เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 11:15



กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 11:15
ขอเชิญเพื่อนสมาชิก ย้อนรอยทรงผมคนไทยสมัยโบราณ มีการจัดแต่ง ทำผม ทั้งชาย หญิง เด็ก เป็นอย่างไรกันบ้าง จักได้เป็นประโยชน์แก่เยาวชนที่สนในศึกษาต่อไปครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 12:03
ขอละเมิดกติกาเล็กน้อย
รูปนี้นัยว่าเป็นเจ้าหญิงลาว  ไม่ใช่ไทย    แต่เอามาลงในกระทู้เพื่อให้เห็นทรงผมโองโขดงแบบสุโขทัยค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 12:03
^ ภาพงามมากๆ เลยค่ะ

เคยได้ยินมาว่า ผมทรงมาตรฐานโบราณไทย
ถ้าเป็นชาย ต้อง "ทรงหลักแจว"
หญิง ต้อง "ทรงดอกกระพุ่ม" ค่ะ  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 12:27
ขอบคุณครับ อ.เทาชมพู และ คุณ ดีดี ทรงผมสวยๆทั้งนั้นเลยนะครับ

ขอเอาภาพการทำทรงผมที่หลงเหลือในรูปแบบประติมากรรม ที่ขุดพบที่เมืองอู่ทอง ศิลปะทวารวดี จะเห็นลักษณะการไว้ผมยาว ทำเหมือนอย่างที่ อ.เทาชมพูนำมาให้ชมคือ ทรงโองโขดง เลยนะครับ นักโบราณคดีได้ตีความว่า ทรงผมในลักษณะนี้เป็นการทำผมของสตรีชั้นสูงครับ อีกประการหนึ่งของวัฒนธรมทวารวดีนั้น เขาจะเจาะหูให้เป็นรูใหญ่ และยาวห้อยลงมา ถือว่า งาม


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 12:32
ประดิมากรรมดินเผา สมัยทวารวดีรูปชาย ลักษณะใบหน้ากลม ไว้ผมเสยเรียบ และไปเกล้าเป็นมวยด้านหลัง (ถ้าปัจจุบันก็เห็นจากทรงผมพวกพราหมณ์) ยังคงทำทรงนี้กั้นอยู่


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 13:17
เด็กจูงลิงสมัยทวารวดี ฝ่ายเด็กไม่สวมเสื้อผ้า ไว้ผมแสกกลาง พร้อมเสยไปด้านหลัง ตรงกลางแบ่งผมน้อยๆมุ่นจุกหน่อยเดียว ผมยาวถึงท้ายทอย


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 13:40
เด็กสมัยโบราณ ไว้ผมจุก


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 13:41
หรือผมโก๊ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 13:45
ผมแกละ  คือโกนศีรษะ แต่เหลือไว้เป็นสองปอย ซ้ายขวา


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 13:56
สมัยสุโขทัย ดูจากจารึกที่วัดศรีชุม จะเห็นว่าชายสองคนนี้ คนหนึ่งไว้แสกกลาง คนหนึ่งเหมือนหวีเรียบ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 14:02
จารึกวัดศรีชุม สุโขทัย สตรีท่านหนึ่งไว้ทรงผมยาว หวีแสกกลางไว้ยาวด้านหลัง แล้วรัดผม


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 14:05
ฝ่ายบุคคลชั้นสูงทางสังคม มีการนำเครื่องประดับตกแต่ง มีกรอบหน้า สวมเครื่องประดับศีรษะเกิดความงามในแบบใหม่


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 14:14
เครื่องสังคโลก ชาวสุโขทัย ไว้ผมจุกกลางศีรษะเลยครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 28 เม.ย. 11, 14:15
ตอนผมเป็นเด็ก มีหน้าที่อย่างหนึ่งคือไปตามช่างตัดผมมาตัดผมให้ย่า ช่างตัดผมเป้นหญิงวัยเดียวกับย่าบ้านอยู่ฝั่งคลองตรงข้ามกับที่บ้าน ตั้งแต่จำความได้ย่าจะตัดผมอยู่ทรงเดียวคือ ทรงดอกกระทุ่ม ผมทรงนี้เป็นผมทรงสั้นคล้ายผมผู้ชายตัดเล็มชายผมขึ้นไปเล็กน้อย ปลายผมทั้งศรีษะ จะตั้งเหมือนดอกกระทุ่ม เพียงแต่ไม่เป็นทรงกลมเหมือนดอกกระทุ่ม อุปกรณ์ของช่างตัดผมมี 2 อย่างคือ หวีอย่างสั้นคอยเสยผมและกรรไกรที่มีด้ามติดกันคอยตัด น่าจะเรียกว่ากรรไกรหนีบ ย่าจะตัดผมประมาณเดือนละครั้ง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 14:20
ภาพวาดลายเส้นข้างบน ของท่าน siamese
ที่เป็นเส้นโค้งๆ บนหัว คืออะไรคะ ผมหรือเปล่า  ???


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 14:57
ภาพวาดลายเส้นข้างบน ของท่าน siamese
ที่เป็นเส้นโค้งๆ บนหัว คืออะไรคะ ผมหรือเปล่า  ???

ไม่ใช่เส้นผมครับ เป็นเส้นที่ทำไว้รอบศีรษะ ประหนึ่งให้มีรัศมีเปล่งออกมา ผมลองใส่สีลงไป คงจะเห็นความชัดเจน ไม่งงแล้วนะครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 15:01
ไม่งงแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ  ;D
กำนัลด้วยภาพทรงผมโบราณ ๒ ภาพค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:04
ตอนผมเป็นเด็ก มีหน้าที่อย่างหนึ่งคือไปตามช่างตัดผมมาตัดผมให้ย่า ช่างตัดผมเป้นหญิงวัยเดียวกับย่าบ้านอยู่ฝั่งคลองตรงข้ามกับที่บ้าน ตั้งแต่จำความได้ย่าจะตัดผมอยู่ทรงเดียวคือ ทรงดอกกระทุ่ม ผมทรงนี้เป็นผมทรงสั้นคล้ายผมผู้ชายตัดเล็มชายผมขึ้นไปเล็กน้อย ปลายผมทั้งศรีษะ จะตั้งเหมือนดอกกระทุ่ม เพียงแต่ไม่เป็นทรงกลมเหมือนดอกกระทุ่ม อุปกรณ์ของช่างตัดผมมี 2 อย่างคือ หวีอย่างสั้นคอยเสยผมและกรรไกรที่มีด้ามติดกันคอยตัด น่าจะเรียกว่ากรรไกรหนีบ ย่าจะตัดผมประมาณเดือนละครั้ง

พ่อแก่แม่เฒ่า คงสะดวกตัดผมทรงนี้กันมาก อาจจะด้วยดูแลรักษาง่ายและไม่ร้อนนะครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:05
ไม่งงแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ  ;D
กำนัลด้วยภาพทรงผมโบราณ ๒ ภาพค่ะ

 ::) ::) ไม่เซนเซอร์หน่อยหรอ คุณดีดี อร่างฉ่างออกมาเลย อิอิ  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 15:09
ไม่งงแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ  ;D
กำนัลด้วยภาพทรงผมโบราณ ๒ ภาพค่ะ

 ::) ::) ไม่เซนเซอร์หน่อยหรอ คุณดีดี อร่างฉ่างออกมาเลย อิอิ  ;D

แสดงว่า  สายตาไม่ได้อยู่ที่ทรงผมเลยล่ะสิ ;D

มีแต่ผมสั้นๆ ขอผมยาวประบ่าทัดหูสักภาพได้ไหม
อ้อขอทรงผมเด็กๆ ด้วย  เดี๋ยวไม่ครบกระบวน


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:13
ไม่งงแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ  ;D
กำนัลด้วยภาพทรงผมโบราณ ๒ ภาพค่ะ

 ::) ::) ไม่เซนเซอร์หน่อยหรอ คุณดีดี อร่างฉ่างออกมาเลย อิอิ  ;D

แสดงว่า  สายตาไม่ได้อยู่ที่ทรงผมเลยล่ะสิ ;D

มีแต่ผมสั้นๆ ขอผมยาวประบ่าทัดหูสักภาพได้ไหม
อ้อขอทรงผมเด็กๆ ด้วย  เดี๋ยวไม่ครบกระบวน
เขาก็ดูไปโดยรวมแหละ  :P ฝากภาพสตรีสยามต้นรัชกาลที่ ๕ ครับ มีทั้งไว้ทรงดอกกระทุ่ม และยาวแสกกลาง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:15
งามเก๋ ต้องทัดดอกไม้ด้วยนะ คุณดีดี


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:20
สตรีท่านนี้โลดแล่นในหนังสือหลายเล่ม ลองซูมเข้าไปที่จอนหู พบว่ามิได้ปล่อยตามธรรมชาติ แต่มีการจับรีดให้แข็งมากเป็นแท่งเลย ใครรูช่วยบอกที คงมีอะไรไว้ทาแน่นอน  ???


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 15:21
งามเก๋ ต้องทัดดอกไม้ด้วยนะ คุณดีดี

อย่าเผลอไปทัดดอกชบาเข้านะคุณไซมีส ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 15:23
สตรีท่านนี้โลดแล่นในหนังสือหลายเล่ม ลองซูมเข้าไปที่จอนหู พบว่ามิได้ปล่อยตามธรรมชาติ แต่มีการจับรีดให้แข็งมากเป็นแท่งเลย ใครรูช่วยบอกที คงมีอะไรไว้ทาแน่นอน  ???

ใช้น้ำมันตานีหรือเปล่า


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 15:23
สตรีท่านนี้โลดแล่นในหนังสือหลายเล่ม ลองซูมเข้าไปที่จอนหู พบว่ามิได้ปล่อยตามธรรมชาติ แต่มีการจับรีดให้แข็งมากเป็นแท่งเลย ใครรูช่วยบอกที คงมีอะไรไว้ทาแน่นอน  ???

ใช้น้ำมันตานีหรือเปล่า

กล้วยตานี หรือเมืองตานี ???


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 15:33
สตรีท่านนี้โลดแล่นในหนังสือหลายเล่ม ลองซูมเข้าไปที่จอนหู พบว่ามิได้ปล่อยตามธรรมชาติ แต่มีการจับรีดให้แข็งมากเป็นแท่งเลย ใครรูช่วยบอกที คงมีอะไรไว้ทาแน่นอน  ???

ใช้น้ำมันตานีหรือเปล่า

กล้วยตานี หรือเมืองตานี ???

แล้วคุณอาร์ทคิดว่า จะเอาส่วนไหนของกล้วยตานีมาเคี่ยวให้ได้น้ำมันล่ะ
ใบ? ราก? เหง้า? ลำต้น?  หัวปลี?  เปลือก?  ผีตานี? ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:34
งามเก๋ ต้องทัดดอกไม้ด้วยนะ คุณดีดี

อย่าเผลอไปทัดดอกชบาเข้านะคุณไซมีส ;D

เขายัดให้มิใช่หรือ มิได้ทัดเอง  :P


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:36
สตรีท่านนี้โลดแล่นในหนังสือหลายเล่ม ลองซูมเข้าไปที่จอนหู พบว่ามิได้ปล่อยตามธรรมชาติ แต่มีการจับรีดให้แข็งมากเป็นแท่งเลย ใครรูช่วยบอกที คงมีอะไรไว้ทาแน่นอน  ???

ใช้น้ำมันตานีหรือเปล่า

กล้วยตานี หรือเมืองตานี ???

แล้วคุณอาร์ทคิดว่า จะเอาส่วนไหนของกล้วยตานีมาเคี่ยวให้ได้น้ำมันล่ะ
ใบ? ราก? เหง้า? ลำต้น?  หัวปลี?  เปลือก?  ผีตานี? ;D
รบกวนคุณหลวงเฉลยหน่อยคัรบ น้ำมันตานี คงไม่ได้เอามาจากยางกล้วยดอกนะ กัดมือแย่เลย  ส่วนผีตานีเขาไม่ได้มีไว้ให้เอามาช่วยเคี่ยวน้ำมัน มีไว้ในจุดประสงค์อื่น  :P


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 15:38
ไม่งงแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ  ;D
กำนัลด้วยภาพทรงผมโบราณ ๒ ภาพค่ะ

 ::) ::) ไม่เซนเซอร์หน่อยหรอ คุณดีดี อร่างฉ่างออกมาเลย อิอิ  ;D

แสดงว่า  สายตาไม่ได้อยู่ที่ทรงผมเลยล่ะสิ ;D

มีแต่ผมสั้นๆ ขอผมยาวประบ่าทัดหูสักภาพได้ไหม
อ้อขอทรงผมเด็กๆ ด้วย  เดี๋ยวไม่ครบกระบวน

แกล้งลงภาพให้ท่าน siamese ตื่นเต้นเล่นค่ะ เข้าไปแก้ไขภาพแล้วนะคะ .. ;D

ภาพทรงผมยาว เคยเห็น พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่เป็นเงาสะท้อนจากกระจกแล้วทรงหวีพระเกศาซึ่งยาวมากๆ ค่ะ ยังหาภาพไม่เจอ
ส่งภาพ สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ซึ่งไว้ผมยาวงามมากค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 15:44
งามเก๋ ต้องทัดดอกไม้ด้วยนะ คุณดีดี

อย่าเผลอไปทัดดอกชบาเข้านะคุณไซมีส ;D

เขายัดให้มิใช่หรือ มิได้ทัดเอง  :P

อ้าว เผื่อคิดได้ว่าตัวเองคบชู้ไง รู้ตัวแล้วเลยทัดดอกชบาเดินรอบพระนคร ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:46
ไว้จะรอชมนะครับ คุณดีดี กับภาพเจ้าชายาดารารัศมีประทับหน้ากระจก

ฝากเด็กน้อย ไว้ผมจุก สมัยรัชกาลที่ ๖ ครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 15:54
มาแล้วค่ะ ไม่ชอบให้ใครรอนาน (เดี๋ยวเขาเปลี่ยนใจ ไม่รอ.. ;D )


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 15:54
ในสมัยอยุธยาตอนต้นนั้น เราพบเห็นหลักฐานการไว้ผมของประชาชนชาวอยุธยาได้น้อย พบเพียงเครื่องทองคำในกรุวัดราชบูรณะพอจะอนุมานได้ว่า
ฝ่ายบุคคลชั้นสูง เช่น กษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์ และพระมเหษี ทรงสวมเครื่องสวม (ฝ่ายชาย) ซึ่งมีลักษณะไว้ครอบจุก และฝ่ายสตรีมีมงกุฎศิราภรณ์ถักครอบผมไว้


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 15:56
มาแล้วค่ะ ไม่ชอบให้ใครรอนาน (เดี๋ยวเขาเปลี่ยนใจ ไม่รอ.. ;D )

ใครถ่าย   และถ่ายกันที่ไหน  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 16:02
ไม่ทราบประวัติภาพค่ะ...
เงาสะท้อนในกระจกเหมือนในสวนนะคะ แต่อุปกรณ์ประกอบเหมือนอยู่ในพระตำหนัก


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 16:06
มาแล้วค่ะ ไม่ชอบให้ใครรอนาน (เดี๋ยวเขาเปลี่ยนใจ ไม่รอ.. ;D )

ใครถ่าย   และถ่ายกันที่ไหน  ;D

ตอบด้วยภาพ  ;D เป็นการจัดองค์ประกอบฉากบริเวณสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งวิมานเมฆ และผู้ยืนหันหลัง นุ่งซิ่น คือเจ้าจอมดารารัศมี

สำหรับผู้ถ่ายภาพนั้นมีเจ้าจอมหลายท่าน อย่างน้อยที่เห็นตอนนี้มี ๒ กล้องเข้าไปแล้ว แต่ก็ไม่พ้น เจ้าจอมก๊กออ ที่เล่นกล้องบ่อยๆ ก็เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอิบ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 16:08
เก่งมากคุณไซมีส  ไวปานกามนิตหนุ่ม
มองปราดเดียวก็บอกได้ทันที
(กระซิบถาม  ถ่ายกันเมื่อไร รู้ด้วยหรือเปล่า?)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: luanglek ที่ 28 เม.ย. 11, 16:13
ถ้ากล่าวถึงทรงผมสตรีสยามสมัยรัชกาลที่ ๕
หากไม่กล่าวถึงเจ้าคุณพระประยูรวงศื (เจ้าจอมารดาแพ ในรัชกาลที่ ๕)
ก็เห็นจะไม่ครบเรื่องวิวัฒนาการทรงผมไทยนะ
เพราะท่านเป็นผู้นำแฟชั่นทรงผมไทยในราชสำนักทีเดียว

แต่ผมไม่ขอเล่าเอง  อยากจุดประเด็นให้ท่านผู้เชี่ยวชาญช่วยเล่าให้ฟังดีกว่า


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 17:23
ระหว่างรอผู้เชี่ยวชาญมาเล่าถึงเจ้าจอมมารดาแพ...

มีภาพทรงผมผู้สูงอายุ สมัยปลายรัชกาลที่ ๕ ค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 18:12
"เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ  เด็ดใบบอนช้อนน้ำที่ไร่ฝ้าย
พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคลาย แขนซ้ายคอดแล้วเพราะหนุนนอน"

กระทุ่ม : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 15-20 เมตร
ดอก: สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกรวมเป็นช่อกระจุกแน่น ที่ตามซอกใบ หรือ ปลายกิ่ง

ต้นตำรับของผมทรงดอกกระทุ่ม.. ;D



กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 18:22
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรเศรษฐสุดา ในรัชกาลที่4
ทรงผมผู้สูงอายุ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 18:26
การเกล้าจุกเด็กในสมัยโบราณ
ใช้สีผึ้งรูดให้แข็งเรียบ เข้ารูป แล้วขมวดไว้เป็นก้อนกลมกลางกระหม่อม


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 19:09
ตุ๊กตาดินเผา งมได้บริเวณรอบเกาะเมืองอยุธยา ทำรูปอุ้มไก่ ลักษณะทรงผมไว้จุก มีปื่นปักผมประดับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 19:12
ขุนนางสมัยกรุงศรีอยุธยา โกนผมรอบหัว ด้านบนยาว น่าจะแสกกลาง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 19:17
ทรงผมหลักแจว สมัยกรุงศรีอยุธยา ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดประดู่ทรงธรรม


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 28 เม.ย. 11, 19:20
ทรงหลักแจว กับทรงมหาดไทย ต่างกันตรงไหนคะ  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 19:51
ทรงหลักแจว กับทรงมหาดไทย ต่างกันตรงไหนคะ  ;D

มีลักษระอย่างเดียวกันครับ คือ การโกนผมรอบศีรษะ แล้วเหลือผมยาวได้ด้านบนประมาณใบบัวปิด แต่ให้เหมาะสมกับใบหน้า ส่วนด้านบนมักแสกกลางครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 20:02
แบบนี้ครับ คุณดีดี ทรงมหาดไทย หรือ หลักแจว ก็เรียกกัน


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 20:30
คห. 45 จิตรกรรมวัดประดู่ทรงธรรมที่กรุงเก่านั้น ภาพที่เห็นในปัจจุบันเขียนเมื่อรัชกาลที่ 4 ซ่อมของเก่าสมัยอยุธยาที่ลบเลือนมากๆ
คห. 47 นั่นจิตรกรรมวัดภูมินทร์ เมืองน่านใช่หรือไม่


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 เม.ย. 11, 20:36
คห. 45 จิตรกรรมวัดประดู่ทรงธรรมที่กรุงเก่านั้น ภาพที่เห็นในปัจจุบันเขียนเมื่อรัชกาลที่ 4 ซ่อมของเก่าสมัยอยุธยาที่ลบเลือนมากๆ
คห. 47 นั่นจิตรกรรมวัดภูมินทร์ เมืองน่านใช่หรือไม่

ถูกต้องทุกประการ  ตอบตรงเวลา ตอบถูกต้อง ตอบกระชับ เอาไป ๓๐ คะแนน  :o....อุ๊ย!! ลืมตัวไป โทษทีครับ  :-X


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 28 เม.ย. 11, 21:45
คห. 45 จิตรกรรมวัดประดู่ทรงธรรมที่กรุงเก่านั้น ภาพที่เห็นในปัจจุบันเขียนเมื่อรัชกาลที่ 4 ซ่อมของเก่าสมัยอยุธยาที่ลบเลือนมากๆ
คห. 47 นั่นจิตรกรรมวัดภูมินทร์ เมืองน่านใช่หรือไม่

ถูกต้องทุกประการ  ตอบตรงเวลา ตอบถูกต้อง ตอบกระชับ เอาไป ๓๐ คะแนน  :o....อุ๊ย!! ลืมตัวไป โทษทีครับ  :-X

เดี๋ยวเจ้าของลิขสิทธิ์เค้าว่าเอาหรอก :-X


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 28 เม.ย. 11, 22:30
เมื่อเด็กผมเห็นคนแก่ทานหมาก แล้วรูบริมฝีปากด้วยสีผึ้ง แล้วรูบจอนผม
ที่เห็นเป็นจอนแข็งคงเป็นใช้สีผึ้ง ส่วนกรรไกiตัดผมผู้หญิงนั้นยังไม่ค่อยมีมัง เห็นเขาใช้กรรแกรหรือเรียกตะแกลไม่แน่ใจ
ส่วนผมจุกนั้น ผมเคยกล้าวให้น้องชาย ต้องฝั้นผมให้เป็นเกรียวก่อนจึงขมวดแล้วเสียบปิ่น
ปิ่นที่ใช้ตามปกติ ก็เป็นไม้ไผ่หลาวสั้นๆ ถ้าออกงานก็ปิ่นตามฐานะอาจเป็นทองหรือเงิน อาจมีเชือกผูกติดด้วยกันหาย
ลักษณะปิ่นก็แตกต่างกัน ทองลงยาก็มี


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 22:46
ขออนุญาตแก้ตัวสะกดให้คุณ puyum นะคะ  เพื่อประโยชน์แก่เด็กนักเรียนที่เข้ามาอ่าน

เมื่อเด็กผมเห็นคนแก่ทานหมาก แล้วลูบริมฝีปากด้วยสีผึ้ง แล้วลูบจอนผม
ที่เห็นเป็นจอนแข็งคงเป็นใช้สีผึ้ง ส่วนกรรไกรตัดผมผู้หญิงนั้นยังไม่ค่อยมีมัง เห็นเขาใช้กรรแกรหรือเรียกตะแกรไม่แน่ใจ
ส่วนผมจุกนั้น ผมเคยเกล้าให้น้องชาย ต้องฟั่นผมให้เป็นเกลียวก่อนจึงขมวดแล้วเสียบปิ่น
ปิ่นที่ใช้ตามปกติ ก็เป็นไม้ไผ่เหลาสั้นๆ ถ้าออกงานก็ปิ่นตามฐานะอาจเป็นทองหรือเงิน อาจมีเชือกผูกติดด้วยกันหาย
ลักษณะปิ่นก็แตกต่างกัน ทองลงยาก็มี


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 22:50
คุณแม่ยังสาว ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  ไว้ผมทรงไหนคะ  ดูไม่ออก


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 22:52
เห็นเขาใช้กรรแกรหรือเรียกตะแกรไม่แน่ใจ

แล้ว กรรแกร หรือ ตะแกร นี่ หน้าตามันเป็นอย่างไรเอ่ย

 ???


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 28 เม.ย. 11, 23:01
ใครเอ่ย ?

ขุนนางสมัยอยุธยา แต่หน้าตาและทรงผมทันสมัยเชียว

 ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 29 เม.ย. 11, 00:14
ขอบคุณ คุณเทาชมพู ครับ ผมชักไปกันใหญ่แล้ว
คุณเพ็ณชมพูครับ กรรแกร นั้น ชักไม่แน่ใจ ที่จำได้ คือ กรรไกร ที่มีที่จับโค้งติดกัน


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 07:17
คุณแม่ยังสาว ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  ไว้ผมทรงไหนคะ  ดูไม่ออก

คุณแม่ยังสาวและเด็กน้อย เกิดจากการแกะภาพลายเส้นด้วยฝีมือชาวยุโรป ดังนั้นช่างแกะภาพไม่เคยเห็นสภาพเมืองไทย ไม่เคยเห็นชาวสยาม จึงอาศัยจากคำบอกเล่าและจากภาพวาดมือ ผนวกกับสิ่งแวดล้อมของตนเองตามที่เคยเห็นมา จึงแกะเส้นร่างเป็นภาพขึ้นมา ดังเราจะเห็นว่าหนังสือภาพสมัยก่อนมันจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

ภาพคุณแม่ยังสาวนั้น ดูด้านหน้าไว้ผมหนามาก มีก้อนผมด้านหลังคล้ายไว้เป็นมวย ส่วนเด็กน้อยไม่ไว้ผมยาวแบบนี้ ด้วยเป็นเมืองร้อน รกรุงรัง แถมอาจจมีเหา ทรงผมนี้เป็นสไตล์แบบฝรั่งเศสเลยนะครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 07:45
ภาพวาดลายเส้นจาก Court of Siam and Cochinchina แต่งโดย จอนห์ คอร์เฟริด (John Crawfurd) หรือคนไทยคุ้นกันดีในชื่อ "กาลาฟัต" พิมพ์ที่อังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1828 ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๑ ได้วาดลักษณะของชาติพันธุ์ จากการที่ได้เห็นมา ๘ เชื้อชาติ

๑. ชาวสยาม ดูจากรูปไว้ผมแสกกลาง ด้านข้างไม่โกนผม (ซึ่งความเป็นจริงอาจจะวาดจากทรงมหาดไทย) ลักษณะหน้าผาก กับ จมูก ปาก คาง เกีอบเป็นแนวเดียวกัน

๒. ชาวชอง ผิวสีคล้ำ ผมออกไปทางหยิก ไว้หนวดเข้ม

๓. อัฟริกันนิโกร ผมหยิกติดหัว ไว้เครา จมูกโด่ง ปากหนา

๔. Negro of the Malay Countries คงหมายถึง ชาวพื้นเมืองแถบมาเลย์ โครงกระโหลกดูใหญ่ ผมสั้นหยิก ไว้หนวด ผิวคล้ำ

๕. ชาวช่า ไว้ผมยาวแบบแสกกลาง มีการเจาะหู มีดั้งสวย

๖. ชาวโคชินไชน่า หรือ แถบอินโดจีน หน้าตาเคร่งขรึม โครงกระดูดออกไปทางเหลี่ยม ไว้ผมรวบไปด้านหลัง ทำมวยผมก้อนโต

๗. ชาวจีน แบบไว้ทรงผมอย่างแมนจู โกนผมครึ่งศีรษะ ปล่อยผมด้านหลัง ถักเป็นเปีย

๘. ชาวฮินดู ทำผมแบ่งเป็น ๒ ส่วนโดยแบ่งครึ่งหัวจากหู ถึงหู ด้านหน้าไว้เรียบ ด้านหลังปล่อยยาว ขมวดผมเป็นปม


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 11, 07:55

คุณเพ็ณชมพูครับ กรรแกร นั้น ชักไม่แน่ใจ ที่จำได้ คือ กรรไกร ที่มีที่จับโค้งติดกัน

สะกดว่า เพ็ญชมพู ค่ะ
กรรแกร ของคุณ puyum หมายถึงกรรไกรโบราณหรือเปล่าคะ

(http://img716.imageshack.us/img716/1513/suc52534choose.jpg)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 เม.ย. 11, 08:04
กาละฝัต มองผมทรงหลักแจวสมัยรัชกาลที่ ๒  ออกมาเป็นทรงผมทันสมัยเหมือนปัจจุบันนี้เชียว
คนไทยสมัยนั้น โครงหน้าคงดูแบนมาก ในสายตาฝรั่ง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 08:08
วิธีการตัดผมของชาวสยาม จากวชิรญาณวิเศษ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๐ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ

ช่างตัดผมแต่โบราณนั้น เขาใช้ตัดกันด้วยตะไกรไทย ถ้าช่างผู้ชายก็มีเครื่องมือ คือ ตะไกรเล่มหนึ่ง มีดโกนจีนเล่มหนึ่ง หวีเล่มหนึ่ง ขีผึ้ง
ดำสำหรับติดผมตลับหนึ่ง น้ำมันตะนีโถหนึ่ง ช่างผู้หญิงก็มีตะไกรมีดโกนกระจก หวี ขีผึ้งดำน้ำมันตะนีเหมือนกัน แต่มีพิเศษออกไปอีก ๓ อย่าง คือ
เขม่า ๑ ไม้สอยไร ๑ ฝุ่นเช็ดไร ๑ เครื่องมือเหล่านี้ช่างผู้ชายชอบใช้ห่อผ้าหรือล่วม ช่างผู้หญิงใช้ใส่กะโล่ หรือกระทายเที่ยวเดินไป แล้วแต่ผู้
ใดจะเรียกให้ตัด ไม่ได้ตั้งร้านตัดประจำที่

วิธีผมที่ตัดกันในเวลาโน้นนั้น ถ้าผู้ชายตัด ๒ ชนิดเรียกว่าผมมหาดไทย อย่าง ๑ ผมรองทรงอย่าง ๑

ผมมหาดไทยนั้น ใช้ตัดครึ่งหนึ่งโกนครึ่งหนึ่งคือที่กลางศีศะนั้นเว้นไว้ไม่ตัด มีปริมณฑลเรือนผมเท่าใบบัวสายย่อม ๆ หรือพอรับกับโฉมหน้าของผู้
นั้น ๆ นอกจากนั้นโกนหมดรอบศีศะ สันฐานทรงของผมที่ตัดนั้นข้างหน้าตัดหน่อยหนึ่ง ประมาณองคุลีเศษ แล้วก็ตัดไล่ให้ยาวขึ้นไปถึงกึ่งกลาง แล้วก็ตัดไล่ให้สั้นลง
ไปข้างหลังขริบปลายผมให้เรียบร้อย แลสั้นกว่าข้างหน้าหน่อยหนึ่ง แล้วจึ่งหวีให้ไปล่แปล้ข้างหลังแลข้างๆ เหมือนหวีผมดอกกระทุ่มกลาย ๆ ถ้าคนผู้ใหญ่ ๆ
ที่มีอายุมากมักชอบตัดสั้น ๆ ถ้าคนหนุ่มแล้วอยู่ข้างชอบยาวหน่อย ๆ ตามที่เขาเห็นงามกันในเวลานั้น ขุนนางแลราษฎรในเวลานั้นตัดผมมหาดไทย
ทั้งสิ้น

ที่เรียกว่าผมรองทรงนั้นฉเพาะตัดได้แต่ท่านที่มีบรรดาศักดิ์สูง  ๆ สัณฐานทรงผมรองทรงนั้นก็คล้าย ๆ กันกับผมมหาดไทย แต่ไม่ใช้โกนใช้
ตัดทั้งสิ้น คือ ตัดไล่ให้ยาวขึ้นไปเปนลำดับจนให้รับกันกับทรง ข้างบนวิธีหวีก็หวีเหมือนผมมหาดไทย

ฝ่ายผู้หญิงนั้นใช้ตัดผมไรจุก คือเมื่อแรกจะตัดต้องกันจุกให้พอเหมาะกับศีศะ แล้วจึ่งเอาขี้ผึ้งรวมไว้คล้าย ๆ จุกเด็กก่อน แล้วจึ่งตัดผมนอกไรนั้นให้สั้นประมาณกระเบียดหนึ่งบ้าง ครึ่งกระเบียดบ้าง ตามแต่จะเหมาะกับทรงศีศะ แล้วจึ่งตัดผมที่กันไรรวมไว้นั้น ข้างหน้าให้สั้น ๆ แล้วตัดไล่ให้ยาวขึ้นไปประมาณครึ่งองคุลีเศษ กลางสูงท้ายสั้นคล้าย ๆ วงหวี แล้วขริบปลายผมให้เรียบเสมอกัน หวีผมให้ไปล่ไปข้างหลังแลข้าง ๆ เล็กน้อยพอทรงรับกันกับ ผมที่ตัดสั้น ๆ นั้น แล้วจึ่งกันหน้าแลคิ้วผมต้นฅอเช็ดเขม่าแล้วเปนเสร็จ การตัดผมในครั้งนั้นผมผู้ชายใช้วานกันตัดมากกว่าจ้าง เพราะว่าตัดง่าย แต่ผมผู้หญิงจ้างมากกว่าวาน ตัดยากกว่าผู้ชาย การที่ตัดผมมหาดไทยแลไรจุกนี้ เปนผมแบบแผนโบราณมา แต่มาบัดนี้ในกรุงเทพ ฯ ไม่มีใครตัดเลย ยังมีอยู่แต่ชาวหัวเมือง แลชาวบ้านนอกบ้าง
 





กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 08:14
(ต่อ)
ในสมัยนี้การตัดผมแลเครื่องมือที่ตัดประณีตดีขึ้นกว่าโบราณมาก คือ ช่างตัดผมผู้ชายเขาตั้งเปนที่รับตัดขึ้นหลายแห่งทุกถนนไม่ต่ำกว่า ๕๐ ตำบล ๆ หนึ่งมีช่างตัดอยู่ใน ๒ คน ๓ คนทุกแห่งเครื่องมือที่เขาใช้นั้นคนหนึ่งต้องมีตะไกรฝรั่ง ๓ เล่มสำหรับตัดผมที่ยาวเล่ม ๑ เก็บผมให้เสมอเล่ม ๑ ขริบปลายผมตามต้นฅอแลซอกหูเล่ม ๑ มีดโกนฝรั่งเล่ม ๑ แปรงสำหรับปัดผมอัน ๑ แปรงชุบน้ำอัน ๑ ถ้วยน้ำถ้วย ๑ หวีเขากระบืออัน ๑ กระจกบาน ๑ น้ำมันใส่ผมขวด ๑ ของเหล่านี้เปนเครื่องมือตัดผมวางไว้บนโต๊ะ แต่กระจกนั้นบางแห่งตั้งบนโต๊ะบางแห่งติดฝาผนัง แลมีม้าหรือเก้าอี้สำหรับนั่ง ๓ ตัวบ้าง ๔ ตัวบ้าง การที่ลงทุนเครื่องมือแลเก้าอี้หรือม้านั่งตัดผมนั่งพักไม่ต่ำกว่า ๓๐ บาท ๔๐ บาท ถ้ามีผู้มาตัดผมแล้วก็ให้ผู้นั้นนั่งลงบนม้าหรือเก้าอี้ แล้วจึ่งเอาผ้าขาวคลุมตัวผู้นั้นลงให้มิดชิดเพื่อไม่ให้ผมตกลงไปเปื้อนผิวเนื้อแลเสื้อผ้า แล้วถามว่าชอบผมรองทรง หรือดอกกระทุ่มกระทุ่มกลายสั้นยาวอย่างไรตามแต่ใจผู้เจ้าของ จึ่งให้ผินหน้าไป

ตรงกระจกจะได้คอยดูผมของตัว แล้วเอาหวี ๆ ให้เส้นผมเรียบ แล้วเอาตะไกรตัดไล่ขึ้นไปเปนลำดับ ไม่ให้เปนรอยเปนคั่นตะไกร ถ้าตัดผมฝรั่งก็ตัดข้างหลังให้สั้นไว้ ข้างหน้าให้ยาวพอสมควร แลหวีแสกกลางปัดหวีผมหน้าให้เปนกระบัง หรือหวีให้เปนกระบังตามแต่เจ้าของจะชอบใจ ถ้าเปนดอกกระทุ่มญวนก็ตัดไล่ขึ้นไปข้างบนให้สั้น ทั้งหน้าหลังข้าง ๆ

พอสมควรกับทรงแลใบหน้าเจ้าของ ถ้ากระทุ่มกลายตัดให้ยาวกว่ากระทู่มญวนหน่อยหนึ่ง หวีขึ้นไปตรงให้ผมปัดไปข้างหลังแลข้างพอสลวย ๆ ถ้าเปนรองทรงก็ตัดเหมือนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึ่งเอาตะไกรอย่างย่อมเก็บผมที่ไม่เรียบให้เรียบอีกครั้งหนึ่ง แล้วเปลื้องผ้าออกปัดผมเสียครั้งหนึ่ง แล้วก็คลุมลงใหม่ตะไกรเล็ก ๆ ขริบผมต้นฅอแลซอกหูให้หมดเรียบร้อย

แล้วจึ่งเอาแป้งนวนผัดตามต้นฅอ แลซอกหู ปัดด้วยแปรงให้ผมออกหมดแล้วเปนเสร็จกัน แต่ผมที่ตัดกันทุกวันนี้ ใช้ตัดกระทุ่มกลาย มากกว่ากระทุ่มญวนแลรองทรง ราคาจ้างตัดนั้น คนละหนึ่งเฟื้องเปนธรรมเนียม บางทีเจ้านายหรือขุนนางเรียกไปตัดไปทรงเครื่อง ช่างตัดต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยสอาด แลตัดโดยประณีตกว่าราษฎรสามัญ การที่รังวัลแลประทานแก่ช่างตัดผมนั้นไม่เปนกำหนด แต่คงได้มากกว่าธรรมดาหลายเท่าช่างผู้หญิงนั้นยังไม่มีใครตั้งที่รับตัดผมเลย ยังคงใช้เครื่องมือกระเดียดกระทาย เที่ยวอยู่เหมือนช่างโบราณ ๆ วิธีที่ตัด ๆ ผมดอกกระทุ่มกลายเปนพื้น ไว้ผมทัดบ้างไม่ไว้บ้าง ผมรองทรงกระทุ่มไรมีบ้างแต่ไม่สู้มาก ราคาค่าจ้างตามธรรมดาเฟื้องหนึ่ง เหมือนกันไม่ผิดแผกอะไรกันเลยเหมือนกันทั้งสิ้นถ้าจะคิดถัวกันทุกตำบล

ในวันหนึ่ง ๆ ช่างตัดผมคงได้ค่าจ้างตัดไม่ตำกว่า ๓๒ อัฐ ถ้าวันเสาร์หรือวันธงไชย คงได้ไม่ต่ำกว่ากึ่งตำลึง หรือ ๑๐ สลึง ถ้าคิดเปนเดือนคนหนึ่งคงได้ไม่ต่ำกว่า๓๐ บาท บางร้านที่เขาตัดดี ๆ ถ้าวันเสาร์วันธงไชย ตัดได้วันยังค่ำจนพลบต้องจุดไฟเสียอีก การตัดผมนี้ถ้าช่างผู้ชายก็ตัดผมผู้ชายช่างผู้หญิงก็ตัดผมตามผู้หญิงโดยมาก สิ้นวิธีตัดผมโดยสังเขปเท่านี้



กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 08:18
กาละฝัต มองผมทรงหลักแจวสมัยรัชกาลที่ ๒  ออกมาเป็นทรงผมทันสมัยเหมือนปัจจุบันนี้เชียว
คนไทยสมัยนั้น โครงหน้าคงดูแบนมาก ในสายตาฝรั่ง

ไม่รู้ว่า นายกาละฝัด นั้นไปหานายแบบจากผู้ใด แต่ยังคงเห็นร่องรอยการไว้ผมแสกกลาง และรอบไรจุกมีการแบ่งผมไว้ ๒ ช่วง
จัดภาพขยายให้ชม จะได้เห็นกันชัดๆ  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 08:23
นายแบบ นางแบบ กิตติมศักดิ์ชาวสยาม ฝ่ายสตรีไว้ผมทรงอะไร เดาไม่ออก แต่มือไม้มีลีลาการโพสท่า  ;) ส่วนฝ่ายชายทรงหลักแจว
ดูให้ดีๆสักหน่อย การห่มผ้าฝ่ายสตรี เป็นเพียงเอาผ้ามาบังตา ฝรั่งคงวาดออกมาไม่เป็น


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 เม.ย. 11, 09:03
ใครเอ่ย ?

ขุนนางสมัยอยุธยา แต่หน้าตาและทรงผมทันสมัยเชียว


 ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4374.0;attach=19057;image)


ยังมีขุนนางอยุธยาอีก ๒ ท่านร่วมคณะในภารกิจเดียวกัน

ทรงผมเดียวกัน

ใครเอ่ย ?

 ;)





กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 29 เม.ย. 11, 09:10
เคยได้ยินมาว่า คนโบราณจะมีการห้ามตัดผมในวันพุธ มีสาเหตุมาจากอะไรเหรอคะ  ???


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 09:52
ใครเอ่ย ?

ขุนนางสมัยอยุธยา แต่หน้าตาและทรงผมทันสมัยเชียว

 ;D

ออกขุนชำนาญใจจงในปี ค.ศ. 1689 วาดโดย คาร์โล มารัตตา ครับ  ;) เคยอ่านประวัติท่านเป็นทูตไปยังฝรั่งเศส แต่เรือเกิดอับปางแถวแหลมกู๊ดโฮป ท่านหมดตัวไม่มีอะไรจะกิน ต้องเอารองเท้าหนังมาปิ้งไฟกิน และได้เห็นคนป่าเปลือยกาย ซึ่งก็คือ ชาวอัฟริกา ครับ

ดังนั้นภาพทูตอีก ๒ ท่านที่คุณเพ็ญชมพูยกมา คงหมายถึง "ออกขุนชำนาญใจจงยังได้เป็นสมาชิกคณะผู้แทนอันประกอบด้วยข้าราชการสามคนที่ถูกส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ในฝรั่งเศส และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๑๑ ในโรม ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี ค.ศ. 1688 ทูตอีกสองคนในคณะประกอบด้วยออกขุนวิเศษภูบาลและออกหมื่นพิพิธราชา"


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 11:34
ภาพขุนนางไว้ทรงผมมหาดไทย จากหนังสือ The Impression of Siam ของท่านเซอร์ จอห์น บาวริ่ง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 11:39
สตรีผู้ดีไทย ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม แต่ท่านนี้ไม่ไว้จอนหู สมัยรัชกาลที่ ๔


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 29 เม.ย. 11, 11:57
^
^
เรื่องตัดผมสั้น น่าจะมีมานานแล้วนะครับ ผมจำไม่ได้จริงๆ ว่าอ่านมาจากไหน (ขออภัยอย่างสูง) ว่า
มีบันทึกของชาวต่างชาติเรื่องการตัดผมสั้นของชายไทย ถ้าจำไม่ผิดจะประมาณช่วงอยุธยาตอนต้นหรือก่อนหน้านั้น

เรื่องชนชั้นสูงในอยุธยา ไว้ผมยาวเกล้ามวย ประดับเกี้ยวหรือศิราภรณ์แบบต่างๆ นั้น มีระบุอยู่ในกฎมนเทียรบาล
แต่จะมาเปลี่ยนตัดผมสั้นเมื่อใด ไม่ทราบแน่ชัด

ตามความเห็นของผมคิดว่า  ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีอากาศร้อนชื้น ไม่เหมาะกับการไว้ผมยาว โดยเฉพาะชาวบ้าน ที่ต้องตากแดดทำนา
ดังนั้นในระดับประชาชนทั่วไป น่าจะไว้ผมสั้นมานานพอควร

ส่วนชนชั้นสูงนั้น  สามารถไว้ผมยาวได้  เพราะสามารถดูแลรักษา ทำความสะอาด ซึ่งอาจถือเป็นเครื่องแสดงฐานะว่าเป็นชนชั้นสูงในสังคมด้วย
เหมือนอย่างประมาณสมัยรัชกาลที่ ๔  ชายชั้นสูงไทยจะไว้เล็บยาว  ซึ่งผู้ใช้แรงงานทั่วไปคงไว้เล็บยาวไม่ได้เป็นแน่

การโกนหรือตัดผมข้างๆ สั้น  น่าจะสัมพันธ์ กันการไว้จุกตอนเด็กๆ  ที่จะโกนผมข้างๆ ไม่โกนบนกระหม่อม  หรืออยางผู้หญิงปลายอยุธยา ก็ไว้ผมยาวประบ่า  แต่มีการกันผมเป็นแนวตามที่เคยไว้จุกเดิม  

การตัดมหาดไทย มีหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งแต่สมัยพระนารายณ์เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตาม เคยอ่านว่ามีผู้สันนิษฐานว่า ตัดสั้นมาตั้งแต่สมัยพระไชยราชาบ้าง พระมหาจักรพรรดิบ้าง  หรือพระนเรศวรบ้าง ในช่วงที่รบกับพม่า
เพื่อความสะดวกในการรบ  และให้แตกต่างจากชาวพม่า
บ้างก็ว่า ชนชั้นสูงในสมัยพระนารายณ์ ตัดผมมหาดไทยแบบชาวบ้าน เพื่อให้เหมือนชาวตะวันตก (ฝรั่งเศส) ที่ตัดผมสั้นเพื่อใส่วิก

โดยส่วนตัวคิดว่า  ชนชั้นสูง เชื้อพระวงศ์อยุธยา ตัดมหาดไทยสมัยพระนารายณ์  แต่ยังไม่แน่ชัดว่าเพราะอะไร

เรื่องทรงผมของคนไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนี้  มองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ บันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ลา แบร์ ราชอาณาจักรสยาม แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ว่า

ผมของชาวสยามนั้นสีดำ เส้นหยาบและเหยียด ทั้งสองเพศไว้ผมสั้นมาก ผมที่ปรกรอบศีรษะยาวลงมาเสมอระดับใบหูข้างบนเท่านั้น ต่ำลงมากว่าระดับนั้นก็กร้อนเสียเกือบติดหนังศีรษะ การไว้ผมแบบนี้ก็ไม่ทำให้หน้าตาดูน่าเกลียดแต่ประการใด พวกผู้หญิงนั้นหวีผมตั้งไว้บนหน้าผากโดยมิได้รวบเข้าเกล้ากระหมวด และลางนางซึ่งส่วนมากเป็นชาวรามัญ ปล่อยให้ผมยาวไปข้างหลังพอประมาณเพื่อขมวดมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย ชายหนุ่มและหญิงสาวที่อยู่ในวัยที่จะมีเรือนได้แล้ว ก็ไว้ผมแปลกไปอีกทำนองหนึ่ง คือใช้กรรไกรหนีบตัดผมกลางกระหม่อมเสียสั้นเกรียน ครั้นแล้วรอบเรือนผมนั้น เขาถอนออกมาเป็นกระจุกเล็ก ๆ กระจุกหนึ่ง มีความหนาขนาดเหรียญเอกิวขาวสองเหรียญ (ซ้อนกัน) และทางด้านล่างนั้นเขาปล่อยให้มันงอกยาวออกไปจนเกือบประบ่า เพราะอากาศร้อน พวกสเปญก็มักจะกร้อนผมบนกระหม่อมเสียเหมือนกัน แต่่เขามิได้ถอนเส้นผมโดยรอบเรือนผมนั้น

น่าแปลกใจที่ทรงผมของท่านทูตทั้ง ๓ ใน # ๖๖ ดูขัดกับบันทึกของ ลา ลูแบร์ เป็นอย่างมาก

 ???


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 12:14
ทรงผมผู้หญิงชาวล้านนา
ผู้หญิงชาวเชียงใหม่ จะรวบผมเกล้ามวยไว้เหนือท้ายทอยหรือต่ำบริเวณท้ายทอยพอดีโดยดึงผมด้านหน้าตึงเรียบ
สำหรับมวยผมจะเสียบหย่องโลหะ (เข็มเสียบผม)ทำด้วยเส้นโลหะบิดเป็นเกลียวเล็กๆ ตัดโค้งคล้ายตัวยู (U) หย่องนี้อาจจะทำด้วย เงิน ทอง นาก หรือโลหะอื่นๆ
ก็แล้วแต่ฐานะของผู้ใช้ นอกจากนี้พบว่า ผู้หญิงบางคนยังนิยมเกล้าผมมวยแบบชักหงีบ คือดึงด้านหน้าตรงกลางตึงเรียบ แล้วใช้นิ้วสอดสองข้างดึงตรงขมับ
ให้ผมโป่งออกมาเล็กน้อยทั้งสองข้าง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 12:18
ทรงผมผู้หญิงสาวชาวล้านนา
เป็นการเกล้าหลักงัวเเล้วชักว้องออกมา ชักว้อง คือชักปอยผมออกมาเป็นวงกลม


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 12:20
หญิงชาวล้านนาโบราณนิยมไว้ผมยาวตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยชรา ทำให้ต้องมีการเกล้าผมแบบต่างๆ แล้วตบแต่งด้วยดอกไม้ เช่น ดอกมะลิ  ดอกหอมนวล(ลำดวน)  ดอกเอื้อง(กล้วยไม้)  ดอกตาเหิน(มหาหงส์)  ดอกสารภี  ดอกเก็ดถะหวา(ดอก พุดซ้อน)  หรือช่อดอกไม้เงิน-ดอกไม้ทองที่เรียกว่า ดอกไม้ไหว สำหรับมวยผมอาจจะเสียบหย่องโลหะ(เข็มเสียบผม) ซึ่งทำด้วยเส้นโลหะบิดเป็นเกลียวเล็กๆ ตัดโค้งคล้ายตัวยู(U)  ทำจากเงิน ทอง นาก หรือโลหะอื่นๆขึ้นกับฐานะของผู้ใช้ และโอกาสในการใช้ การเกล้าผมที่นิยมกันโดยทั่วไปมีหลายแบบ คือ
                    1.เกล้าผมวิดว้อง เป็นการเกล้าผมมวยแบบสูงโอบศีรษะโดยมีการดึงปอยผมขึ้นมาเป็น “ว้อง” คือ เป็นห่วงกลางมวยผม
                    2.เกล้า ผมอั่วช้อง เป็นการเกล้าผมโดยนำเอาเส้นผมทำเป็นช่อเรียกว่า ช้อง ซึ่งทำจากเส้นผมนำมามัดกับเศษผมและขี้ตังนี้ คือชันโรงแล้วนำมาเสริมผมให้ยาวและหนาขึ้น เมื่อทำมวยผมเสร็จแล้วจะประดับด้วยดอกไม้ หรือเครื่องประดับผม การเกล้าผมแบบนี้บ้างก็เรียกว่า เกล้าผมพันมวยอั่วช้อง
                    3.เกล้า ผมเหวิ้น เป็นการเกล้ามวยโดยนำเอาช้องผมมาวางบนศีรษะแล้วเกล้ามวย มวยผมที่ได้ก็จะพองกว่าปกติ จากนั้นจะดึงผมด้านหน้ามาทางมวยด้านหลังให้ตึงเรียบ และ “ชักหงีบ” คือใช้นิ้วสองข้างดึงผมตรงหงีบหรือขมับให้โป่งออกมาเล็กน้อยทั้งสองข้าง
                    4.เกล้า ผมอี่ปุ่น คือการเกล้ามวยผมแบบญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายเกล้าผมมวยทั่วไป แต่มีการแต่งชายผมด้านหน้าให้ยกขึ้นเล็กน้อยเป็นกรอบกระบัง ซึ่งอาจใช้หมอนหนุนผมให้มองดูสูงตั้ง ลักษณะผมตรงท้ายทอยอาจดึงให้ตึงหรือโป่งแล้วแต่ความพอใจของผู้แต่ง ปักปิ่นตรงมวยด้านใดด้านหนึ่ง แล้วเหน็บหวีเขาควาย ถ้าเป็นโอกาสพิเศษ หญิงที่มีฐานะดี หรือเจ้านายจะติดช่อดอกไม้เงินหรือทอง ผมทรงนี้ บางทีเรียกว่า “ทรงผมพระราชชายา” เพราะพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงเป็นผู้นำเข้ามาแพร่หลายในหัวเมืองฝ่ายเหนือ เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2457 และได้รับความนิยมกันแพร่หลาย โดยเฉพาะเมื่อมีการแต่งกายในโอกาสพิเศษ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 13:20
ขอบคุณครับ คุณwerachaisubhong ที่พาขึ้นสู่ดินแดนล้านนา ให้รู้จักการทำผมแบบทางเหนือ

รบกวนถามครับว่า อย่างภาพนี้ภาพเจ้าพระชายา ดารารัศมี ทรงไว้ทรงผมขนาดใหญ่ และมีปิ่นปักผมรอบพระเกศาด้วย แบบนี้ตรงกับทรงอะไรครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 13:25
คนเหนือกับทรงผมหลากหลาย


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 14:51
ขอบคุณครับ คุณwerachaisubhong ที่พาขึ้นสู่ดินแดนล้านนา ให้รู้จักการทำผมแบบทางเหนือ

รบกวนถามครับว่า อย่างภาพนี้ภาพเจ้าพระชายา ดารารัศมี ทรงไว้ทรงผมขนาดใหญ่ และมีปิ่นปักผมรอบพระเกศาด้วย แบบนี้ตรงกับทรงอะไรครับ


ทรงเกล้าผมอี่ปุ่น คือการเกล้ามวยผมแบบญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายเกล้าผมมวยทั่วไป แต่มีการแต่งชายผมด้านหน้าให้ยกขึ้นเล็กน้อยเป็นกรอบกระบัง ซึ่งอาจใช้หมอนหนุนผมให้มองดูสูงตั้ง ลักษณะผมตรงท้ายทอยอาจดึงให้ตึงหรือโป่งแล้วแต่ความพอใจของผู้แต่ง ปักปิ่นตรงมวยด้านใดด้านหนึ่ง แล้วเหน็บหวีเขาควาย ถ้าเป็นโอกาสพิเศษ หญิงที่มีฐานะดี หรือเจ้านายจะติดช่อดอกไม้เงินหรือทอง ผมทรงนี้ บางทีเรียกว่า “ทรงผมพระราชชายา” เพราะพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงเป็นผู้นำเข้ามาแพร่หลายในหัวเมืองฝ่าย เหนือ เมื่อคราวเสด็จกลับเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2457 และได้รับความนิยมกันแพร่หลาย โดยเฉพาะเมื่อมีการแต่งกายในโอกาสพิเศษ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 14:59
ทรงผมของพี่น้องลาวโซ่ง-ไทยดำ ดอนมะนาว สองพี่น้อง สุพรรณบุรี
ภาพถ่ายเก่าแสดงทรงผม "ปั้นเกล้า" สุดแสนคลาสสิก ไม่แน่ใจว่าผมทรงนี้ เป็นทรงที่มีมาแต่ครั้งอยู่เวียดนามด้วยหรือไม่ และอีกอย่างทรงนี้ขาดหวีไม่ได้ ต้องสับหวีคาไว้ที่ผมตลอด


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 15:20
ขอบคุณครับ คุณ werachaisubhong ที่แท้เป็นการทำทรงผมแบบญี่ปุ่น นั่นเอง ถ้ามีข้อมูลก็ช่วยเพิ่มเติมเลยนะครับ

มาต่อกันที่จิตรกรรมลายรดน้ำ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บรรกาศบ้านไทย คนหนุ่มไว้ผมหลักแจว ส่วนฝ่ายหญิงก็โกนผมรอบหัวสั้นเหมือนกัน บนคงไว้ทรงดอกกระทุ่ม ส่วนเด็กเล็กๆ เห็นไว้แกละสองข้าง จัดถักเป็นเปีย ส่วนเด็กโตตามหน้าต่างไว้จุกกลางศีรษะเรียบร้อย ปักด้วยปิ่นปักผม และอีกคนเป็นดอกไม้รัดจุกไว้

ส่วนชายชราด้านล่างมุมภาพ ก็ไม่ตัดสั้น แต่หวีผมเสยไปรวมไว้หลังศีรษะ



กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 15:23
ขุนนางอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นุ่งผ้าลาย คาดผ้า พกดาบ เสื้อแขนกระบอกคอจีน สวมลอมพอก ผมสั้น ดูทะมัดทะแมงดี

ทำให้นึกถึงสิ่งที่คุณเพ็ญชมพู สงสัยเรื่องทูตไปฝรั่งเศส ๓ ท่าน "ออกขุนชำนาญใจจง" คงเดินทางนานกว่า ๖ เดือนผมจึงยาวมากเช่นนี้


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 29 เม.ย. 11, 15:27
เคยได้ยินมาว่า คนโบราณจะมีการห้ามตัดผมในวันพุธ มีสาเหตุมาจากอะไรเหรอคะ  ???

ไม่รู้มีคนตอบคุณดีดีไปแล้วหรือยัง

โบราณท่านว่าไว้ว่า....

"อนึ่งวันชำระสระพระเกล้า  อังคารเสาร์สิ้นวิบัติปัดไถม
ตัดเล็บวันพุธจันทร์กันจังไร เรียนสิ่งใดวันพฤหัสสวัสดี"

(สวัสดิรักษา)

ปกติวันพุธจะเป็นวันสำหรับตัดผม ตัดเล็บ ของพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์
ฉะนั้นการที่คนปกติสามัญจะไปตัดผม ตัดเล็บ ในวันพุธนั้น...
ถือเป็นการทำตัวเทียมเจ้าเทียมนาย เป็นสิ่งอัปมงคล (ในขณะที่เชื้อพระวงศ์ทำจะเป็นสิ่งมงคล)

โบราณกาลท่านจึงห้ามไว้ฉะนี้แล ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 29 เม.ย. 11, 15:33
^ ขอบคุณคุณ art47 ค่ะ สงสัยมานาน  ;D
จนถึงทุกวันนี้ก็ไม่กล้าตัดผมวันพุธค่ะ คุณแม่ห้าม แต่ก็ไม่ทราบเหตุผล..


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 15:39
เรื่องตัดผมวันพุธ เคยได้ยินมาอีกกระแส เพิ่มเติมจากคุณอาร์ทว่า

"เมื่อเจ้านายทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ในวันพุธทีไร บรรดาช่างตัดผมก็จะถูกเกณฑ์เข้าพระบรมมหาราชวัง ทำให้ช่างที่จะตัดผมมีน้อยราย ด้วยว่าหายาก จึงไม่นิยมตัดผมกันวันพุธ"  ;)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 29 เม.ย. 11, 15:49
เรื่องตัดผมวันพุธ เคยได้ยินมาอีกกระแส เพิ่มเติมจากคุณอาร์ทว่า

"เมื่อเจ้านายทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ในวันพุธทีไร บรรดาช่างตัดผมก็จะถูกเกณฑ์เข้าพระบรมมหาราชวัง ทำให้ช่างที่จะตัดผมมีน้อยราย ด้วยว่าหายาก จึงไม่นิยมตัดผมกันวันพุธ"  ;)

เรื่องที่คุณไซมีสเล่านั้นผมก็เคยได้ยินมาเก่าก่อน แต่คงเป็นเรื่องเล่ามากกว่า

ผมคิดว่าสมัยก่อน อาชีพช่างตัดผมนี้ยังคงไม่มีกระมั้งครับ ถึงมีก็ไม่เฟื่องฟูขนาดยึดเป็นอาชีพได้
เพราะใครๆ ก็ตัดผมกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีช่างตัดผม (หรือช่างเสริมสวย สมัยนี้ ที่ขาดไม่ได้เด็ดขาด)

อย่างพระมหากษัตริย์ทรงเครื่องใหญ่ ก็เป็นหน้าที่ของภูษามาลาไม่ใช่เหรอครับคุณไซมีส
ช่างตัดผมคงไม่ได้เข้าวังหรอก ;D

ใครจะกล้ารับประกันว่าช่างตัดผมผู้นั้นไม่คิดปองร้ายต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ถือมีด ถือกรรไกรใกล้ชิดพระองค์ซะขนาดนั้น
(เหมือนเรื่องเล่าสมัยพระเจ้าอู่ทองของวันวลิตไง)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 15:53
ผมอ่านเจอจากเวปๆหนึ่งเรื่องการแต่งกายและการไว้ผมของ ชายและหญิง ในยุคตั้งแต่สมัยน่านเจ้า ลองอ่านดูนะครับ มีอะไรเสริมได้นะครับ

สมัยน่านเจ้า(พ.ศ. ๑๑๖๑–๑๑๙๔)
           เมื่อชนชาติไทยอพยพเคลื่อนที่ลงมาสู่แหลมอินโดจีนโดยลำดับ จนได้ตั้งอาณาจักรไทยน่านเจ้าขึ้นเป็นอาณาจักรไทยแห่งหนึ่งที่หนองแสตาลีฟู หญิงไทยคงรักษาวัฒนธรรมและประเพณีทางการแต่งกายของตนไว้ ไม่ใช้ฝุ่นผัดหน้าหรือเขียนคิ้ว ใช้น้ำกลั่นจากต้นหม่อนทาผม หญิงผู้ดีนุ่งซิ่นไหม ใช้ผ้าไหมอีกผืนหนึ่งคาดเอวไว้ ผมมุ่นสูง บางทีถักเป็นเปียห้อยลงสองข้าง ใช้ต่างหูทำด้วยไข่มุก ทับทิมหรืออำพัน นิยมใช้รองเท้าฟาง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 15:57
สมัยเชียงแสน(พ.ศ ๑๖๖๑–๑๗๓๑)
           อาณาจักรน่านเจ้าสิ้นสุดลง ชนชาติไทยเคลื่อนสู่แหลมอินโดจีนรวบรวมกันเป็นอาณาจักรใหม่ เรียกลานนาไทย หรือเชียงแสน ราว พ.ศ. ๑๖๖๑–๑๗๓๑ เนื่องแต่เข้ามาอยู่ในเขตร้อน หญิงไทยจึงนุ่งซิ่นถุง แต่การทอผ้ามีลวดลายตกแต่งประดับประดา เช่น ซิ่นทอลายขวาง เกล้าผมสูง ปักปิ่นประดับผม


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 16:05
สมัยสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๑–๑๘๒๖)
           อาณาจักรสุโขทัยเริ่มราว พ.ศ. ๑๗๘๑ เป็นระยะเวลาใกล้กับที่ไทยอีกพวกหนึ่งเรียกตัวเองว่า ปงหรือปา ไปก่อตั้งอาณาจักรอาหม บัดนี้คือมณฑลอัสสัมในอินเดีย พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย ทรงคิดตัวอักษรไทยขึ้น อิทธิพลทางวัฒนธรรมพราหมณ์และขอมแพร่มาถึงสตรีไว้ผมเกล้าสูง อย่างที่เรียกว่า โองขโดง คือรวบขึ้นไปเกล้ามวยกลางกระหม่อม มีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม สนมกำนัลแต่งกรัชกายนุ่งห่มผ้าลิขิตพัสตร์ ผ้าสุวรรณพัสตร์ ประดับเครื่องอลังกาภรณ์ มีจดหมายเหตุบันทึกการแต่งกายสตรีว่า หญิงนุ่งผ้าสูงพ้นดิน ๒ - ๓ นิ้ว (กรอมเท้า) สวมรองเท้ากีบทำด้วยหนังสีดำสีแดง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 16:09
สมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
           พระมเหสีเทวีแต่โบราณเสวยพระกระยาหารต่างเวลากับพระมหากษัตริย์ ย่อมโปรดให้ข้าหลวงตั้งเครื่องเสวยของพระองค์เองก่อนหรือภายหลัง เพื่อมีเวลาถวายปรนนิบัติพระราชสวามีได้เต็มที่ เครื่องทรงเป็นภูษาจีบห่มผ้าปัก มีเครื่องประกอบยศขัตติยนารี

ต้นสมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓– ๒๑๓๑)
           พระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศิลปะการดนตรีขับร้องและกลอนเพลงเฟื่องฟู ไทยเริ่มนุ่งโจงกระเบน แปลงจากทรงหยักรั้งอย่างขอม หญิงนุ่งจีบห่มสไบ มีผ้าห่มชั้นในอีกผืนหนึ่งห่มอย่างผ้าแถบสไบชั้นนอกใช้ผ้าเนื้อหนาก็ได้ ตามกฎมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถระบุว่า “เมื่องานใส่เศียรเพชรมวย” คือเกล้าไว้ที่ท้ายทอย "เกล้าหนูนยิกเกี้ยวแซม" คือ ผมเกล้าสูงไว้บนกระหม่อม

สมัยอยุธยา (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑)
           ในสมัยอยุธยารัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ์ วรรณคดีไทยเฟื่องฟูมาก เช่น มีกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งได้ใช้ขับเห่เรือพระที่นั่งมาจนปัจจุบัน การแต่งกายสตรีตามภาพพจน์นิพนธ์กล่าวว่า

                                              “คิดอนงค์องค์เอวอร       ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร”
                                         และ “ผมเผ้าเจ้าดำขลับ       แสงยับยับกลิ่นหอมรวย
                                                ประบ่าอ่าสละสลวย       คือมณีสีแสงนิล”

           แสดงว่าสตรีนิยมไว้ผมยาว เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ได้นิพนธ์บทละครเรื่อง ดาหลังและอิเหนา ขึ้น ตามเค้าเรื่องที่ข้าหลวงเชื้อชาติมลายูเล่าถวาย
   สิ้นรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ประเทศไทยต้องทำศึกสงคราม การแต่งกายของสตรีจึงเปลี่ยนแปลงไป
ผมที่เคยไว้ยาวประบ่าก็ต้องตัดสั้น เพื่อสะดวกในการปลอมเป็นชายอพยพหลบหนี ห่มผ้าคาดอกแบบตะเบงมานรวบชายผูกเงื่อนที่ต้นคอ แสดงถึงหญิงไทย แม้จะเป็นเพศอ่อนโยนสวยงาม แต่ก็อาจปรับตัวรับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ งานบ้านปรกติก็ต้องทำ เช่น ฝัดข้าวไว้หุง แต่พอมีสัญญาณภัยก็วางกะด้ง คว้าดาบพร้อมที่จะสู้ได้ทันที

ที่มา......http://www.culture.go.th/knowledge/story/Dress/dress.html


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 16:18
คราวนี้มาแนวเด็กกันบ้างนะครับ
ผมจุก
ผมจุก กล่าวตามพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง "ผมที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี คำล้อเลียนผมจุก "ผมจุกคลุกน้ำปลา เห็นขี้หมา นั่วไหว้กระจ๋องหง่อง"


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 16:18
ยังหาภาพสาวชาวอยุธยา ผมยาวประบ่างามๆ ไม่เจอเลย ;)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 16:19
ผมแกละ
ผมแกละ หมายถึง "ผมที่เอาไว้แหยมที่แง่ศีรษะ" เด็กบางคนก็มีแกละเดียว บางคนมีสองแกละ บางคนว่ากันว่ามีสามแกละก็มี คำล้อเลียน"ผมแกละ กระแดะใส่เกือก ตกน้ำตาเหลือก ใส่(เหลือ)เกือกข้างเดียว"


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 16:19
ผมโก๊ะ
คือผมที่ไว้เป็นหย่อมหรือปอยคล้ายผมแกละ แต่ไม่ได้ถักเปียอย่างผมเปีย เพียงแต่ผูกไว้ไม่ให้รุงรัง จนสร้างความรำคาญให้เด็ก คำนี้ในพจนานุกรมไม่มีจึงไม่ได้ให้ความหมายไว้ สรุปรวมลักษณะจากปากคำ และการให้ความหมายของชาวบ้านก็ หมายถึง ผมที่เอาไว้เป็นแหยมตรงขวัญซึ่งเป็นส่วนหักมุมของศีรษะนั่นเอง คำว่า โก๊ะ มาจากคำว่าอะไรไม่มีใครทราบ สำหรับคำว่า "แหยม" นั้นหมายถึง "หย่อม ปอย ผมที่เอาไว้เป็นกระจุกบนศีรษะนอกจากจุก"


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 16:20
ผมเปีย
ผมเปีย หมายถึง "ผมที่ถักห้อยยาวลงมา" ซึ่งอันที่จริงแล้ว ผมเปียนี้ที่แท้ก็คือ ผมโก๊ะ ผมแกละ ที่เอามาถักนั่นเอง เด็กผมแกละบางคนก็ปล่อยผมแกละให้สยายพริ้วไปตามลม ถ้าพ่อแม่รำคาญตาเข้าก็ จับมาถักเปียเสีย ทำให้ดูเรียบร้อยขึ้น คำล้อเลียน ผมเปีย "ผมเปีย เลียใบตอน พระตีกลองตะลุ่งตุ้งแช่"

พิธีตัดเปีย หลังจากการทำพิธีโกนผมไฟ แล้วเด็กไว้ผมจุกหรือผมเปีย จนอายุย่างเข้าสู่วัยแรกรุ่น คือเด็กชายจะอายุราว 13 ปี เด็กหญิงอายุประมาณ 11 ปี บิดามารดาหรือผู้ปกครองเห็นว่าควรจะทำพิธีโกนจุกหรือตัดเปียได้แล้ว ก็จะจัดการตระเตรียมงาน ซึ่งอาจจะทำไปพร้อมกับการทำบุญบ้านด้วยก็ได้ เพื่อเป็นการประหยัดในคราวเดียวกัน ก่อนที่จะเริ่มงานจะต้องนำวัน เดือน ปี ของเด็กไปให้โหรกะเวลาฤกษ์ให้เสียก่อน แต่ต้องมิให้ตรงกับวันอังคาร เพราะถือกันว่าวันอังคารเป็นวันห้ามโกนจุก

การไว้ผมทรงต่าง ๆ ของเด็กไทยโบราณ มีสาเหตุดังนี้ ไว้ไปตามประเพณี ส่วนใหญ่จะให้เริ่มไว้หลังจากทำพิธีโกนผมไฟแล้ว โดยจะเหลือผมตรงขม่อมไว้ เพราะเชื่อกันว่าหากโกนผมทิ้งไปหมด ขวัญจะไม่มีที่อาศัย แล้วก็เริ่มไว้จนยาวตั้งแต่นั้นเรื่อยมา ไว้เพราะเป็นการแก้เคล็ด เนื่องจากเด็กมักเจ็บไข้ออด ๆ แอด ๆ อยู่เสมอ หรือเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก ผู้ใหญ่จึงให้เปลี่ยนมาเป็นไว้จุก ไว้แกละ หรือไว้เปีย ไปตามแต่จะเห็นสมควร บางทีพอเปลี่ยนทรงผมแล้ว กลายเป็นเด็กแข็งแรงเลี้ยงง่ายไปเลยก็มี

http://campus.sanook.com/%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%AB-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-910671.html


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 29 เม.ย. 11, 16:26
ยังหาภาพสาวชาวอยุธยา ผมยาวประบ่างามๆ ไม่เจอเลย ;)

แล้วทรงแบบนี้เข้าไปทางสมัยอยุธยาได้เปล่าละครับ คุณ siamese

ที่มา.....http://talk.mthai.com/topic/15441


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 16:29
^
ผมยาวเกินไป ต้องแต่บ่าพอครับ  ;)

นางละครรำตามภาพก็เห็นไม่ถนัด


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 16:39
สตรีอยุธยา ด้านบนไว้ทรงดอกกระทุ่ม มีไรผม ปล่อยด้านหลังยาวประบ่า


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 29 เม.ย. 11, 20:39
ตุ๊กตาดินเผา งมได้บริเวณเกาะเมือง อยุธยา เป็นแม่อุ้มลูก ทรงผมของแม่ ทรงดอกกระทุ่ม ด้านหลังปล่อยยาวประบ่า


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ธีร์ ที่ 30 เม.ย. 11, 11:21
นำตารางสรุปสำหรับทำการอันเป็นมงคลอย่างง่ายๆจากตำราพรหมชาติ ฉบัย ร.ศ.๑๒๐ ครับ

วัน   ตัดผม   ทาน้ำมัน   สระหัว   ตัดเล็บ   เย็บผ้า   หนูกันผ้า    ปลูกเรือน

๑(อาทิตย์)   อายุยืน   เสียศรี    อายุยืน   ดี   มิดี   มีไชย     มิดี
๒(จันทร์)   มิดี   เปนเสน่ห์   มิดี   มีลาภ    มิดี   สวัสดี     ดีนัก
๓(อังคาร)   ดีนัก   จำไข้   ดีนัก   มิดี   มิดี   จะทุกข์     อย่าปลูก
๔(พุธ)   มิดี   จำเร็ญ   มิดี   จำเริญ   จำเริญ   จะเกิดความ     ดีนัก
๕(พฤหัสฯ)   ดีนัก   มีไชย   ดี   มีทุขก์   มีไชย   จะไข้เจ็บ     ดีนัก
๖(ศุกร์)   เสน่ห์   ได้ลาภ   เสน่ห์   ได้ลาภ   ได้ลาภ   จะได้ลาภ     ยั่งยืน
๗(เสาร์)   ดี   ดี   ดี   มิดี   มิดี   จะแพ้ผู้ใหญ่     อย่าปลูก


อีกตำราท่านดูตามฤกษ์ ไม่ได้กำหนดเป็นวัน

ฤกษ์ตัดผมดี ๑,๕,๗,๘,๑๓,๑๔,๑๕,๑๗,๒๒,๒๓,๒๔,๒๗


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 11, 11:51

 ถ้าคนผู้ใหญ่ ๆ ที่มีอายุมากมักชอบตัดสั้น ๆ ถ้าคนหนุ่มแล้วอยู่ข้างชอบยาวหน่อย ๆ ตามที่เขาเห็นงามกันในเวลานั้น ขุนนางแลราษฎรในเวลานั้นตัดผมมหาดไทยทั้งสิ้น

ที่เรียกว่าผมรองทรงนั้นฉเพาะตัดได้แต่ท่านที่มีบรรดาศักดิ์สูง  ๆ สัณฐานทรงผมรองทรงนั้นก็คล้าย ๆ กันกับผมมหาดไทย แต่ไม่ใช้โกนใช้
ตัดทั้งสิ้น คือ ตัดไล่ให้ยาวขึ้นไปเปนลำดับจนให้รับกันกับทรง ข้างบนวิธีหวีก็หวีเหมือนผมมหาดไทย


รูปนี้  คือพระยาราชานุประพันธ์  (สุดใจ บุนนาค)  ทรงผมท่านคือรองทรงหรือมหาดไทยคะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 เม.ย. 11, 11:53
แล้วทรงผมแบบนี้  เรียกว่าอะไร
รูปนี้คือเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 30 เม.ย. 11, 22:11
สมัยก่อนเวลามีงานโกนจุกตามบ้านนอกจะทำกันน้องๆงานบวชเลย ญาติผู้น้องผมคนหนึ่งพ่อแม่ทำพิธีโกนจุกให้ มีการออกการ์ดเชิญไปร่วมงานด้วย


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 01 พ.ค. 11, 14:27
เมื่อก่อนตามบ้านนอกผู้ใหญ่มักเรียกชื่อเล่นเด็ก ตามทรงผมที่ไว้ เช่น อีจุก ไอ้จุก(มีทั้งหญิงและชาย) ไอ้โก๊ะ(เฉพาะชาย) ไอ้เปีย อีเปีย (หญิงมากกว่าชาย) ไอ้แกละ อีแกละ(ชายมากกว่าหญิง)  เด็กเกิดใหม่ๆ ผมไม่ค่อยมี ก็เรียก ไอ้ เหน่ง ไอ้ โล้น เป็นต้น เด็กที่หมอตำแยตัดสายสะดือให้ไม่สวยทำให้ตอนหลังสะดือเกิดโป่งพองขึ้นมา เรียก ว่า ไอ้จุ่น ไม่ทราบว่าชาวเมืองตั้งชื่อเล่นตามทรงผมกันว่ากระไร


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 พ.ค. 11, 17:21
แล้วทรงผมแบบนี้  เรียกว่าอะไร
รูปนี้คือเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ค่ะ

ควรจะเป็น "กระทุ่มกลาย" หรือเปล่าครับ จึงยกการตัดผมแบบฝรั่งประกอบดังนี้

"ถ้าตัดผมฝรั่งก็ตัดข้างหลังให้สั้นไว้ ข้างหน้าให้ยาวพอสมควร แลหวีแสกกลางปัดหวีผมหน้าให้เปนกระบัง หรือหวีให้เปนกระบังตามแต่เจ้าของจะชอบใจ ถ้าเปนดอกกระทุ่มญวนก็ตัดไล่ขึ้นไปข้างบนให้สั้น ทั้งหน้าหลังข้าง ๆ

พอสมควรกับทรงแลใบหน้าเจ้าของ ถ้ากระทุ่มกลายตัดให้ยาวกว่ากระทู่มญวนหน่อยหนึ่ง หวีขึ้นไปตรงให้ผมปัดไปข้างหลังแลข้างพอสลวย ๆ ถ้าเปนรองทรงก็ตัดเหมือนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึ่งเอาตะไกรอย่างย่อมเก็บผมที่ไม่เรียบให้เรียบอีกครั้งหนึ่ง แล้วเปลื้องผ้าออกปัดผมเสียครั้งหนึ่ง แล้วก็คลุมลงใหม่ตะไกรเล็ก ๆ ขริบผมต้นฅอแลซอกหูให้หมดเรียบร้อย

แล้วจึ่งเอาแป้งนวนผัดตามต้นฅอ แลซอกหู ปัดด้วยแปรงให้ผมออกหมดแล้วเปนเสร็จกัน แต่ผมที่ตัดกันทุกวันนี้ ใช้ตัดกระทุ่มกลาย มากกว่ากระทุ่มญวนแลรองทรง ราคาจ้างตัดนั้น คนละหนึ่งเฟื้องเปนธรรมเนียม บางทีเจ้านายหรือขุนนางเรียกไปตัดไปทรงเครื่อง ช่างตัดต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยสอาด แลตัดโดยประณีตกว่าราษฎรสามัญ การที่รังวัลแลประทานแก่ช่างตัดผมนั้นไม่เปนกำหนด แต่คงได้มากกว่าธรรมดาหลายเท่าช่างผู้หญิงนั้นยังไม่มีใครตั้งที่รับตัดผมเลย ยังคงใช้เครื่องมือกระเดียดกระทาย เที่ยวอยู่เหมือนช่างโบราณ ๆ วิธีที่ตัด ๆ ผมดอกกระทุ่มกลายเปนพื้น ไว้ผมทัดบ้างไม่ไว้บ้าง ผมรองทรงกระทุ่มไรมีบ้างแต่ไม่สู้มาก ราคาค่าจ้างตามธรรมดาเฟื้องหนึ่ง เหมือนกันไม่ผิดแผกอะไรกันเลยเหมือนกันทั้งสิ้นถ้าจะคิดถัวกันทุกตำบล"


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 02 พ.ค. 11, 09:32
จำได้ว่าตอนเด็กๆ เวลาคุณพ่อไปร้านตัดผมจะตามไปด้วย
ได้เห็นขั้นตอนการตัดผม พอตัดผมเสร็จจะมีการแคะขี้หูด้วยค่ะ
แคะจริงจังนะคะ มีโคมไฟส่องดูข้างในหูด้วย ยังเคยได้แคะด้วยเลยค่ะ
ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้ ร้านตัดผมชายยังมีการแคะหูกันอยู่อีกหรือไม่ค่ะ
และทำเนียมการแคะหูในร้านตัดผมชาย มีที่มาที่ไปอย่างไร ใครพอจะทราบบ้างคะ
(ร้านทำผมสตรีไม่มีการแคะหูค่ะ  ;D)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 03 พ.ค. 11, 11:18
สมัยที่ ค่าตัดผม ผู้ใหญ่ 5 บาท เด็ก 3 บาท นั้น พอช่างตัดผมให้เสร็จ ก็จะใช้มีดโกน กันจอน กับโคนผมด้านหลัง จากนั้นจะปรับเก้าอี้นอนเพื่อแคะหู ถ้าเป็นเด็ก ช่างจะเอามีด ปลายแหลมคล้ายๆมีดคว้านผลไม้ด้ามยาวๆหมุนๆในหูข้างละ 2-3 รอบ เพื่อตัดขนในหูแต่ไม่ได้แคะหูให้หรือมีบ้างก็เล็กน้อยพอเป็นพิธี  จากนั้นก็จะเอาใม้ปั่นหูอีกข้างละ 2-3 รอบ เป็นอันเสร็จ  ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็จะทำแบบครบเครื่อง มีไม้แคะหู ใช้ไฟส่องเพื่อแคะขี้หูออก เสร็จแล้วใช้มีดหมุนรอบๆหูและใช้ไม้ปั่นหูอีก 2-3 รอบ  ระยะหลังๆเมื่อมีกระแสว่าแคะหูแล้วมีอันตรายร้านตัดผมช่วงหลังจึงไม่ค่อยมีการแคะหู มีแต่เช็ดหน้าด้วยผ้าเย็น กับนวดไหล่  หลังจากโรคเอดส์ระบาด ผมก็ไม่ได้เข้าร้านตัดผมแบบเดิมอีก เพราะตอนนั้นยังใช้มีดโกนแบบไม่เปลี่ยนใบมีด แต่เดี๋ยวนี้เข้าใจว่าน่าจะเปลี่ยนใบมีดทุกครั้งแล้ว ตอนที่ใช้ปัตตาเลี่ยนมือตัดผมนั้น ถ้าเจอปัตตาเลี่ยนทื่อแล้วละก็เป็นเรื่องเพราะมันจะดึงผมจนสะดุ้งเป็นที่เข็ดขยาด

ในทางพุทธศาสนา พูดถึงเรื่องการแคะหูของพระภิกษุไว้เหมือนกัน   ในพระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม 7  ภาค 2 หน้า 58  ว่าไว้ดังนี้

[๑๕๗]  สมัยนั้น  ภิกษุรูปหนึ่งมีขี้หูจุกช่องหู . .. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ..ตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาต  ไม้แคะหู.

[๑๕๘]  สมัยนั้น  พระฉัพพัคคีย์ใช้ไม้แคะหูต่าง ๆ  คือ  ทำด้วยทองทำด้วยเงิน  ชาวบ้าน  เพ่งโทษ  ติเตียน  โพนทะนาว่า . . .เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม . .. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุไม่พึงใช้ไม้แคะหูต่าง ๆ  รูปใดใช้   ต้องอาบัติทุกกฏ.   เราอนุญาตไม้แคะหูที่ทำด้วยกระดูก  งา  เขา  ไม้อ้อ  ไม้ไผ่  ไม้จริงยางไม้   เมล็ดผลไม้   โลหะ   กระดองสังข์.
http://www.samyaek.com/tripidok/book09/051_100.htm


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 03 พ.ค. 11, 11:24
ไม้แคะหูสมัยนี้พัฒนาเป็นแบบมีไฟส่องในตัว ทำให้สะดวกต่อการแคะหูยิ่งขึ้น


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 03 พ.ค. 11, 13:47
...ถ้าเป็นเด็ก ช่างจะเอามีด ปลายแหลมคล้ายๆมีดคว้านผลไม้ด้ามยาวๆหมุนๆในหูข้างละ 2-3 รอบ เพื่อตัดขนในหู...

นึกภาพตามแล้วหวาดเสียวดีพิลึกนะคะ เพราะเด็กจะยุกยิกไม่อยู่นิ่ง เอามีดหมุนๆ ในหู น่ากลัวนะคะ... ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: pathuma ที่ 03 พ.ค. 11, 13:59
ถ้าเป็นรุ่นหนุ่มหน่อยก็จะมีโกนหนวด โกนเครา ตอนนี้ยิ่งหวาดเสียวใหญ่เพราะมีดโกนที่ช่างถือนั้นฉวัดเฉวียนอยู่แถวๆคอหอย อยากให้จบเร็วๆ แต่แคะหูนั้นสนุก อยากให้ช่างแคะให้นานๆเพราะเพลินดี


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ค. 11, 14:36
ถ้าเป็นรุ่นหนุ่มหน่อยก็จะมีโกนหนวด โกนเครา ตอนนี้ยิ่งหวาดเสียวใหญ่เพราะมีดโกนที่ช่างถือนั้นฉวัดเฉวียนอยู่แถวๆคอหอย อยากให้จบเร็วๆ แต่แคะหูนั้นสนุก อยากให้ช่างแคะให้นานๆเพราะเพลินดี

ย้อนอดีตวัยเยาว์กัน  ;D เมื่อตอนเด็กๆ ตัดผมที่บ้านนอก เด็ก ๗ บาท ผู้ใหญ่ ๑๐ บาท เด็กน้อยหัวกลมๆจะได้สิทธิพิเศษนั่งบนไม้กระดานที่พาดบนที่ท้าวแขนของเก้าอี้ตัดผม ช่างสนุกยิ่งนัก


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ค. 11, 15:00
ขออัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ อันเป็นช่วงต้นรัชกาลซึ่งพระองค์ได้ทรงเสด็จประพาสสิงคโปร์ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและได้เสด็จดูงานความเจริญอันศิวิไลซ์อย่างยุโรป พระบรมฉายาลักษณ์นี้ทรงไว้ผมทรงมหาดไทย และเมื่อพระองค์ได้เสด็จนิวัติถึงกรุงเทพฯ แล้ว ทรงมีพระราชกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น
-   เลิกประเพณีให้ข้าราชการเข้าเฝ้าแบบหมอบคลาน แต่ใช้วิธีการค่อยเป็นค่อยไป คือ โปรดฯให้มีการเข้าเฝ้าอย่างเก่า และเฝ้าอย่างใหม่ เพื่อให้มีการปรับตัวให้คุ้นชินกับอย่างใหม่ แล้วจึงยกเลิกอย่างเก่าเสีย (การหมอบคลาน)
-   สวมถุงเท้า รองเท้า นั่งเก้าอี้ เสื้อเปิดอก มีผ้าผูกคอ เวลาเข้าเฝ้า
-   จัดธรรมเนียมการ “กินโต๊ะ” แบบยุโรปหรือที่เราเรียกว่า การพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหาร
-   การยกเลิกทรงผมมหาดไทย ทรงปรารภว่าไทยเรายังไว้ทรงผมมหาดไทยอย่างโบราณ ทำให้ฝรั่งดูหมิ่นไทยว่าเป็นชาวป่าเถื่อน ควรเลิกประเพณีตัดผมทรงมหาดไทยและหันมาไว้ผมยาวตัดเท่ากันทั้งหัวอย่างฝรั่ง และทรงเป็นผู้นำในการเลิกไว้ทรงผมแบบมหาดไทย และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายและขุนนางไว้ผมยาวได้ตามความสมัครใจ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ค. 11, 15:14
สำหรับเจ้านายฝ่ายในนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้สตรีเลิกไว้ผมปีก แต่ไม่มีท่านใดที่จะทรงยอมเลิกประเพณีไว้ผมเช่นนี้ ยกเว้น "เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) ที่ทูลรับอาสาเลิกไว้ผมปีก และหันมาไว้ผมยาวก่อนผู้อื่น จนทำให้กระแสการไว้ผมยาวแพร่หลายกันราชสำนัก ซึ่งเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) นั้นทรงขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้านำแห่งแฟชั่นราชสำนัก

แม้กระทั่งเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) ล่วงเข้าวัยชรา สมัยจอมพล ป พิบูลสงคราม ประกาศให้ประชาชนสวมหมวก สวมถุงมือ ท่านก็ทรงแต่งกาย สวมหมวก สวมรองเท้า สวมถุงมือ เป็นแบบประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาลอีกด้วย


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ค. 11, 15:23
"ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงแหม่ม"

เป็นคำที่ชาววังเรียก สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวไลอลงกรณ์ เนื่องจากทรงไว้พระเกศายาว และโปรดแต่งกายแบบฝรั่ง สวมกระโปรงยาว


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ค. 11, 15:46
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทรงผมใหม่ๆจากตะวันตกเข้ามา โดยผ่านทาง "แคตตาล๊อก" มากมาย ดังนั้นเจ้านายทั้งหลายมีโอกาสที่จะเลือกทรงผมต่างๆและแข่งขันทำทรงผมเพื่อแฟชั่นกัน

ใน พ.ศ. ๒๔๖๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศหมั้นกับหม่อมเจ้าหญิงวัลภาเทวี วรวรรณ ในขณะที่ทรงอยู่ในฐานะคู่หมั้นทรงเป็นผู้นำสตรีตามพระราชนิยม โดยการไว้ผมยาวเกล้าผมมีโป่งข้างหน้า มีริบบิ้นคาดทับ ทำให้สตรีท่านอื่นต่างก็นิยมไว้ผมแบบพระวรกัญญาปทานฯ กันทั้งวัง

ภาพพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัลลภาเทวี และพระนางเธอลักษมีลาวัณ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 03 พ.ค. 11, 16:40
สาวน้อยผมยาวประบ่าค่ะ ท่านผู้ใดเอ่ย...


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: art47 ที่ 03 พ.ค. 11, 18:27
สาวน้อยผมยาวประบ่าค่ะ ท่านผู้ใดเอ่ย...

"ท่านหญิงนา"
(สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7)

ครับผม ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 03 พ.ค. 11, 18:59
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี  ทรงไว้พระเกศาแบบนี้  เรียกว่าดอกกระทุ่มหรือเปล่าคะ?


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ค. 11, 19:44
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี  ทรงไว้พระเกศาแบบนี้  เรียกว่าดอกกระทุ่มหรือเปล่าคะ?

ที่จริงแล้วควรเรียกว่า "ผมปีก" ครับ ซึ่งการไว้ผมปีกนี้มีมาแต่สมัยอยุธยา โดยผมปีกอาจจะกลายเป็นทรงได้ดังนี้
๑. ผมปีก ด้านบนไว้สั้น กันไรจุกให้ขาว รอบโกนหัว
๒. ผมปีก ด้านบนไว้สั้น กันไรจุกให้ขาว รอบโกนหัว ไว้จอนหูยาว ไล้ด้วยขึ้ผึ้งจนแข็ง
๓. ผมปีก ด้านบนไว้ยาวแต่ไม่มาก พอแสกได้ รอบไว้ยาวประบ่า

ส่วนทรงดอกกระทุ่ม คงกลายจากการผมปีกที่ไว้ยาวแล้วเสยเส้นผมทั้งหมดไปด้านหลัง โดยแบ่งดังนี้
๑. ทรงดอกกระทุ่มสั้น
๒. ทรงดอกกระทุ่มยาวท้งศรีษะ

ภาพเปรียบเทียบ ด้านซ้ายพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี   ด้านขวาสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ค. 11, 19:47
ภาพพระองค์เจ้ากนกวรรณเรขา ทรงได้ผมทรงดอกกระทุ่ม พร้อมยมยาวประบ่า


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 03 พ.ค. 11, 19:56
พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา ทรงแบบนี้เป็นสมัยนิยมสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยนำผมลงมาแผ่ไว้ แล้วมีที่รัดผมบริเวณหน้าผาก


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 04 พ.ค. 11, 13:31
สาวน้อยผมยาวประบ่าค่ะ ท่านผู้ใดเอ่ย...

"ท่านหญิงนา"
(สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7)

ครับผม ;D

ขอบคุณคุณart47 ค่ะ
ทรงมีพระสิริโฉมงดงามมากเลยนะคะ  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 04 พ.ค. 11, 13:44
เรียนถามผู้รู้อีกภาพนะคะ..ท่านจขกท.คงไม่ว่านะคะ ก็เกี่ยวกะทรงผม นิดๆ ... ;D
เข้าไปถามไว้ในกระทู้ ชุดวิวาห์ แล้วค่ะ แต่หลายท่านอาจจะไม่ได้เข้ากระทู้นั้น
เลยมาถามไว้ที่นี่อีก ...
หนูสงสัยจริงๆ ค่ะว่า ภาพไหนคือองค์ไหน ...


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 พ.ค. 11, 14:01
ดิฉันว่าเป็นองค์ในรูปกลาง ค่ะ  สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี
รอถามคุณ V_Mee อีกทีดีไหม


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 พ.ค. 11, 14:54
คุณดีดี นี่ตาไวมากจริงๆ  ;D ได้ขยายภาพตรงกลางมาให้และเทียบกับรูปยาซิกาแรต เหมือนกันทุกประการ ไม่ว่าการวางดอกไม้ จึ้เครื่องประดับ การประดับดอกไม้ข้างพระเศียร สรุปได้ว่าคำบรรยายในรูปยาซิกาแรตนั้นบรรยายผิดครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 พ.ค. 11, 18:41
ทรงผมและการแต่งกายสุภาพสตรีผู้ดีอีสานเมื่อร้อยกว่าปีก่อนค่ะ  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 พ.ค. 11, 18:42
ผมทรงอะไรเอ่ย...


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 พ.ค. 11, 18:44
ภาพนี้บรรยายว่า

"หม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์ ทองใหญ่ (พ.ศ. ๒๔๓๓-๒๔๗๔)   
ทรงเกล้าผมทรงอี่ปุ่น มีริบบิ้นมัดที่มวยผม สวมเสื้อแบบฝรั่งตามสมัยในยุคนั้น"


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 พ.ค. 11, 18:49
สตรีชั้นสูงเมืองนครพนม เกล้ามวย ห่มสไบขิด นุ่งซิ่นมัดหมี่ (พ.ศ. ๒๔๔๙)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: :D :D ที่ 06 พ.ค. 11, 19:02
ครอบครัวคหบดีชาวสุรินทร์ ปีพ.ศ. ๒๔๔๓
สังเกตุเด็กทั้งสามคน ไม่ได้ไว้ผมจุกหรือผมแกละ....


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 11, 14:08
ทรงผมที่นำมาให้ชมนี้ระบุไว้ในกฎมฑเฑียรบาลสมัยพระเจ้าอู่ทอง

สตรีไว้ผมมวยเกล้า เรียกว่า โซงขโดงฤาโองขโดง" คือการนำผมรวบขึ้นไปเป็นเกล้าบนกระหม่อมเป็นห่วงบางๆ มีเกี้ยวหรือมาลัยสวมโดยรอบ และทรงผมนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ทรงหนูนยิก"


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 07 พ.ค. 11, 14:25
เกล้าแบบคนเมืองทางล้านนา เอามวยผมไว้ตางง่อน(ท้ายทอย) มักจะเหน็บดอกเอื้องคำ แล้วกะดอกไม้หอมนานาชนิด เปิ้นบอกว่าเหน็บเพื่อปู๋จาหัวแล้วกะปู๋จาพระเจ้าเวลาก้มกราบพระเจ้าในวัด


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 07 พ.ค. 11, 14:28
ขอทูลเชิญพระฉายของพระราชชายามาสักหน้อย พระราชชายาเกล้าผมทรงอั่วจ้อง หรือว่าทรงอี่ปุ่น(ญี่ปุ่น) ปักปิ่นเหียงามแต้ ๆ ครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: werachaisubhong ที่ 07 พ.ค. 11, 14:32
ไม่ทราบว่าทรงนี้คืออะไรครับ
เป็นเจ้านายสมัยล้านนา


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 11, 17:16
^
เหมือนไว้ผมปีก แต่ยาวเลยเสยไปด้านหลัง

ในบทเสภาขุนช้างขุนแผนมีเรื่องการจัดผม ตอนหนึ่งว่า

"เจ้าขุนช้างอาบน้ำสำราญใจ    ข้าไทเข้ากลุ้มรุมกันสี
เอาขมิ้นถูตัวให้ทั่วดี    ขี้ไคลรี่สีออกมา
ผิวหนังยังเหนียวเขียวเหมือนผักตบ       นี่จวนจบมหาพนแส้วสิหว่า
เข้าห้องดินสอพองละลายทา  ประทั่วกายาจนพุงลาย
ควักเอามุหน่ายขึ้นป้ายปีก       ฉีกผมปกกบาลให้ล้านหาย
ยังโล่งเลี่ยนเตียนโล่งอย่างแปลงควาย  หัวกูฉิบหายน่าอายใจ"


จากบทเสภาเห็น่วามีเครื่องจัดแต่งผมคือ "มุหน่าย" หรือเรียกว่า "น้ำมันตานี"

มุหน่าย
ความหมาย

น. นํ้ามันตานี หรือนํ้ามันเหนียว เป็นเครื่องหอมสําหรับใส่ผม, นํ้ามันตานีที่ผสมกับเขม่าและปูน, นํ้ามันหอมเป็นเครื่องเจิม.
 


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 11, 17:26
ภาพการตัดผมของไทยแบบโบราณ จะเห็นว่ามีการตั้งเครื่องโถปริก คงใส่น้ำมันตานี ตั้งกระจก มีเด็กช่วยลับมีดโกน ภาพนี้ปรากฎในหนังสือปกิณกะนักสะสม ของอ.อเนก แต่ท่านไปบรรยายในบริบทของการอยู่งานพัด จึงนำมาให้ชมกันครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 11, 17:43
พระกรรไกรบิด ที่สมเด็จพระราชชนนีทรงเครื่องใหญ่ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงผนวช พ.ศ. ๒๔๙๙


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 พ.ค. 11, 17:48
ชุดโถปริก ดังในภาพ ไว้ใส่น้ำมันตานี ขึ้ผึ้ง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 09 พ.ค. 11, 23:33
ช่วยหน่อยครับ ผมทรงอะไร สมัยไหน หนวดด้วยครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ค. 11, 12:03
ผมทรงมหาดไทยหรือทรงหลักแจวค่ะ
ส่วนหนวด  ถ้าปลายงอนขึ้นไปกว่านี้อีกหน่อยก็จะเป็นนายจันหนวดเขี้ยว


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 11 พ.ค. 11, 20:44
ทรงผมเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยสตรีจะรวบผมลงมาแล้วมีที่คาดศีรษะ และมีผ้าแถบเส้นเล็กๆพันที่คอ ที่เรียกว่า โชคเกอร์

ภาพพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 11, 07:44
โชคเกอร์ ในภาพนี้ คือเส้นโบหรือริบบิ้นค่ะ

พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา  ทรงไว้พระเกศาแบบที่นิยมกันตอนปลายรัชกาลที่ ๖  มีโชคเกอร์เพชรคาดเหนือพระนลาต(หน้าผาก) อันเป็นแฟชั่นที่รับมาจากตะวันตก


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 11, 07:48
ทรงผมของหม่อมแผ้ว ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา  ( หรือท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี) ในรัชกาลที่ ๖
เป็นทรงผมดัด  ตัดสั้นแค่คอแบบตะวันตก


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 11, 10:32
ทรงผมของหม่อมพันธุ์ทิพย์  บริพัตร


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 พ.ค. 11, 12:00
พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภาพรรณี พระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงอาภาพรรณี คัคณางค์ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร
ทรงไว้พระเกศาแสกกลาง แล้วรวบไปเป็นมวยทางด้านหลัง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 พ.ค. 11, 08:05
ในช่วงยุคปี 1930s กระแสนิยมการไว้ทรงผมฝ่ายสตรี เกิดแฟชั่นใหม่คือ การดัดผมเป็นลอนและลีบติดศีรษะ ดังมากในฝรั่งเศส และมีการตกแต่งด้วยการใช้ผ้าพันผมและสวมหมวกเอียงๆ เสริมเสน่ห์

ในภาพเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ซึ่งอยู่ในช่วงกระแสแฟชั่นดังกล่าว


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 พ.ค. 11, 08:48
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ - หม่อมเจ้ารำไพพรรณี

ภาพนี้ถ่ายไว้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๖๖


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 พ.ค. 11, 08:58
ช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กระแสแฟชั่นการไว้ทรงผมอยู่ในช่วง ค.ศ. 1920s เป็นการนำผมคลุมลงมาแล้วมีเครื่องรัดไว้รอบ

ดังเช่น ภาพพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ฉายเมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระเกศาคลุมลงมาแล้วสวมมงกุฎทับ ทรงพระศิริโฉมยิ่ง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 พ.ค. 11, 17:16
ไม่ทราบว่าภาพถ่ายนางอนามัย( นางพยาบาล)ในรูปนี้ถ่ายเมื่อพ.ศ.ไหน  แต่เดาว่าก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒   ทรงผมเห็นไม่ชัดนัก คิดว่าเป็นผมตัดสั้น  บางคนก็ดัดผมด้วย


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 17 พ.ค. 11, 17:19
ทรงผมหนุ่มไทยในยุค 2500  หวีเสย น่าจะใช้น้ำมันใส่ผมให้เรียบด้วย


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 21 ก.ย. 12, 08:53
เพิ่มเติมข้อมูลทรงผมคนไทย

สมัยรัชกาลที่ ๑ ในช่วงการผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ (รัชกาลที่ ๒) ราษฎรชายไว้ทรงผม "ทรงแมงดา" ราษฎรหญิงไว้ทรงผม "ทรงสะเพิน"

สมัยรัชกาลที่ ๑ ช่วงองเชียงสือหนีออกจากสยาม ราษฎรชายตัดผมทรง "หย่ง" ราษฎรหญิงตัดผมทรง "ประบ่าสะเพิน"

สมัยรัชกาลที่ ๒ ชายตัดผมทรง "ฝักบัว จับกระเหม่า"

สมัยรัชกาลที่ ๓ ช่วงมีการตั้งหวย กข. ราษฎรตัดผม "สร้อยสน"

ที่มา จดหมายเหตุโหร


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 11:36
ทรงผมนิสิตหญิงคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๐ ต้น ๆ คงจัดอยู่ในสมัยโบราณได้อยู่  ;D

บรรยากาศห้องเรียน ไม่ทราบ พ.ศ.

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4350.0;attach=18661;image)

ประมาณ 2490s ต้นๆ  สังเกตจากทรงผมของนิสิตหญิง

เขาเรียกว่า "คลื่นถาวร" ค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 12:12
อาจารย์เทาชมพูเอ่ยถึงคลื่นถาวร
ดูชาวจุฬาฯ ในยุคนั้น  เสียดายสวมหมวกในขณะเชียร์กิฬา

ถนนเจริญกรุงยังไม่จบ ขอต่อวันหลัง


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=57640;image)

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=57642;image)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 12:13
ทรงผมนิสิตหญิงคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๐ ต้น ๆ คงจัดอยู่ในสมัยโบราณได้อยู่  ;D


โบราณเลยหรา...


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 05 ก.ค. 15, 12:35
งานบอลหรือเปล่าคะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 05 ก.ค. 15, 12:50
เมื่อก่อนนี้เค้าฮิตทำผมกันเป็นคณะเหรอคะ  ???
หรือเพราะเมื่อก่อนมีอยู่ไม่กี่คณะ แล้วอักษรศาสตร์มีผู้หญิงเยอะที่สุด
ผมออกมาเป็นทรงเดียวกันหมดเลยค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 13:57
งานบอลหรือเปล่าคะ

คุณปิ่นคงหมายถึงงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ แต่ครั้งแรกที่เห็นคำว่า "งานบอล" นึกถึงใน ความหมายของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ (http://www.arts.chula.ac.th/~complit/etext/octobertext/befocttext/sujit.htm)

กูเป็นนิสิตนักศึกษา
วาสนาสูงส่งสโมสร
ย่ำค่ำนี่จะย่ำไป งานบอลล์
เสพเสน่ห์เกสรสุมาลี


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 14:01
เมื่อก่อนนี้เค้าฮิตทำผมกันเป็นคณะเหรอคะ  ???
หรือเพราะเมื่อก่อนมีอยู่ไม่กี่คณะ แล้วอักษรศาสตร์มีผู้หญิงเยอะที่สุด
ผมออกมาเป็นทรงเดียวกันหมดเลยค่ะ

เมื่อก่อนนี้ แฟชั่นไม่หลากหลายค่ะ  ถ้าผมหยิกด้วยการดัดเข้าสมัย ก็คลื่นถาวรกันทั้งเมือง


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 05 ก.ค. 15, 14:06
งานบอลหรือเปล่าคะ

คุณปิ่นคงหมายถึงงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ แต่ครั้งแรกที่เห็นคำว่า "งานบอล" นึกถึงใน ความหมายของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ (http://www.arts.chula.ac.th/~complit/etext/octobertext/befocttext/sujit.htm)

กูเป็นนิสิตนักศึกษา
วาสนาสูงส่งสโมสร
ย่ำค่ำนี่จะย่ำไป งานบอลล์
เสพเสน่ห์เกสรสุมาลี


เรียนอาจารย์เพ็ญที่เคารพ

เด็กสมัยนี้ เรียกงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ติดปากว่า ไปงานบอล

แต่ถ้าในบทกวีของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ งานบอลล์ คงหมายถึง ball party มากกว่า ถ้าเป็นเด็กยุคนี้มาเห็น เผลอๆจะนึกว่า คุณสิจิตต์บอกว่านิสิตนักศึกษาไปงานฟุตบอลประเพณีได้เกี้ยวสาวเป็นแน่แท้


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 05 ก.ค. 15, 15:58
เมื่อก่อนงานบอลล์จัดเป็นงานของมหาลัยที่นิสิตทุกคณะมาร่วมงานเลยเหรอคะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 18:29
สมัยโน้น    งานบอลประเพณีเป็นงานใหญ่ที่นิสิตตั้งหน้าตั้งตารอตั้งแต่สอบติดก็ว่าได้  เพราะจะต้องซ้อมเชียร์  ซ้อมเดิน ซ้อมเป็นดรัมเมเยอร์  ซ้อมเป็นเชียร์ลีดเดอร์     
แล้วยังขึ้นรถเปิดประทุนแห่กันเชียร์ไปรอบกรุงเทพในช่วงเช้า ก่อนเข้าสนามกีฬา
ถ้าไม่ป่วยเจียนตาย   ไม่มีใครเว้นจากไปงานฟุตบอลประเพณี

ดรัมเมเยอร์ไม้หนึ่ง ไม้สอง ลงรูปใหญ่ในไทยรัฐเดลินิวส์ ไม่แพ้ดารา

การประกวดประขัน แปรอักษรระหว่างมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องลับ ที่รุ่นพี่(น่าจะถาปัด)ซุ่มซ้อมกันทำอยู่เป็นแรมเดือน     ว่าแปรอักษรใครฝ่ายไหนจะเด็ดกว่าใคร    เรื่องนี้ต้องถามรายละเอียดที่ท่านนวรัตน์ดอทซีค่ะ

การยกขบวนเข้าสนาม ล้อเลียนการเมืองและสังคมด้วยคำคมต่างๆ ก็เป็นฉ็อทเด็ดที่คนดูรอเฝ้ากันหน้าจอทีวี 

ตั้งแต่ปีหนึ่งจนปีสุดท้าย ยังไงก็ต้องไปงานบอลประเพณี  ยิ่งปีสุดท้ายยิ่งต้องไป เพราะถือว่าเป็นการอำลา  เรียนจบแล้วไม่มีโอกาสไปอีก  ถึงไปได้ก็ไม่เหมือนเดิม เพราะเพื่อนฝูงก็ย้ายแยกกันไปหมดแล้ว

มาถึงยุคลูกสาวเข้าจุฬา    ไม่เห็นงานบอลเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอีกแล้ว  จะไปก็ได้ไม่ไปก็ได้     
แม่ถามว่าปีนี้ทำไมไม่ไป  เขาตอบว่ากลัวเป็นหวัดกลับมา  จบ




กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 05 ก.ค. 15, 19:48
หนูจำได้ว่ามีอยู่ปีนึง น่าจะตอบปี๓ ไปงานบอล ปีนั้นจุฬาฯอยู่ฝั่งแดด ไปนั่งตากแดดอยู่บนสแตนด์เชียร์ตั้งแต่เที่ยงจนเลิกตอนสองทุ่ม ก็ขำตัวเองว่าบ้า ไปนั่งตากแดดได้ตั้ง ๘ ชั่วโมง ไม่ลุกเข้าห้องน้ำ(เพราะลุกไม่ได้) ไม่ขยันไปไหน วันนี้สองนี่ หน้าดำตัวดำ แต่เป็นประสบการณ์ที่สนุกมากๆเลยค่ะ เห็นด้วยว่าพอเรียนจบแล้วไปร่วมอีกความรู้สึกมันไม่เหมือนกันแล้วค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 05 ก.ค. 15, 19:54
อาจารย์สุมนัส อาจารย์สอนวิชาสังคมที่โรงเรียนเตรียมฯเคยเล่าว่า งานฟุตบอลล์ประเพณีสมัยที่ท่านเป็นนิสิตสนุกมากค่ะ นัดแนะไปงานกันเป็นกลุ่มใหญ่ คนที่มีรถก็ขับตระเวนรับเพื่อนๆ อาจารย์เล่าว่าแม้แต่ขับผ่านป้ายรถเมล์ถ้าเห็นว่าเป็นนิสิตจุฬาด้วยกันก็ยังแวะรับ





กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.ค. 15, 20:46
สมัยเป็นนิสิตเคยแต่นั่งบนสแตนด์เชียร์ ความจริงก็นั่งเชียร์มาแต่ชั้นมัธยมแล้ว รูปแบบการเชียร์ของเด็กมัธยมก็ถ่ายทอดมาจากรุ่นพี่ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยอีกที

สิ่งหนึ่งที่สมัยเด็กทำได้ แต่เมื่ออยู่เป็นรุ่นจูเนียร์หรือซีเนียร์แล้วทำไม่ได้คือการออกเสียง "วี้ด......." ในเพลงบูมนี่แหละ

ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวก็ได้ดีเป็นดาวเด่นในจอแก้วหลายคน อย่างน้องแต้วนี่ก็คนหนึ่ง

ณฐพร เตมีรักษ์ "น้องแต้ว-เจ้าสร้อยฟ้า" รุ่นน้องคุณนวรัตน ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๖๖

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5659.0;attach=40520;image)

เรื่องฟุตบอลประเพณีคุยกันต่อที่กระทู้นี้ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5659.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5659.0) น่าจะดี  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 15, 09:28
ภาพนี้คือคุณนวลสวาท (ลังกาพินธุ์)เปาโรหิตย์  นางสาวถิ่นไทยงามปี 2496  และรองนางสาวไทยปี 2497  ดัดผมทรงคลื่นถาวรเหมือนกัน


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 15, 09:33
ดาราหนังอย่างคุณอมรา อัศวนนท์ ก็ทรงเดียวกัน


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.ค. 15, 09:59
คุณอมรา อัศวนนท์

(http://statics.atcloud.com/files/comments/24/243659/images/1_display.jpg)

คุณรัตนาภรณ์ อินทรกำแหง

(http://statics.atcloud.com/files/comments/24/243663/images/1_display.jpg)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.ค. 15, 16:10
เอาทรงผมของเพื่อนๆสมัยเรียนมาให้ดู ปี 2509  วันรับน้องใหม่ และวันแข่งกีฬา


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 07 ก.ค. 15, 00:27
ทรงผมยังไม่หนีม.ปลายเท่าไร ขอบกระโปรงเริ่มสูงจากเข่า และสูงหนีเข่าเรื่อยขึ้นในปีถัดๆมา จนเริ่มเข้ายุคมินิสเกอร์ต
เฟรชชี่คนซ้ายสุดในรูปล่างยังละอ่อนมาก กลิ่นอายม.ปลายยังไม่จางเลย คงจะเป็นเด็กเรียนเร็ว


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 15, 09:07
ยุคนั้น นิสิตอักษรจำนวนมาก ไม่ผัดหน้า ไม่ทาปาก ไม่ปัดขนตา  อยู่ประถมยังไง อยู่มหาวิทยาลัยก็ยังงั้น ค่ะ
บางคนเรียนจบแล้ว หน้าตายังเหมือนม.ปลายอยู่เลย


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: ปิ่น ที่ 07 ก.ค. 15, 12:02
จริงๆปัจจุบัน นิสิตอักษรฯจำนวนมากก็ไม่แต่งหน้านะคะ

เพียงแต่สมญานามที่เขาขนานกันว่า "สวยตั้งแต่รุ่นย่า" ปัจจุบันต้องยกให้คณะอื่น เช่น บัญชีฯ แล้วค่ะ  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 07 ก.ค. 15, 20:43
เอาทรงผมของเพื่อนๆสมัยเรียนมาให้ดู ปี 2509  วันรับน้องใหม่ และวันแข่งกีฬา

สาวน้อยผมสั้น คนซ้ายสุด ดูหน้าคุ้นๆนะคะ...เหมือนใครสักคนในเรือนนี้เอง อาจารย์เทาชมพูว่างั้นไหม ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 07 ก.ค. 15, 20:46
เอาทรงผมของเพื่อนๆสมัยเรียนมาให้ดู ปี 2509  วันรับน้องใหม่ และวันแข่งกีฬา

สาวน้อยผมสั้น คนซ้ายสุด ดูหน้าคุ้นๆนะคะ...เหมือนใครสักคนในเรือนนี้เอง อาจารย์เทาชมพูว่างั้นไหม ;D

รูปไม่ติดมาด้วย ดิฉันหมายถึงในรูปที่สองน่ะค่ะ อาจารย์ว่าไหมคะว่าดูหน้าคุ้นๆ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ค. 15, 21:00
ไม่ใช่ดิฉันหรอกค่ะ    ดิฉันรอบคอบพอจะตรวจทุกรูปแล้วว่าไม่มีเทาชมพูแน่นอน


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.ค. 15, 21:51
เพียงแต่สมญานามที่เขาขนานกันว่า "สวยตั้งแต่รุ่นย่า" ปัจจุบันต้องยกให้คณะอื่น เช่น บัญชีฯ แล้วค่ะ

ในเพลงเขาว่าสวยพอ ๆ กัน  ;D

อักษรศาสตร์คนสวย ชื่นชวยสำรวยเริงร่า
งามล้ำตำรา ขลังกว่าคาถาจะสาธยายร่ายมนต์

นักการบัญชี ท่าทีล้วนมีสง่า
พาณิชย์จุฬา ใครว่าโสภาอย่าทำตามัว


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 07 ก.ค. 15, 23:08
ไม่ทราบเหมือนกันว่า "สวยตั้งแต่รุ่นย่า" ต้องยกให้คณะไหน
แต่ตอนนี้คนสวยมีอยู่ทุกคณะและกินกันไม่ลงจริงๆค่ะ จะวิดวะ หรือถาปัด ก็สู้สาวอักษรได้ไม่ยาก
บางทีหนุ่มอักษรก็สวยไม่แพ้สาวๆ เหมือนกันนะคะ  :-[


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 ก.ค. 15, 16:41
คนสวยอักษร ก็ยังมีอยู่เน้อ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ค. 15, 06:41
ได้ข่าวว่าคุณแก้วเก้ารอน้องญาญ่าให้โตกว่านี้อีกสักหน่อยเพื่อรับบทนางเอกเรือนมยุรา

คงถึงเวลาที่น้องอักษรคนสวยคนนี้จะรับบทแม่นายนกยูงแล้วกระมัง  ;)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ก.ค. 15, 09:05
เขาแคสดาราเรื่องนี้กันอยู่ทุกเดือนในพันทิป  อย่าให้ฟีเวอร์ระบาดมาถึงเรือนไทยเลยค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 13 ก.ค. 15, 10:58
แคสเรือนมยุรายังไม่ได้ งั้นไปรอชมเจ้าบ้านเจ้าเรือนเวอร์ชั่นพี่ติ๊กแทนก็ได้ค่ะ  ;D


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.ค. 15, 11:14
แฟนคลับ "เจ้าบ้านเจ้าเรือน" เข้ามาที่กระทู้นี้เลยจ้า  ;D

ชอบเจ้าบ้าน เจ้าเรือน  (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4920.msg145754#msg145754)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 13 ก.ค. 15, 16:44
ทรงผมช่วง พ.ศ. 2478


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 14 ก.ค. 15, 00:23
อยากเรียนถามเกี่ยวกับทรงผมของผู้หญิงวัยประมาณ 70-80 ค่ะ
ที่จะตัดสั้น แล้วดัด ไม่มีการแสกผม ลองหารูปประกอบในกูเกิ้ลก็ไม่เจอค่ะ เพราะไม่รู้ใส่คีย์เวิร์ดยังไงให้ตรง  :'(
เคยเห็นบ่อยๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าเค้าเรียกว่าอะไร


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 14 ก.ค. 15, 07:52
อยากเรียนถามเกี่ยวกับทรงผมของผู้หญิงวัยประมาณ 70-80 ค่ะ
ที่จะตัดสั้น แล้วดัด ไม่มีการแสกผม ลองหารูปประกอบในกูเกิ้ลก็ไม่เจอค่ะ เพราะไม่รู้ใส่คีย์เวิร์ดยังไงให้ตรง  :'(
เคยเห็นบ่อยๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าเค้าเรียกว่าอะไร

ทรงนี้หรือเปล่าครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 14 ก.ค. 15, 08:14
ยายของปู่ผม ตายเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑
ไว้ทรงผมทรงเดียวกันทั้งตอนกลางคน และตอนแก่


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ค. 15, 08:43
อยากเรียนถามเกี่ยวกับทรงผมของผู้หญิงวัยประมาณ 70-80 ค่ะ
ที่จะตัดสั้น แล้วดัด ไม่มีการแสกผม ลองหารูปประกอบในกูเกิ้ลก็ไม่เจอค่ะ เพราะไม่รู้ใส่คีย์เวิร์ดยังไงให้ตรง  :'(
เคยเห็นบ่อยๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าเค้าเรียกว่าอะไร

ตัดสั้น  ดัด  ไม่มีการแสกผม  แบบนี้หรือเปล่าคะ

ใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปที่ "ผู้หญิง อายุ 70-80"   หรือถ้าต้องการสตรีที่ไว้ผมทรงนี้ได้งดงาม ก็ลองคีย์เวิร์ดคำว่า "ท่านผู้หญิง" 
เพราะท่านเหล่านี้อายุ 70-80 เป็นส่วนใหญ่   กูเกิ้ลมักมีภาพท่านแต่งเต็มยศ หรือแต่งตัวออกงาน ทำผมเรียบร้อยสวยงาม มักเป็นทรงอย่างที่คุณถาม

สตรีบรรดาศักดิ์ในภาพที่นำมาลงคือท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช    ท่านดัดผมสั้น ไม่แสก  ทำทรงและสีผมงดงามมาก


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ค. 15, 08:48
ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ก็ตัดผมสั้น ดัด และไม่แสก เช่นกันค่ะ
ส่วนสุภาพบุรุษที่ยืนอยู่กับท่านคือสามีท่านผู้หญิง คุณมีชัย วีระไวทยะ 
อิอิ  ใครจำโกโบริในภาพยนตร์ไทยเมื่อสัก 40 ปีมาแล้วได้บ้างคะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เอื้องหลวง ที่ 14 ก.ค. 15, 08:52
ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูค่ะ แบบนี้เลย เห็นบ่อยๆ ในหมู่ผู้หญิงวัย 70-80 ค่ะ
ทรงผมนี้คิดว่าในอนาคต คงไม่นิยมทำแล้ว


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 14 ก.ค. 15, 12:57
ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ก็ตัดผมสั้น ดัด และไม่แสก เช่นกันค่ะ
ส่วนสุภาพบุรุษที่ยืนอยู่กับท่านคือสามีท่านผู้หญิง คุณมีชัย วีระไวทยะ 
อิอิ  ใครจำโกโบริในภาพยนตร์ไทยเมื่อสัก 40 ปีมาแล้วได้บ้างคะ
จำได้ครับ ละครขาวดำช่อง7สนามเป้า ต้องยอมรับว่าโกโบริ เวอร์ชั่นแรก หล่อจริงๆ
คุณบุศรา นฤมิตร เป็นอังศุมาลิน
ได้ดูตอนที่ยังเด็กอยู่น่ะครับ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 ก.ค. 15, 15:09
ย้อนภาพความหลัง  โกโบริกับอังศุมาลิน ค่ะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 15, 10:26
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4374.0;attach=57915;image) (http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4374.0;attach=57916;image)

ทรงผมของสตรีเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อนดูจะคล้ายกับทรงผมของท่านผู้หญิงทั้ง ๒ ท่านข้างบนนี้

ภาพบุคคลต่อ อยู่ในระยะเวลา พศ. ๒๔๓๓-๒๔๕๓

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5929.0;attach=57860;image)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 15 ก.ค. 15, 12:27
ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ก็ตัดผมสั้น ดัด และไม่แสก เช่นกันค่ะ
ส่วนสุภาพบุรุษที่ยืนอยู่กับท่านคือสามีท่านผู้หญิง คุณมีชัย วีระไวทยะ 
อิอิ  ใครจำโกโบริในภาพยนตร์ไทยเมื่อสัก 40 ปีมาแล้วได้บ้างคะ

ต้องขอโทษอาจารย์ก่อนนะคะ ที่ถามเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับทรงผมแทรกเข้ามาในกระทู้นี้

คือว่าพอเห็นชื่อท่านผู้หญิงบุตรี ก็ทำให้นึกถึงที่เคยสงสัยว่าหม่อมราชวงศ์ เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชฯเป็นท่านผู้หญิงแล้วไม่ต้องใช้คำหน้าว่าหม่อมราชวงศ์อีกต่อไปหรือ? ตอนแรกว่าจะเรียนถามอาจารย์ แต่ชักจะเกรงใจว่ารบกวนอาจารย์บ่อยเหลือเกินเลยลองเสิร์ชหาเองก่อนค่ะ  แล้วก็รับคำตอบ

แต่ยังไม่วายมีข้อสงสัยตามมาให้ต้องรบกวนอาจารย์อีกจนได้ ;D คือสงสัยน่ะค่ะว่าแล้วหม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวง ถ้าแต่งงานกับเจ้าระดับหม่อมเจ้าขึ้นไป ยังคงคำนำหน้าชื่อเหมือนเดิม หรือว่าเปลี่ยนเป็นหม่อมเฉยๆคะ


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 15 ก.ค. 15, 13:02
คุณแอนนาสามารถหาคำตอบได้ในกระทู้นี้  ;D

ไทยเริ่มใช้คำนำหน้าว่า คุณหญิง ท่านผู้หญิง ตั้งแต่เมื่อไรครับ  (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4421.msg145836#msg145836)


กระทู้: ทรงผมคนไทยโบราณ
เริ่มกระทู้โดย: Anna ที่ 15 ก.ค. 15, 13:27
ขอบพระคุณค่ะ ไปอ่านกระทู้ที่อาจารย์ว่ามาเรียบร้อยแล้วค่ะ
(พอเห็นพ.ศ.ที่ลงกระทู้นั้นก็ถึงกับอึ้ง ทึ่ง โห! อาจารย์จำได้ไงว่าเรื่องไรอยู่กระทู้ไหนบ้าง ทั้งๆที่ผ่านมาตั้งหลายปีแล้ว :o)