เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: พีรศรี ที่ 21 มิ.ย. 14, 23:09



กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: พีรศรี ที่ 21 มิ.ย. 14, 23:09
พบใน internet
เขาว่าเป็นสยามครับ
แต่ดูแล้วไม่แน่ใจ
เลยเอามาให้ช่วยกันดูครับ ว่าที่ไหนยังไง


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มิ.ย. 14, 07:15
เป็นอาคารหนึ่งในพระราชวังเขมรินทร์ กรุงพนมเปญ ตามหลักฐานนี้ครับ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มิ.ย. 14, 10:00
เป็นท้องพระโรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นอาคารหลังเก่าก่อนรื้อทิ้งเป็นแบบกัมพูชาผสมฝรั่งเศส


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มิ.ย. 14, 10:03
นี่ครับ อ.โก๊ะ ภาพมุมกว้างมองจากด้านนอกของพระราชวังเขมรินทร์ ยุคสมัยสมเด็จพระนโรดม (ปลายรัชกาลที่ ๔) ตรงลูกศรสีแดงครับ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มิ.ย. 14, 10:06
และนามของพระที่นั่งองค์สำคัญนี้คือ "พระที่นั่งเทวาวินิจฉัย"


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 22 มิ.ย. 14, 10:10
การเรียงลำดับพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้าง ละม้ายอย่างของไทยคือ มีวัดพระแก้ว - พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย (สยาม) และวัดพระแก้ว - พระที่นั่งเทวาวินิจฉัย (กัมพูชา)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: พีรศรี ที่ 22 มิ.ย. 14, 20:46
ขอบพระคุณมากครับสำหรับคำอธิบาย
ทราบว่าพระราชวังเมืองเขาคล้ายของเมืองเรามาก
แต่ไม่ทราบว่าคล้ายกันได้ขนาดนี้

ขออนุญาตเอาภาพมาถามต่ออีกสามภาพนะครับ
ได้สำเนาจากพิพิธภัณฑ์แห่งนึงที่กรุงเวียนนา
อัลบั้มของร้านโรเบิร์ต เลนซ์
อยากทราบว่า คลอง Ban Sapit นี่มันคลองอะไรอะครับ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มิ.ย. 14, 21:13
ตอบสั้นๆก็ไม่ได้อรรถรส กรุณาอ่านเองครับ

http://pantip.com/topic/30799054 (http://pantip.com/topic/30799054)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มิ.ย. 14, 21:42
ส่วนคลอง Ban Sapit ผมคิดว่าฝรั่งคัดลอกมาผิด ที่ถูกควรจะเป็นคลองบ้านสมเด็จ (Ban Somdet)

http://www.bunnag.in.th/history7-home2.html (http://www.bunnag.in.th/history7-home2.html)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มิ.ย. 14, 06:57
ภาพกลางเป็นสะพานไม้หก ข้ามคลองสาน หน้าวัดพิชัยญาติ - วัดอนงค์ฯ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มิ.ย. 14, 09:21
รูปซ้ายน่าจะเก่ากว่ารูปขวา  ;D


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มิ.ย. 14, 09:33
ผมมีหนังสือภาพเก่าของมาเลเซีย  มีภาพสะพานหกแบบนี้
ที่เมืองมะลักกา เข้าใจว่า เนเธอร์แลนด์ สร้างไว้


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มิ.ย. 14, 09:48
ผมมีหนังสือภาพเก่าของมาเลเซีย  มีภาพสะพานหกแบบนี้
ที่เมืองมะลักกา เข้าใจว่า เนเธอร์แลนด์ สร้างไว้

ใช่แล้วครับ การสร้างสะพานหก ทางสยามได้เค้ามาจากปัตตาเวีย ซึ่งปัตตาเวียเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ การสร้างสะพานหกใช้เทคโนโลยีชักรอกด้วยลูกตุ้มเหล็กขนาดผลส้มโอใหญ่ ถ่วงน้ำหนักไว้เมื่อจะใช้งานก็ฉุดสายโซ่ให้สะพานยกออกเพื่อให้เรือมีเสาแล่นผ่านได้


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มิ.ย. 14, 13:24
ผมมีหนังสือภาพเก่าของมาเลเซีย  มีภาพสะพานหกแบบนี้
ที่เมืองมะลักกา เข้าใจว่า เนเธอร์แลนด์ สร้างไว้


Drawbridge at Malacca, engraved by George Cooke  ;D


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มิ.ย. 14, 13:37
ใช่แล้วภาพนี้แหละ

-----------------------------------------------------

คุณเพ็ญชมพู คิดว่าสะพานหกทั้งสองในภาพต้น เป็นสะพานเดียวกันหรือไม่

เคยเห็นแต่รูปสะพานหกอันที่สองที่เป็นสะพานหก คลองสาน

รูปนี้เป็นสะพานหกแต่รถรางข้ามได้ที่หน้ามหาดไทย


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มิ.ย. 14, 14:14
แห่งเดียวกันหรือเปล่าคงตอบยาก เพราะภูมิประเทศในภาพมันผิดกันมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาก็ได้ คนสมัยนี้ก็ไม่มีใครเกิดทันเห็น แต่ผมบอกได้ว่าแบบก่อสร้างเป็นแบบเดียวกันครับ จะสร้างแล้วซ่อมตามแบบเดิมไปเรื่อยๆ หรือแบบเดียวกันแต่สร้างหลายแห่งก็ไม่ทราบ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มิ.ย. 14, 14:42
ใช่แล้วภาพนี้แหละ

-----------------------------------------------------

คุณเพ็ญชมพู คิดว่าสะพานหกทั้งสองในภาพต้น เป็นสะพานเดียวกันหรือไม่

เคยเห็นแต่รูปสะพานหกอันที่สองที่เป็นสะพานหก คลองสาน

รูปนี้เป็นสะพานหกแต่รถรางข้ามได้ที่หน้ามหาดไทย


สะพานนี้เป็นสะพานหกที่หลังกระทรวงกลาโหมครับ เป็นสะพานหกรถราง สายหลักเมือง  ส่วนสะพานหกหน้ากระทรวงมหาดไทยเป็นสะพานหกคนข้ามอย่างเดียวไม่มีรถรางข้าม


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มิ.ย. 14, 14:54
แห่งเดียวกันหรือเปล่าคงตอบยาก เพราะภูมิประเทศในภาพมันผิดกันมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาก็ได้ คนสมัยนี้ก็ไม่มีใครเกิดทันเห็น แต่ผมบอกได้ว่าแบบก่อสร้างเป็นแบบเดียวกันครับ จะสร้างแล้วซ่อมตามแบบเดิมไปเรื่อยๆ หรือแบบเดียวกันแต่สร้างหลายแห่งก็ไม่ทราบ

สะพานหกนั้นเท่าที่เห็นมามี ๓ แห่งครับ

๑. แถววัดราชประดิษฐ์ - หน้ากระทรวงมหาดไทย

๒. สะพานหกเคียงรถราง หลังกระทรวงกลาโหม

๓. หน้าบ้านเจ้าพระยาพิชัยญาติ คลองสาน


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มิ.ย. 14, 15:15
รูปนี้เป็นสะพานหกแต่รถรางข้ามได้ที่หน้ามหาดไทย

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5996.0;attach=49236;image)

สะพานนี้เป็นสะพานหกที่หลังกระทรวงกลาโหมครับ เป็นสะพานหกรถราง สายหลักเมือง  ส่วนสะพานหกหน้ากระทรวงมหาดไทยเป็นสะพานหกคนข้ามอย่างเดียวไม่มีรถรางข้าม

สะพานหกหลังกระทรวงกลาโหม

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5928.0;attach=45802;image)

สะพานหกหน้ากระทรวงมหาดไทย

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5959.0;attach=48145;image)

(http://ptcdn.info/emoticons/smiley/อมยิ้ม04.png)




กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มิ.ย. 14, 15:54
สะพานหกหน้าวัดพิชัยญาติ  ;D

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=4935.0;attach=33974;image)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มิ.ย. 14, 16:11
สะพานหกที่คูเมืองเดิม สองสะพาน มีสะพานช้างโรงสีอยู่กลาง  ใช่ไหม


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 23 มิ.ย. 14, 16:19
สะพานหกที่คูเมืองเดิม สองสะพาน มีสะพานช้างโรงสีอยู่กลาง  ใช่ไหม

แม่นแล้วครับ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มิ.ย. 14, 16:37
แล้วสะพานหกหลังกระทรวงกลาโหมก็ถูกแทนด้วยสะพานตอม่อคอ นก รีต

ขอสารภาพว่าผมโตทันใช้บริการรถรางกรุงเทพ และเคยรู้จักสะพานหกสมัยเป็นแบบคอนกรีตแล้ว แต่ตอนนั้นไม่เข้าใจความหมายของสะพานหกว่ามันเคยเป็นตำแหน่งของสะพานเก่าที่กระดกได้ นึกว่ามันต่อมาจากสะพานห้า ที่ถัดไปเป็นสะพานเจ็ด อะไรทำนองนั้น ยังแปลกใจว่าทำไมเขาไม่ตั้งชื่อใหม่เหมือนสะพานอื่นๆ

มาเล่นเน็ตแล้วจึงได้รู้นะเนี่ย
(บางเพจบอกว่าสะพานขวามือคือสะพานเสี้ยวน่ะครับ เดี๋ยวจะหารูปที่ถูกต้องมาดูอีกที)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 23 มิ.ย. 14, 18:11
ถ้านํ้าท่วมแบบ ปี 2485 รัฐบาลปัจจุบันจะโดนขนาดไหน

สมัยนั้น     คนไทยไม่ได้ตำหนิรัฐ   
กลับรู้สึกเป็นที่เบิกบาน  มีบรรยากาศน่าเที่ยวอย่างใหม่



กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 23 มิ.ย. 14, 20:29
ภาพกลาง ใน คห. ที่ ๖  สะพานไม้หกข้ามคลองสาน  หน้าวัดพิชัยญาติฯ - วัดอนงค์ฯ

นี่คือคลองสานในเรื่องสองฝั่งคลองใช่ไหมคะ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 มิ.ย. 14, 20:57
ใช่ค่ะ

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5996.0;attach=49224;image)
(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=5996.0;attach=49225;image)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 23 มิ.ย. 14, 23:29
แล้วสะพานหกหลังกระทรวงกลาโหมก็ถูกแทนด้วยสะพานตอม่อคอ นก รีต

ขอสารภาพว่าผมโตทันใช้บริการรถรางกรุงเทพ และเคยรู้จักสะพานหกสมัยเป็นแบบคอนกรีตแล้ว แต่ตอนนั้นไม่เข้าใจความหมายของสะพานหกว่ามันเคยเป็นตำแหน่งของสะพานเก่าที่กระดกได้ นึกว่ามันต่อมาจากสะพานห้า ที่ถัดไปเป็นสะพานเจ็ด อะไรทำนองนั้น ยังแปลกใจว่าทำไมเขาไม่ตั้งชื่อใหม่เหมือนสะพานอื่นๆ

มาเล่นเน็ตแล้วจึงได้รู้นะเนี่ย
(บางเพจบอกว่าสะพานขวามือคือสะพานเสี้ยวน่ะครับ เดี๋ยวจะหารูปที่ถูกต้องมาดูอีกที)

ตอม่อทันสมัยเจี๊ยบเลยครับอาจารย์


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 23 มิ.ย. 14, 23:53
ไม่ใช่สิครับ ต้องบอกว่า

ตอม่อทันสมัยจ๊าบสุดๆเลยครับอาจารย์


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: พีรศรี ที่ 24 มิ.ย. 14, 02:25
มีอีกภาพครับ คลองบ้านสมเด็จ / Ban Sapit เช่นเคย


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มิ.ย. 14, 11:56
ขอย้อนกลับไปที่สะพานหกอีกครั้ง ที่โตทันเคยเห็นในช่วงก่อนปี๒๕๐๐จะเป็นภาพนี้


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: visitna ที่ 24 มิ.ย. 14, 12:28
...ระยะหลังมีคนเล่าว่าเมื่อไม่มีรถผ่านแล้ว
ที่ตีนสะพานทำเป็นขั้นบรรได
ไม่เคยเห็นสะพานนี้ด้วย
ภาพนี้ปี 2499


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มิ.ย. 14, 12:35
ขอบคุณคุณvisitna มากครับ^
สะพานหกนี้มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครก็ไม่ยักบันทึกให้เห็นชัดๆ ผมใช้อินทรเตรสอดส่องก็ไม่มีใครกล่าวถึง คือว่า สะพานนี้หลังจากที่ไม่หกแล้ว เขาทำสะพานให้รถรางกับคนเดินถนนใช้ร่วมกัน แต่ไม่ให้รถทุกชนิดใช้ ดังนั้นที่ปลายด้านหนึ่งจะเป็นทางลาดเชื่อมกับถนน อาจจะเพราะระดับใกล้เคียงกันและไม่ชันเกินกำลังของรถราง แต่อีกปลายด้านหนึ่ง ระดับต่างกันประมาณสักเมตร ท่านเลยทำเป็นขั้นบันไดให้คนเดิน ส่วนรางรถก็เป็นทางลาดโค้งออกไปด้านข้าง

สะพานนี้มีคนไปแต่งเรื่องตลกมากมาย ดูเหมือนไม่นิกรก็กิมหงวนที่กินเหล้าเมาแล้วขับรถขึ้นสะพานนี้ในหัสนิยายสามเกลอเรื่องหนึ่ง พอไปเจอกระไดเข้าอีกด้านขณะคนขับรถรางกระทืบกระดิ่งแก๊งๆอยู่ข้างหน้า ก็ถึงกับหายเมา รีบถอยจนรถแทบจะตกคลอง

อนึ่งคนสมัยผมเรียกคลองนี้ทั้งหมดว่าคลองหลอด ต่อมาไม่ทราบใครเอาหลักฐานมาแบว่าคลองนี้เรียกว่าคลองคูเมือง ส่วนคลองหลอดคือคูเล็กๆเหมือนหลอดกาแฟ เชื่อมโยงคลองคูเมืองกับคลองรอบเมือง  มีอยู่สองคลอง ข้างวัดบูรณะศิริ๑ และข้างวัดราชบพิธอีก๑ ผมก็เลยต้องเรียกตามเค้าไม่ให้ตกกระแส


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มิ.ย. 14, 12:40
สภาพปัจจุบันครับ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มิ.ย. 14, 13:28
ท่ามกลางทางท้องสถลมาศ                           ลำดับดาดอิฐแผ่นแน่นหนา
บ้านช่องสองข้างมรรคา                                ล้วนเคหาหน้าถึงนั่งร้าน
เหล่าพวกกรมท่าเจ้าภาษี                              มั่งมีสมบัติพัสถาน
เรือนริมรัตยาฝากระดาน                                ตึกกว้านบ้านขุนนางนองเนือง
สุเหร่าเรียงเคียงคั่นปั้นหยา                             ก่อผนังหลังคามุงกระเบื้อง
ศาลเทพารักษ์หลักเมือง                                นับถือลือเลื่องทั้งกรุงไกร
เสาชิงช้าอาวาสวัดพราหมณ์                           ทำตามประเพณีพิธีไสย
หอกลองอยู่กลางเวียงชัย                               แม้นเกิดไฟไพรีตีสัญญา
สะพานช้างทางข้ามคชสาร                             ก่ออิฐปูกระดานไม้หนา
คลองหลอดแลลิ่วสุดสายตา                           น้ำลงคงคาไม่ขอดเคือง
นาวาค้าขายพายขึ้นล่อง                                ตามแม่น้ำลำคลองแน่นเนื่อง
แพจอดตลอดท่าหน้าเมือง                             นองเนืองเป็นขนัดในนัที”

ข้างบนนี้คือการบรรยายบ้านเมืองในพระราชนิพนธ์อิเหนา  ซึ่งจำลองภาพจากกรุงรัตนโกสินทร์
ถ้าหากว่าคลองหลอดสมัยนั้น    กวีสมัยต้นรัตนโกสินทร์ท่านบรรยายว่าเป็นคลองที่กว้างและยาวจนแลละลิ่วสุดสายตา   เป็นทางน้ำไหลเข้าออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาจนเต็มเปี่ยม ขนาดเวลาน้ำลง   ก็ยังมีน้ำอยู่ในคลองอย่างน้อยก็ครึ่งคลอง  ไม่แห้งขอด    
ก็เชื่อได้ว่า คลองหลอดไม่ใช่คลองหลอดกาแฟแน่นอนค่ะ

ป.ล.  ว่ากันว่าอิเหนาแต่งเมื่อรัชกาลที่ 1   แต่ระบบเจ้าภาษี เป็นระบบสมัยรัชกาลที่ 3   เลยสงสัยว่ากลอนชมเมืองในตอนต้นของอิเหนาแต่งสมัยไหนกันแน่
แต่เรื่องนี้เอาไว้ก่อนค่ะ   ขอแค่คลองหลอดเท่านั้นพอ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มิ.ย. 14, 13:47
นี่ ถือเป็นเอกสารชั้นต้นได้ทีเดียว
ต่อไปผมจะเปลี่ยนไปกลับเรียกดังที่เคยเรียกมาแต่เล็กแต่น้อยว่าคลองหลอดละครับ ขอบพระคุณ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 มิ.ย. 14, 14:34
โบถเจ้าเซ็นพวกที่เต้นตบตีอก                   อยู่ริมตีนตะพานหกฝั่งเหนือหนา
ตะพานหกใหญ่ทยาดประหลาดตา              แต่เกิดมาไม่เคยมีเช่นนี้เลย
โอ้พระคุณทูลกระหม่อมจอมโมลิศ              ช่างทรงคิดให้ราษฎร์เย็นเดินเล่นเฉย
ข้ามคล่องคลองบางกอกใหญ่ได้สะเบย         เรือที่เคยแล่นลัดไม่ขัดคอ
ทั้งเรือเสาเรือใบไปได้สิ้น                        น้ำมันดินทาดำดูขำหนอ
เรือเสาใบไปได้คล่องแต่ต้องรอ                 ชักโซ่ปร๋อหดขวับแล้วงับลง
ตะพานหกยกได้ว่องไวนัก                       พระจอมจักรหลักเมืองเรืองระหง
รัชกาลที่ห้าวราพงษ์                              ประสาททรงโปรดให้คิดประดิษฐดี
ทำตามเลศเพทช่างยุโรปเพี่ยน                  ดูแนบเนียนพูนเพิ่มเฉลิมศรี
ตั้งสี่เสาเกลากลมอุดมดี                          ข้างบนมีสี่มุมหุ้มเหล็กตรึง
ทำที่แคร่แม่เตาไฟมิใช่เล็ก                      สะกรูเหล็กแน่นรายโซ่สายขึง
สี่สายห้อยร้อยตะพานไม่ยานตึง                ภอเหนี่ยวถึงโซกร่างง้างตะพาน
โปลิศอยู่ดูแลคอยแก้ไข                         ช่วยยกให้ทุกเวลาน่าสงสาร
เงินเดือนมีได้ไม่ขาดพระราชทาน               เพราะโปรดปรานทั่วน่าประชาชน
สมณชีพราหมณ์ได้ความชื่น                     ทั่วแผ่นพื้นปุถพีได้มีผล
เพราะพระเดชเดชาฝ่ายุคล                      มาปกบนเกล้าข้าฝ่าลออง


สะพานหกยังมีอีกหลายแห่ง ข้างบนเป็นเอกสารชั้นต้นบรรยายภาพสะพานหกข้ามคลองบางกอกใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก.ศ.ร. กุหลาบ เขียนไว้ในนิราศยี่สาร  ตามรายงานของกรมหมื่นนเรศวรวรฤทธิ์ ระบุว่า สภาพของสะพานหกข้ามคลองบางกอกใหญ่ชำรุดมากแล้วในต้นรัชกาลที่ ๕  ในรัชกาลที่ ๖ ทรงสร้างสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่แทนสะพานหกที่ชำรุด ชื่อว่า "สะพานเจริญพาสน์ ๓๓"
 
ในภาพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องเต็มยศกองทัพเรือ ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเจริญพาสน์ ๓๓ วันที่ ๒ มกราคม ๒๔๕๖  ;D



กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 24 มิ.ย. 14, 17:31
อ้างถึง
อ้างจาก: visitna ที่  23 มิ.ย. 14, 09:33
อ้างถึง
ผมมีหนังสือภาพเก่าของมาเลเซีย  มีภาพสะพานหกแบบนี้
ที่เมืองมะลักกา เข้าใจว่า เนเธอร์แลนด์ สร้างไว้
siamese
อ้างถึง
ใช่แล้วครับ การสร้างสะพานหก ทางสยามได้เค้ามาจากปัตตาเวีย ซึ่งปัตตาเวียเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ การสร้างสะพานหกใช้เทคโนโลยีชักรอกด้วยลูกตุ้มเหล็กขนาดผลส้มโอใหญ่ ถ่วงน้ำหนักไว้เมื่อจะใช้งานก็ฉุดสายโซ่ให้สะพานยกออกเพื่อให้เรือมีเสาแล่นผ่านได้

สะพานซึ่งดัชท์ออกแบบไว้ในปัตตาเวียที่คนไทยไปเห็นและเอาแบบมาทำในกรุงเทพบ้างเป็นอย่างนี้ครับ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 มิ.ย. 14, 20:02
สะพานแบบเนเธอร์แลนด์ยังคงอยู่มาถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ อยู่ที่กระทุ่มแบน สวยๆมากๆ ครับ (คลองบางกอกใหญ่มีความกว้างประมาณนี้คงสูงแบบนี้กระมัง)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 มิ.ย. 14, 08:45
ใช่แล้วครับ การสร้างสะพานหก ทางสยามได้เค้ามาจากปัตตาเวีย ซึ่งปัตตาเวียเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์

สะพานหกที่ปัตตาเวีย Jembatan Kota Intan drawbridge ;D


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 มิ.ย. 14, 09:44
กลับมาเมืองไทยดีกว่า

ในกระทู้ก่อนผมกล่าวถึงสะพานเสี้ยว อ่านในเน็ตเดี๋ยวคนนั้นบอกว่าอยู่ตรงนั้นอยู่ตรงนี้ ก่อนจะบอกว่ารื้อไปหมดแล้วตอนสร้างสะพานพระปิ่นเกล้า
สมัยผมเคยขึ้นรถราง จำได้แม่ว่าสะพานที่ตีโค้งข้ามคลองหลอดอยู่ตรงจุดที่พ้นบางลำพูมาเข้าสนามหลวง ใกล้ๆสะพานผ่านพิภพนี่แหละครับ หาภาพมาได้จึงเอามายืนยัน


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 มิ.ย. 14, 09:44
ในเวป ใครต่อใครคัดลอกกันต่อๆมาว่าเหตุที่เรียกสะพานเสี้ยวเพราะสะพานมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทั้งๆที่เห็นแต่รางเหล็กวางบนตอม่อคอ นก รีตดุ้นเบ่อเร่อ เอาละเปียกปูนก็เปียกปูน แล้วสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมันเป็นเสี้ยวยังไง  ???
ฤามันจะเพี้ยนมาจากสะพานเลี้ยว เพราะเสี้ยวมันกร่อนเป็นเลี้ยวได้ง่ายๆ

แต่ก็เอาเถอะ ผมจะไม่ชวนท่านปฏิรูปชื่อสะพานนี้เสียใหม่หรอกครับ ใครคิดต่างก็ไม่ต้องชวนทะเลาะ นี่เป็นช่วงเวลาแห่งการสมานฉันท์
เดี๋ยวท่านไปแล้วค่อยดูกันใหม่ ถ้าเชื้อยังอยู่ค่อยกัดกันอีกก็ได้ แฮ่ ๆ
(ผมหมายถึงสะพานเสี้ยวนะคร้าบ อย่ามาหาเรื่อง)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มิ.ย. 14, 11:53
ในเวป ใครต่อใครคัดลอกกันต่อๆมาว่าเหตุที่เรียกสะพานเสี้ยวเพราะสะพานมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทั้งๆที่เห็นแต่รางเหล็กวางบนตอม่อคอ นก รีตดุ้นเบ่อเร่อ เอาละเปียกปูนก็เปียกปูน แล้วสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมันเป็นเสี้ยวยังไง  ???
ฤามันจะเพี้ยนมาจากสะพานเลี้ยว เพราะเสี้ยวมันกร่อนเป็นเลี้ยวได้ง่ายๆ

แต่ก็เอาเถอะ ผมจะไม่ชวนท่านปฏิรูปชื่อสะพานนี้เสียใหม่หรอกครับ ใครคิดต่างก็ไม่ต้องชวนทะเลาะ นี่เป็นช่วงเวลาแห่งการสมานฉันท์
เดี๋ยวท่านไปแล้วค่อยดูกันใหม่ ถ้าเชื้อยังอยู่ค่อยกัดกันอีกก็ได้ แฮ่ ๆ
(ผมหมายถึงสะพานเสี้ยวนะคร้าบ อย่ามาหาเรื่อง)

สำหรับเรื่องสะพานเสี้ยวนั้น เดิมทีอ่านได้ความว่า ถ้าเป็นสะพานแล้วเราจะนำไม้กระดานมาพาดข้ามตลิ่งระหว่างฝั่งหนึ่งไปฝั่งหนึ่ง ด้วยแนวตรงตั้งฉาก 90 องศากับตลิ่ง (ทำให้การปูไม้ใช้ไม้แผ่นตรงวางลงไปบนคานตอม่อ)

แต่สำหรับสะพานเสียว เป็นสะพานเอียงๆ ทำให้การตัดไม้กระดานเฉียงผิดรูปไป ต้องตัดไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเพื่อรองรับลักษณะของสะพานที่วางเอียงทำมุมน้อยกว่า 90 องศา และมีเหตุผลอันใด ทำไมต้องวางสะพานให้เป็นเสี้ยวเช่นนี้

ผมจึงได้ไปค้นหาแผนที่กรุงเทพโบราณประกอบดู ก็พบว่าคนโบราณสร้างสะพานเสี้ยวข้ามคลองคูเมืองตามลักษณะถนนและเบนหลบวัง

จากแผนที่จะเห็นสิ่งก่อสร้างกำแพงวังหน้าตามด้วยถนนขนานกำแพงวังหน้า  หัวมุมป้อมวังหน้าเป็นจุดที่สะพานเสี้ยวตั้งอยู่ และข้ามไปยังวังด้านตรงข้าม ซึ่งขวางทางอยู่จึงต้องเบนเล็กน้อยไปหาถนนเลียบวัง

ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อสร้างถนนจักรพงษ์ แต่สะพานยังคงเป็นเสี้ยวเหเอียงอยู่ ผู้คนก็เห็นเป็นของประหลาดว่าทำไมเห เอียงเช่นนี้


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 มิ.ย. 14, 12:31
รถรางสร้างสมัยเลิกวังหน้า รือกำแพงไปนานหลายปีแล้ว ไม่เกี่ยวกันเลย แต่ดูจากแผนที่คุณหนุ่มรัตนสยามแล้วก็เข้าใจว่า แต่ก่อนมีสะพานไม้สร้างเฉียงๆไม่ตั้งฉากกับแนวคลองหลอด ต้องใช้ไม้กระดานมาตัดเป็นเสี้ยวไม่เต็มแผ่น จึงจะปูพื้นสะพานได้ เอาละ คราวนี้เข้าใจ ๆ

ต่อมาเมื่อรื้อสะพานเสี้ยวออก และทำเป็นสะพานรถราง(ผมชอบมากเพราะตัวสะพานเอียงให้วางรางสองข้างต่างระดับกันเพื่อรับแรงหนีศูนย์ เวลารถรางวิ่งข้ามมันจะวูบไปด้านหนึ่ง ความรู้สึกคล้ายกับนั่งรถดิ่งนรกตกสวรรค์(roller coaster)ในสวนสนุกที่เด็กสมัยใหม่ชื่นชอบ น่าสงสารเด็กโบราณนิ มีของเล่นแค่เนี๊ยะ) คนก็ยังติดปากเรียกสะพานเสี้ยวเพราะอยู่ในตำแหน่งใกล้ๆกับสะพานเดิมนั่นเอง


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 มิ.ย. 14, 13:33
ขอแก้ไขเส้นทางรถรางสายที่วิ่งข้ามสะพานเสี้ยวหน่อยครับ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มิ.ย. 14, 14:50
ขอแก้ไขเส้นทางรถรางสายที่วิ่งข้ามสะพานเสี้ยวหน่อยครับ

โอ้โห ... ขีดเส้นแดง ยังกะแผนแม่บทเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ติน  ;D ;D  ........... แต่ผิดครับ (รออีกอึดใจ กำลังทำภาพประกอบ)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 มิ.ย. 14, 15:07
                                     สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
อยู่ไหนหว่าบรรดาตำรับตำรา       พลันก็คว้าเหมือนเทวามาดลใจ
ก็ตอนแรกนึกว่าถูกจากความจำ    แต่แผนผังคนอื่นทำ(ข้างบน)ให้เขวไขว
ไปแก้ไขกลับผิดอย่างงั้นไง          รูปนี้ไซร้ท่านคงหายสงสัยเอย


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มิ.ย. 14, 15:13
ถนนเส้นเดิมเป็นทางเดินเล็กๆ ผ่านหน้าวัดชนะสงครามมาจรดคลองโรงไหม เลี้ยวหักข้ามสะพานเสี้ยว ข้ามมายังป้อมมุมทิศเหนือวังหน้า (เส้นแดง)

ต่อมาถนนจักรพงษ์ตัดขยาย (สีเขียว)

ต่อมาเกิดเส้นทางรถราง (สีส้ม)

เป็นดังภาพที่แสดงให้ดูนี้ครับ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: tita ที่ 25 มิ.ย. 14, 15:17
เมื่อก่อนเคยอ่านกระทู้เกี่ยวกับถนนราชดำเนิน  แล้วมีรายละเอียดเรื่องวังสะพานเสี้ยวที่มีอยู่ ๕ วังน่ะค่ะ  วังเหล่านี้อยู่ในแนวเดียวกับสะพานเสี้ยวสะพานไหนคะ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มิ.ย. 14, 15:31
ให้ภาพถ่ายทางอากาศโดยวิลเลียมฮันท์ แนวสีแดงคือแนวรถราง


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มิ.ย. 14, 15:42
เมื่อก่อนเคยอ่านกระทู้เกี่ยวกับถนนราชดำเนิน  แล้วมีรายละเอียดเรื่องวังสะพานเสี้ยวที่มีอยู่ ๕ วังน่ะค่ะ  วังเหล่านี้อยู่ในแนวเดียวกับสะพานเสี้ยวสะพานไหนคะ

แผนที่แสดงบริเวณที่ตั้งของกลุ่มวังสะพานเสี้ยวในอดีต กระจายตัวอยู่ริมคลองโรงไหม และหน้าพลับพลาสูงวังหน้า


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มิ.ย. 14, 19:05
สะพานเสี้ยวเป็นสะพานคนข้าม ส่วนสะพานเสี้ยวเคียงรถรางอยู่ใกล้ๆกัน

ดังนี้แล้วจุดประสงค์หลักที่ทำให้สะพานสำหรับรถรางเฉียงๆ กับคลองไม่ตั้งฉาก มีสาเหตุหลักคือ เพื่อให้ระยะความโค้งของแนวรถรถรางได้โค้งกับการหักมุม

เช่นในภาพ เป็นแนวโค้งจากถนนราชินี หักโค้งไปสู่ ถนนจักรพงษ์ ทำให้ตัวรางต้องโค้งและข้ามคลอง จึงมีลักษณะเอียงกับคลอง


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 25 มิ.ย. 14, 19:09
อีกบริเวณหนึ่งที่รถรางเอียงเห เบนจากคลองไม่ตั้งฉากคือ รถรางหลังกระทรวงกลาโหม แถววัดบุญศิริ

คำตอบก็เหตุผลเดียวกันคือ จากถนนหลักเมือง (ถนนกัลยาณไมตรี) วิ่งเข้าถนนอัษฏางค์ อันเป็นการหักศอก ตัวรางจึงต้องโค้งให้ได้ระยะ

ทำให้เกิดการข้ามคลองแบบเอียงๆ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเอียงๆ ผิดกับรถรางที่อื่นที่ข้ามคลองขนานถนนจึงตรงๆ ได้


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: พีรศรี ที่ 25 มิ.ย. 14, 21:58
ไหนๆ กลายเป็นเรื่องสะพานไปแล้ว ขออนุญาตนำเสนอข้อมูล
รายงานกอมมิตตีจัดการพระนคร เรื่องตะพานข้ามคลองต่างๆ ในกรุงเทพฯ จุลศักราช ๑๒๔๙ นะครับ

กรมหมื่นนเรศรวรฤทธิ์ทรงรายงานว่า ในพระนคร (ทั้งสองฝั่ง) มีตะพานรวม ๖๗ ตะพาน
ที่รัฐบาลควรดูแลรักษา
เป็นตะพานก่ออิฐถือปูน ๓๖  ตะพานเหล็ก ๙  ตะพานไม้ ๒๒

ตะพานก่ออิฐถือปูน ๓๖ ตะพาน ยังดีอยู่ ๒๘ ตะพาน
ส่วนที่ชำรุด โดยมากเป็นตะพานช้าง

ตะพานเหล็ก ๙ ตะพาน ไม่ชำรุดดีอยู่ ๕ ตะพาน
ตะพานหันก็นับว่าเป็นตะพานเหล็ก

ตะพานไม้ ๒๒ ตะพาน ท่านแยกเป็นตะพานอย่างใหม่ ๗ ตะพาน ตะพานอย่างเก่า ๑๕ ตะพาน
อย่างใหม่หมายถึงตะพานหก
อย่างเก่าคือตะพานไม้หลักแพ

เฉพาะตะพานหก ท่านกล่าวถึง ตะพานหกฃ้ามคลองบางกอกใหญ่ / ตะพานหกฃ้ามคลองมอญ / ตะพานหกตรงถนนวังสราญรมย์ /
ตะพานไม้อย่างใหม่ริมวัดช่างแสง / ตะพานไม้อย่างใหม่ริมวังพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ / ตะพานหกสระประทุมวรรณ์ / และ
ตะพานหกริมวังพระองค์เจ้าสาย


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 02 ก.ค. 14, 14:54
มีข้อมูลสะพานหก นำมาเพิ่มเติมให้ครับ สำหรับสะพานหก เมื่อ ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓) นำความจากการวางกองพลตระเวนในเขตกรุงเทพฯ

๑. สะพานหก บ้านมอญ (คลองบางไส้ไก่)

๒. สะพานหก สวนเจ้าพระยาภาณุวงศ์

๓. สะพานหก (วางกองพลตระเวนที่สามแยกสะพานพก แถววัดหงษ์)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 31 ก.ค. 14, 16:53
สอบถามครับหลวงพ่อท่านชื่ออะไรครับ

(http://image.ohozaa.com/i/6c2/y9beBt.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xKvT1IKfG9zpu84r)


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ก.ค. 14, 18:43
ขอย้อนไปยังรูปใน คห.30 แว๊บนึงครับ

ดีจัง ได้เห็นท้ั้งรถสามล้อเครื่องที่ใช้เครื่องยนต์สองจังหวะ วิ่งไปใหนมาใหนควันกลบตูดเลย  แล้วก็รถออสตินรุ่นที่ใช้เป็นแท็กซี่ในสมัยนั้น (เข้าใจว่าเป็นรุ่น A30 ??) ก่อนที่จะถูกแย่งตลาดไปด้วยรถเรย์โนลด์เครื่องท้าย (รุ่น 4CV ??) แล้วก็ตามมาด้วยการแย่งชิงตลาดไปอย่างเรียบวุธด้วยรถดัทสันบลูเบิร์ด

ผมจำไม่ได้ว่าเคยขึ้นรถรางสายที่กล่าวถึงกันนี้หรือไม่  จำได้แต่ว่าเคยใช้สายที่เริ่มต้นจากอู่สามเสน วิ่งไปตามถนนสามเสนแล้ว ผ่านราชดำเนิน ไปทางวังบูรพาโน่น


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทพกร ที่ 31 ก.ค. 14, 20:55
รูปในความเห็นที่ 54
คือพระรูปของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
พระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครับ


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 31 ก.ค. 14, 23:13
สถิต ณ วัดพระเชตุพนฯ
ลูกศิษย์ลูกหาโดยมาก โดยเฉพาะสื่อสมัยโน้นจะเอ่ยพระนามอย่างสนิทว่า สมเด็จป๋า


กระทู้: มีภาพมาให้ช่วยกันดูครับ
เริ่มกระทู้โดย: konkao ที่ 03 ส.ค. 14, 06:43
ขอบคุณพี่ๆที่ช้วยตอบครับ  ;D