เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์โลก => ข้อความที่เริ่มโดย: Andreas ที่ 20 ก.พ. 06, 12:32



กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 20 ก.พ. 06, 12:32
 หลังจากตามอ่านเรื่องราวดีๆมีสาระที่คุณเทาชมพูและสมาชิกท่านอื่นๆในเรือนไทย เรียบเรียงและสรรหามาให้ประดับไว้บนเรือนไทย.....ผมเลยเกิดแรงบันดาลใจเขียนบทความ    “ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่รสแรง” มาเสนอต่อเรือนไทยครับ......เอาไว้แค่ใต้ถุนเรือนไทยก็ได้ครับ...ไม่จำเป็นต้องขึ้นเรือน.......เพราะยังไม่มั่นใจศิลปะการสื่อสารของตนเองมากนักครับ....เลยขอแบบหลบๆไว้ก่อนครับ

ต้องเรียนว่าข้อมูลที่ผมนำมาเสนอให้ทุกท่านอ่านนี้..... ผมอาศัยการเรียบเรียงและแปลมาจากหลายๆเวปไซต์ในอินเตอร์เนท ซึ่งผมจะทำบรรณานุกรมไว้ตอนท้ายครับ  

ปล. ใครมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพริกในเมืองไทยมาเล่าสู่กันฟัง ...ก็เขียนรีพลายแทรกเข้ามาเลยนะครับ...ส่วนที่ผมจะเล่านั้น....เน้นเป็นประวัติศาสตร์โลกมากกว่าครับ.....(ผมไม่ถนัดเรื่องราวในไทยครับ...เพราะหาข้อมูลไม่ได้ครับ)


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 20 ก.พ. 06, 12:45
 หลายท่านคงจะทราบมาล่วงหน้านี้ว่า..... “พริก” เครื่องเทศที่ให้ความเผ็ดร้อนแรงในอาหารปัจจุบันของเรา มิใช่พืชพันธุ์ไม้พื้นเมืองของประเทศไทยหรือแม้แต่ภายในภูมิภาคเอเชีย.....แต่เจ้าตัวเล็กและร้อนแรงนี้...ข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากแหล่งกำเนิดในแถบอเมริกากลางเลยทีเดียวครับ



ก่อนที่จะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเจ้าตัวเล็ก...แต่ร้อนแรงนี้.....ผมคงต้องเอ่ยถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของพริกก่อนครับ.......เพราะอาจารย์หลายท่านในสาขาชีววิทยาสั่งสอนมาว่า เวลาจะเขียนบทความอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งมีชีวิต เราต้องอ้างถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งนั้นๆด้วย (ซึ่งก็คือชื่อวิทยาศาสตร์)...... ดังนั้นเพื่อทำให้คำสอนของอาจารย์บรรลุผล ผมจึงต้องอ้างชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกมาให้ท่านผู้อ่านรับทราบครับ




พริกที่มีอยู่ในบ้านเรา จัดเป็นพืชในวงศ์ Solanaceae ซึ่งรวมเอา มันฝรั่ง มะเขือ มะเขือเทศ cape gooseberry และอื่นๆอีกมากมายหลายชนิดเข้าไว้ด้วยในวงศ์นี้เช่นกัน..... จริงๆแล้วพริกมีทั้งสิ้น 25 สายพันธุ์ (species) แต่ที่นิยมปลูกกันอยู่ในเมืองไทยก็จะมีอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ

พริกขี้หนู     มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum Frutescens Linn.
พริกชี้ฟ้า     มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum Annnuum Linn. Var. Acuminatum Fingerh.,
พริกหยวก    มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum Annnuum Linn.
พริกยักษ์     มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum Annnuum Var. Grossum Bail.

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า “พริก” จัดเป็นพืชท้องถิ่นของทวีปอเมริกา โดยมีต้นกำเนิดอยู่บริเวณดินแดนอเมริกากลางหรือไม่ก็เป็นแถบตอนบนของอเมริกาใต้ สำหรับชนกลุ่มแรกสุดที่ปลูกพริกคือคนท้องถิ่นในทวีปอเมริกากลาง ที่อพยพมาจากตอนเหนือของทวีปยุโรปเมื่อประมาณ 8,000 ถึง 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า มนุษย์เริ่มเพาะปลูกพริกเป็นครั้งแรก (Farming) ในระหว่าง 5,000 ถึง 3,400 ปีก่อนคริสต์ศักราช นั่นจึงเป็นสาเหตุให้พริกจัดเป็นหนึ่งในพืชบริโภคเก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์ทำการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว

พอเอ่ยถึงเวลาขึ้นมา.....เมื่อหลายพันปีก่อนคริสต์ศักราชในทวีปอเมริกากลาง.....ลองคิดดูซิครับว่าชนพื้นเมืองที่ครอบครองพื้นที่ดินแดนแถบนั้นคือใคร?..................ติ๊กต่อกๆๆๆๆๆๆๆๆๆ (มีหลายเผ่าครับ....ลองเลือกมาซักเผ่าหนึ่งนะครับ)

หมดเวลาครับ...เฉลยคือ คนเผ่ามายาครับ..... อ้าว  แล้วพริกมันไปเกี่ยวอะไรกับชนเผ่ามายา? หลายท่านคงมีคำถามในใจใช่มั้ยครับ ......คำตอบคือเกี่ยวครับ เพราะ Sophie Coe ผู้เป็นนักประวัติศาสตร์อาหารค้นพบว่า ชนเผ่ามายาเป็นชนเผ่าแรกที่ทำซอสพริกขึ้นมาครับ แต่เป็นแบบง่ายๆครับคือ ใช้พริกป่นผสมน้ำแค่นั้นเองครับ โดยใช้สำหรับเป็นเครื่องจิ้มอาหารที่เรียกว่า Tortilla ซึ่งเป็นแผ่นแป้งธัญพืชทรงกลมคล้ายโรตีที่ย่างไฟหรือวางไว้บนพื้นผิวที่มีความร้อนสูงครับ

คราวนี้ก็เข้าเรื่องตามรอยอารยะธรรมแล้วครับ..... เพราะผมจะเล่าถึงอาณาจักรมายาให้ฟังคร่าวๆ ก่อนที่จะเดินตามรอยเท้าของเจ้าตัวเล็กแต่ร้อนแรง......ก้าวไปสู่อาณาจักรอื่นๆ ครับ จนกระทั่งมาจบที่ประเทศไทยครับ.....

แต่วันนี้หมดเวลาแล้วครับ...พรุ่งนี้จะมาต่อครับ  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ก.พ. 06, 13:31
 ยกกาแฟเย็นเข้ามาให้คุณ Andreas
แก้รสเผ็ดระหว่างเล่าค่ะ

กระทู้แบบนี้ต้องตั้งไว้ในห้องโถงเรือนไทย ไว้รับแขก
ใครไปใครมาก็เห็น
จะเอาไปไว้ใต้ถุนได้ยังไงคะ  เสียดายแย่  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 20 ก.พ. 06, 21:10
 ขอโทษนะครับ ขอทักนิดนึง ที่ว่า
"ชนกลุ่มแรกสุดที่ปลูกพริกคือคนท้องถิ่นในทวีปอเมริกากลาง ที่อพยพมาจากตอนเหนือของทวีปยุโรปเมื่อประมาณ 8,000 ถึง 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช"

ตามที่ผมอ่านๆมา คนในทวีปอเมริกาอพยพมาจากตอนเหนือของทวีปเอเซียผ่านทางทะเลแบร์ริ่ง (ที่ตอนนั้นยังเป็นแผ่นดินอยู่)นี่ครับ ไม่ใช่จากยุโรป หรือว่าคุณ Andreas นับยุโรปกับเอเซียเป็นแผ่นดินเดียวกัน (แต่เขาก็จะเรียกว่ายูเรเซียนี่ครับ)


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 20 ก.พ. 06, 22:43
 ผมเคยถามเรื่องพริกเอาไว้ในกระทู้นี้ครับ http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=20&Pid=41412
ได้ พี่Hotacunus กับพี่ศศิศมาตอบให้ แต่ก็ยังไม่ได้หายข้องใจซะทีเดียว
(จำได้ว่าถามหลังไมค์กับพี่ท่านนึงไปว่า "อยากรู้จังว่าพวกต้ง-จ้วงจะเรียกพริกว่าอะไร")

เลยขออนุญาตเข้ามาอ่านเรื่องพริกๆของคุณAndres ต่อนะครับ อิอิ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 21 ก.พ. 06, 05:10
 ขอบคุณกาแฟเย็นจากผู้ดูแลเรือนไทย...คุณเทาชมพูครับ
และขอบคุณคุณHotChocและคุณติบอ ที่เข้ามาทักทายกันครับ

*************

ก่อนจะเล่าถึงอาณาจักรมายา...ผมต้องตอบคำถามที่คุณ HotChoc ทักท้วงมาก่อนครับ

คุณ HotChoc ถาม: ตามที่ผมอ่านๆมา คนในทวีปอเมริกาอพยพมาจากตอนเหนือของทวีปเอเซียผ่านทางทะเลแบร์ริ่ง (ที่ตอนนั้นยังเป็นแผ่นดินอยู่)นี่ครับ ไม่ใช่จากยุโรป หรือว่าคุณ Andreas นับยุโรปกับเอเซียเป็นแผ่นดินเดียวกัน (แต่เขาก็จะเรียกว่ายูเรเซียนี่ครับ)  

นาย Andreas ตอบ: ขึ้นอยู่กับว่าคุณ HotChoc จะกำหนดให้ Siberia อยู่ในทวีปอะไรครับ คือตอนนี้ผมไม่มีแผนที่โลกอยู่ในมือด้วยครับ เลยอาจฟันธงเลยไม่ได้ แต่เท่าที่ค้นหามา เค้าบอกว่า Siberia อยู่ใน Eastern Europe ติดกับ Northern Asia ผมเองก็ไม่ใช่นักภูมิศาสตร์เลยออกจะไม่มั่นใจว่า เค้าจัด Russia-Siberia ไว้ให้อยู่ในทวีปอะไรกันแน่ครับ

ทำไมผมถึงต้องยก Siberia ขึ้นมาอ้าง เพราะว่าตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันส่วนใหญ่ระบุว่า ชนท้องถิ่นในทวีปเอมริกาคือลูกหลานของนักล่าใน Siberia ที่อพยพย้ายถิ่นเข้าอเมริกาเหนือ เมื่อตอน 15,000 ปีก่อน หลังจากนั้นจึงเคลื่อนย้ายกระจายตัวลงมาเรื่อยๆ ก่อกำเนิดเป็นชนพื้นเมืองหลายร้อยเผ่าครับ

เรื่องการอพยพย้ายถิ่นของนักล่าจากไซบีเรียมาสู่ทวีปอเมริกานั้น นักประวัติศาสตร์โบราณคดีนำเสนอทฤษฎี 2 ทฤษฎี เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว

(1) The Bering Strait Land Bridge Theory
   ตามหลักฐานทางโบราณคดีและพันธุวิทยาที่เก็บรวบรวมได้ ทำให้นักวิจัยมีความเห็นตรงกันว่าคนท้องถิ่นส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาสืบสายเผ่าพันธุ์มาจากกลุ่มคนที่อพยพมาจาก Siberia ผ่านทาง Bering Strait ในระหว่างปี 17,000 – 11,000 ปีก่อน แต่เมื่อเร็วๆนี้นักโบราณคดีได้เสนอว่า กลุ่มผู้อพยพน่าจะข้าม Bering Land Bridge (ที่เกิดในยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย) เมื่อประมาณ 12,000 ปีก่อน โดยใช้เส้นทางภายในดินแดนเดินผ่านไปยัง Alaska และ Canada  

   อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้เองก็ยังประสบปัญหาในการอธิบายการก่อกำเนิดตัวของกลุ่มชนใน Brazil และ Chile เมื่อ 11,500 ปีก่อนหรืออาจเกิดล่วงหน้านั้นด้วย ดังนั้นจึงมีการเสนอปรากฏการณ์ที่อาจเป็นไปได้เพิ่มเติมขึ้นมาดังนี้ว่า
              - ผู้อพยพอาจจะอพยพมาล่วงหน้านี้ประมาณหลายพันปีก่อน แต่ใช้เส้นทางตามแนวชายฝั่งเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่ปกคลุมโดยน้ำแข็งที่อยู่ตอนกลาง แล้วมาปักหลักที่บราซิลและชิลี
               - การเดินข้าม  Bering Land Bridge  อาจจะเกิดขึ้นในช่วงยุคน้ำแข็งตอนต้น คือเมื่อประมาณ 37,000 ปีก่อน ซึ่งก็ไปสนับสนุนหลักฐานทางโบราณคดีที่ว่ามีพื้นที่หลายแห่งในอเมริกาใต้ถูกครอบครองโดยมนุษย์เมื่อประมาณ 12-14,000 ปีก่อนครับ

(2) The Pre-Siberian Aborigines Theory
                  ทฤษฎีนี้บอกว่ามีผู้คนอพยพมาจาก Oceania เข้ามาอยู่ในอเมริกาก่อนหน้าพวกนักล่าจาก Siberia เสียอีก เพียงแต่อาจใช้วิธีการล่องเรือข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมา หรือไม่ก็ใช้ Bering land bridge เช่นเดียวกันกับพวก Siberia เพียงแต่เข้ามาก่อนหน้านี้มาก หลังจากนั้นคนกลุ่มนี้จึงถูกแทนที่ด้วยกลุ่มอพยพจาก Siberia อีกทีหนึ่งครับ

แต่สุดท้าย.... ดูเหมือนว่านักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี และนักประชากรศาสตร์ รวมถึงนักพันธุศาสตร์ชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า คนท้องถื่นในอเมริกาสืบเชื้อสายมาจากนักล่าจาก Siberia ครับ

(ref: http://en.wikipedia.org/wiki/Indigenous_peoples_of_the_Americas)  

วกกลับมาที่ประเด็นคุณ Hotchoc บอกครับ จริงๆแล้วคำว่า Eurasia น่าจะเป็นคำตอบที่ถูกที่สุดในทางภูมิศาสตร์ที่จะบ่งชี้พื้นที่ของ Siberia เพียงแต่ในเวปไซต์ที่เกี่ยวกับพริกที่ผมเอามาแปลนั้น (จริงๆมีหลายอัน) เค้าไม่ได้ลงลึกไปถึงระดับนั้นครับ นอกจากนั้นเองถ้าพิจารณาตามการจัดประเทศเข้าสู่ทวีปต่างๆแล้ว หลายแห่งบอกว่า จัดให้ Russia อยู่ในทวีปยุโรป ดังนั้นเพื่อเป็นการง่ายๆ คนเขียนเค้าจึงบอกว่า ผู้คนท้องถิ่นจากอเมริกาสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มคนที่อพยพมาจากตอนเหนือของยุโรปเท่านั้นเองครับ

ผมต้องขอโทษด้วยที่มิได้ตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดครับ เพราะมุ่งประเด็นไปที่เส้นทางการกระจายตัวของพริกมากกว่าครับ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 21 ก.พ. 06, 07:07
 อย่างนั้นผมกับคุณAndreas ก็เข้าใจตรงกันแหละครับ เพียงแต่กำหนดให้ไซบีเรียอยู่คนละทวีปกันเท่านั้นเอง เชิญคุณAndreas เล่าต่อได้เลยครับ    


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 21 ก.พ. 06, 11:08
 มาต่อกันเรื่องอาณาจักรมายากันเลยครับ

“มายา” หรืออาณาจักรอันเคยรุ่งโรจน์จนถึงขีดสุดก่อนจะล่มสลายไปในทวีปอเมริกากลางนั้นมีประวัติอันน่าสนใจเลยทีเดียวครับ และถือว่าความรุ่งโรจน์ที่เกิดขึ้นนั้นยิ่งใหญ่กว่าวัฒนธรรมใดๆที่มีรากฐานอยู่ในโลกตะวันตกหรือที่เรียกว่า “Western Hemisphere” ครับ

เมื่อพิจารณาความรุ่งเรืองของอาณาจักรมายาที่ครอบคลุมระยะเวลากว่า 3,000 ปีนั้น เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ยุคสมัย คือ

(1) ยุค Pre-Classic ซึ่งอยู่ในช่วง 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนถึงคริสต์ศักราชที่ 250

(2) ยุค Classic ซึ่งอยู่ในช่วงคริสต์ศักราชที่ 250 จนถึงคริสต์ศักราชที่ 900 ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่อาณาจักรนี้เจริญรุ่งเรืองสูงสุด

(3) ยุค Post-Classic ซึ่งอยู่ในช่วงคริสต์ศักราชที่ 900 จนถึง คริสต์ศักราชที่ 1,500

(Picture from: www.waycross.edu/ faculty/hendrix/hon.htm)  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 21 ก.พ. 06, 11:14
 อาณาจักรมายานั้นค่อนข้างกว้าง และกระจัดกระจายตัวอยู่บริเวณพื้นที่ฝั่งตะวันออกของอเมริกากลาง (หรือ Mesoamerica) โดยครอบครองพื้นที่หลักอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า Yucatan Peninsula และชาวมายาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ถูกเรียกว่า “Maya Proper”

Yucatan Peninsula หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Mayan Lowlands มีสภาพเป็นแหลมยื่นออกไปในมหาสมุทรแอตแลนติก และแยกอ่าวเม็กซิโกและทะเลแคริเบียนออกจากกัน

ในปัจจุบัน Yucatan Peninsula คือบริเวณรัฐYucatan, Campeche และ Quintana Roo ของประเทศเม็กซิโก รวมถึงบริเวณตอนเหนือของประเทศ Belize และ ตอนเหนือของประเทศ Guatemala

(Picture from: www.visibleearth.nasa.gov/ view_rec.php?id=4847)  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 21 ก.พ. 06, 11:57
 นอกจากบริเวณ Yucatan Peninsula แล้วยังพบว่าชาวมายายังตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณต่างๆภายในทวีปอเมริกากลางอีกหลายแห่ง โดยแบ่งตามชื่อกลุ่มดังนี้

กลุ่มที่เรียกว่า Huastec ซึ่งครอบครองดินแดนตอนเหนือของ Veracruz ซึ่งติดกับแม่น้ำ Papaloapan River ทอดยาวไปกับอ่าวเม็กซิโก และถือว่าเป็นบริเวณ Mayan Lowlands

กลุ่มที่เรียกว่า Tzental ซึ่งครอบครองดินแดน Tabasco, Uuiche และ Chiapas

กลุ่มที่เรียกว่า Cakchiquel และ Pokomam ซึ่งครอบครองดินแดนที่ราบสูงของประเทศกัวเตมาลา

แม้ว่ารูปแบบการก่อร่างสร้างตัวของชาวมายาจะมีแบบแผนเดียวกัน แต่ก็ไม่สามารถรวมกันเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ เพราะประกอบด้วยหลายกลุ่ม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นชาวมายาทุกกลุ่มต่างดำรงและสืบทอดวัฒนธรรม ศิลปะ และความเชื่อเดียวกัน ต่างเพียงแค่แต่ละเมืองมีรูปแบบการปกครองขึ้นกับตนเองเท่านั้น

ระบบเศรษฐกิจของชาวมายาขึ้นอยู่กับการกสิกรรมเป็นหลัก โดยเน้นที่การปลูกข้าวโพด ฝ้าย ถั่ว และโก้โก้ รวมถึงยังมีการเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็กเช่น สุนัข และ Turkey นอกจากความสามารถในการทำการเกษตร ชาวมายายังคิดค้นวิธีปั่นฝ้าย ย้อมสี และทอผ้าฝ้ายไว้ใช้นุ่งห่มอีกด้วย

*************

พรุ่งนี้มาต่อเรื่องภาษาและศิลปะของชาวมายาครับ...ก่อนจะเดินตามรอยเท้า....เจ้าตัวเล็กแต่ร้อนแรง...ไปเยี่ยมเยือนอาณาจักรอื่นๆครับ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 21 ก.พ. 06, 12:21
 มาฟังเรื่องพริกครับ

ประเทศรัสเซียมีดินแดนกว้างขวางครอบคลุมสองทวีป คือทั้งยุโรปและเอเชีย ฐานอำนาจทางการเมืองคือทั้งเมืองหลวงเก่าเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเมืองหวงปัจจุบันมอสโก อยู่ในยุโรปทั้งคู่ แล้วสมัยหนึงรัสเซียก็อยากเป็นฝรั่ง จึงถือว่าตัวเองเป็นชาติยุโรป

แต่ที่จริงแล้ว ดินแดนของประเทศรัสเซียที่อยู่ในเอเชีย มีพื้นที่กว้างกว่าดินแดนที่อยู่ในยุโรปครับ โดยเฉพาะไซบีเรียเนี่ย ใจผมนึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียแล้วนะ ค่อนๆ มาทางเรานี่แล้ว ที่จริงที่ถูกต้องที่สุด ต้องเรียกพื้นที่ตรงนั้นว่า ยูเรเชีย อย่างคุณ HotChoc ว่านั่นแหละครับ คือดินแดนติดต่อระหว่างยุโรปกับเอเชีย

อย่างว่า มันเป็นเรื่องของสมมติ มนุษย์ขีดเส้นกันขึ้นในวิชาภูมิศาสตร์ของมนุษย์ ตัวพื้นแผ่นดินหรือทวีปหรือโลกเขาไม่ได้รู้อะไรด้วย เขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้น เรื่องของใจมนษย์นี่ผมเล่าได้อีกหน่อยว่า ดูเหมือนรัฐบาลรัสเซียปัจจุบันนี้จะถือตัวว่าตัวเองเป็นชาติเอเชียซะแล้วครับ เร็วๆ นี้เขาเริ่มพยายามจะบอกว่าเขาก็เป็นเอเชียเหมือนกัน

ไม่ค่อยเกี่ยวกับพริกเท่าไหร่เลยครับ เชิญเล่าต่อ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 21 ก.พ. 06, 12:24
 ชื่อคุณ ช็อกโกแลตร้อน ทำให้นึกได้ว่าช็อกโกแลตนี่เกี่ยวๆ กับอินเดียนแดงเผ่าไหนซักเผ่าในอเมริกาใต้เหมือนกัน ขอยุว่า คุณเจ้าของกระทู้เล่าเรื่องเผ็ดๆ จบแล้วลองค้นเรืองหวานๆ ของช็อกโกแลตมาเล่าต่อด้วยสิครับ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 21 ก.พ. 06, 12:26
 Tabasco?
ที่เป็นชื่อยี่ห้อซอสพริกน่ะเหรอ?


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 21 ก.พ. 06, 14:15
 เรื่องรัสเซียก็น่าสนใจครับ เป็นประเทศที่อยู่ระหว่างเอเซียกับยุโรป ก้ำๆกึ่งๆ วัฒนธรรมบางส่วนก็รับจากไบแซนทีนมา ซึ่งก็เป็นยุโรปแบบเก่าอยู่แล้ว (แบบโรมันโบราณเลย) บางส่วนก็มาจากทางยุโรปเหนือ ตอนถูกมองโกลยึดก็รับวัฒนธรรมเอเซียเข้าไปเต็มๆโดยเฉพาะด้านการปกครอง พอขับไล่พวกข่านออกไปได้แล้วก็ต้องพัฒนาประเทศให้ทันตามยุโรปหลังยุคเรเนส์ซองอีก ตามหลังยุโรปมาตลอดจนถึงศตวรรษที่ผ่านมานี้เองครับ

แฮ่ม...ต่อเรื่องพริกดีกว่าครับ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Nuchana ที่ 21 ก.พ. 06, 23:26
 แวะมาฟังด้วยคน แต่กินเผ็ดไม่เป็นหรอกค่ะ เห็นใครกินปิซซาแล้วใส่พริกป่นโรยหน้า มันไม่เข้ากันเลย


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 22 ก.พ. 06, 11:56
 เรียนผู้อ่านทุกท่านครับ

จริงๆแล้วผมก็พยายามจะโพสต์ทุกวันครับ...แต่วันนี้ผมกลับจากที่ทำงานช้ามากครับ เลยแปลเอกสารที่ปรินท์ออกมาแล้วไม่ทันครับ ..... แต่ก็พยายามอ่านและกลั่นกรองอยู่ครับ รับรองพรุ่งนี้ได้อ่านต่อแน่ครับ

การเขียนบทความครั้งนี้ค่อนข้างยากมากครับ เพราะต้องค้นคว้าและอ่านเอกสารจากหลายเวปมากครับ นอกจากนั้นผมพิมพ์ภาษาไทยได้เฉพาะเวลากลับมาที่บ้านเท่านั้นครับ เลยทำให้พิมพ์ช้ามาก (ทั้งๆที่แอบอ่านข้อมูลต่างๆที่ที่ทำงาน ตอนเวลาว่างครับ)

ต้องขอโทษด้วยนะครับ แต่ผมรับรองว่าไม่ทิ้งเรื่องนี้กลางคันแน่นอนครับ เพียงแต่อาจก้าวไปช้าๆหน่อย..... (ผมพยายามเดินตามรอยคุณเทาชมพู คือโพสต์ทุกวัน....แต่ช่วงนี้ยอมแพ้ครับ เพราะกลับบ้าน สองสามทุ่มทุกวันครับ)


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 22 ก.พ. 06, 12:33
ไม่เป็นไรค่ะ   ตามสบาย
คนที่เข้ามาอ่าน หลายท่านก็ไม่ได้เข้ามาทุกวัน  หลายๆวันเข้ามาที
ก็จะได้ติดตามอ่านสบายๆ ไม่รีบร้อน


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 22 ก.พ. 06, 12:52
 ไหนๆก็ไหนแล้ว...ไม่อยากเสียความตั้งใจเดิมที่จะโพสต์วันละครั้ง....เลยต้องปั่นเอามาให้อ่านกันจนได้ครับ

**********

ผมเรียนไปตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า “มายา” ไม่สามารถรวมเป็นอาณาจักรใหญ่เดียวกันได้ ซึ่งจริงๆแล้วต้องเรียกภาพรวมของมายาว่า “จักรวรรดิมายา” มากกว่าครับ เพราะเอกสารทางโบราณคดีที่กล่าวถึงรูปแบบการปกครองของมายากล่าวว่า “จักรวรรดิมายา” ประกอบด้วยอาณาจักรใหญ่น้อยกระจัดกระจายอยู่บนที่ราบ Yucatan Peninsula และบริเวณอื่นๆ ทั้งที่ราบลุ่มและที่ราบสูงในอเมริกากลาง

ภายในอาณาจักรต่างๆยังประกอบด้วยเมืองหลวงและเมืองเล็กๆในเขตการปกครองที่มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะพบว่าหนึ่งอาณาจักรจะมีเพียงหนึ่งเมืองเท่านั้นซึ่งก็คือเมืองหลวงครับ ทั้งนี้ในแต่ละอาณาจักรก็มีชื่อเป็นของตนเอง โดยจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละอาณาจักรขึ้นอยู่กับราชวงศ์ที่ปกครองอยู่ครับ

วิธีสังเกตเมืองหลวงของอาณาจักรมายา ก็คือ บริเวณที่เป็นส่วนของพระราชวัง บ้านของชนชั้นปกครอง วิหาร และลานสำหรับทำพิธีกรรมตามความเชื่อนั่นเองครับ ถัดไปรอบๆ นั้นก็คือที่พักของชาวบ้านทั่วๆไป

แต่ละอาณาจักรของชาวมายาจะมีพระราชาปกครองอยู่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย (น้อยมากที่บางครั้งจะมีพระราชินีปกครองครับ) การเป็นพระราชาปกครองเมืองจะใช้วิธีสืบทอดทางสายเลือดภายในวงศ์ตระกูล โดยที่พระราชาจะมอบบัลลังก์ให้กับลูกชายคนโตครับ เมื่อตอนที่ทายาทผู้สืบบัลลังก์เกิดขึ้นมา พระราชาจะต้องทำการบูชายันโดยการกรีดเลือดตนถวายแด่บรรพบุรุษ และหลังจากพระราชาสละบัลลังก์ให้กับทายาทแล้ว ผู้ที่จะเป็นพระราชาองค์ต่อไปต้องทำการบูชายันอีกครั้ง โดยการนำเชลยศึกมาเป็นเครื่องเซ่นต่อวิญญาณบรรพบุรุษ พิธีกรรมครั้งนี้สำคัญมากเพราะเป็นการประกาศความยิ่งใหญ่และเป็นการแสดงอำนาจของพระราชาต่อประชาชนชาวมายาทั่วไปด้วย หลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้วจึงสามารถเป็นพระราชาได้อย่างสมบูรณ์

(picture from: www.renatodorfman.com/ classic_mayan_art.htm)  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 23 ก.พ. 06, 13:15
 อย่าเพิ่งบ่นว่า..พริก..หายไปไหนนะครับ.....เจ้าตัวเล็กนี่ กำลังจะมาแล้วครับ รอให้ผมเล่าเรื่องมายาให้จบก่อน...เจ้าพริกตัวเล็กก็จะพาท่านเดินทางไปต่อครับ.....

**********
เมื่อวานผมเล่าเรื่องรูปแบบการปกครองของจักรวรรดิมายาให้ฟังแล้วใช่มั้ยครับ วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องภาษาให้ฟังครับ

ตามความเข้าใจส่วนตัวของผมแล้ว (ไม่แน่ว่าจะถูกหรือเปล่าครับ) ผมเข้าใจว่า ภาษาเขียนคือดัชนีหนึ่งที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองของจักรวรรดิหรืออาณาจักรใดๆในโลกยุคเก่า นอกเหนือจากสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความสามารถในการก่อสร้าง รวมถึงความรู้ด้านคณิตศาสตร์และโหราศาสตร์  

มายาจัดเป็นจักรวรรดิที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในที่ราบอเมริกากลางในยุคเก่า ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะมีรูปแบบภาษาเขียนที่เป็นของตนเองครับ

ภาษาเขียนของชาวมายาเป็นอักษรภาพ หรือที่เรียกว่า Hieroglyphics แบบเดียวกับภาษาของอียิปต์โบราณครับ (จัดอยู่ในกลุ่มการเขียนแบบ Logographic) ซึ่งจะถ่ายทอดกันอยู่ในคนสองกลุ่มเท่านั้นคือ นักปกครองและนักบวชครับ โดยนักบวชจะเป็นทั้งผู้สอนหนังสือแก่นักปกครองรวมถึงทำหน้าที่จดบันทึกเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น รวมถึงข้อมูลต่างๆครับ

การจดบันทึกจะใช้วิธีแกะสลักบ้างรวมถึงการเขียนด้วยหมึกสีดำและเน้นด้วยสีแดงแบบทำไฮไลท์ลงบนหินหรือเปลือกไม้ นอกจากจดบันทึกตามวัสดุทั่วไปแล้วชาวมายยังผลิตคัมภีร์เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นลงไปอีกด้วย ซึ่งลักษณะของคัมภีร์จะเป็นเปลือกไม้ พับและผูกติดกันเป็นเล่ม  เรียกว่า Codex แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เพราะอากาศที่ร้อนและชื้น คัมภีร์ต่างๆจึงสูญสลายไปเกือบทั้งหมด โดยหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่เล่มเท่านั้น

ในปัจจุบันคัมภีร์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางเพราะสามารถรอดจากการถูกทำลายโดยทั้งธรรมชาติและช่วงที่ถูกยึดครองโดยเสปน คือ  The Dresden Codex, The Madud Codex, The Paris Codex, The Grolier Codex

รูปที่ผมเอามาให้ดูนี่คือ คัมภีร์ที่เรียกว่า Paris Codex ครับ

(Picture from: www.crystalinks.com/ mayanwriting.html)  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 26 ก.พ. 06, 13:13
 ศิลปะของชาวมายาจะสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง โดยผ่านทางภาพเขียนบนแผ่นกระดาษ การแกะสลักลงบนไม้และแผ่นหิน ตลอดจนการปั้นดินเหนียว ถึงจะมีทั้งแบบที่เรียบง่ายและแบบที่มีความประณีตบรรจงงดงาม  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 26 ก.พ. 06, 13:20
 ชาวมายามีการติดต่อซื้อขายกันระหว่างอาณาจักรเล็กๆ โดยอาณาจักรที่อยู่บนที่สูง High Land Maya จะต้องซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากอาณาจักรที่อยู่ในที่ราบต่ำ Low Land Maya เพราะบนที่ราบสูงไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการทำการเกษตรครับ โดยสิ่งของที่ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าคือ พลอยและหยกที่มีอยู่ทั่วไปบนภูเขานั่นเอง ซึ่งชาวมายาในที่สูงมีไว้ในครอบครอง  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 26 ก.พ. 06, 13:31
 นอกเหนือจากศิลปะชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่นภาพเขียน สิ่งแกะสลักต่างๆ รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ แล้ว  สถาปัตยกรรมของชาวมายาก็ถือเป็นศิลปกรรมชั้นยอดที่สร้างขึ้นในช่วงยุครุ่งเรืองของจักรวรรดิ โดยแสดงออกมาในรูปของการก่อสร้างปิรามิด วิหาร พระราชวัง ตลอดจนรูปแบบการวางผังเมืองที่เป็นเอกลักษณ์สอดคล้องไปกับธรรมชาติรอบๆตัว ซึ่งมีความงดงามและน่าเกรงขามมากครับ  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 26 ก.พ. 06, 13:58
 ถ้าถามผมว่ามายายิ่งใหญ่ขนาดไหน....ผมว่าคงต้องตอบว่าประมาณอาณาจักรขอมโบราณมั้งครับ...หรือท่านผู้อ่านเห็นว่าอย่างไรครับ

สิ่งที่เหมือนกันของอาณาจักรโบราณทุกๆแห่งคือ เมื่อมีการเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดแล้วก็จะเริ่มเสื่อมลงและล่มสลายไปในที่สุด ............มายาก็เช่นกันครับ

นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าจักรวรรดิมายาเริ่มล่มสลายในช่วงยุคที่สามครับ คือยุค Post-Classic ซึ่งอยู่ในช่วงคริสต์ศักราชที่ 900 จนถึง คริสต์ศักราชที่ 1,500 เหตุผลของการเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมายามีหลายสาเหตุครับ ทั้งเรื่องการทำสงครามระหว่างอาณาจักร การแก่งแย่งทรัพยากรธรรมชาติ ความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำจึงทำให้ทำเกษตรกรรมไม่ได้ รวมถึงการสิ้นสุดของราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรต่างๆ

นอกจากนั้นนักโบราณคดีบางกลุ่มยังให้เหตุผลเรื่องการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรมายา เพราะเหตุการณ์แผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิดอีกด้วยครับ

การเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมายาดำเนินไปอย่างช้าๆ และบางครั้งก็มีการกอบกู้ความรุ่งเรื่องขึ้นมา แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ.... อาณาจักรเล็กๆ เริ่มลดหายไป เหลือแต่อาณาจักรใหญ่ๆ เพียงไม่กี่อาณาจักร จนกระทั่งถูกรุกรานจากชาวเสปนในยุคล่าอาณานิคมครับ

อาณาจักรสุดท้ายที่ต่อสู้กับกองกำลังของเสปนก่อนจะพ่ายแพ้ไปในที่สุดคือ อาณาจักร Itza ซึ่งถูกครอบครองอย่างสมบูรณ์โดยเสปนเมื่อปี ค.ศ. 1697  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 26 ก.พ. 06, 14:13
 เป็นที่น่าแปลกว่า.....ชาวมายาปลูกพริกและบริโภคพริกอยู่เป็นประจำเป็นพันๆปี แต่มิได้ประยุกต์เอาพริกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมครับ..... เป็นชาว Atzec ต่างหากที่ประยุกต์เอาพริกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมของตน เช่นการใช้พริกเพื่อบูชาพระเจ้ากระหายเลือด (อีกอย่างหนึ่งคือ sex ครับ ที่ใช้สำหรับบูชาพระเจ้าองค์นี้)  เป็นต้นครับ

คราวหน้าเจ้าตัวเล็กแต่ร้อนแรง...จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักชาว Aztec ครับ....แต่คงเป็นแบบคร่าวๆ แล้วแต่ความพอใจของผู้เขียนครับ ......ha ha ha ha ha


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มี.ค. 06, 19:49
 คุณ Andreas หายไปไหนเอ่ย  
มาใส่ค.ห.ไม่ให้กระทู้ตกไปเร็วนักค่ะ  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: ต้นกล้าเป็นspy ที่ 08 มี.ค. 06, 22:40
 ว้าว การเดินทางของพริก


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 09 มี.ค. 06, 10:13
 ขอบพระคุณคุณเทาชมพูครับ ที่กรุณาช่วยดันกระทู้ไม่ให้ตกลงไปครับ...

ต้องขอโทษด้วยครับที่หายหน้าไปหลายวันครับ...เนื่องจากงานประจำที่ทำอยู่รัดตัวมากครับ..ต้องเดินทางไปประชุมนอกสถานที่บ่อยๆในหลายวันที่ผ่านมา..รวมถึงมีของแถมคือต้องดูแลนักศึกษาปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยที่นี่สองคน ให้พวกเขาเขียน proposal ขอทุนได้สำเร็จครับ....

ด้วยเหตุผลดังกล่าวเลยต้องพักการค้นคว้าข้อมูลเรื่อง Aztec ไว้ก่อนครับ...แต่ช่วงนี้พอดีลืมตาอ้าปากได้บ้างเลยเข้ามาตอบคุณเทาชมพูได้ครับ... ผมคาดว่าเสาร์อาทิตย์นี้น่าจะได้อ่านเรื่องราวต่อไปที่เจ้าพริกตัวเล็กไปผูกพันครับ....

แอบรู้สึกผิดและเกร็งเล็กน้อยน่ะครับ เพราะเห็นกระทู้ตัวเองกลายเป็นกระทู้แนะนำไปเสียแล้ว....ที่รู้สึกผิดก็เพราะไม่ได้อัพเดทข้อมูลเสียหลายวัน...กลัวท่านผู้อ่านจะผิดหวังเอาครับ...แล้วก็ไม่กล้าแปลแบบลวกๆหรือแบบขอไปทีเพื่อจะได้เอามาโพสต์ให้ท่านผู้อ่าน อ่านกันทุกวัน....สำหรับผมแล้ว ถ้าทำไม่ดี สู้ไม่ทำเลยดีกว่าครับ..รอให้พร้อมแล้วค่อยทำ..นั่นคือเหตุผลที่หยุดพักไปเสียหลายวันครับ

ส่วนเหตุผลที่เกร็ง...ก็เพราะตอนแรกอยากเขียนสนุกๆเท่านั้นเองครับ....ตั้งใจจะตอบแทนคุณเทาชมพูที่อุตสาห์เสียสละเวลานำความรู้ต่างๆมาฝากพวกเราตั้งเยอะ...ผมไม่มีดอกไม้มามอบให้..ไม่มีโอกาสไปร่วมงานเลี้ยงของเรือนไทย...ไม่มีโอกาสตอบแทนคุณเทาชมพูด้วยสิ่งของ...ดังนั้นวิธีเดียวที่ผมทำได้คือ เดินตามรอยเท้าของคุณเทาชมพู...ครูผู้ให้...โดยกลายเป็นฝ่ายที่ให้ความรู้แทนคุณครูบ้างเป็นครั้งคราวครับ

พอหลังจากกระทู้กลายเป็นกระทู้แนะนำก็เกร็งเพราะว่า.... กลัวงานของตนเองจะไม่ดีพอที่กลายเป็นกระทู้แนะนำ...กลัวขายหน้าเรือนไทยเสียเปล่าๆ.... เก็บไว้หลังบ้าน..หรือไต้ถุนเรือน แค่นี้ผมก็ภูมิใจที่สุดแล้วครับ

ผมมิใช่นักภาษาศาสตร์..นักโบราณคดี หรือศิลปินนักเขียน...ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์...สมองซีกที่ผมใช้เป็นประจำมันคนละส่วนกับทางศิลปะและภาษา....ผมก็เลยออกจะกลัวว่า สิ่งที่ผมกำลังทำอยู่...เช่นการเรียบเรียงเรื่องราวเรื่องเจ้าพริกตัวน้อยนี้..มันจะไม่ดีพอก็เท่านั้นเองครับ

อย่างไรก็ตามครับ...ผมจะพยายามทำให้ดีที่สุด..แต่อาจจะเดินไปช้าๆหน่อยครับ เพราะต้องค้นคว้ามากหน่อยครับ.... ถ้าคุณเทาชมพูลำบากใจหรือท่านผู้อ่านเห็นว่าไม่สมควรเป็นกระทู้แนะนำ..ก็เชิญปลดลงไปเก็บไว้ใต้ถุนเรือนตามเดิมนะครับ....

แล้วเจอกันช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ครับ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 13 มี.ค. 06, 10:18
 มาต่อแล้วครับ....หวังว่าคงไม่หาว่าผมผิดสัญญานะครับ...ตอนนี้ยังเป็นวันอาทิตย์ในเวลาของผมอยู่ครับ

ชาว Aztec จัดเป็นกลุ่มผู้อพยพกลุ่มใหญ่ที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของอเมริกา เดินทางมาเรื่อยๆ จนมาถึงบริเวณที่ราบลุ่มใน Central Mexico  เมื่อประมาณศริสต์ศักราชที่ 12-13 จึงได้หยุดการอพยพและตัดสินใจตั้งถิ่นฐาน ก่อร่างสร้างเมืองบนเกาะกลางทะเลสาบ Texcoco  (ปัจจุบันอยู่ในเมือง Mexico City) โดยมีเมืองหลวงของอาณาจักรชื่อว่า Tenochtitlan และมีช่วงอายุของความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมนับตั้งแต่ศริสต์ศักราชที่ 13 จนถึง 16 ครับ

เมื่อเอา Axtec ไปเปรียบกับ Maya ก็จะพบว่า Aztec เกิดที่หลัง Maya ถึงพันกว่าปีเลยทีเดียวครับ.. และถ้าพิจารณาอาณาเขตของอาณาจักร...ท่านผู้อ่านพอจะจำได้มั้ยครับว่า Maya รุ่งเรืองที่บริเวณใด......ถ้าจำไม่ได้ผมก็จะบอกอีกครั้งว่า Maya อยู่บริเวณ Yucatan Peninsula ครับ (แหลมที่ยื่นออกไปในอ่าวเม็กซิโกในแผนที่ที่ผมเอามาให้ดูข้างล่างครับ) ...  แต่ Aztec นี่จะตั้งอยู่ทางตอนเหนือขึ้นไปอีก (บริเวณ Mexico City)เรียกง่ายๆคือ อยู่ชายแดนไกลๆของอาณาจักรมายาครับ

Picture from: http://edition.cnn.com/2000/WORLD/americas/03/31/mexico.time.change/map.mexico.mexico.city.jpg  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 13 มี.ค. 06, 10:40

เอาภาพเมืองหลวงมาให้ดูครับ.....จัดเป็นเมืองเกาะกลางน้ำที่มีการวางผังเมืองได้สวยงามมากครับ....ดูๆไปก็คล้ายๆกับมายาเหมือนกันครับ

Picture from: http://www.mcah.columbia.edu/dbcourses/riseofciv/large/TENOCHTITLAN.jpg  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 13 มี.ค. 06, 12:30
ชาวAztec เป็นกลุ่มอารยชนที่ฉลาดมากครับ...สามารถพลิกพื้นแผ่นดินที่ไม่มีใครเหลียวแล......แผ่นดินที่ถูกเรียกว่าเป็น poor land ของชนกลุ่มอื่นๆ ให้กลายเป็นแผ่นดินทอง...กลายเป็นแผ่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถสร้างเมืองและทำเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ และการประมงได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

นอกเหนือจากความชาญฉลาดแล้ว..ชาว Aztec ดูเหมือนว่าจะโหดร้ายอยู่ซักหน่อยครับ เพราะนิยมการบูชายันต์โดยใช้มนุษย์เป็นเครื่องสังเวยต่อเทพเจ้า (Human Sacrifices) แม้ว่าชาวมายาและชาวอินคาจะกระทำบ้าง แต่ไม่ถือว่าเป็นกิจวัตรหรือแพร่หลายแบบชาว Aztec

หลักฐานทางโบราณคดีและข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้บ่งชี้กรณีการสังเวยครั้งใหญ่คือเมื่อตอนการเฉลิมฉลอง Great Pyramid of Tenochtitlan ในปี ค.ศ.1487 โดยชาว Aztect อ้างว่าพวกเขาได้สังเวยเชลยถึง 84,400 คน ในช่วงเวลาสี่วัน (ในช่วงนั้นชาว Aztec ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงมีทั้งสิ้นประมาณ 80,000 ถึง 120,000 คนเท่านั้น) เรียกได้ว่าฆ่าเชลยที่จับมาได้เกือบเท่ากับจำนวนประชากรของตนเลยทีเดียวครับ

ผมเอารูปปีรามิดใจกลางเมืองของชาว Aztec มาให้ดูครับ ลองทายกันซิครับว่าอันไหนเป็น The great pyramid

Picture From: http://www.geocities.com/stefan_azteken/tenochtitlan/tenochtitlan.htm  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 13 มี.ค. 06, 12:35
 ครั้งต่อไปผมจะมาเล่าเกร็ดความรู้เรื่องชาว Aztec ต่ออีกนิดครับ...แล้วจึงตามเจ้าพริกตัวน้อยไปต่อครับ....คงไม่นานครับ ถ้าไม่วันพรุ่งนี้ก็เป็นวันพุธครับ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: เอ๋อคุง ที่ 14 มี.ค. 06, 15:14
 ผู้ที่ค้นพบอเมริกา ไม่ใช่โคลัมบัส ไม่ใช่เวชปุชชี่

แต่เป็นบรรพบุรุษร่วมของชาว มายา อินคา แอซแต็ก

........................................................


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 14 มี.ค. 06, 16:08
 
ที่คุณเอ๋อคุงพูดมาก็ถูกครับ
แต่กรณีของโคลัมบัสและเวสปุชชี ที่ว่าค้นพบอเมริกานั้น
น่าจะหมายถึง ชาวยุโรปคนแรกในรอบหลายร้อยปีที่แวะมาที่อเมริกา(เพราะพวกไวกิ้งแวะมาก่อน?)


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 17 มี.ค. 06, 10:58
 ผมมาต่อแล้วครับ...ต้องขอโทษที่ผลุบๆโผล่ๆนะครับ ผมเองงานยุ่งมากครับ เจ้านายเพิ่งเอางานใหม่มาทับอกผมอีกแล้ว....

ผมถามคำถามไว้ตั้งแต่ครั้งก่อน..แต่ไม่มีคนมาตอบ เอาเป็นว่าผมยังไม่เฉลยดีกว่าครับ....(ฮ่าๆๆๆจริงๆแล้ว..ผมเองก็ยังไม่แน่ใจว่าอันไหนเป็นอันไหน เพราะภาพที่ได้ในแต่ละเวปมันไม่เหมือนกันซักอัน เลยออกจะงงอยู่ครับ เอาไว้สรุปได้เมื่อไหร่แล้วจะกลับมาเฉลยให้ฟังอีกทีครับ

กลับมาที่ชาว Aztec กันต่อครับ....

วัฒนธรรมของชาว Aztec นี่เต็มไปด้วยกลิ่นคาวเลือดอย่างมากครับ เพราะนิยมการบูชายันมนุษย์ให้แก่เทพเจ้าที่ชื่อว่า Huitzilpochti นอกจากจะใช้มนุษย์เป็นเครื่องบูชายันต์แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือพริกครับ คาดว่าคงเอามาเผาให้เกิดควันเพื่อการบูชายันต์ด้วยครับ

ด้วยวัฒนธรรมที่เน้นการบูชายันต์เป็นหลัก จึงเป็นสาเหตุให้ชาว Aztec เป็นศัตรูกับอาณาจักรข้างเคียงและมีการทำสงครามกันหลายครั้งเพื่อจับคนจากอาณาจักรอื่นๆมาเป็นเชลยเพื่อใช้ในการบูชายันต์ นอกจากจะทำสงครามเพื่อแย่งชิงเชลยแล้ว ชาว Aztec ยังต้องทำสงครามปกป้องอาณาเขตที่อุดมสมบูรณ์ของตนกับผู้รุกรานอยู่เสมอ

เอาแผนที่มาให้ดูอีกครั้งว่า อาณาจักรเค้ายิ่งใหญ่ขนาดไหนครับ
picture from: http://members.lycos.nl/Shades/pics/map/aztec.gif  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 17 มี.ค. 06, 11:27
ว้า........ผมใช้คำผิดอีกแล้ว ผมต้องใช้คำว่า จักรวรรดิถึงจะถูก อย่างเดียวกับที่ใช้กับจักรวรรดิมายา เพราะว่าชาว Aztec ทำสงครามขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง โดยมีเมืองหลวงอยู่บริเวณเกาะกลางน้ำ ส่วนพื้นที่รอบๆ จะเป็นของชาวพื้นเมืองเผ่าต่างๆที่ Aztec ชนะสงครามและปรับให้เป็นเมืองประเทศราชไปซะ  โดยที่เมืองประเทศราชเหล่านี้ต้องส่งส่วยไปให้ชนชั้นปกครองที่เมืองหลวงโดยตลอดครับ

ชาว Aztec มีการแบ่งชนชั้นออกเป็นสองระดับคือ กลุ่มที่เรียกว่า Commoners คือประชาชนทั่วๆไป อีกกลุ่มหนึ่งคือ Nobility ซึ่งคือนักปกครอง นักบวช และนักรบ

ผมว่าการแบ่งชนชั้นของ Aztec นี่ดีครับ เพราะถึงแม้จะแบ่งชนชั้นแต่เค้าก็ให้โอกาสพวก commoners ขยับขึ้นมาเป็น nobility ได้ครับ ถ้าแสดงให้เห็นถึงสามารถและฝีมือการรบ ซึ่งการเป็นนักรบนั้นจะแบ่งออกเป็นระดับอีกเช่นกันครับ คือเป็น Elite Eagle และ Jaguar Warrior ครับ....

กลุ่ม nobility จะถูกสอนเรื่องการปกครองและพิธีกรรมทางความเชื่อต่างๆ ในขณะที่เด็กชายทุกคนในเมืองหลวงจะถูกสอนเรื่องศาสนา การค้าขาย ศิลปะ และการต่อสู้ ......

ผมเอารูปชาว Aztec มาฝากครับ ดูว่าเค้าแต่งตัวกันอย่างไร

Picture from: http://www.earthdancer.org/Indians/AZTEC.jpg  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 17 มี.ค. 06, 11:45
 จักรวรรดิ Aztec ดูเหมือนจะยิ่งใหญ่กว้างขวางแต่กลับเปราะบางเพียงแต่ดำรงอยู่ได้ด้วยสายใยบางๆของการค้าขายและการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรเท่านั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับจักรวรรดิมายาอย่างสิ้นเชิง เหตุผลหลักที่ทำให้จักรวรรดิอ่อนแอ เพราะชาว Aztec มีจุดประสงค์การขยายพื้นที่อาณาเขตเพื่อการล่าเชลยศึกเพื่อนำมาบูชายันต์และเรียกร้องเอาเครื่องบรรณาการจากหัวเมืองต่างๆเท่านั้น  โดยนักปกครองเมืองหลวงจะปกครองหัวเมืองต่างๆแบบทิ้งๆขว้างๆ และไม่แสดงท่าทีที่จะบังคับหรือสั่งสอนให้ประชาชนในหัวเมืองเคารพและจงรักภักดีต่อกษัตริย์ในเมืองหลวง ดังนั้นในช่วงเวลาที่ชาวสเปนรุกรานอเมริกากลาง ชาวสเปนจึงสามารถโน้มน้าวจิตใจของหัวเมืองต่างๆในจักรวรรดิให้มาเป็นพันธมิตรเพื่อรบกับชาว Aztec ได้  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 17 มี.ค. 06, 11:53
 วันนี้เอาไปแค่นี้ก่อนนะครับ....weekend นี้ผมจะมาต่อจนจบครับ....พอจบ เจ้าพริกก็จะกระโดดไปอินคา....หลังจากนั้นผมก็จะหยุดพักชั่วคราวครับ เพราะเจ้าพริกเค้าเริ่มจะเดินทางรอบโลกแล้วครับ....

************

ถึงคุณเอ๋อคุงกับคุณศรีปิงเวียง

ผมมองว่าคนที่เป็นเจ้าของและค้นพบอเมริกาคือนักล่าชาวไซบีเรียนเช่นกันครับ แต่ไม่มีใครให้เครดิตพวกเค้า กลับไปให้คุณตาโคลัมบัสซะได้...แต่อย่างว่าแหละครับ ประเทศมหาอำนาจก็มักจะหาทางทำให้ตนเองได้เปรียบและมีชื่อเสียง....ครับ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 20 มี.ค. 06, 10:04
ผมเรียนไปตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่าชาว Aztec ฉลาดมากแต่ก็ดุร้ายมากเช่นกัน ผมอธิบายความดุร้ายไปแล้วในเรื่องของการบูชายันต์มนุษย์ วันนี้ผมจะมาอธิบายว่าทำไมผมถึงบอกว่าชาว Aztec ฉลาดมากครับ

ท่านผู้อ่านต้องเข้าใจสภาพของพื้นที่ Mesoamerica ให้ถ่องแท้ก่อนว่า ในช่วงสมัยก่อนนั้นแต่ละพื้นที่ก็ถูกครอบครองด้วยชนเผ่าต่างๆหลายร้อยเผ่า บ้างก็รวมตัวกันอย่างหนาแน่น เช่น มายา เป็นต้น...... บ้างก็ไม่รวมกัน แต่กระจัดกระจายกันครอบครองพื้นที่เป็นส่วนๆ อาจมีการติดต่อค้าขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้ากันบ้างในบางคราว

กลุ่มชนชาว Aztec เป็นชนกลุ่มที่ไม่ถูกยอมรับจากชนเผ่าอื่นๆที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เพราะเรื่องค่านิยมในการบูชายันต์นั่นเอง ชนเผ่าต่างๆจึงได้พยายามกดดันให้ชาว Aztec ต้องเดินทางลงมาทางใต้เรื่อยๆ เพื่อหาที่อยู่เองโดยที่จะไม่ต้องติดต่อกับพวกเผ่าอื่นๆ

บรรพบุรุษของชาว Aztec เดินทางมาจนถึงบริเวณทะเลสาบ Texcoco ซึ่งเป็นบริเวณที่ชนเผ่าอื่นๆเห็นว่าเป็นดินแดนที่ไม่น่าครอบครอง....แต่ชาว Aztec ซึ่งไม่อยากเดินทางต่อไปอีกแล้ว กลับตัดสินใจตั้งถิ่นฐานบริเวณเกาะกลางน้ำ และพยายามสร้างบ้านแปลงเมืองจนยิ่งใหญ่กลาย

ในสมัยนั้นชนเผ่าต่างๆพากันดูถูกชาว Aztec ว่าเป็นชนเผ่าที่ไม่เจริญ (least civilization) ดังนั้นชาว Aztec จึงพยายามปรับประยุกต์เอาความเชื่อเรื่องศาสนาของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งศาสนาหลักก็คือ Toltec เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในความเชื่อ ทั้งนี้เพื่อประกาศถึงความศิวิไลซ์ของตน

เวลาผ่านไปไม่นาน ภายหลังชาว Aztec ได้พัฒนาการตนตรีและศิลปะตลอดจนการกสิกรรมที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสถาปัตยกรรมต่างๆ จึงทำให้ชนเผ่าต่างๆหันมาเกรงในอำนาจและความยิ่งใหญ่ของ Aztec เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อรวมถึงการที่ชาว Aztec เก่งกาจทางด้านการทำสงครามแย่งชิงเชลยศึก และระบบค้าขายแลกเปลี่ยนรวมถึงระบบการติดต่อขนส่ง จึงทำให้ชาว Aztec สามารถขยายพื้นที่จนตั้งเป็นจักรวรรดิได้ในที่สุด

ผมเอามหาปีรามิดแห่งพระอาทิตย์มาให้ดูครับ ว่าในสภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร
Picture From: http://members.cox.net/davehanson/aztec/  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 20 มี.ค. 06, 10:15
 ชาว Aztec มีชื่อเสียงเรื่องการเกษตรกรรมเพราะคิดค้นระบบการทำเกษตรกรรมในทะเลสาบได้ด้วยตนเอง
โดยการสร้างสวนลอยน้ำขึ้นมาเพื่อทำการเพาะปลูกพืช เช่น ข้าวโพด ถั่ว พริก มะเขือเทศ อโวคาโด บางครั้งอาจใช้ในการปลูกดอกไม้ด้วย

สวนลอยน้ำนี้มีชื่อว่า Chinampas สร้างโดยการนำท่อนไม้มาปักลงบนพื้นที่ตื้นของทะเลสาบ ทำให้เป็นรั้วลักษณะสี่เหลียมผืนผ้า หลังจากนั้นแต่ละมุมของรั้วไม้นี้จะปลูกไม้ยืนต้น เพื่อให้รากไม้ซอนลงไปในดินและสร้างความแข็งแรงให้กับรั้วไม้นี้ หรืปักด้วยหมุดขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มความแข็งแรง หลังจากนั้นจะนำเสื่อที่สานจากต้นกกมาปูทับข้างบน (น่าจะใช้ท่อนไม้ปูก่อนเพื่อเป็นคานรองรับ) แล้วจึงนำโคลนที่ขุดได้รอบๆขึ้นมาแผ่ไว้บนเสื่อเพื่อใช้เป็นดินสำหรับการเพราะปลูก นอกจากจะคลุมเสื่อด้านบนแล้ว บางแห่งก็จะเอาเสื่อมาหุ้มที่รั้วไม้อีกทีเพื่อกันน้ำเข้า

ผมเอารูปมาให้ดูตามเคยครับ....น่าจะทำให้เห็นภาพมากกว่าที่ผมบอกไว้ครับ

Picture from: http://images.encarta.msn.com/xrefmedia/sharemed/targets/images/pho/t304/T304750A.jpg  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 20 มี.ค. 06, 10:26
ด้วยเทคนิคการทำเกษตรกรรมอย่างที่ผมบอกมา จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Aztec ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงมีอาหารและพืชผลทางการเกษตรรับประทานตลอดปี นอกจากนั้นชาว Aztec ยังใช้เทคนิคเดียวกับการสร้างสวนลอยน้ำในการขยายเมืองออกไปอีกด้วยครับ จึงทำให้เกาะกลางน้ำเพิ่มพื้นที่ไปเรื่อยๆ

เอามาให้ดูอีกภาพหนึ่งครับ

Picture From: http://intranet.whitefriars.vic.edu.au/public/faculties/sose/students/James%20M/History%20Assignment/chimapama.jpg  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 20 มี.ค. 06, 10:33
 นอกจากความชาญฉลาดในเรื่องของการทำเกษตรกรรมแล้ว เรื่องโหราศาสตร์ก็ดูเหมือนจะเป็นอีกหนึ่งในความรู้ที่นักโบราณคดีต่างชื่นชมและยอมรับในความสามารถของชาว Aztec ครับ เพราะว่าด้วยองค์ความรู้ที่ตนมีเมื่อหลายพันปีก่อน ทำให้ชาวชาว Aztecสามารถคิดค้นปฏิทินขึ้นมาใช้เพื่อการทำพิธีต่างๆ และปฏิทินนั้นได้รับการยอมรับจากนักโบราณคดีว่าถูกต้องมากกว่าปฏิทินที่เราใช้กันอยู่เสียอีกครับ ผมเอารูป ปฏิทินมาให้ดูครับ แต่ไม่ทราบว่า เค้าอ่านกันอย่างไร.....แปลกแต่สวยดีครับ


Picture From: http://www.nonduality.com/12742.jpg  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 20 มี.ค. 06, 10:57
อย่างไรก็ตาม...เมื่อมีเจริญสูงสุด...ก็ย่อมมีการเสื่อมสลาย ....จักรวรรดิ Aztec ล่มสลายเพราะผ่ายแพ้ให้กับการรุกรานของกองทัพจากสเปน โดยการนำของ Hernan Cortes

แม้ว่า Cortes จะมีกำลังเพียงแค่ 500 คน แต่ก็ได้พันธมิตรจากชนเผ่าอื่นๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาว Aztec เข้าช่วยเหลือในการสู้รบ ในขณะที่ชาว Aztec ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว ณ ฐานที่มั่นบนเกาะกลางน้ำของตน

ด้วยกำลังรบของ Cortes บวกกับชนเผ่าต่างๆอีก รวมทั้งสิ้นถึงประมาณ 150,000 – 200,000 คนเลยทีเดียวครับ....อย่างนี้แล้วชาว Aztec แทบจะไม่มีทางชนะใดๆเลยครับ

ซ้ำร้ายชาวเมือง Aztec ยังประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารและเป็นโรคฝีดาษ จึงทำให้กองกำลังอ่อนแอและผ่ายแพ้ในที่สุด ดังนั้นกองกำลังพันธมิตรชาวสเปนจึงครอบครอง Tenochtitlan ได้ในวันที่ 13 สิงหาคม คริสต์ศักราช 1521

ในช่วงที่มีการเสียเมืองให้กับข้าศึก...กวีชาว Aztec ได้เขียนบทกลอนไว้ว่า

How can we save our homes, my people
The Aztecs are deserting the city
The city is in flames and all is darkness and destruction

Weep my people
Know that with these disasters
We have lost the Mexacan nation
The water has turned bitter
Our food is bitter
These are the acts of the Giver of Life


Picture from: http://www.exploring.nu/Graphics/_borders/Aztec-Ruins4.JPG  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 20 มี.ค. 06, 11:05
 ผมขออนุญาตจบเรื่องของพริกไว้แค่นี้ก่อนนะครับ...เพราะช่วงนี้มีรายงานและชิ้นงานหลายชิ้นที่มีกำหนดส่งครับ เลยทำให้ไม่มีเวลาเขียนต่อครับ ทั้งๆที่กะจำนำท่านผู้อ่านไปตามเจ้าพริกตัวน้อยไปเยี่ยมชาวอินคาซักหน่อย...แต่ผมไม่มีเวลาจริงๆครับ...

แต่สัญญาว่า หลังจากส่งวานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะขึ้นกระทู้ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง (ภาคสอง) เพื่อพาท่านผู้อ่านตามรอยเท้าเจ้าตัวเล็กจนมาถึงเอเชียครับ....หวังว่าคงไม่โกรธกันนะครับ เพราะงานยุ่งมากจริงๆครับ

สุดท้ายของกราบขอบพระคุณคุณเทาชมพูเห็นคุณค่าของงานเขียนชิ้นนี้และกรุณานำไปขึ้นไว้บนเรือน...ขอขอบคุณนักอ่านทุกท่านทั้งที่เสียสละเวลารีพลายและท่านที่ตามอ่านเงียบๆครับ รวมถึงท่านที่กดโหวตให้ด้วยครับ ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

หวังว่าคงจะไม่หนีหายไปไหน เพราะผมจะมีภาคสองมาให้อ่านกันอีกแน่นอนครับ


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 21 มี.ค. 06, 11:24
 ผมลืมเอาบรรณานุกรมมาให้เมื่อวานครับ....วันนี้เลยเอามาแปะให้ครับ...เวปลิงค์ที่เอามาให้นี้เป็นเฉพาะในส่วนที่เป็นเนื่อหานะครับ ส่วนที่เป็นของรูปภาพจะปรากฎอยู่พร้อมกับรูปภาพแล้วครับ

 http://www.mnsu.edu/emuseum/cultural/mesoamerica/aztec.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Aztec
http://www.geocities.com/architecture_aztec_america/america_aztec_history.html
http://library.thinkquest.org/16325/y-farm.html
http://encarta.msn.com/media_461543847_761593151_-1_1/Aztec_Chinampas.html
http://www.geocities.com/stefan_azteken/tenochtitlan/tenochtitlan.htm
www.crystalinks.com/ mayanwriting.html
www.praphansarn.com/herb/herb24.asp
 http://www.chillies-down-under.com/chilli-history-origins-indians.html
www.mnsu.edu/.../ meso/cultures/maya.html
www.civilization.ca/ civil/maya/mmc11eng.html
 http://en.wikipedia.org/wiki/Yucat%C3%A1n_peninsula
http://www.indians.org/welker/maya.html  


กระทู้: ตามรอยอารยะธรรมโบราณ.....เล่าขานประวัติศาสตร์แห่งความเผ็ด...... พริก...เล็กดีแต่ร้อนแรง
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 21 มี.ค. 06, 11:50
 สุดท้ายแล้วครับ....ผมมีเกร็ดเล็กๆสำหรับพริกมาให้อ่านครับ....ก่อนจะลาจากกันไปซักพักครับ

1. คำว่า Chilli มีรากศัพท์มาจากภาษา Nahuatl ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในอเมริกากลาง เช่น มายา และ Aztec เป็นต้น

2. พริกและโกโก้ถูกใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการและภาษีที่เมืองประเทศราชในการปกครองต้องจ่ายให้กับชาว Aztec ในเมืองหลวง (จำได้มั้ยครับว่าผมเรียนไปตั้งแต่ต้นแล้วว่า ชาว Aztec ใช้พริกในการบูชายันต์ด้วย ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้พระราชากำหนดให้พริกคือเรื่องราชบรรณาการอย่างหนึ่ง)

3. พระราชาบางพระองค์ของชาว Aztec นิยมดื่มเครื่องดื่มร้อนที่มีส่วนผสมของผงโกโก้กับวานิลา น้ำผึ้ง และใส่พริกลงไปด้วย (อันนี้ผมเดาว่าน่าจะเป็นพริกป่นครับ)

4. ชาว Aztec นิยมใช้พริกในการทำโทษคนกระทำผิด...โดยการบังคับให้คนกระทำผิดสูดควันที่เกิดจากการเผาพริกแห้งในเตาไฟ....(น่ากลัวจังครับ)

5. ผู้หญิงชาว Aztec เชื่อว่าพริกทำให้ผิวพรรณสวยงาม ดังนั้นพวกหล่อนจึงทำแป้งทาหน้าด้วยส่วนผสมของพริกป่นและปัสสาวะของตน