เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 19:30



กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 19:30
ฮอลันดา (ฮอลแลนด์) เป็นภูมิภาคตะวันตกของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีความหมายว่า “ที่ลุ่มต่ำ” เนื่องจากพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล มีเมืองหลวงชื่อ “อัมส์เตอร์ดัม”  ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ฮอลันดาได้ขยายอิทธิพลทางการค้าไปทั่วโลก ก่อตั้งเมืองที่เป็นท่าเรือคลังสินค้า ตามความชำนาญพื้นที่ กล่าวคือ เป็นที่ลุ่มต่ำ ดินเลน น้ำท่วมถึงตรงปากแม่น้ำ จากนั้นก็จะตั้งชื่อเมืองใหม่ ตามชื่อเมืองหลวงของตนว่า “อัมส์เตอร์ดัม” ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในโลกอยู่ 2 แห่ง ก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน คือ

1.   เมืองนิวอัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำฮัตสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
2.   เมืองนิวอัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ราชอาณาจักรสยาม (ประเทศไทย)

ผมจะขอเน้นไปที่เมืองนิวอัมส์เตอร์ดัมที่บ้านเราก่อนนะครับ
หรือท่านใดมีข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างเมืองนิวอัมสืเตอร์ดัม อเมริกา กับ นิวอัมส์เตอร์ดัม ประเทศไทย ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 19:34
ฮอลันดา ภายใต้ชื่อบริษัทอินเดียตะวันออก  เริ่มเดินทางเข้าสู่หมู่เกาะเครื่องเทศ  เจรจาทางการค้า กับเจ้าผู้ปกครองชาวพื้นเมือง แล้วส่งทูตมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรในปี พ.ศ.2147 โดยมีกองทหารและกองเรือรบคอยคุ้มครองผลประโยชน์ผ่านเมืองปัตตานี จุดมุ่งหมายสำคัญคือการอาศัยเรือสำเภาไทยไปหาช่องทางค้าขายในประเทศจีน และญี่ปุ่น

บันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของ ฟาน วลีต ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปอย่างดีเยี่ยม ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงส่งขณะทูตเดินทางไปประเทศฮอลันดาในปี พ.ศ.2151 เจ้าชายมอรีสก็ได้ส่งคระทูตและเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นการตอบแทน ช่วงนี้เองที่ฮอลันดาได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งคลังสินค้าในกรุงศรีอยุธยา พร้อมให้ดูแลเรือเข้าออกปากแม่น้ำเจ้าพระยา


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 19:39
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (2154-2171) กองเรือชาวฮอลันดาได้มีโอกาสสร้างความดีความชอบในการช่วยเหลือปกป้องราชสำนัก พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินปากน้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ ก่อสร้างบ้านพัก คลังสินค้า หอสังเกตการณ์เดินเรือ  เรียกว่า  “อัมส์เตอร์ดัม”  (เอกสารหลายฉบับ เรียกว่า นิวอัมส์เตอร์ดัม) มีนักเดินเรือที่เดินทางผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาหลายท่าน ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับเมืองนิวอัมเตอร์ดัม แต่ก็ไม่ค่อยละเอียดมากนัก

ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 มีบันทึกการเผาคลังสินค้าฮอลันดาทั้งที่กรุงศรีอยุธยา และที่นิวอัมเตอร์ดัม จนถึงปัจจุบัน ชาวเมืองสมุทรปราการไม่ว่ารุ่นไหน ไม่มีใครที่จะเคยได้เห็น หรือได้เคยฟังเรื่องเรื่องราวของเมืองอัมส์เตอร์ดัม ที่บริเวรปากน้ำเจ้าพระยาอีกเลย


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.พ. 21, 20:55
พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินปากน้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ ก่อสร้างบ้านพัก คลังสินค้า หอสังเกตการณ์เดินเรือ  เรียกว่า  “อัมส์เตอร์ดัม”  (เอกสารหลายฉบับ เรียกว่า นิวอัมส์เตอร์ดัม)

ในแผนที่เก่า ๒ ฉบับนี้ เรียกเมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาของฮอลแลนด์ว่า "Amsterdam"

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2344.0;attach=485;image) (http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=2344.0;attach=487;image)


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 22:19
ขอบพระคุณ คุณเพ็ญชมพู มากครับ

สังเกตจากแผนที่ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีคลองสำคัญอยู่ 2 คลอง
ปากน้ำฝั่งซ้าย (จากภาพ) คือ คลองบางปลากด
ปากน้ำฝั่งขวา คือ คลองปากน้ำ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 22:28
ปากคลองบางปลากด น่าจะมีความสำคัญมากในอดีต
เพราะเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง
อัมส์เตอร์ดัม ตั้งอยู่ตรงปากคลองบางปลเกดทางฝั่งเหนือ
สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการ ตรงปากคลองบางปลากดทางฝั่งใต้
ก่อนที่จะย้ายเมืองสมุทรปราการ มาฝั่งตรงข้าม ตรงคลองปากน้ำ ในสมัยรัชกาลที่ 2


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 22:33
ผมเข้าใจว่า การก่อสร้างเมืองสมุทรปราการตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางปลากด ฝั่งตรงข้ามเมืองอีมส์เตอร์ดัม ก็เพื่อติดตามเฝ้าระวังพ่อค้าชาวฮอลันดา


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 22:35
อัมส์เตอร์ดัม  ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ
สมุทรปราการ ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดฝั่งใต้


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 ก.พ. 21, 22:46
Amsterdam ในบันทึกของ Engelbert Kaempfer นายแพทย์ชาวเยอรมัน ประจำคณะทูตของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) ซึ่งเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักญี่ปุ่น ใน พ.ศ. ๒๒๓๓ ระหว่างทางได้แวะ มายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อถวายพระราชสาส์นของราชทูตแด่สมเด็จพระเพทราชา

ขอชวนไปอ่านบันทึกการเดินทางของแกมป์เฟอร์กันก่อนนะครับ การเดินทางช่วงนี้อยู่ในบทที่ 3 ของบันทึก (การพิมพ์หนังสือเล่มนี้บางครั้งแยกพิมพ์เป็นหลายเล่มย่อย กรณีนี้ บทนี้จะเป็นบทที่ 3 ในเล่ม 1) บันทึกของแกมป์ฟอร์นี้อ่านสนุก มีอะไรดีๆ เรียได้ว่าแทบจะทุกบรรทัด แต่เพื่อไม่ให้ยืดยาวเกินไป ผมจะขอตัดตอนมาเท่าที่เห็นว่าเกี่ยวข้องนะครับ

On the sixth of July we arrived at Bankok in the morning, having advanced but little all night, by reason of the difficulties we had to struggle with. We found the old Fort, which lies on an Island, in good condition; but the new Fort, that had been built by the French on the East shore, was quite demolish'd. Before evening we reached the Dutch Habitation and Store-house called Amsterdam. Amsterdam, which is but two Leagues distant from the Sea.

สรุปคร่าวๆได้ความว่า แกมป์เฟอร์ลงเรือเล็กออกมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1690 เพื่อไปยังเรือใหญ่ที่จอดทอดสมออยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 6 ก็มาถึงบางกอก แล้วไปถึงอัมสเตอดัม ซึ่งก็คือเมืองปากน้ำนั่นเองครับ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 23:25
ตามบันทึกของ แกมป์เฟอร์
 
แกมเฟอร์ผ่านปากน้ำเจ้าพระยาตรงแนวสันดอน ตลอด 2 ข้างทางมีเรือประมงชาวจีนจำนวนมาก
แลเห็นป้อมปืนปากแม่น้ำที่ยังคงสภาพการใช้งานอย่างหนัก น่าจะเกิดจากเหตุการวุนวายที่แล้วมา (หลังสวรรคตของพระนารายณ์)
แล้วจึงมาถึงชุมชนคลังสินค้า อัมส์เตอร์ดัม

ค้างคืนที่อัมส์เตอร์ดัม 1 คืน ก่อนที่จะเดินทางเรือในตอนเช้า เข้าสู่ขนอนที่บางกอก (Bangkok)


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 ก.พ. 21, 23:29
ข้อความของคุณเพ็ญชมพู่ น่าจะเป็นบันทึกขากลับจากกรุงศรีอยุธยา ออกสู่ทะเล


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.พ. 21, 08:40
Amsterdam ในบันทึกของคณะทูตของพระเจ้ากีรติ ศรีราชสิงห์ แห่งศรีลังกา โดยสารเรือของฮอลันดาเคดินทางมาถวายพระราชสาส์นแด่สมเด็จพระบรมโกศ ใน พ.ศ. ๒๒๙๔

วันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1751 คณะทูตได้ขึ้นฝั่งและได้รับการรับรองที่ Amsterdam (พระประแดง)

On the twentieth day of the solar month Mithuna, which is the eighth day of the increasing moon of the lunar month Poson, being Wednesday, about the tenth hour of the morning, two officers came from the capital and accompanied us with the royal message and presents to the place called Amsterdam, which is built at the mouth of the river; here we landed and remained two days.

มีรายละเอียดอยู่ใน หนังสือ forgottenbooks (https://www.forgottenbooks.com/en/download/Religious_Intercourse_Between_Ceylon_and_Siam_in_the_Eighteenth_v18_1000828313.pdf)


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 21, 11:39
ปัจจุบัน สถานที่ตั้งของเมือง คือส่วนไหนของสมุทรปราการในวันนี้คะ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 06 ก.พ. 21, 11:41
คั่นรายการ,

           Amsterdam  ชื่อนี้ มีที่มาจาก  Amestelle (or Amstelland) + dam

           Amestelle, or Amstelland
- พื้นที่พรุ, ชุ่มน้ำ บริเวณอ่าวแม่น้ำ Amstel ทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด์

               โดย Amestelle มาจากคำว่า aam หรือ ame แปลว่า น้ำ - water และ stelle แปลว่า ผืนดินดอนแข็ง,แห้ง
(solid, high, and dry ground)
           
               พื้นที่นี่ได้ถูกจับจองปรับแปรสภาพที่ดินในศตวรรษที่ 10 โดยกสิกรที่อาศัยอยู่บริเวณต้นน้ำขึ้นไป และต่อมาได้มี
การสร้างเขื่อน
              dam ในช่วงปี 1264 and 1275

A 1538 painting by Cornelis Anthonisz showing a bird's-eye view of Amsterdam


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.พ. 21, 12:05
ปัจจุบัน สถานที่ตั้งของเมือง คือส่วนไหนของสมุทรปราการในวันนี้ค่ะ

สันนิษฐานว่าคลังสินค้าของ Amsterdam (A) อยู่ทางเหนือของวัดยายสีเดิม ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงงาน (C) ซึ่งอยู่บนถนนสุขสวัสดิ์ฝั่งซ้ายของคลองบางปลากด  ปากคลองบางปลากดเป็นที่ตั้งของป้อมคงกระพัน (B)

ภาพจากบทความเรื่อง Amsterdam: The VOC warehouse at the Mouth of the Chao Phraya River (https://thesiamsociety.org/wp-content/uploads/2014/04/JSS_102_0g_Dumon_AmsterdamTheVOCWarehouse.pdf) โดย Patric Dumon


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 06 ก.พ. 21, 14:08
พื้นที่ีปากแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากแนวสันดอนที่มีลักษณะเป็นโคลนปนทราย ธรรมชาติตามแนวโค้งแม่น้ำ ทำให้กระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ซัดบางพื้นที่ให้หายไปทีละน้อย ส่วนดินที่ถูกซัดจะไปปรากฏเป็นแผ่นดินตรงฝั่งตรงข้าม ที่กลับยื่นออกไปเรื่อยๆ

คลองบางปลากด เป็นคลองคตเคี้ยว กว่าจะแจวเรือเข้าไปสู่ชุมชนหนึ่งจะต้องผ่านโค้งตลอดแนว ชาวบ้านเรียกกันว่า เป็นคลอง 33 คตคุ้ง การเดินทางไม่สะดวก โดยเฉพาะช่วงน้ำลง จะเป็นเนินสันดอนเข้าออกไม้ได้ ผมจึงยังไม่แน่ใจข้อมูลของคุณ Patric Dumon เพราะมีบันทึกนักเดินทางหลายท่านที่แจ้งว่า แลเห็นอัมส์เตอร์ดัมจากบนเรือ ไม่น่าจะตั้งอยู่ลึกเข้าไปในคลองบางปลากด ถึงพื้นที่ A ตามแผนที่
 
อย่างเช่น บันทึกการเดินทางของเรือดีไลท์ โดย กัปตันจอห์น สมิธ ในภารกิจของบริษัทอิสอินเดียของอังกฤษ ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีนว่า

“...วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ตุลาคม ค.ศ. ๑๖๘๓ (พ.ศ.๒๒๒๖) เราได้มาถึงก้นอ่าวสยามและพบแม่น้ำ ได้ส่งนายอับร. นาวาโรขึ้นฝั่งไป...ในตอนเย็นนายนาวาโรได้กลับมายังเรือ และได้นำตัวคนนำร่องชาวฮอลันดาจากสำนักงานของนายท่าที่อยู่ปากแม่น้ำมาด้วย เพื่อนำเรือของเราข้ามสันดอน และได้มาทอดสมอในแม่น้ำประมาณ ๑ ลีก เหนือที่ทำการท่าเรือของฮอลันดา ซึ่งเรียกว่า อัมสเตอร์ดัม ...”


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 06 ก.พ. 21, 14:13
เหตุผล ที่ต้องขอพระบรมราชานุญาตสร้างอัมส์เตอร์ดัม

1.   เรือสินค้าที่จะเข้าปากน้ำเจ้าพระยา จะต้องผ่านด่านเก็บภาษีที่ขนอนบางกอก บางครั้งเรือที่บรรทุกสินค้าบางส่วนจากบัตตาเวียหรือมาลายู มีจุดประสงค์เพื่อเข้าไปรับสินค้าเพิ่มเติม ณ กรุงศรีอยุธยา แต่สินค้าติดลำเรือจากเมืองอื่นๆ เหล่านั้น กลับจะต้องเสียภาษี ทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจนำเข้ามาขาย อัมส์เตอร์ดัมจึงถือเป็นแหล่งพักสินค้า ก่อนจะกลับมาขนออกไปต่างประเทศ
2.   การมีคลังสินค้าตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถเก็บกัก รวบรวมสินค้าทีละน้อยในช่วงมรสุม ก่อนที่จะบรรทุกลงเรือ ออกเดินทางในช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินเรือในแต่ละปี
3.   อัมส์เตอร์ดัม เป็นชุมชนคลังสินค้า มีที่พัก สามารถทำรายได้จากค่าเช่าที่เก็บสินค้า และรับรองลูกค้าชาติอื่นๆ ได้ด้วย
4.   สินค้าบนคลังสินค้าอัมส์เตอร์ดัม ถือเป็นสินค้าปลอดภาษี เรือจากหลายๆ ชาติ สามารถแวะซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยไม่ต้องเดินทางเข้าไปถึงกรุงศรีอยุธยา


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 06 ก.พ. 21, 14:20
ปากคลองบางปลากด หันหน้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564
ซ้าย คือ ปากคลองฝั่งเหนือ
ขวา คือ ปากคลองฝั่งใต้

อัมส์เตอร์ดัม ตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือ (ยังไม่ยืนยันสถานที่ตั้ง)


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.พ. 21, 15:53
Patrick Dumon อ้างจาก แผนที่  Kaart van de Rivier van Siam ของ Isaac De Graaff (https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:AMH-2516-NA_Chart_of_the_river_of_Siam.jpg) แผนที่ฉบับนี้เขียนโดยกำหนดมาตราส่วน จาก Amsterdam ถึงปากคลองบางปลากด มีระยะทางประมาณ ๑/๔ ดัชต์ไมล์ (Dutch mile) เท่ากับ ๑.๔ กิโลเมตร ซึ่งตรงกับตำแหน่ง  (C) หรือวัดยายสีเดิม


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 06 ก.พ. 21, 20:31
ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู มากครับ
ชัดเจนแล้วครับ ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูล 2 เรื่องนะครับ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 06 ก.พ. 21, 20:45
1. พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงปากคลองบางปลากด เป็นพื้นที่น้ำเชี่ยว เวลาน้ำขึ้นและลงในแต่ละวัน จะซัดตลิ่งทำให้แผ่นดินค่อยๆ หาย ในขณะที่พื้นที่ถัดลงมา เป็นพื้นที่ตะกอนที่ซัดตลิ่งปากคลอง ลงมากอง ทำให้กลายเป็นพื้นที่แผ่นดินงอก เป็นสาเหตุทำให้เกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ หมดความเป็นเกาะกลายเป็นแผ่นดินริมแม่น้ำ ในขณะที่ปากคลองบางปลากดที่ถูกน้ำกัดเซาะหายไปทีละน้อย อาจทำให้อัมส์เตอร์ดัมไม่ได้อยู่ลึกไปถึงวัดยายสี (ปัจจุบัน ไม่ปรากกวัดนี้แล้วครับ)  


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 06 ก.พ. 21, 21:01
2. ระหว่างเส้นทางน้ำจากปากคลอง เข้าพื้นที่ในคลองถึงพื้นที่ A เส้นทางโบราณจะต้องอ้อม เป็นทางโค้งรูปเกือกม้า คลองบางปลากดในช่วงน้ำลง จะกลายเป็นดินโคลนของสันดอนโผล่ขึ้น ไม่น่าจะเหมาะแก่การเป็นท่าเรือ ขึ้นลงสินค้า (ไม่มีข้อมูลการขุดคลองลัดโค้ง เพราะผมจำความได้ก็เห็นคลองลัดนี้แล้วครับ)


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 06 ก.พ. 21, 21:17
คณะพระภิกษุชาวลังกาที่เดินทางเข้ามาเมืองไทย เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๒๙๔
ได้บันทึกไว้ตอนทอดสมอตรงปากอ่าวกรุงศรีอยุธยา เวลา ๑๑ โมง มีข้าราชการกรมการเมืองสมุทรปราการ ๒ คน มานำร่องพาเรือกำปั่น แล่นเข้าปากน้ำบางเจ้าพญา โดยกล่าวไว้ว่า

“เรือผ่านปากคลองบางปลากด จอดที่ตำบลอัมส์เตอร์ดัมที่พวกวิลันดา (ฮอลันดา) สร้างไว้ที่ปากน้ำ .....  ล่วงอีก ๗ วัน มีข้าราชการไทย ๓ คนมาเยี่ยม.....มอบของต้อนรับ คือ มะพร้าวอ่อน มะพร้าวห้าว หมากพลู เป็นต้น”


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 06 ก.พ. 21, 21:49
ต้นฉบับภาษาอังกฤษจากหนังสือ forgottenbooks (https://www.forgottenbooks.com/en/download/Religious_Intercourse_Between_Ceylon_and_Siam_in_the_Eighteenth_v18_1000828313.pdf)


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 06 ก.พ. 21, 22:04
อ่่านแล้วชักไม่แน่ใจว่าคนที่คุมการเข้าออกปากน้ำเจ้าพระยา เป็นข้าราชการไทย หรือ กองเรือฮอลันดา
และคงจะเป็นขั้นตอนที่ต่างชาติคงมองว่่า หยุมหยิมล่าช้ามาก กว่าจะได้เดินทางเข้าสู่กรุงสรีอยุธยา


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.พ. 21, 15:59
จากหนังสือ ตามรอยบันทึกชาวต่างชาติจากอ่าวสยามสู่ลำน้ำเจ้าพระยา (http://www.finearts.go.th/storage/contents/file/jm9aUCycS5o9vVgVIdbGuHDzzf1T3FvuO9B5zPtZ.pdf) กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๕๗ หน้า ๑๕๓ - ๑๕๔


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 07 ก.พ. 21, 16:29
นาทีที่ ๖.๔๕ ความเชื่ออีกแนวหนึ่ง คุณสมชาย ชัยประดิษฐรักษ์ ผู้จัดทำคลิปนี้ เชื่อว่าป้อมคงกระพันสร้างทับพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของ Amsterdam

https://youtu.be/5bL27WrKIGg


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 07 ก.พ. 21, 17:36
ขอบคุณมากครับ

หากเราจะเปรียบเทียบกับเมืองนิวอัมส์เตอร์ดัม ที่อเมริกา (ปัจจุบัน คือ นิวยอร์ค) ปากแม่น้ำฮัตสัน ที่สร้างในช่วงเดียวกัน โดยชาวฮอลันดาเหมือนกัน
นิวอัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำฮัตสัน สร้าง พ.ศ.2167
อัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรม (ครองราชย์ พ.ศ.2154-2171)
เราจะพอประมาณลักษณะของเมืองอัมส์เตอร์ดัม ที่ปากน้ำเจ้าพระยา จะมีลักษณะใกล้เคียงกับอัมส์เตอร์ดัมที่อเมริกา (ตามรูปข้างล่างนี้) จะได้มั้ยครับ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 08 ก.พ. 21, 08:28
ภาพ "เมืองนิวอัมสเตอร์ดัม" ตอนต้นคลิปของคุณสมชาย ชัยประดิษฐ์รักษ์ แท้จริงเป็นภาพ "กรุงศรีอยุธยาท่ามกลางพายุ" วาดโดย ปีเตอร์ ฟาน เดอ อา (Pieter van der Aa) นักแผนที่ชาวฮอลันดา เป็นภาพมุมกว้างของกรุงศรีอยุธยาที่มองจากบ้านฮอลันดา ชุมชมของชาวยุโรปที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงศรีอยุธยา

ปีเตอร์ ฟาน เดอ อา ได้พิมพ์เผยแพร่และจำหน่าย ภายใต้ชื่อภาพ La Ville de Judia ou de Siam ou and quell ใน พ.ศ. ๒๒๕๐ รัชกาลพระเจ้าเสือ โดยที่ไม่เคยเดินทางมากรุงศรีอยุธยาเลย แต่อาศัยต้นแบบจากภาพ De stadt Iudia ที่วาดโดยจิตรกรชาวฮอลันดา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๓ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

(http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/01/K10145048/K10145048-3.jpg?fbclid=IwAR3CQNTXazcpT6IDFhkyMRuRJaUqDSEX7DmsS6OJH-PBlHS8VMAzyGOLZJo)

ข้อมูลจาก ชมรมประวัติศาสตร์สยาม (https://www.facebook.com/siamhistory/photos/a.435240936530190/498476640206619/?type=3)


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 08 ก.พ. 21, 10:42
คั่นรายการ,

               เมืองท่านิวอัมสเตอร์ดัม ปรากฏคงอยู่ใน คำขวัญประจำอำเภอพระสมุทรเจดีย์

phrasamutchedi.samutprakan.doae.go.th/Pravut.htm


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 08 ก.พ. 21, 14:21
ขอกลับไปที่โค้งรูปเกือกม้า จากปากคลองบางปลากด เข้าไปในเส้นทางลำคลอง
เปรียบเทียบภาพปัจจุบัน กับ ภาพจากกรมแผนที่ทหารเมื่อปี พ.ศ.2455
แสดงว่าการขุดคลองลัดโค้ง เพิ่งทำหลังปี 2455 และ วัดโบถ ที่อยู่ตรงทางลัดโค้ง ปัจจุบัน ไม่เหลือแล้ว


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 08 ก.พ. 21, 14:44
ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์ มีป้อมปราการหลายป้อม จะขอเลือกป้อมที่สำคัญ 4 ป้อม ตามที่ทำตำแหน่งหมายเลขไว้บนแผนที่

1. ป้อมพระจุลจอมเกล้า สร้างสมัยรัชกาลที่ 5
2. ป้อมนาคราช เป็นป้อมใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ 2
3. ป้อมผีเสื้อสมุทร ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำ สร้างสมัยรัชกาลที่ 2
4. ป้อมคงกระพัน สร้างสมัยรัชกาลที่ 3

ป้อมนาคราช และป้อมผีเสื้อสมุทร ถูกระบุว่าสร้างอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
ป้อมพระจุลจอมเกล้า ก็ถูกระบุว่า สร้างอยู่ตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา
แสดงว่าปากแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ค่อยๆ ยื่นออกไปเรื่อยๆ จากตำแหน่งที่ 2 + 3 (สมัยรัชกาลที่ 2) ออกไปถึงตำแหน่งที่ 1 (สมัยรัชกาลที่ 5)

ส่วนป้อมคงกระพัน ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดทางฝั่งเหนือ ซึ่งใกล้เคียง หรือ ตรงกับตำแหน่งเดิมของเมืองอัมส์เตอร์ดัมพอดี ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เรา ค้นหาซากเมืองอัมส์เตอร์ดัมไม่เจอ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: kui045 ที่ 08 ก.พ. 21, 15:02
วัดระยะทางริมฝั่งจากป้อมผีเสื้อถึงป้อมพระจุล ประมาณ 7 กม.
ไม่น่าเป็นไปได้ว่า แค่ระยะ 70-80 ปี (จากร.2-ร.5) ปากแม่น้ำจะขยับได้ไกลขนาดนี้


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 08 ก.พ. 21, 20:42
ปากแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ยื่นออกไปทันที
แต่จะปรากฏเป็นแนวสันดอนที่เป็นแผ่นดินปริ่มน้ำ โผล่ขึ้นยามน้ำลง
หากมีการตกตะกอนของธุรลีดินที่ไหลมาจากต้นน้ำทางภาคเหนือและภาคกลาง
ก็จะกลายเป็นแผ่นดิน เกิดเป็นปากแม่น้ำแหล่งใหม่


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 08 ก.พ. 21, 20:45
สังเกตุที่คลองปากน้ำสมัยกรุงศรีอยุธยา กับแผนที่ปี 2455


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 08 ก.พ. 21, 20:59
ภาพสันดอนหน้าองค์พระสมุทรเจดีย์ จาก Facebook ของคุณ คนปากน้ำคุยอะไรกัน
https://www.facebook.com/PaknamSamutprakar/photos/a.1050809908438498/1332623703590449/

พระสมุทรเจดีย์ อยู่ห่างจากปากคลองบางปลากดเพียงโค้งแม่น้ำเล็กน้อย
ยามน้ำลง เรือจะเข้าออกร่องน้ำนี้ไม่ได้


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 08 ก.พ. 21, 21:29
ร่องน้ำระหว่างองค์พระสมุทรเจดีย์กับเกาะป้อมผีเสื้อสมุทร นานๆไปพ้นยุคเราท่าน เป็นไปได้ว่าจะตื้นขึ้นเรื่อยๆจนเป็นผืนดินเดียวกัน เช่นเดียวกับพระเจดีย์กลางน้ำขึ้นฝั่งไปเรียบร้อยแล้ว และจะห่างฝั่งเข้าไปเรื่อยๆ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 08 ก.พ. 21, 21:57
เห็นด้วยครับ
โชคดีที่เกาะป้อมผืเสื้อสมุทรอยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือ จึงไม่มีชาวบ้านกล้าบุกรุก และจะมีงบประมาณขุดร่องน้ำไม่ให้แผ่นดินยื่นเข้ามา
ส่วนพระสมุทรเจดีย์อยู่ภายใต้การดูแลของจังหวัด ......


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 08 ก.พ. 21, 22:00
ไม้ป่าชายเลนท้ายเกาะป้อมผีเสื้อ ถูกทอนลงอย่างสม่ำเสมอจนมองดูเหมือนไม้่พุ่มคลุมดิน ทั้งนี้เพื่อเปิดทัศนียภาพองค์พระสมุทรเจดีย์ มิฉะนั้นจะกลายเป็นพระเจดีย์กลางป่าชายเลน


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 10 ก.พ. 21, 16:11
ป้อมคงกระพัน สร้างสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2377)
ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ

บริเวณที่เชื่อว่าเป็นเมืองอัมส์เตอร์ดัม
ปัจจุบัน เป็นชุมชนหมู่บ้านคงกระพันชาตรี


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 10 ก.พ. 21, 16:13
หมู่บ้าน กับ ซากป้อมคงกระพัน แทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 10 ก.พ. 21, 16:17
พื้น ทางเดิน พนังบ้าน รั้ว กับ ซากป้อมคงกระพัน 


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 10 ก.พ. 21, 19:36
บริเวณที่เชื่อว่าเป็นเมืองอัมส์เตอร์ดัม ปัจจุบัน เป็นชุมชนหมู่บ้านคงกระพันชาตรี

ระยะเวลากว่า ๔๐๐ ปี อาจทำให้ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าระหว่างระยะเวลาอันยาวนานนี้ Amsterdam อาจถูกกระแสน้ําไหลพัดเซาะตลิ่งจนพังทลายลงไปในคลองเสียแล้ว

หากเป็นเช่นนั้น หมู่บ้านคงกระพันชาตรีคงไม่ได้สร้างทับ Amsterdam แต่สร้างทับป้อมคงกระพัน
 ;D

นอกจากทําหน้าที่เป็นเมืองด่านทางทะเลแล้ว เมืองสมุทรปราการ ยังเป็นเมืองท่าด้วย ดังท่ีได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มี ชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาค้าขายได้ต้ังสถานีการค้าของเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” ข้ึนในบริเวณบางปลากด อย่างไรก็ดีบทบาทด้านนี้คงเป็น บทบาทรองและสภาพการค้าในบางปลากดคงมีความคึกคักเพียงช่วงสั้น ๆ เท่าน้ัน เนื่องจากหลังรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมการค้าระหว่างเนเธอร์แลนด์กับสยามค่อย ๆ ซบเซาลง เนื่องจากชาวเนเธอร์แลนด์ไม่พอใจที่ราชสํานักสยาม ทําการค้าต่างประเทศด้วยตนเองมากกว่าท่ีจะทําการค้าต่างประเทศผ่านพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินนโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัมปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ําที่ไหลพัดเซาะตลิ่ง

จาก วิวัฒนาการของเมืองสมุทรปราการ : จากเมืองป้อมปราการสู่เมือง “กึ่งสมัยใหม่” (https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA/article/download/44792/37136) โดย ดร.โดม ไกรปกรณ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  วารสารหน้าจั่วฯ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๕๘ หน้า ๒๗๙

ซากป้อมคงกระพัน ถ่ายภาพโดย Patrick Dumon พ.ศ. ๒๕๕๖


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 11 ก.พ. 21, 17:20
จากหนังสือ ตามรอยบันทึกชาวต่างชาติจากอ่าวสยามสู่ลำน้ำเจ้าพระยา (http://www.finearts.go.th/storage/contents/file/jm9aUCycS5o9vVgVIdbGuHDzzf1T3FvuO9B5zPtZ.pdf) กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๕๕๗ หน้า ๑๕๓ - ๑๕๔

นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ การค้าของฮอลันดาในไทย ค่อนข้างขึ้นๆ ลงๆ บางครั้งก็ขัดแย้งกัน ถึงกับฮอลันดาเคยนำเรือรบมาปิดปากอ่าวสยาม แต่เอาเข้าจริง คลังสินค้าอัมส์เตอร์ดัมกลับยังคงอยู่จนถึงช่วงท้ายของกรุงศรีอยุธยา
เอกสารตามบันทึกเรื่องคณะทูตลังกา พ.ศ. 2293 (17 ปี ก่อนกรุงแตก) อัมส์เตอร์ดัมยังคงอยู่
คำถาม ..... อัมเตอร์ดัม น่าจะหายไปช่วงไหน


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 11 ก.พ. 21, 17:26
แผนที่เมื่อปีเดียวกัน (พ.ศ.2297)
“Carte Du Cours Du Menan, Depuis Siam Jusqu’a la Mer” from Jacques-Nicolas Bellin, 1750
ก็ยังปรากฎเมืองอัมส์เตอร์ดัม ตรงปากคลองบางปลากด


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 11 ก.พ. 21, 21:42
Patrick Dumon อ้างจาก แผนที่  Kaart van de Rivier van Siam ของ Isaac De Graaff (https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:AMH-2516-NA_Chart_of_the_river_of_Siam.jpg) แผนที่ฉบับนี้เขียนโดยกำหนดมาตราส่วน จาก Amsterdam ถึงปากคลองบางปลากด มีระยะทางประมาณ ๑/๔ ดัชต์ไมล์ (Dutch mile) เท่ากับ ๑.๔ กิโลเมตร ซึ่งตรงกับตำแหน่ง  (C) หรือวัดยายสีเดิม

สภาพแวดล้อมเมืองอัมเตอร์ดัม

จากข้อมูลคุณ Patrick Dumon จากปากอ่าวสยาม ก่อนจะเข้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา นักเดินทางจะต้องเจออุปสรรค์สำคัญ คือ สันดอน
สันดอน เป็นแนวดินโคลนปนทราย เกิดจากการทับถมของธุลีดิน ที่ไหลลงมาจากทางภาคเหนือและภาคกลาง ทุกครั้งที่เราเห็นภาพข่าว โคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก น้ำที่มีสีขุ่นดำหรือน้ำตาล ทั้งหมดจะไหลลงมากองอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
สันดอน เป็นแผ่นดินใต้น้ำ ขนาดกว้างและไกลออกจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 10 กิโลเมตร ในอดีตสันดอนถือเป็นปราการธรรมชาติที่คอยกั้นเรือข้าศึกไม่ให้บุกเข้าสู่เมืองหลวงได้โดยง่าย เรือที่เข้ามาโดยไม่มีความชำนาญ จะติดสันดอน กลายเป็นเป้านิ่งให้โดนโจมตี
ดังนั้น เรือจากต่างประเทศทุกลำจะต้องจอดอยู่บริเวณนอกสันดอน เพื่อรอข้าราชการไทย ส่งเรือเล็กไปรับสินค้า หรือนำร่องเข้าสูปากแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างปลอดภัย

ภาพ เรือติดสันดอน เรือลำนี้ติดสันดอนประมาณ 60 วัน กว่าจะหลุดจากสันดอนโคลนดูด


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 11 ก.พ. 21, 21:59
เรือทุกลำเมื่อผ่านข้ามสันดอนเข้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ จะต้องจอดบริเวณด่านเมืองสมุทรปราการ
เมืองสมุทรปราการดั้งเดิมตั้งอยู่บริเวณ ปากคลองบางปลากดฝั่งใต้ ตรงข้ามเมืองอัมส์เตอร์ดัม ที่ตั้งอยู่ปากคลองบางปลากดฝั่งเหนือ
หน้าที่ของเจ้าเมืองสมุทรปราการ คือ การตรวจเช็คเรือทุกลำไม่ให้นำอาวุธเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา ปืนใหญ่ทุกกระบอกจะถูกลากลง เก็บไว้ที่คลัง และจะกลับมารับคืนได้ เมื่อจะเดินทางออกทะเล

การก่อสร้างเมืองสมุทรปราการ และการมีพระบรมราชานุญาตให้ฮอลันดาสร้างชุมชนอัมส์เตอร์ดัม ก็เพื่อผลประโยนช์ร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ

เมืองสมุทรปราการ มีหน้าที่ปกป้องเรือข้าศึกไม่ให้เข้าสู่เมืองหลวง และคอยสอดส่องดูแลเมืองอัมส์เตอร์ดัมไปในตัว
เมืองอัมส์เตอร์ดัม จะต้องคอยรักษาผลประโยนช์ และสินค้า ไม่ให้ถูกเรือจากชาติอื่นเข้ามาแย่งตลาด เมืองอัมส์เตอร์ดัมจึงต้องมีป้อมขนาดย่อมป้องกันตัวเอง และยังมีเรือติดอาวุธเฝ้าระวังอยู่ปากแม่น้ำหรือปากอ่าวสยาม


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 12 ก.พ. 21, 16:50
https://thesiamsociety.org/wp-content/uploads/2014/04/JSS_102_0g_Dumon_AmsterdamTheVOCWarehouse.pdf
Amsterdam: The VOC warehouse at the Mouth of the Chao Phraya River โดย Patric Dumon

1.   ระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม พ.ศ.2198 มีการขนสินค้าลงท่าเรืออัมเตอร์ดัมถึง 520 ตัน และยังมีสินค้าอยู่ระหว่างการเดินทาง จะเข้ามาเสริมอีก 1000 ตัน
2.   อัมส์เตอร์ดัม ยังมีชื่อเสียงด้านการเป็นอู่ซ่อมเรือสินค้า เพราะราคาถูก คุณภาพดี มีช่างไม้ที่มีความชำนาญ
3.   เรือสินค้าพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำเรือจำนวน 100 นาย สามารถเข้าเทียบท่า และพักอาศัยได้

สภาพเมืองอัมส์เตอร์ดัม :
การสร้างท่าเทียบเรือจะต้องใหญ่โตมั่นคง คลังสินค้าจะต้องกว้างใหญ่มาก ถึงขนาดรับสินค้า 1000 ถึง 1500 ตัน อาคารที่พักจะต้องรองรับพนักงาน พร้อมที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่เรือลูกค้า ลักษณะคงต้องเป็นชุมชนขนาดใหญ่ การจัดหาอาหาร สิ่งอุปโภคบริโภค น้ำจืด น้ำใช้ ทั้งเรือลูกค้าก็ยังมีทั้งเรือจากจีน แขกมาลายู ฝรั่ง การเตรียมสถานที่สำหรับคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา จะต้องมีความพร้อม และที่สำคัญที่สุด เมืองจะต้องมีระบบความปลอดภัยทั้งจำนวนคน ป้อมค่าย และอาวุธ ฮอลันดายังมีเรือติดอาวุธ ดูแลตั้งแต่ปัตตาเวีย มาลายู ปัตตานี จนถึงปากน้ำเจ้าพระยา

ในหนังสือแปลโดย นันทนา สุดกุล. เอกสารของฮอลันดาสมัยยกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร) 2513 หน้า 44-45
สินค้าของบริษัทอินเดียตะวันออก (ฮอลันดา) มีทั้งจากการซื้อและขาย นำเข้าและส่งออก
ของจากไทยได้แก่ พริกไทย งาช้าง หนังสัตว์ ฝาง
ของนำเข้า ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องถ้วยชาม  



กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 12 ก.พ. 21, 17:30
กำเนิดธงแดงของไทย อาจไม่ได้เกิดที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ขออนุญาตสรุป     : เรือฝรั่งเศสแล่นมาถึงป้อมวิไชยประสิทธิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่ทราบธรรมเนียน ได้ชักธงฮอลันดาขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสไม่พอใจ จนเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ต้องแก้ปัญหาโดยการหยิบผ้าแดงขึ้นมาทำเป็นธง จนฝรั่งเศสให้การยอมรับ เป็นที่มาของธงชาติไทยผืนแรก คือ ธงแดง

ความสมเหตุสมผล : ก่อนฝรั่งเศสจะเข้ามา ไทยมีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกแล้วหลายชาติ ทั้งโปรตุเกส อังกฤษ ฮอลันดา ควจจะทราบธรรมเนียมระหว่างประเทศดี
ความเห็นส่วนตัว   : เหตุน่าจะเกิดที่ปากน้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางปลากดระหว่างเมืองสมุทรปราการ และเมืองอัมส์เตอร์ดัม เพราะสิ่งแรกที่เรือฝรั่งเศสจะพบ คือ อัมส์เตอร์ดัม ไม่ใช่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่น่าจะกล้าชักธงฮอลันดา แต่น่าจะเป็นชาวฮอลันดาที่ต้องแสดงอาณาเขตพื้นที่คลังสินค้าของตน

จากภาพ ธรรมเนียมการจัดขบวนเรือต้อนรับคณะทูตลังกา ณ เกาะอัมส์เตอร์ดัม ก่อนจะเดินทางไปป้อมที่บางกอก


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.พ. 21, 10:53
ในหนังสือ Dutch East India Company Merchants at the Court of Ayutthaya  Dutch Perceptions of the Thai Kingdom, c.1604-1765 (https://bunker4.zlibcdn.com/dtoken/b509239a64672a2e4ed217ba831824e2) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า ๔๓-๔๔ ระบุว่า Amsterdam ตั้งอยู่ที่ 'บ้านเจ้าพระยา' (Ban Chao Phraya)❓

The VOC had some other properties which were established by per- mission of the kings and were also indications of the range and nature of Dutch activities in the kingdom. Besides the comptoir in Ayutthaya, the Company possessed a warehouse called Amsterdam situated in the village of Ban Chao Phraya (often called the ‘Sea Village’ in the VOC records) at Pak Nam, the mouth of the Chao Phraya River, which is connected to the present-day Gulf of Thailand; it was the place at which the East Indiamen called.

Ban Chao Phraya คือ Bantianphia ในแผนที่ของแกมป์เฟอร์

MAP OF THE CHAO PHRAYA RIVER BY ENGELBERT KAEMPFER (Siam 1690) (https://www.ayutthaya-history.com/Geo_IMap_Kaempfer1.html)


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 13 ก.พ. 21, 11:33
ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพู มากครับ
 
สภาพทางภูมิศาสตร์ อัมส์เตอร์ดัม ปากคลองบางปลากด
ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา เอกสารบางฉบับเรียก เกาะอัมส์เตอร์ดัม ซึ่งน่าจะเกิดจากการขุดคลองล้อมรอบเพื่อเป็นแนวป้องกัน พื้นที่โดยรอบเป็นแนวชายเลนป่าจาก โกงกาง ลำพู น้ำท่วมถึง ตลิ่งจะตื้นด้วยแนวโคลน การสร้างท่าเรือจะต้องยื่นออกแม่น้ำ หรือยื่นออกแนวริมคลองพอสมควร พื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งหอยปูปลาและลิงแสม น้ำในคลองช่วงน้ำขึ้นจะเป็นน้ำเค็ม แล้วจะเป็นน้ำจืดถึงจืดสนิทในช่วงน้ำลง สัตว์ป่าในบริเวณนี้จะตัวโตกว่าที่อื่น สมัยรัชกาลที่ 5 ยังปรากฏจระเข้ขนาดใหญ่ ขึ้นมาคาบคนจากในคลองว่ายออกปากแม่น้ำเจ้าพระยา เอกสารของคุณ Patrick Dumon ยังเล่าว่า มีเสือเข้าทำร้ายกะลาสีเรือขณะเมาหลับจนเสียชีวิต

คนปากน้ำปัจจุบัน จะนึกไม่ออกว่ามีเสือในพื้นที่ได้อย่างไร แต่เอกสารของแกมป์เฟอร์ เข้าพักค้างคืนที่อัมส์เตอร์ดัม เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2233 ก็ยังได้กล่าวย้ำถึงเสือและสัตว์ร้ายอื่นๆ อีกด้วย
ภาพจากหนังสือ ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเกลื่อน ชัยนาม ) พระยาอุภัยพิพากษา วันที่ 25 มีนาคม 2487


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.พ. 21, 12:46
หนังสือ ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเกลื่อน ชัยนาม ) พระยาอุภัยพิพากษา วันที่ 25 มีนาคม 2487

คุณประกอบเคยเอาหนังสือมาฝากไว้ในเรือนไทย  ;D

พอดีเคยไปโหลดหนังสือ "ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์" มาจากเพจแห่งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว แปลและจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร ไม่มั่นใจเรื่องลิขสิทธิ์ แต่ใครสนใจลองโหลดไปอ่านได้ครับ

shorturl.at/jqP89 (http://shorturl.at/jqP89)

แผนที่การเดินทางของหมอแกมป์เฟอร์ตามลำน้ำเจ้าพระยา จาก หนังสือไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ หน้า ๒๖-๒๗


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.พ. 21, 16:17
หน้า ๒๔ - ๒๕


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 13 ก.พ. 21, 16:54
ในหนังสือ Dutch East India Company Merchants at the Court of Ayutthaya  Dutch Perceptions of the Thai Kingdom, c.1604-1765 (https://bunker4.zlibcdn.com/dtoken/b509239a64672a2e4ed217ba831824e2) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า ๔๓-๔๔ ระบุว่า Amsterdam ตั้งอยู่ที่ 'บ้านเจ้าพระยา' (Ban Chao Phraya)❓

The VOC had some other properties which were established by per- mission of the kings and were also indications of the range and nature of Dutch activities in the kingdom. Besides the comptoir in Ayutthaya, the Company possessed a warehouse called Amsterdam situated in the village of Ban Chao Phraya (often called the ‘Sea Village’ in the VOC records) at Pak Nam, the mouth of the Chao Phraya River, which is connected to the present-day Gulf of Thailand; it was the place at which the East Indiamen called.

Ban Chao Phraya คือ Bantianphia ในแผนที่ของแกมป์เฟอร์

MAP OF THE CHAO PHRAYA RIVER BY ENGELBERT KAEMPFER (Siam 1690) (https://www.ayutthaya-history.com/Geo_IMap_Kaempfer1.html)

บ้านเจ้าพระยา (บางเจ้าพระยา บางคนอ่าน Bantianphia ว่า บ้านท่านพระยา) เป็นชุมชนปากคลองปากน้ำ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามคลองบางปลากด เป็นอีกหนึ่งชุมชนปากน้ำเจ้าพระยาที่หายไปจากแผนที่ เพราะสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อเนื่องถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างป้อมปราการหลายป้อม มีข้อความในหนังสือประวัติวัดกลางวรวิหาร (ตั้งอยู่ริมคลองปากน้ำ) กล่าวว่า ท่านเจ้าอาวาสวัดกลางฯ เห็นความลำบากของชาวบ้านที่ถูกเวนคืนที่ เพื่อสร้างป้อมปราการ จึงจัดที่ดินบริเวณหลังวัดให้ชาวบางเจ้าพระยาเข้ามาอยู่ เรียกว่า ชุมชนบ้านใหม่


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 13 ก.พ. 21, 17:19
Bantianphia บางเจ้าพระยา : ปากน้ำบางเจ้าพระยา โดย คุณสมชาย ชัยประดิษฐรักษ์

https://youtu.be/2G6wro1Cud4


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 14 ก.พ. 21, 19:12
คลองบางปลากด
เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับ แม่น้ำท่าจีน เป็นทางน้ำเก่าแก่ คดเคี้ยว เพราะเกิดจากกระแสน้ำธรรมชาติพัดตลิ่งจนเป็นทางโค้งไปมา ระหว่างทางจะมีชุมชนโบราณ คือ บ้านสาขลา ที่มีหลักฐานการขุดพบวัตถุโบราณ ชาวบ้านสาขลาจะให้ฉายาคลองบางปลากดเป็นคลอง 33 คดคุ้ง เดินทางลำบาก ปี พ.ศ.2482 รัฐบาลจึงแก้ปัญหาด้วยการขุดคลองใหม่ ตรงจากปากน้ำเจ้าพระยาออกปากแม่น้ำท่าจีน คือ คลองสรรพสามิต ทำให้คลองบางปลากดหมดความสำคัญและตื้นเขินไปหลายจุด

สมุทรปราการ มีคลองโบราณสำคัญ 2 คลอง เป็นเส้นทางเชื่อม 3 แม่น้ำ ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ในการเดินทางระหว่างลุ่มน้ำท่าจีน เจ้าพระยา สู่เมืองเมืองนครธมในสมัยโบราณ
คลองสำโรง (เชื่อว่าขอมเป็นคนสร้าง) เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับ แม่น้ำบางประกง
คลองบางปลากด (ไม่ทราบคนสร้าง) เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับ แม่น้ำท่าจีน

จากภาพในแผนที่เก่า ปี พ.ศ.2097 สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมัยที่ฝรั่งยังมองเอเชียจากทิศทางของตัวเองเป็นหลัก (แผนที่ กลับหัว) ปรากฏมีชื่อคลองบางปลากด อยู่ด้วย
Southeast Asia with China, Japan and the Philippines, by G.B. Ramusio. 1554
https://sanderusmaps.com/our-catalogue/antique-maps/asia/china/old-antique-map-of-southeast-asia-with-china-japan-and-the-philippines-by-g-b-ramusio-26314


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 14 ก.พ. 21, 19:14
หนังสือ ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเกลื่อน ชัยนาม ) พระยาอุภัยพิพากษา วันที่ 25 มีนาคม 2487

คุณประกอบเคยเอาหนังสือมาฝากไว้ในเรือนไทย  ;D

พอดีเคยไปโหลดหนังสือ "ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์" มาจากเพจแห่งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว แปลและจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร ไม่มั่นใจเรื่องลิขสิทธิ์ แต่ใครสนใจลองโหลดไปอ่านได้ครับ

shorturl.at/jqP89 (http://shorturl.at/jqP89)

แผนที่การเดินทางของหมอแกมป์เฟอร์ตามลำน้ำเจ้าพระยา จาก หนังสือไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ หน้า ๒๖-๒๗

เส้นทางคลองบางปลากด


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Jalito ที่ 16 ก.พ. 21, 12:46
อาจเป็นไปได้ว่าอัมสเตอร์ดัมที่ริมเจ้าพระยาอาจหายไปเพราะกระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งตลอดมาเป็นเวลา ๔๐๐ ปี เและที่ตั้งเป็นฝั่งคุ้งน้ำ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 16 ก.พ. 21, 14:34
ฮอลันดา ภายใต้ชื่อบริษัทอินเดียตะวันออก  เริ่มเดินทางเข้าสู่หมู่เกาะเครื่องเทศ  เจรจาทางการค้า กับเจ้าผู้ปกครองชาวพื้นเมือง แล้วส่งทูตมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวรในปี พ.ศ.2147 โดยมีกองทหารและกองเรือรบคอยคุ้มครองผลประโยชน์ผ่านเมืองปัตตานี จุดมุ่งหมายสำคัญคือการอาศัยเรือสำเภาไทยไปหาช่องทางค้าขายในประเทศจีน และญี่ปุ่น

บันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของ ฟาน วลีต ระบุว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปอย่างดีเยี่ยม ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงส่งขณะทูตเดินทางไปประเทศฮอลันดาในปี พ.ศ.2151 เจ้าชายมอรีสก็ได้ส่งคระทูตและเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นการตอบแทน ช่วงนี้เองที่ฮอลันดาได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งคลังสินค้าในกรุงศรีอยุธยา พร้อมให้ดูแลเรือเข้าออกปากแม่น้ำเจ้าพระยา


วันวลิต เขียนว่า พระนเรศวร เป็นผู้ส่งคณะทูตและพระราชสาส์น ไปถวายเจ้าชายมอริส ครับ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 16 ก.พ. 21, 14:40
กำเนิดธงแดงของไทย อาจไม่ได้เกิดที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ขออนุญาตสรุป     : เรือฝรั่งเศสแล่นมาถึงป้อมวิไชยประสิทธิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่ทราบธรรมเนียน ได้ชักธงฮอลันดาขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสไม่พอใจ จนเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ต้องแก้ปัญหาโดยการหยิบผ้าแดงขึ้นมาทำเป็นธง จนฝรั่งเศสให้การยอมรับ เป็นที่มาของธงชาติไทยผืนแรก คือ ธงแดง

ความสมเหตุสมผล : ก่อนฝรั่งเศสจะเข้ามา ไทยมีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกแล้วหลายชาติ ทั้งโปรตุเกส อังกฤษ ฮอลันดา ควจจะทราบธรรมเนียมระหว่างประเทศดี
ความเห็นส่วนตัว   : เหตุน่าจะเกิดที่ปากน้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางปลากดระหว่างเมืองสมุทรปราการ และเมืองอัมส์เตอร์ดัม เพราะสิ่งแรกที่เรือฝรั่งเศสจะพบ คือ อัมส์เตอร์ดัม ไม่ใช่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่น่าจะกล้าชักธงฮอลันดา แต่น่าจะเป็นชาวฮอลันดาที่ต้องแสดงอาณาเขตพื้นที่คลังสินค้าของตน

จากภาพ ธรรมเนียมการจัดขบวนเรือต้อนรับคณะทูตลังกา ณ เกาะอัมส์เตอร์ดัม ก่อนจะเดินทางไปป้อมที่บางกอก

เหตุการณ์นี้ ค่อนข้างชัดเจนว่าเกิดขึ้นที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ครับ คนชักธงเป็นเจ้าหน้าที่ของไทย ไม่ใช่ฮอลันดา


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 16 ก.พ. 21, 16:42
ผมมีคำถามครับ

เมืองอัมสเตอร์ดัม นี้ มีชื่อที่คนสยามเรียกหรือเปล่าครับ (ถ้ามีคำตอบอยู่แล้วต้องขออภัยครับ) 


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.พ. 21, 21:18
จาก เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงษ์ในลังกาทวีป (http://dl.kids-d.org/bitstream/handle/123456789/2769/nlt-rarebook-artculture-00075.pdf?sequence=1) โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ

จดหมายเหตุของทูตไทยไปลังกาทวีปร่วมกับพระอุบาลี คร้ังแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๙๕ หน้า ๑๕๓ เรียก Amsterdam ว่า ตึกวิลันดา ณ บางปลากด


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 16 ก.พ. 21, 21:54
ตั้งแต่เรียนหนังสือมา คุณครูและนักประว้ติศาสตร์ในเมืองสมุทรปราการจะเรียก นิวอัมสเตอร์ดัม แต่จากข้อมูลและแผนที่ทุกฉบับระบุเพียงแค่ อัมสเตอร์ดัม


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 16 ก.พ. 21, 21:57
กำเนิดธงแดงของไทย อาจไม่ได้เกิดที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ขออนุญาตสรุป     : เรือฝรั่งเศสแล่นมาถึงป้อมวิไชยประสิทธิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่ทราบธรรมเนียน ได้ชักธงฮอลันดาขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสไม่พอใจ จนเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ต้องแก้ปัญหาโดยการหยิบผ้าแดงขึ้นมาทำเป็นธง จนฝรั่งเศสให้การยอมรับ เป็นที่มาของธงชาติไทยผืนแรก คือ ธงแดง

ความสมเหตุสมผล : ก่อนฝรั่งเศสจะเข้ามา ไทยมีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกแล้วหลายชาติ ทั้งโปรตุเกส อังกฤษ ฮอลันดา ควจจะทราบธรรมเนียมระหว่างประเทศดี
ความเห็นส่วนตัว   : เหตุน่าจะเกิดที่ปากน้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางปลากดระหว่างเมืองสมุทรปราการ และเมืองอัมส์เตอร์ดัม เพราะสิ่งแรกที่เรือฝรั่งเศสจะพบ คือ อัมส์เตอร์ดัม ไม่ใช่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไม่น่าจะกล้าชักธงฮอลันดา แต่น่าจะเป็นชาวฮอลันดาที่ต้องแสดงอาณาเขตพื้นที่คลังสินค้าของตน

จากภาพ ธรรมเนียมการจัดขบวนเรือต้อนรับคณะทูตลังกา ณ เกาะอัมส์เตอร์ดัม ก่อนจะเดินทางไปป้อมที่บางกอก

เหตุการณ์นี้ ค่อนข้างชัดเจนว่าเกิดขึ้นที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ครับ คนชักธงเป็นเจ้าหน้าที่ของไทย ไม่ใช่ฮอลันดา


กิโลเมตรที่   0 ของปากแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มต้นที่หน้าป้อมพระจุลจอมเกล้า
กิโลเมตรที่  9  คือ เมืองอัมสเตอร์ดัม
กิโลเมตรที่ 50 คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์

ความคิดเห็นส่วนตัว
ฝรั่งเศส เมื่อเข้าปากน้ำเจ้าพระยา จะต้องเจอขบวนเรือต้อนรับไทย + เรือฮอลันดาที่หน้าท่าเรือเมืองอัมสเตอร์ดัมก่อน ความสับสนเรื่องการชักธงชาติ น่าจะเกิดขึ้นจากเรือฮอลันดาและเจ้าหน้าที่เมืองอัมสเตอร์ดัม โดยข้าราชการไทยไม่ทันระวัง ในขณะที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์อยู่ลึกเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยาถึงหลักกิโลเมตรที่ 50 (สมัยนั้น ยังไม่มีการขุดคลองลัด) เป็นป้อมไทย ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับฮอลันดา และบริหารโดยคนไทย (+ คนจีน) ไม่น่าจะมีเหตุผลที่จะชักธงฮอลันดา





กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 16 ก.พ. 21, 22:19

จดหมายเหตุ  เขียนว่า  เจ้าเมืองบางกอกที่สั่งชักธงเป็นคนชาติเตอร์กโดยกำเนิด  ไม่ใช่ที่หมู่บ้านฮอลันดาที่ว่า


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 16 ก.พ. 21, 22:29
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ....  แต่พยายามหาคำตอบ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ (ธนบุรี ย่านคนจีน) ออกแบบ และมีความสัมพันธ์อันดีกับฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นเป็นคู่ขัดแย้งกับฮอลันดา ทำไมต้อนรับฝรั่งเศสด้วยการชักธงฮอลันดา


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 17 ก.พ. 21, 17:46
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ....  แต่พยายามหาคำตอบ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ (ธนบุรี ย่านคนจีน) ออกแบบ และมีความสัมพันธ์อันดีกับฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นเป็นคู่ขัดแย้งกับฮอลันดา ทำไมต้อนรับฝรั่งเศสด้วยการชักธงฮอลันดา
จดหมายเหตุ  เขียนว่า  เจ้าเมืองบางกอกที่สั่งชักธงเป็นคนชาติเตอร์กโดยกำเนิด  ไม่ใช่ที่หมู่บ้านฮอลันดาที่ว่า

ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์พบหลักฐานว่าเจ้าเมืองบางกอกเป็นชาวเติร์ก  

รายงานของ อ็องเดร บูโร-เดส์ล็องส์ (André Boureau-Deslandes) ทูตของบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสที่มาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามใน พ.ศ. ๒๒๒๓ ระบุว่า เมื่อเรือ เลอ โวตูร์ (Le Vautour) ของฝรั่งเศสมาถึงสันดอนสยาม  ทางการมีคำสั่งให้เจ้าเมืองบางกอกชาวเติร์กยิงสลุตต้อนรับ  

เนื่องจากในเวลานั้นสยามยังไม่มีธงของตนเอง  เรือของสยามจึงนิยมชักธงของดัตช์เพราะเป็นที่รู้จักว่าเป็นธงของเรือค้าขาย   เจ้าเมืองชาวเติร์กจึงชักธงดัตช์ขึ้นต้อนรับฝรั่งเศส  แต่กัปตันเรือฝรั่งเศสขอให้เอาธงดัตช์ลงแล้วเปลี่ยนเป็นธงอื่น (เพราะดัตช์เป็นศัตรูกับฝรั่งเศส)  เจ้าเมืองชาวเติร์กจึงชักธงสีแดงขึ้น  (ภายหลังจึงปรากฏว่าธงสีแดงได้กลายเป็นธงประจำเรือสินค้าของสยาม)    

ชาวเติร์กผู้นี้ยังคงเป็นเจ้าเมืองบางกอกอยู่เมื่อคณะทูตฝรั่งเศสของ เชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ (Alexandre, Chevalier de Chaumont) เดินทางเข้ามาในสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘

จดหมายเหตุสำเภากษัตริย์สุลัยมานของอาลักษณ์คณะทูตเปอร์เซียที่เดินทางเข้ามาสยามใน พ.ศ. ๒๒๒๘ กล่าวถึงเจ้าเมืองซูฮาน (พิจารณาจากเนื้อหาแล้วเข้าใจว่าคือบางกอก) ที่ถูกเรียกขานว่า  “เชเลบี” (چلبى Çelebi) ซึ่งเป็นคำประกอบชื่อของชาวออตโตมัน  และระบุว่าเป็น “คนจากหมู่ประชาชนแห่งรูม” ที่มาอาศัยในสยาม เพิ่งเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ได้ไม่นาน  เข้าใจว่าเดิมนับถือนิกายซุนนีเหมือนชาวเติร์กส่วนใหญ่  

การเข้ามาของคณะทูตฝรั่งเศสทำให้เจ้าเมืองชาวเติร์กพ้นจากตำแหน่ง เพราะสมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งตั้งนายทหารฝรั่งเศสคือ เชอวาลิเยร์ เดอ ฟอร์แบ็ง (Claude, Chevalier de Forbin) เป็นเจ้าเมืองบางกอกแทนในบรรดาศักดิ์ออกพระศักดิสงคราม  เจ้าเมืองคนถัดมาก็เป็นชาวฝรั่งเศสคือ เชอวาลิเยร์ เดอ โบเรอการด์ (Chevalier de Beauregard) ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทนใน พ.ศ. ๒๒๓๐ ก่อนจะถูกย้ายไปเป็นเจ้าเมืองมะริด

โคลด์ เซเบเรต์ (Claude Céberet du Boullay) ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ ระบุว่าเจ้าเมืองบางกอกชาวเติร์กถูกย้ายลงมาเป็นเจ้าเมืองเพชรบุรี เป็นผู้ต้อนรับเซเบเรต์ระหว่างทางที่เซเบเรต์จะเดินทางไปเมืองมะริด และให้ประวัติเพิ่มเติมว่าชาวเติร์กผู้นี้มาจากเมืองบูร์ซา (Brousse คือเมือง Bursa ในประเทศตุรกี)

ข้อมูลจาก วิพากษ์ประวัติศาสตร์ โดย คุณศรีสรรเพชญ์ (https://www.facebook.com/1046096062120530/posts/3684968171566626/)

การสถาปนาการใช้ธงชาติครั้งแรกคือ 'ธงแดง' ที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ นาทีที่ ๔.๒๐-๖.๔๐

https://youtu.be/2PUX75t-U-k


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 17 ก.พ. 21, 20:53
ขอบพระคุณ คุณเพ็ญชมพู และ คุณ Koratian มากครับ


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 19 ก.พ. 21, 11:41

Barend Jan Terwiel, An Early Dutch Map Depicting the Arrival of a Diplomatic Mission in Siam, Journal of the Siam Society, Vol. 106, 2018


ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน Prof. Terweil ได้เขียนเกี่ยวกับ เหตุการณ์ คณะทูตการค้าดัชท์ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ในปลายรัชสมัย ปี ค.ศ. 1628
Schouten บรรยายเกี่ยวกับ การเดินทางของกองเรือดัชท์ ผ่านปากแม่น้ำไปยังอยุธยา และพิธีการรับคณะของไทย
และพบรูปประกอบที่น่าสนใจยิ่ง

กล่าวถึง เมืองบางกอก บางเจ้าพระยา ปากแม่น้ำ แต่ไม่ได้กล่าวถึง อัมสเตอร์ดัม (ไม่ได้แวะหรือยังไม่ได้สร้าง)  


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 21, 13:21
(๑) Barend Jan Terwiel, An Early Dutch Map Depicting the Arrival of a Diplomatic Mission in Siam, Journal of the Siam Society, Vol. 106, 2018

(๒) กล่าวถึง เมืองบางกอก บางเจ้าพระยา ปากแม่น้ำ แต่ไม่ได้กล่าวถึง อัมสเตอร์ดัม (ไม่ได้แวะหรือยังไม่ได้สร้าง)  


(๑) รายละเอียดอยู่ในลิงก์ http://angkordatabase.asia/libs/docs/Early-Dutch-Map-Depicting-the-Arrival-of-a-Diplomatic-Mission-in-Siam.pdf

(๒) บางเจ้าพระยา (ในบทความคือ บ้านเจ้าพระยา) = Amsterdam❓

ในหนังสือ Dutch East India Company Merchants at the Court of Ayutthaya  Dutch Perceptions of the Thai Kingdom, c.1604-1765 (https://bunker4.zlibcdn.com/dtoken/b509239a64672a2e4ed217ba831824e2) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า ๔๓-๔๔ ระบุว่า Amsterdam ตั้งอยู่ที่ 'บ้านเจ้าพระยา' (Ban Chao Phraya)❓


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 19 ก.พ. 21, 13:30
คลังสินค้าอัมสเตอร์ดัม น่าจะก่อสร้างหลังจากเหตุการครั้งนี้

แผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม พวกฮอลันดาสร้างความดีความชอบ จึงพระราชทานที่ดินปากน้ำเจ้าพระยาทังตะวันตก ตรงริมคลองบางปลากดฝั่งเหนือ สมุทรปราการ ให้สร้างเป็นสถานีไว้สินค้า
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 27 เรื่องไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์แปลจากภาษาฝรั่งเศสของมองซิเออร์ ลันเย. หน้า 8

แต่ก็เป็นที่น่าสังเกต ว่าเอกสารร่วมสมัยทั้งของฮอลันดาและชาติอื่นที่ผ่านปากน้ำเจ้าพระยา ไม่มีการเอ่ยถึงคลังสินค้าอัมสเตอร์ดัมนี้เลย เอกสารฮอลันดาเท่าที่พบฉบับแรกๆ คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2206 (สมัยสมเด็จพระนารายณ์) เป็นต้นมา ที่ระบุว่ามีการขนส่งสินค้าไปยังคลังของบริษัทใกล้ปากน้ำ
นันทนา สุตกุล (แปล) เอกสารของฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้า 171


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 19 ก.พ. 21, 14:03
(๑) Barend Jan Terwiel, An Early Dutch Map Depicting the Arrival of a Diplomatic Mission in Siam, Journal of the Siam Society, Vol. 106, 2018

(๒) กล่าวถึง เมืองบางกอก บางเจ้าพระยา ปากแม่น้ำ แต่ไม่ได้กล่าวถึง อัมสเตอร์ดัม (ไม่ได้แวะหรือยังไม่ได้สร้าง)  


(๑) รายละเอียดอยู่ในลิงก์ http://angkordatabase.asia/libs/docs/Early-Dutch-Map-Depicting-the-Arrival-of-a-Diplomatic-Mission-in-Siam.pdf

(๒) บางเจ้าพระยา (ในบทความคือ บ้านเจ้าพระยา) = Amsterdam❓

ในหนังสือ Dutch East India Company Merchants at the Court of Ayutthaya  Dutch Perceptions of the Thai Kingdom, c.1604-1765 (https://bunker4.zlibcdn.com/dtoken/b509239a64672a2e4ed217ba831824e2) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า ๔๓-๔๔ ระบุว่า Amsterdam ตั้งอยู่ที่ 'บ้านเจ้าพระยา' (Ban Chao Phraya)❓

ขอขยายรายละเอียดในภาพ (แตกต่างจากท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ เล็กน้อย)
ช่วงที่คณะทูตเข้ามาตามภาพ สมุทรปราการ กับ อัมสเตอร์ดัม น่าจะยังไม่ได้ก่อสร้าง


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 19 ก.พ. 21, 15:19
ผมมีคำถามครับ

เมืองอัมสเตอร์ดัม นี้ มีชื่อที่คนสยามเรียกหรือเปล่าครับ (ถ้ามีคำตอบอยู่แล้วต้องขออภัยครับ) 


1.   ดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา  “คำอธิบายเบื้องต้นที่ไทยจะเป็นไมตรีกับฝรั่งเศส”. ประชุมพงศวาดาร ภาคที่ 27 เรื่องไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์แปลจากภาษาฝรั่งเศสของมองซิเออร์ ลันเย. หน้า 8

" คลังสินค้านี้ ตั้งอยู่ด้านเหนือคลองบางปลากด สมุทรปราการ ชื่อว่า เมืองแอมสเตอร์แดมใหม่ ”


2.   นายสังข์ พัธโนทัย. ตำนานเมืองสมุทรปราการและพระประแดง. กรุงเทพ. 2499  หน้า 9   

" พระเจ้าทรงธรรมจึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานที่ดิน ฝั่งตะวันออกริมคลองบางปลากด เหนือที่ตั้งเมืองสมุทรปราการขึ้นมาเล็กน้อย ให้พวกฮอลันดาสร้างสถานที่ไว้สินค้าแห่งหนึ่ง พวกฮอลันดาได้สร้างสถานที่ตรงนั้นขึ้นเป็นเมือง ทำนองเมืองขึ้นของฮอลันดา ให้ชื่อว่า นิวอัมสเตอร์แดม หรือ เมืองอัมสเตอร์แดมใหม่ "

3.   ไพโรจน์ เกษแม่นกิจ (แปล) บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่ 17 เล่ม 2 (กรุงเทพ : กรมศิลปากร). 2512

หน้า 327 " อัมสเตอร์ดัม เป็นชื่อที่ตั้งเกาะสำคัญเกาะหนึ่งของหมู่เกาะในดินดอนสามเหลี่ยมของแม่น้ำเจ้าพระยา เกาะทั้งหมู่นั้นรู้จักในชื่อ หมู่เกาะฮอลันดา ที่ได้นามเช่นนี้ก็ด้วยที่บรรดาเรือของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ซึ่งมาประเทศสยามบ่อยๆ ในศตวรรษที่ 17 ได้เข้าอาศัยในที่กำบังในเกาะช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ "

หน้า 331 ระบุว่าเป็น " ตำบลนิวอัมสเตอร์ดัม "


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 19 ก.พ. 21, 15:36
คุณนริศคงหมายถึงคำที่คนกรุงศรีอยุธยาเรียกในสมัยที่ Amsterdam ดำรงอยู่ ณ บางปลากด (หรือบางเจ้าพระยา❓) ไม่ใช่คำเรียกของคนยุคหลังเมื่อ Amsterdam หายสาบสูญไปแล้ว

จดหมายเหตุของทูตไทยไปลังกาทวีปร่วมกับพระอุบาลี คร้ังแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๙๕ เรียก Amsterdam ว่า ตึกวิลันดา ณ บางปลากด


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 21 ก.พ. 21, 16:37
[


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 21 ก.พ. 21, 16:49
บริเวณที่เชื่อว่าเป็นเมืองอัมส์เตอร์ดัม ปัจจุบัน เป็นชุมชนหมู่บ้านคงกระพันชาตรี

ระยะเวลากว่า ๔๐๐ ปี อาจทำให้ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลง นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าระหว่างระยะเวลาอันยาวนานนี้ Amsterdam อาจถูกกระแสน้ําไหลพัดเซาะตลิ่งจนพังทลายลงไปในคลองเสียแล้ว

หากเป็นเช่นนั้น หมู่บ้านคงกระพันชาตรีคงไม่ได้สร้างทับ Amsterdam แต่สร้างทับป้อมคงกระพัน
 ;D

นอกจากทําหน้าที่เป็นเมืองด่านทางทะเลแล้ว เมืองสมุทรปราการ ยังเป็นเมืองท่าด้วย ดังท่ีได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มี ชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาค้าขายได้ต้ังสถานีการค้าของเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” ข้ึนในบริเวณบางปลากด อย่างไรก็ดีบทบาทด้านนี้คงเป็น บทบาทรองและสภาพการค้าในบางปลากดคงมีความคึกคักเพียงช่วงสั้น ๆ เท่าน้ัน เนื่องจากหลังรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมการค้าระหว่างเนเธอร์แลนด์กับสยามค่อย ๆ ซบเซาลง เนื่องจากชาวเนเธอร์แลนด์ไม่พอใจที่ราชสํานักสยาม ทําการค้าต่างประเทศด้วยตนเองมากกว่าท่ีจะทําการค้าต่างประเทศผ่านพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินนโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัมปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ําที่ไหลพัดเซาะตลิ่ง

จาก วิวัฒนาการของเมืองสมุทรปราการ : จากเมืองป้อมปราการสู่เมือง “กึ่งสมัยใหม่” (https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA/article/download/44792/37136) โดย ดร.โดม ไกรปกรณ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  วารสารหน้าจั่วฯ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๕๘ หน้า ๒๗๙

จากข้อความช่วงท้าย : ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัม ปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ำที่ไหลพัดเซาะตลิ่ง

1.   สมัยสมเด็จพระนารายณ์ แม้จะมีกรณีพิพาทไทย-ฮอลันดา แต่อัมสเตอร์ดัมก็ยังไม่ถูกทอดทิ้ง เพราะแม้สิ้นแผ่นดินพระนารายณ์แล้ว 2 ปี แกมป์เฟอร์ ยังมีโอกาสเข้าพักค้างคืนที่อัมสเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2233
อีก 60 ปีต่อมา อัมสเตอร์ดัมยังคงความสำคัญ เป็นประตูสู่สยาม  ปี พ.ศ.2293 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนเรือต้อนรับคณะทูตลังกา ณ เกาะอัมสเตอร์ดัม พักค้างคืน ก่อนเดินทางไปป้อมที่บางกอก

ช่วงประมาณ 200 ปีแรกของอัมสเตอร์เตอร์ดัม ยังไม่มีการสูญหาย


2.   จากภาพ เปรียบเทียบปากคลองบางปลากดปัจจุบัน (พ.ศ.2564) กับ ภาพกรมแผนที่ทหารปี พ.ศ.2455 แสดงให้เห็นว่า ตลอด 109 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ปากคลองบางปลากดแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม่น้ำเจ้าพระยาอาจมีกระแสแรงซัดตลิ่งพังมาก แต่ก็ไม่น่าจะทำให้พื้นที่คลังสินค้าที่เคยเก็บสินค้า 1000 – 1500 ตัน มีอู่ต่อเรือ โรงซ่อม พร้อมชุมชนที่สามารถต้อนรับเจ้าหน้าที่เรือ พักอาศัยครั้งละ 100 คน ให้หายไปได้

อัมสเตอร์ดัม สูญหายช่วง พ.ศ.2293 – พ.ศ.2455 ?




กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 21 ก.พ. 21, 16:54
"นอกจากทําหน้าที่เป็นเมืองด่านทางทะเลแล้ว เมืองสมุทรปราการ ยังเป็นเมืองท่าด้วย ดังท่ีได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มี ชาวเนเธอร์แลนด์เข้ามาค้าขายได้ต้ังสถานีการค้าของเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” ข้ึนในบริเวณบางปลากด อย่างไรก็ดีบทบาทด้านนี้คงเป็น บทบาทรองและสภาพการค้าในบางปลากดคงมีความคึกคักเพียงช่วงสั้น ๆ เท่าน้ัน เนื่องจากหลังรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมการค้าระหว่างเนเธอร์แลนด์กับสยามค่อย ๆ ซบเซาลง เนื่องจากชาวเนเธอร์แลนด์ไม่พอใจที่ราชสํานักสยาม ทําการค้าต่างประเทศด้วยตนเองมากกว่าท่ีจะทําการค้าต่างประเทศผ่านพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ อีกทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินนโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัมปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ําที่ไหลพัดเซาะตลิ่ง"

จาก วิวัฒนาการของเมืองสมุทรปราการ : จากเมืองป้อมปราการสู่เมือง “กึ่งสมัยใหม่” โดย ดร.โดม ไกรปกรณ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  วารสารหน้าจั่วฯ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๕๘ หน้า ๒๗๙


ขอขยายประเด็น ข้อความช่วงท้าย :
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์สยามดําเนินโยบาย กระชับความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสจนมีเรื่องพิพาทกับเนเธอร์แลนด์ สุดท้าย เนเธอร์แลนด์จึงทอดทิ้งสถานีการค้านิวอัมสเตอร์ดัม ปล่อยให้รกร้าง ต่อมาสถานีการค้าแห่งนี้ได้พังทลายลงจากกระแสน้ำที่ไหลพัดเซาะตลิ่ง

1.   สมัยสมเด็จพระนารายณ์ แม้จะมีกรณีพิพาทไทย-ฮอลันดา แต่อัมสเตอร์ดัมก็ยังไม่ถูกทอดทิ้ง เพราะแม้สิ้นแผ่นดินพระนารายณ์แล้ว 2 ปี แกมป์เฟอร์ ยังมีโอกาสเข้าพักค้างคืนที่อัมสเตอร์ดัม เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2233
อีก 60 ปีต่อมา อัมสเตอร์ดัมยังคงความสำคัญ เป็นประตูสู่สยาม  ปี พ.ศ.2293 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนเรือต้อนรับคณะทูตลังกา ณ เกาะอัมสเตอร์ดัม พักค้างคืน ก่อนเดินทางไปป้อมที่บางกอก

ช่วงประมาณ 200 ปีแรกของอัมสเตอร์เตอร์ดัม ยังไม่มีการสูญหาย


2.   จากภาพ เปรียบเทียบปากคลองบางปลากดปัจจุบัน (พ.ศ.2564) กับ ภาพกรมแผนที่ทหารปี พ.ศ.2455 แสดงให้เห็นว่า ตลอด 109 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ปากคลองบางปลากดแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม่น้ำเจ้าพระยาอาจมีกระแสแรงซัดตลิ่งพังมาก แต่ก็ไม่น่าจะทำให้พื้นที่คลังสินค้าที่เคยเก็บสินค้า 1000 – 1500 ตัน มีอู่ต่อเรือ โรงซ่อม พร้อมชุมชนที่สามารถต้อนรับเจ้าหน้าที่เรือ พักอาศัยครั้งละ 100 คน ให้หายไปได้



กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 21 ก.พ. 21, 17:01
หลังกรุงศรีอยุธยาแตก อัมสเตอร์ดัมยังคงอยู่ ปรากฏในแผนที่ ปี พ.ศ. 2328 (รัชกาลที่ 1)

แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 21 ก.พ. 21, 17:07
อัมสเตอร์ดัม บนแผนที่ พ.ศ.2340 (รัชกาลที่ 1)

แผนที่ “คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำคงคา” โดย จิโอวานนี้ มาเรีย คาสสินี พ.ศ.2340
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 21, 19:02
หลังกรุงศรีอยุธยาแตก อัมสเตอร์ดัมยังคงอยู่ ปรากฏในแผนที่ ปี พ.ศ. 2328 (รัชกาลที่ 1)

แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.


แผนที่ฉบับนี้พิมพ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็จริง แต่ยังเป็นข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดสังเกตที่ตั้งของ Amsterdam อยู่คนละฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเทียบกับแผนที่ฉบับอื่น


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ก.พ. 21, 20:06
แผนที่ “คาบสมุทรอินเดียนอกลุ่มน้ำคงคา” โดย จิโอวานนี้ มาเรีย คาสสินี พ.ศ.2340

Amsterdam ตั้งอยู่ตำแหน่งเดียวกับในแผนที่ฉบับของอานโตนิโอ ซาตตา


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 21 ก.พ. 21, 22:38
หลังกรุงศรีอยุธยาแตก อัมสเตอร์ดัมยังคงอยู่ ปรากฏในแผนที่ ปี พ.ศ. 2328 (รัชกาลที่ 1)

แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.


แผนที่ฉบับนี้พิมพ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็จริง แต่ยังเป็นข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดสังเกตที่ตั้งของ Amsterdam อยู่คนละฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเทียบกับแผนที่ฉบับอื่น

ข้อสังเกต : ข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา อัมสเตอร์ดัมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา (นับจากมุมมองคนดูรูป)  แต่แผนที่ 2 ฉบับนี้ อัมสเตอร์ดัมกลับตั้งอยู่ฝั่งขวา ไม่ยืนยันว่าข้อมูลใหม่นี้ถูกต้องหรือไม่


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.พ. 21, 12:07
ข้อสังเกต : ข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา อัมสเตอร์ดัมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา (นับจากมุมมองคนดูรูป)  แต่แผนที่ 2 ฉบับนี้ อัมสเตอร์ดัมกลับตั้งอยู่ฝั่งขวา ไม่ยืนยันว่าข้อมูลใหม่นี้ถูกต้องหรือไม่

ในหนังสือของอาจารย์ภาวรรณ เรืองศิลป์ ระบุว่า Amsterdam ตั้งอยู่ที่ 'บ้านเจ้าพระยา' (Ban Chao Phraya)

The VOC had some other properties which were established by per- mission of the kings and were also indications of the range and nature of Dutch activities in the kingdom. Besides the comptoir in Ayutthaya, the Company possessed a warehouse called Amsterdam situated in the village of Ban Chao Phraya (often called the ‘Sea Village’ in the VOC records) at Pak Nam, the mouth of the Chao Phraya River, which is connected to the present-day Gulf of Thailand; it was the place at which the East Indiamen called.

Ban Chao Phraya คือ Bantianphia ในแผนที่ของแกมป์เฟอร์


(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7197.0;attach=75369;image)

Amsterdam ในแผนที่ของอานโตนิโอ ซาตตา และ จิโอวานนี มาเรีย คาสสินี อยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเดียวกับบ้านเจ้าพระยา ฤาจะเป็นตำแหน่งเดียวกัน❓


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 22 ก.พ. 21, 12:37

แผนที่อาณาจักรอารกัน-พะโค-สยาม-กัมพูชา-ลาว โดย อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
จากหนังสือ แผนที่ “สยามประเทศไทย” สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2328-2452. Maps of Siam and Thailand: Bangkok Period 1785-1908. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธวัชชัย ตั้งศรีวานิช.

อ้างถึง
แผนที่ฉบับนี้พิมพ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ก็จริง แต่ยังเป็นข้อมูลเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดสังเกตที่ตั้งของ Amsterdam อยู่คนละฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อเทียบกับแผนที่ฉบับอื่น


Ban Chao Phraya  อ่านว่า บางเจ้าพระยา ไม่ใช่ บ้านเจ้าพระยา ครับ
ฺBankock/Bancoc   อ่านว่า  บางกอก ไม่ใช่ บ้านกอก
ฺBanbelkot    บางปลากด
ฺBantianphia  บางเจ้าพระยา
Bantrano      บางตะนาว

คราวนี้มาพิจารณา สถานที่ ในลุ่มแม่น้ำเดียวกันในแผนที่   อานโตนิโอ ซาตตา พ.ศ.2328
1. Amsterdam อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำกับ ฺBancoc  วางตำแหน่งผิดที่  กลายเป็น ฝั่งธน-ฝั่งพระนคร
2. Tiamphiatai กับ Mapran อยู่เหนือ Juthia ขึ้นไปอีก วางตำแหน่งผิดที่อีก
3. Thleepuossoune อยู่ห่างจาก Louvo มาทางใต้ ผิดตำแหน่งอีก

ดังนั้นแผนที่ฉบับนี้จึงใช้อ้างอิงตำแหน่งได้ยาก

ไม่ปรากฎว่า เคยมีการย้ายตำแหน่งของ Amsterdam
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่ Amsterdam กับ Ban Chao Phraya จะเคยเป็นหมู่บ้านเดียวกัน


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.พ. 21, 16:33
ในภาพแสดงที่ตั้งของป้อมที่สมุทรปราการ มีข้อมูลจากพลตรีถวิล อยู่เย็น อธิบายว่า "พ.ศ. ๒๑๖๙ พวกฮอลันดาตั้งคลังสินค้าที่บางปลากด (เมืองนิวอัมสะเตอดัม) ค้านกับแผนที่เก่าของฮอลันดา ว่าตั้งอยู่ที่ตำบลบางเมือง สมุทรปราการ"

ตำบลบางเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งเดียวกับ Amsterdam ในแผนที่ทั้ง ๒ ฉบับ และ Bantianphia ในแผนที่ของแกมป์เฟอร์

แผนที่เก่าของฮอลันดาที่พลตรีถวิลท่านอ้างไว้คือแผนที่ของใคร❓ คงต้องให้คุณปากน้ำเจ้าพระยาและคุณคนโคราชช่วยค้นหา  ;D


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 22 ก.พ. 21, 18:41

จากแผนที่ พล ต. ถวิล ที่คุณหมอเพ็ญ ยกมา
เห็นได้ว่า วาง ตำบลบางเมือง ไว้คนละที่กับ บางเจ้าพระยา
ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องค้นหามากนักว่า ท่านอ้าง แผนที่เก่าฮอลันดาฉบับใด
ตำบลบางเมือง เมืองสมุทรปราการที่ท่านว่า ย้ายมาจากเดิมหรือไม่อย่างไรก็ว่ากันต่อไป

แผนที่แม่น้ำ ของฮอลันดา เท่าที่ทราบ ต่างก็วาง อัมส์เตอร์ดัม ไว้คนละฝั่งกับ บางเจ้าพระยา

Barend Jan Terwiel, François Valentijn’s Map of “The Great Siamese River Me-Nam”, Journal of the Siam Society, Vol. 105, 2017


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 22 ก.พ. 21, 19:26
1727 Valentijn Map of the Chao Phraya River, Thailand

จาก https://www.geographicus.com/P/AntiqueMap/ChaoPhrayaSiam-valentijn-1726

หมายเลข ๕ คือ Amsterdam หมายเลข ๘ คือ Bantiauw Pia = Ban Chao Phraya


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 25 ก.พ. 21, 14:20
1727 Valentijn Map of the Chao Phraya River, Thailand

จาก https://www.geographicus.com/P/AntiqueMap/ChaoPhrayaSiam-valentijn-1726

หมายเลข ๕ คือ Amsterdam หมายเลข ๘ คือ Bantiauw Pia = Ban Chao Phraya


1727 Valentijn Map of the Chao Phraya River, Thailand
ร่องรอยชุมชนหมายเลข 8 คลองปากน้ำ สามารถหาได้จากที่ตั้งของวัด
ล้วนเป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยา ได้แก่ วัดมอญ วัดใน วัดนอก วัดกลาง
ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตัวเมืองอำเภอเมืองสมุทรปราการ

1.   วัดมอญ (วัดชัยมงคล หรือ วัดโพธิ์)  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.1893
2.   วันใน (วัดในสองวิหาร) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2170
3.   วัดนอก (วัดพิชัยสงคราม) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2253
4.   วัดกลาง (ชื่อเดิมวัดตะโกทอง ชื่อปัจจุบันวัดกลางวรวิหาร) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2290


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 25 ก.พ. 21, 16:45
ในขณะพื้นที่ทำเลปากคลองบางปลากดที่ถูกคัดเลือก ให้เหมาะแก่การใช้เป็นคลังสินค้า ชุมชน และอู่ต่อเรือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นที่ตั้งชุมชน โรงงาน โกดังเก็บสินค้า เป็นอู่เรือ และโรงตัดแยกเรือเก่า

ต่างกันตรงที่ในอดีตเป็นการบริหารโดยฮอลันดา แต่ปัจจุบันบริหารโดยคนไทย


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 03 มี.ค. 21, 17:40
Amsterdam ใน ข้อสอบข้าราชการกรุงเทพมหานคร (https://www.facebook.com/1151220434903714/posts/1151225231569901/)  ถ้าให้ถูกต้องจริง ๆ ต้องเพิ่มอีกข้อหนึ่ง ข้อ จ. อัมสเตอร์ดัม


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 05 มี.ค. 21, 10:01
ตั้งแต่เรียนหนังสือมา คุณครูและนักประว้ติศาสตร์ในเมืองสมุทรปราการจะเรียก นิวอัมสเตอร์ดัม แต่จากข้อมูลและแผนที่ทุกฉบับระบุเพียงแค่ อัมสเตอร์ดัม

หากเราจะเปรียบเทียบกับเมืองนิวอัมส์เตอร์ดัม ที่อเมริกา (ปัจจุบัน คือ นิวยอร์ค) ปากแม่น้ำฮัตสัน ที่สร้างในช่วงเดียวกัน โดยชาวฮอลันดาเหมือนกัน นิวอัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำฮัตสัน สร้าง พ.ศ.2167

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7197.0;attach=75335;image)

ชื่อเรียก นิวอัมสเตอร์ดัม ที่สมุทรปราการในบทความและสื่อต่าง ๆ รวมทั้งในคำขวัญประจำอำเภอพระสมุทรเจดีย์และข้อสอบข้าราชการกรุงเทพมหานคร น่าจะมาจากความสับสนในชื่อ นิวอัมสเตอร์ดัม อันเป็นชื่อเดิมของ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา


กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: ปากน้ำเจ้าพระยา ที่ 05 มี.ค. 21, 18:23
ตั้งแต่เรียนหนังสือมา คุณครูและนักประว้ติศาสตร์ในเมืองสมุทรปราการจะเรียก นิวอัมสเตอร์ดัม แต่จากข้อมูลและแผนที่ทุกฉบับระบุเพียงแค่ อัมสเตอร์ดัม

หากเราจะเปรียบเทียบกับเมืองนิวอัมส์เตอร์ดัม ที่อเมริกา (ปัจจุบัน คือ นิวยอร์ค) ปากแม่น้ำฮัตสัน ที่สร้างในช่วงเดียวกัน โดยชาวฮอลันดาเหมือนกัน นิวอัมส์เตอร์ดัม ปากแม่น้ำฮัตสัน สร้าง พ.ศ.2167

(http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=7197.0;attach=75335;image)

ชื่อเรียก นิวอัมสเตอร์ดัม ที่สมุทรปราการในบทความและสื่อต่าง ๆ รวมทั้งในคำขวัญประจำอำเภอพระสมุทรเจดีย์และข้อสอบข้าราชการกรุงเทพมหานคร น่าจะมาจากความสับสนในชื่อ นิวอัมสเตอร์ดัม อันเป็นชื่อเดิมของ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

เห็นด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ คุณเพ็ญชมพู




กระทู้: อัมส์เตอร์ดัม เมืองปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่หายสาบสูญ
เริ่มกระทู้โดย: Koratian ที่ 07 มี.ค. 21, 14:54

ลองค้นหากันต่อว่าป้อมสี่แฉก​ ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญในไทย​ สร้างแบบโปร์ตุเกต​ หรือฮอลันดา