เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: pipat ที่ 25 พ.ค. 06, 09:34



กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 25 พ.ค. 06, 09:34
 .





สำนักพิมพ์เมืองโบราณเคยพิมพ์หนังสือเล่มใหญ่ เกี่ยวกับขรัวอินโข่ง ปกแข็งงดงาม เรียบเรียงโดยวิยะดา ทองมิตร (จิตรกรรมแบบสากล สกุลช่างขรัวอินโข่ง 2522 ) จากวัตถุดิบของ น ณ ปากน้ำ อันเป็นต้นทางให้สำนักฯ นี้ ผลิตชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทยออกมาอีกยาวนาน
แม้แรงบันดาลใจทางวิชาการ คือ อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ จะลาลับโลกนี้ไปแล้ว งานก็ยังไม่หยุด

ข้อความจากนี้ไป หากจะมีสาระบ้าง ก็โปรดทราบว่า มาจากการศึกษาบุกเบิกของอาจรย์ประยูรเป็นหลัก
แม้มีข้อโต้แย้งวินิจฉัยของท่าน ก็เป็นดั่งการเติมแต่งให้ครบถ้วน เท่าที่คนรุ่นหลังจะพึงทำแก่มรดกทางสุนทรียะของบรรพชน ทั้งนี้ก็โดยอาศัยหนทางที่ท่านผู้มาก่อน แผ้วถางไว้ให้

หากมีความผิดเพี้ยนตื้นเขิน ย่อมมาจากสติปัญญาต้อยต่ำของผมโดยแท้จริง

รูปจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK13/pictures/s13-101-1.jpg    


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 25 พ.ค. 06, 09:50
 อันที่จริง น. ณ ปากน้ำ มิได้เป็นนักวิชาการคนแรกที่ศึกษาเกี่ยวกับขรัวอินโข่ง
ท่านเป็นคนแรก ที่อธิบายงานของขรัวอินโข่งจากมุมมองด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยการตามดูทุกแหล่งที่มีผลงานของจิตรกรท่านนี้ปรากฏอยู่ วิเคราะห์ แนะนำ และวินิจฉัยแง่มุมใหม่ๆออกมา และถึงกับไปเพชรบุรีเพื่อสัมภาษณ์คนเก่าแก่ ที่น่าจะรู้เรื่อง

สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นนักศึกษาแรกสุด ที่สนใจขรัวอินโข่ง และได้ทำทุกอย่างที่ น. ณ ปากน้ำ ทำ ก่อนหน้าตั้งสามสี่สิบปี เพียงแต่ทรงศึกษาเพื่อประโยชน์ทางช่าง มิใช่ทางตำรา และแม้จะทรงบันทึกเนื้อหาเกี่ยวกับจิตรกรท่านนี้อยู่ใน "จดหมายเวร" ที่เราเรียกกันว่าสาส์นสมเด็จ ก็ยังเป็นเอกสารปิด น้อยคนจะใช้ประโยชน์

ความสนใจเกี่ยวกับขรัวอินโข่ง มีที่มายาวนานกว่าสาส์นสมเด็จไปอีกหนึ่งรัชกาล
เราพบนามท่านเป็นครั้งแรก ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 5 "พระราชกรัณยานุสรณ์ " พระราชนิพนธ์ที่ต่อมาจะกลายเป็นพระราชพิธีสิบสองเดือนอันลือเลื่อง เท่าที่ตรวจสอบดู พระองค์ระบุนามช่างเขียนผู้นี้อย่างให้เกียรติ และผมมั่นใจว่า ท่านจะเคยพบศิลปินเอกผู้นี้เมื่อครั้งต้นรัชกาล.....


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 25 พ.ค. 06, 11:19
 ขออนุญาตเข้ามานั่งรอคุณpipat มาเล่ากระทู้ต่อนะครับ
อยากอ่านมานานแล้วแหละ อิอิ


ปล. สารภาพเลยละกัน ว่าผมเคยไม่ชอบขรัวอินโข่งมาก่อนแหละ แหะๆ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 25 พ.ค. 06, 13:15

ท่านขรัวอิน ท่านเป็นพระ บวชไม่ศึก
ตลอดชีวิต ท่านอุทิศตนให้กับพระศาสนา
งานจิตรกรรมของท่าน น่าจะเป็นแนวทางให้กับ
จิตรกรไทยรุ่นใหม่ได้คิดและมีทัศนวิสัยที่ยาวไกล
ผมรู้สึกประทับใจในและชื่นชมงานของท่านจริงๆ และ
ทำให้คิดถึงจิตรกรยุโรปคนหนึ่ง ที่ชื่อ Gustav Klimt


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ศรีปิงเวียง ที่ 25 พ.ค. 06, 15:36
 เรียน คุณพิพัฒน์,คุณโพธิ์ประทับช้าง และพี่ติบอ ที่เคารพ
ขออนุญาตลงชื่อด้วยคนครับ
เท่าที่อ่านดูแล้ว นอกจากเราจะทราบฝีมือของขรัวอินโข่งแล้ว
เรายังทราบพระเกียรติคุณในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์อีกข้อหนึ่งครับ
คือ การใฝ่หาความรู้ รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้นั้นในด้านอื่น ๆ อีกครับ
ตอนนี้ ก็ต้องรอตอนต่อไปครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 25 พ.ค. 06, 19:40
 รายวิชา(ไม่ต้อง)เลือก ไทยศึกษา 555 เรื่องขรัวฯ ผมตั้งใจนำเสนอ ประมาณว่าจะมีร้อยตอนจบ ก๊ากกก...ล้อเล่นครับ เก้าสิบเจ็ดตอนเอง...แหะ แหะ

เสนอเพื่อบูชาคุณครู  ครือว่า ...ครูช่างที่ครอบผม ท่านสืบสายสกุลช่างเมืองเพชรดังนี้
ขรัวอินโข่ง---หลวงพ่อฤทธิ์---อาจารย์เลิศ---อาจารย์วิไล
ท่านสุดท้ายนั่นแหละครับ จับมือผมเขียนพู่กัน เท่ม้า....น้องติบอ อย่าอิจฉา

ส่วนที่คุณโพธิประทับช้างเสริมมา ผมขออนุญาตค้านหมดเลยนะครับ
"ท่านเป็นพระ บวชไม่ศึก" (sic.) ..........สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เล่าประทาน มรว สุมนชาติ ว่า....เคยเห็นตัว ผมสีดอกเลา.....ท่านไม่ทรงระบุว่าเป็นพระ และถ้าผมสีดอกเลา น่าจะเป็นฆราวาสกระมัง

ทำให้คิดถึงจิตรกรยุโรปคนหนึ่ง ที่ชื่อ Gustav Klimt อันนี้หัวเด็ดตีนขาดก็เอามาปนเปื้อนไม่ได้ครับ งานของขรัว เป็นปริศนาธรรม
แต่คลิ้มต์นี่เป็นโลกียะธรรมครับ ไม่แฝงอะไรเลยนะครับ โดยเฉพาะพวกลายเส้นนี่ เป็นลามกธรรม 100 เปอร์เซนต์ครับ

หรือว่าคุณโพธิ์ฯ มีประเด็นเด็ดๆ ลองแย้มมาร่วมสนุกดูที

กระทู้นี้อาจจะไปช้าหน่อย เพราะต้องค้นอะไรมากอยู่เหมือนกัน อะไรที่เป็นตัวบท ผมจะพยายามให้เคร่งครัดสักหน่อย ประมาณว่า ให้เหมาะกับเว็บวิชาการน่ะครับ
ส่วนที่ผมเพ้อเจ้อ อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ก็จะเพ้อมันอยู่ในกรอบนี้แหละครับ ไม่ไปปนกัยตัวบท


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 25 พ.ค. 06, 20:36

เห็นเจ้าของกระทู้บ่นกระปอดกระแปดอยู่
ว่าภาพเปิดกระทุ้เล็กเหลือเกิน

ผมเลยเอามาลงให้ใหม่นะครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 25 พ.ค. 06, 21:43
 โถ... โตกว่าเมี่ยงนิดเดียว แล้วมันจะไปเห็นอะไรกันได้เล่าเพ่

แต่เอาเหอะ ก็ยังดีกว่าที่ผมแปะเอง
รูปนี้ เป็นจิตรกรรมบนกระดานชิ้นเล็ก ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกที่ศิลปินไทยสร้างขึ้น

ปกติ ศิลปินไทยทำรูปเล็กไม่เป็นนะครับ อย่างอุจจาระสุกรอุจจาระสุนัขนี่ก้อ แปดคูณยี่สิบสี่ ไม่ใช่นิ้วหรือฟิตนะครับ
เมตร ครับ เขียนมารผจญนี่ ตัวภาพบางทีใหญ่กว่าคน

ท่านที่มักจะเอ่ยถึงศิลปะไทยว่าอ่อนช้อย ประณีตบันจง....ก็อ เปลี่ยนใจยังไม่สายครับ  ไปดูฝีมือพระอาจารย์นาคที่หอไตรวัดระฆังจะแจ่มแจ้ง สุครีพถอนต้นรัง ท่านวาดเหมือนมีชีวิต ต้นรังดูเข้มแข็งเหมือนรากหยั่งลงสู่แกนโลกทีเดียวเจียว

ทีนี้ลองจินตนาการ หรือใช้เคล็ดวิชาเดาชั่นของครูไหวใจดีก็ได้
ว่า พอขรัวฯ ท่านได้รับรีไควเมนต์ หรือคอมมิสชั่น (ภาษาประกิตหน่อย เข้ายุค 2400) ให้ทำรูปกระจิ๋วหริว ท่านจะทำฉันใด เมืองนอกก็ไม่เคยไป โปสการ์ดสมัยนั้นก็ยังพิมพ์รูปสีบ่ได้ หนูเฟื่องก็ยังไม่เกิด  เอ...เกี่ยวไม้หว่า

สมเด็จฯ กรมดำรง ท่านวินิจฉัยว่า ขรัวได้ตัวอย่างกระดาษปิดฝาเรือนที่พวกฝรั่งนำเข้ามาใช้งาน เป็นแบบ
ผมยังไม่เชื่อสนิทใจ ในประเด็นนี้
(บางท่านอาจจะบ่นในใจว่า...ไม่เห็นเอ็งเคยเชื่ออะไรเลยซักกะอย่าง)
เพราะยังไม่เคยเห็นตัวอย่างวอลล์เปเปอร์แบบที่ว่า

นี่ยังไม่ใช่ตัวบทนะครับ แค่จะขอบคุณเฮียติ เท่านั้น


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 25 พ.ค. 06, 23:26
 คุณpipat ครับ

แล้วพวกจิตรกรรมบนแผ่นไม้แผ่นเล็กๆ ตามเหนือขอบหน้าต่างอย่างที่วัดพระเชตุพน, หรือวัดพระแก้วล่ะครับ
ผมไม่คิดว่ามันจะถูกเขียนขึ้นหลังขรัวอินโข่งนะครับ ?



เอ๊า ใหญ่ให้อีกนี๊ดนึง อิอิ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 26 พ.ค. 06, 00:18
 ที่คุณยกตัวอย่าง คงหมายถึงจิตรกรรมชิ้นเล็กเหนือบานหน้าต่าง
ที่ประดับเป็นสามบานบ้าง หนึ่งบานบ้าง นั่นเป็นการสำแดงออกทางจิตรกรรมที่ต่างไปจากรูปของขรัวท่าน ราวกับเรื่องสั้นต่างจากสามก๊กนั่นเทียว
เปรียบอีกที ก็เหมือนละคอนพูดองค์เดียว ต่างจากละคอนหลังข่าวสามเดือนจบของเจ็ดสีนั่นแหละครับ

ที่ขรัวอินโข่งทำ เป็น single scene painting ไม่ใช่อเนกมิติพรรณนาแบบจิตรกรรมฝาผนัง
เราจะถกกันเรื่องนี้ในตอนที่แปดสิบกว่า

ปล. แมวของคุณ มาถึงผมด้วยดี แต่ทว่า "หน้าต่าง" ของพ่อประตูใหญ กำลังเกเรผมอย่างหนัก เข้าใจว่าคงถึงเวลากินยาฆ่าหญ้าของคุณแล้วกระมัง เปิดแต่ละที สามสี่นาที และชอบบอกเออเร่องี่เง่าประจำ

เอาไว้ผมขโมยแอปเปิ้ลของลูกมาได้ จะหาแมวคุณอีกทีนะครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 26 พ.ค. 06, 08:08
 อ่า ขอบพระคุณครับคุณpipat อุตส่าห์เข้ามาตอบตอนดึกๆด้วย
ผมก็เข้าใจสับสนกันอยู่ซะนาน แหะๆ

ส่วนเรื่องอีแมว เอาไว้คุณpipat สะดวกแล้วค่อยคุยกันนะครับ
มีเรื่องที่อยากคุยกับคุณpiapt อีกหลายเรื่องเลยล่ะครับ หิหิ



ปล. เอาภาพมาฝากอีกภาพนึงครับ






.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 26 พ.ค. 06, 11:20

ตอบ คุณ Pipat

ศิลปะ "ตะวันตก" กับ "ตะวันออก" นั้นแตกต่างกัน
เพราะมีอุดมคติ ปรัชญาในการทำงานศิลปะ และ
ประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกัน

พื้นฐานของศิลปะตะวันตกนั้น ว่าด้วยเรื่องของวัตถุ หรือ Realistic
คือเน้นความเหมือนจริง เน้นเรื่องของปริมาตร จับต้องได้
เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ผม ขน และ แสงเงา
พื้นฐานของศิลปะตะวันออกนั้น ว่าด้วยเรื่องของจิต หรือ Idealistic
เรียกว่า อุดมคติ คือ มีลักษณะเป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ
จิตรกรรมไทย จึงมีพื้นฐานอยู่บนอุดมคติ มีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
แบบเสมือนจริง - แบบกึ่งอุดมคติ - แบบอุดมคติ

เราจึงไม่สามารถนำภาพของ ขรัวอินโข่ง มาเทียบกับภาพของ Klimt ได้
และผมก็ไม่ได้นำมาเปรียบเทียบกัน เพียงแต่ท่านทั้งสองมีความคิดก้าวหน้าเหมือนกัน
อาจจะมองผลงานศิลปะของ Klimt ว่าเป็นโลกียธรรมได้ เพราะ
แสดงถึงสิ่งที่เป็นอยู่ในโลกนี้ ยังเพื่อการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพในภูมิทั้ง 31
ส่วน โลกุตระธรรม นั้นยากเกินกว่าที่คนธรรมดาสามัญจะไปถึง อย่าว่าแต่ Klimt
หรือ ท่านขรัวอินโข่งเลย แม้กระทั่งตัวเราเอง ก็เป็นเรื่องยากจะหลุดพ้นไปได้
อีกอย่างอาจจะเป็นเพราะ Klimt ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา และ ขรัวอินโข่ง
ก็ไม้ได้นับถือคริสต์ศาสนากระมัง จึงนำมาเปียบเทียบกันไม่ได้


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 26 พ.ค. 06, 13:12
 ขอบคุณที่ชี้แจงครับ คุณโพธิ์ประทับช้าง เป็นอันว่าผมค้านผิดไปหน่อย ไม่ว่ากันนะครับ

อยากจะบ่นเรื่องชื่อของท่าน ก่อนจะเข้าตัวบท

พักหลังผมเห็นมีการแสดงความเห็นว่าให้เรียกชื่อท่านว่า ขรัวอินโค่ง
เพราะรังเกียจว่า "โข่ง" แปลแล้วความหมายไม่ดี แต่ "โค่ง" แปลแล้วดูดีกว่า
อันนี้เขาคงอ้างอิงตุ๊ดตู่ออนไลนืของผมแน่เลย เพราะที่นั่น เขาแปล โข่ง = เปิ่น, ไม่เข้าท่า.
โค่ง = คำเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุแต่ไม่ยอมอุปสมบทว่า สามเณรโค่ง

ความเห็นนี้ลามเข้าไปถึงในสมุดภาพสมัยรัชกาลที่ 4 ที่กรมศิลปากรพิมพ์ คราวฉลอง 200 ปีพระจอมเกล้าฯ ซึ่งผมรับประทานไม่ลงจริงๆ ใครให้อำนาจกรมฯ นี้แก้ของเก่าก็ไม่ทราบ แบบที่แซวกันว่า
โบราณทำผิด กรมศิลป์เลยต้องมาทำให้ถูก

อันดับแรกต้องชมราชบัณฑิตก่อน ว่าสามารถทำของ "เป็น" ให้ "ตาย" ได้อย่างเลือดเย็น พอท่านปักหมุดเสียแล้วว่า โข่ง กะ โค่ง มีความหมายต่างกันเช่นนี้ แล้วจะทำยังไงกับวรรณกรรมไทยที่เกิดก่อนท่าน แต่ดันใช้ไม่เหมือนท่านเล่า
จะทำยังไงกับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์สองสมเด็จ และงานเขียนอีกร่วมร้อย ที่เอ่ยนาม ขรัวอินโข่ง

ที่สำคัญ ถ้าท่านมั่นใจเรื่องโค่ง คือเณรโค่ง
อันจะทำให้ใครก็ตามที่ศึกษาชีวิตและงานของขรัวฯ แอบย้อนไปหมายความได้ว่าพระอาจารย์อิน ท่านบวชเณรจนแก่ (แบบที่สมเด็จนริศฯ ทรงเล่าไว้) ซึ่งมีนัยยะที่เหยียดอยู่ในที แต่มันจะไม่ตรงกับที่รัชกาลที่ 5 ท่านทรงเรียกอย่างยกย่องน่ะซี

ในเมื่อเรามีพระเถระชื่อ "โต" และ ร. 4 ทรงเรียกว่า "ขรัวโต"
ผมก็ต้องขอแหกกรอบท่านราชบัณฑิต ไปอิงหลักที่ผมมั่นใจมากกว่าว่า "ขรัว" เป็นคำยกย่องในเรือนพ.ศ. 2400 ขรัวตาอิน / ขรัวอินโข่ง / พระอาจารย์อิน...เหล่านี้ เป็นคำยกย่อง และโข่ง ก็อาจจะหมายถึงบุคคลที่ร่างเล็กลงกว่า โต

ส่วนท่านราชบัณฑิต จะพอใจเหยียบย่ำต้นตระกูลครูช่างของผม โดยอาศัยอุปกรณ์ยี่ห้อบ้องตื้นและบ้องตัน
ก็ตามแต่พระเดชพระคุณจะเห็นควร

ผมไม่เอาด้วย


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 26 พ.ค. 06, 23:10
 ความรู้มาตรฐานชิ้นแรก เกี่ยวกับขรัวอินโข่ง ปรากฏอยู่ในสารานุกรมไทยเล่มอักษร ข เขียนโดยนายยิ้ม ปัณฑยางกูร
อันที่จริง หากจะวิจารณ์กันอย่างเคร่งครัดแล้ว งานที่ท่านอื่นๆ ผลิตออกมาหลังจากสารานุกรม ก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่ เพราะนายยิ้มได้สรุปสาระสำคัญจากพระมติของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้จนครบถ้วน เสริมด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากอาจารย์เลิศ พ่วงพระเดช ลูกศิษย์ของพระอาจารย์ฤทธิ์ และยังได้พิมพ์รูปประกอบผลงานของท่านขรัว ที่มีความสำคัญไว้อย่างครบถ้วน

สิ่งที่ น.ณ ปากน้ำ เพิ่มเติมออกไป ก็มีเพียงข้อมูลที่ท่านไปสอบมาได้ว่า ท่านขรัว เป็นชาวบางจาน เท่านั้น นักเขียนอีกท่าน ที่เพิ่มเติมเนื้อหาได้อย่างน่าพิศวง ก็คือ แสน ธรรมยศ ในงานฟูมฟายสวิงสวายเรื่อง พระเจ้ากรุงสยาม ท่านระบุอย่างคลุกวงในว่า ขรัวอินโข่งเคยเขียนรูปเหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสุนทรภู่ แต่รูปกวีเอกถูกสั่งทำลาย เพราะท่านอ้างว่า ในแผ่นดินนี้ จะมีรูปเหมือนคนอื่นมาทำทัดเทียมพระบรมรูป มิได้
ผมไม่เชื่อ ส. ธรรมยศ แม้ว่าอยากจะเชื่อสักเพียงใด

ความรู้ใหม่ล่าสุด มาจากงานเขียนของ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ เรื่อง จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก (๒ เล่ม สำนักพระราชวัง ๒๕๓๖)...ซึ่งระบุว่า พระบรมรูปสีน้ำมันในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ซึ่งเคยจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เมื่อก่อตั้งหอศิลป์แห่งชาติ มีการเชิญจัดแสดงณ อาคารโรงกษาปณ์(เดิม) น้น ไม่ใช่ฝีมือขรัวอินโข่ง อย่างที่เคยเชื่อกัน
ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา เพราะข้อความไปปรากฏในสิ่งพิมพ์ระดับชาติ จากนักวิชาการชั้นนำ

เมื่อพ.ศ. 2526-27 สนิท คิ้วฮก เจ้าหน้าที่หอศิลป์แห่งชาติ ได้พยายามผลักดันให้หน่วยงานจัดการแสดงในลักษณะที่เป็นหมวดหมู่มีทิศทางตามหลักวิชา อย่างที่เรียกกันว่า genre exhibition เพื่อให้สามารถเสนอเนื้อหาที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงศิลปะสมัยใหม่ได้ชัดเจนขึ้น เป็นต้นว่า นิทรรศการภาพนิ่ง(still life) ทิวทัศน์(land scape) คน(figurative) ฯลฯ

หัวข้อแรกที่กำหนดก็คือ ศีลปะภาพเหมือน (portraiture) ในระหว่างรวบรวมผลงาน คณะกรรมการที่มีอาจารย์สวัสดิ์ ตันติสุข ศิลปินแห่งชาติเป็นประธาน มีมติให้ตัดพระบรมรูปพระองค์ดังกล่าวออก ทั้งๆ ที่จะต้องเชิญจัดแสดงอย่างยิ่งยวด เนื่องจากเป็นรูปเหมือนพระมหากษัตริย์ไทยชิ้นแรกที่เรารู้จัก
เนื่องจากความเห็นผู้เกี่ยวข้องยืนยันว่า มีตัวอักษรภาษาต่างประเทศอยู่ในรูป จึงน่าจะมิใช่ผลงานของคนไทย
อภินันท์ คงได้ข้อมูลนี้มา ระหว่างเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ซึ่งถูกปรับปรุงเป็นหนังสือชุดสองเล่มดังกล่าว เขาลงชื่อศิลปินไว้ด้วย แต่ไม่ระบุเป็นชาติใด

ผมก็ยังไม่เชื่อตามอภินันท์อยู่ดี
เป็นไปได้ละหรือ พระรูปที่สมเด็จฯกรมดำรงทรงระบุไว้ นายยิ้ม ที่เคยถวายงานรับทราบ คนอื่นๆร่วมสมัยกับสมเด็จ เช่น พระยาอนุมานราชธน และอธิบดีท่านอื่นๆ รวมถึง ส. ธรรมยศ จะไม่รู้ว่า เป็นผลงานของใคร

ที่สำคัญ ราชสำนักไทยตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 4 ลงมา  มีวิจารณญานพอจะปฏิเสธงานที่มีจุดอ่อนมากมาย ไม่เก็บไว้อย่างมีเกียรติอย่างนี้ จนถึงวันที่มีคนมาร้องว่าเป็นของต้อยต่ำ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 27 พ.ค. 06, 00:17
 ความรู้ใหม่อย่างแท้จริงเกี่ยวกับขรัวอินโข่ง เกิดขึ้นเพราะการศึกษาของนักวิชาการท้องถิ่น
ผมขอโทษที่จำรายละเอียดไม่ได้ชัดเจน แพอสรุปได้ว่า อธิการบดีของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งเพชรบุรี(ถ้าผิด อย่าถือโทษ...) ได้ค้นพบหมายรับสั่งในรัชกาลที่ 4 พระราชทานนิตยภัทให้ช่างเขียนวัดมหาสมณาราม ระบุนาม พระอินทร กับช่างเอีกหลายท่าน เป็นเงินปีละ ๑ ชั่ง เป็นครั้งแรกที่เราได้ข้อมูลใกล้ชิดกับเหตุการณ์ถึงเพียงนี้ ข้อเขียนนี้พิมพ์ในหนังสือที่ระลึกซึ่งผมจะพยายามค้นให้พบเพื่อนำมาเล่าในภายภาคหน้า

งานเขียน (สมัยนั้น เมื่อใดที่ท่านจะเรียกจิตรกรรมฝาผนัง ท่านจะใช้คำว่า "เขียน" เช่นเขียนวัดรวก เขียนวัดระฆัง เลยกลายมาเป็นชื่อ เรียกวัดบางแห่งว่า"วัดเขียน" และเป็นชื่อวิชาว่า "วาดเขียน") ที่วัดสะหมน(ชื่อเดิมก่อนพระราชทานใหม่) นี้เอง ที่เราได้เห็นฝีมือช่างชั้นเยี่ยใของขรัวอินโข่งอย่างเต็มตา ท่านวางโครงรูปใหญ่เต็มผนัง เป็นเรื่องนมัสการพระบาท ซึ่งเป็นฉากเหตุการณ์แบบองค์เดียว วางเรื่องย่อยให้ต่อเนื่องตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ด้านล่างไปสุดที่มณฑปพระพุทธบาทที่ด้านบนของผนัง
เป็นเทคนิคเล่าเรื่องแบบต่อเนื่องอย่างเคารพเวลาตามเหตุการณ์จริง อันเป็นสาระใหม่ของจิตรกรรมฝาผนัง ไม่เคยปรากฏมาก่อน ผมจะลงรายละเอียดอีกครั้งเมื่อได้รูปที่เหมาะสมมาใช้งาน

หมายรับสั่งนี้ ลงปีไว้ตรงกับพ.ศ. 2406 เป็นช่วงที่มีการซ่อมสร้างครั้งใหญ่บนพระนครคีรี เมื่อเสร็จงานนี้แล้ว ท่านคงจะมารับงานต่อที่วัดบวรนิเวศน์

นี่เป็นข้อเสนอใหม่ที่หักล้างกับความเห็นเดิมที่กล่าวว่า เขียนที่วัดบวรฯ สร้างตั้งแต่เมื่อทรงครองวัด ครั้งรัชกาลที่ 3


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ค. 06, 15:34
อาจารย์พิพัฒน์บรรยายเร็วมาก   ข้อมูลละเอียดยิบ จนดิฉันถอดรหัสตามแทบไม่ทัน
ได้แต่ตามเก็บเบี้ยใต้ถุนชั้นเรียนที่หล่นเกลื่อนอยู่  ได้เบี้ยทองฝังเพชรมาหลายเบี้ย

ใช้เวลาวันหยุด ค้นตู้หนังสือ  อุ้มหนังสือเล่มที่ 1 ในสองเล่มคู่ หนักเล่มละไม่ต่ำกว่า 5 กิโล  มาเปิดหาภาพที่คุณเอ่ยถึง  เพราะอยากรู้ว่าหน้าตาเป็นยังไง
ต่อจากนั้นก็สแกน  ทุลักทุเลหน่อย  เพราะขนาดและน้ำหนักเป็นเหตุ

จนได้ภาพที่คุณเอ่ยถึงใน ค.ห. 13 พระบรมฉายาทิสลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่เดิมเชื่อว่าเป็นฝีมือขรัวอินโข่ง   ต่อมาเชื่อว่าเป็นฝีมือนาย E.Peyze-Ferry เพราะมีลายเซ็นติดอยู่ในภาพ

ขอนำคำบรรยายของดร. อภินันท์ โปษยานนท์ที่เอ่ยถึงภาพนี้ มาประกอบ

"...เขียนด้วยสีน้ำมันบนแผ่นไม้   เดิมสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่อันที่จริงเป็นฝีมือจิตรกรชาวยุโรปชื่อ E.Peyze-Ferry ประวัติของท่านผู้นี้ไม่ปรากฏ
เขาคงได้เห็นตัวอย่างจากพระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์พิมพ์ลายแกะ
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมาลาทรงสูงและทรงฉลองพระองค์
แต่จะเห็นได้ว่าภาพของพีซเฟร์รี่นั้นยังขาดความเข้าใจในการเขียนภาพเหมือนบุคคล  เมื่อเปรียบเทียบกับพระบรมสาทิสสลักษณ์โดยจิตรกรชาวจีน"


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ค. 06, 15:36

.
.
พระบรมสาทิสลักษณ์ที่ว่าในค.ห.ข้างบนนี้


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ค. 06, 15:37

.
.
พระบรมสาทิสสลักษณ์ที่ดร.อภินันท์สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นต้นแบบ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ค. 06, 15:42

.
.
พระบรมสาทิสลักษณ์ ในสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
วาดโดยจิตรกรชาวจีน ที่ดร.อภินันท์อ้างถึง


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 พ.ค. 06, 01:10
 กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาฯ ที่กรุณาเสี่ยงกับกระจกเครื่องสแกนเนอร์แตก ถ่ายทอดพระรูปจากมหาหนังสือ มากำนัลพวกเรา แหะแหะ...อาจารย์คิดค่าแรงแพงใหมครับ ผมมีอีกเจ็ดร้อยกว่ารูปรอสแกนอยู่
เพื่อเอาใจผู้สูงอายุที่ไม่ชอบซิ่ง ผมจะลดความเร็วบทความลงสามขีด อันอาจจะทำให้จบทันบอลโลกอย่างหวุดหวิด...ฮา
พวกวัยกระเตาะอาจจะอึดอัดหน่อย

วินิจฉัยของดร. อภินันท์นั้น ยังไม่กลมกล่อม ยังรู้สึกถึงเครื่องปรุงที่ไม่เข้าเนื้อ ผมจะลองปรุงใหม่อย่างนี้เลยละกัน

ตอนเบาริงก์เข้าเฝ้าไปรเวท แกขออนุญาตว่า จะพิมพ์บันทึกภารกิจครั้งนี้เป็นหนังสือเล่ม และขอข้อมูลจากพระเจ้าอยู่หัวหลายอย่าง
ทรงปลื้มปิติ เพราะไม่ทรงโปรดฯ ที่บาดหลวงปาเลกัวส์แสดงข้อมูลผิดเพี้ยน โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ไทย ลงใน"เล่าเรื่องกรุงสยาม" แต่ก็ไม่มีอำนาจไป"สอนหนังสือสังฆราช" ได้

ทรงจัดพระบรมรูปและรูปสิ่งของหลายอย่าง เช่นรูปเขียน พระบรมฉายาสาทิศลักษณ์ และที่สำคัญคือสำเนาจารึกพ่อขุนรามฯ (ที่ใครหนึ่งกล่าวหาว่าทรงแต่งใหม่ๆ ซิงๆ และอีกคนหนึ่งบอกว่าเป็นพิมพ์เขียวอะไรสักอย่าง...สักวันผมจะชวนสองคนนี้ไปที่สวนเจ้าพระยาภาณุวงษ์ฯ.....) พระราชทานออกไปในปีรุ่งขึ้น ผ่านทางหนุ่มปาร์ค ที่เข้ามาเปลี่ยนสัญญา

เสอร์จอห์น จัดแจงพิมพ์หนังสืออย่างเร่งรีบ เสร็จในปี 1857 (พ.ศ. 2400) เป็นสิ่งพิมพ์ระดับสุดยอดของยุคสมัย ปกแข็งเดินทอง พิมพ์นูน หุ้มผ้าไหม แบ่งเป็นสองเล่ม ขนาดสิบหกหน้ายก ข้างในแทรกด้วยรูปลายเส้นอย่างงดงาม มีแผนที่และสำเนาจารึก เรียกว่า ดีที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีการพิมพ์ ณวันนั้นจะทำได้ สิ่งพิเศษสุดก็คือ พิมพ์รูปสอดสีด้วยเทคนิคพิมพ์หิน lithographs ส่วนลายเส้นนั้น เป็นบล็อคโลหะเล่นน้ำหนักอ่อนแก่ ไม่ใช่เอ็นเกรฟวิ่งเด็กๆ แบบที่ปาเลกัวส์ใช้

หนังสือคงเดินทางเข้ามาสยามอย่างด่วนจี๋ ผมนั่งทางในจนทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเป็นที่สุด โดยเฉพาะพระบรมรูปสอดสี ปกติจะทรงได้รับแต่รูปภาพขาวดำ แม้แต่พระรูปจากกล้องในปีนั้นก็ยังใช้งานลำบาก เพราะเป็นรูปแผ่นเงิน (daguerreotype) จะดูตรงๆก็อาจเห็นเป็นเนกกะตีป ต้องเอียงนิดๆ ให้แสงเหลื่อมเล็กน้อย จึงจะเห็นเป็นรูปโพสิตีป แถมยังเล็กมาก บางชิ้นยังเล็กกว่านามบัตร รูปก็มืดไม่คนชัด เพราะเคมีที่ใช้ไม่เหมาะกับเมืองร้อน สารพัดจะขัดข้อง

ทรงเห็นพระบรมรูป ก็คงจะทรงคิดต่อว่าช่างไทยจะทำดูบ้างได้ใหม ทรงเรียกตัวพระภิกษุอินเข้ามาลองฝีมือ โดยอาศัยพระรูปในหนังสือเป็นตัวเทียบ พระราชประสงค์นี้คงทำให้อาจารย์ปู่ทวดของผมหนักใจไม่น้อย เพราะอย่างเก่ง ท่านก็แค่เขียนผนังเป็นเรื่องในพุทธศาสนา จะมีช่องให้พลิกแพลงเล่นสนุกก็ที่ "ภาพกาก" ซึ่งไม่ต้องเคารพกำหนดนิยมจนดิ้นไม่หลุด มิหนำซำยังเป็นพระบรมรูปที่ไม่เคยปรากฏว่าช่างไทยเคยเขียน งานนี้คงทำให้ท่านต้องศึกษาหนักพอดู

หมูหินที่สุด เห็นจะเป็นรายละเอียดของพระภักตร์ ท่านไม่เคยเรียนอนาโตมีเหมือนน้องติบอ จะหารูปเปรียบเทียบมากๆ เจ้าลูกหมูก็ยังไม่เกิด ยิ่งกว่านั้น พระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีพระพักตร์ที่ผิดรูป เพราะทรงเป็นอัมพาตอย่างอ่อนที่ริมฝีปาก ทั้งยังทรงสูญพระทนต์ไปเกือบหมดอีกด้วย

ขรัวอินโข่งพยายามศึกษาพระรูปจากหนังสือ รักษารูปริมฝีปากที่ห้อยเล็กน้อย และตำแหน่งพระเนตร แต่รายละเอียดของจมูกที่จะต้องเขียนให้โด่งออกมา พระกรรณที่มีราบละเอียดแปลกประหลาด........ไม่มีตรงใหนเลย ที่วิชากนกนารีกระบี่คชะ จะเอามาใช้ได้

พระรูปเหมือนที่ไม่เหมือนนี้ คงสำเร็จอย่างทุลักทุเล และต่างเห็นพ้องต้องกันว่า เก็บเข้าในคลังดีกว่า จะทำลายก็ไม่ได้ ด้วยเป็นพระรูปสูงศักดิ์เสียแล้ว คงถูกทอดทิ้งอยู่ในคลังรวมกับพระรูปอื่นๆ ที่ไม่ทรงโปรด จนสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เชิญออกแสดงเมื่อคราวจัดพิพิธภัณฑ์ อาจจะเป็นเมื่อครั้งรัชกาลที่ 7
ลายมือภาษาฝรั่ง จะมีใครมือบอนมาเติมตอนใหนก็ไม่รู้
(ขอพักแป๊บนะครับ จะไปนอนฮ่า...)  


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 พ.ค. 06, 09:40
 จะเป็นอย่างที่ดร. อภินันท์กล่าวว่า นายอีอะไรสักอย่างเขียนมาขายราชสำนักมิได้หรือ
ขอตอบว่า เป็นไปได้ยาก

1 ขอให้สังเกตไรพระศก เห็นเล็กน้อยตรงเหนือพระกรรณ
ช่างเขียนไปเอาข้อมูลมาจากใหน ในเมื่อรูปของเบาริงก์ไม่มีแม้สักเส้นพระเจ้า นี่ถ้าเชื่อว่าช่างเขียนอยู่ที่เมืองกะโลโปเกสักแห่ง รับงานทางไกลผ่านจดหมายและใช้รูปจากหนังสือ
หรือว่าช่างเขียน มาถึงบางกอก ได้เข้าเฝ้า ก็อาจจะเป็นได้ แต่ค่าจ้างคงสูงลิบลิ่ว ซึ่งทางราชสำนักคงไม่สั่งเข้ามาเพียงสร้างงานชิ้นเดียว และแกก็คงไม่เหมือนอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่บอกว่า "ข้าพเจ้ามีความละอาย....กินเงินเดือนราชการแต่ไปรับงานเอกชน..."
นายอี คนนี้คงรับเขียนรูปชาวบางกอกเปรมไปเลยเชียวแหละ เหมือนที่ต็อมสันช่างภาพทำนั่นแหละ

2 ฝีมืออย่างนี้ เขียนให้ฟรี ก็ไม่มีใครเอา อย่าว่าแต่ต้องจ้างเลย
สำหรับมาตรฐานฝรั่ง การตั้งห้างรับเขียนรูปได้ และถึงกับรับงานข้ามประเทศได้นี่ มีเงื่อนไขหลายอย่าง แต่ข้อที่สำคัญที่สุดคือฝีมือต้องดีอยู่ในชั้นแนวหน้า
เราจะใช้สมองที่ยังไม่ถี่ถ้วน ไปคิดดุ่ยๆว่า คงเหมือนฝรั่งขี้นกสักคน มาที่พัฒน์พงศ์ เห็นช่างกระจอกราคาถูกข้างถนนก็แวะ ถามว่า รูปละเท่าไหร่ แล้วก็ซื้อมั่วซั่ว หรือนั่งเมาเหล้าให้เขียนสดๆ สิบนาทีเสร็จ เป็นอันเสร็จพิธี  ไม่ได้
กระบวนการสั่งของข้ามประเทศในรัชกาลที่ 4 นั้นเขียนเป็นบทความขนาดมหึมาได้ทีเดียว
จริงอยู่ ราชสำนักก็เคยถูกฝรั่งหลอก มีพระราชหัตถ์เลขาเป็นพยาน ตัววัตถุก็มีรักษาไว้ แต่มันต้องแนบเนียนกว่ารูปเหมือนที่ไม่เหมือนชิ้นนี้
เราจะคิดถึงเรื่องในอดีตอย่างดูแคลนบรรพชนมากเกินไป อาจถูกกล่าวหาว่าเสียชาติเกิดเอาได้ง่ายๆ อย่างน้อย บันดาของนำเข้าทั้งหลายทั้งปวงที่เหลือตกทอดอยู่ ก็มีแต่ของดีๆทั้งนั้น แพงนั้นอาจจะใช่ แต่ห่วยเห็นจะไม่ใช่
สยามเป็นราชสำนักที่"บริโภค"เป็นมาแต่ใหนแต่ไรแล้วนะครับ เครื่องกังไสของเรา ถ้ารู้จักจัดการ ทำสมุดภาพสี่ภาษาออกมาสักหนึ่งตู้ โลกตะลึงเชียวแหละ ชามหมิงสีนี่ใบละเป็นล้าน แล้วรู้ใหมว่าเบญจรงค์น่ะ มาจากใหน เป็นหมิงสีใช่ใหม....
ผ้าอย่างของเรา ดีเลิศมาจากอินเดีย บางผืนมีค่าควรเมือง....โรงกระษาปณ์ทั้งโรงเรายังสั่งเข้ามาใช้งานได้ ปืนใหญ่กี่ร้อยกี่พันกระบอก....ม้าเทศเราก็สั่งเข้า เก๋งกรงนกสกุนวัณผมก็คิดว่าต้องเป็นปักษีนานาชาติ เพชรยอดพระมหาพิชัยมงกูฏก็มาจากนอก....บรรยายได้ไม่รู้จบ
นักช็อบโลกไม่ลืมระดับนี้ จะซื้อรูปเหมือนไม่เป็นหรือครับ

3 พิจารณาจากฝีมือช่างในพระบรมรูป ผมสรุปว่า เป็นช่างไทย เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เขียนจากพระองค์จริง แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ จึงมีชิ้นเดียวไม่มีงานต่อเนื่อง
เขียนหลังจากหนังสือของเบาริงก์ถูกส่งเข้ามา (2400+) แต่ก่อนพระบรมรูปรับฑูตฝรั่งเศสที่มีรูปราชสีห์เข้ามาถวาย (2406+) ซึ่งเป็นรูปฝีมือฝรั่งชิ้นแรก เขียนโดยเราส่งรูปถ่ายออกไปให้เขาเขียนกลับเข้ามา รูปรับราชฑูตนี้ฝีมือเยี่ยมยอมรับได้ ซึ่งจะเป็นเรื่องแปลกที่ราชสำนักเพิ่งถูกฝรั่งขี้นกหลอกมาหยกๆ แต่กลับฉลาดพอสั่งทำรูปที่มีกระบวนการสลับซับซ้อนกว่าอย่างได้ผล

ถ้าใช้สายสะพายเป็นหลัก ก็คงปี 2406 ที่ฝรั่งเศสถวายตราลิจงดงเนอร์ เข้ามา มีสายสะพายประกอบ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 พ.ค. 06, 10:43
 ใช้เวลาตอนเช้า ค้นหาร่องรอยของนายอี.พีซ-เฟร์รี่  ดิฉันยังติดใจในตัวแกอยู่  พบว่าไม่มีเลยในเน็ต  
ชื่อของแก สำเนียงน่าจะเป็นชาวฝรั่งเศส  พบทั้งคนชื่อ Peyze และ Ferry (ซึ่งไม่เกี่ยวกับศิลปะ)  แต่ว่า Peyze-ferry ไม่ยักมี

แกต้องเป็นจิตรกรโนเนม ที่มีรสนิยมวาดรูปสีน้ำมันบนแผ่นไม้   ไม่ใช่บนผืนผ้าใบ
มีโอกาสวาดให้ราชสำนักสยามนับว่าน่าประหลาดมาก เพราะผลงานอื่นๆ  ในหอศิลป์ต่างๆไม่มีการบันทึกไว้เลย    

ไปเจอข้อความในเว็บของคุณรอยใบลาน   ระบุว่าวาดเมื่อพ.ศ. ๒๓๙๙  ไม่ทราบว่าเป็นข้อมูลจากที่ไหนคะ  ถ้าแวะมาตอบด้วยจะขอบคุณมาก

**************************
ใช้แรงงานคนแก่ หนักสาหัส เจ็ดร้อยกว่าภาพ    บาปนะหลานเอ๊ย    
ไหนพ่อหมูน้อยฯช่วยเปิดตำราหมอความ บอกยายถีเถอะ  
ยังงี้ ต้องร้องเรียนส.ส.ปิ๊ก  รึว่าคุณหญิงหน่อยกันแน่  
ยายมันปูนนี้ ชักหลงๆแล้ว   จำไม่ใคร่จะได้ว่าคนไหน


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 28 พ.ค. 06, 10:52
 ขออนุญาตยกมือขึ้นถาม คุณpipat นิดนึงครับว่า สายสะพายที่ว่าเท่าที่ผมจำได้สีแดงนะครับ
(เหมือนในภาพที่ ร.4เสด็จออกรับราชทูตฝรั่งเศสอีกครั้งที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ส. 2410 ก็ทรงสายสะพายเส้นที่ว่า)
ทำไมสายสะพายในภาพเป็นสีฟ้าล่ะครับ ??


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 28 พ.ค. 06, 11:49
 แหม๋ๆ ท่านอาจารย์ครับ อย่าพึ่งไปร้องเรียน ส.ส. ,ส.ว. ที่ไหนเลยนะครับ แฮ่ๆๆ ตัวหมูน้อยฯ เองก็อยากเห็นภาพที่เหลือนั้น เหมียน กัลลลล


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 พ.ค. 06, 12:16
 มีหลักให้พิจารณาได้ว่า ก่อนหน้านี้ สยามไม่รู้จักสายสะพาย

จะเป็นสีอะไร ก็ต้องพัฒนามาจาก Légion d'honneur

ท่านอาจจะดีไซน์เล่นส่วนพระองค์ ก่อนจะสถาปนาเครื่องราชอิสริยยศหรือแดกอระแช่น เพื่อถวายตอบแทนพระราชาธิบดียุโรบ



ปีที่คุณรอยใบลานระบุ 2399 ก็มาจากดร.อภินันท์แหละครับ อยู่แผ่นก่อนหน้าที่สแกนครับ ผมว่าคุณอภินันท์จะรวบรัดปีเกินไป เพราะถ้าท่านอ้างว่านายอี เขียนจากหนังสือ ก็ต้องรอหนังสือพิมพ์เสร็จ 2400 กว่าจะเข้ามาถึงพระจอมเกล้า กว่าจะสั่งเขียน ตกลงราคา มิปาไป 2401-2

จะเป็น 2399 ได้ ท่านต้องทำอย่างนี้ครับ ฉายพระรูปแผ่นเงินสององค์ (ปีนั้นกระจกเปียกมาถึงแล้ว แต่อีตาปาร์กทำตกน้ำที่สิงคโปร์ครับ) องค์หนึ่งพระราชทานเสอร์จอน อีกองค์หนึ่งไปที่นายอี แต่มันก็จะติดปัญหาอีกว่า แล้วช่างเขียนรู้สีได้ยังไง ก็ต้องมีหนังสืออธิบายกำกับ....ก็เป็นได้ครับ ไม่ปิดประตูเสียทีเดียว



แต่ ถ้าเป็นช่างรับจ้างทางยุโรปนะครับ ผมขอนั่งยันนอนยัน ทำอะไรก็ ขอได้ยันลูกเดียว ว่าฝีมืออย่างนี้ แปลว่าไม่รู้อนาโตมี ไม่รู้อนาโตมีจบวิชาช่างไม่ได้ ไม่จบวิชาช่าง เปิดสตูดิโอรับงานไม่ได้ ฝีมืออย่างนี้ เต็มที่ก็รับเขียนสลากกอเอี๊ยะละพอไหว แต่ถ้าเป็นฝีมือช่างไทย นั่นต้องปิดตำราอีกเล่มมาพิจารณากัน



พระจอมเกล้า เวลาสั่งของจากเมืองนอก ทรงมีตัวแทนการค้า ทรงเลือกจากคนดีมีชาติตระกูล มีผู้น่าเชื่อถือแนะนำ มารับใช้ พวกนี้จะความหาได้ช่างเห่ยๆอย่างอีตาอีรูปูกี้อะไรนี่น่ะ เป็นไปไม่ได้ครับ ท่านสั่งปลดแน่นอน

พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้เป็นนักปราชญ์นะครับ ไม่ใช่พระเจ้าอะรูอะรูห้า....หรือหกก็ไม่รู้ ที่ว่างงาน เอาเงินชาติล้างผลาญ เพียงเพื่อได้ชื่อว่า เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่เดินทางรอบโลก



ประเทศเรามีดีพอจะอวด ในเรื่องการทำสิ่งสร้างสรรค์

ขรัวอินโข่งท่านก็รู้ตัว ชีวิตหลังจากนั้นจึงพยายามพัฒนาฝีมือเขียนรูปเหมือน จนได้รับพระราชทานรางวัลในที่สุด



นี่หมายความว่าผมเชื่อว่าพระรูปนี้เป็นฝีมือปู่ทวดในสกุลช่างของผม ถ้าผิด ก็หน้าผมที่แตกขอรับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 พ.ค. 06, 12:30
 หนูปิ๊ก เธอชอบแนวเหวอะหวะ ส่วนหนูหน่อยนั่นชอบมูมมาม
พิจารณาจากหลักฐานพยาน เรื่องบั่นคอพิราป สับคอแมว แลสับ สับ สับ เฉือน เฉือน....แนะนำให้พึ่งหนูปิ๊กครับ แต่ตอนไปพบ ควรนำสื่อไปด้วยมากๆ และหัวหอมเพื่อบีบใส่ตาอีกพอประมาณ จะประสบความสำเร็จดังใจหวัง

เอ แต่ตรวจปูมหลัง หนูปิ๊กไม่สนคนแก่นะครับ ต้องไปคนคนคนคนคนค้นคน ขานั้นร้อยกว่ายังเข็นขึ้นเลยครับ 55555

อาจารย์คร๊าบบบ....คราวนี้ทำเสียงอ้อน
มีสารานุกรมเล่มสองใหมคราบบ ผมอยากได้ดรออิ้งของขรัว ที่คุณยิ้มพิมพ์ไว้  หรือคนอื่นจะกรุณาก้อยินดีนะครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 พ.ค. 06, 14:24
 เริ่มกระเหม่น-เขม่นตาซ้ายขวา   เหมือนมีลาง  
นึกแล้วว่าถ้ายื่นมือเข้ามาเอี่ยวในกระทู้คุณพิพัฒน์ จะต้องเจ็บตัวกลับไป  นี่ก็เริ่มไหล่ล้าจากแบกหนังสือไปสแกน

สารานุกรมอะไรคะ    สารานุกรมศิลปะหรือ  ไม่มีค่ะ   บ้านไม่พอเก็บ  ไม่ใช่หอสมุดวังท่าพระ นะคุณ
ผลงานของขรัวอินโข่ง อาจจะมีหนังสือรวบรวมภาพวาดในผนังโบสถ์วัดบวรฯอยู่ ณที่ใดที่หนึ่ง
เก็บไว้อย่างดีจนหาไม่เจอ เช่นเดียวกับหนังสือมีค่าหายากอื่นๆ

แต่ดรออิ้งไม่มี  หรือไม่ก็ยังนึกไม่ออกว่ามี จึงขอฟังไปพลางๆก่อน ไม่มาเสริมอีกแล้วละค่ะ

ไปถามคนค้นคน เค้าตอบมาว่ายังไม่ได้แม้แค่ครึ่งของปู่เย็น   ก็เลยอดออนแอร์

**********************
หมูน้อยฯ  จูงยายไปฟ้องคุณหญิงหมอก็ได้นะ...
เรื่องสับ สับ สับ ฉับ..ฉับ..ชำแหละ  แนวเธออยู่แล้ว    
อะไร้  ต้องตรวจดีเอ็นเอด้วยเหรอ  เอ! ไปดีมั้ยเนี่ย...    


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 พ.ค. 06, 15:04
 สารานุกรมเจ็ดชั่วโคตะระครับ ป่านนี้ถึงเล่มเท่าไรแล้วไม่รู้ ผมเคยไล่ซื้ออยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็นึกว่าเดี๋ยวรอตอนเสร็จเลดีกว่า ไม่ชอบว่าเล่มหนึ่งเก่ากึ๊กแล้ว เล่มสิบห้ยังใหม่เอี่ยว วางในดู้แล้วขัดลูกตา
นี่รอมาค่อนชีวิตแล้ว แบงค์ใบโพธิ์ทำอีลุบตุ้บหนั้บ แป๊บเดียวเสร็จ

พอดีรูปลายเส้นดังกล่าว หาชมยาก เป็นสมบัติของหอพระสมุด เห็นพิมพ์ในสารานุกรมแห่งเดียว ส่วนที่อีตาลูก้าถ่ายรูปให้วัดบวรฯ ไว้ก็ไม่มีครับ ที่เมืองโบราณก็ไม่มี

เรื่องขรัวฯ นี้ หากอาจารย์ทอดทิ้งไม่เหลียวแล มันจะวิ่งเร็วฉวัดเฉวียนยิ่งกว่ามอไซค์ปากซอยนะครับ

ส่วนดีเอ็นเอ อาจารย์หลอกลูกไปเจาะแทนก็ได้ครับ  5555


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 พ.ค. 06, 15:24
 ต่อไปนี้เป็นตัวบท ตอนต่อไปครับ
----------------
มูลเหตุที่ทำให้ผมต้องมารื้อฟื้นพิจารณาผลงานของท่าน ทั้งๆ ที่มีผู้ศึกษาแล้วอย่างดี ก็เพราะรูปถ่ายชิ้นหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับรูปถ่ายอีกชิ้นหนึ่ง ทำให้ผมคาดว่า ที่ท่านแต่ก่อนวินิจฉัยเรื่องอายุสมัยนั้น เห็นจะผิด
สำหรับประวัติศาสตร์ช่วงสองร้อยปีลงมา การกำหนดอายุผิดสักปีสองปี อาจเปลี่ยนวินิจฉัยไปได้เป็นคนละประเด็นทีเดียว
เช่นกัน ในกรณีของขรัวอินโข่ง ถ้าเราพบว่า จิตรกรรมปริศนาธรรมที่วัดบวรนิเวศน์ฯ นั้น มิได้สร้างขึ้นคราวที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ ทรงครองวัด สมัยรัชกาลที่ 3 แต่มาเขียนหลังจากนั้นร่วมสามสิบปี และงานบางชิ้นของขรัวฯ อาจจะเขียนตอนต้นรัชกาลที่ 5

ประวัติศาสตร์จิตรกรรมไทย ก็ต้องเบี่ยงไปจากเดิมไม่มากก็น้อย

แล้วยิ่งถ้าเราเกิดพบว่า สุนทรภู่กับขรัวเป็นเกลอกัน ทำงานร่วมสมัยกัน และเรื่องพระอภัยมณีก็ไม่ได้แต่งถวายเจ้านายสูงศักดิ์เสียทั้งหมด อย่างน้อย ฉบับที่ตกทอดมาอาจจะแต่งให้พระยาบุรุษฯ เอาไปทำเป็นละคอนประโลมใจชาวบางกอก และตั้งแต่ต้นเรื่องอย่างน้อยที่ศรีสุวรรณชมเมือง ก็ชมอยู่แถวท่าเตียนสมัยรัชกาลที่ 4 นี่เอง
งานวิจัยอภิมหาวิชาการเรื่องกระฎุมพี...ก็คงต้องวิจัยใหม่

หรือมิเช่นนั้น อาจารย์เทาชมพูก็ต้องส่งเทียบเชิญผมออกจากเรือนไทย ไปอยู่สรีระสำราญแทน


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 28 พ.ค. 06, 15:58
เข้ามาทำตาปริบๆ ประนมมือฟังเล็กเช่อร์ของท่าน pipat รวมทั้งของท่านอาจารย์ปู่ของท่านด้วยอีกชั้นหนึ่งครับ

เรื่องโข่งกับโค่งนั้น ถ้าพจนานุกรมว่ายังงั้นผมก็จนด้วยเกล้า แต่จำได้ว่าก่อนพจนานุกรมราชบัณฑิตยฯ เกิด ใน สาสนสมเด็จ สมเด็จทั้งสองพระองค์เคยทรงถกกันเรื่องคำนี้มาแล้ว ดูเหมือนพระมติที่ผมจำได้ (ไม่ได้เปิดหนังสือทบทวนครับ) โข่งก็คือโค่ง แปลว่าโตหน่อยหนึ่งทั้งคู่

ที่ราชบัณฑิตยฯ ท่านว่าโข่งแปลว่าเปิ่นเซอะ ส่วนโค่งแปลว่าเณรแก่เกินอายุเณรนั้น สงสัยว่าจะมาทีหลัง

ผมยังจำได้เลยว่า สมเด็จองค์หนึ่ง จะสมเด็จฯ ครู หรือสมเด็จฯ กรมดำรงก็ลืมแล้ว ท่านรับสั่งทำนองว่า อ้อ... เข้าใจเลย หอยโข่งก็หอยที่ตัวมันโตกว่าพวกมัน (และแน่นอน เณรโค่งก็แค่เณรตัวโต เพราะแก่กว่าเณรเด็กๆ เท่านั้นแหละ - ในวงเล็บอันนี้ท่านไม่ได้ทรงว่า ผมว่าของผมเอง)

ราชบัณฑิตยสถาน ทราบแล้วเปลี่ยน?

กราบเรียนพระเจ้าตา pipat อีกข้อหนึ่ง เอามาฝากครับ พระเจ้าแผ่นดินอะไรที่ว่าไม่มีงานทำเลยทรงพระเที่ยวรอบโลกเล่นนั้น หลวงตาหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินอาณาจักรฮาวายใช่ไหมครับ พระเจ้ามูมูกูมาดูทะเล... เอ๊ย- น่าจะ คิง คาเลฮาเลฮา ที่เท่าไหร่ไม่รู้ ชื่อภาษาฮาวายจำยาก ผมอาจจะจำผิดก็ได้ แต่จำได้ว่าอีตาคิงองค์นี้เคยเสด็จประพาสรอบโลก และเคยทรงแวะมาเป็นพระราชอาคันตุกะในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ปิยมหาราช ของไทยเราด้วย ดูเหมือนตอนนั้นช่วงต้นรัชกาล

อีกไม่กี่ปีต่อมา หลังรัชสมัยคิงอะไรองค์นั้น อาณาจักรฮาวายก้ถูกเรือรบสหรัฐบุกยึดครอง แล้วในที่สุดก็เปลี่ยนสภาพจากประเทศเอกราชกลายเป็นดินแดนในอารักขาของสหรัฐฯ และเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐในที่สุด (ก่อนสหรัฐรุกรานอิรักและอัฟกานิสถานหลายสิบปี)

เอวัง...

ขอเชิญกลับไปคุยกันเรื่องท่านขรัวอิน โข่งหรือโค่งก้ไม่รู้แน่ ต่อครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 28 พ.ค. 06, 16:11
 พระราชาฮาวายองค์นั้นชื่อ Kalakoua ครับ ออกเสียงยังไงก็จนปัญญา แต่ทราบว่าเสด็จมาประทับในสยามด้วยแว่บหนึ่ง ระหว่างทรงเดินทางรอบโลก (ต้นรัชสมัย ร. 5)


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 28 พ.ค. 06, 16:14
 ชะแวบเข้ามากระทู้คุณpipat แอบกระซิบคุณหลวงนิลซักกะน้อยหนึ่ง
ว่ากษัตริย์ฮาวายองค์ที่ว่าน่ะ ถ้าผมจำไม่ผิดแกชื่อ Kalakakua (คงจะอ่านภาษาไทยว่า คาละคาคัว) ล่ะกระมัง

แกมาเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2423 กับคนอื่นอีกหลายคน (จะใครมั่งผมก็จำไมค่อยได้ คิดว่าคงมีนายกอเมริกาที่ชื่อ วิลเลี่ยม อามสะตรอง ด้วย)

ครั้งนั้นรัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้อีตานี่เข้าเฝ้าฯ ที่พระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร และเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาที่ห้องน้ำเงินด้วย น่ะครับ



... ว่าแล้วก็ชะแวบไปนั่งฟังเลคเชอร์เรื่องขรัวฯ ท่านต่อไป

(อ่อๆ ถ้าผมปวดปัสสาวะอยากออกไปทำธุระ จะขออัดเทปไว้ได้มั้ยครับ คุณpipat)


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 28 พ.ค. 06, 16:15
 ตายแหล่ว โพสต์ชนกันกลางอากาศดัง "เปรี๊ยง"
เลยได้ยินเสียงหน้าผมแตกดัง "โพล๊ะ" เลย หิหิ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 พ.ค. 06, 16:18
 ย่องเข้ามานั่งอยู่ข้างหลังคุณนกข.  บอกค่อยๆไม่ให้อาจารย์ได้ยิน  เดี๋ยวจะหาว่าคุยกันหลังชั้น

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ค่ะ เป็นผู้ทรงวิเคราะห์ชื่อของ"ขรัวอินโข่ง"

"นึกขึ้นมาได้ถึงขรัวอินโข่ง (ช่างเขียน) เคยไต่สวนว่าทำไมจึงได้ฉายาว่า โข่ง เขาบอกว่าบวชเป็นเณรอยู่นานจนเกินกาลจึงเรียกว่า อินโข่ง
ทำให้เข้าใจไปว่าเรียกผิด หรือเขียนหนังสือผิด แต่เดี๋ยวนี้มานึกขึ้นได้ว่า ไม่ผิด หอยโข่งมีเป็นอย่างอยู่ หมายความว่า หอยใหญ่

เณรโข่งก็เณรใหญ่ โข่งหรือโค่งเป็นคำเดียวกัน หมายความว่าใหญ่เหมือนกัน "

ท่านทรงเห็นว่า โข่ง หรือ โค่งเป็นคำเดียวกัน  ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกันไปแค่ 1 ระดับเสียง
ซึ่งก็ไม่แปลกเมื่อนึกถึงความจริงว่าขรัวอินโข่งเป็นชาวเพชรบุรี  
สำเนียงภาษาถิ่นตั้งแต่เพชรบุรี  ราชบุรี นครปฐม เขามีวรรณยุกต์ 6 เสียง ไม่ใช่ 5 เสียงอย่างกรุงเทพ   การออกเสียงโค่ง อาจเป็นสำเนียงท้องถิ่น ตรงกับโข่งของชาวพระนคร

แต่ว่าพจนานุกรมฯลฯ  ไปให้ความหมายโข่ง ว่า
๑) หอยโข่ง
๒) ท่านหยิบเอาภาษาพูดในยุคหนึ่ง ที่ท่านเรียกว่าภาษาปาก อันที่จริงน่าจะเรียกว่าสะแลง  มาเป็นคำอธิบาย   แปลคำว่าโข่ง ว่า เปิ่น ไม่เข้าท่า

ข้อนี้มั้งทำให้บางคนเดือดร้อนไปเข้าใจว่า ขรัวอินโข่ง กลายเป็นขรัวอินไม่เข้าท่า  อิน เดอะ นอนเซ้นส์  เลยหันไปใช้คำว่า โค่ง แทน
****************
แค่นี้ละค่ะ  ขอตัวไปหลอกลูกก่อน


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 28 พ.ค. 06, 16:37
 เสาดังกล่าว เป็นขั้นตอนสำคัญของวิวัฒนาการจิตรกรรมฝาผนัง
ท่านที่คุ้นเคยกับวัดสมัยร. 4  ลองพิจารณาดูการให้สี จะเห็นว่า มีการเปรียบเสาใกล้พระประธานเป็นเสาสว่าง ไกลออกไปเป็นสีมืด ดั่งแสงทิพย์แห่งพระธรรมฉาบไล้ในอาคาร เป็นปริศนาโดยโครงสี มิใช่ปริศนาในเรื่องอย่างบนฝาผนัง
เฉพาะที่วัดบวรฯ ยังเปรียบเปรยไว้ลึกลงอีกชั้นหนึ่ง ด้วยการใช้ผิวกายบุคคลเป็นอุปมา
รายละเอียดตรงนี้ ขอเชิญคุณนทีสีทันดร มาเล่า ค่าที่เธอไปด้อมๆ มองๆ ถ่ายรูปวัดนี้มาหลายมุม คงจะไม่รังเกียจ ผมจะได้ลุยโลดเรื่องศิลปะของท่านทวดต่อไป

ในเมื่อรูปที่ผมอ้าง ยังแลเห็นเป็นเสาเปลือยเปล่าอยู่ ก็แปลว่า วันที่ถ่ายรูป  ขรัวฯ ท่านยังไม่ลงมือเสียด้วยซ้ำ ฟรันซิศ จิต (ซึ่งวันนั้นเป็นขุนฯ ไปแล้ว) ก็ช่างกระไรเลย รออีกสักหน่อย ท่านขรัวก็จะเข้ามาแล้ว กดชัตเตอร์เร็วไปไม่กี่มากน้อยเลย
แต่....เราอาจได้เห็นรูปถ่ายขรัวอินโข่ง ในวันหนึ่งวันใดข้างหน้า ถ้าเรายังค้นคว้าไม่หยุดหย่อนอย่างนี้

เราจะรู้ปีถ่ายได้อย่างไร

ตรงนี้ต้องใช้หลักฐานพยานแวดล้อม


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 28 พ.ค. 06, 16:41
 ขอบพระคุณคุณครูเทาฯ ขอบคุณคุณติบอครับ

คิงฮาวายองค์นั้น หลักฐานอีกที่หนึ่งให้ชื่อแกว่า Kalakaua ซึ่งจะออกเสียงว่ากะลากะอั้ว รึยังไงก็ไม่รู้

...ประนมมือฟังเล็กเชอร์พระเจ้าตาต่อไป


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 28 พ.ค. 06, 16:42
 สวัสดีครับ ขอเข้ามารับความรู้ด้วยคนนะครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 28 พ.ค. 06, 17:01
 ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ เป็นญาติอะไรกับพระเจ้ากะละกะอั้วรึเปล่าครับ?


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 28 พ.ค. 06, 18:48
 ถ้าได้เที่ยวรอบโลกบ้างผมก็อยากเป็นญาติกะแกเหมือนกันครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 มิ.ย. 06, 10:06

.


ไปเตลิดปิดเปิง ถะเหลถะไหลห้องอื่นพักใหญ่ กลับมาส่งงานให้ทุกท่านพิจารณาต่อ จะลงรูปให้ดูก่อน 3 มุม จากรูปเดียวกัน

ต่อจากความเห็นที่ 28 เรื่องเขียนที่วัดบวรฯ
โปรดสังเกตความว่างเปล่าของผนังและเสา


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 มิ.ย. 06, 10:10

.

ใกล้เข้ามาอีกหน่อย


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 มิ.ย. 06, 10:19

.


เห็นนั่งร้าน ที่เพิ่งมัดหวายเสร็จ กลิ่นยังใหม่ๆ อยู่เลย


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 มิ.ย. 06, 10:21

.

เผื่อจะไม่เห็นแถมให้เป็นรูปที่ 4 ฮิฮิ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 มิ.ย. 06, 10:30
 .







คราวนี้มาทายปัญหากันได้ละ ว่ารูปนี้ถ่ายเมื่อไร
มีคนเอาไปใช้หลายคน

แม่นี่ก็เป็นหนึ่งในนั้น
แถมยังเป็นหนึ่งในการใช้งานแรกๆ เสียด้วย

อยู่ในโรแม้นส์...ของแม่แอนนาไงครับ จำได้บ่
เธอออกไป 2410 เราจึงได้ปีใหม่สุดท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับรูปนี้ แต่มันจะถ่ายไว้ก่อนนี้ กี่ปีดีหล่ะ





ไม่บอก หลอกให้งง 555555......  


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 01 มิ.ย. 06, 10:56
 ใครจะว่าไงไม่รู้
แต่ผมสอบข้อมูลของแอนนาแล้ว เว้นแต่ที่เธอจงใจใส่สีใส่ไข่ เพื่อทำมาหาเลี้ยงชีพ อันทำให้การอ้างอิงสิ่งที่หล่อนเขียน ออกจะตะขิดตะขวงใจอยู่ แต่ข้อมูลทั่วไปของเธอนั้น มีค่ามากนะครับ

โดยอาชีพ เธอต้องขาย exotic ให้ fantastic เหมือนประพันธ์กรทั้งโลก ไอ้พวกเราสิ ดันต้องการ facts จากเธอ บางคนถึงกับต้องการ truth ทั้งๆที่เธอน่ะ เสนอ reality ให้เราโต้งๆ อยู่แล้ว

อันนี่เป็น pipatavinci code ฉบับเสียมกุ๊กกุ๊ก ..แหะ..แหะ
(ดูรูปสิครับ ริมถนนเจริญกรุงสมัยที่เธอยังอยู่กรุงฯ ไม่มีใครเคยเห็นกระมัง)


คือจะบอกว่าอย่าไปเคืองแกเลย อ่านเอาเรื่อง ดีกว่าอ่านหาเรื่อง
สมัยนั้น ข้อมูลมันมั่วๆทั้งนั้นแหละ ขนาดปาเลกัวส์เอย เบาริงเอย แฮริศเอย แม้กระทั่งกาละฝัด
พวกนี้ก็ใส่สีทั้งนั้น ทำไม้มาเอาเรื่องนักเขียนเล็กๆคนหนึ่ง เอาให้ตายกันไปข้างนึงเชียวหรือ


วันนี้นอกเรื่องแบบอ้อมๆ นะครับ ตามคำร้องของผู้เกิดก่อน...  


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 02 มิ.ย. 06, 11:28
 เดามั่วนะครับ คุณpipat ผมไม่แน่ใจอะไรกับความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ในสมองเอาเสียเลย

ถ้าจำได้ไม่ผิด The English Governess at the Siamese Court น่าจะพิมพ์เอาปี 1870 คิดเป็นพุทธศักราชก็ 2413
ส่วน Romance of the Harem จะพิมพ์เอาเมื่อปี 1873 คิดเป็นปีพุทธศักราชก็ 2416

ผมเลยเดามั่วๆเอาว่าภาพที่คุณpipat ส่งมานี่คงถ่ายราวๆปี 2405 - 2409 หรือช้าที่สุดก็ไม่เกิน 2410 แล้วกันนะครับ
(ขอเน้นย้ำครับ ว่ามั่วร้อยละร้อย แหะๆ) เพราะไม่มีความรู้อะไรเลย


เชิญสมาชิกท่านอื่นมาคงหาคำตอบที่น่าจะเป็นที่พอใจของสมาชิกท่านอื่นๆมากกว่าผมได้ล่ะครับ
ไปดีกว่า ขอตัวไปดูแอนนาหน่อยครับ อิอิ



.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 02 มิ.ย. 06, 12:14
 ตี๋ นี่ดูยังไง ก็ตี๋ นะครับ
นึกถึงว่าเบื๊อกนี่ เกิดสั่งประหารใครสักคน คงจะหน่อมแน้มเอ้อเร้อเอ้อเต่อ อีหลุกขุกขยุยต็มทน

ให้มันเป็นบั้ตเล่อร์ละก้อ พอทน แต่คงระดับภัตตาคารระดับสองดาวกระมัง คือมันไม่มีราษีเอาเสียเลย

ผมเปิดห้องไร้สาระไว้ เรียนเชิญคุณติบอเอาสิ่งไร้รสนิยมพันธุ์ยังงี้ไปแหมะไว้ได้ใหม อยู่ที่นี่ท่านทวดอินของกระผม จะเสียสมาธิ เดี๋ยวเลยประสมสีผิด จะเสียไปทั้งสาแหรกตระกูลช่าง 555


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 มิ.ย. 06, 15:35
 กลับมาเข้าตัวบท
-------------------
สำหรับคนที่มีพื้นทางด้านถ่ายรูปมาบ้าง รูปพระพุทธชินสีห์นี้ มีหลายสิ่งที่บ่งบอกที่มาและอายุสมัยได้ หากใช้จินตนาการเข้าช่วย ประการแรก ขอให้สังเกตว่า เป็นรูปถ่ายในร่ม ในอาคาร ที่ค่อนข้างจะมืดมาก รูปอย่างนี้ ครั้งหนึ่งถือว่าถ่ายไม่ได้ทีเดียว
ประการต่อมา กล้องสามารถเก็บรายละเอียดออกมาได้อย่างน่าพึงพอใจ นี่ย่อมสะท้อนคุณภาพของเลนส์ ฟิล์ม และกระบวนการล้างฟิล์มได้เป็นอย่างดี ว่าเป็นสมัยที่เทคนิคพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว

ในกรณีของรูปนี้ ซึ่งเราทราบว่า แม่แอนนาเคยนำไปใช้ ย่อมจะเป็นรูปถ่ายที่นางพาติดตัวกลับไปยังบ้านใหม่ แต่จะเป็นรูปแต่ครั้งใหน ต้นหรือปลายรัชกาล
ก็ขอชี้ชัดเลยว่าเป็นรูปถ่ายคุณภาพสูงตอนปลายรัชกาล ไม่ใช่รูปที่ตกทอดมานานจนให้แหม่มเอาไปใช้หากินทีหลัง

เพราะถ้าเป็นรูปก่อน 2410 ลงไป จะมีข้อด้อยหลายประการให้จดจำ เป็นต้นว่า น้ำยาจะขุ่นข้นมากกว่านี้ อันจะทำให้รูปไม่ใสกระจางตา ไม่สามารถเก็บรายละเอียดในที่มืดได้อย่างครบถ้วนเช่นนี้ และจะต้องเปิดหน้ากล้องนานเสียจนเก็บการเคลื่อนไปของแสงแดดที่กระทบเป็นไฮไลท์ กลายเป็นแสงพร่าเลือน เพราะอาจจะต้องเปิดหน้ากล้องนานถึงสามสี่สิบนาที

ในสายตาของอดีตครูสอนถ่ายรูป งานชิ้นนี้จึงถ่ายในวันที่ช่างภาพ ได้เลนส์ที่ "สว่าง" กว่า และพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบกระจกได้บางลง อันทำให้ไวแสงมากขึ้น กว่าสมัยถ่ายรูปท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม ในปี 2406 เป็นอันมาก

เชิญชมรูปท้องพระโรงดังกล่าว

.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มิ.ย. 06, 15:45
 ลองขยายรูปท้องพระโรงให้ค่ะ
ที่นี่คนละแห่งกับพระที่นั่งอนันตสมาคมปัจจุบันนี้นี่นา  
อยู่ในพระบรมมหาราชวังใช่ไหม
.
.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 มิ.ย. 06, 21:34
 ถูกต้องแล้วครับ
พระที่นั่งอนันตสมาคมองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่สอง องค์แรกสร้างครั้งรัชกาลที่ 4 หลังเบาริงก์ออกไป ประมาณ 2400 ท่านก็เริ่มสร้าง เพื่อใช้รับแขกเมืองอย่างตะวันตก เป็นหมู่พระที่นั่ง ซึ่งถ้าเรียกอย่างปัจจุบันก็คือคอมเพล็กส์ นั่นเอง นับว่าทรงทันสมัยล้ำยุคทีเดียว พระที่นั้งทั้งสิบหลังมีชื่อคล้องจองกันและมีหน้าที่ใช้สอยจำเพาะเจาะจง ผู้สนใจขอเชิญไปแสวงหาความรู้เอาจากประชุมพงศาวดารภาค 25

รูปที่อาจารย์ขยายใหญ่ให้นี้ เป็นเพียงครึ่งเดียวของรูปต้นแบบที่เราส่งให้ฝรั่งวาดเข้ามา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพงศาวดารฉบับมีรูปภาพ ซึ่งจะทรงวางแผนไว้หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ผมสังเกตว่าน่าจะทรงตั้งพระทัยเป็นแนวนั้น จึงทรงอุดหนุนวัฒนธรรมการสร้างรูปบันทึกเหตุการณ์อย่างเป็นจริงเป็นจัง

ในรูปที่ฝรั่งวาดเข้ามา จะเห็นสมเด็จเจ้าพระยา และสมเด็จกรมหลวงฯ วงษาฯ ออกท้องพระโรงด้วย นับว่าหาชมยาก และถ้าเราไม่มีต้นฉบับออกไป ฝรั่งที่ใหนจะนั่งเทียนเขียนเข้ามาได้

ผมจึงออกจะดูถูกคนที่ดูหมิ่นบรรพชนว่า สั่งเขียนพระบรมรูปแบบมาตรฐานต่ำเข้ามา คนรุ่นนั้นฉลาดล้ำลึกกว่าที่เราคิด ไม่งั้นเราทุกวันนี้ได้เป็นขี้ข้าฝรั่งมาร้อยห้าสิบปีแล้วละครับ

อุเหม่..อยากจะแช่งมันนัก

.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 มิ.ย. 06, 21:38

.

ขยายขึ้นมาครับ จะได้ช่วยกันดูว่าผมไม่ได้ตาฝาด


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 มิ.ย. 06, 21:45

.

อันนี้มุมตรง ถ่ายตอนปีแรกๆของรัชกาลที่ 5 ตอนนั้นถ่ายรูปในร่ม เป็นเรื่องง่ายแล้ว
แต่ความง่าย ก็แลกเอาความประณีตไปนะครับ เลนส์ที่ไวแสงก็มักจะอ่านค่าขาวจัดดำจัดแย่ลงไปด้วย


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 มิ.ย. 06, 21:54

.

รูปปิดท้าย หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ครั้งรัชกาลที่ 4
ใครสนใจมากๆ ก็ไปหาหนังสือของศาสตราจารย์ มรว. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี มาอ่านดู ท่านเขียนไว้ครบถ้วนตั้งแต่สร้างจนรื้อ
หนังสือสวยและเขียนดี พวกเราคงไม่พลาดอยู่แล้ว

อาจารย์เทา มอบอภิสิทธิ์ให้ผมแปะรูปได้ใหญ่ขึ้น
แต่บุญมี กรรมมาบัง
รูปยิ่งใหญ่ คอมฯ บุโรทั่งของผมก็ออกอาการอิดออด
ดังนั้นดูกันตามกำลังเครื่องที่ผมมีละกันนะครับ แหะ แหะ....


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มิ.ย. 06, 21:57
 เพิ่งเคยเห็นภาพนี้เป็นครั้งแรกค่ะ    อัศจรรย์ใจมาก
ท้องพระโรง โอ่อ่าตระการตาจริงๆ

กรมหลวงวงษาธิราชสนิท คือทางขวาใช่ไหมคะ  
สมเด็จเจ้าพระยา หมายถึงท่านไหน   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หรือว่าสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่/องค์น้อย

ท่านั่งของท่านทั้งสอง เหมือนเป็นสิทธิพิเศษเหนือขุนนางทั่วไป   ถ้ากรมหลวงวงษาฯ ประทับนั่งอย่างนี้ก็ไม่แปลก เพราะท่านเป็นพระบรมวงศานุวงศ์
แต่สมเด็จเจ้าพระยาได้นั่งแบบนี้  ขณะที่ขุนนางหมอบกันเป็นแถว  แสดงให้เห็นความสำคัญแบบไม่ธรรมดา
ฝรั่งที่ยืนเข้าแถวกันอยู่นั้น คือพวกของเซอร์จอห์น เบาริงหรือเปล่าคะ

คำถามเยอะมาก ขออภัย มัวตื่นเต้น


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 มิ.ย. 06, 22:09

.
.
มาขยายภาพที่ 52 ให้ค่ะ
จำได้งูๆปลาๆจากคุณพิพัฒน์เอง  ถนนสายนี้คือสายที่ผ่านหน้าวัดพระแก้ว ทางด้านกระทรวงกลาโหม
ในรูปนี้กระทรวงกลาโหมยังไม่ถือกำเนิด
วัดพระแก้วกำลังสร้างบางส่วนอยู่


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 04 มิ.ย. 06, 23:21

.
รูปรับราชทูตนี้ กระทำที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม จึงเป็นเบาริงก์มิได้
ดูการแต่งกาย คงคุ้นเคยว่าเป็นราชสำนักฝรั่งเศส แต่เป็นคณะใหน เพราะมากมายหลายครั้ง ดร. อภินันท์เชื่อตาม มรว. แสงสูรย์ว่าเป็นคณะปี 2410 ที่ถวายพระรูปเอมเปอเรอร์และพระแสงกระบี่
แต่ผมเห็นแย้ง เพราะสิ่งสำคัญคือรูปสิงห์โตยัดนุ่น ที่เชิญมาเป็นขบวนใหญ่โต มีบันทึกในพระราชพงศาวดารว่า เข้ามา 2406
จึงถือตามนั้น

สมเด็จเจ้าพระยาสององค์แรก หมดบทบาทตั้งแต่ 2400 เพราะสิ้นชีพิตักษัย จึงต้องเป็นท่านช่วง
ท่าเข้าเฝ้านี่ ผมเข้าใจเอาว่า ช่างเขียนจะทำเลยเถิดไปสักนิด
แต่เราก็มีเกล็ดเรื่องเท้าท่านช่วงเคยไปป่ายศรีษะพระเจ้าลูกเธอพระองค์หนึ่ง แสดงว่าท่านก็คงตามสบายแม้ในที่รโหฐารอยู่เป็นอาจิณกระมัง

อีกประการเครื่องยศในการเข้าเฝ้าก็เอื้อกับการเอกเขนกหน้าพระที่นั่งอยู่ไม่น้อยละครับ ดังนั้นที่มาวางท่าเจ้ายศเจ้าอย่างกันยังกับลิเกทรงเครื่องนี่ ผมยังคิดอย่างอกุศลนิดหน่อยว่า มาเริ่มใหม่ราวกลางรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงวางรากฐานการเมืองได้แน่นหนา และเสนาบดีก็เป็นน้องสนิททั้งนั้น ความเคารพเทิดทูนคงเพิ่มจนกลายเป็นภาพติดในความทรงจำและใช้กันมาตลอด

อาจารย์คงเคยอ่านเจอว่า พระปิ่นเกล้า ท่านนึกยังไงก็ไม่รู้ จู่ๆ กลางดึกก็ควบม้าไปหาขุนนางของท่านที่บ้าน ซึ่งผิดแบบอย่างมาก เรียกลงมาที่สนามแล้วก็นั่งยองๆ คุยไปเขี่ยขี้ไต้ไปจนเสร็จเรื่อง หรือที่ท่านทรงขับเรือเล่นไปบ้านหมอบลัดเล นี่ก็ทรงห้าวนัก
การถือยศศักดิ์ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงน่าค้นคว้าไม่น้อย

หากจะเทียบก็อาจอ้างราชสำนักรัสเซียได้ ว่าสมัยปีเตอร์มหาราชนั้น บรรยากาศออกจะเป็นสมาคมผู้คงแก่เรียน วางท่าเป็นเจ้ากันน้อย แต่ผ่านไปหลายชั่วคน อำนาจเข้าสิง ราชสำนักก็เล่นลิเกหนักเข้าจนเสียเมือง เป็นอย่างนี้แม่แต่กุบไลข่านครองจีน แรกๆ ก็เป็นมงโกล อยู่อย่างพี่น้อง เผลอแผล็บเดียวขันทีเปลี่ยนจิตใจเสียหมด

รูปใหม่นี่เป็นลายเส้นจำลองรูปเขียน ยังตามที่มาไม่เจอ กรมศิลปากรทำสำเนาเก็บไว้ มีรายละเอียดที่น่าสนใจและไม่ตรงกับรูปวาด ทิ้งไว้ให้นักค้น ช่วยกันค้นต่อไปนะครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: นิลกังขา ที่ 05 มิ.ย. 06, 14:01
 ในภาพ คห. ที่ 52 และ 54 ซึ่งคือภาพเดียวกัน
สำหรับหนุ่มสาวชาวกรุงสมัยนี้ ร.ศ. 224 อาจจะนึกไม่ออก

นักศึกษาวิชาทหาร รด. ทั้งหลายนึกถึงกรมการรักษาดินแดนออกไหมครับ ตอนนั้นยังไม่ได้สร้างเลย แต่คือมุมขวาล่างของภาพถนที่แล่นขึ้นไปจากตอนล่างของภาพขึ้นไปข้างบนนั้น คือถนนสนามไชยเดี๋ยวนี้ ฝั่งซ้ายถนนเป็นวัดโพธิ์และพระบรมมหาราชวัง ฝั่งขวาของถนน ในรูปตกขอบพอดี แต่ปัจจุบันนี้จะเป็นสวนสราญรมย์ วังสราญรมย์ (กระทรวงการต่างประเทศเก่า เดี๋ยวนี้เป็นทำเนียบองคมนตรี) และกระทรวงกลาโหม ซึ่งในสมัยที่ถ่ายรูปนี้ยังไม่สร้างเลยทั้งนั้น

(กระทรวงกลาโหมยังไม่มีการติดทีวีวงจรปิดด้วย เพราะยังไม่ได้สร้างแม้แต่ตึกแล้วจะเอากล้องไปติดตรงไหนละครับ)

ดูในภาพ วัดพระแก้วดูเหมือนกำลังสร้างเพิ่มเติมหรือซ่อมอะไรอย่างหนึ่งอยู่


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 05 มิ.ย. 06, 14:50

.



ผมเข้าใจว่าเป็นการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆเพิ่มเติมบนฐานไพที ได้แก่ ปราสาทพระเทพบิดร และ พระศรีรัตนเจดีย์ครับ คุณหลวง


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 05 มิ.ย. 06, 17:33

.

ฐานไพทีสร้างพร้อมกับสิ่งก่อสร้างทั้งปวงบนนั้น ได้แก่
ยกพระมณฑปขึ้น
ถมสระรอบพระมณฑป
ยกพระเจดีย์ย่อมุมปิดทอง (ซึ่งผมขออนุญาตเดาว่าทรงสร้างอุทิศถวายพระชนกชนนี) ออกมาตรงตำแหน่งในรูป
สร้างพระพุทธปรางค์ปราสาท
สร้างพระศรีรัตนเจดีย์
และอีกหลายอย่างที่ไม่ตรงกับเอกสาร แต่ไม่เป้นไรครับ
เรามาเล่นตามล่าขุมทรัพย์จากรูปโบราณกัน
งานนี้คนตาดีจึงมีสิทธิ์ ผมตาถั่วและมัว ขอเป็นคนดู


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 05 มิ.ย. 06, 17:39

.

หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ หัวใจของการปกครองในรัชกาลที่ 4


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 05 มิ.ย. 06, 17:51

.

อิฐก้อนแรกของถนนเจริญกรุง
(ขออภัยนะครับ ต้องทำเครื่องหมาย กลัวไปมองอิฐก้อนที่ 0.5 แหะๆ)


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 05 มิ.ย. 06, 18:14

.

อิฐก้อนแรกของถนนบำรุงเมือง ถ้าช่างสังเกต จะเห็นวังหน้าที่สมบูรณ์แบบแถมให้ตอนบนของรูป


มีกระทรวงว่างงาน..แห่งหนึ่ง ขอเปลี่ยนชื่อถนนประวัติศาสตร์นี้เป็นชื่อของท่านอะไรสักอย่างที่ผมก็ไม่ค่อยจะคุ้นหู ไอ้เจ้ารัฐบาลเมืองขัณทศกรก็พลอยบ้าจี้ เปลี่ยนให้เสียอีก

ผมรู้แต่ว่า ตามเส้นทางอันสูงศักดิ์นี้ สุดปลายด้านทิศตะวันออก-ไปทางขวาของรูปออกไปสักสองกิโลเมตรกระมัง เป็นวัดโบราณที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก สรงมูรธาภิเษก ก่อนยาตราทัพยามรุ่งอรุณเข้ามาตามเส้นทางนี้ เพื่อข้ามแม่น้ำตรงถนนผ่ากลางวัดโพธาราม เหยียบท้องพระโรงกรุงธนบุรี สถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ขึ้น

พอถึงรัชกาลที่ 4 ก็ทรงปรับปรุงเส้นทางโบราณนี้ อันเรียกกันว่าถนนรี คู่กับถนนขวาง เป็นทางสัญจรประจำเมืองขึ้นมา สองข้างทางสร้างอาคารพานิชย์ ซึ่งห้างแรมเชย์เวกฟิลด์มาเช่าเปืดกิจการ ขายสินค้าสมัยใหม่ให้กับชาวบางกอก เป็นที่เลื่องลือออกไปว่าเมืองนี้เจริญ เมืองนี้ต้อนรับต่างชาติ เมืองนี่ไม่ใช่เมืองเถื่อน ปีนั้น ไอ้กระทรวงว่างงานนี่ยังมีออฟฟิศอยู่ริมแม่น้ำโอ่โถง

หน็อยแน่ คล้อยหลังไม่กี่ปี มายึดสถานที่นี้ทำสำนัก
ไม่ดูแล ปล่อยให้เจ้ากอทอมอ เอาไม้ชื่ออัปมงคลมาปลูกเต็มท้องสนามชัย ซึ่งเป็นสนามแห่งพระมหากษัตราธิราช ทำพิธีอะไรก็เริ่มที่นี่ จะรบทัพจับศึก ก็ตั้งแถวให้พระเจ้าอยู่หัวซึ่งจะออกขุนนางที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ตั้งพิธีเอาฤกษ์เอาชัยเกรียงไกรฮึกเหิม....ขอโทษ เขาปลูกต้นระทมเต็มลานเลยแหละ ช่างไอรอนนิเกิลเสียนี่กระไร
มิหนำซ้ำ มันยังให้พวกลักกะเพศมาใช้ปลายสนามด้านหนึ่ง เปิดกิจกามโจ๋งครึ่ม หน้าวัด หน้าวัง หน้าค่ายทหาร ......

ประเทศนี้ ทำอะไรดีได้บ้างฟะเนี่ย


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 มิ.ย. 06, 19:28
เห็นแค่วังหน้า มุมเดียวในภาพก็คุ้มแล้วค่ะ    มีอย่างอื่นในภาพอีกมากมายถือว่ากำไรหลายร้อยเท่าตัว

ภาพที่คุณพิพัฒน์นำมาให้ดูเป็นบุญตานี้ ไม่มีคนให้เห็นในภาพ ทำนองเดียวกับ Early Sunday Morning  
แต่ก็เช่นเดียวกับภาพของ Hopper ภาพนั้น  มีชีวิตอยู่ในภาพมากมายทีเดียว

มองตรงไปที่วังหน้าสมัยรัชกาลที่ ๔    มีคนสำคัญอยู่หลายคน
ณ ที่นั้น มีเจ้ากรมอาลักษณ์ชื่อพระศรีสุนทรโวหาร  หลังระหกระเหินมานานในรัชกาลที่ ๓ ด้วยความร้อนตัวกลัวราชภัยไปเอง
สุนทรภู่ก็มาได้ดิบได้ดีอีกครั้งในบั้นปลายชีวิต
ท่านอาจจะนั่งแต่งบทละครเรื่องอภัยนุราช อยู่ใต้หลังคาแห่งใดแห่งหนึ่งในภาพนี้ก็ได้  

พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการอาจกำลังเข้าเฝ้าสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  อย่างที่ทำเป็นประจำ  ด้วยทรงคุ้นเคยกันอย่างมาก
บางคืน  ก็เสด็จไปอย่างลำลองไร้พิธีการ ถึงวังของพระองค์ชาย  ทรงเขี่ยไต้ไปพลาง ประทับยองๆไปพลาง  มีพระราชดำรัสกับเจ้าของวัง
พอทรงเสร็จธุระก็เสด็จกลับ ง่ายๆ ไม่มีอะไรเอิกเกริก

นายทหารอังกฤษชื่อน็อกซ์ ที่มารับจ้างฝึกทหารให้วังหน้า  ก่อนจะได้ดิบได้ดีเป็นกงสุลเยนเนรัล  แกก็อาจจะเดินๆอยู่ในวังหน้านี้แหละ  
ต้องอาศัยตาวิเศษมองเห็น


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 มิ.ย. 06, 19:49
 คุณพิพัฒน์ยังไม่ได้เข้ามาว่า อาคารอื่นๆในภาพคืออะไรบ้าง   ระหว่างรอ  ขอเป็นไกด์เถื่อนพาชาวเรือนไทย ยกขบวนเดินไปตามถนนจนถึงกำแพงวังหน้า

เอาหูแนบกำแพง อย่าให้ทหารยามเห็น



ตั้งใจฟังดีๆ  เสียงแคนแว่วออกมาเพราะพริ้งอย่าบอกใครเชียว   ถ้าเป็นโอกาสดีๆได้ฟังแอ่วลาวอีกด้วย

สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ท่านทรงสองอย่างนี้ได้ไพเราะจับใจนัก

 

ถ้าแอบมองลอดกำแพงเข้าไปได้  จะเห็นสาวงามเดินผ้าสไบปลิวกันอยู่ในเขตชั้นใน    มีกันละลานตาจากหัวเมืองต่างๆ

สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเสด็จไปไหน   ชาวบ้านเขาก็ถวายลูกสาวให้ ด้วยความจงรักภักดี   เพราะทรงเป็นที่รักของราษฎร

ทำเอาสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เกิดทรง 'มันไส้'   ทรงหยิกแกมหยอกเอาในพระราชหัตถเลขา   แต่ก็หยิกไปงั้นเอง ไม่ได้ขุ่นเคืองจริงจังอะไร



ถ้าหากว่ามีขบวนเสด็จออกมา อย่าลืมหมอบกราบ   อาจได้เห็นพระโอรสพระองค์ใหญ่  

พระองค์เจ้าชายแห่งสยามที่มีพระนามตามประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา คือ พระองค์เจ้ายอร์ชวอชิงตัน

ต่อมาทรงเปลี่ยนเป็นพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ  

และต่อมาในต้นรัชกาลที่ ๕ คือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าพระองค์สุดท้าย

ทรงเป็นเจ้าของ หุ่นวังหน้า อันลือชื่อ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 05 มิ.ย. 06, 20:50

.

เสียดายที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิได้ทรงใช้รูปนี้ ประกอบพระนิพนธ์ ตำนานวังหน้า หาไม่ เราคงได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มพูนมากกว่าที่มีไม่รู้เท่าไร

แต่ไม่เป็นไร เรามีอาจารย์เทาชมพู ซึ่งมียานวิเศษ ย้อนฝันวันวานกลับมาแสดงให้พวกเราชม
ผมว่ารูปที่ผมไปหามานี่ เจ๋งถูกใจโก๋แล้วเชียวนา
เจอคำบรรยายประกอบระดับนี้ ได้แต่ก้มหน้าก้มตาป้อนรูปเข้าเครื่องฉายอดีต

วันนี้โชคดี ได้ยินรูปถ่ายเล่าเรื่อง ฮิฮิ

ผมพอจะบอกได้เงาๆว่า มีสนามหลวงเล็กๆ อยู่แปลงหนึ่ง
มองไปทางซ้ายเกือบสุดขอบฟ้า นั่นคือโบสถ์พระแก้ววังหน้า
ด้านหน้าของพระบวรราชวัง มีองค์ประกอบอย่างเดียวกับวังหลวง ยกแต่เพียงไม่มียอดปราสาท
มองออกไปไกลๆ เห็นหลังคาโบสถ์ซึ่งอาจจะเป็นฝั่งขะโน้น เพราะตามแนวสายตานี้ ไม่มีวัดเลยเว้นแต่ข้าใปเป็นวัดดุสิตาราม โอ้ว กล้องตัวนี้ มีพลังทะลุทะลวงอดีตถึงเพียงนี้เชียวหรือ

ถ้าอาจารย์เห็นด้วย ขอเปิดห้องเรียนใหม่ ว่าด้วยมดไต่รูปโบราณดีใหมครับ

แหะๆ เห็นละเอียดดี


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 05 มิ.ย. 06, 21:22
 เดี๋ยวขอชวนคุณพิพัฒน์กับชาวเรือนไทยเดินเข้าวังหน้าไปก่อน  ไม่ได้แวะเข้าตามตำหนักใหญ่น้อยนะคะ    พวกผู้ชายบนเรือนไทยจะหัวขาดกันหมด
ไปที่สนามหลวงเล็กๆนั่นต่างหากล่ะ   แอบๆหน่อย อย่าให้สะดุดตาทหารยามนัก

ตรงนี้   The Second King of Siam ตามที่ฝรั่งเรียก โปรดกีฬาผัดช้าง
คนละอย่างกับเนื้อผัดน้ำมันหอยนะคะ  อย่าเอาไปปนกันเชียว

ผัดช้าง คือล่อช้าง  ทรงล่อช้างตกมัน กำลังคลั่งดุร้าย ให้ไล่แทง   ทรงหลอกล่อไม่ให้ระคายถึงพระวรกายได้
เป็นกีฬาที่มันหยดยิ่งกว่าล่อวัวกระทิงของสเปนเสียอีก   กระบวนเล่นกีฬาโลดโผนไม่มีใครเกิน

ขนาดยืนแอบๆดูกัน ก็ยังใจหายใจคว่ำ

ถ้าเราโชคดีอาจจะได้ทันเห็นเซอร์จอห์น เบาริงนำขบวนฝรั่งเข้ามาอย่างโอ่อ่า  เข้าเฝ้าสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ รอจนแกกลับออกมา
ได้ยินท่านเซอร์บอกผู้ติดตามด้วยความทึ่งว่า ความเป็นอยู่ในพระตำหนัก เหมือนบ้านผู้ดีอังกฤษเราดีๆนี่เอง
ใครจะมานึกว่ามาเจอในราชอาณาจักรไกลเกือบสุดขอบโลก  ซ้ำยังไม่เคยเป็นอาณานิคม

ห้องสมุดมีหนังสือดีๆของฝรั่งเต็มเพียบ     ทรงหยิบนิยายของชาร์ลส์ ดิกเกนส์มาให้ดู  เรื่องนี้ถูกพระทัยมาก ทรงพระสรวลกับเรื่องตลกอย่างคนที่เข้าถึงภาษาอังกฤษแตกฉาน
ได้ยินหางเสียงแว่วๆว่า คลับคล้ายคลับคลาว่าเป็น Pickwick Papers ค่ะ

คุณพิพัฒน์กำลังจะเปิดชั้นเรียนใหม่ ดูมดไต่ภาพในกรุสมบัติของคุณพิพัฒน์เอง
งั้นหยุดไว้ก่อน  ไปดูมดล้ำค่าหายากกันนะคะ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 05 มิ.ย. 06, 22:57
 แหม่ ทำไมชาตินี้นายติบอไม่เกิดเป็นมดบ้างน๊า จะไต่รูปทองกรอบแก้วพวกนี้ซะให้ขาเมื่อยเชียว
ตอนนี้ขืนไต่ขึ้นไปมีหวังตกตุ๊บลงมาหลังเดาะเจ็บก้นไปเสียหลายวันแน่ๆ


ว่าแล้วก็ขอลงชื่อรับบัตรคิวเข้าไปตามอ่านกระทู้ใหม่ด้วยคนครับ


ปล. พระตำหนักที่อ.เทาชมพู เล่าเอาไว้ในความเห็นที่ 65 ใช่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์หรือเปล่าครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 06 มิ.ย. 06, 08:59
 คุณติบอชอบเป็นมดหรือครับ ระวังถ้าขึ้นรูปคุณ Pipat ก่อนจะได้ดูคงโดนบี้ซะก่อน

ขอไปวังหน้าด้วยคนได้ไหมครับ คุณเทาชมพู อ้อ อยากฟังเรื่องผัดช้างของท่านด้วย เห็นว่าท่านเคยทรงพลาดครั้งหนึ่งใช่ไหมครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 มิ.ย. 06, 11:01
 ถ้าคุณกุรุฯ รู้เรื่องสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯกับเรื่องผัดช้าง  ก็มาช่วยเล่าให้ฟังเถอะค่ะ   อย่าถามอยู่เลย
แค่การบ้านที่คุณพิพัฒน์แกเอามาล่อให้ครูทำ   ครูไหวก็จะตายอยู่แล้ว
***********************
คุณติบอ  พระที่นั่งอิศเรศฯแบบฝรั่งน่ะแหละค่ะ  แต่จำไม่ได้ว่าตอนที่เซอร์จอห์น เบาริงเข้ามา สร้างเสร็จแล้วหรือยัง
เรื่องนับพ.ศ. ดิฉันนับไม่เก่ง  ต้องถามจขกท.
**************
ครู..ครู... ครูพัด
มัวไปหามดมาไต่รูป    อย่าลืมเล่าเรื่องเรียลลิตี้โชว์ในงานของแหม่มแอนนาต่อด้วยเน้อ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มิ.ย. 06, 08:53
 ถามคุณพิพัฒน์ค่ะ
กำแพงวังหน้าในรูป คห. 61   ปัจจุบันคือกำแพงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนนพระจันทร์หรือเปล่าคะ
หรือว่าเป็นกำแพงที่เคยอยู่ทางด้านหน้าหอประชุมธรรมศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงพิพิธภัณฑ์สถานแห่งขาติ  แต่ว่าถูกรื้อไปนานแล้ว

สถานที่ในวังหน้าที่ตอนนี้เป็นคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ดิฉันอยากจะรวบรวมไว้ให้รู้กัน
แต่ยังดูไม่ออกว่าตำหนักไหนตรงกับคณะไหน


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 07 มิ.ย. 06, 09:09

ขออนุญาตนำภาพธรรมศาสตร์มาลงบ้างครับ สมัยที่ยังไม่ปลูกตึกบังวัดพระแก้ววังหน้า สมัยก่อนคงสง่างามมากหากมองจากริมน้ำ

ผมคิดว่ากำแพงนั้นน่าจะเป็นส่วนที่รื้อไปแล้วนะครับ เพราะส่วนที่อยู่ถนนพระจันทร์นั้นติดวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นกำแพงทางด้านทิศใต้ ด้านที่ถ่ายนี้เป็นทิศตะวันออกของวังหลวง


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 07 มิ.ย. 06, 09:14
 ส่วนโดมนี้คงอยู่ติดแนวกำแพงเดิม ผมดูจากแนวกำแพงที่โรงอาหารคิดว่ามันไม่ขนานกับเจ้าพระยา ไม่ทราบว่าจงใจหรือแผ่นดินงอก


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เพื่อนพระเอก ที่ 07 มิ.ย. 06, 15:26
 สมาชิกใหม่ขอมานั่งฟังเพิ่มความรู้ขอรับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มิ.ย. 06, 08:08
 ดิฉันไม่คุ้นกับที่ตั้งของคณะต่างๆในมธ.ท่าพระจันทร์นัก   ที่จำได้ค่อนข้างแม่นคือคณะศิลปศาสตร์
ศิษย์เก่าและปัจจุบันของมธ.หลายคนที่อาจจะแวะเข้ามาอ่านเรือนไทยคงอยากรู้ว่าสถานที่ในวังหน้า ตรงกับคณะไหนของธรรมศาสตร์บ้าง

ดิฉันหลังไมค์ไปถามคุณพิพัฒน์แล้วให้เข้ามาตอบค่ะ  

เปิดแผนที่วังหน้าดูในตอนนี้   คิดว่าคณะศิลปศาสตร์อยู่ตรงส่วนที่เป็นตำหนักของฝ่ายใน  มีประตูเปิดสู่แม่น้ำคือประตูนารีจรจรัญและประตูอุโมง
ส่วนประตูธรรมศาสตร์ด้านถนนพระอาทิตย์ ยังเทียบไม่ถูกว่าอยู่ตรงไหนของแผนที่



ไม่ต้องห่วงเรื่องถามค่ะ   ดิฉันซักได้ถี่ยิบ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มิ.ย. 06, 10:21

.
.
นำภาพวาดผนังโบสถ์ ฝีมือขรัวอินโข่งมาลงไว้ เรียกน้ำย่อย
เพื่อให้คุณพิพัฒน์เข้ามาเล่าต่อ
ภาพทั้งสองนี้ เอื้อเฟื้อจากหนู nok  สาวท่าพระจันทร์


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 มิ.ย. 06, 10:22

.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 08 มิ.ย. 06, 10:58
 จะไปตอบเรื่องภูมิสถานวังหน้าที่ห้องมดอยากรู้นะครับ
ขรัวฯ กับธรรมศาสตร์ ดูเหมือนจะเชื่อมเรื่องราวลำบากหน่อย แหะ แหะ

ตอนนี้กลับเข้าเนื้อหาเดิมสักหน่อยก่อน ลืมซะแล่ว ว่าซอยแยกอยู่ตรงใหน  

นู่น............ความเห็น 47 เรื่องเทคนิคถ่ายรูป ที่จะเป็นข้อยืนยันว่า เมื่อปลายรัชกาลที่ 4 ขรัวอิน ยังเพิ่งจะให้ลูกน้องผูกโครงนั่งร้านที่ผนัง เตรียมการเขียนผนัง หมายความว่าเราต้องย้ายผลงานของท่านร่นถอยหลังลงมาอีกราวๆ 30 ปี

แต่ แม้ปีจะเปลี่ยน คุณค่าในเชิงสุนทรีย์ศาสตร์ก็ไม่กระทบกระเทือนเลย
อันที่จริงนะครับ ......
พูดกันแบบเปิดอก แม้สมมติว่างานของท่าน เพิ่งเขียนเสร็จวันสองวันนี้เองก็ตามที คุณค่าก็ยังเต็มร้อย ไม่ลดถอยแม้สัก 1 ขีด
นี่แหละที่เราเรียกกันว่าเอกะศิลปะ master piece มันส่งราคาข้ามยุคสมัย ยิ่งเราก้าวหน้าทางความรู้มากเท่าไร เราก็ยิ่งซาบซึ้งในสิ่งอมตะมากขึ้นเท่านั้น


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 08 มิ.ย. 06, 11:45
ศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น ถูกบดบังมานานว่าเป็นการเลียนแบบตะวันตก นักศึกษาทั่วไปมักจะมองข้าม แม้แต่ในบทเรียนของสำนักต่างๆ ก็มักจะศึกษาผ่านๆ พอให้ครบสมัยศิลปะไทย
หาได้เคยพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและเที่ยงธรรมไม่

อันที่จริง ในยุคนี้ ศิลปินที่มีบทบาทอย่างยิ่งใหญ่ และเรารู้จักประวัตินั้นมีอยู่มาก แต่ด้วยความเชื่อที่หมักหมมกันมา ศิลปินเอกทั้งหลาย ถูกยกไปเป็นของรัชกาลที่ 3 เสียหมด
1 ครูมีแขก ครูดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ ยังอยู่มาจนถึงต้นรัชกาลที่ 5 คราวประชุมครูดนตรีทำเพลงสรรเสริญพระบารมี 2415

"ทีนี้จะไหว้ครูปี่พาทย์
ระนาดฆ้องฤาดีปี่ไฉน
ครูแก้ว ครูพัก เป็นหลักชัย
ครูทองอินนั้นแลใครไม่เทียมทัน
มือตีตอดหนอดโหน่งขยักขย่อน
ตาพูนมอญมิใช่ชั่วตัวขยัน
ครูมีแขกคนนี้เขาดีครัน
เป่าทยอยลอยลั่นบรรเลงลือ
"

2 สุนทรภู่ อยู่มาจนทันเห็นถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร
"มีบ้านช่องสองแถวแนวถนน
ทั้งผู้คนคึกคักกันนักหนา
มีโรงรถคชไกรไอยรา
สนามหน้าจักรวรรดิ์ที่หัดพล
ที่ท้ายวังตั้งล้วนแต่ตึกกว้าน
บ้างนั่งร้านสองแถวแนวถนน
นายด่านพา ผ่าตลาดต้องหลีกคน
ประชาชนซื้อหาพูดจากัน
"

มิหนำซำยังเอาการนุ่งฝรั่งของพระเจ้าอยู่หัว มาเขียนเสียเอร็ดอร่อย คนดูละคอนที่ปรินส์เธียเตอร์ คงติดงอมแงมยิ่งกว่าแม่ค้าทุกวันนี้ติดละคอนหลังข่าว
(วินิจฉัยเรื่องสุนทรภู่ จะทำต่อไปข้างหน้า)
3 พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้านายศิลปินผู้รอบรู้เจนจบทุกศาสตร์แห่งศิลปกรรม
4 ฟรันซิศ จิต อัจฉริยะช่างชักรูป ที่มีผลงานเผยแพร่ทั่วโลกมานานนับร้อยปี  อนิจจา...ในนามคนอื่น
5 ขรัวอินโข่ง ช่างเขียนคู่พระทัย

ฯลฯ ยังมีอีกมาก


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 08 มิ.ย. 06, 14:53

.
ขอบคุณอาจารย์ ที่จัดประโยคให้เป็นระเบียบ ผมร้อยต่อกันเพราะคิดว่าจะให้อ่านแบบแม่ยกดูละคอนสมัย 2409 ฮิฮิ
จะให้ประหยัดหน้ากระดาษครับ

รูปที่แนบมา ตรงกับ

มีบ้านช่องสองแถวแนวถนน  ทั้งผู้คนคึกคักกันนักหนา
มีโรงรถคชไกรไอยรา  สนามหน้าจักรวรรดิ์ที่หัดพล

ประเพณีหัดแถวทหารนี่ใหม่เอี่ยมเลยนะครับ ผมไม่เคยเจอก่อนรัชกาลที่ 4 และไม่เคยเจอว่าสนามหน้าจักรวรรดิ์ ซึ่งก็คือสนามไชย อย่างในรูปนี้ เคยเอามาใช้เป็นที่ฝึกทหาร นอกจากในพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า

ตรงมุมซ้ายบน ก็คือบ้านช่องสองแถวแนวถนน
ตรงกลางคอร์ทในเขตรั้วล้อมก็ โรงรถคชไกรไอยรา  
ที่นี่ต่อมากลายเป็นราบ 4 ทหารรักษาพระองค์ที่รับผิดชอบพระราชฐานโดยตรง น ณ ปากน้ำ เคยบอกว่าเป็นโรงม้าแซง ก็ดูเข้าเค้ากันดี

ผมเคยได้ยินเจ้านาย ทรงบ่นว่า
แต่ก่อนทหารรักษาวัง มาจากราบ 4 เท่านั้น คุ้นเคยกันดี
เดี๋ยวนี้เปลี่ยนหมู่เปลี่ยนกรม จนจำอะไรไม่ได้
ท่านที่รับผิดชอบ กรูณารับทราบด้วยครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 09 มิ.ย. 06, 13:59
 ศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น ถูกบดบังมานานว่าเป็นการเลียนแบบตะวันตก นักศึกษาทั่วไปมักจะมองข้าม แม้แต่ในบทเรียนของสำนักต่างๆ ก็มักจะศึกษาผ่านๆ พอให้ครบสมัยศิลปะไทย
หาได้เคยพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและเที่ยงธรรมไม่

อยากให้คุณ Pipat ช่วยจำกัดหรือให้ความหมายของศิลปะสมัยรัชกาลที่ 4 นอกเหนือจากการรับรู้ทั่วๆไป อย่างการได้รับแรงบันดาลใจจากตะวันตกหรือ แนวคิดใหม่ของธรรมยุตินิกายหน่อยเถิดครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 มิ.ย. 06, 20:24
 จะเปรียบง่ายๆอย่างนี้นะครับ ว่า ร. 4 ทรงแต่งกายแบบฝรั่งแล้วท่านเป็นฝรั่งหรือเปล่า ตรัสภาษาอังกฤษ เขียนภาษาอังกฤษ แล้วท่านเป็นอังกฤษหรือเปล่า

เทียบกับคุณถวัลย์ ดัชนี เขียนรูปแต่ละทีขยับมือแต่ละครั้ง ว่าอภิธรรมได้เป็นเข่ง แต่งานของแก เอาทฤษฎีความงามที่รองรับการสร้างพระพุทธชินราชมาจับ จะไม่ได้อะไรเลย ต้องไปใช้พวกประมาณว่าดาวินจิ โคตร นั่นแหละ พอเข้าใจ

งานแบบขรัวอินโข่ง หรือสุนทรภู่ ล้ำยุคแค่ใหน ก็เป็นไทยร้อยเปอร์เซนต์ อาจจะห่างไกลรูปแบบจากจิตรกรรมวัดราชบูรณะหรือทวาทศมาศ แต่ก็ยังเห็นเชื้อลาย เรียกว่าเชื้อไม่ทิ้งแถว

ส่วนเรื่องธรรมยุตินิกายในศิลปะนี่เป็นทฤษฎีของดอกเตอร์สติแตกคนหนึ่ง คุณต้องไปถามเขาเอง ผมตอบแทนให้ไม่ได้ครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 09 มิ.ย. 06, 21:43
 ขอบคุณมากครับ คุณ Pipat ถ้าผมจะเข้าใจว่า ศิลปะในรัชกาลที่ 4ได้รับแรงบันดาลใจจากตะวันตก (ขอไม่ใช้คำว่าอิทธิพล) แต่ยังคงสุนทรียภาพแบบไทยไว้
อย่างนี้ถือว่าเข้าเค้าบ้างไหมครับ แต่เท่าที่ผมสังเกต ศิลปะสมัยนี้เหมือนกำลังค้นหาแนวทางใหม่สำหรับตัวเอง มีทั้งจีน ไทย ฝรั่ง ผสมกัน จนออกมาอย่างที่เห็น ผมเชื่อว่า
ในส่วนของศิลปะ พระองค์ท่านคงมองกว้างกว่าการลอกเลียนแบบตะวันตกเป็๋นแน่

อีกอย่างที่อยากถามครับ วัดราชบูรณะที่กล่าวถึงนี่หมายถึงที่เชิงสะพานพุทธใช่หรือไม่ครับ หรือหมายถึงที่อยุธยา เพราะทั้งสองที่ต่างก็มีจิตรกรรมเป็นเลิศ เพียงแต่ที่กรุงเทพ
กลายเป็นอดีตไปแล้ว


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 มิ.ย. 06, 22:20
 ศิลปะที่เกิดขึ้นในสมัยที่ขนบธรรมเนียมประเพณียังมีคุณค่าสูงอยู่ จะไม่รู้จักกับคำดาษๆอย่างแรงบันดาลใจ เพราะศิลปินและผู้สร้าง มีภาระทางใจที่ใหญ่กว่าตนเองครับ แม้เพียงสมัยสมเด็จฯ นริศ ที่ทรงออกแบบวัดเบญจมบพิตร อย่างถวายชีวิต ก็ต้องการเพียงให้จารึกว่า ในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ยังมีคนทำสิ่งที่เป็นเลิศตามแบบแผนโบราณได้ ปรากฏอยู่ มันเป็นศรีแก่พระนคร และท่านก็มิได้ป่าวประกาศความสำเร็จนะครับ

ยกท่านมาเป็นคำอธิบายก็ได้ว่า ท่านเขียนแบบ เพราะมันเป็นวิธีเดียว ที่จะสื่อสารให้ฝรั่งรับจ้างทำตามคำสั่งของเราได้ ท่านลงพระนามในแบบต่างๆ มิใช่เพื่อแสดงตัวตนของศิลปิน แต่จำต้องลงพระนาม เพราะมีคนลอกท่านมากเหลือเกิน ท่านเลยต้องแปะป้าย ว่านี้คือ น. เทียนสิน ยี่ห้อของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ผู้เป็นนายช่างของแท้และแน่นอน อย่างนี้คงจะเห็นนะครับ ว่าทำเหมือนฝรั่ง แต่ไม่ได้คิดเหมือนฝรั่ง
กลับกันกับของเฮียหวัน ต่อให้เขียนเสร็จต่อหน้าต่อตา แต่ถ้าไม่ลงชื่อไว้ ก็ไม่มีค่า เพราะเป็นยุคสมัยเห่อแบรนด์เนม จะชื่นชมแก่นสารอะไรก็หาไม่

อยากให้คุณลองอ่านนิยายของดอกไม้สด เอาเรื่องท้ายๆ ที่ท่านอิ่มตัว จิตใจเป็นหนึ่งเดียวกับเรื่องที่เขียนแล้วเป็นดีที่สุด นั่นเป็นวรรณกรรมที่ผมเห็นว่า ไม่เป็นสากลเลยสักนิดเดียว คุณไปเอาเครื่องมือวิเคราะห์ยี่ห้ออะไรรุ่นใหนมาจับ ก็จับได้แต่เปลือกขอรับ จะจับแก่นของดอกไม้สด คุณต้องเป็นคนไทยธรรมดา ที่มีชีวิต ใช้ชีวิต และดำรงชีวิต ในช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงการปกครองลงมา รู้จักสังคมเมียมาก สังคมผู้ชายเป็นจ้าว รู้จักความขัดแย้งระหว่างศรัทธากับเหตุผล รู้จักบาปบุญคุณโทษ สารพัด....พรรณาไม่หมดครับ ล้วนเป็นเงื่อนไขที่สากลไม่รู้จัก มันก็เหมือนที่เราไม่รู้จักปมบ้าปมบอของคนติดยาที่ชื่อฟลอยด์นั่นแหละครับ
ถ้าไม่รู้ ก็จะดูหนังและอ่านนิยายจำพวกหนึ่งไม่เข้าไคล

แต่สั้นๆ คือ นี่เป็นนิยายไทย เหมือนงานของสุนทรภู่ ก็เป็นนิยายไทย ขรัว ก็เป็นจิตรกรรมไทย พระองค์เจ้าประดิษฐ์ และสมเด็จฯ นริศ ก็เป็นสมบัติไทย

ผมไม่เสียเวลาศึกษาศิลปะสากลเพื่อมาอธิบายศิลปะไทยดอกครับ ผมเห็นว่านั่นเป็นการเอาหัวเดินต่างคีน
ผมก็แค่ดูงานอยุธยาตอนต้น (วัดราชบูรณะก็หนึ่งในนั้น) เข้าใจพระไตรปิฎกให้มากหน่อย สนใจศุภอักษรสาส์นในแต่ละรัชกาล อ่านวรรณคดีให้หมด ดูของจริงเท่าที่จะไปดูได้ เปรียบเทียบประเทศเพื่อนบ้าน ทำอย่างนี้มาจนถึงขรัวอินโข่ง

ก็พอจะเข้าใจศิลปะของไทยได้

ส่วนศิลปะสากลนั้น ตราบใด ไม่มีเงินบินไปดูของจริงได้ทุกครั้งที่อยากรู้ ก็ถือว่าเราเป็นแค่มือสมัครเล่นครับ เล่นไปรังแต่ขาดทุน

เอ ไม่รู้ตอบอะไรไปมั่งหรือเปล่า

ถ้ายังไงก็ถามดุๆ มาใหม่นะครับ แหะๆ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 06, 08:47
 ได้ยินคุณพิพัฒน์เอ่ยถึงวรรณกรรม   ดิฉันเหมือนลิเกเก่าได้ยินเสียงปี่พาทย์ลาดตระโพนลอยลมมาจากนอกชานเรือนไทย
เดี๋ยวจะต้องสวมเครื่องทรงและถุงน่องรองเท้าออกไปร้องราดนิเกริงเสียหน่อย
" ดอกไม้สด" เป็นนักเขียนคนโปรดเสียด้วย  แวดวงหนังสือเขาเพิ่งจะครบรอบ ๑๐๐ ปี ไปหยกๆนี่เอง

คุณพิพัฒน์คะ    ดิฉันขอขันอาสาตีความคำถามของคุณกุรุฯ ว่า "แรงบันดาลใจ" ไม่ใช่คำดาษๆต่ำต้อย  
แต่เป็นคำที่ผู้สนใจศิลปะ ๔ อย่างที่รวมอยู่ในวิจิตรศิลป์ คือ จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ดนตรี เขาใช้กันประจำ  
ถึงงานที่ศิลปินมองเห็นงานอีกชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้เกิดความคิดจะสร้างงานของตัวเองขึ้นมา
แต่งานที่สร้างขึ้นก็หาใช่ว่าก๊อปออกมาเหมือนสินค้าเลียนแบบ   เป็นงานที่มี"ความคิดสร้างสรรค์"และ"ความเป็นตัวของตัวเอง"อยู่พร้อม
(สองคำนี้เป็นคำดาษดื่นอีกหรือเปล่านะเนี่ย)

อย่างภาพของขรัวอินโข่งที่เอามาลงข้างบนนี้    แน่นอนว่าไม่ใช่ภาพสยามประเทศ  
ขรัวอินโข่งท่านต้องได้แบบที่มาจากของอะไรสักอย่างของฝรั่งเช่นภาพวาด   ปกหนังสือ ภาพประกอบหนังสือ ลายบนเครื่องกระเบื้องฝรั่ง ฯลฯ  แล้วทำให้ท่านเกิดไอเดียสร้างภาพนี้ขึ้นมา ในลักษณะฝีมือของท่านเอง
อย่างนี้เรียกว่า"แรงบันดาลใจ"  เมื่อก่อนใช้คำว่า "อิทธิพล" ต่อมาคงจะรู้สึกตะขิดตะขวงว่า เหมือนเราถูกครอบงำ ก็เลยเปลี่ยนเป็นคำแรก

เคยอ่านพบว่า งานเหล่านี้เป็นภาพปริศนาธรรม     คนตีความคือ น.ณ ปากน้ำหรือใครสักคนไม่แน่ใจ      
คุณพิพัฒน์จะตีความให้ฟังได้ไหมคะ  ตามความเข้าใจศิลปะไทยตามแบบของคุณเอง


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 10 มิ.ย. 06, 10:10
 ยินดีครับอาจารย์
แรงบันดาลใจ ในความเห็นของผม(คนเดียว) เป็นคำหรูที่ใช้กันจนกลายเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ เหมาะกับงานศิลปะระดับหนึ่ง ซึ่งยังไม่หยั่งรากลึกลงสู่กำพืดของตัวเอง นี่เปรียบศิลปินเป็นไม้ใหญ่นะครับ ระดับพญาไม้นี่ ท่านมีรากของตัวเอง ท่านดูดดื่มดินที่ตัวเองถือกำเนิด แล้วนำมาบำรุงลำต้นคือตัวเอง เพื่อแผ่ปกปักป่าใหญ่ที่ตนเองเป็นสมาชิก
ไม้ระดับนี้ ไม่เคยด้อมๆมองๆ หาแรงบันดาลใจหรอกครับ แต่ตัวเองอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นนั่นละใช่

ศิลปินคนใด ที่ผมติดตามงาน แล้วผมยังได้กลิ่นแรงบันดาลใจจากท่านผู้นั้น ผมก็เลิกติดตามเท่านั้นเอง อย่างนี้ลดภาระในการศึกษาลงได้มาก
(อันนี้ ไม่แนะนำให้ทำตาม หากท่านอื่นๆ ต้องเรียนต้องสอนนะครับ สายนั้นเขามีกรรม งานห่วยยังไง ถ้าบังเอิญมีเหตุให้ต้องศึกษา ก็ต้องศึกษา ปฎิเสธไม่ได้ เพราะอยากได้วุฒิ)

คำว่าแรงบันดาลใจ ในความเห็นของผม ก็คือการเอาอย่าง เลียนแบบ ก็อบปี้ ลอกเขา ขโมย ปล้น....หนักเบา สุดแท้แต่ร่องรอยที่เราจะหาเจอ ผมจึงเลือกสนใจแต่สิ่งที่ผมมองไม่เห็นแรงบันดาลใจ ซึ่งก็คือศิลปะของไทยเรานี่เอง เพราะไม่มีความรู้ในภาษาอื่น อันที่จริงภาษาเดิมเขาก็ชัดนะครับ อินสะไปร จะแปลออกในทางดีนี่คงจะลำบากครับ

ผมขอบคำให้การของไฮน์ริค เบอล นักเรื่องสั้นเยอระมัน (ดัดจริตไปหน่อยนะครับ พอดีนักเขียนไทยที่ผมปลื้ม อย่างดอกไม้สดนี่ ท่านไม่เขียนคำให้การเสียด้วย) ที่เขาแปลมา เบอลบอกว่า มีคนถามว่า ทำไมจึงมาเขียนหนังสือ เขาบอกว่า "ผมไม่มีทางเลือก" นี่เป็นคนละอย่างกับคำว่าแรงบันดาลใจ หรือที่หลู่ซิ่น เห็นหนังข่าวที่ญี่ปุ่น (แกเรียนแพทย์อยู่ที่นั่น) ช่วงสงครามญี่ปุ่น-จีน เป็นข่าวทหารญี่ปุ่นประหารชีวิตคนจีนกลางเมือง มีคนมุงเต็ม แกสุดสะเทือนใจที่ในกลุ่มจีนมุงเหล่านั้น มีคนจีนยืนดูอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส แกจึงสำนึกว่า อาชีพแพทย์หมอที่แกกำลังร่ำเรียนอยู่นั้น เยียวยาสังคมจีนมิได้ จึงจับปากกาเขียนเรื่อง เหมือนเบอล ที่เก็บประสบการณ์สงครามไว้เต็มสมอง ไม่มีทางเลือก นอกจากกลั่นมันออกมา

ตัวอย่างพวกนี้ เป็นพญาไม้ในป่าใหญ่ ซึ่งผมคิดว่า มีค่าควรแก่การชื่นชม เลยไม่มีเวลาให้กับสกุลแรงบันดาลใจครับ

ดีใจที่อาจารย์ชอบดอกไม้สด
ประสบการณ์สุดยอดครั้งหนึ่งในชีวิต ก็คือได้หอบสมุดปกแข็งหนาสามสี่ร้อยหน้ากลับบ้าน หาเวลาเหมาะๆ มุมเหมาะๆ แสงสว่างเหมาะๆ นั่งอ่านลายมือเขียนจากดินสอดำงดงาม ตัวสม่ำเสมอ เส้นเรียบคมชัดเจน เรื่องชัยชนะของหลวงนฤบาล
เพื่อนคนหนึ่งเอื้อเฟื้อให้มาอ่าน
เพื่อนเล่าว่า ท่านย่าบุบฝา จะเหลาดินสอครั้งละสองโหลใส่กระบอก แล้วเขียนจนทุกด้ามหมดแหลม จึงเลิก

เขียนของขรัวอินโข่ง มีสองแบบ คือแบบเดิมกับแบบปริศนาธรรม แบบเดิมก็เช่นที่วันมหาสมณาราม เชิงเขาวัง และที่เป็นรูปแผ่นเล็ก 6 ชิ้นในพิพิธภัณฑ์
แบบปริศนาธรรมอยู่ที่วัดบรมนิวาสน์ และวัดบวรนิเวศน์ พระเจ้าอยู่หัวทรงผูกเรื่อง ขรัวอินโข่งเป็นคนเขียนเรื่อง ในหนังสือตำนานวัดบวรฯ มีพิมพ์อธิบายไว้ครับ ถ้าไม่รู้เรื่องที่เป็นตัวปริศนาแล้ว ดูให้ตายก็ไม่ได้รสครับ คงเหมือนสวดมนตร์โดยไม่รู้ความหมาย หรือดูโอเปร่าโดยฟังภาษาไม่ออก

สำหรับ "ความคิดสร้างสรรค์" นั้นผมขอประทานโทษที่จะให้ราคาลงต่ำกว่าคำว่า "แรงบันดาลใจ" เสียอีก เห็นมีตำราเป็นตู้เลย เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ นึกไม่ถึงว่าคนเราจะสร้างผลิตภัณฑ์จากคำนี้ได้มากถึงเพียงนี้ เผลอๆ จะมากกว่าหนังสือศิลปะเสียอีก
ผมว่า คำว่า"ความคิด" หรือศัพท์ไทยธรรมดาว่า "หัวคิด" นี่ก็สูงพอแล้วครับ งานศิลปะที่ไม่มีความคิดฝังอยู่ ย่อมไม่เป็นศิลปะ ซึ่งโชคร้ายที่มีเกลื่อนตลาด มองไปทางใหนก็เจอ
ส่วนการสร้างสรรค์นั้น เป็นภาระกิจของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ไปแอบเอาของท่านมาใช้ น่าจะบาปมังครับ ฮิฮิ

ปิดท้ายด้วยคำว่า "ความเป็นตัวของตัวเอง" อันนี้ผมเห็นว่าเป็นศัพท์ขำขันครับ มีด้วยหรือ คนที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง ถ้ามี ก็คงทำอะไรไม่ได้แม้สักอย่าง ผมว่า คำนี้ พวกครูศิลปะ เขาเอาไว้ด่าลูกศิษย์ที่ไปลอกงานคนอื่นมาทั้งกะปี จนน่ารำคาญ กับอีกพวกหนึ่งเวลาทำงาน พอมีคนทัก ก็เปลี่ยนสิ่งที่กำลังทำ เอาแต่เปลี่ยนไปตามคำคนนอก พวกนี้ ปลาทองยังน่านับถือกว่าเลย ว่ายน้ำไม่ซำแบบใครสักคน

การตามอย่างนี่ ผมไม่เห็นเป็นเรื่องเสียหายเลยครับ ถ้าเราทำสุดฝีมือ กวีไทย ท่านก็ประกาศออกโจ่งแจ้ง ว่าตามอย่างครู พวกนิราศนี่เป็นต้น บางทีก็ยืมคำ สำนวนคนอื่นมา เราอ่านแล้วมีแต่ระรื่นอารมณ์ ร้องว่า เอาอีก เอาอีก

เรื่องที่พูดมาทั้งหมด น่ากลัวต้องขีดเส้นแบ่งด้วยมังครับ ว่าผมเน้นงานศิลปะแบบไทยตั้งแต่ขรัวอินโข่งย้อนกลับเข้าไป และเป็นความฟุ้งซ่านส่วนตัว อ่านเล่นๆ อย่าคล้อยตามเป็นดีที่สุด
5 5 5 5


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 10 มิ.ย. 06, 12:10
 คราวนี้จะมายกตัวอย่างงานบางชิ้นที่ผมเห็นว่าน่าเรียนรู้ในประเด็นแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ที่เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งหาให้ตายก็ไม่เจอ ฮิฮิ

สมุทรโฆษฯ นี่ มีแบบอย่าที่ใหนเคยทำกันใหมครับ คนที่หนึ่งแต่ง คนที่สองต่อ อีกร้อยกว่าปี คนที่สามมาแต่งให้จบ ประเพณีไทยนี่แปลก อนุญาตให้คนอื่นมาแทรกแซงงานของตน ยกเว้นท่านสุนทรคนเดียว แกบอก ฉันทำของฉันเอง คนอื่นอย่ามายุ่ง แล้วประเพณีไทยอีกแหละครับ ที่ให้คนไม่อ่านพระอภัยมณีมาชำระพระอภัยมณี สมเด็จฯ นริศ ท่านออกตัวกับพระพินิจวรรณการไว้ล่วงหน้าเลย ว่า "ฉันโง่พระอภัย" แต่ท่านก็ฉลองพระเดชพระคุณชำระต้นฉบับให้จนสำเร็จ เป็นฉบับหอพระสมุด เพราะนิยายนี้ จะพิมพ์ในนามบ้านเมืองที่ท่านรับราชการอยู่

ทีนี้ ลองดูตัวอย่างฝรั่งบ้าง โชสกาโกวิชมีโอกาสร่วมในการเฉลิมฉลองบั๊ค นักแต่งเพลงเอก ในปี 1950 ไปเห็นต้นฉบับงานคีย์บอร์ด (เครื่องดนตรีนะครับ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์) เกิดแรงกระตุ้นอย่างรุนแรง แต่ง 24 Preludes and Fugues เพื่อแสดงความคารวะ และเป็นการล้อ 24 Preludes and Fugues ของฝ่ายแรก
มันเป็นงานคียบอร์ดที่สำคัญที่สุดในรอบร้อยปีทีเดียว โดยไม่เป็น Bach แต่เป็น Shostkovich ของแท้ตั้งแต่โน๊ตตัวแรกยันตัวสุดท้าย แต่ทุกๆคนก็รู้ว่า มันเริ่มต้นมาจากบั๊คแหงเยอรมัน

อย่างนี้เห็นจะเกินทฤษฎีแรงบันดาลใจดาษๆ ที่ผมไม่อยากให้เผลอไปใช้กัน มันน่าจะเหมือน ซาโตริ แบบเซ็นมากกว่า คือการจุดประกาย หรือเรียกอีกอย่างว่าเขื่อนแตก ไหลทะลักออกมาเป็นศิลปะชิ้นเอก
มีแต่ศิลปะชั้นรองครับ ที่ผมเห็นว่าต้องท่องคาถา แรงบันดาลใจสร้างสรรค์อย่างเป็นตัวของตัวเอง ศิลปินแท้ ไม่มีเวลามาทำเรื่องไร้สาระอย่างนี้หรอกครับ อาจารย์ไพฑูรย์ที่รักของกระผม ก่อนตาย แกบ่นว่า เมื่อก่อนคิดงานไม่ออก เดี๋ยวนี้ทำสิ่งที่คิดไม่ทัน เห็นอะไรก็เป็นงานได้หมด

โรคนี้ นักเขียนก็ต้องเป็นกระมัง พอเริ่มเขียนแล้ว งานมันครอบงำจนลืมคำดาษๆ พวกนั้นไปหมด


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 06, 13:28
 คุณพิพัฒน์ไม่น่าปรารภว่าคุณ Tiwa เขียนอะไรอ่านไม่รู้เรื่อง   ข้อเขียนข้างบนนี่อ่านยากกว่าหลายเท่า

ดิฉันไม่ชอบแบ่งชั้นวรรณะถ้อยคำนามธรรม   แต่ถ้าแบ่งชั้นวรรณะเชิงรูปธรรม  อย่างที่เคยตอบคุณสมศักดิ์ไป   อันนั้นยืนยันการแบ่ง มันเห็นเจตนาชัดกว่ากัน

แต่มาแบ่งชั้นวรรณะ เหยียดหยามคำว่าแรงบันดาลใจ  ความเป็นตัวของตัวเอง  แต่พอถึงคำว่า"เอาอย่าง"   คุณไม่เห็นว่าเสียหายอะไรถ้าทำสุดฝีมือ    ดิฉันยังกลืนการจำแนกของคุณพิพัฒน์ไม่ลงคอจริงๆค่ะ
เอาเป็นว่ายินดีอ่านเล่นๆแต่ไม่คล้อยตาม ตามคำแนะนำ ละกันนะคะ  

คุณพูดถูกว่าคนที่เป็นครู มีหน้าที่สอน  ก็หลีกเลี่ยงคำพวกนี้ไม่พ้น  
ดิฉันไม่ได้มาแก้แทนหรือปกป้องครูพวกนั้นหรอก    จะขอพูดอีกแง่หนึ่งว่าคนที่คิดแบบคุณพิพัฒน์ ทำให้คนอย่างดิฉันเกร็งไปหมดเวลาใช้ถ้อยคำ  
คนพูดมองอย่าง คนฟังมองไปอีกอย่าง  มันจะสื่อกันไม่ได้  

เพราะงั้น ดิฉันขอใช้คำว่าความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ  ความเป็นตัวของตัวเอง  ต่อไปอย่างเดิมนะคะ
มีป.ล.ในใจว่าในความหมายตามแบบดิฉัน   ไม่ใช่ความหมายแบบคุณพิพัฒน์

อยากฟังเรื่องงานของขรัวอินโข่งต่อไปอีกค่ะ   ข้อเสนอใหม่ที่คุณว่า   มีอะไรอีกบ้าง
กระหายจะฟัง  ยังไม่อิ่ม


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 10 มิ.ย. 06, 17:24
เสียใจที่อาจารย์อ่านไม่รู้เรื่อง บางทีผมก็อ่านของตัวเองไม่รู้เรื่องเหมือนกัลลล์ แหะ แหะ

ปัญหาคงอยู่ตรงที่เราทำเรื่องที่ควรจะรู้เรื่องง่ายๆ อย่างงานศิลปะ
ให้มัน "สูงส่ง" จนพ้นจากชีวิตประจำวันกระมังครับ
งานในแนวทางประเพณีนิยม ความจริงเป็นเรื่องตรงไปตรงมาอย่างที่สุดนะครับ เว้นแต่ที่เป็นเรื่องสูง ระดับต้องถอดรหัส อย่างทวาทศมาศ นั่นก็เป็นไปตามเจตนาของการสร้างงาน และคงจะใช้กันในหมู่คนจำนวนจำกัดเหมือนโคลงแช่งน้ำ และคาถาในการพระราชพิธี
แต่เมื่อมาพิจารณาที่ศิลปะในสาธารณะสถาน อย่างศาสนสถาน หรืออัครสถานประจำเมืองทั้งหลายแหล่ ที่ตั้งตระหง่านเป็นศรีสง่าแกประเทศชาติมานานนับพันปี แต่คนปัจจุบันดูไม่รู้เรื่อง แถมบางทียังกระทำการที่น่ากระอักกระอ่วน อย่างเช่นนักออกแบบหญ่ายตนหนึ่ง เชิญชิ้นส่วนของดาวเพดานมาใช้เป็นโต๊ะกลางของชุดรับแขก บ้างก็เชิญเชิญช่อฟ้าโบราณมาอยู่ตามล็อบบี้โรงแรม หนักที่สุดก็มีพิธีสักยันตร์ให้แม่สาวดาราในหนังนักขุดกรุ เอิกเกริกไปทั่วโลก.........สารพัดจะทำบัดสีโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ

ผมเคยไปเที่ยวเมืองพม่ามาครั้งหนึ่ง เมื่อสักยี่สิบปีก่อนกระมัง ถามคนนำทางเรื่องพื้นๆ เช่นว่า ทำไมคุณจึงวาดดอกบัวไว้บนเพดานโบสถ์ ดอกมหึมา บานสะพรั่ง เธอก็ตอบโดยไม่ต้องคิดว่า เพราะดอกบัว เป็นดอกไม้แรกแห่งจักรวาลน่ะซี
ทำผมอึ้งไปเลย เพราะไม่เคยมีตำราใหนสอน(เท่าที่ผมเคยอ่านเจอ) แล้วก็พลันนึกถึงเรื่องดอกบัวนิมิตรก่อนตั้งกัล์ป ที่กลิ่นดินหอมขึ้นไปถึงชั้นพรหม จนต้องลงมาดู ถ้าบัวบานกี่ดอก ก็หมายถึงกัล์ปนั้นมีพระเจ้ามาตรัสกี่พระองค์.....

แล้วก็เลยเข้าใจหน้าที่ของดาวเพดานที่คุ้นตาในศิลปะอยูธยา แล้วลามไปเข้าใจเพิ่มขึ้นว่า พระปฐมสมโพธิ์นั้น สำคัญอย่างไรแก่การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ ตั้งแต่นั้นก็หวนมาสนใจเรื่องพระจุฬามณีเจดีย์ ในฐานะเป็นเจดีย์แรกของพระพุทธศาสนา จนมาจบที่มหาปรินิพพานสูตร อันว่าด้วยการกระจายไปของพระบรมธาตุ

ทั้งหมดนี้ ไม่ต้องใช้ศัพท์นามธรรมที่มีชั้นวรรณะอย่างที่อาจารย์ตั้งข้อรังเกียจเลยครับ เป็นความรู้หญ้าปากคอกของมหาและเปรียญทั้งนั้น คนโบราณที่ท่านสร้างงานไว้ให้เราดู ท่านอ่านท่านเชื่อของพวกนี้ แล้วก็ทำแต่ของพวกนี้ ตามที่ท่านเชื่อท่านเคารพ เราจะทำความเข้าใจ ก็ต้องตามรอยท่าน

จะนอกรีตนอกรอยไปอ่านพวก ตำราสร้างสรรค์ ทฤษฎีปัจเจกนิยม ทฤษฎีเรื่องความเป็นอื่น สัญญานวิธีในโลกแห่งสัญลักษณ์ ...ว่าด้วยความผิดแปลกสภาวะ.....ตายครับ ตายเสียก่อน คงต้องไปอีกไกลแสนไกล กว่าจะวกมาเจอท่านขรัวของผม

เสียดายที่ผมไม่มีรูปมากพอจะใช้ประกอบข้อเสนอ ที่ว่าด้วยการ "เอาอย่าง" ในศิลปะประเพณีนิยม (คำนี้ก็ไม่ค่อยชอบเหมือนกันครับ แค่คำว่าศิลปะของไทย ก็น่าจะพอ) ว่า มิได้ต้อยต่ำเลย อยากให้อาจารย์นึกถึงรูปพระนางสิริมหามายายืนเหนี่ยวกิ่งสาละ แล้วพระกุมารเสด็จออกจากสีข้าง นั่นเป็นท่าโบราณ ที่มีมาก่อนสร้างพุทธศิลปะที่มัธยประเทศ แล้วก็เอาอย่างกันลงมาร่วมสองพันปี กว่าจะเลิกรู้จัก ศิลปินทั้งหลาย ไม่เคยตะขิดตะขวงใจที่จะคัดลอกตามๆกันลงมา
แต่ทีสองผัวเมียยืนหน้าตึงในจิตรกรรมชิ้นที่เรียกว่าอะเมริกันโกธิค ที่เคยพาไปแสดงในเรื่องสับสยองของอาจารย์ มันกลับกลายเป็นท่าทางที่สงวนลิขสิทธิ์ ใครจำไปใช้เป็นต้องถูกข้อหา "เอาอย่าง" ประเด็นนี้ ผมก็ยังงงอยู่

กลับมาที่ขรัวอินโข่ง
เมื่อท่าน "เอาอย่าง" รูปภาพของตะวันตก มาสร้างปริศนาธรรมไทย ขืนผมไปดูถูกกระบวนการนี้ ก็ไม่ต้องทำการทำงานต่อซีครับ แต่มิใช่ว่า ผมไม่รู้ ว่ามีการเอาอย่างที่น่ารังเกียจปรากฏอยู่ในโลกเน่าๆ ใบนี้ ตัวผมเองก็ได้สัมผัสมา เผลอๆ บางทีก็อาจทำมันเสียเอง แต่มันมีข้อแตกต่างระหว่างการเอาอย่างของขรัว กับการเอาอย่างของพวกมิจฉาอาชีวะในปัจจุบัน เอาเป็นว่าพวกเราคงซาบซึ้งกับอย่างหลังนี้ดีพอ จนไม่ต้องสาธยาย

ผมจะจำกัดวงที่โคตรสกุลช่างของผมเป็นพอ ว่าท่านเอาอย่างด้วยปัจจัยแวดล้อมอย่างไร
แล้วจะมาบรรยายต่อนะครับ ตอนนี้ต้องไปหาอะไรมาให้อาจารย์เทาชมพูกลืนลงคอคล่องๆ ในสิ่งที่ผมเสนอ......หาไม่ เจอก้านมะยม จะเจ็บจนคอมพิวเตอร์ป่วยน่าซี  5555


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 มิ.ย. 06, 22:16
 คำว่า "เอาอย่าง" ก็เรียกง่ายพิมพ์ง่ายดีค่ะ   กินเนื้อที่น้อยกว่า "แรงบันดาลใจ"

คำว่า "เอาอย่าง" ถ้าศิลปินบางคนได้ยินเขาโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ  หนอย!  มาหาว่าผมเอาอย่างได้ไง    หา! ผมแค่ได้แรงบันดาลใจ   พูดซะให้ถูกนะ อย่ามาหมิ่นประมาทกัน
ศิลปินนี่เดาใจยาก

นึกออกแล้ว  จะคุยเรื่องพระอภัยมณี    ว่าศึกเก้าทัพในเรื่อง ที่เจ้าเมืองต่างๆแห่กันมาช่วยนางละเวงรบกับพระอภัย  ที่เมื่อก่อนว่ากันว่าสุนทรภู่...เอ้อ..เอาอย่างมาจากศึกเก้าทัพสมัยพระเจ้าปะดุง

ทีนี้  คุณนิลกังขาเจ้าเก่าของเรือนไทย แปลหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ ตำนานพระเจ้าชาลมาญ  โธมัส บุลฟินช์ผู้แต่งรวบรวมเรียบเรียงจากวรรณคดีโบราณของยุโรป  ตัวผู้แต่งเป็นชาวอเมริกัน แกมีชีวิตอยู่เมื่อปลายศตวรรษที่ ๑๙ ที่บอสตัน

เนื้อเรื่องตอนต้นยังกะเอาอย่างพระอภัยมณีตอนนี้แน่ะค่ะ   มีนางงามที่เข้ามาทำเอาอัศวินพระเจ้าชาลมาญปั่นป่วนกันไม่เป็นส่ำ  ใครชนะได้แต่งงานกับนาง  เหมือนสัญญาของนางละเวงต่อเจ้าเมืองทั้งหลาย
เจ้าละมาน ชื่อเสียงก็คล้ายๆชาลมาญ

ในตำนานพระเจ้าชาลมาญ  มีอัศวินหญิงอยู่คนหนึ่งเก่งมาก  รบชนะผู้ชาย
ในพระอภัยมณี  นางฝรั่งลังกาทั้งหลายก็รบเก่งเป็นไฟ   ส่วนนางไทยที่ชื่อเสาวคนธ์ก็ไม่ใช่ย่อย  รบเก่งกว่านางฝรั่งเสียอีก

ในตำนานพระเจ้าชาลมาญ มีenchantress หรือนางมายานีสาวแสนงาม  ทำเสน่ห์อัศวินทั้งหลายจนโงหัวไม่ขึ้น  อยู่ในเงื้อมมือนาง   เหมือนพระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร สุดสาครติดข่ายเสน่ห์นางฝรั่งกันหมด

ดิฉันก็เลยคิดเล่นๆว่า  เรื่องนี้จะมาจากอเมริกาผ่านทางหมอสอนศาสนาที่มีศูนย์กลางอยู่บอสตันได้ไหม   ตามประสากวี สุนทรภู่ไม่ได้เดินทางเก่งอย่างเดียว  คงคุยเก่งและเก็บข้อมูลเก่งด้วย  ไม่ว่ากับใครท่านก็คงไปคุยกับเขาได้
บอกแล้วนะคะว่าคิดเล่นๆ  คุณพิพัฒน์มีหนังสือเล่มนี้อยู่แล้วลองหาอ่านดู


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 10 มิ.ย. 06, 22:53
 กาญจนาคพันธุ์ เป็นนักจับแกะชนแพะ หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่าเอาขนมผสมน้ำยาได้เด็ดดวงที่สุด ชนิดที่ว่าทุกคนที่ค้นเรื่องพระอภัยมณีต้องเรียกพี่ใหญ่ ดังที่คุณสุจิตต์ วงษ์เทศศิลปินแห่งชาติลอกความเห็นมาเป็นคำนำในหนังสือเล่มหนึ่ง แก(หมายถึงทั้งสองท่านเลยนะครับ) เห็นว่าพระอภัยมณีเป็นนิยายแห่งเอเซีย กินอาณาบริเวณจากเปอร์เชีย มาอินเดีย มาลังกา มามาดาร์กัสการ์ ไล่มาจนไปถึงใหนก็ไม่รู้ เพราะมัวแต่ไปดูซินแบดเสียก่อน ในอีกเล่มหนึ่ง สิ่งที่ได้พบเห็นในเรื่องคาวี โยงเรื่องสัมพันธ์ระหว่างสุวรรณภูมิกับฟาโรห์ไปเลย รู้แล้วรู้รอด แต่หลายประเด็นก็น่าคิดต่อครับ

นิทานสิบสองเหลี่ยมนั้นมีมาแต่อยุธยา ส่วนเค้าโครงเรื่องของปัญญาสชาดกก็แพร่ไปผสมปนเปจนทั่วเอเซียเหมือนกัน เรื่องชาลมาญจะเข้ามาอีกเรื่องก็ไม่แปลก ถ้าจำไม่ผิด ก็ น.ม.ส. และครับ ที่ทรงชี้ความเหมือนในเรื่องนี้

แต่เค้าโครงเรื่องมาจากใหนบ้างนี่เป็นการค้นที่สนุกสุดเหวี่ยงอย่างหนึ่ง แต่ที่จำเป็นยิ่งกว่า คือท่านสุนทรภู่แกนั่งแต่งพระอภัยมณีวันใหน ถ้ารู้ได้ การคุ้ยคงสนุกเพิ่มอีกมาก

ผมยังเจอพิรุธเกี่ยวกับกวีเอกท่านนี้อีกหลายเรื่อง อาจจะรวมเข้าในกระทู้นี้ โดยถือว่าท่านกับขรัวของผมเป็นเกลอร่วมสมัยกัน ได้ข้อมูลอะไรมาก็ช่วยให้เข้าใจอดีตชัดขึ้นเช่นกัน

ตัวอย่างที่ 1 ในนิราศพระบาท ที่ว่าสุนทรภู่เห็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ เลยหลบขบวนจนแทบตกเขา ผมตรวจข้อมูลแล้วก็งง ในตัวบทมีกล่าวถึงเณรน้อยน่ารัก ตอนนั้นเณรน้อยท่าน 18 แล้วครับ กวีน้อยคน จะเรียกหนุ่ม 18 ว่าน่ารัก แล้วที่ประหลาดสุดก็คือ ถ้าเชื่อว่าสุนทรภู่เกิดปีนั้นจริง ทั้งสองท่านก็อายุเกือบเท่ากัน
คงไม่มีกวี 18 เรียกเณร 18 ว่าเณรน้อยน่ารัก กระมังครับ

อาจารย์ และคุณนิลกังขา (ซึ่งน่าจะกำลังเหนื่อยกับแขกเมือง)เห็นว่าไงครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 10 มิ.ย. 06, 23:30
 ตอนที่เจ้าหญิงวิคตอเรียขึ้นเป็นพระราชินี เป็นข่าวช็อกโลก เพราะเธอเพิ่ง 17 หรือ 18 แต่ครองอาณาจักรใหญ่ที่สุดในโลก
ทั่วทุกหนแห่งคลั่งเธอยิ่งกว่าคลั่งดาราสมัยนี้ ตอนนั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูป ภาพพิมพ์แสดงรูปสาวน้อยแสนสวย (ครับ เธอเคยสวย ...ก่อนมาเป็นก้อนเนื้อมหึมาที่วินด์เซอร์) ขายทั่วโลกแบว่าจะพิมพ์ไม่ทัน

มีรูปเช่นนี้มาถึงราชสำนักด้วย พระยาไทรบุรีนำเข้ามาถวาย ร. 3 ทรงทอดพระเนตรแต่ไม่เชื่อว่าเป็นรูปถ่าย แม้กระนั้นก็โปรดให้ใส่กรอบแขวนประดับท้องพระโรง นี่ว่าตามที่ตากุหลาบเล่า

ผมเดาเอาว่า กิตติศัพท์นางกษัตริย์แสนสวยทรงอำนาจ(ทางเรือด้วยนะครับ) น่าจะมากระทบใจกวีจอมเล่าเรื่อง

ตอนที่ทำเสน่ห์ลงในรูปนั้น ผมอ่านอย่างคนบ้าถ่ายรูป ก็เห็นว่าเป็นรูปแบบดาแกร์โรไทป์ ซึ่งเป็นเทคนิคสร้างรูปลงบนแผ่นพิวเตอร์ขัดเงาเคลือบเกลือเงิน ดูในมือจะเหมือนรูปคนอยู่ในกระจก

ส่วนเรือยักษ์ที่มีทุกอย่างในนั้นก็คงเป็นส่วนผสมระหว่างเรือโนอาห์กับเรือโตนแซน ฮาริศ ที่ใหญ่จนเข้าปากน้ำไม่มได้ มันใหญ่จนขนวงบิกแบนด์พร้อมเครื่องดนตรีครบชุด เข้ามาบรรเลงที่พระบรมมหาราชวัง

ส่วนท่านสังฆราชบาดหลวงนั้น ผมจองตัวปาเลกัวส์ไว้เป็นแบบ

อันที่จริง ถ้าเราลบปีเกิด ปีตายของท่านสุนทรภู่ทิ้งไปก่อน จะทำให้เห็นอะไรสนุกขึ้นอีกมากมายมหาศาลเชียวนะครับ

นี่ผมเข้าข่ายสติแตกแบบดอกเตอร์ต๊องคนนั้นหรือยังครับ
------------------

รูปที่แนบมา 1832 ก่อนเป็นราชินี กับ 1837 เป็นราชินี

.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 11 มิ.ย. 06, 00:43
 ทีนี้จะลองอธิบายเรื่องความเป็นไทยสักเล็กน้อย เป็นฉบับย่อก่อน ก่อนไปเจอฉบับพิศดาร

เรายังไม่พูดถึงขรัว เพราะยังไกลเกินไป แล้วผมก็ยังหารูปของท่านที่เหมาะใจไม่ได้ มาพูดถึงสนุกนึกนิ์กันก่อน เรื่องนี้มีกระทู้ตั้งต้นไว้แล้ว ลองหาอ่านดูก่อนนะครับ

ประเด็นของผมก็คือ เรื่องนี้ไทยหรือเปล่า
ในทางวิวัฒนาการวรรณกรรม สมมติว่าเราเป็นโปรเฟสเซ่อด้านนี้มาถกกันนะ
เสียงส่วนใหญ่เป็นต้องยกความดีความชอบให้ฝรั่ง ว่านี่เป็นการเริ่มต้นวรรณกรรมสากล โดยอาศัยโนเวิลฝรั่งเป็นแม่แบบ แม้แต่พระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงอ้างเช่นนั้น
แล้วมันจริงใหมครับท่าน
เอาล่ะ สมมติว่าจริงละนะ แล้วมันแปลว่าอะไร แปลว่าเรากำลังเข้าสู่เว็สเทิ่นไน๋ส์แล้วกระนั้นหรือ มันง่ายยังงั้นเชียวหรือท่าน

ถ้างั้น ผมเขียนซอนเน็ตสักชิ้น เราก็เป็นเรเนซองแล้วหรือ เขียนไฮกุ เพิ่มอีกบท ก็กลายเป็นเซ็นไปเสียแล้ว
มีศิลปินไทยเขียนอะไรบางอย่างที่มันคล้ายๆ ดาลี อ้าว เราเป็นเซอร์เรียลริสต์แล้วหรือ ทำวิจัยได้เล่มใหญ่ทีเดียว

ศิลปะนี่มันติดกัน ง่ายยิ่งกว่าหวัดนกอีกแฮะ

พรุ่งนี้จะมาต่ออย่างยาวครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 มิ.ย. 06, 00:39
 ใช้สูตร "ติดง่าย" กันต่อ
ในทางกลับกัน คุณไมเคิล ร้าย เขียนภาษาไทย แกก็เป็นคนไทยละซี หัวหน้าวงฟองน้ำ เล่นเพลงไทย นุ่งโจงกระเบน แกก็ไทยอีกนั่นแหละ
พวกเรานี่ ไทยร้อยเปอร์เซนต์เลย ไม่ต้องมาพิสูจน์ทราบอะไรอีกแล้ว ขนาดนอนฝัน ยังใช้ภาษาไทยเลย จะมีทางเป็นไทยมากไปกว่านี้ไปได้อย่างไร
สูตร "ติดง่าย" นี่ ง่ายดีแฮะ

แต่................ผมรู้ตัวดี ว่าผมไม่ใช่ไทย แม้จะนอนฝันเป็นภาษาไทย ใครจะว่ายังไงก็ช่าง
ไม่ใช่เพราะผมเป็นลูกเจ๊ก และไม่ใช่เพราะผมใช้ภาษาไทยลูกผสม มันมากกว่านั้น

อย่างหนึ่งล่ะที่ทำผมรู้ตัวว่าไม่ใช่คนไทย คือเมื่อผมวาดรูป
จะด้วยเวรหรือกรรมอะไรสักอย่างก็เหลือเดา แม่แบบในสำนึกห้วงลึกของผม มันไพล่ไปเป็นคนต่างด้าวทั้งนั้น เวลาที่ผมเขียนลายเส้น จิตก็ประหวัดไปถึงศิลปินต่างด้าว เวลานึกถึงอะไรที่ไพเราะ ก็ต่างด้าว พูดง่ายๆก็คือ มาตรฐานทางนามธรรมส่วนใหญ่ ในมโนนึกของผม มันต่างด้าวทั้งนั้น

จนถึงวันหนึ่ง เมื่อรู้ตัวว่า มาตรฐานทั้งหมดที่ผมประเคนใส่ตัวเองมาตั้งแต่แรกเข้าสายวิชาชีพนี้ ถ้าเป็นของจริง จับต้องได้ อย่างมากที่สุด ก็เป็นได้เพียงดีหนึ่งประเภทสอง หรือที่ชื่นชมหลงไหล ก็เป็นเพียงรูปจำลองจากของจริงลงมาอีกที นั่นแหละ จึงกลับหลังหัน มาสนใจความเป็นไทย

หมายความว่า ผมเป็นประเภทก้าวเข้าสู่ ไม่ใช่ประเภทก้าวออกมา
คือหาตั๋วเข้าสมาคมคนรักไทย ไม่ใช่เกิดมาแต่อ้อนแต่ออกก็เป็นคนรักไทย
ท่านก็จะต้องถามผมดังๆว่า แล้วมันมีเหรอ พวกที่รักไทยมาแต่เกิด ผมก็ขอตอบดังๆว่า มีสิพี่

คนที่เกิดมาแล้วก็รักไทย ที่จะขอยกตัวอย่างก็คือ สมเด็จฯ นริศ ต้นวงศ์ครูช่างอีกสาแหรกของกระผมไงครับ
ท่านบอกว่าตั้งแต่เด็กก็ชอบขีดเขียนเลียนแบบจิตรกรรม โตขึ้น พระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานสมุดให้เล่มหนึ่ง ก็ทรงทราบเองว่าต้องทำแผนผังสถานที่ต่างๆที่เสด็จถวายให้ทรงใช้ปิดรายงาน
ทั้งหมดนี้ ทรงทำโดยไม่มีครู แปลว่าครูก็คือสังคมทั้งหมดที่ท่านเติบใหญ่เป็นสมาชิกอยู่ มองไปทางใหนก็ยั่วให้หลงไหล จนวันหนึ่งพระมารดาต้องตามเจ้ากรมสายมาเป็นพระพี่เลี้ยง เพื่อแก้อาการกระหายเขียนรูปของพระองค์ ซึ่งตอนนั้น อาการหนักเข้าทุกที เห็นใครเก่ง เป็นต้องไปประจบ...อลิ้มอเหลี่ย...อยากได้วิชาเขา

คนเรา จะเป็นไทยได้ ต้องเกิดมาอย่างนั้นแหละครับ จึงเรียกว่าเป็นไทย แล้วตอนหลัง จะเปลี่ยนจะเพี้ยนไปยังไง ครูเดิมก็ยังอยู่

ผมก็ขอสรุปเอากลางทางอย่างนี้ก่อนละกัน
ว่า อาศัยเหตุผลแวดล้อมดังได้เรียนบรรยายพรรณาสาธก และนำเสนอมาเป็นลำดับ
ขรัวอินโข่งท่านต้องเป็นไทยแง๋มๆ เลยนะครับ

หรือใครจะเถียง


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 มิ.ย. 06, 01:10

.
รูปที่เชิญมานี้ เพื่อช่วยอาจารย์เทาฯ กลืนเหตุผลของผม คล่องคอขึ้นนี๊ดดดนึง  


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 มิ.ย. 06, 01:19

.
ฝีมือครูปู่ของกระผม ครูเลิศ พ่วงพระเดช แห่งสำนักเพชรบุรี
หนึ่งในสองครูช่างที่ราชการเชิญฝากฝีมือบนพระระเบียงวัดพระแก้ว ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้าย
คู่กับพระเทวาภินิมิตร ศิษย์สมเด็จนริศฯ อีกท่านหนึ่ง

หากยังกลืนไม่ลง อาจจะต้องโพส ติดต่อกัน 20 ชิ้น ให้มันเห็นดำเห็นแดงกันไปข้างหนึ่งทีเทียวเจียว.......

อ้าวลืมไป เห็นดำเห็นขาวต่างหาก


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 12 มิ.ย. 06, 08:44
 รอที่เหลืออีก ๑๗ ชิ้นด้วยความอยากเห็นมากๆค่ะ
ภาพในคห. ๙๓   ภาพซ้าย  เดาว่าเป็นพาลีรบกับทรพี
ภาพกลางมาขยายในคห. ๙๔  เข้าใจว่าเป็นตอนพาลีชิงนางมณโฑจากทศกัณฐ์    
ส่วนขวาสุด ก็เหตุการณ์ตอนเดียวกัน  ไม่รู้ถูกหรือเปล่า  
************
ตอบคห. ๙๒  
ดิฉันยังสงสัยว่ามีบัณฑิตกี่คนในมหาวิทยาลัยประเทศไทย ที่ปลอดจากทฤษฎีของฝรั่ง ไม่เคยเอามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ก็ในเมื่ออะไรต่อมิอะไรที่เราเรียนกันอยู่  ล้วนแต่มาจากฝรั่งทั้งนั้น
อาจจะเว้นนาฏศิลป์ไทยและดนตรีไทยที่ยังมองเห็นอะไรไทยๆอยู่

แม้แต่วรรณคดีและวรรณกรรมไทยก็เอาทฤษฎีฝรั่งมาจับ   เอามาตรฐานฝรั่งมาตัดสินในการมอบรางวี่รางวัลสร้างสรรค์ต่างๆ    เอาแนวคิดแบบฝรั่งไม่ว่าโพสต์โมเดิร์นหรือซิมบอลลิสซึ่มมาใช้ในการแต่งและวิจารณ์เรื่องในสังคมไทย ทั้งที่รากเหง้าของเราก็คนละอย่างกับเขา

ดิฉันเองก็เดินตามฝรั่งมาหลายปีเหมือนกันกว่าจะเหยียบเบรคได้  แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าร่องรอยกลวิธีแบบฝรั่งก็ยังมีอยู่  สลัดไม่หลุด  
ถ้าสลัดหลุด ก็คงต้องหันไปเรียบเรียงภาษาตามแบบสามก๊ก  ซึ่งนอกจากฝีมือห่างชั้นกันสุดกู่แล้ว  ถึงทำได้จนจบ   ก็คงไม่มีใครอยากอ่านงานของเราอยู่ดี  

ก็เลยสรุปกับตัวเองว่า   อย่าไปคิดให้มันปวดมันสมองก้อนน้อยๆเลย  ดำเนินรอยตามพระบรมปัจฉิมโอวาทในพระบาทสมเด็จพระมหาเจษฎาราชเจ้ารัชกาลที่ ๓ ดีกว่า   ผ่านมาเป็นร้อยกว่าปีแล้วยังทันสมัยอยู่

" การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว    จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี   อย่าให้เสียทีแก่เขาได้
การงานสิ่งใดของเขาที่คิด   ควรจะเรียนเอาไว้ ก็ให้เอาอย่างเขา   แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว"


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 12 มิ.ย. 06, 12:37
 ผมยกประเด็นมา ก็เพื่อประกาศว่า ความเป็นไทยไม่ใช่สิ่งที่จะมาใช้หลักสูตรสอน เพื่อให้เป็น
แต่เป็นการเกิดมา เพื่อเป็น

เหมือนคนแก่ตามบ้านนอก ที่มีความรู้ ว่างงานแกก็อ่านประถมสมโพธิ์ เพราะในชีวิตน้อยๆ ของแก ศาสนาเป็นที่หมายสุดท้าย

แต่คนแก่ๆ แถวในเมือง นั่นต้องอ่านและแปลโสกราตีส ถ้าพุทธก็ต้องมหายานสุดกู่ มีลูกก็ต้องส่งเรียนอังกฤษ......ก็ไม่ผิดอะไรนะครับ เพราะเป็นระบบสติปัญญาและค่านิยมส่วนตัว
ผมเพียงแต่จะเทียบให้เห็นว่า ถ้าสังคมสร้างสิ่งแวดล้อมแบบใหน สมาชิกก็โตมาเป็นอย่างนั้น

สมมติว่าในพ.ศ. นี้ มีเด็กสักคน เพิ่งอ่านหนังสือแตก ก็ชอบอ่านสามก๊กเป็นบ้าเป็นหลัง นั่นหมายความว่า ที่บ้านแก มีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมฝังอยู่ ถ้าเด็กคนนั้นจะชอบ F4 แก่นของแกคงไม่เปลี่ยนหรอกครับ

แต่ในเมื่อสังคมของเรา สร้างสมมาย้อนศรถึงขนาดนี้
คือ แฮรี่ ป๊อตเต้อร์เป็นกระแสหลัก
พระอภัยมณีเป็นกระแสหลุด
ไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่ลี้ลับกว่านี้ พวก จินดามณี ประถมกอ กา.....ซึ่งหาคนเคยอ่าน ยากยิ่งกว่า "มัจฉามีทั่วท้อง ชโลธร หาเงือกงูมังกร ยากได้" ปัญหาเรื่องความเป็นไทยก็ถึงกาลอวสาน

เป็นได้ก็พวกโจรกลับใจ
"ดิฉันเองก็เดินตามฝรั่งมาหลายปีเหมือนกันกว่าจะเหยียบเบรคได้ แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าร่องรอยกลวิธีแบบฝรั่งก็ยังมีอยู่ สลัดไม่หลุด" 55555
ผมก็เป็นด้วยคนครับอาจารย์

แต่ขรัวอินโข่ง ท่านเดินคนละแบบกับเรา ท่านเกิดมาเป็นไทย หาของใหม่ใส่เข้ามา เพื่อให้ความเป็นไทยนั้นเติบโตต่อไป

แต่อย่างผมนี่ เริ่มเรียนวาดเขียน ครูก็เอาสมุดระบายสี มีเรือใบอยู่กลางน้ำ เป็นฝรั่งจ๋ายิ่งกว่าฟ้าแจ้งจางปาง มาตั้งเป็นจุดเริ่มต้น
ไม่เหมือนครูเลิศที่ยกรูปท่านมา นั่นท่านโตได้สักหกเจ็ดขวบ พระอาจารย์ก็จับมือให้วาดช่อกระหนก
วาสนาคนมันไม่เท่ากัน

ผมถึงได้โตมาเป็น"เจ้าชายเลือดผสม" ไงครับ ครึ่งผีครึ่งเปรต แบบที่ฝาหรั่งเรียก Hi-brid culture

เห็นมะ จะยกศัพท์ ยังต้องใช้ต่างด้าวเลย


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 14 มิ.ย. 06, 00:57

.
พักรบเรื่อง เป็น หรือ ไม่เป็นไทย ไว้ชั่วคราว
ขอเชิญชมสมุดตำราภาพจับ สกุลช่างเพชรบุรี ตามคำขอของอาจารย์เทาชมพู
มี 25 ชิ้น ปกอีก 1 ได้มาจากใหน เป็นความลับ ไปใหนแล้ว ก็เป็นความลับ
มีคนรู้ว่าผมชอบ เลยให้ file มาเป็นของขวัญ
เชิญชมตามอัธยาศัย  


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 14 มิ.ย. 06, 01:08

.
ใครเป็นใคร กราบขออภัย
ข้าพเจ้าไม่ทราบ โง่รามเกียรติ์ขอรับ
รู้แต่ว่า เป็นสกุลรัตนโกสินทร์ ที่เน้นโครงสร้าง ไม่เน้นลายมือ
เส้นจะนิ่ง เดินเส้นใหญ่ ถูกต้อง และชอบพลิกแพลงในท่าจับ

ขอให้สังเกตต่อไป ถึงการจบชองมือเท้าและการวางท่าที มีชีวิตชีวาในสกุลสมจริง
เป็นรูปประติมากรรมมากกว่าเป็นลายเส้นพริ้วไหวแบบสกุลอยุธยาในเกาะเมือง  


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 14 มิ.ย. 06, 01:49
 จากสมุดลายไทยแบบนี้แหละครับ
ที่ช่างไทยเริ่มต้นชีวิตช่างของตน

พ่อแม่พาไปหาครู เมื่อสักห้า-หกขวบ ท่านก็ดูหน่วยก้านสักพักหนึ่ง ราวเดือน ขาดเกินก็ไม่มาก
เมื่อมั่นใจแล้ว ก็นัดวัน หาดอกไม้ธูปเทียนมา ไหว้ครู ครูท่านก็จับมือเขียนลาย เป็นเสร็จพิธี
ต่อจากนั้น ทุกวันก็มาที่สำนัก ทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยตามแต่ครูสั่ง อาจจะมีบดสีฝุ่นบ้าง ล้างพู่กันบ้าง บางวันโชคดีก็ได้ลองเขียนเส้นดู


เป้าหมายก็คือ "การเอาอย่าง" รูปแบบที่ครูสร้างไว้แล้ว เช่นสมุดภาพเล่มนี้
แต่การเอาอย่างนี่ ไม่ใช่ทำปุ๊บก็เป็นนะครับ อย่างแรกเลย คือต้องเลียนแบบให้เหมือนอย่างไม่กระดิก ซึ่งไม่มีใครในโลกทำได้หรอกครับ
มันเป็นอุบายสอน


เมื่อตาเห็นเส้น เห็นทิศทางของเส้น เห็นหนักเบา เห็นแก่อ่อน เห็นจุดเริ่มต้น เห็นจุดจบ
ใจก็สั่งมือให้ทำตาม ตอนนั้นหัวสมองยังไม่ทำงานครับ
มันจะทำงานหลังขั้นตอนนี้ อีกสักหลายเวลาข้างหน้า

เมื่อแก่กล้าได้ระดับหนึ่ง สมองจึงเริ่มสั่งให้เอาอย่าง
ตอนนั้นมือต้องเชื่องแล้วนะครับ สมองสั่งว่าเส้น"เร็ว"
มือก็ทำเร็วได้......สั่งว่าโค้ง สั่งว่าหยุด สั่งว่าช้า
มือต้องทำตามได้หมด

ทั้งหมดนี้คือการเอาอย่าง เหมือนที่ผมขยายรูปให้เห็นเต็มตาข้างบนนี่
เวลาช่างเอาอย่าง ก็ต้องนึกเห็นอย่าง"เต็มตา" แบบนี้เหมือนกันครับ แล้วพยายาม "ถ่ายถอน" สาระออกมา
จะได้รูปที่ซ้ำกัน แต่ไม่เหมือนกัน กลายเป็นวิวัฒนาการแบบสยาม
ไม่ใช่แบบศิลป์ พีระศรี
นั่นอีกสกุลหนึ่ง ซึ่งผมก็สะเอาะเป็นสมาชิกนอกคอกกะเขาอีก

ถึงได้ไม่ค่อยสมประกอบอย่างทุกวันนี้ไงครับท่าน  


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มิ.ย. 06, 10:12
 ไม่มีความรู้เรื่องจิตรกรรมไทยค่ะ  ขอนั่งฟังแถวหลังสุด

มีภาพหนึ่ง จากหน้าแรกของสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง  ไม่ได้บอกว่ามาจากเรื่องไหน
เป็นภาพกษัตริย์สององค์ ทรงช้าง มีไพร่พลหน้าตาไม่ค่อยเหมือนคนไทย อาจจะพวกพรานป่าหรืออะไรทำนองนี้
กับมีฝรั่งเมียงมองอยู่ด้วยสองคน
สังเกตว่าหน้าของกษัตริย์นั้น วาดคล้ายกับภาพในคห. 98/99

ขอเอามาฝากค่ะ  เผื่อคุณพิพัฒน์จะช่วยอธิบายให้ฟังเมื่อว่างเว้นจากเล่าเรื่องเขียนลายเส้นแล้ว
.
.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มิ.ย. 06, 10:14
 ขยายให้ดู
.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มิ.ย. 06, 10:19
 ภาพนี้เป็นภาพที่ต่อเนื่องกับภาพในค.ห. 100  อยู่ทางซ้ายของภาพ
.


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 มิ.ย. 06, 10:34

.
.
ฝรั่งอั้งม้อแอบกระมิดกระเมี้ยนอยู่ด้วย 2 คน
เสื้อผ้าน่าจะเป็นศตวรรษที่ 18

ขอขัดจังหวะแค่นี้ละค่ะ    ถอยกลับไปนั่งฟังหลังห้องต่อ
ไม่ส่งเสียงอีกแล้ว  เดี๋ยวครูเหน็บเอา


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 14 มิ.ย. 06, 12:27
 รูปที่อาจารย์นำมาช่วยนี้ เป็นสีมือบรมครูนิรนามในสำนักสกุลช่างคงแป๊ะ ครั้งรัชกาลที่ 3 ปรากฏสง่างามอยู่บนฝาผนังพระอุโบสถวัดบางยี่ขัน มีรายละเอียดอย่างดีอยู่ในเวปยอดนิยมแห่งหนึ่ง
 http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=133

เห็นสภาพวัดตามบทความนี้แล้ว ต้องขอเวลานอกไปร้องไห้ อาลัยรักในเอกศิลปะแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ชิ้นนี้สักพัก
อ้อ ผมก็เพิ่งรู้จากที่เขาเขียนไว้ละครับ ว่า ตกลง ที่นี่เป็นสีมือครูคงแป๊ะอย่างเป็นทางการไปเสียแล้ว ไม่รู้เอาหลักฐานมาจากใหน
ความจริง จะต้องเปรียบเทียบครูทองอยู่ ครูคงแป๊ะ กับท่านขรัวของผมในตอนท้ายๆ น่ากลัวต้องปัดฝุ่นความจำมาใช้เร็วขึ้น

ขอไปกินยาทัมใจก่อนครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 มิ.ย. 06, 19:20

เอารูปมาฝากคุณ Pipat
ถ้าคุณชอบลายเส้น คงจะอิ่มใจถ้าได้ชมรูปนี้
แต่ว่า หญิงชายในรูปคู่นี้ไปอยู่เมืองนอก
ไม่กลับมาแล้ว คิดว่าเราคงไม่ได้เห็นกันอีกแล้ว
เลยเอามาฝากกันครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 มิ.ย. 06, 19:21

ภาพนาง


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 มิ.ย. 06, 19:27
 ส่วนรูปข้างล่าง ทั้ง 4 รูปนี้ มาจากสมุดพับสาสมัยอยุธยา
ไปเมืองนอกแล้วอีกเช่นกัน แต่ยังไม่มีใครมาซื้อ
หากใครมีปัจจัยมากพอ ช่วยซื้อกลับมาก็จะเป็นบุญคุณ
กับชาติมากครับ อยู่ในเว็บเมืองนอก 1 พับ มี 4 รูป
เขียนด้วยอักษรขอม ตกราวๆ หมื่นกว่าบาท


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 มิ.ย. 06, 19:28

พับด้านหน้า คู่กัน


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 มิ.ย. 06, 19:29

อีกด้าน เส้นกลมตึงสวยมาก


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 14 มิ.ย. 06, 19:30

รูปคู่กันครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 14 มิ.ย. 06, 21:04
 ขอบคุณครับ
1 ลายเส้น อ่านตัวหนังสืออกใหมครับ
ท่วงทีน่าสนใจมาก
2 ปั๊บสา เป็นของเหนือกระมัง แต่เล่มนี้ ขายเอาเงินเข้าประเทศได้ก็ดีครับ น่าจะเขียนเสร็จเมื่อสอง-สามปีก่อน แถวๆ บางโพ ไม่ก็บางขวาง คงไม่ถึงอยุธยาครับ ฮิฮิ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 มิ.ย. 06, 12:06
 ตอบคุณ Pipat
๑. อ่านไม่ออกครับ
๒. สมุดเล่มนี้ อยุธยาของแท้แน่นอนครับ
มีอยู่ในคลังอีกหลายฉบับ ถ้าอยากชม
จะไปรื้อมาฝากครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 15 มิ.ย. 06, 18:14
 ยกมือถามจากหลังห้อง

สงสัยว่าคุณพิพัฒน์สังเกตจากอะไรคะ
๑)สีสันที่ระบายสดใส  ว่าเป็นสีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ไม่ใช่สีโบราณ
๒) สภาพของกระดาษที่ยังใหม่มากด้วย สำหรับอายุ ๒๐๐ ปีขึ้นไป กระดาษสาไม่น่ารอดมาได้ดีขนาดนี้

หรือว่าเป็นข้ออื่น

ขอโทษที่ขัดจังหวะ คุณโพธิ์ฯคงไม่เคือง   ดิฉันก็สนใจอยากศึกษาเหมือนกันค่ะ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 มิ.ย. 06, 19:27
 สังเกตจากเพื่อนที่ประกอบอาชีพผลิตศิลปะขายครับ

สมุดภาพเล่มนี้ ตัวสมุดอาจจะเก่า แต่มีข้อพิรุธคือ โครงสีแบบนี้ เป็นอยุธยาปลาย
แต่ถ้าเป็นอยุธยาปลาย ช่างไม่ตัดเส้นแบบนี้
และช่างที่สามารถสร้างโครงสีแบบนี้ได้ในยุคสองร้อยปีก่อน
จะมีฝีมือตัดเส้นที่เลอเลิศกว่าฝีมือประสมสีขึ้นไปอีกครับ

ผมอาจจะเปลี่ยนความเห็นถ้าได้เห็นรายละเอียดที่ใกล้ชิดกว่านี้ครับ หรือไม่ก็จำได้เลยว่าเป็นเพื่อนคนใหนทำ

ขอชมเล่มอื่นๆ ด้วยได้ใหมครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 15 มิ.ย. 06, 19:28
 ขอตะโกนเสียงดังหน่อย ถามแซมขึ้นมาอีกคน (เจี๊ยวจ้าวเชียว)

สงสัยเช่นเดียวกับอาจารย์เทาชมพูครับ
ออกตัวก่อนว่าด้อยเรื่องประวัติศาสตร์ ยิ่งเรื่องจิตรกรรมยิ่งด้อยใหญ่ แต่หมูน้อยฯมี ข้อสังเกตุในภาพหลายอย่างอยาก จะเสนอเผื่ออาจเป็นจุดเล็กๆให้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับภาพได้บ้าง (ที่จริงอาจไม่ช่วย อะไรเลยก็ได้ ..)

-กายแต่งกายของพระสมัยนั้น การใช้ประคด ผ้าอังสะฯลฯ เหมือนในภาพหรือไม่ ..สมัยนั้นกับสมัยนี้แต่งกายแตกต่างกันบ้างไหม..  อย่างไร? (คุณโพธิ์ฯ บอกว่าเป็นภาพสมัยอยุธยา)
-ในภาพนั้นพระไม่กันคิ้ว ซึ่งก็อาจตรงกับเหตุการณ์สมัยนั้น เพราะพระเริ่มกันคิ้วในสมัยหลัง (ผมเข้าใจถูกไหมนี่?)
-ทรงผม และการแต่งกาย ของชาวบ้านในภาพนั้นบอกลักษณะของคนล้านนา สมัยนั้นได้หรือไม่ ... ชัดเจนเพียงไร?
-กระเบื้องมุงหลังคาภาพ 1และ2 นั้นผมเคยเห็นแถววัดที่ภาคเหนือ ดูจากรูปทรงและการเคลือบสีเข้มไว้ภายใน  แต่ไม่แน่ใจว่าภาคอื่นจะเคลือบอย่างนั้นไหม.. หรือแม้แต่ปัจจุบันก็ยังเคลือบกันอย่างนั้นอยู่ ก็ไม่แน่ใจเช่นกัน ?
-ภาพสุดท้ายนั่น ฉัตรรึเปล่า ไฉนมีธงอยู่ตรงปลาย ? ..งานศพนั้นก็น่าจะเป็นของผู้มีบุญ หรือไม่ก็ ผู้มีตังค์ เพราะแต่งโดยรอบเสียสวย มีบางอย่างคล้ายฉากกั้น( ไม่แน่ใจว่าเป็นฉากกั้นไหม?) มีฉัตร มีผ้าคลุมศพลวดลายสวยงามเชียว คิดว่าราคาคงแพงแต่ใช้คลุมศพ  เชิงเทียนของล้านนาเป็นรูปหงษ์หรือครับ นึกว่ามีใช้เฉพาะภาคกลางเสียอีก..
-รูปทั้งหมดสื่อหรือบอกเล่าเรื่องราว วิธีปฎิบัติ ประเพณี หรือเหตุการสำคัญอะไร ? หรือไม่ได้สื่อถึงอะไรเลย ..?
-รูปทั้งหมดเป็นของเก่าโบราณ ใช่ไหม ?
-หรือรูปทั้งหมดเขียนขึ้นใหม่โดยใช้ต้นแบบจากภาพเดิม ?
-หรือแย่กว่านั้น กล่าวคือเขียนขึ้นใหม่โดยใช้เพียงจินตนาการและการบอกเล่า?
-???

น่าสนใจครับ  มานั่งรอฟังคำตอบด้วย


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 มิ.ย. 06, 20:16
 ผมทำหมูน้อยสับสนซะแล่ว
ที่ติงคำว่า"ปั๊บสา" เพราะสงสัยว่าคุณโพธิ์ฯ จงใจหรือใช้ตามสะดวก
ทางเหนือเรียกปั๊บสา หรือปั๊บหนังสา
ภาคกลางเขาเรียกสมุดข่อย เพื่อความแน่ใจ เลยใช้บริการตุ๊ดตู่ออนไลน์ โอ้...พระเจ้า ท่านไม่เก็บคำว่าสมุดข่อย เก็บแต่
ข่อย
นิยาม :  ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลางชนิด Streblus asper Lour. ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นตามป่าต่ำและริมแม่น้ำลำคลอง ใบเล็ก สากคาย ใช้ขัดถูได้ เปลือกใช้ทำกระดาษ เรียกว่า กระดาษข่อย ใบ เปลือก เนื้อไม้ และเมล็ดใช้ทำยาได้.
เอาล่ะ นั่นประเด็นที่หนึ่ง

รูปงานศพที่หมูน้อยท้วงนั้น เป็นเรื่องใหญ่ครับ
ปุจฉา : ใครเอ่ย ตีนยื่นเลยโลงออกมาอีก

ประเด็นสุดท้าย ผมไม่แนะนำให้เทียบจิตรกรรมกับความเป็นจริงนะครับ เว้นแต่เก่งเป็นเซียนย้อนเวลาได้


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 มิ.ย. 06, 20:17
 อ้อ หมูน้อยฯ......
ยอมแพ้เรื่องคนโบราณเรียกหมาสีดำว่าอะไรแล้วหรือ
นี่ปาเข้าไปจะเดือนแล้วนา เงินหมดหรือไง


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 15 มิ.ย. 06, 20:43
 ขออนุญาตเดานะครับ ในฐานะละอ่อนน้อยที่คุณpipat เคยเตือนเรื่องไม่ควรเอาจิตรกรรมมาเทียบกับความเป็นจริง ไปเมื่อเกือบๆสัปดาห์ก่อน อิอิ



ผมเดาเอาว่าเรื่องเท้าที่ยื่นออกจากโลง มาจากฉากถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ
แต่สมองน้อยๆของผมดันจำได้ไม่ชัดเจนเสียแล้ว ว่ายื่นออกจากโลงหรือจากผ้าห่อพระศพ 500 ชั้นกันแน่
สงสัยต้องรบกวนให้คุณนทีสีทันดรมาเล่าให้ฟังอีกซักที แต่ที่เดาเอาว่าเป็นพระพุทธองค์ เพราะเท้าเป็นสีทองครับ

ถ้าหาจุดเริ่มต้นได้ว่าเรื่องที่ว่านี่เข้าไปอยู่ในพระไตรปิฎกเมื่อไหร่ คงพอเดาได้ว่าสิ่งที่ผมเดามันผิดหรือถูก
(แต่จะมีเวลาไปค้นข้อมูงได้เมื่อไหร่ ผมก็ไม่มั่นใจเสียแล้ว
เพราะตอนนี้แค่อยากหาบันทึกฯ ของสมเด็จนริศเล่ม 1 มาอ่านยังไม่มีเวลาเลยครับ แหะๆ)



ส่วนเรื่องการตัดเส้น คุณpipat ทำเอาผมต้องไปรื้อหนังสือปกแข็งๆ 2 เล่มเรื่องสมุดไทยสมัยอยุธยามาเปิดดู (คำนี้หาความหมายได้ในตุ๊ดตู่ออนไลน์ของคุณ pipat ครับ)
หลังจากที่ทดลอง "เปิดหน้าไหนก็ได้" ดูไปร่วมๆ 50 หน้าได้ ข้อสังเกตที่พบคือช่างเขียนจะตัดเส้นละเอียดพอๆกันทั้งภาพ
ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร สิ่งก่อสร้าง สถานที่ หรือต้นไม้ดอกไม้ที่แทรกประกอบอยู่ในภาพ จะตัดเส้นด้วยฝีแปรงละเอียดพอๆกันเกือบทั้งหมด และจัดวางองค์ประกอบภาพได้ละเอียดละออมาก

ผมขออนุญาตเดาเอาเองว่า เป็นเพราะช่างเขียนยุคนั้นเขียนภาพในสมุดไทย  ขึ้นในยุคที่หนังสือซักเล่มยังเป็น "งานช้าง" อยู่
ตำราซักเล่มเป็นของมีค่ามหาศาล ช่างจึงบรรจงเขียนและจัดวางองค์ประกอบของภาพด้วยความวิจิตรปราณีตเท่าๆกันทั้งภาพ

แต่ภาพจากขอบสมุดไทยที่คุณโพธิ์ประทับช้างนำมาฝากพวกเราจะสังเกตได้ว่าตัวละครตัดเส้นด้วยเส้นละเอียด
ส่วนความละเอียดของการตัดเส้นฉากหลังนั้นแตกต่างจากตัวละครมาก (ไม่ทราบจะเข้าใจถูกหรือเปล่านะครับ แหะๆ)



ปล. ขอนุญาตยกมือถามคุณpipat อีกซักเรื่องครับ ว่าสีฟ้า และชมพู ที่ขอบภาพเริ่มใช้ในงานจิตรกรรมไทยกันประมาณช่วงไหนครับ
เห็นแล้วนึกถึงลายเส้นคั่นในผ้าซิ่นไทยลื้อแถบจังหวัดเชียงรายรุ่นไม่ถึง 80 ปีที่ผ่านมาขึ้นมาตะหงิดๆ
(ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามันบังเอิญไปตรงกัน หรือว่าผมเอาความเคยชินของตัวเองมาเป็นอารมณ์หรือเปล่านะครับ แหะๆ)


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: หมูน้อยในกะลา ที่ 15 มิ.ย. 06, 20:53
 โธ่..ก็คุณพิพัฒน์ให้เวลาตั้งเจ็ดปี นี่ยังไม่ถึงเดือนก็ใจร้อนจะเอาคำตอบเสียแล้ว

ใจร้อนอย่างกับวัยสะรุ่นก็ไม่ปาน

ไอ้ยอมแพ้น่ะเห็นจะยาก แต่เงินนี่สิ หมดไปตั้งแต่วันแรกที่ถามเสียแล้ว

ตอบถูกจะได้รางวัลไหมหนอนี่ ? ถ้าได้จริง จะขอเป็นสมุดภาพเหมือนที่ท่านอาจารย์ฯ เคยได้ไปนั่นก็ดีไม่น้อย  ถ้เช่นนั้นจริงก็จะขอบุกป่าฝ่าโคลน ลุยไปไต่ถามมาให้จงได้ ว่าอ้ายหมาดำนั้น คนโบราณ แต่หัวสมัยใหม่แบบคุณพิพัฒน์ เขาเรียกว่าอันใดกานนนนน


ปล.ได้รับแมวที่ผมฝากไปให้แล้วใช่ไหมครับ ?


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 15 มิ.ย. 06, 21:16
 ยืมรูปของกรมศิลปากรมาใช้ เพื่อให้เห็นโครงสร้างของสมุดไทย
ที่คุณโพธิ์ฯ เอามาอวดเป็นรายละเอียดตรงขอบ อยากเห็นทั้งเล่ม จะช่วยให้รู้ชัด

สำหรับเรื่องสีนั้น เขียนบนผนัง จะมีวิวัฒนาการอุ้ยอ้ายกว่า เขียนในสมุดครับ
ปลายสมัยอยุธยา สีสดใช้ในสมุดกันออกเกร่อ แต่ช่างเขียนผนังยังไม่กล้า
ตัดเส้นบนสมุด ก็อะเหร็ดอะหร่อย เส้นสายมีชีวิตชีวา บนผนัง ยังระแวดระวังตัวแทบลีบ

สมุดเล่มนี้ ฝีมือตัดเส้น อยู่ประมาณปีสองกำลังสอบซ่อมอยู่
เดาว่าคงต้องตก ออก
ไปขอเงินแม่ เปิดร้านที่ตลาดสนามหลวง 2

ฮิฮิ  


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 มิ.ย. 06, 21:31
 คุณ Pipat รู้จัก คุณสุดสาคร ชายเสมมั้ยครับ ?


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 มิ.ย. 06, 22:34
 ผมไม่ได้มีความรู้สูงส่ง หรือ ต้องการแสดงภูมิอะไร
เพียงแต่เห็นว่าโพสไปแล้วจะเกิดประโยชน์กับท่านอื่นๆ
ผมไม่เคยโพสอะไรที่ไร้สาระ หรือ ไม่มีหลักฐานข้อมูล
เพียงแค่อยากเห็นสังคมที่มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
ศิลปกรรมไทย ก่อนที่จะสายเกินไป.. จนสักวัน เราต้อง
ไปเรียนเรื่องราวของตัวเองจากคนต่างชาติ

ขออนุญาติตอบคำถามคุณเทาชมพูนะครับ

๑)สีสันที่ระบายสดใส ว่าเป็นสีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ไม่ใช่สีโบราณ

ตอบ คุณเทาชมพู ลองพิจารณาจากภาพสมุดข่อยฉบับ
วัดหัวกระบือดูครับ ฉบับนี้มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาสมุดข่อยโบราณ
สมัยอยุธยา สมุดไทยฉบับวัดหัวกระบือนี้ เขียนเรื่อง “พระพุทธคุณคัมภีร์”
ระบุว่าในสมุดว่าสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๒๘๖ ซึ่งตรงกับปีในรัชกาล
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ลองพิจารณา
ถึงสีสันที่ยังสดใสอยู่มาก ถ้าบอกว่าสมุดข่อยฉบับนี้ปลอม ก็เหมือนกับ
บอกว่าประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจากไชยยา
ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ อันเลืองชื่อเป็นของปลอม
ภาพนี้คงเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงการใช้โครงสร้างสีที่สดใส
ฉูดฉาดมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย นี่เป็นสีของเค้าจริงๆ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 มิ.ย. 06, 22:41
 ๒) สภาพของกระดาษที่ยังใหม่มากด้วย สำหรับอายุ ๒๐๐ ปีขึ้นไป
กระดาษสาไม่น่ารอดมาได้ดีขนาดนี้

ตอบ ก่อนอื่น ผมต้องขออนุญาติอธิบายคุณเทาชมพูเรื่องความเก่าใหม่
ท่านทั่วไปมีความเข้าใจว่าอยุธยาถูกทำลาย แทบจะไม่มีอะไรเหลือ
แต่ในความเป็นจริงยังมีศิลปะอยุธยาที่สมบูรณ์เหลือรอดอยู่อีกมาก
แต่ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของภาคเอกชน ผมสะสมศิลปะอยุธยา
เป็นงานอดิเรก ได้สัมผัสกับโบราณวัตถุ และ สมุดข่อยอยุธยา
มานับไม่ถ้วน บางเล่มที่ผมพบ มีสภาพสมบูรณ์มากกว่าฉบับ
ที่ลงไปแล้วครับ คุณเทาชมพูลองเปรียบเทียบเนื้อกระดาษ
ของสมุดวัดหัวกระบือกับฉบับที่ผมโพสไปดูนะครับ

การทำน้อยแต่ได้มาก คือ เสน่ห์ของงานอยุธยาที่งานรัตนโกสินทร์ไม่มี
รัตนโกสินทร์ให้ความสำคัญกับรายละเอียดมาก สิ่งที่ปรากฏออกมา
จึงเป็นลักษณะการตกแต่งประดับประดา ถ้าเทียบกับวิธีที่แสดง
ออกทางศิลปกรรม รัตนโกสินทร์ทำมากแต่ได้น้อย

อย่างที่ทราบกัน อยุธยามีช่างมากมาย มีทั้งช่างราษฏร์ ช่างหลวง
เราจะเอางานของหลวงมาเปรียบเทียบกับของราษฏร์ไม่ได้
ผมอยากให้เรามองที่คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ และ สุนทรียศิลป์
ว่าที่สวย สวยยังไง แบบไหนที่เรียกว่าสวย ?
ว่ามีคุณค่าอย่างไร แบบไหนที่เรียกว่ามีคุณค่า ?
ดีกว่าไปตามกระแสทั่วๆ ไป ที่ไม่รู้ถึงสุนทรียะและคุณค่า
ถ่องแท้จริง คนไทยสมัยนี้มีรสนิยมดีมากๆ ในแบบสากล
แต่แบบไทยแท้ๆ ถือว่าเข้าขั้นน่าเป็นห่วง

อีกอย่างผมเห็นและสัมผัสกับสมุดวัดหัวกระบือ ฉบับจริงๆ
มาแล้ว ถึงได้กล้ายืนยันครับ

ถ้ามีโอกาส ผมขอชมฝีมือการเขียนจิตรกรรมไทยของคุณ Pipat
โพสให้ชมเป็นขวัญตาบ้าง ก็จะดีไม่ใช่น้อยครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 15 มิ.ย. 06, 22:43

ชมกันอีกสักรูป ไม่เก็บค่าชมครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 มิ.ย. 06, 00:25
 อาจารย์สุดสาครเป็นคนดัง ผมไม่รู้จักครับ

ฝีมือเขียนรูปของผม เด็กฝึกงานยังเก่งกว่าครับ ดูไปก็ไม่ช่วยให้รักศิลปะไทยมากขึ้น ข้อนี้ขอรับรอง
สมัยก่อนที่ยังทำงานภาคสนาม ทำเป็นแต่เขียนแผนผังครับ

สมุดภาพวัดหัวกระบือ ทำให้เรารู้ว่า เขียนในสมุด ต่างกับเขียนบนผนัง
และรู้เพิ่มอีกว่า เขียนสมุด กล้าเล่นสี แพรพราวยังกับงานสมัยใหม่
หลังจากนั้น ในตลาดของเก่า จึงมีสมุดภาพสีสดใสวางขาย แปลกใหมครับ

สมุดวัดหัวกระบือ เขียนรูปโอ่อ่า หน้ากระดาษไม่พอสำแดงฝีมือ
สมุดหมื่นกว่าบาท เขียนรูปเหมือนปลาน้อยว่ายเวิ้งในมหาสมุทร
ช่างหลวงช่างราษฎ์ ถ้าเขียนสวยก็คือสวยครับ ทางใครทางมัน คุณไปดูหน้าบันวัดที่อุตรดิตถ์
ไกลห่างจากราชสำนัก ฝีมือไม่แพ้ในเกาะเมืองอยุธยา

ถกกันเรื่องแบบนี้ ไม่มีใครว่าอวดหรอกครับ ผมฟังที่คุณว่ามา ก็น่าฟัง คุณฟังที่ผมว่ามั่ง
แลกเปลี่ยนกันไปมา น่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

ผมไม่เชื่อว่าเป็นของมีราคา คุณก็แนะนำผมหน่อยเป็นไร
ขอบคุณครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 มิ.ย. 06, 08:11
 ขอตอบคุณโพธิ์ฯด้วยความเกรงใจอย่างยิ่งว่า อ่านคำตอบของคุณแล้ว  ดิฉันก็ยังไม่รู้เรื่องอยู่ดีละค่ะ
เป็นข้อด้อยของดิฉันเองที่ไม่มีความรู้เรื่องศิลปะของแท้ของเทียม   ขอฟังเงียบๆไปก่อนดีกว่า


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 มิ.ย. 06, 12:54
 อยากชวนคุณโพธิ์ประทับช้างเปิดห้องศิลปะไทย จะเริ่มด้วยสมุดภาพวัดหัวกระบือก็น่าจะดีมังครับ แล้วมาว่ากันด้วยฝีมือช่าง เนื้อเรื่อง การวางเรื่อง ฝีมือตัดเส้น ....เรื่อยเปื่อยไปได้ ถึงใหนถึงกัน

พอดีกระทู้นี้ จั่วหัวเป็นขรัวอินโข่งไว้ จะพลิกแพลงแซงเรื่องอื่นก็กลัวจะไม่ได้กลับมาเพชรบุรีอีก

นอกจากนั้นยังติดการบ้าน อธิบายว่า ทำไมจึงว่า ขรัวอินโข่งเป็นไทย ซึ่งกำลังจะเริ่มต่อไป


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: โพธิ์ประทับช้าง ที่ 16 มิ.ย. 06, 13:02
 ขอบคุณ คุณ Pipat มากครับ
ผมเชื่อว่าทุกท่านในที่นี้มีวิจารณญาณ
การจะเชื่อหรือไม่เชื่อถือ ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้
และประสบการณ์ของแต่ละท่าน ลองเลือกเอา
ที่เป็นประโยชน์ไปใช้ ก็จะไม่เสียหลาย
ดีที่คุณ Pipat มาถกด้วย อย่างน้อยก็ได้ความรู้
และได้รู้จักกันมากขึ้นครับ

ที่คุณเทาชมพูสงสัย ขออนุญาติอธิบายครับ
จะรู้ได้ว่าของจริงของปลอม ?

- ต้องมีของจริงของเราไว้เทียบ และหาข้อมูลเยอะๆ ครับ
- ต้องมีของปลอมไว้เทียบเยอะๆ
- เวลาซื้อ ต้องโดนต้ม ซื้อของปลอมไปในระยะแรกๆ
หลังจากนั้น ก็จะโดนน้อยลงครับ ควรจะซื้อจากคนที่
น่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ เพราะจะเสียชื่อเสียงและเสียลูกค้า
ถ้าปลอมก็คืนได้ตลอดชีพครับ
- ซื้อของปลอมมากๆ แล้วหาข้อแตกต่าง
ก็จะรู้ว่าอันไหนปลอม อันไหนแท้ อันไหนซ่อม
ก็จะผ่านโปรเป็น Collector อย่างสมบูรณ์
ก่อนที่จะหมดสตางค์และจนไปกับของเก๊เสียก่อน
- ถ้าอยากจะรู้ว่า Collector คนไหนผ่านหรือ
ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ต้องดูที่ Collection ของแต่ละคนครับ
ทุกคนย่อมต้องเคยซื้อของปลอมมาก่อน เรียกว่า
"การตกควาย" และนี่คือเสน่ห์และรสชาติของ
การสะสมของเก่า ของแท้ก็ย่อมเป็นของแท้อยู่
ยังวันยังค่ำครับ

เอารูปมาฝากครับ ที่มา Private Collection


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 16 มิ.ย. 06, 13:02
 เมื่อผมมั่นใจแล้ว ว่าขรัวอินโข่ง ทำงานอยู่ในรัชกาลที่ 4 มาจนต้นรัชกาลที่ 5 การพินิจพิจารณาเรื่องราวก็เข้ารูปเข้ารอยขึ้น

คงจำกันได้ ว่าเมื่อกรมหลวงพิชิตปรีชากรแต่งเรื่องแนวใหม่ออกเผยแพร่ เกิดความแตกตื่นมากขนาดใหน อันนี้ภาษาทางมานุษย์สังคมวิทยา เรียก คัลเจ้อร์ ช็อค อันนั้นเกิดตอนที่สังคมไทยเป็นสากลมากมายแล้วเสียด้วยซ้ำไป

คิดเปรียบเทียบแล้ว จิตรกรรมปริศนาธรรมของท่านขรัว ก็คงช็อคสังคมไทยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ผมเหมาว่า จะยิ่งกว่าเสียด้วย


ใครเคยไปชมจิตรกรรมที่วัดบรมนิวาสบ้าง ยกมือขึ้น


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 24 มิ.ย. 06, 22:51
 ตั้งคำถามทิ้งท้ายไว้ หลายวัน ปรากฏว่าไม่มีใครตอบ
แปลว่าไม่มีใครเคยไปวัดนี้หรืออย่างไร

เอ้า ถามใหม่ ใครเคยไปชมจิตรกรรมที่วัดบวรฯ บ้าง
อันนี้ถามเจาะนะครับ วัดนี้คนไปแล้วมากมาย
แต่จะมีที่ไปชมจิตรกรรมบ้าง สักกี่ท่าน

ยกมือขึ้น


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 24 มิ.ย. 06, 23:32
 เข้ามาอ่านเสียหลายวันแล้วล่ะครับ คุณpipat แต่ไม่กล้ายกมือ
เพราะคำถามที่ตั้งไว้ ณ ถามคนไปชมจิตรกรรมนี่ครับ
แต่ผมน่ะ บุญน้อยด้อยวาสนากว่าจะหาเวลาไปทำอะไรซักอย่างได้ก็ยากจับใจ

ล่าสุดไปวัดบวรมาก็ได้แต่ฟังเทศน์ กับชมจิตรกรรมในพระวิหาร
พระอุโบสถมิได้ดูเลย เนื่องจากเข้าไปฟังบรรยายช้าเพราะอยากฟังเทศน์จนจบน่ะครับ


เห็นทีพรุ่งนี้เช้าถ้ารีบตื่นไหว คงต้องลุกไปชมจิตรกรรมเสียที เผื่อเย็นๆจะแวะมายกมือ ชูจั๊กกะแร้เหม็นๆในกระทู้นี้ได้บ้าง




ปล. ได้ยินว่ามีชาวเวบนี้ท่านหนึ่ง เคยหารายได้พิเศษโดยการแวะไปทำทะเบียนของในตำหนักมา
จะไม่เข้ามายกมือตอบให้คุณpipat ชื่นใจหน่อยหรือครับว่าเคยแวะไปชมจิตรกรรมมาน่ะครับ ฮี่ฮี่


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 25 มิ.ย. 06, 08:14
 เคยแต่เดินผ่านหน้าวัดที่ว่ามาทั้งสองวัด ถ้าคุณpipat จะนำทางพาเลี้ยวเข้าวัด ก็จะเดินตามเข้าไปด้วยครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 มิ.ย. 06, 08:16
 เคยเข้าไปในพระอุโบสถค่ะ  แต่เห็นภาพไม่ถนัด  
โบสถ์ค่อนข้างมืด  ภาพที่อยากเห็นก็อยู่สูงเสียด้วย


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: กุรุกุลา ที่ 25 มิ.ย. 06, 19:36
 อ๊ะ .............................................................ผมไม่กล้ายกมือตอบกระทู้คุณพิพัฒน์

เพราะตาไม่ดี มาอ่านทีไรก็จะได้ความว่า "ใครเคยไปชมจิตรกรรมที่วัด "บวรมงคล" บ้าง"

เลยไม่ได้ยกมือตอบเสียที เพราะกำลังคิดว่า วัดลิงขบมันมีจิตรกรรมอะไรกัน

ขอโทษอย่างสูงครับ มิฉะนั้นจะตอบไปเสียหลายทีแล้ว

เคยไปชมอยู่หลายครั้งเหมือนกัน เพราะเคยไปรับจ๊อบที่วัดนั้นบ้าง จิตรกรรมถ่ายมาได้แต่ค่อนข้างสั่นเพราะแสงน้อยและอยู่สูง แต่ความมืดของภาพทำให้พระประธานคือพระชินสีห์ดูเหมือนกำลังลอยทีเดียว

สวยงามมากครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 02 ก.ค. 06, 19:38

.
หายไปพักใหญ่ ค้างคำถามว่า ใครเคยไปวัดบรมนิวาสมาแล้มบ้าง  ...เข้าใจว่าจะไม่มีใครไปมาเลย
อย่างนี้ก็หวานผมละซี โม้อะไรไป ก็ไม่มีใครจับได้ หยั่งงี้โปรเฟสเซ่อร์โมเมสะบูลูสกี้ชอบ จะชอบยิ่งขึ้นถ้าวัดนี้ไม่อยู่อีกด้วย
แหะ แหะ

ผมไปขอร้องแกมบังคับให้พรรคพวกส่งรูปมาอวดกันหน่อย เพื่อนก็ดีใจหาย เอาฟิล์ม 4 x 5 นิ้วอันแสนแพง ไปสะแกนด้วยเครื่องสะแกนฟิลืมอันมีค่าดั่งทอง แล้วส่งมาอภินันทนาการพวกเรา
ไปดูเวบเขาได้นะครับ ชื่ออยู่ตรงขอบรูป ฝีมือดีกว่าที่ดีที่สุดตอนนี้ไปอีกนิดนึง

รูปนี้มองจากหน้าประตูไปสู่พระประธาน เป็นอาคารขนาดจิ๋ว แต่อัดแน่นด้วยคุณภาพ ลองชื่นชมไปกันก่อน 2 รูป ค่อยๆใช้เวลานะครับ วันนี้ดูยังไม่เสร็จ ก็พรุ่งนี้ยังมี


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 02 ก.ค. 06, 19:39

.
อันนี้มองจากพระประธานมาที่ประตูทางเข้า


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 02 ก.ค. 06, 19:52

.
เน้นให้เห็นผนังเหนือหน้าต่าง


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 02 ก.ค. 06, 22:33
 ได้ข่าวว่าการบรรยายที่โรงแรมคอนราด แฟนๆ ไปกันตรึม คุณพิพัฒน์คงจะเหนื่อยน่าดู เสียดายที่ไม่ได้ไปฟ้ง ขอตามอ่านไปพลางๆ ก่อนนะครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 02 ก.ค. 06, 23:43
 เสียดายไม่ได้เจอกัน ทราบว่าซื้อเครื่องบินไม่ทันใช่ใหมครับ...5555

รูปที่คอนราดมีน่าชมหลายชิ้น เสียดายผมตาถั่ว มองไม่ค่อยชัด วันใหนมีโอกาสเรามาแอบชมกันอีกทีในเวบนี้

ให้จบเรื่องขรัวอินโข่งก่อนดีใหมครับ


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 07 ก.ค. 06, 03:08
 ทดสอบการเข้ามาทักทายคุณพิพัฒน์ครับ พยายามส่งกระทู้หลายวันแล้ว แต่เด้งตลอด


กระทู้: ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เริ่มกระทู้โดย: B ที่ 07 ก.ค. 06, 05:04
 คุณพิพัฒน์จะให้พี่ Oam ซื้อเครื่องบินเลยหรือคะ?  

มาสวัสดีทั้งคุณพิพัฒน์และพี่โอม-พี่ชายคนเก่งและใจดีของดิฉันค่ะ คุณพิพัฒน์