เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: กงกง ที่ 28 มี.ค. 06, 00:17



กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: กงกง ที่ 28 มี.ค. 06, 00:17
 เคยอ่านเมื่อนานมาแล้วเกี่ยวกับโรคเลือดซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมในราชวงศ์อังกฤษ และอีกหลายราชวงศ์ในยุโรป รวมถึงรัสเซีย (อาการที่เจ้าชาย อเลกเซ มีเลือดไหลไม่หยุด) แต่เผอิญผมเป็นคนขี้ลืม เลยจำไม่ได้ว่าหนังสือที่อ่านชื่ออะไร(อ่านเมื่อสมัยเรียนปี 1 ตอนนี้อายุ 25 แล้วคับ) จึงอยากจะรบกวนท่านผู้รู้ช่วยแนะนำแหล่งข้อมูล หรือเรื่องราวที่ท่านพอจะทราบแก่ผมบ้าง เพราะผมจะนำข้อมูลมาเกี่ยวโยงกับทฤษฎีเลือดชิดในราชวงศ์ไทย ที่ทำให้เจ้านายหลายพระองค์ทรงพระชนม์ชีพได้ไม่นานนัก (จะเอาไปอธิบายให้นักศึกษาฟังซัมเมอร์นี้คับ) ขอขอบพระคุณทุกท่านล่วงหน้าคับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: กงกง ที่ 28 มี.ค. 06, 02:07
 ขอบคุณครับสำหรับกระทู้ Anastasia:the Mystery of Anna
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=20&Pid=13696
ที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเสนอมา        


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 28 มี.ค. 06, 02:54
 Anyway....personally I don't think that X-Linked Recessive Disease would be involving with ทฤษฎีเลือดชิดในราชวงศ์ไทย. Although they both seem to be originated in the same root of thought….they are however using different theories to explain.


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 มี.ค. 06, 08:15
ดฉันไม่ทราบว่าคุณกงกงจะนำมาเกี่ยวโยงทางไหน  แต่ก็น่าสนใจ
อยากฟังค่ะ

สิ่งที่ดิฉันมองเห็น กลับเป็นแง่ของความแตกต่าง คือ ทฤษฎีเลือดชิด มองว่าทำให้ลูกหลานที่เกิดมามีสุขภาพอ่อนแอ  
โรคบางอย่างที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นกันอยู่แล้วในหมู่พี่น้อง  ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะถ่ายทอดสู่ลูกหลานกันมากขึ้น
แต่ถ้าไปแต่งงานกับผู้มีสายเลือดห่างไกล    อีกฝ่ายมีสุขภาพแข็งแรงดี  ลูกก็มีโอกาสจะสุขภาพดี

แต่โรคฮีโมฟีเลียที่เป็นกันในหมู่เจ้านายยุโรป เหมือนโรคประจำตระกูล
ไปแต่งงานกับใคร แม้แต่เจ้าหญิงรัสเซียไปแต่งกับชาวนา   ลูกหลานก็มีสิทธิ์เป็นได้

ไม่ทราบว่าคิดอย่างนี้ถูกหรือเปล่าคะ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: นทีสีทันดร ที่ 28 มี.ค. 06, 08:29
 สวัสดีครับอาจารย์เทาชมพู กราบขอโทษที่หายไปนานเลยครับ ตอนนี้ผมกำลังฝึกงานอยู่รพ.กบินทร์บุรีครับ
ผมว่าที่อาจารย์คิด ถูกแล้วล่ะครับ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเกิดจากมีสารพันธุกรรม(gene)ที่ผิดปกติถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน
ดังนั้นลูกหลานจึงมีโอกาสเกิดความผิดปกติมากกว่าประชากรทั่วไป ส่วนความน่าจะเป็นในการเกิดความผิดปกติก็ขึ้นอยู่กับว่าโรคพันธุกรรมชนิดนั้นมีลักษณะการถ่ายทอดเป็นเช่นไรครับ
หมายเหตุ ข้อยกเว้นก็มีครับแต่อธิบายแล้วผมว่าจะทำให้ยิ่งงงเข้าไปอีก
ปล.เสียดายจริงๆที่ไม่ได้ไปร่วมงานมีตติ้ง อดดูกล้วยไม้สวยที่อาจารย์ปลูก หวังว่าจะมีโอกาสหน้านะครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: นทีสีทันดร ที่ 28 มี.ค. 06, 08:47
 หัวข้อที่คุณกงกงตั้งไว้หน้าสนใจครับเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีเลือดชิด ได้มีคนตั้งข้อสังเกตไว้เหมือนกันว่าพระราชโอรส-ธิดาของรัชกาลที่4 มีพระชนมายุยืนนาน ต่างกับพระราชโอรส-ธิดาของรัชกาลที่5 ซึ่งมักจะมีพระชนม์ชีพได้ไม่นาน ว่าอาจเกิดจากการอภิเษกในหมู่พี่น้อง แต่ก็ไม่มีคนรวบรวมข้อมูลไว้ว่าแต่ละพระองค์ที่มีพระชนม์ชีพได้ไม่นานนั้น สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคอะไร และอย่างที่คุณ andreas บอกครับว่าลักษณะของพระโรคในหมู่พระราชโอรส-ธิดาไม่ได้มีลักษณะการถ่ายทอดที่ชัดเจนเหมือนโรค hemophilia ซึ่งการถ่ายทอดเป็นแบบ x-linked ซึ่งหากศึกษาจากพงศาวลีก็พอจะบอกได้
ถ้าจะศึกษาถึงเรื่องนี้จริงๆคงจะต้องรวบรวมข้อมูลเยอะพอสมควรทีเดียว ฝากท่านออกญาฯช่วยหาข้อมูลให้หน่อยละกันผมก็อยากรู้เหมือนกันครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 28 มี.ค. 06, 10:43
 คุณเทาชมพูเป็นพหูสูตของแท้เลยครับ ขอบังอาจชมครับ.... คุณเทาชมพูเข้าใจถูกต้องแล้วครับ ทฤษฎีเลือดชิดและโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม (X linked recessive disease) นั้นดูเหมือนจะไกล้กันแต่เอาเข้าจริงแตกต่างกันมากครับ

ก่อนอื่นต้องออกตัวว่า ยังไม่มีเวลาหาหลักฐานทางวิชาการมาสนับสนุนสิ่งที่ผมจะแสดงความคิดเห็นต่อไปนี้ เนื่องด้วยยังไม่มีเวลาครับ แต่พอจะมั่นใจว่าน่าจะไม่ผิดพลาด เพราะร่ำเรียนมาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีที่เมืองไทยครับ

ทฤษฎีเลือดชิดนั้นเป็นการอธิบายเรื่อง Lacking of genetic diversity รวมถึงเรื่องระบบภูมิคุ้มกันครับ

เรื่อง Lacking of genetic diversity สามารถอธิบายได้ในกรณี  ครอบครัวหนึ่ง ทุกคนในครอบครัวมียีนด้อยแฝงอยู่หมด แต่ไม่แสดงออกเพราะถูกยีนเด่นควบคุมอยู่ แต่พอแต่งงานกันเองระหว่างพี่น้อง ลูกหลานที่เกิดมาก็จะมียีนด้อยบริสุทธิ์ (ด้อย+ด้อย) ยี่สิบห้าเปอร์เซนต์ ถ้าพวกยีนด้อยบริสุทธิ์แต่งงานกันเองอีก ลูกที่เกิดมาก็จะกลายด้อยบริสุทธิ์ทุกคน ลองคิดดูซิครับว่าถ้ายีนด้อยควบคุมเรื่องระบบสติปัญญา เรื่องทุภพลภาพ เรื่องสมรรภาพร่างกาย พอด้อยเจอด้อยแล้วจะเหลืออะไร แต่ถ้าแต่งงานกับคนในครอบครัวอื่นๆ โอกาสที่จะเจอยีนเด่นที่จะมาข่มยีนด้อยยังมีอยู่บ้าง แม้ไม่แน่นอนแต่ก็ยังดีกว่าพี่น้องที่ด้อยทั้งคู่แต่งงานกันใช่มั้ยครับ..นี่แหละครับที่เรียกว่า lacking of genitic diversity

ส่วนเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน ผมขอยกตัวอย่าง ราชวงค์ของอียิปต์ ที่พี่น้องแต่งงานกันเอง และลูกที่ออกมาก็จะอ่อนแอ การอ่อนแอในที่นี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ไม่สามารถต้านทานกับโรคต่างๆได้ จึงล้มหมอนนอนเสื่อ สิ้นชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก รวมถึงการติดเชื้อโปลิโอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงเช่นกัน

ทุกท่านคงจะเข้าใจว่าทำไมเราต้องรณรงค์ให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง..... เพราะว่านมมารดาอุดมด้วยสารอาหารและมีสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยงัยครับ โดยปกติคนในครอบครัวเดียวกันก็จะมีแบบแผนของภูมิคุ้มกันเดียวกัน แต่ถ้าต่างครอบครัวก็จะต่างกัน ดังนั้นลูกที่เกิดมาจากพ่อแม่ต่างครอบครัวกันก็จะมีโอกาสได้รับระบบแบบแผนทางภูมิคุ้มกันผสมผสานกันครับ

หวังว่าผมคงอธิบายไม่วกวนนะครับ.....คราวนี้กลับมาที่ X-linked recessive disease บ้างครับ.... โรคที่เกิดจากโครโมโซม X จากมารดานี้ แตกต่างจากทฤษฎีเลือดชิดครับ เพราะว่าไม่จำเป็นที่ต้องแต่งงานในครอบครัวเดียวกันแล้วถึงจะเกิดโรค แต่งกับคนอื่นๆก็เกิดโรคเช่นกันครับ

ยกตัวอย่างนาย ก จากตระกูลคหบดี เป็นโรคฮีโมฟิเลีย แต่งงานกับ นส. ข ผู้มาจากตระกูลชาวนาแต่ดันเป็นพาหะของโรค ลูกที่เกิดมาเป็นชายจะมีโอกาสเกิดโรคห้าสิบเปอร์เซนต์ ในทำนองเดียวกันก็จะเกิดขึ้นห้าสิบเปอร์เซนต์ในลูกเพศหญิงเช่นกัน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแม้เลือดไม่ชิดก็เกิดโรคได้

คราวนี้มาลองดูตัวอย่างแต่งงานในครอบครัวเดียวกันบ้าง...เช่น ก เป็นโรคฮีโมฟีเลีย แต่งงานกับพี่สาวที่เป็น พาหะ ลูกที่ออกมาก็จะเป็นแบบตัวอย่างข้างต้นเป๊ะเลยครับ

กรณีข้างบน...อ่านเผินๆ อาจบอกว่า อ้าว...ก็คล้ายกับทฤษฎีเลือดชิดนี่นา เพราะลูกเพศหญิงที่เป็นโรคก็เพราะเกิดจากยีนด้อยเจอยีนด้อย......จริงแล้วมันต่างครับ เหตุผลแรกเพราะมันจะเกิดเป็นเปอร์เซนต์ที่แน่นอนและเป็นแบบแผน แตกต่างจากทฤษฎีเลือดชิดที่คาดทำนายเปอร์เซนต์ที่แน่นอนไม่ได้ครับ  และเหตุผลที่สอง จะเลือดชิดหรือไม่ชิดถ้าพ่อแม่เป็นพาหะและแสดงอาการของโรค ลูกก็จะออกมาเป็นแบบแผนเดียวกันครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 28 มี.ค. 06, 13:03
 ขอสรุปเรื่องทฤษฎีเลือดชิด (inbreed) กับ X-linked recessive disease เช่น hemophilia
จริงๆแล้ว X-linked recessive disease เป็นส่วนหนึ่งของการที่เรามีการแต่งงานในหมู่เครือญาติใกล้ชิด (inbreed) การแต่งงานในหมู่เครือญาติใกล้ชิดนี้มีผลต่อสิ่งมีชีวิต 2 ประการหลักๆ (ตามที่สรุปความเอง)
1) ทำให้ลักษณะด้อย (recessive) ทั้งที่ดีและไม่ดีปรากฎออกมาได้ง่ายขึ้น ซึ่งลักษณะด้อยส่วนมากมักจะเป็นลักษณะที่ไม่ค่อยดีเป็นส่วนมาก ซึ่งผมจะแสดงด้วยแผนภาพของโอกาสเกิดโรค hemophilia 4 แบบ แบ่งเป็นกรณี inbreed ไปจนถึง cross-breed ซึ่งการเกิด cross-breed ที่อีกฝ่ายไม่เป็นโรคจะทำให้โรคทางพันธุกรรมจากยีนด้อยนี้หายไป ยิ่ง cross-breed มากเท่าใด โรคจากยีนด้อยก็จะหายไปมากเท่านั้น
2) นอกจากนี้ยังไม่ทำให้เกิดความหลากหลาย ลูกหลานออกมาก็จะมีความคล้ายคลึงพ่อแม่ ทำให้ไม่สามารถปรับตามสภาวะสิ่งแวดล้อมได้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะไม่เกิดวิวัฒนการ ตามหลักการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพเช่น ผีเสื้อกลางคืนที่มีลายกลมกลืนกับต้นไม้ จะอยู่รอดได้ถ้าอยู่ในป่า กรณีที่เกิดมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าถูกทำลายมีการสร้างบ้านเรือนตึกขึ้นมา พวกมันจะถูกล่ามากขึ้นเพราะไม่สามารถอำพรางตัวได้ แต่ถ้ามันมีการผสมพันธุ์กับผีเสื้อพันธุ์สีขาวแล้วลูกหลานมีโอกาศออกมาเป็นสีขาว ทำให้มันอยู่รอดได้มากขึ้น ในทางกลับกันผีเสื้อขาวอาจจะไม่อยู่รอดหากไม่ผสมกับพันธุ์ลายถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เป็นต้น


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 28 มี.ค. 06, 13:13

กรณีแรก Cross-breed ฝ่ายหญิงมาจากตระกูลอื่นและไม่เป็นพาหะของโรค + ฝ่ายชายที่เป็นโรคเพราะโครโมโซมวายนั้นสั้นจึงไม่มียีนเด่นมาบดบังไว้
ตามปกติฝ่ายชายทีเป็น hemophilia มักจะไม่มีชีวิตรอดพอที่จะถึงวัยเจริญพันธุ์ กรณีที่เกิดแบบนี้จึงน้อย แต่มีตัวอย่างในพงศาวลีของ Queen Victoria ที่มีผู้ชายที่เป็นโรคแต่งงานมีลูกหลานได้เหมือนกัน
จากแผนภาพจะเห็นได้ว่าจะได้ลูกสาวที่เป็นพาหะ และลูกชายไม่เป็นโรค ซึ่งการที่ลูกสาวเป็นพาหะนั้นจะถูกกำจัดออกไปได้ในชั้นลูกหลานนั้นจะต้องแต่งงานกับผู้ชายที่ปกติ ซึ่งจะแสดงในรูปถัดไป


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 28 มี.ค. 06, 13:18

กรณีที่ 2 cross-breed ผู้หญิงเป็นพาหะ แต่งงานกับ ผู้ชายที่ไม่เป็นโรคจากตระกูลอื่น
จะเห็นได้ว่า ลูกสาวมีโอกาสที่จไม่เป็นพาหะนำโรค 1 คน (โอกาสร้อยละ 25 ) และลูกชายมีโอกาสไม่เป็นโรคด้วยอีก 1 คน (โอกาสร้อยละ 25 )
ซึ่งโรคนี้จะหายไปจากตระกูล ถ้าลูกสาวที่เป็นพาหะไม่แต่งงานมีลูก และลูกชายที่เป็นโรคไม่แต่งงานมีลูก


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 28 มี.ค. 06, 13:22

กรณีที่ 3 Inbreed แม่เป็นพาหะ แต่งงานกับ พ่อที่เป็นโรค กรณีนี้จะเกิดได้จากการแต่งงานในหมู่เครือญาติ
จะเห็นได้ว่าโรคนี้แม้จะเกิดขึ้นในผู้ชายได้ง่าย แต่หากแต่งงานกันในหมู่เครือญาติก็มีโอกาสทำให้ลูกสาวเป็นโรคได้เช่นเีดียวกัน


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 28 มี.ค. 06, 13:27

กรณีที่4 Inbreed แม่เป็นโรค แต่งงานกับ พ่อที่เป็นโรค
กรณีนี้คิดว่ายังไม่มีเกิดขึ้นในโลก เป็นกรณีสมมติขึ้นมา
เพราะกรณีนี้ต่างฝ่ายต่างต้องรักษาชีวิตตัวเองดีมากๆ ถึงจะรอดมาเพื่อแต่งงานมีลูก
จะเห็นได้ว่าลูกที่เกิดมาเป็นโรคทุกคน ซึ่งแน่นอนว่าโอกาสที่ตระกูลนี้จะหายไปจากโลกก็มีสูง เพราะไม่มีความหลากหลายของลูกหลานพอที่จะดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 28 มี.ค. 06, 13:38

ก่อนอื่นต้องขอแก้ไขข้อความในด้านบนที่บอกว่ามี 4 กรณี ขอแก้ไขเป็น 5 กรณีครับ

กรณีที่ 5 Cross-breed แม่เป็นโรค แต่งงานกับ พ่อปกติที่มาจากตระกูลอื่น
กรณีเป็นไปได้ยากเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจะมีลูกชายที่เป็นโรค ส่วนลูกสาวจะเป็นพาหะ

ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้หวังว่าคงพอทำให้หลายๆคนเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับพันธุกรรมมากขึ้นนะครับ
กรณีของ hemophilia เป็นการถ่ายทอดโรคผ่านทางโครโมโซมเพศหญิง (X-linked gene) ซึ่งจะมีความแตกต่างจากถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมทั่วๆไป การอธิบายเรื่องของ ทฤษฎีเลือดชิด นั้นจึงควรจะรวมเรื่องของโรคทางพันธุกรรมอื่นๆลงไปด้วย เพราะกรณีที่เกิดไม่เหมือนกัน ถ้าใช้กรณีของ hemophilia อย่างเดียวจะอธิบายได้ไม่สมบูรณ์ครับ

ประโยชน์ของ ทฤษฎีเลือดชิด ก็ได้แก่ การดำรงสายพันธุ์ของสัตว์และพืชให้มีความบริสุทธิ์ไว้ เช่น สุนัขพันธุ์แท้ชนิดต่างๆ ปลาสวยงามทั้งหลาย เป็นต้นครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 28 มี.ค. 06, 13:42
 เกือบลืมอีกแล้วครับ รูปสวยๆนี้ได้จาก
http://www.hemophiliagalaxy.com/patients/about/whogets/genetics.html

สำหรับความรู้เรื่อง hemophilia ก็ลิ้งค์นี้ครับ
http://www.nhlbi.nih.gov/health/dci/Diseases/hemophilia/hemophilia_what.html  


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 28 มี.ค. 06, 22:22
 เท่าที่ผมเข้าใจจากวิชาที่อ.หมอสอน (ที่จริงคือ เท่าที่ตื่นอยู่และมีสติฟังครับ อิอิ)

ขออธิบายง่ายๆว่า คนทุกคนที่เกิดมา มียีนส์ด้อยของโรคทางพันธุกรรมบางโรคเป็นมรดกจากการปฏิสนธิอยู่แล้ว
อย่างน้อยประมาณ 3 - 5 ยีนส์จากโรคทางพันธุกรรมนับพันนับหมื่นโรคครับ
แต่เนื่องจากคู่สมรสมักไม่ได้มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงกัน การเกิดโรคทางพันธุจึงมักไม่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ครับ
เพราะโอกาสที่ยีนส์ด้อยจะมาพบกันทั้งคู่แบบผู้หญิงคนทางซ้ายในความเห็นที่ 12 ของพี่เภสัชฯ เกิดขึ้นได้น้อยมาก
เราจึงมักพบว่าโรคทางพันธุกรรมแต่ละโรคผู้ป่วยมักอยู่ในระดับ 1 ต่อ 10,000 บ้าง 1 ต่อ 6,000 บ้าง ซึ่งไม่ได้มากนักครับ


แต่ในสังคมที่ค่อนข้างปิด หรือมีการแต่งงานกันแบบปิด เช่น สังคมหมู่บ้าน-ชนเผ่า หรือสังคมในวังซึ่งมีคติความเชื่อในการแต่งงานกับคนในเผ่าหรือชนชั้นเดียวกัน
โอกาสในการกระจายตัวของยีนส์ที่ทารกในครรภ์ จะได้รับยีนส์ด้อยทั้งจากพ่อและแม่จึงมีมากขึ้นได้ครับ
เท่าที่ผมเข้าใจมาก็คงประมาณนี้ล่ะครับ




ปล. ให้พี่นทีสีทันดรมาอธิบายดีกว่าครับ
ผมไม่ได้เรียนวิชาเฉพาะทางนี้ซะด้วยสิครับ แหะๆ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: กงกง ที่ 28 มี.ค. 06, 23:11
 ขอบคุณมากๆครับสำหรับทุก คห. ได้ประโยชน์มากเลยทีเดียว เวบนี้มีคุณค่ามากจริงๆจากที่เคยเป็นเพียงผู้อ่านมานาน ไม่กล้าออกความเห็น เพราะแต่ละท่านมีความรู้มากจริงๆ(กลัวแป้ก)
จริงๆแล้วสาเหตุที่ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาก็เพราะสมัยผมเรียนท่านอาจารย์เพียงแต่สอนหลักการและทฤษฎี แต่มิได้นำมาเปรียบเทียบว่าเกี่ยวโยง หรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในขณะที่ผมเป็นนศ.อยู่นั้นผมและเพื่อนก็คิดว่าคล้ายๆกัน แต่ว่าจริงๆแล้วแตกต่างกัน ฉะนั้นผมเลยคิดว่านศ.สมัยนี้ก็คงจะคิดแบบเดียวกันกับผม จึงอยากแชร์ความคิดเห็นจากท่านผู้รู้หลายๆท่านมาประเทืองปัญญาของตนเองและจะได้ถ่ายทอดต่อผู้อื่นด้วยครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: กงกง ที่ 28 มี.ค. 06, 23:35
 ในส่วนของทฤษฎีเลือดชิดที่ผมจะนำมาเกี่ยวโยงกับราชวงศ์ไทยนั้นก็เพราะเห็นว่าเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน สามารถอธิบายทฤษฎีนี้ได้ดีที่สุด ตั้งแต่ตั้งครรภ์ลูกในท้องก็มีภูมิต้านทานที่ต่ำ บวกกับสภาพแวดล้อม สังคมในสมัยนั้นที่ยังไม่วิวัฒนาการเท่าปัจจุบัน ลูกที่เกิดมาจึงอยู่ได้ไม่นาน(บางองค์ดำรงพระชนม์ชีพได้ไม่กี่ชั่วโมงด้วยซ้ำ) ท่านอื่นๆคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับในกรณีนี้


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 29 มี.ค. 06, 00:46
Dear Khun กงกง

Personally, I still think that ทฤษฎีเลือดชิดในราชวงศ์ไทย might be very difficult to demonstrate into a clear picture since inbreeding wasn’t rather purely occurred among royal family…..although it seems to have inbreeding in the period of King Rama V(5)…once you closely look; you will see most of royal consorts were from different mother, either family.

The better picture of inbreeding results is obviously seen in royal family of an ancient Egypt. Because you could see Pharaoh was married to his sister…..This is purely inbreeding….Thus it resulted in having weak children or sometime incapableness.

As I told you earlier in Thai, inbreeding leads to lacking of genetic diversity in which it has strong association to immune system. The following information will confirm my opinion…
“However, it is quite possible to weed out genetic faults in even the most inbred lines. Scientists do this all the time; they have produced strains of mice, rats, and other animals that are so inbred as to be genetically identical. Each animal in one of these strains is the identical twin (aside from sex) of every other animal of that strain. These animals carry no lethal genes and are extremely healthy in every way except one. They must be kept in a nearly sterile environment, because their immune systems are not capable of fighting off a normal range of diseases.
The immune systems of all animals are absolutely dependent on genetic diversity. There are basically two kinds of immune responses:
1. There are cells called B-cells, that make antibodies which are capable of inactivating or killing foreign particles (such as bacteria or viruses) that enter the body.
2. There are cells called T-cells, which kill dangerous cells such as tumor cells infected with a virus.” http://bowen1.home.mindspring.com/mchs/articles/lorimer.htm
OK…come back to royal family of Thailand….I think “Lacking of Sanitization as well as Community Hygien” is a major cause of short-life of princes and princesses, rather than “Inbreeding problem”

However, other persons might think differently…… please wait and see

Regards

Andreas


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 29 มี.ค. 06, 10:54
 เคยได้ยินมาว่าราชวงศ์ที่ inbreed กันเยอะอีกวงศ์ก็คือ habsburg ของออสเตรียน่ะครับ มีปมด้อยที่เห็นชัดก็คือ habsburg's lip ที่ริมฝีปากล่างยื่นออกมาผิดปกติ แต่การ inbreed ก็ยังไม่ถึงขนาดพี่แต่งกับน้องแบบอียิปต์โบราณ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 29 มี.ค. 06, 12:16
 มาลงชื่อฟัง ตักตวงความรู้เฉยๆ ครับ

ขอบคุณวิทยากรทุกท่าน

ในส่วนที่อาจจะเกี่ยวกับเรือนไทยที่ผมจะเล่าได้บ้างนิดหน่อยคือ ตามความนิยมหรือธรรมเนียมเก่าในเรื่องนี้มีศัพท์เรียกว่า "อุภโตสุชาติ" ซึ่งถือกันในสมัยนั้นว่าเป็นเรื่องดี คือการที่เด็กหรือพระราชกุมารพระราชกุมารีที่จะประสูติมานั้น ทั้งฝ่ายพระชนกและพระชนนีมี "กำเนิดดี" หรือ "มีชาติดี" พร้อมทั้งสองฝ่าย

ว่าให้แคบลง หรือเกี่ยวกับทฤษฎีเลือดชิดก็คือ ทั้งพ่อและแม่ทรงมีชาติกำเนิดเป็นเจ้านายทั้งสองทาง

ถ้าผมจำไม่ผิด ในวรรณคดีพุทธประวัติ ดูเหมือนกับว่าได้มีการแต่งพุทธประวัติบรรยายพงศาวลีของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งคือพระพุทธเจ้า ไว้เหมือนกันว่า บรรพชนของพระองค์รุ่นก่อนๆๆๆ ขึ้นไปจากพระพุทธบิดาตั้งแต่ครั้งตั้งกรุงกบิลพัสดุ์ใหม่ๆ ก็เป็นอย่างนั้น คือพี่ชายได้กับน้องสาวตัวเอง อธิบายไว้ว่าเพื่อมิให้สายเลือดวงศ์กษัตริย์ต้องปนกับสายเลือดอื่น แต่ไม่ทราบว่ามีหลักฐานจริงๆ ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีแค่ไหน


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 29 มี.ค. 06, 18:11
 พอดีวันนี้ผมได้คุยโทรศัพท์กับเพื่อนคนึง ซึ่งสนใจทางด้านนี้อยู่
เลยชวนเขาคุยเรื่องหัวข้อของกระทู้นี้ แล้วถามตัวอย่างที่ชัดเจนของทฤษฎีเลือดชิดไป ว่าจะใช้ตัวอย่างของราชวงศ์ไหนดี

คำแรกที่เพื่อนถามมาทำให้อึ้งเล็กน้อยว่า "แน่ใจเหรอว่าเจ้านายบางพระองค์ตายเพราะโรค"

ส่วนตัวอย่างที่เขายกมาก็ทำให้ตกใจอีกเช่นกัน เพราะเขาเสนอมาว่า

"ยกตัวอย่างหมาพันธุ์แท้ไม่ดีกว่าเหรอ วงชีวิตก็สั้น การตายเพราะโรคก็ชัดเจนกว่า การคัดเลือกพันธุ์ก็แน่นอนกว่า แล้วบางสายพันธุ์คัดเลือกได้ถึงลักษณะทางพฤติกรรมที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงได้ เช่น สุนัขหลายสายพันธุ์ถูกคัดเลือกพันธุ์จากสุนัขเลี้ยงสัตว์ หรือสุนัขเก็บเหยื่อ มาเป็นสุนัขเลี้ยงในบ้าน พฤติกรรมก็เปลี่ยแปลงไปได้ หรือบางสายพันธุ์ถูกคัดเลือกให้เห่าเตือนเมื่อพบคนแปลกหน้า แต่ในขณะที่อีกหลายสายพันธุ์จะเห่าทักทายเมื่อพบเจ้าของหรือคนคุ้นเคยก็ได้ ถ้าเอาหมาตัวอย่างก็หลากหลายกว่า เยอะกว่า นข้อมูลก็ง่ายกว่าพิมพ์ชื่อพันธุ์เข้าไปหาได้เยอะแยะ จะไปเอาเรื่องเจ้าเรื่องนายมาพูดถึงทำไม"

แล้วเพื่อนก็ยังตบท้ายด้วยประโยคที่ทำให้ผมตัดสินใจมาโพสต์กระทู้นี้ด้วยคำว่า
"ถ้าไม่มั่นใจว่าเจ้านายบางพระองค์สิ้นพระชนม์เพราะระบบเลือดชิด เอาไปสอนเด็กพูดไปก็เหมือนโกหกในใจ จะพูดไปอีกทางก็เหมือนหมิ่นพระเกียรต์เจ้านายอีกหลายพระองค์ มึงเอาหมาแทนเหอะเพื่อปกป้องพระเกียรติ์ของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วน่ะ"



ฟังแล้วก็เลบขออนุญาตเอามาโพสต์หน่อยนะครับ





ปล. แต่คงแปลกน่าดูนะครับ ถ้าเจ้านายราชวงศ์ยุโรปหลายประเทศจะถูกนำไปเทียบกับสุนัข  








.


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 มี.ค. 06, 18:46
 ใครช่วยแปลสิ่งที่เพื่อนคุณติบอพูด จากไทยเป็นไทยได้ไหมคะ
ดิฉันอ่านแล้วไม่เข้าใจการใช้ตรรกะของเขา


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 29 มี.ค. 06, 22:59

มาแปลเองครับ อาจารย์
ถ้ามีส่วนไหนยังดูสับสนอยู่ ผมก็ขอรับผิดชอบด้วยการแปลเพิ่มครับ



เรื่องมีอยู่ว่า วันนี้เพื่อนคนนึง เสนอกับผมมาว่า ถ้าผมจะยกตัวอย่างประกอบทฤษฎีของยีนส์เรื่องการสืบพันธุ์ในกลุ่มประชากรที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน
(ตอนคุยกันไม่ได้บอกครับว่าเป็นเรื่องกระทู้ เขาคงคิดว่าผมจะเอาไปอธิบายเอง)

ตัวอย่างที่น่าจะยกมาประกอบได้ตัวอย่างหนึ่ง โดยไม่พาดพิงถึงข้อถกเถียงบางข้อของนักประวัติศาสตร์ หรือปัจจัยทางด้านการสาธรณสุข น่าจะเป็นเรื่องโรคที่พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์แท้ชนิดต่างๆครับ
เพราะทางวิทยาศาสตร์ถือว่าสุนัขบ้าน เป็นสัตว์ในสปีชีส์เดียวกัน
สุนัขที่ถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาสายพันธุ์หนึ่งก็คือสุนัขบ้านที่ถูกผสมพันธุ์ในบรรดาลูกหลานที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมาเป็นเวลานานจนมีลักษณะเด่นร่วมกัน


ดังนั้นโรคที่มักพบบ่อยในสุนัขสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง จึงจัดเป็นโรคทางพันธุกรรมแบบ "เลือดชิด" ที่เกิดจากการคัดเลือกพันธุ์โดยมนุษย์ครับ

เช่นในเวบไซต์ที่ผมยกมาอาการกระดูกสะบ้าเคลื่อน จัดเป็นโรคทางพันธุกรรม ของสุนัขพันธุ์ชิวาวา ครับ
(Luxation of the patella, or dislocation of the kneecap, is a common hereditary problem with chihuahuas and other small breeds.)

 http://www.prouxchihuahuas.com/id27.html





แต่หลังจากคุยกันแล้ว ผมอดรู้สึกไม่ได้ว่าถ้าใครซักคนจะเปรียบเทียบโรคทางพันธุกรรมในระบบ X-linked recessive กับโรคที่เกิดจากการสืบพันธุ์ในประชากรที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน
โดยเปรียบเทียบตัวอย่างของโรค haemophilia ของเจ้านายในราชวงศ์ยุโรป กับ โรคทางพันธุกรรมของสุนัขพันธุ์แท้สักสายพันธุ์หนึ่ง ผู้ฟังคงรู้สึกแปลกๆนะครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 30 มี.ค. 06, 00:11
 อืม คาดว่ายังคงมีบางท่านยังไม่เข้าใจเรื่องของ ทฤษฎีเลือดชิด ดีนักนะครับ
คำว่า "เลือดชิด" ขยายความได้ว่า สายเลือดใกล้ชิด หรือ มีการผสมพันธุ์หรือแต่งงานกันระหว่างญาติพี่น้องใกล้ชิด ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Inbreed
คำตรงกันข้ามคือ Cross-breed หรือการผสมพันธุ์หรือแต่งงานกันข้ามสายพันธุ์หรือที่ไม่ใช่พี่น้องใกล้ชิด
เ็ป็นศัพท์ทางด้านพันธุศาสตร์ ซึ่งบิดาของวิชานี้คือ เมนเดล ท่านได้ทดลองเกี่ยวกับการผสมพันธุ์ถั่ว จนได้ทฤษฎีทางพันธุศาสตร์ให้เราได้เรียนกัน
การผสมกันขอจำกัดความใช้ในกรณีที่เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (species เดียวกัน) เพื่อจะได้ไม่งงไปกว่านี้
สำหรับโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น ถ่ายทอดได้ทั้ง Inbreed และ Cross-breed
เพียงแต่เขาเห็นว่า Inbreed นั้นมีข้อเสียว่ามักจะทำให้เกิดลักษณะด้อย (recessive) ปราำกฎออกมาได้ ซึ่งลักษณะด้อยนี้อาจทำให้เป็นโรคหรือไม่ก็ได้ (ลักษณะด้อยมีทั้งดีและไม่ดี บางอย่างก็ไม่ดีไม่ร้าย เช่น คนผมตรงเป็นยีนด้อย คนผมหยิกเป็นยีนเด่น เป็นต้น)
โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมทั้งหลายที่เกิดในโลก มักมาจากยีนด้อย นั่นเลยทำให้เป็นข้อเสียว่าการเกิดการผสมระหว่างพี่น้องใกล้ชิด (inbreed) จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคที่แฝงมาได้ง่าย
โรค hemophilia เป็นหนึ่งในยีนด้อยที่แฝงมา เพียงแต่มันดันไปอยู่ที่โครโมโซมเพศ X (โครโมโซมคู่ที่ 23) เพราะอีกข้างเป็นโครโมโซม Y ซึ่งสั้นกว่า ไม่มีคู่ของยีนอีกข้างมาบดบังเอาไว้ในบางส่วน ทำให้ลักษณะการถ่ายทอดแปลกกว่าชาวบ้านเท่านั้นเอง

สรุปง่ายๆก็คือ hemophilia ก็เกิดจากการผสมแบบเลือดชิด (inbreed) เพียงแต่เป็นการผสมที่มีข้อพิเศษเท่านั้นเอง จะเอาไปอธิบายการผสมแบบเลือดชิดทั้งหมดเลยไม่ได้ ต้องหาตัวอย่างโรคอื่นๆ ที่มีรายงานทางการแพทย์ที่ชัดเจน
กรณีของราชวงศ์ไทย ไม่มีหลักฐานการเกิดโรคทางพันธุกรรมเลย (หรือมีแต่ไม่ทราบ) เพราะฉะนั้นผมเห็นว่าไม่สมควรจะยกตัวอย่าง และคิดว่ายกตัวอย่างด้วย hemophilia นั้นเหมาะสมแล้ว เพราะเป็นเรื่องที่รู้จักกันแพร่หลายและถูกบรรจุในตำรามาตรฐานสากลแล้วทุกเล่ม

-Inbreed ทำให้เกิดโรคและถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมได้ง่ายกว่า cross-breed
-Inbreed ทำให้เอกลักษณ์บางอย่างคงอยู่ แต่ก็ทำให้ยีนด้อยที่ไม่ดีมีโอกาสปรากฎออกมาได้เช่นกััน
-hemophilia เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ได้มาจากการ inbreed
-cross-breed ทำให้โรคที่ถ่ายทอดจากยีนด้อยค่อยๆหมดไป (ต้องผสมกันหลายรุ่น)
-cross-breed ก็ถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมได้เหมือนกัน


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 30 มี.ค. 06, 02:37
 ผมอ่านข้อความของคุณ นักวิทยเภสัชศาสตร์ แล้วเกิดข้อความเห็นขัดแย้งนิดหน่อยครับ....ผมว่าคุณนักวิทยเภสัชศาสตร์ น่าจะเข้าใจถูกต้องแต่เวลาเขียนออกมาแล้วอาจตัดย่อจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย

"สรุปง่ายๆก็คือ hemophilia ก็เกิดจากการผสมแบบเลือดชิด (inbreed) เพียงแต่เป็นการผสมที่มีข้อพิเศษเท่านั้นเอง"

ประโยคนี้ต้องการจะสื่อว่าอะไรกันแน่ครับ .....เพราะจริงๆแล้ว hemophilia คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นผลมาจาก ยีนเกิดการผ่าเหล่าผ่ากอ (defective copies of genes usually occurr randomly, due to mutation) มิได้เกี่ยวกับการ inbreeding แต่อย่างใด เพียงแต่ การ inbreeding จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ยีนผิดปกติอยู่แล้วมาเจอกันได้ง่ายขึ้น และเกิดประชากรมีการอาการของโรคขึ้นมาเพิ่มขึ้น

แบ่งประเด็นให้ดีๆนะครับ....ว่าจุดกำเนิดของโรค Hemophilia กับ การที่มีประชากรเกิดโรคนี้เพิ่มจำนวนเพราะ inbreeding มันแตกต่างกัน

X-Linked Recessive disorders เช่น Hemophilia คือโรคที่เกิดเพราะ genetic deformation  ซึ่งเป็นผลมาจากการ mutation .....ซึ่งการเกิดกระบวนการผ่าเหล่าผ่ากอของดีเอ็นเอนั้น (DNA mutation) นั้นมีสองสาเหตุใหญ่ คือ 1) การที่สาย DNA ได้รับความเสียหายจากการสัมผัสแสง UV หรือสารเคมีต่างๆ 2) เกิดการจับคู่ของคู่เบสผิดพลาดขณะเกิดการคัดลอกตนเองก่อนการแบ่งเซลล์ http://gslc.genetics.utah.edu/units/disorders/sloozeworm/mutationbg.cfm

การ mutation นั้นส่วนใหญ่จะส่งผลให้บางยีนที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนทำงานไม่ได้ หรือทำงานไม่มีประสิทธิ์ภาพ Hemophilia ก็เป็นโรคหนึ่งที่เกิดความผิดปกติอันเนื่องมาจากขาดโปรตีน หรือ clotting enzyme นั่นเอง

ถ้าใครยังสงสัยว่าจุดกำเนิดของโรค Hemophilia เกิดจากการ inbreeding อยู่อีก ผมเอาบทความนี้มาให้อ่านครับ
"However, if you look at the geneology of the members of various "royal" families
of Europe descended from Queen Victoria, you will notice that the most inbred family members on that three, the children of Queen Elizabeth II on line
VIII, do not suffer from hemophilia. Examining this tree closely, you can see that there is no real relationship between the inbreeding that has gone on in this family and the incidence of the disease.http://www.madsci.org/posts/archives/oct99/940037873.Cb.r.html"

ในกรณีที่เราต้องการจะเชื่อมโยงเรื่อง Hemophilia กับ inbreeding......เราสามารถพูดได้แต่เพียงว่า inbreeding ของสมาชิกครอบครัวที่มีอาการของโรคหรือเป็นพาหะ จะส่งผลให้โอกาสเกิดลูกหลานที่มีอาการหรือพาหะของโรคมากขึ้น.... แต่ไม่สามารถพูดได้ว่า "hemophilia เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ได้มาจากการ inbreed" เพราะจะทำให้เข้าใจผิดเรื่องจุดกำเนิดของโรคไปเสียครับ .....ต้องบอกว่า "จำนวนสมาชิกของครอบครัวเดียวกันที่เป็นโรคฮีโมฟิเลียจะเพิ่มขึ้น ถ้าอัตราการ inbreeding ในครอบครัวเดียวกันสูงขึ้น"

อีกเวปหนึ่งครับ..เค้าอธิบายอย่างเดียวกับผมhttp://www.cureresearch.com/genetics/inbreeding.htm


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 30 มี.ค. 06, 02:50
 ถ้าผมเขียนอะไรไป อ่านแล้วไม่เข้าตา ก็ขออภัยด้วยนะครับ.... ผมไม่ได้มีเจตนาดิสเครดิตใครนะครับ

---------------------------------------------

มาเสริมคุณติบอนิดหน่อยครับ....การที่จะบอกว่าเจ้านายของไทยมีพระสุขภาพและพระอนามัยอ่อนแอ อันเป็นผลมาจากการเกิด inbreeding ผมว่าเราพูดได้ไม่เต็มปากนักครับ เพราะมันเกิดข้อโต้แย้งได้ง่าย

ข้อหลักๆที่เอามาโต้แย้งได้ก็คือ เรื่องระบบสาธาณสุขมูลฐานในวัง รวมถึงเรื่องความเชื่อในการรักษาโรคที่ผิดๆในสมัยโบราณ

ผมว่านะครับ การที่เจ้านายบางพระองค์มีพระชนม์มายุสั้น ส่วนหนึ่งมาจากการติดเชื้อปอดบวมมาตั้งแต่เยงทรงพระเยาว์และรักษาไม่หายขาด รวมถึงเชื้อมาลาเรียด้วยครับ.....เพราะเชื่อกันว่า เมื่อคนเป็นโรคสองโรคนี้ตั้งแต่เด็กแล้ว จะทำให้สุขภาพอ่อนแอง่าย และภูมิต้านทานลดลง

.....ไม่นึกเลยนะครับว่า แค่หัวข้อที่คุณกงกงจั่วมาเล็กๆ กลับมีการสนทนากันยาวนานถึงเพียงนี้.....ผมว่านี่คือเสนห์ของเรือนไทย ที่เราคุยกันได้ทุกเรื่องจริงๆ (โอ้ว...ยกเว้นการเมือง 55555)


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 30 มี.ค. 06, 10:49
 ขอบคุณคุณ Andreas สำหรับความคิดเห็นที่แตกต่างครับ เรื่องนี้ผมไม่ซีเรียสหรอกครับ กลับเป็นเรื่องที่ดีเสียอีกที่มีผู้เห็นข้อบกพร่องหรือขัดแย้ง เพราะบางทีคนเรารู้ด้านเดียวอาจเติมเต็มเนื้อหาไม่ครบ

โอเค ครับผมยอมรับว่าใช้ภาษาในการสื่อสารผิดไปหน่อย "hemophilia ก็เกิดจากการผสมแบบเลือดชิด (inbreed) เพียงแต่เป็นการผสมที่มีข้อพิเศษเท่านั้นเอง" เป็น "hemophilia ปรากฎออกมาได้ง่ายขึ้นเมื่อมีการผสมแบบ inbreed เท่านั้นเอง"
ที่ผมเขียนเช่นนั้นเพราะผมมองว่า hemophilia ไม่ได้เป็นยีนที่เกิดจากการ mutation  แต่เป็นยีนด้อยอีก viriation หนึ่งซึ่งมีอยู่ในเผ่าพันธุ์มนุษย์ ซึ่งพบได้น้อยมาก เพราะมันถูกข่มด้วยยีนเด่น และ cross-breed ไม่เอื้ออำนวยในการกระจายโรค

แต่พอคุณ Andreas พูดเรื่องที่ว่า hemophilia เกิดจากการ mutation ทำให้ฉุกคิดว่า ถ้าเป็นแบบนี้ต่อให้มีการ Cross-breed โรคนี้ก็สามารถกลับมาหลอกหลอนคนในตระกูลได้ หรือสามารถเกิดกับประชากรกลุ่มใดก็ได้เช่นกัน
เรื่อง mutation มักนำมามองในเรื่องของโรคมะเร็งเป็นส่วนใหญ่ แต่โรคนี้กลับไม่ค่อยมีความสัมพันธ์ในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสักเท่าไหร่นัก แล้วก็ไม่พูดในแง่ของการ inbreed อีกด้วย
เพราะฉะนั้น "hemophilia เกิดจากการ mutation" ผมว่ามันก็ฟังแล้วทะแม่งๆอยู่ดี ครับเหอๆ ซึ่งประเด็นนี้อาจได้ถกกันอีกยาวแน่ในกระทู้นี้

ผมว่า hemophilia ก็ยังนำมาเ็ป็นตัวอย่างใช้อธิบายข้อเสียของการ inbreed ได้อยู่ดี เพียงแต่เป็นตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้นแหละ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: HotChoc ที่ 30 มี.ค. 06, 11:40
 ผมพอจะเข้าใจความหมายของคุณติบอใน #23 นะครับ แต่ผมมองว่าทางฝรั่งเขาไม่ได้คิดว่าเรื่องกษัตริย์เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์อะไรมากมาย กษัตริย์ย่อมมีทั้งที่ดีและไม่ดี องค์ไหนดีมีความสามารถก็ควรยกย่อง องค์ไหนประพฤติตัวไม่ดีทำอะไรผิดก็ว่ากันไปได้ตามเนื้อผ้า ต่างกับทางเมืิองไทยที่เรื่องกษัตริย์ถือเป็นของสูง ทุกอย่างที่เกี่ยวกับกษัตริย์ต้องดีต้องถูกหมด การไปเสนอว่าเจ้านายตายเพราะโรคที่ถ่ายทอดมาตามระบบเลือดชิด อาจจะฟังเหมือนว่าระบบเลือดชิดนั้นไม่ดี กลายเป็นหมิ่นเบื้องสูงได้

แต่ผมว่ามันไม่เกี่ยวกันเลยนะครับ คนที่ศึกษาเรื่องแบบนี้ก็คงไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี แค่เป็นเรื่องเหตุผลธรรมดา แต่คนไทยติดที่ว่าเรื่องกษัตริย์ต้องดีไว้ก่อน พอพูดเรื่องธรรมดาๆเกี่ยวกับกษัตริย์ก็กลายเป็น lese majeste ไป

ผมคิดว่าค่านิยมแบบนี้ของคนไทยที่ว่า a king can do no wrong นี่ทำให้เรามองกษัตริย์โดยขาดความเป็นมนุษย์ไป ทำให้เรามองข้ามความยิ่งใหญ่บางอย่างของกษัตริย์หลายๆพระองค์ไป เพราะผมมองว่าความยิ่งใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่ว่าคนๆนี้นสมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่การเอาชนะจุดอ่อนของตัวเองได้ หรือการยอมเสียสละเพื่อประเทศ เช่น ควีนอลิซเบ็ทที่ 1 ที่ไม่ยอมแต่งงานก็ำไม่ใช่เพราะจิตใจบริสุทธิ์ผุดผ่องรักไม่ยุ่งมุ่งแต่งาน พระองค์ก็มีคนรัก แต่ไม่แต่งเพราะอาจจะเป็นชนวนการแย่งอำนาจกัน แล้วยังใช้สถานภาพโสดของพระองค์เป็นเครื่องล่อหาพันธมิตรให้อังกฤษ(ที่มีปัญหารุมเีร้าหลายด้านตอนนั้น)ซะอีก หรือปริ๊นซ์บิสมาร์กที่หักหลังหลอกลวงพันธมิตร ล่อลวงบ้างขู่เข็ญบังคับแม้แต่กษัตริย์ตัวเองบ้าง แกล้งแก้ไขโทรเลขของกษัตริย์ตัวเองเพื่อก่อสงครามก็เคย บิสมาร์กไม่มีเพื่อนเลยเพราะใช้ทุกคนเป็นเครื่องมือ ทุกคนเกลียดบิสมาร์กแต่บิสมาร์กก็ยอมทำเื่พื่อรวบรวมและรักษาชนชาติเยอรมันให้เป็นปึกแผ่น เรื่องควีนวิคตอเรียที่กำลังคุยกัน ที่ส่งลูกๆไปแต่งงานกับเจ้าต่างๆก็หวังจะใช้ความสัมพันธ์ทางญาตินี้เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามระหว่างประเทศ  ปริ๊นเซสวิคตอเรียพระธิดาองค์ที่ส่งไปแต่งงานกับเจ้าชายเยอรมันนีก็ไม่ได้มีความสุขเท่าไหร่ที่เยอรมันนะครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 30 มี.ค. 06, 13:20
 สวัสดีครับคุณฮ็อตฟัดจ์,พี่ติบอ,พี่เภสัช,คุณแอนเดรียส,อ. เทาชมพู,คุณพระนิล,พี่กงกง และคุณนทีสีทันดรครับ

ขอสนับสนุนความเห็นของคุณฮ็อตฟัดจ์ครับ เพราะในเกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 เคยระบุไว้ว่า สถานะพระมหากษัตริย์ในยุโรปถือว่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับชนชั้นสูงอื่น ๆ
ซึ่งเทียบไม่ได้กับสถานะพระมหากษัตริย์ไทยที่ถือว่าเป็นสมมติเทพครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: pharmaceutical scientist ที่ 31 มี.ค. 06, 02:00
 มาต่อเรื่อง hemophilia กับ mutation อีกครั้งครับ

จากทีุ่คุณ Andreas พูดว่า "hemophilia เกิดจากการ mutation" นั้น ถูกต้อง แล้วครับ
พอดีผมเข้าใจนิยามเกี่ยวกับ mutation ผิดพลาดไปหน่อย แฮะ แฮะ
ยังไงก็กราบขออภัยท่านผู้อ่านมา ณ ที่นี้ด้วย
ผมคิดว่าประเด็นทางด้านวิทยาศาสตร์น่าจะจบลงเพียงเท่านี้ เพราะดูเหมือนจะมีบทสรุปแล้ว

ประเด็นที่คุยกันต่อก็คงเป็นประเด็นทางสังคมศาสตร์ เพื่อให้เข้ากับห้องเรือนไทยบ้าง
อย่างที่คุณ Hotchoc และน้องศรีปิงเวียง ได้แสดงความคิดเอาไว้


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 06, 09:22
ขอนำรายพระนามเจ้านาย ที่ประสูติจากพระบรมราชชนกและชนนีที่สืบสายเลือดพระโลหิตใกล้ชิดกัน  
ให้เห็นว่าทรงมีพระชนม์ยาวนานมากน้อยแค่ไหน

ขอออกตัวก่อนว่าข้อมูลนี้เอามาให้อ่านประกอบ เพื่อเป็นความรู้    ไม่ได้เป็นการยืนยันหรือขัดแย้งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับทฤษฎีสายเลือดใกล้ชิด
เพราะไม่ได้มีการรวมรวม(หรือมีแต่ดิฉันหาหนังสือไม่เจอ) ว่าแต่ละพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคอะไร
ดังนั้นตัวแปรอาจจะมีมากมายเกินกว่าสรุปได้

สมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕ (สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ทรงมีพระราชโอรส ๔ พระองค์ และพระราชธิดา ๔ พระองค์ คือ
๑. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก)  สวรรคตเมื่อพระชันษา ๑๗ ปี
๒. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์  สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๒๑ วัน
๓. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๔ เดือน
๔. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา๑๘ ปี
๕. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๕๔ ปี
๖. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ  สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๑๑ ปี
๗. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก )  สิ้นพระชนม์ พระชนมายุ ๔๓ พรรษา
๘. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง (สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ ๔ วัน ยังไม่ได้รับพระราชทานนาม)

(ราชาศัพท์ในนี้ใช้ตามหนังสือ ราชสกุลวงศ์ค่ะ  เรื่องการใช้ราชาศัพท์เป็นความลำบากใจอย่างมากตามที่คุณ UP เคยบอกไว้ว่าจะเลือกใช้ตามเล่มไหนดี )


จำได้ไม่แม่นนักว่า ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเอ่ยถึงโรคไต ว่าเจ้านายเป็นกันหลายพระองค์ค่ะ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 06, 09:46
 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชโอรสธิดา ๑๔ พระองค์
คือเป็นพระราชโอรส ๗ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์ และที่ตก(แท้ง)ระหว่างทรงพระครรภ์ ไม่ปรากฏว่าเป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดา อีก ๕ พระองค์

ลำดับครบ ๑๔ พระองค์ ได้แก่
๑) สมเด็จเจ้าฟ้า(หญิง)พาหุรัดมณีมัย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๑๐ ปี
๒) ตกระหว่างทรงพระครรภ์
๓)สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)มหาวชิราวุธ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสวรรคต พระชนมายุ ๔๖ พรรษา
๔)สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)ตรีเพ็ชรุตม์ธำรง  สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๗ ปี
๕) สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)จักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต พระชนมายุ  ๓๘ ปี
๖) ตกระหว่างทรงพระครรภ์
๗)สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)ศิริราชกกุธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๓ ปี
๘) ตกระหว่างทรงพระครรภ์
๙) สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ
๑๐)สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)อัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา  เสด็จทิวงคต พระชนมายุ ๓๕ ปี
๑๑)ตกระหว่างทรงพระครรภ์
๑๒)ตกระหว่างทรงพระครรภ์
๑๓) สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย) จุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๓๒ ปี
๑๔)สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระชนมพรรษา ๔๘ ปี


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 06, 09:48
 สมเด็จพระนางเธอสุขุมาลมารศรี มีพระราชโอรสธิดา ๔ พระองค์ แต่ว่าตกระหว่างทรงพระครรภ์เสีย ๒ พระองค์ เหลือเพียง ๒ พระองค์
คือ
๑)สมเด็จเจ้าฟ้า(หญิง)สุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์  สิ้นพระชนม์ พระชันษา ๔๖ ปี
๒) สมเด็จเจ้าฟ้า(ชาย)บริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต สิ้นพระชนม์ พระชันษา ๖๓ ปี


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 31 มี.ค. 06, 10:05
 ขอตามคุณเทาชมพูด้วยการเชิญพระนามพระราชโอรสธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ให้เห็นว่าทรงพระชนม์ไม่ยืนนานนักเช่นกัน

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระชนมายุ ๑๐ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรรุตม์ธำรง พระชนมายุ ๗ พรรษา
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระชนมายุ ๓๗ พรรษา
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ พระชนมายุ ๓ พรรษา
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์วันที่ประสูติ
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระชนมายุ ๓๔ พรรษา
สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย พระชนมายุ ๓๑ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 31 มี.ค. 06, 10:07
 โอ้...มาช้าเกินไป สวนทางกัน ขอประทานโทษครับ    


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Andreas ที่ 31 มี.ค. 06, 10:11
 แงๆๆๆๆๆๆๆๆ พี่นักวิทยเภสัชศาสตร์แกล้งผม.....(ขออนุญาตเรียกพี่แล้วกันนะครับ เพราะไปสืบมาว่า ตัวจริงพี่อายุมากกว่าผมปีหนึ่ง..แต่คาดว่าน่าจะเรียนรุ่นเดียวกัน เพราะผมเรียนเร็วครับ)

ทราบมั้ยครับว่าวันนี้เกือบทั้งวัน ผมพยายามหาเอกสารอ้างอิงหลากหลายมาก เพื่อมาหักล้างว่าจริงๆ แล้ว Hemophilia เกิดจากการ mutation .....ผมต้องขุดความรู้ทั้ง foundamental genetics, biochemical genetics, and environmental genetics ที่เคยเรียนในมหาวิทยาลัยมาช่วยค้นเลยนะครับ....ทั้งๆที่ผมไม่ค่อยชอบวิชาพวกนี้เท่าไหร่

แต่ก็แปลกนะครับ คนเราเกลียดอะไรก็มักเจอแบบนั้น......ผมจบชีวเคมี แต่ไม่ชอบชีวเคมี...แต่พอมาทำงาน ทุกอย่างมันมุ่งไปที่ชีวเคมีหมดเลย..กลายเป็นว่าเป็นข้อดีที่เรียนชีวเคทีมา..แต่สุดท้ายยังทำใจให้ชอบไม่ได้อยู่ดีครับ

อย่างที่บอก..ต้องไปขุดความรู้เก่าๆมาช่วยค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม..พอได้ข้อมูลมาครบ และกำลังจะนั่งเขียนรีพลายตอบ..ผลปรากฏว่าพี่ตอบมาซะก่อน....ทำเอาข้อมูลผมเป็นหมันเลยทันใด.....แงๆๆๆๆๆๆๆ เฮ้อ.....

-------------------------------------

จากข้อมูลที่คุณเทาชมพู เอามาให้ดู ผมเองก็เริ่มเอนไปหาสมมุติฐานเรื่องเลือดชิด แต่เรื่องระบบสาธาณสุขมูลฐานภายในพระราชวัง ก็ยังมาถ่วงไม่ให้เอนเอียงไปมากเท่าไหร่ครับ

ถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าจะเป็นพระน้องนางเธอในพระพุทธเจ้าหลวง แต่ก็มีพระชนนีคนละองค์กัน....พระโลหิตค่อนข้างชิด แต่ไม่ชิดมากเท่าไหร่.....

ดูไปดูมาผมกลับได้ข้อสังเกตุเพิ่มเติม.... อันนี้ไม่ได้อ้างอิงวิชาการใดๆทั้งสิ้น เพียงแต่เป็นความคิดเล่นๆส่วนตัวครับ....

คือ ผมคิดว่า การที่สมเด็จพระบรมราชชนก มีพระปรีชาสามารถในเรื่องวิทยาศาสตร์ นั้นเพราะได้น่าจะได้รับ gene มาจากสมเด็จปู่ คือรัชกาลที่ 4 มาแบบครบถ้วนเลยครับ

เพราะว่า พระพทธเจ้าหลวงจะได้ Y chromosome จาก รัชกาลที่ 4 ในขณะเดียวกัน พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าก็จะได้ X chromosome จากรัชการที่ 4 เช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อจับคู่ตามแผนผังทาง genetic แล้ว พบว่า พระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ จะมีโอกาสได้รับ X and Y จากรัชกาลที่สีคู่กันเต็มๆๆ ....(ถ้าไม่มีการ mutation ขณะแบ่ง sex cell ของพระพุทธเจ้าหลวงและพระพันวัสสานะครับ)......ขอย้ำว่าเป็นความคิดเล่นๆนะครับ อย่าถือเป็นสาระ...แค่เห็นว่ามันน่าจะเป็นไปได้ครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 31 มี.ค. 06, 10:15
 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยมีพระราชปรารภไว้ว่าจะไม่ทรงอภิเษกสมรสกับพระขนิษฐภคินีของพระองค์เอง (แม้ต่างพระครรโภทร) เด็ดขาด


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 31 มี.ค. 06, 12:27
 ไม่ต้องขอโทษหรอกค่ะคุณ UP  ยินดีมากที่เข้ามาร่วมวง   ทราบว่าคุณ UP มีข้อมูลดีๆมาเล่าสู่กันฟังเสมอ
ถ้าดิฉันเล่าผิดตอนไหนโปรดแก้ให้ด้วย

มาต่อให้ว่า ความประสงค์ที่จะสมรสในหมู่ญาติใกล้ชิด (ขออนุญาตเขียนเป็นภาษาชาวบ้าน เพื่อจะเข้าใจง่ายๆ) มีอยู่มากในหมู่เจ้านาย

สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ก็ทรงมีพระทัยเสน่หาในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์
ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีต่างพระครรโภทร  พระชนมายุห่างกันไม่ถึงปี
ก็มีข่าวก๊อสสิปกันว่า เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ  แต่ว่ามิได้ทรงสนับสนุน
เรื่องก็ค้างอยู่แค่นั้นไม่ทันคืบหน้า เพราะว่าสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเสด็จสวรรคตเสียก่อน

แต่แนวความคิดนี้ก็ยังมีอยู่ต่อมา   อย่างที่คุณ UP แย้มๆเอาไว้

ขอยกจากหนังสือ "ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖"
"ส่วนพระองค์เสด็จแม่(หมายถึงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ)เองนั้น   มีพระประสงค์ให้ฉันเลือกลูกเธอของทูลกระหม่อม( หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)องค์ ๑
และทรงแนะนำว่า หญิงน้อย(สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองฯ พระเจ้าลูกเธออันประสูติแด่พระวิมาดา กรมพระสุทธาสินีนาฏ ) เป็นผู้ที่ทรงเห็นเหมาะ
แต่ฉัน(หมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)ก็ยืนยันอยู่เช่นที่ได้เคยยืนยันมาแล้ว ตั้งแต่กลับจากยุโรป  
ว่าไม่ยอมเลือกน้องสาวเปนเมียเป็นอันขาด"

ในเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯก็ไม่ทรงเห็นด้วย     และมีข่าวกระซิบเบาๆว่าพระวิมาดาก็ไม่ทรงเห็นด้วยเช่นกัน
เรื่องนี้ก็เงียบหายไป


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: นทีสีทันดร ที่ 31 มี.ค. 06, 13:26
 คุณ andreas คิดเล่นๆแต่ก็เป็นไปได้ยากอยู่ดีครับ
ถ้าคิดเฉพาะ sex chromosome x chromosome ของสมเด็จพระบรมราชชนกอาจมาจากของรัชกาลที่ 4 หรือพระนางเจ้ารำเพยฯก็ได้นะครับ
ถ้าคิดทั้งหมด chromosome มีตั้ง 23 คู่ ในระหว่างการสร้าง gamete จะเอาตัวไหนมาในแต่ละคู่ก็ไม่รู้ นอกจากนี้ระหว่างการสร้าง gamete ก็มีการเกิด crossing over ด้วย ยากจริงๆครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: นทีสีทันดร ที่ 31 มี.ค. 06, 13:30
 ผิดมหันต์ครับ ขอโทษครับต้องเป็นเจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดีศรีพัชรินทรมาตา) แทนพระนางเจ้ารำเพยครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: UP ที่ 31 มี.ค. 06, 15:28
 ครับ เคยอ่านที่ไหนไม่ทราบ จำไม่ได้แล้ว ว่าพระวิมาดาเธอฯ ก็ไม่ทรงต้องพระประสงค์จะให้พระราชธิดาเข้าทำราชการฝ่ายในในรัชกาลที่ ๖ เช่นกัน หากจำไม่ผิด รู้สึกว่าสมเด็จหญิงทั้งหลายโปรดให้มีวงดนตรีไทยประจำวัง เพื่อทรงเล่นทรงฟังเป็นที่ทรงพระสำราญตามพระนิยมของเจ้านายสมัยนั้น แต่พระวิมาดาเธอฯ ก็ไม่โปรดให้มี ด้วยในพระราชสำนักรัชกาลที่ ๖ ก็โปรดศิลปะการดนตรีเช่นนี้อยู่ ทรงเกรงว่าจะเป็นที่ครหาได้ว่ามีไว้เอาพระทัยพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ทรงโปรดปราน

..ผมพาเลี้ยวออกนอกเรื่องอีกแล้ว

เชิญคุยกันเรื่องพันธุกรรมต่อครับ เรื่องเชิงวิทยาศาสตร์เช่นนี้ ผมขอหลบนั่งฟังอยู่หลังเขามอเงียบๆ ดีกว่า เพราะไม่มีความรู้เอาเสียเลย


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 31 มี.ค. 06, 23:01
 ขอบคุณ คุณAndres ในความเห็นที่ 28 นะครับ

เมื่อเช้านี้ตอนช่วงว่างระหว่างฝึกงาน ผมได้โทรศัพท์คุยกับพี่เจ้าของความคิดเรื่องสุนัขพันธุ์แท้ และแนะนำให้เข้ามาอ่านเองตอบเองไปแล้วครับ อิอิ
หวังว่าคงได้ฤกษ์ดีในการสมัครซะก่อนกระทู้จะวายนะครับ หุหุ


สำหรับผมเอง ถึงแม้จะมีตัวอย่างเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕ จากพระมารดาเดียวกันที่สิ้นพระชนม์เป็นจำนวนมาก ก็ยังไม่อยากปักใจโทษทฤษฎีเลือดชิดมากนักครับ

อย่างแรก คือเจ้านายที่ประสูติจากพระมารดาอื่นๆ ซึ่งไม่ได้มีเลือดชิดก็มีการสิ้นพระชนม์เหมือนกัน
เช่น พระราชกุมารที่ประสูติจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นต้น

ข้อ ๒ อัตราการตายของประชากรในยุคนั้น ถ้าเทียบกับอัตราการเกิด ถือว่าสูงมาก ซึ่งต่างกับในปัจจุบันมาก
เช่น ในมารดาที่มีรูปร่างเชิงกรานแบบพิเศษ หรือทารกที่มีท่าในครรภ์ไม่ดี แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีโอกาสรอดได้เลยครับ

ข้อ ๓ โรคที่เจ้าฟ้าหลายพระองค์ประชวรสิ้นพระชนม์ ไม่ได้เป็นโรคทางพันธุกรรมอย่างเดนชัดครับ
ถ้าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าทรงประชวรด้วยโรคใดโรคหนึ่ง จนสิ้นพระชนม์ การสรุปว่าเป็นทฤษฎีเลือดชิดคงมีน้ำหนักมากกว่านี้มาก
แต่ในกรณีนี้ ผมขออนุญาตไม่สรุปไปทางใดทางหนึ่งให้ชัดเจนจะดีกว่าครับ

ข้อสุดท้าย จะเห็นว่าพระมเหสีที่อาจารย์เทาฯ และคุณอัพ ยกมานั้น ทรงครรภ์กันบ่อยเหลือเกิน
ซึ่งเป็นเรื่องไม่แปลกอะไรนัก ถ้าจะมีพระสุขภาพครรภ์ไม่แข็งแรงจนทำให้เกิดการตกระหว่างพระครรภ์ได้
โดยเฉพาะในสมเด็จพระพันปีหลวง เท่าที่ผมเข้าใจครั้งแรกที่ทรงครรภ์ พระชนมายุยังไม่ถึง ๒๐ พรรษานะครับ ??
(สมเด็จพระพันปีหลวงน่าจะประสูติ พ.ศ. ๒๔๐๖ ส่วนเจ้าฟ้าหญิงพาหุรัดมณีมัยน่าจะประสูติ พ.ศ. ๒๔๒๑ นะครับ ถ้าผมจำไม่ผิด)



ปล. รอตัวจริงดีกว่าครับถ้าเจ้าตัวยอมมา เพราะผมเชิญใครมาทีไร มักไม่ค่อยได้สมัคร หรือสมัครก็อยู่ได้ไม่นานทุกที
ไม่ทราบเหมือนกันครับ ว่าเพราะอะไร เฮ่อ....


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 03 เม.ย. 06, 13:06
 จากความเห็นล่าสุดของพี่ติบอ
"พระราชกุมารที่ประสูติจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมี"

ผิดครับ ที่ถูกต้องคือ พระราชกุมารีที่ประสูติจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมีครับ
มีพระนามว่า พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี
สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 3 พรรษาครับ
........................
พักร้อน = ว่าง แต่ไม่มีเวลาโพสต์ครับ    


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 03 เม.ย. 06, 18:45
 ขอบคุณคุณศรีปิงเวียงครับ ที่ช่วยแก้ไขให้
ผมพิมพ์ตกๆหล่นๆอีกแล้วจนได้    ขายหน้าจัง


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 04 เม.ย. 06, 12:21
   ไม่ต้องอายหรอกครับพี่ติบอ
ผิดเป็นครู พลาดเป็นบทเรียน (รู้สึกว่าผมจะพลาดเยอะกว่าพี่ด้วยซ้ำครับ)
ป.ล. ไม่แน่ใจครับว่า ทฤษฎีเลือดชิดจะใช้ได้ ถ้ามีพ่อเดียวกัน แต่ต่างแม่แต่งงานกันครับ
หรือ กรณีที่ว่า ลุงแต่งงานกับลูกของหลานลุง จะพิจารณาอย่างไรครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ช่อม่วง ที่ 07 เม.ย. 06, 22:11
 "ผิดเป็นครู " ครูที่ร.ร.ของดิฉันก็เคยบอกค่ะ

แต่ดิฉันผิดจนจะเป็นผู้อำนวยการแล้ว


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เจ้าสำราญ ที่ 08 เม.ย. 06, 16:32
 โดยส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่าการที่พระราชโอรสและพระราชธิดาชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าทรงมีพระชนมายุไม่ยึนยาวนักนั้นก็น่าจะมาจากการที่ทรงอภิเเษกสมรสกันเฉพาะในหมู่พระญาตินั่นเองครับ
ถ้าลองย้อนประวัติกลับไปดูจะเห็นได้ว่าจุดแรกเริ่มนั้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่2 ที่ทรงอภิเษกกับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ จริงๆแล้วก็ทรงเป็นพระธิดาของ "ป้าแท้ๆ"-พระเชษฐภคินีของรัชกาลที่1(ผมจำพระนามไม่ได้)นั่นเอง
ครั้นสมัยรัชกาลที่4 สมเด็จพระบรมราชินีคือกรมสมเด็จพระเทพศิริทรามาตย์หรือสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี-ก็ทรงเป็น"หลานตาแท้ๆ" ของรัชกาลที่ 1 ที่ทรงสนิทสเน่หาเป็นที่ยิ่ง(ถึงกับทรงสร้าง"วัดโสมนัสฯ"พระราชทานให้)
พอรัชกาลที่ 5 ก็ทรงอภิเษกกับพระเจ้าน้องนางเธอทั้ง 3 พระองค์ ซึ่งทรงเป็น"น้องสาวต่างมารดา"-คือกรมสมเด็จพระเทพศิรินทร์กับสมเด็จพระปิยมาวดี เท่านั้น
จึงไม่น่าแปลกใจหรอกครับ ที่พระราชโอรสและพระราชธิดาชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าเหล่านั้น จะทรงมีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก ทั้งนี้ก็เพราะการยึดในหลักอุภโตสุชาติและในกฎมนเทียรบาลสมัยก่อนได้ระบุไว้ว่า การจะเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกหรือสมเด็จเจ้าฟ้านั้น พระบิดาจะต้องเป็นกษัตริย์และพระมารดาจะต้องเป็นพระองค์เจ้าหรือเจ้าฟ้าเท่านั้น
และหากสังเกตจะพบว่าพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกยาเธอที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาวนั้นล้วนเป็นชั้นพระองคืเจ้าซึ่งมีพระมารดาเป็นเจ้าจอมมารดาทั้งสิ้น(พูดง่ายๆ ก็คือเกิดการผสมข้ามสายเลือดนั่นเอง)


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 เม.ย. 06, 20:55
 เราพูดกันในค.ห.ต้นๆของกระทู้ ว่าเรื่องนี้ยังสรุปแบบที่คุณช่างสำราญเข้าใจไม่ได้ เพราะตัวแปรมากมายกว่า

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยทรามาตย์ ทรงเป็น "ลูกพี่ลูกน้อง"กัน
ถ้าหากว่านับการสืบสายสกุลทางพ่อ   ทั้งสองพระองค์ก็มาจากคนละสกุล   พระชนกของสมเด็จฯคือเจ้าขรัวเงินนั้นท่านก็เป็นอีกตระกูลหนึ่ง ที่ไม่ใช่ราชวงศ์จักรี
พูดถึงสายเลือดที่เกี่ยวข้องกันก็คือสายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ กับสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระชนนีของสมเด็จฯ เป็นพี่น้อง
แต่ว่าเจ้าขรัวเงินก็ดี   และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกัน
สรุปแล้ว  พ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย มีอยู่ ๒ คนที่ไม่ได้เป็นญาติ  และอีก ๒ ที่เป็นพี่น้อง  
เลือดที่ใกล้กันก็พอประมาณได้ว่า 50%

กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ มีพระราชโอรส ๓ พระองค์
๑) เจ้าฟ้าชาย สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ
๒) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระชนม์ยืนยาวถึง ๖๕ พรรษา   ถ้าไม่เสด็จสวรรคตด้วยไข้ป่า  ก็จะมีพระชนม์ยืนยาวกว่านี้
๓) พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า สวรรคตเมื่อพระชนม์ ๕๘ พรรษาหลังจากประชวรด้วยพระโรควัณโรค


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 เม.ย. 06, 20:57
 ขอแก้ไขค่ะ
พระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี-ก็ทรงเป็น"หลานตาแท้ๆ" ของรัชกาลที่ 1 ที่ทรงสนิทสเน่หาเป็นที่ยิ่ง(ถึงกับทรงสร้าง"วัดโสมนัสฯ"พระราชทานให้)

พระนางเจ้าโสมนัสเป็น"หลานปู่" ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ค่ะ  
ทรงเป็นพระธิดาในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เจ้าสำราญ ที่ 08 เม.ย. 06, 20:59
 ทราบแล้วครับ ขออภัยที่ข้อมูลผิดพลาด


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 เม.ย. 06, 21:05
 สืบเนื่องจากค.ห. ๕๐ ลองมาเปรียบเทียบตามนี้บ้าง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าทรงมีพระสนมเอก คือเจ้าจอมมารดาเรียม (สมเด็จพระศรีสุลาไลย) ซึ่งไม่ได้มีสายเลือดใกล้ชิดกัน
โปรดดูพระชันษาของพระราชโอรสธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียมบ้าง
๑) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จสวรรคต พระชนมายุ ๖๗ พรรษา
๒)พระองค์เจ้าหญิงป้อม  สิ้นพระชนม์ พระชันษา ๔ ปี
๓) พระองค์เจ้าชายดำ สิ้นพระชนม์ พระชันษา ๑ ปี


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 09 เม.ย. 06, 11:54
 ขอบพระคุณทุก ๆ ความเห็นครับ
กรณีของ ร. ๔ แลสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี เท่าที่ดูจะพบว่าเป็นการอภิเษกสมรสระหว่างปู่กับหลานปู่ (ร. ๓ มีศักดิ์เป็นพระอัยกาของสมเด็จพระเทพศิรินฯ)
สมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล สิ้นพระชนม์ราว ๆ 7-9 ชันษา ด้วยพระโรควัณโรค
แต่พระราชโอรสทั้งสามพระองค์มีพระชนม์มากกว่า ๔๐ ชันษา

กรณีของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ก็เช่นเดียวกัน
เพราะพระองค์เจ้าพรรณราย เป็นพระน้องนางในสมเด็จพระเทพศิรินฯ
ใช้ทฤษฎีเลือดชิดไม่ได้เช่นกัน เพราะมักจะเสด็จสวรรคต,ทิวงคตหรือสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคทั้งสิ้น

อีกกรณี พระราชโอรสธิดาที่เกิดจากเจ้าจอมมารดาบางพระองค์ สิ้นพระชนม์แต่เยาว์วัยก็มาก ใช้คำว่าทั้งสิ้นไม่ได้ เช่น พระองค์เจ้าศรีพัฒนา(20-21 ชันษา),พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช(9 วัน),พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส(พระขนิษฐาร่วมครรโภทรกับพระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย แต่สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนม์ได้ 2 ชันษา
ส่วนพระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย มีพระชนม์ชีพยืนมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน) ฯลฯ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เจ้าสำราญ ที่ 09 เม.ย. 06, 14:07
 ขอบคุณสำหรับทุกคำแนะนำนะครับ

อย่างไรก็ตาม  ในทางการแพทย์นั้นการเกิดโรคหรือพยาสภาพต่างนั้น จะไม่ได้มาจากเพียงจากเหตุปัจจัยเดียวเท่านั้น โดยส่วนมากมักเป็น Multifactorial causes (ไม่ทราบว่าจะใช้คำไทยว่า สาเหตุจากพหุปัจจัย ได้หรือไม่) กล่าวคือมีสาเหตุทั้งปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

ในกรณีนี้ อาจกล่าวได้ว่า การนิยมอภิเษกสมรสในหมู่พระญาติของราชวงศ์จักรีนั้น ทำให้เพิ่มโอกาสหรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือพยาธิสภาพเหล่านั้นมากขึ้น  ร่วมกับวิทยาการทางการแพทย์ในสมัยก่อนยังไม่พัฒนาเพียงพอ

จึงทำให้เจ้านายบางพระองค์ซึ่งทรงมีความเสี่ยงหรือแนวโน้มที่จะอ่อนไหว (Succeptible) ต่อการเกิดโรคได้ง่ายกว่าประชาชนทั่วไป  จึงทรงมีพระชนมายุไม่ยืนยาวอย่างที่ควรจะเป็นนัก

แต่ในบางพระองค์ ก็นับว่าทรงโชคดี ที่ไม่ทรงมีแนวโน้มดังกล่าว จึงทรงมีพระชนมายุยืนยาวได้มาก (เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร)

เพราะในเรื่องของพันธุศาสตร์และพยาธิสรีรวิทยานั้น จะมีเรื่องของ "ความเสี่ยง" หรือ "ความน่าจะเป็น" เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เจ้าสำราญ ที่ 09 เม.ย. 06, 14:10
 ขอแก้คำผิดครับ

"พยาธิวิทยา" ครัย ไม่ใช่พยาวิทยา
(มาจาสกคำว่า Pathology ครับ)

สวัสดีครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: หนูหมุด ที่ 11 เม.ย. 06, 11:14
 ขอ save ไปอ่านก่อนนะคะ หนีงานมาค่ะ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 เม.ย. 06, 11:26
 ดิฉันก็ยังข้องใจอยู่ดีละค่ะ คุณเจ้าสำราญ
ในผู้มีเลือดใกล้ชิด   ลองทำตัวอย่างแบบนี้
๑)ชาย A + หญิง B (มีเลือดใกล้ชิดกันในฐานะ half bother-sister)
มีลูกๆ อายุไม่ยืนยาว
๒)ชาย A คนเดิม + หญิง C (มีเลือดใกล้ชิดกันในฐานะ half bother-sister)
มีลูกๆอายุยืนยาวเกิน ๔๐ -๖๐ ปี
๓)ชาย A คนเดิม + หญิง D  ไม่มีสายเลือดใกล้กันเลย ห่างกันมาก
มีลูกๆอายุไม่ยืนยาว
๔) ชาย A คนเดิม + หญิง E ไม่มีสายเลือดใกล้กันเลย ห่างกันมาก
มีลูกๆอายุยืนยาว

ในเมื่อมีพหุปัจจัยมากมายมาเป็นตัวแปร   งั้นเราจะเอาอะไรมายืนยันได้ว่ามีความเสี่ยงในหมู่ผู้มีเลือดใกล้ชิด   นอกจากทฤษฎี

เราจะมองอีกด้านได้ไหมว่า  การใกล้ชิดกันทางสายเลือด "ไม่จำเป็น" ว่าจะก่อให้เกิดความอ่อนแอและอายุสั้น
แต่สามารถมีลูกอายุยืนยาวอย่างในข้อ ๒ ก็ได้


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 11 เม.ย. 06, 12:03
 อ. เทาชมพูพูดถูกต้องครับ
ผมคิดว่า ความผิดปกติตามทฤษฎีเลือดชิด นอกจากเรื่องอายุและโรคภัยไข้เจ็บแล้ว
ยังมีเรื่องบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจด้วยครับ


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: หนูหมุด ที่ 12 เม.ย. 06, 13:52
 ขอบพระคุณทุกท่านที่มาให้ความรู้นะคะ
หนูหมุดกลับไปนั่งอ่านอยู่นาน แล้วเกิดความสงสัยหนึ่งดูเหมือนโรคทางพันธุกรรมที่กล่าวกันว่ามีโอกาสจะปรากฏมากขึ้นหากมีการแต่งงานกันในหมู่ญาติใกล้ชิด โรคที่เป็นกันนอกจาก โรคเลือดไหลไม่หยุดแล้ว ยังมีโรคทางพันธุกรรมอื่นๆรึเปล่าคะ เคยได้ยินว่าเบาหวานก็เป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมเหมือนกัน หรืออาการเรียนรู้ช้า พิการซ้ำซ้อน พวกนี้เป็นลักษณะด้อยด้วยรึเปล่าคะ (อันนี้ถามทั่วๆไป ไม่ได้เจาะจงนะคะ)

หนูหมุดเคยอ่านเรื่องคลั่งเพราะรัก ของ ว. ณ ประมวญมารค ซึ่งกล่าวถึงราชวงศ์ยุโรป รวมถึงเสปนด้วย ดูเหมือนจะมีการกล่าวถึงการที่คนในเครือญาติจิตวิปลาสแล้วเกรงว่าตัวเอกของเรื่องอาจจะเสียสติไปอีกคน แสดงว่ามีความเชื่อว่าอาการทางจิตก็อาจจะถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้เหมือนกันเหรอคะ

ส่วนในของเจ้านายไทยนั้น หนูหมุดว่าอาจจะยากที่บอกว่าที่อายุสั้นหรือสุขภาพไม่แข็งแรงนั้นเกิดจากทฤษฎีเลือดชิดอย่างเดียว แต่ก็นับว่ามีความเป็นไปได้ที่สูง หรืออย่างน้อยก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Buran ที่ 15 เม.ย. 06, 16:04
 ความเห็น 33

๗. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ) สิ้นพระชนม์ พระชนมายุ ๔๓ พรรษา

พระองค์ฯ ทรงประสูตร พ.ศ. 2434  
สิ้นพระชนม์ 24 ก.ย. 2472 = 38 พรรษา?


กระทู้: โรคทางพันธุกรรม...ของราชวงศ์ยุโรป
เริ่มกระทู้โดย: Buran ที่ 15 เม.ย. 06, 16:07
 ขอแก้คำพิมพ์ผิด  ประสูติ