารตอนหนึ่งเข้าตี พังประตูด้านใต้
๒. นายร้อยโท เอื้อน ชูโต คุมทหารตอนหนึ่งเข้าตี พังประตูด้านตะวันตก
๓. นายร้อยเอก หลวงดัษกรปลาศ เจ้าราชภาคิไนย และ นายร้อยโท เจ๊ก คุมกองหนุน
๔. พระพิพิธณรงค์กรมการเมืองลับแล กับพระเจริญจตุรงค์กรมการเมืองพิชัย คุมไพร่พลหัวเมืองเข้าตีด้านใต้ ตีหักพังประตูเข้าไปในค่ายฮ่อได้ พวกฮ่อแตกกระจัดกระจายออกทางหลังค่าย (ด้านทิศตะวันออก)
 
กองทัพก็เข้าค่ายได้ พวกฮ่อต้องรีบทิ้งค่ายหนีไป กองทัพจึงไล่ติดตามรบ และยิงปืนไป การยึดค่ายฮ่อคราวนี้ จับได้ภรรยาหัวหน้าฮ่อ และครอบครัว ๓๓ คน ทั้งยังยึดได้อาวุธต่างๆ เช่น ปืนคาบศิลา ดาบและมีดต่างๆ ดินดำ ตะกั่วที่ใช้ในการทำลูกกระสุนปืน เสบียงอาหาร จำนวนหนึ่ง

วันรุ่งขึ้น นายบ้านและพลเมืองในเมืองสบแอดที่ยอมพวกฮ่อ ประมาณ ๔๐๐ คน ได้นำครอบครัวออกมาหากองทัพ และให้ข่าวสารว่า คืนนี้ผู้ไทยทู้ที่อยู่ในค่ายบ้านนาปา หนีจากพวกฮ่อไปหมดแล้ว เหลือพวกฮ่อประมาณ ๕๐ คนก็เห็นว่าจะต่อสู้รักษาค่ายไม่ไหวแน่ ก็ทิ้งค่ายหนีเข้าป่าไปแล้ว แต่เสบียงยังคงอยู่เต็มฉาง นายร้อยเอก หลวงดัษกรปลาศ เจ้าราชภาคิไนย จึงมำทหารไปค่ายบ้านนาปา ระยะทางจากค่ายบ้านใดประมาณ ๒๐๐ เส้น ขนข้าวจากฉางของพวกฮ่อที่บ้านนาปาทั้งในค่าย และที่ซ่อนไว้ในป่านำไปที่ค่ายบ้านใด ได้ข้าวสารข้าวเปลือกรวม ประมาณ ๖ พันถัง

แม่ทัพจึงออกประกาศให้พลเมืองร่วมมือในการปราบฮ่อ แล้วกำหนดยกกองทัพใหญ่ขึ้นไปจัดราชการ ณ เมืองสบแอดในเดือน ๖ นี้


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 21:48
ทางด้าน กองร้อยนายร้อยเอก หลวงจำนงยุทธกิจ ซึ่งยกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ไปตีพวกฮ่อที่ เมืองโสย เมืองแวน เมืองพูน นั้น ไปถึงเมืองจาด ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองโสยในวันเสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๙ มีพวกฮ่อและแม้วประมาณ ๔๐ อยู่ในค่าย นายร้อยตรี เพ็ชร์ กับท้าวอ่อน หัวหน้าลื้อ กรมการเมืองไซซึ่งเป็นกองหน้า เข้าตีได้ค่ายฮ่อ พวกฮ่อหนีไปช่องผาแคบ
กองหน้าตั้งพักที่เมืองจาดคืนหนึ่ง พอวันรุ่งขึ้น นายร้อยเอก หลวงจำนงยุทธกิจ และกองทัพเจ้าราชวงศ์มาถึง จึงได้ยกติดตามพวกฮ่อไปพร้อมกัน พวกฮ่อและแม้วแตกหนีไปบ้านหอ แขวงเมืองโสยและเตรียมการตั้งรับ เมื่อกองทัพมาถึงบ้านหอจึงได้สู้รบกัน พวกฮ่อต้องหนีเข้าไปในเมืองโสย กองทหารไทยก็กลับไปตั้งที่เมืองจาด
 
แม่ทัพจึงปรึกษากับคณะนายทหารและพระยาสุโขทัยว่า เป็นเวลาถึงฤดูฝนแล้ว ฝ่ายเราได้ตั้งสกัดทางไว้ถึง ๓ ตำบลแล้ว จึงควรพักไพร่พลไว้ก่อน เมื่อสิ้นฤดูฝนแล้วจึงจัดราชการ และตั้งด่านทางต่อไป และถ้าพวกฮ่อเที่ยวแยกย้ายกันอยู่ตามตำบลต่างๆ ก็จะได้แต่งกองทหารให้ปราบปรามได้ถนัด และให้นายร้อยเอก หลวงจำนงยุทธกิจและเจ้าราชวงศ์ กลับมาตั้งมั่นบำรุงรี้พลอยู่ ณ เมืองแวน โดยไม่ทำลายค่ายพวกฮ่อที่เมืองจาด


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 21:59
การที่กองทัพกลับมาตั้งอยู่ ณ เมืองแวน โดยไม่ทำลายค่ายพวกฮ่อที่เมืองจาดนั้น เป็นอุบาย โดยนำกระสุนปืนใหญ่มาฝังไว้เป็นกับระเบิด เมื่อพวกฮ่อเข้ามาสะดุดสายชนวนเข้าก็ระเบิดขึ้น ทำให้ตายและบาดเจ็บหลายคนพวกฮ่อที่เก็บกระสุนปืนใหญ่ไปจากเมืองจาด แล้วพยายามใช้ขวานทุบก็ไม่แตก จึงเอาเชือกร้อยห่วงแก๊ปแล้วลองดึง คิดว่าจะเป็นวิธีที่เปิดดูภายในลูกกระสุนได้ กระสุนก็เลยระเบิดขึ้นตายกันหลายคน นายร้อยเอกหลวงจำนงยุทธกิจและเจ้าราชวงศ์ กลับมาตั้งอยู่ ณ เมืองแวนได้ ๗ วัน ก็ได้รับรายงานว่า พวกฮ่อที่กลับเข้าไปในค่ายเมืองจาดโดนระเบิดตาย ๗ คน บาดเจ็บหลายคน และให้ครั่นคร้ามทหารไทยและลูกแตกเป็นอันมาก ถึงกับอพยพกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ ๓๐ - ๔๐ คนออกจากเมืองจาด ว่าจะไปอยู่ท่าขวา แขวงเมืองสิบสองจุไทย ริมฝั่งแม่ร้ำแท้หรือแม่น้ำดำ ยังคงเหลือพวกฮ่อที่เมืองพูน และเมืองโสย อีกแห่งละประมาณ ๓๐ คน แต่ก็ได้ออกปล้นสดมภ์ชาวบ้านอยู่เนืองๆ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 22:02
ทางด้าน นายร้อยเอกหลวงดัษกรปลาศ เจ้าราชภาคิไนย นายร้อยโทดวง ชูโต และ นายร้อยโทเจ๊ก ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านใด

เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤษภาคม นายร้อยโทดวง ชูโต ได้ข่าวว่าพวกฮ่อประมาณ ๗๐ คน ไปรวมกันที่บ้านห้วยสาร แขวงเมืองสบแอด และวันรุ่งขึ้นจะเดินทางไปเมืองฮุง แขวงสิบสองจุไทย ทางเดินต้องผ่านห้วยแหลก จึงพร้อมด้วยนายร้อยตรีหลอย พระเจริญจตุรงค์กรมการเมืองพิชัย และทหาร ๒๔ นาย จะไปคอยสกัดซุ่มโจมตีพวกฮ่อที่ห้วยแหลก พอถึงกลางห้วยพบพวกฮ่อซึ่งเดินสวนทางมาจึงได้ปะทะกัน

ผลการปะทะ พวกฮ่อตาย ๘ คนที่เหลือบาดเจ็บ และแตกหนีไป ฝ่ายเราพลทหารอ่อน บาดเจ็บ ๑ นาย
พอดีเป็นเวลาใกล้ค่ำ กองทหารจึงกลับมาตั้งที่เมืองสบแอด พลเมืองก็สงบเรียบร้อยเป็นปรกติ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 22:05
เมืองโสย เมืองพูน

นายร้อยโทแขก และท้าวอ่อนกรมการเมืองไซ ซึ่งนำทหารกรุงเทพฯ และทหารหัวเมือง ๑๓๐ นาย ไปกวาดล้างพวกฮ่อที่เมืองโสย เมืองพูนตามคำสั่ง นั้นในวันอาทิตย์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๗ ตรงกับ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ได้เข้าตีค่ายพวกฮ่อที่เมืองโสย ซึ่งมีกำลังประมาณ ๑๕๐ ได้รบกันอยู่ ๓ วัน ผลปรากฏว่า พวกฮ่อตาย ๑๕ บาดเจ็บไม่ทราบจำนวน ที่เหลือแตกหนีไปเมืองพูน ฝ่ายเรา ปลอดภัยทั้งหมด
นายร้อยโท แขก และท้าวอ่อนจึงนำกองทหารเข้าพักในเมืองโสยสองวัน

ครั้น วันที่ ๒๒ มิถุนายน จึงออกเดินทางไปเมืองพูน พวกฮ่อได้ทราบข่าว จึงเผาเสบียงแล้วหนีออกทางหลังค่าย และเดินทางออกนอกพระราชอาณาเขตไป

นายร้อยโท แขก และท้าวอ่อนจึงนำกองทหารเข้าพักรักษาค่ายคอยฟังราชการในเมืองพูน

เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้จัดท้าวขุนเมืองซำใต้รวมนายไพร่ จำนวน ๑๕๐ คน ไปรักษาเมืองโสย เพราะไพร่พลเมืองโสยแตกฉานเข้าไปอยู่เมืองซ่อนบ้าง เมืองแวนบ้างพวกหัวหน้าที่เข้าด้วยพวกฮ่อ ที่เป็นหัวหน้า มี ๔ คน คือ ท้าวบา ท้าวเมือง ท้าวโดย และเพี้ยบัวเงิน และพรรคพวก ราว ๔๐๐ คนก็ได้เข้าหากองทัพโดยดี นายร้อยโท แขก ได้นำตัวหัวหน้าทั้งสี่ลงมาเมืองแวน แม่ทัพพิจารณาว่า หากให้อยู่ภูมิลำเนาเดิมอาจจะก่อความไม่สงบขึ้นอีก สมควรให้ไปอยู่ในหัวเมืองชั้นใน แต่เนื่องด้วยยังเป็นฤดูฝน จึงให้เจ้าราชวงศ์รับไว้ ณ เมืองแวนก่อน แต่ครอบครัวคงให้อยู่ในถิ่นฐานเดิมของตนต่อไป

แม่ทัพแต่งให้พระยาเชียงเหนือกับขุนท้าวในหัวเมืองนั้นๆ ตั้งรักษาราชการในเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก คือ เมืองหัวพัน เมืองแวน เมืองโสย เมืองซำใต้ เมืองซำเหนือ และเมืองพูน ซึ่งพวกฮ่อได้แตกพ่ายไปหมดแล้ว แต่ไพร่พลเมืองที่แตกฉานกันไปยังไม่สามารถรวบรวมให้เรียบร้อยได้ ส่วนทางเมืองสบแอดเชียงค้อ ซึ่งเป็นเมืองใกล้ชิดติดกับเมืองสิบสองจุไทยยังไม่สงบราบคาบเรีบยร้อย แต่เนื่องจากเป็นฤดูฝนจึงได้แต่ "จัดการไปให้พอสมควรที่จะทำไปได้ เมื่อสิ้นฤดูฝนแล้วจะได้ยกกองทัพออกเดินต่อไป เมื่อจัดการให้ลงระเบียบได้แล้ว ราชการก็จะเรียบร้อยได้" จึงให้พระยาสุโขทัยข้าหลวงยกขึ้นไปเมืองแวนก่อน เพื่อจัดรวบรวมเสบียงอาหารไว้ และเกลี้ยกล่อมไพร่บ้านพลเมืองให้กลับคืนภูมิลำเนาตามเดิม ส่วนกองทัพใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซ่อนก่อน


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 22:09
ค่ายเมืองสบแอด

เมื่อพระสวามิภักดิ์สยามเขตต์เดินทางไปพบองบานายฮ่อธงดำใหญ่นั้น ทางกองร้อยของนายร้อยเอกหลวงดัษกรปลาศ เจ้าราชภาคิไนย นายร้อยโทดวง และ นายร้อยโทเจ๊ก ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองสบแอด มีทหารป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งนายร้อยเอกหลวงดัษกรปลาศด้วย
 
แม่ทัพจึงสั่งการให้ ส่งทหารป่วย รวมทั้งนายร้อยเอก หลวงดัษกรปลาศไปที่ค่ายเมืองซ่อน และมอบให้นายร้อยโท ดวง ทำการแทนต่อไป และจัดนายร้อยเอก หลวงหัตถสารศุภกิจ (ภู่) และนายร้อยโท แจ นำปืนใหญ่อาร์มสตรอง ๑ กระบอก กับรี้พลอีก ๒๐๐ ไปเพิ่มเติมกำลังที่ค่ายบ้านใด และให้รีบตามตีพวกฮ่อต่อไป และให้กองของนายร้อยเอก หลวงจำนงยุทธกิจ และเจ้าราชวงศ์ ซึ่งตั้งที่เมืองแวนโอบไปทางตะวันออกเฉียงใต้อีกทางหนึ่ง แต่ยังไม่ทันได้ปฏิบัติ พวกฮ่อก็ชิงปฏิบัติเสียก่อน ดังนี้

ฝ่ายพวกฮ่อซึ่งแตกจากบ้านใด บ้านนาปา แขวงเมืองสบแอด ได้ทราบข่าวว่ากองทัพเจ็บไข้ได้ป่วยมาก จึงรวบรวมผู้คนและติดต่อจ้างพวกฮ่อธงดำ รวมได้ไพร่พล ราว ๒๕๐ ยกมาตั้งที่เมืองฮุง ต่อกับแขวงเมืองสบแอด ตั้งแต่วันอังคาร แรม ๖ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๙ และต่อมาอีก ๓ วัน คือใน ๒๕ มิถุนายน พวกฮ่อกลุ่มนี้ก็เข้าตีบ้านเล็กเมืองน้อยในเขตเมืองสบแอด พลเมืองต้องหนีเข้าในค่ายที่บ้านใด ซึ่งนายร้อยเอกหลวงดัษกรปลาศ เจ้าราชภาคิไนย นายร้อยโทดวง และ นายร้อยโทเจ๊ก ตั้งอยู่
 
ขณะนั้น ทหารกำลังเป็นไข้ป่าอาการหนักแทบทั้งค่าย มีที่ป่วยน้อยคือ เจ้าราชภาคิไนย และ นายร้อยโทดวง จึงได้เอา"ลูกแตก"ผูกแขวนไว้รอบค่าย ให้ทหารป่วยที่ลุกไม่ขึ้นคอยระวังสายชนวน เพื่อกระตุกให้ลูกแตกนั้นระเบิดขึ้น เมื่อพวกฮ่อที่ล้อมค่ายพยายามจะเข้าปล้นค่าย และได้กระทบลูกแตก ครั้นทหารเห็นได้จังหวะก็กระตุกสายชนวนให้ลูกแตกระเบิด พวกฮ่อเป็นอันตรายหลายคนจนเข็ดขยาดไม่กล้าเข้าปล้นค่าย ได้แต่ล้อมอยู่


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 22:13
ห้วยก๊วง

พระเจริญจตุรงค์กรมการเมืองพิชัยซึ่งคุมไพร่พลหัวเมืองอยู่ที่บ้านใด ได้นำกำลังส่วนหนึ่งแยกออกไปตั้งรักษาการ เห็นพวกฮ่อมีกำลังมากไม่สามารถต้านทานได้ก็ถอนตัว พวกฮ่อตามมาทันกันที่ห้วยก๊วง ได้รบปะทะกัน ผลปรากฏว่าพวกฮ่อเสียชีวิต ๒๖ คน รวมทั้งซันตาเล่าแย้ นายใหญ่พวกฮ่อด้วย

พอดีนายร้อยโทเอื้อน กับทหาร ๖ นาย จะไปเมืองสบแอดเดินทางมาถึง จึงเข้าร่วมสู้รบด้วย หลังจากสู้รบกันแล้ว ๔ ชั่วโมง พระเจริญจตุรงค์ถูกกระสุนเสียชีวิต นายร้อยโท เอื้อนพยายามเล็ดลอดกลับมาค่ายบ้านใด แต่ถูกยิงที่โคนขา จึงให้นายสิบโทท้วมพาทหารหนีไป ตนเองหลบลงไปซุ่มกอไม้ที่ชายน้ำ พวกฮ่อตามนายสิบโทท้วมไม่ทัน จึงกลับมาที่นายร้อยโทเอื้อน เห็นไม่มีอาวุธจึงคิดจะจับเป็น นายร้อยโทเอื้อนใช้ปืนพกยิงตายถึง ๓ คน แต่ยิงคนที่ ๔ พลาดไป จึงถูกฮ่อใช้ดาบฟันเสียชีวิต และตัดศีรษะไป
 
เป็นที่เปิดเผยภายหลังว่า ผู้ที่ถูกนายร้อยโทเอื้อนสังหารทั้ง ๓ นายนั้น เป็นฮ่อชั้นหัวหน้า และไม่พบศพนายร้อยโทเอื้อน พบแต่ข้อมือซึ่งมีเสื้อยันต์ครึ่งยศอยู่จึงเป็นการพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลได้

แต่นั้นมา พวกฮ่อก็ตั้งอยู่แต่ในป่า ห่างจากค่ายบ้านใด ประมาณ ๑๐๐ เมตร ไม่ออกมาต่อรบในที่แจ้ง


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 22:22
ข่าแจะ

ครั้นวันอังคาร เดือน ๗ แรม ๑๓ ค่ำ ตรงกับ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๙ พระยาว่านหัวหน้าข่าแจะ ซึ่งเป็นเจือง รวมกับพวกฮ่อได้ประมาณ ๑๕๐ คน ยกมาที่ห้วยห้อม แขวงเมืองซ่อน เที่ยวตีปล้นกวาดครัวราษฎรเอาไปเป็นเชลยไว้เป็นกำลัง เพี้ยตงนายบ้านรีบลงมาแจ้งแก่หัวพันพระยาศรีสุมัง ผู้รักษาเมืองซ่อน จึงรีบไปพบและรายงานแม่ทัพต่อไป หนทางจากห้วยห้อมถึงค่ายใหญ่เมืองซ่อน เป็นเวลา ๒ ชั่วโมง แม่ทัพได้ซักถามข่าวสาร ได้ความว่า พลเมืองซ่อนไทย ลาว ได้พากันหนีเข้าป่า เหลือแต่ตัวพระยาศรีสุมัง และกรมการอีก๒-๓คน พวกฮ่อและข่าแจะประกาศว่า กองทัพใหญ่ที่เมืองซ่อนหมดกำลังแล้ว เพราะไพร่พลเจ็บป่วยล้มตายกันมาก พวกฮ่อและข่าแจะจึงสมทบกันจะตีค่ายแม่ทัพให้แตกไปจงได้

เตรียมรับสถานการณ์

แม่ทัพได้ข่าวสารดังนี้แล้วจึงสำรวจกำลังพลได้ความว่า "คนที่ยังดีอยู่นั้น ตั้งแต่แม่ทัพถึงพลทหาร เหลืออยู่เพียง ๑๑ คน" แม้แต่พลแตร ซึ่งมีอยู่ในค่ายประมาณ ๘ นายก็ป่วยล้มตาย จนไม่ได้มีการเป่าแตรเป็นเวลาเกือบเดือนแล้ว ต้องใช้ฆ้องโหม่งแขวนที่ป้อมยาม และเมื่อทหารป่วยมากขึ้นไม่พออยู่ยาม ก็ต้องให้พลยามเดินตีฆ้องแทน

บัดนี้ พวกฮ่อและข่าแจะจะเข้าตีค่าย แม่ทัพจึงให้หมอควานช้างและคนในกองโคต่าง แต่งกายเป็นทหารรักษาค่าย และให้นำปืนจากทหารเจ็บป่วยมาให้ใช้ แต่เหล่าทหารเจ็บป่วยร้องขออาวุธไว้กับตัว เมื่อพวกฮ่อมาเข้าตีค่ายใหญ่จะยิงพวกฮ่อเสียจนหมดกระสุนก็จะยอมตาย แม่ทัพจึงยอมให้เพียงแต่นำปืนจากผู้ที่เสียชีวิตมาให้พวกหมอควานและกองโคต่าง และชี้แจงทหารที่ป่วยให้ทราบทั่วกันว่า "แม่ทัพจะไม่ถอยหนีจนก้าวเดียว จะต่อสู้จนโลหิตหยาดที่สุด และจะยอมตายไปกับทหารพร้อมกันด้วย" ทำให้กำลังพลมีขวัญและกำลังใจดีขึ้นมาก แม่ทัพจึงสั่งให้คนในกองช้าง และกองโคต่าง รักษารอบค่าย ใช้อาวุธปืนจากทหารที่เสียชีวิตแล้ว

ให้คะเด็ตไปจัดการวางลูกระเบิดไว้ตามทางที่พวกฮ่อจะเข้ามา ให้เจ้าก่ำ บุตรเจ้าอุปราช นำกำลังท้าวขุนกรมการเมืองหลวงพระบาง ประมาณ ๑๐๐ เศษ ใช้ปืนหามแล่น ยกขึ้นไปยังห้วยห้อม ตั้งสกัดทางเจ้าก่ำ ยกไปตั้งบนเนินลูกหนึ่งตรงกันข้ามค่ายพวกฮ่อ ห้วยห้อมขวางกลางอยู่ ทั้งสองฝ่ายยิงโต้ตอบกันจนกระสุนดินดำหมด จึงรายงานแม่ทัพขอกระสุนเพิ่ม

แม่ทัพจึงเรียกหัวหน้าควานช้าง กับพวกกองโคต่างมาแบ่งคนให้รีบยกไปช่วยเจ้าก่ำ พวกควานช้างกับพวกกองโคต่างมีความยินดีรับอาสาออกไปปราบศัตรูด้วย แม่ทัพจึงให้เอาเครื่องแบบทหารที่ป่วยตายมาให้แต่ง และให้นายร้อยโท แจ นำปืนใหญ่อาร์มสตรองบรรทุกหลังช้างไปพร้อมกำลังพลอีก ๒๐๐ เศษ สั่งมอบภารกิจให้ ทำลายค่ายฮ่อ และจับตัวพวกข่าเจือง และพวกฮ่อ มาให้จงได้

วันอาทิตย์ เดือน ๘ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๙ นายร้อยโทแจ นำกองทหารไปถึงใช้ปืนใหญ่ยิงค่ายฮ่อเพียง ๓ นัด พวกฮ่อล้มตายกันมาก นัดต่อๆ ไปได้ยิงเลยค่ายไปถูกภูเขาหลังค่าย เมื่อระเบิดเกิดเสียงสะท้อนสนั่นหวั่นไหว พวกข่าเจืองและพวกฮ่อเข้าใจว่ามีกองทัพตีกระหนาบ เร่งลงซ่อนตัวในหลุมและคูสนามเพลาะ พวกทหารก็พร้อมกันหักพังเข้าค่ายพวกฮ่อได้

ผลการรบ กองทหารเข้ายึด และเผาทำลายค่ายพวกฮ่อได้
 
จับเป็น พระยาว่าน หัวหน้าข่าแจะ อ้ายคำเพ็ชร เพี้ยชัย เพี้ยเมือง ชายหญิงอีก ๓๖ คน
ยึดเครื่องศัสตราวุธ ปช่น ปืนคาบศิลา ได้จำนวนหนึ่ง
พวกฮ่อ เสียชีวิตประมาณ ๖๐ คน

แม่ทัพสั่งประหารชีวิต พระยาว่าน และพวกหัวหน้าข่าแจะ แล้วตัดศีรษะเสียบประจานไว้ ณ ทุ่งนาเมืองซ่อน ส่วนชายหญิง ๓๖ คน นั้น แม่ทัพให้กลับคืนไปอยู่ตามภูมิลำเนาเดิมทั้งสิ้น ตั้งแต่นั้นมา ก็สงบเป็นปรกติราบคาบตลอดมา


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 22:24
ผลไข้ป่า

วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๙ แม่ทัพได้สำรวจรี้พลสกลไกร ปรากฏว่ากำลังพลรวม ๓๐๐ นาย เหลือคนไม่ป่วยเพียง ๒ นาย คือ ท่านแม่ทัพ และนายจ่ายวด เท่านั้น จนไม่มีคนพยาบาลคนไข้ ทหารจากกรุงเทพฯเสียชีวิตแล้ว ๘๐ นาย


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ก.พ. 13, 22:26
ครั้นวันศุกร์ ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๙ พวกฮ่อ และพรรคพวกรวมราว ๒๕๐ คนได้ยกมาประชิดค่ายบ้านใด สร้างหอรบ และยิงโต้ตอบกัน กองทหารก็ตั้งมั่นรักษาค่ายไว้ได้ พวกฮ่อกลัว "ลูกแตก" ก็ไม่กล้าเข้าปล้นต่ายได้แต่ล้อมไว้

พอวันพฤหัสบดี แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๙ องบา นายฮ่อธงดำใหญ่ซึ่งอยู่ที่ตำบลท่าขวา แขวงเมืองสิบสองจุไทย ให้กวานเล่าแย้นายที่ ๒ ถือหนังสือมาแจ้งแก่พระสวามิภักดิ์สยามเขตต์ ที่ค่ายบ้านใดว่า มีความยินดีที่จะเข้าสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขัณฑสีมาแห่งกรุงเทพมหานครฯต่อไป และจะเรียกกองทัพขององบาซึ่งไปช่วยกวานกอยี่รบให้กลับมา และยังจะเกลี้ยกล่อมกวานกอยี่ให้อีก

เจ้าราชภาคิไนย และพระสวามิภักดิ์สยามเขตต์ จึงให้กวานเล่าแย้ และพรรคพวกให้ทำสัตย์สาบานตามธรรมเนียมจีนฮ่อ ว่าจะขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ไม่คิดเป็นเสี้ยนหนามศัตรูแผ่นดิน อีกต่อไป

และวันรุ่งขึ้น วันศุกร์ ที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๙ เวลา เช้า ๕ โมงเศษ (๑๑ นาฬิกา) กวานกอยี่นายฮ่อถือธงขาวเดินออกมาจากที่ซุ่มในป่านั้นขอยอมเข้าสวามิภักดิ์อย่าให้กองทหารทำอันตรายแต่อย่างใดเลย ครั้นเวลาบ่ายโมงเศษ กวานกอยี่ กับหัวหน้าฮ่ออีก ๔ คนก็วางอาวุธ พากันออกมาหากองทัพค่ายบ้านใด แล้วนายทัพนายกองพร้อมกันให้กวานกอยี่นายฮ่อทำสัตย์สาบานตัวและรับน้ำสัตยาว่า "จะขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาโดยสุจริตมิได้คิดเป็นอุบาย จะไม่คิดทรยศและกระทำการต่อสู้ต่อไปอีก" แล้วให้ทำพิธีสาบานตัวอย่างธรรมเนียมจีน คือ ตัดคอไก่เอาโลหิตปนกับน้ำแจกให้ดื่มทุกคน หมายความว่าถ้าไม่มีความสัตย์ก็ให้ตายเยี่ยงไก่ที่คอขาดนั้น

เวลากระทำสัตย์ ก็นำพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาตั้งโต๊ะมีเครื่องบูชาพร้อมวางไว้เฉพาะหน้าผู้กระทำสัตย์

การที่พวกฮ่ออ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาแห่งกรุงเทพพระมหานครครั้งนี้นั้น ก็ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าฯ เหตุด้วยกองทัพและทหารหรือก็ป่วยไข้หมดกำลังที่จะต่อสู้ได้อยู่แล้ว อีกประการหนึ่ง ก็ได้พยายามต่อสู้ปราบปรามจนสิ้นกำลังของพวกฮ่อลง กองทัพจึงได้ชัยชำนะโดยไม่ต้องเสียชีวิตทหารในที่รบกี่มากน้อย


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 06:45
ก่อนจะลืม
ผมขอเรียนว่าบันทึกเรื่องปราบฮ่อของฝ่ายไทย ผมตัดตอนมาจากสารคดีเรื่องยาวสามตอนจบที่คุณsamphanเขียนลงเวปไว้ เอาเฉพาะฉากรบมายืนยันว่าเราไม่ได้แพ้ฮ่อตามที่คุณbunnarothตั้งเป็นหัวข้อกระทู้


ถ้าท่านอยากทราบรายละเอียดของสงครามนี้ยิ่งๆขึ้นไป  โปรดเข้าไปอ่านต้นฉบับได้ตามระโยงที่ผมนำมาให้ไว้ข้างล่าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - ปราบฮ่อ (๑)

http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711145&Ntype=15

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - ปราบฮ่อ (๒)

http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711147&Ntype=15

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - ปราบฮ่อ (๓)

http://www.iseehistory.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538711148&Ntype=15


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 07:15
ชมภาพชุด สงครามปราบฮ่อครั้งที่๒

ครั้งนี้ ได้พระราชทานธงไชยเฉลิมพลให้กองทัพเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ณ สนามหน้าศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

พระราชทานธงชัยเฉลิมพล

ณ วันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา จ.ศ.๑๒๔๗ ตรงกับ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานธงชัยอันวิเศษสำคัญให้แก่กองทัพ . . . และธงชัยอันวิเศษสำคัญนี้ได้บรรจุพระเหล็กไหลนภากาศองค์ ๑ และพระลำพูนดำองค์ ๑ และเครื่องปลุกเศกแล้ว ได้ประสิทธิ์ประกอบกันบรรจุลงไว้ที่ในยอด สำหรับคุ้มครองป้องกันผู้ถือธงชัยนี้ให้มีสง่าและอำนาจ ให้แคล้วคลาดศัตราวุธปัจจามิตรอันจะมาทั่วทิศานุทิศ  . .


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 07:19
ยาตราทัพ
 
วันอังคาร แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีระกา จ.ศ.๑๒๔๗ ตรงกับ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๘ ยาตรากองทัพออกจากกรงเทพฯ ทางเรือถึงเมืองพิชัยเมื่อ วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา จ.ศ.๑๒๔๗ ตรงกับ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๘ รวมเวลาเดินทาง ๒๑ วัน


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 07:24
ต่อมา ณ วันอังคาร แรม ค่ำหนึ่ง เดือนอ้าย ตรงกับ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๘ เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้จัดพิธีสมโภชธงชัยยังทำเนียบ นิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้น พระฉันแล้ว ได้ประชุมพร้อมกันที่สนามฝึก เชิญธงชัยปักไว้กลางปะรำ แล้ว แม่ทัพอ่านประกาศ สรุปความว่า . . .
. . . พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานธงชัยอันวิเศษสำคัญให้แก่กองทัพ และเป็นที่หมาย ความไว้พระราชหฤทัยในความซื่อสัตย์ สุจริต และความกล้าหาญของนายทหารและพลทหารทั้งปวงที่ได้ทำราชการสนองพระเดชพระคุณในบัดนี้ และต่อไปภายหน้า ให้นายทหารและทหารทั้งปวงจงรู้จักเกียรติยศและอำนาจของธงชัยอันวิเศษสำคัญเป็นที่เฉลิมกองทัพนี้ให้ถูกต้องตามพระบรมราชประสงค์ ซึ่งทรงพระราชดำริมุ่งหมายจะให้นายทหารและพลทหารทั้งหลายมีความเคารพนับถือธง และตั้งใจรักษาธงชัยเป็นอันดี  ให้หมู่ปรปักษ์ศัตรูครั่นคร้ามเกรงขามพ่ายแพ้แก่อำนาจพระบารมีซึ่งได้ทรงประสิทธิประสาทพระพรชัยมงคลอันมาในธงชัยนี้ ให้มีความสวัสดิ์แคล้วคลาดศัตราวุธทั่วทั้งกองทัพ . . .

ธงชัยเฉลิมพล ธงชัยอันวิเศษสำคัญ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นธงจุฑาธุชธิปไตย)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 07:29
ออกจากเมืองพิชัย
 
ครั้น วันศุกร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา จ.ศ.๑๒๔๗ ตรงกับ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๘ เวลา ๓ โมงเช้า เจ้าหมื่นไวยวรนารถก็ยกกองทหารกรุงเทพฯ และหัวเมืองก็ยกออกจากเมืองพิชัย กรมการได้ทำประตูป่า พระสงฆ์สวดชยันโต และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ราษฎรตั้งเครื่องบูชา แม่ทัพได้จัดกระบวนทัพ เป็นกองหน้ากองหนุน ปีกซ้าย - ขวา และกองหลัง

ช้างธงชัย ช้างบรรทุกปืนใหญ่ และช้างเลื่อนบรรทุกของ ซึ่งแม่ทัพคิดขึ้นใหม่ กำลังเตรียมการเดินทัพยกจากเมืองพิชัย ไปทางเมืองน่าน มุ่งสู่เมืองหลวงพระบาง


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 07:33
วันพฤหัสบดี แรม ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา จ.ศ.๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๘ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครน่าน แต่งแสนท้าวพระยาลาวคุมช้างพลายผูกจำลองเขียนทองออกมารับ ๓ เชือก เชิญกองทัพเข้านครน่าน

วันจันทร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา สัปตศก จ.ศ.๑๒๔๗ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๘ กองทัพออกจากเมืองน่าน

วันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสาม ตรงกับ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๘ ถึงเมืองไชยบุรีศรีน้ำฮุง เขตเมืองหลวงพระบาง เจ้าราชภาคินัย (บุญคง) เมืองหลวงพระบางมาคอยรับกองทัพ พักแรม ๑ คืน วันรุ่งขึ้นจึงเข้าเมืองหลวงพระบาง


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 07:37
แม่ทัพไทยและเจ้านครหลวงพระบาง ถ่ายรูปร่วมกัน โดยมีธงไชยเฉลิมพลอยู่เบื้องหลัง


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 07:47
ความต่อจากสุดท้ายที่ค้างไว้

เมื่อได้ปราบฮ่อในแขวงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกระงับราบคาบแล้ว แม่ทัพได้จัดระเบียบราษฎร ดังนี้

ให้กวานกอยี่ หัวหน้าพวกฮ่อก่อการร้ายและพรรคพวกลงมาทำมาหากินที่กรุงเทพฯ เพื่อราษฎรในแขวงจะได้สิ้นความหวาดกลัว กลับเข้าคืนภูมิลำเนาเดิมเป็นปรกติต่อไป แต่ผู้ทีมีบุตรภรรยาเป็นคนลาวให้อยู่กับบุตรภรรยาที่เมืองแถงเช่นประชาชนทั่วไป ไม่ให้เข้าอยู่ในแขวงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ส่วนพวกฮ่อธงดำขององบานั้น ไม่ได้ย่ำยีตีปล้นราษฎร และมีส่วนช่วยเหลือกองทัพด้วย สมควรให้รวบรวมกันอยู่ในแขวงเมืองสิบสองจุไทยตามเดิมก่อน หากมีโจรผู้ร้ายเกิดขึ้นต้องปราบปรามอีก จะได้สนับสนุนกำลังขององบานี้ให้ช่วยระงับปราบปรามต่อไป และได้หาตัวท้าวขุนและพวกหัวพันตามเมืองต่างๆ มาประชุม ณ เมืองซ่อน เพื่อปันส่วนอาณาเขตและแขวงบ้านเมืองต่างๆ ให้ถูกต้องตามโบราณกาล

เมื่อจัดท้าวขุนและพวกหัวพันรักษาพระราชอาณาเขตเรียบร้อยทุกประการแล้ว แม่ทัพก็ดำริที่จะยกกองทัพใหญ่จากเมืองซ่อนตัดตรงไปเมืองแถง(ภายหลังญวนยึดไปและเปลี่ยนชื่อเป็นเบียนเดียนฟู เมืองนี้มีชื่อเสียงไปทั่วโลกเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่๒ เมื่อกองทัพฝรั่งเศสถูกกองทัพญวนกู้ชาติทำลายแหลกราญที่เมืองนี้ สิ้นสุดยุคอาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศสโดยสมบูรณ์) กำหนดระยะทางเดินกองทัพ ๑๒ เวลา(วัน)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 07:54
ส่วนเรื่องการเจ็บไข้ของทหารนั้น เมื่อกองทัพได้ยาควินนินที่ส่งขึ้นไปจากกรุงเทพแล้ว หมอเทียนฮี้นายแพทย์ทหารได้เร่งแจกจ่ายยาทั่วกองทัพในบ่ายวันนั้นทันที วันรุ่งขึ้นกำลังพลหายจับไข้ได้กว่าครึ่ง ประมาณ ๓ วัน คนที่ป่วยไข้ก็หายจับไข้หมด ชั่วเดือนหนึ่ง คนที่ป่วยไข้ก็กลับมีกำลังแข็งแรงดังเดิม กองแยกต่างๆ ก็รายงานว่า "ได้รับยาควินินไปให้ทหารรับประทานตามกำหนดเวลาซึ่งนายแพทย์ได้แนะนำแล้ว บัดนี้ ทหารทั้งปวงซึ่งป่วยไข้นั้น ก็หายป่วยอ้วนท้วนเป็นปรกติดีแล้วเหมือนอย่างเดิม . . ."

เมื่อกองทัพกลับมีกำลังวังชาเป็นปรกติแล้ว แม่ทัพจึง สั่งการให้พระพหลพลพยุหเสนา(กิ่ม) นำกำลัง๑๐๐นายไปสมทบเจ้าราชภาคิไนย ณ เมืองสบแอด ให้องบาพาพรรคพวกมากระทำสัตย์สาบานตนที่ค่ายบ้านใด แล้วให้องบาขึ้นไปฟังแม่ทัพจัดราชการที่เมืองแถงด้วย และให้พระพหลพลพยุหเสนา(กิ่ม) ตั้งคอยพนักงานเซอร์เว ซึ่งจะไปสำรวจทำแผนที่ในแขวงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกก่อน เมื่อได้บรรจบกันแล้วจึงยกไปเมืองแถงพร้อมกัน ทั้งนี้ ให้รออยู่จนถึงเดือนอ้าย สิ้นเดือน ถ้าพ้นกำหนดที่กะไว้นี้ก็ให้พระพหลพลพยุหเสนายกออกจากเมืองสบแอดขึ้นไปเมืองแถงตามกำหนด


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 07:59
วันเฉลิมพระชนม์พรรษาในหัวเมืองลาว วันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ ปีจอ ตรงกับ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๙ เริ่มการเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม่ทัพและนายทัพนายกอง ท้าวพระยาในเมืองหลวงพระบางซึ่งได้ไปด้วยกับกองทัพ พร้อมด้วยท้าวเพี้ยหมื่นขุนกรมการ และพวกหัวพันในเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ได้ตกแต่งสถานที่ด้วยธงทิว และประดับประดาด้วยมาลามาลีเป็นการประณีต ครั้นถึงเวลาค่ำ ก็จุดโคมข่อยสีต่างๆ และตามประทีปเป็นการฉลองพระเดชพระคุณ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 08:01
วันจันทร์ เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ ปีจอ ตรงกับ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๙

เวลา ๑ โมง กับ ๔๖ วินาที แม่ทัพสั่งให้ยิงสลุตถวายชัยมงคลที่ค่ายเมืองซ่อนตำบลหนึ่ง เมืองแวนตำบลหนึ่ง เมืองสบแอดตำบลหนึ่ง รวม ๓ ตำบล ตำบลละ ๑๐๑ นัด แล้วประชุมนายทัพนายกองเจ้านายท้าวพระยาในเมืองหลวงพระบางซึ่งไปด้วยกองทัพ กับท้าวเพี้ยหมื่นขุนกรมการ และพวกหัวพันในเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกและเมืองสิบสองจุไทย กับพวกจีนฮ่อ และพวกตำบลต่างๆ ซึ่งเป็นข้าขอบขัณฑสีมา พร้อมกันบ่ายหน้าต่อกรุงเทพพระมหานคร กราบถวายบังคมถวายชัยมงคลโดยความยินดีปิติถ้วนทั่วหน้ากัน

ครั้นเวลาค่ำลงแล้ว แม่ทัพก็ให้จัดอาหารเลี้ยงกันเป็นการสุขสำราญถ้วนทั่วหน้ากัน กับให้มีการมหรสพเล่นฉลองตามภาษาเพศบ้านเพศเมืองของเขา เพื่อให้เป็นการคึกครื้นโดยสมควร ทุกประการ

วันจันทร์ เดือน ๑๐ แรม ๙ ค่ำ ปีจอ ตรงกับ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นวันกำหนดที่จะถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

แม่ทัพและนายทัพนายกอง พร้อมด้วยเจ้านายเมืองนครหลวงพระบางซึ่งไปกับกองทัพ และท้าวขุนกับพวกหัวพันในเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก กับพวกจีนฮ่อที่เข้ามาสวามิภักดิ์ ซึ่งเป็นข้าขอบขัณฑสีมา และพวกหัวหน้าต่างๆ ทหารกรุงเทพฯ และทหารหัวเมืองประชุมพร้อมกัน แม่ทัพจึงให้อ่านคำแช่งน้ำตามธรรมเนียม เสร็จแล้ว ก็พร้อมกันบ่ายหน้าต่อกรุงเทพพระมหานครกราบถวายบังคมต่อพระบรมฉายาลักษณ์ ๓ ครั้ง แล้วก็รับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั่วกันตามแบบราชการ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 08:11
วันพุธ เดือน ๑ ขึ้น ๖ ค่ำ ตรงกับ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๙ กองทัพใหญ่ได้ยกไปถึงทำเนียบเมืองแถง เมืองแถงเป็นเมืองงามมาก ด้วยมีเขาอยู่รอบ กลางเป็นท้องทุ่ง เมื่อกองทัพมาถึง พระยาเมืองซ้ายนำตัว คำสาม คำล่า บางเบียนมาหา แม่ทัพจึงสั่งจับทั้งสามคนและท้าวขุนอีกหลายคนที่เข้าด้วยไปขังไว้ และสั่งให้กองทัพทำลายค่าย และหอรบ เก็บอาวุธและกระสุนดินดำที่มีอยู่ในค่าย ยึดได้ ปืนชไนเดอร์ ๑๓ ปืนริมิงตัน ๑๒ ปืนวินเชสเตอร์ ๒ ปืนอินฟิน ๘๐ ปืนเฮนริ มาตินิ ๑ ปืนคาบศิลา ๑ ปืนสั้น ๒ กระสุนปืนต่างๆ ๒ หีบ ๑,๓๒๔ นัด ธงต่างๆ ๑๑ ธง ง้าว ๒ เล่ม ดาบ ๒ เล่ม พวกเมืองไล และจีนฮ่อต่างก็แตกแยกย้ายหนีไปสิ้น ท้าวขุนและราษฎรเข้าร้องทุกข์ต่อแม่ทัพว่า ท้าวไลและบุตรยกเข้ามากดขี่ไพร่บ้ายพลเมืองเป็นอย่างยิ่ง

แม่ทัพและนายทัพนายกองพร้อมด้วยเจ้านายเมืองหลวงพระบางได้ปรึกษากัน และพร้อมกันเห็นว่า สมควรเอาตัวบุตรท้าวไลทั้งสามคนไปกักไว้เป็นตัวจำนำ ส่วนตัวท้าวไลซึ่งตั้งอยู่ที่ลำน้ำแท้ หรือลำน้ำดำฝั่งตะวันออกของพระราชอาณาเขต หากต่อสู้ ก็ต้องระงับปราบปราม หากจะอ่อนน้อมโดยสุจริต ก็ให้อยู่ตามเดิม

อันเมืองไลนี้ เรียกกันว่า ไทยขาว หรือไทยไล แต่ใช้ขนบธรรมเนียมอย่างแบบจีน ขึ้นกับเมืองหนองแส และเมืองนครหลวงพระบาง จึงเรียกเมืองสองฝ่ายฟ้า
แม่ทัพจัดราชการเมืองแถง จัดให้รักษาด่านทางให้แข็งแรงยิ่งขึ้น แล้วตั้งให้พระสวามิภักดิ์สยามเขตต์ (กายตง) กลับเป็นผู้รักษาเมืองแถงสืบไปอีก


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 08:27
ช่วงนี้มีกล่าวถึงนายแมคคาร์ธีอีกนิดหน่อย ผมยังไม่ได้ย้อนกลับไปอ่านว่าในบันทึกของเขาได้เขียนเหตุการณ์ตอนนี้เกี่ยวกับกองทัพว่าอย่างไร

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์ เจมส์ ฟิตซรอย แมคคาร์ธี (James Fitzroy McCarthy) ชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับราชการและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระวิภาคภูวดล ทำแผนที่ชายแดนทางภาคเหนือ จนถึงสิบสองจุไท
 
วันเสาร์ เดือน ๑ แรม ๗ ค่ำ ปีจอ ตรงกับ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๙ พระวิภาคภูวดล และคณะทำแผนที่ได้ไปถึงเมืองแถงโดยทางเรือ แม่ทัพจึงได้ชี้แจงข้อราชการแก่คณะ ซึ่งพระวิภาคภูวดลได้ชี้แจงแผนการปฏิบัติแก่แม่ทัพสรุปว่า คณะจะเซอรเวตั้งแต่เมืองแถง เดินตรวจตัดลัดทางไปถึงเมืองสบแอดซึ่งเป็นเขตแขวงของเมืองหัวพันทั้งห้า ทั้งหกตลอดไปต่อกับแขวงเมืองพวน และจะได้เดินตรวจต่อไปถึงเมืองเชียงขวาง กำหนดระยะทางที่จะเดินตั้งแต่เมืองแถงไปถึงเมืองเชียงขวางประมาณ ๒ เดือนเศษ ถ้ายังมีเวลาพอจะเซอรเวจนถึงเมืองจำปาศักดิ์ และแบ่งคณะเดินทางเรือตั้งแต่เมืองแถงจนถึงเมืองหนองคาย เมื่อบรรจบกันที่หนองคายแล้ว จะไปตรวจในฝ่ายหัวเมืองสิบสองจุไทยอีก เพราะเวลานี้กองทัพยังกำลังปราบปรามโจรผู้ร้ายอยู่ แม่ทัพจึงจัดพระยาเมืองซายเมืองหลวงพระบางเป็นผู้นำทาง พร้อมคนลูกมือหาบหาม ๑๐๓ คน และม้า ๖ ม้า กำหนดออกจากเมืองแถงในเดือน ๑ แรม ๑๒ ค่ำ (๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๙)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 08:32
สิบสองจุไทย

แม่ทัพทราบข่าวว่ามีจีนฮ่อพวกหนึ่งอยู่ที่เมืองม่วย เมืองลา (ระยะทาง ๑๒ วัน จากเมืองแถง) นายจีนฮ่อชื่อเล่าเต๊งเชง มีกำลังราว ๖๐๐ เป็นพวกฮ่อธงดำบ้างพวกอื่นๆ บ้าง ท้าวไลเคยจ้างให้ไปสู้กับเมืองจัน เมืองขึ้นของญวน แต่แตกกลับมาจึงมาตั่งที่เมืองม่วย เมืองลา แขวงเมืองสิบสองจุไทย

ครั้นวันจันทร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ ตรงกับ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๙ (ขึ้นปีใหม่ ๑ เมษายน) นายจีนฮ่อเล่าเต๊งเชง และพรรคพวกก็มาขอเข้าสวามิภักดิ์ต่อแม่ทัพที่เมืองแถง แม่ทัพจึงให้กระทำสัตย์สาบานตัวตามธรรมเนียมจีนฮ่อ แล้วจัดประชุมจัดการให้เรียบร้อยเป็นปรกติ โดยจัดให้ท้าวพระยาลาวในเมืองนครหลวงพระบางเกณฑ์กำลังไพร่พล ๒๐๐ พร้อมอาวุธ และกระสุนดินดำ ตั้งประจำกำกับรักษาการ ณ เมืองแถง

เมืองแถงนั้นตั้งอยู่ที่ ตำบลเชียงจันทร์ ซึ่งเป็นที่ดอนไกลลำน้ำยม ไม่เป็นทำเลที่จะรักษาเมืองได้มั่นคง แม่ทัพเห็นเมืองเดิมซึ่งเรียกว่าเชียงแล ตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำยม มีค่ายคูทำด้วยมูลดินสูงหกศอกเศษ มีต้นไผ่ปลูกทึบรอบเมืองยาวประมาณหกเส้นเศษ สี่เหลี่ยม แม่ทัพเห็นเป็นชัยภูมิที่ดี จึงให้แผ้วถาง แล้วยกกองทัพใหญ่เข้าตั้งในค่ายตำบลเชียงแล

นับว่าเจ้าหมื่นไวยวรนารถได้จัดการปราบปรามโจรผู้ร้าย และจัดการวางด่านทางในเขตแขวงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกและเมืองสิบสองจุไทย เรียบร้อย ตลอดจนไพร่บ้านพลเมืองได้เข้าตั้งทำมาหากินเป็นปรกติสุข ตามภูมิลำเนาเดิมเสร็จแล้ว จึงสั่งให้พระพหลพลพยุหเสนาทำลายค่ายฮ่อและค่ายหลวงที่ตำบลบ้านใด กับให้พระพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยเจ้าราชภาคิไนย คุมกองทหารนำตัวจีนลิวเทงไกวกวานกอยี่ นายจีนฮ่อ กับพรรคพวกที่เข้ามาสวามิภักดิ์ยกไปยังเมืองแถงพร้อมกัน แล้วแม่ทัพก็ได้บอกข้อราชการกับขอข้อปฏิบัติลงมายัง พ.ณ. ลูกขุน ณ ศาลาได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทโดยละเอียดทุกประการ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 08:37
เมื่อได้ชนะศึก ได้รับพระบรมราชโองการให้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพพระมหานคร และได้นัดหมายประชุมชี้แจงข้อราชการดังกล่าวแล้ว ท่านแม่ทัพก็ตระเตรียมกองทัพยกกลับมายังเมืองนครหลวงพระบาง ได้ออกเรือจากเมืองแถงค่ายเชียงแล ในวันอังคาร เดือน ๔ ขึ้น ๑ ค่ำ ตรงกับ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๒๙ เรือล่องลงมาถึงสบน้ำนัว ล่องตามน้ำนัว จนถึงวันศุกร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ออกจากปากน้ำนัว กระบวนเจ้าเมืองนครหลวงพระบางมาคอยรับ ล่องลำน้ำอู ต่อไป

วันจันทร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๙ ถึงเมืองงอย พักอยู่ ๒ วัน เพื่อฉลองพระเจดีย์ ซึ่งสร้างไว้บนยอดเขาเมืองงอย พระเจดีย์นี้แม่ทัพและนายทัพนายกองกับทหารทั้งปวงได้สร้างขึ้นไว้เป็นเครื่องบูชาในพระพุทธศาสนาและเป็นเครื่องระลึกถึงกองทัพ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 08:40
อ้าว..แล้วกัน


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 08:43
เมื่อเจ้านครหลวงพระบางได้ทราบว่ากองทัพมีชัยชนะแก่พวกฮ่อปรปักษ์แล้วจึงได้ ป่าวร้องราษฎรทุกๆ ตาแสง (คำว่าตาแสงนั้น ครงกับหน้าที่นายอำเภอ) ทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำอู และแม่น้ำโขงจนถึงเมืองนครหลวงพระบางให้มาคอยรับ กับจัดเรือขนาน ๒ ลำ เทียบคู่ทำเป็นเรือนเล็กๆ อยู่บนเรือขนานนั้นหลายลำ สำหรับแม่ทัพนายทัพมายกองกับพลทหารซึ่งกลับมาจากราชการสงครามนั้น ประชาชนพลเมืองนำดอกไม้ธูปเทียนมาคอยบูชาอยู่ที่ปากน้ำอู พอกระบวนเรือออกจากปากน้ำอูราษฏรก็พากันโห่ร้องและบรรเลงเพลงขับลำด้วยความชื่นชมยินดี และมีราษฎรมาคอยรับตลอดทาง

วันพุธ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ปีจอ (๙ มีนาคม ๒๔๒๙) เวลาบ่าย ๑ โมง กองทัพก็ยกลงมาถึงท่าหน้าเมืองนครหลวงพระบาง เจ้านายผู้ใหญ่ฝ่ายลาวพร้อมด้วยท้าวเพี้ยกรมการและตาแสงมาคอยต้อนรับ อยู่ที่ท่านั้น เจ้านครหลวงพระบางให้ทำซุ้มประตูและตบแต่งประตับประดาด้วยธงทิวและเครื่อง ศัสตราวุธซึ่งกองทัพได้ไปรบมีชัยชนะและริบเอามานั้น ขนานนามว่า ประตูสิทธิไชยทวาร มีปะรำตบแต่งประตับประดาด้วยมาลามาลี และมีพระสงฆ์คอยสวดไชยยันโตในขณะที่กองทัพเดินผ่านลอดซุ้มประตู พวกประชาชนพลเมืองถือดอกไม้ธูปเทียนมาคอยบูชารับกองทัพอยู่ทั้งสองข้างทาง ตลอดไปจนถึงทำเนียบที่พักชองแม่ทัพและกองทัพนั้น

ในระหว่างที่เคลื่อนขบวนเข้าไปในเมืองนครหลวงพระบาง มองซิเออร์ ปาวีย์ ได้มาคอยรับและถ่ายรูปตั้งแต่กองทัพได้ยกเดินขึ้นบกตลอดจนเข้าในเมืองนคร หลวงพระบาง ซึ่งต่อมาได้ส่งออกไปประเทศฝรั่งเศส และรูปนั้นได้ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฟิกาโร

รัฐบาลฝรั่งเศสจะตั้ง มองซิเออร์ ปาวี (Auguste Pavie) ให้เป็นไวส์กงซุลของฝรั่งเศสอยู่ที่เมืองนครหลวงพระบาง มองซิเออร์ ปาวีย์ จึงหาที่ตั้งสำนักงานไวส์กงซุล ซึ่งเจ้าหมื่นไวยวรนารถ แม่ทัพได้ช่วยสงเคราะห์ให้จนมองซิเออร์ ปาวีย์นับถือและเกรงใจแม่ทัพยิ่งขึ้น และเมื่อมองซิเออร์ ปาวี จะขึ้นไปราชการเมืองฮานอย ก็ได้มาลาท่านแม่ทัพ ซึ่งก็ได้แนะนำและอนุเคราะห์อำนวยความสะดวกในการเดินทางเป็นอย่างดี มองซิเออร์ ปาวีย์ออกจากเมืองนครหลวงพระบาง วันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีจอ (๑๑ เมษายน ๒๔๒๙)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 08:53
บันทึกของนายแมคคาร์ธีที่จขกท.ยกมาตั้งแต่ต้น กล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกัน

อ้างถึง
ข้าพเจ้าอยากเดินทางไปเมืองไล  เพื่อสำรวจเส้นเขตแดนสยามแต่คำสั่งที่ได้รัยมอบหมายให้ข้าพเจ้าอยู่ในบังคับบัญชาของพระยาสุรศักดิ์ ฯ ท่านผู้นี้สั่งให้ข้าพเจ้าเดินทางไปยังกองทัพน้อยที่สบเอ็ดสำรวจเขตแดนบริเวณหัวพันที้งห้าทั้งหก  แล้วกลับทางหนองคาย  เดอริเชลิเออ  ล้มเจ็บ  ต้องเรือล่องไปหลวงพระบางและกนองคายก่อน  แต่คอลลินส์ยังคงไปกับข้าพเจ้า  ระหว่างเดินทางไปเมืองเต็ง  และระหว่างอยู่ในเมืองเต็งข้าพเจ้ามีอาจุกเสียดอย่างแรง  ( เนื่องจากไส้พอง)  หลายครั้ง  ในที่สึดพอถึงเมืองยา(Muang Ya)  อาการยิ่งกำเริบจนหมดกำลัง  ซ้ำเริ่มจะมีไข้ขึ้น  กลางคืนได้ยินเสียงคนในหมู่บ้านสวดไล่ผีให้ออกจากตัวคนไข้กันอย่างโหยหวน  ข้าพเจ้ามีการหนักตั้งแต่วันที่ ๒๓  ธันวาคม  กว่าจะฟื้นตัวพอเดินทางไปไหน ๆ ได้ก็ตกเข้าวันที่ ๑๐ มกราคม  ข้าพเจ้าจึงได้เดินทางมายังหลวงพระบาง  เพื่อกลับสู่บางกอก

                    ในเวลาไล่เลี่ยกัน  ม. ปาวี ได้เดินทางมาถึงหลวงพระบาง  แล้ววกขึ้นไปตามลำน้ำอูแต่พอมาถึงปากน้ำเหนือ  ก็พบพวกลาวที่กำลังแตกหนีฮ่อ  ซึ่งบุตรคนโตของเจ้าไลไปขอกำลังมาแก้แค้นที่น้อง ๆ ถูกจับกุม ม.ปาวี จึงกลับไปหลวงพระบาง  ซึ่งพระยาสุรศักดิ์ ฯ ได้จัดการทำลายป้อมค่ายเครื่องป้องกันเสียโดยสิ้นเชิงแล้วก่อนจะเดินทัพไปพักอยู่ที่ปากลายพวกฮ่อบุกลุกลงมาตามแนวลำน้ำอู  จนถึงเมืองงอย  () ที่ตรงนั้นเป็นคอคอดกว้างสักไมล์หนึ่ง  มีเนินเขาเป็นผาหินปูนสูงชันลงมาจบขอบน้ำซึ่งลึกมากแต่กระแสน้ำไม่เชี่ยว  และเรือที่ล่องลงมาไม่มีทางที่จะไปต่อได้หากมีลมประทะด้านหัวเรือ  ฝ่ายที่จะคิดโจมตีทางนั้นไม่มีทางผ่านได้  แต่พวกฮ่อรู้ดีว่ากำลังสู้กับคนประเภทใด  พวกมันปืนเขาขึ้นไปยึดปืนที่ตั้งไว้ป้องกันตำแหน่งนั้นเอาไปทิ้งน้ำเสีย  แล้วรุกคืบหน้สมายังหลวงพระบางตั้งมั่นอยู่ที่วัดเชียงทอง  ()  ม.ปาวี และท่านผู้ตรวจการฝ่ายสยามเดินทางออกจากเมืองไปก้อรหน้านั้นแล้ว  เจ้าอุปราชก็ไปแล้วด้วยเช่นกัน  แต่ถูกเจ้าหลวงผู้มีพระประสงค์จะยอมตายในหลวงพระบางเรียกกลับมา  โอรสองค์หนึ่งของเจ้าหลวงได้นับสมัครทหารพม่าอาสา ๒๐ คน สำหรับเป็นทหารรักษาพระองค์เจ้าหลวง

                    พวกฮ่อได้กระทำการอันโหดร้ายทารุณ  ทั้งในบริเวณวัดที่พวกมันยึดเป็นที่พักอาศัยและทั่วไปในบริเวณตัวเมือง  เจ้าอุปราชถูกประหาร  และเจ้าหลวงผู้ชราถูกบรรดาโอรสและทหารรักษาพระองค์บังคับให้ลงเรือหนี  โอรสองค์หนึ่งถูกยิงตายต่อพระพักตร์  หลวงพระบางถูกปล้นและถูกเผาแต่พระพุทธปฏิมาทองคำมีชื่อในประวัติศาสตร์ว่าพระบาง ()  นั้น  ชาวลาวผู้ฉลาดคนหนึ่งได้นำไปซ่อนไว่  เจ้าหลวงผู้ชราล่องเรือมาพบ ม. ปาวีในระหว่างทาง  เลยพากันไปยังปากลาย  ต่อจากนั้น  เจ้าหลวงก็เสด็จต่อไปยังบางกอก


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 08:57
บันทึกทั้งสองสำนวน ราวกับหนังคนละเรื่องกันเลย

ท่านใดมีความเห็นในเรื่องนี้บ้างครับ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 09:26
อ้างถึง
บันทึกของนายแมคคาร์ธีที่จขกท.ยกมาตั้งแต่ต้น กล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกัน

อ้างถึง
บันทึกทั้งสองสำนวน ราวกับหนังคนละเรื่องกันเลย


อ้างถึง
ช่วงนี้มีกล่าวถึงนายแมคคาร์ธีอีกนิดหน่อย ผมยังไม่ได้ย้อนกลับไปอ่านว่าในบันทึกของเขาได้เขียนเหตุการณ์ตอนนี้เกี่ยวกับกองทัพว่าอย่างไร
กลับไปอ่านบันทึกต้นฉบับของนายแมคคาร์ธีแล้วครับ

เหตุการณ์ที่นายแมคคาร์ธีบันทึก คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน และเป็นเหตุให้กองทัพไทยขึ้นไปทำสงครามครั้งที่๒
ส่วนเหตุการณ์ตามบันทึกฝ่ายไทย คือการปราบพวกฮ่อในการสงครามครั้งที่๒นั้น ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.พ. 13, 10:04
อ้าว  เป็นสงครามคนละครั้งหรอกหรือคะ?


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 22 ก.พ. 13, 10:52
การปราบฮ่อมี 3 ครั้งใหญ่ ยึดตามเหรียญปราบฮ่อซึ่งแสดงปีไว้คือ  "๑๒๓๙" (พ.ศ. 2420) "๑๒๔๗" (พ.ศ. 2428) และ "๑๒๔๙" (พ.ศ. 2430)  

ครั้งที่เสียหลวงพระบางให้ฮ่อเข้าปล้นวัดวังทั้งเมือง(ยกเว้นวัดเชียงทอง) คือปี 2428 และต่อมาก็ยกกลับไปสู้ใหม่แต่ก็ช้ากว่าฝรั่งเศสไปก้าวนึง

ผมไม่ติดใจว่าเราไม่ได้ชัยชนะปี 2430 ครับเพราะมีการรบจริง และเอาชนะได้จริง(ในปี 2429 ด้วยซ้ำ - -กระมัง?)  เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียังได้สร้างวัดจอมเพชรฝั่งตรงข้ามบริเวณที่เป็นเมืองเชียงแมนด้วย แต่ปมที่ตั้งข้อสังเกตเชิญชวนแลกเปลี่ยนตามกระทู้คือ เราได้ชัยชนะแท้จริงหรือเพราะ ...

1. ไม่มีบันทึกว่าเราแตกพ่ายเสียหลวงพระบางให้ฮ่อปล้น ก็การยกไปปราบฮ่อคือปราบโจรไม่ให้ปล้นใช่หรือไม่ พอมันได้ทรัพย์ไปแล้วก็ยกกลับเพราะฮ่อไม่ได้เป็นทัพยึดหรือปกครองเมือง
2. หากยึดตามแมคคาร์ธี หลังจากฮ่อได้หลวงพระบาง ฝรั่งตีโต้กลับแต่เราก็ช้าไป ฝรั่งเศสไล่ตีลามมายึดพื้นที่แล้วทำหน้าตาเฉยไม่ถอนกลับ เจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ไปเจรจาก็เหมือนโลซกเจรจากับขงเบ้ง เขายืมเกงจิ๋วจนที่สุดก็เสียทั้งเกงจิ๋วและหลวงพระบาง (ตามมาด้วยไชยบุรีฝั่งขวาด้วย) ชนะศึกแต่แพ้ยุทธศาสตร์ชัดเจน
3. หากยึดตามแมคคาร์ธี ผมตีความเอาเองว่า ฝรั่งเศสไล่ตีฮ่อจนเปลี้ยแล้ว ที่เรารบชนะเพราะฮ่อกลับที่มั่นเดิมหัวพันห้า/เมืองพวน/ไม่ได้เพราะฝรั่งเศสยึดไว้ อาจจะเป็นฮ่อที่ถูกฝรั่งเศสไล่่บี้มาก่อน ทัพสยามได้ทีซ้ำเข้าไป ทั้งๆ ที่ 2 ครั้งก่อนหน้าเรารบแพ้มาตลอด
4.
เอาล่ะครับ ผลสรุปสุดท้ายคือสงครามปราบฮ่อเราก็ได้ชัยกลับมา จำได้จากราชกิจจานุเบกษาว่ามีกล่าวถึงการปูนบำเหน็จต่างๆ และมีฮ่อสวามิภักดิ์สัก 5-6 คนที่ตามไปพระนคร ก็มีการฉลองและทำเหรียญปราบฮ่อในเวลาต่อมา // หลักฐานฝ่ายไทยเลี่ยงไม่กล่าวการเสียมวย เสียฟอร์ม และการเสียที่มั่นสำคัญในปี 2428 โดยเฉพาะการปล่อยให้ฮ่อเข้าปล้นเมืองไปได้ทั้งๆที่นี่เป็นทัพปราบโจร (ไม่ให้ปล้น)

จึงเป็นที่มาของกระทู้ว่าผม ให้น้ำหนักคำประกาศชัยชนะของกองทัพไทยลดลงไปหลายขีด หลังจากได้อ่านรายงานของแมคคาร์ธี

ขอนำเสนอมุมมองเพื่อแลกเปลี่ยนครับผม/



กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 13:53
อ้างถึง
1.ไม่มีบันทึกว่าเราแตกพ่ายเสียหลวงพระบางให้ฮ่อปล้น ก็การยกไปปราบฮ่อคือปราบโจรไม่ให้ปล้นใช่หรือไม่ พอมันได้ทรัพย์ไปแล้วก็ยกกลับเพราะฮ่อไม่ได้เป็นทัพยึดหรือปกครองเมือง

ที่ไม่มีบันทึกเพราะไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับการแตกพ่าย

ส่วนปราบโจรไม่ให้ปล้นคงไม่มีใครทำได้ ทุกวันนี้ทุกชาติก็ยังเล่นโปลิสจับขโมยกันอยู่เลย ไทยยกทัพไปปราบก็คงได้แค่ทำลายศูนย์อำนาจของฮ่อกลุ่มต่างๆไปบ้าง แต่ที่แตกพ่ายไปก็คงมารวมตัวได้ใหม่ถ้ามีคนสนับสนุน จะเอาชนะเด็ดขาดคงทำไม่ได้
 
แล้วเรื่องของฮ่อก็ต้องนิยามกันให้ดีๆ บางที่มันมีผสมด้วย อย่างเช่นที่เราบอกว่าฮ่อมาปล้นเมืองหลวงพระบางคราวที่คุณว่านี้ ความจริงตัวหัวหน้าใหญ่คือคนไทจากเมืองที่เป็นเมืองขึ้นของหลวงพระบาง เมื่อเห็นเมืองหลวงลาวอ่อนแอก็แก้แค้นซะ ฝรั่งเศสเรียกนายคนนี้เป็นชื่อญวน(เพื่อประโยชน์ของเขา)ว่าด๋าววันตรี(ĐèoVăn Tri) หรือในชื่อลาวว่าคำอุ้ม เป็นเจ้าชาวไทขาวเมืองไล ในสิบสองเจ้าไท หรือแคว้นสิบสองจุไทที่แปลว่าสหพันธรัฐไทสิบสองเมือง รูปข้างล่างคือเขาละ แต่ดูเหมือนอย่างกับคนจีน

ชีวิตเบื้องต้น ĐèoVăn Tri ได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุที่วัดเชียงทองที่หลวงพระบาง ในปี 1887 ในช่วงสงครามปราบฮ่อครั้งที่๑ พี่ชายของเขาถูกจับเข้าคุกโดยข้าราชการสยาม  พอทหารไทยถอนทัพไปแล้ว ĐèoVănตรี ได้นำทหารชาวไทร่วมกับจีนฮ่อธงดำเข้าโจมตีหลวงพระบาง นายปาวีกงสุลฝรั่งเศสในหลวงพระบางขณะนั้น ช่วยป้องกันมิให้เจ้าอุ่นคำที่กำลังป่วยอยู่ถูกจับตัว(อาจจะโดยซ่อนไว้ในสถานกงสุล ไม่ใช่นำทหารฝรั่งเศสเข้าสู้รบปกป้อง เพราะปาวีไม่มีกำลังทหาร-navarat.c) และทั้งคู่ก็สามารถหลบหนีไปลี้ภัยในสยามได้ ตรงนี้ในชีวประวัติของนายปาวีกล่าวว่า เจ้าอุ่นคำรู้สึกเป็นหนี้ชีวิตตนมาก ถึงกับบอกว่าจะขอนำลาวมาเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสแทนสยามให้ได้  ส่วนเหตุการณ์ทางหลวงพระบาง ĐèoVăn Tri จับตัวเจ้าสุวรรณพรหมาอุปราชได้และสำเร็จโทษเสียเมื่อ 8 มิถุนายน 1887

ในปี 1890 นายปาวีได้รับ ĐèoVăn Tri เป็นพันธมิตรของฝรั่งเศส และให้การรับรองฐานะว่าเขาเป็นผู้นำของแคว้นสิบสองเจ้าไท เพราะต้องการผนวกแคว้นนี้กับอินโดจีนฝรั่งเศสในที่สุด


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 14:04
อ้างถึง
2. หากยึดตามแมคคาร์ธี หลังจากฮ่อได้หลวงพระบาง ฝรั่งตีโต้กลับแต่เราก็ช้าไป ฝรั่งเศสไล่ตีลามมายึดพื้นที่แล้วทำหน้าตาเฉยไม่ถอนกลับ เจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ไปเจรจาก็เหมือนโลซกเจรจากับขงเบ้ง เขายืมเกงจิ๋วจนที่สุดก็เสียทั้งเกงจิ๋วและหลวงพระบาง (ตามมาด้วยไชยบุรีฝั่งขวาด้วย) ชนะศึกแต่แพ้ยุทธศาสตร์ชัดเจน

ไม่มีฝรั่งเข้าไปตีโต้ในตอนนั้นครับ พอพวกข้างบนนี้ปล้นเมืองได้แล้วก็ขนทรัพย์กลับไปเมืองไลของเขา ขืนอยู่นานเดี๋ยวทหารไทยกลับไปตีแน่ แล้วก็ไปจริงๆ และตามไปตีถึงเมืองไลด้วย ลองกลับไปอ่านที่ผมเอามาลงไว้ดู

พวกเมืองไล และจีนฮ่อต่างก็แตกแยกย้ายหนีไปสิ้น ท้าวขุนและราษฎรเข้าร้องทุกข์ต่อแม่ทัพว่า ท้าวไลและบุตรยกเข้ามากดขี่ไพร่บ้ายพลเมืองเป็นอย่างยิ่ง

แม่ทัพและนายทัพนายกองพร้อมด้วยเจ้านายเมืองหลวงพระบางได้ปรึกษากัน และพร้อมกันเห็นว่า สมควรเอาตัวบุตรท้าวไลทั้งสามคนไปกักไว้เป็นตัวจำนำ ส่วนตัวท้าวไลซึ่งตั้งอยู่ที่ลำน้ำแท้ หรือลำน้ำดำฝั่งตะวันออกของพระราชอาณาเขต หากต่อสู้ ก็ต้องระงับปราบปราม หากจะอ่อนน้อมโดยสุจริต ก็ให้อยู่ตามเดิม

อันเมืองไลนี้ เรียกกันว่า ไทยขาว หรือไทยไล แต่ใช้ขนบธรรมเนียมอย่างแบบจีน ขึ้นกับเมืองหนองแส และเมืองนครหลวงพระบาง จึงเรียกเมืองสองฝ่ายฟ้า
แม่ทัพจัดราชการเมืองแถง จัดให้รักษาด่านทางให้แข็งแรงยิ่งขึ้น แล้วตั้งให้พระสวามิภักดิ์สยามเขตต์ (กายตง) กลับเป็นผู้รักษาเมืองแถงสืบไปอีก


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 14:08
อ้างถึง
3. หากยึดตามแมคคาร์ธี ผมตีความเอาเองว่า ฝรั่งเศสไล่ตีฮ่อจนเปลี้ยแล้ว ที่เรารบชนะเพราะฮ่อกลับที่มั่นเดิมหัวพันห้า/เมืองพวน/ไม่ได้เพราะฝรั่งเศสยึดไว้ อาจจะเป็นฮ่อที่ถูกฝรั่งเศสไล่่บี้มาก่อน ทัพสยามได้ทีซ้ำเข้าไป ทั้งๆ ที่ 2 ครั้งก่อนหน้าเรารบแพ้มาตลอด

ผมเพิ่งจะจบสงครามครั้งที่๒ แต่คุณเอาสงครามครั้งที่๓ มาตีความด้วย ขอประทานโทษที ผมเลยงงไปหมดว่าคุณหมายถึงเหตุการณ์อะไร ตอนไหน


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 ก.พ. 13, 14:20
อ้างถึง
4. เอาล่ะครับ ผลสรุปสุดท้ายคือสงครามปราบฮ่อเราก็ได้ชัยกลับมา จำได้จากราชกิจจานุเบกษาว่ามีกล่าวถึงการปูนบำเหน็จต่างๆ และมีฮ่อสวามิภักดิ์สัก 5-6 คนที่ตามไปพระนคร ก็มีการฉลองและทำเหรียญปราบฮ่อในเวลาต่อมา // หลักฐานฝ่ายไทยเลี่ยงไม่กล่าวการเสียมวย เสียฟอร์ม และการเสียที่มั่นสำคัญในปี 2428 โดยเฉพาะการปล่อยให้ฮ่อเข้าปล้นเมืองไปได้ทั้งๆที่นี่เป็นทัพปราบโจร (ไม่ให้ปล้น)

ผมว่าที่ไม่กล่าว เพราะมันเป็นเรื่องที่เกิดในเมืองลาวเขา ไม่ได้เกี่ยวกับเราโดยตรง

คือลาวเป็นเมืองออก มีเจ้านายและเสนาบดีปกครองตนเอง สยามไม่ได้ส่งข้าหลวงไปเป็นผู้ปกครองหรือมีกองทัพอยู่ที่นั่น ต่อเมื่อไหร่ที่มีปัญหาในเรื่องความมั่นคง มีใบบอกมาขอให้ไปช่วย สยามจึงจะส่งกองทัพไปช่วย
เรื่องหลวงพระบางถูกปล้น เอกสารของเราก็กล่าวไว้ แม้ไม่ได้ลงรายละเอียด ก็พอเข้าใจว่านั่นคือเหตุที่ทำให้ไทยส่งกองทัพไปและเกิดสงครามครั้งที่๒


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 22 ก.พ. 13, 20:03
กลับมาบ้านเย็นเจอการบ้านหินของอาจารย์ NAVARAT.C ใช้เวลาง่วนควันโขมงอยู่เกือบชั่วโมงจึงขอนำมารายงานครับ

1.แมคคาร์ธีไปหลวงพระบาง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือร่วมในเหตุการณ์รบที่พระยาราชฯถูกกระสุน เป็นทัพของพระยาศุโขทัย พระยาพิชัยยกไป เกิดการสู้รบสำคัญเมื่อประมาณมกราคม-กุมภาพันธ์ 1885 (2428) เหตุเกิดที่แถวทุ่งเชียงคำ แมคคาร์ธีบันทึกว่ามีวัดถูกปล้นในครั้งนั้นด้วย ต่อมาเมื่อกรุงเทพฯได้รับใบบอก รัชกาลที่ 5 ทรงพิโรธสั่งให้ขื่อคาพระยาศุโขทัย-พระยาราชฯ และเลิกทัพเข้ามาต่อมายกเลิกการจำให้ยกกองกลับ

2. ปลายปี 1885 นี้เองที่ทัพกรมหมื่นประจักษ์ฯ และจมื่นไวยฯ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) ยกไปถือเป็นศึกฮ่อครั้งที่ 3 หลักฐานว่ายกไปปลายปี (ตุลา1885-2428) ใช้เวลา 3 เดือน เอาเป็นว่าการรบจริงเกิดในปี 1886 (2429) เกือบทั้งปี ฮ่อธงดำยอมจำนนน กรกฏาคม 1886(2429) และมีศึกย่อยๆ อื่นๆ ละแวกเมืองต่างๆ นอกหลวงพระบางตามหลักฐานก่อนหน้า

3. คำถามที่ผมคาใจมากๆ คือ เหตุการณ์ฮ่อธงดำเกิดขึ้นตอนไหนกันแน่ เพราะการเขียนบันทึกของแมคคาร์ธี เขาเขียนเล่าเรื่องไปพบเจ้าพระยาสุรศักดิ์แล้วก็เล่าเหตุการณ์ต่างๆ เช่นเจอปาวี ฯลฯ แล้วบอกว่าตัวเองป่วยในเดือนธันวาคมและกลับกรุงเทพมกราคม ด้วยวิธีการเขียนเป็นลำดับต่อเนื่องกันมา หากยึดว่าเขาลำดับเหตุการณ์ตามลำดับก็แสดงว่า เขาป่วยและกลับกรุงเทพหลังจากพบเห็นการศึกของทัพจมื่นไวย+กรมหมื่นประจักษ์แล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องป่วย ธันวาคม 2429 และกลับมกราคม 2429(ยุคนั้นแต่เป็น 1887 ของฝรั่ง)

4. ข้อมูลที่นายฮ่อธงดำ ที่อาจารย์  NAVARAT.C  กรุณาค้นมาให้ บอกว่า "ปี 1887 พอทหารไทยถอนทัพไปแล้วก็เข้าปล้น"

"ĐèoVăn Tri ได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุที่วัดเชียงทองที่หลวงพระบาง ในปี 1887 ในช่วงสงครามปราบฮ่อครั้งที่๑ พี่ชายของเขาถูกจับเข้าคุกโดยข้าราชการสยาม  พอทหารไทยถอนทัพไปแล้ว ĐèoVănตรี ได้นำทหารชาวไทร่วมกับจีนฮ่อธงดำเข้าโจมตีหลวงพระบาง นายปาวีกงสุลฝรั่งเศสในหลวงพระบางขณะนั้น ช่วยป้องกันมิให้เจ้าอุ่นคำที่กำลังป่วยอยู่ถูกจับตัว(อาจจะโดยซ่อนไว้ในสถานกงสุล ไม่ใช่นำทหารฝรั่งเศสเข้าสู้รบปกป้อง เพราะปาวีไม่มีกำลังทหาร-navarat.c) และทั้งคู่ก็สามารถหลบหนีไปลี้ภัยในสยามได้ ตรงนี้ในชีวประวัติของนายปาวีกล่าวว่า เจ้าอุ่นคำรู้สึกเป็นหนี้ชีวิตตนมาก ถึงกับบอกว่าจะขอนำลาวมาเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสแทนสยามให้ได้  ส่วนเหตุการณ์ทางหลวงพระบาง ĐèoVăn Tri จับตัวเจ้าสุวรรณพรหมาอุปราชได้และสำเร็จโทษเสียเมื่อ 8 มิถุนายน 1887

5.ถ้าเป็นตามนี้ผมพลาด/สับสน ที่เข้าใจว่าฮ่อปล้นเมืองหลวงพระบาง ก่อนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์จะประกาศชัยและเข้าเมือง แต่อย่างไรก็ตามก็แสดงเช่นกันว่า เหตุการณ์ปล้นที่แมคคาร์ธีเขียนบันทึก(ตามกระทู้)ก็ไม่ได้เกิดในช่วงการศึกรอบ 2 (พระยาราชฯพระยาศุโขทัย) เช่นกัน

โดยสรุป(หากเป็นไปตามนี้) แสดงว่าฮ่อตลบหลัง พอเราประกาศชัยยกทัพกลับ พวกก็เล่นมาปล้นตามหลังเลย / ไม่ทราบ Time Line ของผมตรงกับของอาจารย์หรือเปล่าครับ

ป.ล. การระบุปี 1885-86-87 แบบฝรั่งเหมือนจะง่ายกว่ากันเยอะเลยครับ เพราะเฉพาะปี 2428 ที่เหลื่อมกันอยู่ระหว่างทัพที่ 2 ที่แตกลงกรุง กับ ทัพที่ 3 พระยาสุรศักดิ์ใกล้กันนิดเดียว แถมข้ามมาถึง 3-4 เดือนแรกของ 1886 อีก


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 07:14
สงครามปราบฮ่อ แบ่งเป็นครั้งที่๑ ๒ และ๓ เมื่อใดนี้ ดูจะไม่เหมือนของคุณbunnaroth แต่ของผมก็ว่าตามต้นฉบับที่ผมลอกมานำเสนอ(โดยใช้อักษรสีน้ำเงิน ส่วนที่เป็นความเรียงของผมจะเป็นสีดำ) ซึ่งผมได้ทำระโยงไว้ให้เข้าไปอ่านฉบับเต็มไว้แล้ว

หลวงพระบางถูกปล้นทุกครั้ง ก่อนที่ไทยจะนำทัพขึ้นไปปราบ พอทหารขึ้นไปทีก็สงบที เพราะส่วนใหญ่จะหลบหนีไปไม่ยอมปะทะ จะตามไปตีให้ราบคาบก็ยากที่จะปฏิบัติ มีพระบรมราชโองการกำกับทัพไว้ด้วยว่าถ้าฮ่อหนีข้ามไปเขตของประเทศอื่นก็มิให้ตามเข้าไปตี ดังนั้น พอทหารไทยยกทัพกลับ ฮ่อก็ออกมาอีก แม้จริงๆแล้วบางครั้งไม่ใช่ฮ่อแท้ๆ แต่เป็นชนชาติที่ลาวหลวงพระบางถือเป็นเมืองออกของตน

พวกฮ่อ คือพวกจีนกบฎที่มาจากยูนนาน มีฮ่อธงแดง ฮ่อธงลายแถบ และฮ่อธงดำ นานไปพวกนี้ก็ผสมกับชาวพื้นเมือง เป็นพวกสวามิภักดิ์กลายเป็นพลเมืองไปก็แยะ แต่ที่ยังถืออาวุธอยู่ ได้ทีก็เข้าปล้น ยังมีมากพอที่ปัญหาไม่ดับลงได้

เชิญอ่านต่อสงครามปราบฮ่อครั้งที่๓ก่อนที่ผมจะสรุปอีกทีหนึ่ง


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 07:28
วันอาทิตย์หนึ่งของเดือน ๘ พ.ศ.๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทววงศ์วโรปการ และ นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรีเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทแล้วพระราชทานเรื่องราวที่ได้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท . . .

เมืองนครหลวงพระบาง พ.ศ.๒๔๓๐

ศุภอักษรของเจ้ามหินทรเทพนิภาธร เจ้านครหลวงพระบาง และใบบอกของหลวงพิศณุเทพข้าหลวง . . .

เจ้านครหลวงพระบางแต่งให้พระยาเชียงเหนือ พระยาหมื่นน่า และพระยานาใต้ คุมไพร่ท่านละ ๑๐๐ ไปรักษาเมืองงอย เมืองขวา และบ้านเพี้ยพันธุระโกไสย ในลำน้ำนัว ตามลำดับ พระยาเชียงเหนือ และพระยานาใต้ รายงานว่า ไปถึงเมืองงอยเมื่อ วันพฤหัสบดี แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ (ตรงกับ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๓๐) ให้คนถือหนังสือไปถึง พระยาเมืองขวา ริมน้ำอู เหนือปากน้ำนัว แต่เมื่อไปถึงบ้านหาดสาพบพวกฮ่อ และพวกไทยไลล่องเรือมา ๔ ลำ มีคนราว ๖๐ - ๗๐ เข้ามาทำร้ายไล่ฟันราษฎร ชาวบ้านแตกตื่นไปบ้าง ล่องเรือหนีมาตามลำน้ำอูบ้าง ชาวบ้านตามลำน้ำอู พอทราบข่าวก็ตกใจตื่นแตกลงมาถึงเมืองงอย ราษฎรในเมืองงอยก็แตกตื่นทั้งไพร่พลที่ไปรักษาเมืองก็ระส่ำระสายทิ้งพระยาเชียงเหนือ และพระยานาใต้ ไม่ฟังคำห้ามปราม

เจ้านครหลวงพระบาง และ หลวงพิศณุเทพ จัดให้พระยาเชียงใต้ และพระยาเมืองแพนคุมพล ๘๐ จากเมืองหลวงพระบาง เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๗ (๒๗ พฤษภาคม ๒๔๓๐) และให้เจ้าอุปราชคุมพลอีก ๑๐๐ ยกตามไป ให้พระพิทักษ์บุรทิศร่วมไปด้วยเมื่อขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ (๓๑ พฤษภาคม) และให้เจ้าราชสัมพันธวงศ์ เจ้ากรมตำรวจ พระยาเหนือขึ้นไปกวาดผู้คนตามลำน้ำเซือง น้ำแซงอีกกองหนึ่ง ไปบรรจบกับเจ้าอุปราช

วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ (ตรงกับ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๔๓๐) พระพิทักษ์บุรทิศส่งต้นหนังสือฮ่อถึงเจ้านครหลวงพระบาง ๒ ฉบับ ซึ่งเจ้าอุปราชให้คนแปลแล้วว่า ลูกท้าวไลซึ่งเจ้านายเอามาเลี้ยง ถ้ามีโทษสิ่งใดท้าวไลขอโทษเสีย อีกฉบับว่า ว่างม้านมาฟ้องเจ้านายภายหลังเจ้านายจับลูกท้าวไลมา ท้าวไลไม่รู้ (ท้าวไลเข้าใจว่าบุตรทั้งสามคนอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง)

วันรุ่งขึ้นได้รับหนังสือพระพิทักษ์บุรทิศความว่า ยกไปถึงบ้านปากอู พบพระยานาใต้ถือหนังสือพระยาเชียงเหนือ พระยาเชียงใต้ พระยาหมื่นน่า พระยาเมืองแพน ว่าพวกเมืองไล กับฮ่อประมาณ ๑,๐๐๐ เศษ ยกมาถึงบ้านสบวันใต้เมืองงอย พระยานาใต้ พระยาหมื่นน่า จะสู้รบ แต่ไพร่พลระส่ำระสาย จึงส่งคนไปเจรจากับคำฮุมบุตรท้าวไลที่คุมคนมานั้นว่า ถ้ามาดีให้พักอยู่ที่บ้านสบวันนั้น แต่คำฮุมไม่ยอม (หมายความว่ามาไม่ดี) พระยานาใต้เห็นเหลือกำลังที่จะต้านทาน ไพร่พลเมืองหลวงพระบางของหลวงพิศณุเทพก็แตกตื่น จึงมีหนังสือถึงเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าเมืองน่าน และ เจ้านครหลวงพระบางก็มีไปอีกฉบับหนึ่ง ขอกำลังมาช่วย ๑,๐๐๐ คน

วันเสาร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ (ตรงกับ วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๓๐) พวกเมืองไลพวกฮ่อมีหนังสือถึงเมืองหลวงพระบางความว่า จัดเงินหมื่น ๑ คำพัน ๑ ม้า ๔๐ ม้าลงมาถวายเจ้านครหลวงพระบางอย่าสงสัยว่าจะมาสู้รบ และในค่ำวันนั้นราษฎรในเมืองนครหลวงพระบางที่ตกใจต่างขนของข้ามลำน้ำคานมาเมืองหลวงพระบาง และในวันรุ่งขึ้น ก็โจษกันว่าเจ้าอุปราชแตกฮ่อมา (ความจริงเจ้าอุปราชถอนกลับมาโดยไม่ได้แตก)

มองซิเออร์ปาวีพูดกับหลวงพิศณุเทพว่าอยู่ในเมืองไม่ได้เพราะราษฎรไม่คิดสู้ จึงชวนกันข้ามแม่น้ำโขงมาทางฝั่งตะวันตก (ฝั่งขวา) จะล่องเรือไปหาคนมารักษาเมือง แต่เจ้านครหลวงพระบางให้คนมาตามกลับไปนครเมืองหลวงพระบาง และในค่ำวันนี้คำฮุมและพวกฮ่อยกมาตั้งที่บ้านปากอู
หลวงพิศณุเทพกับเจ้าราชสัมพันธวงศ์รวบรวมคนได้ ๑๕๐ คำฮุมให้คนมาหาพระสงฆ์ ๆ พาไปหาเสนาบดี แจ้งว่ามาดีไม่คิดทำอันตรายแก่เจ้านายแต่อย่างใด จะมาขอบุตรท้าวไล และจะขอเข้ามาในเมืองวันพรุ่งนี้

วันจันทร์แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ (๖ มิถุนายน ๒๔๓๐) พวกฮ่อล่องเรือมาขึ้นที่ท่าวัดแสน วัดเชียงทอง ริมเมืองนครหลวงพระบาง ขอเข้าเฝ้าเจ้านครหลวงพระบาง ๆ ไม่ให้เฝ้า
วันพุธ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๗ (๘ มิถุนายน ๒๔๓๐) ประมาณ ๕ โมงเศษ พวกฮ่อพากันถืออาวุธเข้าไปที่คุ้มเจ้านครหลวงพระบาง ขณะนั้นฮ่อที่อยู่ในคุ้มและนอกคุ้มก็เป่าเขาควายและยิงปืนขึ้นพร้อมกัน พวกลาวหลวงพระบางและพวกต่องสู่กับเงี้ยวที่เป็นพ่อค้าก็ได้ยิงต่อสู้พวกฮ่อ ปรากฏว่าตายไปฝ่ายละประมาณ ๒๐ คนเศษ เจ้านครหลวงพระบางต้องล่องเรือลงมาพักที่เมืองน่าน คืนหนึ่ง แล้วล่องต่อไปอีก ๒ คืน

วันเสาร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๗ ถึงบ้านปากลาย ซึ่งบุตรภรรยาเจ้านครหลวงพระบางและครอบครัวเจ้านายท้าวพระยาราษฎรมาพักอยู่ก่อนแล้ว หลวงพิศณุเทพและ มองซิเออร์ปาวีก็อยู่ด้วย แต่ไม่ปรากฏเจ้าอุปราช เจ้านครหลวงพระบางจึงแต่งคนไปสืบความที่เมืองหลวงพระบาง

เมื่อพระราชทานเรื่องราวที่ได้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วได้มีกระแสพระราชดำรัสแก่นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี ว่า "เจ้าต้องเป็นแม่ทัพขึ้นไปปราบฮ่ออีกครั้ง ๑ ส่วนการเสบียงอาหารนั้น ข้าจะให้กรมหมื่นสรรพประสิทธิประสงค์ยกขึ้นไปเป็นกองเสบียงจัดการกำลังพาหนะอยู่ ณ เมืองพิชัย เตรียมไว้ส่งกองทัพเจ้า ส่วนตัวเจ้าต้องเตรียมตัวจัดกองทัพบกไปโดยเร็ว"


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 07:35
อ้างถึง
เหตุการณ์ข้างบน เป็นเหตุการณ์เดียวกันกับที่ฝรั่งเขียนไว้ ซึ่งผมแปลมาลงไปแล้ว แต่รายละเอียดไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะบทบาทของนายปาวี
แล้วเรื่องของฮ่อก็ต้องนิยามกันให้ดีๆ บางที่มันมีผสมด้วย อย่างเช่นที่เราบอกว่าฮ่อมาปล้นเมืองหลวงพระบางคราวที่คุณว่านี้ ความจริงตัวหัวหน้าใหญ่คือคนไทจากเมืองที่เป็นเมืองขึ้นของหลวงพระบาง เมื่อเห็นเมืองหลวงลาวอ่อนแอก็แก้แค้นซะ ฝรั่งเศสเรียกนายคนนี้เป็นชื่อญวน(เพื่อประโยชน์ของเขา)ว่าด๋าววันตรี(ĐèoVăn Tri) หรือในชื่อลาวว่าคำอุ้ม เป็นเจ้าชาวไทขาวเมืองไล ในสิบสองเจ้าไท หรือแคว้นสิบสองจุไทที่แปลว่าสหพันธรัฐไทสิบสองเมือง รูปข้างล่างคือเขาละ แต่ดูเหมือนอย่างกับคนจีน

ชีวิตเบื้องต้น ĐèoVăn Tri ได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุที่วัดเชียงทองที่หลวงพระบาง ในปี 1887 ในช่วงสงครามปราบฮ่อครั้งที่๑ พี่ชายของเขาถูกจับเข้าคุกโดยข้าราชการสยาม  พอทหารไทยถอนทัพไปแล้ว ĐèoVănตรี ได้นำทหารชาวไทร่วมกับจีนฮ่อธงดำเข้าโจมตีหลวงพระบาง นายปาวีกงสุลฝรั่งเศสในหลวงพระบางขณะนั้น ช่วยป้องกันมิให้เจ้าอุ่นคำที่กำลังป่วยอยู่ถูกจับตัว(อาจจะโดยซ่อนไว้ในสถานกงสุล ไม่ใช่นำทหารฝรั่งเศสเข้าสู้รบปกป้อง เพราะปาวีไม่มีกำลังทหาร-navarat.c) และทั้งคู่ก็สามารถหลบหนีไปลี้ภัยในสยามได้ ตรงนี้ในชีวประวัติของนายปาวีกล่าวว่า เจ้าอุ่นคำรู้สึกเป็นหนี้ชีวิตตนมาก ถึงกับบอกว่าจะขอนำลาวมาเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสแทนสยามให้ได้  ส่วนเหตุการณ์ทางหลวงพระบาง ĐèoVăn Tri จับตัวเจ้าสุวรรณพรหมาอุปราชได้และสำเร็จโทษเสียเมื่อ 8 มิถุนายน 1887

ในปี 1890 นายปาวีได้รับ ĐèoVăn Tri เป็นพันธมิตรของฝรั่งเศส และให้การรับรองฐานะว่าเขาเป็นผู้นำของแคว้นสิบสองเจ้าไท เพราะต้องการผนวกแคว้นนี้กับอินโดจีนฝรั่งเศสในที่สุด

มองซิเออร์ ปาวีกล่าวว่า เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๐ พวกฮ่อได้บุกเข้าทำลายเมืองหลวงพระบางหลังจากที่กองทัพเจ้าหมื่นไวยวรนารถออกจากเมืองหลวงพระบางกลับกรุงเทพฯแล้วไม่กี่วัน ซึ่งมองซิเออร์ ปาวี อ้างว่าได้ช่วยเจ้าเมืองนครหลวงพระบางไว้ จนถึงกับกล่าวว่า
". . . ข้าพเจ้า ได้มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้แก่ผู้ตรวจการสยาม แต่เขาก็มาทิ้งข้าพเจ้าไปอย่างรวดเร็ว และยังห้ามไม่ให้ข้าพเจ้ารับความคิดเห็น และความช่วยเหลือจากท่าน มาวันนี้ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจมาก เพราะข้าพเจ้าอยู่ที่นี่คนเดียว ข้าพเจ้าขอร้องกรุณาอย่าทิ้งข้าพเจ้าไป . . ."


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 07:44
ฝ่ายไทยจัดทัพได้อย่างเร็วที่สุดเพื่อไปช่วย

๒๘ มิถุนายน ๒๔๓๐ เจ้าเมืองไลเข้ายึดเมืองนครหลวงพระบาง

วันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๙ ค่ำ (๑๔ กรกฎาคม ๒๔๓๐) นายร้อยเอก หลวงดัษกรปลาศ และทหารนายไพร่กองหน้าได้กราบถวายบังคมลายกขึ้นไปเมืองนครหลวงพระบาง ทางเมืองพิชัย
วันศุกร์ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ (๑๕ กรกฎาคม ๒๔๓๐) กรมมหาดไทยได้นำใบบอกหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า ได้เตรียมกำลังไพร่พลที่จะยกไปช่วยเมืองนครหลวงพระบางเป็นการพร้อมเสร็จแล้ว

วันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๑๓ ค่ำ (๑๘ กรกฎาคม ๒๔๓๐) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพประสิทธิประสงค์กราบถวายบังคมลาขึ้นไปตรวจการเสบียงอาหาร พาหนะในการที่จะส่งกองทัพ ณ เมืองพิชัย
วันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๒ ค่ำ (๒๒ กรกฎาคม ๒๔๓๐) พระยาศรีสิงหเทพนำพระยานนทบุรีศรีเกษตราราม (ทัด สิงหเสนี) ข้าหลวงที่ ๑ กราบถวายบังคมลาขึ้นไปเป็นข้าหลวงเมืองนครหลวงพระบางราชธานี


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 07:48
พวกฮ่อเผา เมืองนครหลวงพระบางราชธานี

พวกฮ่อเก็บเอาทรัพย์สิ่งของของเจ้านายท้าวพระยาได้แล้ว เผาคุ้มเจ้านครหลวงพระบาง บ้านเจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ เจ้าสัมพันธวงศ์ และบ้านท้าวพระยาลาวยกหนีไปจากเมืองหลวงพระบาง แต่วันเสาร์ เดือน ๗ แรม ๖ ค่ำ พระศรีเทพบาลเมืองพิชัยกับพระศรีอรรดฮาดเมืองเชียงคานขึ้นไป เมืองนครหลวงพระบางตรวจดูเห็นว่าบ้านเรือนถูกเผาเป็นจำนวนมาก แต่เป็นฝีมือฮ่อเพียงคุ้มเจ้านาย ๒ - ๓ แห่งเท่านั้น นอกนั้นเป็นฝีมือผู้ร้ายชาวเมืองหลวงพระบางเอง และเมืองแก่นท้าวบ้าง เมื่อพระศรีเทพบาล กับพระศรีอรรดฮาด ไปถึงและจัดพลตระเวนเหตุการณ์จึงสงบเรียบร้อย และยังสืบได้ความว่าพวกฮ่อถอนไปตั้งที่ ปากบากกองหนึ่ง ในลำน้ำบากกองหนึ่ง เมืองงอยอีกกองหนึ่ง และมีแผนจะยกไปตีเมืองไสซึ่งเป็นเมืองขึ้น และเมืองแข็งแรงของเมืองหลวงพระบาง พระยาสุโขทัยก็มีหนังสือไปเมืองน่านให้รีบส่งกองทัพไปช่วยเมืองไส

เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครเมืองน่านมีหนังสือถึงเจ้าเมืองนครหลวงพระบางราชธานีว่า ได้ส่งเจ้านายไพร่พลและเสบียงอาหารมาช่วย เมืองนครหลวงพระบางและที่เมืองปากลายด้วยแล้ว

เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ (๒๘ มิถุนายน ๒๔๓๐) เจ้านครเมืองน่านได้จัด เจ้าน้อยมหาพรหม หนานมหาเทพ หนานมหาไชย คุมไพร่พล ๑๐๐ ยกไปช่วยราชการ เมืองนครหลวงพระบาง


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 07:51
เจ้าเมืองนครหลวงพระบางราชธานีเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

เจ้ามหินทรเทพนิภาธร เจ้านครหลวงพระบาง กับเจ้าลาวบุตรหลานชายหญิง ๒๗ คน ลงมาจากเมืองพิชัยถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันจันทร์ เดือน ๑๑ แรม ๑ ค่ำ (๓ ตุลาคม ๒๔๓๐)

ครั้นวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำ (๒๑ ตุลาคม ๒๔๓๐) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกประทับบนพระที่นั่งพุดตาลทองคำภายใต้พระมหาเศวตฉัตรในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้ามหินทรเทพนิภาธร เจ้าศรีสุพรรณ์ว่าที่ราชบุตร เจ้านายบุตรหลานชาย ๑๓ หญิง ๑๒ รวม ๒๗ ไพร่ชายหญิง ๕๐ รวม ๗๗ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แล้วมีพระราชดำรัสปฏิสัณฐาน มีเนื้อความดังต่อไปนี้

๑. "เจ้านครหลวงพระบางลงมาอยู่กรุงเทพฯ ไม่เจ็บไข้อันใดฤๅ"
"ขอเดชะ พระบารมีปกเกล้าฯ เจ้านครหลวงพระบางและบุตรหลานมีความสุขสบาย"

๒. "เรามีความสงสารที่เสียเมืองนี้ ต้องเสียทรัพย์สมบัติ และพลัดพรากจากถิ่นฐานบ้านเรือน การที่เสียเมืองหลวงพระบางตรั้งนี้ ก็เป็นการเสียเกียรติยศกรุงเทพฯ ด้วยเหมือนกัน แต่เจ้านครหลวงพระบางได้อุตสาหรักษาเมืองนครหลวงพระบางอยู่จนถึงเวลาอับจนนั้น ก็เป็นความชอบอยู่แล้ว อย่ามีความกลัวว่าจะมีความผิดเลย"
"ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่เจ้านครหลวงพระบางทั้งนี้พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าฯ การที่ต้องเสียเมืองครั้งนี้ ขอพระบารมีเป็นที่พึ่งสืบไป"

๓. "การเมืองหลวงพระบางคงจะขึ้นไปจัดให้เรียบร้อย ตัวเจ้านครหลวงพระบางก็จะให้ขึ้นไปด้วยกับกองทัพใหญ่ แต่การรักษาบ้านเมืองแต่ก่อนมาเป็นการหละหลวมไม่เป็นหลักฐาน ต้องให้เจ้านครหลวงพระบางคิดปรึกษาหารือกับแม่ทัพ และข้าหลวงจัดการรักษาบ้านเมืองจะได้ไม่เป็นการลำบากเสียบ้านเมืองต่อไป"
"การที่ทรงพระกรุณาดังนี้ เจ้านครหลวงพระบางจะคิดคิดปรึกษาหารือกับแม่ทัพและข้าหลวงรักษาราชการ ฉลองพระเดชพระคุณเต็มสติกำลัง"


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:00
ในการยกกองทัพขึ้นไปปราบฮ่อและจัดราชการครั้งนี้ ฝ่ายฝรั่งเศสก็จัดทหารขึ้นไปสำรวจพระราชอาณาเขต ณ เมืองหลวงพระบางด้วย

รัฐบาลฝรั่งเศสและรัฐบาลสยามได้ตกลงกันว่า กองทัพสยามจะยกขึ้นไปปราบฮ่อในพระราชอาณาเขตสยามครั้งนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสก็จะยกกองทัพขึ้นไปปราบปรามทางเขตแดนของฝรั่งเศสด้วย ทั้งสองฝ่ายจัดพนักงานไปกับกองทัพข้างละ ๒ นาย เพื่อให้เป็นการสะดวกทั้งสองฝ่าย ข้าหลวงฝรั่งเศสที่ไปกับกองทัพไทยคือ กัปตันกือเป(Cupet) และเลฟเตแนนท์นิโคล็อง(Nicolon) ฝ่ายไทยที่ไปกับกองทัพฝรั่งเศส คือ พระไพรัชพากย์ภักดี และหลวงคำนวณคัคคนาน

วันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๒ ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกท้องพระโรงกลางบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ประทับบนพระที่นั่งพุดตาลภายใต้พระมหาเศวตฉัตร พระยาศรีสิงหเทพนำแม่ทัพนายกองฝ่ายเหนือ และกองทำแผนที่กับข้าหลวงกำกับ กัปตันปิเต็มคูเป เลฟเตแนนท์นิคอลอง ฝรั่งเศส และเจ้านครหลวงพระบาง กราบถวายบังคมลากลับขึ้นไปเมืองนครหลวงพระบางราชธานี


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:08
วันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ (๘ มกราคม ๒๔๓๐) ได้รับรายงานจากนายร้อยเอกหลวงดัษกรปลาศ แม่ทัพหน้าว่า ได้นำกองทัพถึงเมืองนครหลวงพระบางแล้ว พร้อมพระยานนทบุรีข้าหลวงที่ ๑ และหลวงพิศณุเทพข้าหลวงที่ ๒ ราชการสงบเป็นปรกติเรียบร้อยดีอยู่ และได้ส่งนายทหารและพลทหารพร้อมด้วยคำสาม บุตรท้าวไลขึ้นไปตรวจราชการทางด่านเมืองแถงและเมืองไลแล้ว และกองทัพกังวลเรื่องเสบียงอาหาร

วันจันทร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ (๒๓ มกราคม ๒๔๓๐) มองซิเออร์ ปาวี คอมมิสชันเนอร์ได้ไปถึงเมืองนครหลวงพระบางแล้ว แจ้งแก่พระยานนทบุรีข้าหลวงว่าได้รับแจ้งจากราชฑูตและกงซุลฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯว่า กองทัพฝรั่งเศสจะยกจากเมืองลาวกายมายังเมืองไล ในวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (๒ ตุลาคม ๒๔๓๐) หากไม่พบกองทัพไทยและมองซิเออร์ ปาวี อาจจะยกล่วงเข้ามาในพระราชอาณาเขต และว่าถ้ากองทัพไทยยังมาไม่ถึงเมืองนครหลวงพระบางในเดือนยี่นี้ มองซิเออร์ ปาวีจะขอขึ้นไปก่อน เพื่อพบกับกองทัพฝรั่งเศสโดยเร็ว

พระยานนทบุรีข้าหลวงมีหนังสือเจ้าราชภาคิไนย ที่เมืองงอย ท้าวไล คำฮุม คำสา คำกุ้ย ที่เมืองไล กับถึงพระไพรัชพากย์ภักดีที่ไปกับกองทัพฝรั่งเศส รวมใจความว่า
ที่กรุงเทพฯได้ปรึกษาตกลงพร้อมกันว่า กองทัพฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศสจะยกไปตรวจเขตแดนทั้งสองฝ่าย ฝ่ายฝรั่งเศสจะยกขึ้นไปทางเขตแดนญวน ฝ่ายไทยจะยกขึ้นไปทางเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกและเมืองสิบสองจุไทย เพื่อระงับปราบปรามโจรผู้ร้ายให้เรียบร้อย กองทัพกรุงเทพฯ จะรีบยกไปในเร็วๆ นี้ แต่กองทัพฝรั่งเศสนั้นจะยกออกจากเมืองลาวกายมาเมืองไล

มองซิเออร์ ปาวี ออกเรือจากเมืองนครหลวงพระบางราชธานีเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (๒๖ มกราคม ๒๔๓๐)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:18
วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๓ (๓๐ มกราคม ๒๔๓๐) ผู้ไปสืบข่าวที่เมืองแถงรายงานว่า ท้าวเมืองจันท้าวเมืองขวาพากองทัพฝรั่งเศส ไพร่พลประมาณ ๓,๐๐๐ มาตีเมืองไล พวกเมืองไลไปตั้งสู้ที่ปากน้ำตัน แต่สู้ไม่ได้จึงพาครอบครัวหนีไปเมืองเหมือน ส่วนที่เมืองไลมีคนรักษาอยู่ ๗๐๐ พวกเมืองไลที่ตั้งอยู่เมืองแถงจึงจะกลับไปเมืองไล มาเกณฑ์ข่าเพี้ยจันให้ไปส่งที่เมืองเหมือน และที่เมืองแถงยังมีคนเมืองไลอยู่ ๕ คน กับครัวเมืองแถงอีก ๑๐ ครัว

พระยานนทบุรี นายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศ เจ้าราชวงศ์ และเจ้าราชสัมพันธวงศ์ ได้ปรึกษากันแล้ว เป็นตกลงให้รอปรึกษาท่านแม่ทัพใหญ่ซึ่งจะมาถึงเมืองนครหลวงพระบางราชธานีในเดือน ๔ นี้

เจ้าราชภาคิไนย พระศรีอรรคฮาด พระยาเมืองแพน ซึ่งรักษาการที่เมืองงอยส่งข่าวไปเมืองนครหลวงพระบาง เมื่อวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๓ (๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๐) ว่ากองทัพฝรั่งเศส ท้าวเมืองจันท้าวเมืองขวากับพวกญวนยกเข้ามาตั้งที่เมืองแถง ประมาณ ๒,๐๐๐ เกณฑ์เสบียงอาหารจากพวกเย้า แม้ว ข่า ผู้ไทยไปเลี้ยงกองทัพ

พระยานนทบุรีเห็นว่า จะรอกองทัพใหญ่ยกมาถึงเมืองนครหลวงพระบางอาจเสียราชการและทางพระราชไมตรี จึงปรึกษานายร้อยเอกหลวงดัสกรปลาศนายทัพหน้าคุมรี้พล ๓๔๑ รีบยกไปเมืองแถง กำหนดยกขึ้นไปในวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ (๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๐) และมีหนังสือแจ้งมองซิเออร์ ปาวีด้วยว่า ขอให้ชี้แจงแก่แม่ทัพฝรั่งเศสพักกองทัพอยู่นอกเมืองไลก่อนจึงจะสมควรทางพระราชไมตรี หรือยกมาถึงปลายเขตต่อแดนสยามคอยกองทัพกรุงเทพฯ ซึ่งกำหนดจะขึ้นมาตรวจพระราชอาณาเขตพร้อมกันเมืองนครหลวงพระบางกำหนดถึงในเดือน ๔ นี้ และนายร้อยเอกหลวงดัสกรปลาศกำหนดยกขึ้นไปเมืองแถงในวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ (๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๐)ก่อน

กำลังฝรั่งเศส ท้าวจันท้าวขวา ที่เมืองแถงมีประมาณ ๕๐๐ - ๖๐๐ เศษ พักอยู่ที่ค่ายเชียง ปักธงฝรั่งเศสขึ้นไว้ และตั้งที่เมืองไลกองหนึ่ง ส่วนกองทัพใหญ่ยังพักอยู่ที่เมืองจัน

วันพฤหัสบดีขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ (๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๐) นายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศยกกองขึ้นไปเมืองแถงตามกำหนด


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:23
กองทัพใหญ่

กองทัพใหญ่ยกออกจากเมืองพิชัย เมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๓ (๑๙ มกราคม ๒๔๓๐) ถึงเมืองปากลายใน วันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๓ (๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๐)จัดให้พระพลัษฎานุรักษ์ ปลัดทัพ แบ่งกำลังล่วงหน้ายกไปเมืองนครหลวงพระบางก่อน พร้อมพนักงานเซอร์เวย์ (นายแมคคาร์ธี?)  ออกจากปากลายใน วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ (๑๙ กุมภาพันธ์) ส่วนกัปตัน กือเป และเลฟเตแนนท์ นิโคล็อง ออกจากปากลายใน วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ (๒๕ กุมภาพันธ์)

วันเสาร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (๒๖ กุมภาพันธ์) พระพลัษฎานุรักษ์ ปลัดทัพ ก็นำกำลังล่วงหน้าของกองทัพใหญ่ยกไปเมืองนครหลวงพระบาง
วันพฤหัสบดี แรม ๔ ค่ำ เดือน ๔ (๑ มีนาคม ๒๔๓๐) กองทัพใหญ่ยกจากบ้านปากลายทางเรือ ครั้นมาถึงบ้านท่าเลื่อน (ห่างเมืองนครหลวงพระบาง ประมาณ ๑ ชั่วโมง) ทราบว่า เมื่อพวกฮ่อเข้าเมืองนครหลวงพระบางนั้น ท้าวพระยาและราษฎรเมืองนครหลวงพระบางได้นำพระบางหนีข้าศึกมาซ่อนไว้ที่ถ้ำบ้านน้ำพูน ท่านแม่ทัพพิจารณาเห็นว่า พระบางเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาก จึงได้รับอัญเชิญพระบางไปกับกองทัพด้วย เมื่อถึงเวลาสมควรจะได้จัดการฉลองให้ต่อไป ทวยราษฎรเมืองนครหลวงพระบางได้ทราบข่าวเรื่องพระบางพากันมาต้อนรับ และแห่แหนอย่างล้นหลาม


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 23 ก.พ. 13, 08:29
เริ่มชิงไหวชิงพริบกันแล้ว....จากศึกฮ่อ กลายเป็นศึกที่ไม่ประกาศสยาม-ฝรั่งเศสไปซะ

กำลังตามอ่านครับ แต่อดรนทนใจไม่ได้มาแซมเสียหน่อยว่า ปาวี กับเจ้าฮ่อธงดำมันรู้กันรึเปล่า หลิ่วตาให้มาปล้นหลวงพระบาง ปาวีได้เอาบุญคุณกับเจ้าหลวงเพราะต่อมาก็ตั้งฮ่อธงดำ (นายเดื๋องอะไรนั่น) เป็นพวกฝรั่งเศสไป แล้วก็ได้โอกาสสยามให้ฝรั่งเศสเข้ามาร่วมปราบรีบชิงพื้นที่กินแดนซะ - ขัดคอเล็กน้อยเชิญอาจารย์จนจบเรื่องครับ เช้าวันเสาร์สบายหน่อยไม่เร่งรีบ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:32
แผนปกครองรักษาเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก

กัปตันเจริญ พระยาเชียงเหนือ พระยานาใต้ ยกออกจากเมืองนครหลวงพระบางในวันอาทิตย์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๔ (๔ มีนาคม ๒๔๓๐) เพื่อไปเมืองซ่อนแขวงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ถึงเมืองงอยในวันศุกร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ (๙ มีนาคม ๒๔๓๐) ได้ปรึกษากับเจ้าราชภาคิไนยเห็นควร จัดกำลังล่วงหน้าขึ้นไปก่อนเพื่อสืบสวนราชการ (หาข่าว) และเสบียงอาหารให้ชัดแจ้งก่อน จึงจัดให้ นายแช่ม สัปลุตเตอร์แนนท์(ร้อยตรี) นำทหาร ๓๑ คน(๑ หมวด) และพระยานาใต้ คุมคนอีก ๓๐ ยกไปเมืองซ่อนโดยเร็ว นายแช่ม สัปลุตเตอร์แนนท์กำหนดออกจากเมืองงอย วันพฤหัสบดี ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๕ (๑๕ มีนาคม ๒๔๓๐) และมีแผนปกครองรักษาเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ว่าจะแยกกองทัพไปรักษาเมืองแวน เมืองสบแอด เมืองเชียงค้อ

รายงานนายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์

เมื่อมองซิเออร์ ปาวีกลับมาถึงเมืองแถงนั้น มีทหารฝรั่งเศสและทหารญวนมาส่งด้วยประมาณ ๑๗๐ คน นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์ขึ้นไปเยี่ยม มองซิเออร์ ปาวีถามว่ามาอยู่ที่นี่ทำไม มีหนังสือของท่านแม่ทัพมาด้วยหรือไม่ นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์ พาซื่อตอบว่าไม่มี มองซิเออร์ ปาวีจึงว่า ถ้าเช่นนั้นก็อยู่ไม่ได้พรุ่งนี้ให้กลับไปด้วยกัน นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์พยายามทัดทาน และว่าต้องรายงานนายร้อยเอกหลวงดัสกรปลาศเสียก่อน แต่มองซิเออร์ ปาวีว่าไม่ต้องมีหนังสือไปบอก และบังคับให้นายชุ่มนำกองทหารกลับลงมาพร้อมกับตน นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์จะพูดจาขัดขืนก็เกรงว่าจะมีความผิด และเกิดเป็นการใหญ่โตเสียทางพระราชไมตรี จึงยกออกจากค่ายเชียงแลพากันเดินทางต่อมา ส่วนทหารฝรั่งเศสและทหารญวนมาส่งมองซิเออร์ ปาวียังคงตั้งพักอยู่ที่ค่ายเชียงแล เมืองแถง

เมื่อมองซิเออร์ ปาวีออกจากเมืองนครหลวงพระบางไปเกือบจะถึงเมืองแถงนั้น ได้พบพวกฮ่อประมาณ ๕๐ คน จะเข้ามาทำอันตรายมองซิเออร์ ปาวี แต่ได้ทหารไทยที่ไปด้วยต่อสู้พวกฮ่อเป็นสามารถได้ช่วยชีวิต มองซิเออร์ ปาวีไว้ได้
ข้อความตรงนี้น่าจะเป็นเมื่อมองซิเออร์ ปาวีออกจากเมืองแถงไปเกือบจะถึงเมืองนครหลวงพระบางนั้น (navarat.c)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:35
นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์ซึ่งเชื่อคำขู่กรรโชกของมองซิเออร์ ปาวี ไม่รอรับคำสั่งนายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเสียก่อนนั้น ท่านแม่ทัพสั่งการให้นายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศออกคำสั่งถอดนายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์ออกจากยศนายทหารเป็นพลทหารต่อไป

ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสได้ส่งตราและเหรียญเมืองญวนรูปมังกรห้าเล็บในดวงตราและเหรียญมาให้แม่ทัพและนายทหารชั้นรองๆ และพลทหารที่ได้ไปส่งและช่วยชีวิตมองซิเออร์ ปาวี ท่านแม่ทัพได้ส่งตราและเหรียญทูลเกล้าฯ ถวายให้ทอดพระเนตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพอพระราชหฤทัย ทรงเห็นว่าฝรั่งเศสเหยียดไทยเสมอกับญวนซึ่งเป็นเมืองขึ้น


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:38
นายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศเมื่อได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังก่อนฝนตกหนักนั้น จึงออกคำสั่งเรียกนายทหารซึ่งไปประจำการอยู่นั้นให้ถอยกลับ และสั่งให้กัปตัน เจริญ ซึ่งไปรักษาราชการแขวงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกให้รักษาอยู่ที่เมืองสบแอด เมืองเชียงค้อ ต่อไป และให้นายนิ่ม นอนกอมมิชชันกับทหาร ๔ คน ไปสืบข้อราชการ ณ เมืองแถง

วันเสาร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ (๓๑ มีนาคม ๒๔๓๐) นายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศได้นำกองทหารมาถึงเมืองนครหลวงพระบาง

มองซิเออร์ ปาวีและกัปตัน กือเปซึ่งกลับลงมาพักเมื่อ ณ เมืองนครหลวงพระบางแจ้งให้แม่ทัพทราบว่า จะขอกลับไปเมืองฮานอยก่อนฤดูฝน และแม่ทัพได้จัดให้นายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศเป็นหัวหน้าคุมไพร่พลเสบียงอาหารยานพาหนะตามสมควร กับสั่งให้ตรวจราชการและเซอรเวย์เขตแดนโดยละเอียดด้วย คณะได้ออกเดินทางเมื่อ วันศุกร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ (๖ เมษายน ๒๔๓๑)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:41
จากเมืองสบแอด นายร้อยเอกหลวงดัสกรปลาศ และมองซิเออร์ ปาวี เดินทางต่อไปจนถึงเมืองเชียงทราย แขวงเมืองสิบสองจุไทย องบา นายฮ่อท่าขวา(ธงดำ)มาคอยรับ องบาได้ทำเสาธงสูงและชักธงช้างไว้ยอดเสาด้วย นายร้อยเอกหลวงดัสกรปลาศได้แนะนำองบากับ มองซิเออร์ ปาวีให้รู้จักกัน และในโอกาสต่อมา มองซิเออร์ ปาวี ได้พูดจาเอาใจองบาว่า ถ้าองบามีธุระเดือดร้อนประการใดแล้ว มองซิเออร์ ปาวีจะช่วยเป็นธุระให้ทั้งสิ้น และชวนให้ไปฮานอยด้วยกัน แต่องบาไม่ไป อ้างว่าเป็นห่วงพี่น้อง มองซิเออร์ ปาวีว่าถ้าไปด้วยกันจะชุบเลี้ยงตั้งให้เป็นขุนนางมียศยิ่งใหญ่กว่าท้าวจัน ท้าวขวา องบาก็นิ่งอยู่มิได้ตอบประการใด

คิดว่าองบา คือผู้นำฮ่อธงดำ(ส่วนหนึ่ง)ที่สวามิภักดิ์ในสงครามคราวที่แล้ว(navarat.c)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:44
ท่านแม่ทัพเห็นว่าราชการระยะนี้ไม่ฉุกเฉินแล้ว จึงดำริให้เจ้านครหลวงพระบางขึ้นมาอยู่เสียยังเมืองนครหลวงพระบาง และได้เชิญให้ขึ้นมาจากเมืองพิชัย

ครั้น วันพุธ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด (๒ พฤษภาคม ๒๔๓๑) ได้จัดกระบวนแห่ลงไปรับเจ้านครหลวงพระบางจากบ้านปากลาย จนถึงท่าหน้าเมืองนครหลวงพระบาง แล้วจัดให้อยู่ตามสมควรแก่เกียรติยศเป็นที่เรียบร้อย


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:49
ลักษณะการก่อกวนของฮ่อ

เมืองอู สิบสองปันนาถูกพวกฮ่อตีปล้นราษฎร

เมืองอูฝ่ายสิบสองปันนาลื้อ นอกพระราชอาณาเขตมีพวกฮ่อธงเหลืองประมาณ ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ มาตีปล้นราษฎร ยกมาเป็น ๒ กอง ตั้งที่คุ้มหม่อม และวัดหลวง แห่งละกอง ข่าวว่าเป็นพวกคำฮุม บุตรท้าวไล

วันเสาร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ (๒๖ พฤษภาคม ๒๔๓๑) นาย ฉุน ลุตเตอร์แนนท์ พระยาหมื่นน่า พระยาเมืองแพนซึ่งรักษาการ ณ เมืองงอย รายงานว่า พวกฮ่อธงเหลืองประมาณ ๑,๐๐๐ ตีเมืองอูเหนือ อูใต้แตกแล้ว และได้ข่าวว่าจะยกมาตีเมืองภูน้อยซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองหลวงพระบางต่อไป

ท่านแม่ทัพได้ทราบแล้วได้ปรึกษาหารือกับพระยานนทบุรีข้าหลวงท้าวพระยานายทัพนายกองว่า เมืองอูเหนือ อูใต้ซึ่งเป็นเมืองนอกพระราชอาณาเขตมีโจรผู้ร้ายมารบกวน เมืองอูก็เป็นเมืองใกล้กับเมืองในพระราชอาณาเขต มีบ้านเล็กเมืองน้อยซึ่งต่อเนื่องกันมาตามลำน้ำอู ได้แก่ เมืองงาย เมืองวา เมืองฮุน เมืองขวา และเมืองภูน้อย เมื่อมีโจรผู้ร้ายในเขตสิบสองปันนาราษฎรก็จะพลอยเดือดร้อนเพราะเกรงกลัวโจรผู้ร้าย ถ้าไม่จัดกำลังไปป้องกันรักษาราษฎรก็จะไม่สิ้นความหวาดกลัว จึงสั่งการให้ นายดวง กัปตัน นายเพ็ชร์ ลุตเตอร์แนนท์ นายแปลก สัปลุตเตอร์แนนท์ คุมทหาร ๑๐๐ ยกไปรักษาราชการตามลำน้ำอู และเมืองวา ให้มีภารกิจปราบปรามโจรผู้ร้ายที่ยกล่วงล้ำเข้ามา หากมั่วสุมชุมนุมกันมีจำนวนมากกว่าให้รีบบอกเพื่อจะได้ส่งทหารไปเพิ่มเติมจนพอแก่ราชการ และจัดการระวังช่องทางสำคัญให้แข็งแรงอย่าให้ราษฎรแตกตื่น แต่หากมิได้ล่วงล้ำพระราชอาณาเขตให้กองทหารตั้งรักษาราชการอยู่ก่อน

นายดวง กัปตัน พร้อมด้วยท้าวพระยาลาวและไพร่พล ยกออกจากเมืองนครหลวงพระบางในวันอาทิตย์ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๗ (๓ มิถุนายน ๒๔๓๑)

ฤดูฝน ว่างศึก


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 08:53
วันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีชวด (๓๐ พฤษภาคม ๒๔๓๑) เวลาค่ำประชุมออฟฟิเซอร์ ได้สั่งให้นายกอมปนี (ผู้บังคับกองร้อย) จัดหม้อกรองน้ำให้ทหารกิน เพราะกลัวความไข้ และสั่งให้ออฟฟิเซอร์สตาฟ (ฝ่ายอำนวยการ) และกอมปนีเป็นเวรกันมาคอยรับคำสั่งเสมอไปทุกๆ วัน

วันเสาร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ปีชวด (๒ มิถุนายน ๒๔๓๑)
- ให้พระยาเมืองซ้าย พระยานาเหนือ และนายอยู่สัปลุตเตอร์แนนท์ นำทหาร ๓๘ คน (๑ หมวด) ไปราชการทางเมืองทาสี
- ให้ นายดวงกัปตัน นายเพ็ชรลุตเตอร์แนนท์ นายแปลกสัปลุตเตอร์แนนท์ คุมทหาร ๕๓ คน (คือกองร้อย แต่เหลือ ๒ หมวด เพราะไปกับนายอยู่สัปลุตเตอร์แนนท์เสีย ๑ หมวด) ไปราชการทางเมืองขวา เมืองฮิน เมืองงาย ด้วยมีพวกฮ่อธงเหลืองกับพวกเมืองไลมากดขี่ข่มเหงราษฎร และเมื่อโจรผู้ร้ายสงบเรียบร้อยแล้ว ให้ทำสำมะโนครัวมาด้วย (กลับถึงเมืองหลวงพระบางใน วันเสาร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๐ ตรงกับวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๓๑)

วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (๒๓ มิถุนายน ๒๔๓๑) ได้รับรายงานนายดวงกัปตันจากเมืองขวา ว่ามีฮ่อพวกคำฮุม คำล่าตีเมืองอู (นอกพระราชอาณาเขต) แตกแล้ว เกรงว่าเมืองงอยจะส่งเสบียงมาให้ไม่ทัน

วันจันทร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (๒๕ มิถุนายน ๒๔๓๑) สั่งให้เอาปืนใหญ่ ปืนแคตริงกัน ปืนนอตติงแฟนออกไปยิงที่สนามหน้าเมืองหลวงพระบาง ราษฏรมาดูเป็นอันมากแสดงกิริยายินดีอุ่นใจ

วันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ (๓๐ มิถุนายน ๒๔๓๑) ตั้งโรงหมอขึ้นที่วัดจอมศรี สำหรับรักษาราษฎรชาวเมือง มีพร้อมทั้งยาไทย ยาฝรั่ง

วันพุธ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๐ (๒๖ กันยายน ๒๔๓๑) ให้นายปุ้ยกัปตัน นายเจ๊กลุตเตอร์แนนท์ คุมทหาร ๓๑ คน ไปรักษาเมืองแถง และต่อมาอีก ๓ วัน ได้ให้นายอยู่สัปลุตเตอร์แนนท์คุมทหารอีก ๓๐ ส่งขึ้นไปเมืองแถง

วันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ (๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๓๑) นายแขกกัปตัน คุมทหาร รวม ๖๐ คน ออกจากเมืองนครหลวงพระบาง ไปเมืองสบแอด
วันพฤหัสบดี แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ (๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๓๑) แม่ทัพพร้อมด้วยนายทัพนายกองเดินทางไปเมืองแถง(ทางเรือ)


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 09:02
วันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๓๑) ได้รับรายงานจาก นายเจริญกัปตันที่เมืองแอด ส่งคำให้การฮ่อมาให้มีใจความว่า

มองซิเออร์ ปาวีเอาเรือมาถึงแก่งซอง พ่วงเรือไฟมาจมลงที่แก่ง ให้ราษฎรลงไปลากเรือไฟที่จมน้ำ เรือก็หาขึ้นไม่ แล้วว่าองบาตาย และมองซิเออร์ ปาวี สั่งว่า เมืองหลวงพระบาง และเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกเป็นของฝรั่งเศสแล้ว อย่าให้พวกฮ่อไปหาไทยเลย ถ้าพวกฮ่อมีทุกข์ร้อนอย่างใดให้ไปบอก จะช่วยเหลือให้เป็นกำลัง และนายเจริญกัปตันได้ร้องทุกข์มาว่า อ้ายพวกฮ่อกำเริบมากถึงกับจะต้องรบกัน

เอาละครับ ตรงนี้เริ่มชัดว่านายปาวีมีแผนให้ฮ่อกำเริบกับไทย กรณีองบาผู้นำฮ่อคนหนึ่งตาย ผู้เรียบเรียงเรื่องได้สันนิษฐานว่า อาจจะเป็นเพราะนายปาวีเกลี้ยกล่อมให้เข้าด้วยฝรั่งเศสแล้ว แต่องบาไม่ยอมจึงแกล้งให้เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย

แม่ทัพพิจารณาแล้ว เห็นเป็นจริงโดยมากพวกฮ่อจึงได้มีความกำเริบ บางทีอาจจะได้รบกันกับกองทัพเป็นแน่ และสั่งการให้เรียกทหารขึ้นไปช่วยอีกให้พอแก่การ และกำชับนายเจริญกัปตันให้อดใจ อย่าให้มีเหตุถึงกับรบพุ่งกัน เพราะกองทัพหน้ายกมาจวนจะถึงแล้ว

วันศุกร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนอ้าย (๑๔ ธันวาคม ๒๔๓๑) เรือกองทัพถึงเมืองแถง นายร้อยเอก หลวงดัษกรปลาศจัดทหารลงมารับแม่ทัพที่ที่เรือจอด มองซิเออร์ ปาวีกับออฟฟิเซอร์ฝรั่งเศส ๓ นาย และทหารญวน ๖๐ มาคอยรับกองทัพอยู่ที่ค่ายเชียงแล


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 09:05
ท่านแม่ทัพและมองซิเออร์ ปาวีได้หารือข้อราชการ ซึ่งท่านแม่ทัพแจ้งว่ามีความประสงค์อยากจะให้ทำแผนที่ในเขตสิบสองจุไทยตลอดหัวพันทั้งห้าทั้งหกเสียชั้นหนึ่งก่อนและให้ทำโดยเร็ว มองซิเออร์ ปาวีตอบว่า ส่วนหัวพันทั้งห้าทั้งหกที่ทหารไทยเข้าไปตั้งอยู่แล้วนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสมิได้ล่วงล้ำเข้าไป แต่เมืองสิบสองจุไทยนั้น ฝรั่งเศสได้เข้าไปตั้งอยู่แล้ว ครั้นจะขึ้นไปทำการ เกรงจะเป็นที่บาดหมางกันขึ้น ด้วยการแผนที่ฝ่ายฝรั่งเศสได้ทำไว้โดยเรียบร้อยพอที่จะตัดสินเขตแดนได้แล้ว เห็นว่าไม่ต้องทำอีก และว่า ข้าหลวงทั้งสองฝ่ายที่อยู่ในกองทัพของแต่ละฝ่ายก็ได้กลับไปแล้ว เห็นว่าเป็นการสิ้นคราวทำแผนที่แล้ว

ท่านแม่ทัพยืนยันว่า ". . . ส่วนสิบสองจุไทยนี้นับว่าเป็นพระราชอาณาเขต ตามที่มองซิเออร์ ปาวีได้กล่าวนั้นหาสมควรไม่ เพราะได้ตัดสินด้วยเขตแดนตกลงกันแล้วหรือ ซึ่งมองซิเออร์ ปาวีจะถือเป็นเขตส่วนฝรั่งเศสนั้นยังไม่ควรก่อน คำสั่งของเกาเวอนแมนต์สำหรับกองทัพยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง ข้าพเจ้าจะต้องทำตามเดิม . . ." ในที่สุด " . . . เมื่อจำเป็นแล้ว ก็จะรักษาการมิให้มัวหมองทั้ง ๒ ฝ่าย"


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 09:12
วันจันทร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย (๑๗ ธันวาคม ๒๔๓๑) มองซิเออร์ ปาวีได้มาหาท่านแม่ทัพ ได้สนทนากันด้วยเรื่องเมืองแถงเป็นพื้น แม่ทัพได้เล่าให้ฟังว่าจะจัดการเมืองแถงอย่างไร มองซิเออร์ ปาวีก็พูดจาขัดขวางต่างๆ ดูประหนึ่งว่าเมืองแถงเป็นของฝรั่งเศส ท่านแม่ทัพจึงต้องชี้แจงว่า เมืองแถงนี้เป็นพระราชอาณาเขตของไทยมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว . . . ผู้ไทยดำนั้นใช้แซ่อย่างจีน แต่อักษรที่ใช้เป็นอักษรสยาม แต่พวกลาวหัวพันทั้งห้าทั้งหกและเมืองพวน เป็นเมือง ๒ ฝ่ายฟ้าคือขึ้นกับลาวและญวน เมืองสิบสองจุไทย และสิบสองปันนา เรียกว่า ๓ ฝ่ายฟ้า ขึ้นอยู่กับลาว ญวน และจีน เมืองเหล่านี้เป็นเมืองในพระราชอาณาเขตทั้งสิ้น และได้กล่าวถึงการปราบฮ่อครั้งที่ผ่านมาซึ่ง มองซิเออร์ ปาวีได้ทราบดีอยู่แล้ว ในตอนท้านท่านแม่ทัพได้กล่าวว่า ". . . ถ้าสิ่งใดควรจะยอมให้กับท่านได้โดยที่ข้าพเจ้าไม่ต้องได้รับความผิดแล้ว ข้าพเจ้าก็จะยอมให้เพื่อช่วยท่านทุกอย่าง"

มองซิเออร์ ปาวีซึ่งตระหนักดีไม่อาจโต้ตอบได้จึงไถลไปพูดเรื่องฮ่อว่าองบา องทั่งได้เข้าสวามิภักดิ์ฝรั่งเศสหมดแล้ว(องบาตายแล้วแต่มองซิเออร์ ปาวียังไม่เล่าให้แม่ทัพฟัง) ท่านแม่ทัพก็ชี้แจงว่าพวกฮ่อเหล่านี้ก็ให้หัวหน้ามาหาทหารไทย เพื่อขออ่อนน้อมด้วยเหมือนกัน และอธิบายวิธีที่จะดำเนินการต่อพวกฮ่อ มองซิเออร์ ปาวีว่าขอให้รอกอมอดอง (Commannder) มาจากเมืองลาก่อนแล้วจะได้พูดตกลงกัน และว่าไทยกับฝรั่งเศสต้องไปจัดราชการที่เมืองคำเกิดคำม่วน ท่านแม่ทัพตอบว่า ยังไม่ได้รับคำสั่งจากกรุงเทพฯ

วันรุ่งขึ้น มองซิเออร์ ปาวีมาพบท่านแม่ทัพอีกกล่าวว่า เมืองแถง เมืองสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหกเป็นเมืองขึ้นของญวนโดยแท้ บัดนี้ รัฐบาลได้มีคำสั่งให้มองซิเออร์ ปาวีมาจัดการรักษาเมืองเหล่านี้ ขอให้เยเนอราล(นายพล หมายถึงท่านแม่ทัพ) เห็นแก่ทางพระราชไมตรีทั้งสองฝ่ายให้ถอนทหารไทยออกจากเมืองเหล่านี้

ท่านแม่ทัพได้ชี้แจง และว่า ". . . การที่ท่านจะให้ข้าพเจ้าถอนทหารจากเมืองเหล่านี้นั้น ข้าพเจ้าทำไม่ได้ ถ้าขืนทำไปก็จะได้รับความผิด เพราะผิดจากคำสั่งของรัฐบาลของข้าพเจ้า มองซิเออร์ ปาวีว่าเรื่องการลงโทษรับรองไม่ให้รัฐบาลไทยลงโทษได้ ท่านแม่ทัพตอบว่า ถ้ายอมทำตามว่า ก็ต้องเป็นคนไม่รักชาติ ไม่สมกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระแสงอาญาสิทธิ์ให้เป็นแม่ทัพ . . . เมื่อท่านจะหักหาญเอาโดยอำนาจ ข้าพเจ้ายอมตายในเมืองแถงนี้ . . .

มองซิเออร์ ปาวีเจอไม้นี้เข้าก็เลยตอบว่า ไม่เป็นเช่นนั้น ท่านเยเนอราลต้องการอย่างไรขอให้บอกให้ทราบ ท่านแม่ทัพจึงว่า กองทัพสยามตั้งรักษาเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกอยู่แล้ว ส่วนเมืองสิบสองจุไทยนั้นกองทัพฝรั่งเศสก็ได้ตั้งอยู่ และเมืองแถงทหารไทยได้ตั้งรักษาการอยู่ก่อนแล้ว บัดนี้ ฝรั่งเศสได้ยกเข้ามาตั้งในค่ายเชียงแลด้วยกัน โดยเหตุนี้ ทหารไทยและทหารฝรั่งเศสรักษาความสงบอยู่ด้วยกันกว่ารัฐบาลจะตัดสินเขตแดนตกลงกัน ซึ่งมองซิเออร์ ปาวีก็รับรอง และได้ทำหนังสือไว้ต่อกัน


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 09:14
หนังสือสัญญา ๙ ข้อ ซึ่ง พระยาสุรศักดิ์มนตรี แม่ทัพฝ่ายสยาม กอมอดองเปนนากา มองซิเออร์ ปาวีแปรซิดองเดอลากอมิศยองฝรั่งเศส ได้ตกลงกันที่เมืองแถง ตกลงที่จะจัดการเมืองสิบสองจุไทย เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวนให้เป็นที่เรียบร้อยในระหว่างที่เกาเวอนแมนต์ทั้งสองฝ่ายยังมิได้ตกลงแบ่งเขตแดนกัน จะรักษาการไว้กว่าจะตกลงกัน สรุปได้ดังนี้

๑. ฝ่ายฝรั่งเศสจะตั้งอยู่ในตำบลแขวงสิบสองจุไทย ฝ่ายทหารไทยจะตั้งอยู่ในเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวน
๒. เมืองแถงนั้น ทหารไทยและทหารฝรั่งเศสจะพร้อมกันตั้งรักษาการอยู่ในเมืองแถงทั้ง ๒ ฝ่าย จะรักษาการโดยสุภาพเรียบร้อย เมื่อฝ่ายใดจะมีการหรือจะใช้คนไปมาในตำบลที่อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ ก็ให้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบก่อน จะได้ช่วยการนั้นให้สำเร็จตามสมควร
๓. ฝ่ายเมืองไลนั้น ฝรั่งเศสได้ตั้งรักษาอยู่แล้ว บุตรท้าวไลก็เข้ายอมฝรั่งเศสแล้ว แต่คำสาม คำฮุย ท้าวม่วยยังอยู่ในกองทัพไทย ขอให้ฝรั่งเศสส่งไปหาบิดา แต่คนเมืองหลวงพระบางที่ฮ่อตีเอาไปนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสจะช่วยส่งคืนยังเมืองแถงยังกองทัพไทยที่ตั้งอยู่นั้น
๔. ฝ่ายเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวนนั้น กองทหารไทยได้ตั้งรักษาการอยู่หลายตำบล ฝ่ายฝรั่งเศสซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงจะไม่ล่วงเข้าไปในตำบลนั้น
๕. พวกฮ่อยังตั้งอยู่หลายตำบลตามเขตญวน เขตสิบสองจุไทย เขตหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเขตพวนนั้น จะช่วยกันจัดการให้เป็นที่เรียบร้อยทั้งสองฝ่าย
๖. เจ้าพนักงานกองเซอรเวฝ่ายไทย จะได้ตรวจเซอรเวไปในที่ๆ ฝรั่งเศสตั้งอยู่ ฝ่ายฝรั่งเศสจะให้หนังสือนำให้ทำการไปโดยสะดวกและจะจัดทหารรักษาไปไม่ให้มีอันตรายเหมือนกับฝ่ายไทยได้จัดการรักษาการเซอรเวของฝรั่งเศสนั้น จะส่งจนถึงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกซึ่งกองทหารไทยตั้งอยู่
๗. ราษฎรในเมืองแถงซึ่งเที่ยวแตกอยู่ตามป่าดงหลายตำบลนั้น ฝ่ายไทยจะประกาศให้กลับภูมิลำเนาเดิม ตามความสมัครใจของราษฎร
๘. จะเรียกกรมการท้าขุนที่เป็นหัวหน้าที่มีอยู่ในเมืองแถงให้มาพร้อมกันทั้งสองฝ่าย พูดชี้แจงไม่ให้หวาดหวั่น
๙. หนังสือราชการฝ่ายฝรั่งเศสที่จะส่งไปยังเมืองหลวงพระบาง หรือฝ่ายเมืองหลวงพระบางจะส่งขึ้นมายังเมืองแถง ฝ่ายไทยจะช่วยเป็นธุระ รับหนังสือนั้นส่งไปมาให้โดยสะดวก

การกล่าวมาข้างต้นทั้ง ๙ ข้อ ได้พร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่ายเห็นตกลงกันได้เซ็นชื่อไว้ในท้ายหนังสือนี้ทั้ง ๒ ฝ่าย
เมืองแถง ณ วันเสาร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด สัมฤทธิศก ๑๒๕๐ (ตรงกับ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑)

เมื่อได้ทำสัญญาชั่วคราวกับฝรั่งเศส ปรับกำลังนายทัพนายกองที่ชำนาญเชิงอาวุธไปตั้งประจำด่านทางในที่สำคัญหลายตำบล และมั่นใจว่าได้จัดการเรื่องรักษาพระราชอาณาเขต และระงับเหตุที่พวกฮ่อก่อการกำเริบเรียบร้อยแล้ว ท่านแม่ทัพก็ได้เลื่อนกองทัพใหญ่กลับเมืองนครหลวงพระบางเพื่อจัดราชการอื่นต่อไป ได้เดินทางถึงเมื่อ วันศุกร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับ วันที่ ๔ มกราคม ๒๔๓๑


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 09:18
วันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับ วันที่ ๘ มกราคม ๒๔๓๑ นายเจริญ กัปตันซึ่งรักษาอยู่ที่เมืองสบแอดรายงายว่า ได้ปราบปรามพวกฮ่อน้านนายม แขวงเมืองเชียงค้อซึ่งมีอยู่ ๔ พวก ประมาณ ๕๐๐ คน มีมาอ่อนน้อมต่อกองทัพบ้าง บ้างก็รบกวนราษฎรอยู่ ที่ต้องสู้รบกันก็มี พวกฮ่อตาย ๗๐ ฝ่ายเรา ตาย ๑ พวกฮ่อได้ยกครอบครัวหนีออกนอกแขวงหัวพันทั้งห้าทั้งหก แต่ไม่ทราบว่าไปที่ใดบ้าง จึงได้เผาค่ายฮ่อ และจัดทหารรักษาด่านทางไว้ทุกตำบล และราษฎรได้กลับเข้ามาหลายสิบครัว

หลวงดัษกรปลาศ ก็รายงานว่า ได้ยกจากเมืองซ่อนไปเมืองสบแอดแล้ว และได้เพิ่มกำลังออกรักษาด่านทางให้แข็งแรงยิ่งขึ้น กับได้ประสานกับกอมอดองเปนเนกาที่เมืองลา แขวงสิบสองจุไทย ได้รับคำตอบว่า ถ้าหลวงดัษกรปลาศจะปราบปรามฮ่อเมื่อใดขอให้บอกล่วงหน้า จะได้ช่วยกันปราบต่อไป เวลานี้ฝรั่งเศสกำลังระวังพวกฮ่อทางเมืองกาดอยู่

ส่วนราชการทางแขวงหัวพันทั้งห้าทั้งหกนั้น พวกฮ่อระหกระเหินมาก จะต้องปราบปรามต่อไป ยังถอนทหารไม่ได้


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 09:24
วันเสาร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับ วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๔๓๒ ดอกเตอร์มาเซมาพบท่านแม่ทัพแจ้งว่า กองทัพฝรั่งเศสที่เมืองแถงได้รับคำสั่งจากเยเนอราลแต่เมืองฮานอย ให้ไล่ทหารไทยที่ตั้งรักษาการที่บ้านสามหมื่น เมืองแถงออกไป ทหารไทยตอบว่า ไม่ไป เพราะไม่ใช่คำสั่งท่านแม่ทัพ และท่านแม่ทัพตอบดอกเตอร์มาเซว่าได้ปฏิบัติข้อตกลงตามที่ได้สัญญากันไว้ต่อกัน (สัญญา ๙ ข้อ) เมื่อมีคำสั่งเกาเวอนแมนต์ ๒ ฝ่ายตกลงกันประการใดแล้ว จะได้ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นทุกประการ และตัดความว่า "ที่จะให้ข้าพเจ้าสั่งถอนทหารไทยเสียในเวลานี้นั้น ข้าพเจ้ายังทำตามไม่ได้" ดอกเตอร์มาเซ จึงว่า ถ้าเช่นนั้นจะมีหนังสือบอกไปเมืองฮานอย แล้วก็ลากลับไป

ดอกเตอร์มาเซผู้นี้ มีกิริยาวาจาหยาบคาย เป็นผู้อยู่ประจำนครหลวงพระบางแทนมองซิเออร์ ปาวี

วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๓๒ กัปตันนิโคล็อง (ได้เลื่อนยศจากเลฟเตแนนท์) และดอกเตอร์มาเซได้เข้าพบท่านแม่ทัพและพูดจาหว่านล้อมให้สั่งถอนทหารไทยจากเมืองแถง ท่านจึงตอบห้วนๆ ว่า "ข้าพเจ้าไม่รับเข้าใจอะไรทั้งหมด นอกจากเข้าใจว่าเมืองแถงนี้เป็นเมืองกลางตั้งรักษาอยู่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าฝรั่งเศสเอาอาวุธเข้ามาในเขตแขวงที่เมืองไทยรักษาอยู่โดยไม่บอกกล่าวแล้ว ต้องรบกัน จะไม่ยอมให้เดินลอยนวนเล่นเป็นอันขาด ข้าพเจ้าจนใจว่า เวลานี้เกาเวอนแมนต์สั่งให้รักษาการสงบอยู่ มิฉะนั้น ข้าพเจ้าจะขอรบกับฝรั่งเศส"

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๓๒ กัปตันนิโคล็องและดอกเตอร์มาเซก็ได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ  


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 09:33
๗ เดือนต่อมา ท่านแม่ทัพได้รับคำสั่งดังนี้

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ใบบอกพระยาสุรศักดิ์มนตรี ที่ ๒๔/๒๕/๒๖/๒๗/๒๘/๒๙/๓๐ มีพระบรมราชโองการสั่งว่า ให้กรมมหาดไทยมีตราตอบพระยาสุรศักดิ์มนตรีว่า การที่พระยาสุรศักดิ์มนตรี จัดการทั้งปวงนั้นใช้ได้หมดแล้ว ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรีกลับลงมากรุงเทพฯ จะได้ปรึกษาจัดการปักปันเขตต์แดน ด้วยพระยาสุรศักดิ์มนตรีเข้าใจการทั้งปวงอยู่หมดแล้ว ให้พระพลัษฎาเป็นข้าหลวงและบังคับทหารอยู่เมืองหลวงพระบางแทนพระยาสุรศักดิ์มนตรี ให้หลวงดัษกรปลาศอยู่ช่วยราชการ ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๖ กันยายน ร.ศ.๑๐๘

(เซ็น) สมมตอมรพันธ์

วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ท่านแม่ทัพได้ออกจากหลวงพระบาง เดินทางกลับมาถึงกรุงเทพในเดือนมีนาคม


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 23 ก.พ. 13, 11:23
ฟังเล็คเชอร์เหตุการณ์ต่อเนื่องจากฮ่อปล้นเมือง และการยกทัพกลับมาของพระยาสุรศักดิ์มนตรีเติมเหตุการณ์ทั้งหลายก่อนหน้าจบเรียกว่าแทบจะสมบูรณ์แล้ว ... ผมขอแสดงความเห็นแบบขมวดปม ดังนี้ครับ

1.   การยกทัพไปปราบฮ่อมี 3 ครั้ง ตามบันทึกที่ถือกันมารวมทั้งที่ปรากฏบนเหรียญปราบฮ่อ ระบุปี  "๑๒๓๙" (พ.ศ. 2420) "๑๒๔๗" (พ.ศ. 2428) และ "๑๒๔๙" (พ.ศ. 2430)   ที่ทำให้เข้าใจสับสนคือครั้ง 2428 เพราะมีแม่ทัพผลัดเปลี่ยนกันทัพนึงถูกเรียกกลับอีกทัพไปแทน เฉพาะทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี/กรมหมื่นประจักษ์ เริ่มยกไปต.ค.2428 กว่าจะถึงและรบจริงก็เข้า 2429 ไปแล้ว ต่อมายกกลับ 2430 และถูกฮ่อธงดำตลบหลังดังรายละเอียดก่อนหน้า ประเด็นความสับสนคือผมถือเอาแม่ทัพเป็นหลักโดยรวมการยกทัพของพระยาสุรศักดิ์ฯ ต.ค.2428 กับการยกไปอีกรอบหลังจากหลวงพระบางถูกปล้นเป็นครั้งที่ 3 ครั้งเดียวกัน / ซึ่งไม่ตรงกับการจัดลำดับครั้งต่างจากอาจารย์ NAVARAT.C ที่ ถือการยกไป ต.ค.2428 ของพระยาสุรศักด์เป็นครั้งที่ 2  และปลาย 2430 เป็นครั้งที่ 3 --- แต่จะเรียกยังว่าครั้งไหนก็ตามตอนนี้ถือว่าเข้าใจแล้วครับว่า ทัพสุรศักดิ์มนตรี ครั้งแรก(ที่แมคคาร์ธีเขียนไว้ในกระทู้เปิด) กับครั้งที่สองหลังหลวงพระบางถูกปล้น

2.   พอได้อ่านรายละเอียดต่อเนื่องจากทั้งฝรั่ง และไทย ผมเริ่มคิดไปไกลกว่ากระทู้เสียแล้ว เพราะสงครามปราบฮ่อแท้ที่จริงคือ นี่เป็นแบบแผนสงครามและการเมืองบนสนามรบยุคใหม่ที่สยามเพิ่งเริ่มเผชิญกับโลกยุคอาณานิคมเป็นครั้งแรกๆ เป็นสงครามที่เกี่ยวข้องกับบริบททั้งภูมิภาคไม่ใช่อาณาจักรกับอาณาจักรที่เคยเป็นมาในศตวรรษก่อนหน้า  เพราะฮ่อแท้ที่จริงคือไท่ผิงที่ก่อกบฎต่อราชวงศ์ชิง (เหตุเกิดต้นร.5 พอปลายร.5 ดร.ซุนยัดเซ็นก็มาเคลื่อนไหวในบางกอก-ปีนัง-สิงคโปร์ระดมทุนช่วยเก๊กเหม็งปฎิวัติจีนสำเร็จ) เป็นเรื่องที่สยามไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ใหญ่ของทั้งภูมิภาคทั้งจีนฝรั่ง

3.   นี่เป็นสงครามจรยุทธ์ (กอริลล่าวอร์แฟร์) ไม่ใช่สงครามแบบแผนที่กองทัพสู้กับกองทัพ ภารกิจการ “ปราบฮ่อ” จึงเหมือนกับการไล่จับหนูดังที่อาจารย์ NAVARAT.C  บอก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อประจันหน้ากันจริงในบางศึกเราก็เอาชนะเขาไม่ได้ สยามเองก็ไม่ได้เข้มแข็งดังปรากฏในประวัติที่ระบุชัดว่าการศึก 2 ครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นจะพบว่าแนวทางของสยามในครั้งต่อๆมา (2429-2431) ก็คือให้นายฮ่อมาสวามิภักดิ์ อาจจะให้สัญญาว่าจะไม่ปล้นไม่กวนความเรียบร้อยของอาณาเขตสยาม

4.   นอกจากเป็นแบบแผนสงครามยุคใหม่ (จรยุทธ์) แล้วสิ่งที่น่ากลัวกว่าฮ่อก็คือฝรั่งเศส เมื่อก่อนทราบว่าม.ปาวีนี่ร้ายกาจ แต่พอมาลงรายละเอียดใหม่ยิ่งพบว่า ปาวี ไม่ใช่แค่ร้ายกาจธรรมดาแต่เป็นสุดยอดแห่งความร้ายกาจเลยทีเดียว พิจารณาจากกรอบทฤษฎีสมคบคิด ผมคิดว่าปาวีอาจจะหลิ่วตาให้ฮ่อธงดำ ĐèoVăn Tri มาปล้นหลวงพระบางตีท้ายครัวไล่หลังทัพพระยาสุรศักดิ์ (มิ.ย.2430) สร้างสถานการณ์ให้เจ้าหลวงเป็นหนี้บุญคุณฝรั่งเศสและขาดความเชื่อมั่นในสยามด้วยซ้ำไป  เพราะต่อมาฝรั่งเศสก็เลี้ยง ĐèoVăn Tri ไว้เป็นพวก

5.
   การยกทัพครั้งสุดท้ายของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ปลาย 2430-ต้น 2431 ดูจากบันทึกแทบไม่ได้ “ลงมือ”ปราบฮ่อมากมายนัก ภารกิจสำคัญกลายเป็นไปยันกับฝรั่งเศสที่เมืองพวน เมืองแถน เพราะตอนนั้นเริ่มชัดเจนว่าฝรั่งเศสทำหน้ามึนจะมาฮุบสิบสองจุไทยตลอดหัวพันทั้งห้าทั้งหก ดังปรากฏในบันทึกที่ปาวี กลับมายันกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์ที่ได้บอกกับฝรั่งเศสไปแล้วว่าเป็นของสยามแต่  “วันรุ่งขึ้น มองซิเออร์ ปาวีมาพบท่านแม่ทัพอีกกล่าวว่า เมืองแถง เมืองสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหกเป็นเมืองขึ้นของญวนโดยแท้”   นั่นก็คือ ภารกิจการปราบฮ่อกลายเป็นภารกิจการเจรจาต่อรองเรื่องเขตแดนกับฝรั่งเศสไปเสีย โดยที่อำนาจท้องถิ่น(นายฮ่อทั้งหลาย-และเจ้าเมืองท้องถิ่นทั้งหลาย) กลายเป็น “หมาก” ที่แม่ทัพสองฝ่ายแย่งชิงว่า นายฮ่อคนใดเข้าเป็นฝ่ายตัว

6.   หากวิจารณ์ตามแบบทหาร สงครามจรยุทธ์ลักษณะนั้น ฝ่ายที่ยกกำลังไปจะต้องอยู่รักษาการณ์ตรึงพื้นที่รักษาความสงบเอาไว้ (แบบเดียวกับทหารภาคใต้) หรืออย่างน้อยก็ต้องแบบอเมริกันที่ติดหล่มตรึงอยู่ในเวียดนามหลายปี แต่แบบแผนสงครามที่ทัพสยามเคยชินและรับรู้คือ สงครามกลางแปลงยกไปสู้กันแล้วก็ยกกลับ นี่จึงเป็นเหตุให้หลวงพระบางถูกปล้นครั้งใหญ่หรือไม่ ?  ซึ่งสำหรับผมเหตุการณ์ปล้นหลวงพระบางนี่ถือเป็นชัยชนะของโจรครับ เพราะโจรไม่ได้หวังจะสู้ชนะหากแต่หวังปล้น ประทังชีวิตประทังองค์กรหมู่คณะให้อยู่ได้ต่อ

7.   ผมตั้งกระทู้ให้แรง ภาษาวัยรุ่นเรียกว่ากระทู้ล่อเป้า แต่เนื้อในของกระทู้จริงๆ ไม่มีอะไรเลย แค่ตั้งคำถามว่า... รายงานที่เราท่านอ่านๆ กันว่าทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ์ไปปราบฮ่อได้ชัยกลับมาเชื่อได้แค่ไหน ? สำหรับตัวผมเองเชื่อลดลงเยอะเลยทีเดียวครับ ... จนเมื่อได้ข้อมูลมากมายเติมเข้ามาก็ยิ่งชัด สำหรับตัวผมก็ยังยิ่งให้น้ำหนักกับคำกล่าวที่เคยได้ยินมาว่า “สยามปราบฮ่อได้ชัยชนะกลับมา” น้อยลงไปจากเดิมหลายขีด ไม่ใช่ว่าบรรพชนเราไม่เก่งหรือไม่เอาจริงนะครับ บรรพชนเรารบและทำหน้าที่ได้เต็มกำลัง แต่ปัญหาก็คือ สงครามปราบฮ่อ 2428-2431 มันไม่ใช่แค่เรื่องการปราบฮ่อน่ะสิครับ การมีฝรั่งเศสไปพัวพันและมีเจตนาชัดเจนจะฮุบดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทยอยจากเมืองแถน สิบสองจุไท หัวพันทั้งห้าทั้งหก ลามมาหลวงพระบาง มีกุญแจสำคัญที่ปาวี .. ปาวีรายงานรัฐบาลเขาว่าพื้นที่นั้นเป็นแหล่งแร่ทองคำ แร่ธาตุ ทรัพยากรสำคัญ มีผลทำให้ “สงครามปราบฮ่อ” ของสยามมีมือของอำนาจที่สามมาเกี่ยวข้อง และเริ่มชัดเจนนับจากฮ่อธงดำปล้นหลวงพระบาง มิถุนายน 2430

ป.ล. ข้อมูลที่เว็บไซต์นำเที่ยวหลวงพระบางหลายเว็บที่เขียน(ลอกๆ) ว่าวัดเชียงทองปลอดภัยจากฮ่อธงดำบุกปล้นปี 2428 น่าจะผิดพลาด แท้จริงต้องปี 2430

จบความเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนครับ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ก.พ. 13, 11:59
บทสรุป

แคว้นสิบสองจุไท ชาวเมืองเองและเอกสารฝรั่งเรียกว่าสิบสองเจ้าไท( Sipsong Chau Tai) อยู่ตรงชายแดนของประเทศทั้ง๔คือใต้ประเทศจีน เหนือของประเทศลาว ตะวันออกของพม่าและตะวันตกของญวน ไทยไม่น่าจะเรียกเพี้ยนไปเป็นสิบสองจุไทยเลย เพราะแคว้นนี้มีเมืองที่เจ้าปกครองสิบสองแห่ง แยกกันเป็น ๓ ภาค

ภาคตะวันออกต่อแดนพม่าเรียกว่าสิบสองปันนา ชาวเมืองคือไทลื้อ
ภาคกลางต่อแดนจีนเป็นส่วนใหญ่ของสิบสองจุไทย ชาวเมืองคือผู้ไท
ภาคตะวันออกที่ต่อแดนญวนเรียกว่าเมืองพวน เรียกชาวเมืองว่าลาวพวน แต่พูดภาษาไท

เมืองในแดนสิบสองจุไท และเมืองพวนจึงมักส่งส่วยต่อรัฐที่ใหญ่กว่ามากกว่าหนึ่งชาติ จึงเรียกกันว่าเมืองสองฝ่ายฟ้าบ้าง สามฝ่ายฟ้าบ้าง เว้นแต่เหล่าเมืองที่อยู่ใกล้เมืองหลวงพระบางก็ส่งส่วยแต่ที่นั่น

สมัยที่ลาวยังเป็นปึกแผ่น พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตตั้งท้าวพระยาออกไปปกครองเมืองเหล่านี้ เรียกว่าเมืองหัวพันห้าทั้งหก ต่อมากศรีสัตนาคนหุตเกิดแยกกันเป็นสองราชอาณาเขต เจ้านครหลวงพระบางเป็นใหญ่ทางฝ่ายเหนือ เจ้านครเวียงจันทน์เป็นใหญ่ทางฝ่ายใต้ เป็นอิสระต่อกันและไม่เป็นเมืองขึ้นของชาติใด เมืองสิบสองจุไทอยู่ใกล้ทางเมืองหลวงพระบาง ก็ขึ้นต่อเจ้านครหลวงพระบาง ส่วนเมืองพวนอยู่ใกล้ทางเมืองเวียงจันทน์ ก็ขึ้นต่อเจ้านครเวียงจันทน์สืบมา
 
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงยกทัพสยามไปตีเวียงจันทน์และหลวงพระบางมาเป็นประเทศราช จนถึงรัชกาลที่๓ เจ้าอนุวงศ์ซึ่งครองเมืองเวียงจันทน์คิดจะเป็นอิสระจากไทย จึงเอาเมืองพวนกับเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกไปแลกกับความสนับสนุนของญวน ญวนจึงแต่งข้าหลวงเข้าไปอยู่กำกับ เมื่อไทยยกกองทัพขึ้นไปปราบเวียงจันทน์จนราบคาบแล้ว พระบาทสมเด็จฯพระนั่งเกล้าฯโปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงห์เสนี ) ยกกองทัพขึ้นไปหัวพันห้าทั้งหก พวกข้าหลวงญวนก็ชิงหนีไปก่อน ครั้งนั้นทรงขัดเคืองมาก โปรดฯให้เผาเมือง คือให้เลิกเมืองเวียงจันทน์เสียเลย แล้วกวาดต้อนครัวลาวมาอยู่ที่สระบุรี เหลือไว้เป็นแค่ชุมชนเล็กๆ แล้วเอาหัวเมืองตามริมลำน้ำโขงที่ขึ้นเมืองเวียงจันทน์มาขึ้นต่อกรุงเทพฯ ส่วนเมืองพวนนั้น พระราชทานให้เป็นเมืองขึ้นเมืองหลวงพระบาง

คนลาวจึงเกลียดไทย เหมือนที่คนไทยเกลียดพม่าแต่บัดนั้น
แต่สุดท้ายเมืองหลวงพระบางก็ไม่มีกำลังพอที่จะรักษา ครั้นสิ้นศึกกองทัพสยามยกกลับแล้ว ญวนก็เข้ามาข่มขู่เจ้าเมืองพวนไปเป็นสองฝ่ายฟ้าอีก กลายเป็นหนามยอกอก เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยต้องรบกับญวนต่อมาอีกหลายสิบปี และมากลัดหนองสุดๆเอาในรัชกาลที่๕

สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯรัชกาลที่๔ ฝรั่งเศสเริ่มขยายอำนาจแข่งกับอังกฤษที่สามารถยึดพม่าไปได้ก่อนหน้านั้นแล้ว โดยสนใจดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อหาทางเข้ายึดครองดินแดนตอนใต้ของจีนด้านตังเกี๋ย ฝรั่งเศสหาเรื่องทำสงครามกับญวนใต้หรือแคว้นโคชินจีนก่อน พอชนะได้ไซ่ง่อนแล้วก็รุกคืบเข้ามาสู่ดินแดนเขมรส่วนนอกซึ่งเป็นประเทศราชของสยาม โดยสมเด็จนโรดมเจ้ากรุงพนมเปญเห็นว่าเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งน่าจะดีกว่าเป็นเมืองขึ้นของไทย อย่างน้อยคุยกับเจ้านายฝรั่งก็นั่งเก้าอี้เสมอกันไม่ต้องหมอบคลาน จึงได้เอาใจออกห่างไปเข้ากับฝรั่งเศส  ไทยไม่รู้จะทำอย่างไรต้องยอมให้เขมรส่วนนอกที่เรียกว่าเขมรแท้ไป จากนั้นฝรั่งเศสจึงได้ขยายดินแดนขึ้นเหนือจนกระทั่งสามารถยึดญวนได้ทั้งประเทศ พรมแดนของสยามทางด้านลาวประเทศราชจึงมีปัญหากับดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

มาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ในประเทศจีนได้เกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิงต่อต้านราชวงศ์ชิงพวกกบฏได้แตกพ่ายมาซ่องสุมผู้คนอยู่ในแถบมณฑลยูนนาน เลยถูกเรียกว่าฮ่อและเข้ามาทำการปล้นสะดมราษฏรในดินแดนสิบสองจุไท และตามแนวชายแดนเวียตนาม เป็นปัญหาให้ทั้งฝ่ายไทยและฝรั่งเศสอย่างยิ่ง ส่งกำลังไปปราบปรามหลายครั้งก็ไม่สงบราบคาบ เพราะภูมิประเทศเป็นป่าเขาดงดิบทั้งนั้น ฮ่อหลบซ่อนตัวได้ง่าย ส่วนราชอาณาจักรหลวงพระบางเจ้าของเมืองขึ้นโดยตรงนั้น ทางกรุงเทพถึงกับต้องปลดพระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร เจ้าผู้ครองนครหลวงพระบางออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถรักษาเมืองและปล่อยให้กองทัพฮ่อเข้าปล้นสะดมหลายครั้ง และถึงกับเผาเมืองหลวงพระบางได้ โดยตั้งเจ้าคำสุกขึ้นเป็นพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์ปกครองดินแดนแทน

สุดท้ายสยามตกลงร่วมกับฝรั่งเศสเพื่อทำสงครามปราบฮ่อ โดยทั้งสองฝ่ายไล่ตีกองกำลังจีนฮ่อจากอาณาเขตของแต่ละฝ่ายจนมาบรรจบกันที่เมืองแถง(เดียนเบียนฟูในปัจจุบัน) แต่ก็เกิดปัญหาใหม่ คือ ฝ่ายฝรั่งเศสฉวยโอกาสอ้างสิทธิปกครองเมืองแถงและสิบสองจุไทย โดยไม่ยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองแถง เพราะอ้างว่าเมืองนี้เคยส่งส่วยให้เวียดนามมาก่อน ปัญหาดังกล่าวนี้มีที่มาจากการเป็นเมืองสองฝ่ายฟ้า ของเมืองปลายแดนจะต้องส่งส่วยให้แก่รัฐใหญ่ทุกรัฐที่มีอิทธิพลของตนเองเพื่อความอยู่รอด

พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) แม่ทัพฝ่ายไทย เห็นว่าถ้าตกลงกับฝรั่งเศสไม่ได้จะทำให้ปัญหาโจรฮ่อบานปลายแก้ยาก จึงตัดสินใจทำสัญญากับฝรั่งเศส ให้ฝ่ายไทยตั้งกำลังทหารที่เมืองพวน(เชียงขวาง) ฝรั่งเศสตั้งกำลังทหารที่สิบสองจุไทย ส่วนเมืองแถงเป็นเขตกลางให้มีทหารของทั้งสองฝ่ายดูแลจนกว่ารัฐบาลทั้งสองชาติจะเจรจาเรื่องปักปันเขตแดนได้ ผลจากสนธิสัญญานี้แม้จะทำให้ฝ่ายไทยร่วมมือปราบฮ่อกับฝรั่งเศสจนสำเร็จ และสามารถยุติความขัดแย้งเรื่องแคว้นสิบสองจุไทย เมืองพวน และหัวพันทั้งห้าทั้งหกยุติลงไปชั่วคราว แต่ก็ต้องเสียดินแดนสิบสองจุไทยโดยปริยายไปจากเหตุวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ซึ่งสยามจำต้องยอมสูญเสียอำนาจอธิปไตยเหนือลาว ให้เปลี่ยนไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
 
มองประวัติศาสตร์ต้องมองให้ไกลๆ เหตุที่เกิดทุกเหตุจะมีผลตามมา และไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้ถาวร ฝรั่งเศสได้อินโดจีนไปเป็นเมืองขึ้นได้ไม่กี่ทศวรรษ กองทัพฝรั่งเศสก็ถูกกองทัพเจ้าของประเทศเขาขับไล่ โดยที่มั่นสุดท้ายของกองทัพที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสที่เบียนเดียนฟู หรือเมืองแถงที่แย่งกันกับไทยนี้แหละ ถูกญวนแดงขนกองทัพปืนใหญ่ขึ้นไปตั้งบนภูเขาและยิงถล่มลงมาจนเละเทะไปหลายกองพัน ตายเป็นเบือ ที่รอดตายถูกจับเป็นเชลย ถูกไสหัวพ้นประเทศของเขาไปอย่างน่าอับอาย

หลังจากนั้นไม่กี่สิบปี ทหารไทยก็ถูกส่งไปปฏิบัติการในลาวอีกครั้งหนึ่ง แม้จะไปแบบเป็นความลับแต่ก็รู้กันว่าไปหลายกองพัน เพื่อสู้รบกับลาวแดง แบบเดียวกับที่รบกับฮ่อนี้แหละ จะแพ้หรือชนะคุณๆต้องไปหาอ่านกันเองแล้ว


ผมจบกระทู้ได้แล้วมั้ง




กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: bunnaroth ที่ 23 ก.พ. 13, 13:34
ในนามเจ้าของกระทู้ - - ขอบพระคุณอาจารย์และทุกท่านที่ร่วมวงครับ  จากนี้ไปจะพยายามเข้ามาเปิดหูเปิดตาบ่อยๆ


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ก.พ. 13, 12:20
กระทู้เรื่อง จีนฮ่อ และสงครามปราบฮ่อ คุณหนุ่มสยามค้นคว้ามาลงไว้ก่อนหน้านี้
ผู้ที่สนใจเรื่องสงครามฮ่อ ไม่อ่านไม่ได้นะครับ


http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4228.0


กระทู้: ทัพสยามแพ้ฮ่อ แต่บันทึกว่าชนะ ?
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 ก.พ. 13, 22:46
ช่วงนี้ไม่ว่างเลย  ต้องลงจากเรือนทุกวัน    จะต้องหาเวลาย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่ต้นกระทู้ เพื่อให้ได้อรรถรสครบถ้วนค่ะ
ขอขอบคุณทุกท่านอย่างยิ่ง ที่เข้ามาให้ความรู้ค่ะ