เรือนไทย

General Category => ระเบียงกวี => ข้อความที่เริ่มโดย: bahamu ที่ 01 ก.ย. 12, 20:45



กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: bahamu ที่ 01 ก.ย. 12, 20:45
"อันที่จริงคนเขาอยากให้เราดี
แต่ถ้าเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้
จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย
ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน"

ที่หลวงวิจิตรวาทการแต่งไว้มีเนื้อมากที่นี้หรือไม่ ช่วงเวลาใดที่แต่ง แล้วยังมีกลอน หรือคำคม อื่นอีหรือไม่


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ย. 12, 21:17
ไม่ทราบค่ะ      บางทีผู้รู้ท่านอื่นในเรือนไทยอาจจะทราบ
โดยส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับคุณหลวงวิจิตรวาทการในความคิดข้อนี้ ก็เลยไม่ได้ติดตามต่อไปว่าท่านเขียนไว้ที่ไหน


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ย. 12, 21:29
    บางทีคุณหลวงอาจจะเขียนจากประสบการณ์ของท่าน เพราะท่านก็เป็นคนเด่นคนหนึ่งในยุคสมัย    จุดมุ่งหมายของท่าน ไม่ว่าเขียนเตือนตรงๆหรือเขียนประชดประชันใครก็ตาม    ดิฉันก็ไม่อยากให้คนอ่านยึดทัศนะนี้ว่าถูกต้องควรถือเป็นแบบอย่าง  
    จริงๆแล้ว คนที่ควรถูกเตือนคือคนที่ไปอิจฉาคนอื่นว่าเด่นกว่า เพราะความอิจฉาไม่ว่าในโอกาสไหนมันเป็นสิ่งผิดทั้งนั้น     แต่นี่กลับไปเตือนคนที่ทำดีให้เขาระแวงระวังอะไรก็ไม่รู้ ที่ไม่ใช่ความผิดของเขาเลย


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 01 ก.ย. 12, 21:33
คำคมของพล.ต.หลวงวิจิตรวาทการ

ชีวิตเหมือนเรือน้อยล่องลอยอยู่
ต้องต่อสู้แรงลมผสมคลื่น
ต้องทนทานหวานสู้อมขมสู้กลืน
ต้องทนฝืนยิ้มได้ เมื่อภัยมา



กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: paganini ที่ 01 ก.ย. 12, 22:05
   บางทีคุณหลวงอาจจะเขียนจากประสบการณ์ของท่าน เพราะท่านก็เป็นคนเด่นคนหนึ่งในยุคสมัย    จุดมุ่งหมายของท่าน ไม่ว่าเขียนเตือนตรงๆหรือเขียนประชดประชันใครก็ตาม    ดิฉันก็ไม่อยากให้คนอ่านยึดทัศนะนี้ว่าถูกต้องควรถือเป็นแบบอย่าง  
    จริงๆแล้ว คนที่ควรถูกเตือนคือคนที่ไปอิจฉาคนอื่นว่าเด่นกว่า เพราะความอิจฉาไม่ว่าในโอกาสไหนมันเป็นสิ่งผิดทั้งนั้น     แต่นี่กลับไปเตือนคนที่ทำดีให้เขาระแวงระวังอะไรก็ไม่รู้ ที่ไม่ใช่ความผิดของเขาเลย


LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE LIKE  LIKE


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: bahamu ที่ 01 ก.ย. 12, 22:26
กลอนพูดเป็นนัย ถ้ามีหัวท้ายคงสมบูรณ์ คล้ายกับของที่อื่นเหมือนกันแบบหลิวปัง ฆ่าหานซิ่น จางเหลียงไม่รับตำแหน่ง เซียวเหออยู่แบบคนเฝ้าเสือ

เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล

นกสิ้นเกาทัณฑ์ซ่อน กระต่ายตาย ฆ่าสุนัขล่าเนื้อ

卸磨杀驴 Xiè-mò-shā-lǘ ฆ่าลาเมื่องานเสร็จ

ข้ามแม่น้ำแล้ว รื้อสะพาน


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 02 ก.ย. 12, 07:27
ในความเห็นของผม ท่านอาจจะหมายถึงตัวท่านเอง?





กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 12, 08:23
ก็เป็นได้ค่ะ   แต่คนอ่านไปตีความว่าเป็นสุภาษิตที่ท่านให้คนอื่นๆ  ซึ่งไม่ใช่

กลอนพูดเป็นนัย ถ้ามีหัวท้ายคงสมบูรณ์ คล้ายกับของที่อื่นเหมือนกันแบบหลิวปัง ฆ่าหานซิ่น จางเหลียงไม่รับตำแหน่ง เซียวเหออยู่แบบคนเฝ้าเสือ

เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล

นกสิ้นเกาทัณฑ์ซ่อน กระต่ายตาย ฆ่าสุนัขล่าเนื้อ

卸磨杀驴 Xiè-mò-shā-lǘ ฆ่าลาเมื่องานเสร็จ

ข้ามแม่น้ำแล้ว รื้อสะพาน
ทั้งหมดที่คุณ bahamu ยกมาไม่ใช่สุภาษิต แต่เป็นคำพังเพย  คนละอย่างกับกลอนของคุณหลวงวิจิตรวาทการค่ะ


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 12, 10:48
ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์เทาชมพูนะครับ กลอนทั้งบริบทที่ลงบาทสุดท้ายที่ว่า ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกินนั้น ทำให้ด้อยค่าไปเกือบหมด ทั้งที่คนส่วนใหญ่ทีเดียวที่ไม่ได้ขี้อิจฉาตาร้อน เที่ยวหมั่นไส้คนเก่งกว่า ดีกว่า เด่นกว่าตัว ถ้ามี ก็เห็นจะเป็นพวกโรคประสาทรับประทาน เหมือนนังแม่เลี้ยงของนางสโนว์ไวท์ กับพวกนางร้ายในละครทีวีเมืองไทยเท่านั้น ที่คิดว่าตัวเองดีวิเศษไม่มีใครเทียม

ความจริงการทำดีกับทำเด่น ก็มีความหมายต่างกันในตัวเอง คนที่ชอบทำเด่นอาจจะไม่ได้กำลังกระทำดีก็ได้ อย่างนักการเมืองที่ชอบชิงบทกันเวลาออกข่าวทีวีเป็นต้น พวกเขาย่อมไม่อยากเห็นใครมาเด่นเกิน

อ้าว เผลอไปแขวะเค้าเข้าให้แล้ว

แม้ว่าจะพร้อมกันกระทำดีก็เถอะ ดูหนังสงครามประเภททหารกล้าทั้งหลายที่นายสั่งให้วิ่งไชโยโห่ร้องตลุยบุกเข้าไปแนวศัตรูนั่นประไร ไอ้คนที่วิ่งถือธงมักจะถูกยิงล้มก่อนหมู่  ผู้กล้าคนใหม่คว้าธงมาวิ่งต่อ ก็ถูกยิงอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกที่สามารถตลุยไปถึงแนวข้าศึกจนเอาชนะได้นั้น มักจะผลุบๆโผล่ๆ วิ่งมั่งหลบมั่ง ไม่มีบทเด่นหน้าจอ

คือการที่จะชนะการต่อสู้ไม่ใช่การยอมตายอย่างไร้ความคิดนะครับ แม่ทัพใหญ่ของอเมริกาคนหนึ่ง ดูซิผมนึกชื่อไม่ออกเสียแล้ว เขากล่าวกับพี่น้องทหารหาญว่า เรามาที่นี่ ไม่ใช่มุ่งหมายจะมาสละชีพเพื่อชาติ(นะโว้ย) แต่เราจะมาทำให้พวกข้าศึกสละชีวิตเพื่อชาติของมันต่างหาก

สรุปว่า จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัยนั้น คิดตรองให้ดี เอาบาทนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ในหลายกรณีย์ทีเดียวนะครับ


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 12, 11:17
ท่าน NAVARAT.C มาเปิดประเด็นยาวแล้ว  เห็นจะต่อประเด็นได้อีกยาว

ได้ยินกลอนบทนี้เป็นครั้งแรกเมื่อแม่ท่องให้ฟัง   สมัยลูกสาวยังเป็นเด็กนักเรียนอยู่     ก็ถามแม่ด้วยความสงสัยจริงๆประสาเด็กว่า...ต้องทำความดียังไงถึงจะไม่เด่นล่ะคะ   แม่ก็หัวเราะแล้วตอบว่า..เออ จริงซี
ตอนนั้นงงจริงๆกับกลอนบทนี้  เพราะอยู่ร.ร.  เวลาเพื่อนคนไหนได้ที่ 1 หรือได้รางวัลอะไร ชนะเลิศกลับมา     ก็มีการประกาศให้รู้กันอย่างชื่นชมในโรงเรียน  ครูก็พอใจ  เพื่อนฝูงก็นับถือคนนั้นว่าเก่ง   ก็ไม่เห็นใครรู้สึกขึ้นมาว่า..แหม  เก่งแล้วร.ร.ต้องยกย่องให้เด่นเกินหน้าคนอื่นด้วย  เงียบๆหน่อยไม่ได้รึไง     
ใครคิดยังงั้นก็คงถูกมองว่าบ้า    ก็คนนี้เขาทำอะไรได้มากกว่าคนอื่นเขาถึงเด่น   ไม่เห็นผิดตรงไหน   ทำไมจะต้องแอบๆ เอาไว้ราวกับไปทำอะไรอับอายขายหน้ามา
 
ถ้ายึดถือเคร่งครัดว่า " อย่าเด่นจะเป็นภัย"  คัทเอาท์ตามหน้าโรงเรียนที่ลงรูปและรางวัลของนักเรียนเก่งทำชื่อเสียงให้ร.ร. ต้องถูกปลดลงมาให้หมด    มิฉะนั้นเด็กคนนั้นจะอยู่กับเพื่อนได้ลำบาก เพราะใครๆก็หมั่นไส้     พวกศิษย์เก่าหรือศิษย์ปัจจุบันดีเด่นในสถาบันทั้งหลาย  พวกข้าราชการดีเด่น  นักธุรกิจดีเด่นฯลฯ ได้รางวัลแล้วต้องปกปิดเป็นความลับ ห้ามเผยแพร่ข่าว   คณะกรรมการต้องส่งโล่ไปให้ทางไปรษณีย์ หรือสั่งให้คนเดินหนังสือแอบเอามามอบให้ที่โต๊ะ ห้ามเพื่อนร่วมงานรู้ เดี๋ยวเขาจะเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ถูกเกลียดชังหมั่นไส้เพราะเด่นเกิน 
เท่ากับส่งเสริมประชากรให้เข้าใจไปในทางเดียวกันทั้งประเทศว่า  ความอิจฉาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด    ไม่ต้องแก้ไข  รักษามันเอาไว้  ส่วนเหยื่อนั้นต้องหาทางปกป้องตัวเองไปตามยะถากรรม  ใครก็ช่วยไม่ได้จริงๆ


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 02 ก.ย. 12, 13:07
กลอนบทนี้ของหลวงวิจิตรฯ ตรงกับสุภาษิตญี่ปุ่นบทหนึ่งที่ว่า

出る杭は打たれる。 - でるくいはうたれる อ่านว่า เดะรุ คุอิ วะ อุทะเระรุ แปลว่า ลิ่มที่ยื่นออกมาจะถูกตอก

ช่างไม้ย่อมตอกลิ่มหรือตะปูที่โผล่ออกมา

(http://www.j-campus.com/kotowaza/image/daiku.jpg)

เป็นคำเปรียบเทียบว่า ผู้ที่มีความสามารถเด่นล้ำหน้ากว่าผู้อื่น ย่อมถูกอิจฉาริษยา หรือถูกกลั่นแกล้ง

หรือใช้เปรียบเทียบกับการกระทำที่ออกนอกหน้า หรือแตกต่างกว่าคนอื่น ย่อมถูกรังเกียจ และถูกลงโทษจากสังคม

สำนวนนี้แสดงถึงขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณของชาวญี่ปุ่น คือการผสานความสัมพันธ์ของมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ หล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมที่ให้เกียรติต่อผู้อาวุโส โดยคำนึงถึงประสบการณ์ มากกว่าการให้เกียรติต่อผู้เยาว์ ที่แม้จะมีความสามารถมากเป็นพิเศษก็ตาม

ดังนั้น ชาวญี่ปุ่นจึงมักเก็บความสามารถหรือความคิดของตนเอง และไม่ทำตนให้โดดเด่นหรือผิดแปลกไปจากสังคม อันถือเป็นมารยาทประการหนึ่ง ในการให้เกียรติฝ่ายตรงข้ามนั่นเอง

จาก เว็บสอนภาษาญี่ปุ่น (http://www.j-campus.com/kotowaza/view.php?id=300)

 ;D


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 12, 13:33
มาเพิ่มเติมถึงวัฒนธรรมอื่นบ้าง นอกจากญี่ปุ่น

ภาษาอังกฤษมีคำว่า self-esteem  คำนี้กูเกิ้ลแปลว่า ความนับถือตัวเอง     ความหมายคือรู้จักภูมิใจในตัวเอง ที่เราเกิดมาเป็นเราอย่างนี้   เป็นอย่างนี้ มีอย่างนี้ โดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่นๆว่าเขามีน้อยหรือมีมากกว่าฉัน      ฉันเป็นได้น้อยกว่าเขาหรือมากกว่าเขา  มันเป็นเรื่องป่วยการเปล่าๆ
เมื่อคนเราถูกปลูกฝังให้มี self-esteem ก็จะเห็นคุณค่าของตัวเอง   ค้นพบจนเจอว่าตัวเองมีอะไรดีบ้าง   อย่างน้อยคนเราก็ต้องมีอะไรดีสักอย่างในตัวเอง  ต่อให้เกิดมาจน  ขี้ริ้วขี้เหร่ หรือแม้แต่พิการไม่สมประกอบทางใดทางหนึ่ง  แต่ธรรมชาติก็ไม่ให้มนุษย์เคราะห์ร้ายไปทุกอย่าง      ถึงไม่เจออะไรดีสักอย่างในตัวเอง ก็ยังต้องพบว่า..ฉันก็คือฉัน  เป็นตัวของฉันเองไม่ซ้ำกับคนอื่น  ไม่ใช่ต้นหมากรากไม้หรือสิ่งของที่เหมือนกันจะแยกไม่ออก

การค้นพบบางอย่างในตัวเองทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเองขึ้นมา   ความรู้สึกว่ามนุษย์อื่นมีดีกว่า ข่มตัวเองให้ด้อยลงไปเมื่อนึกถึงเขา ก็จะหายไป      ความอิจฉาคนอื่นก็จะไม่เข้ามารุกราน    เพราะคนที่อิจฉาหรือหมั่นไส้คนอื่น คือคนที่ยอมรับโดยอัตโนมัติว่าคนนั้นดีกว่าเรา    ไม่มีใครอิจฉาหรือหมั่นไส้คนที่เราเห็นว่าอ่อนด้อยกว่าเราทุกทาง
ความภูมิใจในตัวเอง จะทำให้มนุษย์คนนั้นรู้จักพัฒนาส่วนดีที่ค้นพบในตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้น     ไม่ได้ต้องการจะเหมือนใคร  ไม่ต้องการเลียนแบบใคร หรือแข่งกับใคร   แต่เป็นไปตามแบบของตัวเองตามใจเลือกนี่แหละดีที่สุดแล้ว


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 12, 13:43
ส่วนค.ห.นี้  วัฒนธรรมไทย

กลอนบทนี้ของหลวงวิจิตรฯ ตรงกับสุภาษิตญี่ปุ่นบทหนึ่งที่ว่า

出る杭は打たれる。 - でるくいはうたれる อ่านว่า เดะรุ คุอิ วะ อุทะเระรุ แปลว่า ลิ่มที่ยื่นออกมาจะถูกตอก

ช่างไม้ย่อมตอกลิ่มหรือตะปูที่โผล่ออกมา
 ;D


ไทยมีคำพังเพยตรงกันข้ามว่า

โตเพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน  (ระยะหลังใช้คำเปลี่ยนไปจากเดิมว่า แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน  ความจริงผิดค่ะ  ไม่มีใครแก่เพราะกินข้าว มีแต่โตเพราะกินข้าวเยอะ)

โคลงโลกนิติ  พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร

                  มีอายุร้อยหนึ่ง                  นานนัก
         ศีลชื่อปัญจางค์จัก                       ไป่รู้
         ขวบเดียวเด็กรู้รัก                         ษานิจ  ศีลนา
        พระตรัสสรรเสริญผู้                       เด็กนั้นเกิดศรี


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 02 ก.ย. 12, 14:43
อ้างถึง
เวลาเพื่อนคนไหนได้ที่ 1 หรือได้รางวัลอะไร ชนะเลิศกลับมา ก็มีการประกาศให้รู้กันอย่างชื่นชมในโรงเรียน ครูก็พอใจ เพื่อนฝูงก็นับถือคนนั้นว่าเก่ง ก็ไม่เห็นใครรู้สึกขึ้นมาว่า..แหม เก่งแล้วร.ร.ต้องยกย่องให้เด่นเกินหน้าคนอื่นด้วย เงียบๆหน่อยไม่ได้รึไง
ใครคิดยังงั้นก็คงถูกมองว่าบ้า ก็คนนี้เขาทำอะไรได้มากกว่าคนอื่นเขาถึงเด่น ไม่เห็นผิดตรงไหน ทำไมจะต้องแอบๆ เอาไว้ราวกับไปทำอะไรอับอายขายหน้ามา

อันนี้ตรงกับที่ผมเขียนไว้ตรงนี้

อ้างถึง
กลอนทั้งบริบทที่ลงบาทสุดท้ายที่ว่า ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกินนั้น ทำให้ด้อยค่าไปเกือบหมด ทั้งที่คนส่วนใหญ่ทีเดียวที่ไม่ได้ขี้อิจฉาตาร้อน เที่ยวหมั่นไส้คนเก่งกว่า ดีกว่า เด่นกว่าตัว ถ้ามี ก็เห็นจะเป็นพวกโรคประสาทรับประทาน เหมือนนังแม่เลี้ยงของนางสโนว์ไวท์ กับพวกนางร้ายในละครทีวีเมืองไทยเท่านั้น ที่คิดว่าตัวเองดีวิเศษไม่มีใครเทียม

ส่วนว่า
อ้างถึง
ถ้ายึดถือเคร่งครัดว่า " อย่าเด่นจะเป็นภัย" คัทเอาท์ตามหน้าโรงเรียนที่ลงรูปและรางวัลของนักเรียนเก่งทำชื่อเสียงให้ร.ร. ต้องถูกปลดลงมาให้หมด มิฉะนั้นเด็กคนนั้นจะอยู่กับเพื่อนได้ลำบาก เพราะใครๆก็หมั่นไส้ พวกศิษย์เก่าหรือศิษย์ปัจจุบันดีเด่นในสถาบันทั้งหลาย พวกข้าราชการดีเด่น นักธุรกิจดีเด่นฯลฯ ได้รางวัลแล้วต้องปกปิดเป็นความลับ ห้ามเผยแพร่ข่าว คณะกรรมการต้องส่งโล่ไปให้ทางไปรษณีย์ หรือสั่งให้คนเดินหนังสือแอบเอามามอบให้ที่โต๊ะ ห้ามเพื่อนร่วมงานรู้ เดี๋ยวเขาจะเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ถูกเกลียดชังหมั่นไส้เพราะเด่นเกิน
เท่ากับส่งเสริมประชากรให้เข้าใจไปในทางเดียวกันทั้งประเทศว่า ความอิจฉาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ต้องแก้ไข รักษามันเอาไว้ ส่วนเหยื่อนั้นต้องหาทางปกป้องตัวเองไปตามยะถากรรม ใครก็ช่วยไม่ได้จริงๆ

อันนี้ผมได้เขียนไว้ว่า

อ้างถึง
ความจริงการทำดีกับทำเด่น ก็มีความหมายต่างกันในตัวเอง คนที่ชอบทำเด่นอาจจะไม่ได้กำลังกระทำดีก็ได้

“จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย”เห็นจะใช้ไม่ได้ในเรื่องการเรียน ตลอดจนการทำงานตามหน้าที่ ซึ่งคิดดีแล้ว ชอบแล้ว และความดีนั้นถูกยกให้เด่นขึ้นโดยผู้อื่นที่อยู่ร่วมสังคม ไม่ใช่ยกหางตนเองให้คนทั้งหลายยกย่อง
แต่หากว่าจะต้องตกเป็นเหยื่อของพวกโรคประสาทประเภทขี้อิจฉาแล้ว ก็เห็นจะต้องยอมละครับ ส่วนจะปกป้องตนเองอย่างไร ก็ว่ากันไปอีกประเด็นหนึ่ง


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 02 ก.ย. 12, 16:43
 ;D


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: bahamu ที่ 08 ก.ย. 12, 17:55
คติพจน์ที่หลวงวิจิตรวาทการ แต่งไว้

"รวมกันเราอยู่  แยกกันเราตาย"

"ความจริงเป็นเหมือนน้ำมัน  ย่อมจะลอยขึ้นข้างบนเสมอ"

"จะต้องคิดการก้าวหน้าไว้เสมอ  ก่อนที่จะหลับควรกำหนดไว้ให้แน่นอนว่า พรุ่งนี้จะทำอะไรอีกบ้าง  ถ้าเขียนไว้ด้วยยิ่งดี  และพอถึงวันรุ่งขึ้น  ก็ต้องทำให้ได้ตามกำหนดนั้นจริงๆ"

"นักการเมืองมีหน้าที่ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ฉะนั้นสินเชื่ออันสำคัญที่สุดในทางบุคคลิกก็คือ หลักประกันที่ว่าจะไม่แสวงหาประโยชน์ส่วนตัว  ไม่มีอะไรที่ประชาชนจะระวังระแวงเท่าเรื่องประโยชน์ส่วนตัว"


   
หลวงวิจิตรวาทการ ผู้ปฏิวัติอาชีพเต้นกินรำกิน

สังคมไทยสมัยโบราณนี่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ  ถึงแม้ทุกผู้คนจะชอบดนตรี  และชอบดูการแสดง   แต่กลับไม่ค่อยจะยกย่องผู้มีอาชีพนี้  เพราะถือว่าเป็นอาชีพชั้นต่ำ ดูได้จากการเรียกขานผู้มีอาชีพนี้ว่าพวก“เต้นกิน รำกิน” และครอบครัวที่มีสถานะทางสังคมสูง ก็ยากนักที่จะยอมรับคนอาชีพนี้ เข้ามาเป็นเขย หรือสะใภ้  เข้าทำนอง “เกลียดตัวกินไข่  เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง” 

ผู้ที่เข้ามามีบทบาทปฏิวัติอาชีพ “เต้นกิน รำกิน”   ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมสมัยนั้นได้ในระดับหนึ่งก็คือ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ  ผู้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรคนแรก  ซึ่งได้ทำการส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรมให้เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะศิลปการแสดง  โดยการก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลป์ขึ้นมา

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2 (http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2)


กระทู้: หลวงวิจิตรวาทการ แต่งกลอน "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย" ในโอกาสใด
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 08 ก.ย. 12, 19:23
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ  ผู้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรคนแรก  ซึ่งได้ทำการส่งเสริมงานศิลปวัฒนธรรมให้เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะศิลปการแสดง  โดยการก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ ปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลป์ขึ้นมา
คำกล่าวข้างต้นน่าจะเกิดความเข้าใจผิดเสียแล้วครับ
โรงเรียนที่สอนนาฏดุริยางคศาสตร์แห่งแรกคือ โรงเรียนทหารกระบี่หลวงหรือโรงเรียนพรานหลวงที่สวนมิสกวัน  ผลผลิตของโรงเรียนนี้มีอาทิ ครูโฉลก  เนตรสูตร  ครูมนตรี  ตราโมท  ครูอาคม  สายาคม  ครูนายรงคภักดี (เจียร  จารุจรณ)  ครูเอื้อ  สุนทรสนาน ฯลฯ
โรงเรียนนี้ถูกยุบไปเมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จสวรรคต  แล้วเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วหลวงวิจิตรวาทการจึงได้คิดรื้อฟื้นโรงเรียนพรานหลวงขึ้นมาใหม่  แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ เพื่อให้รับกับว่าตนเป็นผู้คิดก่อนึ่ง  แต่รากเดิมของโรงเรียนนี้ก็คือโรงพรานหลวง  ซึ่ง ดร.ศุภชัย  จันทร์สุวรรณ ศิลปินแห่งชาติได้ทำวิจัยเรื่องนี้ไว้ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของท่านแล้ว